View previous topic :: View next topic
Author
Message
Wisarut
1st Class Pass (Air) Joined: 27/03/2006 Posts: 43374
Location: NECTEC
Posted: 14/06/2014 2:57 am Post subject:
The Singapore Free Press and Mercantile Advertiser , 9 May 1932, Page 2: กล่าวถึง หัวหิน - บขส. สมัยยังให้บริการสายการบิน และ การให้ยิมรถจักรถึงสิงคโปร์
http://eresources.nlb.gov.sg/newspapers/Digitised/Article/singfreepressb19320509-1.2.8.aspx
ระดมกุลี 400 คนสร้างทางรถไฟสายใหม่ที่ตรัง (The Straits Times, 11 January 1910, Page 6)
http://eresources.nlb.gov.sg/newspapers/Digitised/Article.aspx?articleid=straitstimes19100111-1.2.22&sessionid=721414c0b2314f2680eef62273a998ee&keyword=siamese+railway&token=railway%2csiamese
วัสดุกรมรถไฟเพื่อการสร้างทางสายใหม่ มากับเรือ Dovre ของนอร์เวย์ ถึงกรุเทำเมื่อวานนี้ (13 กรกฎาคม 2449)
Eastern Daily Mail and Straits Morning Advertiser, 14 July 1906, Page 3
http://eresources.nlb.gov.sg/newspapers/Digitised/Article.aspx?articleid=easterndaily19060714-1.2.14.33&sessionid=721414c0b2314f2680eef62273a998ee&keyword=siamese+railway&token=railway%2csiamese
กรมรถไฟ ให้ take over งานการสร้างรถไฟสายโคราชจาก Murray Campbell มา สร้างเอง
The Straits Times, 13 August 1896, Page 2
http://eresources.nlb.gov.sg/newspapers/Digitised/Article.aspx?articleid=straitstimes18960813-1.2.21&sessionid=54ed2e7155254058a9a5ce86ec12050a&keyword=siamese+railway&token=railway%2csiamese
ทางรถไฟจากกรุงเทพ (บางกอกน้อย) ไปถึงตรังไ้ดดดยตลอดเมื่อวานนี้ (วันที่ 9 ตุลาคม 2459 - วันที่ ทางเชื่อมกันที่ ชุมพร)
The Straits Times, 10 October 1916, Page 6
http://eresources.nlb.gov.sg/newspapers/Digitised/Article.aspx?articleid=straitstimes19161010-1.2.21&sessionid=54ed2e7155254058a9a5ce86ec12050a&keyword=siamese+railway&token=railway%2csiamese
รถด่วนสายใต้ ที่เดินไปเมืองไปร ได้กลับมาใช้งานได้อีกครั้ง หลังมีโทรเลขแจ้งเมื่อคืนวานนี้ ว่ากรมรถไฟซ่อมทางที่โดนน้ำท่วมได้แล้ว (28 พฤศจิกายน 2469)
The Straits Times, 29 November 1926, Page 8
http://eresources.nlb.gov.sg/newspapers/Digitised/Article.aspx?articleid=straitstimes19261129-1.2.46&sessionid=b805a5c5a78c4a74b1011b2a80960583&keyword=siamese+railway&token=railway%2csiamese
ญี่ปุ่น ชนะการประมูลรถจักรรถพ่วงที่จะส่งมอบให้กรมรถไฟหลวง ประเทศสยาม
The Singapore Free Press and Mercantile Advertiser (1884-1942), 1 November 1935, Page 9
http://eresources.nlb.gov.sg/newspapers/Digitised/Article.aspx?articleid=singfreepressb19351101-1.2.96&sessionid=add7146694144cb19023d60bcaac6847&keyword=siamese+railway&token=railway%2csiamese
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ กลับจากการตรวจพินิจการสร้างรถจักรรถพ่วงที่ประเทศญี่ปุ่น - รายงานจากเซี่ยงไอ้ เมื่อ 17 มกราคม 2478 (กว่าจะเปลี่ยนศกก็ 1 เมษายน 2479 นะครับ)
The Singapore Free Press and Mercantile Advertiser (1884-1942), 18 January 1936, Page 1
http://eresources.nlb.gov.sg/newspapers/Digitised/Article.aspx?articleid=singfreepressb19360118-1.2.15&sessionid=add7146694144cb19023d60bcaac6847&keyword=siamese+railway&token=railway%2csiamese
รถด่วนสายใต้ มาถึง สถานีปาดังเบซาร์ ล่าช้า ไป ตั้ง 8 ชั่วโมง 10 นาที เพราะ สะพานไม้เกิดไฟไหม้
The Singapore Free Press and Mercantile Advertiser (1884-1942), 19 February 1929, Page 9
http://eresources.nlb.gov.sg/newspapers/Digitised/Article.aspx?articleid=singfreepressb19290219-1.2.69&sessionid=add7146694144cb19023d60bcaac6847&keyword=siamese+railway&token=railway%2csiamese
จุดเชื่อมต่อกะรถไฟสยาม เข้ากะรถไฟมลายู ที่รัฐกลันตัน ได้เลือกเอาที่รันตูปันจัง เพราะ ตอนนี้ กรมรถฟมลายูได้ทำทางไปทางดังกล่าว
The Singapore Free Press and Mercantile Advertiser (1884-1942), 25 November 1915, Page 10
http://eresources.nlb.gov.sg/newspapers/Digitised/Article.aspx?articleid=singfreepressb19151125-1.2.67&sessionid=add7146694144cb19023d60bcaac6847&keyword=siamese+railway&token=railway%2csiamese
หนังสือพิมพ์ The Siam Observer รายงานเมื่อ 10 ตุลาคม 2462 ว่ากว่าทางรถไฟจะไปถึงกลันตันก็อีกนานจนกว่าสะพานข้ามแม่น้ำปัตตานีจะเสร็จเรียบร้อย ขณะที่ FMSR วางราง ถึงริมแม่น้ำโก-ลก ในเดือน เมษายน ปีหน้า
The Straits Times, 18 October 1919, Page 9
http://eresources.nlb.gov.sg/newspapers/Digitised/Article.aspx?articleid=straitstimes19191018-1.2.72&sessionid=c9f03e13e2a64da384db6b6763f9ce78&keyword=siamese+railway&token=railway%2csiamese
Back to top
Mongwin
1st Class Pass (Air) Joined: 24/09/2007 Posts: 46281
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
Posted: 19/06/2014 12:42 pm Post subject:
บันทึกช่วยจำของกลุ่มวิจัยตัวเร่งปฏิกิริยาโลหะออกไซด์ บันทึกความจำของวิศวกรเคมีผู้ลงมือปฏิบัติ (mo.memoir@gmail.com)
วันพุธที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2557
ภาพรถไฟในหนังสือพงศาวดารชาติไทย (ก่อนจะเลือนหายไปจากความทรงจำ ตอนที่ ๗๔) MO Memoir : Wednesday 18 June 2557
"..... การศึกษาประวัติศาสตร์ คือการเหลียวหลังดูอดีตนั่นเอง เราเหลียวเห็นอดีตที่ดี เราก็จะได้จดจำไว้เพื่อประพฤติปฏิบัติให้ดียิ่ง ๆ ขึ้นไป ถ้าเหลียวพบสิ่งชั่ว ก็จะได้จดจำไว้ว่าเราจะไม่ทำเช่นนั้นอีก และจักได้ศึกษาต่อไปว่าอะไรเป็นเหตุทำให้ชั่ว เราจักได้ตัดต้นเหตุนั้นเสีย และอะไรเป็นเหตุที่ทำให้ดี เราจักได้ถือเอาเหตุนั้นเพื่อก่อสานต่อไป ....."
นั่นคือส่วนหนึ่งของข้อความในจดหมายที่เขียนโดยหลวงรณสิทธิ์พิชัย อธิบดีกรมศิลปากรแห่งชาติ (ในขณะนั้น) ต่อการจัดทำหนังสือ "พงศาวดารชาติไทย ความเป็นมาของชาติ แต่ยุคดึกดำพรรพ์" หนังสือชุดนี้มีทั้งสิ้น ๕ เล่ม ที่น่าสนใจก็คือมีได้มีการรวบรวมภาพถ่ายเก่า ๆ เอาไว้ประมาณ ๓๐๐๐ ภาพ แต่ที่น่าเสียดายก็คือด้วยเทคโนโลยีการพิมพ์ในยุคนั้น ทำให้ภาพที่พิมพ์ลงหนังสือนั้นมีขนาดเล็กและยังขาดความคมชัด สีของภาพที่ปรากฏในแต่ละหน้าก็แตกต่างกันไป ไม่รู้ว่าเป็นเพราะสีของหมึกพิมพ์หรือเป็นเพราะหนังสือนี้พิมพ์มานานแล้ว (นับถึงปัจจุบันก็เข้าปีที่ ๖๑ แล้ว)
ผมไปพบหนังสือชุดนี้ในห้องสมุดของมหาวิทยาลัยในหมวดหนังสือประวัติศาสตร์ (ภาษาไทย) ชั้นหนังสือตั้งอยู่ที่ซอกมุมห้องที่ปรกติมักจะไม่มีคนเดินเข้าไปดูหนังสือ (แต่ก็มีคนเข้าไปใช้ซอกมุมดังกล่าวในการอ่านหนังสือเงียบ ๆ)
หนังสือชุดนี้จัดทำโดยคุณสม พ่วงภักดี และคุณทัศนีย์ พ่วงภักดี (รูปของทั้ง ๒ ท่านตีพิมพ์ในหนังสือดังกล่าวด้วย) หนังสือมีขนาดประมาณกระดาษ A5 แต่ว่าแต่ละเล่มก็หนาอยู่เหมือนกัน กระดาษในบางหน้าก็เริ่มเหลืองกรอบแล้ว ไม่รู้ว่าจะได้อยู่บนชั้นหนังสือได้อีกนานเท่าใด และต่อจากนั้นจะเป็นยังไงต่อไป เนื้อหาในหนังสือแบ่งได้เป็นสองส่วน คือส่วนที่เป็นบทความข้อความ และส่วนที่เป็นการรวบรวมรูปภาพ หรือการเล่าเรื่องด้วยรูป
เนื่องด้วยผมเองได้เขียนเรื่องเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของรถไฟของบ้านเราเอาไว้บ้าง และในหนังสือชุดนี้ก็มีรูปภาพเกี่ยวกับกิจการรถไฟปรากฏอยู่ ๖ ภาพ (จากภาพทั้งหมดร่วม ๓๐๐๐ ภาพ) ก็เลยคัดเอาเฉพาะภาพที่เกี่ยวกับรถไฟมาลงใน Memoir นี้ รายละเอียดของแต่ละภาพก็ปรากฏอยู่ที่ภาพเหล่านั้นแล้ว
ความคมชัดของแต่ละภาพที่ตีพิมพ์ในหนังสือก็เป็นดังที่เห็น น่าจะเป็นเพราะเทคโนโยลีการพิมพ์ในยุคนั้นและการที่หนังสือมีขนาดเล็กจึงทำให้ขนาดภาพเล็กลงไปด้วย บางหน้ามีภาพถึง ๒ ภาพพร้อมคำบรรยาย ขนาดภาพจึงเล็กลงไปอีก แม้จะพยายามขยายรูปให้ใหญ่ขึ้น (ดังที่เอามาแสดงในที่นี้) ก็ไม่ได้ให้รายละเอียดอะไรเพิ่มเติมมากนัก
แต่มีสิ่งหนึ่งที่น่าสนใจคือภาพจำนวนมากที่ปรากฏในหนังสือชุดนี้ ผมไม่เคยเห็นปรากฏในหนังสืออื่นใด ๆ อีกที่ออกมาทีหลังหนังสือนี้ ทำให้น่าสงสัยว่าต้นฉบับภาพเหล่านั้นอยู่ที่ไหน ใครเป็นผู้เก็บรักษาเอาไว้ และยังอยู่ในสภาพที่ดีหรือเปล่า และน่าจะมีการนำออกเผยแพร่สู่สาธารณะ เพื่อให้คนรุ่นปัจจุบันและถัดไปได้ศึกษาหาความรู้ต่อไป
ขอปิดท้าย Memoir ฉบับนี้ด้วยข้อความที่ปรากฏในหน้าสุดท้ายของหนังสือเล่มนี้
หนังสือเล่มนี้พิมพ์ที่โรงพิมพ์ ส.ธรรมภักดี
ถนนข้าวสาร พระนคร
นายสม พ่วงภักดี ผู้พิมพ์และผู้โฆษณา
วันที่ ๒๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๙๖
เขียนโดย MO Memoir เมื่อ 6/18/2557 01:08:00 หลังเที่ยง
Back to top
Mongwin
1st Class Pass (Air) Joined: 24/09/2007 Posts: 46281
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
Posted: 25/06/2014 4:44 pm Post subject:
วิชาอะไร ตอนที่ 41 "รถไฟไทย"
โดย ผศ.ยงยุทธ จรรยารักษ์ นักธรรมชาติวิทยา อดีตอาจารย์ประจำภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ดำเนินรายการโดย คุณทรงกลด บางยี่ขัน
Published on Jun 25, 2014
Quote: 'วิชาอะไร' เริ่มต้นขึ้นเมื่อผมได้คุย เรียน และเดินทางร่วมกับผู้ช่วยศาสตราจารย์ยงยุทธ จรรยารักษ์บ่อยขึ้นเรื่อยๆ ก็รู้สึกว่า ความรู้และความคิดของอาจารย์ท่านน่าสนใจมาก และควรถูกเผยแพร่ในวงกว้าง เลยตั้งใจจะทำหนังสือสัมภาษณ์อาจารย์ขึ้นมา 1 เล่ม เป็นหนังสือที่อ่านแล้วรู้สึกเหมือนได้นั่งเรียนกับอาจารย์ เนื้อหานั้นไม่วิชาการจ๋า แต่เป็นความคิดของอาจารย์ที่มีต่อเรื่องต่างๆ อ่านแล้วหูตาสว่าง เข้าใจเรื่องราวของสิ่งที่อยู่รอบตัวในแง่มุมที่เราไม่เคยนึกถึงมาก่อน ภายใต้ 3 เรื่องหลักคือ ธรรมชาติ การศึกษา และวิถีไทย อ่านจบแล้วเหมือนได้ลงทะเบียนเรียนวิชาชีวิตกับอาจารย์
ทีแรกตั้งใจว่าจะนั่งคุยกัน 2 คน แต่เกรงว่าจะเกิดประโยชน์น้อย เลยชักชวนผู้ที่สนใจมาร่วมนั่งเรียน นั่งฟัง นั่งถามด้วยกัน ด้วยความที่อาจารย์ชอบสอนไปตั้งคำถามชวนคิดไป ผมก็เลยตั้งชื่อโครงการนี้ว่า 'วิชาอะไร'
เราเริ่มเรียนกันครั้งแรกวันที่ 3 มิถุนายน 2552 ที่โต๊ะไม้ธรรมดาๆ ใต้ตึก มีคนมานั่งฟังอยู่สัก 20 คน เรียนไปก็ตบยุงกันไป จากนั้น 'วิชาอะไร' ก็เริ่มย้ายไปจัดในห้องเท่าที่จะหาได้ เดือนละครั้ง มีคนสนใจมาฟังมากขึ้น จากห้องเล็กก็ขยายสู่ห้องใหญ่ขึ้น นับถึงวันนี้ก็เป็นครั้งที่ 41 ภายในเวลา 5 ปี
ช่วงนี้อาจารย์สุขภาพไม่ดี เราจึงเปลี่ยนไปบันทึกเทปการสอนที่บ้านของอาจารย์แล้วนำมาให้ชมผ่านโลกออนไลน์แทน โดยได้พี่เอ๋ยและพี่ป๊อปจากรายการ Human Ride มาช่วยบันทึกภาพ จากนั้นพี่เอ๋ยก็ช่วยดูแลจนออกมาเป็นคลิปนี้
หวังว่าอาจารย์ยงยุทธของพวกเราจะมีสุขภาพแข็งแรง และกลับมาสอนพวกเราในห้องเหมือนเดิมอีกในเร็ววันครับ
ทรงกลด บางยี่ขัน
Back to top
Wisarut
1st Class Pass (Air) Joined: 27/03/2006 Posts: 43374
Location: NECTEC
Back to top
Mongwin
1st Class Pass (Air) Joined: 24/09/2007 Posts: 46281
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
Posted: 23/10/2014 1:35 pm Post subject:
ตำบลโคกกรวด อ.เมืองนครราชสีมา ที่มาของชื่อโคกกรวด มีดังนี้
Quote: ชื่อตำบลโคกกรวด มีที่มาจากแต่เดิมบริเวณหมู่ที่ ๑๒ (เขาดิน) เป็นเนินเขาที่มีหินกรวดอยู่เป็น่จำนวนมาก และทางราชการได้นำหินกรวดดังกล่าวไปใช้สร้างถนนมิตรภาพ และทำทางวิ่งสนามบินในจังหวัดนครราชสีมาจนบริเวณดังกล่าวหมดสภาพเนินเขาหลงเหลือไว้เพียงเนินดิน เรียกว่า "เขาดิน ซึ่งสถาพพื้นที่จึงได้ถูกเรียกว่า "โคกกรวด"
ที่มา: http://www.thaitambon.com/tambon/ttambon.asp?ID=300117
แต่ในหนังสือ"นิราศอุบลราชธานี " แต่งโดยพระมหาวิไชย (จัน อุตรนคร) เมื่อวันศุกร์ ขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๙ ปีชวด จุลศักราช ๑๒๖๒ ตรงกับพุทธศักราช ๒๔๔๓ พรรณนาการเดินทางจากอุบลราชธานีมากรุงเทพมหานคร แต่ต้นฉบับขาดตอนที่กวีมาถึงสถานีรถไฟแก่งคอย เมืองสระบุรี จึงไม่อาจบอกได้ว่ากวีเดินทางมาทำธุระประการใดที่กรุงเทพมหานคร
ช่วงที่เดินทางถึงสถานีรถไฟโคกกรวด ได้บรรยายไว้ได้น่าสนใจ ทำให้ทราบถึงที่มาของชื่อโคกกรวดด้วยครับ
ที่มา: นิราศอุบลราชธานี พิมพ์ที่โรงพิมพ์ถนนบ้านหม้อ กรุงเทพมหานคร ร.ศ. ๑๑๙ พ.ศ. ๒๔๔๓
Quote: ....
ถึงเดือนกันย์วันที่ยี่สิบห้า ต้องจำลาโคราชไปขาดเขิน
ขนของขึ้นรถไฟฤทัยเพลิน ดูกรายเกริ่นผู้คนเสียงอลอึง
มีรถนั่งหกคันเขาสรรพ่วง ขอเหล็กห่วงเกาะมั่นโดยขันขึง
เสียงเป่าหลอดหวอดหวือออกอื้ออึง พอสามครึ่งโมงเช้าก็เต้าจร
เมื่อแรกเปิดหลอดหวอลูกล้อเลื่อน กระตุกเตือนฉุดกระชากเหมือนลากขอน
เมื่อรถหน้าเรือนไฟครรไลจร รถหลังต้อนตามเขยื้อนดูเหมือนบิน
ถึงโคกกรวด เห็นคนออกดาษดื่น เขาขุดพื้นแซะช้อนเอาก้อนหิน
แล้วทุบแตกแหลกปอนเหมือนก้อนดิน ได้มากสิ้นแล้วขายจำหน่ายไป
การแลกเปลี่ยนเป็นเกวียนละเก้าบาท ประชาราษฎร์แย่งกันออกหวั่นไหว
ถ้าคนเดียวเคี่ยวทำตระหน่ำไป สามวันได้ไม่ท้อก็พอเกวียน
แปดสิบถังไม่เพี้ยนคือเกวียนหนึ่ง กำหนดถึงมาตรามาเสถียร
การที่ทำไม่ยากบากจำเนียร ได้หลายเกวียนกองไว้ที่ใกล้ทาง
พนักงานต้องการก็มาซื้อ ตัวก็รื้อโกยขนไม่หม่นหมาง
มีรถงานคอยรับอยู่กับราง ครบระวางได้เงินไม่เนิ่นนาน
พวกคนลาวรับจ้างไม่ร้างเริด เป็นบ่อเกิดเงินทองช่องสถาน
ทุกทุกวันหมั่นจริงไม่ทิ้งการ คนทำงานเกลื่อนกลาดไม่ขาดตอน
หินที่ทุบให้แตกจนแหลกนี้ สำหรับที่ถมทางตามหว่างหมอน
ตลอดทางรถไฟครรไลจร ไม่โยกคลอนสนิทสนมกว่าถมดิน
เขาหยุดพักรถาห้ามินิต ด้วยมีกิจตรวจการณ์ตามฐานถิ่น
พอเสร็จสรรพเปิดไปดังใจจินต์ ประเดี๋ยวสิ้นเขตบ้านสำราญใจ
เห็นทิวเขาทิศเหนือดูเหลือยืด เมื่อพิศมืดสูงเยี่ยมเหลี่ยมไศล
เขียวชอุ่มพุ่มผาสง่าไกล มีหมู่ไม้เกิดประจำสม่ำกัน
ถึงกุดจิก รถไฟมิได้พัก เขาเปิดจักรเร็วกลมดังลมผัน
พอพ้นบ้านเห็นเขาลำเนาชัน เป็นหมอกควันมืดคลุ้มชอุ่มใหญ่
พี่พิศเพ่งเล็กผาดนึกคาดใจ จะผ่าไปหรือเจาะเดินเลาะเวียน
ถึงสูงเนิน รอจักรหยุดพักยั้ง เพื่อตรวจสังเกตการณ์ย่านเสถียร
ยี่สิบห้านาทีมีจำเนียร กับเพื่อเปลี่ยนน้ำเข้าหม้อจึงรอนาน
....
อ่านฉบับเต็มได้จากหนังสือ ประชุมนิราศ ภาคที่ ๔ สำนักพิมพ์ต้นฉบับ รวมพิมพ์ครั้งที่ ๑ พ.ศ. ๒๔๕๗
Back to top
Wisarut
1st Class Pass (Air) Joined: 27/03/2006 Posts: 43374
Location: NECTEC
Back to top
alderwood
1st Class Pass (Air) Joined: 10/04/2006 Posts: 6593
Location: กรุงเทพ-ราชสีมา
Posted: 24/10/2014 12:11 am Post subject:
Mongwin wrote: ตำบลโคกกรวด อ.เมืองนครราชสีมา ที่มาของชื่อโคกกรวด มีดังนี้
Quote: ชื่อตำบลโคกกรวด มีที่มาจากแต่เดิมบริเวณหมู่ที่ ๑๒ (เขาดิน) เป็นเนินเขาที่มีหินกรวดอยู่เป็น่จำนวนมาก และทางราชการได้นำหินกรวดดังกล่าวไปใช้สร้างถนนมิตรภาพ และทำทางวิ่งสนามบินในจังหวัดนครราชสีมาจนบริเวณดังกล่าวหมดสภาพเนินเขาหลงเหลือไว้เพียงเนินดิน เรียกว่า "เขาดิน ซึ่งสถาพพื้นที่จึงได้ถูกเรียกว่า "โคกกรวด"
ที่มา: http://www.thaitambon.com/tambon/ttambon.asp?ID=300117
ถนนมิตรภาพน่าจะสร้างในช่วงสงครามเวียดนาม สนามบินนครราชสีมา (กองบิน ๑ ปัจจุบัน) ก็ถูกสร้างในช่วงเวลาใกล้เคียงกัน ก่อนหน้านั้นยังเป็นโรงเรียนการบินกองทัพอากาศอยู่ หลังจากนั้นทางอเมริกาจะมาขอใช้พื้นที่และย้ายโรงเรียนการบินไปอยู่ที่กำแพงแสน ดังนั้นผมคิดว่าชื่อ"โคกกรวด"ไม่น่าจะเกี่ยวข้องกับถนนมิตรภาพและสนามบินนครราชสีมาแน่ๆครับ แถมช่วงเวลามันขัดแย้งกับ "นิราศอุบลราชธานี" ที่อ.เอกได้อ้างอิงในส่วนที่ 2 ที่เกิดขึ้นในปี 2443 ก่อนที่จะเกิดถนนมิตรภาพเกิน 50 ปีอีกครับ
เฮียวิศครับ ดูบ่ได้อ่า _________________ รักรถไฟมั่นใจโคปเตอร์ || Railway Racing Team || Korat Spotter
Back to top
Wisarut
1st Class Pass (Air) Joined: 27/03/2006 Posts: 43374
Location: NECTEC
Back to top
Mongwin
1st Class Pass (Air) Joined: 24/09/2007 Posts: 46281
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
Posted: 24/10/2014 8:00 am Post subject:
ขอบคุณมากครับคุณธี ที่ช่วยให้ข้อมูลสนับสนุน
Back to top
alderwood
1st Class Pass (Air) Joined: 10/04/2006 Posts: 6593
Location: กรุงเทพ-ราชสีมา
Posted: 24/10/2014 2:13 pm Post subject:
ขอบคุณครับเฮียวิศ
รูปจริงๆที่ถูกต้อง ก็คงต้องไปดูจากหนังสือ The Railway of Thailand หน้า 64 ล่ะครับ _________________ รักรถไฟมั่นใจโคปเตอร์ || Railway Racing Team || Korat Spotter
Back to top