Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311308
ทั่วไป:13279329
ทั้งหมด:13590637
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 93, 94, 95 ... 278, 279, 280  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44728
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 16/06/2014 2:19 pm    Post subject: Reply with quote

แนวรถไฟฟ้า10สาย กับอนาคตกรุงเทพฯ สยามฯแพงสุด1.7ล./ตร.ว. พระราม4-กล้วยน้ำไท แป้ก!

รถไฟฟ้ามีผลสำคัญต่อราคาที่ดินและอสังหาริมทรัพย์เป็นอย่างยิ่ง ประชาชนผู้บริโภคอสังหาริมทรัพย์ จึงพึงสังวร
เดลินิวส์ วันจันทร์ 16 มิถุนายน 2557 เวลา 09:17 น.

รถไฟฟ้ามีผลสำคัญต่อราคาที่ดินและอสังหาริมทรัพย์เป็นอย่างยิ่ง ประชาชนผู้บริโภคอสังหาริมทรัพย์ จึงพึงสังวร ครั้งนี้เรามาทบทวนรถไฟฟ้าทั่วกรุงเทพมหานครและปริมณฑลกัน

รถไฟฟ้ามีผลอย่างสำคัญ

ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย บจก.เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส ที่เก็บข้อมูลมาอย่างต่อเนื่องและยาวนานที่สุดและเป็นแห่งแรกในประเทศไทยพบความจริงประการหนึ่งว่า รถไฟฟ้าส่งผลกระทบต่อราคาที่ดินอย่างชัดเจน ลองดูตัวอย่างต่อไปนี้

จะเห็นได้ว่า รถไฟฟ้าที่ผ่านสยามสแควร์ ทำให้บริเวณนั้นซึ่งเป็นที่ตั้งของศูนย์การค้าสำคัญ ๆ หลายแห่งมีราคาที่ดินแพงสุดในประเทศไทยในขณะนี้ ตกเป็นเงินถึง 1,700,000 บาทต่อตารางวา ส่วนสีลมที่เป็นศูนย์ธุรกิจการเงิน ที่เคยมีราคาแพงกว่าในอดีตเมื่อ 20 ปีก่อน กลับเพิ่มขึ้นในอัตราที่ช้ากว่า เพราะมีรถไฟฟ้าผ่านเพียงสายเดียว ในขณะที่บริเวณถนนเยาวราชที่แต่เดิมราคาแพงสุด กลับเพิ่มขึ้นในอัตราต่ำ เพราะยังไม่มีรถไฟฟ้าผ่านนั่นเอง

อีกบริเวณหนึ่งที่น่าสนใจก็คือ บริเวณท้องฟ้าจำลอง ถนนสุขุมวิท กับบริเวณกล้วยน้ำไท ถนนพระรามที่ 4 ปรากฏว่าแต่เดิมราคาเกือบจะเท่ากัน แต่เมื่อเวลาผ่านไป 20 ปีกลับปรากฏว่าราคาต่างกัน “ราวฟ้ากับเหว” เพราะถนนสุขุมวิทมีรถไฟฟ้าในขณะที่ถนนพระรามที่ 4 ไม่มีรถไฟฟ้า อันที่จริงที่ถนนพระรามที่ 4 และถนนเพชรบุรีตัดใหม่จะมีรถไฟฟ้า ไม่ใช่ถนนสุขุมวิท แต่รถไฟฟ้าสายดังกล่าวที่ลงนามกันเพียง 1 วัน ก่อนรัฐบาลน้าชาติจะถูก รสช. (คณะรัฐประหาร) โค่นในปี พ.ศ. 2534 ซึ่งแนวรถไฟฟ้าจึงเปลี่ยนไปแทบหมด อันนี้อาจเป็นกรณีตัวอย่างของการทุจริตเชิงนโยบายในอดีตก็ว่าได้

ความคืบหน้าของรถไฟฟ้า

ตามโครงการ 2 ล้านล้านบาท ของรัฐบาลปูที่ถูกล้มล้างไปแล้ว และคาดว่า คสช. (คณะรัฐประหาร) ในปัจจุบันอาจนำมาสานต่อ มีรถไฟฟ้า 10 สาย ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล รวมอยู่ด้วย ความคืบหน้าเป็นดังนี้ :

1. รถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงเข้ม (ธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต-มหาชัย) โดยระยะที่ 1 ธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต-บางซื่อ ปัจจุบันมีการประมูลงานโยธาแล้วอยู่ระหว่างดำเนินการรื้อย้ายตอม่อโฮปเวลล์เพื่อเปิดทางก่อสร้าง ระยะที่ 2 บางซื่อ-หัวลำโพง กำหนดเปิดประกวดราคาในปี 2556 ส่วนระยะที่ 3 หัวลำโพง-บางบอน และระยะที่ 4 บางบอน-มหาชัย คาดว่าจะเริ่มดำเนินโครงการหลังปี 2562

2. รถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงอ่อน (ศาลายา-หัวหมาก) โดยระยะที่ 1 บางซื่อ-ตลิ่งชัน อยู่ระหว่างเปิดทดลองให้บริการ 3 สถานี (ตลิ่งชัน-บางบำหรุ-บางซ่อน) ส่วนระยะที่ 2 คาดว่าจะเริ่มเปิดประมูลภายในปี 2557

3. ส่วนต่อขยายแอร์พอร์ต เรลลิงก์ (พญาไท-บางซื่อ-ดอนเมือง) ทั้งนี้ส่วนแรก พญาไท-มักกะสัน-สุวรรณภูมิ เปิดให้บริการแล้วตั้งแต่ปี 2551 ส่วนต่อขยายนี้ได้รับการเห็นชอบด้าน EIA แล้ว คาดว่าจะเปิดประมูลภายในปี 2557

4. สายสีม่วง ส่วนเหนือ-ใต้ (บางใหญ่-บางซื่อ-ราษฎร์บูรณะ) ในส่วนด้านเหนือคือ บางใหญ่-บางซื่อ อยู่ระหว่างการก่อสร้าง คืบหน้าไปราว 75% แต่ในส่วนใต้ บางซื่อ-ราษฎร์บูรณะ คาดว่าจะเปิดประมูลได้ในปี 2557-58

5. สายสีเขียว (หมอชิต-สะพานใหม่-คูคต และแบริ่ง-สมุทรปราการ-บางปู) นี่เป็นรถไฟฟ้าที่ต่อเชื่อมจากโครงการรถไฟฟ้าบีทีเอสสายสุขุมวิท (หมอชิต-อ่อนนุช) ที่เปิดให้บริการตั้งแต่ปี 2542 ทั้งนี้ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ เริ่มก่อสร้างแล้ว 20% ช่วงสมุทรปราการ-บางปู คาดว่าจะเริ่มก่อสร้างไปแล้วประมาณ 10% สำหรับช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต คาดว่าจะเริ่มเปิดประมูลได้ภายในปี 2557-58

6. สายสีน้ำเงิน ส่วนต่อขยาย (หัวลำโพง-บางแค และ บางซื่อ-ท่าพระ-พุทธมณฑล สาย 4) เป็นเส้นทางต่อขยายจากรถไฟฟ้าใต้ดิน สายเฉลิมรัชมงคล ทั้งนี้ช่วงบางซื่อ-ท่าพระ อยู่ระหว่างการก่อสร้าง คืบหน้าประมาณ 40% ช่วงหัวลำโพง-บางแค อยู่ระหว่างการก่อสร้าง ส่วนช่วงบางแค-พุทธมณฑล สาย 4 จะเริ่มดำเนินโครงการหลังปี 2562

7. สายสีส้ม (ตลิ่งชัน-ศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี) ทั้งนี้ช่วงจรัญสนิทวงศ์-ศูนย์วัฒนธรรม ยังมีปัญหาเรื่องการจัดสรรพื้นที่เวนคืนในบางช่วง และยังไม่สามารถประเมินงบประมาณได้ ส่วนช่วงศูนย์วัฒนธรรม-บางกะปิ และช่วงบางกะปิ-มีนบุรี อยู่ระหว่างการศึกษาความเหมาะสม คาดว่าจะเปิดประมูลได้ในปี 2557-58

8. สายสีชมพู (แคราย-ปากเกร็ด-มีนบุรี) อยู่ระหว่างทบทวนรายละเอียดความเหมาะสม คาดว่าจะเปิดประมูลภายในปี 2557-58

9. สายสีเหลือง (ลาด พร้าว-พัฒนาการ-สำโรง) ปรากฏว่าช่วงลาดพร้าว-บางกะปิ (แฮปปี้แลนด์) การออกแบบเบื้องต้นเรียบร้อยแล้ว อยู่ระหว่างศึกษาความเหมาะสม คาดว่าจะเปิดประมูลได้ภายในปี 2557-58

10. สายสีเขียวอ่อน (ยศเส-สนามกีฬาฯ-สะพานตากสิน-บางหว้า) ทั้งนี้เป็นเส้นทางเชื่อมต่อมาจากโครงการรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสีลม (สนามกีฬาแห่งชาติ-สะพานตากสิน) ที่เปิดให้บริการตั้งแต่ปี 2552 โดยช่วงตากสิน-บางหว้า อยู่ระหว่างการก่อสร้าง ส่วนช่วงสนามกีฬา-ยศเส คาดว่าจะดำเนินการในระยะต่อไปหลังปี 2562

จะสังเกตได้ว่าบางเส้นยังไปไม่ถึงไหน หากคิดจะซื้อที่อยู่อาศัยไว้ ก็จงอย่าเพิ่งผลีผลาม อย่าลืมว่า “ช้า ๆ ได้พร้าเล่มงาม” นะครับ

บทวิพากษ์รถไฟฟ้า

รถไฟฟ้าบางสายอาจขัดกันบ้าง เช่น รถไฟฟ้าสายสีแดง ริมถนนวิภาวดีรังสิต กับรถไฟฟ้าสายสีเขียวบนถนนพหลโยธิน ซึ่งวิ่งขนานไปทางทิศเหนือห่างกันเพียง 2 กิโลเมตร อาจแย่งลูกค้ากันเองบ้าง อย่างไรก็ตามโครงการที่พึงดำเนินการมากที่สุดได้แก่โครงการที่ 3 ส่วนต่อขยายแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ (สนามบินดอนเมือง-สุวรรณภูมิ) ระยะทาง 50.3 กม. เชื่อมต่อการเดินทางระหว่าง 2 สนามบิน เพราะการติดต่อระหว่างกันทำได้จำกัดในเวลานี้ รวมทั้งโครงการที่ 5 รถไฟฟ้าสายสีเขียวอ่อน (ยศเส-บางหว้า) และโครงการที่ 6 รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน (หัวลำโพง-ท่าพระ, บางซื่อ-พุทธมณฑล สาย 4) ซึ่งเชื่อมต่อกับสายเฉลิมรัชมงคลในลักษณะวงแหวนเข้าพื้นที่กรุงเทพฯ ชั้นใน

โดยหลักการแล้ว หลายเส้นไม่พึงทำ เพราะจำนวนประชากรอาจมีน้อยเกินไป และที่สำคัญทำให้เมืองขยายออกไปข้างนอกอย่างไม่มีที่สิ้นสุด ทำให้สาธารณูปโภคต้องขยายตัวอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ และสิ้นเปลืองงบประมาณอย่างไม่มีที่สิ้นสุด แต่แน่นอนว่าประชาชนที่อยู่แถวนั้นคงอยากได้ เพียงแต่สร้างแล้วคุ้มทุนยากเมื่อเทียบกับสายอื่น ตัวอย่างเช่น รถไฟฟ้าสายที่ 4 รถไฟฟ้าสายสีเขียวเข้ม ช่วงสะพานใหม่-คูคต โครงการที่ 8 รถไฟฟ้าสายสีส้ม (จรัญสนิทวงศ์-มีนบุรี) โดยเฉพาะช่วงจากบางกะปิไปมีนบุรี ที่ประชากรเบาบางกว่าพื้นที่อื่น และโครงการที่ 9 รถไฟฟ้าสายสีชมพู (แคราย-มีนบุรี) เชื่อมทิศเหนือ-ตะวันออก และศูนย์ราชการ ถนนแจ้งวัฒนะ เพราะน่าจะมีประชากรน้อยกว่าที่อื่นเช่นกัน

บริเวณชานเมือง หากมีรถไฟรางคู่ที่มีประสิทธิภาพ ก็จะทำให้การขนส่งสินค้าและคนทำงาน เดินทางเข้าเมืองได้อย่างสะดวกไม่ต้องใช้รถไฟฟ้าแต่อย่างใด ดังเช่น รถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงเข้ม (ม.ธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต–มหาชัย) 80.8 กม. เชื่อมการเดินทางพื้นที่ชานเมืองเข้าสู่กรุงเทพมหานครในแนวเหนือ–ใต้

พึงสร้างรถไฟฟ้ามวลเบา

นอกจากโครงการรถไฟฟ้า 10 สายที่ต้องลงทุนสูงแล้ว สิ่งที่กรุงเทพมหานครพึงมีที่สุดในขณะนี้ก็คือรถไฟฟ้ามวลเบา โดยพื้นที่ที่ควรดำเนินการได้แก่ :

1. บริเวณถนนเจริญกรุง (ถนนตก) ถนนจันทน์ ถนนเซ็นต์หลุยส์ ถนนนราธิวาส ถนนนางลิ้นจี่ ถนนงามดูพลี ออกถนนพระรามที่ 4 ซึ่งเป็นการเชื่อมสถานีรถไฟฟ้าหลักสาทร สุรศักดิ์ และสถานีลุมพินีของรถไฟฟ้ามหานครสายเฉลิมรัชมงคล (MRT)

2. บริเวณถนนอุดมสุข ออกสวนหลวง ร.9 วกออกสถานีอ่อนนุช

3. ประดิพัทธ์-ซอยอารีย์ประดิพัทธ์-วิภาวดีรังสิต

4. อินทามระ-ห้วยขวาง

5. พระรามที่ 1-บรรทัด ทอง-พระรามที่ 1

6. คลองเตย-พระรามที่ 4-พระโขนง ฯลฯ

การทำรถไฟฟ้ามวลเบา จะทำให้เปิดทำเลใหม่ ๆ ในการพัฒนาเมือง นอกจากนั้นยังควรสร้างรถไฟฟ้าแบบ BTS บนเกาะกลางถนนของถนนอีกหลายสายในเขตกรุงเทพมหานคร เช่น ถนนลาดพร้าว ถนนสามเสน และอื่น ๆ เป็นต้น แต่ไม่ควรสร้างรถ BRT อีกต่อไป เพราะกีดขวางการจราจร โครงการ BRT บนถนนนราธิวาส-พระรามที่ 3 ควรเปลี่ยนใหม่เป็นรถไฟฟ้า

การพัฒนารถไฟฟ้าควรดำเนินการในใจกลางเมือง และอนุญาตให้ใจกลางเมืองสร้างอาคารได้สูง ๆ โดยกำหนดอัตราส่วนพื้นที่ก่อสร้างต่อพื้นที่ดิน (Floor Area Ratio: FAR) เป็น 20 เท่าต่อ 1 แต่ให้คิดภาษีการก่อสร้างเพิ่มเติม เพื่อนำเงินมาพัฒนาระบบรถไฟฟ้า ทุกวันนี้อาคารต่าง ๆ จำเป็นที่ต้องมีที่จอดรถประมาณ 20-30% ของพื้นที่อาคารเพื่อการจอดรถ ซึ่งเป็นการสิ้นเปลืองทางเศรษฐกิจ แต่หากพัฒนาระบบรถไฟฟ้าที่ดี ก็ให้ก่อสร้างที่จอดรถน้อยลงได้ อากาศก็จะดีขึ้นด้วย

อย่างไรก็ตาม การพัฒนาเหล่านี้ไม่จำเป็นต้องอยู่ในโครงการ 2.2 ล้านล้านบาท รัฐบาลน่าจะจัดการประมูลให้เอกชนดำเนินการเช่นกรณี BTS แต่ต้องทำสัญญาให้รัดกุมเพื่อจะไม่ “เสียค่าโง่” เช่นที่ผ่าน ๆ มา และให้แต่ละระบบสามารถประสานงานร่วมกันได้ด้วย

การลงทุนขนาดใหญ่นี้ อาจมีข้อครหาถึงความโปร่งใสต่าง ๆ คสช. ซึ่งมีภารกิจหลักในการรักษาความสงบเป็นสำคัญ จึงไม่ควรดำเนินการเอง แต่เมื่อรักษาความสงบแล้ว ก็ควรจัดการเลือกตั้งใหม่โดยเร็ว เพื่อให้ได้รัฐบาลปกติ ซึ่งนานาชาติเชื่อถือให้สามารถกู้เงินมาดำเนินโครงการขนาดใหญ่ต่าง ๆ ต่อไป.

คอลัมน์ : กูรู'ส่อง'อสังหาฯ
ดร.โสภณ พรโชคชัย
ประธานศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44728
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 17/06/2014 7:42 pm    Post subject: Reply with quote

"สนข." เสนอรถไฟฟ้า 3 สายเร่งด่วน (สายสีส้ม สีชมพูและสีเหลือง)
Morning news ช่วง Headline : "สนข." เสนอรถไฟฟ้า 3 สายเร่งด่วน "NOW26" 17-6-57

Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42777
Location: NECTEC

PostPosted: 18/06/2014 11:12 am    Post subject: Reply with quote

ตั๋วร่วมใกล้คลอด"ส.ค."กดปุ่ม ขึ้นเมล์-รถไฟฟ้า-ใต้ดินใช้ใบเดียว "สนข."เร่งมือตรวจเทคนิค4บริษัท
มติชน
วันที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2557 เวลา 22:47:02 น.


สนข.เร่งตรวจคุณสมบัติด้านเทคนิค 4 บริษัทประมูลตั๋วร่วม พบผ่านแล้ว 2 ราย พร้อมเปิดซองราคาเร็วๆ นี้ ใครให้ราคาต่ำสุดคว้าชัยทันที มั่นใจ ส.ค.เริ่มงานได้ พัฒนาเสร็จตั๋วใบเดียวใช้ได้ทั้งรถเมล์-รถไฟฟ้า ลุ้นนโยบายกำหนดค่าโดยสารราคาถูก

นายเผด็จ ประดิษฐ์เพชร ปฏิบัติหน้าที่ผู้อำนวยการ สำนักบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เปิดเผยว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างพิจารณาคุณสมบัติด้านเทคนิคของผู้เข้าประกวดราคาโครงการระบบตั๋วร่วมคมนาคมทั้ง 4 ราย คือ 1.กลุ่มอินดรา (INDRA)จากสเปน ร่วมกับกลุ่มบริษัท ไทยบิทิสคิวตี้ปริ้นติ้ง จำกัด 2.กลุ่มบีเอสวี มีกลุ่มบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีทีเอสซี ของไทยเป็นแกนนำ โดยมีบริษัท สมาร์ทแทรฟฟิค จำกัด และกลุ่มวิกซ์ จากออสเตรเลียร่วมด้วย 3.กลุ่มเอที มีบริษัท ไทยทรานสมิทชั่นอินดัสตรี้ ร่วมกับกลุ่มเอเซอร์ และ 4.กลุ่มเอ็มเอส มีกลุ่มเอ็มเอสไอ จากสิงคโปร์ร่วมกับบริษัท สามารถ คอมเทค จำกัด ของไทย เมื่อแล้วเสร็จจะเปิดซองราคาของกลุ่มบริษัทที่ผ่านคุณสมบัติด้านเทคนิค กลุ่มไหนเสนอราคาต่ำสุดถึงจะเป็นผู้ชนะให้ดำเนินโครงการดังกล่าว

"เบื้องต้นพบว่ามีกลุ่มบริษัทที่ผ่านคุณสมบัติด้านเทคนิคแล้วอย่างน้อย 2 ราย แต่ต้องพิจารณาให้ครบก่อนจึงจะตอบได้ว่าผ่านทุกกลุ่มหรือไม่ คาดว่าจะพิจารณาแล้วเสร็จในเร็วๆ นี้ จากนั้นในเดือนกรกฎาคมจะสามารถลงนามในสัญญากับบริษัทที่ชนะการประกวดราคา และสามารถเริ่มดำเนินงานได้ในเดือนสิงหาคมนี้" นายเผด็จกล่าว

นายเผด็จกล่าวว่า สำหรับขั้นตอนการดำเนินงานนับตั้งแต่เดือนสิงหาคมนี้ไปอีก 6 เดือน ซึ่งเป็นช่วงที่ 1 จะเป็นการออกแบบรายละเอียด การเขียนระบบ/โปรแกรม ช่วงที่ 2 จะใช้เวลาอีก 6 เดือน ติดตั้งวางโปรแกรมซอฟต์แวร์ต่างๆ ช่วงที่ 3 ใช้เวลาอีก 6 เดือน เชื่อมต่อระบบกับโครงการนำร่อง ช่วงที่ 4 อีก 6 เดือน ทดสอบเชื่อมต่อระบบกับระบบของผู้ให้บริการที่มีอยู่ในปัจจุบัน เช่น รถไฟฟ้าบีทีเอส รถไฟฟ้าใต้ดิน รถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงค์ และรถโดยสารขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) เป็นต้น และช่วงที่ 5 อีก 6 เดือน เป็นการทดสอบระบบทั้งหมด

"ในช่วงที่ 3 จะสามารถใช้งานระบบตั๋วร่วมได้แล้ว แต่จะให้เสร็จสมบูรณ์จริงต้องเป็นช่วงที่ 4 เมื่อดำเนินการแล้วเสร็จจะอำนวยความสะดวกให้ประชาชนที่ใช้บริการระบบขนส่งสาธารณะเป็นอย่างมาก เพราะสามารถใช้ตั๋วโดยสารใบเดียวได้กับทุกระบบ ขณะเดียวกัน ยังส่งผลดีต่อผู้ประกอบการในการช่วยลดต้นทุนที่ไม่ต้องมีค่าบริหารจัดการเงินสดในแต่ละวันเองเหมือนปัจจุบัน" นายเผด็จกล่าว

นายเผด็จกล่าวว่า ในส่วนของการจัดเก็บอัตราค่าโดยสาร จะเป็นเรื่องของอนาคตที่ระดับนโยบายเป็นผู้กำหนดว่าจะเก็บค่าแรกเข้าครั้งเดียว หรือจะเก็บในอัตราลดลงเท่าไร เช่น กรณีขึ้นรถไฟฟ้าบีทีเอส แล้วต่อรถไฟฟ้าใต้ดินจะเก็บในอัตราเริ่มต้นใหม่เหมือนในปัจจุบัน หรือจะเก็บโดยคิดตามระยะทางหรือสถานีที่ใช้บริการแทน เป็นต้น เพราะในส่วนของระบบตั๋วร่วมจะเป็นศูนย์บริการจัดการรายได้กลาง (เคลียริ่ง เฮ้าส์) เท่านั้น

...............

(ที่มา:มติชนรายวัน 17 มิ.ย.57)

ร่วมเป็นแฟนเพจเฟซบุ๊กกับมติชนออนไลน์
www.facebook.com/MatichonOnline
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42777
Location: NECTEC

PostPosted: 27/06/2014 2:13 am    Post subject: Reply with quote

"ซีเมนส์"จ้องลงทุนระบบรางพร้อมแข่งจีน-เกาหลี
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
updated: 25 มิถุนายน พ.ศ. 2557 เวลา 14:11:53 น.


"ซี เมนส์" ติดเครื่องรุกธุรกิจโครงสร้างพื้นฐานและเมือง พร้อมเอี่ยวลงทุนทุกโครงการในเมืองไทย-อาเซียน ชี้เป็นตลาดมีศักยภาพหวังสร้างการเชื่อมต่อระบบรางจากอาเซียน-อินเดีย จับมือบริษัทที่ปรึกษาด้านยุทธศาสตร์ "เครโด" กางวิจัยผลตอบแทนทางเศรษฐกิจจากการลงทุนระบบขนส่งมวลชนในตัวเมือง หวังกระตุ้นการตัดสินใจทุกประเทศ

นายมิเชล โอบาเดีย ประธานเจ้าหน้าที่บริหารแผนกระบบรางและโลจิสติกส์ กลุ่มธุรกิจโครงสร้างพื้นฐานและเมือง บริษัท ซีเมนส์ (อาเซียน-แปซิฟิก) จำกัด ในเครือซีเมนส์ เอจี เยอรมนี ผู้พัฒนาระบบวิศวกรรมรถไฟฟ้า เปิดเผยว่า บริษัทสนใจลงทุนในโครงการโครงสร้างพื้นฐานของไทยทุกโครงการ ทั้งรถไฟทางคู่เชื่อมการเดินทางระหว่างเมือง ส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินและบีทีเอส

รวมถึงโครงการรถไฟความ เร็วสูงหากมีการลงทุนในอนาคตโดยมองว่าประเทศไทยยังมีช่องว่างทางการตลาดอีก มาก เนื่องจากระบบรถไฟฟ้าของกรุงเทพฯยังกระจุกตัวอยู่บริเวณกรุงเทพฯชั้นในที่ เชื่อมต่อการเดินทางในเมืองหลวง แต่โครงข่ายยังไม่เชื่อมถึงต่างจังหวัด ตรงนี้เป็นโอกาสที่ซีเมนส์สามารถเข้าไปทำตลาดได้

นายโรแลนด์ บุช คณะกรรมการบริหารและประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มธุรกิจโครงสร้างพื้นฐานและ เมือง บริษัท ซีเมนส์ เอจี เยอรมนี กล่าวเพิ่มเติมว่า ซีเมนส์ไม่ได้มองเฉพาะตลาดในประเทศไทยเท่านั้น แต่มองตลาดอาเซียนรวมถึงอินเดียด้วย เพราะเป็นประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่จึงต้องการเทคโนโลยีเพื่อยกระดับคุณภาพ ชีวิต อีกทั้งมีการขยายตัวของโปรเจ็กต์โครงสร้างพื้นฐานสูงมาก เช่น โครงการลงทุนขนาดใหญ่ของอินโดนีเซีย และโครงการรถไฟความเร็วสูงที่เชื่อมระหว่างมาเลเซียกับสิงคโปร์

การ ทำตลาดในภูมิภาค นอกจากการใช้กลยุทธ์ด้านราคาเพื่อแข่งขันกับบริษัทคู่แข่งทั้งจีน ญี่ปุ่น เกาหลี และบริษัทในยุโรปด้วยกัน บริษัทจะเน้นการเสนอเทคโนโลยีใหม่ ๆ และการบริการ-ซ่อมบำรุงหลังการขายเข้ามาเสริมด้วย ทั้งยังร่วมมือกับ "เครโด" บริษัทที่ปรึกษาด้านยุทธศาสตร์ทำวิจัยเพื่อเปรียบเทียบต้นทุนกับผลตอบแทนที่ จะได้รับจากอัตราเติบโตทางเศรษฐกิจ หากลงทุนระบบขนส่งมวลชนในกรุงเทพฯและอีก 34 เมืองทั่วโลก ภายในปี 2557 เทียบกับปี 2573

"กว่า 50% ของมูลค่าจีดีพีทั้งโลกมาจากการขยายตัวของเมืองกว่า 600 แห่ง ไม่ช้าก็เร็วเมืองเหล่านี้ต้องลงทุนระบบขนส่งมวลชน เพราะประชากรเพิ่มขึ้นจนสาธารณูปโภคพื้นฐานที่มีรองรับไม่ไหว และถ้าลงทุนอย่างเหมาะสมจะช่วยส่งเสริมการเติบโตของจีดีพีในอนาคต"

อนึ่ง บริษัท ซีเมนส์ เอจี เป็นบริษัทด้านวิศวกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ที่มีบริษัทแม่อยู่ในประเทศ เยอรมนี ประกอบด้วย 4 กลุ่มธุรกิจหลัก ได้แก่ อุตสาหกรรม โครงสร้างพื้นฐาน พลังงาน และการแพทย์ สำหรับในประเทศไทยมีบริษัทลูก "ซีเมนส์ (ประเทศไทย)"

ผล งานที่ผ่านมา อาทิ รับผิดชอบบริการและซ่อมบำรุงรถไฟฟ้าเอ็มอาร์ทีและซัพพลายขบวนรถให้กับ โครงการส่วนต่อขยายสายสีน้ำเงิน, รับผิดชอบระบบเชื่อมต่อการทำงานรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินกับรถไฟฟ้าสายสีม่วง ที่จะเปิดให้บริการภายในปี 2559-2560, จัดหาขบวนรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์และบีทีเอสที่จะให้บริการเพิ่ม ฯลฯ
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42777
Location: NECTEC

PostPosted: 27/06/2014 3:42 am    Post subject: Reply with quote

"คมนาคม"สรุปตั้งบริษัทบริหารตั๋วร่วมทุนจดทะเบียน 200ล.


โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 26 มิถุนายน 2557 21:21 น.


"คมนาคม"หารือคลัง สรุปตั้งบริษัทเอกชน บริหารระบบตั๋วร่วม ทุนจดทะเบียน 200 ล้านบาท โดยช่วงแรกจะตั้งเป็นหน่วยธุรกิจ (BU) ภายใต้รฟม. ก่อนแปลงเป็นบริษัทเอกชน ส่วนศูนย์บริหารรายได้กลาง หรือ Clearing House คาดส.ค.นี้ประมูลจบ ตั้งเป้าให้บริการได้เต็มรูปแบบ พ.ค.58

นายจุฬา สุขมานพ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วมที่มีนายสมชัย ศิริวัฒนโชค ปลัดกระทรวงคมนาคม เป็นประธาน วันนี้ (26 มิ.ย.) ได้มีการหารือร่วมกับ สนข. ธนาคารแห่งประเทศไทย กระทรวงการคลัง เพื่อพิจารณารูปแบบการจัดตั้งองค์กรบริหารตั๋วร่วม โดยได้ข้อสรุปว่าในระยะเริ่มต้นจะจัดตั้งเป็นหน่วยธุรกิจ (BU) ภายใต้การดูแลของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลแห่งประเทศไทย (รฟม.) เนื่องจาก เห็นว่า รฟม.เป็นผู้ดูแลรถไฟฟ้าโดยตรงและมีความพร้อมมากที่สุด จากนั้นจึงจะเปลี่ยนเป็นบริษัทเอกชน โดยมีภาครัฐร่วมถือหุ้นด้วย ซึ่งต้องดำเนินการตามพระราชบัญญัติเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ (พ.ร.บ.ร่วมทุน) ทุนจดทะเบียนเบื้องต้น 200 ล้านบาท

ทั้งนี้สาเหตุที่ต้องเปลี่ยนเป็นเอกชน เนื่องจาก การบริหารตั๋วร่วมมีการแข่งขันสูง มีเรื่องการหารายได้ และการตลาดเข้ามาเกี่ยวข้องมาก ดังนั้นองค์กรในรูปแบบเอกชนจะมีความคล่องตัวในการทำงานมากกว่าจัดตั้งเป็นองค์กรรัฐวิสาหกิจที่มีระเบียบการทำงานหลายขั้นตอน

โดย สนข.จะเร่งพิจารณารายละเอียดการจัดตั้งองค์กรเอกชน สัดส่วนการถือหุ้นระหว่างรัฐกับเอกชนที่เหมาะสม และเสนอปลัดกระทรวงคมนาคมรับทราบภานในเดือนสิงหาคมนี้ หากได้รับความเห็นชอบก็จะดำเนินการประกวดราคาแบบนานาชาติ (International Bidding) ซึ่งคาดว่าภายในเดือนพฤษภาคม 2558 การจัดตั้งบริษัทบริหารตั๋วร่วมจะเสร็จสิ้นสามารถเปิดดำเนินงานได้

ส่วนการประกวดราคาโครงการจัดทำระบบศูนย์บริหารจัดการรายได้กลาง (Central Clearing House: CCH) ระบบตั๋วร่วม วงเงิน 430 ล้านบาทนั้น อยู่ระหว่างการตรวจสอบข้อเสนอทางเทคนิคของผู้ยื่นเอกสาร 4 ราย ซึ่งยอมรับการประกวดราคามีความล่าช้ากว่าที่คาดไว้ว่าจะเริ่มให้บริการตั๋วร่วมได้ช่วงปลายปีนี้เนื่องจากผู้ยื่นข้อเสนอแต่ละรายได้นำส่งเอกสารจำนวนมาก จึงต้องใช้เวลาตรวจสอบให้รอบคอบ และคาดว่าการประกวดราคาจะเสร็จสิ้นภายในเดือนสิงหาคมนี้ เริ่มทดสอบระบบการให้บริการเดือนกุมภาพันธ์ 2558 สามารถให้บริการเต็มรูปแบบเดือนพฤษภาคม 2558
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42777
Location: NECTEC

PostPosted: 27/06/2014 1:43 pm    Post subject: Reply with quote

เร่งจัดระเบียบที่ดินตามแนวรถไฟฟ้า
ข่าวเศรษฐกิจ
เดลินิวส์
วันพฤหัสบดี 26 มิถุนายน 2557 เวลา 21:00 น.

สมาคมวิศวกรรมสถานฯเสนอจัดระเบียบ การใช้สิทธิประโยชน์ทีดินตามแนวรถไฟฟ้าใหม่ หลังรายได้กระจุกแต่นายทุน คนรวย แต่คนจนไม่มีสิทธิ พร้อมหนุนลงทุนระบบราง แต่ต้องปฏิรูปคนการบริหาร และ รฟท.ใหม่ด้วย ไม่เช่นนั้นอาจล้มเหลว

นายสุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ นายกสมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ เปิดเผยในการเสวนายกเครื่องระบบรางว่า ต้องการให้ภาครัฐจัดระเบียบการใช้สิทธิประโยชน์ในที่ดินตามแนวรถไฟฟ้า หรือการขนส่งระบบรางในประเทศใหม่ เพราะที่ผ่านมาผลประโยชน์มักตกอยู่กับนายทุน หรือกลุ่มคนรวยที่เข้าไปซื้อที่ดินเก็งกำไร หรือนำไปสร้างเป็นคอนโดมิเนียมขายแก่ผู้มีรายได้สูงเท่านั้น โดยประชาชน หรือผู้มีรายได้ต่ำได้ใช้ประโยชน์จากความเจริญที่ดินตามแนวรถไฟฟ้าน้อย



“ภาครัฐควรวางแผนเร่งพัฒนาเมืองและที่ดินแนวรถไฟฟ้าแบบบูรณาการ โดยวางแผนพัฒนาชุมชนเมืองควบคู่ไปกับระบบสาธารณูปโภคและบริการ หรืออาจนำพื้นที่บางส่วนมามาพัฒนาเป็นที่อยู่อาศัยให้กับคนชั้นกลางและรายได้ต่ำแบบในฮ่องกง หรือแบบในสหรัฐฯ ก็จะมีการวางแผนการใช้ประโยชน์ หรือการเรียกเก็บรายได้เพิ่มเติมจากเอกชน ที่ได้ประโยชน์จากการลงทุนระบบขนส่งรัฐเพิ่มเติม”



อย่างไรก็ตาม ยอมรับการลงทุนพัฒนาการขนส่งระบบรางในไทย เป็นเรื่องที่ต้องทำเร่งด่วน เพราะที่ผ่านมาประเทศไทยย่ำอยู่กับที่มาตลอด โดยโครงการจำเป็นเร่งด่วนคือ การก่อสร้างรถไฟทางคู่ให้เกิดขึ้นทั่วประเทศ รวมถึงรถไฟฟ้า 12 สายในกรุงเทพฯ เพราะจะช่วยลดต้นทุนการขนส่งจาก 14-15% ให้เหลือไม่เกิน 10% อีกทั้งยังช่วยประหยัดพลังงาน และแก้ปัญหาจราจรติดขัดในเมืองหลวงได้ แต่ขณะเดียวกันรัฐบาลจะต้องเตรียมความพร้อมด้าน คน การบริหารจัดการ ให้พร้อมต่อการลงทุนขนาดใหญ่ และรูปแบบการขนส่งที่เปลี่ยนไปด้วย ไม่เช่นนั้นก็จะล้มเหลวอีก ส่วนการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง ไม่ใช่สิ่งจำเป็นในช่วงนี้ แต่ควรพัฒนาเส้นทางรถไฟให้ใช้ประโยชน์ได้เต็มศักยภาพก่อน



นอกจากนี้ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.) ยังเตรียมจัดงานวิศวกรรม 57 วันที่ 27-30 พ.ย.57 ที่ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา โดยภายในงานมีการประชุมวิชาการระดับนานาชาติ งานแสดงสินค้า และจัดนิทรรศการนวัตกรรมด้านวิศวกรรมที่ทันสมัยที่สุดแห่งปี ซึ่งไม่เคยจัดแสดงที่ใดมาก่อนด้วย



นายนคร จันทศร ที่ปรึกษาผู้อำนวยการโครงการพัฒนาขนส่งระบบราง สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าวว่า หากต้องการพัฒนาระบบราง จำเป็นต้องมีการปฏิรูปการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ควบคู่กันไปด้วย เพราะเป็นองค์กรที่ใหญ่เกินไป ทำให้การทำงานไม่มีประสิทธิภาพ โดยเห็นว่าควรพิจารณาแยกบทบาท การพัฒนาเส้นทาง และการเดินรถออกจากกัน หรือมีการจัดตั้งกรมรถไฟขึ้นมาอีกครั้ง เพื่อดูแลเรื่องการทำเส้นทางเหมือนกรมทางหลวงที่สร้างถนน



นายรัฐภูมิ ปริชาติปรีชา ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยเพื่อความเป็นเลิศด้านนวัตกรรมถนนและระบบราง มหาวิทยาลัยนเรศวร กล่าวว่า ไทยจำเป็นต้องลงทุนพัฒนาระบบรางโดยด่วน เพราะระบบขนส่งที่ผ่านมาด้อยประสิทธิภาพ ทำให้เกิดปัญหารถติด การใช้พลังงานเกินความจำเป็น การเกิดอุบัติเหตุ และงบซ่อมแซมถนนสูงถึงปีละ 3-4 หมื่นล้าน แต่ขณะเดียวกันรัฐก็ต้องมีการปรับตัวในหลายส่วนเพื่อรองรับการพัฒนาระบบราง ทั้งในเรื่องกฎหมายเวนคืน กฎหมายร่วมทุน รวมถึงหน่วยงานกลางเพื่อกำกับดูแล
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42777
Location: NECTEC

PostPosted: 29/06/2014 1:36 pm    Post subject: Reply with quote

รถไฟฟ้าในฝัน รายงาน
ความคืบหน้ารถไฟฟ้า 10 สาย (ภาค 1)

1. รถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงเข้ม (ธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต-มหาชัย)

โดยระยะที่ 1 ธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต-บางซื่อ ปัจจุบันมีการประมูลงานโยธาแล้วอยู่ระหว่างดำเนินการรื้อย้ายตอม่อโฮปเวลล์เพื่อเปิดทางก่อสร้าง

ระยะที่ 2 บางซื่อ-หัวลำโพง กำหนดเปิดประกวดราคาในปี 2556 - เอาเข้าจริง ก็ปี 2557-2558
ส่วนระยะที่ 3 หัวลำโพง-บางบอน และระยะที่ 4 บางบอน-มหาชัย คาดว่าจะเริ่มดำเนินโครงการหลังปี 2562

2. รถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงอ่อน (ศาลายา-หัวหมาก) โดยระยะที่ 1 บางซื่อ-ตลิ่งชัน อยู่ระหว่างเปิดทดลองให้บริการ 3 สถานี (ตลิ่งชัน-บางบำหรุ-บางซ่อน) ส่วนระยะที่ 2 คาดว่าจะเริ่มเปิดประมูลภายในปี 2557

3. ส่วนต่อขยายแอร์พอร์ต เรลลิงก์ (พญาไท-บางซื่อ-ดอนเมือง) ทั้งนี้ส่วนแรก พญาไท-มักกะสัน-สุวรรณภูมิ เปิดให้บริการแล้วตั้งแต่ปี 2551 ส่วนต่อขยายนี้ได้รับการเห็นชอบด้าน EIA แล้ว คาดว่าจะเปิดประมูลภายในปี 2557

4. สายสีม่วง ส่วนเหนือ-ใต้ (บางใหญ่-บางซื่อ-ราษฎร์บูรณะ) ในส่วนด้านเหนือคือ บางใหญ่-บางซื่อ อยู่ระหว่างการก่อสร้าง คืบหน้าไปราว 75% แต่ในส่วนใต้ บางซื่อ-ราษฎร์บูรณะ คาดว่าจะเปิดประมูลได้ในปี 2557-58

5. สายสีเขียว (หมอชิต-สะพานใหม่-คูคต และแบริ่ง-สมุทรปราการ-บางปู) นี่เป็นรถไฟฟ้าที่ต่อเชื่อมจากโครงการรถไฟฟ้าบีทีเอสสายสุขุมวิท (หมอชิต-อ่อนนุช) ที่เปิดให้บริการตั้งแต่ปี 2542 ทั้งนี้ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ เริ่มก่อสร้างแล้ว 20% ช่วงสมุทรปราการ-บางปู คาดว่าจะเริ่มก่อสร้างไปแล้วประมาณ 10% สำหรับช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต คาดว่าจะเริ่มเปิดประมูลได้ภายในปี 2557-58
https://www.facebook.com/DreamSkytrain/photos/a.350639341701915.77254.350638225035360/599936700105510/?type=1
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42777
Location: NECTEC

PostPosted: 15/07/2014 11:30 pm    Post subject: Reply with quote

กลุ่มบีทีเอสคว้างานระบบตั๋วร่วมคค.เสนอราคาต่ำสุด 339ลบ.ต่ำกว่าราคากลาง
โดย คเณ มหายศ
คอลัมน์ : ข่าวรายวัน - ข่าวในประเทศ
ฐานเศรษฐกิจ
วันอังคารที่ 15 กรกฏาคม 2014 เวลา 18:20 น.

กลุ่มบีทีเอสคว้างานระบบตั๋วร่วมคมนาคม โดยเสนอราคาต่ำสุด 339 ล้าน ต่ำกว่าราคากลาง 70 ล้านบาท แต่ยังมีลุ้นคมนาคมนำเสนอคสช. ไฟเขียวผลการเสนอราคาเหตุกลุ่ม MS Consortium ร้องเรียน ความไม่โปร่งใส ด้านบิ๊กบีทีเอสเผยเริ่มศึกษาและออกแบบระบบตั้งแต่กย.นี้คาดพร้อมเปิดใช้งานกลางปีหน้า นำร่องใช้งานกับรถไฟฟ้าและทางด่วน

ดร.เผด็จ ประดิษฐ์เพชร ปฏิบัติหน้าที่ผู้อำนวยการสำนักงานโครงการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร(สนข.) เปิดเผยภายหลังการเปิดซองราคาโครงการจัดทำระบบศูนย์บริหารจัดการรายได้กลาง (Central Clearing House หรือ CCH) มูลค่าโครงการ 409 ล้านบาทว่า

กลุ่ม BSV Consortium ที่จัดทำระบบตั๋วร่วมของรถไฟฟ้าบีทีเอสในปัจจุบันที่ประกอบด้วย บริษัทบางกอกแมสทรานซิท ซีสเต็ม จำกัด(มหาชน) ,บริษัทสมาร์ท ทราฟฟิค จำกัด และบริษัท VIX Mobility Pty จำกัด เสนอราคาต่ำสุดด้วยราคา 339 ล้านบาท โดยต่ำกว่าราคากลางที่กำหนดไว้ 409 ล้านบาทถึง 70 ล้านบาท

ส่วนกลุ่มบริษัท MS ConSortium เสนอราคา 411 ล้านบาท และบริษัท AT Consortium เสนอราคา 415 ล้านบาท

“คาดว่าจะมีการต่อรองราคาหลังจากนั้นจะเร่งนำเสนอนายจุฬา สุขมานพ ผู้อำนวยการสนข.เห็นชอบให้ดำเนินการเพื่อเสนอกระทรวงคมนาคมและคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.)พิจารณาต่อไป ซึ่งทั้ง 3 รายที่นำเสนอถือว่าได้ปฏิบัติข้อเสนอราคาอย่างถูกต้อง แม้ว่ากลุ่ม MS ConSortium จะมีการร้องเรียนใน 4 ประเด็นก็ตาม ทั้งนี้ขั้นตอนการดำเนินการทั้งหมดต้องแจ้งคสช.ให้ทราบอีกครั้ง”

ดร.เผด็จกล่าวอีกว่าตามที่มีการร้องเรียนไปยังนางสร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์ ปลัดกระทรวงคมนาคม และคสช. กรณีที่มีการเปลี่ยนบริษัทในกลุ่มคอนซอร์เตี้ยม BSV จาก VIX Technology เป็น VIX Mobility ซึ่งเป็นคนละนิติบุคคลกัน รวมทั้งประสบการณ์ที่ถูกฟ้องร้องจากรัฐบาลออสเตรเลียเพราะไม่สามารถส่งมอบงานได้นั้นคณะกรรมการได้พิจารณาอย่างรอบคอบแล้ว

“โครงการนี้สนข.เปิดให้ยื่นข้อเสนอเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา เพื่อตรวจสอบคุณสมบัติผู้เข้าร่วมประมูล (Express of Interest) และประกาศผล EOI ไปเมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2557 ปรากฎว่ามีผู้ผ่านการคัดเลือก 5 กลุ่มคือ

1) กลุ่มเอที (AT) ประกอบด้วย บจก.ไทยทรานสมิชชั่นอินดัสทรีร่วมกับ กลุ่มเอเซอร์จากประเทศไต้หวัน
2) กลุ่มบีเอสวี (BSV) ซึ่งประกอบไปด้วย บมจ. ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ ร่วมกับกลุ่ม บจก.สมาร์ททราฟฟิค และ บจก. วิกซ์ โมบิลิตี้
3) กลุ่มอินดรา (INDRA) จากประเทศสเปน ร่วมกับกลุ่ม บจก.ไทยบริติชซีเคียวริตี้ปริ้นติ้ง
4) กลุ่มล็อตเต้ (LOTTE) จากประเทศเกาหลีใต้ ร่วมกับกลุ่มบริษัทปัญญาคอนซัลแตนส์ จำกัด และ
5) กลุ่มเอ็มเอส (MS) ประกอบด้วย บจก. เอมเอสไอโกลบอลจากประเทศสิงคโปร์ ร่วมกับ บจก.สามารถ คอมเทค

ซึ่งปรากฏว่ากลุ่มเอ็มเอสได้ร้องเรียนถึงความไม่โปร่งใสของโครงการดังกล่าวในครั้งนี้”

ด้านนายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการ/ผู้อำนวยการใหญ่ฝ่ายปฏิบัติการ บริษัทระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพจำกัด(มหาชน) กล่าวว่าหลังจากผ่านการเซ็นสัญญาเรียบร้อยแล้ว เนื่องจากเมื่อเสร็จสิ้นกระบวนการประกาศราคายังต้องให้ผ่านการพิจารณาของคสช.ก่อนนั้นก็จะเร่งรัดกระบวนการศึกษาออกแบบโครงการดังกล่าวคาดว่าจะเริ่มดำเนินการในเดือนกันยายนนี้ โดยคาดว่าจะมีการใช้งานได้ประมาณกลางปีหน้าโดยเฉพาะรถไฟฟ้าใต้ดินและทางด่วน ก่อนที่จะทยอยใช้งานกับระบบอื่นๆต่อไป

“ไม่ได้หนักใจแม้ว่าจะเสนอราคาต่ำกว่าราคากลางราว 70 ล้านบาทก็ตาม ซึ่งคงจะมีการหารือกันด้วยเหตุผลความจำเป็นอีกครั้ง การดำเนินการยังดำเนินการขั้นตอนที่กำหนดไว้ โดยประมาณ 15 เดือนระบบจะแล้วเสร็จ และ 48 เดือนจะต้องมีการทดสอบระบบ ซึ่งสมาร์ททราฟฟิตได้ใช้งานระบบกับการทางพิเศษอยู่แล้วน่าจะใช้งานร่วมกันได้อย่างไร้ปัญหา ส่วนรถไฟฟ้าจะให้ใช้งานร่วมกับบีทีเอสก่อนขยายไปสู่รถไฟฟ้าสายอื่นต่อไป”
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42777
Location: NECTEC

PostPosted: 16/07/2014 11:58 am    Post subject: Reply with quote

ตามคาด "บีทีเอส" คว้างานระบบตั๋วร่วม เสนอต่ำกว่าราคากลางร่วม 100 ล้าน
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
16 กรกฏาคม 2557 เวลา 08:30:45 น.
BTS ฮุบวางระบบตั๋วร่วมเสนอ 399 ล้าน - สนข.เมินร้องเรียน ยันพิจารณาโปร่งใสแล้ว
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 15 กรกฎาคม 2557 17:45 น

ตามคาด "บีทีเอส" คว้างานระบบตั๋วร่วม เสนอต่ำกว่าราคากลางร่วม 100 ล้าน ดีเดย์ ก.ย.นี้เซ็ตระบบ นำร่องใช้กับระบบทางด่วนและรถไฟฟ้า เริ่ม ก.ย.ปี 58

นายปริญญา ถนัดทาง เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการ สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ในฐานะประธานเปิดซองราคา เปิดเผยว่า ผลการเปิดซองราคาระบบตั๋วร่วมของผู้เข้าร่วมเปิดซองราคา 3 กลุ่ม ประกอบด้วย
1.กลุ่มเอที (AT Consortium) ประกอบด้วย บจก.ไทยทรานสมิชชั่นอินดัสทรี (Thai Transmission Industry Co.,Ltd. ) ร่วมกับกลุ่มเอเซอร์ (ACER Incorporate) จากประเทศไต้หวัน
2.กลุ่มบีเอสวี (BSV Consortium) ประกอบไปด้วย บมจ.ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ (Bangkok Mass Transit System PCL.) ร่วมกับกลุ่ม บจก.สมาร์ททราฟฟิค (Smart Traffic Co.,Ltd.) และ บจก.วิกซ์ โมบิลิตี้ (VIX Mobility Pty.,Ltd.) ประเทศออสเตรเลีย
3.กลุ่มเอ็มเอส (MS Consortium) ประกอบด้วย บจก.เอมเอสไอโกลบอล (MSI Global PTE Ltd.) จากประเทศสิงคโปร์ ร่วมกับ บจก.สามารถ คอมเทค (Samart Comtech Co.,Ltd.)

ผลปรากฎว่ากลุ่มบีทีเอสเป็นผู้เสนอราคาต่ำสุด เสนอราคาอยู่ที่ 339,689,668 บาท ต่ำกว่าราคากลางที่อยู่ที่ 438 ล้านบาท ประมาณ 99 ล้านบาท

ส่วนอีก 2 กลุ่ม ในส่วนของกลุ่มเอที เสนอราคาที่ 415,588,000 ล้านบาท และ กลุ่มเอ็มเอส เสนอราคาอยู่ที่ 4411,949,989.30 บาท

สำหรับขั้นตอนต่อจากนี้ จะเสนอราคาของกลุ่มทึ่เสนอราคาต่ำสุดให้กระทรวงคมนาคมและคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) พิจารณาอนุมัติต่อไป คาดว่าจะลงนามสัญญาได้อีกประมาณ 1 เดือนนับจากนี้ และคาดว่าจะเริ่มงานได้ตั้งแต่เดือนกันยายน 2557 นี้ จะใช้เวลาดำเนินการ 30 เดือน

นายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ สายปฎิบัติ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีทีเอสซี ผู้ให้บริการรถไฟฟ้าบีทีเอส กล่าวว่า ตามสัญญาจะใช้ระยะเวลาดำเนินการ 30 เดือน เพื่อติดตั้งระบบทั้งหมด คาดว่าจะติดตั้งระบบเสร็จภายในเดือนที่ 15 ส่วนเดือนที่ 18 จะเริ่มทดสอบระบบ โดยคาดว่าจะเริ่มนำร่องทดลองใช้ระบบในเดือนกันยายน 2558 โดยจะเป็นระบบทางด่วนและรถไฟฟ้า ทั้งนี้ แม้ BTS จะเสนอราคาต่ำกว่าราคากลางเกือบ 100 ล้านบาท แต่ไม่มีปัญหาสามารถทำงานได้ตามเงื่อนไขเพราะบริษัท และผู้ร่วมกลุ่มมีประสบการณ์โดยจะเสนอ สนข.นำร่องการใช้ตั๋วร่วม 3 จาก 5 ประเภท ตามทีโออาร์กำหนด คือ ระบบทางด่วน, ร้านค้าร่วมรายการ และซิมการ์ดโทรศัพท์มือถือ โดยจะหารือกับ สนข.ก่อน

ทั้งนี้ คณะกรรมการฯต้องใช้เวลาเกือบ 3 ชั่วโมงก่อนจะตัดสินเปิดซองเสนอราคาโดยได้ประชุมกันเป็นระยะ เนื่องจากกรณีที่กลุ่ม MS Consortium ได้ทำหนังสือร้องเรียนไปยังคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.), ปลัดกระทรวงคมนาคมรวมถึง สนข.ใน 3 ประเด็น คือ กลุ่ม BSV Consortium ทำผิดทีโออาร์ โดยเปลี่ยนบริษัทในกลุ่มคอนซอร์เตียม BSV จาก VIX Technology เป็น VIX Mobility ซึ่งเป็นคนละนิติบุคคลกัน รวมทั้งประสบการณ์ที่ถูกฟ้องร้องจากรัฐบาลออสเตรเลีย เพราะไม่สามารถส่งมอบงานได้ และมีผลประโยชน์ทับซ้อนเนื่องจาก BTS ซึ่งอยู่ในกลุ่ม BSV เป็นผู้ให้บริการรถไฟฟ้า รวมถึงกำหนดระยะเวลาในการเปิดซองกระชั้นชิด โดยทางกลุ่ม MS ไม่ได้ส่งผู้แทนเข้าร่วมเปิดซองราคาในวันนี้ มีเพียงผู้สังเกตุการณ์เท่านั้น โดยเสนอคณะกรรมการฯ ขอให้เลื่อนการเปิดซองราคาออกไป 1 สัปดาห์เนื่องจาก เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2557 สนข.เพิ่งแจ้งผลการพิจารณาด้านเทคนิคและกำหนดเปิดซองข้อเสนอราคาในวันที่ 15 กรกฎาคมทันที ซึ่งติดวันหยุดหลายวัน

นายเผด็จ ประดิษฐ์เพชร ปฎิบัติหน้าที่ผู้อำนวยการสำนักบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม สนข.ในฐานะเลขาฯคณะกรรมการประกวดราคาระบบตั๋วร่วมกล่าวว่า คณะกรรมการฯ ได้พิจารณากรณีข้อร้องเรียนแล้ว มีความชัดเจนว่ากลุ่ม BSV ได้ยื่น VIX Mobility เป็นผู้ร่วมคอนซอร์เตียมตั้งแต่เริ่มต้น ส่วนการฟ้องร้องจากรัฐบาลออสเตรเลียเป็นเรื่องในอดีตที่จบแล้ว จึงไม่ผิดทีโออาร์แต่อย่างใด และเป็นคนละเรื่องกับการเปิดซองราคาในวันนี้ โดยจะพิจารณาเพียงเรื่องเวลาเปิดซองที่เร็วไปหรือไม่ซึ่งเห็นว่า ทาง MS มีตัวแทนจากสิงคโปร์ ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากประเทศไทย จึงไม่เป็นข้ออ้าง และจะดำเนินการเปิดซองโดยเปิดเผย ดังนั้นจึงถือว่าโปร่งใส

“ทางปลัดกระทรวงคมนาคมได้มีหนังสือถึงสนข. แจ้งถึงกรณีที่มีการร้องเรียน โดยระบุว่าให้สนข.ดำเนินการตามขั้นตอนอย่างโปร่งใสและรายงานผลให้ทราบทไม่ได้สั่งระงับเรื่องการเปิดซองราคา ส่วน คสช.นั้น ก่อนหน้านี้ได้ส่งทีมเข้ามาตรวจสอบโครงการนี้แล้วว่ามีกระบวนการทำงานอย่างไร และไม่ได้สั่งระงับการเปิดซองราคา ซึ่งหลังสรุปผลจะต้องทำรายงานต่อ คสช.อีกครั้ง อย่างไรก็ตาม โครงการนี้มีความล่าช้าแล้วและหากไม่เร่งเปิดซองราคาจะยิ่งช้าและทำให้เสียหายเพราะระบบตั๋วร่วมจะเกิดขึ้นไม่ได้ ถ้าศูนย์บริหารจัดการรายได้กลาง (Central Clearing House หรือ CCH) ไม่เกิดขึ้นก่อน” นายเผด็จกล่าว

โดยขั้นตอนหลังจากนี้ คณะกรรมการประกวดราคาฯ จะสรุปผลเสนอขอความเห็นชอบต่อผู้อำนวยการ สนข.ก่อนจากนั้นจะเข้าสู่กระบวนการต่อรองราคากับผู้เสนอราคาต่ำสุดโดยคาดว่าจะใช้เวลาประมาณเดือนครึ่ง คาดว่าจะลงนามสัญญาและเริ่มงานได้ในเดือนกันยายน 2557 และในขณะเดียวกันจะรายงานผลการประกวดราคาฯไปยังกระทรวงคมนาคมเพื่อนำรายงานต่อคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) พิจารณาเป็นการคู่ขนานไปด้วย
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42777
Location: NECTEC

PostPosted: 19/07/2014 1:10 pm    Post subject: Reply with quote

ชี้คมนาคมยังเน้นระบบราง
โดย กอง บก.ฐานเศรษฐกิจ อสังหา REAL ESTATE -
คอลัมน์ : อสังหาฯ-คมนาคม
ออนไลน์เมื่อ วันอังคารที่ 15 กรกฏาคม 2014 เวลา 13:21 น.
ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 34 ฉบับที่ 2,966 วันที่ 17 - 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

คมนาคมคาดสำนักงบประมาณ สรุปงบปี 58 กว่า 1.54 แสนล้าน ก่อนประกาศใช้ให้ทันตุลาคมนี้ เผยยุทธศาสตร์ระบบราง-ถนนยังฮอต โดย 2 ทางคู่ "จิระ-ขอนแก่น, ประจวบฯ-ชุมพร" ยังเต็งหนึ่ง ส่วนรถไฟฟ้าสายสีเขียว-ส้ม-ชมพู ยังฉลุยทั้งค่าเวนคืนและงบก่อสร้าง คาดปลายปี 57 เริ่มเห็นภาพชัดกรณีได้ตัวผู้รับจ้าง เปิดขายซองเอกสารประกวดราคาและเริ่มรื้อย้ายสาธารณูปโภค
แหล่งข่าวระดับสูงของกระทรวงคมนาคมเปิดเผย "ฐานเศรษฐกิจ" ว่าขณะนี้อยู่ระหว่างรอสำนักงบประมาณสรุปความชัดเจนงบปี 2558 ที่แต่ละหน่วยงานส่งข้อมูลให้พิจารณา ซึ่งกระทรวงคมนาคมได้นำเสนอไปจำนวน 1.54 แสนล้านบาท ดังนั้นเมื่อได้จำนวนงบประมาณที่ชัดเจนก็จะเร่งนำไปใช้ดำเนินโครงการต่างๆตามแผนให้แล้วเสร็จโดยเร็วต่อไป

altทั้งนี้ภาพรวมยังเน้นการนำไปใช้เพื่อการพัฒนาระบบราง ระบบถนน ไม่ว่าจะเป็นโครงการรถไฟ รถไฟฟ้า และโครงการปรับปรุงซ่อมแซมถนนเส้นทางต่างๆ โดยให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของกระทรวงที่ยังให้ความสำคัญต่อการพัฒนาระบบราง ระบบถนน เป็นพิเศษจึงได้รับงบประมาณจำนวนมากกว่าระบบอื่นๆ
"งบดังกล่าวจัดอยู่ในยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมขนส่งของไทย 2558-2565 ซึ่งที่ประชุมครั้งล่าสุดกับสำนักงบประมาณและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องยังเน้นให้เร่งดำเนินการในปี 2558 นี้ได้แก่ รถไฟทางคู่ 5 เส้นทาง โดยคัดเลือก 2 เส้นทางที่มีความพร้อมเปิดประมูลไปก่อนและเร่งดำเนินการ คือ เส้นทางจิระ-ขอนแก่น และเส้นทางประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร เช่นเดียวกับรถไฟฟ้า 3 เส้นทางคือสายสีเขียว(ส่วนเหนือ) ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต สายสีส้ม(โซนตะวันออก) ช่วงศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี และสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรีที่งานประมูลและเริ่มก่อสร้างจะเห็นความชัดเจนในปลายปีนี้และปี 2558"
ขณะที่ งบประมาณ 1.54 แสนล้านบาทนั้นมีทั้งงบประจำปี งบผูกพัน งบตามพ.ร.บ.หนี้สาธารณะ ซึ่งเฉพาะงบลงทุนนั้นมีมากถึง 4.4 หมื่นล้านบาท แบ่งเป็นงบประจำปี 1.8 หมื่นล้านบาท และงบพ.ร.บ.หนี้สาธารณะ 2.6 หมื่นล้านบาท แต่เมื่อรวมกับงบผูกพัน(ปี 2558-2565)อีก 7 หมื่นล้านบาท รวมเป็นงบประมาณทั้งสิ้น 8.8 หมื่นล้านบาท
"งบปี 2558 วงเงิน 4.4 หมื่นล้านบาทจะนำไปใช้เพื่อการลงทุนในโครงการต่างๆโดยไม่รวมกับงบประมาณประจำปี 2558 อีกกว่า 1 แสนล้านบาทที่จัดเป็นงบประจำ(งบประมาณประจำปีปกติ) เช่น งบขุดลอกร่องน้ำ งบซ่อมบำรุงของกรมทางหลวง-กรมทางหลวงชนบท งบเพื่อการเวนคืน การศึกษาออกแบบ จะถูกจัดเอาไว้ในส่วนนี้ ส่วนงบประมาณเพื่อการก่อสร้างจะจัดไปอยู่ในงบเพื่อการลงทุนทั้งหมด"
สำหรับงบลงทุนของปี 2558 นั้นจะนำไปใช้พัฒนาโครงการสำคัญๆขนาดใหญ่ ที่เริ่มเห็นภาพวงเงินชัดเจนบ้างแล้ว ได้แก่ รถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่คูคต วงเงินก่อสร้าง 3.8 หมื่นล้านบาท ได้รับงบค่าเวนคืน 972 ล้านบาท งบผูกพัน 6,906 ล้านบาท รวมงบ 2 รายการเป็นเงิน 7,878 ล้านบาท และยังมีงบจากพ.ร.บ.หนี้สาธารณะใช้ก่อสร้างอีกจำนวน 7,418 ล้านบาทในปี 2558 สายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี ค่าเวนคืน 32 ล้านบาท งบผูกพัน 9,625 ล้านบาท สายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี ค่าเวนคืน 23 ล้านบาท งบผูกพัน 5,651 ล้านบาท สายสีเหลือง งบเวนคืน 28 ล้านบาท ส่วนงบผูกพันไม่ได้รับ
ในส่วนรถไฟทางคู่เส้นทางจิระ-ขอนแก่น ได้รับงบปี 2558 (ค่าก่อสร้าง) 304 ล้านบาท งบผูกพัน(ปี 2558-2565)ปีละ 304 ล้านบาท เส้นทางมาบกะเบา-ถนนจิระ ปี 2558 ใช้งบ 28 ล้านบาท งบผูกพันปีละ 28 ล้านบาท เส้นทางประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร ปี 2558 ใช้งบ 59 ล้านบาท งบผูกพันปีละ 59 ล้านบาท เส้นทางนครปฐม-หัวหิน ใช้ในปี 2558 งบ 169 ล้านบาท งบผูกพันปีละ 169 ล้านบาท เส้นทางลพบุรี-ปากน้ำโพ ปี 2558 ใช้งบ 39 ล้านบาท งบผูกพันปีละ 39 ล้านบาท
"ทั้งนี้ยังอยู่ในระหว่างการเร่งพิจารณาของคณะกรรมาธิการพิจารณางบประมาณรายจ่ายประจำปี 2558 ของสำนักงบประมาณเพื่อให้ทันประกาศใช้ก่อนเดือนตุลาคม 2557 นี้เนื่องจากคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.)เห็นชอบให้กระทรวงการคลังดำเนินการพิจารณากลั่นกรองโครงการจัดซื้อจัดจ้างของรัฐวิสาหกิจที่มีมูลค่าตั้งแต่ 100 ล้านบาทขึ้นไปและได้เริ่มกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างแล้ว แต่ยังมิได้มีการผูกพันกับบุคคลภายนอก และสำนักคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ(สคร.)ขอให้ทุกหน่วยดำเนินการจัดส่งข้อมูลพร้อมทั้งสรุปการจัดซื้อจัดจ้างให้สคร.พิจารณาถึงประโยชน์และความเหมาะสมอีกครั้งหนึ่ง ดังนั้นช่วงนี้จึงต้องรอความชัดเจนก่อนดำเนินการในขั้นต่อไป"
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 93, 94, 95 ... 278, 279, 280  Next
Page 94 of 280

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©