|
|
|
|
"สถานีรถไฟท่านาแล้ง" ตั้งอยู่ที่บ้านดงโพสี เมืองหาดทรายฟอง นครหลวงเวียงจันทน์ ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เป็นสถานีทางสะดวกประเภท ข. ทางเดี่ยว ใช้ประแจมือ และสัญญาณประจำที่ ชนิดหลักเขตสถานี ใช้ชื่อภาษาอังกฤษว่า THANALENG ใช้อักษรย่อ TNL และใช้เลขรหัสแทนชื่อสถานี 7201 มีทางหลีก 2 ทาง นับรวมทางประธานด้วย จะเป็น 3 ทาง โดยความยาวของทางหลีก 1 ภายในหลักปลอดภัย ยาว 1,400.00 เมตร ความยาวของทางหลีก 2 ภายในหลักปลอดภัย ยาว 300.00 เมตร อยู่ห่างจากจุดกึ่งกลาง ของสะพานมิตรภาพไทย-ลาว 3.50 กิโลเมตร และอยู่ห่างจากสถานีรถไฟหนองคาย ประเทศไทย เป็นระยะทางประมาณ 5.30 กิโลเมตร สำหรับการเดินรถระหว่างสถานี หนองคาย - ท่านาแล้ง - หนองคาย จะใช้ระเบียบตอนสมบูรณ์ การขอและให้ทางสะดวก จะทำผ่านทางเครื่องตราทางสะดวก (ชนิดแบนเล็ก) และปฏิบัติตาม ขดร. พ.ศ. 2535 ทุกประการ ทั้งนี้ได้มีการเปิดเดิน ขบวนรถไฟทดสอบ ระหว่างสถานีหนองคาย - สถานีท่านาแล้ง เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2551 ที่ผ่านมา
สถานีรถไฟท่านาแล้ง นอกจากจะเป็นสถานีรถไฟแห่งแรก ของประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และเป็น Freight Terminal ที่สำคัญแล้ว ในอนาคต ยังมีแผนการพัฒนาพื้นที่ โดยรอบบริเวณสถานีท่านาแล้ง ให้กลายเป็นศูนย์กลาง ทางธุรกิจการค้าแบบครบวงจร ตลอดจนศูนย์กลางทางการท่องเที่ยว จากทางรัฐบาล ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวอีกด้วย |
|
อาคารสถานีท่านาแล้ง |
|
อาคารสถานี ป้ายสถานี และชานชาลา สถานีท่านาแล้ง |
|
เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับสถานีรถไฟท่านาแล้ง:- |
|
|
1. |
ฝ่ายการช่างโยธา การรถไฟแห่งประเทศไทย ได้สร้างทางใหม่ จากสถานีหนองคายที่ กม. 621+100.00 623+756.00 เพื่อเชื่อมต่อกับทางรถไฟขององค์การรถไฟลาว บนสะพานมิตรภาพ ไทย-ลาว และฝ่ายการอาณัติสัญญาณ และโทรคมนาคม โดยได้ติดตั้งเครื่องตราทางสะดวก ซึ่งใช้ระหว่างสถานีหนองคาย ท่านาแล้ง และเครื่องกั้นถนนชนิดแผงเข็น (ก.4) ที่เชิงสะพานมิตรภาพไทย-ลาว ที่ กม. 623+014.40 เสร็จเรียบร้อยแล้ว และเริ่มเปิดใช้งานเส้นทางใหม่ และเครื่องกั้นถนนชนิดแผงเข็น (ก. 4) พร้อมเครื่องตราทางสะดวก อย่างเป็นทางการ เริ่มตั้งแต่วันอังคารที่ 1 กรกฎาคม 2551 เวลา 8.00 น. เป็นต้นไป |
|
2. |
องค์การรถไฟลาว ได้ประกาศเปิดใช้ทางรถไฟจากกลางสะพานมิตรภาพไทย-ลาว จาก กม. 0+000.00 (กลางสะพานมิตรภาพไทย-ลาว ซึ่งเชื่อมต่อกับทางรถไฟของการรถไฟแห่งประเทศไทย ที่ กม. 623+756.00) สถานีท่านาแล้ง ที่ กม. 3+500.00 รวมระยะทาง 3.500.00 กม. พร้อมเปิดใช้สถานีท่านาแล้ง, ประแจทางหลีก 1,2 ในย่านสถานี ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้ คือ |
|
|
|
|
|
|
2.1 |
ประแจเบอร์ 111 มีจุดตัดประแจที่ กม. 3+340.00 |
|
2.2 |
ประแจเบอร์ 112 มีจุดตัดประแจที่ กม. 1+900.00 |
|
2.3 |
ประแจเบอร์ 113 มีจุดตัดประแจที่ กม. 2+770.00 |
|
2.4 |
ประแจเบอร์ 114 มีจุดตัดประแจที่ กม. 2+470.00 |
|
2.5 |
ทางหลีก 1 ระหว่างประแจเบอร์ 111 ถึงประแจเบอร์ 112 มีตวามยาวภายในหลักปลอดภัย 1,400.00 เมตร |
|
2.6 |
ทางหลีก 2 ะหว่างประแจเบอร์ 113 ถึง ประแจเบอร์ 114 มีตวามยาวภายในหลักปลอดภัย 300.00 เมตร |
|
|
|
|
|
3. |
ให้ใช้เครื่องตราทางสะดวกชนิดแบนเล็ก ขอและให้ทางสะดวก ระหว่างสถานีหนองคาย ท่านาแล้ง และให้ใช้ลูกตราทางสะวดก ซึ่งใช้ระหว่างสถานีหนองคาย ท่านาแล้ง เลขที่ 1-24 จำนวน 24 ลูก |
|
|
|
|
ลักษณะและรูปแบบของสัญญาณประจำที่, ประแจ และ เครื่องตราทางสะดวก ของสถานีท่านาแล้ง |
|
ประแจ และ เครื่องตราทางสะดวก ของสถานีท่านาแล้ง |
|
ผังบรรยายทาง ของสถานีท่านาแล้ง |
|
ลักษณะของโคมประแจ |
|
โคมประแจ แสดงท่าให้ขบวนรถเดินเข้าทางประธาน |
|
โคมประแจ แสดงท่าให้ขบวนรถเดินเข้าทางหลีก |
|
หลักเขตสับเปลี่ยน |
|
|
|
|
|
ป้ายหลักเขตสถานี |
|
|
|
|
|
|
ป้ายหวีดรถจักร |
|
|
ซุ้มพนักงานกั้นถนนฝั่งลาวก่อนขึ้นสะพานมิตรภาพไทย-ลาว |
|
ทางรถไฟก่อนขึ้นสะพานมิตรภาพไทย-ลาว ด้านฝั่งลาว |
|
ถนนผ่านเสมอระดับทาง ใช้แผงเข็นกั้นถนน |
|
ทางรถไฟก่อนถึงประแจ ของสถานีท่านาแล้ง |
|
ข้อมูลเพิ่มเติม :-
|
|
|
|
ขอขอบคุณสำหรับการอนุเคราะห์ข้อมูล
และภาพประกอบโดย ฝ่ายการเดินรถ การรถไฟแห่งประเทศไทย |
เรียบเรียงลงเว็บไซต์ โดย CivilSpice |
|