RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311323
ทั่วไป:13284647
ทั้งหมด:13595970
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 163, 164, 165 ... 548, 549, 550  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42784
Location: NECTEC

PostPosted: 30/07/2013 1:54 pm    Post subject: Reply with quote

ผุด17เมืองใหม่แนวไฮสปีดเทรน โยธาชง"ยิ่งลักษณ์"เคาะ เวนคืน-ก่อสร้างแสนล.
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
30 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 เวลา 09:30:25 น.


เปิด โผเฟสแรกจุดที่ตั้ง 17 เมืองใหม่รอบสถานีไฮสปีดเทรน กรมโยธาธิการและผังเมืองชงรัฐบาลยิ่งลักษณ์เคาะ 4 สายทาง 4 ภูมิภาค "พิษณุโลก-โคราช-หัวหิน-ระยอง" โมเดลตัวอย่างขนาด 5,000 ไร่ จัดวางผังพัฒนาพื้นที่เฉพาะ กำหนดโซนนิ่งชัดเจน ที่อยู่อาศัย พาณิชยกรรม เล็งดึงเอกชนร่วมลงทุน 100,000 ล้าน ค่าก่อสร้าง-เวนคืน

นายมณฑล สุดประเสริฐ อธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมือง เปิดเผยกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า กรมได้นำเสนอแนวคิดการพัฒนาเมืองใหม่รัศมีโดยรอบสถานีรถไฟความเร็วสูงในเฟสแรก เพื่อเป็นโมเดลเบื้องต้นที่จะนำร่องให้กระทรวงมหาดไทยพิจารณา และได้รับความเห็นชอบในหลักการแล้ว จากนั้นจะนำเสนอให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ต่อไป

เฟสแรก 17 สถานี 4 ภูมิภาค

สำหรับรูปแบบที่กรมโยธาธิการและผังเมืองนำเสนอ จุดที่ตั้งพื้นที่เมืองใหม่จะมีทุกสถานีที่รถไฟความเร็วสูงจอด โดยเฟสแรกอยู่ในแนว 4 สายทาง มี 17 แห่ง ประกอบด้วย

1) สายกรุงเทพฯ-พิษณุโลก 5 แห่ง ได้แก่ อยุธยา ลพบุรี นครสวรรค์ พิจิตร พิษณุโลก
2)สายกรุงเทพฯ-นครราชสีมา 3 แห่ง ได้แก่ สระบุรี ปากช่อง นครราชสีมา
3)สายกรุงเทพฯ-หัวหิน 4 แห่ง ได้แก่ นครปฐม ราชบุรี เพชรบุรี หัวหิน และ
4)สายกรุงเทพฯ-พัทยา-ระยอง 5 แห่ง ได้แก่ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ศรีราชา พัทยา ระยอง

"เราพยายามจะเริ่มทำเป็นตัวอย่างก่อนที่สถานีปลายทางของทั้ง 4 ภูมิภาค คือ พิษณุโลก หัวหิน โคราช และระยอง"

นายมณฑลกล่าวอีกว่า การพัฒนาจะเป็นรูปแบบเมืองขนาดเล็กหรือขนาดใหญ่อยู่ที่ศักยภาพของแต่ละสถานี ล่าสุดยังไม่ได้ข้อสรุปกับสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ถึงจุดที่ตั้งสถานีแต่ละสายทาง แต่มีอยู่ 2 ทางเลือกคือ อยู่ที่ตัวสถานีเดิม หรือเลือกพื้นที่ใหม่

ยึดญี่ปุ่นต้นแบบโมเดล

สำหรับการพัฒนาเมืองใหม่ควรจะเป็นพื้นที่โล่งขนาด 2,000-5,000 ไร่ขึ้นไป อยู่ห่างจากในเมืองประมาณ 5-10 กิโลเมตร เพื่อให้มีพื้นที่ในการพัฒนามาก ๆ อยู่ที่การตัดสินใจของ สนข.และรัฐบาลจะเห็นด้วยหรือไม่ แต่กรมโยธาธิการฯเสนอในมุมมองด้านการวางผังเมืองเป็นหลักโดยแนวคิดการพัฒนาจะนำโมเดลเดียวกับที่ประเทศญี่ปุ่นดำเนินการมาเป็นต้นแบบ ด้วยการเพิ่มมูลค่ารอบสถานีรถไฟความเร็วสูงให้เกิดประโยชน์สูงสุด นอกจากเพื่อการเดินรถไฟฟ้าแล้ว จะต้องวางกรอบการพัฒนาพื้นที่รอบ ๆ สถานีเพื่อสร้างรายได้

ทั้งนี้แนวทางการพัฒนาจะมี 2 วิธีการ คือ
1) จัดวางผังพัฒนาพื้นที่เฉพาะ ภายในจะกำหนดโซนนิ่งผังการพัฒนาครบถ้วน อาทิ โซนที่อยู่อาศัย โซนสาธารณูปโภค เช่น ถนน สวนสาธารณะ โซนพาณิชยกรรม มีศูนย์การค้า ใช้เวลาประมาณ 1 ปีกับ
2) การจัดรูปที่ดิน คาดว่าจะใช้เวลาสักระยะ เนื่องจากจะต้องมีกระบวนการจัดรับฟังความคิดเห็นของประชาชน และจัดแบ่งเฟสที่ดินเพื่อพัฒนาโครงการ แนวทางนี้กรมจะร่วมกับหน่วยงานของรัฐตั้งหน่วยงานใหม่ขึ้นมารองรับ หรืออาจจะให้รัฐและเอกชนร่วมกันลงทุนรูปแบบ PPP ก็ได้

เปิดโผทางเลือกจุดที่ตั้ง

แหล่งข่าวจากกรมโยธาธิการและผังเมืองกล่าวว่า ขณะนี้กรมรอความชัดเจนจุดที่ตั้งสถานีจาก สนข.ที่อยู่ระหว่างคัดเลือกทำเล เบื้องต้นกรมได้กำหนดพื้นที่เสนอเป็นทางเลือกพร้อมขนาดสถานี (ดูตารางประกอบ) โดยสายเหนือ "กรุงเทพฯ-พิษณุโลก" ประกอบด้วย

1)พระนครศรีอยุธยา ขนาดพื้นที่ 5,000 ไร่ มีพื้นที่ 4 ทางเลือก คือ สถานีชุมทางบ้านภาชี สถานีรถไฟอยุธยาเดิม สถานีบ้านม้า และห่างจากสถานีเดิมไปทางด้านใต้ 2 กิโลเมตร

2)ลพบุรี ขนาดพื้นที่ 5,000 ไร่ มีพื้นที่ 3 ทางเลือกคือ สถานีรถไฟลพบุรีเดิม หรือห่างจากสถานีเดิมลงมาทางใต้และทางเหนือในรัศมี 5 กิโลเมตร

3)นครสวรรค์ ขนาดพื้นที่ 5,000 ไร่ มีพื้นที่ 3 ทางเลือก คือ สถานีรถไฟนครสวรรค์เดิม ห่างจากสถานีเดิมลงมาทางทิศใต้ 3 กิโลเมตร กับห่างจากสถานีรถไฟเดิมขึ้นไปด้านทิศตะวันตก 2 กิโลเมตร และ

4)พิจิตร ขนาดพื้นที่ 5,000 ไร่ เป็นการเปิดพื้นที่ใหม่ห่างจากสถานีเดิมไปทางด้านขวามือประมาณ 2 กิโลเมตร

โรบินสันลุ้นที่ตั้งสระบุรี

สายอีสาน "กรุงเทพฯ-นครราชสีมา" ประกอบด้วย

1)สระบุรี มี 2 ทางเลือก คือ สถานีรถไฟสระบุรีเดิม พื้นที่ 1,200 ไร่ หรือห่างจากสถานีเดิมไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ 4 กิโลเมตร บนถนนวงแหวนรอบนอกฝั่งตรงข้ามกับศูนย์การค้าโรบินสันที่กำลังก่อสร้าง พื้นที่ 3,000 ไร่

2)สถานีปากช่อง พื้นที่ประมาณ 3,000 ไร่เศษ มี 2 ทางเลือก คือ สถานีรถไฟปากช่องเดิม กับห่างจากสถานีเดิมขึ้นไปทางทิศเหนือ 5 กิโลเมตร ซึ่งเป็นที่ดินของกรมธนารักษ์ ปัจจุบันใช้ประโยชน์เป็นที่ตั้งของกรมพลาธิการทหารบก

3)นครราชสีมา มีพื้นที่ 3 ทางเลือก คือ สถานีรถไฟนครราชสีมาเดิม ขนาดพื้นที่ 7,000 ไร่ หรือห่างจากสถานีเดิมไปทางทิศตะวันตก 6 กิโลเมตรที่สถานีภูเขาลาด พื้นที่ 3,000 ไร่ และสถานีชุมทางบ้านจิระ พื้นที่ 3,000 ไร่

เพชรบุรีมีทางเลือกเดียว

สายใต้ "กรุงเทพฯ-หัวหิน" ประกอบด้วย

1)นครปฐม ขนาดพื้นที่ 3,000-4,000 ไร่ มี 3 ทางเลือก คือ สถานีรถไฟนครปฐมเดิม หรือห่างจากสถานีเดิมไปด้านตะวันตก 3 กิโลเมตร (สถานีโพรงมะเดื่อ?) และจากสถานีไปทิศตะวันออก 8 กิโลเมตร (สถานีต้นสำโรง?)

2)ราชบุรี มีพื้นที่ 2 ทางเลือก คือ สถานีรถไฟราชบุรีเดิม ขนาดพื้นที่ 700 ไร่ กับพื้นที่ใหม่ห่างจากสถานีเดิมลงมาด้านใต้ 3 กิโลเมตร ขนาดพื้นที่ 3,000 ไร่ (บ้านคูบัว?) และ

3)เพชรบุรี มีทางเลือกเดียว ขนาดพื้นที่ 3,000-4,000 ไร่ อยู่ห่างจากในเมืองไปทางด้านเหนือประมาณ 2 กิโลเมตร และ

4)สถานีหัวหิน มีพื้นที่ 3 ทางเลือก คือ สถานีรถไฟหัวหินเดิม พื้นที่ 2,000 ไร่ หรือห่างจากสถานีเดิมขึ้นไปด้านเหนือ มุ่งหน้า อ.ชะอำ ประมาณ 6 กิโลเมตร พื้นที่ 4,000 ไร่ (บ่อฝ้าย?) กับบริเวณสถานีห้วยทรายใต้ พื้นที่ 5,000 ไร่

ตะวันออกข้อเสนอเพียบ

สายตะวันออก "กรุงเทพฯ-พัทยา-ระยอง" ประกอบด้วย
1) ฉะเชิงเทรา สถานีรถไฟเดิมขนาดพื้นที่ 2,500 ไร่
2) ชลบุรี ที่สถานีรถไฟเดิม ขนาดพื้นที่ 3,000-4,000 ไร่
3) อำเภอศรีราชา มีพื้นที่ 2 ทางเลือก คือ สถานีรถไฟศรีราชาเดิม ขนาดพื้นที่ 400 ไร่ กับห่างจากสถานีเดิมลงมาทางใต้ 3-4 กิโลเมตร ขนาดพื้นที่ 7,000 ไร่

4)เมืองพัทยา ขนาดพื้นที่ 5,000-6,000 ไร่ มีพื้นที่ 3 ทางเลือก คือ สถานีรถไฟพัทยาเดิม พื้นที่ 5,000 ไร่ หรือห่างจากสถานีเดิม 5 กิโลเมตรขึ้นไปทางเหนือ และห่างจากสถานีเดิม 8 กิโลเมตร ลงมาด้านใต้ และ 5)ระยอง ขนาดพื้นที่ 4,000-5,000 ไร่ มีพื้นที่ 2 ทางเลือก คือ สถานีรถไฟมาบตาพุด กับห่างจากสถานีรถไฟมาบตาพุดขึ้นไปทางเหนือ 8 กิโลเมตร มาทางตัวเมืองระยอง

ประเมินลงทุนแตะแสนล้าน

แหล่งข่าวกล่าวอีกว่า สำหรับรูปแบบการลงทุนเบื้องต้น รัฐบาลอาจจะลงทุนก่อสร้างระบบสาธารณูปโภคให้ ส่วนการลงทุนด้านอื่น ๆ อาจจะดึงเอกชนเข้ามาร่วมลงทุน ทั้งที่อยู่อาศัยและเชิงพาณิชยกรรม ซึ่งมูลค่าการลงทุนอยู่ที่รูปแบบขนาดของเมือง และจะใช้วิธีการไหนมาดำเนินการอย่างเช่นถ้าใช้วิธีการจัดรูปที่ดิน จะมีการแชร์ที่ดินจากเอกชนมาพัฒนาร่วมกัน การลงทุนจะถูกกว่าประมาณ 20,000-30,000 ล้านบาทต่อแห่ง แต่ถ้าหากลงทุนทั้งค่าก่อสร้างและเวนคืนที่ดิน จะต้องใช้เม็ดเงินลงทุนเพิ่มขึ้น น่าจะไม่ต่ำกว่า 100,000 ล้านบาท
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42784
Location: NECTEC

PostPosted: 31/07/2013 2:19 pm    Post subject: Reply with quote



คุณชัชชาติ อธิบายการใช้จ่ายงบ 2.2 ล้านล้านบาท ในโครงการ 7 ปี ให้เราได้รู้ ทั้งทางคู่และรถไฟความไวสูง
http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=TVRNM05URTRORFEzT1E9PQ==&subcatid=
http://www.prachachat.net/banner/advertise/movingForward.pdf
Back to top
View user's profile Send private message
nathapong
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/03/2006
Posts: 3515
Location: Ayuthaya - Lamlukka - Navanakhon - Silom

PostPosted: 31/07/2013 11:51 pm    Post subject: Reply with quote

จากข่าวที่เฮียวิซซี่ เอามาลง กับ ที่ รัฐมนตรีคมนาคม พูด

ถามแบบคนกันเอง.... คิดว่าข่าวที่เฮียวิซซี่เอามาลง กับ ต้นตอแหล่งข่าวพูดเต็ม ๆ

คิดว่า ข่าวที่ออกมาลงครบถ้วนหรือไม่.....
Back to top
View user's profile Send private message Send e-mail
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42784
Location: NECTEC

PostPosted: 01/08/2013 12:01 pm    Post subject: Reply with quote

^^^
เข้าใจว่า นักข่าว แม่ม ถอดเทปไม่หมดหรือกระไรมิทราบ จึงมีการขาดๆหายๆหรือไม่ก็แต่งเติมเอาตามใจชอบโดยได้รับฉันทานุมัติจากกองบรรณาธิการที่ให้ท้ายอยู่หนะครับ Sad
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42784
Location: NECTEC

PostPosted: 02/08/2013 2:13 pm    Post subject: สงครามแย่งเส้นทางรถไฟความไวสูง Reply with quote

แพร่ลุ้นรถไฟ
เชียงใหม่นิวส์
2 สิงหาคม 2556

กรอ.แพร่เดินหน้าผลักดันโครงการรถไฟความเร็วสูงให้ผ่านมาในพื้นที่จังหวัด หลังมองว่าจะช่วยขับเคลื่อนเรื่องของโลจิสติกส์ดันตัวเลขเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวทะลักมหาศาล สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดแพร่ รายงานว่า ตามที่รัฐบาลมีนโยบายจะพัฒนาระบบการขนส่งด้วยการสร้างรถไฟความเร็วสูง รวมทั้งสายกรุงเทพมหานครกับจังหวัดเชียงใหม่ ต่อมามีการกำหนดเส้นทางผ่านของรถไฟคือจากกรุงเทพมาถึงพิษณุโลกเป็นที่แน่นอนแล้ว แต่ระหว่างพิษณุโลกถึงเชียงใหม่ ยังมีหลายแนว อาทิ แนวแรกเป็นเส้นผ่านอุตรดิตถ์ อำเภอเด่นชัยแพร่ ลำปาง สู่เชียงใหม่ อีก แนวหนึ่งคือผ่านสุโขทัย อำเภอศรีสัชนาลัย ลำปาง สู่เชียงใหม่ ทั้งนี้อยู่ระหว่างที่สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร กระทรวงคมนาคม กำลังพิจารณาเพื่อเสนอต่อรัฐบาล ในเรื่องนี้ทาง คณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจจังหวัดแพร่ หรือ กรอ.จังหวัดแพร่ วิตกว่าแนวเส้นทางที่ผ่านมาจังหวัดแพร่จะไม่ได้รับการพิจารณา จึงได้เสนอข้อมูลและเหตุผลเบื้องต้นแก่สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจรใช้ประกอบการพิจารณาแล้ว ทางด้าน นายอภิชาติ โตดิลกเวชช์ ผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ เปิดเผยว่าเหตุผลเบื้องต้นที่ กรอ.แพร่ เสนอไปนั้นว่า หากการก่อสร้างทางรถไฟความเร็วสูงผ่านมาที่อำเภอเด่นชัยจังหวัดแพร่ จะเกิดผลดีอยู่ 4 ด้านคือ

ด้านแรกสามารถเชื่อมโยงเศรษฐกิจระหว่างประเทศเพราะจังหวัดในกลุ่มภาคเหนือตอนบนคือ แพร่ พะเยา เชียงราย น่าน มีประตูการค้าชายแดนเชื่อมกับประเทศเพื่อนบ้าน ลาว พม่า จีน อยู่แล้ว ซึ่งปีที่ผ่านมามีมูลค่าการค้ารวมกันถึง 35,977.62 ล้านบาท หากรถไฟผ่านมาที่แพร่บริเวณนี้จะเป็นจุดเชื่อมการขนส่งระบบรางทันที เพราะรัฐบาลมีนโยบายสร้างรถไฟทางคู่ผ่านมาที่แพร่ด้วย การเดินรถทั้งสองประเภทจะเสริมสร้างศักยภาพซึ่งกันและกันในการเชื่อมโยงภูมิภาคอาเซียนทันที

ด้านที่สองรถไฟความเร็วสูงจะจะส่งเสริมการท่องเที่ยวภาคเหนือตอนบนที่ขยายตัวอย่างรวดเร็วทั้งจากชาวต่างชาติเดินทางเข้ามาและจากในประเทศออกไปสู่ประเทศเพื่อนบ้าน

ด้านที่สามประชาชนในพื้นที่ภาคเหนือตอนบนจะสามารถอาศัยบริการรถไฟความเร็วสูงเดินทางเข้าสู่กรุงเทพมหานครได้อย่างรวดเร็ว

ด้านสุดท้ายจะมีการเวนคืนที่ดินน้อย สามารถก่อสร้างได้เร็วเสียงบประมาณน้อย หากไปใช้เส้นทางอื่นจะกระทบต่อวิถีชุมชนโดยเฉพาะด้านเสียงและความสะเทือนด้วย

ซึ่งเหตุผลทั้งสี่ด้านนี้ทาง กรอ.แพร่ได้เสนอไปให้สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจรกระทรวงคมนาคมไปพิจารณาแล้ว แต่ยังไม่ทราบผล
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42784
Location: NECTEC

PostPosted: 07/08/2013 11:28 am    Post subject: Reply with quote

เสียงครวญจาก‘ชาวท่ามะนาว’ เมื่อรัฐขอที่ดินสร้าง‘รถไฟความเร็วสูง’
แนวหน้า
วันอังคาร ที่ 06 สิงหาคม พ.ศ. 2556, 02.00 น.


เป็นเรื่องปกติและเป็นหน้าที่ที่รัฐบาล ในฐานะผู้ปกครองที่ได้รับการเลือกตั้งของประชาชน จะต้องทำการพัฒนาเพื่อให้ประเทศเจริญก้าวหน้า แน่นอนว่าการพัฒนาเบื้องต้นคงหนีไม่พ้นโครงสร้างพื้นฐาน “น้ำไหล ไฟสว่าง ทางดี” ซึ่งคำว่า “ทางดี” นี้ หมายถึงมีระบบคมนาคมขนส่งที่รวดเร็ว ปลอดภัย และมีราคาที่เป็นธรรม

ล่าสุดกับอภิมหาโครงการยักษ์ใหญ่ “รถไฟความเร็วสูง” ที่กำลังเป็นที่ถกเถียงกันว่าคุ้มค่าหรือไม่ เพราะต้องกู้เงินสูงถึง 2.2 ล้านล้านบาท และ สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) กำหนดค่าบริการเบื้องต้นอยู่ที่กิโลเมตรละ 2.50 บาท

ทั้งนี้ นอกจากในแง่ความคุ้มค่าแล้ว ก็เริ่มมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ถึงการเลือกพื้นที่ของภาครัฐ เพราะไปกระทบกับประชาชนที่อาศัยอยู่มาเป็นเวลายาวนาน!

เมื่อช่วงที่ผ่านมา “ทีมสกู๊ปแนวหน้า” เดินทางลงพื้นที่บ้านท่ามะนาว อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา ภายหลังได้รับการร้องเรียนจากชาวบ้านในพื้นที่ว่าพวกเขากำลังจะถูกไล่ที่ จากกรณีที่ภาครัฐกำหนดจะก่อสร้างสถานีรถไฟความเร็วสูงเส้นทางกรุงเทพฯ-หนองคาย บนที่ดิน 500 ไร่ แม้ชาวบ้านจะอยู่ในฐานะผู้เช่าที่ดินของกรมธนารักษ์ กระทรวงการคลัง แต่ก็เช่ามาเป็นเวลานานหลายสิบปี โดยพื้นที่ราว 500 ไร่ดังกล่าว มีผู้อยู่อาศัยกว่า 600 หลังคาเรือน

“600 หลังคาเรือน เป็นหมู่ 10 ต.หนองสาหร่าย กับหมู่ 14 ต. จันทึก รวมกัน อย่างผมนี่อยู่มาตั้งแต่ปี 2511 โน่น มาแรกๆ แถวนี้ยังเป็นป่าอยู่เลย ถามว่าแถวนี้ทำอาชีพอะไรกัน ส่วนใหญ่ ก็ทำเกษตร ไร่อ้อย ไร่ข้าวโพด ชาวบ้านทั่วไปก็เท่านี้แหละครับ หาเช้ากินค่ำ ถ้าเวนคืนตรงนี้ ต่อไปจะไม่มีที่ทำกินแล้ว”

ชายชราวัย 74 ปีรายหนึ่ง ชี้ให้ทีมสกู๊ปแนวหน้า ดูแนวเขตพื้นที่ดังกล่าว ที่ส่วนใหญ่แปรสภาพจากผืนดินรกร้าง เป็นพื้นที่เกษตรกรรม นอกจากนี้ยังมีบ้านเรือนอย่างดี ถูกปลูกสร้างไว้เพื่ออยู่อาศัยอย่างถาวร เรียกว่าแทบจะไม่มีพื้นที่ว่างเปล่าแต่อย่างใด

“สิ่งที่ต้องการร้องขอ คือ อยากให้ไปสร้างในพื้นที่ ที่ไม่มีคนอยู่อาศัย ซึ่งอยู่ห่างจากชุมชนไปไม่กี่กิโลเมตร และยัง เป็นพื้นที่ว่างเปล่า ถ้าหากไปเอาที่นั้นชาวบ้านก็ไม่เดือดร้อน” เป็นเสียงจาก นายบุญส่ง มอญพม่า ชายวัย 69 ปี เกษตรกรอีกรายหนึ่งที่อยู่ที่นี่ตั้งแต่ปี 2496 เรียกว่าเป็นรุ่นบุกเบิกเลยก็ว่าได้

ลุงบุญส่งเล่าถึงความกังวลว่า ตนได้กู้เงินมา 2 ล้านบาท เพื่อสร้างบ้านและลงหลักปักฐานที่นี่ แต่เมื่อมีกรณีการเวนที่คืนเพื่อต้องการสร้างสถานีรถไฟความเร็วสูง ทำให้ตนต้องย้ายออกจากพื้นที่ คงจะต้องลำบาก เพราะไม่รู้ว่าจะไปทำมาหากินอะไร รวมถึงภาระหนี้สินดังกล่าวด้วย

ทั้งนี้ ที่ตนและชาวบ้านได้ทราบถึงข่าวนี้เพราะเห็นจาก “สื่อ” ไม่ใช่เพราะมีตัวแทนจากภาครัฐลงมาพูดกับชาวบ้าน โดยวันที่ 27 พ.ค.2556 ได้ทราบข่าวว่าต้องการพื้นที่ในการสร้างสถานีเป็นจำนวน 100 ไร่ แต่เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน มีเจ้าหน้าที่จากกรมธนารักษ์ และกระทรวงการคลัง มาทำเรื่องวัดพื้นที่ เป็นจำนวน 200-300 ไร่

กลายเป็นว่า ไม่เพียงสร้างสถานีรถไฟเท่านั้น แต่ยังมีโครงการสร้างโรงแรมหรู อาคารพาณิชย์ ห้างสรรพสินค้า คลังสินค้า เพิ่มอีก 500 ไร่ รวมราว 700-800 ไร่ เท่ากับว่า..ปัจจุบันพื้นที่ที่ต้องการสร้างสถานีกลับเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และไม่แน่ใจว่าจะเพิ่มขึ้นอีกหรือไม่?

เช่นเดียวกับ นางสีนวล อุ่นคำ อายุ 59 ปี อาชีพเกษตรกร กล่าวว่า ปัจจุบันมีพื้นที่การเกษตรที่เช่าทั้งสิ้น 40 ไร่ และรู้สึกกังวล นอนไม่หลับ เนื่องจากเรื่องราวที่เกิดขึ้น ทั้งนี้ยืนยันว่าไม่อยากย้ายไปไหน เพราะรู้สึกเสียดาย ตนอาศัยอยู่ที่บ้านท่ามะนาวแห่งนี้มานานถึง 46 ปี ทำให้เกิดความผูกพันกับที่แห่งนี้ สิ่งที่อยากร้องขอคือ ต้องการความชัดเจนจากหน่วยงานรัฐ เกี่ยวกับการเวนที่คืนว่าจะแก้ปัญหาที่มีผลกระทบต่อชาวบ้านนี้อย่างไร

นอกจากนี้ ชาวบ้านอีกรายหนึ่ง ให้ข้อมูลกับทีมสกู๊ปแนวหน้า เพิ่มเติมว่า ที่ผ่านมาประชาชนในพื้นที่ไม่เคยได้ทราบเรื่อง หรือได้เข้าไปมีส่วนร่วมหารือและแสดงความคิดเห็นกับภาครัฐแต่อย่างใด ทั้งนี้แม้มีการทำประชาพิจารณ์จริง แต่เป็นการทำประชาพิจารณ์ที่ใช้คนจากพื้นที่ใกล้เคียง เช่น ในตัว อ.ปากช่อง จึงรู้สึกว่าไม่ได้รับความเป็นธรรม

อย่างไรก็ตาม..แม้จะเป็นการคัดค้าน แต่ก็ไม่ได้เป็นการค้านแบบหัวชนฝา ชาวบ้านในพื้นที่จำนวนหนึ่ง พาทีมสกู๊ปแนวหน้า ไปดูพื้นที่ที่ห่างออกไปเพียงไม่กี่กิโลเมตร ซึ่งพื้นที่ดังกล่าวตลอดสองข้างทาง ส่วนหนึ่งเป็นพื้นที่รกร้างแทบจะไม่มีสิ่งปลูกสร้างใดๆ ปรากฏ ขณะที่อีกส่วนหนึ่งในพื้นที่เดียวกัน เป็นพื้นที่เพาะปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ที่ กองทัพบก เช่าพื้นที่ต่อจากกรมธนารักษ์ อีกทอดหนึ่งเช่นเดียวกับชาวบ้าน รวมแล้วมากกว่าหลายพันไร่

“ที่ดินตรงนี้กับที่ที่ชาวบ้านอยู่อาศัย เห็นไหมว่าต่างกัน พื้นที่ดังกล่าวอาจมีผู้บุกรุกบ้าง แต่ก็เป็นกลุ่มใหม่ที่เพิ่งมา ไม่ได้เป็นผู้ที่อาศัยมานาน ถ้าต้องเยียวยาก็คงไม่มากเท่าที่ที่เราอยู่ และพื้นที่ใหม่ห่างจากจุดเดิมไม่ถึง 10 กิโลเมตร ถ้าสร้างตรงนั้นเราไม่คัดค้านเพราะไม่เดือดร้อน ดีเสียอีก ไม่แน่ว่าเราอาจทำอาชีพเสริม นำรถตู้มาวิ่งรับคนจากสถานีรถไฟกับตัวอ.ปากช่อง อยากฝากถึงกองทัพนะครับ ท่านมีที่ดินเป็นพันๆ ไร่ แบ่งมาทำสถานีรถไฟสัก 500 ไร่ ท่านคงไม่เป็นไรหรอกครับ ถือว่าช่วยประชาชน ชาวบ้านจะได้ไม่ต้องเดือดร้อน ไม่ต้องย้ายที่อยู่”

ชาวบ้านกลุ่มนี้กล่าวทิ้งท้าย โดยกล่าวว่า ตอนนี้จะยังไม่เคลื่อนไหวใดๆ จนกว่าจะทราบแน่ชัดว่า พ.ร.บ.เงินกู้ 2.2 ล้านล้านบาท อันเป็นงบประมาณที่จะนำมาดำเนินโครงการดังกล่าวผ่านสภาหรือไม่?

ถึงกระนั้นก็ยังเผื่อใจไว้เช่นกันว่า หากท้ายที่สุดจะต้องย้ายจริงๆ ก็อยากให้ภาครัฐกำหนดมาตรการเยียวยาที่ชัดเจนและเป็นธรรม เพราะที่ผ่านมา ยังไม่ปรากฏว่า มีการหารือกับประชาชนในพื้นที่ ซึ่งเป็นผู้เดือดร้อนตัวจริงแต่อย่างใด

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2550 มาตรา 57 ระบุว่า “บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับข้อมูล คำชี้แจง และเหตุผลจากหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น ก่อนการอนุญาตหรือการดำเนินโครงการหรือกิจกรรมใดที่อาจมีผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม สุขภาพอนามัย คุณภาพชีวิต หรือส่วนได้เสียสำคัญอื่นใดที่เกี่ยวกับตนหรือชุมชนท้องถิ่น และมีสิทธิแสดงความคิดเห็นของตนต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อนำไปประกอบการพิจารณาในเรื่องดังกล่าว การวางแผนพัฒนาสังคม เศรษฐกิจ การเมือง และวัฒนธรรม การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ การวางผังเมือง การกำหนดเขตการใช้ประโยชน์ในที่ดิน และการออกกฎที่อาจมีผลกระทบต่อส่วนได้เสียสำคัญของประชาชน ให้รัฐจัดให้มีกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนอย่างทั่วถึงก่อนดำเนินการ”

จะเห็นได้ว่า แม้ประชาชนหลายร้อยครัวเรือนในพื้นที่บ้านท่ามะนาว จะอยู่ในฐานะเพียงผู้เช่าที่ดินเท่านั้น แต่หากมองในแง่ของความเป็นธรรมแล้ว การที่ประชาชนอยู่อาศัยในพื้นที่มาเป็นเวลานาน มีการปลูกที่อยู่อาศัยอย่างถาวร เป็นเครื่องแสดงให้เห็นถึงความผูกพันของผู้คนกับพื้นที่ดังกล่าว จนไม่อยากจะย้ายไปไหนอีก

อนึ่ง..เมื่อมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์จากผู้ได้รับผลกระทบ รัฐบาลก็จะต้องรับฟังและหาทางออกร่วมกัน ทั้งในแง่ทางเลือกที่เหมาะสมกว่าที่ภาคประชาชนเสนอแนะ หรือท้ายที่สุดหากยืนยันพื้นที่เดิมจริงๆ ก็ต้องมีมาตรการเยียวยาที่เหมาะสมด้วย

เพราะไม่ว่าจะอยู่อาศัยในฐานะใด..แต่พวกเขาก็คือ “คนไทย” เหมือนเช่นเราทุกคนมิใช่หรือ?
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42784
Location: NECTEC

PostPosted: 08/08/2013 10:39 am    Post subject: Reply with quote

“คมนาคม” ชู “โคราช” โมเดลเมืองใหม่สถานีรถไฟความเร็วสูงนำร่อง

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 7
7 สิงหาคม 2556 17:07 น.


“ชัชชาติ” ตั้งคณะอนุฯ พัฒนาเมืองใหม่และตำแหน่งสถานีรถไฟความเร็วสูง ชูโคราชโมเดลสถานีนำร่องรูปแบบใช้ที่ราชพัสดุพัฒนา ส่วนสถานีในเมืองใช้การจัดรูปที่ดินลดเวนคืน สั่งปลัดคมนาคมเจรจา กสทช.ทบทวนจัดสรรคลื่นความถี่คุมระบบอาณัติสัญญาณใหม่ มั่นใจชุมนุมการเมืองไม่กระทบกู้ 2 ล้านล้าน ชี้เอกชนหนุนเดินหน้า

นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังเป็นประธานประชุมคณะทำงานติดตามความคืบหน้าการพัฒนารถไฟความเร็วสูงวานนี้ (7 ส.ค.) ว่า ที่ประชุมได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการฯ 2 ชุด คือ 1. คณะอนุฯ พิจารณาตำแหน่งและแนวคิดการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีทุกเส้นทางให้ได้ข้อสรุปใน 1 เดือน โดยมีผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.), กรมโยธาธิการและผังเมือง และสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.), กรมธนารักษ์ และการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ร่วม เบื้องต้นมี 2 แนวทาง คือ 1. ใช้ที่ราชพัสดุของหน่วยราชการ 2. การจัดรูปที่ดินซึ่งไม่มีการเวนคืนแต่จะเป็นการนำที่ดินมารวมกันและจัดผังใหม่ที่สร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่เจ้าของที่ดินเดิม โดยคาดว่าสถานีปากช่องที่ตำบลหนองสาหร่าย อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา มีความพร้อมสามารถทำเป็นสถานีนำร่องพัฒนาเป็นเมืองใหม่ได้ โดย สนข.ได้เจรจากับกองทัพบกขอพื้นที่จำนวน 551 ไร่มาพัฒนาแล้ว นอกจากนี้ บริเวณตำบลนครสวรรค์ อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ ยังมีที่ดินของกองทัพบก 3,385 ไร่ที่เหมาะสมพัฒนาเป็นเมืองใหม่ได้

“การพัฒนาพื้นที่เมืองใหม่อาจไม่จำเป็นต้องอยู่ในสถานีรถไฟความเร็วสูงก็ได้ เพราะหากกำหนดสถานีอยู่ในเขตเมืองเก่าการพัฒนาเชิงพาณิชย์จะได้ผลตอบแทนจำกัด การเปิดพื้นที่เป็นเมืองใหม่จะดีกว่า แต่จะต้องอยู่ในรัศมีจากสถานีไม่เกิน 5 กิโลเมตร และต้องทำระบบขนส่งเชื่อมกับสถานี โดยจะยื่นรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) สายเหนือ กรุงเทพฯ-พิษณุโลกได้ในเดือนกันยายนนี้”

ส่วนอีกชุดเป็นคณะอนุฯ พิจารณาการใช้คลื่นความถี่ของกระทรวงคมนาคมเพื่อใช้กับระบบอาณัติสัญญาณรถไฟความเร็วสูง มี พล.ต.อ.วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี ปลัดกระทรวงคมนาคม เป็นประธาน โดยให้เจรจากับ กสทช.ขอให้ทบทวนการจัดสรรคลื่นความถี่ หลังจากที่ กสทช.จัดเตรียมย่านความถี่ 890-894 MHz Up Link ให้ซึ่งไม่ตรงต่อความต้องการที่กระทรวงต้องการย่านความถี่ 876-880 MHz Up Link และ 921-925 MHz Down Link ที่มีประสิทธิภาพในการควบคุมการเดินรถไฟความเร็วสูงให้มีความปลอดภัยสูงสุด

พร้อมกันนี้ได้มอบหมายให้กรมทางหลวงไปพิจารณาข้อดีข้อเสียการปรับแนวเส้นทางรถไฟความเร็วสูง สายกรุงเทพฯ-หัวหิน ช่วงอำเภอเมืองเพชรบุรีไปตามแนวเขตทางหลวงหมายเลข 4 (ถนนเพชรเกษม) ประมาณ 4.5 กิโลเมตร เสนอที่ประชุมอีกครั้ง

ทั้งนี้ สถานการณ์ความวุ่นวายทางการเมืองในขณะนี้เชื่อว่าจะไม่ส่งผลกระทบให้โครงการตาม พ.ร.บ.การให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน วงเงิน 2 ล้านล้านบาทมีความล่าช้า โดยล่าสุดจากการพูดคุยกับภาคเอกชนส่วนใหญ่ต้องการให้รัฐบาลเดินหน้าต่อไปเพราะโครงการมีประโยชน์ต่อประเทศ ซึ่งขณะนี้ได้สั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทำเอกสารตอบข้อสงสัยทุกประเด็นที่เคยมีการสอบถามมาแล้ว เพื่อแสดงความโปร่งใสในการทำงาน
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42784
Location: NECTEC

PostPosted: 08/08/2013 7:48 pm    Post subject: Reply with quote

คลัง-สนข.สางอุปสรรค “ไฮสปีดเทรน”
แนวหน้าโลกธุรกิจ
แนวหน้า
วันพฤหัสบดี ที่ 08 สิงหาคม พ.ศ. 2556, 06.00 น.

เล็งขุดอุโมงค์สถานีลพบุรี - เลี่ยงกระทบโบราณสถาน

นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รมว.คมนาคม เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆนี้ กรมธนารักษ์ ได้มีหนังสือเชิญ ตัวแทน กระทรวงคมนาคม ประชุมหารือในนโยบายการพัฒนาโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูง(ไฮสปีด เทรน) โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมได้แก่ ผู้แทนกรมธนารักษ์ , สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน , กองทัพบก , กองทัพอากาศ , สำนักงานที่ดินจังหวัดเพชรบุรี , สำนักงานอัยการสูงสุด , และสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร กระทรวงคมนาคม (สนข.) ได้ข้อสรุปว่า

ในการขอใช้ประโยชน์ที่ดินราชพัสดุสำหรับโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูง สำหรับงานออกแบบสถานีและศูนย์ซ่อมบำรุงโครงการศึกษาและออกแบบรถไฟฟ้าความเร็วสูง จำนวน 5 แปลง คือ

1.)สายกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ระยะที่ 1 กรุงเทพฯ-พิษณุโลก จำนวน 3 แปลง ได้แก่
1.1 ตำบลทะเลชุบศร อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี
1.2 ตำบลนครสวรรค์ออก อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์
1.3 ตำบลอรัญญิก อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก

2.)สายกรุงเทพฯ-นครราชสีมา จำนวน 1 แปลง ได้แก่
2.1 ตำบลหนองสาหร่าย อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา

3.)สายกรุงเทพฯ-หัวหิน จำนวน 1 แปลง ได้แก่
3.1) ตำบลชะอำ อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี

โดยปัญหาและอุปสรรค และแนวทางแก้ไขคือในกรณีพื้นที่ ตำบลทะเลชุบศร อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี พบว่าเขตทางรถไฟด้านเหนือของสถานีรถไฟลพบุรีมีพื้นที่จำกัด มีความกว้างบางช่วงเพียง 4 เมตร เท่านั้น อีกทั้งยังมีโบราณสถานที่สำคัญอยู่ใกล้เขตทางทำให้มีข้อจำกัดในการก่อสร้าง จึงพิจารณาก่อสร้างทางวิ่งเป็นอุโมงค์ใต้ดินลึกประมาณ 20 เมตรจากระดับดิน มีอุโมงค์ทางวิ่งอยู่ใต้ที่ดินของโรงเรียนพิบูลวิทยาลัยเข้าไปตามแนวรั้วโรงเรียนประมาณ 10 เมตรเพื่อลดผลกระทบต่อโบราณสถาน โดยผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน อนุญาตให้ดำเนินการได้โดยต้องไม่มีผลกระทบต่อโครงสร้างอื่นๆของโรงเรียน

พื้นที่ตำบลนครสวรรค์ อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของแผนกสัตวบาลที่ 2 กองการสัตว์เกษตรกรรมที่ 3 กรมการสัตว์ทหารบก กองทัพบก มีพื้นที่ประมาณ 3,385 ไร่ สามารถใช้ประโยชน์สำหรับพัฒนาพื้นที่เพื่อกิจการเชิงพาณิชย์ เนื่องจากมีพื้นที่อยู่ใกล้เคียงสถานีรถไฟนครสวรรค์ แต่ข้อมูลของทาง สนข. และข้อมูลของกรมธนารักษ์ มีความผิดพลาดไม่ตรงกัน จึงต้องมีการพิจารณาร่วมกันอีกครั้ง

พื้นที่ตำบลหนองสาหร่าย อำเภอปากช่อง ปัจจุบันเป็นพื้นที่ภายใต้การครอบครองของโรงงานที่ 5 กองผลิตอุปกรณ์สายพลาธิการ กองทัพบก มีพื้นที่ประมาณ 541 ไร่ แต่ไม่มีการใช้ประโยชน์ทางการทหาร โดยมีการบุกรุกที่ดินในชุมชนท่ามะนาวใหม่ เป็นพื้นที่กสิกรรม พื้นที่เลี้ยงสัตว์และฟาร์มปศุสัตว์ สามารถใช้ประโยชน์สำหรับก่อสร้างย่านสถานีรถไฟปากช่อง และพื้นที่กิจการเชิงพาณิชย์ได้ทั้งหมด ทั้งนี้จะต้องมีการขอใช้พื้นที่สำหรับการก่อสร้างถนนเชื่อมต่อระหว่างพื้นที่ย่านสถานีกับถนนมิตรภาพสายเก่าและถนนมิตรภาพสายใหม่ด้วย ซึ่งทางกองทัพบกได้อนุญาตให้ดำเนินการก่อสร้างย่านสถานีปากช่องได้ แต่ขอให้มีการพิจารณาเรื่องการก่อสร้างถนนเชื่อมต่อระหว่างพื้นที่ย่านสถานีกับถนนมิตรภาพสายเก่าและถนนมิตรภาพสายใหม่ที่พาดผ่านพื้นที่ร่วมกันอีกครั้ง

//-----------------------

ผุดเมืองใหม่คู่ไฮสปีดเทรน! "ชัชชาติ" ตั้งบอร์ดสรุปแผนพัฒนาที่ดินทุกจังหวัด
หน้าเศรษฐกิจ
โดย: ทีมข่าวเศรษฐกิจ
ไทยรัฐ
8 สิงหาคม 2556, 05:00 น.

นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รมว.คมนาคม เปิดเผยภายหลังการประชุมนโยบายการพัฒนาโครงการรถไฟความเร็วสูงว่า ได้ตั้งคณะอนุกรรมการขึ้นมาเรื่องการพัฒนาเมืองใหม่ เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจควบคู่ไปกับการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน) ซึ่งคณะอนุกรรมการชุดดังกล่าว ประกอบด้วยสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) กรมโยธาธิการและผังเมือง กรมธนารักษ์ และการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) โดยจะต้องสรุปการใช้พื้นที่เมืองใหม่ และสถานีรถไฟความเร็วสูงแต่ละแห่งให้แล้วเสร็จภายใน 1 เดือน

ทั้งนี้ แนวคิดในการพัฒนาพื้นที่แบ่งเป็น 2 แนวคิด คือ 1.ใช้ที่ราชพัสดุ และ 2.ใช้แนวคิดการจัดรูปที่ดิน ซึ่งคณะอนุกรรมการจะต้องเข้าไปพิจารณาพื้นที่ในทุกจังหวัด โดยในส่วนของเส้นทางกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ที่สามารถนำมาพัฒนาได้เป็นพื้นที่แรก คือ พื้นที่ราชพัสดุ ต.หนอง-สาหร่าย อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา ซึ่งเป็นที่ของกองผลิตอุปกรณ์ สายพลาธิการ กองทัพบก มีประมาณ 541 ไร่ ส่วนอีกพื้นที่เป็นของเส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ เป็นที่ราชพัสดุ ต.นครสวรรค์ออก อ.เมือง จ.นครสวรรค์ ซึ่งเป็นที่ตั้งของแผนกสัตวบาลที่ 2 กองการสัตว์เกษตรกรรมที่ 3 กรมการสัตว์ทหารบก กองทัพบก มีประมาณ 3,385 ไร่

นายเกียรติศักดิ์ จันทรา รองอธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมือง กล่าวว่า การจัดรูปที่ดินจะเป็นการพิจารณาที่ดินที่คิดว่ามีประสิทธิภาพมารวมในกลุ่มเดียวกัน หากโครงการรถไฟความเร็วสูงตัดผ่านหรือถนนตัดผ่าน ประชาชนที่สมัครใจจะยังอยู่ในพื้นที่เดิมได้ แต่อาจมีการทอนที่ดินไปบางส่วน ซึ่งประโยชน์ที่ประชาชนได้รับ คือมูลค่าที่ดินที่สูงและอยู่ในพื้นที่ที่มีศักยภาพมีความเจริญ

“หากสถานีใดไม่มีที่ราชพัสดุ ก็ต้องใช้วิธีการจัดรูปที่ดิน ไม่ต้องมีการเวนคืนหรือเวนคืนให้น้อยที่สุด เพื่อไม่ให้ประชาชนเดือดร้อน โดยพื้นที่เมืองใหม่ที่ อ.ปากช่อง น่าจะเป็นโมเดลแรกที่จะได้เห็นเร็วๆนี้”.
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42784
Location: NECTEC

PostPosted: 09/08/2013 2:16 am    Post subject: Reply with quote

โชว์หน้าตารถไฟความเร็วสูง
by wiroon
Voice TV
8 สิงหาคม 2556 เวลา 17:41 น.


นายกรัฐมนตรี และคณะเดินทางโดยรถไฟขบวนพิเศษ กรุงเทพ-หัวหิน ซึ่งเป็นรถไฟต้นแบบในโครงการรถไฟความเร็วสูง โดยกระทรวงคมนาคม ได้โชว์หน้าตาโบกี้รถไฟความเร็วสูงต้นแบบในครั้งนี้ด้วย


รถไฟขบวนพิเศษ หัวลำโพง-หัวหิน ขบวนนี้ เป็นขบวนรถไฟต้นแบบของรถไฟความเร็วสูงในอนาคต ที่นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีและคณะได้ใช้ในการเดินทางพร้อมกับประชุมแผนพัฒนาบริหารจัดการรถไฟไทย และรับฟังรายงานความคืบหน้าโครงการรถไฟความเร็วสูง กรุงเทพฯ-หัวหิน ที่เป็น 1 ใน 4 สาย ตามโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน 2 ล้านล้านบาทของรัฐบาล ที่จะดำเนินการเป็นสายแรก


นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่ารถไฟความเร็วสูงของประเทศไทย จะมีความเป็นเอกลักษณ์ของตัวเอง การตกแต่งภายในขบวนรถไฟแต่ละขบวนจะมีความแตกต่างกัน อย่างเช่นที่นั่ง ผ้าม่าน อุปกรณ์ตกแต่ง รวมถึงตัวขบวนรถไฟ เพื่อแสดงความเป็นเอกลักษณ์ของไทย โดยใช้ผลิตภัณฑ์พื้นบ้านของแต่ละภูมิภาค เพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์ และโบกี้รถไฟจะกลายเป็นตู้แสดงสินค้าไทยเคลื่อนที่


ส่วนความคืบหน้าในการก่อสร้าง ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการรวบรวมข้อมูล เพื่อส่งไปให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม หรือ อีไอเอ ในอีก 2 เดือนข้างหน้า ส่วนการศึกษาเส้นทาง มีความคืบหน้าไปกว่าร้อยละ 80 แล้ว ใน 4 เส้นทาง ส่วนการเวนคืนที่ดินเพื่อทำรางรถไฟนั้น ยังมีไม่มากนัก เนื่องจากส่วนใหญ่จะใช้ตามแนวเส้นทางเดิมของการรถไฟแห่งประเทศไทย โดยเป็นเส้นทางราบ สลับกับการยกระดับ และใช้คันดินเป็นฐาน


จากนี้จึงเหลือ การหาที่ตั้งของสถานีรถไฟความเร็วสูงที่ต้องไม่ห่างจากสถานีรถไฟเดิม และแนวทางการพัฒนาพื้นที่โดยรอบของสถานี เพื่อพัฒนาความเจริญของเมืองนั้นๆ


ซึ่งการเดินทาง วันนี้(8ส.ค.56) นายกรัฐมนตรี ได้หารือกับคณะเรื่องการพัฒนารถไฟไทย ในระดับโครงสร้างของการรถไฟแห่งประเทศไทย บทบาทของการรถไฟในการปฏิรูประบบขนส่งมวลชนระดับชาติ เพื่อเป็นวิธีการเดินทางหลักของคนไทยและการท่องเที่ยว ซึ่งเป็นไปตามแผนการแก้ไขโครงสร้างพื้นฐานของประเทศทั้งระบบอย่างยั่งยืน ภายใต้ 3 ยุทธศาสตร์หลัก คือ
1. ลดการขนส่งทางถนน มาสู่การขนส่งทางระบบรางให้มากขึ้น
2. การเพิ่มความคล่องตัวในการคมนาคม เพื่อลดเวลาการเดินทางและการขนส่งสินค้า
3. เชื่อมการเดินทางทั่วประเทศ เปิดประตูการค้าสู่ประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อเชื่อมโยงประเทศทั้ง 4 ภูมิภาค เพิ่มโอกาสในการขยายธุรกิจ


ขณะที่นายประภัสร์ จงสงวน ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย มองถึงโครงการรถไฟความเร็วสูงที่จะเกิดขึ้นว่า แม้การรถไฟแห่งประเทศจะไม่ได้ดูแลในเรื่องการดำเนินงานโครงการรถไฟความเร็วสูงทั้งหมด เพราะส่วนใหญ่ เป็นการดำเนินงานของสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร หรือ สนข. แต่การรถไฟ ก็มีความสามารถในการช่วยเรื่องระบบราง และการจัดหาที่ตั้งของสถานี เพื่อการพัฒนาความเจริญของเมืองนั้นๆ และเชื่อว่าในอนาคต หากโครงการรถไฟความเร็วสูงดำเนินการเสร็จสิ้น รถไฟจะกลับมาเป็นหัวใจสำคัญในการสร้างความเจริญของเมืองต่างๆ ต่อไป


โครงการรถไฟความเร็วสูง กรุงเทพ-หัวหิน มีระยะทาง 220 กิโลเมตร ผ่าน 4 จังหวัดจะมี 4 สถานี ได้แก่นครปฐม ราชบุรี เพชรบุรี และหัวหิน โดยรถไฟจะวิ่งด้วยความเร็ว 250 กิโลเมตรต่อชั่วโมงตลอดเส้นทางในทางตรง และลดความเร็วลง ในช่วงเส้นทางโค้งและช่วงที่ผ่านตัวเมือง


ด้วยความเร็ว 250 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ขบวนรถ จะต้องใช้ระยะทางถึง 8 กิโลเมตรในการชะลอความเร็ว ก่อนเข้าถึงสถานีเพื่อความปลอดภัย ขณะที่ความเร็วนี้ จะทำให้การเดินทางจาก กรุงเทพ-หัวหิน จะใช้เวลาเพียง 1 ชั่วโมงเท่านั้น
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42784
Location: NECTEC

PostPosted: 09/08/2013 11:13 am    Post subject: Reply with quote

ตั้งกก.พัฒนาเมืองแนวไฮสปีด ระบุใช้แนวทางจัดรูปที่ดินเหมาะสุด ประเดิมโคราชที่แรกชี้1เดือนเห็นผล
มติชน
วันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2556 เวลา 21:16:15 น.

คมนาคมตั้งอนุกรรมการพัฒนาพื้นที่เมืองใหม่ คู่พัฒนาไฮสปีดเทรน คาดสรุปผลได้ใน 1 เดือน ชี้แนวทางที่เหมาะสมที่สุดคือ การจัดรูปที่ดินและใช้ที่ราชพัสดุ เหตุไม่ต้องเวนคืนประชาชนเดือดร้อนน้อย คาดใช้โคราชเป็นต้นแบบ

นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังการประชุมนโยบายการพัฒนาโครงการรถไฟความเร็วสูงว่า ได้ตั้งคณะอนุกรรมการขึ้นมาพิจารณาการพัฒนาเมืองใหม่เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจควบคู่ไปกับการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน) ซึ่งคณะอนุกรรมการชุดดังกล่าวประกอบด้วยตัวแทนจากสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) กรมโยธาธิการและผังเมือง กรมธนารักษ์ และการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) โดยจะต้องสรุปการใช้พื้นที่เมืองใหม่ และสถานีรถไฟความเร็วสูงแต่ละแห่งให้แล้วเสร็จภายใน 1 เดือน โดยแนวคิดการพัฒนาจะใช้ทั้งรูปแบบการใช้ที่ราชพัสดุ และการจัดรูปที่ดิน ซึ่งคณะอนุกรรมการจะต้องไปพิจารณาพื้นที่ในทุกจังหวัด โดยเส้นทางกรุงเทพฯ-นครราชสีมา จะสามารถพัฒนาได้เป็นที่แรก คือ พื้นที่ราชพัสดุ ต.หนองสาหร่าย อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา ประมาณ 541 ไร่ ส่วนอีกพื้นที่ในเส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ เป็นที่ราชพัสดุ อยู่ใน อ.เมือง จ.นครสวรรค์ มีประมาณ 3,385 ไร่

นายเกียรติศักดิ์ จันทรา รองอธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมือง กล่าวว่า การจัดรูปที่ดินจะเป็นแนวทางที่มีประสิทธิภาพในการนำที่ดินตาบอดมาบริหารจัดการใหม่ ประชาชนที่สมัครใจจะยังอยู่ในพื้นที่เดิมได้ แต่อาจมีการตัดทอนที่ดินไปบางส่วน ซึ่งประโยชน์ที่ประชาชนได้รับ คือ มูลค่าที่ดินจะสูงขึ้น เพราะพื้นที่มีศักยภาพมีความเจริญ และเป็นวิธีการที่ไม่ต้องเวนคืน ประชาชนได้รับความเดือดร้อนน้อยที่สุด คาดว่าน่าจะได้เห็นโมเดลแรกที่เมืองใหม่ อ.ปากช่อง ในเร็วๆ นี้

นายจุฬา สุขมานพ ผู้อำนวยการ สนข. กล่าวว่า อยู่ระหว่างปรับแบบพื้นที่การก่อสร้างสถานีไฮสปีดเทรนทุกสาย โดยสายกรุงเทพฯ-พิษณุโลก-เชียงใหม่ ระยะที่ 1 จากกรุงเทพฯ-พิษณุโลก เบื้องต้นกำหนดให้

1) สถานีลพบุรี อยู่ใกล้กับค่ายทหาร คือ ค่ายวชิราลงกรณ์ (ป่าหวาย) ตำบลทะเลชุบศร อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี
2) สถานีพิษณุโลก อยู่ระหว่างหารือเพื่อขอใช้พื้นที่ทหาร ณ ตำบลอรัญญิก อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก ก่อสร้างสถานีอีกครั้ง คาดว่าจะดำเนินการได้แล้วเสร็จและยื่นรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมได้ภายใน 1 เดือน

ส่วนสายกรุงเทพฯ-นครราชสีมา อยู่ระหว่างกำหนดพื้นที่การก่อสร้างสถานีเช่นกัน เบื้องต้นกำหนดพื้นที่ก่อสร้างสถานีนครราชสีมาไว้ก่อนถึงตัวเมืองประมาณ 5 กิโลเมตร โดยเป็นที่ ร.ฟ.ท. แต่จะมีการเวนคืนที่ดินของเอกชนด้วย ซึ่งจุดดังกล่าวจะอยู่ใกล้เคียงกับถนนสาย 304 สามารถเชื่อมโยงการเดินทางของประชาชนได้ทุกทิศทางมากยิ่งขึ้น รวมทั้งจะมีการก่อสร้างสถานีขนส่งรถโดยสารของบริษัท ขนส่ง จำกัด (บ.ข.ส.) ไว้ในพื้นที่ใกล้เคียงเพื่อให้ประชาชนเดินทางได้สะดวก คาดจะสรุปรายละเอียดได้ทั้งหมดและยื่นขออนุมัติผลการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) จากคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ หลังจากที่ยื่นขออนุญาตในสายกรุงเทพฯ-พิษณุโลกแล้วประมาณ 1 เดือน ส่วนสายกรุงเทพฯ-หัวหัวหิน ก็จะยื่นขออีไอเอได้หลังจากยื่นขอสายกรุงเทพฯ-นครราชสีมาไปแล้ว 2 เดือน
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 163, 164, 165 ... 548, 549, 550  Next
Page 164 of 550

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©