Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311329
ทั่วไป:13290838
ทั้งหมด:13602167
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟฟ้าสายสีแดงเข้ม(บางซื่อ-รังสิต และ บางซื่อ-หัวลำโพง)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟฟ้าสายสีแดงเข้ม(บางซื่อ-รังสิต และ บางซื่อ-หัวลำโพง)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 19, 20, 21 ... 149, 150, 151  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42793
Location: NECTEC

PostPosted: 09/12/2013 11:49 am    Post subject: Reply with quote

บอร์ด ร.ฟ.ท.ฟันธงประมูลระบบสายสีแดงไม่ฮั้ว เดินหน้าเปิดเทคนิค ITD-CK ลุ้นงาน 2.8 หมื่นล้าน


โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 9 ธันวาคม 2556 09:07 น.

บอร์ด ร.ฟ.ท.สรุปเดินหน้าเปิดซองเทคนิคสัญญา 3 งานระบบรถไฟสายสีแดง 2.88 หมื่นล้าน หลังพิจารณาความเห็นรอบด้าน ชี้ผู้ยื่นข้อเสนอ 2 กลุ่มมีกรรมการอิสระร่วมกันไม่เข้าข่ายฮั้วตามเงื่อนไข JICA ด้านกลุ่ม CK ลุ้น กก.ประมูลพิจารณาคุณสมบัติใหม่ หวังได้สิทธิ์เปิดซองเทคนิคด้วย

แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคมเปิดเผยถึงความคืบหน้าโครงการก่อสร้างระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดง บางซื่อ-รังสิต สัญญา 3 งานระบบไฟฟ้าและเครื่องกล รวมตู้รถไฟฟ้าบางซื่อ-รังสิต และบางซื่อ-ตลิ่งชัน มูลค่า 28,899 ล้านบาท ของการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ว่า ที่ประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) ร.ฟ.ท.ที่มีนายบุญสม เลิศหิรัญวงศ์ เป็นประธาน เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายนที่ผ่านมา ได้มีมติเห็นชอบให้เดินหน้าการประกวดราคาต่อไปได้ หลังจากพิจารณาข้อมูลจากความเห็นคณะกรรมการประกวดราคาโครงการฯ ที่มีนายภากรณ์ ตั้งเจตสกาว รองผู้ว่าฯ ร.ฟ.ท.เป็นประธาน และความเห็นจากบริษัท AEC ที่ปรึกษาโครงการ ซึ่งได้ว่าจ้างบริษัท กำธร สุรเชษฐ แอนด์ สมศักดิ์ จำกัด สำนักงานทนายความ ตรวจสอบประเด็นที่มีผู้ยื่นข้อเสนอทั้ง 2 รายมีกรรมการทับซ้อน ซึ่งได้ให้ความเห็นว่า กรณีดังกล่าวไม่ถือว่าเป็นผู้เสนอราคาร่วมกันตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี เพราะกรรมการที่ทับซ้อนเป็นเพียงกรรมการอิสระไม่มีอำนาจบริหารงาน

นอกจากนี้ บอร์ดได้มอบหมายให้คณะกรรมการประกวดราคาโครงการฯ ไปพิจารณาประเด็นเพิ่มเติม กรณีที่กิจการร่วมค้า SMCK Consortium (บริษัท SIEMENS Ak piengesellschaft บริษัท SIEMENS LIMITED บริษัท MITSUBISHI CORPORATION และบริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) หรือ (CK) เสนอขอให้ ร.ฟ.ท.พิจารณาทบทวนเรื่องคุณสมบัติเบื้องต้นอีกครั้ง หลังจากที่คณะกรรมการประกวดราคาฯ ได้ตัดสินให้กลุ่ม SMCK Consortium ไม่ผ่านการพิจารณาคุณสมบัติเบื้องต้นไปแล้ว เนื่องจากไม่ยอมแจกแจงรายการผลงานในรอบปีที่ผ่านมา

แหล่งข่าวกล่าวว่า หลังจากคณะกรรมการประกวดราคาฯ พิจารณาข้อเสนอของกลุ่ม SMCK Consortium เสร็จจะจัดส่งรายละเอียดทั้งหมดไปให้องค์การความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งประเทศญี่ปุ่น (JICA) พิจารณา หาก JICA เห็นด้วยจึงจะสามารถดำเนินการเปิดข้อเสนอทางเทคนิคได้ทันที ซึ่งคาดว่า JICA จะตอบกลับมาภายในเดือนมกราคม 2557

โดยกลุ่ม SMCK Consortium เป็นกลุ่มที่มีปัญหากรรมการทับซ้อนกับกลุ่ม MHSC Consortium (บริษัท MITSUBISHI Heavy Industrial Ltd บริษัท Hitachi และบริษัท Sumitomo Corporation) ซึ่งเป็นหนึ่งในบริษัทที่ผ่านการพิจาารณาคุณสมบัติเบื้องต้นแล้ว ส่วนอีกกลุ่มคือกิจการร่วมค้า MIR Consortium (บริษัท Maru Beni coporation บริษัท อิตาเลียนไทย ดิเวล็อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) หรือ ITD และ บริษัท Hyundai Rotem Company)
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42793
Location: NECTEC

PostPosted: 16/12/2013 3:57 pm    Post subject: Reply with quote

ร.ฟ.ท.จ่อเลิกปรับแบบสถานีกลางบางซื่อ หวั่นไฮสปีดเทรนไม่เกิด-ลงทุนไม่คุ้มค่า
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 16 ธันวาคม 2556 09:01 น.
หวั่นไฮสปีดเทรนดไม่เกิด
โดย ASTVผู้จัดการรายวัน 15 ธันวาคม 2556 17:50 น.

ปรับแบบสถานีกลางบางซื่อเจอทางตัน เผยยุบสภาแช่แข็งรถไฟความเร็วสูง หวั่นทุ่มอีก 6-7 พันล. สร้างสถานีเผื่ออาจไม่คุ้ม ผอ.สนข.เผยบอร์ดร.ฟ.ท.ต้องเร่งตัดสินใจยกเลิก เพื่อเดินหน้าตามแบบเดิม เผยล่าช้ากล้ว 6 เดือน ด้านผู้รับเหมาทวงถามหวั่นลทำต้นทุนเพิ่ม

นายจุฬา สุขมานพ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ในฐานะกรรมการ (บอร์ด) การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยว่า การปรับแบบสถานีบางซื่อของโครงการก่อสร้างรถไฟชานเมืองสายสีแดง บางซื่อ-รังสิต สัญญาที่ 1 (งานก่อสร้างสถานีกลางบางซื่อและอาคารซ่อมบำรุง) วงเงิน 29,826 ล้านบาท เพื่อให้โครงสร้างสามารถรองรับกับโครงการรถไฟความเร็วสูง(ไฮสปีดเทรน)ด้วยนั้น อาจจะต้องพิจารณาใหม่เนื่องจากมีการยุบสภาเพราะส่งผลต่อการดำเนินโครงการรถไฟความเร็วสูงว่าอาจจะต้องชะลอออกไปอีกนานหรือโครงการอาจจะไม่เกิดขี้นหากรัฐบาลชุดใหม่ไม่มีนโยบาย ซึ่งหากเป็นเช่นนั้าจะกระทบต่อการก่อสร้างรถไฟสายสีแดงแน่นอน โดยขณะนี้ภาพรวมสัญญา 1 สายสีแดง มีความล่าช้าแล้ว 3 เดือน ส่วนงานสถานีบางซื่อล่าช้าประมาณ 6 เดือนแล้ว

ดังนั้น ขณะนี้ยังไม่แน่ใจว่าต้องมีการปรับแบบอีกหรือไม่ โดยที่ผ่านมานั้น ร.ฟ.ท.ได้สั่งให้กลุ่มกิจการร่วมค้า SU (บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ STEC และบริษัท ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ UNIQ ) ผู้รับเหมางานสัญญาที่ 1 ชะลอการก่อสร้างสถานีกลางบางซื่อเพื่อรอการปรับแบบโดยให้ดำเนินการในส่วนอื่นที่ไม่มีปัญหาไปก่อน โดยเบื้องต้น การปรับโครงสร้างเพื่อรองรับรถไฟความเร็วสูงด้วย ทำให้วงเงินค่าก่อสร้างเพิ่มขึ้นอีกประมาณ 6,000-7,000 ล้านบาท

นายจุฬากล่าวว่า เพื่อไม่ให้การก่อสร้างรถไฟสายสีแดงล่าช้ามาก ร.ฟ.ท.จะต้องเร่งตัดสินใจแก้ปัญหาแบบสถานีกลางบางซื่อ ซึ่งมีความเป็นไปได้ว่าอาจจะต้องให้กลุ่ม SU ดำเนินการก่อสร้างตามแบบเดิมที่ไม่มีการปรับแบบเพื่อรองรับรถไฟความเร็วสูง ส่วนรถไฟความเร็วสูงนั้นหากรัฐบาลชุดใหม่ยังเดินหน้านโยบายอยู่จะแก้ปัญหาด้วยการหาจุดใกล้เคียงพื่อก่อสร้างสถานีแยกต่างหาก หรือหากไม่มีพื้นที่ อาจจะใช้สถานีรายทางที่มีในแผนอยู่แล้ว เช่น ดอนเมือง เป็นจุดต่อเชื่อมกับรถไฟสายสีแดงแทน ซึ่งจะต้องเสนอต่อที่ประชุมบอร์ด ร.ฟ.ท.ที่มีนายบุญสม เลิศหิรัญวงศ์ เป็นประธาน พิจารณาก่อนว่าจะเห็นด้วยหรือไม่

“แบบสถานีกลางบางซื่อของรถไฟสายสีแดงต้องทำเผื่อไว้รับรถไฟความเร็วสูงโดยจะให้มีชานชลาเข้ามาอยู่ด้วยกันเพื่อสะดวกในการเชื่อมต่อการเดินทาง แต่เมื่อยุบสภา ทำให้การก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงมีความไม่แน่นอนว่าจะเกิดขึ้นหรือไม่ เพราะเป็นเรื่องนโยบาย ซึ่งถ้าปรับแบบสถานีกลางบางซื่อไว้รองรับแต่รถไฟความเร็วสูงไม่เกิดก็ไม่คุ้มค่าหากสร้างไปโดยไม่เผื่อไว้ ถ้าภายหลังต้องการให้มีรถไฟความเร็วสูง จะยิ่งมีปัญหา เพราะคงทุบสถานีที่สร้างไปแล้วคงไม่ได้ ในขณะที่จะรอนโยบายให้ชัดเจนก็คงจะนานมาก ซึ่งตอนนี้โครงการสายสีแดงมีความล่าช้ามากแล้ว ผู้รับเหมาสอบถามว่าจะเอาอย่างไรเพราะที่ผ่านมาต้องข้ามช่วงสถานีกลางไปก่อสร้างตรงอื่นก่อนทำให้มีต้นทุนเพิ่มด้วย" นายจุฬา กล่าว

สำหรับแบบเดิมสถานีกลางบางซื่อจะมี 2 ชั้น ขนาดชานชาลากว้าง 250 เมตร ชั้นที่ 1 รองรับรถไฟทางไกล ชั้นที่ 2 รองรับรถไฟสายสีแดงและรถไฟฟ้า ส่วนแบบปรับใหม่จะเพิ่มชั้นที่ 3 รองรับรถไฟความเร็วสูง โดยชานชาลาต้องกว้างถึง 400 เมตร และต้องปรับโครงสร้างฐานรากให้มีความแข็งแรงมากขึ้น เพราะหากก่อสร้างสถานีกลางไปก่อนแล้วมาปรับให้รับรถไฟความเร็วสูงภายหลังจะเกิดปัญหาอย่างมากถึงขั้นต้องทุบสถานีแล้วสร้างใหม่ทั้งหมด
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44889
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 16/12/2013 7:32 pm    Post subject: Reply with quote

สร้างตามแบบเดิมไปเลยครับ อย่าไปหวังน้ำบ่อหน้า สายสีแดงล่าช้าสุด ๆ
ดีไม่ดีทางด่วนศรีรัช-วงแหวนรอบนอกเสร็จเปิดใช้งานได้แล้ว สายสีแดงยังไม่ไปถึงไหน Confused
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42793
Location: NECTEC

PostPosted: 18/12/2013 8:33 pm    Post subject: Reply with quote

^^^
แต่บางคนแม่ง จะเอาสถานีบางซื่อที่มีชั้น 3 และ ชานชลายาว 400 เมตรองรัะบรถไฟความไวสูงให้ได้ ไม่งั้นไม่ยอม เด็ดขาด ทั้งๆที่ไม่ได้จ่ายเงินเพิ่มอีก 7 พันล้านเพื่อทำสิ่งนั้น

ปรับปรุงสถานีบางซื่อป่วน
โดย: ทีมข่าวกทม.
หน้าข่าวทั่วไทย - กทม.
ไทยรัฐ
17 ธันวาคม 2556, 05:00 น

ไฮสปีดเทรนไม่ชัวร์-แบบสถานีไม่แน่นอนทำสายสีแดงช้าซ้ำ

นายจุฬา สุขมานพ ผอ.สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ในฐานะบอร์ดการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยถึงการปรับแบบสถานีบางซื่อของโครงการก่อสร้างรถไฟชานเมืองสายสีแดง บางซื่อ-รังสิต สัญญาที่ 1 (งานก่อสร้างสถานีกลางบางซื่อและอาคารซ่อมบำรุง) วงเงิน 29,826 ล้านบาท เพื่อให้โครงสร้างสามารถรองรับกับโครงการรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน) ว่า อาจจะต้องพิจารณาใหม่ เนื่องจากมีการยุบสภาเพราะส่งผลต่อการดำเนินโครงการรถไฟความเร็วสูงว่าอาจจะต้องชะลอออกไปอีกนาน หรือโครงการอาจจะไม่เกิดขึ้นหากรัฐบาลชุดใหม่ไม่มีนโยบาย ซึ่งหากเป็นเช่นนั้นจะกระทบต่อการก่อสร้างรถไฟสายสีแดงแน่นอน โดยขณะนี้ภาพรวมสัญญา 1 สายสีแดง มีความล่าช้าแล้ว 3 เดือน ส่วนงานสถานีบางซื่อล่าช้าประมาณ 6 เดือนแล้ว ทั้งนี้ ขณะนี้ยังไม่แน่ใจว่าต้องมีการปรับแบบอีกหรือไม่ โดยที่ผ่านมานั้น ร.ฟ.ท.ได้สั่งให้กลุ่มกิจการร่วมค้า SU (บริษัท ซิโน-ไทยฯ) และบริษัท ยูนิค ผู้รับเหมางานสัญญาที่ 1 ชะลอการก่อสร้างสถานีกลางบางซื่อเพื่อรอการปรับแบบ โดยให้ดำเนินการในส่วนอื่นที่ไม่มีปัญหาไปก่อน

นอกจากนี้ เพื่อไม่ให้การก่อสร้างรถไฟสายสีแดงล่าช้ามาก ร.ฟ.ท.จะต้องเร่งตัดสินใจแก้ปัญหาแบบสถานีกลางบางซื่อ ซึ่งมีความเป็นไปได้ว่าอาจจะต้องให้กลุ่ม SU ดำเนินการก่อสร้างตามแบบเดิมที่ไม่มีการปรับแบบเพื่อรองรับรถไฟความเร็วสูง ส่วนรถไฟความเร็วสูงนั้นหากรัฐบาลชุดใหม่ยังเดินหน้านโยบายอยู่ จะแก้ปัญหาด้วยการหาจุดใกล้เคียงเพื่อก่อสร้างสถานีแยกต่างหาก หรือหากไม่มีพื้นที่ อาจจะใช้สถานีรายทางที่มีในแผนอยู่แล้ว เช่น ดอนเมือง เป็นจุดต่อเชื่อมกับรถไฟสายสีแดงแทน ซึ่งจะต้องเสนอต่อที่ประชุมบอร์ด ร.ฟ.ท.ที่มีนายบุญสม เลิศหิรัญวงศ์ เป็นประธาน พิจารณาก่อนว่าจะเห็นด้วยหรือไม่

รายงานข่าวแจ้งว่า สำหรับแบบเดิมสถานีกลางบางซื่อจะมี 2 ชั้น ขนาดชานชาลากว้าง 250 เมตร ชั้นที่ 1 รองรับรถไฟทางไกล
ชั้นที่ 2 รองรับรถไฟสายสีแดงและรถไฟฟ้า

ส่วนแบบปรับใหม่จะเพิ่มชั้นที่ 3 รองรับรถไฟความเร็วสูง โดยชานชาลาต้องกว้างถึง 400 เมตร และต้องปรับโครงสร้างฐานรากให้มีความแข็งแรงมากขึ้น เพราะหากก่อสร้างสถานีกลางไปก่อน แล้วมาปรับให้รับรถไฟความเร็วสูงภายหลังจะเกิดปัญหาอย่างมากถึงขั้นต้องทุบสถานีแล้วสร้างใหม่ทั้งหมด.
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44889
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 18/12/2013 9:30 pm    Post subject: Reply with quote

จากประสบการณ์ที่ผ่านมา โครงการต่าง ๆ ในบ้านเรา น้อยมากที่สร้างอะไรเผื่อไว้ล่วงหน้า แล้วได้ใช้จริงครับ
ไม่ว่าจะเป็น สถานีแอร์พอร์ตลิงก์มักกะสัน ที่ใหญ่โตเกินความจำเป็น หรือ ตอม่อกลางถนนเกษตร-นวมินทร์ที่เผื่อไว้สำหรับทางด่วน
ถนนเลียบคลองบางเขน ด้านทิศเหนือของ ม.เกษตรศาสตร์ ก็ยังไม่ได้สร้างต่อ
สถานีในอนาคต ของ BTS ที่อยู่บนกระดาษ คือ เสนาร่วม ศึกษาวิทยา ก็คงไม่สร้าง (แม้จะทำตอม่อแบบพิเศษกว่าตอม่ออื่นเตรียมไว้ก็ตาม)

ที่เห็นเป็นรูปธรรมว่าพยายามสร้างจนเสร็จ ก็มีแต่สนามบินสุวรรณภูมิกระมังครับ

อย่าให้เหมือน สปป.ลาวครับ มัวแต่รอรถไฟความเร็วสูง หาที่ลงสถานีเวียงจันทน์ไม่ได้ รถไฟธรรมดาส่วนต่อขยายจากท่านาแล้งก็เลยไม่ได้ลงมือเสียที Confused
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44889
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 24/12/2013 3:12 pm    Post subject: Reply with quote

TOR งานบริการที่ปรึกษา การทบทวนและออกรายละเอียดโครงการระบบขนส่งมวลชนทางรางในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล (สายสีแดง) ช่วงบางซื่อ-รังสิต เพื่อรองรับการเดินรถไฟประเภทต่าง ๆ
Arrow http://www.railway.co.th/auction/system/download/2556/561220-3.pdf
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44889
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 06/01/2014 9:49 am    Post subject: Reply with quote

ไล่ทุบซากตอม่อ "โฮปเวลล์" รับรถไฟฟ้าสายใหม่ "บางซื่อ-รังสิต"
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ 06 ม.ค. 2557 เวลา 08:31:47 น.

ปี 2556 ที่ผ่านมา เป็นอีกปีที่หน้าประวัติศาสตร์จะต้องจารึกไว้ เพราะเป็นการปิดฉากซาก "โฮปเวลล์" กว่า 500 ต้น สร้างค้างมาร่วม 2 ทศวรรษ

จากปฏิบัติการของ "ร.ฟ.ท.-การรถไฟแห่งประเทศไทย" ในการทุบซากทิ้งแบบไม่เหลือมูลค่านับหมื่นล้านบาทที่ถมไป เมื่อตอม่อเก่าอยู่คู่คนกรุงเทพฯมานาน 20 ปี กลายเป็นสิ่งกีดขวางและไม่มีราคาในแบบก่อสร้างของโครงการรถไฟฟ้าสายใหม่ที่กำลังก่อสร้าง เพราะไม่ว่าจะพิจารณาในแง่มุมไหนก็ไม่สามารถนำกลับมาใช้งานได้อีก ซึ่ง "ร.ฟ.ท." จะใช้พื้นที่เขตทางสร้างโครงสร้างใหม่ของรถไฟชานเมืองสายสีแดงช่วง "บางซื่อ-รังสิต" ระยะทาง 26 กิโลเมตร มีทั้งหมด 10 สถานี และใช้เงินก่อสร้างไปกว่า 51,061 ล้านบาท

โดยการก่อสร้างแยกออกเป็น 2 สัญญา ได้ยักษ์รับเหมาระดับมหาชนของวงการมาก่อสร้าง ใน "สัญญา 1" งานก่อสร้างสถานีกลางบางซื่อและศูนย์ซ่อมบำรุง รวมถึงสถานีจตุจักร มีกลุ่มกิจการร่วมค้า SU (บมจ.ซิโน-ไทยฯและ บมจ.ยูนิคฯ) ก่อสร้าง วงเงินกว่า 29,826 ล้านบาท และ "สัญญา 2" งานก่อสร้างโครงสร้างทางรถไฟช่วงบางซื่อ-รังสิต และสถานีรายทาง 8 สถานี ได้แก่ สถานีวัดเสมียนนารี บางเขน ทุ่งสองห้อง หลักสี่ การเคหะ ดอนเมือง หลักหก และรังสิต มี บมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ เป็นผู้ก่อสร้าง ภายใต้วงเงินกว่า 21,235 ล้านบาท

ผลงานโดยรวมของโครงการ ณ สิ้นปี 2556 ที่ผ่านมา อยู่ที่ประมาณ 4% ยังล่าช้าจากแผนงานอยู่ประมาณ 5-6 เดือน โดยสัญญา 1 คืบหน้าประมาณ 3.8% ช้าจากแผนงานอยู่ 4% และสัญญา 2 คืบหน้าประมาณ 3% ล่าช้าจากแผนงานอยู่ประมาณ 10%

"งานก่อสร้างล่าช้าจากแผนอยู่หลายเดือน เพราะรอแบบก่อสร้างใหม่ที่จะต้องปรับให้รับกับรถไฟความเร็วสูง ที่ยังไม่สรุปเพราะต้องรอคณะรัฐมนตรีอนุมัติวงเงินก่อสร้างที่เพิ่มขึ้น อีกทั้งติดเรื่องการรื้อย้ายสิ่งปลูกสร้างที่กีดขวาง ทำให้ผู้รับเหมาทำผลงานก่อสร้างไม่ได้มาก" นายประภัสร์ จงสงวน ผู้ว่าการ ร.ฟ.ท. กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ"

นายประภัสร์กล่าวว่า ขณะนี้การทุบโครงสร้างโฮปเวลล์เดิม ทางผู้รับเหมาทั้ง 2 สัญญายังดำเนินการไม่แล้วเสร็จ ติดปัญหาเรื่องของสภาพพื้นที่ ที่ต้องทำงานท่ามกลางขณะที่รถไฟปัจจุบันเปิดให้บริการ รวมทั้งการทุบเสาตอม่อทิ้งต้องใช้เทคนิคในการตัด ทำให้การทำงานของผู้รับเหมาเป็นไปด้วยความยากลำบาก จึงต้องเลื่อนไปจากเดิมจะต้องให้เสร็จตั้งแต่ปลายปีที่ผ่านมา แต่คาดว่าไม่เกินเมษายนปี 2557 นี้ คงจะแล้วเสร็จทั้งโครงการ

หลังจากนั้นจะเริ่มเร่งงานในส่วนของโครงสร้าง จะหารือกับผู้รับเหมาจะใช้เทคโนโลยีการก่อสร้างเข้ามาช่วยเพื่อให้รวดเร็วขึ้น เพื่อให้โครงการแล้วเสร็จและทันเปิดใช้ตามกำหนดเดือนเมษายนปี 2560

แต่จะมีเหตุอื่นทำให้ต้องขยับออกไปอีกหรือไม่ ยังต้องดูและลุ้นกันต่อไป
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44889
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 13/01/2014 8:45 am    Post subject: Reply with quote

ส่งซิกประมูลรถไฟสีแดงสัญญา 3 ต่อ
บ้านเมือง วันที่ 13/01/2557 เวลา 8:30 น.

แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคม เปิดเผยถึงความคืบหน้าการประกวดราคาโครงการก่อสร้างรถไฟชานเมืองสายสีแดง บางซื่อ-รังสิต สัญญา3งานระบบไฟฟ้าและเครื่องกล รวมตู้รถไฟฟ้าบางซื่อ-รังสิต และบางซื่อ-ตลิ่งชัน มูลค่า 28,899 ล้านบาท ของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ที่มีปัญหาผู้ยื่นเสนอราคาเป็นกรรมการทับซ้อนกันว่า ล่าสุดคณะกรรมการประกวดราคาโครงการฯ ที่มีนายภากรณ์ ตั้งเจตสกาว รองผู้ว่าการ รฟท. เป็นประธาน ได้นำส่งรายละเอียดการประกวดราคาทั้งหมดไปยังองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งประเทศญี่ปุ่น (JICA) สำนักงานประเทศไทยแล้ว เพื่อขอความเห็นชอบเปิดข้อเสนอด้านเทคนิค หลังจากคณะกรรมการ (บอร์ด) รฟท.เห็นชอบให้เดินหน้าประกวดราคาต่อไปได้ แต่มีเงื่อนไขว่าต้องได้รับความเห็นชอบจาก JICA ก่อน

อย่างไรก็ตามทาง JICA ได้ส่งหนังสือมาขอเอกสารจาก รฟท.เพิ่มเติม เพื่อประกอบการพิจารณา ซึ่งเมื่อวันที่ 10 มกราคมที่ผ่านมา คณะกรรมการประกวดราคาฯ ได้มีการประชุมกันเพื่อสรุปประเด็นที่ JICA ต้องการเพิ่ม ก่อนจัดส่งไปให้ยังสำนักงานใหญ่ที่กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเชื่อว่าอีกประมาณ 2 สัปดาห์จะมีความชัดเจนจาก JICA ว่าจะให้ รฟท.เดินหน้าการเปิดข้อเสนอทางเทคนิคต่อไปหรือไม่

ทั้งนี้มีผู้ยื่นข้อเสนอที่ผ่านการพิจารณาคุณสมบัติเบื้องต้นแล้วมี 2 ราย คือ
1.กลุ่มกิจการร่วมค้า MHSC Consortium (บริษัท MITSUBISHI Heavy Industrial Ltd บริษัท Hitachi และ บริษัทSumitomo Corporation) และ
2.กลุ่มกิจการร่วมค้า MIR Consortium (บริษัท Maru Beni coporation บริษัท อิตาเลียนไทย ดิเวล็อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) หรือ ITD และบริษัทHyundai Rotem Company)

ขณะล่าสุดกลุ่มกิจการร่วมค้า SMCK Consortium (บริษัท SIEMENS Ak piengesellschaft บริษัท SIEMENS LIMITED บริษัท MITSUBISHI CORPORATION และบริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) หรือ CK) เสนอขอให้ รฟท.พิจารณาทบทวนเรื่องคุณสมบัติเบื้องต้นอีกครั้ง หลังจากที่คณะกรรมการประกวดราคาฯ ได้ตัดสินให้กลุ่ม SMCK Consortium ไม่ผ่านการพิจารณาคุณสมบัติเบื้องต้นไปแล้ว เนื่องจากไม่ยอมแจกแจงรายการผลงานในรอบปีที่ผ่านมา ซึ่งกลุ่ม SMCK Consortium เป็น กลุ่มที่มีปัญหากรรมการทับซ้อนร่วมกับกลุ่ม MHSC Consortium โดยคณะกรรมการประกวดราคาฯ ได้นำส่งกรณีดังกล่าวให้ JICA พิจารณาด้วยว่าควรได้รับการอนุโลมให้กลับมาแข่งประกวดราคาต่อได้หรือไม่
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
AD24C
3rd Class Pass
3rd Class Pass


Joined: 03/05/2010
Posts: 79

PostPosted: 13/01/2014 9:17 am    Post subject: Reply with quote

ลองคิดดูเล่นๆนะครับ
ในเมื่อรถไฟความเร็วสูงนั้น ผู้โดยสารกลุ่มเป้าหมายหลักน่าจะเป็นนักท่องเที่ยว หรือชาวต่างชาติที่ต้องการความสะดวกในการเข้าเมือง (มากกว่าการเดินทางทางอากาศ ซึ่งอยู่นอกเมืองพอสมควร)
ถ้าหากสถานีกรุงเ้ทพเลิกใช้การ (ในส่วนของรถไฟธรรมดา) ผมขอลองเสนอให้ใช้สถานีกรุงเทพเป็นต้นทางรถไฟความเร็วสูงครับ สะดวกกับนักท่องเที่ยวมากๆ ลงจากรถไฟ หาที่พัก โรงแรม สถานที่ท่องเที่ยวได้ไม่ยาก เหมือนกับต้นทางรถไฟความเร็วสูงในยุโรปที่มักจะตั้งกลางใจเมือง ให้ผู้โดยสารสามารถเดินไปยังโรงแรมได้สะดวกครับ
ส่วนสถานีบางซื่อนั้น ก็ควรทำสถานีรถไฟความเร็วสูง แต่ขนาดคงไม่ต้องใหญ่ขนาดเป็นสถานีต้นทาง เป็นเพียงสถานีเปลี่ยนเส้นทาง (interchange station) เท่านั้น หากต้องการเปลี่ยนไปเดินทางทางอื่น
ถ้าหากผิดพลาดก็ขออภัยด้วยนะครับ Embarassed
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42793
Location: NECTEC

PostPosted: 20/01/2014 11:48 am    Post subject: Reply with quote

รื้อ‘สถานีบางซื่อ’ รับไฮสปีคชะงัก ไร้เงินจ้างที่ปรึกษา-หวั่นงานดีเลย์
ประชาชาติธุรกิจ
20 มกราคม 2557


แหล่งข่าวจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า เมื่อเร็ว ๆ นี้ คณะกรรมการ (บอร์ด) การรถไฟฯ ประชุมเพื่อเร่งรัดการจัดหาเงินจำนวน 140 ล้านบาทมาดำเนินการจัดจ้าง บริษัทที่ปรึกษาเพื่อทบทวนและออกแบบ รายละเอียดโครงการระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต ให้รองรับการเดินทางรถไฟประเภทต่าง ๆ รวมถึง รถไฟความเร็วสูงที่ประเทศไทยจะก่อสร้างในอนาคตด้วย โดยการรถไฟฯคัดเลือกบริษัทที่ปรึกษามาดำเนินการแล้ว คือบริษัท ทีม คอมซัลติ้ง เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ แมเน็จเม้นท์ จำกัด ซึ่งภารกิจนอกจากปรับแบบก่อสร้างใหม่ให้โครงสร้างของรถไฟสายสีแดงรองรับได้ทั้งรางขนาด 1 เมตร และขนาด 1.435 เมตรแล้ว จะต้องจัดทำประมาณการราคาค่าก่อสร้าง ข้อกำหนดการก่อสร้างเฉพาะส่วนที่เพิ่มเติม รวมถึงจัดทำ รายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) ใช้เวลาดำเนินการ 12 เดือนนับจากวันลงนามสัญญา

"การรถไฟฯยืนยันจะปรับแบบก่อสร้างเพิ่มเติมให้รองรับรถไฟความเร็วสูง ต้องเร่งให้ได้ข้อสรุปโดยเร็ว อย่างช้า ไม่ให้เกินภายในเดือนมกราคม หากเกินจากนี้จะส่งผลกระทบต่อการก่อสร้างโครงการในปัจจุบัน ที่ผู้รับเหมาทั้ง 2 สัญญา คือบริษัท ยูนิคฯ และบริษัท อิตาเลียนไทยฯ ได้ดำเนินการไปบ้างแล้ว มีผลงานคืบหน้า 4-5% และกำลังรอความชัดเจน รูปแบบก่อสร้างที่จะต้องปรับแบบใหม่ จากเดิมจะก่อสร้างแล้วเสร็จในปี'60 ตอนนี้มี แนวโน้มที่ผู้รับเหมาจะขอขยายเวลาเพิ่มแน่ๆ หากการรถไฟฯยังไม่รีบสรุป"

แหล่งข่าวกล่าวต่อว่า นอกจากนี้ยังติดปัญหาเรื่องต้องรอการอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) ชุดใหม่ เพื่อจัดหาเงินก่อสร้างที่เพิ่มขึ้นอีกประมาณ 10,000 ล้านบาท โดยอาจจะต้องขยายวงเงินกู้จากธนาคารเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น หรือไจก้า จากนั้นทางผู้รับเหมาจึงจะเดินหน้าก่อสร้างตามรูปแบบใหม่ที่ปรับเพิ่มขึ้นได้ ทำให้ปัจจุบันผู้รับเหมาทำงานได้เฉพาะในพื้นที่ที่สามารถก่อสร้างได้เท่านั้น

สำหรับเนื้องานใหม่ที่เพิ่มเติมมี 2 ส่วน ได้แก่

ส่วนที่ 1 สถานีกลางบางซื่อ เป็นงานก่อสร้างในสัญญาของกลุ่มกิจการร่วมค้า SU (บมจ.ซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่งฯ กับ บมจ.ยูนิค เอ็นจิเนียริ่งฯ) วงเงินก่อสร้างเดิมอยู่ที่ 29,826 ล้านบาท รายละเอียดงาน ปรับบริเวณชั้นที่ 2 เพื่อให้ชานชาลารองรับการจอดขบวนรถไฟมิเตอร์เกจ (รางขนาด 1 เมตร) จำนวน 12 ขบวน แบ่งเป็นรถไฟทางไกล 8 ขบวน รถไฟชานเมือง 4 ขบวน ส่วนบริเวณชั้นที่ 3 ปรับชานชาลารองรับการ จอดขบวนรถไฟสแตนดาร์ดเกจ (ราง 1.435 เมตร) ที่เชื่อมต่อกับหัวเมืองหลักในภูมิภาค ต่าง ๆ เช่น รถไฟความเร็วสูง เนื้องานยังมีเรื่องปรับโครงสร้างรองรับทางวิ่งบริเวณทางเข้าออกสถานีกลางบางซื่อ และโครงสร้างทางวิ่งรถไฟ สแตนดาร์ดเกจ บริเวณสถานีกลางบางซื่อถึงแยกต่างระดับรัชวิภา ให้สอดคล้องกับทางรถไฟที่จะเข้า-ออกโรงซ่อมบำรุง

ส่วนที่ 2 โครงสร้างทางวิ่งช่วงบางซื่อรังสิต อยู่ในงานสัญญาของ บมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ วงเงินก่อสร้าง เดิมอยู่ที่ 21,235 ล้านบาท โดยจะทบทวนและออกแบบสถานีดอนเมืองให้เป็นสถานีร่วมระหว่างขบวนรถไฟความเร็วสูงได้ รวมถึงโครงสร้างทางวิ่งเพื่อให้สามารถรองรับทางวิ่งจาก 3 ทางวิ่งเป็น 4 ทางวิ่ง และออกแบบสถานีรายทางอีก 7 สถานี ได้แก่
สถานีจตุจักร
บางเขน
ทุ่งสองห้อง
หลักสี่
การเคหะ
ดอนเมือง และ
รังสิต

ให้สอดคล้องกับการแก้ไขแบบทางวิ่งที่ปรับใหม่ด้วย
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 19, 20, 21 ... 149, 150, 151  Next
Page 20 of 151

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©