Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311329
ทั่วไป:13291490
ทั้งหมด:13602819
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - รวมข่าวโครงการรถไฟทางคู่
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

รวมข่าวโครงการรถไฟทางคู่
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 18, 19, 20 ... 391, 392, 393  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
nathapong
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/03/2006
Posts: 3515
Location: Ayuthaya - Lamlukka - Navanakhon - Silom

PostPosted: 26/02/2010 5:52 pm    Post subject: Reply with quote

Quote:
ส่วนการหารายได้ให้ ร.ฟ.ท.จะมีการพัฒนาที่ดินผืนใหญ่ในหลายจุด ได้แก่
1. บางซื่อพัฒนาเป็นฮับของรถไฟ
2. ที่ดินริมน้ำแปลงต่างๆ
3. ที่ดินย่านหัวลำโพงหลังจากที่ใช้บางซื่อเป็นศูนย์ใหญ่ของรถไฟ ก็จะนำมาพัฒนาหารายได้ต่อไป


จากข่าว ไม่แน่ใจว่า ผู้ให้ข่าว ท่านมีรายละเอียด ที่เกี่ยวเนื่องต่อหรือไม่...

เรื่องบางเรื่องเป็นสิ่งที่ละเอียดอ่อน กับองค์กร และคนในองค์กรนี้ .....

จุดเริ่มต้น ของกิจการรถไฟร่วมร้อยกว่าปี เริ่มที่นี่ สถานีกรุงเทพ (หัวลำโพง) บริเวณปลายชานชลา 12

ถ้าจะมีการนำที่ดินไปพัฒนา อย่างน้อย คงต้องสามารถแจงได้ว่า ตรงจุดนี้ ไม่ผลกระทบ อะไรบ้าง.....หรือยังคิดไม่ออก

ทำไปทำมา เดี๋ยวจะกลายเป็นเรื่องสาดน้ำมันเข้ากองไฟ อีกรอบ ซะหละมั้ง....เฮ้อ Twisted Evil
Back to top
View user's profile Send private message Send e-mail
kikoo
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 01/02/2010
Posts: 1667
Location: มอ.ตรัง และ สถานีตรัง

PostPosted: 26/02/2010 11:10 pm    Post subject: Reply with quote

ต้องทำใจล่ะครับ เพราะ(ปัจจุบัน)รฟท.เป็นเหลนเมียน้อย รอ(เศษ)งบประมาณ และชื่นชอบของมือ2ล่ะครับ

ถ้าล้นเกล้ารัชกาลที่5ยังทรงมีพระชนม์ชพอยู่ถึงปัจจุบัน พระองค์ท่านคงจะเสียพระราชหฤทัยที่ รฟท. มีปัญหาแบบนี้ครับ
Back to top
View user's profile Send private message Send e-mail
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42793
Location: NECTEC

PostPosted: 25/03/2010 4:31 pm    Post subject: Reply with quote

สนข.ชงแผนรถไฟทางคู่5ปีแรก แผนเร่งด่วนลุย3เส้นทาง415กม

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 25 มีนาคม 2553 07:23 น.

เปิดแผนรถไฟรางคู่เฟสแรก 3 เส้นทาง คาดเริ่มก่อสร้างในปี 53

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 24 มีนาคม 2553 16:07 น.

สนข.ชงแผนรถไฟทางคู่5ปีแรก

โดย ASTVผู้จัดการรายวัน 25 มีนาคม 2553 07:12 น.


นายประณต สุริยะ รองผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เปิดเผยภายหลังเป็นประธานเปิดการสัมมนาวิชาการ ครั้งที่1 การศึกษาความเหมาะสมและออกแบบเบื้องต้นระบบรถไฟทางคู่ เพื่อการขนส่งและการจัดการโลจิสติกส์ (ระยะที่1) วานนี้ (24 มี.ค.) ว่า จากการศึกษาเบื้องต้นพบว่ารถไฟทางคู่ที่มีความจำเป็นระยะเร่งด่วนใน 5 ปีแรกใน 3 เส้นทางระยะทาง 415 กิโลเมตร ประกอบด้วย

1. สายเหนือ ช่วงลพบุรี- นครสวรรค์ ระยะทาง 113 กิโลเมตร
2. สายตะวันออกเฉียงเหนือ ช่วงมาบกะเบา-นครราชสีมา (ชุมทางจิระ) ระยะทาง 132 กิโลเมตร และ
3. สายใต้ ช่วงนครปฐม-หนองปลาดุก-หัวหิน ระยะทาง 165 กิโลเมตร

วงเงินลงทุนประมาณ 40,000 ล้านบาท เนื่องจากเส้นทางมีศักยภาพในการรองรับปริมาณผู้โดยสารและการขนส่งสินค้า รวมทั้งการเชื่อมโยงสู่การขนส่งระบบอื่นๆ เพื่อการพัฒนาโลจิสติกส์ของประเทศ ลดปัญหาคอขวด การจอดรอหลีก โดยเป้าหมายในการพัฒนาเพื่อทำให้รถขนส่งผู้โดยสารมีความเร็ว 120 กม.ต่อชม. รถสินค้ามีความเร็ว 100 กม.ต่อชม. และพัฒนาเป็น 160 กม.ต่อชม.ในอนาคต โดยที่ปรึกษาจะสรุปผลศึกษาในเดือนส.ค.2553

นายประณตกล่าวว่า จากการสำรวจแนวทางขณะนี้ สายใต้ นครปฐม-หัวหิน ไม่มีปัญหา ส่วนสายเหนือช่วง ลพบุรี-ปากน้ำโพ และสายตะวันออกเฉียงเหนือ ช่วงมาบกะเบา-นครราชสีมา อยู่ระหว่างศึกษาความเหมาะสมระหว่างการใช้แนวเส้นทางเดิมหรือการปรับแนวสายทางใหม่ เพื่อลดปัญหาการผ่านพื้นที่ประวัติศาสตร์และพื้นที่อ่อนไหว ป่าอนุรักษ์ โดยจะมีการจัดสัมมนารับฟังความคิดเห็นจากประชาชนในพื้นที่ ในวันที่ 26 มี.ค.,30 มี.ค.,และ 22 เม.ย. ที่จังหวัดนครราชสีมา ,จังหวัดลพบุรี และ ที่หัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ตามลำดับ

นายทศวรรณ นิจพาณิชย์ รองผู้จัดการโครงการ กล่าวว่า สายเหนือช่วง ลพบุรี-ปากน้ำโพ ระยะทาง 113 กิโลเมตร พบว่า แนวทางที่ 2 ซึ่งเลี่ยงเขตเมืองเก่าลดผลกระทบที่ทำให้เกิดความเสียหายต่อแหล่งประวัติศาสตร์และโบราณสถาน เช่น พระปรางค์สามยอด และวัดพระศรีมหาธาตุแต่ต้องเวนคืนที่ดินระยะทางกว่า 29 กิโลเมตร โดยมีผลตอบแทนทางด้านเศรษฐกิจ (EIRR) 15.8% ผลตอบแทนด้านการเงิน (FIRR) 7.46%

ส่วนแนวทางที่1 ใช้แนวเส้นทางรถไฟ เดิม มีปัญหาในการบำรุงรักษาและการก่อสร้าง แต่ไม่ต้องเวนคืนที่ดิน โดยมี EIRR16.8 % FIRR 7.37% ซึ่งผลสำรวจความเห็นเบื้องต้นสนุบสนุนแนวทางที่ 2 ถึง72.2%

สายตะวันออกเฉียงเหนือ ช่วงมาบกะเบา-นครราชสีมา ระยะทาง 132 กิโลเมตร
ทางเลือกที่ 1 ขยายทางคู่ตามแนวทางรถไฟสายเดิม ซึ่งผ่านพื้นที่ลุ่มน้ำ 1B ระยะทาง695 เมตร ผ่านพื้นที่ป่าอนุรักษ์ เพิ่มเติมตามมติครม.ระยะทาง 9.8 กิโลเมตร เวนคืนน้อย
ส่วนทางเลือกที่ 2ใช้แนวเส้นทางขนานกับมอเตอร์เวย์ในช่วงต้นแล้วจึงปรับแนวไปตามทางรถไฟเดิมสามารถเลี่ยงพื้นที่ป่าอนุรักษ์และพื้นที่ลุ่มน้ำ 1B แต่ต้องเวนคืนที่ดินตลอดแนวที่เลี่ยงออกมา

นายทศวรรณกล่าวว่า นอกจากนี้จะต้องมีสถานีย่านกองเก็บตู้สินค้า (CY) 3 แห่ง ได้แก่ สถานีกุดจิก จ.นครราชสีมา (จริงๆมีแล้ว น่าจะเป็นจุดที่ 2 หละมากกว่า), สถานีชุมทางถนนจิระ จ.นครราชสีมา (ที่ก็มีแล้วแต่คงใหญ่ไม่พอกระมัง) ,สถานีนครสวรรค์ และสถานีบรรจุและแยกสินค้ากล่อง (ICD) 1 แห่ง โดยขยายที่ลาดกระบัง เพื่อเชื่อมต่อโครงข่ายการขนส่งสินค้า ตามแนวเส้นทางรถไฟทางคู่ 3 เส้นทาง โดยผลการคาดการณ์ปริมาณผู้โดยสารทางรางในปี 2577 จะเพิ่มเป็น 413,000 เที่ยว/วันส่วนสินค้าจะเพิ่มเป็น 682,000 ตัน/วัน

สำหรับมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 17 พ.ย. 2552 เห็นชอบการพัฒนาโครงข่ายรถไฟทางคู่ ระยะเร่งด่วน 5 เส้นทาง ระยะทาง 767 กิโลเมตร วงเงินรวม 66,110 ล้านบาท ประกอบด้วย

1.โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่สายลพบุรี-ปากน้ำโพ ระยะทาง 118 กิโลเมตร วงเงิน 7,860 ล้านบาท
2.สายมาบกระเบา-นครราชสีมา ระยะทาง 132 กิโลเมตร วงเงิน 11,640 ล้านบาท
3.สายชุมทางถนนจิระ-ขอนแก่น ระยะทาง 185 กิโลเมตร วงเงิน 13,010 ล้านบาท
4.สายนครปฐม-หัวหิน ระยะทาง 165 กิโลเมตร วงเงิน 16,600 ล้านบาท และสายประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร ระยะทาง 167 กิโลเมตร วงเงิน 17,000 ล้านบาท
โดยล่าสุด ได้มีการบรรจุแผนรถไฟทางคู่สายฉะเชิงเทรา-คลองสิบเก้า-แก่งคอย ระยะทาง 106 กิโลเมตร วงเงิน 11,348.356 ล้านบาท เพิ่มเติมในแผนเร่งด่วน รวมเป็น 6 เส้นทาง
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42793
Location: NECTEC

PostPosted: 26/03/2010 11:05 am    Post subject: Reply with quote

ร.ฟ.ท.เวนคืน 119 ไร่ สร้างทางคู่สายใหม่ 106 ก.ม. ฉะเชิงเทรา-คลองสิบเก้า-แก่งคอย

คอลัมน์ เวนคืนอัพเดต ประชาชาติธุรกิจ
ปีที่ 33 ฉบับที่ 4195 วันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2553

Click on the image for full size

หากการเมืองไม่พลิกผันตามกำหนดวันที่ 2 เมษายน 2553 นี้ คณะกรรมการ (บอร์ด) สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) จะเคาะแผนปรับปรุงการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) วงเงินลงทุน 1.84 แสนล้านบาท ที่ "โสภณ ซารัมย์" รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ไฟเขียวช่วงก่อนหน้านี้

หนึ่งในแผนดังกล่าวมีโครงการเร่งด่วนที่ สศช.พยายามผลักดันให้แจ้งเกิดโดยเร็ว คือ โครงการก่อสร้างทางรถไฟทางคู่สายใหม่ ในเส้นทางตะวันออก ช่วงฉะเชิงเทรา-คลองสิบเก้า-แก่งคอย เพื่อเป็นโครงข่ายเชื่อมต่อกับทางคู่สายปัจจุบันที่อยู่ระหว่างก่อสร้าง จากฉะเชิงเทรา-ศรีราชา-แหลมฉบัง เพื่อรองรับการขยายตัวของท่าเรือแหลมฉบัง และเพิ่มขีดความสามารถการขนส่งทางรางและโลจิสติกส์จากภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือไปยังชายฝั่งทะเลตะวันออกได้สมบูรณ์ขึ้น เพราะเมื่อทางคู่สายนี้เสร็จเรียบร้อยจะเพิ่มประสิทธิภาพด้านการขนส่งได้อีกอย่างน้อย 1 เท่าตัว

รูปแบบของโครงการที่ ร.ฟ.ท.ว่าจ้าง ที่ปรึกษาออกแบบไว้ ในเนื้องานจะมีการก่อสร้างทางรถไฟสายใหม่ 1 สายทาง คู่ขนานไปกับทางรถไฟสายเดิม จุดเริ่มต้นจากสถานีฉะเชิงเทรา ไปตามแนวทางรถไฟสายตะวันออกเดิมหรือสายอรัญประเทศ จากนั้นผ่านสถานีบางน้ำเปรี้ยว สถานีคลองสิบเก้า แล้วแยกขนานไปกับทางรถไฟสายคลองสิบเก้า-แก่งคอย ผ่านสถานีองครักษ์ วิหารแดง บุใหญ่ สิ้นสุดปลายทางที่สถานีแก่งคอย รวมระยะทาง 106 กิโลเมตร

แนวเส้นทางจะพาดผ่านพื้นที่ 3 จังหวัด คือ จังหวัดฉะเชิงเทรา บริเวณอำเภอเมือง อำเภอบางน้ำเปรี้ยว พื้นที่จังหวัดนครนายก ที่อำเภอองครักษ์ อำเภอบ้านนา และพื้นที่จังหวัดสระบุรี ที่อำเภอวิหารแดง อำเภอเมือง และอำเภอแก่งคอย

แม้จะใช้เขตทางรถไฟเดิม แต่จำเป็นต้องการเวนคืนที่ดินเพิ่มอีก 119 ไร่ เพื่อสร้างทางคู่เลี่ยงเมือง ระยะทางรวม 7.1 กิโลเมตร ใน 3 บริเวณ คือ

1.นอกย่านของสถานีชุมทางฉะเชิงเทรา ระหว่างกิโลเมตรที่ 61+190 ถึงกิโลเมตรที่ 61+600 เชื่อมสายคลองสิบเก้า-แก่งคอย กับสายฉะเชิงเทรา-สัตหีบ ระยะทาง 1.41 กิโลเมตร

2.ชุมทางบ้านภาชี ระหว่างกิโลเมตรที่ 92+000 ถึงกิโลเมตรที่ 93+600 เชื่อม สายเหนือกับสายตะวันออกเฉียงเหนือ ระยะทาง 1.60 กิโลเมตร

3.ชุมทางแก่งคอย ระหว่างกิโลเมตรที่ 163+350 ถึงกิโลเมตรที่ 167+140 เชื่อมสายตะวันออกเฉียงเหนือกับสายคลองสิบเก้า-แก่งคอย ระยะทาง 4.05 กิโลเมตร

ส่วนเนื้องานอื่น ๆ จะมีการก่อสร้างอุโมงค์บริเวณเขาพระพุทธฉาย ขนานไปกับอุโมงค์เดิมที่กิโลเมตรที่ 147+100 ถึงกิโลเมตรที่ 148+307 ระยะทาง 1.2 กิโลเมตร ก่อสร้างสถานีเพิ่มเติม 1 สถานี ที่สถานีไผ่นาบุญที่กิโลเมตร 162+819 ระหว่างสถานีบุใหญ่ และสถานีแก่งคอย เพื่อใช้เป็นสถานีควบคุมระบบอาณัติสัญญาณ รวมถึงอาคารประกอบสถานีอื่น ๆ ที่มีอยู่เดิมให้สมบูรณ์ ติดตั้งระบบอาณัติสัญญาณและโทรคมนาคมสำหรับทางคู่สายใหม่และทางคู่เลี่ยงเมือง

เบ็ดเสร็จใช้เงินลงทุนทั้งหมด 11,348.35 ล้านบาท เป็นค่าชดเชยที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง 128.82 ล้านบาท ค่าว่าจ้างที่ปรึกษาควบคุมงานก่อสร้าง 414.24 ล้านบาท และค่าก่อสร้างและติดตั้งระบบอาณัติสัญญาณ 10,805.29 ล้านบาท

กรอบเวลาดำเนินการนั้น หลังจาก คณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติจะใช้เวลาการเวนคืนที่ดิน 15 เดือน จัดประกวดราคา 7 เดือน ก่อสร้างและติดตั้งระบบอีก 36 เดือน หรือประมาณ 3 ปีเศษ

โดย ร.ฟ.ท.ประเมินคร่าว ๆ ว่า หากโครงการนี้ผ่านการพิจารณาจากบอร์ด สภาพัฒน์ ต้นเดือนเมษายนนี้ หลังจากนั้นประมาณวันอังคารที่ 20 หรืออย่างช้าวันที่ 27 เมษายน สศช.จะนำเข้าสู่การพิจารณาของ ครม. เมื่อ ครม.อนุมัติ ร.ฟ.ท.จะว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษามาคุมงานและจัดทำเอกสารประกวดราคาทันที โดยแบ่งการก่อสร้างเป็น 2 สัญญาจากระยะทางทั้งหมด 106 กิโลเมตร ใช้เวลาดำเนินการ 5 เดือน คาดว่าประมาณเดือนตุลาคมนี้ จะเปิดประมูลได้

เพราะทั้งแผนการทุกอย่างตั้งแท่นรออยู่แล้ว เหลือเพียงให้รัฐบาลไฟเขียวเท่านั้น
Back to top
View user's profile Send private message
jojoja
3rd Class Pass
3rd Class Pass


Joined: 04/02/2010
Posts: 133

PostPosted: 26/03/2010 12:42 pm    Post subject: Reply with quote

อยากเห็นทางคู่ทั่วประเทเร็วๆจังเลยครับ
_________________
เราโตมาได้ด้วยเงินจากรถไฟครับ
Back to top
View user's profile Send private message Send e-mail
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42793
Location: NECTEC

PostPosted: 29/03/2010 12:32 pm    Post subject: Reply with quote

รถไฟควัก 4 หมื่นล.รอสร้าง
สยามธุรกิจ ฉบับที่ 1086 ประจำวันที่ 27-3-2010 ถึง 30-3-2010

สนข.คาดรถไฟรางคู่ 3 เส้นทางแรกแจ้งเกิดปลาย ปี 53 นี้ ร.ฟ.ท.เตรียมงบฯ 4 หมื่นล้านพร้อมสร้าง “ประณต” ชี้ขนาดรางMeter Gauge สามารถวิ่งได้ 160 กม./ชม. ไม่เกี่ยวกับม้าเหล็กตกรางบ่อย ขณะ ที่ผู้เชี่ยวชาญระบบรถไฟหนุนนำระบบรถไฟฟ้าวิ่งควบคู่รถไฟดีเซลประหยัดค่า ใช้จ่ายกว่าครึ่ง

นายประณต สุริยะ รองผู้อำนวย การสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและการจราจร (สนข.)เปิดเผยถึงการสัมมนาเชิงวิชาการ ครั้งที่ 1 เรื่อง “การศึกษาความเหมาะสมและออกแบบเบื้องต้นระบบรถไฟรางคู่ เพื่อการขนส่ง และการจัดการลอจิสติกส์ ระยะที่ 1” ว่า จากมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 17 พ.ย.52 ที่เห็นชอบโครงข่ายการพัฒนารถไฟรางคู่ ระยะเร่งด่วน 762 กิโลเมตร ใน 5 เส้นทาง ได้แก่

1.สายเหนือ ช่วงลพบุรีนครสวรรค์ ระยะทาง 113 กม.
2.สายตะวันออกเฉียงเหนือ ช่วงมาบกะเบา นครราชสีมา ระยะทาง 132 กม.
3.สายตะวันออกเฉียงเหนือ ช่วงชุมทางถนนจิระ ขอนแก่น ระยะทาง 185 กม.
4.สายใต้ ช่วงนครปฐม หนองปลาดุก หัวหิน ระยะทาง 165 กม. และ
5.สายใต้ ช่วงประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร ระยะทาง 167 กม. วงเงินรวมกว่า 6.6 หมื่นล้านบาท

อย่างไรก็ดี จากการศึกษาพบว่ามี 3 เส้นทาง ที่คาดว่าจะพิจารณาเพื่อดำเนินการก่อสร้างในปลายปี 2553 นี้ ได้แก่ สายเหนือ ช่วงลพบุรี นครสวรรค์ สายตะวันออกเฉียงเหนือ ช่วงมาบกะเบา นครราชสีมา และสายใต้ ช่วงนครปฐมหนองปลาดุกหัวหิน เนื่องจากทั้ง 3 เส้นทางมีศักยภาพในการรองรับปริมาณผู้โดยสารและการขนส่งสินค้า และยังเชื่อมโยงสู่การขนส่งระบบอื่นๆ เพื่อการพัฒนาลอจิสติกส์ของประเทศ เมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จจะทำให้มีรางรถไฟที่แข็งแรง ระบบอาณัติสัญญาณที่ปลอดภัย และการเดินรถที่มีประสิทธิภาพ ทำความเร็วได้ไม่น้อยกว่า 120 กม./ชม.

“การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เตรียมงบประมาณ 40,000 ล้านบาท เพื่อดำเนินการโครงการรถไฟรางคู่ ใน 3 เส้นทางแรก ทั้งนี้ ร.ฟ.ท.จะเริ่มก่อสร้าง หลังจากที่มีการสำรวจ และทำความคิดเห็นสิ่งแวดล้อมแล้วเสร็จ โดยมีระยะเวลาการก่อสร้างทั้งสิ้น 5 ปี” นายประณต กล่าว

นายประณต กล่าวอีกว่า รถไฟรางคู่ดังกล่าวจะยังคงขนาดรางไว้ที่ 1 เมตร (Meter Gauge) เท่าเดิม เพื่อเชื่อมกับรางคู่ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ซึ่งในอนาคตจะเร่งพัฒนาให้สามารถวิ่งได้ 160 กม./ชม. และขนส่งสินค้าวิ่งในอัตราความเร็วที่มีความปลอดภัยอยู่ที่ 120 กม./ชม. อย่างไรก็ดี สาเหตุที่รถไฟตกรางบ่อยครั้ง ไม่เกี่ยวกับขนาดรางว่าจะเป็นขนาด 1 เมตร หรือ ขนาด 1.435 เมตร (Standard Gauge) อยู่ที่ว่ารางนั้นๆจะมีความแข็งแรงมากน้อยเพียงไร

สำหรับกรณีประเทศเวียดนาม และจีนจะปรับเปลี่ยนขนาดรางจาก 1 เมตร เป็น 1.435 เมตรนั้น ไม่ได้เป็นปัญหา เพราะว่าการขนถ่ายสินค้าไม่ได้เป็นการขนถ่ายแบบเทกองดังเดิม จะเป็นการย้ายตู้คอน เทนเนอร์แทน แต่ถ้าประเทศไทยต้องการจะได้รถไฟความเร็วสูง ที่สามารถวิ่งได้เร็วถึง 250-300 กม./ชม. ก็อาจจะมีเส้นทางรถไฟขึ้นมาใหม่ และจะต้องมีขนาดรางเพิ่มขึ้นมาเป็น 1.435 เมตร

ด้านนายสุชัย รอยวิวัฒน์ ผู้เชี่ยวชาญ อาวุโสด้านระบบรถไฟ กล่าวว่า ระบบราง 1 เมตรนั้น จากการศึกษาสามารถวิ่งได้ 160 กม./ชม. ซึ่งไม่ใช่เรื่องใหม่และไม่มีปัญหา เพราะว่าประเทศ มาเลเซีย สิงคโปร์ ออสเตรเลีย ก็เป็นระบบราง 1 เมตร และสามารถ วิ่งได้ 160 กม./ชม. แต่ถ้านำระบบรถไฟฟ้าเข้ามาวิ่งแทนรถไฟดีเซลได้ จะสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายไปได้กว่าครึ่ง ซึ่งประเทศในยุโรปส่วนใหญ่ ก็ยังไม่เป็นระบบรถไฟฟ้าทั้งหมด ยกเว้นประเทศเล็กๆ เช่น สวิตเซอร์แลนด์ ที่ทั่วประเทศเป็นรถไฟฟ้า สำหรับประเทศอังกฤษประมาณ 35% ที่เป็นระบบรถไฟฟ้า ถ้าประเทศไทยเริ่มวันดำเนินการตั้งแต่วันนี้ก็ยังไม่ช้าไป

“จากประสบการณ์ที่ผ่านมา ผลการศึกษาพบว่า เส้นทางระบบรถไฟฟ้า เป็นระบบที่ออกแบบและถูกใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด เป็นระบบที่ดีที่สุดของการขนส่งทางรางในปัจจุบัน เมื่อเทียบกับระบบที่ใช้รถจักรดีเซลแล้ว ค่าใช้จ่ายในการเช่าซื้อต่ำกว่า 20% และการบำรุงรักษาต่ำกว่า 35%” นายสุชัย กล่าว

สำหรับภาพรวมของรถไฟรางคู่ 3 เส้นทางแรก ควรออกแบบเส้นทางให้รถไฟฟ้าวิ่งร่วมได้ และให้สามารถวิ่งได้ 160 กม./ชม.แต่ออกแบบระบบอาณัติสัญญาณไฟสี ความเร็ว 120 กม./ชม. โดยที่ไม่มีทางตัดเสมอระดับตลอดเส้นทาง และให้เตรียมการโดยสารระบบรถไฟฟ้า ออกแบบชานชาลาที่สถานีเป็นชานชาลาสูง 110 ซม. และ 180 ซม. รวมทั้งเพิ่มระบบ ATP และ CAB SIGNAL เพิ่มเติมในระบบไฟสี โดยที่มีการจัดศูนย์ช่วยเหลือที่ชุมทางบ้านภาชี ชุมทางแก่งคอย และชุมทางหนองปลาดุก
Back to top
View user's profile Send private message
prasertniti
3rd Class Pass
3rd Class Pass


Joined: 04/03/2010
Posts: 15
Location: ร่อนพิบูลย์ - กรุงเทพ

PostPosted: 29/03/2010 2:13 pm    Post subject: Reply with quote

ผมว่าควรสร้างรถไฟรางคู่ก่อนสร้างรถไฟความเร็วสูงนะ
อยากให้เริ่มสร้างกลางปีนี้เลยอะครับ
Back to top
View user's profile Send private message Send e-mail
auy1988
3rd Class Pass (Air)
3rd Class Pass (Air)


Joined: 03/03/2010
Posts: 291
Location: ที่นี่สถานีเมืองพล ที่นี่สถานีเมืองพล

PostPosted: 29/03/2010 3:04 pm    Post subject: Reply with quote

งานนี้พ่อค้าเหล็ก สมบูรณ์กันถ้วนหน้า

จะทำทางทั้งทีซับซ้อนซ่อนเงื่อน กลัวแต่ตัวเองไม่อิ่ม ผลเสียก็ตกแก่คนนั่งรถไฟ เฮ้อ
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42793
Location: NECTEC

PostPosted: 01/04/2010 11:21 pm    Post subject: Reply with quote

สนข.จับมือหอฯโคราช-ลพบุรีดันรางคู่
โดย กอง บก.ฐานเศรษฐกิจ
หน้า อสังหาฯ-คมนาคม
หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจฉบับที่ 2,518 1 - 3 เมษายน พ.ศ. 2553
ออนไลน์ เมื่อวันอังคารที่ 30 มีนาคม 2010 เวลา 10:01 น.

สนข.จับมือสภาหอการค้าเมืองโคราชและลพบุรีแจ้งเกิดโครงการรถไฟรางคู่เพื่อการขนส่งและโลจิสติกส์ ชี้แม้สิ่งแวดล้อมไม่ผ่าน แต่ได้เตรียมวางแผนสร้างเส้นทางเลี่ยง ทั้งเดินหน้าผลักดัน 3 เส้นทางช่วงรอยต่อ เหนือ-อีสานและใต้ ไล่ตั้งแต่ ลพบุรี-นครสวรรค์,มาบกะเบา-นครราชสีมา และนครปฐม-หัวหิน ระยะทาง 415 กม. งบ 3.6 หมื่นล้านบาท คลอดภายในปีนี้

นายประณต สุริยะ รองผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร(สนข.) เปิดเผย "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า สนข.ได้ร่วมกับภาครัฐและเอกชนในจังหวัดนครราชสีมาและจังหวัดลพบุรีจัดสัมมนารับฟังความคิดเห็นในกรณีศึกษาความเหมาะสมและการออกแบบเบื้องต้น ระบบรถไฟรางคู่เพื่อการขนส่งและจัดการโลจิสติกส์ (ระยะที่ 1) ไปแล้ว

จากการสอบถามภาคเอกชนในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา โดยเฉพาะหอการค้าจังหวัดนครราชสีมาได้ให้ความสนใจและพร้อมสนับสนุนโครงการมาโดยตลอด เนื่องจากเส้นทางสายตะวันออกเฉียงเหนือ มาบกะเบา-นครราชสีมา ระยะทาง 132 กิโลเมตรจะใช้งบประมาณ 17,000 ล้านบาทนั้นถือเป็นเส้นทางการขนส่งสินค้าสำคัญของจังหวัดนครราชสีมาและจังหวัดอื่น ๆ ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้มาก แม้ว่าการผลักดันตามรายงานผลการศึกษาเกรงว่าจะมีปัญหาด้านผลกระทบสิ่งแวดล้อมก็ตาม

ดังนั้นจึงให้ศึกษาการจัดสร้างทางเลี่ยงควบคู่กันไปด้วยเพื่อใช้แทนจุดที่มีปัญหา ทั้งการเลี่ยงแนวเดิมที่มีปัญหา การเปลี่ยนแนวเส้นทางใหม่ เช่นกรณีเส้นทางลพบุรี-นครสวรรค์ที่ผ่านเขตโบราณสถานประมาณ 20 เมตร ก็ได้มีการเพิ่มสถานีอีก 1 แห่งและสร้างทางใหม่เลี่ยงเมืองระยะทางประมาณ 29 กิโลเมตร ส่วนเส้นทางมาบกะเบา นครราชสีมาที่จะผ่านพื้นที่คดเคี้ยวและลาดชันที่เป็นพื้นที่ป่าอนุรักษ์จะให้ใช้แนวเส้นทางคู่ขนานไปกับทางมอเตอร์เวย์ สายบางปะอิน-นครราชสีมา หรือการขยายเส้นทางเดิม ตลอดจนการสร้างทางยกระดับและการเลือกวิธีการขุดเจาะอุโมงค์

นายประณตกล่าวอีกว่า จะร่วมมือกับจังหวัดลพบุรีและสภาหอการค้าจังหวัดเพื่อผลักดันเส้นทางสายเหนือ ช่วงลพบุรี-นครสวรรค์ ระยะทาง 118 กิโลเมตร งบประมาณ 7,860 ล้านบาท สำหรับอำนวยการขนส่งสินค้าและอำนวยความสะดวกรวดเร็วด้านการเดินทางสู่กรุงเทพมหานครและท่าเรือสำคัญ ๆ ของประเทศไทยได้รวดเร็วขึ้น เนื่องจากนครสวรรค์มีแหล่งวัตถุดิบโดยเฉพาะข้าวจำนวนมาก แต่ละปีต้องใช้การขนส่งทางรถยนต์ซึ่งใช้งบประมาณจำนวนมาก ดังนั้นหากส่งเสริมให้หันมาใช้ทางรถไฟก็จะลดค่าใช้จ่ายด้านต้นทุนการขนส่งลงได้อีก

ทั้งนี้ สนข. ยังได้คัดเลือกที่จะผลักดันโครงการรถไฟรางคู่ในระยะเร่งด่วนโดยจะดำเนินการประกาศขายซองประกวดราคาได้ตั้งแต่ช่วงปลายปี 2553 นี้ก่อนจำนวน 3 เส้นทางคือสายเหนือ ช่วงลพบุรี-นครสวรรค์ สายตะวันออกเฉียงเหนือ ช่วงมาบกะเบา-นครราชสีมา และสายใต้ ช่วงนครปฐม-หัวหิน รวมทั้งสิ้น 415 กิโลเมตรภายใต้วงเงินงบประมาณ 36,100 ล้านบาท

สำหรับแผนการดำเนินการก่อสร้างรถไฟรางคู่ตามมติคณะรัฐมนตรี(ครม.) เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2552 มีทั้งหมดรวม 5 เส้นทาง ระยะรางรวม 767 กิโลเมตร ภายใต้งบประมาณ 66,110 ล้านบาท นั้นประกอบไปด้วย

1.สายเหนือ ช่วงลพบุรี-นครสวรรค์ ระยะทาง 118 กิโลเมตร วงเงิน 7,860 ล้านบาท
2.สายตะวันออกเฉียงเหนือ ช่วงมาบกะเบา-นครราชสีมา ระยะทาง 132 กิโลเมตร วงเงินงบประมาณ 11,640 ล้านบาท
3. สายตะวันออกเฉียงเหนือ ช่วงชุมทางถนนจิระ-ขอนแก่น ระยะทาง 185 กิโลเมตร วงเงินงบประมาณ 13,010 ล้านบาท
4.สายใต้ ช่วงนครปฐม-หัวหิน ระยะทาง 165 กิโลเมตร วงเงินงบประมาณ 16,600 ล้านบาท และ
5.สายใต้ ช่วงประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร ระยะทาง 167 กิโลเมตร วงเงินงบประมาณ 17,000 ล้านบาท
__________________
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42793
Location: NECTEC

PostPosted: 19/04/2010 10:43 am    Post subject: Reply with quote

เร่งผุดรถไฟรางคู่อีสาน1.1 หมื่นล้านดันก่อสร้างปลายปีนี้

โดย ASTVผู้จัดการรายวัน 18 เมษายน 2553 18:17 น.


เมื่อเร็ว ๆ นี้ สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งจราจร (สนข.) กระทรวงคมนาคม จัดสัมมนารับฟังความคิดเห็นตามแนวเส้นทาง ครั้งที่ 1 (สายตะวันออกเฉียงเหนือ) “การศึกษาความเหมาะสมและออกแบบเบื้องต้น ระบบรถไฟรางคู่เพื่อการขนส่งและการจัดการโลจิสติกส์ (ระยะที่ 1)” ที่ จ.นครราชสีมา เพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วม และสร้างแนวร่วมที่ดี อันนำมาซึ่งการยอมรับต่อสาธารณชนอย่างเป็นเอกภาพ สามารถขับเคลื่อนโครงการให้บรรลุผลสำเร็จได้

ดันสร้าง 3 สายเร่งด่วน 3.5 หมื่นล. ปลายปีนี้

นายประณต สุริยะ รองผู้อำนวยการ สนข. เปิดเผยว่า การดำเนินการศึกษาความเหมาะสมและออกแบบเบื้องต้นระบบรถไฟรางคู่ เพื่อการขนส่งและการจัดการโลจิสติกส์ (ระยะที่ 1) สอดคล้องตามมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันที่ 17 พ.ย. 2552 ที่เห็นชอบโครงข่ายการพัฒนาทางคู่ ระยะเร่งด่วน 767 กิโลเมตร (กม.) มูลค่าการลงทุนประมาณ 100,000 ล้านบาท ใน 5 เส้นทาง คือ

1. สายเหนือ ลพบุรี-นครสวรรค์ 113 กม.,
2. สายอีสาน มาบกะเบา- ชุมทางถนนจิระ นครราชสีมา 132 กม. ,
3 สายอีสาน ช่วงชุมทางถนนจิระ - ขอนแก่น 185 กม. ,
4. สายใต้ นครปฐม-หนองปลาดุก-หัวหิน 165 กม. และ
5 สายใต้ ช่วงประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร 167 กม.

ใน 3 เส้นทางแรก เป็นนโยบายเร่งด่วนของ กระทรวงคมนาคม ที่จะก่อสร้างในปลายปี 2553 รวมระยะทาง 414.79 กม. งบประมาณการก่อสร้าง 35,500 ล้านบาท ประกอบด้วย
1. สายเหนือ ช่วงลพบุรี-นครสวรรค์ ระยะทาง 118 กม. งบฯก่อสร้าง 7,860 ล้านบาท
2. สายอีสาน มาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระ นครราชสีมา ระยะทาง 132 กม. งบฯก่อสร้าง 11,640 ล้านบาท และ
3. สายใต้ นครปฐม-หนองปลาดุก-หัวหิน ระยะทาง 165 กม. งบฯก่อสร้าง 16,000 ล้านบาท

ทั้งนี้เนื่องจากทั้ง 3 เส้นทางมีศักยภาพรองรับปริมาณผู้โดยสารและการขนส่งสินค้า รวมถึงเชื่อมโยงสู่การขนส่งระบบอื่น ๆ เพื่อการพัฒนาลอจิสติกส์ของประเทศ ที่สำคัญคือมีอัตราผลตอบแทนด้านเศรษฐกิจ (EIRR)ที่เหมาะสม คาดว่าปริมาณสินค้าที่ขนส่งทางรถไฟจะเพิ่มขึ้นจาก 12 ล้านตันต่อปี เป็น 37 ล้านตันต่อปี ในปี 2558 และ เป็น 63 ล้านตันต่อปีในปี 2563 ทำให้ต้นทุนค่าขนส่งประหยัดลงได้ถึงร้อยละ 27 หรือ ประมาณ 94.56 ล้านบาทต่อปี

ประเดิม“มาบกะเบา-โคราช”หมื่นล.
ผลศึกษาเสนอ 2 แนวเส้นทางเลือก

นายประณต กล่าวต่อว่า ในส่วนโครงการรถไฟรางคู่สายอีสาน มาบกะเบา- ชุมทางถนนจิระนครราชสีมา สนข.ได้เปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในพื้นที่ว่า ต้องการแนวเส้นทางใด ซึ่งบริษัทที่ปรึกษาได้เสนอทางเลือกเป็น 2 แนวเส้นทาง

แนวเส้นทางแรก คือ สร้างตามแนวเส้นทางรถไฟเดิม โดยปรับระดับและแนวเส้นทางเดิมให้เหมาะสม ตรงมากขึ้น เพื่อลดปัญหาความล่าช้าของรถไฟ และปรับความลาดชันช่วงขึ้นเขา เพื่อความปลอดภัยและรถไฟสามารถใช้ความเร็วได้ ซึ่งบางช่วงที่เป็นภูเขาอาจต้องก่อสร้างอุโมงค์และสะพาน โดยมีระยะทางต้องปรับปรุงให้ตรงรวมประมาณ 30 กม. คือ ช่วงสถานีมาบกะเบา ถึง สถานีบันไดม้า อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา และต้องเวนคืนที่ดินบางส่วน เพราะแนวทางเดิมที่กันไว้ 80 เมตร จะทำทางให้ตรงไม่เพียงพอ โดยเฉพาะช่วงสถานีมวกเหล็ก และ สถานีผาเสด็จ ซึ่งมีความโค้งของรางรถไฟมาก บางช่วงต้องก่อสร้างรางคู่ขึ้นมาใหม่ทั้ง 2 ราง

จากการศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมในแนวทางเลือกนี้ พบว่า มีผลกระทบต่อเขตป่าอนุรักษ์ ,พื้นที่ลุ่มน้ำ 1บี และ ต้องเวนคืนที่บางส่วน จึงใช้งบประมาณก่อสร้างรวมประมาณ 1.1 หมื่นล้านบาท

ส่วนแนวเส้นทางเลือกที่ 2 คือ ตัดออกจากเส้นทางเดิมทั้งหมดลงไปทางด้านใต้ในช่วงตั้งแต่ สถานีมาบกะเบา ไปบรรจบกับแนวเส้นทางรถไฟเดิม ที่ สถานีบันไดม้า ผ่านพื้นที่ประชาชนและเอกชน เช่น โรงงานปูนซีเมนต์นกอินทรี , ทีพีไอ โดยยึดแนวเส้นทางเดียวกับมอเตอร์เวย์ ซึ่งแนวทางนี้ต้องใช้งบประมาณเพิ่มขึ้นจากแนวเส้นทางแรก ราว 2,000-3,000 ล้านบาท เพราะต้องเวนคืนที่ดินจำนวนมากและต้องก่อสร้างรางรถไฟใหม่ทั้ง 2 ราง เป็นระยะทาง 30 กม. แต่จากการศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม พบว่า แนวทางที่ 2 ไม่มีผลกระทบพาดผ่านเขตป่าอนุรักษ์ และ พื้นที่ลุ่มน้ำ1บี

ปชช.เสียงก้ำกึ่งเห็นด้วยทั้ง 2 แนวเส้นทาง

นายประณต กล่าวอีกว่า จากการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ทั้งการจัดประชุมสัมมนา และการตอบแบบสอบถามตั้งแต่ต้นทางถึงปลายทาง พบว่า ประชาชนเห็นด้วยกับทั้งเส้นทางเลือกที่ 1 และ 2 เท่ากัน โดยประชาชน จ.สระบุรี ต้องการทางเลือกที่ 2 มากกว่า ส่วนประชาชนพื้นที่ อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา ซึ่งได้รับผลกระทบต้องการให้ยึดแนวเส้นทางเดิม คือ ทางเลือกที่ 1 ขณะที่ประชาชนแถบ อ.สูงเนิน และ อ.เมือง จ.นครราชสีมา มองว่าทางเลือกใดก็ได้ ซึ่งทางบริษัทที่ปรึกษาฯ จะนำเสนอต่อกระทรวงคมนาคม เพื่อพิจารณาอีกครั้งว่าจะมีผลสรุปที่ชัดเจนออกมาอย่างไร

“การก่อสร้างรถไฟรางคู่เร่งด่วนทั้ง 3 เส้นทางนี้ แม้จะใช้งบประมาณสูงถึง 35,500 ล้านบาท แต่ถือว่าคุ้มค่าเพราะเป็นเส้นทางที่ให้ผลตอบแทนสูง โดยเฉพาะสายอีสานมีผลตอบแทนด้านเศรษฐกิจสูงร้อยละ 18.90 ต่อปี ปกติการเดินทางด้วยรถไฟโคราช-กรุงเทพฯ ใช้เวลานานถึง 5.30 ชั่วโมง แต่รถไฟรางคู่ช่วยประหยัดเวลาเหลือเพียง 2.30 ชั่วโมงเท่านั้น ทำให้การเดินทางมีความรวดเร็วและสะดวกมากขึ้น” นายประณต กล่าว

สำหรับขนาดรางรถไฟที่จะทำทางคู่ขึ้นมาใหม่ ยังต้องเป็นขนาด 1 เมตร เพราะรางรถไฟทั่วประเทศไทยมีรางอยู่ที่ขนาด 1 เมตร สามารถวิ่งได้ที่ความเร็ว 120 กม./ชั่วโมง แต่หากใส่ไฟฟ้าเข้าไปสามารถวิ่งได้เร็วถึง 160 กม./ ชม. ยกเว้นในกรุงเทพฯ ที่เป็นขนาด 1.435 เมตร ซึ่งหากเพิ่มขนาดของรางเท่ากรุงเทพฯตามที่บางฝ่ายเสนอ ต้องลงทุนเพิ่มมหาศาล ทั้งจัดซื้อหัวรถจักรใหม่และรื้อระบบรางใหม่ทั้งหมด

“แต่ในอนาคตหากมีเอกชนสนใจเข้ามาลงทุนก็สามารถเข้ามาศึกษา และลงทุนได้ในลักษณะเป็นไฮสปีดเทรนหรือรถไฟความเร็วสูง ที่ 250 กม./ชม. ซึ่งต้องใช้รางขนาด 1.435 เมตร นั่นหมายถึงต้องสร้างรางใหม่ขึ้นมาเองต่างหากซึ่งเป็นเรื่องของอนาคต” นายประณต กล่าว

เสนอ “ก.คมนาคม” ชี้ขาด ส.ค.นี้
ไร้ปัญหาชงครม.อนุมัติสร้างได้ทันที

นายประณต กล่าวอีกว่า โครงการรถไฟทางคู่ในระยะเร่งด่วนทั้ง 3 เส้นทางนี้ ตามแผนกำหนดก่อสร้างให้แล้วเสร็จภายใน 5 ปี จากปี 2553-2557 ฉะนั้นจึงต้องเร่งดำเนินการศึกษาออกแบบเบื้องต้น และทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ซึ่งต้องใช้เวลาพอสมควร และนำเสนอหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จากนั้นจึงทำการออกแบบรายละเอียดก่อสร้างและขอความเห็นจาก ครม. เพื่อพิจารณาอนุมัติและดำเนินการก่อสร้างต่อไป

“คาดว่าภายในสิ้นเดือน ส.ค.จะสรุปความคิดเห็นของประชาชนต่อโครงการดังกล่าวและนำเสนอรูปแบบในการก่อสร้างทั้ง 3 เส้นทาง เสนอให้กระทรวงคมนาคมพิจารณาเสนอ ครม.อนุมัติต่อไป ซึ่งรถไฟทางคู่ทั้ง 3 เส้นทาง รัฐบาลไทยจะเป็นผู้ลงทุนเองทั้งหมดและเตรียมเงินลงทุนไว้พร้อมแล้ว ภายใต้โครงการไทยเข้มแข็งระยะที่ 2 หากขั้นตอนการดำเนินการและการออกแบบต่าง ๆ แล้วเสร็จก็สามารถก่อสร้างได้ทันที” นายประณต กล่าว
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 18, 19, 20 ... 391, 392, 393  Next
Page 19 of 393

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©