RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311296
ทั่วไป:13272460
ทั้งหมด:13583756
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - รวมข่าวโครงการรถไฟทางคู่
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

รวมข่าวโครงการรถไฟทางคู่
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 61, 62, 63 ... 390, 391, 392  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
pitipon_7
3rd Class Pass
3rd Class Pass


Joined: 30/08/2010
Posts: 158
Location: สถานีชุมทางบ้านดินแดง

PostPosted: 09/07/2012 7:21 pm    Post subject: Reply with quote

อย่างนี้้ช่วง แก่งคอย บุใหญ่ ก็จะมีการสร้างสถานีไผ่นาบุญเพิ่มขึ้นมาด้วยใช่มั้ยครับ
Back to top
View user's profile Send private message MSN Messenger
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44632
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 09/07/2012 7:44 pm    Post subject: Reply with quote

ใช่ครับ อยู่ห่างจากสถานีชุมทางแก่งคอยประมาณ 5 กิโลกว่าครับ
ตำแหน่งอยู่แถวนี้ http://map.longdo.com/?gmap=1&hybrid=1&gmap=1&lat=14.548672479345482&long=100.98328112150216&res=32768&map=epsg3857&locale=th

ท้องที่บ้านป่าไผ่นาบุญ ต.ตาลเดี่ยว อ.แก่งคอย จ.สระบุรี

--------------------

ปรับโครงสร้างประเทศครั้งใหญ่ "กิตติรัตน์" ทุ่ม 2.2 ล้านล้านวางรากฐานอนาคตไทย
ไทยรัฐออนไลน์ 9 กรกฎาคม 2555, 05:00 น.

ท่ามกลาง “วิกฤติเศรษฐกิจครั้งร้ายแรงของโลก” ที่กำลังเกิดขึ้นในสหภาพยุโรป และสหรัฐอเมริกา ซึ่งส่งผลกระทบไปยังทุกประเทศทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทย ให้ต้องเร่งหามาตรการรับมือและบรรเทาความเสียหาย

“เศรษฐกิจไทย” ยังมีแรงกดดันอีกด้านจากในประเทศ ทั้งการชะลอตัวของเศรษฐกิจอย่างรุนแรง ในช่วงที่ประเทศไทยประสบกับมหาอุทกภัยครั้งประวัติศาสตร์เมื่อปลายปีที่ผ่านมา และผลกระทบต่อเนื่องจากความขัดแย้งทางการเมือง ทำให้เศรษฐกิจไทยขาดการลงทุนมายาวนาน และละเลยการปฏิรูปโครงสร้างทางเศรษฐกิจ

วันนี้ รัฐบาลภายใต้การนำของ “นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี” มีภาระหนักที่จะต้องฟันฝ่าอุปสรรคต่างๆ ให้สำเร็จลุล่วง ไม่เพียงแค่ปรับโครงสร้างเฉพาะหน้า รองรับการเข้าสู่ “ประชาคมอาเซียน (เออีซี)” ในปี 2558 เท่านั้น แต่ยังต้องเร่งลงมือวางรากฐานสร้างประเทศไทยใหม่ เพื่อรับรองอนาคตไปอีก 10-20 ปีข้างหน้า

“ทีมเศรษฐกิจ” ได้สัมภาษณ์ “นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง” รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.คลัง ในฐานะที่กำกับดูแลทางด้านเศรษฐกิจ ถึงทิศทางอนาคตของประเทศ และความพร้อมของยุทธศาสตร์การฟื้นฟูประเทศไทย

ออก พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้าน

ในช่วง 11 เดือนที่ผ่านมา เป็นช่วงที่รัฐบาลวางแผนที่จะพัฒนาและยกระดับเศรษฐกิจประเทศ รวมถึงการแก้ปัญหาที่เป็นอุปสรรคการลงทุนเพื่อสร้างอนาคตของประเทศ เช่น การแก้ไขปัญหาหนี้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน เพื่อให้เงิน 60,000 ล้านบาทที่เคยต้องเสียเป็นค่าดอกเบี้ยกลับมาเป็นกระสุนของรัฐบาล

“ดังนั้น ที่หลายคนมองว่า รัฐบาลกินบุญเก่าอยู่นั้น ผมมองว่า ที่ยังกินบุญเก่าก็มีอยู่จริง แต่ก็ต้องรับกรรมเก่าที่เคยก่อมาแล้วด้วย แต่ต่อจากนี้ สิ่งที่รัฐบาลจะเร่งทำ คือ การสร้างบุญใหม่ และไม่ก่อกรรมเพิ่ม โดยในระยะ 1 ปีถึง 1 ปีครึ่งจากนี้ จะเห็นภาพชัดเจนถึงการแก้ไขปัญหาและสร้างอนาคตใหม่” ปรารภแรกที่รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.คลัง “กิตติ-รัตน์ ณ ระนอง” ให้คำมั่น

ส่วนแนวทางการวางยุทธศาสตร์ของรัฐบาลจะมาจากข้อเสนอของ นายวีรพงษ์ รามางกูร ประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อการฟื้นฟูและสร้างอนาคตประเทศ (กยอ.) ซึ่งคำนวณว่า ในอีก 7 ปีข้างหน้า ประเทศไทยจะต้องลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน 2.27 ล้านล้านบาท เพื่อรองรับความเป็น “ศูนย์กลางของอาเซียน” ในอนาคต

ทั้งนี้ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่วางไว้ กระทรวงการคลังกำลังเตรียมที่จะออกพระราชบัญญัติหรือ พ.ร.บ.กู้เงินฉบับใหม่ วงเงิน 1.6 ล้านล้านบาท แต่รวมแล้วไม่เกิน 2 ล้านล้านบาท เพื่อลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของประเทศในอนาคตอย่างยั่งยืน ภายหลังเกิดเหตุการณ์น้ำท่วมครั้งใหญ่เมื่อปลายปีที่แล้ว และยังสามารถรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน หรือเออีซี ในปี 2558 ได้ด้วย

“มีคนถามมากว่า ทำไมรัฐบาลเลือกที่จะออก พ.ร.บ.กู้เงิน แทนที่จะตั้งวงเงินงบประมาณขาดดุลเพิ่มเติมในแต่ละปี คำตอบก็คือ รัฐบาลไม่ต้องการให้ฐานะการคลังของประเทศขาดดุลเรื้อรังนานเป็นสิบๆ ปี และมีเป้าหมายจะลดการขาดดุลอย่างต่อเนื่อง โดยในปีงบประมาณนี้ (2555) ตั้งเป้าหมายขาดดุลไว้ 400,000 ล้านบาท ปีงบประมาณ 2556 จะลดเหลือ 300,000 ล้านบาท งบประมาณปี 2557 เหลือ 200,000 ล้านบาท และจะเริ่มเข้าสู่งบประมาณสมดุลหรือขาดดุลเพียงเล็กน้อยในปี 2558 ทั้งหมดเป็นทิศทางที่ต้องการสร้างความแข็งแกร่งให้แก่ภาคการคลัง”

ส่วนที่ว่า การออก พ.ร.บ.กู้เงินของรัฐบาลเพราะต้องการเลี่ยงบาลีหรือไม่ ทำให้ไม่ต้องตั้งงบประมาณขาดดุลเพิ่มขึ้นใช่หรือไม่ ก็ไม่เป็นความจริง เพราะในที่สุดแล้ว พ.ร.บ.ที่ออกเป็นกฎหมายใหม่ จะมีการระบุรายละเอียดของการใช้จ่ายเงินไว้อย่างชัดเจนว่า งบประมาณก้อนนี้จะใช้ไปกับโครงการอะไร จำนวนเท่าไหร่ ขณะเดียวกัน รัฐสภาก็สามารถท้วงติง หรือนำไปอภิปรายถกเถียงในสภาได้ หากเห็นว่าบางโครงการไม่คุ้มค่าลงทุนก็สามารถตัดออกไปได้


เดินหน้าโครงสร้างพื้นฐาน—โลจิสติกส์

สำหรับแนวทางการดำเนินการกับวงเงินกู้ ตาม พ.ร.บ.กู้เงินฉบับใหม่นั้น รองนายกฯและ รมว.คลัง ระบุว่า วงเงินส่วนใหญ่ประมาณ 3 ใน 4 หรือราว 1.5 ล้านล้านบาท จะนำไปใช้กับการสร้าง และยกระดับ “ระบบโลจิสติกส์” ของประเทศ เพราะทุกวันนี้ประเทศไทยมีภาระต้นทุนด้านโลจิสติกส์ที่สูงมาก

โดยโครงการที่วางไว้ เช่น การก่อสร้างถนนเพิ่มเติมเพื่อเชื่อมโยงเขตเศรษฐกิจต่างๆ โครงการขยายและปรับปรุงท่าเรือน้ำลึกแหลมฉบัง เพื่อให้เรือสามารถนำสินค้าเข้าฝั่งได้เร็วขึ้นจากที่ต้องลอยลำรอคิว รวมทั้งอาจสร้างท่าเรือแห่งใหม่เพิ่มเติมเพื่อใช้ในการขนถ่ายสินค้า รวมทั้งการก่อสร้างรถไฟสายใหม่และปรับปรุงเส้นทางรถไฟเดิมให้เป็นรางคู่ รองรับการขนส่งสินค้าและขนส่งผู้โดยสาร

นอกจากนั้น ยังมีโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูง โครงการการปรับปรุงและขยายศักยภาพของสนามบินสุวรรณภูมิ เพื่อรองรับผู้โดยสารได้เพิ่มขึ้นตามแผนงานของกระทรวงคมนาคม โครงการจัดหาไฟฟ้าและพลังงานให้เพียงพอ รองรับการขยายตัวและการพัฒนาประเทศในอนาคต รวมทั้ง การลงทุนในโครงการแก้ปัญหาลุ่มน้ำเจ้าพระยา 3.5 แสนล้านบาท ที่จะดำเนินการควบคู่ไปด้วย

กิตติรัตน์ ยังตั้งข้อสังเกต ปัจจุบันต้นทุนขนส่งทั้งระบบของไทยเฉลี่ยอยู่ที่ 15-19% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) นับเป็นตัวเลขที่สูงมากเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ โดยตามแผนงานที่วางไว้ รัฐบาลตั้งเป้าหมายที่จะลดต้นทุนของโลจิสติกส์ลงมาให้อยู่ในระดับที่ต่ำกว่า 10% ของจีดีพี

“ทุกวันนี้เราเห็นรถสิบล้อที่ต่อท้ายเป็นรถพ่วง ดูแล้วไม่ต่างจากกองทัพมด แต่หากเอารถสิบล้อพ่วงเหล่านี้มาตั้งอยู่บนรางรถไฟ เพื่อขนส่งสินค้าไปยังศูนย์กระจายสินค้า หรือท่าเรือแหลมฉบัง โดยอาศัยรางรถไฟที่มีอยู่แล้ว จะวิ่งได้ถึงวันละ 56 เที่ยว หากทำได้สำเร็จประเทศไทยจะมีศักยภาพในการแข่งขันเพิ่มมากขึ้น”

บางคนบอกกับผมว่า รัฐบาลก่อหนี้น้อยๆ ดีกว่า ผมบอกไม่ใช่ หากรัฐบาลก่อหนี้ในระดับที่ต่ำมาก แต่เรากลับได้ยินข่าวว่า รถไฟตกรางเกือบทุกวันจนเห็นเป็นเรื่องปกติ หรือเห็นความไม่พร้อมของสนามบินสุวรรณภูมิที่มีผู้โดยสารล้นทะลัก รันเวย์ถูกปิดซ่อมจนเครื่องบินดีเลย์ หรือต้องบินวนเป็นเวลานานถึงจะลงจอดได้ พอจะกลับไปฟื้นสนามบินดอนเมืองก็ติดว่า ไม่มีงบประมาณอีก

“หากเป็นดังนี้ เรายังจะภาคภูมิใจกับหนี้สาธารณะในระดับต่ำๆแบบนี้อยู่อีกหรือ ที่สำคัญ ในอนาคต 4—5 ปีข้างหน้า หากเราไม่สามารถรักษาความได้เปรียบของประเทศที่เคยบอกว่า ไทยเป็นศูนย์กลางของภูมิภาคอาเซียน มันจะกลายเป็นอุปสรรคที่อาจสร้างความเสียหายให้แก่ประเทศหนักยิ่งขึ้นไปอีก”

ประกาศิตประเทศไทย “พร้อมสุดๆ”

กับคำถามที่ว่า ประเทศไทยมีความพร้อมต่อการลงทุนโครงการพื้นฐานต่างๆมากน้อยแค่ไหน กระทรวงการคลังจะกู้เงินสูงถึง 2.27 ล้านล้านบาท จากที่ไหนหรือแหล่งใด

“ผมตอบได้ทันทีว่า ตอนนี้ประเทศไทยมีความพร้อมที่สุด และมีศักยภาพสูงมากที่จะลงทุนในโครงการขนาดใหญ่เหล่านี้ได้ เนื่องจากรัฐบาลไม่ได้ลงทุนเองทั้งหมด และไม่ได้ลงทุนพร้อมกันในครั้งเดียวทันที แต่จะทยอยลงทุนอย่างต่อเนื่องในระยะเวลา 7 ปีจากนี้ไป จึงมั่นใจว่า การลงทุนเหล่านี้จะไม่กระทบต่อฐานะการคลังของประเทศ ประกอบกับเสถียรภาพเศรษฐกิจไทยในขณะนี้ ถือได้ว่าอยู่ในเกณฑ์ที่ดี มีความแข็งแกร่งมาก”

วันนี้ ประเทศไทยมีสภาพคล่องส่วนเกินในระบบมากถึง 2.9 ล้านล้านบาท เพียงพอหากรัฐบาลจะทยอยกู้เงินเพื่อมาลงทุนในระยะ 7 ปีข้างหน้า เพื่อเพิ่มศักยภาพของประเทศ รองรับอนาคต

“อย่างโครงการรถไฟรางคู่ หรือการขยายท่าเรือแหลมฉบัง หากเริ่มก่อสร้างวันนี้ ก็ต้องใช้เวลาอีกถึง 5 ปีถึงจะเปิดใช้งาน เราจึงไม่กังวลกับสถานะและสภาพคล่องทางการเงินจะมาจากไหน แต่ถือเป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่ต้องพยายามผลักดันเพื่อให้การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานของเศรษฐกิจเดินหน้ารองรับอนาคตที่จะเกิดขึ้น”


ส่วนการกู้เงินเพื่อลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานของประเทศที่จะหันมากู้เป็นเงินบาทนั้น กิตติรัตน์ยืนยันว่า เพราะเรามีสภาพคล่องเงินบาทเหลือเฟือ ขณะที่ทุนสำรองระหว่างประเทศก็มีมากเพียงพอจะรองรับการนำเข้าเพื่อลงทุนในโครงการต่างๆ เหล่านี้

ด้านรัฐวิสาหกิจก็เช่นกัน ไม่มีความจำเป็นต้องกู้เงินจากต่างประเทศอีกแล้ว ผิดกับในอดีต เมื่อ 6-7 ปีที่แล้ว ที่ไม่ว่ารัฐบาล หรือรัฐวิสาหกิจจะลงทุนอะไรก็ต้องกู้เงินจากต่างประเทศ ยิ่งเป็นโครงการขนาดใหญ่ อย่างการซื้อเครื่องบินของการบินไทย หรือรถไฟฟ้า ล้วนต้องสั่งนำเข้าจากต่างประเทศ

“สภาพคล่องที่ส่วนเกินสูงถึง 2.9 ล้านล้านบาท ทำให้รัฐบาลมองไม่เห็นความจำเป็นที่ต้องกู้เงินต่างประเทศอีกต่อไป เพราะเวลานี้ สภาพคล่องเงินบาทมีมากเกินไปและสามารถใช้จ่ายเงินได้อย่างสบายๆ แม้ว่าโครงการเหล่านั้น จะมีวัตถุดิบที่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศในสัดส่วนที่สูงก็ตาม”

ที่สำคัญการกู้เงินบาทไม่เพียงแต่ช่วยลดสภาพคล่องส่วนเกินที่มีมากเกินไปลงมา ยังจะมีส่วนช่วยกระตุ้นกำลังการผลิตให้เกิดขึ้นในประเทศได้ด้วย

สภาพคล่องล้น—แก้ขาดทุน ธปท.

สำหรับสภาพคล่องส่วนเกินที่มีอยู่ในระบบสูงถึง 2.9 ล้านล้านบาทนั้น เป็นผลมาจากการสะสมความมั่งคั่งของประเทศตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา นับตั้งแต่ประเทศไทยประสบวิกฤติเศรษฐกิจเมื่อปี 2540 หลังจากเราประกาศใช้อัตราแลกเปลี่ยนลอยตัว ประเทศไทยต้องใช้เวลาในการฟื้นฟูเศรษฐกิจนานถึง 5 ปี กว่าจะทำให้ประเทศที่ขาดดุลการค้ากลับมาเป็นเกินดุลการค้า เกินดุลบัญชีเดินสะพัด และเกินดุลการชำระเงินได้

และเมื่อครบ 10 ปี หลังเหตุการณ์ฟองสบู่แตก คือในปี 2550 ประเทศไทยมีทุนเงินสำรองเงินตราระหว่างประเทศเกินกว่า 100,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หลังจากนั้น เรายังคงได้เปรียบดุลการค้าอย่างต่อเนื่อง ดุลบัญชีเดินสะพัด ดุลชำระเงินที่เป็นบวกอยู่แล้วก็ยิ่งบวกมากขึ้นไปอีก เนื่องจากมีเงินทุนต่างประเทศไหลเข้ามาอย่างต่อเนื่อง

“เงินตราต่างประเทศที่เข้ามาลงทุนในประเทศไทย จะถูกแลกเป็นเงินบาทเพื่อใช้จ่าย ประเด็นที่เป็นปัญหาคือ เมื่อเงินตราต่างประเทศเข้ามาจำนวนมาก จะเกิดภาวะที่เรียกว่า สภาพคล่องเงินบาทส่วนเกินมีมากเกินไป หรือล้นระบบ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จึงดูแลด้วยการดูดซับสภาพคล่องกลับ ด้วยการออกพันธบัตร ธปท.มากู้เงินจากระบบเพื่อไม่ให้เกิดผลเสียต่อระบบเศรษฐกิจ เพราะหากสภาพคล่องมีมากเกินไป จะทำให้ธนาคารพาณิชย์กดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากไว้ในระดับต่ำ ขณะเดียวกัน ก็จะผลักอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ให้สูงมากขึ้น”

จากการติดตามข้อมูลพบว่า สภาพคล่องส่วนเกินที่ ธปท.ดูดซับออกจากระบบที่มียอดคงค้างถึง 2.9 ล้านล้านบาท ธปท.ย่อมมีภาระดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายให้แก่นักลงทุนที่ถือพันธบัตร ขณะเดียวกัน ผลตอบแทน ธปท.ได้รับจากการนำทุนสำรองทางการไปลงทุนในต่างประเทศยังต่ำกว่าดอกเบี้ยจ่าย ส่งผลต่อดุลของ ธปท.ขาดทุน

หากปล่อยให้เหตุการณ์เป็นอย่างนี้ต่อไป ธปท.จะยิ่งขาดทุนสะสมมากยิ่งขึ้น เพราะยอดหนี้คงค้างพันธบัตร 2.9 ล้านล้านบาท คิดอัตราดอกเบี้ย 3% ต่อปี ธปท.ต้องหาเงินมาจ่ายถึงปีละ 100,000 ล้านบาท ธปท.จะเอาเงินที่ไหนมาจ่าย แม้ผู้ว่าการ ธปท.จะบอกว่าสามารถดูแลตัวเองได้ แต่ก็ไม่ต่างจากที่ยุโรปบอกกับประชาคมโลกอยู่ในเวลานี้

“เมื่อรัฐบาลเห็นอย่างนี้ก็เลยต้องบอกว่า อย่ารอให้ถึงวันนั้นเลย เพราะผมมั่นใจว่า ธปท.ไม่มีทางพิสูจน์ได้ว่าสามารถดูแลจัดการหนี้ก้อนนี้ได้อย่างไร หนทางที่ดีที่สุด คือ ธปท.ต้องพยายามลดยอดหนี้พันธบัตรลงให้ได้”

สิ่งที่กระทรวงการคลังดำเนินการในเวลานี้ คือ การเข้าไปช่วย ธปท.คิด ไม่ใช่ในฐานะ รมว.คลังเท่านั้น แต่ในฐานะรองนายกรัฐมนตรีที่ดูแลภาพรวมเศรษฐกิจของประเทศ ไม่ใช่อยากเข้าไปยุ่งกับ ธปท. แต่ถ้าเราเห็นเหตุการณ์ที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคตแล้วไม่แก้ไขตั้งแต่วันนี้ สิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคตก็คือ ผลที่จะมากระทบกับเศรษฐกิจไทย

“ขอยืนยัน รัฐบาลไม่ได้บีบบังคับ ธปท. แต่ต้องดำเนินการด้วยความพร้อมใจ ที่จะทำให้เงินที่ดูดซับค่อยๆทยอยไปอยู่ในมือของคนที่เป็นเจ้าของอย่างแท้จริง และเกิดประโยชน์ต่อประเทศในระยะยาว ทั้งในภาคเศรษฐกิจที่แท้จริง และภาคการเงิน เพื่อไม่ให้ภาพรวมเกิดอาการสะดุด”

ยืนยันไม่กระทบหนี้สาธารณะ

อีกคำถามยอดฮิตที่นักวิชาการแสดงความกังวลก็คือ ผลกระทบจากหนี้สาธารณะของประเทศ จะทำให้ประเทศเราซ้ำรอยวิกฤติประเทศในยูโรโซนหรือไม่ กิตติรัตน์ได้ไขความกระจ่างในประเด็นนี้อย่างหมดเปลือกว่า ในปัจจุบัน ยอดหนี้สาธารณะคงค้างของไทยอยู่ที่ 4.5 ล้านล้านบาท เทียบกับจีดีพีของประเทศที่มีประมาณ 12.5 ล้านล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนเพียง 40% ของจีดีพีเท่านั้น

ในจำนวนยอดหนี้สาธารณะ 4.5 ล้านล้านบาทดังกล่าว ได้รวมหนี้ของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ จำนวน 1.14 ล้านล้านบาทไว้ด้วยแล้ว ซึ่งจะว่าไป หนี้ส่วนนี้ไม่ได้สร้างหรือเป็นภาระต่องบประมาณแผ่นดินแต่อย่างใด

นอกจากนี้ แนวทางการใช้จ่ายเงินของรัฐบาลเพื่อการลงทุนนั้น ยังจะมีการตั้ง “กองทุนโครงสร้างพื้นฐาน” มีการเชิญภาคเอกชนเข้ามาร่วมลงทุนกับภาครัฐ หรือ Private Public Panticipation : PPP บางโครงการอาจให้เอกชนเข้ามาดำเนินการทั้งหมด ดังนั้น วงเงินกู้ที่จะออกตาม พ.ร.บ.ฉบับใหม่ วงเงินไม่เกิน 2 ล้านล้านบาท ก็อาจมีการใช้จ่ายจริงๆเพียง 1.6 ล้านล้านบาท ก็น่าจะเพียงพอที่จะช่วยวางรากฐานเศรษฐกิจในระยะยาวของประเทศได้แล้ว

และถ้าจะคำนวณยอดหนี้สาธารณะที่เป็นภาระต่องบประมาณแผ่นดินจริงๆ จะมีเพียง 3.4 ล้านล้านบาทเท่านั้น จึงทำให้การก่อหนี้ของภาครัฐที่จะมีขึ้นอีก 2 ล้านล้านบาทนั้น ยังคงอยู่ในระดับที่ต่ำมากเมื่อเทียบกับจีดีพีของประเทศ ดังนั้น การออก พ.ร.บ.ฉบับใหม่ที่จะมีขึ้น จึงไม่ทำให้เกิด “ความเสี่ยง” ต่อวินัยการคลังถึงขั้นวิกฤติ แค่ทำให้ยอดหนี้สาธารณะเพิ่มขึ้นอีกเพียงเล็กน้อยเท่านั้น

“หากคำนวณตัวเลขโดยใช้มาตรฐานของวินัยการคลังที่ระบุว่า รัฐบาลไม่ควรก่อหนี้เกินกว่า 60% ของจีดีพี เท่ากับว่า รัฐบาลสามารถก่อหนี้ได้ถึง 7.5 ล้านล้านบาท

แต่รัฐบาลไม่ได้มีความจำเป็นต้องกู้เงินมากมายขนาดนั้น เพียงแต่ต้องลงทุนในโครงการที่สร้างประโยชน์ให้แก่ประเทศจริงๆ ในวงเงินไม่เกิน 2 ล้านล้านบาท เมื่อรวบกับยอดหนี้สาธารณะ 3.5 ล้านล้านบาทที่มีอยู่ ก็เท่ากับรัฐบาลได้ก่อหนี้สาธารณะเพิ่มขึ้นเป็น 5.5 ล้านล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 45—46% ของจีดีพี ซึ่งยังถือว่าอยู่ในระดับที่ปลอดภัย ไม่เป็นความเสี่ยงต่อระบบเศรษฐกิจในอนาคต”

******

ทั้งหมดน่าจะไขความกระจ่างถึงยุทธศาสตร์การสร้างอนาคตประเทศที่รัฐบาลเตรียมจะดำเนินการในอนาคตอันใกล้นี้ แต่จะฝ่าฟันไปได้มากน้อยแค่ไหนนั้น คงเป็นเรื่องที่สังคมต้องจับตากันต่อไป.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42745
Location: NECTEC

PostPosted: 10/07/2012 1:17 pm    Post subject: Reply with quote

นายกฯเสนอก่อสร้างรางรถไฟฝั่งทะเลตะวันออกเข้าครม.
คอลัมน์กรุงเทพการเมือง
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
วันที่ 10 กรกฎาคม 2555 12:23

รมต. ชงหลายเรื่องเข้าครม. นายกฯเสนออนุมัติก่อสร้างรถไฟคู่ขนานชายฝั่งทะเลตะวันออก-แก่งคอย"กิตติรัตน์"ดันเกณฑ์ค้ำประกันชำระหนี้ของหน่วยงานรัฐ


ผู้สื่อข่าวรายงาานว่า ในการประชุม ครม.วันนี้ (10 ก.ค.) น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เสนอผลการพิจารณาค่าใช้จ่ายในการให้ความช่วยเหลือ ฟื้นฟู เยียวยาผู้ได้รับผลกระทบอุทกภัย และเสนอทบทวนมติครม.เรื่องการให้หน่วยงานของรัฐดำเนินการจัดทำข้อมูลรายละเอียดค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้าง โดยเฉพาะราคากลางเเละการคำนวณราคากลางไว้ในระบบข้อมูลอีเล็กทรอนิคส์เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าตรวจดูได้และการกำหนดมาตรการที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม และเสนอขออนุมัติโครงการก่อสร้างทางคู่ขนานในเส้นทางรถไฟสายชายฝั่งทะเลตะวันออกช่วงฉะเชิงเทรา คลองสิบเก้า แก่งคอย พร้อมทางคู่เลี่ยงเมืองสามแห่ง และเสนอการทบทวนมติครม.วันที่ 28 มี.ค.2554 กรณีการปรับอัตราค่าจ้างของลูกจ้างรัฐวิสาหกิจ และเสนอการกำหนดค่าตอบแทนคณะกรรมการต่างๆ ตามพ.ร.บ.อ้อยและน้ำตาล พ.ศ.2527
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44632
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 10/07/2012 6:01 pm    Post subject: Reply with quote

ครม.อนุมัติ 1.13 หมื่น ลบ.ให้รฟท.สร้างทางคู่ในเส้นทางรถไฟชายฝั่งทะเลตอ.
ข่าวเศรษฐกิจ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- อังคารที่ 10 กรกฎาคม 2555 17:00:01 น.

นายภักดีหาญส์ หิมะทองคำ รองโฆษก กล่าวว่า ครม.เห็นชอบให้การรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.)ดำเนินโครงการก่อสร้างทางคู่ในเส้นทางรถไฟสายชายฝั่งทะเลตะวันออก ช่วงฉะเชิงเทรา-คลองสิบเก้า-แก่งคอย(ไม่รวมช่วงอุโมงค์พระพุทธฉาย) รวมระยะทาง 97 กม. พร้อมทั้งก่อสร้างทางคู่เลี่ยงเมือง 3 แห่ง ที่ชุมทางฉะเชิงเทรา, ชุมทางแก่งคอย และชุมทางบ้านภาชี ในสัญญาที่ 1 วงเงิน 10,636 ล้านบาทเศษ ระยะเวลาดำเนินการทั้งสิ้น 36 เดือน ตั้งแต่ปีงบ 56-59

และให้ รฟท.ดำเนินการก่อสร้างทางรถไฟและอุโมงค์รถไฟบริเวณเขาพระพุทธฉาย ในสัญญาที่ 2 วงเงิน 712 ล้านบาทเศษ โดยไม่มีการเวนคืนที่ดินเพิ่มเติม ระยะเวลาการดำเนินงาน 25 เดือน

ทั้งนี้ให้รัฐบาลรับภาระค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงการทั้งสิ้น โดยให้สำนักงบประมาณจัดสรรงบประมาณรายปี และ/หรือให้กระทรวงการคลังจัดหาแหล่งเงินกู้และค้ำประกันเงินกู้ภายในประเทศให้กับ รฟท.ตามความเหมาะสมตามแผนการดำเนินการและแผนการเบิกจ่ายงบประมาณที่เสนอมา

------------

ครม.อนุมัติ รฟท. สร้างรางคู่เส้นทางตะวันออก
สำนักข่าวไทย วันอังคาร ที่ 10 ก.ค. 2555

ทำเนียบรัฐบาล 10 ก.ค.-นายภักดีหาญส์ หิมะทองคำ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีอนุมัติให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ก่อสร้างรางคู่ช่วงฉะเชิงเทรา-คลอง 19-แก่งคอย รวมระยะทางก่อสร้าง 106 กิโลเมตร พร้อมก่อสร้างทางคู่เลี่ยงเมือง 3 แห่ง ที่ชุมทางฉะเชิงเทรา ชุมทางแก่งคอยและชุมทางบ้านพาชี วงเงิน 10,636 ล้านบาท ระยะเวลาดำเนินการโครงการ 36 เดือน ในปีงบประมาณ 2556-2559

นอกจากนี้ ให้ รฟท. ก่อสร้างทางรถไฟและอุโมงค์รถไฟบริเวณเขาพระพุทธฉาย วงเงิน 712 ล้านบาท ระยะเวลา 25 เดือน โดยให้ รฟท. ใช้ประโยชน์พื้นที่ลุ่มน้ำชั้น 1 เอ สำหรับขุดเจาะและก่อสร้างอุโมงค์รถไฟทางเดี่ยวคู่ขนานกับอุโมงค์ทางเดี่ยว

สำหรับภาพรวมขนส่งระบบรางในปัจจุบันมีระยะทางรวม 4,363 กิโลเมตร เส้นทางเดี่ยว 3,755 กิโลเมตร ทางคู่ 173 กิโลเมตร และทางสาม 107 กิโลเมตร รฟท. มีแผนสร้างทางคู่ให้เสร็จในช่วง 15 ปีข้างหน้ารวมทั้งสิ้น 3,039 กิโลเมตร เพื่อพัฒนาระบบรองรับรถไฟความเร็วสูงในการขนส่งสินค้าและบริการผู้โดยสาร.-สำนักข่าวไทย

----------

Click on the image for full size

Click on the image for full size

ผลการศึกษาทบทวนโครงการ

+++ การสำรวจกำหนดแนวทางและการออกแบบรายละเอียดโครงสร้างทางรถไฟโครงการนี้เป็นการก่อสร้างทางคู่ภายในเขตทางรถไฟและขนานกับแนวทางรถไฟที่มีอยู่เดิม มีระยะทางประมาณ 106 กิโลเมตร รวมทางคู่เลี่ยงเมือง (Chord line) 3 แห่ง ที่ชุมทางฉะเชิงเทรา ชุมทางแก่งคอย และชุมทางบ้านภาชี ระยะทางรวมประมาณ 7.1 กิโลเมตร ซึ่งการออกแบบ เป็นไปตามมาตรฐานที่การรถไฟฯ ใช้อยู่ในปัจจุบัน โดยมีความกว้างของทาง 1.000 เมตร (Meter gauge) รองรับความเร็วขบวนรถสูงสุด120 กม./ชม. และรองรับน้ำหนักกดเพลาสูงสุด 20 ตัน

+++ ปัจจุบันทางรถไฟสายฉะเชิงเทรา - คลองสิบเก้า - แก่งคอย สามารถรองรับขบวนรถไฟขนส่งสินค้าได้เพียง 35 - 36 ขบวนต่อวัน ซึ่งเกินความจุของทางรถไฟที่จะรองรับได้ จึงจำเป็นที่จะต้องสร้างทางคู่ เพื่อเพิ่มความจุทาง (Line Capacity ) ให้สามารถรองรับความต้องการการขนส่งได้อย่างเพียงพอ โดยเมื่อก่อสร้างทางคู่ไปถึงปากอุโมงค์ ที่เขาพระพุทธฉาย จะสามารถรองรับขบวนรถได้เพิ่มขึ้นเป็น 61 – 63 ขบวนต่อวัน ซึ่งจะทำให้ทางคู่สมบูรณ์ตลอดเส้นทาง จะสามารถเพิ่มความจุทางได้ในทางทฤษฎีได้สูงสุดถึง 420 ขบวนต่อวัน

+++ การก่อสร้างอุโมงค์เพิ่มคู่ขนานกับอุโมงค์เดิม ความยาวประมาณ 1,200 เมตร จะก่อสร้างลอดผ่านพื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 4, 3, 1 เอ, และ 5 เป็นระยะทาง 332, 164, 546 และ 158 เมตร ตามลำดับ โดยในส่วนของปากอุโมงค์ด้านทิศเหนือและทิศใต้ ซึ่งมีสภาพเป็นที่ราบจะอยู่ในพื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 4 และ 5 ส่วนการก่อสร้างและขุดเจาะอุโมงค์ทางเดี่ยวคู่ขนานจะลอดผ่านใต้แนวสันเขา ซึ่งเป็นพื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 1 เอ และ 3 แต่เนื่องจากในการก่อสร้างได้เลือกใช้วิธีการก่อสร้างแบบ New Austrian Tunneling Method (NATM) ที่ลดการขุดเปิดหน้าดินและสามารถควบคุมการระเบิด ซึ่งจะลดผลกระทบด้านฝุ่นละออง – เสียง – การสั่นสะเทือนได้เป็นอย่างดี จึงไม่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงลักษณะทางกายภาพของพื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 1 เอ อีกทั้งไม่มีผลกระทบต่อระบบนิเวศน์ในพื้นที่ก่อสร้างและพื้นที่ใกล้เคียง

+++ เนื่องจากการขุดเจาะอุโมงค์ลอดใต้สันเขาที่ปกคลุมด้วยพื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 1 เอ ถือเป็นการใช้ประโยชน์ในพื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 1 เอ ซึ่งจะต้องได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ และคณะรัฐมนตรี ในเรื่องการผ่อนผันยกเว้นมติคณะรัฐมนตรีเดิมที่เคยห้ามใช้ประโยชน์ใน พื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 1 เอ เพื่อสงวนรักษาไว้ให้เป็นต้นน้ำลำธารก่อน จึงจะเริ่มงานก่อสร้างได้ ดังนั้น เพื่อไม่ให้ส่งผล กระทบต่อแผนการดำเนินงานก่อสร้างโดยรวม จึงกำหนดแบ่งงานก่อสร้างที่จะดำเนินการออกเป็น 2 สัญญา ดังนี้

สัญญาที่ 1

งานสร้างทางใหม่ จำนวน 1 ทาง (ไม่รวมช่วงอุโมงค์พระพุทธฉาย) ประกอบด้วย
- งานก่อสร้างทางรถไฟคู่ขนานเส้นทางเดิม จากสถานีฉะเชิงเทรา ถึงสถานี แก่งคอย ยกเว้นบริเวณเขาพระพุทธฉาย รวมระยะทางประมาณ 97 กิโลเมตร
- งานก่อสร้างทางคู่เลี่ยงเมือง (Chord Line) 3 จุด ที่ชุมทางฉะเชิงเทรา ชุมทางแก่งคอย และชุมทางบ้านภาชี รวมระยะทาง 7.1 กิโลเมตร
- งานสะพานรถไฟคอนกรีตเสริมเหล็ก 57 แห่ง รวมความยาวประมาณ 4,673 เมตร
- งานสะพานรถยนต์ข้ามทางรถไฟ เป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก 2 แห่ง รวมความยาวประมาณ 212 เมตร
- งานติดตั้งระบบอาณัติสัญญาณและโทรคมนาคม - งานปรับปรุงทางรถไฟในอุโมงค์พระพุทธฉาย เพื่อรองรับปริมาณการจราจรที่เพิ่มขึ้น

สัญญาที่ 2

งานก่อสร้างอุโมงค์และวางรางช่วงอุโมงค์พระพุทธฉาย ประกอบด้วย
- งานก่อสร้างทางรถไฟโดยเริ่มจากหลังสถานีวิหารแดงที่ กม.139+020 ไปสิ้นสุดที่ กม. 148+390 ก่อนเข้าสถานีบุใหญ่ รวมระยะทางประมาณ 9 กม.
- งานก่อสร้างอุโมงค์เดี่ยวคู่ขนานบริเวณเขาพระพุทธฉาย ซึ่งลอดผ่านพื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 1 เอ ตั้งแต่ประมาณ กม.147+100 ถึง กม.148+307 รวมระยะทางประมาณ 1.2 กม.
- งานสะพานรถไฟคอนกรีตเสริมเหล็ก 2 แห่ง รวมความยาวประมาณ 60 เมตร
- งานติดตั้งระบบอาณัติสัญญาณและโทรคมนาคม โดยอุปกรณ์ที่จัดซื้อไว้แล้วในสัญญาที่ 1

Click on the image for full size

การขอออกพระราชกฤษฎีกาฯ

- ได้รับอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนเพื่อก่อสร้างทางคู่เลี่ยงเมืองที่สถานีชุมทางฉะเชิงเทรา ชุมทางแก่งคอย และชุมทางบ้านภาชี จาก ครม. เมื่อ 12 เมษายน 2554 และให้ส่งคณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณาต่อไป
- คณะกรรมการกฤษฎีกาได้แจ้งผลการตรวจร่างพระราชกฤษฎีกาเมื่อ 11 กรกฎาคม 2554
- ปัจจุบันอยู่ระหว่างดำเนินการแก้ไขแผนที่แนบท้ายร่างพระราชกฤษฎีกา

ที่มา: http://www.railway.co.th/resultproject/project_doubletrack.asp?result=131
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
boatteam
2nd Class Pass (Air)
2nd Class Pass (Air)


Joined: 05/04/2010
Posts: 910
Location: แจ้งวัฒนะ หลักสี่ ปากเกร็ด

PostPosted: 10/07/2012 8:17 pm    Post subject: Reply with quote

เป็นการพัฒนาไปอีกก้าวหนึ่ง ของ รฟท. Razz
แต่รู้สึกว่าจะก้าวช้าไปนิด เมื่อเทียบกับเพื่อนบ้านทางตอนใต้ Laughing
_________________
สถานีบ้านเกิดอรัญประเทศ สุดเขตแดนสยามฝั่งตะวันออก
Back to top
View user's profile Send private message
saraburi
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 03/07/2006
Posts: 3321
Location: ถิ่นเนื้อนุ่ม นมดี กะหรี่(ปํ๊บ)ดัง สระบุรี

PostPosted: 10/07/2012 8:28 pm    Post subject: Reply with quote

อ.เอก wrote:
งานติดตั้งระบบอาณัติสัญญาณและโทรคมนาคม - งานปรับปรุงทางรถไฟในอุโมงค์พระพุทธฉาย เพื่อรองรับปริมาณการจราจรที่เพิ่มขึ้น


ขอให้ฝังลงดินลึกๆและโบกปูนทับหนาๆนะครับ ป้องกันโดนลักขโมยสายไฟอีก Twisted Evil

ว่าที่สถานีไผ่นาบุญ จะอยู่บริเวณที่ขบวนรถก๊าชผ่านครับ Very Happy

Click on the image for full size
_________________
ช่างภาพระดับพื้นโลก

Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message MSN Messenger
ksomchai
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 08/04/2009
Posts: 6384
Location: เมืองทองเนื้อเก้า มะพร้าว สัปรด สวยสดหาด เขา ถ้ำ งามล้ำน้ำใจ ป่าชุ่มน้ำผืนใหญ่ แหล่งวางไข่ปลาทู

PostPosted: 10/07/2012 8:44 pm    Post subject: Reply with quote

Very Happy สรุปว่า รถไฟทางคู่สายอื่น ๆ โดยเฉพาะ สายประจวบคีรีขันธ์ - ชุมพร ก็ยังไม่ได้เข้า ครม.ครั้งนี้ นะ ครับ
_________________
Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message Send e-mail
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44632
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 10/07/2012 8:56 pm    Post subject: Reply with quote

ทางคู่ประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร สนข. รับผิดชอบครับ อยู่ระหว่างออกแบบรายละเอียด ทำ EIA หลังจากนั้นกระทรวงคมนาคมต้องเสนอให้ สศช. แล้วถึงเข้า ครม.ครับ ใช้เวลาอีกไม่ต่ำกว่าครึ่งปี
ต้องรอดูครับว่า จิระ-ขอนแก่นกับประจวบ-ชุมพร ใครจะได้เริ่มสร้างก่อน Very Happy

--------
ว่าที่สถานีไผ่นาบุญ ที่คุณอ๋องถ่ายมาให้ชม ในอนาคตก็จะมีขบวนรถสินค้าระหว่างประเทศผ่านแล้วสิครับ
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
suraphat
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 12/02/2007
Posts: 1117
Location: ดินแดง ห้วยขวาง

PostPosted: 11/07/2012 6:05 am    Post subject: Reply with quote

ครม.ไฟเขียวสร้างรถไฟรางคู่สายตะวันออก
โดย ทีมข่าวไทยรัฐออนไลน์ 11 กรกฎาคม 2555, 05:10 น.

ครม.ไฟเขียวรฟท.ก่อสร้างทางรถไฟรางคู่สายตะวันออก ช่วงฉะเชิงเทรา -คลองสิบเก้า -แก่งคอย และให้คลังจัดหาแหล่งเงินกู้-ค้ำประกันในการใช้จ่ายของรฟท.รวม 11,348.35 ล้านบาท...

เมื่อวันที่ 10 ก.ค.2555 นายภักดีหาญส์ หิมะทองคำ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงว่า ครม.อนุมัติตามมติคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 4 (ฝ่ายเศรษฐกิจ) ซึ่งมีนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นประธาน ดังนี้

1. เห็นชอบให้การรถไฟแห่งประเทศไทยดำเนินการโครงการก่อสร้างทางคู่ในเส้นทางรถไฟสายชายฝั่งทะเลตะวันออก ช่วงฉะเชิงเทรา -คลองสิบเก้า -แก่งคอย พร้อมทางคู่เลี่ยงเมือง (Chord Lines) จำนวน 3 แห่ง วงเงินโครงการรวม 11,348.35 ล้านบาท

2. เห็นชอบให้กระทรวงการคลังจัดหาแหล่งเงินกู้และค้ำประกันเงินกู้ภายในประเทศ ให้การรถไฟแห่งประเทศไทย ในการดำเนินโครงการทั้งในส่วนของค่าเวนคืนที่ดินและรื้อย้ายสิ่งปลูกสร้าง ค่าดำเนินการประกวดราคา ค่าก่อสร้าง และค่าจ้างที่ปรึกษาควบคุมงานก่อสร้าง วงเงินรวม 11,348.35 ล้านบาท และให้สำนักงบประมาณจัดสรรงบประมาณ จากงบประมาณรายจ่ายประจำปีให้กระทรวงการคลัง เพื่อชดใช้เงินต้นพร้อมดอกเบี้ยตามความเหมาะสมต่อไป ทั้งนี้ หากการดำเนินโครงการมีภาระค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นจากต้นทุนค่าวัสดุ อุปกรณ์การก่อสร้างที่เพิ่มสูงขึ้น ให้การรถไฟแห่งประเทศไทย โดยกระทรวงคมนาคม นำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาตามความจำเป็นต่อไป
Back to top
View user's profile Send private message Send e-mail
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44632
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 21/07/2012 9:31 am    Post subject: Reply with quote

รฟท.เตรียมก่อสร้างรถไฟทางคู่สายใต้ นครปฐม-หัวหิน (165 กิโลเมตร )
สำนักข่าวเวสเทิร์นนิวส์ 20 ก.ค. 55

วันที่ 20 กรกฎาคม 2555 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายวินัย แก้วกุลฑล ผู้จัดการ บริษัท เอ็ม เอ เอ คอนซัลแตนท์ จำกัด และนายจเร รุ่งฐานีย วิศวกรใหญ่ฝ่ายโครงการพิเศษและการก่อสร้าง ได้เข้าพบนายณรงค์ ครองชนม์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรี ที่ศาลากลางจังหวัด เพื่อชี้แจงภาพรวมงานออกแบบรายละเอียดของโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ช่วงนครปฐม – หัวหิน โดยการรถไฟแห่งประเทศไทย ได้ว่าจ้างให้กลุ่มบริษัทที่ปรึกษา บริษัท เอ็ม เอ เอ คอนซัลแตนท์ จำกัด เป็นที่ปรึกษาโครงการดังกล่าว ตามสัญญาจ้างเลขที่ กส. 13 / สบ. 2555 ลงวันที่ 15 มิถุนายน 2555 โดยกำหนดเริ่มปฏิบัติงานในเดือนกรกฎาคม 2555

นายณรงค์ ครองชน รองผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรี กล่าวว่า นายวินัย แก้วกุลฑล มาให้ข้อมูลว่า กระทรวงคมนาคมโดยสำนักนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร ( สนข ) ว่าจ้างกลุ่มบริษัทที่ปรึกษา ที่มีบริษัท ทีมคอนซัลติ้ง เอนจิเนียริ่ง แอนด์ แมเนจเมนท์ จำกัด เป็นบริษัทนำเพื่อดำเนินการศึกษาความเหมาะสมและออกแบบเบื้องต้นระบบรถไฟฟ้าทางคู่ เพื่อการขนส่งและการจัดการโลจิสติกส์ (ระยะที่1) เมื่อศึกษาแล้วเสร็จ ได้ส่งรายงานผลการศึกษาดังกล่าวให้ รฟท. เพื่อดำเนินการพัฒนาโครงข่ายรถไฟทางคู่สอดคล้องกับมติของคณะรัฐมนตรี รวมถึงนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการโครงสร้างพื้นฐานการขนส่งทางรถไฟ และเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ ผลการดำเนินการพบว่าโครงการก่อสร้างทางคู่สายใต้ ช่วงนครปฐม-หัวหิน มีความเหมาะสมทางเศรษฐกิจสูง ต่อมาปี 2555 รฟท. ได้ว่าจ้างกลุ่มบริษัทที่ปรึกษา ประกอบด้วย บริษัท เอ็ม เอ เอ คอนซัลแตนท์ จำกัด บริษัท ยูทิลิตี้ คอนซัลแตนท์ จำกัด บริษัท พีบี เอเชีย จำกัด และบริษัท พรี ดีเวลลอปเมนท์ คอนซัลแตนท์ จำกัด เพื่อดำเนินการสำรวจออกแบบรายละเอียดเพื่อการก่อสร้างทางคู่สายใต้ช่วงนครปฐม-หัวหิน โดยมีการแบ่งการสำรวจและออกแบบเป็น 3 ส่วน คือ
- การศึกษาทบทวน ปรับปรุงและจัดทำรายงานการศึกษาความเหมาะสม และ
- การสำรวจเพื่อการจัดทำแบบรายละเอียดการก่อสร้าง ประมาณราคาก่อสร้าง และจัดทำเอกสารการประกวดราคา
- การศึกษาทบทวนและจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมตามรูปแบบและรายการที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม การประชาสัมพันธ์และการมีส่วนร่วมของประชาชน

ทั้งนี้ทางโครงการนี้ก่อตั้งแล้วเสร็จจะเพิ่มประสิทธิภาพของการขนส่งทางรถไฟ ลดระยะเวลาการเดินทาง และประหยัดพลังงานเชื้อเพลิงที่ใช้ในภาคการขนส่งของประเทศ ลดปัญหามลพิษที่มีผลต่อสิ่งแวดล้อม และจูงใจให้ประชาชนหันมาใช้บริการระบบขนส่งทางรถไฟมากยิ่งขึ้น สำหรับโครงข่ายการขนส่งทางรถไฟในประเทศไทย ปัจจุบันมีระยะทางรวมทั้งหมดประมาณ 4,363 กิโลเมตร เป็นโครงข่ายในเส้นทางสายประธานประมาณ 4,043 กิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่กรุงเทพมหานคร และจังหวัดต่างๆรวมทั้งสิ้น 47 จังหวัด โดยมีเส้นทางการเดินรถไฟสายหลักๆ ประกอบด้วย สายเหนือ สายตะวันออกเฉียงเหนือ สายตะวันออก สายใต้ และสายแม่กลอง

จากการศึกษาความเหมาะสมที่ สนข. แนวสายทางที่เหมาะสมคือแนวตามทางรถไฟสายใต้ที่มีอยู่แล้วโดยพัฒนาโดยการเพิ่มรางเป็นระบบรางคู่ ขนานไปแนวทางเดิม ทั้งนี้เนื่องจากแนวสายทางดังกล่าวสามารถช่วยลดผลกระทบที่จากการเวนคืนพื้นที่ เพราะพื้นที่ส่วนใหญ่ของโครงการจะอยู่ภายในเขตของ รฟท. อยู่แล้ว

อย่างไรก็ตามเนื่องจากการพัฒนาระบบรางคู่ตามโครงการนี้จะออกแบบให้รถไฟสามารถวิ่งได้ถึงความเร็ว 160 กิโลเมตร ต่อชั่วโมง ดังนั้นอาจจะมีความจำเป็นต้องเวนคืนพื้นที่บางส่วนเพื่อปรับปรุงแนวให้เหมาะสมกับความเร็วซึ่งอยู่ในเขตพื้นที่จังหวัดนครปฐม ราชบุรี เพชรบุรี และประจวบคีรีขันธ์

สถานีรถไฟและที่หยุดรถทั้งหมด ในปัจจุบันช่วงนครปฐม- หัวหิน ในระยะทางประมาณ 165 กิโลเมตร มีจำนวนสถานีทั้งหมด 27 สถานี มีที่หยุดรถไฟและป้ายหยุดรถไฟ 4 แห่ง โดยสถานีส่วนใหญ่เป็นสถานีชั้น 4 มีจำนวน 18 สถานี เป็นสถานีชั้น 1 ชั้น 2 และชั้น 3 จำนวนชั้นละ 2-3 สถานี ในการกำหนดจำนวนสถานีรถไฟ ต้องพิจารณาให้สอดคล้องกับผลการทบทวนแผนการเดินรถ การให้บริการและสภาพพื้นที่ปัจจุบัน โดยมีแนวทางหลักเบื้องต้น คือ จำนวนสถานีมีความสอดคล้องและเหมาะสมกับการเดินรถ จำนวนสถานีที่มีการใช้งานอยู่เดิมต้องคงไว้ให้สามารถใช้งานได้ตามปกติรวมถึง มีการออกแบบปรับปรุงสถานีเดิมหรือสร้างอาคารสถานีใหม่ให้สามารถรองรับระบบ รถไฟรางคู่ได้ และสถานีที่จะเพิ่มหรือสร้างใหม่ให้อยู่ในเขตทางของการรถไฟหลีกเลี่ยงการเวน คืนที่ดินหรือกรทำให้เกิดผลกระทบต่อโครงการอื่นที่เกี่ยวข้องให้มากที่สุด

ส่วนการแก้ไขปัญหาทางข้าม-ทางแยก-ทางลักผ่าน เพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการใช้งาน เป็นการลดอุบัติ ผลการศึกษาได้แนะนำให้ทำการกั้นรั้วตลอดแนวทางรถไฟ ลักษณะของรั้วแสดงดังรูปที่ 5 เมื่อทำรั้วกั้นแล้วจะทำให้การติดต่อระหว่าง 2 ฝั่งจะทำไม่ได้ ดังนั้นแนวทางที่ทำการสัญจรระหว่าง 2 ฝั่งทางรถไฟสามารถดำเนินไปได้เป็นปกติ คือ สร้างทางเชื่อมโดยอาจจะเป็นสะพานข้ามหรือทางลอด

นายณรงค์ ครองชนม์ รองผู้ว่าราชการจังหวัด กล่าวเพิ่มเติมว่า รัฐบาลมีนโยบายที่จะก่อสร้างหรือขยายทางรถไฟรางคู่ เป็นนโยบายที่เร่งด่วน ซึ่งราชบุรีได้รับการประสานงานจากการรถไฟแห่งประเทศไทยเมื่อวันที่ 10 กรกฎาคมที่ผ่านมา โดยผู้จัดการโครงการฯ ขอเข้าพบ นายชนม์ชื่น บุญญานุสาสน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรี ซึ่งได้มอบหมายให้ผมเป็นผู้ร่วมหารือกับบริษัทที่จะมาดำเนินการ ถึงความเป็นไปได้และการออกแบบต่างๆ ซึ่งผลจากการประชุมนั้นคิดว่าเป็นโอกาสที่ดีที่จะทำให้ราชบุรี มีทางเลือกการคมนาคมอีกแบบหนึ่งก็คือทางรถไฟ ซึ่งการดำเนินการสร้างทางรถไฟดังกล่าวจะเป็นทางรถไฟทางคู่รวมระยะทาง 165 กิโลเมตร เริ่มต้นที่สถานีจากกรุงเทพฯ ผ่านนครปฐม มาตามเส้นทางเดิมและไปสิ้นสุดที่สถานีรถไฟหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ขณะนี้อยู่ระหว่างให้บริษัทที่ปรึกษาดำเนินการวางแผน สำรวจ ออกแบบ โดยมีแนวทางการก่อสร้างจะใช้ที่ดินของ รฟท.ตามเส้นทางเดิม จะไม่ทำให้เกิดผลกระทบต่อประชาชนมากนัก อาจจะมีบางส่วนที่จะต้องการออกแบบหรือสำรวจการก่อสร้างใหม่ เช่น บริเวณที่เป็นทางโค้งมากๆ ต้องดำเนินการแก้ไขเป็นทางตรง เนื่องจากความเร็วของรถไฟทางคู่จะต้องใช้ความเร็ว 160 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ซึ่งรางปกติไม่สามารถที่จะรองรับได้

นอกจากนี้ช่วงที่เป็นสะพานก็ต้องดูรายละเอียดการออกแบบก่อสร้างด้วย สำหรับการก่อสร้างทาง รฟท.จะต้องมีการสำรวจความคิดเห็น หรือการทำประชาพิจารณ์ในเส้นทางที่ก่อสร้างหรือเส้นทางที่มีผลกระทบ ซึ่ง บริษัทที่จะมาทำประชาพิจารณ์จังหวัดราชบุรีคงต้องขอความร่วมมือประชาชนที่ อยู่ในเส้นทางการก่อสร้างโครงการดังกล่าว ได้มาร่วมรับฟังในความเป็นไปได้ต่างๆที่ การรถไฟแห่งประเทศไทย กำลังดำเนินโครงการดังกล่าว คิดว่าราชบุรีเป็นเส้นทางที่อยู่ตรงกลางของรถไฟรางคู่ดังกล่าว เมื่อมีการก่อสร้างเสร็จแล้ว จะเกิดประโยชน์ด้านการคมนาคมการเดินทางไปที่หัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ หรือไปกรุงเทพฯ ก็จะสะดวกยิ่งขึ้น จะทำให้ประหยัดเวลาการเดินทาง ซึ่งจังหวัดจะได้จัดทำประชาพิจารณ์โครงการดังกล่าว โดยให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเตรียมแจ้งประชาชนที่อยู่บริเวณการก่อสร้างเส้น ทางรถไฟทางคู่เข้าร่วมรับฟังความคิดเห็นถึงโครงการดังกล่าวด้วย

-----------------

ร.ฟ.ท.เร่งโครงการระบบราง
ฐานเศรษฐกิจ Saturday, 21 July 2012 06:16

ร.ฟ.ท.เร่งดันโครงการรถไฟฟ้าทั้งระบบรถไฟความเร็วสูงและรถไฟทางคู่ หวั่นอุปสรรคปัญหามวลชนและอีไอเอทำให้ล่าช้า เตรียมเปิดประมูลบางสายในเร็วๆ นี้ด้านสายสีแดงช่วงหัวลำโพงที่ปรึกษานำเสนอขอปรับแบบเป็นสถานีใต้ดิน เหตุบดบังทัศนียภาพแหล่งประวัติศาสตร์หัวลำโพง
...
...
...
"ส่วนที่ยังกังวลคือโครงการรถไฟทางคู่ 5 เส้นทางโดย 3 เส้นทางที่สนข.ศึกษาเบื้องต้นแล้วเสร็จนั้น คือช่วงลพบุรี-ปากน้ำโพ วงเงิน 7,860 ล้านบาท, ช่วงมาบกะเบา-ชุมทางจิระวงเงิน 11,640 ล้านบาท และช่วงนครปฐม-หัวหินวงเงิน 16,600 ล้านบาท ขณะนี้อยู่ระหว่างการลงนามเพื่อทบทวนผลการศึกษาและออกแบบรายละเอียด และรอผลอีไอเอซึ่งคงต้องใช้เวลาประมาณ 5-6 เดือน โดยพบว่าปัญหาหลายชุมชนไม่ต้องการให้สร้างเป็นทางยกระดับเช่นเดียวกับช่วงนครปฐม-หัวหินที่คชก.ด้านสิ่งแวดล้อมท้วงติงว่าไม่ควรสร้างเป็นทางยกระดับเพราะไปบดบังพระราชวังที่ประทับ ส่วนช่วงจิระขอนแก่น ยังมีปัญหาด้านมวลชนในพื้นที่เช่นกันแต่ที่น่าจับตาคือช่วงประจวบ-ชุมพรที่น่าจะก่อสร้างได้ก่อนเส้นทางอื่น ๆ เพราะปัญหามีไม่มาก"

ที่มา: หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับวันที่ 22 - 25 ก.ค. 2555
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 61, 62, 63 ... 390, 391, 392  Next
Page 62 of 392

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©