Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311896
ทั่วไป:13570989
ทั้งหมด:13882885
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


ความคงเส้นคงวาแบบญี่ปุ่น (ตอนที่ 15) : รถไฟความเร็วสูง 12





 

     ความตั้งใจแต่แรก ที่เขียนเรื่องมาลงตรงนี้ก็คือว่า จะใช้เวลาในการเขียน ให้น้อยที่สุด โดยไม่เจาะลึก ลงในรายละเอียดมากนัก โดยใช้ประสบการณ์เขียนเป็นประเด็นไปเรื่อย ท่านที่อ่านแล้ว ประสงค์จะทราบ รายละเอียดตรงไหน จะได้ไปหารายละเอียด อ่านกันเอาเอง แต่พอเขียนเรื่อง Maglev ไปแล้วสองตอน จึงพบว่าจบไม่ลง ต้องหาหนังสืออ่านอย่างมาก จนต้องออกนอกกฎเกณฑ์ที่ตั้งใจไว้

     ที่ว่าต้องอ่านหนังสือ ก็เพราะมีผู้เชี่ยวชาญญี่ปุ่นที่เคยมาทำงานอยู่ด้วย เขาบอกว่ารถไฟ Maglev ของเยอรมัน ยกลอยสูงจากพื้นแค่ 8 – 10 มม. (3/8 นิ้ว) เท่านั้น เพราะใช้แม่เหล็กไฟฟ้าธรรมดา แต่รถไฟ Maglev ของญี่ปุ่น ออกแบบให้ยกสูงจากพื้นประมาณ 8 – 10 ซม. แม้ว่าจะเกิดแผ่นดินไหวขั้นรุนแรง ก็ยังมีความปลอดภัย

     เขาว่าแบบเยอรมันทำง่าย แต่ไม่แน่ใจว่า จะปลอดภัยหรือเปล่า ส่วนของญี่ปุ่นทำยาก เพราะจะยกตัวรถขึ้นไปสูงถึง 10 ซม. ต้องใช้ แม่เหล็กไฟฟ้าพิเศษ (Super Magnet) ตรงนี้เองที่ยาก และใช้เวลาในการวิจัยนาน

     ที่ฟังมาและที่อ่านหนังสือคร่าว ๆ ก็เป็นอย่างนั้น แต่เมื่อได้มาอ่าน หนังสือ Japan Railway Technology Today ก็เกิดความสับสน กล่าวคือ หนังสือเล่มนี้พูดเรื่อง HSST (High Speed Surface Transport System) ก็ค่อนข้างสับสน เพราะในนั้นอธิบายว่า รถไฟแม่เหล็ก HSST ยกสูงจากพื้นแค่ 8 มม. เลยเกือบจะเขียนให้อ่านแล้วเชียวว่า สงสัยญี่ปุ่นเกรงว่าจะไล่ตามเยอรมันไม่ทัน เลยยอมลดมาตรฐานตัวเองจาก 10 ซม. ลงมาเหลือ 8 มม. แล้วรีบเปิดใช้งานแข่งกับเทคโนโลยีเยอรมัน ซึ่งเปิดตัวไปแล้วที่เซี่ยงไฮ้ ทำนองว่าทำแบบขอไปทีก่อน เพราะทำมาก่อนตั้งนาน จะให้เยอรมันออกหน้าไปได้อย่างไร

โมเดลรถไฟความเร็วสูง HSST-03 ของประเทศญี่ปุ่น ที่ Okazaki south park
Image by http://ja.wikipedia.org/wiki/HSST

     ยังดีที่ยังฉุกคิดได้ว่า ไม่น่าจะเป็นไปได้ ญี่ปุ่นไม่น่าจะสะเพร่าขนาดนั้น ก็เลยไปสืบเสาะหนังสือมาได้อีก 2 เล่ม เสียเวลาอ่านนานพอสมควรจึงทราบว่า รถไฟแม่เหล็กที่สร้างกันอยู่ในโลกขณะนี้มีอยู่ 2 กลุ่ม ใหญ่ๆ ได้แก่ กลุ่มที่ใช้ แม่เหล็กไฟฟ้าธรรมดา (Normal Conducting Magnet) กับ กลุ่มที่ใช้ แม่เหล็กไฟฟ้าใช้ตัวนำยิ่งยวด (Super Conducting Magnet)

     กลุ่มที่ใช้แม่เหล็กไฟฟ้าธรรมดา มีอยู่หลายแบบ ทั้งที่วิ่งความเร็วปกติ และความเร็วสูง รถไฟแม่เหล็ก ของเยอรมันอยู่ในกลุ่มนี้ โดยมีทั้ง 2 แบบ คือ แบบความเร็วปกติ (ประมาณ 100 กม./ชม.) ได้แก่ M - Bahn ใช้วิ่งรับส่งผู้โดยสารในเมืองใหญ่ ซึ่งยังใช้ล้อเหมือนรถไฟปกติ แต่ขับเคลื่อนด้วย ลิเนียร์มอเตอร์ (ไม่รู้ว่าจะคิดออกมาทำไม) และ แบบความเร็วสูง (ความเร็ว 500 กม./ชม.) ได้แก่ TRANSRAPID ส่วนรถไฟแม่เหล็กของญี่ปุ่นที่อยู่ในกลุ่มนี้ คือ HSST

     รถไฟแม่เหล็ก HSST เป็นผลงานวิจัยของสายการบิน Japan Airline โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ สร้างไว้รับส่งผู้โดยสารระหว่างสนามบิน กับตัวเมือง ความตั้งใจแต่แรก ต้องการจะวิ่งด้วยความเร็วประมาณ 100 กม./ชม. แต่พอทำไปแล้วคงจะนึกสนุก เลยเพิ่มความเร็ว (ในการทดลอง) ขึ้นไปถึง 300 กม./ชม. รถไฟแม่เหล็กตัวนี้ยังไม่เห็นว่ามีใช้งานอยู่ที่ไหน

รถไฟความเร็วสูง HSST-100 ของประเทศญี่ปุ่น
(Aichi high-speed traffic eastern hill line)

Image by http://ja.wikipedia.org/wiki/HSST

     รถไฟแม่เหล็ก ในกลุ่มที่ใช้แม่เหล็กไฟฟ้าตัวนำยิ่งยวด (ที่จริงไม่น่าจะเรียกกลุ่ม เพราะทำอยู่รายเดียว) ได้แก่ รถ MLU ของ การรถไฟแห่งชาติญี่ปุ่น (JNR) ซึ่งทำการทดลองมาตั้งแต่ปี ค.ศ.1970 หลังการปรับโครงสร้าง และแปรรูปการรถไฟแห่งชาติไปแล้ว ตั้งแต่ปี ค.ศ.1986 งานวิจัยนี้จึงถูกส่งต่อไปยัง Railway Technical Research Institute (RTRI) รัฐบาลญี่ปุ่นได้ทุ่มเทเงินงบประมาณ ในการวิจัยลงไปตรงนี้ นับมูลค่ามากมายมหาศาลในแต่ละปี

     รถไฟแม่เหล็ก TRANSRAPID คือ เทคโนโลยีของเยอรมัน ที่ขายให้กับจีน เพื่อนำไปสร้างเป็นรถไฟ ที่เชื่อมระหว่างสนามบินผู่ตง กับตัวเมืองเซี่ยงไฮ้ ในประเทศจีน ซึ่งเพิ่งจะเปิดตัวไปเมื่อไม่นานมานี้ ส่วนรถไฟแม่เหล็ก MLU ของญี่ปุ่น ก็กำลังเร่งทำการทดลองเป็นการใหญ่ โดยคาดว่าจะเปิดการเดินรถในปี 2547

 
- จบตอนที่ 15 -
 

 
อนุญาตให้เผยแพร่ในเว็บไซต์รถไฟไทยดอทคอม
โดย อาจารย์ นคร จันทศร (Nakorn_C)
เรียบเรียง โดย Nathapong, Black Express and CivilSpice
ภาพประกอบโดย อาจารย์ Tuie









สงวนลิขสิทธิ์โดย © Rotfaithai.Com : All Right Reserved.

อนุญาตให้นำเนื้อหาไปใช้ได้ เพื่อประโยชน์ทางการศึกษา
หากจะนำไปเผยแพร่ยังเว็บไซต์ หรือสื่ออื่นๆ กรุณาขออนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร
พร้อมระบุอ้างอิงถึงแหล่งที่มาของข้อมูล ให้ถูกต้องและชัดเจน

ติดประกาศ: 2007-09-12 (3122 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]


Content ©