Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311296
ทั่วไป:13272515
ทั้งหมด:13583811
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - รวมข่าวโครงการรถไฟทางคู่
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

รวมข่าวโครงการรถไฟทางคู่
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 56, 57, 58 ... 390, 391, 392  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44632
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 18/05/2012 9:39 pm    Post subject: Reply with quote

ผมคิดว่าทางคู่ชุมทางถนนจิระ-ขอนแก่น และประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร ความคืบหน้าไม่แตกต่างกันมากครับ คือ ยังเป็นโครงการที่ต้องศึกษารายละเอียดและจัดทำรายงาน EIA ครับ
คงใช้เวลาอีกนานทีเดียว Sad

ผมติดตามผ่านทางเว็บไซต์นี้ครับ ยังพอมีการอัพเดทข้อมูลอยู่บ้าง
http://www.prachuap-chumphon.com
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
grandtuk
3rd Class Pass
3rd Class Pass


Joined: 22/05/2007
Posts: 42

PostPosted: 18/05/2012 11:32 pm    Post subject: Df Reply with quote

โครงการระยะเร่งด่วน 2553-2558. แต่เริ่มสร้าง 2559. เจริญครับ. - -
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44632
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 21/05/2012 11:51 am    Post subject: Reply with quote

สนข.กางแผนทางคู่จิระ-ขอนแก่นพร้อมพัฒนาโลจิสติกส์ต่อยอดรายได้ภาคขนส่ง
หนังสือพิมพ์บ้านเมือง -- จันทร์ที่ 21 พฤษภาคม 2555 00:00:40 น.

ขนส่งสินค้าในปัจจุบัน เป็นที่ทราบกันดีว่ามีการขนส่งทางถนนด้วยรถบรรทุก การขนส่งทางน้ำด้วยเรือขนส่งสินค้า และการขนส่งทางรางด้วยรถไฟที่มีมาช้านาน แต่ถือว่ายังไม่ประสบความสำเร็จมากมายนัก กระทั่งนโยบายของรัฐบาลหลายสมัย โดยกระทรวงคมนาคม ได้เดินหน้าโครงการรถไฟทางคู่เพื่อนำมาขนส่งเชื่อมโยงสินค้า วันนี้ "บ้านเมือง" มีคำตอบเกี่ยวกับโครงการดังกล่าวภายหลังสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) พาสื่อมวลชนสำรวจเส้นทางก่อสร้าง

สนข.ออกแบบทางคู่แล้ว
นางสร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เปิดเผยว่าถึงความคืบหน้าโครงการรถไฟทางคู่ช่วงชุมทางถนนจิระ-ขอนแก่น ซึ่งเป็น 1 ใน 6 เส้นทางพัฒนารถไฟทางคู่ระยะเร่งด่วน พ.ศ.2553-2558 ว่าขณะนี้ สนข.ได้ออกแบบศึกษารายละเอียดรวมทั้งเปิดรับฟังความคิดเห็นประชาชนเรียบร้อยแล้ว

เหลือเพียงโครงการผ่านการเห็นชอบผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม หรือ EIA หากขั้นตอนดังกล่าวผ่านแล้ว จะสู่กระบวนการจัดจ้างผู้รับเหมาก่อสร้างซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของการรถไฟแห่งประเทศไทย หรือ รฟท.จะเป็นผู้นำเสนอกระทรวงคมนาคม คาดว่าภายในเดือนตุลาคม 2555 นี้ จะนำเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อพิจารณาอนุมัติโครงการได้ จากนั้นจะเข้าสู่กระบวนการเปิดซองประกวดราคาหากเป็นไปตามแผนโครงการจะบรรจุเข้าปีงบประมาณปี 2557 และโครงการดังกล่าวจะเริ่มก่อสร้างได้ภายในปี 2559

ทางคู่สร้างมูลค่าทาง ศก.ประเทศ
ทั้งนี้ หากโครงการดังกล่าวก่อสร้างแล้วเสร็จ จะมีความเหมาะสมทั้งด้านเศรษฐกิจการลงทุน เนื่องจากมีผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ (EIRR) สูงถึง 19.94% และเมื่อเปิดให้บริการแล้ว ก็จะช่วยให้การคมนาคมขนส่งทั้งสินค้า และผู้โดยสารมีความสะดวกรวดเร็ว ปลอดภัย รวมทั้งช่วยส่งเสริมคุณภาพชีวิตของประชาชนในระยะยาว สำหรับรูปแบบโครงการรถไฟทางคู่เส้นทางจิระ-ขอนแก่น แนวเส้นทางเริ่มต้นจากสถานีชุมทางถนน จิระ ครอบคลุมพื้นที่ 10 อำเภอ ของ 2 จังหวัด ได้แก่ จ.นครราชสีมาและขอนแก่น รวม 19 สถานีเป็นย่านเก็บกองสินค้า 3 สถานี ที่หยุดรถ ป้ายหยุดรถ 7 แห่ง ระยะทาง 187 กิโลเมตร ก่อสร้างรางขนาด 1 เมตรเพิ่มเติมขนานกับแนวเส้นทางเดิม 1 ราง มูลค่าการลงทุนประมาณ 25,000 ล้านบาท

สำหรับรถไฟทางคู่ช่วงชุมทางถนนจิระ-ขอนแก่น เป็น 1 ใน 6 เส้นทางของแผนการพัฒนาโครงข่ายระบบรถไฟทางคู่ (ระยะเร่งด่วน) ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 27 เมษายน 2553 โดยมีจุดเริ่มต้นโครงการที่สถานีชุมทางถนนจิระต่อจากแนวเส้นทางรถไฟทางคู่ ช่วงมาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระ มีแนวเส้นทางครอบคลุมพื้นที่ 2 จังหวัด 10 อำเภอ ได้แก่ จ.นครราชสีมา (อ.เมือง อ.โนนสูง อ.คง อ.บัวใหญ่ อ.บัวลาย) และ จ.ขอนแก่น (อ.พล อ.โนนศิลา อ.บ้านไผ่ อ.บ้านแฮด อ.เมือง) มีสถานีรถไฟ 19 สถานี ที่หยุดรถ/ป้ายหยุดรถ 7 แห่ง รวมระยะทางประมาณ 187 กิโลเมตร พัฒนาสายทางคู่ช่วงจิระ-ขอนแก่น เชื่อมโยงโครงข่ายรถไฟทางคู่ภาคอีสาน เพิ่มประสิทธิภาพโลจิสติกส์ ส่งเสริมเศรษฐกิจชาติสู่สมาชิก AEC

เตรียมพร้อมทางคู่รับอาเซียน
อย่างไรก็ตาม การวางแผนสร้างโครงการรถไฟทางคู่นั้น เพื่อเตรียมความพร้อมในการร่วมเป็นสมาชิกประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community : AEC) ในปี 2558 จึงต้องมีการพัฒนาระบบการคมนาคมและขนส่งสินค้า เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันกับนานาประเทศ โดยเฉพาะการคมนาคมในระบบราง ซึ่งต้องพัฒนาให้สามารถเดินทางและขนส่งได้รวดเร็ว ตรงเวลา ซึ่งในการดำเนินงานโครงการรถไฟทางคู่ ช่วงชุมทางถนนจิระ-ขอนแก่น เมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จ จะสามารถลดระยะเวลาการเดินทางระหว่าง จ.นครราชสีมา-จ.ขอนแก่น จาก 3 ชั่วโมง เหลือเพียง 1 ชั่วโมง 30 นาที เพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งสินค้าในเส้นทาง จาก 4 แสนตันต่อปี เป็น 4 ล้านตันต่อปี และสามารถรองรับจำนวนผู้โดยสารได้ 10 ล้านคนต่อปี จึงเป็นการช่วยลดต้นทุนโลจิสติกส์ เสริมศักยภาพของประเทศไทยให้แข็งแกร่งสามารถแข่งขันในเวที AEC ได้อย่างมั่นคง และยังเอื้อให้เกิดการพัฒนาเมือง เป็นจุดรวมและกระจายสินค้าตลอดแนวเส้นทาง สร้างงาน สร้างรายได้สู่คนในท้องถิ่น พัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชนตามแนวเส้นทางโครงการฯ อีกด้วย

นอกจากนี้ ยังมีผลการวิเคราะห์ความเหมาะสมของโครงการด้านเศรษฐกิจ ยังชี้ให้เห็นว่าโครงการมีความเหมาะสมทางด้านเศรษฐกิจในการลงทุน เนื่องจากดัชนีชี้วัดทางเศรษฐกิจสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด โดยมีมูลค่าปัจจุบันสุทธิ (Net Present Value : NPV) เท่ากับ 18,520.55 ล้านบาท อัตราส่วนผลประโยชน์ต่อต้นทุน (Benefit/Cost Ratio : B/C Ratio) เท่ากับ 1.81 และอัตราส่วนผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ (Economic Internal Rate of Return : EIRR) เท่ากับ 19.94% โครงการฯ นี้จึงเป็นการลงทุนที่คุ้มค่าเป็นอย่างยิ่ง โดยมีวงเงินลงทุนโครงการทั้งสิ้น 25,353 ล้านบาท

สำหรับภาคตะวันออกเฉียงเหนือนั้น ถือว่าเป็นฐานการผลิตมันสำปะหลังใหญ่ที่สุดในประเทศ รวมทั้งเป็นฐานการผลิตข้าวที่สำคัญ สร้างรายได้หลักให้กับประเทศหลายหมื่นล้านบาทต่อปี อีกทั้งยังมีจังหวัดนครราชสีมาเป็นศูนย์กลางการคมนาคมกระจายสินค้าเกษตรไปสู่ภาคอุตสาหกรรมอื่นๆ และเป็นจังหวัดที่มีความพร้อมในการเป็นประตูสู่ภูมิภาคอินโดจีน ดังนั้น การพัฒนาระบบการขนส่งและโลจิสติกส์ที่ได้มาตรฐานและมีประสิทธิภาพจึงเป็นสิ่งสำคัญเพื่อรองรับความต้องการในการเดินทางและขนส่งรวมทั้งเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันกับนานาประเทศ กระทรวงคมนาคม โดยสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ได้เร่งพัฒนาระบบคมนาคมขนส่งทางราง โดยเฉพาะการพัฒนาระบบรถไฟทางคู่ ช่วงชุมทางถนนจิระ-ขอนแก่น จึงเป็นโครงสร้างพื้นฐานสำคัญในการเพิ่มขีดความสามารถด้านการขนส่งและระบบโลจิสติกส์ของประเทศ

เผยแผนผุด 6 สาย
ส่วนย่านกองเก็บตู้สินค้า (Container Yard : CY) ซึ่งเป็นจุดสำคัญในการรองรับการขนส่งต่อเนื่องด้วยการใช้ระบบตู้คอนเทนเนอร์ในการขนส่งสินค้าทางรถไฟ โดยพัฒนาลานกองเก็บตู้สินค้าในบริเวณสถานีรถไฟที่มีศักยภาพ ซึ่งโครงการรถไฟทางคู่ช่วงชุมทางถนนจิระ-ขอนแก่น มีสถานีย่านกองเก็บตู้สินค้า (CY) จำนวน 3 แห่ง ได้แก่ CY สถานีบ้านกระโดน CY สถานีชุมทางบัวใหญ่ จ.นครราชสีมา และ CY สถานีท่าพระ จ.ขอนแก่น เชื่อมต่อการขนส่งสินค้าจากภาคอีสานสู่ภูมิภาคอื่นๆ ได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น เพื่อตอบสนองความต้องการในการใช้บริการให้ครบถ้วนมากที่สุด

"การพัฒนาโครงการรถไฟทางคู่นั้น เพื่อเป็นการพัฒนาเศรษฐกิจพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชน การคมนาคมขนส่งทางรางเป็นโครงการสร้างพื้นฐานที่มีบทบาทสำคัญในการยกระดับด้านโลจิสติกส์ของประเทศ แต่ขณะนี้สภาพทางเดี่ยวที่มีอยู่ไม่เพียงพอต่อความต้องการให้บริการ กระทรวง คมนาคมจึงมี นโยบายเร่งรัดการพัฒนาระบบคมนาคมขนส่งทางราง โดยเชื่อมโยงโครงข่าย และการบริหารจัดการ การขนส่งผู้โดยสาร สินค้า และบริการที่สะดวก ปลอดภัย ทั้งในพื้นที่ชนบท พื้นที่เมือง และระหว่างประเทศพร้อมผลักดันรถไฟทางคู่ เพื่อเพิ่มศักยภาพระบบ โลจิสติกส์ของประเทศ และส่งเสริมระบบเศรษฐกิจโดยรวมของชาติ สำหรับการพัฒนาเส้นทางรถไฟทางคู่ระยะเร่งด่วนมีทั้งหมด 6 เส้นทางสำคัญ รวมระยะทาง 873 กิโลเมตร ประกอบด้วย
1.เส้นทางช่วงฉะเชิงเทรา-คลองสิบเก้า-แก่งคอย ระยะทาง 106 กิโลเมตร
2.เส้นทางช่วงลพบุรี-ปากน้ำโพ ระยะทาง 118 กิโลเมตร
3.เส้นทางช่วงมาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระ ระยะทาง 132 กิโลเมตร
4.เส้นทางช่วงชุมทางถนนจิระ-ขอนแก่น ระยะทาง 185 กิโลเมตร
5.เส้นทางช่วงนครปฐมชุมทางหนองปลาดุก-หัวหิน ระยะทาง 165 กิโลเมตร และ
6.เส้นทางช่วงประจวบคีรีขันธ์ชุมพร ระยะทาง 167 กิโลเมตร"

สนข.เดินหน้าทำพีอาร์
สำหรับกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนและการประชาสัมพันธ์นั้น ถือว่าเป็นปัจจัยสำคัญยิ่งในการพัฒนาโครงการ อย่างไรก็ตาม สนข.จึงได้จัดให้มีกิจกรรมการมีส่วนร่วมของประชาชนอย่างต่อเนื่อง ทั้งการสัมภาษณ์เชิงลึก การเข้าพบผู้ว่าราชการจังหวัดที่แนวเส้นทางพาดผ่าน การแทรกวาระการประชุมระดับอำเภอและจังหวัด การสัมมนารับฟังความคิดเห็นของประชาชน ควบคู่กับการดำเนินการประชาสัมพันธ์ข้อมูลโครงการผ่านสื่อประชาสัมพันธ์ ประกอบด้วย เอกสารข้อเท็จจริง แผ่นพับ โบรชัวร์ บอร์ดนิทรรศการ วีดิทัศน์ เว็บไซต์ และหน่วยประชาสัมพันธ์เคลื่อนที่ ตลอดระยะเวลาในการดำเนินการโครงการ สนข. ได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในทุกกิจกรรมการมีส่วนร่วมของประชาชนเป็นอย่างดี ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน มีความสนใจ และแสดงความคิดเห็นอันเป็นประโยชน์อย่างมากต่อโครงการ ทำให้ สนข.สามารถนำข้อเสนอแนะ และความคิดเห็นดังกล่าวมาประกอบในการศึกษาความเหมาะสมในแต่ละขั้นตอน จนนำไปสู่การพัฒนาโครงการระบบรถไฟทางคู่ที่มีความเหมาะสม และสอดคล้องกับความต้องการของประชาชนมากที่สุด

เผยแผนรถไฟในอนาคต
อย่างไรก็ตาม นอกจากการพัฒนาเส้นทางในระยะเร่งด่วนแล้ว กระทรวงคมนาคมยังมีแผนที่จะเติมเต็มโครงข่ายสายทางคู่ในภาคอีสาน จากขอนแก่นสู่อุดรธานีและหนองคาย พร้อมพัฒนาเส้นทางรถไฟสายใหม่ผ่าน จ.ร้อยเอ็ด จ.มุกดาหาร จ.นครพนม เชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้าน เสริมศักยภาพการคมนาคมในระบบรางของภาคอีสานให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น

สำหรับรูปแบบในการออกแบบระบบรถไฟทางคู่ มีแนวคิดการออกแบบในเป้าหมายที่มุ่งพัฒนาให้ระบบรถไฟมีความสามารถรองรับปริมาณการขนส่ง และการโดยสารที่เพิ่มขึ้น รวมทั้งจะต้องสามารถกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการขนส่งจากทางถนนมาสู่ระบบรางมากขึ้น โดยให้ระบบที่มีอยู่เดิมและระบบรถไฟฟ้าที่จะเกิดขึ้นในอนาคตใช้งานร่วมกันได้มีแนวคิดในการออกแบบประกอบด้วย

กำหนดมาตรฐานการออกแบบ (Major Rules) ให้ระบบรถโดยสารมีความเร็วสูงสุด 160 กม./ชม.ออกแบบย่านสถานีที่สามารถรองรับปริมาณการเดินรถโดยสารทุกชนิดแล้วให้ได้ความเร็วเฉลี่ยถึงปลายทางเป็น 100-110 กม./ชม. ก่อสร้างทางเพิ่มอีก 1 ทางเป็นทางคู่ เพื่อให้สอดคล้องกับโครงข่ายเดิม ประหยัดงบประมาณ สามารถใช้พื้นที่เขตทางที่เหลือในการพัฒนาระบบรางในอนาคต

ปรับปรุงทางตัดผ่านเสมอระดับทางรถไฟให้เป็นทางต่างระดับ มีรั้วกั้นตลอดแนวเส้นทาง เพื่อความปลอดภัยในการเดินรถไฟและลดอุบัติเหตุ รวมถึงช่วยให้รถไฟใช้ความเร็วได้อย่างต่อเนื่อง เพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งทางรางได้อย่างเต็มที่

ส่วนรูปแบบสถานี ออกแบบอาคารสถานีให้มีความสวยงาม ผสมผสานความทันสมัยเข้ากับเอกลักษณ์ท้องถิ่นที่สื่อถึงสถาปัตยกรรมท้องถิ่น และวิถีการดำเนินชีวิตของชาวอีสาน พร้อมออกแบบให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกทั้งภายในและภายนอกสถานี เช่น ทางลาดบริเวณพื้นที่ต่างระดับ ป้ายแสดงข้อมูล ห้องน้ำสาธารณะ บันไดเลื่อน ที่จอดรถส่วนบุคคล ที่จอดรถสาธารณะ ที่จอดรถรับ-ส่ง เป็นต้น

นอกจากนี้ยังมีการเน้นเรื่องของจุดตัดทางรถไฟ เพื่อเพิ่มความปลอดภัย โดยออกแบบปรับปรุงแก้ปัญหาทางตัดผ่านทางรถไฟ จำนวน 83 จุด ซึ่งมีด้วยกัน 4 รูปแบบ ตามลักษณะความเหมาะสมของแต่ละพื้นที่ ประกอบด้วย รูปแบบถนนยกระดับข้ามทางรถไฟ ใช้กับถนนที่มีปริมาณจราจรค่อนข้างมาก ซึ่งมีมาตรฐานการออกแบบสูง ถนนกลับรถรูปตัวยู ใช้กับถนนสายรองที่มีปริมาณการจราจรน้อย

ท่อเหลี่ยมลอดใต้ทางรถไฟ (Box Culvert) ใช้กับถนนสายรองที่มีระดับต่ำกว่าทางรถไฟ และสามารถทำหน้าที่ระบายน้ำในฤดูน้ำหลากได้ยกระดับทางรถไฟ (Elevated Railway) ใช้สำหรับแก้ปัญหาจุดตัดในเขตเมืองที่มีถนนสายหลักและสายรองตัดผ่านในระยะกระชั้นชิด หรือมีโครงข่ายถนนสายหลักวางตัวขนานกับทางรถไฟค่อนข้างใกล้ รวมทั้งมีปริมาณจราจรของจุดตัดค่อนข้างสูง

เอกชนลั่นแข่งขันขนส่ง
นายสุรชัย กนกะปิณฑะ ที่ปรึกษาสมาคมผู้ประกอบการขนส่งสินค้าภาคอีสาน กล่าวถึงโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ช่วงชุมทางถนนจิระ (นครราชสีมา)-ขอนแก่น ว่าในส่วนของการขนส่งสินค้าแบบรถบรรทุกสินค้านั้น คาดว่าจะยังไม่มีผลกระทบต่อรายได้และเที่ยววิ่งให้บริการอย่างแน่นอน เนื่องจากเส้นทางดังกล่าวถือว่าไม่มีโรงงานอุตสาหกรรมมากนัก และการก่อสร้างดังกล่าวนั้นจะต้องใช้ระยะเวลานานกว่าจะเสร็จสิ้นโครงการ อย่างไรก็ตาม หากเป็นการก่อสร้างในช่วงมาบกะเบา (สระบุรี)-ชุมทางถนนจิระขอนแก่นนั้น เชื่อว่าจะส่งผลกระทบต่อภาคการขนส่งอย่างแน่นอน เนื่องจากจะเป็นเส้นทางดังกล่าวถือเป็นเส้นทางเชื่อมต่อระบบขนส่งสินค้าที่สมบูรณ์

"โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่เส้นทางช่วง ชุมทางถนนจิระ-ขอนแก่นนั้น คาดว่าไม่ส่งผลกระทบอย่างแน่นอน เนื่องจากเห็นว่าเส้นทางช่วงนี้มีโรงงานอุตสาหกรรมไม่มาก แต่หากเป็นเส้นทางรถไฟทางคู่ช่วงมาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระ-ขอนแก่นแล้วเสร็จคาดว่าจะส่งผลกระทบอย่างแน่นอน เนื่องจากเป็นเส้นทางขนส่งสินค้าที่สมบูรณ์ และเป็นช่วงที่มีโรงงานอุตสาหกรรมมาก อย่างไรก็ตาม คาดว่าจากนี้เราน่าจะมีโอกาสทำรายได้อย่างเต็มที่ประมาณ 5 ปี หากโครงการดังกล่าวก่อสร้างคาดว่าจะใช้ระยะเวลาพอสมควร ซึ่งหากเกิดโครงการดังกล่าวขึ้นจริงภาคขนส่งสินค้ารถบรรทุกก็จะมีการแข่งขันการให้บริการอย่างแน่นอน"

อย่างไรก็ตาม การก่อสร้างโครงการรถไฟทางคู่นั้น ถือว่าเป็นโครงการที่มีความจำเป็นทั้งด้านการขนส่งเป็นอย่างมาก หากโครงการรถไฟทางคู่แล้วเสร็จจะสามารถสร้างรายได้ให้กับประเทศอีกหนทางหนึ่ง และเชื่อได้ว่าเป็นการพัฒนาภาคการขนส่งของประเทศไปอีกทางด้วย
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44632
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 25/05/2012 11:53 am    Post subject: Reply with quote

เวนคืน 2,000 ครัวเรือน สร้างรถไฟทางคู่ "จิระ-ขอนแก่น"
ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2555 เวลา 11:40:03 น.
คอลัมน์ เวนคืนอัพเดต

โปรเจ็กต์รถไฟทางคู่ช่วง "ชุมทางถนนจิระ-สถานีขอนแก่น" ระยะทาง 187 กิโลเมตร เป็น 1 ใน 6 เส้นทางการพัฒนารถไฟทางคู่ระยะเร่งด่วน (2553-2558) ที่กระทรวงคมนาคมกำลังเร่งดำเนินการก่อสร้าง เพื่อสนับสนุนการขนส่งและบริหารจัดการด้านโลจิสติกส์ ช่วยลดต้นทุนการขนส่งสินค้าในอนาคต

Click on the image for full size

"สร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์" ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) กล่าวว่า สนข.ได้จ้างกลุ่มบริษัททีมคอนซัลแตนต์ ศึกษาความเหมาะสมและออกแบบรายละเอียดโครงการ ได้สรุปเส้นทางโครงการและผ่านการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในพื้นที่เแล้ว เหลือเพียงทำรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) จะใช้เวลาประมาณ 1 ปี จากนั้นจะส่งต่อให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการขออนุมัติโครงการจากรัฐบาลในเดือนตุลาคม 2556 เพื่อขอจัดสรรงบประมาณเบื้องต้น จัดทำเอกสารประกวดราคาในปีงบประมาณ 2557 จากนั้นจะเข้าสู่กระบวนการประกวดราคา และเริ่มสร้างได้ในปี 2559 ใช้เวลาก่อสร้างประมาณ 3 ปี

สำหรับแนวเส้นทางโครงการจะครอบคลุม 10 อำเภอ ใน 2 จังหวัดคือ นครราชสีมา และขอนแก่น มีทั้งหมด 19 สถานี พร้อมด้วยย่านกองเก็บและขนถ่ายสินค้า (CY) 3 สถานี และที่หยุดรถและป้ายหยุดรถ 7 แห่ง ส่วนรูปแบบก่อสร้างเป็นรางขนาด 1 เมตร คู่ขนานไปกับเส้นทางเดิม ทำให้การเดินทางสะดวกและรวดเร็วเพราะรถไฟสามารถทำความเร็วได้ถึง 160 กิโลเมตร/ชั่วโมง เนื่องจากไม่ต้องรอสับหลีกราง อีกทั้งยังเป็นการช่วยแก้ปัญหาจุดตัดทางรถไฟกับถนนที่เส้นทางนี้มีอยู่ 93 จุด โดยที่ปรึกษาจะออกแบบก่อสร้างรองรับมี 4 รูปแบบทางเลือกคือ
1)ถนนยกระดับข้ามทางรถไฟ กรณีที่ทางรถไฟตัดผ่านถนนสายหลักที่มีปริมาณจราจรค่อนข้างสูง
2)ถนนยกระดับกลับรถรูปตัวยู กรณีที่ทางรถไฟตัดผ่านถนนสายรองที่มีจุดตัดหลายแห่งใกล้กัน
3)ท่อเหลี่ยมลอดใต้ทางรถไฟ กรณีที่ทางรถไฟตัดผ่านถนนที่มีปริมาณจราจรไม่สูงนักและมีระดับต่ำกว่าทางรถไฟและ
4)การยกระดับรถไฟ ซึ่งมีเฉพาะสถานีขอนแก่น รวมทั้งออกแบบให้มีรั้วกั้นตลอดแนวเส้นทางโครงการ ป้องกันอุบัติเหตุ

"ขณะที่พื้นที่ก่อสร้างด้วยสภาพปัจจุบันเขตทางของรถไฟถูกรุกล้ำจำนวนมาก ในเส้นทางจะต้องเคลียร์มีอยู่ประมาณ 2,000 ครัวเรือน มากที่สุดพื้นที่จังหวัดขอนแก่น ส่วนที่เหลือจะกระจายไปตามจุดต่าง ๆ อีกทั้งอาจจะต้องมีการเวนคืนที่ดินในส่วนที่ไม่ใช่แนวเขตทางของการรถไฟฯด้วย บริเวณนี้ต้องแก้ปัญหาจุดตัดรถไฟ เช่น ช่วงหนองม้า-หนองหัวฟาน อำเภอโนนสูง เป็นต้น"

ผอ.สนข.กล่าวอีกว่า คาดว่าจะใช้เงินลงทุนทั้งโครงการประมาณ 25,353 ล้านบาท แยกเป็น
ค่าโครงสร้างทางวิ่งทางรถไฟ 9,135 ล้านบาท
ค่างานสถานี 3,873 ล้านบาท
ค่างานระบบอาณัติสัญญาณและโทรคมนาคม 5,571 ล้านบาท
ค่างานย่านกองเก็บและขนถ่ายตู้สินค้า (CY) 654 ล้านบาท
ค่ารื้อย้ายสิ่งปลูกสร้าง 5.56 ล้านบาท
ค่าก่อสร้างงานแก้ไขปัญหาจุดตัดทางรถไฟ 5,413 ล้านบาท และ
ค่าเวนคืนเพื่อแก้ไขปัญหาจุดตัดทางรถไฟ 201 ล้านบาท

หากดูเม็ดเงินลงทุนแล้วถือว่าคุ้ม เพราะเมื่อโครงการเสร็จจะได้ประโยชน์มาก ในส่วนของรถโดยสารจะช่วยย่นเวลาการเดินทาง จากเดิม 3 ชั่วโมง เหลือ 1 ชั่วโมง 20 นาที ด้านรถขนสินค้าจะเหลือ 2 ชั่วโมงครึ่ง จากเดิม 6 ชั่วโมง
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42746
Location: NECTEC

PostPosted: 25/05/2012 12:07 pm    Post subject: Reply with quote

160 kph บนทาง 1 เมตร - ชะรอยจะได้ทาง โหลด เพลา 25 ตันก็คราวนี้หละหวา ราง UIC 60 แบบเดียวกะรถไฟฟ้าสายสีแดง
Back to top
View user's profile Send private message
kikoo
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 01/02/2010
Posts: 1667
Location: มอ.ตรัง และ สถานีตรัง

PostPosted: 15/06/2012 4:10 pm    Post subject: Reply with quote

นิตยสาร"ทางอีศาน" มีคอลัมน์เรื่องโครงการรถไฟทางคู่ผ่านอำเภอบ้านไผ่ โดย คุณนริศร จรรยานิทัศน์(หน้า86) ครับ

http://e-shann.com/wp-content/emagazine/2/
_________________
ความคืบหน้าโครงการปรับปรุงทางช่วงที่วัง-กันตัง
http://portal.rotfaithai.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=5618
Back to top
View user's profile Send private message Send e-mail
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44632
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 15/06/2012 5:15 pm    Post subject: Reply with quote

ขอบคุณมากครับ
ชอบ e-book ลักษณะนี้มาก เปิดอ่านง่าย สวยงามสบายตาดี

อ่านดูแล้ว สิ่งที่ชาวบ้านบ้านไผ่มีความกังวล ก็คือเรื่องทางรถไฟที่จะผ่านกลางบ้าน กระทบต่อเศรษฐกิจและชีวิตความเป็นอยู่ อยากให้สร้างเป็นทางรถไฟยกระดับลอยฟ้าแบบ BTS ไปเลย แล้วสถานีข้างล่างเก็บไว้เป็นพิพิธภัณฑ์ Very Happy

ปัญหาเดียวกันนี้ ต่อไปก็จะเกิดกับเมืองลพบุรีเช่นกันครับ เมื่อมีการทำทางคู่ต่อจากลพบุรีขึ้นไปทางทิศเหนือ ไม่ต้องให้รอถึงรถไฟความเร็วสูงครับ
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44632
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 18/06/2012 10:03 pm    Post subject: Reply with quote

คมนาคมยันปีนี้ประมูลรถไฟทางคู่ 3 เส้น
วันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2555 เวลา 22:00 น. ข่าวสดออนไลน์

นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ รมว.คมนาคม เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อแก้ปัญหาเศรษฐกิจในภูมิภาค (กรอ.ภูมิภาค ) ที่มีน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธานที่โรงแรมรอยัลคลิฟ โฮเต็ล กรุ๊ป จ.ชลบุรี ได้รับทราบแผนลงทุนโครงข่ายคมนาคมและโลจิสติกส์ โดยเฉพาะโครงการพัฒนาระบบขนส่งของท่าเรือแหลมฉบังทุกรูปแบบใน 5 ปีข้างหน้า วงเงินรวมกว่า 116,000 ล้านบาท

ทั้งการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบังในระยะที่ 3 วงเงิน 35,000 ล้านบาท ,โครงการรถไฟรางคู่ต่อจากท่าเรือแหลมฉบัง-คลอง19- เก่งคอย 18,600 ล้านบาท ,โครงการถนนทางหลวงเชื่อต่อท่าเรือแหลมฉบัง 20,450 ล้านบาท ,โครงการถนนเพื่อการขนส่งเชื่อมต่อของกรมทางหลวงชนบท 2,725 ล้านบาท และโครงการทางด่วนพิเศษเข้าเชื่อมต่อแหลมฉบัง 34,200ล้านบาท

นางสร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) และประธานกรรมการ การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยว่า ภายในปีนี้จะเปิดประกวดราคาโครงการรถไฟทางคู่ได้ 3 เส้นทาง ได้แก่
1.ฉะเชิงเทรา-คลองสิบเก้า-แก่งคอย
2.ชุมทางถนนจิระ-ขอนแก่น และ
3.ประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร


-----------

จี้"ปู"ไฟเขียวท่าเรือแหลมฉบังเฟส 3
วันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2555 เวลา 23:07 น. ข่าวสดออนไลน์

นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ รมว.คมนาคม กล่าวถึงภาพรวมการพัฒนาระบบโลจิสติกส์เพื่อสนับสนุนการเชื่อมโยงระหว่างการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งตะวันออกกับโครงการพัฒนาท่าเรือน้ำลึก และนิคมอุตสาหกรรมทวาย ว่า วันนี้เราจำเป็นต้องหาทางลดต้นทุนระบบขนส่งลง ถ้าสามารถแก้ปัญหาได้ จะทำให้ระบบโลจิสติก์มีประสิทธิภาพมากขึ้น เพราะทุกวันนี้ท่าเรือแหลมฉบังสามารถขนส่งได้มากขึ้น 52% ของประเทศ ขณะที่แนวชายแดน 8 จุด ขนส่งได้เพียง 10% จึงอยากให้นายกรัฐมนตรีตัดสินใจทำท่าเรือแหลมฉบัง เฟส 3 ซึ่งใช้เงิน 3.5 หมื่นล้านบาท ถ้าตัดสินใจดำเนินการ อีก 5 ปีข้างหน้าจะแล้วเสร็จ และถ้าคำนวณไปอีก 20 ปีต่อไป ท่าเรือแหลมฉบังจะขนส่งตู้คอนเทนเนอร์ 18.8 ล้านตู้ต่อปี แต่ถ้าไม่ตัดสินใจ เฟส 2 จะขนส่งได้เพียง 10.8 ล้านตู้ต่อปี

นางสร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) และประธานกรรมการการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยว่า ภายในปีนี้จะเปิดประกวดราคาโครงการรถไฟทางคู่ได้ 3 เส้นทาง ได้แก่
1.ฉะเชิงเทรา-คลองสิบเก้า-แก่งคอย ระยะทาง 106 ก.ม. มูลค่า 11,348 ล้านบาท
2.ชุมทางถนนจิระ-ขอนแก่น ระยะทาง 185 ก.ม. มูลค่า 17,046 ล้านบาท และ
3.ประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร ระยะทาง 167 ก.ม. มูลค่า 10,312 ล้านบาท
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Tohoku_Line
3rd Class Pass
3rd Class Pass


Joined: 08/04/2010
Posts: 193
Location: Bangkok/Ubonratchathani

PostPosted: 19/06/2012 12:17 am    Post subject: Reply with quote

ชุมทางถนนจิระ-ขอนแก่น ได้ประมูลก่อสร้างทางคู่ก่อนช่วงมาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระ มันดูแปลกๆจังเลยนะครับ ทั้งที่ภาระทางช่วงมาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระ นั้นน่าจะเยอะกว่ามาก กลายเป็นทางคู่แหว่งกลางซะงั้น

หรือว่าช่วงมาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระ ท่าทางจะติดปัญหาเยอะ โดยเฉพาะเรื่องสิ่งแวดล้อม
Back to top
View user's profile Send private message
alderwood
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 10/04/2006
Posts: 6593
Location: กรุงเทพ-ราชสีมา

PostPosted: 19/06/2012 1:15 am    Post subject: Reply with quote

ทางคู่ช่วงมาบกระเบา-จิระ ไม่แน่ใจว่าประมูลไปยัง แต่อยู่ในแผนไปแล้วครับ ส่วนจิระ-ขอนแก่นเพิ่งจะเริ่มต้นประชาสัมพันธ์+ประชาพิจารณ์ไม่นานนี้เองครับ
_________________
รักรถไฟมั่นใจโคปเตอร์ || Railway Racing Team || Korat Spotter
Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website MSN Messenger
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 56, 57, 58 ... 390, 391, 392  Next
Page 57 of 392

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©