Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311896
ทั่วไป:13570458
ทั้งหมด:13882354
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


ความคงเส้นคงวาแบบญี่ปุ่น (ตอนที่ 18) : รถไฟความเร็วสูง 15





 

     ที่เขียนไว้ในตอนที่ 16 ว่านั่งรถไฟแม่เหล็กไปนานๆ ระวังจะกลายเป็น Linear Passenger นั้น ผมไม่ได้พูดเล่นนะครับ เพราะว่ารถไฟแม่เหล็ก แบบตัวนำยิ่งยวดของญี่ปุ่น จะมีเส้นแรงแม่เหล็ก ความเข็มข้นสูงมาก นี่ขนาดเสียเวลา กับการพัฒนา โล่ห์กันสนามแม่เหล็ก (Magnetic Shield) อยู่เป็นนานสองนานแล้ว แต่ก็ยังปรากฎว่า ความเข้มสนามแม่เหล็ก ตรงบริเวณที่นั่ง ที่ติดกับตัวนำยิ่งยวดยังสูง ถึง 4 เกาส์ (Gauss) ในขณะที่มาตรฐาน ของสถานพยาบาล (ไม่รู้ว่าที่ไหน) รับรองว่าสนามแม่เหล็กที่เข้มข้น ไม่เกิน 5 เกาส์ จะไม่มีอันตรายต่อมนุษย์

     อ่านถึงตรงนี้ ก็พอจะเชื่อว่าไม่อันตราย แต่พออ่านต่อไป ก็ออกจะสงสัย เพราะตอนที่ว่าด้วยสภาพแวดล้อม เขาบอกว่าความเข้มของสนามแม่เหล็ก บริเวณพื้นดินตรงใต้ทางรถไฟแม่เหล็ก ที่ยกสูง 8 เมตร มีค่าประมาณ 0.2 เกาส์ น้อยกว่าสนามแม่เหล็กโลก ที่เราเดินผ่านกันอยู่ทุกวัน ซึ่งมีความเข้มประมาณ 0.4 เกาส์ ไหนว่าไม่เกิน 5 เกาส์ แล้วไม่เป็นอันตราย แล้วทำไมตอนพูดเรื่องเกี่ยวกับสภาพแวดล้อม จึงต้องไปวัดห่างออกไปถึง 8 เมตร ถ้าไม่เป็นอะไรจริง น่าจะวัดกันตรงชานชาลา ที่คนยืนหรืออะไรทำนองนั้น

     ลองมาคิดดูว่า ถ้าคนเราต้องอยู่ภายใต้สนามแม่เหล็กเข้มข้น นานๆ จะเป็นอย่างไร ก็นึกไม่ออก เลยเดาเอาว่า ในเลือดคนเรา มีเหล็กอยู่ในเกล็ดเลือด ถ้าถูกแม่เหล็กดูดนานๆ ไม่ทราบว่าจะตกตะกอนหรือเปล่า ถ้าเกิดเป็นอย่างนั้น ขึ้นมาจริงๆ ก็จะกลายเป็น Linear Passenger ไป ดังที่เขียนให้อ่านเพื่อความขบขัน อย่าซีเรียส!

     จะบอกอะไรให้ว่า ผมเคยถือม้วนวีดีโอเทปบันทึกภาพไว้ แล้วเดินผ่านเครื่องกำเนิดไฟฟ้า บนรถจักรสองสามรอบ ภาพลบหมดเลย มนุษย์ที่ทำมาหากินอยู่แถวนั้นทุกวัน เป็นอย่างไรกันบ้าง ก็ไม่ทราบ นี่จะกลายเป็น ชี้ช่องอะไรหรือเปล่า ผมละกลัวจริงเชียวพวกชอบชี้ช่องเนี่ย!

     ผมลงมือเขียน เรื่องรถไฟแม่เหล็กไว้ ตั้งแต่ประเทศจีน ยังสร้างรถไฟแม่เหล็กไม่เสร็จ กว่าเรื่องที่เขียนไว้ จะตีพิมพ์ ก็คงจะพอทราบกันบ้างแล้วว่า ผลการใช้งานในประเทศจีนเป็นอย่างไร ถ้าทุกอย่างราบรื่น ญี่ปุ่นจะมามัวทอดหุ่ย นั่งทดลองไปเรื่อยก็คงไม่ได้ แผนการนำรถไฟแม่เหล็กมาใช้ คงจะต้องเร่งทำเป็นเรื่องเป็นราว ยกเว้นว่า ยังมีอะไรที่ทำให้ไม่สบายใจอยู่ ก็อาจต้องยอมตามหลังไปก่อน เป็นต้นว่าปัญหาเทคนิค ดังเช่นเรื่องความเข้มสนามแม่เหล็ก

     ทางฝั่งเยอรมัน เขาชี้ข้อบกพร่องของรถไฟแม่เหล็กของญี่ปุ่น ไว้หลายข้อเหลือเกิน ในขณะที่ญี่ปุ่นชี้ข้อบกพร่องได้ข้อเดียว คือ ข้อที่ว่ารถไฟแม่เหล็ก ของเยอรมัน ยกขึ้นสูงจากพื้นนิดเดียว ไม่น่าจะปลอดภัย สู้ของญี่ปุ่นไม่ได้ ใช้สเปคสูงส่ง ยกสูงตั้ง 10 ซม. แผ่นดินไหวรุนแรงก็ไม่เป็นไร

     เยอรมันบอกว่า การใช้ตัวนำยิ่งยวดในรถไฟแม่เหล็กของญี่ปุ่น สิ้นเปลืองพลังงานมาก ค่าก่อสร้างแพง มีเส้นแรงแม่เหล็กเข้มข้น ในตัวรถ ซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อคน และเครื่องมืออีเลคโทรนิค ที่อยู่ใกล้ มีส่วนที่สึกหรอ (ยังใช้ล้อ) ซึ่งต้องดูแลรักษา และประการสุดท้าย ควบคุมการลอยตัวให้สูงคงที่ไม่ได้ จริงอยู่ ที่สามารถลอยสูงที่สุด ถึง 10 ซม. แต่ตอนวิ่งช้าก็ลอยต่ำลง อย่างนี้ถ้าวิ่งเร็วๆ ก็จะวูบวาบ ผู้โดยสารคงเวียนหัวเวียนเกล้า ที่เยอรมันยอมแพ้มีเรื่องเดียวก็คือเรื่องลอยสูง 10 ซม. นี่แหละ แล้วท่านผู้อ่านจะเชียร์ค่ายไหน

ภาพบน : รถไฟแม่เหล็ก Maglev ของญี่ปุ่น
ภาพล่าง : รถไฟแม่เหล็ก Maglev ของเยอรมัน

     ว่าแต่ว่าจะแข่งขันกัน นำมาใช้อย่างเร่งรีบเช่นนี้ ก็น่าที่จะหวาดเสียว อยู่มิใช่น้อย ด้วยเหตุผลสองประการ คือประการแรก การยกตัวรถให้ลอยขึ้นจากพื้นทาง หากวิ่งอยู่ที่ความเร็วสูงแล้วเกิดมีปัญหา ที่ลอยอยู่เกิดตกลงมา คือมันไม่ยอมจะลอย จริงอยู่ที่มี ล้อนิรภัย (Safety Wheel) ไว้ใช้ในกรณีฉุกเฉิน แต่การตกลงมาเสียดสีกับทางที่ความเร็ว 500 กม./ชม. มันเร็วยิ่งกว่าเครื่องบินตอน Touch Down ขณะร่อนลงตั้งกว่าเท่าตัว ก็น่ากลัวว่าจะเกิดเสียดสีจนร้อน ไฟจะลุกท่วมเรื่องหนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ระบบของเยอรมันซึ่งยกลอยขึ้นไปเพียง 10 มม. โอกาสเกิดเหตุที่ว่านี้จึงค่อนข้างสูง มีเสียงวิจารณ์เรื่องนี้มาก แต่วิศวกรเยอรมัน เขายืนยันว่า ได้ทดลองกับรถต้นแบบ มาเป็นเวลานานแล้ว จึงรับประกันด้านความปลอดภัย ฝ่ายญี่ปุ่นก็ป่าวประกาศ (ความจริงคือแช่ง) ว่าทำอย่างเยอรมันไม่ปลอดภัย ถ้าจะคิดทำอะไรหมูๆอย่างนี้ ญี่ปุ่นทำสำเร็จไปตั้งนานแล้ว ฝ่ายเยอรมันก็ว่า "ถ้าของฉันใช้ได้ แกนั่นแหละที่โง่ คิดมาก"

     ประการที่สอง ที่น่าหวาดเสียวคือ ถ้าออกแบบ อากาศพลศาสตร์ (Aerodynamic) ผิดเหลี่ยมไปสักหน่อย ก็มีหวังได้ลอยออกจากราง คงได้ตายกันสมใจ ที่อยากรีบร้อน เพราะความเร็วสูงขนาดนี้ ใส่ปีกเข้าไปละก็บินได้เลย (ความเร็วบินขึ้น ของเครื่องบินโดยสาร เพื่อการพาณิชย์ ประมาณ 200 กม./ชม.) เคยเห็นการแข่ง Speed Boat บ้างไหม เวลาผิดเหลี่ยมขึ้นมา มันสามารถจะลอยได้อย่างไม่น่าเชื่อ มีนักแข่งตายจากอุบัติเหตุนี้อยู่บ่อยๆ คิดแล้วหวาดเสียว ญี่ปุ่นถึงไม่อยากรีบร้อนไง นี่ยังไม่ได้คิดไปไกลถึงว่า จะมีโอกาสชนกันที่ความเร็ว 500+2 กม./ชม. หรือไม่ แต่ไม่ว่าอะไรจะเกิด ถ้าคู่แข่งคิดไม่รอบคอบขืนมามัวแต่รอบคอบ ญี่ปุ่นก็จะไม่ทันกิน ฉะนั้นก็ให้สงสัยว่า ผู้โดยสารทุกคนที่ขึ้นไปนั่ง คงจะต้องทำประกันชีวิตด้วย เป็นข้อบังคับ สำหรับผู้โดยสาร ที่จะนั่งรถแม่เหล็ก Maglev ทุกคน

     

- จบตอนที่ 18 -
 

 
อนุญาตให้เผยแพร่ในเว็บไซต์รถไฟไทยดอทคอม
โดย อาจารย์ นคร จันทศร (Nakorn_C)
เรียบเรียง โดย Nathapong, Black Express and CivilSpice
ภาพประกอบโดย อาจารย์ Tuie









สงวนลิขสิทธิ์โดย © Rotfaithai.Com : All Right Reserved.

อนุญาตให้นำเนื้อหาไปใช้ได้ เพื่อประโยชน์ทางการศึกษา
หากจะนำไปเผยแพร่ยังเว็บไซต์ หรือสื่ออื่นๆ กรุณาขออนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร
พร้อมระบุอ้างอิงถึงแหล่งที่มาของข้อมูล ให้ถูกต้องและชัดเจน

ติดประกาศ: 2007-09-23 (3434 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]


Content ©