Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311324
ทั่วไป:13287942
ทั้งหมด:13599266
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 50, 51, 52 ... 278, 279, 280  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44842
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 23/03/2012 10:05 am    Post subject: Reply with quote

เท่าที่เห็นจากการนั่งรถผ่านอยู่บ่อย ๆ เวลาเดินทางจากกำแพงแสนไป ม.เกษตรศาสตร์ บางเขน ผ่าน ถ.กาญจนาภิเษกและรัตนาธิเบศร์ รถไฟฟ้าสายสีม่วงไม่น่าจะเดินรถได้ทันในปี 2558 เลยครับ หลังน้ำท่วมมานี้ งานคืบหน้าไปช้ามาก บริษัทที่จะมาวางระบบรางและเดินรถก็ไม่ชัดเจน แรงงานก็ยังขาดแคลนอยู่

ที่เด่น ๆ ก็เห็นตอม่อตรงโค้งกาญจนาภิเษก/รัตนาธิเบศร์ (แยกบางใหญ่) และโค้งรัตนาธิเบศร์/ติวานนท์(แยกแคราย) คืบหน้าไปมากแล้ว ช่วยแก้ข้อสงสัยได้ว่าทางรถไฟช่วงแยกจะโค้งมาอย่างไร

ส่วนตัวไม่ค่อยเห็นด้วยเรื่องการยึดติดกับค่าโดยสาร 20 บาทตลอดสายครับ ทำให้ผู้ประกอบการที่จะเข้ามาประมูลเกิดความไม่มั่นใจถึงผลกำไรในอนาคต โดยเฉพาะสายสีม่วงที่เชื่อมระหว่างย่านที่อยู่อาศัยกับย่านใจกลางเมือง ระยะทางค่อนข้างไกล
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42784
Location: NECTEC

PostPosted: 26/03/2012 10:34 am    Post subject: Reply with quote

เร่งรถไฟฟ้าเพิ่ม 3 สาย เขียวเข้ม ชมพู ส้ม
ข่าวทั่วไทย
เดลินิวส์
วันจันทร์ที่ 26 มีนาคม 2555 เวลา 08:17 น.

นายรณชิต แย้มสอาด รักษาการผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่า หลังจากที่ รฟม.มีโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าที่อยู่ระหว่างดำเนินการ 3 โครงการ ได้แก่

1. โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงบางใหญ่-บางซื่อ กำหนดเปิดให้บริการปี 2558
2. สายสีน้ำเงิน ช่วงบางซื่อ-ท่าพระ หัวลำโพง-บางแค เปิดให้บริการปี 2558 และ
3. สายสีเขียวอ่อน ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ เปิดให้บริการปี 2559

ขณะนี้ รฟม. อยู่ระหว่างเร่งเปิดประกวดราคา อีก 3 สาย ประกอบด้วย
1. สายสีเขียวเข้ม ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต ซึ่งแบ่งเป็น 2 ช่วง
1.1 ช่วงแรกจากหมอชิต-สะพานใหม่ ที่อยู่ระหว่างรอคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมอนุมัติแบบที่สถานีวัดพระศรีฯ
1.2 ส่วนอีกช่วงจากสะพานใหม่-คูคต ส่งรายละเอียดโครงการให้กระทรวงคมนาคม นำเข้าขออนุมัติต่อที่ประชุม ครม.แล้ว หากได้รับอนุมัติก็จะประกาศประกวดราคาพร้อมกัน คาดว่าจะเปิดประกวดราคาได้ภายในปีนี้

2. รถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-ปากเกร็ด-มีนบุรี ที่อยู่ระหว่างการศึกษาความเหมาะสมจะได้ข้อสรุปในเดือน พ.ค.นี้ ซึ่งหากผลการศึกษาเห็นควรก่อสร้างเป็นรถไฟฟ้าโมโนเรล ก็สามารถเปิดประกวดราคาได้ในต้นปี 2556 แต่หากเห็นว่าควรก่อสร้างเป็นรถไฟฟ้าขนาดหนัก หรือเฮฟวี่เรล การเปิดประกวดราคาต้องเลื่อนออกไปอีก 1 ปีเศษ
3. สายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี ที่ได้ตัวที่ปรึกษาศึกษา จัดทำเอกสารประกวดราคา จะเริ่ม เม.ย.นี้ การศึกษาจะแล้วเสร็จในเดือน ก.พ. 2556.

//------------------------------------------

ลั่นรถไฟฟ้า10สายเกิดแน่รบ.นี้ "จารุพงศ์"ตั้ง10ทีมทำงานแยกดู จีบกคช.ผุดที่อยู่อาศัยล้อเส้นทาง
มติชน วันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2555 เวลา 09:23:24 น.

จารุพงศ์"ลั่นรถไฟฟ้า 10 สายต้องเกิดในรัฐบาลนี้ หรือภายใน 4 ปี สั่ง รฟม.ตั้งคณะทำงาน 10 กลุ่มแยกดูแต่ละสาย แจงราคาเดียว 20 บาท รอ 10 สายเกิดก่อน จ่อคิวสร้างอีก 3 สายสีเขียวหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต สีชมพู มีนบุรี-แคราย และสีส้ม ตลิ่งชัน-มีนบุรี เล็งพัฒนาพื้นที่เส้นทางรถไฟฟ้า จีบ กคช.ผุดบ้าน-คอนโด หรือลานจอดรถ สร้างรายได้เพิ่ม

เมื่อวันที่ 22 มีนาคม นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ตรวจเยี่ยมและมอบนโยบายให้กับการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.)

นายจารุพงศ์กล่าวว่า ได้สั่งการให้ รฟม.ตั้งคณะทำงานขึ้นมา 10 กลุ่ม เพื่อผลักดันโครงการรถไฟฟ้า 10 สายให้สามารถลงนามในสัญญาได้ทั้งหมดในรัฐบาลชุดนี้ หรือภายในระยะเวลา 4 ปี โดยคณะทำงานทั้งหมดจะต้องทำงานอย่างเป็นระบบและสอดคล้องกัน คือต้องพิจารณาในทุกเรื่องตั้งแต่การออกแบบก่อสร้าง ควบคุมการก่อสร้าง การเดินรถ รวมถึงการศึกษาแนวทางการให้บริการรถไฟฟ้าในราคา 20 บาทตลอดสาย ทั้งนี้ ได้ให้ รฟม.นำรายละเอียดการดำเนินโครงการรถไฟฟ้าทั้งหมดเสนอกระทรวงการคมนาคมเพื่อพิจารณาในสัปดาห์หน้า

"คณะทำงานที่ตั้งขึ้นมาจะต้องแบ่งหน้าที่กันดูแลรถไฟฟ้าแต่ละสาย หรือหากเห็นว่าการตั้งคณะทำงาน 10 กลุ่มมากเกินไป อาจตั้งขึ้นมา 5 กลุ่ม โดยให้หนึ่งกลุ่มรับผิดชอบดูแลรถไฟฟ้า 2 สาย ซึ่งจะช่วยให้การดำเนินงานเร็วขึ้น ยอมรับว่าการเร่งผลักดันให้รถไฟฟ้าทั้งหมดลงนามได้ภายในระยะเวลา 4 ปี ถือเป็นเรื่องยาก ดังนั้น คณะทำงานที่จัดตั้งขึ้นมาต้องช่วยกันดำเนินการ" นายจารุพงศ์กล่าว

นายจารุพงศ์กล่าวว่า ต้องการให้ รฟม.ไปพิจารณาการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์โดยรอบพื้นที่รถไฟฟ้า เพราะเป็นพื้นที่มีศักยภาพสูงสามารถสร้างมูลเพิ่มได้เป็นจำนวนมาก อาจจะร่วมมือกับการเคหะแห่งชาติ (กคช.) สร้างบ้าน คอนโดมิเนียม หรือที่จอดรถต่างๆ เพื่อเป็นการสร้างรายได้ให้กับ รฟม.อีกทางหนึ่ง โดยการดำเนินการลักษณะดังกล่าวในหลายประเทศมีการดำเนินงานจนประสบความสำเร็จมาแล้ว

นายจารุพงศ์กล่าวว่า สำหรับรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย ในด้านเทคนิคสามารถดำเนินการได้แต่ต้องให้มีรถไฟฟ้าครบทั้ง 10 สายก่อน เพราะจะเกิดการเชื่อมต่อของผู้โดยสาร ทำให้รถไฟฟ้าสามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้ แต่หากจะดำเนินการในขณะนี้ต้องมีการจ่ายชดเชยให้กับผู้ประกอบการ ซึ่งจะไม่เป็นธรรมกับประชาชนทั่วไปที่ไม่ได้ใช้บริการ
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42784
Location: NECTEC

PostPosted: 28/03/2012 9:56 am    Post subject: Reply with quote

เอาแน่รถไฟฟ้าลาดพร้าว รฟม.ทุ่ม 305 จ้างที่ปรึกษาออกแบบจัดการ-พร้อมต่อสายสีม่วง.
ทีมข่าวกทม.
ข่าวทั่วไทย
ไทยรัฐออนไลน์
28 มีนาคม 2555 05.00 น.

ทุ่ม 305ล. จ้างที่ปรึกษา ทำรถสายสีม่วง - เหลือง
ข่าวทั่วไทย เดลินิวส์
วันพุธที่ 28 มีนาคม 2555 เวลา 07:55 น.

นายรณชิต แย้มสอาด รักษาการผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ ตนได้ลงนามประกาศเชิญชวนที่ปรึกษายื่นข้อเสนอเป็นที่ปรึกษาเพื่อศึกษาทบทวนรายละเอียดความเหมาะสม ออกแบบ จัดเตรียมเอกสารประกวดราคา และดำเนินงานตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานฯ พ.ศ. 2535 ในโครงการรถไฟฟ้า 2 สาย ประกอบด้วย โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง งบประมาณ 165 ล้านบาท และโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ งบประมาณ 140 ล้านบาท รวม 305 ล้านบาท ทั้งนี้เอกชนที่สนใจทำงานดังกล่าว สามารถติดต่อขอรับเอกสารการจัดจ้างได้ที่ ฝ่ายวิชาการ รฟม. ตั้งแต่วันที่ 2-19 เม.ย.นี้ กำหนดยื่นเอกสารประกวดราคาในวันที่ 5 มิ.ย. สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ โทร. 0-2716-4000 ต่อ 1508, 1522, 1531

รถไฟฟ้าทั้ง 2 โครงการนี้ เป็นส่วนหนึ่งของโครงข่ายรถไฟฟ้าตามแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนทางรางในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล ทั้งนี้ผู้ที่จะยื่นข้อเสนอต้องเป็นบริษัทหรือสถาบันการศึกษา หรือกลุ่มบริษัท ที่มีประสบการณ์รวมตามงานหลักในขอบเขตงานโครงการที่กำหนด เช่น งานศึกษารายละเอียดความเหมาะสม ออกแบบรายละเอียด งานจัดเตรียมเอกสารประกวดราคา งานศึกษาวิเคราะห์การให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ และงานคัดเลือกผู้รับจ้างก่อสร้าง และเอกชนเข้าร่วมงานเป็นต้น นอกจากนี้บริษัทหลักอย่างน้อย 1 บริษัท ต้องเป็นบริษัทที่ปรึกษาที่มีสัญชาติไทย และได้จดทะเบียนไว้กับศูนย์ข้อมูลที่ปรึกษาของกระทรวงการคลัง ต้องมีทุนจดทะเบียนไม่ต่ำกว่า 2 ล้านบาท และต้องเคยมีประสบการณ์การดำเนินงานเกี่ยวข้องกับระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน.

Note: ที่เร่้งทำ รถไฟฟ้าสายสีเหลือง (ลาดพร้าว - สำโรง) ชะรอยจะเปลี่ยทางรถไฟฟ้าสายเขียวช่วงปากน้ำ (แบริ่ง -สมุทรปราการ) ให้เป็นส่วนหนึ่งของสายสีเหลือง กระมัีง
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42784
Location: NECTEC

PostPosted: 29/03/2012 7:23 pm    Post subject: Reply with quote

2 ปีได้ใช้ ‘ตั๋วร่วม’ จริงเปล่า?
โดย สุนทรีย์
ข่าวคมนาคม-ลอจิสติกส์
คอลัมน์ คมนาคม/ลอจิสติกส์
สยามธุรกิจ
ฉบับที่ 1287 ประจำวันที่ 28-30 มีนาคม 2555


ที่ผ่านมา “สุนทรีย์” ได้เกาะติดโครงการตั๋วร่วม ของกระทรวงคมนาคมมาโดยตลอด ซึ่งความคืบหน้าหลักๆ ก็ยังเหมือนเดิม คือ ได้ใช้ปี 2558

จะว่าไปแล้วการรอคอยอีก 3 ปี ก็ถือว่านานเหมือนกัน แต่ถ้ารอแล้วสามารถใช้ตั๋วเพียงใบเดียวในการเดินทางระบบขนส่งมวลชนทุกประเภทไม่ว่าจะเป็นรถไฟฟ้า รถบีทีเอส รถบีอาร์ที รถไฟความเร็วสูง ระบบทางด่วน ทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง หรือมอเตอร์เวย์ รวมถึงรถโดยสารประจำทาง และเรือด่วนเจ้าพระยาได้ในราคาที่ถูกจริง “สุนทรีย์” ก็ยอมทนรอนะ!

อย่างไรก็ดี ล่าสุดรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม “ชัชชาติ สิทธิพันธุ์” บอกว่า กรอบระยะเวลา 3 ปีถือว่านานเกินไป จึงเห็นว่าน่าจะมีการเร่งรัดให้เร็วที่สุด ภายใน 1-2 ปีก็น่าจะได้เห็น เนื่องจากการใช้ตั๋วร่วมเป็นมาตรฐานให้ทุกคนได้ใช้เส้นทางขนส่งร่วมกัน

ทั้งนี้ จะพิจารณาเส้นทางหลักๆ 3 เส้นทาง คือ แอร์พอร์ต เรลลิงค์, รถโดยสาร ประจำทางองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) และระบบทางด่วนของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) เนื่องจากเป็นหน่วยงานที่อยู่ในการดูแลของกระทรวงคมนาคม

“ผมว่าระยะเวลาที่กำหนดไว้ 3-4 ปีมันนานเกินไป จากใจจริงของผมคิดว่า 1-2 ปีก็น่าจะทำได้แล้ว เพราะว่ามันไม่ใช่เรื่องใหม่ ประเทศอื่นเขาทำกันเยอะแยะ เราเพียงแต่เข้าไปเร่งรัดหรือหาวิธีให้การดำเนินงานมันเร็วขึ้นได้”

ท่าน “ชัชชาติ” เร่งรัดมาขนาดนี้ ถือว่าตรงใจหลายๆ ท่าน โดยเฉพาะ “สุนทรีย์” ถือว่าตรงใจเอามากๆ เพราะเราจะได้ใช้ระบบตั๋วร่วมเร็วขึ้น?

เหตุนี้ “สุนทรีย์” จึงอยากจะนำความเคลื่อนไหวของโครงการตั๋วร่วมมาให้ผู้อ่านได้ทราบกันว่า ขณะนี้กระทรวงคมนาคมอยู่ระหว่างทบทวนขอใช้เงินกู้ เพื่อดำเนินการบริหารจัดการตั๋วร่วม ตามที่ประชุมครม. อนุมัติให้คมนาคมดำเนินการ จากนั้นจะส่งให้กระทรวงการคลังพิจารณาอนุมัติกรอบการใช้เงินกู้จากธนาคารพัฒนาแห่งเอเชีย (เอดีบี) บริหารจัดการตั๋วร่วมในวงเงินประมาณ 10 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 300 ล้านบาท และการดำเนินงานจัดทำระบบศูนย์บริหารจัดการรายได้กลาง ใช้เงินกู้จากเอดีบีในวงเงินประมาณ 13 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 390 ล้านบาท

ส่วนของคณะกรรมการบริหารจัดการตั๋วร่วม ชุดท่าน “ศิลปชัย จารุเกษมรัตนะ” รักษาการปลัดกระทรวงคมนาคม เป็นประธานจะมีการประชุมเพื่อพิจารณาจ้างบริษัทที่ปรึกษาดำเนินการบริหารจัดการตั๋วร่วม คาดว่าจะได้บริษัทที่ปรึกษาภายใน 3 เดือนนับจากนี้ และจะได้เห็นการดำเนินการเรื่องระบบตั๋วร่วมที่ชัดเจนมากขึ้น โดยกระบวนการในการดำเนินการไม่ต้องเสนอให้ ครม.พิจารณาอีกแล้ว เนื่องจาก ครม. ได้เห็นชอบให้สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ดำเนินการในเรื่องดังกล่าวโดยเร็ว

อย่างไรก็ตาม สนข. สามารถดำเนินการได้ภายใต้กรอบการพิจารณาของคณะกรรมการบริหารจัดการตั๋วร่วม โดยไม่ต้องเสนอครม.อีกครั้ง คาดว่าภายในปีนี้จะเห็นระบบการ บริหารจัดการตั๋วร่วมที่เป็นรูปธรรมมากขึ้น

สำหรับรายละเอียดที่คณะกรรมการบริหารจัดการตั๋วร่วมต้องพิจารณา เพื่อให้บริษัทที่ปรึกษาวางกรอบการดำเนินงานหลักๆ ได้แก่ การจัดทำนโยบายเรื่องตั๋วร่วม การสนับสนุนงานด้านวิชาการและเทคโนโลยี การจัดตั้งองค์กรภายใต้การดูแลของ สนข. และการจัดตั้งองค์กรเมื่อต้องพ้นจากการดูแลของสนข. เพื่อปฏิบัติงานในการบริหารตั๋วร่วมทั้งหมด และการจัดทำระบบศูนย์บริหารจัดการรายได้กลาง

ท่าน “ชัชชาติ” ยืนยันขนาดนี้แล้ว ก็ได้แต่หวังว่า 2 ปีต่อไปข้างหน้านี้ ประชาชนคนไทยจะได้ใช้ตั๋วร่วมกันจริงๆ เสียทีเพื่อลดค่าใช้จ่ายที่บานตะไทในทุกๆ วันนี้ และท่านคงพูดอย่างจริงใจ ไม่ได้จิงโจ้นะคะ!

“สุนทรีย์” จะคอยเกาะติดต่อไปจนกว่าประชาชนคนไทยจะได้ใช้ตั๋วร่วมจริงๆ
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44842
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 30/03/2012 8:08 am    Post subject: Reply with quote

"จารุพงศ์"ลุยรถไฟฟา10สายเล็งเปิดให้เช่าพื้นที่รอบสถานี
ประชาชาติธุรกิจ 29-03-2012

นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า หลังการตรวจเยี่ยมการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ได้มอบนโยบายให้รฟม.ไปศึกษาการสร้างรายได้เพิ่ม รายได้ให้กับองค์กรในอนาคต โดยใช้แนวทางการพัฒนาที่ดินที่อยู่บริเวณรอบ ๆ สถานีขึ้นลง โดยการประสานความร่วมมือไปยังการเคหะแห่งชาติ (กคช.) พร้อมกับให้ไปศึกษาด้วยว่าในอนาคต หาก รฟม.มีเงินเหลือจะซื้อที่ดินที่อยู่ตามแนวรถไฟฟ้านำมาพัฒนาโครงการเพื่อขายเองได้หรือไม่

"ให้ รฟม.ไปศึกษากฎหมายที่เกี่ยวข้องว่าสามารถทำได้แค่ไหน หากติดขัดก็ให้รายงานเข้ามาเพื่อหาทางแก้ไขต่อไป"

สำหรับค่าโดยสาร 20 บาทตลอดสาย ตามนโยบายที่ได้เคยหาเสียงไว้ ยืนยันว่าต้องทำให้เกิดขึ้นให้ได้ ในทางเทคนิคสามารถทำได้ ภายใต้เงื่อนไขต้องมีการเปิดให้บริการรถไฟฟ้าทั้ง 10 สายแล้วเท่านั้น จึง ได้สั่งการให้ รฟม.ไปศึกษาแนวทาง กำหนดค่าโดยสารว่ามีความเป็นไปได้ที่จะดำเนินการในเส้นทางที่มีการก่อสร้างแล้ว เสร็จเช่น สายสีม่วง ช่วงบางซื่อ-บางใหญ่

นายจารุพงศ์กล่าวว่า เพื่อให้โครงการรถไฟฟ้าเดินหน้าได้อย่างรวดเร็ว จึงมอบหมายให้ รฟม.จัดทำแผนงานทั้งหมด มาให้พิจารณาภายใน 1 สัปดาห์ นอกจากนี้ได้ให้คำแนะว่าควรมีการตั้งคณะ ทำงานออกเป็น 5-10 ชุด เพื่อให้รับผิดชอบไปตามภารกิจของงานในลักษณะที่แตกต่างกัน เช่น กลุ่มงานด้านกฎหมายและการเวนคืน กลุ่ม งานด้านการออกแบบ เป็นต้น

"เป้าหมายก่อสร้างรถไฟฟ้า 10 สายยังเหมือนเดิม คือเร่งให้มีการเซ็นสัญญาก่อสร้างให้แล้วเสร็จทั้งหมดภายใน 4 ปีในสมัยรัฐบาลชุดนี้ โดยในปีนี้จะมีการเซ็นสัญญาก่อสร้างสายสีเขียว ช่วงหมอชิตสะพานใหม่-คูคต"

สำหรับงานก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าในความรับผิดชอบของ รฟม. ประกอบด้วย
1) สายสีม่วง ช่วงบางใหญ่-บางซื่อความคืบหน้า 41.37% มีกำหนดเปิดบริการปี 2558
2) สายสีน้ำเงิน ช่วงหัวลำโพงบางแค และช่วงบางซื่อ-ท่าพระมีความคืบหน้า 12.72% กำหนดเปิดให้บริการปี 2559
3) สายสีเขียว ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ เริ่มก่อสร้าง 1 มีนาคมที่ผ่านมา อยู่ระหว่างเตรียมความพร้อมและดำเนินการสำรวจพื้นที่เพื่อวางแผนรื้อย้ายระบบสาธารณูปโภค
4) สายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี อยู่ระหว่างศึกษาทบทวนรายละเอียดต่าง ๆ
5) สายสีส้ม ช่วงตลิ่งชัน-มีนบุรี ลงนามว่าจ้างกลุ่มบริษัทที่ปรึกษาเอ็มเอเอฯ เพื่อศึกษาทบทวนรายละเอียดต่างๆ
6) สายสีม่วง ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ และสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง ออกประกาศเชิญชวนบริษัทที่ปรึกษา โดยจะเปิดให้รับเอกสารได้ระหว่าง 2-19 เมษายนนี้ กำหนดยื่นซอง5 มิถุนายน 2555
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44842
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 02/04/2012 1:32 pm    Post subject: Reply with quote

คมนาคมจ่อทบทวนรูปแบบรถไฟฟ้าสายสีชมพู
ไทยรัฐ 2 เมษายน 2555, 13:23 น.

“จารุพงศ์” เตรียมทบทวนรูปแบบรถไฟฟ้าสายสีชมพู หลังศึกษาทั้งแบบรถไฟฟ้ารางเดี่ยวและรถไฟฟ้าขนาดหนัก ระบุหากไม่เคารพในหลักวิชาการ จะทำให้การทำงานประสบปัญหาและเกิดความผิดพลาด

เมื่อวันที่ 2 เม.ย. นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า กระทรวงคมนาคมอยู่ระหว่างเร่งรัดการดำเนินโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้า โดยในส่วนของโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงปากเกร็ด-มีนบุรี ระยะทาง 27 กม. ซึ่งปัจจุบันอยู่ระหว่างการศึกษาปรับแบบการก่อสร้างเป็นโครงการรถไฟฟ้าขนาดหนัก (HEAVY RAIL) จากเดิมที่ศึกษาออกแบบเป็นรถไฟฟ้ารางเดี่ยว (MONORAIL) ตามนโยบายของ พล.อ.อ.สุกำพล สุวรรณทัต อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมนั้น จะได้มีการพิจารณารายละเอียดอีกครั้งว่าแบบก่อสร้างใดเหมาะสม

“คงบอกไม่ได้ว่าชอบแบบไหนระหว่างรถไฟฟ้ารางเดี่ยว หรือรถไฟฟ้าขนาดหนัก แต่ต้องการให้พิจารณาดำเนินงานเป็นไปตามหลักการ โดยยึดหลักเหตุผล และความเหมาะสมจากผลศึกษาที่ดีที่สุด เพราะหากไม่เคารพในหลักวิชาการ จะทำให้การทำงานประสบปัญหา และเกิดความผิดพลาดได้” นายจารุพงศ์ กล่าว

ด้านนายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า ตามหลักการการพิจารณาออกแบบรถไฟฟ้าต้องยึดจากปริมาณผู้โดยสาร ปริมาณผู้โดยสารมากก็ใช้รถไฟฟ้าขนาดหนัก ปริมาณผู้โดยสารน้อยก็ใช้รถไฟฟ้ารางเดี่ยว ซึ่งจากผลศึกษาเดิมของโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพูออกแบบเป็นรถไฟฟ้ารางเดี่ยว เพราะเป็นรถไฟฟ้าที่เชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายหลักที่ตัดผ่าน ไม่ว่าจะเป็นรถไฟฟ้าสายสีแดง และสายสีเขียว ซึ่งก็ถือว่ามีความเหมาะสม

นอกจากนั้น พบว่าการศึกษาที่ผ่านมาได้รับความเห็นชอบผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมแล้ว แต่เมื่อมีการปรับแบบใหม่ทำให้ต้องศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมใหม่ การพิจารณาพื้นที่เวนคืนใหม่ เพราะรถไฟฟ้าขนาดหนักต้องใช้พื้นที่เพิ่มขึ้น รวมทั้งต้องใช้เงินลงทุนเพิ่มขึ้นอีกประมาณ 1 หมื่นล้านบาท ระยะเวลาในการดำเนินงานก็เพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน ซึ่งเร็วๆ นี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะสรุปรูปแบบการก่อสร้างที่เหมาะสมเสนอมาให้กระทรวงคมนาคมพิจารณา

“เชื่อมั่นในโมเดลผลการศึกษา เพราะมีตัวเลขผู้โดยสาร และตัวเลขอื่นๆ ที่สามารถใช้ประกอบการตัดสินใจได้ และการตัดสินใจก็ต้องสอดคล้องกับข้อเท็จจริงที่ได้จากผลศึกษา และทำโครงการด้วยความประหยัด มีประสิทธิภาพมากที่สุด ไม่ทำอะไรเกินตัว โดยหากเราไม่เชื่อผลศึกษาจะจ้างบริษัทที่ปรึกษามาศึกษาโครงการทำไม ใช้ความรู้สึกตัดสินใจก็ได้แล้ว ไม่ต้องมีค่าใช้จ่ายเพิ่มด้วย” นายชัชชาติ กล่าว.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44842
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 10/04/2012 8:59 am    Post subject: Reply with quote

'โต้ง'บี้สร้างเมกะโปรเจ็กต์หวังลดสภาพคล่องชี้กดบาทอ่อนสุดหิน
หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ -- อังคารที่ 10 เมษายน 2555 00:00:27 น.

"กิตติรัตน์" เร่งโครงการลงทุนรถไฟฟ้า 10 สาย สนามบินสุวรรณภูมิ เฟส 2 หวังระบายสภาพคล่องล้นระบบเศรษฐกิจ นักเศรษฐศาสตร์เผยกดบาทอ่อนตามปาก "โต้ง" ไม่ง่าย

นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.การ คลัง เปิดเผยว่า ขณะนี้เริ่มพบสัญญาณสภาพคล่องในไทยอยู่ในสภาพล้นระบบ หากปล่อยให้ เป็นอย่างนี้ จะกลายภาระต่อระ บบเศรษฐกิจของไทย ซึ่งเรื่องนี้รัฐบาลจำเป็นต้องหาแนวทางป้องกัน โดยอาจดำเนินการผ่านการเร่งลงทุนในระบบโครงสร้างพื้นฐานสำคัญของประเทศ ซึ่งเรื่องนี้ได้มีการหารือร่วมกับกระทรวงคมนาคมแล้วว่าควรจะเร่ง รัดการก่อสร้างรถไฟฟ้าทั้ง 10 สาย รวมถึงการก่อสร้างสนามบินสุวรรณภูมิเฟส 2 เพื่อนำสภาพคล่องที่ล้นอยู่ในระบบออกมาใช้

"ทาง รมว.กระทรวงคมนาคมเคยมาถามว่า เรื่องโครงการการลงทุนรถไฟฟ้า 10 สาย จะดำเนินการอย่างไร ซึ่งเรื่องนี้ผมได้ชี้แจงว่าสามารถดำเนินการได้ทันทีเพราะไทยมีเงินพร้อม ผมยังได้ถามไปถึงการก่อสร้างสนามบินสุวรรณภูมิเฟส 2 ด้วยว่า ขณะนี้ดำเนินการไปถึงขั้นไหน แล้ว เพราะหากยังเป็นไปตามแผนเดิมคือต้องลงทุนไปเมื่อหลายปีก่อน แต่ขณะนี้ทราบมา ว่าแบบก่อสร้างยังไม่เสร็จ บอกว่าตรงนี้น่าจะเร่งรัดได้แล้ว เพราะสุดท้ายการลงทุนดังกล่าวจะกลายเป็นประโยชน์ต่อประเทศ" นายกิตติรัตน์กล่าว

ทั้งนี้ ที่ผ่านมาไทยไม่ได้ลงทุนในระบบโครงสร้างพื้นฐานอย่างจริงจัง จึงทำให้เริ่มเกิดปัญ หาสภาพคล่องที่มีมากเกินไป ถ้าย้อนกลับไปได้เมื่อ5 ปีที่ผ่านมา ถ้าไทยมีการเร่งลงทุนในระบบโครงสร้าง อาทิ รถไฟ ทางหลวง รถไฟฟ้า 10 สาย คงจะไม่เกิดปัญหาเหมือนในขณะนี้

นายกิตติรัตน์ กล่าวอีกว่า สภาพคล่องที่คงเหลือในระ บบสถาบันการเงินจะเป็นแรงผลัก ดันให้เกิดภาวะดอกเบี้ยต่ำ รวมถึงสินเชื่อต่างๆอาจถูกผลักออก ไปอยู่ในรูปของสินเชื่อด้อยคุณภาพ (NPL) เพราะสถาบันการเงินไม่อยากที่จะเก็บเงินเอาไว้ เนื่องจากจะกลายเป็นภาระในการบริหารจัดการ ขณะที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เมื่อสภาพคล่องมีมาก ก็ต้องเร่งออกพันธบัตรใหม่ออกมาในระบบ เพื่อดูดซับสภาพคล่องเหล่านี้ และจ่ายดอกเบี้ยให้พันธบัตรเหล่านั้น

น.ส.อุสรา วิไลพิชญ์ นักเศรษฐศาสตร์อาวุโส ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด (ไทย) เปิด เผยว่า แนวคิดการแทรกแซงค่าเงินบาทให้อ่อนค่าลงเมื่อเทียบดอลลาร์สหรัฐคงไม่ง่ายในทางปฏิบัติ เนื่องจากทิศทางของค่าเงินบาทถูกกำหนดจากภาวะเงินทุนเคลื่อนย้ายจากต่างประเทศเป็นหลัก นอกจากนั้นยังแกว่งตัว ตามราคาทองคำตลาดโลก เพราะ ทำให้เกิดความต้องการซื้อและ ขายดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งในปี 2555 ค่าเงินบาทยังคงมีแนวโน้มผัน ผวนใน 2 ทิศทางต่อเนื่องจากปี 2554 และอาจจะมากกว่าด้วย โดยในปี 2554 ค่าเงินบาทผันผวนอย่างรุนแรงใน 3 รอบ ก่อนที่จะกลับมาแข็งค่าอย่างรวดเร็วถึง 3-4 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ และพลิกกลับไปอ่อนค่าลงอีกครั้ง

ทั้งนี้ ค่าเงินบาทในช่วงไตรมาสแรกของปี 2555 จะอยู่ในทิศทางแข็งค่า ซึ่งในระยะ 1 เดือนที่ผ่านมา นักลงทุนต่างชาติเริ่มขายทำกำไรโดยเฉพาะตลาดตราสารหนี้ทำให้เงินบาทเทียบดอลลาร์สหรัฐเริ่มอ่อนค่าลง จาก ไตรมาสแรกเงินเข้ามามาก เงินบาทอยู่ที่ระดับ 30.25 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ แต่ช่วงนี้อ่อนค่าไป 30.80 บาท ดังนั้นมีโอกาสสูงที่เงินบาทจะอ่อนถึง 31.25-31.50 บาท ดังนั้นช่วงไตรมาส 2 เงินบาทจะเป็นการแกว่งตัวในลักษณะอ่อนค่าลง

น.ส.ธัญญลักษณ์ วัชระชัย สุรพล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย กล่าวว่า ค่าเงินบาทเทียบดอลลาร์สห รัฐตั้งแต่ต้นปีถึงปัจจุบันแข็งค่า ขึ้น 2.5% จากผลของการไหลเข้า เงินทุนจากต่างประเทศ ซึ่งส่วน ใหญ่เข้ามาลงทุนในตลาดหลัก ทรัพย์ไทยประมาณ 73,635 ล้าน บาท และในตลาดพันธบัตร 297, 866 ล้านบาท ซึ่งจะเป็นลักษณะเช่นนี้ต่อไป เนื่องจากนักลงทุนให้ความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจสหรัฐมากขึ้น และมีผลต่อการกล้าเข้ามาลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยง แต่ อาจมีบางช่วงที่เป็นการไหลออก ดังนั้นค่าเงินบาทเทียบดอลลาร์สหรัฐจะเคลื่อนไหวผัวผวนแต่โดยรวมทั้งปีจะเป็นการแข็งค่า โดยเฉลี่ยที่ 29.50 บาทต่อดอลลาร์ สหรัฐเทียบกับระดับ 31.54 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐในปี 2554.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42784
Location: NECTEC

PostPosted: 13/04/2012 5:29 pm    Post subject: Reply with quote

รถไฟฟ้า 8 สาย มาหาคนกรุง เที่ยวต่อไป ณ สถานี ...
ข่าวเศรษฐกิจ ไทยรัฐออนไลน์
13 เมษายน 2555 05.30 น.

นับเป็นการตั้งหน้าตั้งตารอคอยกันเลยทีเดียว สำหรับคนกรุงเทพฯ และชานเมือง กรุงเทพฯ กับการใช้รถไฟฟ้าสายต่างๆ จากนโยบายของรัฐ เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกประชาชน ซึ่งรถไฟฟ้าบางเส้นทางประชาชนในละแวกต่างๆ อาจจะได้เห็นการก่อสร้าง แต่บางที่บางจุดประชาชนละแวกต่างๆ อาจจะกำลังสงสัยว่าเมื่อไหร่จะเกิดซะที วันนี้ไทยรัฐออนไลน์ได้ฤกษ์ดีวันขึ้นปีใหม่ไทย ได้นำความคืบหน้าโครงการรถไฟฟ้า 8 สายทางมาอัพเดทกัน

เริ่มต้นความรับผิดชอบของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ซึ่งมีด้วยกัน 6 สายทาง

1. โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วง บางใหญ่-บางซื่อ มีทั้งสิ้น 6 สัญญา ซึ่งเริ่มก่อสร้างเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2552 และมีกำหนดเปิดให้บริการปี 2558 ขณะนี้มีความก้าวหน้าของโครงการประมาณ 41.37%  แบ่งเป็น

สัญญาที่ 1 โครงการยกระดับ ช่วงบางซื่อ-สะพานพระนั่งเกล้า เร่ิมงาน 10 พฤศจิกายน 2552 โดยกิจการร่วมค้าเคทีซีเป็นผู้รับผิดชอบซึ่งดำเนินการไปแล้วกว่า 50.64%

สัญญาที่ 2 โครงสร้างยกระดับ ช่วงสะพานพระนั่งเกล้า-บางใหญ่ เริ่มงาน 1 มีนาคม 2553 โดย บริษัทซิโน-ไทยฯ ดำเนินแล้วกว่า 40.63%

สัญญาที่ 3 ศูนย์ซ่อมบำรุงรักษาและอาคารจอดรถ จำนวน 4 แห่ง ได้แก่ สถานีแยกนนทบุรี 1 สถานีบางรักน้อยท่าอิฐ สถานีสามแยกบางใหญ่ และสถานีคลองบางไผ่ เริ่มงาน 1 มีนาคม 2553 โดยกิจการร่วมค้าพีเออาร์ ดำเนินการแล้วกว่า 16.21% และ

สัญญาที่ 6 งานระบบราง ขณะนี้อยู่ระหว่างการสรุปผลการเปิดซองที่ 2 ตามมติคณะกรรมการ รฟม.

2. โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วง หัวลำโพง-บางแค และ ช่วง บางซื่อ-ท่าพระ มีทั้งสิ้น 5 สัญญา เริ่มก่อสร้างเมื่อ 4 เมษายน 2554 และมีกำหนดเปิดให้บริการในปี 2559 ซึ่งขณะนี้มีความคืบหน้าของโครงการโดยรวม 12.72% แบ่งเป็น

สัญญาที่ 1 โครงการสร้างทางวิ่งใต้ดิน หัวลำโพง-สนามไชย โดยบริษัท อิตาเลียนไทย ดำเนินการแล้วกว่า 16.20% 

สัญญาที่ 2 โครงการสร้างทางวิ่งใต้ดิน สนามไชย-ท่าพระ โดยบริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) ดำเนินการแล้ว 14.61%

สัญญาที่ 3 โครงสร้างทางวิ่งยกระดับ เตาปูน-ท่าพระ โดยกิจการร่วมค้า SH-UN ดำเนินแล้ว 8.45%

สัญญาณที่ 4 โครงการทางวิ่งยกระดับ ท่าพระ-หลักสอง โดยบริษัท ซิโน ไทย ดำเนินแล้ว 4.33% และ

สัญญาณที่ 5 งานระบบรางรถไฟฟ้า โดยบริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) ดำเนินการแล้ว 32.57%

3. โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ และ ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่ ซึ่งมีกำหนดเปิดให้บริการในปี 2560 โดยช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ ดำเนินการโดย บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) เริ่มก่อสร้างวันที่ 1 มีนาคม 2555 ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการจัดเตรียมความพร้อมของสำนักงานสนามและดำเนินการสำรวจพื้นที่เบื้องต้นเพื่อวางแผนการรื้อย้ายระบบสาธารณูปโภค

ส่วนช่วงหมอชิต-สะพานใหม่ ยังไม่มีกำหนดเปิดให้บริการ โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินการปรับปรุงแบบรายละเอียดของสถานีวัดพระศรีมหาธาตุ ตามข้อคิดเห็นของสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) โดยที่ปรึกษาของสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร ซึ่งตามแผนงานคาดว่าจะเริ่มจ้างบริษัทผู้รับเหมาก่อสร้างงบประมาณกลางปี 2555

4. โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วง แคราย-มีนบุรี ยังไม่มีกำหนดเปิดให้บริการ ซึ่งขณะนี้ได้ลงนามสัญญาจ้างกลุ่มบริษัทที่ปรึกษาทีม คอนซัลติ้ง เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ แมนเนจเมนท์ จำกัด เพื่อศึกษาทบทวนรายละเอียดความเหมาะสมปรับปรุงแบบและจัดเตรียมเอกสารประกวดราคา ซึ่งได้เริ่มศึกษาเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2555

5. โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วง ตลิ่งชัน-มีนบุรี ยังไม่มีกำหนดเปิดให้บริการ ซึ่งขณะนี้ได้ลงนามสัญญาจ้างกลุ่มบริษัทที่ปรึกษา เอ็ม เอ เอ คอนซัลแตนท์ จำกัด เมื่อวันที่  15 มีนาคม 2555 เพื่อศึกษาทบทวนรายละเอียดความเหมาะสม ออกแบบจัดเตรียมเอกสารประกวดราคาและดำเนินงานตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานฯ พ.ศ.2535

6. โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วง เตาปูน-ราษฎร์บูรณะ และ โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วง ลาดพร้าว-สำโรง ยังไม่มีกำหนดเปิดให้บริการ ซึ่งขณะนี้ได้ประกาศเชิญชวนบริษัทที่ปรึกษาเพื่อศึกษาทบทวนรายละเอียดความเหมาะสม ออกแบบจัดเตรียมเอกสารประกวดราคาและดำเนินงานตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานฯ พ.ศ.2535 เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2555 โดยเปิดให้รับเอกสารระหว่างวันที่ 2-19 เมษายน 2555 และกำหนดให้ยื่นข้อเสนอในวันที่ 5 มิถุนายน 2555

หลังจากได้เห็นความคืบหน้าโครงการรถไฟฟ้าสายต่างๆ จากความรับผิดชอบของ รฟม.ไปแล้วอีกหน่วยงานที่ต้องรับผิดชอบโครงการรถไฟฟ้าเช่นกันคือ การรถไฟแห่งประเทศไทย หรือ รฟท. ซึ่งมีด้วยกัน 2 สาย

โดยใช้ชื่อว่าโครงการระบบรถไฟชานเมือง สายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต ซึ่งยังไม่มีกำหนดเปิดให้บริการ โดยขณะนี้ในส่วนของงานสัญญาที่ 1 งานโยธาสถานีรถไฟบางซื่อ และศูนย์ซ่อมบำรุง อยู่ระหว่างการพิจารณาด้านราคา โดยเสนอผลการพิจารณาด้านราคาให้คณะกรรมการรถไฟฯ พิจารณาเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2555 สัญญาที่ 2 งานโยธาสำหรับทางรถไฟช่วงบางซื่อ-รังสิต การพิจารณาเอกสารประกวดราคาด้านเทคนิค ผ่านการเห็นชอบ JICA แล้ว และรอการเปิดซองราคา เมื่อพิจารณาผลการประกวดราคาสัญญาที่ 1 เรียบร้อยแล้ว และสัญญาที่ 3 งานระบบรถไฟฟ้าและเครื่องกลรวมงานจัดซื้อตู้รถไฟฟ้า ยังอยู่ระหว่างการพิจารณาเอกสารประกวดราคาซองที่ 1 การจ้างที่ปรึกษาเพื่อบริหารโครงการ

ส่วนอีกเส้นทาง คือ ช่วง บางซื่อ-ตลิ่งชัน ซึ่งได้ว่าจ้างกิจการร่วมค้า Unique-Chun Wo Joint Venture เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2551 เป็นผู้ดำเนินการ ในวงเงิน 8,748,399,000 บาท ซึ่งกิจการร่วมค้าดังกล่าวเป็นการร่วมกันระหว่าง บริษัท ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) และ กลุ่มบริษัทกิจการร่วมค้า STCC JOINT VENTURE ประกอบด้วย บริษัท ซินแท็ค คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) และ บริษัท ทิพากร จำกัด ซึ่งโครงการดังกล่าว โดยผู้รับจ้างได้เริ่มปฏิบัติงานตามสัญญา เมื่อ 15 มกราคม 2552 โดยมีกลุ่มบริษัทที่ปรึกษา ทีม คอนซัลติ้ง เอนจิเนียริ่ง แอนด์ แมเนจเมนท์ จำกัด เป็นผู้ควบคุมงานก่อสร้าง อย่างไรก็ตาม การก่อสร้างได้ล่าช้าสะสม เนื่องจากมหาอุทกภัยครั้งใหญ่ในช่วงเดือนตุลาคมถึงกลางพฤศจิกายน 2554 โดยปัจจุบันมีผลงานคืบหน้าแล้ว 88.61%.
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42784
Location: NECTEC

PostPosted: 19/04/2012 2:59 pm    Post subject: Reply with quote

รฟม.ลัดคิว"สายสีชมพู"ประมูลสิ้นปี ระบบโมโนเรล5หมื่นล้าน เพิ่ม6สถานีบูมห้าง-คอนโด
ประชาชาติธุรกิจ
วันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2555 เวลา 10:32:48 น.

รฟม.ปรับแผนรถไฟฟ้าสายสีชมพู "แคราย-มีนบุรี" ใหม่ เป็นระบบโมโนเรล ระยะทางรวม 34.5 กิโลเมตร ผุดสถานีใหม่ 6 แห่ง รับศูนย์การค้า-คอนโดมิเนียมบนถนนแจ้งวัฒนะ-รามอินทราบูม ขยายจุดเวนคืนที่ดินเพิ่ม ช่วงโค้งย่านแคราย ห้าแยกปากเกร็ด ตลาดมีนบุรี ดันมูลค่าลงทุนโครงการเฉียด 5 หมื่นล้าน เตรียมเปิดประมูลในปีนี้รูปแบบเทิร์นคีย์ คาดใช้เวลาสร้าง 4 ปี เปิดบริการในปี"60 เก็บค่าโดยสาร 20 บาทตลอดสาย สนองนโยบายหาเสียงรัฐบาลยิ่งลักษณ์

แหล่งข่าวจากการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ได้บริษัทที่ปรึกษา บจ.ทีม คอนซัลติ้ง เอนจิเนียริ่ง แอนด์ แมเนจเมนท์ วงเงิน 34 ล้านบาท ทบทวนรูปแบบโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู (แคราย-มีนบุรี) ระยะทาง 34.5 กิโลเมตร จากผลการศึกษาเดิมของสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ล่าสุดได้ข้อสรุปจะสร้างเป็นระบบโมโนเรล (รถไฟฟ้าขนาดเบา) ตามที่ สนข.ศึกษาไว้ เพราะก่อสร้างได้เร็ว ใช้เงินลงทุนไม่สูงมาก

"แต่มูลค่าการลงทุนจะเพิ่มขึ้นจาก 42,067 ล้านบาท เป็น 45,000-50,000 ล้านบาท เพราะเพิ่มสถานีใหม่ 6 แห่ง จาก 24 สถานี เป็น 30 สถานี โดยแทรกระหว่างสถานีที่อยู่ไกลกัน และปรับระยะห่าง 1.6 กิโลเมตร/สถานี เหลือ 1.2 กิโลเมตร/สถานี"

เพิ่มใหม่ 6 สถานี

โดยที่ตั้ง 6 สถานีใหม่ ได้แก่

1) เยื้องศูนย์การค้าเซ็นทรัล แจ้งวัฒนะ (สถานีเซนทรัลปากเกร็ด/Software Park ท่าจะเหมาะ)

2) ระหว่างสถานีเมืองทองธานีกับสถานีศรีรัช ปากทางเข้าเมืองทองธานี (ตั้งชื่อ สถานีนี้เป็นสถานีศรีรัชและเปลี่ยนชื่อสถานีศรีรัชเป็นสถานีสหกรณ์การบินไทยเพราะใกล้หมู่บ้านสหกรนณ์การบินไทย)

3) ระหว่างสถานีศูนย์ราชการกับสถานีหลักสี่ ใกล้การสื่อสารแห่งประเทศไทย (กสท.)และศูนย์การค้าไอทีสแควร์หลักสี่ (สถานี MICT หรือ สถานี กสท./TOT ก็ได้เพราะใกล้สถานีเหล่านี้ทั้งนั้น)

4) ระหว่างสถานีวงเวียนหลักสี่กับสถานีลาดปลาเค้า อยู่กึ่งกลางรามอินทรา ซอย 3 และ 5 หน้าโครงการคอนโดมิเนียมแอล.พี.เอ็น. (สถานีอมรินทร์นิเวศน์ท่าจะเหมาะเพราะใกล้ปากทางเข้าหมู่บ้านอมรินทร์นิเวศน์ด้วย)

5) ระหว่างสถานีเคหะรามอินทรากับสถานีวัชรพล บริเวณ กม.4 (สถานีนวลจันทร์ท่าจะเหมาะ) และ

6) ระหว่างสถานีนวมินทร์กับสถานีคันนายาว ใกล้ศูนย์การค้าแฟชั่นไอส์แลนด์ (สถานี Fashion Island ท่าจะเหมาะ)

ส่วน 24 สถานีเดิมประกอบด้วย

สถานีศูนย์ราชการนนทบุรี
แคราย
สนามบินน้ำ
สามัคคี
ชลประทาน
ปากเกร็ด
เลี่ยงเมืองปากเกร็ด
เมืองทองธานี
ศรีรัช
มงกุฎวัฒนะ
ศูนย์ราชการกรุงเทพฯ
หลักสี่
ราชภัฏพระนคร
อนุสาวรีย์หลักสี่
ลาดปลาเค้า
เคหะรามอินทรา
วัชรพล
นวมินทร์
คันนายาว
สวนสยาม
บางชัน
เศรษฐบุตรบำเพ็ญ
สีหบุรานุกิจ และ
มีนบุรี

ต้นทุนเวนคืนที่ดินพุ่ง

"อีกทั้งเพิ่มงบฯเวนคืนจากเดิม 4,000 กว่าล้านบาท เพราะต้องเวนคืนเพิ่มในบางจุด ส่วนใหญ่เป็นช่วงทางโค้ง เช่น แคราย ห้าแยกปากเกร็ด มีนบุรี เป็นต้น และผลพ่วงจากการปรับราคาประเมินของกรมธนารักษ์ที่จะประกาศใช้ราคาใหม่ของปีนี้ด้วย"

แหล่งข่าวกล่าวต่อว่า ขณะนี้นางสาวรัชนี ตรีพิพัฒน์กุล ประธานคณะกรรมการ (บอร์ด) รฟม. ให้เร่งปรับแผนก่อสร้างโครงการนี้ให้เสร็จโดยเร็ว และเปิดประมูลภายในปีนี้เพื่อผลักดันนโยบายของรัฐบาลก่อสร้างรถไฟฟ้า 10 สายให้ทันรัฐบาลชุดนี้ และสานต่อนโยบายหาเสียง 20 บาทตลอดสาย เพราะสายสีชมพูหลังสร้างเสร็จในปี 2560 จะเก็บค่าโดยสาร 20 บาทตลอดสาย

ประมูลสิ้นปี-เร็วขึ้นจากแผน 2 ปี

"ที่ปรึกษาจะสรุปผลศึกษาเสร็จเดือนเมษายนนี้ จากนั้นจะเตรียมทำเอกสารประกวดราคาและเวนคืนที่ดินประมาณตุลาคม-ธันวาคมนี้จะเปิดประมูลได้

ใช้เวลาสร้าง 4 ปี แล้วเสร็จและเปิดบริการปี 2560 เร็วขึ้น 2 ปี จากแผนแม่บทที่กำหนดในปี 2562 ปีแรกเปิดบริการ จะมีผู้โดยสารมาใช้บริการกว่า 3 แสนเที่ยวคน/วัน เพิ่มขึ้นจากผลการศึกษาเดิม 20% เพราะเก็บ 20 บาทตลอดสายจะทำให้คนมาใช้มากขึ้น" แหล่งข่าวกล่าวและว่า

ส่วนรูปแบบการลงทุนจะเป็นดีไซน์แอนด์บิวด์ คือ จะก่อสร้างและออกแบบไปพร้อมกัน ซึ่งวิธีการนี้จะคล้ายกับการลงทุนแบบเทิร์นคีย์ (เบ็ดเสร็จ) โดยผู้รับเหมาก่อสร้าง คนออกแบบ และผู้ผลิตระบบรถไฟฟ้าจะเป็นเจ้าเดียวกันทั้งหมด เพื่อให้ง่ายในการก่อสร้างและบริหารจัดการเดินรถ อีกทั้งผู้ผลิตรถโมโนเรลในตลาดจะมีไม่กี่รายเท่านั้น

โดยเอกชนที่สนใจจะเสนอการลงทุนมาเป็นแพ็กเกจเดียวกันทั้งโครงการ นอกจากนี้ทางประธานบอร์ดยังได้เร่งรัดให้ รฟม.ดำเนินการออกแบบรายละเอียดรถไฟฟ้าสายสีส้ม (ตลิ่งชัน-มีนบุรี) ให้เสร็จและเปิดประกวดราคาในปีนี้ โดยให้เริ่มดำเนินการก่อสร้างช่วงศูนย์วัฒนธรรมเชื่อมกับรถไฟฟ้าใต้ดินเดิมไปยังมีนบุรีเพื่อต่อเชื่อมกับสายสีชมพูก่อน

สำหรับแนวเส้นทางจุดเริ่มต้นจะใกล้ทางแยกแคราย จุดเชื่อมรถไฟฟ้าสายสีม่วง (บางซื่อ-บางใหญ่) หน้าศูนย์ราชการ จ.นนทบุรี วิ่งไปตามแนวถนนติวานนท์ เลี้ยวเข้าถนนแจ้งวัฒนะบริเวณห้าแยกปากเกร็ด

ผ่านเมืองทองธานี ศูนย์ราชการแห่งใหม่ แยกหลักสี่จะเชื่อมรถไฟสายสีแดง (บางซื่อ-รังสิต) วิ่งไปตามเกาะกลางถนนแจ้งวัฒนะผ่านมหาวิทยลัยราชภัฏพระนคร ไปเชื่อมรถไฟฟ้าสายสีเขียว (หมอชิต-สะพานใหม่) ที่วงเวียนอนุสาวรีย์หลักสี่ วิ่งไปตามถนนรามอินทราถึงแยกมีนบุรีเลี้ยวเข้าเมืองมีนบุรีไปตามแนวถนนสีหบุรานุกิจ ผ่านคลองสามวา คลองแสนแสบ ถนนรามคำแหง สิ้นสุดที่ตลาดมีนบุรีใกล้แยกถนนรามคำแหง-ร่มเกล้า จะเชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีส้ม
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42784
Location: NECTEC

PostPosted: 20/04/2012 2:12 am    Post subject: Reply with quote

บัตรร่วมโดยสารรถไฟฟ้า Rabbit Card ดีเดย์ 23 เมษายนนี้
โดย ณัฐญา เนตรหิน
ข่าวรายวัน - ข่าวในประเทศ
ฐานเศรษฐกิจ
วันพฤหัสบดีที่ 19 เมษายน 2012 เวลา 19:08 น.

ชาวกรุงเทพฯ เตรียมรับความสะดวกสบายสำหรับการพกพาบัตรโดยสารรถไฟฟ้า Rabbit Card(แรบบิท การ์ด) บัตรร่วมโดยสารสำหรับการเดินทางรถไฟฟ้า BTS และ รถไฟฟ้าใต้ดิน MRT จะเริ่มจำหน่าย และเปลี่ยนจากบัตรสมาร์ทพาส ให้ผู้ถือบัตรเดิมมาใช้บัตรร่วมแบบใหม่ที่เรียกว่า Rabbit Card ดีเดย์ 23 เมษายนนี้ สำหรับบัตรโดยสารร่วม Rabbit Card สามารถใช้เดินทางร่วมเส้นทางรถไฟฟ้า BTS และ MRT ได้ตามจุดต่อรถที่มีเส้นทางร่วมกัน และยังสามารถใช้ซื้อสินค้าและบริการ รวมไปถึงการสะสมคะแนนผ่าน Carrot Rewards โดยบัตร Rabbit Card นี้ได้ด้วย

สำหรับสมาชิก หนูด่วนพลัส สามารถรับบัตรโดยสารรูปแบบใหม่ในชื่อ "แรบบิท รุ่น ลิมิเต็ด อิดิชั่น” เพื่อใช้เดินทางและสะสมคะแนนได้ก่อนใคร โดยสมาชิกจะต้องลงทะเบียนที่เว็บไซต์ http://www.carrotrewards.co.th/nuduanplus ตั้งแต่วันนี้ - 30 เมษายน 2555 โดยบริษัท แครอท รีวอร์ดส จำกัด จะจัดส่งบัตรทางไปรษณีย์ หลังจากได้ลงทะเบียนตอบรับเรียบร้อยแล้ว ซึ่งเป็น Rabbit Card ประเภทแรบบิทธุรกิจสำหรับบุคคลทั่วไป และได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก แครอท รีวอร์ดส เรียบร้อยแล้ว

Rabbit Card ประเภทแรบบิทธุรกิจสำหรับบุคคลทั่วไป ในเบื้องต้นจะสามารถเติมเที่ยวโดยสารบีทีเอส (ประเภท 30 วัน สำหรับบุคคลทั่วไป) และเติมเงินสำหรับใช้เดินทาง(ประเภทเติมเงิน) หรือใช้จ่ายกับร้านค้าที่ร่วมรายการแทนเงินสด สำหรับคะแนนสะสมคงเหลือของสมาชิกหนูด่วนพลัสที่โอนมา คิดอัตราส่วนคะแนนหนูด่วน พลัส 4 คะแนน เท่ากับ 1 แครอท พอยท์ โดยสามารถเช็คคะแนนสะสมได้ตั้งแต่วันที่ 23 เมษายน 2555 เป็นต้นไป

ตั้งแต่วันที่ 23 เม.ย.2555 เป็นต้นไป จะหยุดให้บริการจำหน่ายบัตรบีทีเอส สมาร์ทพาส ประเภท 30 วัน และตั้งแต่วันที่ 1 พ.ค.2555 เป็นต้นไป จะหยุดให้บริการจำหน่ายบัตรบีทีเอส สมาร์ทพาส ประเภทเติมเงิน โดยจะใช้บัตรแรบบิทแทน ซึ่งผู้ที่มีบัตรโดยสารสมาร์สพาสเดิม สามารถนำบัตรมาแลกบัตรแรบบิทได้ ฟรี! ส่วนลูกค้าใหม่ จะได้รับค่าธรรมเนียมพิเศษในการออกบัตรแรบบิทในราคา 50 บาท (จากปกติ 150 บาท) ตั้งแต่วันที่ 23เม.ย.-31 ธ.ค.55

บริษัทที่ทำ Rabbit Card คือ บริษัท แครอท รีวอร์ดส จำกัด เดิมชื่อ บริษัท บางกอก สมาร์ทการ์ด เทคโนโลยี จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของบีทีเอสกรุ๊ปฯ และบริษัท รถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) เปลี่ยนชื่อบริษัทเมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2554 ที่ผ่านมา โดยได้ร่วมกับอีกบริษัทหนึ่งพัฒนาและบริหารระบบบัตรโดยสารร่วมระหว่างรถไฟฟ้าบีทีเอส กับรถไฟฟ้าใต้ดินเอ็มอาร์ที และใช้พื้นฐานจากสมาร์ทการ์ดและเงินสดอีเล็คทรอนิกส์ เพื่อที่จะขยายเครือข่ายจากระบบขนส่งมวลชนไปยังส่วนของร้านค้า ธุรกิจบริการ และการท่องเที่ยว โดยมีธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ให้การสนับสนุนในด้านต่างๆ โดยเฉพาะการเป็นเคลียริ่งเฮ้าส์ รวมถึงการเป็น Settlement Bank (ระบบชำระเงิน) และผู้จัดหาร้านค้าปลีกเข้ามาใช้ระบบของ บีเอสเอส

ประกาศการใช้บัตร Rabbit ให้นำบัตร 30 วัน มาแลก ในวันที่ 31 ธันวาคม 2555
http://www.bts.co.th/CollectFair_BTS.html
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 50, 51, 52 ... 278, 279, 280  Next
Page 51 of 280

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©