RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311328
ทั่วไป:13290545
ทั้งหมด:13601873
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 172, 173, 174 ... 549, 550, 551  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42792
Location: NECTEC

PostPosted: 27/10/2013 1:22 am    Post subject: Reply with quote

^^^
ไปดูงานนิทรรศการที่ว่าแล้วครับ ทำให้ได้เห็นแนวคิดมากมาย - และ ตอนนี้ จีนแดง ก็หมายใจกินรวบเครือข่ายรถไฟความไวสูงด้วย ไม่ใช่แค่สายหนองคาย - ปาดังเบซาร์ และ สาย เชียงใหม่ที่ศึกษาแล้วด้วย

"จีน"ลั่นสนใจไฮสปีดเทรนทุกเส้น เผยสิ้นปีเดินรถยาวครึ่่งโลก
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
27 ตุลาคม พ.ศ. 2556 เวลา 02:06:30 น.


"จีน" โชว์ศักยภาพเดินรถในนิทรรศการรถไฟความเร็วสูงร่วมแอร์พอร์ตลิงก์ ยันแลกสินค้าเกษตรกับไทยเป็นประเทศแรก ด้านแอร์พอร์ตลิงก์ประกาศพร้อมเดินรถ 4 เส้นทางหากรัฐไฟเขียว

เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม องค์การรถไฟแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนร่วมกับบริษัทรถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด ผู้ให้บริการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์ จัดนิทรรศการรถไฟความเร็วสูงแห่งประเทศจีน ที่สถานีมักกะสัน ระหว่างวันที่ 25 ตุลาคม - 25 พฤศจิกายน 2556

นายพีรกันต์ แก้ววงศ์วัฒนา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัทรถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด เปิดเผยว่า บริษัทพร้อมเข้าไปบริหารจัดการเดินรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน) ที่จะมีการก่อสร้างรวม 4 เส้นทางหากรัฐบาลมีนโยบายให้ดำเนินการ เนื่องจากการให้บริการของรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์ถือเป็นกึ่งรถไฟความเร็วสูงอยู่แล้วจึงสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับการให้บริการรถไฟความเร็วสูงในทุกเส้นทางได้ หากมีนโยบายที่ชัดเจนออกมาทางบริษัทพร้อมจะร่วมมือกับมหาวิทยาลัยของรัฐ และผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีรถไฟความเร็วสูงจากจีน จัดหลักสูตรเตรียมความพร้อมเรื่องบุคลากร โดยปัจจุบันบริษัทมีวิศวกรที่ดำเนินงานอยู่แล้วประมาณ 500-600 คน จึงสามารถนำบุคลากรเหล่านี้ไปเพิ่มทักษะเพื่อรองรับการให้บริการรถไฟความเร็วสูงได้

"ระบบต่างๆ รวมถึงขบวนรถไฟที่นำไปให้บริการไฮสปีดเทรนเหมือนกับไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์ มีเพียงระบบอาณัติสัญญาณเท่านั้นที่แตกต่างกัน สามารถใช้ความเร็วได้สูงสุด 160 กิโลเมตร (กม.) ต่อชั่วโมง เพิ่มอีกนิดหน่อยให้วิ่งได้ 200 กม.ต่อชั่วโมงขึ้นไปก็เป็นไฮสปีดเทรนแล้ว ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องยากที่จะทำความเข้าในและเรียนรู้เพิ่มเติม จึงมั่นใจว่าจะสามารถให้บริการเดินรถไฟความเร็วสูงได้แน่นอน" นายพีรกันต์กล่าว

นายโจว หลี ผู้อำนวยการหน่วยควบคุมเทคโนโลยีองค์การรถไฟแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน กล่าวว่า ปัจจุบันทางรถไฟไฮสปีดเทรนของจีนมีความยาว 9,700 กม. และยังอยู่ระหว่างก่อสร้างอย่างต่อเนื่อง สิ้นปีนี้จะมีความยาวถึง 12,000 กม. มีสัดส่วนเกินครึ่งหนึ่งของโลก ส่วนในปี 2563 จะมีความยาวประมาณ 20,000 กม. อย่างไรก็ตามในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา จีนสามารถก่อสร้างได้ 29 เส้นทาง

นายหวาง ตี้ฝู ผู้จัดการโครงการรถไฟไทย-จีน กล่าวว่า จีนสนใจที่จะเข้าร่วมดำเนินโครงการรถไฟความเร็วสูงกับไทยทุกเส้นทาง ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับไทยจะให้จีนเข้าร่วมได้กี่เส้นทาง โดยที่ผ่านมาไทย-จีน ได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจร่วมกัน (เอ็มโอยู) เพื่อศึกษาและอบรมบุคลากรด้านไฮสปีดเทรนด้วย

นางหยิ่น ไห่กง ที่ปรึกษาฝ่ายการเมืองสถานทูตจีน กล่าวว่า การใช้สินค้าเกษตรของไทยแลกกับไฮสปีดเทรนของจีน ทางรัฐบาลจีนมองว่าเป็นจุดยืนในเรื่องของมิตรภาพระหว่างสองประเทศเป็นหลักโดยไทยถือเป็นประเทศแรกที่จีนดำเนินการในลักษณะนี้กับจีน ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในระยะยาวและยังเป็นผลดีในการเป็นศูนย์กลางอาเซียนด้วย
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42792
Location: NECTEC

PostPosted: 27/10/2013 8:54 pm    Post subject: Reply with quote

สองยักษ์ใหญ่รถไฟจีนแข่งขันแย่งตลาดอาเซียน
โดย : น.ส.บุษกร หลี่
ภาพรวมจีน / ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในจีน ณ กรุงปักกิ่ง
17 ตุลาคม 2556
แหล่งข้อมูล : http://www.nbd.com.cn/ (每日经济新闻) (17 ตุลาคม 2556)

เมื่อเร็ว ๆ นี้ นายกรัฐมนตรี หลี่ เค่อเฉียงและนายกรัฐมนตรี ยิ่งลักษณ์ ชินวัตรได้แสดงความคิดเห็นในการให้ความสำคัญต่อความร่วมมือด้านรถไฟความเร็วสูงระหว่างจีน-ไทย ซึ่งได้ดึงดูดความสนใจรถไฟความเร็วสูงจีนให้ “ก้าวออกไปสู่ตลาดต่างประเทศ” จากหลายฝ่าย

ข้อมูลจาก บริษัท CSR (China Southern Locomotive and Rolling Stock Industry Group หรือ中国南车) ชี้ว่า เพื่อสนับสนุนความร่วมมือด้านรถไฟความเร็วสูงระหว่างจีน-ไทยให้กลายเป็นความจริง CSR และหน่วยงานไทยมีความเห็นพ้องกันที่จะก่อตั้งศูนย์วิจัยเทคโนโลยีรถไฟความเร็วสูงจีน-ไทย

ในฐานะที่เป็นคู่แข่งเก่าแก่ของ CSR บริษัท CNR (China Northern Locomotive and Rolling Stock Industry Group หรือ中国北车) ก็ไม่ยอมน้อยหน้า ในช่วงเวลาหลายปีก่อน CNR ก็เริ่มขายรถใต้ดินให้ไทย (CNR Changchun ที่ขายรถไฟฟ้าให้บีทีเอส) นอกจากนี้ ในเดือนกุมภาพันธ์ 2555 CNR ได้ลงนามกรอบข้อตกลงความร่วมมือเชิงยุทธศาสตร์ด้านอุปกรณ์การคมนาคมกับไทย เพื่อพัฒนาตลาดการคมนาคมของไทยร่วมกัน ปัจจุบัน จีนกำลังประสบสถานการณ์ใหม่กับการแย่งชิงการส่งออกรถไฟความเร็วสูงยังตลาดต่างประเทศ ดังนั้น รูปแบบเดิมทีที่กระทรวงรถไฟแบ่งตลาดให้ CSR และ CNR จึงไม่สามารถประยุกต์ใช้กับสภาวะตลาดในปัจจุบันได้อีกแล้ว บริษัทรถไฟยักษ์ใหญ่ 2 แห่งจึงได้เริ่มดำเนินการแข่งขันแย่งตลาดอาเซียนแล้ว ทั้งที่ในอดีตหากมีบริษัทจีนแห่งหนึ่งได้เข้าร่วมโครงการรถไฟของประเทศหนึ่ง บริษัทจีนแห่งอื่นมักจะไม่เข้าร่วมไปแข่งขันอีกแล้ว

ตลาดไทยเป็นสนามแข่งขันแห่งแรกสำหรับการส่งออกอุปกรณ์รถไฟความเร็วสูงของจีน โดยเป็นตลาดใหญ่ที่มีแผนการก่อสร้างเส้นทางรถไฟความเร็วสูงหลายสาย ปัจจุบัน จีน-ไทยได้ร่วมมือกันบรรลุผลงานการศึกษาความเป็นไปได้ในการเปิดเส้นทางรถไฟความเร็วสูงระหว่างกรุงเทพ ฯ –เชียงใหม่และเส้นทางกระเทพ ฯ - หนองคาย

นอกจากตลาดอาเซียนแล้ว จีนยังได้ส่งออกอุปกรณ์รถไฟความเร็วสูงสู่ตลาดกว่า 10 ประเทศและภูมิภาค อาทิ บราซิล ออสเตรเลีย นิวซิแลนด์ อาร์เจนตินา เอเชียกลาง เป็นต้น ทั้งนี้ การแข่งขันระหว่าง CSR และCNR นั้น ได้ทำให้เกิดความห่วงกังวลจากผู้เชี่ยวชาญจีนว่า อาจทำให้ทั้ง 2 บริษัทไม่ได้รับผลดีทั้งคู่ในสุดท้าย แต่น่าจะเป็นผลดีต่อผู้บริโภค ทั้งในด้านราคาและคุณภาพ
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42792
Location: NECTEC

PostPosted: 28/10/2013 2:17 am    Post subject: Reply with quote

กดปุ่มไฮสปีดเทรน ออสเตรเลีย-ซีเมนส์เกทับชิงเค้ก ประมูลกลางปี 57 ส่อเค้าทะลักเดือด
โดย กอง บก.ฐานเศรษฐกิจ
คอลัมน์ : ข่าวหน้า1 - คอลัมน์ : Big Stories
ออนไลน์เมื่อ วันพุธที่ 23 ตุลาคม 2013 เวลา 11:44 น.
หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 33 ฉบับที่ 2,890 วันที่ 24-26 ตุลาคม พ.ศ. 2556

นับหนึ่งประมูลเทคโนโลยีระบบรถไฟความเร็วสูงส่อเค้าทะลักเดือด ค่ายยักษ์ใหญ่ระบบรางชาติมหาอำนาจ ชักแถวพรีเซนต์โชว์ทีเด็ดกับกระทรวงคมนาคมกันคึกคัก คาดเปิดประมูลคัดเลือกระบบรถไฟความเร็วสูงกลางปีหน้า สนข.เผยกรอบโดยสังเขปต้องครอบคลุมทั้ง 5 ระบบ แย้ม"ยิ่งลักษณ์"สั่งใช้โมเดลแอร์พอร์ตลิ้งค์ต่อยอดไฮสปีดเทรน วงในชี้ซีเมนส์/บอมบาดิเยร์แอบซุ่มล้วงข้อมูลคู่แข่งก่อนมาแรงแซงโค้ง

alt หลังจาก"รัฐบาลเพื่อไทย" มีเป้าหมายในปี 2557 จะนำร่องเปิดประมูลคัดเลือกระบบรถไฟความเร็วสูงเฟสแรกเส้นทางกรุงเทพฯ-พิษณุโลกพิษณุโลก ระยะทาง 382 กิโลเมตร ก่อนเส้นทางอื่นๆ ตามแผนการลงทุนในโครงการ 2 ล้านล้านบาทของรัฐบาล ความคืบหน้าล่าสุดก็เริ่มเป็นรูปเป็นร่าง เมื่อผู้ผลิตระบบรถไฟฟ้าหลายราย ไม่ว่าจะเป็นฝรั่งเศส สเปน เยอรมนี เกาหลี แคนาดา ออสเตรเลีย และจีน ฯลฯ แสดงความสนใจเป็นพิเศษที่จะเข้ามาลงทุนโดยเฉพาะเทคโนโลยีระบบรถไฟฟ้า ขณะที่ฝ่ายไทย โดยสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ได้นำส่งรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมหรืออีไอเอให้สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) เป็นที่เรียบร้อยแล้ว
++ไฮสปีดเทรนเริ่มเคลื่อนขบวน
ล่าสุดดร.พิเชฐ คุณาธรรมรักษ์ หัวหน้ากลุ่มพัฒนาโครงข่ายการขนส่งจราจรระหว่างเมืองสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร(สนข.) เปิดเผย"ฐานเศรษฐกิจ"ว่า ที่ผ่านมากระทรวงคมนาคมได้ลงนามบันทึกความร่วมมือหรือเอ็มโอยูอย่างเป็นทางการกับ 4 ประเทศ ได้แก่ จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และฝรั่งเศส เพื่อแลกเปลี่ยนความร่วมมือและจัดส่งบุคลากรไปฝึกอบรมหรือดูงานด้านเทคโนโลยีระบบรางของแต่ละประเทศมาระยะหนึ่งแล้ว โดยเฉพาะหน่วยงานการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(รฟม.),การรถไฟแห่งประเทศไทย(ร.ฟ.ท.) และสนข. ที่จัดส่งเจ้าหน้าที่ไปดูงานคาดว่าเมื่อไทยเปิดประมูลก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงก็จะมีบุคลากรผู้เชี่ยวชาญพร้อมรองรับได้ทันทีอย่างไรก็ดีเมื่อเทียบระบบของแต่ละประเทศ จะมีความโดดเด่นแตกต่างกันไป เช่น ระบบของอัลสตอมที่ ร.ฟ.ท.ใช้งานมากที่สุดในขณะนี้อาจร่วมมือกับซีเมนส์ก็เป็นไปได้ หรือออสเตรเลียที่อยู่เมืองไทยมากว่า 25 ปีจะโดดเด่นด้านการวางราง ด้านเยอรมนีถึงแม้ระบบซีเมนส์จะโดดเด่น แต่บางรายการไม่ใช่ผลิตจากเยอรมนีทั้งหมด บางรายการผลิตมาจากออสเตรเลีย หรือจีน เช่นเดียวกับอัลสตอม บางรายการก็ผลิตจากอิตาลี ในส่วนสเปนมีทั้งนำเข้าและผลิตระบบเองใช้ในประเทศ ดังนั้นฝั่งยุโรปจะสามารถประยุกต์ใช้ระบบร่วมกันได้แทบทั้งหมด ในแถบเอเชียอย่างจีนจะมีทั้งผลิตเองและประยุกต์ใช้จากเทคโนโลยีประเทศต่างๆ เช่นจากฝรั่งเศส เยอรมนีแตกต่างจากไต้หวันที่นำระบบอื่นมาใช้มากกว่าจะผลิตเอง โดยจะผ่านลอดอุโมงค์จำนวนมาก
ส่วนเกาหลีใต้จะเลือกถ่ายทอดเทคโนโลยีของอัลสตอมจากประเทศฝรั่งเศส ดังนั้นระบบที่จะนำมาใช้กับรถไฟความเร็วสูงของไทยจะประยุกต์ใช้จากระบบเอ็กซ์เพรสไลน์รถไฟแอร์พอร์ตลิ้งค์ แต่จะใช้ความเร็วที่สูงกว่า อย่างไรก็ตาม แต่เป็นที่น่าสังเกตว่าจนถึงขณะนี้ค่ายซีเมนต์และบอมบาดิเออร์ยังเก็บตัวเงียบ คงจะรอดูท่าทีของคู่แข่งก่อนเร่งเบียดแซงเข้าแข่งประมูลในช่วงสุดท้าย
ขณะเดียวกันการคัดเลือกระบบรถไฟความเร็วสูงในขณะนี้เป็นเพียงการเริ่มต้นระดับหนึ่งเท่านั้น ระบบที่จะนำมาใช้งานจะต้องสามารถใช้ได้กับทั้ง 4 เส้นทางเนื่องจากการซ่อมบำรุง การบำรุงรักษาด้านอื่นๆยังสามารถวางแผนด้วยกันได้ มากกว่าจะต่างแยกกันดำเนินการ ไม่เว้นแม้แต่การสำรองรถไว้ให้บริการ ต้องวางแผนด้านระบบให้แล้วเสร็จก่อนจึงจะดำเนินการในส่วนอื่นต่อไป
ดังนั้นจะต้องกำหนดรายละเอียดให้ครอบคลุม เช่น ให้ได้ตามมาตรฐานสากล ราคาไม่แพงเกินไป หรือสเปกด้านความปลอดภัย ไม่เว้นแม้แต่เรื่องภูมิอากาศต้องพิจารณาให้เหมาะสมกับประเทศไทย โดยหลังจากนี้คงต้องมีการจัดตั้งหน่วยงานขึ้นมาดูแลด้านระบบโดยศึกษาจากหน่วยงานต่างประเทศที่ประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี ดูให้ครอบคลุมเรื่องเทคโนโลยี บุคลากร การตั้งโรงงานผลิตอุปกรณ์ต่างๆเพราะบางรายการต้องนำเข้าหรืออาจผลิตได้ในประเทศ
++ปี่กลองประมูลรัวกลางปี57
ขณะที่แหล่งข่าวระดับสูงในกระทรวงคมนาคม กล่าวถึงความเคลื่อนไหวจากประเทศผู้ผลิตระบบรถไฟฟ้าหลายรายที่ให้ความสนใจในโครงการไฮสปีดเทรนว่า เชื่อว่าเมื่อเปิดประมูลจะมีหลายบริษัทเข้ามาแข่งขันดุเดือดแน่ แต่จนถึงขณะนี้ยังไม่ได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นมาดำเนินการคัดเลือกระบบรางแต่อย่างใด เนื่องจากแนวคิดของนายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ยังเห็นว่ากระบวนการพิจารณางบประมาณโครงการรถไฟความเร็วสูงที่จัดอยู่ในงบ 2 ล้านล้านบาทยังต้องใช้เวลาพิจารณาอีกหลายเดือน เมื่อผ่านการพิจารณาตามระเบียบกฎหมายครบถ้วนเรียบร้อยแล้วจึงจะแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นมาดำเนินการในเรื่องนี้
"คาดว่าจะสามารถเปิดประมูลคัดเลือกระบบรถไฟความเร็วสูงก่อนในช่วงกลางปี 2557 เพื่อดำเนินการในส่วนอื่นที่เกี่ยวข้องเช่น การประมูลก่อสร้าง การออกแบบตัวรถแสะส่วนประกอบอื่นๆได้อย่างต่อเนื่องกัน"
++โอกาสทองเลือกระบบที่ใช่
สอดรับกับดร.จุฬา สุขมานพ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร(สนข.) ที่กล่าวว่า รถไฟความเร็วสูงเป็นเรื่องใหม่ของไทยโดยมีเทคโนโลยีที่หลากหลาย จึงต้องให้มีการแข่งขันด้านระบบรถไฟก่อนว่าระบบไหนจะเหมาะสมมากที่สุด เนื่องจากระบบจะเป็นตัวกำหนดว่าจะนำไปออกแบบก่อสร้างอย่างไร หากครม.อนุมัติในช่วงครึ่งปีหน้าก็สามารถประมูลด้านระบบได้ทันที สำหรับระบบรถไฟหลักๆจะประกอบด้วยระบบอาณัติสัญญาณ ระบบไฟฟ้าและการวางราง ระบบตัวรถ ระบบสื่อสาร และระบบตั๋วร่วมที่รวมไว้ในข้อเสนอด้านเทคนิคการประมูลครั้งนี้ด้วยจะต้องรวมเป็นแพ็กเกจเข้ามาแข่งขัน
ดังนั้นหากรายไหนถนัดด้านใดก็จะต้องไปจับมือเข้ามาแข่งขันกัน ส่วนการก่อสร้างพื้นฐานค่อยไปดำเนินการในภายหลัง ซึ่งเมื่อทราบระบบแล้วจะทำให้ทราบตัวเลขของการก่อสร้างว่าจะต้องใช้ประมาณเท่าไหร่ ด้านการก่อสร้างไทยสามารถดำเนินการได้แล้วในปัจจุบันแต่อาจร่วมมือกับต่างประเทศได้เช่นกัน คาดว่าจะให้มีการประมูลด้านเทคโนโลยีระบบ และประมูลด้านการก่อสร้าง ดังนั้นช่วงนี้ไทยจึงเป็นโอกาสดีที่จะตักตวงองค์ความรู้จากประเทศต่างๆ ที่ได้เซ็นเอ็มโอยูด้วยการส่งเจ้าหน้าที่ไปดูงานหรือฝึกอบรมกับแหล่งผลิตสำคัญๆแต่ละประเทศเมื่อช่วงการก่อสร้างเริ่มดำเนินการประเทศไทยก็จะมีความพร้อมด้านบุคลากรรองรับได้ทันที
++ชัชชาติเน้นคุมราคากลาง
ก่อนหน้านี้นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวถึงการดำเนินโครงการต่างๆ ภายใต้แผนยุทธศาสตร์พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมว่า ยังต้องมีกระบวนการลงทุนอีก 7 ปีถึงจะให้บริการได้ เป็นเรื่องของอนาคต สำหรับรถไฟความเร็วสูง ก็เป็นการให้บริการประชาชนอีกกลุ่มหนึ่ง จึงต้องดูแผนในภาพรวมให้ครบถ้วนทุกด้าน ดังนั้นตามที่หลายคนมีความกังวลเรื่องการคอร์รัปชัน ทางกระทรวงก็มีความกังวลในเรื่องนี้เช่นกัน ดังนั้นทุกโครงการจึงมีมาตรการดูแลควบคุมทั้งในเรื่องราคากลาง มีการเชิญภาคเอกชนเข้ามาร่วมสังเกตการณ์
++ชู"แอร์พอร์ตลิ้งค์"ต้นแบบ
นายพีระกันต์ แก้ววงศ์วัฒนา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด(แอร์พอร์ตลิงก์) กล่าวว่าการเลือกระบบที่จะนำมาใช้กับไฮสปีดเทรนน่าจะตอบโจทย์ความเหมาะสมของประเทศไทยได้ในหลายด้าน มองในระยะยาวเอาไว้ก่อน แอร์พอร์ตลิ้งคือต้นแบบที่ดีดังที่นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้สั่งให้กระทรวงคมนาคมใช้แอร์พอร์ตลิ้งค์เป็นโมเดลต่อยอดไปสู่รถไฟความเร็วสูงได้ทันทีเนื่องจากบุคลากรแอร์พอร์ตลิ้งมีความพร้อมสามารถต่อยอดการปฏิบัติงานได้ทันที โดยเฉพาะระบบไฟฟ้าเหนือราง ดังนั้นการต่อยอดจากแอร์พอร์ตลิ้งค์น่าจะง่ายขึ้น
++ซีเมนส์เล็งจองเส้นกรุงเทพฯ-ระยอง
ด้านนายเขตรัฐ อุปโยคิน รองประธานอาวุโสและหัวหน้ากลุ่มธุรกิจระบบราง บริษัท ซีเมนส์(ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า บริษัท มีความพร้อมที่จะเข้าร่วมการประมูลระบบอาณัติสัญญาณรถไฟฟ้าเส้นทางส่วนต่อขยายต่างๆ รวมถึงรถไฟความเร็วสูง เพราะกลุ่มซีเมนส์มีความเชี่ยวชาญในการให้บริการด้านอาณัติสัญญาณ สำหรับระบบรถไฟความเร็วสูงในประเทศไทยซีเมนส์เข้าร่วมแข่งประมูลด้วยอย่างแน่นอนเพราะสามารถให้การสนับสนุนได้ทันที และไม่แตกต่างจากระบบที่ซีเมนส์มีอยู่ในปัจจุบัน อีกทั้งยังเปิดให้บริการในจีน รัสเซีย สเปนประสบความสำเร็จมาแล้ว ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องใหม่สำหรับซีเมนส์โดยได้มีการพัฒนาเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่อง
"ระบบรถไฟความเร็วสูง แม้จะมีความเร็วในการวิ่งสูงกว่ารถไฟฟ้าทั่วไป แต่ถือว่าไม่มีความแตกต่างกันมากนัก ซึ่งไม่เพียงในประเทศไทยเท่านั้น ซีเมนส์พร้อมที่จะเข้าร่วมการประมูลระบบอาณัติสัญญาณรถไฟฟ้าในภูมิภาคอาเซียน ที่เกือบทุกประเทศมีแผนดำเนินการลงทุนระบบราง ดังนั้นจึงไม่หนักใจที่จะเข้าร่วมประมูลเพราะมีความพร้อมมากกว่ารายอื่นๆ"นายเขตรัฐ กล่าวและว่า สำหรับในประเทศไทยสายตะวันออกที่มุ่งสู่ระยองซีเมนส์ย่อมมีภาษีดีกว่าแน่ เนื่องจากสามารถเชื่อมต่อระบบได้ทันที อีกทั้งซีเมนส์ได้เข้ามาพัฒนาระบบรถไฟฟ้าในประเทศไทยนานแล้วครอบคลุมทั้งรถไฟฟ้าใต้ดิน แอร์พอร์ตลิ้งค์ บีทีเอส โดยมีบุคลากรผู้เชี่ยวชาญที่เป็นคนไทยเกือบ 100% จึงมีความพร้อมมากกว่ารายอื่นๆ
++ออสเตรเลียคุยระบบรางทันสมัยที่สุด
นายเจมส์ ไวส์ เอกอัครราชทูตออสเตรเลียประจำประเทศไทย (H.E. Mr James Wise, Australian Ambassador to Thailand) กล่าวว่า ระบบขนส่งทางรางของประเทศออสเตรเลียมีความโดดเด่นทั้งด้านการก่อสร้างและการให้คำปรึกษา นอกจากนั้นออสเตรเลียยังได้รับการยอมรับว่ามีระบบรางที่ทันสมัยที่สุดประเทศหนึ่งของโลก เป็นเหตุให้ทั่วโลกให้ความสนใจใน นวัตกรรมทางวิศวกรรมและเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นในออสเตรเลีย ส่วนทางด้านระบบรางเบา ออสเตรเลียก็มีชื่อเสียงไม่แพ้ใครในตั้งแต่การเริ่มต้นวางแผนโครงการ, งานวิศวกรรมก่อสร้าง, ระบบควบคุมการปฏิบัติการ ตลอดจนการดูแลรักษาเพื่อความประหยัดและปลอดภัยสูงสุด
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42792
Location: NECTEC

PostPosted: 28/10/2013 6:14 pm    Post subject: Reply with quote

คำเตือนเรื่องการเอาข้าวแลกรถไฟความไวสูง:

ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์ wrote:
อนิจจา! MOU รถไฟไทย-จีน - ดับฝันชาวไทย

ผมได้อ่านบันทึกความเข้าใจหรือ MOU ระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ว่าด้วยโครงการความร่วมมือของรัฐบาลในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านรถไฟในประเทศไทย โดยแลกเปลี่ยนกับสินค้าเกษตรจากประเทศไทย พอสรุปข้อตกลงที่มีทั้งหมด 7 ข้อ จำนวน 2 หน้า ได้ดังนี้

1. เป็นการตกลงอย่างกว้างๆ ไม่มีรายละเอียดของโครงการ และไม่มีรายละเอียดการแลกเปลี่ยนสินค้าเกษตรกับรถไฟ
2. ไม่มีข้อตกลงเรื่องรถไฟความเร็วสูง โดยเฉพาะสายกรุงเทพฯ - หนองคาย - คุนหมิง ซึ่งเป็นข่าวเกรียวกราวเมื่อเร็วๆ นี้

MOU ไม่ถือว่าเป็นสัญญา แต่เป็นเพียงเจตนารมณ์ของทั้งสองฝ่ายเท่านั้น

กอปรกับ นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รมว.คมนาคม กล่าวว่าการแลกดังกล่าว เป็นเพียงการหารือ ยังไม่มีข้อผูกมัดใดๆ ในการลงทุน ยืนยันว่าจะต้องมีการเปิดประกวดราคานานาชาติเพื่อดำเนินโครงการนี้ (โพสต์ทูเดย์10 ต.ค.56)

ผมนำเรื่องนี้มาเล่าสู่กันฟัง เพื่อลดความคาดหวังของคนบางกลุ่ม โดยเฉพาะชาวหนองคายครับ

https://www.facebook.com/photo.php?fbid=10200708486219690&set=a.3728713981569.2140239.1387533272&type=1&ref=nf

//---------------------------------------------

พณ.แจงโรดโชว์จีน ถกบาร์เตอร์เทรดข้าวแลกรถไฟฟ้า

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 28 ตุลาคม 2556 12:54 น.


นายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าวถึงการเดินทางเยือนประเทศจีน เมื่อปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา ว่า เป็นการเดินทางโรดโชว์ภายในกลุ่มอาเซียน เพื่อชี้แจงสร้างความเข้าใจกับนักลงทุนจีนให้เข้ามาลงทุนในอาเซียน ซึ่งไทยชี้แจงถึงโครงการลงทุน 2 ล้านล้านบาท
นอกจากนี้ ยังหารือกับภาครัฐและเอกชนของจีน ภายใต้ข้อตกลง 2 รัฐบาล ที่จะมีการแลกเปลี่ยนสินค้าภายใต้โครงการบาร์เตอร์เทรด หลังจากนายกรัฐมนตรีทั้งสองประเทศมีข้อตกลงที่จะซื้อขายสินค้าเกษตรแบบรัฐต่อรัฐ หรือ จีทูจี โดยทางจีนมีความสนใจซื้อข้าวแลกกับรถไฟความเร็วสูงของจีน คาดว่า กลางเดือนพฤษจิกายนนี้ จะมีความชัดเจนเกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนสินค้าระหว่างกัน ซึ่งไม่เพียงเฉพาะข้าวเท่านั้น แต่จีนยังมีความสนใจในยางพารา และมันสำปะหลังด้วย
ส่วนสัญญาการซื้อขายข้าวกับจีน 1.2 ล้านตัน คืบหน้าไปมาก แต่ทางไทยกำลังรอเอกสารในการยืนยันการเป็นรัฐวิสาหกิจของผู้ที่ต้องการซื้อข้าวไทย โดยคาดว่าภายในเดือนพฤษจิกายนนี้ จะสามารถลงนามสัญญาระหว่างกันได้ ซึ่งจีนยินดีจะเข้ามาดูแลในการปรับปรุงข้าว และการส่งมอบข้าวจำนวน 1.2 ล้านตัน

//-----------------------------------------------

“นิวัฒน์ธำรง” เผยจีนนัดคุยรถไฟแลกสินค้าเกษตรแล้ว ส่วนเซ็นขายข้าว 1.2 ล้านตันเจอโรคเลื่อน

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 28 ตุลาคม 2556 16:52 น.


“นิวัฒน์ธำรง” เผยจีนยังสนใจซื้อสินค้าเกษตรจากไทย ทั้งข้าว มันสำปะหลัง และยางพารา พร้อมสนลงทุนรถไฟความเร็วสูงแลกสินค้าเกษตร เตรียมส่งผู้แทนหารือรายละเอียดกับไทย ก่อนชงรัฐมนตรีสองฝ่ายหารือสรุปกลาง พ.ย.นี้ ส่วนขายข้าว 1.2 ล้านตันเจอโรคเลื่อน ยังเซ็นไม่ได้ อ้างเอกสารไม่ครบ

นายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ในการเดินทางเข้าร่วมโครงการอาเซียนโรดโชว์ไปจีนเมื่อสัปดาห์ก่อน ได้มีโอกาสหารือกับผู้แทนภาครัฐของจีน และรัฐมนตรีกระทรวงพาณิชย์ของจีน ซึ่งจีนยังคงแสดงความสนใจในการซื้อสินค้าเกษตรจากไทย ทั้งข้าว มันสำปะหลัง และยางพารา และสนใจการลงทุนโครงการรถไฟความเร็วสูง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแผนลงทุนโครงสร้างพื้นฐานจากเงินกู้ 2 ล้านล้านบาทของไทย

ทั้งนี้ รัฐบาลจีนได้จัดตั้งคณะทำงานเพื่อหารือกับฝ่ายไทยในรายละเอียดโครงการแลกเปลี่ยนรถไฟความเร็วสูงของจีนกับสินค้าเกษตรของไทย โดยจีนกำหนดจะส่งผู้แทนเดินทางมาประชุมเตรียมการกับไทยประมาณต้นเดือน พ.ย. 2556 ก่อนที่ฝ่ายไทยนำโดยตนจะเดินทางไปจีนกลางเดือน พ.ย.เพื่อเข้าร่วมการประชุมคณะกรรมการร่วมว่าด้วยความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน และความร่วมมือทางเศรษฐกิจ (Joint Committee) เพื่อหาข้อสรุปในระดับนโยบายต่อไป

สำหรับความคืบหน้าการเซ็นสัญญาขายข้าวในสต๊อกจำนวน 1.2 ล้านตันให้แก่บริษัท เป่ยต้าฮวง ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจของจีน แห่งเมืองฮาร์บิน มณฑลเฮยหลงเจียง คาดว่าจะดำเนินการได้แล้วเสร็จภายในต้นเดือน พ.ย.นี้ หลังจากเดิมกำหนดให้มีการลงนามภายในเดือน ต.ค. 2556 เนื่องจากจีนยังทำเอกสารไม่ครบถ้วน ไทยจึงขอให้ดำเนินการให้สมบูรณ์ก่อน ทำให้การลงนามต้องล่าช้าออกไป

ส่วนสาระสำคัญในสัญญาได้ข้อสรุปแล้ว คือ จะซื้อข้าวขาวปริมาณ 1.2 ล้านตันจากไทยในราคาตลาดแบบยกหน้าคลัง หรือเอ็กซ์แวร์เฮาส์ ซึ่งจะมีราคาถูกกว่าราคาตลาดที่ส่วนใหญ่จะโค้ดราคา ณ ท่าเรือกรุงเทพ หรือเอฟโอบี โดยรัฐวิสาหกิจจีนจะว่าจ้างบริษัทเอกชน ซึ่งอาจเป็นรายใดก็ได้ มาเป็นผู้ตรวจสอบคุณภาพ รับมอบ และปรับปรุงสภาพ ก่อนขนส่งให้ถึงที่หมายในประเทศจีนต่อไป

รายงานข่าวแจ้งว่า การส่งออกข้าวไทย จากรายงานของสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย ระบุว่า การส่งออกตั้งแต่เดือน ม.ค.-23 ต.ค. ปริมาณรวม 4,008,541 ตัน ซึ่งเป็นสถิติเฉพาะที่ส่งออกผ่านการตรวจสอบของสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ขณะที่กระทรวงพาณิชย์รายงานว่า การส่งออกข้าว ม.ค.-ก.ย. 2556 ปริมาณรวม 4,638,816 ตัน ลดลง 1.8% เทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน มูลค่า 3,218 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 0.5% ขณะที่การส่งออกทั้งปี 2555 ปริมาณรวม 6,734,426 ตัน มูลค่า 4,632 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงจากปี 2554 ที่ส่งออกได้ปริมาณ 10,711,550 ตัน มูลค่า 6,432 ล้านเหรียญสหรัฐ

สำหรับราคาส่งออกข้าวแบบเอฟโอบี ข้าวขาว 5% ของไทยตันละ 432 เหรียญสหรัฐ ขณะที่เวียดนามตันละ 405 เหรียญสหรัฐ ข้าว 10% ตันละ 426 เหรียญสหรัฐ สูงกว่าเวียดนามที่ตันละ 400 เหรียญสหรัฐ


Last edited by Wisarut on 29/10/2013 1:13 am; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42792
Location: NECTEC

PostPosted: 28/10/2013 11:56 pm    Post subject: Reply with quote

ชัชชาติเมินจีนลงขันไฮสปีดเทรน จ่อปรับแผนรัฐลงทุนเอง เร่งสางปัญหาหนี้รถไฟ

หน้าเศรษฐกิจ
ไทยโพสต์
29 ตุลาคม พ.ศ. 2556

"ชัชชาติ" จ่อปรับแผนลงทุนรถไฟความเร็วสูง เมินร่วมทุนจีน ย้ำรัฐลงทุนโครงสร้างพื้นฐานเองทั้งหมด พร้อมจ้างเอกชนเดินรถ หวั่นหลังจัดตั้งบริษัทร่วมทุนต้องแบกรับภาระหนี้สินแทน เดินหน้าปรับโครงสร้างบริหาร ร.ฟ.ท.หวังล้างหนี้ แปลงโฉมโรงเรียนรถไฟ รองรับการเดินทางด้วยระบบราง
นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รมว.คมนาคม เปิดเผยว่า ขณะนี้กระทรวงคมนาคมอยู่ระหว่างพิจารณาปรับแนวทางการลงทุนโครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง จากเดิมที่มีแผนที่จะร่วมทุนกับประเทศจีน โดยมีสัดส่วนการถือหุ้นจีน 49% และฝ่ายไทย 51% เป็นไทยจะลงทุนโครงสร้างพื้นฐานเองทั้งหมด และจ้างเอกชนมาเดินรถ เนื่องจากเห็นว่าการให้คนอื่นมาถือหุ้น 49% และบริษัทร่วมทุนยังเป็นรัฐวิสาหกิจ สุดท้ายรัฐบาลต้องรับผิดชอบภาระหนี้ที่อาจจะเกิดขึ้น

“โครงสร้างพื้นฐานให้ผลตอบแทนที่ไม่ใช่ตัวเงิน แต่เป็นเรื่องทางเศรษฐกิจ ลดอุบัติเหตุ ซึ่งการให้เอกชนมาร่วมทุนในขั้นนี้คงยาก ยกเว้นการันตรีว่าจะให้ผลตอบแทน เพราะเอกชนจะมองเรื่องผลประโยชน์เป็นหลัก อย่างโฮปเวลล์เป็นตัวอย่างที่ดี การให้เอกชนเข้ามาร่วมลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน เน้นแต่ผลกำไรไม่ใช่เศรษฐกิจ เมื่อเห็นว่าไม่มีกำไร เขาก็ทิ้ง“ นายชัชชาติกล่าว

สำหรับโครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง ประกอบด้วย 4 สายทาง คือ กรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ระยะเวลา 6 ปี วงเงิน 2.29 แสนล้านบาท, สายกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ระยะ 5 ปี วงเงิน 9.6 หมื่นล้านบาท, สายกรุงเทพฯ-หัวหิน ระยะ 5 ปี วงเงิน 8.2 หมื่นล้านบาท และสายรถไฟเชื่อมสุวรรณภูมิ-ชลบุรี-พัฒนา-ระยอง ระยะ 5 ปี วงเงิน 7.2 หมื่นล้านบาท รวม 4 เส้นทาง ประมาณวงเงินกู้ 4.8 แสนล้านบาท

นายชัชชาติกล่าวถึงแนวทางการแก้ไขปัญหาหนี้สินของการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ว่า ในส่วนของ ร.ฟ.ท.จะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งจะส่งผลต่อการให้บริการ ซึ่งได้เตรียมการพัฒนาไว้แล้ว หาก พ.ร.บ.เงินกู้ 2 ล้านล้านบาท ผ่านการพิจารณาจากสภา สามารถดำเนินการได้ อีกส่วนคือการปรับปรุงโครงสร้างการบริหารงาน ซึ่งได้มีการแบ่งการบริหารงานออกเป็นส่วนธุรกิจ 3 หน่วย (BU)

ขณะที่ปัญหาหนี้สินที่มีมากกว่า 70,000 ล้านบาท ร.ฟ.ท.มีที่ดินจำนวนมาก สามารถเอาที่ดินไปหาประโยชน์เพื่อมาตัดหนี้ได้ โดยจะหารือให้กระทรวงการคลังเป็นผู้ดำเนินการ เนื่องจากเป็นผู้ที่มีความเชี่ยวชาญ นอกจากนี้ จะปรับปรุงโรงเรียนรถไฟเพื่อให้รองรับแผนลงทุนระบบรางของประเทศภายใต้พ.ร.บ.เงินกู้ 2 ล้านล้านบาท

ส่วนองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) จะดำเนินการ 2 แนวทาง คือ การจัดหารถเมล์เอ็นจีวีจำนวน 3,183 คัน ควบคู่ไปกับการปรับโครงสร้างการบริหารตามแผนฟื้นฟู ซึ่งในด้านการจัดหารถเมล์เอ็นจีวีได้มีการทำประชาพิจารณ์ครั้งที่ 5 เพื่อให้เกิดความโปร่งใส คาดว่าภายในสิ้นเดือน ต.ค.นี้ จะสรุปได้ ส่วนด้านการปรับโครงการการบริหารงาน จะเร่งปรับเส้นทางการเดินรถจากเดิมที่มีกว่า 200 สายทาง ให้เหลือเพียง 155 สายทาง เนื่องจากบางสายทางมีความซ้ำซ้อนกัน ส่วนภาระหนี้สินคาดว่าจะให้กระทรวงการคลังรับไป.
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42792
Location: NECTEC

PostPosted: 29/10/2013 1:15 am    Post subject: Reply with quote

“ยิ่งลักษณ์” ถกแผนพัฒนา 4 กลุ่มจังหวัด แนะดูประโยชน์พื้นที่สถานีชินกังเซ็น


โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 28 ตุลาคม 2556 17:45 น.


นายกฯ และ รมว.กห.ประธานมอบนโยบายเร่งด่วนรัฐบาลแผนพัฒนา 4 กลุ่มจังหวัด สภาพัฒน์ดันเหนือท่องเที่ยวอารยธรรมล้านนา กำแพงเพชรนำร่องเกษตรโซนนิ่ง เปิดเชียงรายเศรษฐกิจพิเศษ ชูขอนแก่นศูนย์กลางขนส่งอีสาน ภาคกลางเน้นโยงทวาย ใต้เน้นทุ่งสงเชื่อมโยงลอจิสติกส์ เจ้าตัวแนะดูประโยชน์ย่านสถานีรถไฟฟ้าเร็วสูง

วันนี้ (28 ต.ค.) น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธานการประชุมและมอบนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาลเพื่อติดตามผลการทบทวนแผนพัฒนาจังหวัดและกลุ่มจังหวัด4 ปี (พ.ศ. 2558 - 2561) ทั้งนี้ภายหลังกระทรวงมหาดไทยเป็นเจ้าภาพทบทวนตามนโยบายของรัฐบาลกับผู้ว่าราชการ 76 จังหวัด

นายอาคม เติมวิทยาไพศิษ เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒน์) ให้ข้อมูลต่อนายกรัฐมนตรีว่า หลังจากสภาพัฒน์และกระทรวงมหาดไทยเป็นเจ้าภาพจัดประชุมเชิงปฏิบัติการ 4 ภาคตั้งแต่เดือนกันยายน 2556 พบว่า ตัวชี้วัด 79% ทั้ง 4 กลุ่มจังหวัด รวม 76 จังหวัดยกเว้นกรุงเทพฯ มีความเข้าใจกับแผนพัฒนา ขณะที่แผนพัฒนา ใน 4 กลุ่มที่มีการสรุปเสนอมายังนายกรัฐมนตรี เช่น กลุ่มจังหวัดภาคเหนือ ทั้งภาคเหนือตอนบนกลุ่มที่ 1-2 ภาคเหนือตอนล่างกลุ่มที่ 1-2 ที่มีมิติในเรื่องของต้นน้ำและกลางน้ำ จากโครงการบริหารจัดการน้ำ วงเงิน 3.5 แสนล้านบาท ที่จังหวัดจะต้องไปบูรณาการแผนกับคณะกรรมการบริหารจัดการน้ำและอุทกภัย (กบอ.) รวมทั้งแผนที่จะเข้าสู่เวทีอาเซียน ในปี 2558 เนื่องจากกลุ่มภาคเหนือมีพื้นที่ติดกับชายแดนพม่า มีสินค้าเกษตรเมืองหนาว และการท่องเที่ยวที่หลากหลาย จึงต้องเน้นที่ระบบลอจิสติกส์

นายอาคมกล่าวอีกว่า ขณะที่โครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูงและรถไฟรางคู่ ที่อยู่ในโครงการ 2 ล้านล้านบาทหรืออนาคตประเทศไทย 2020 นั้น จะสามารถต่อยอดไปถึงการท่อเที่ยวทางอารยธรรมล้านนา หรือศูนย์บริหารทางการแพทย์ เป็นต้น ขณะที่การจัดโซนนิ่งภาคการเกษตรใน จ.กำแพงเพชร ก็ถือเป็นพื้นที่นำร่อง ในการนำพื้นที่ปลูกข้าวที่ไม่เหมาะสม มาเป็นพื้นที่ปลูกอ้อย เนื่องจากพื้นที่ดังกล่าวขาดการแปรรูปที่ชัดเจน ขณะที่ จ.เชียงราย จะมีการผลักดันให้เป็นพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษ เปิดตลาดการค้าชายแดน มีการท่องเที่ยวที่เน้นระบบนิเวศน์ หรือการท่องเที่ยวชุมชนมรดกโลก ในพื้นที่กลุ่มภาคเหนือตอนล่าง เป็นต้น

นายอาคมกล่าวว่า ขณะที่กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 20 จังหวัด มีการกำหนดศูนย์กลางระบบขนส่งอยู่ที่จังหวัดขอนแก่น ทั้งรถไฟความเร็วสูงและรถไฟรางคู่ เชื่อมโยงจังหวัดอุบลราชธานี ปากเซ (ลาว) ไปถึงเวียดนาม มีแผนพัฒนาพื้นที่กลุ่มจังหวัดชายแดน หนองคาย บึงกาฬ นครพนม และมุกดาหาร เชื่อมโยงไปยังอาเซียนและถือเป็นจังหวัดที่เปิดประตูสู่อาเซียน ขณะที่การท่องเที่ยวในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กลุ่มจังหวัดตอนบน 1 มีจุดแข็งที่มีสภาพอากาศสบายตลอดปี เช่น จ.เลย ก็พร้อมที่จะพัฒนาเพิ่มขีดความสามารถด้านสถานที่ท่องเที่ยวตามธรรมชาติ โดยเพิ่มกิจกรรมโฮมสเตย์มากขึ้น เป็นต้น

ขณะที่กลุ่มจังหวัดภาคกลาง จะเน้น กลุ่มจังหวัดที่เกี่ยวข้องกับโครงการพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจร่วมกับพม่า ท่าเรือน้ำลึก (โครงการทวาย) ขณะที่แผนเกี่ยวกับระบบโลจิสติกส์ ใน จ.กาญจนบุรี เชื่อมฝั่งตะวันออกและตะวันตกของประเทศก็มีความสำคัญ รวมถึงกลุ่มจังหวัดจันทบุรีและตราด ก็จะมีการพัฒนาเป็นเขตเศรษฐกิจชายแดนร่วมกับประเทศกัมพูชาในอนาคต ส่วนในพื้นที่ จ.เพชรบุรี หรือ จ.ประจวบคีรีขันธ์ก็มองไปที่การท่องเที่ยวด้านสิ่งแวดล้อม เป็นหลัก

สุดท้ายกลุ่มจังหวัดภาคใต้ ที่จะแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ ส่วนของฝั่งอ่าวไทย อันดามัน และ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยในงบ 2 ล้านล้านบาท จะรวมไปถึงโครงการรถไฟรางคู่ และรถไฟความเร็วสูงถึงปาดังเบซาร์ ประเทศมาเลเซีย และการปรับปรุงถนน 4 เลน ส่วนจังหวัดฝั่งอ่าวไทยและอันดามันก็ยังเน้นเรื่องการท่องเที่ยวเมืองชายทะเล เรื่องของอาหารทะเล รวมไปถึงสินค้าเกษตรและยางพาราและปาล์มน้ำมัน ส่วน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ จะมีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และส่งเสริมอุตสาหกรรมการค้าชายแดน

“เรามองไปที่ จ.นครศรีธรรมราช ในพื้นที่ อ.ทุ่งสง ที่จะผลักดันให้เป็น พื้นที่เชื่อมโยงลอจิสติกส์ เซ็นเตอร์ เพราะที่ผ่านมาเรามุ่งเป้าไปที่ท่าเรือภาคเอกชน ใน จ.ตรัง แต่หากมีการเน้นไปที่พื้นที่ อ.ทุ่งสง เป็นพิเศษก็จะสามารถส่งสินค้าจากภาคใต้ไปยังภาคอื่นๆ ได้เหมาะสมขึ้น” นายอาคม กล่าว

ด้าน น.ส.ยิ่งลักษณ์กล่าวว่า แผนพัฒนากลุ่มจังหวัดทั้ง 4 กลุ่ม ควรจะเชื่อมโยงกับงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2558 ที่กำลังจะมีการร่างขึ้น เช่นนำไปเพิ่มเฉพาะจังหวัดที่ขาดเพื่อเติมเต็ม ตามโครงการพื้นฐาน เช่น การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวขนาดใหญ่ ของจังหวัดนั้นๆ

ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรียังขอให้ผู้ว่าราชการจังหวัดฯและสภาพัฒน์ ไปศึกษาการใช้ประโยชน์จากสถานีรถไฟความเร็วสูงที่จะมีการก่อสร้างรอบรับแผน 4 ปีกลุ่มจังหวัด ขณะที่กลุ่มจังหวัดต่าง ๆ ก็ควรจะหาตัวชี้วัดจากงบประมาณ 2 ล้านล้านบาท และงบบริหารจัดการน้ำ3.5 แสนล้านด้วย ส่วนการใช้งบประมาณที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาก็ขอให้สำนักงบประมาณกับสภาพัฒน์ไปศึกษา โดยเบื้องต้นเห็นว่า หากมีการนำไปปรึกษากับกระทรวงที่เกี่ยวข้องอาจจะมีประโยชน์ในการจัดทำงบประมาณมากกว่าอย่างงบประมาณปี 2558 กระทรวงก็อาจจะนำงบประมาณไปลงจังหวัดแทน เช่น สถานที่ท่องเที่ยวตามธรรมชาติก็อาจจะใช้งบประมาณของกระทรงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นต้น
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42792
Location: NECTEC

PostPosted: 29/10/2013 12:02 pm    Post subject: Reply with quote

สนข.เล็งใช้รถไฟความเร็วสูงไต้หวันเป็นต้นแบบระบบรถไฟไทย

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 29 ตุลาคม 2556 10:56 น.


นายจุฬา สุขมานพ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เปิดเผยว่า จากที่ศึกษาดูการบริหารจัดการของบริษัทรถไฟความเร็วสูงของไต้หวัน มองว่าเป็นตัวอย่างที่ไทยสามารถนำมาเป็นต้นแบบในการออกแบบและก่อสร้างได้ โดยเฉพาะระบบความปลอดภัยที่มีคุณภาพ ที่ไทยจำเป็นต้องเร่งพัฒนาและไต้หวันมีจุดเริ่มต้นเหมือนไทย ที่จำเป็นต้องดึงประเทศอื่นเข้ามาช่วยเหลือ ซึ่งภาครัฐให้สัมปทานแก่ภาคเอกชนทำทั้งหมด โดยทางไต้หวันยอมรับว่าระบบนี้ไม่สมบูรณ์แบบ จำเป็นต้องมีภาครัฐเข้ามาถือหุ้นใหญ่ ซึ่งช่วยสร้างความมั่นคงได้มากกว่า เนื่องจากการลงทุนก่อสร้างใช้งบประมาณมากและหากล่าช้าจะยิ่งลงทุนสูงขึ้น โดยจะมีรายได้ก็ต่อเมื่อมีการเปิดเดินรถไฟเท่านั้น ทำให้ในส่วนของไทยจำเป็นต้องพัฒนาพื้นที่โดยรอบที่กำหนดเป็นสถานี เพื่อสร้างเมืองใหม่ให้เกิดการเติบโตทางด้านเศรษฐกิจและสร้างรายได้อีกทาง
นอกจากนี้ จากการศึกษาพบว่าจุดคุ้มทุนในการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงของไทย จะอยู่ประมาณ 22 ปีข้างหน้า โดยทางไต้หวันและญี่ปุ่นมีประมาณการไว้มากกว่า 20 ปีเช่นกัน ซึ่งหลังจากนี้ไทยจะนำประโยชน์ที่ได้จากการศึกษาระบบรถไฟความเร็วสูงของไต้หวัน กลับมาประกอบพิจารณาโครงการของไทย สร้างความมั่นคงระบบคมนาคมในประเทศต่อไป

//-------------------------------------------

ปรับแบบทางด่วนศรีรัช-วงแหวนฯ รอรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพ-หัวหิน


โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 1 เมษายน 2556 21:52 น.

คมนาคมสั่ง กทพ.ประสาน ร.ฟ.ท.เร่งออกแบบรถไฟความเร็วสูงสายใต้ เหตุพื้นที่ก่อสร้างทับซ้อนกับทางด่วนศรีรัช-วงแหวนฯ ก่อนประสาน BECL ปรับแบบฐานรากทางด่วนรองรับ ส่วนเวนคืนด่วนศรีรัชคืบ 79% จ่ายค่าเวนคืนแล้ว 2 พันล้าน ส่งมอบพื้นที่ก่อสร้างช่วงกลางแล้วบางส่วน คาดครบ 100% ใน ก.พ. 57

แหล่งข่าวจากการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าโครงการก่อสร้างทางพิเศษศรีรัช-วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร ระยะทาง 16.5 กิโลเมตรว่า แนวเส้นทางใช้พื้นที่ของการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ซึ่งล่าสุดจะมีพื้นที่บางส่วนทับซ้อนกับโครงการรถไฟความเร็วสูง เส้นทางกรุงเทพฯ-หัวหิน ของรัฐบาล บริเวณหมอชิต 2 และจากบางบำหรุ-ตลิ่งชัน ระยะทางประมาณ 7-8 กิโลเมตร ในขณะที่ทางด่วนศรีรัชต้องเริ่มก่อสร้างก่อน ดังนั้น นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รมว.คมนาคม สั่งการให้ กทพ.หารือร่วมกับ ร.ฟ.ท.เพื่อเจรจาปรับแบบให้ได้ข้อสรุปภายในสัปดาห์นี้ เพื่อประสานกับบริษัท ทางด่วนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BECL เพื่อปรับแบบและเป็นผู้ก่อสร้างในช่วงดังกล่าวให้สอดคล้องกันทั้งทางด่วนและรถไฟความเร็วสูง

ส่วนการเวนคืนที่ดินในพื้นที่ก่อสร้างขณะนี้ กทพ.สามารถส่งมอบพื้นที่ช่วงกลางโครงการ บริเวณจากบางกรวยถึงแถวถนนราชพฤกษ์ให้ผู้รับเหมาได้แล้ว และผู้รับเหมาเตรียมทยอยเข้าพื้นที่ภายในสัปดาห์นี้ เหลือเพียงช่วงต้นและท้ายโครงการ คือ ตั้งแต่หมอชิต 2 ถึงแม่น้ำเจ้าพระยา และช่วงถนนวงแหวนรอบนอกตะวันตก บริเวณโรงกรองน้ำมหาสวัสดิ์ ที่ยังไม่สามารถส่งมอบพื้นที่ได้ โดยความก้าวหน้าของงานอยู่ที่ 79% คิดเป็นเงินที่เวนคืนไปแล้ว 2,000 ล้านบาท จากจำนวนผู้ถูกเวนคืนทั้งสิ้น 600 ราย ที่ดิน 800 แปลง โดยมีงบประมาณในการเวนคืนที่ดินทั้งสิ้น 9,500 ล้านบาท เป็นค่าเวนคืนที่ดินของ ร.ฟ.ท.กว่า 4,000 ล้านบาท ที่ดินของเอกชน 5,000 ล้านบาท มีเป้าหมายเวนคืนที่ดินให้ครบ 100% ในเดือน ก.พ.2557 อย่างไรก็ตามขณะนี้มีผู้ถูกเวนคืนมายื่นขออุทธรณ์แล้ว 300 ราย ซึ่งอยู่ระหว่างการพิจารณาอุทธรณ์เป็นรายๆ ไป โดยการจ่ายค่าเวนคืนจะพิจารณาจากราคาประเมินที่ดิน บวกค่าเสียประโยชน์ และจะบวกเพิ่มอีก 50% สำหรับที่ดินที่เป็นย่านธุรกิจการค้า

สำหรับโครงการทางพิเศษศรีรัช-วงแหวนรอบนอก ก่อสร้างเป็นทางยกระดับขนาด 6 ช่องจราจร แนวสายทางเริ่มต้นที่ทางพิเศษศรีรัช โดยมีจุดเชื่อมต่อกับทางพิเศษศรีรัชบริเวณด้านเหนือของสถานีขนส่งสายเหนือ (หมอชิต 2) จากนั้นแนวสายทางจะไปทางทิศตะวันตก โดยใช้พื้นที่เขตทางรถไฟสายตะวันตก (สายใต้) ตั้งแต่บริเวณบางซื่อและข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณสะพานพระราม 6 หลังจากนั้นแนวสายทางยังคงไปตามเขตทางรถไฟ โดยขนานไปกับถนนบรมราชชนนี จนถึงถนนวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร (ด้านตะวันตก) โดยท้องที่ที่ถูกเวนคืน ได้แก่ อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี และเขตทวีวัฒนา เขตตลิ่งชัน เขตบางพลัด เขตบางกอกน้อย เขตบางซื่อ และเขตจตุจักร
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42792
Location: NECTEC

PostPosted: 30/10/2013 10:08 am    Post subject: Reply with quote

เชื่อเห็นเงาก่อสร้างไฮสปีดเทรนสิ้นปีหน้า


โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 29 ตุลาคม 2556 20:28 น.

ประชุมกลุ่มย่อย ครั้งที่ 1 ศึกษาความเหมาะสม สำรวจและออกแบบรายละเอียดโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูงสายกรุงเทพฯ-ระยอง เป็นข้อมูลทำ EIA ชี้สิ้นปีหน้าเริ่มดำเนินการก่อสรัาง ระบุผ่านเขาชีจรรย์ต้องเจาะอุโมงค์ลอดลดพื้นที่เวนคืนที่ดิน

วันนี้ (29 ต.ค.) กระทรวงคมนาคม โดยการรถไฟแห่งประเทศไทย ได้จัดการประชุมกลุ่มย่อย ครั้งที่ 1 งานบริการที่ปรึกษาเพื่อศึกษาความเหมาะสม สำรวจและออกแบบรายละเอียดโครงการระบบรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ส่วนต่อขยายจากทีาอากาศยานสุวรรณภูมิ-ชลบุรี-พัทยา ไปถึงระยอง หรือโครงการรถไฟความเร็วสูงสายกรุงเทพฯ-ระยอง โดยจัดให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ เอกชน และประชาชนที่สนใจเข้าร่วมเสนอแนะและแสดงความคิดเห็นที่ห้องประชุมเทศบาลเมืองศรีราชา จ.ชลบุรี

ตัวแทนกลุ่มบริษัทที่ได้รับการว่าจ้างจากการรถไฟแห่งประเทศไทยให้ศึกษาโครงการ เผยว่าได้เปิดตัวโครงการอย่างเป็นทางการไปแล้ว สำหรับในครั้งนี้อยู่ในช่วงระยะของการสร้างการรับรู้ในข้อมูลเหตุผล และความจำเป็นของโครงการ รวมทั้งนำเสนอการศึกษาแนวเส้นทางเลือกที่เหมาะสมจากผู้เข้าร่วมประชุม ต่อด้วยการพิจารณารายละเอียดเรื่องตารางการเดินรถ ราคาค่าโดยสารที่มีความเหมาะสม ก่อนจะรวบรวมข้อเสนอแนะจากที่ประชุมเป็นขัอมูลสนับสนุนการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ด้านสิ่งแวดล้อม (EIA)

จากนั้นจะเป็นการประชุมรับฟังความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย หรือผู้ได้รับผลกระทบโดยตรงจากการดำเนินโครงการ และสรุปแนวทางดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรม โดยประมาณการว่าประมาณเดือนธันวาคมปีนี้จะสามารถสรุปโครงการได้ และประมาณกลางปีจะเป็นการเปิดประมูลโครงการคัดเลือกผู้รับเหมา ก่อนเริ่มดำเนินการก่อสร้างประมาณปลายปี 2557 ใช้ระยะเวลาก่อสร้างประมาณ 4-5 ปี ซึ่งมีแผนเปิดใช้อย่างเป็นทางการในปี 2562 หรืออีก 6 ปีข้างหน้า

ทั้งนี้ ด้วยขนาดของประเทศ และความเหมาะสมในการใช้พลังงาน คณะทำงานของการรถไฟแห่งประเทศไทย จึงพิจารณากำหนดความเหมาะสมของความเร็วในการเดินรถไฟฟ้าความเร็วสูงอยู่ที่ 250 กม./ชม. ในส่วนสายตะวันออก กรุงเทพฯ-ชลบุรี-ระยอง มีระยะทาง 206 กม. ในที่ประชุมได้มีการพิจารณาแนวทางการคัดเลือกพื้นที่ก่อสร้างสถานีรถไฟฟ้าของเมืองต่างๆ ที่เส้นทางเดินรถพาดผ่าน และพื้นที่เวนคืนที่ดิน โดยจะยึดแนวทางรถไฟรางคู่เดิม แต่ด้วยความเร็วของรถไฟฟ้าความเร็วสูงจำเป็นต้องมีการปรับแนวรัศมีตามความโค้งให้เกิดความสมดุลเพื่อความปลอดภัย พื้นที่ที่ทำการเวนคืนจึงขยายเพิ่มขึ้น

โดยพื้นที่ที่ต้องถูกเวนคืนส่วนใหญ่จะอยู่นอกเขตเมือง ได้มีการศึกษาพื้นที่สำหรับแต่ละสถานีให้สอดคล้องกับกรมโยธาธิการและผังเมือง ในส่วนสถานีฉะเชิงเทรา คณะทำงานพิจารณาแล้วว่าจังหวัดฉะชิงเทรา เป็นจังหวัดที่มีการเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งเรื่องอุตสาหกรรม และเรื่องการท่องเที่ยว จึงต้องดูว่าพื้นที่ก่อสร้างสถานีนั้นเหมาะสมต่อความเป็นอย่างท้องถิ่นด้วย และในเส้นทางเดินรถจากพัทยาถึงระยอง ในช่วงเขาชีวจรรย์ในพื้นที่อำเภอสัตหีบ-ชลบุรี สภาพรางคู่แบบเดิมต้องอ้อมหัวเขาซึ่งจะทำให้มีการเวนคืนพื้นที่เป็นจำนวนมาก จึงตกลงมติก่อสร้างอุโมงค์เจาะทะลุเขาในระยะ 500 ม. เพื่อต่อไปยังสถานีระยองต่อไปด้วย

//------------------------------------------------------
แล้วที่เขาพระบาทแถวบางพระหละครับจะว่ากระไร
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42792
Location: NECTEC

PostPosted: 30/10/2013 10:18 am    Post subject: Reply with quote

คำเตือนยก 2
ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์ wrote:
ทำไมทั่วโลกใช้ไฮสปีดเทรนแค่ 15 ประเทศ

จำนวนประเทศในโลกมีเกือบ 200 ประเทศ แต่ประเทศที่ใช้รถไฟความเร็วสูงมีอยู่อย่างจำกัดแค่เพียงประมาณ 15 ประเทศ เท่านั้น ถือว่าน้อยมากเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศที่ใช้เครื่องบินพาณิชย์ ซึ่งมีอยู่เกือบทั่วโลก ที่เป็นเช่นนี้เพราะเหตุผลบางประการหรือทุกประการ (ขึ้นอยู่กับแต่ละประเทศ) ดังนี้
1.จำนวนประชากรไม่หนาแน่น
2.เงินลงทุนและค่าบำรุงรักษาสูง
3.รายได้เฉลี่ยต่อหัวต่ำ
4.การจราจรทางอากาศยังไม่ถึงจุดอิ่มตัว

ด้วยเหตุผลดังกล่าวทำให้รถไฟความเร็วสูงมักจะไม่คุ้มค่ากับการลงทุน

https://www.facebook.com/photo.php?fbid=10200720782647093&set=a.3728713981569.2140239.1387533272&type=1&theater
Back to top
View user's profile Send private message
birdnakrub
3rd Class Pass
3rd Class Pass


Joined: 30/11/2011
Posts: 13

PostPosted: 30/10/2013 3:23 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
คำเตือนยก 2
ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์ wrote:
ทำไมทั่วโลกใช้ไฮสปีดเทรนแค่ 15 ประเทศ

จำนวนประเทศในโลกมีเกือบ 200 ประเทศ แต่ประเทศที่ใช้รถไฟความเร็วสูงมีอยู่อย่างจำกัดแค่เพียงประมาณ 15 ประเทศ เท่านั้น ถือว่าน้อยมากเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศที่ใช้เครื่องบินพาณิชย์ ซึ่งมีอยู่เกือบทั่วโลก ที่เป็นเช่นนี้เพราะเหตุผลบางประการหรือทุกประการ (ขึ้นอยู่กับแต่ละประเทศ) ดังนี้
1.จำนวนประชากรไม่หนาแน่น
2.เงินลงทุนและค่าบำรุงรักษาสูง
3.รายได้เฉลี่ยต่อหัวต่ำ
4.การจราจรทางอากาศยังไม่ถึงจุดอิ่มตัว

ด้วยเหตุผลดังกล่าวทำให้รถไฟความเร็วสูงมักจะไม่คุ้มค่ากับการลงทุน

https://www.facebook.com/photo.php?fbid=10200720782647093&set=a.3728713981569.2140239.1387533272&type=1&theater


ด้วยความเคารพครับ
การเอาเหตุผล 15 ใน 200 ประเทศนั้น มันคงไม่ค่อยจะสมเหตุสมผลครับ
เพราะ ประเทศเล็กๆอย่าง มัลดีฟ วาติกัน โมนาโก นาอูรู ตูวาลู ฯลฯ
ต่อให้เค้าอยากมี รถไฟ คงทำได้แค่รถรางมั้งครับ การเอามาถ่วงใน 15 ใน 200 มันไม่ค่อยสมเหตุสมผล
(อ้างอิง: http://hilight.kapook.com/view/34959 )

แล้วอย่างประเทศที่ยากจนมากๆ รวมถึงสภาพเศรษฐกิจไม่พร้อม เช่น เอธิโอเปีย ไนเจอร์ อัฟริกากลาง กินีบิสเซา ฯลฯ เอามาเป็นตัวถ่วงอยู่ 15 ใน 200 มันก็ไม่เหมาะสมเช่นกัน
(อ้างอิง: http://travel.mthai.com/world-travel/37515.html )

การที่จะใช้เหตุผลนี้ ควรเอาประเทศที่มีสภาพทางเศรษฐกิจใกล้เคียงกันมาถ่วงดีกว่าไหมครับ อย่างบ้านเราก็เทียบกับเพื่อนบ้านมาภูมืภาค (ถ้าเทียบจริงๆเพื่อนๆบ้านเราก็เอา รถไฟความเร็วสูงอยู่ดี)

ส่วนตัวผมว่าสร้างความเร็วระดับ ARL (160 Km/Hr) ทั่วประเทศมันก็น่าใช้แล้วนะครับ ไม่ต้องเร็วถึงระดับ 200-250 Km/Hr หรอกครับ วิ่ง 160 Km/Hr ไม่มีรถส่วนตัวคันไหนวิ่งยาวๆทันแล้ว ความเร็วระดับแค่นี้ น่าจะลดค่าใช้จ่ายได้เยอะ ค่าตั๋วไม่แพง คนทั่วๆไปขึ้นไหว และยังมีพื้นที่ให้ธุรกิจสายการบินโลว์คอร์สยังโตได้ต่ออีก

ขอแสดงความเห็นเท่านี้ครับ
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 172, 173, 174 ... 549, 550, 551  Next
Page 173 of 551

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©