Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311296
ทั่วไป:13274301
ทั้งหมด:13585597
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 104, 105, 106 ... 278, 279, 280  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 24/12/2014 8:10 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
เปิด'4กฤษฎีกา'เวนคืนที่ดินเส้นทางรถไฟฟ้า
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์วันที่ 24 ธันวาคม 2557 17:48

เปิด 4พระราชกฤษฎีกา รัฐฯเวนคืนที่ดินสร้างเส้นทางรถไฟฟ้า พื้นที่กรุงเทพฯ-นนทบุรี และปทุมธานี

เว็บไซต์ราชกิจจจนุเบกษา เผยแพร่ (24ธ.ค.)พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนเพื่อดำเนินการเพื่อกิจการขนส่งมวลชนจำนวน 4 ฉบับ ดังนี้

1.พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ในท้องที่อำเภอเมืองนนทบุรี อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี และเขตหลักสี่ เขตบางเขน เขตบึงกุ่ม เขตคันนายาวเขตมีนบุรี กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2557

2.พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะดำเนินการเพื่อกิจการขนส่งมวลชน ในท้องที่อำเภอเมืองนนทบุรี อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี และเขตหลักสี่ เขตบางเขน เขตบึงกุ่ม เขตคันนายาว เขตมีนบุรี กรุงเทพมหานคร พ.ศ.2557

3.พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ในท้องที่เขตจตุจักร เขตบางเขน เขตหลักสี่ เขตสายไหม เขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร และอำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี พ.ศ.2557

4.พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะดำเนินการเพื่อกิจการขนส่งมวลชน ในท้องที่เขตจตุจักร เขตบางเขน เขตหลักสี่ เขตสายไหม เขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร และอำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี พ.ศ.2557

ตรวจเอาเข้าจริงๆ แค่สายชมพู จากแครายไปมีนบุรี กะ สาย เขียว จากหมอชิต ไปคูคต หงะ



คลอดแล้ว พ.ร.ฎ.เวนคืนที่ดินสร้างรถไฟฟ้า "แคราย-มีนบุรี" และ "หมอชิต-ลำลูกกา"


โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
24 ธันวาคม 2557 20:01 น.



มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ พ.ร.ฎ. เวนคืนที่ดิน 4 ฉบับ ก่อสร้างรถไฟฟ้า สายสีชมพู แคราย - มีนบุรี และสายสีเขียว หมอชิต - สะพานใหม่ - คูคต มีอายุ 4 ปี ให้ รฟม. มีอำนาจเวนคืนที่ดิน

วันนี้ (24 ธ.ค.) ราชกิจจานุเบกษาได้เผยแพร่พระราชกฤษีกา (พ.ร.ฎ.) 4 ฉบับ ประกอบด้วย

1.พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ในท้องที่อำเภอเมืองนนทบุรี อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี และเขตหลักสี่ เขตบางเขน เขตบึงกุ่ม เขตคันนายาวเขตมีนบุรี กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2557

2.พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะดำเนินการเพื่อกิจการขนส่งมวลชน ในท้องที่อำเภอเมืองนนทบุรี อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี และเขตหลักสี่ เขตบางเขน เขตบึงกุ่ม เขตคันนายาว เขตมีนบุรี กรุงเทพมหานคร พ.ศ.2557

3.พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ในท้องที่เขตจตุจักร เขตบางเขน เขตหลักสี่ เขตสายไหม เขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร และอำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี พ.ศ.2557

4.พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะดำเนินการเพื่อกิจการขนส่งมวลชน ในท้องที่เขตจตุจักร เขตบางเขน เขตหลักสี่ เขตสายไหม เขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร และอำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี พ.ศ.2557

โดยมีสาระสำคัญในภาพรวม คือ โดยที่เป็นการสมควรกําหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนดังกล่าว เพื่อดําเนินกิจการรถไฟฟ้า ในส่วนที่เกี่ยวกับการจัดสร้างโครงการขนส่งด้วยระบบรถไฟฟ้า สถานที่จอดรถสําหรับผู้โดยสาร และกิจการอื่นที่เกี่ยวเนื่องกับกิจการรถไฟฟ้าตามโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย - มีนบุรี และโครงการรถไฟฟ้า สายสีเขียวช่วงหมอชิต - สะพานใหม่ - คูคต โดยพระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับได้มีกําหนดสี่ปี ให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยเป็นหน่วยงานที่ดําเนินการ โดยผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยเป็นเจ้าหน้าที่เวนคืน และให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้ โดยมีผู้รับสนองพระบรมราชโองการคือ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี

สำหรับแนวเวนคืนที่ดินตามโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย - มีนบุรี กำหนดจุดเริ่มต้นบริเวณสี่แยกแคราย ไปตามถนนติวานนท์ ถึงห้าแยกปากเกร็ด แยกขวาไปตามถนนแจ้งวัฒนะ ผ่านทางพิเศษศรีรัช แยกหลักสี่ อนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญ เข้าสู่ถนนรามอินทรา ถึงสามแยกมีนบุรี เข้าสู่ถนนสีหบุรานุกิจ ก่อนแยกขวาบริเวณสะพานข้ามคลองสามวา ข้ามคลองแสนแสบ สิ้นสุดที่ถนนรามคำแหง ระหว่างสะพานข้ามคลองตานวย และถนนร่มเกล้า โดยมีเขตเวนคืนกว้าง 200 เมตร บริเวณห้าแยกปากเกร็ดกว้าง 450 เมตร และบริเวณอนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญเขตเวนคืนกว้าง 400 เมตร ส่วนจุดสิ้นสุดมีแนวเขตทางกว้าง 330-940 เมตร ความยาวตามแนวขนานไปกับคลองตานวย 820 เมตร และขนานไปกับถนนร่มเกล้า 480 เมตร

ส่วนแนวเวนคืนที่ดินตามโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงหมอชิต - สะพานใหม่ - คูคต กำหนดจุดเริ่มต้นบริเวณถนนพหลโยธิน ต่อเนื่องเส้นทางรถไฟฟ้าบีทีเอสเดิม ไปตามถนนพหลโยธิน ผ่านห้าแยกลาดพร้าว สี่แยกรัชโยธิน สี่แยกเกษตรศาสตร์ วัดพระศรีมหาธาตุวรมหาวิหาร อนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญ โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช ถึงสามแยกลำลูกกา แยกขวาไปตามทิศตะวันออกเฉียงเหนือที่ทางโค้ง กม. 25 ข้ามคลองสอง ไปตามถนนลำลูกกา สิ้นสุดที่ถนนลำลูกกาก่อนถึงสะพานข้ามคลองสาม โดยมีเขตเวนคืนกว้าง 200 เมตร แยกรัชโยธินมีเขตเวนคืนถนนรัชดาภิเษกกว้าง 200 เมตร ยาว 1.4 กิโลเมตร บริเวณอนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญกว้าง 400 เมตร หน้าโรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดชเพิ่มอีก 100 เมตร ส่วนที่กว้างที่สุดเป็นช่วงแยกขวาบริเวณทางโค้ง กม. 25 แนวเวนคืนกว้าง 800 เมตร ยาว 1 กิโลเมตร และเวนคืนที่ดินขนานไปกับซอยสายไหม 1 และขนานไปกับถนนสายไหมยาว 780 เมตร

ผู้สื่อข่าว ASTVผู้จัดการออนไลน์ รายงานเพิ่มเติมว่า จากการตรวจสอบผ่านเว็บไซต์กูเกิลแมป พบว่าจุดสิ้นสุดโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย - มีนบุรี บริเวณถนนรามคำแหงเป็นช่วงสะพานข้ามคลองตานวย ซึ่งเป็นสะพานสูง ด้านทิศใต้ของถนนเป็นที่ดินเปล่ากว้างขวาง ส่วนด้านถนนร่มเกล้าจะอยู่ช่วงระหว่างห้างสรรพสินค้าบิ๊กซี สาขาร่มเกล้า กับมหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต วิทยาเขตร่มเกล้า ส่วนใหญ่เป็นที่ดินเปล่า คาดว่าเป็นจุดก่อสร้างศูนย์ซ่อมบำรุง ส่วนจุดสิ้นสุดโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงหมอชิต - สะพานใหม่ - คูคต พบว่าเป็นย่านที่อยู่อาศัยระหว่างกรมควบคุมการปฏิบัติทางอากาศ กองทัพอากาศ กับซอยพหลโยธิน 54/2 เป็นอาคารประตุกรุงเทพพลาซ่า ก่อนจะผ่านที่ดินเปล่าขนานไปกับซอยพหลโยธิน 54/2 ถึงซอยพหลโยธิน 54/1 และข้ามคลองสองไปยังถนนลำลูกกา ที่น่าจับตามองคือการเวนคืนที่ดินเลียบคลองถนน ตั้งแต่ปากคลองถนน ถึงถนนสายไหม และขนานไปกับถนนสายไหมยาว 780 เมตร พบว่าเป็นที่อยู่อาศัย คาดว่าเป็นจุดก่อสร้างศูนย์ซ่อมบำรุง
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44654
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 24/12/2014 9:07 pm    Post subject: Reply with quote

ครับ ตอนแรกนึกว่า 4 สายเสียอีก Confused
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 27/12/2014 4:41 am    Post subject: Reply with quote

ดูเวียดนาม แล้ว 'ไว้อาลัย' รถไฟสีส้ม

โดย : ดร.โสภณ พรโชคชัย
CEO Blogs
กรุงเทพธุรกิจ
วันที่ 26 ธันวาคม 2557 04:00

เมื่อปลายสัปดาห์ที่แล้วผมไปเมืองบินห์เยือง ทางด้านเหนือของนครโฮจิมินห์ เพื่อประเมินค่าทรัพย์สิน

ประเภทโรงงานอุตสาหกรรมให้กับนักลงทุนจากประเทศมาเลเซีย เห็นสิ่งละอันพันละน้อยที่น่าสนใจมาเล่าให้ฟัง เผื่อเข้าถึงหูของผู้บริหารประเทศ จะได้สังวรไว้บ้าง

โรงงานที่ผมไปประเมินค่าตั้งอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมชื่อ VSIP ซึ่งย่อมาจาก Vietnam Singapore Industrial Park และมีอยู่ด้วยกัน 3 แห่ง ผมได้พบกับผู้บริหารของนิคมฯ แห่งนี้ โดยได้รับการต้อนรับอย่างดี ภาพที่ผมถ่ายกับพวกเขามานั้นมีฉากหลังเป็นภาพของนายกรัฐมนตรีทั้งสองประเทศร่วมลงนามข้อตกลงกัน สิงคโปร์ถือเป็นผู้ลงทุนรายใหญ่ที่สุดรายหนึ่งของเวียดนาม รองจากไต้หวัน เกาหลีและญี่ปุ่น แปลกปนเศร้าที่ประเทศต่างๆ แห่แหนไปลงทุนในเวียดนามมากมาย

ผมไปประชุมคราวนี้ผมพักโรงแรม 3 ดาวของชาวเวียดนาม ไม่ได้พักโรงแรม 4-5 ดาว เช่น New World หรืออื่นๆ ซึ่งผมจะไปพักก็ต่อเมื่อมีคนออกเงินให้! เช่น ถ้าผมไปเป็นที่ปรึกษาของบริษัทมหาชนในนครโฮจิมินห์ หรือกระทรวงการคลังของเวียดนาม เขาก็จะจัดโรงแรมดีๆ คืนละ 150-250 ดอลลาร์สหรัฐ (4,500 - 7,500 บาท) ให้ แต่ถ้าผมไปเอง ก็นอนแบบ “พอเพียง” ครับ คืนละ 60 ดอลลาร์(1,800 บาท)

ผมเชื่อว่าโรงแรมระดับสามดาวนี้ในเวียดนามถูกกว่าไทย ทั้งในด้านห้องหับและอาหารมื้อเช้า ผมเชื่อว่าส่วนหนึ่งเพราะเวียดนามมีต้นทุนค่าก่อสร้างที่ต่ำกว่าไทย ไม่ใช่ต้นทุนต่อตารางเมตรซึ่งพอๆ กับประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นบ้านเรือนหรือโรงงานอุตสาหกรรม แต่หมายถึงต้นทุนรวม เพราะโรงแรมประเภทนี้ในเวียดนามไม่ต้องสร้างที่จอดรถมากมายเช่นในไทย ในความเป็นจริงอาคารใหญ่ๆ ในไทยก็ไม่จำเป็นต้องมีที่จอดรถมากมาย หากมีระบบขนส่งมวลชนที่ดีนั่นเอง แต่นี่ผู้กุมอำนาจในประเทศไทยอาจสมคบกับบริษัทรถญี่ปุ่น เน้นการสร้างถนนแทนรถไฟฟ้าก็ได้!?!

อีกเรื่องหนึ่งที่น่าสนใจก็คือต้นไม้ขนาดใหญ่ที่ปลูกอยู่ริมทาง ใครต่อใครที่ไปเมืองต่างๆ ในเวียดนามจะพบเห็นต้นไม้ขนาดใหญ่ปลูกอยู่สองข้างทางในใจกลางเมือง ซึ่งปลูกมาตั้งแต่สมัยเป็นเมืองขึ้นฝรั่งเศสแล้ว และโชคดีที่เวียดนามก็รักษาต้นไม้เหล่านั้นไว้ แต่ในกรุงเทพมหานคร เรามักเอาต้นไม้ที่ดูไร้ค่ามาปลูกส่งเดชไว้ บ้างก็เอาไม้ใบเล็ก ร่วงมากมาปลูก ว่างๆ ก็ต้องมาตัดโค่นทีเพราะไปพาดกับสายไฟที่เกะกะรุงรังบ้าง เป็นการปลูกต้นไม้ที่ไม่ยั่งยืน รก ใบก็มาก ผลก็ไม่มี ไม่ใช่ไม้เนื้อแข็ง ฯลฯ นั่นเอง

เรื่องสำคัญเรื่องหนึ่งก็คืออนุสาวรีย์ลุงโฮจิมินห์ บิดาของประเทศเวียดนามที่ตั้งเด่นเป็นสง่าใจกลางนครโฮจิมินห์ซิตี้ที่ใครต่อใครต้องไปถ่ายภาพด้วยนั้น บัดนี้ปิดไปแล้ว เมื่อเดือนมี.ค. 2557 ผมยังพาคณะไปถ่ายภาพไว้เป็นที่ระลึกเป็นอย่างดี แต่เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว เขาเอาผ้าใบคลุมไว้เลย และบริเวณโดยรอบที่เป็นถนนและสวนสาธารณะก็ถูกล้อมรั้วไว้

ขณะนี้ในใจกลางนครโฮจิมินห์กำลังสร้างสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินกันอย่างขนานใหญ่ ที่ใจกลางเมืองนี้คือศูนย์กลางใหญ่แห่งหนึ่งของรถไฟฟ้า ซึ่งต่อไปจะนำความเจริญมาสู่ย่านนี้กันอีกเป็นจำนวนมาก เวียดนามจึงยินยอมที่จะ “กลืนเลือด” อดทนเพื่อความเจริญในวันข้างหน้า ซึ่งก็คงไม่นานเกินรอ ดังนั้น โรงแรมห้าดาว ศูนย์การค้าใหญ่ และร้านรวงใหญ่ๆ ในย่านนั้นจึงถูกปิดหรืออย่างน้อยก็แทบไม่มีใครเดินเข้ามาใกล้ย่านก่อสร้างเป็นระยะเวลาชั่วคราว

แต่ของไทยเรากลับตรงกันข้าม ท่านคงเห็นสถานีรถไฟฟ้า MRT ที่อยู่ตรงโรงแรมดุสิตธานี ซึ่งก่อสร้างอย่างน่าเกลียดมากอยู่บนถนนสีลมเลย รถจากพระรามสี่จะเลี้ยวเข้าสีลม ต้องอ้อมสถานีนี้ที่อยู่บนถนนก่อน แต่เดิมตอนก่อสร้าง ก็เป็นข่าวครึกโครมว่าทางโรงแรมดุสิตธานีไม่ยอมให้สร้างเข้าไปในที่จอดรถโรงแรม ซึ่งจริงๆ ควรสร้างเข้าไปในที่จอดรถดังกล่าว โดยโรงแรมอ้างว่าจะทำให้การประกอบกิจการโรงแรมเกิดมูลค่าด้อยลง คนมาใช้บริการไม่สะดวก กรณีนี้ควรชดเชยค่าเสียหายให้ตามสมควรก็ว่ากันไป แต่จะปล่อยให้ผลสุดท้ายออกมาเป็นการก่อสร้างบนถนนเช่นนี้ นับเป็นความน่าอดสูที่พึงประณามเป็นอย่างยิ่ง

อีกกรณีตัวอย่างหนึ่งก็คือรถไฟฟ้าสายสีส้ม ที่ชาวบ้านที่ถูกเวนคืนเรียกร้องจนสำเร็จ ให้สถานีย้ายจากโรงแรมอินทราประตูน้ำ ไปซอยรางน้ำ อันนี้ถือเป็นชัยชนะของประชาชน (กฎหมู่) ส่วนหนึ่ง แต่เป็นความพ่ายแพ้อย่างสิ้นเชิงของประเทศชาติ เพราะการย้ายไปอยู่อีกที่ ก็จะทำให้ชาวบ้านที่อีกเดือดร้อนจากการเวนคืนเช่นกัน เมืองต้องมีการพัฒนา จะปฏิเสธการเวนคืน คงไม่ได้ แต่เราจะจัดการเวนคืนให้เหมาะสมอย่างไรต่างหาก

ถ้ามีการเวนคืน ก็อาจจัดหาที่อยู่ให้ใหม่ ให้อยู่ใกล้เคียง สร้างเป็นอาคารชุดให้อยู่ ลูกหลานจะได้ไม่เดือดร้อนเรื่องการเรียน และต้องชดเชยให้สมน้ำสมเนื้อ รวมทั้งค่ารื้อถอน ค่าเสียโอกาสต่างๆ แต่จะปฏิเสธไม่ยอมไป คงไม่ได้ ที่สำคัญที่สุดก็คือ ที่ตั้งสถานีเดิมสะดวกต่อการเดินทาง คนมาจับจ่ายที่ประตูน้ำ ราชดำริ เพชรบุรี วันละนับแสนๆ คนจะได้ใช้บริการรถไฟฟ้าได้ เดือนละหลายล้านคน ปีละหลายสิบล้านคน แต่การย้ายออกไปไกล ทำให้ต้นทุนสูงขึ้น สร้างความลำบากให้แก่ประชาชนทั้งประเทศ เพียงเพื่อเอาใจคนเพียงหยิบมือเดียว

อย่าลืมนะครับ ถ้าเป็นในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เช่น สมัยอยุธยาที่มีการเกณฑ์แรงงานชาวบ้านไปฟรีๆ หรือถือเอาสมบัติของประชาชนไปเข้าคลังหลวง ไปสร้างวัง ไปรบทัพจับศึกกับเพื่อนบ้าน ก็ว่าไปอย่าง แต่สมัยนี้ การเอาสมบัติของชาวบ้านไป ต้องจ่ายค่าทดแทน ถ้าค่าทดแทนไม่เหมาะสม ก็ต้องต่อสู้ แต่ไม่ใช่ดื้อแพ่ง ขัดขวางความเจริญ และทำร้ายผลประโยชน์ของประชาชนโดยรวมโดยขาดหิริโอตตัปปะเยี่ยงนี้

ไทยต้องไม่ให้กฎหมู่อยู่เหนือกฎหมาย
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44654
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 30/12/2014 5:54 pm    Post subject: Reply with quote

รฟม.เล็งชงโครงการรถไฟฟ้า3สายเข้าครม.
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ วันที่ 30 ธันวาคม 2557 16:10

"รณชิต" เผย รฟม.เตรียมเสนอโครงการรถไฟฟ้า 3 สายเข้าครม.ไม่เกินกลางปี 58

นายรณชิต แย้มสอาด รองผู้ว่าการฝ่ายบริหาร ในฐานะรักษาการผู้ว่าการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(รฟม.) เปิดเผยว่า รฟม.เตรียมเสนอโครงการรถไฟฟ้า 3 สายเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอนุมัติไม่เกินกลางปี 58 หลังจากที่ได้เสนอให้กระทรวงคมนาคมแล้ว ได้แก่ รถไฟฟ้าสายสีส้มฝั่งตะวันออก ช่วงศูนย์วัฒนธรรม-รามคำแหง-มีนบุรี รวมทั้ง รถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง ซึ่งมีจุดเชื่อมต่อกับสายสีเขียว และ รถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี โดยทั้งสองเส้นทางนี้เป็นรถไฟแบบโมโนเรล

นอกจากนี้ รฟม.ยังมีโครงการในมืออีก 3 เส้นทาง ได้แก่
1)สายสีส้มฝั่งตะวันตก ช่วงศูนย์วัฒนธรรม-ตลิ่งชัน อยู่ระหว่างการปรับรูปแบบงานก่อสร้างหลังการจัดทำประชาพิจาณ์ โดยในช่วงรางน้ำ-ราชปรารภ ได้มีการศึกษาแนวรถไฟฟ้าใหม่จากแนวเดิมที่ต้องเวนคืน 180 หลังคาเรือน ลดลงเหลือ 30 หลังคาเรือน คาดว่าจะนำเสนอต่อคณะกรรมการ รฟม.ได้ภายในเดือน ม.ค.58

2)สายสีม่วงใต้ ช่วงเตาปูน-ราษฏร์บูรณะ ขณะนี้กรุงเทพมหานคร(กทม.)ดูแลจุดเชื่อมวังบูรพาจะเคลียร์พื้นที่ให้ได้ และคาดว่าจะพยายามสรุปให้เสร็จและจะนำเสนอต่อกระทรวงคมนาคม เพื่อนำส่งคณะรัฐมนตรีเพื่ออนุมั้ติต่อไป

3) สายสีน้ำเงินส่วนต่อขยายช่วงบางแค-พุทธมณฑลสาย 4 ขณะนี้ได้ว่าจ้างที่ปรึกษาการออกแบบแล้วคาดว่าจะเสร็จในปลายปี 58


นายรณชิต กล่าวถึงความคืบหน้าการดำเนินการโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงบางใหญ่-บางซื่อว่า งานโยธาก้าวหน้ากว่า 90% และรอติดตั้งระบบรางเพื่อทดสอบการเดินรถ โดยในปลายปี 58 รถไฟฟ้าขบวนแรกจะนำเข้ามา และ บมจ.รถไฟฟ้ากรุงเทพ(BMCL)ได้เร่งการเดินรถให้เร็วขึ้นเป็นวันที่ 12 ส.ค.59 จากกำหนดการเดิมเปิดวิ่งปลายปี 59 โดยจะเริ่มทดสอบการเดินรถกลางปี 59 ซึ่งจะเปิดให้ประชาชนทั่วไปร่วมทดสอบด้วย

ส่วนรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย ช่วงหัวลำโพง-บางแค และช่วงบางซื่อ-ท่าพระ งานโยธาคืบหน้าไปกว่า 50% และขณะนี้อยู่ระหว่างคัดเลือกผู้เดินรถ โดยคณะกรรมการมาตรา 13 ได้หารือรอบแรกไปเมื่อ 25 ธ.ค.ที่ผ่านมา และจะหารือกันอีกครั้งในวันที่ 9 ม.ค.58

สำหรับรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนใต้ ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ งานโยธาเดินหน้าไปกว่า 40% และเตรียมจัดหาผู้เดินรถนั้น หลังจากได้รับมอบนโยบายจากรมว.คมนาคมให้ รฟม.หารือกับ กทม.ในเส้นทางส่วนต่อขยายสายสีเขียว ทั้งด้านสีเขียวใต้ และสีเขียวเหนือ ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่ -คูคต ทั้งนี้ คาดว่าจะให้ทางกทม.รับโอนสิทธิทรัพย์สินทั้งสองส่วนที่ยังอยู่ระหว่างการก่อสร้าง รวมรับภาระหนี้สินในส่วนต่อขยายสายสีเขียวไปด้วย

ทั้งนี้ รถไฟฟ้าสายสีเขียวเหนือที่เพิ่งเปิดซองประกวดราคาไปนั้น คาดว่าช่วงต้นปี 58 จะสามารถตรวจสอบตัวเลขค่าก่อสร้าง และจะนำเสนอคณะกรรมการ รฟม.เพื่อพิจารณาอนุมัติผลการประมูลภายในเดือน ม.ค.-ก.พ.58 และน่าจะเซ็นสัญญากับผู้รับเหมาได้ในเดือน มิ.ย.58
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 30/12/2014 6:09 pm    Post subject: Reply with quote

รฟม.ชี้แจงความคืบหน้าก่อสร้างรถไฟฟ้า-คาด “สีม่วง”เปิดใช้บริการ “วันแม่”ปี59
มติชน
วันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2557 เวลา 16:44:10 น.

นายรณชิต แย้มสะอาด รองผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ฝ่ายบริหาร และรักษาการ ผู้ว่าการ รฟม. เปิดเผยถึงความคืบหน้าการก่อสร้างโครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในเขตกรุงเทพและปริมณฑลที่อยู่ระหว่างการก่อสร้าง ประกอบด้วย
สายสีม่วง ช่วงบางใหญ่-บางซื่อ สายสีน้ำเงิน
ส่วนต่อขยาย หัวลำโพง-บางแค บางซื่อ-ท่าพระ และ
สายสีเขียว (แบริ่ง-สมุทรปราการ) ว่า

ความคืบหน้าโครงการส่วนใหญ่เป็นไปตามแผนและอยู่ในเกณฑ์ที่น่าพอใจ โดยเฉพาะโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ที่ขณะนี้โครงสร้างโยธา เสร็จไปแล้วเกือบ 100 ละอยู่ระหว่างรอขบวนรถจากบริษัทผู้ผลิต ที่คาดว่าจะส่งขบวนรถไฟฟ้าขบวนแรกมาถึงไทยในช่วงปลายปี 58 จากนั้นก็จะเริ่มดำเนินการนำรถมาวิ่งทดสอบระบบ ซึ่งจะใช้เวลาประมาณ 6 เดือน และคาดว่าจะเริ่มเปิดให้บริการประชาชนได้ในวันที่ 12 สิงหาคม 2559 ซึ่งถือว่าเป็นการเปิดให้บริการเร็วกว่ากำหนดถึง 3 เดือน

ทั้งนี้ ความคืบหน้าโครงการรถไฟฟ้าในความดูแลของ รฟม. ในขณะนี้ สายสีม่วง ช่วงบางใหญ่-บางซื่อ ระยะทาง 23 กม. ความคืบหน้างานโยธา 96.30% ช้ากว่าแผน 1.37% ส่วนงานจัดหาระบบรถไฟฟ้าคืบหน้า 35.54% ช้ากว่าแผน 2.4%

สายสีน้ำเงิน (ส่วนต่อขยาย หัวลำโพง-บางแค ระยะทาง 14 กม. ช่วงบางซื่อ-ท่าพระ ระยะทาง 13 กม. ความคืบหน้างานโยธา 57.33% เ ป็นไปตามแผนที่วางไว้ โดยคาดว่าการก่อสร้างจะแล้วเสร็จ 31 ธันวาคม 2561 และมีกำหนดเปิดให้บริการ 1 เมษายน 2562

สายสีเขียว (ส่วนต่อขยาย แบริ่ง-สมุทรปราการ) ระยะทาง 25 กม. ความคืบหน้าการก่อสร้างงานโยธา 44.42% เ ร็วกว่าแผนงาน 2.30% กำหนดเปิดให้บริการเมษายน 2560

นายรณชิต กล่าวว่า สำหรับโครงการที่กำลังจะเกิดขึ้นในปี 2558 นั้น คาดว่า จะมีอีก 3 โครงการ ที่ขณะนี้การศึกษาออกแบบแล้วเสร็จและอยู่ระหว่างการนำเสนอขออนุมัติก่อสร้าง ซึ่งขณะนี้ รฟม.ได้นำเสนอขออนุมัติไปยังกระทรวงคมนาคมแล้ว และคาดว่าจะถูกนำเสนอเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรีในช่วงไม่เกินกลางปี 2558 ประกอบด้วย

สายสีส้ม ช่วงตลิ่งชัน-ศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี)ระยะทาง 38.9 กม. โดยจากช่วงศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี คาดว่าจะเริ่มประกวดราคาปี 2558 ส่วนช่วงตลิ่งชัน-ศูนย์วัฒนธรรม ประกวดราคาปี 2559

สายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง ระยะทาง 30.4 กม. ซึ่งเป็นรถไฟฟ้ารางเดี่ยวหรือโมโนเรล เดิมกำหนดประกวดราคาปี 2559 แต่คาดว่าการประกวดราคาจะทำได้เร็วขึ้นมาเป็นช่วงกลางปี 2558

สายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี ระยะทาง 34.5 กม. ที่เป็นโมโนเรล เหมือนกันเดิมกำหนดประกวดราคาปี 2559 แต่ก็คาดว่าจะสามารถเปิดประกวดราคาได้ในปี 2558
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 04/01/2015 12:04 am    Post subject: Reply with quote

ปรับแผนรถไฟฟ้า-แอร์พอร์ตลิงก์ ชง ครม.ทำคลอดลงทุน 2 แสนล้านใน ก.พ.58


โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
2 มกราคม 2558 08:43 น.



พล.อ.อ.ประจิน กล่าวว่า โครงการต่างๆ ของกระทรวงคมนาคมมีเม็ดเงินลงทุนค่อนข้างมาก ซึ่งขอยืนยันถึงความโปร่งใส และการมีส่วนร่วม โดยเงินลงทุนของกระทรวงคมนาคมจะไม่มีการจัดสรรให้ใคร ให้ข้าราชการทำงานอย่างเต็มที่ เจรจาต่อรองให้เกิดประโยชน์กับภาครัฐ ส่วนเงินที่เหลือ ให้นำไปใช้ในโครงการที่เกิดประโยชน์ต่อประชาชน ยุคนี้ไม่ต้องห่วงว่าจะเอาเงินไปให้ใครซึ่งกำลังจะมีการดำเนินคดีเพื่อเป็นตัวอย่างต่อบุคคลที่อ้างชื่อรัฐมนตรี 2-3 คดี เพราะมีข้อมูลจากสายข่าวว่า มีคนแอบอ้างชื่อรัฐมนตรีว่า หากต้องการได้งานให้จ่ายเงินจะประสานให้ ซึ่งกำลังตรวจสอบ และจะดำเนินการแน่นอน ดังนั้น ใครมีหลักฐานส่งมาได้เลยเพราะทำให้เสียชื่อ

โดยในปี 2558 กระทรวงคมนาคม มีแผนงานระยะเร่งด่วน วงเงินรวม 55,986.64 ล้านบาท ทั้งโครงการทางถนน ทางราง ทางน้ำ และทางอากาศ ซึ่งยอมรับว่าขั้นตอนการในดำเนินงานที่กำหนดไว้ว่าจะเริ่มในช่วงเดือนธันวาคม 2557-เดือนเมษายน 2558 จะล่าช้าไปประมาณ 1 เดือน แต่จะเร่งเดินหน้าขับเคลื่อนโครงการในปี 2558 ให้แล้วเสร็จตามแผนได้แน่นอน โดยโครงการรถไฟฟ้าที่จะต้องเลื่อนเวลาเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ขออนุมัติโครงการล่าช้าไปอีก 1 เดือน จากกำหนดการเดิมเดือนมกราคม เป็นเดือนกุมภาพันธ์ 2558 เนื่องจากอยู่ระหว่างที่คณะกรรมการ (บอร์ด) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศ (รฟม.) กำลังพิจารณา คือ

โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย-มีนบุรี ระยะทาง 21.20 กม.วงเงิน 110,325.76 ล้านบาท กำหนดก่อสร้างแล้วเสร็จปี 2563

โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง ระยะทาง 29.1 กม. วงเงิน 54,644 ล้านบาท กำหนดก่อสร้างแล้วเสร็จปี 2563 โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี ระยะทาง 34.5 กม. วงเงิน 56,691 ล้านบาท กำหนดก่อสร้างแล้วเสร็จปี 2563

โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์ส่วนต่อขยาย ช่วงดอนเมือง-บางซื่อ-พญาไท ระยะทาง 21.8 กม. วงเงิน 31,103.55 ล้านบาท กำหนดก่อสร้างแล้วเสร็จปี 2562 โครงการก่อสร้างรถไฟชานเมืองสายสีแดงอ่อน ช่วงบางซื่อ-พญาไท-มักกะสัน-หัวหมาก และสายสีแดงเข้ม ช่วงบางซื่อ-หัวลำโพง ระยะทาง 25.9 กม. วงเงิน 38,954.85 ล้านบาท กำหนดก่อสร้างแล้วเสร็จปี 2561 อยู่ในขั้นตอนการพิจารณาของคณะกรรมการ (บอร์ด) การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ก่อนนำเสนอกระทรวงคมนาคม

ส่วนที่จะนำเสนอ ครม.ขออนุมัติได้ภายในเดือนมกราคม 2558 คือ การขอขยายกรอบวงเงินโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดง (ช่วงบางซื่อ-รังสิต) จำนวน 8,140 ล้านบาท สัญญาที่ 1 จำนวน 4,315 ล้านบาท สัญญาที่ 2 จำนวน 3,352 ล้านบาท และสัญญาที่ 3 จำนวน 473 ล้านบาท เพื่อปรับแบบให้สถานีกลางบางซื่อเป็นศูนย์กลางการคมนาคมทางรางรองรับระบบรางมาตรฐาน 1.435 เมตร ซึ่งคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (คนร.) หรือซูเปอร์บอร์ดเห็นชอบแล้ว และโครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย์) สายบางปะอิน-นครราชสีมา ระยะทาง 196 กม. วงเงิน 84,600 ล้านบาท ซึ่งเป็นเส้นทางที่ประชาชนมีความต้องการ และมีแบบเล้ว ส่วนการเวนคืนที่ดินนั้นจะดำเนินการชดเชยโดยให้ประชาชนได้รับความเดือดร้อนน้อยที่สุด


Last edited by Wisarut on 04/01/2015 1:10 am; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 04/01/2015 12:33 am    Post subject: Reply with quote

สิ้นสุดการรอคอย “รถไฟฟ้า” มาหาซะที เจาะลึกทุกสถานี 10 เส้นทางผ่านบ้านใคร
โดย ทีมเศรษฐกิจ
ไทยรัฐ
2 มกราคม 2558 เวลา 05:01

หลังจากโดนสารพัดปัญหาโรคเลื่อนเล่นงาน จนต้องชะเง้อคอรอคอยมาหลายปี ในที่สุดโครงการอภิมหาโปรเจกต์รถไฟฟ้าในเมือง 10 สาย ที่คนเมืองกรุงและปริมณฑลเฝ้าฝันให้เป็นฮีโร่ช่วยแก้ปัญหารถติดก็ใกล้ความเป็นจริงเข้ามา หลัง “รัฐบาลลายพราง” นำโดยบิ๊กตู่-ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ควงคู่บิ๊กจิน-ประจิน จั่นตอง รมว.คมนาคม สวมบท “เสี่ยสั่งลุย” เข็นโครงการให้เกิดขึ้นเร็วที่สุด

แต่ถึงตรงนี้หลายคนยังอดสงสัยไม่ได้ว่ารถไฟฟ้า 10 สายที่กำลังเกิดขึ้น มีเส้นทางไหนแล่นผ่านที่ใดบ้าง รวมถึงแอบลุ้นว่าจะมีสถานีไหนจอดหน้าบ้านเราหรือไม่ “ทีมข่าวเศรษฐกิจ” ขออาสารวบรวมข้อมูลทั้ง 10 สาย มาให้ติดตามและอัพเดตความคืบหน้าไปพร้อมๆกัน

1. ชานเมืองสายสีแดงเข้ม - หัวหมาก–บางซื่อ–ม.ธรรมศาสตร์ รังสิต

เริ่มจากโครงการรถไฟฟ้าสีแดง มีเส้นทางยาวมากๆ รัฐบาลจึงต้องซอยย่อยการก่อสร้าง ช่วงแรก บางซื่อ–รังสิต–ม.ธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต มีระยะทาง 36.3 กม. ขณะนี้ผู้รับเหมากำลังเร่งก่อสร้างในช่วงบางซื่อ-รังสิตก่อน 26 กม. โดยใช้เส้นทางตอม่อโฮปเวลล์เดิมที่ขนานกับทางรถไฟในการก่อสร้าง คาดจะแล้วเสร็จในปี 2561 เปิดให้บริการ 10 สถานีด้วยกัน

เริ่มต้นจาก
1.ศูนย์กลางสถานีบางซื่อ แถวถนนเทอดดำริ ซึ่งสามารถเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าใต้ดินสายสีแดงอ่อน และแอร์พอร์ตลิงก์ จากนั้นมุ่งหน้าสู่
2.สถานีจตุจักร บริเวณใกล้กับบ้านพักนิคมรถไฟ กม.11 ผ่าน
3.สถานีวัดเสมียนนารี
4.สถานีบางเขน ตรงข้ามมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
5.สถานีทุ่งสองห้อง ใกล้กองกำกับการสุนัขตำรวจ ก่อนมาหยุดที่
6.สถานีหลักสี่ เยื้องห้างไอทีสแควร์ ซึ่งสามารถเชื่อมกับรถไฟฟ้าสายสีชมพูได้
7.สถานีการเคหะ ใกล้แฟลตการเคหะฯ ดอนเมือง
8.สถานีดอนเมือง ตรงตลาดดอนเมือง
9.สถานีหลักหก ใกล้หมู่บ้านเมืองเอก และสิ้นสุด
10.สถานีรังสิต แถวหมู่บ้านรัตนโกสินทร์ 200 ปี

ส่วนช่วงที่เหลืออีก 10 กม.ระหว่าง สถานีรังสิต–ม.ธรรมศาสตร์ ตอนนี้ยังไม่เริ่มก่อสร้าง แต่คาดว่าจะประกวดราคาได้ปี 2558 เปิดให้บริการปลายปี 2561 เช่นกัน โดยมีการสร้างเพิ่มอีก 5 สถานี ตามแนวถนนเลียบคลองเปรมประชากร ได้แก่
1.สถานีรังสิต - มีอยู่แล้ว
2.สถานีคลองหนึ่ง
3.สถานี ม.กรุงเทพ
4.สถานีเชียงราก และ
5.สถานีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต

สายสีแดงนอกจากจะขึ้นทิศเหนือของกรุงเทพฯแล้ว ยังมีขยายลงทางใต้เช่นกัน เส้นทาง บางซื่อ–หัวลำโพง ระยะทาง 25.5 กม. คาดว่าก่อสร้างเสร็จปี 2561 มี 6 สถานี เริ่มจาก
1.สถานีรถไฟชุมทางบางซื่อ - มีอยู่แล้ว
2.สถานีสามเสน แถวสามเหลี่ยมรถไฟจิตรลดา
3.สถานีราชวิถี ซึ่งสามารถเชื่อมกับรถไฟฟ้าสายสีแดงอ่อนได้
4.สถานียมราช เชื่อมรถไฟฟ้าสายสีส้ม
5.สถานียศเส เชื่อมรถไฟฟ้าบีทีเอส
6.สถานีรถไฟหัวลำโพง เพื่อเชื่อมต่อรถไฟฟ้าใต้ดิน

ชานเมืองสายสีแดงอ่อน - ตลิ่งชัน–บางซื่อ–หัวหมาก

หลังจากผ่านรถไฟฟ้าสายสีแดงเข้ม ที่วิ่งเชื่อมฝั่งเหนือกับฝั่งใต้ของกรุงเทพฯเข้าด้วยกันแล้ว ต่อมาไปดู สายสีแดงอ่อน ที่จะสร้างเพื่อเชื่อมฝั่งตะวันออกกับฝั่งตะวันตก โดยมีแบ่งโครงการเป็น 2 ช่วงเช่นกัน ช่วงแรก บางซื่อ–ตลิ่งชัน ระยะทาง 15 กม. ขณะนี้ก่อสร้างเสร็จแล้ว มี 7 สถานี ได้แก่
1.สถานีกลางบางซื่อ
2.สถานีบางซ่อน เชื่อมต่อกับสายสีม่วง
3.สถานีพระราม 6 - ยังไม่มีการก่อสร้าง ต้องรอให้ ต่อกะ สถานีกลางบางซื่อเสียก่อน
4.สถานีบางกรวย-กฟผ. - ยังไม่มีการก่อสร้าง ต้องรอให้ ต่อกะ สถานีกลางบางซื่อเสียก่อน
5.สถานีบางบำหรุ
6.สถานีชุมทางตลิ่งชัน ก่อนไปสิ้นสุดที่
สถานีบ้านฉิมพลี แต่น่าเสียดายแม้ตอนนี้โครงสร้างจะทำเสร็จแล้ว แต่ยังเปิดเดินรถไม่ได้ เพราะต้องรอเชื่อมระบบเข้ากับรถไฟฟ้าสีแดง บางซื่อ-รังสิต เสียก่อน

ช่วงต่อมา บางซื่อ–หัวหมาก ระยะทาง 25.5 กม.หากทุกอย่างเป็นไปตามแผนที่รัฐบาลวางไว้ จะเปิดประมูลโครงการได้ปี 2558 และเสร็จในปี 2561 โดยเส้นทางนี้เป็นช่วงสั้นๆ 7 สถานี แต่เต็มไปด้วยความหฤหรรษ์ เพราะมีมุดดินและลอยฟ้าสลับกัน เริ่มออกจาก
1. สถานีบางซื่อ ก็ต้องมาลดระดับมุดอุโมงค์มาโผล่สถานี
2. ราชวิถี จากนั้นก็ถูกยกระดับทางขึ้นมาสู่
3. สถานีพญาไท จากนั้นขึ้นลอยฟ้ามาจอด 4
.สถานีมักกะสัน ต่อด้วย
5.สถานีศูนย์วิจัย
6.สถานีรามคำแหง และสิ้นสุดที่
7.สถานีหัวหมาก ซึ่งสามารถเชื่อมกับรถไฟแอร์พอร์ตลิงก์ และสายสีเหลืองได้อีกด้วย

ส่วนต่อขยายแอร์พอร์ต เรล ลิงก์
พญาไท–บางซื่อ–ดอนเมือง

โครงการต่อมา แอร์พอร์ตลิงก์ส่วนต่อขยาย ช่วง พญาไท–บางซื่อ–ดอนเมือง ระยะทาง 22 กม. เดิมทีถูกพ่วงเข้าไปกับโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดง แต่ทำไปทำมารัฐบาลเห็นว่าเพื่อความคล่องตัวจึงได้แยกเป็นเส้นทางใหม่ดีกว่า โดยมีจุดหมายสร้างเพื่อเชื่อมการเดินทางสนามบินสุวรรณภูมิ และสนามบินดอนเมืองเข้าด้วยกัน ซึ่งแนวทางเส้นทางนี้จะสร้างต่อจากช่วงสนามบินสุวรรณภูมิ-พญาไท ไปถึงดอนเมือง โดยมีแนวเส้นทางคู่ขนานกับรถไฟฟ้าสายสีแดง ประกอบด้วย 5 สถานี ได้แก่ 1.สถานีราชวิถี
2.สถานีบางซื่อ
3.สถานีบางเขน
4.สถานีหลักสี่
5.สถานีดอนเมือง

โดยช่วงเส้นทาง พญาไท-ถ.พระราม 6 จะเป็นทางยกระดับ จากนั้นพอถึง ถ.พระราม 6-ถ.ระนอง 1 จะมุดลงใต้ดินตรงสามแยกจิตรลดา และยกระดับอีกครั้งจาก ถ.ระนอง 1 คาดก่อสร้างเสร็จปี 2562

สายสีม่วง - บางใหญ่–บางซื่อ

ช่วง บางใหญ่–บางซื่อ ถือว่าเป็นสายที่คืบหน้า ขณะนี้ก่อสร้างคืบหน้าไปแล้ว 96% พร้อมกับกำหนดวันเปิดใช้เป็นทางการวันที่ 12 ส.ค.2559 อีกด้วย เป็นรถไฟฟ้าลอยฟ้าทั้งหมด 16 สถานี ได้แก่
1.สถานีคลองบางไผ่
2.สถานีตลาดบางใหญ่
3.สถานีสามแยกบางใหญ่
4.สถานีบางพลู 5.สถานีบางรักใหญ่
6.สถานีท่าอิฐ
7.สถานีไทรม้า
8.สถานีสะพานพระนั่งเกล้า
9.สถานีแยกนนทบุรี 1
10.สถานีศรีพรสวรรค์
11.สถานีศูนย์ราชการนนทบุรี
12.สถานีกระทรวงสาธารณสุข
13.สถานีแยกติวานนท์
14.สถานีวงศ์สว่าง
15.สถานีบางซ่อน และ
16.สถานีเตาปูน

แนวเส้นทางเริ่มต้นจากสถานีเตาปูน จากนั้นเข้าถนนกรุงเทพฯ-นนทบุรี มุ่งหน้าทิศเหนือสู่สถานีบางซ่อน ซึ่งเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีแดงอ่อน ผ่านแยกวงศ์สว่าง เข้าสู่เขต ต.บางเขน จ.นนทบุรี เลี้ยวขวาที่แยกติวานนท์เข้าสู่ถนนติวานนท์ ผ่านกระทรวงสาธารณสุข เลี้ยวซ้ายก่อนถึงแยกแครายสู่ถนนรัตนาธิเบศร์ จากนั้นมุ่งหน้าไปทิศตะวันตก เชื่อมต่อกับจุดเริ่มต้นของรถไฟฟ้าสายสีชมพู ที่สถานีศูนย์ราชการจังหวัดนนทบุรี ผ่านศาลากลางจังหวัดนนทบุรี ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา ผ่านแยกบางรักน้อยหรือจุดตัดถนนราชพฤกษ์ และแยกบางพลู เลี้ยวขวาไปถนนกาญจนาภิเษก ผ่านชุมชนตลาดบางใหญ่ ไปสิ้นสุดที่คลองบางไผ่ จ.นนทบุรี รวมระยะทาง 23 กม.

สายสีเขียว - หมอชิต–สะพานใหม่–คูคต และ แบริ่ง–สมุทรปราการ

มาที่สายสีเขียว ที่จะมีการสร้างต่อหัวต่อท้าย จากรถไฟฟ้าบีทีเอสที่ให้บริการในปัจจุบัน โดยช่วง หมอชิต–สะพานใหม่–คูคต เพิ่งเปิดซองประมูลไปสดๆร้อนๆ และคาดว่าจะลงนามพร้อมก่อสร้างได้ต้นปี 2558 มีทั้งสิ้น 16 สถานี ได้แก่
1.ห้าแยกลาดพร้าว
2.พหลโยธิน 24
3.รัชโยธิน
4.เสนานิคม
5.ม.เกษตรศาสตร์
6.กรมป่าไม้
7.บางบัว
8.กรมทหารราบที่ 11
9.วัดพระศรีมหาธาตุ
10.อนุสาวรีย์หลักสี่
11.สายหยุด
12.สะพานใหม่
13.โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช
14.พิพิธภัณฑ์กองทัพอากาศ
15.สถานี กม.25 และ
16.คูคต
สำหรับแนวเส้นทางเริ่มต้นจากรถไฟฟ้าบีทีเอสสถานีหมอชิต ผ่านห้าแยกลาดพร้าว มุ่งสู่แยกรัชโยธิน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ไปจนถึงแยกหลักสี่ หลบอุโมงค์ไปจนถึงหน้าตลาดยิ่งเจริญ จากนั้นไปตามถนนพหลโยธิน และเบี่ยงออกขวาข้ามคลองสอง ผ่านสถานีตำรวจภูธรคูคต เข้าสู่เกาะกลางของถนนลำลูกกา จนสิ้นสุดที่คลองสอง สถานีคูคต โดยใช้เวลาสร้างเสร็จได้ในปี 2562

ส่วนเส้นทาง แบริ่ง–สมุทรปราการ จะสร้างเป็นรถไฟลอยฟ้าตลอด 13 กม. และสร้างเสร็จได้ปี 2563 ประกอบด้วย 9 สถานี ได้แก่
1.สถานีสำโรง
2.สถานีปู่เจ้าสมิงพราย
3.สถานีเอราวัณ
4.สถานีโรงเรียนนายเรือ
5.สถานีสมุทรปราการ
6.สถานีศรีนครินทร์
7.สถานีแพรกษา
8.สถานีสายลวด และ
9.สถานีเคหะสมุทรปราการ

สำหรับแนวทางเส้นทางก่อสร้าง จะเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าบีทีเอส สถานีแบริ่ง ไปตามแนวเกาะกลางของถนนสุขุมวิท ผ่านคลองสำโรง แยกเทพารักษ์ แยกปู่เจ้าสมิงพราย จนถึงบริเวณจุดตัดถนนวงแหวนรอบนอกด้านใต้ จากนั้นข้ามทางต่างระดับสุขุมวิทไปตามเกาะกลางถนนสุขุมวิท ผ่านแยกศาลากลาง แยกการไฟฟ้า แยกแพรกษา แยกสายลวด จนสิ้นสุดหน้าสถานีรถไฟฟ้าย่อยบางปิ้ง.

สายสีน้ำเงิน - บางซื่อ–ท่าพระ และ หัวลำโพง–บางแค

สายสีน้ำเงิน เส้นทางที่ดื่มด่ำได้หลายบรรยากาศ ทั้งลอยฟ้า ใต้ดิน และอุโมงค์ลอดใต้แม่น้ำเจ้าพระยา มีระยะทาง 27 กม. รวม 21 สถานี
เริ่มจาก ช่วง บางซื่อ–ท่าพระ ระยะทาง 13 กม. มีทั้งหมด 10 สถานี ได้แก่
1.สถานีเตาปูน
2.สถานีบางโพ
3.สถานีบางอ้อ
4.สถานีบางพลัด
5.สถานีสิรินธร
6.สถานีบางยี่ขัน
7.สถานีบางขุนนนท์
8.สถานีแยกไฟฉาย
9.สถานีจรัญสนิทวงศ์ 13 และ
10.สถานีท่าพระ

ในเส้นทางนี้จะเป็นลอยฟ้า เริ่มต้นจากสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินบางซื่อ ผ่านแยกเตาปูน ซึ่งเป็นสถานีร่วมกับรถไฟฟ้าสายสีม่วง เข้าสู่ถนนประชาราษฎร์สาย 2 ผ่านแยกบางโพ ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา เลี้ยวซ้ายเข้า ถ.จรัญสนิทวงศ์ บริเวณโรงเรียนเทคโนโลยีพระราม 6 ผ่านแยกบางพลัด แยกบรมราชชนนี แยกไฟฉาย และสิ้นสุดที่แยกท่าพระ

ต่อมาช่วง หัวลำโพง–บางแค ระยะทาง 14 กม. มี 11 สถานี ประกอบด้วย
1.สถานีวัดมังกรกมลาวาส
2.สถานีวังบูรพา
3.สถานีสนามไชย
4.สถานีอิสรภาพ
5.สถานีท่าพระ
6.สถานีบางไผ่
7.สถานีบางหว้า
8.สถานีเพชรเกษม 48
9.สถานีภาษีเจริญ
10.สถานีบางแค และ
11.สถานีหลักสอง

สำหรับแนวเส้นทาง เริ่มจากสถานีหัวลำโพง วิ่งแบบรถใต้ดินไปตามแนวถนนพระรามที่ 4 เข้าสู่ถนนเจริญกรุง ผ่านวัดมังกร–กมลาวาส ผ่านวังบูรพา เลี้ยวซ้ายเข้าถนนสนามไชย ลอดอุโมงค์ใต้แม่น้ำเจ้าพระยาที่ปากคลองตลาดไปจนถึงคลองบางกอกใหญ่ เข้าสู่ถนนอิสรภาพ และปรับโหมดวิ่งแบบลอยฟ้า มุ่งสู่แยกท่าพระ ซึ่งใช้สถานีร่วมกับสายสีน้ำเงินช่วงบางซื่อ-ท่าพระ จากนั้นวิ่งไปตามถนนเพชรเกษม ผ่านบางไผ่ บางหว้า ภาษีเจริญ บางแค สิ้นสุดที่วงแหวนรอบนอกถนนกาญจนาภิเษก โดยสายสีน้ำเงินทั้ง 2 ช่วง คาดเปิดบริการได้ปี 2562

ขณะที่ช่วง บางแค–พุทธมณฑล สาย 4 กำลังเร่งศึกษาความเหมาะสมและออกแบบเพื่อเชื่อมต่อสถานีหลักสองไปถึงพุทธมณฑลสาย 4 รองรับการเดินทางประชาชนฝั่งธนที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง มีระยะทาง 8 กม.ประกอบด้วย 4 สถานี คาดก่อสร้างเสร็จปี 2564 ได้แก่
1.สถานีพุทธมณฑลสาย 2
2.สถานีทวีวัฒนา
3.สถานีพุทธมณฑลสาย 3
4.สถานีพุทธมณฑลสาย 4


สายสีส้ม - ศูนย์วัฒนธรรม–มีนบุรี

รถไฟฟ้าสายสีส้ม ศูนย์วัฒนธรรม–มีนบุรี กำลังรอขออนุมัติจาก ครม.ช่วงต้นปี 2558 ระยะทาง 20 กม. เป็นโครงการทั้งใต้ดินและลอยฟ้า ประกอบด้วย 17 สถานี ได้แก่
1. ศูนย์วัฒนธรรมฯ หน้าห้างเอสพลานาด
2. สถานี รฟม. ติด ถ.พระราม 9
3. ประดิษฐ์มนูธรรม ปากซอยวัดพระรามเก้า
4.รามคำแหง 12 หน้าห้างเดอะมอลล์
5.รามคำแหง หน้า ม.รามคำแหง
6.ราชมังคลา หน้าสนามกีฬา
7.หัวหมาก หน้า รพ.รามคำแหง
8.ลำสาลี แยกลำสาลี
9.ศรีบูรพา หน้าห้างบี๊กซี
10.คลองบ้านม้า ซ.รามคำแหง 92-94
11.สัมมากร ใกล้หมู่บ้านสัมมากร
12.น้อมเกล้า หน้า ร.ร.เตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า 13.ราษฎร์พัฒนา หน้าซอยมิสทิน
14.มีนพัฒนา หน้าวัดบางเพ็ญใต้
15.เคหะรามคำแหง ซ.รามคำแหง 184
16.มีนบุรี อยู่สะพานข้ามคลองสองต้นนุ่น และ
17.สุวินทวงศ์ ใกล้แยกสุวินทวงศ์

แนวเส้นทางเริ่มจากสถานีศูนย์วัฒนธรรมเป็นแบบรถใต้ดิน เข้าสู่พื้นที่ศูนย์ซ่อมบำรุง รฟม. และมุ่งหน้าไปทิศตะวันออกเฉียงใต้ ก่อนเข้าสู่ถนนพระราม 9 บริเวณหน้าที่ทำการของ รฟม.จากนั้นไปทิศตะวันออกผ่านแยกพระราม 9 ประดิษฐ์มนูธรรม เลี้ยวซ้ายเข้าสู่ ถ.รามคำแหง ผ่านมหาวิทยาลัย รามคำแหง ราชมังคลากีฬาสถาน แยกลำสาลี ก่อนถึงจุดตัดถนนศรีบูรพา เพื่อยกระดับลอยฟ้าไปตามแนวเกาะกลางสู่สถานีบ้านม้า ผ่านหมู่บ้านสัมมากร ข้ามทางแยกต่างระดับรามคำแหงจุดตัดถนนกาญจนาภิเษก ผ่านแยกลาดบัวขาว จุดตัดถนนมีนพัฒนา ไปเคหะรามคำแหง ก่อนสิ้นสุดเส้นทางที่ ถ.สุวินทวงศ์ คาดก่อสร้างเสร็จปี 2563

สายสีชมพู - แคราย–ปากเกร็ด–มีนบุรี

รถไฟฟ้าสายสีชมพู แคราย–มีนบุรี ระยะทางยาวถึง 36 กม. เป็นรถไฟฟ้ารางเดี่ยว หรือโมโนเรล ประกอบด้วย 30 สถานี ได้แก่
1.ศูนย์ราชการนนทบุรี
2.แคราย ใกล้ รพ.โรคทรวงอก
3.สนามบินน้ำ ซ.ติวานนท์ 35
4.สามัคคี ใกล้แยกสามัคคี
5.กรมชลประทาน ซ.ติวานนท์ 4-6
6.ปากเกร็ดหัวมุมห้าแยก
7.เลี่ยงเมืองปากเกร็ด ถ.แจ้งวัฒนะ
8.แจ้งวัฒนะ-ปากเกร็ด 28 ใกล้ห้างเซ็นทรัล พลาซา
9.เมืองทองธานี ใกล้ทางเข้าเมืองทองธานี
10.ศรีรัช ทางเข้าอิมแพค
11.เมืองทอง 1 ซ.แจ้งวัฒนะ 14
12.ศูนย์ราชการ หน้ากรมการกงสุลและการสื่อสาร
13.ทีโอที ซ.แจ้งวัฒนะ 5-7
14.หลักสี่ ใกล้ไอทีสแควร์ เชื่อมต่อสายสีแดง
15.ราชภัฏพระนคร หน้าห้างแม็กซ์แวลู และ ม.ราชภัฏพระนคร
16.วงเวียนหลักสี่ ใกล้อนุสาวรีย์หลักสี่ เชื่อมสายสีเขียว
17.รามอินทรา 3 ใกล้ห้างเซ็นทรัล
18.ลาดปลาเค้า ใกล้สะพานข้ามแยก
19.รามอินทรา 31 ใกล้ฟู้ดแลนด์
20.มัยลาภ รามอินทรา ซ.12-14
21.วัชรพล ใกล้ซอยวัชรพล
22.รามอินทรา 40 ระหว่าง ซ. 40-42
23.คู้บอน แยกนวมินทร์
24.รามอินทรา83 ใกล้ รพ.สินแพทย์
25.วงแหวนตะวันออก หน้าแฟชั่นไอส์แลนด์
26.นพรัตนราชธานี ใกล้แยกเข้าสวนสยาม
27.บางชัน รามอินทรา ซ.109-115
28.เศรษฐบุตรบำเพ็ญ
29.ตลาดมีนบุรี ถ.สีหบุรานุกิจใกล้ตลาดมีนบุรี และ
30.มีนบุรี ถ.รามคำแหง ซอย 192 ใกล้แยกร่มเกล้า จะเชื่อมกับสายสีส้ม

แนวเส้นทางเริ่มต้นจากหน้าศูนย์ราชการจังหวัดนนทบุรีเชื่อมกับสายสีม่วง วิ่งเข้า ถ.ติวานนท์และเลี้ยวขวาห้าแยกปากเกร็ด ผ่านถนนแจ้งวัฒนะ เมืองทองธานี ศูนย์ราชการ ผ่านแยกหลักสี่ เพื่อเชื่อมกับรถไฟฟ้าสายสีแดงที่สถานีหลักสี่ จากนั้นข้ามถนนวิภาวดี ไปสถานีวัดพระศรีมหาธาตุ เพื่อเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีเขียว และแล่นไปตามถนนรามอินทรา จนถึงแยกมีนบุรีแล้ววิ่งเข้าเมืองมีนบุรีตามถนนสีหบุรานุกิจข้ามคลองสามวา เลี้ยวขวาข้ามคลองแสนแสบ เข้าสู่ถนนรามคำแหงจนสิ้นสุดแถวแยกร่มเกล้า คาดว่าจะเสร็จปี 2563 เช่นกัน

สายสีเหลือง - ลาดพร้าว–สำโรง

สายสีเหลืองจะก่อสร้างเป็นรถลอยฟ้าทั้งหมด 23 สถานี ระยะทาง 30.4 กม. ประกอบด้วย
1.รัชดาฯ
2.ภาวนา ปากซอยภาวนา ลาดพร้าว 41 - ทางเข้าวัดลาดพร้าว
3.โชคชัย 4 ลาดพร้าว 53
4.ลาดพร้าว 65
5.ฉลองรัชหน้าห้างอิมพีเรียลเวิลด์ ลาดพร้าว 81
6.วังทองหลาง หน้าโรงเรียนบางกอกศึกษา ลาดพร้าว 112
7.ลาดพร้าว 101
8.บางกะปิ ใกล้เดอะมอลล์
9.แยกลำสาลี ด้านทิศใต้แยกลำสาลี
10.ศรีกรีฑา ด้านทิศใต้แยกศรีกรีฑา
11.พัฒนาการ ช่วงจุดตัดรถไฟและ ถ.พัฒนาการ
12.คลองกลันตัน หน้าธัญญาช็อปปิ้ง พาร์ค
13.ศรีนุช
14.ศรีนครินทร์ 38
15.สวนหลวง ร.9 กึ่งกลางห้างซีคอนสแควร์และพาราไดซ์ พาร์ค
16.ศรีอุดม
17.ศรีเอี่ยม เยื้องศุภาลัยปาร์ค
18.ศรีลาซาล
19.ศรีแบริ่ง
20.ศรีด่าน
21.ศรีเทพา
22.ทิพวัล ปากซอยหมู่บ้านทิพวัล และ
23.สำโรง ใกล้ตลาดเทพารักษ์

แนวเส้นทางเริ่มต้นที่จุดเชื่อมต่อรถไฟฟ้าใต้ดินที่แยกรัชดา-ลาดพร้าว จากนั้นวิ่งไปตามแนวถนนลาดพร้าว จนถึงทางแยกบางกะปิ และเลี้ยวขวาไปตามถนนศรีนครินทร์ เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีส้มที่แยกลำสาลี ตัดข้ามแยกต่างระดับพระราม 9 สามารถเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงค์ ผ่านแยกพัฒนาการ แยกศรีนุช แยกศรีอุดมสุข แยกศรีเอี่ยม จนถึงแยกศรีเทพา จากนั้นเลี้ยวขวาไปทางทิศตะวันตก ตามแนวถนนเทพารักษ์ผ่านรถไฟฟ้าสายสีเขียว ที่สถานีสำโรง และสิ้นสุดบริเวณถนนปู่เจ้าสมิงพราย โดยคาดจะสร้างแล้วเสร็จในปี 2563

สายสีเขียวเข้ม - ยศเส–สนามกีฬาฯ–สะพานตากสิน–บางหว้า

ปิดท้ายกันด้วยส่วนต่อขยายสั้นของสายสีเขียวเข้ม ซึ่งปัจจุบันรถไฟฟ้าบีทีเอส เปิดให้บริการวิ่งทางยาวจากสถานีสนามกีฬาฯ-สถานีบางหว้า ระยะทาง 14 กม. แต่แผนหลังจากนี้ จะมีการขยายเส้นทางจากสถานีสนาม กีฬาแห่งชาติเพิ่มอีก 1 สถานีเพื่อวิ่งเข้าสู่สถานียศเส ระยะทาง 1 กม. มีจุดหมายเชื่อมต่อเส้นทางสีเขียวเข้ากับรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงเข้มที่สถานียศเส ซึ่งจะเป็นสถานีเดียวของส่วนต่อขยายฝั่งตะวันตก เพราะแนวเส้นทางที่เหลือจากนั้น ส่วนใหญ่ทับซ้อนกับรถไฟฟ้าสายสีส้ม โดยคาดจะมีความชัดเจนในปี 2562

สรุปตบท้ายได้ว่า หากแผนลงทุนก่อสร้างรถไฟฟ้า 10 สาย ไม่มีเหตุต้องสะดุดอีก ใน 4–5ปีข้างหน้ารถไฟฟ้าเครือข่ายใยแมงมุมในเมืองหลวงจะกลายเป็นฝันที่เป็นจริง หลังจากคนเมืองกรุงนั่งฝันกลางวัน...รอกันมานานแล้ว.
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 05/01/2015 11:13 am    Post subject: Reply with quote

รถไฟฟ้าสายสีส้ม ชัยชนะของประชาชน ความพ่ายแพ้ของชาติ!
เดลินิวส์
วันจันทร์ 5 มกราคม 2558 เวลา 06:00 น.

ในการต่อสู้ของประชาชนเรื่องการเวนคืนที่ดินนั้น เคยมีประชาชนชนะเหมือนกัน แต่เป็นชัยชนะที่ออกจะ “จอมปลอม” สักหน่อย มีตัวอย่างเช่น “ยายไฮ” “โรงแรมดุสิตธานี” และล่าสุด “รถไฟฟ้าสายสีส้ม” เป็นต้น นับเป็นชัยชนะของประชาชน แต่เป็นความพ่ายแพ้ของชาติ!

ผมไปเยี่ยมและประเมินค่าที่ดินของยายไฮ ขันจันทา เมื่อปลายปี 2548

ผมเคยไปช่วย “ยายไฮ ขันจันทา” ประเมินที่นาที่กลายเป็นอ่างเก็บน้ำของชุมชน ณ วันที่ 15 ธันวาคม 2548 โดยประเมินได้เป็นเงินรวม 3,875,000 บาท อย่างไรก็ตามรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้จ่ายค่าทดแทนเป็นเงิน 4.9 ล้านบาท ณ ปี 2552 สูงกว่าที่ผมประเมินให้เสียอีก กรณีนี้นับเป็นความโชคดีของ “ยายไฮ” แต่ประชาชนในท้องที่ที่ต้องถูกเวนคืนไปก่อนหน้าในราคาที่ต่ำกว่านี้ อาจจะไม่ปลื้มตามยายไปด้วย

อีกกรณีหนึ่งที่ดูคล้ายกับเป็นชัยชนะของประชาชนหรือเอกชนเหนือรัฐในด้านการเวนคืนก็คือโรงแรมดุสิตธานี ท่านคงเห็นสถานีรถไฟฟ้า MRT ที่อยู่ตรงโรงแรมดุสิตธานีไหม นับเป็นสิ่งก่อสร้างที่น่าเกลียดและอเนจอนาถมาก เพราะตั้งอยู่บนถนนสีลมเลย รถจากพระรามสี่จะเลี้ยวเข้าสีลม ต้องอ้อมสถานีนี้ที่อยู่บนถนนก่อน สร้างต้นทุนเพิ่มแก่ประชาชนและประเทศชาติอย่างไม่มีที่สิ้นสุด

สถานีรถไฟฟ้าสีลมต้องอยู่บนถนน สร้างปัญหาแก่ส่วนรวม

แต่เดิมตอนก่อสร้าง ก็เป็นข่าวครึกโครมว่าทางโรงแรมดุสิตธานีไม่ยอมให้สร้างเข้าไปในที่จอดรถโรงแรม ซึ่งจริง ๆ ควรสร้างเข้าไปในที่จอดรถดังกล่าว โดยโรงแรมอ้างว่าจะทำให้การประกอบกิจการโรงแรมเกิดมูลค่าด้อยลง คนมาใช้บริการไม่สะดวก กรณีนี้ทางราชการก็ควรชดเชยค่าเสียหายให้ตามสมควร แต่จะปล่อยให้ผลสุดท้ายออกมาเป็นการก่อสร้างบนถนนเช่นนี้ นับเป็นความน่าอดสูที่พึงประณามเป็นอย่างยิ่ง เราควรจัดการเวนคืนให้เป็นประโยชน์ต่อทุกฝ่ายและที่สำคัญไม่กลายเป็นปัญหาต่อส่วนรวมเช่นนี้

ผมเพิ่งกลับจากประเมินค่าทรัพย์สิน ณ นครโฮจิมินห์ พบว่าขณะนี้กำลังก่อสร้างสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินกันอย่างขนานใหญ่ ที่ใจกลางเมืองนี้คือศูนย์กลางใหญ่แห่งหนึ่งของรถไฟฟ้า ซึ่งต่อไปจะนำความเจริญมาสู่ย่านนี้กันอีกเป็นจำนวนมาก เวียดนามจึงยินยอมที่จะ “กลืนเลือด” อดทนเพื่อความเจริญในวันข้างหน้า ซึ่งก็คงไม่นานเกินรอ

ดังนั้นอย่าว่าแต่โรงแรมห้าดาว ศูนย์การค้าใหญ่ และร้านรวงใหญ่ ๆ ในย่านนั้นถูกปิดหรือไม่ได้รับความสะดวกในการค้าขาย แม้แต่อนุสาวรีย์ลุงโฮจิมินห์ บิดาของประเทศเวียดนามที่ตั้งเด่นเป็นสง่าใจกลางนครโฮจิมินห์ซิตี้ที่ใครต่อใครต้องไปถ่ายภาพด้วยนั้น บัดนี้ปิดไปแล้ว เขาเอาผ้าใบคลุมไว้เลย และบริเวณโดยรอบที่เป็นถนนและสวนสาธารณะก็ถูกล้อมรั้วไว้ อนุสาวรีย์สำคัญ ๆ ก็ถูกย้ายออกจากพื้นที่ใกล้เคียงไปตั้งที่อื่นเพื่อเปิดทางให้กับการสร้างรถไฟฟ้าที่จะแล้วเสร็จในปี 2561 เวียดนามทำเพื่อชาติและประชาชนวันนี้ได้ แต่ไทยกลับทำไม่ได้!

กรณีที่น่าสลดหดหู่อีกกรณีหนึ่งก็คือการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีส้ม ปรากฏว่าชาวบ้านที่ถูกเวนคืนเรียกร้องจนสำเร็จ ให้สถานีย้ายจากโรงแรมอินทราประตูน้ำ ไปซอยรางน้ำ กรณีนี้อาจถือเป็นชัยชนะของประชาชนส่วนหนึ่ง ซึ่งอาจถือเป็น “กฎหมู่” ก็คือเฉพาะคนที่เสียผลประโยชน์ แต่นับเป็นความพ่ายแพ้อย่างสิ้นเชิงของประเทศชาติ และประชาชนโดยรวม การย้ายไปอยู่อีกที่ ก็จะทำให้ชาวบ้านอีกที่เดือดร้อนจากการเวนคืนเช่นกัน เมืองต้องมีการพัฒนา จะปฏิเสธการเวนคืน คงไม่ได้ แต่เราจะจัดการเวนคืนให้เหมาะสมอย่างไรต่างหาก

ที่ตั้งสถานีเดิมสะดวกต่อการเดินทาง คนมาจับจ่ายที่ประตูน้ำราชดำริ เพชรบุรี วันละนับแสน ๆ คนจะได้ใช้บริการรถไฟฟ้าได้ เดือนละหลายล้านคน ปีละหลายสิบล้านคน แต่การย้ายออกไปไกล ทำให้ต้นทุนสูงขึ้น สร้างความลำบากให้แก่ประชาชนทั้งประเทศ เพียงเพื่อเอาใจคนเพียงหยิบมือเดียว ผู้เรียกร้องบางส่วน “เล่นเล่ห์” หาว่าการสร้างรถไฟฟ้านี้จะเอื้อประโยชน์ต่อศูนย์การค้าบางแห่ง แต่ในความเป็นจริง จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ประกอบการค้าและประชาชนส่วนรวม

สถานีรถไฟฟ้าที่ประตูน้ำจะเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม ไม่ใช่ห้างใดห้างหนึ่งดังถูกกล่าวอ้าง

ถ้าเป็นในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เช่น สมัยอยุธยาที่มีการเกณฑ์แรงงานชาวบ้านไปฟรี ๆ หรือถือเอาสมบัติของประชาชนไปเข้าคลังหลวง ไปสร้างวัง ไปรบทัพจับศึกกับเพื่อนบ้าน ก็ว่าไปอย่าง แต่สมัยนี้ การเอาสมบัติของชาวบ้านไป ต้องจ่ายค่าทดแทน ถ้าค่าทดแทนไม่เหมาะสม ก็ต้องต่อสู้ แต่ไม่ใช่ดื้อแพ่ง ขัดขวางความเจริญ และทำร้ายผลประโยชน์ของประชาชนโดยรวมโดยขาดหิริโอตตัปปะเยี่ยงนี้ นี่จึงเป็นสิ่งที่น่าเสียใจเป็นอย่างยิ่ง

และเป็นที่น่าเสียใจเป็นอย่างยิ่งที่ทางราชการคือการรถไฟฟ้าฯ กลับยินยอมไปตามผู้เรียกร้อง โดยไม่ใช้ความรู้ตามหลักวิชาในการทำความเข้าใจ ให้การศึกษากับชาวบ้านถึงความจำเป็นในการเวนคืน ประชาชนที่ถูกเวนคืนบางส่วนอาจจะต้องลำบากกับการโยกย้าย ก็อาจก่อสร้างอาคารชุดให้พวกเขาได้อยู่อาศัยในที่ใกล้เคียง จะได้ไม่กระทบต่อการเดินทางของบุตรหลานไปโรงเรียน ส่วนสถานที่ค้าขายก็อาจจัดหาบริเวณใกล้เคียงให้เพื่อช่วยบรรเทาปัญหา ส่วนที่สูญเสียไม่อาจเป็นเช่นเดิม ก็ต้องจ่ายค่าชดเชยให้สมน้ำสมเนื้อ แต่จะกีดขวางการพัฒนาประเทศชาติไม่ได้

“รู” เชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีส้มกับสถานีศูนย์วัฒนธรรม กำลังจะเป็นอดีต

ยิ่งกว่านั้นเพราะความเป็น “มะเขือเผา” ของทางราชการ พอประชาชนย่านดินแดงเรียกร้องบ้าง ก็ย้ายแนวรถไฟฟ้าจากที่จะผ่านย่านห้วยขวาง ทำให้ประชาชนอยู่กันอย่างหนาแน่นในย่านนี้อดได้อานิสงส์จากรถไฟฟ้าบ้าง “รู” ของสถานีรถไฟฟ้าสายสีส้มที่จะเชื่อมต่อกับสถานีรถไฟฟ้าศูนย์วัฒนธรรม ก็คงจะกลายเป็นม่าย กลายเป็นอดีต เพราะทางราชการจะย้ายไปถนนพระรามเก้าแทน ทั้งที่ถนนสายนี้มีคนอยู่น้อยกว่ามาก แต่อาจเอื้อประโยชน์ต่อศูนย์การค้าหรือสำนักงาน
ใหญ่ ๆ ของเอกชนรายใหญ่ ๆ ในย่านนี้นั่นเอง

นับเป็นสิ่งที่น่าสลดยิ่งที่ไทยเราต้องมีการโยกย้ายเปลี่ยนแนวการก่อสร้างต่าง ๆ ซึ่งเป็นการทำลายผลประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชนของเรา โดยฟังแต่กฎหมู่หรือผู้เสียผลประโยชน์เพียงหยิบมือเดียว การยอมให้ “กฎหมู่” อยู่เหนือกฎหมายย่อมสร้างความอยุติธรรมต่อประชาชนอื่นที่ไม่ควรถูกเวนคืน สร้างความเสียหายต่อประเทศชาติ เพิ่มต้นทุนในการเดินทางสัญจรต่อรถไฟฟ้าของประชาชน และไม่เป็นมงคลต่อ “ผู้ชนะ” บนความพ่ายแพ้ของประเทศชาติเอง

ขอให้ทุกฝ่ายยึดถือประโยชน์ของส่วนรวมเป็นที่ตั้ง เพื่อเป็นมงคลต่อเราเองในที่สุดเถิด.
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 05/01/2015 11:31 pm    Post subject: Reply with quote

คค.เตรียมชงรถไฟฟ้าสีส้ม, ชมพู เข้า ครม.
ข่าวเศรษฐกิจ
INN News
วันจันทร์ที่ 5 มกราคม พ.ศ.2558 14:37น.

คมนาคม เผยความคืบหน้าโครงการรถฟ้าสายสีส้ม ชมพู เหลือง คาดหลังตรวจสอบข้อมูลแล้วเสร็จ เร่งนำเข้าครม. ได้ในเดือนนี้

นางสร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์ ปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยถึงความคืบหน้าการดำเนินโครงการรถไฟฟ้า 10 สาย ว่า ล่าสุดได้เชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาติดตามความคืบหน้าการดำเนินโครงการรถไฟฟ้าที่อยู่ในความรับผิดชอบ ซึ่งทางการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ได้ส่งข้อมูลเกี่ยวกับโครงการก่อสร้างรถไฟชานเมืองสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย-มีนบุรี สายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี และสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง ให้ทางกระทรวงคมนาคมพิจารณาแล้ว ซึ่งจากนี้คาดว่าจะสามารถตรวจสอบข้อมูลของโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มแล้วเสร็จภายในสัปดาห์นี้ ขณะที่สายสีชมพูและเหลืองจะพิจารณาแล้วเสร็จภายในสัปดาห์หน้า ก่อนที่จะนำเสนอให้ พลอากาศเอกประจิน จั่นตอง รมว.คมนาคม ลงนามบรรจุวาระ จากนั้นจะเร่งเสนอเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรีพิจารณาภายในเดือนมกราคมนี้

ขณะที่รถไฟชานเมืองสายสีเขียว ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่ ความคืบหน้าล่าสุดอยู่ระหว่างการเจรจาต่อรองราคากับผู้รับจ้าง ซึ่งคาดจะสามารถเจรจาแล้วเสร็จเริ่มลงนามในสัญญาเพื่อนำไปสู่การก่อสร้างได้ในเดือนมีนาคม โดยคาดจะได้ราคาที่ต่ำกว่าราคากลาง เนื่องจากราคาเหล็กและราคาน้ำมันที่ปรับลดลงในขณะนี้เป็นปัจจัยที่ช่วยหนุน
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 06/01/2015 12:17 am    Post subject: Reply with quote

ระดมขุดรถไฟฟ้าทั่วกรุงเทพพื้นที่ชั้นในเตรียมรถติดหนึบ
เดลินิวส์
วันเสาร์ 3 มกราคม 2558 เวลา 17:00 น.

คาดปี58 รถยังติดหนึบทุกพื้นที่ เหตุเป็นปีแห่งการก่อสร้าง จะมีโครงการรถไฟฟ้าผุดขึ้นใหม่อีก 7สาย

นางสร้อยทิพย์ไตรสุทธิ์ ปลัดกระทรวงคมนาคมเปิดเผยถึง สภาพการจราจรในปี58ในพื้นที่กรุงเทพมหานครว่าปี 58จะเป็นปีแห่งการพัฒนาระบบโครงการพื้นฐานด้านการคมนาคมซึ่งในพื้นที่กรุงเทพฯนั้นถือว่าเป็นปีแห่งการก่อสร้างจะมีการก่อสร้างรถไฟฟ้าเพิ่มขึ้นจำนวนมากได้แก่1.โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีเขียวช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต2.โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์ ส่วนต่อขยายดอนเมือง-บางซื่อ-พญาไท3.โครงการรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงอ่อนช่วงบางซื่อ-พญาไท-มักกะสัน-หัวหมากและสายสีแดงเข้ม ช่วงบางซื่อ-หัวลำโพง4.โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มช่วงศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี5.โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลืองช่วงลาดพร้าว-สำโรง6.โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพูช่วงแคราย-มีนบุรีอีกทั้งยังคงมีโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าที่ยังดำเนินการไม่แล้วเสร็จอีกได้แก่ 1.โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงช่วงบางใหญ่-บางซื่อ2.โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยายช่วงบางซื่อ-ท่าพระหัวลำโพง-บางแค3.โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวใต้ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการและ4.โครงการรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต4ซึ่งในปี58โครงการก่อสร้างดังกล่าวจะส่งผลกระทบต่อปัญหาการจราจรในพื้นที่กรุงเทพฯทำให้เกิดปัญหาติดขัดในพื้นที่ต่างๆโดยเฉพาะพื้นที่แนวการก่อสร้างซึ่งจะส่งผลให้การจราจรในจุดที่มีการก่อสร้างในเมืองมีปัญหามากขึ้นอย่างแน่นอน

นางสร้อยทิพย์กล่าวต่อว่ากระทรวงคมนาคมได้เร่งวางแผนแก้ปัญหาซึ่งจะต้องมีการบริหารจัดการพื้นที่ตามแนวก่อสร้างรถไฟฟ้าให้กระทบการพื้นผิวการจราจรน้อยที่สุดอีกทั้งนี้พื้นที่กรุงเทพฯส่วนที่เป็นปัญหาการจราจรอย่างมากคือถนนที่เป็นคอขวดจุดกลับรถ จุดทางแยกต่างๆและป้ายรถโดยสารประจำทางซึ่งมีจำนวน 257จุดโดยทางคมนาคมจะต้องเร่งเข้าไปปรับปรุงจุดต่างๆเพื่อแก้ปัญหาการจราจรโดยเร็วที่สุดรวมทั้งบริเวณที่เกิดปัญหาการจราจรติดขัดอย่างมากคือบริเวณหน้าด่านเก็บเงินบริเวณช่องทางด่วนเนื่องจากจะมีรถจำนวนมากไปจอดรอบริเวณช่องเก็บค่าผ่านทางและติดขัดกระทบยาวไปจนถึงถนนอื่นๆซึ่งจะให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทยเพิ่มจำนวนช่องเก็บเงินให้มากขึ้นเพื่อช่วยกระจายการจราจรอาทิบริเวณด่านสุขุมวิท-เพลินจิตด่านบางขุนเทียน ด่านประชาชื่นด่านวงแหวนเข้ากาญจนาด่านบางเมือง เป็นต้นอีกทั้งจะพัฒนาระบบอีซี่พาสเพื่อลดระยะเวลาการผ่านช่องเก็บเงินให้รวดเร็วมากที่สุดและรณรงค์ให้ประชาชนหันมาใช้ระบบอีซีพาสเพิ่มขึ้นโดยปี 58จะต้องมีผู้ใช้อีซี่พาสจำนวน1ล้านใบ.
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 104, 105, 106 ... 278, 279, 280  Next
Page 105 of 280

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©