Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311326
ทั่วไป:13289219
ทั้งหมด:13600545
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 128, 129, 130 ... 279, 280, 281  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44860
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 29/02/2016 1:58 pm    Post subject: Reply with quote

เปิดโพย30จุด"จอดและจร" สถานีรถไฟฟ้า10 สาย-รองรับ 2 หมื่นคันทั่วกรุง
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ 29 ก.พ. 2559 เวลา 11:19:48 น.

น่าสนใจไม่น้อยกับคำบัญชาของ "บิ๊กตู่-พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา" นายกรัฐมนตรี สั่งการให้สร้างที่จอดรถเพิ่ม ดึงคนทิ้งรถส่วนตัวมาใช้บริการรถไฟฟ้าแทน ทางหนึ่งหวังผลลึก ๆ ไปถึงแก้ปัญหาการจราจรเมืองกรุงที่วิกฤตหนัก

งานนี้นายกรัฐมนตรีคนที่ 29 ของประเทศไทยขายไอเดีย ดึงเอกชนมาร่วมลงทุนทำธุรกิจที่จอดรถ เพื่อให้โครงการเดินหน้าได้เร็ว

Click on the image for full size

บิ๊กตู่ปิ๊งหาเอกชนลงทุน

"มีแนวคิดจะทำอย่างไรให้ลดปัญหาการจราจรได้ สั่งการในที่ประชุมคณะรัฐมนตรีให้หาความเชื่อมโยงต่อระบบขนส่งมวลชน ซึ่งรอยต่อของแต่ละช่วงจะต้องมีที่จอดรถ จึงให้แนวทางกับผู้ที่เกี่ยวข้องไปหารือกับเอกชน ร่วมมือลงทุนสร้างที่จอดรถในเมือง เป็นตึกสูงประมาณ 10 ชั้น จากนั้นก็บริหารจัดการ เก็บค่าเช่า จะส่งผลให้การแก้ไขปัญหาการจราจรดีขึ้น" ซึ่ง"บิ๊กตู่" ยอมรับว่า แม้จะมีรถไฟฟ้า ยังมีปัญหาที่จอดรถอยู่ดี จึงให้หาพื้นที่ที่เหมาะสมในการทำธุรกิจเกี่ยวกับเรื่องจัดทำที่จอดรถ ให้บริการในพื้นที่ที่การจราจรติดขัด เช่น ในศูนย์การค้า เป็นต้น ต้องมีที่จอดรถมีระยะห่าง 300-500 เมตร ซึ่งไม่มีวิธีการอื่นทำได้ เพราะตอนนี้รถมากกว่าถนน

ดึงคนชานเมืองใช้บริการ

"ต้องหาที่จอดรถมาก ๆ แล้วก็เชื่อมโยงกับรถไฟฟ้าที่จะสร้าง เพราะว่าขาด ๆ เป็นตอน ๆ อย่างนี้ไม่ได้ ไปไม่ถึงที่ทำงาน พร้อมกับหาวิธีการทำยังไงราคาจะถูกลง ต้องไปชดเชยเอกชนด้วยอะไร เช่น หารายได้ในสถานที่ขายตั๋ว ในสถานีต่าง ๆ ต้องทำแผนงานขึ้นมาแล้วไปหาผู้ประกอบการมาร่วมทุนกับรัฐ"

นับเป็นแนวคิดที่ดี หาก "รัฐบาล คสช." ผลักดันได้สำเร็จ เพราะปัจจุบันจุดจอดรถใกล้รถไฟฟ้าหายาก หากเพิ่มให้มากขึ้น โดยเฉพาะจุดต้นทาง-ปลายทาง จะเป็นการจูงใจให้คนปรับโหมดการเดินทางจากรถมาสู่ระบบรางมากขึ้น

เปิดโผจุดจอดรถ 2.2 หมื่นคัน

ทั้งนี้จากการสำรวจพบว่าในแนวรถไฟฟ้าทั้งสายที่เปิดบริการไปแล้วและสายใหม่ มีที่จอดรถร่วม 22,844 คัน แยกเป็นรถไฟฟ้าที่เปิดบริการกว่า 5,769 คัน มีทั้งจอดฟรีและเสียเงิน

ปัจจุบันมีที่จอดรถใกล้สถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสมีอยู่ 3 สถานี คือ 1.สถานีหมอชิต เป็นลานจอดรถฟรีบริเวณพื้นที่หมอชิตเก่า จอดได้ทุกวันตั้งแต่เวลา 05.00-01.00 น. ประมาณ 1,500 คัน 2.สถานีเพลินจิต อาคารเวฟเพลส ทุกวันเสาร์-อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ เวลา 06.00-22.00 น. โดยไม่คิดค่าบริการ ถ้าเป็นวันธรรมดาเสียค่าที่จอดรถชั่วโมงละ 30 บาท และ 3.สถานีอ่อนนุช อาคารเอเชียพาร์ค สุขุมวิท 81 เปิดบริการ 06.00-24.00 น. จอดได้ประมาณ 300 คัน อัตราค่าบริการชั่วโมงแรก 15 บาท เกิน 1 ชั่วโมงคิดอัตราเหมาจ่ายรวมทั้งวัน 65 บาท หรือเหมาจ่ายรายเดือน จอดเฉพาะจันทร์-ศุกร์ เดือนละ 1,000 บาท

ใต้ดิน-แอร์พอร์ตลิงก์ ได้ 4 พันคัน

"รถไฟฟ้าใต้ดิน" ตลอดเส้นทางจากหัวลำโพง-บางซื่อ มีบริการที่จอดรถ 12 แห่ง เป็นอาคารจอดรถ 2 แห่ง และลานจอดรถ 10 แห่ง รวม 2,979 คัน ประกอบด้วย อาคารจอดรถ 9 ชั้น สถานีลาดพร้าว จอดรถได้ 2,200 คัน, ลานจอดรถ สถานีรัชดาภิเษก 75 คัน, ลานจอดรถ สถานีห้วยขวาง 73 คัน, ลานจอดรถ สถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย 30 คัน (เฉพาะรายเดือน), อาคารจอดรถ 3 ชั้น สถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย 205 คัน, ลานจอดรถ สถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย (ปากซอยรัชดาภิเษก 6) 106 คัน (เฉพาะรายเดือน)ลานจอดรถ สถานีพระราม 9 (รัชดาภิเษก ซอย 2) 50 คัน, ลานจอดรถ สถานีเพชรบุรี 54 คัน, ลานจอดรถ สถานีสุขุมวิท 33 คัน, ลานจอดรถ สถานีศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ 79 คัน, ลานจอดรถฝั่งตรงข้ามศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ 42 คัน (เฉพาะรายเดือน) และลานจอดรถ สถานีสามย่าน 32 คัน

"แอร์พอร์ตลิงก์" มีที่จอดรถ 6 แห่ง

รวม 1,290 คัน ที่สถานีพญาไท 10 คัน สถานีราชปรารภ 30 คัน สถานีมักกะสัน 350 คัน สถานีหัวหมาก 350 คัน สถานีบ้านทับช้าง 50 คัน สถานีลาดกระบัง 500 คัน 7 สายใหม่รับได้ 1.7 หมื่นคัน

ส่วนที่จอดรถตามแนวรถไฟฟ้าสายใหม่ จำนวน 7 สายทาง มีที่จอดรถได้ประมาณ 17,025 คัน อยู่ในแนว "สีม่วง" ช่วงบางใหญ่-เตาปูน จะเปิดบริการอย่างไม่เป็นทางการเดือน พ.ค.นี้ มีอาคารจอดรถ 4 แห่ง รวม 5,520 คัน ได้แก่ สถานีคลองบางไผ่ 1,900 คัน สถานีสามแยกบางใหญ่ 1,450 คัน สถานีบางรักน้อยท่าอิฐ 1,070 คัน และสถานีนนทบุรี 1 ที่ล่าสุดกระทรวงคมนาคมปรับแบบก่อสร้างจากเดิมจอดได้ 430 คัน เป็น 1,100 คัน

"สีน้ำเงินส่วนต่อขยาย" ช่วงบางซื่อ-ท่าพระและหัวลำโพง-บางแค จะเปิดบริการเดือน เม.ย. 2562 มีที่สถานีหลักสอง จำนวน 2 อาคาร จอดได้ประมาณ 1,000 คัน แยกเป็นอาคาร 10 ชั้น 650 คัน และอาคาร 8 ชั้น 350 คัน

ด้าน "สีเขียวต่อขยาย" ช่วง "แบริ่งสมุทรปราการ" จะเปิดบริการทั้งเส้นทางเดือน ก.พ. 2561 มีที่จอดรถ 1 แห่งที่สถานีเคหะสมุทรปราการ 1,200 คัน และ "ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต" จะเปิดบริการเดือน ก.พ. 2563 มีที่จอดรถ 2 แห่ง รวม 1,755 คัน ที่สถานี กม.25 จอดได้ 1,042 คัน และอยู่ใกล้สถานีคูคต 713 คัน

ขณะที่สาย "สีแดง" ช่วง "บางซื่อ-รังสิต" เปิดบริการปี 2563 มีที่จอดรถ 1 แห่ง อยู่ใต้ดินสถานีกลางบางซื่อ จอดได้ 1,700 คัน

ชมพู-ส้มใช้ที่จอดมีนบุรีร่วมกัน

"สีชมพู แคราย-มีนบุรี" เปิดบริการปี 2563 มีที่จอดรถ 1 แห่ง สถานีมีนบุรี 3,000 คัน จะใช้ร่วมกับสายสีส้ม (ศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี) ตามแผนจะเปิดบริการปี 2565 และมีที่จอดรถเพิ่มอีก 1 แห่ง จอดได้ประมาณ 1,200 คัน ส่วน "สีเหลืองลาดพร้าว-สำโรง" จะเปิดบริการปี 2563 มีที่จอดรถที่สถานีศรีเอี่ยม 5,000 คัน

สุดท้าย "สีม่วงส่วนต่อขยาย" จากเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ เปิดปี 2565 มี 2 แห่ง รวม 3,400 คัน ที่สถานีบางปะกอก เป็นอาคาร 10 ชั้น จอดได้ 1,700 คัน และสถานีราษฎร์บูรณะ เป็นอาคาร 8 ชั้น จอดได้ 800 คัน และอาคาร 10 ชั้น จอดได้ 900 คัน

รฟม.จ้างเอกชนบริหารสายสีม่วง

นายพีระยุทธ สิงห์พัฒนากุล ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ขณะนี้ยังไม่มีแผนจะลงทุนก่อสร้างอาคารจอดรถเพิ่มในแนวรถไฟฟ้าสายต่าง ๆ เนื่องจากไม่มีที่ดิน จะต้องมีการเวนคืนเพิ่ม แต่หากเอกชนมีที่ดินและสนใจจะลงทุนก่อสร้าง ทาง รฟม.ก็พร้อมให้ความร่วมมือ เพราะหากดำเนินการได้จะทำให้ผู้ใช้รถไฟฟ้าสะดวกมากขึ้น

สำหรับการให้บริการอาคารจอดรถแนวสายสีม่วงที่จะเปิดบริการเดือน พ.ค.นี้ รฟม.จะบริหารจัดการเอง โดยจ้างบริษัทเอกชนที่มีประสบการณ์มาจัดเก็บให้ เนื่องจาก รฟม.จะต้องควบคุมการเก็บค่าจอดรถไม่ให้แพงเกินไป ซึ่งการเก็บค่าจอดจะเป็นอัตราเดียวกับรถไฟฟ้าใต้ดิน โดยผู้ใช้บริการรถไฟฟ้าทุก 2 ชั่วโมงเก็บ 15 บาท ส่วนผู้ไม่ได้ใช้บริการชั่วโมงละ 40 บาท ยกเว้นลานจอดรถสถานีเพชรบุรี สุขุมวิท และศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ชั่วโมงละ 50 บาท

หากรถไฟฟ้ามาตามนัดทุกเส้นทาง อนาคตธุรกิจรับจอดรถอาจจะเฟื่องฟูกว่าทุกวันนี้ก็เป็นไปได้ เพราะตามที่ประมาณการจะมีคนใช้บริการรถไฟฟ้าทั้งระบบ 5.36 ล้านเที่ยวคน/วัน
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44860
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 01/03/2016 4:16 pm    Post subject: Reply with quote

รถไฟฟ้า 2 สายเข้า "พีพีพี ฟาสต์แทร็ก" "แคราย-มีนบุรี,ลาดพร้าว-สำโรง" หวังเปิดวิ่งปี 2563
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ 01 มี.ค. 2559 เวลา 13:25:23 น.

คณะกรรมการ "พีพีพี" ไฟเขียวดึงเอกชนร่วมลงทุนรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี และสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง วงเงินรวมกันกว่าแสนล้าน เร่งให้งานเร็วขึ้น ชงเข้า ครม.ก่อนเปิดประมูลในเดือน มิ.ย. ตั้งเป้าเดินรถได้ในปี 2563

นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รมว.คลัง กล่าวภายหลังการประชุมคณะกรรมการนโยบายการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ (พีพีพี) ซึ่งมีนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานว่า ที่ประชุมเห็นชอบให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนกรุงเทพ หรือรฟม.ดำเนินโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู (ช่วงแคราย-มีนบุรี) วงเงินลงทุน 56,691 ล้านบาท และสายสีเหลือง (ช่วงลาดพร้าว-สำโรง) วงเงินลงทุน 54,644 ล้านบาท

ถือเป็นโครงการลงทุนเมกะโปรเจ็กต์ของกรุงเทพฯชุดแรกที่ผ่านระบบพีพีพี ฟาสต์แทร็ก หรือการเร่งรัดโครงการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ ที่ลดขั้นตอนการจัดเตรียมและนำเสนอโครงการจาก 2 ปี เหลือเพียง 9 เดือน

"รถไฟฟ้าทั้ง 2 สายจะเป็นระบบรถไฟฟ้าโมโนเรลหรือระบบรางเดี่ยวยกระดับ โดยรัฐเป็นผู้รับผิดชอบค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินและให้ภาคเอกชนลงทุนค่างานโยธา ค่าระบบรถไฟฟ้าและขบวนรถไฟฟ้า และค่าจ้างที่ปรึกษาโครงการ รวมทั้งบริหารการเดินรถและค่าซ่อมบำรุง โดยให้เอกชนร่วมลงทุนเป็นเวลา 30 ปี และเป็นผู้จัดเก็บ ค่าโดยสารและรับความเสี่ยงด้านจำนวนผู้โดยสาร"

รถไฟฟ้าทั้ง 2 สายนี้ ภาคเอกชนเข้ามาลงทุนงานโยธาแทนรัฐ ที่ประชุมจึงกำหนดให้มีการสนับสนุนแก่เอกชนไม่เกินมูลค่างานโยธา (เน็ตคอสต์) สายละไม่เกิน 20,000 ล้านบาท เพื่อดึงดูดให้มีเอกชนเข้ามาร่วมลงทุน คาดว่าจะนำรายละเอียดทั้งหมดให้ครม.พิจารณาได้ในเดือนมี.ค.นี้ รวมทั้งจะจัดตั้งคณะกรรมการคัดเลือกเอกชนและจัดทำร่างสัญญาการประมูลในเดือนพ.ค. ก่อนเปิดประมูลในเดือนมิ.ย. และคาดว่าเปิดให้บริการเดินรถได้ในปี 2563

การให้เอกชนเข้ามาลงทุนทั้งหมด เพราะไม่ต้องการให้ซ้ำรอยรถไฟฟ้าสายสีม่วงอีก ที่บอกว่าได้ประหยัดต้นทุนของรัฐมาก ซึ่งไม่รู้ว่าประหยัดต้นทุนจริงหรือไม่ เพราะขณะนี้สร้างเสร็จมาแล้ว 2 ปี แต่ประชาชนยังไม่ได้เข้าไปใช้ประโยชน์

นอกจากนี้คณะกรรมการพีพีพี ยังได้ติดตามความคืบหน้าของโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน (ช่วงหัวลำโพง-บางแคและช่วงบางซื่อ-ท่าพระ) และโครงการมอเตอร์เวย์ สายบางปะอิน-นครราชสีมา และสายบางใหญ่-กาญจนบุรี ซึ่งทั้ง 3 โครงการยังเดินหน้าได้ตามกำหนด
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44860
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 07/03/2016 7:42 am    Post subject: Reply with quote

รฟม.แทงกั๊กระบบรถสีชมพู-เหลือง กก.PPPติงเปิดกว้างหวั่นประมูลมีปัญหา
โดย MGR Online 7 มีนาคม 2559 06:08 น.

กก.PPP สั่งรฟม. ฟันธงเลือกระบบรถไฟฟ้าสายสีเหลือง และสีชมพู หลังเสนอประมูลเปิดกว้างทั้งโมโนเรล หรือ ระบบรองที่เทียบเท่า "อาคม"จี้รฟม.เร่งสรุปชงบอร์ด 9 มี.ค.นี้ เพื่อเสนอครม.ใน 15 มี.ค. และเดินหน้าตั้งกรรมการ ม. 35 ตามพ.ร.บ.ร่วมทุนฯ 56 ร่างทีโออาร์เปิดประมูล ด้านรฟม. ยันโมโนเรลเหมาะสมที่สุด

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเปิดเผยว่า ได้มอบให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เร่งทำรายละเอียดข้อมูลเพิ่มเติมแนวทางการดำเนินโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย – มีนบุรี 34.5 กม. วงเงินลงทุน 56,691 ล้านบาท และ รถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว – สำโรง ระยะทาง 30.4 กม. วงเงินลงทุน 54,644 ล้านบาทใน 4ประเด็นให้ชัดเจน คือ รูปแบบระบบรถ , ปรับกรอบวงเงินให้เป็นปัจจุบันและเหมาะสมมากขึ้น,ปรับลดค่าใช้จ่ายเผื่อเหลือเผื่อขาด (Provisional Sums) ,แนววิธีการคัดเลือกเอกชนที่ชัดเจน ซึ่งเป็นไปตามความเห็นของคณะกรรมการนโยบายการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ (คณะกรรมการ PPP) เมื่อวันที่ 29 ก.พ.

ทั้งนี้ รฟม.ต้องมีความชัดเจนว่าจะใช้รถระบบแบบไหน กรณีกำหนดเป็นโมโนเรล หลักการนั้นจะต้องออกแบบตัวรถก่อนแล้วถึงจะออกแบบเทคโนโลยี โครงสร้าง ราง สถานีให้สอดคล้องเข้ากับระบบรถ ผู้รับจ้างจะเป็นรายเดียวทำตั้งแต่ต้นจนจบ เป็นการนำทุกอย่างไปผูกกับระบบรถโมโนเรล ส่วนระบบ Light Rail อื่นนั้น จะสามารถแยกงานโยธากับงานระบบรถออกจากได้ สามารถออกแบบงานโยธาและก่อสร้างไปได้ก่อน และงานโยธา สามารถแยกเป็นหลายสัญญาก่อสร้างจะทำได้เร็วขึ้น เพราะมีความยืดหยุ่นกว่า ซึ่งงานโยธา เป็นส่วนที่ต้องขออุดหนุนจากรัฐอยู่แล้ว ดังนั้น รฟม.จะต้องพิจารณาข้อดี ข้อเสียในการเลือกรูปแบบรถ เพราะมีผลต่อการก่อสร้างโครงการ

ส่วนกรณีค่าเผื่อเหลือเผื่อขาดนั้น รฟม.ต้องปรับใหม่โดยกำหนดให้เป็นกลไกให้เหมาะสมกับการประมูลมากที่สุด จากเดิมที่กำหนดไว้ตายตัว เพราะหากผลประมูลได้ราคาต่ำลง ค่าเผื่อเหลือเผื่อขาดควรลดลงไปด้วย ซึ่งเรื่องนี้กระทรวงได้ท้วงติงไปก่อนแล้ว ทั้งนี้ คนร.เตรียมเสนอที่ประชุมครม.พิจารณา รถไฟฟ้าสายสีชมพูและสีเหลืองในวันที่ 15 มี.ค.นี้ ดังนั้นรฟม.จะต้องสรุปเรื่องเสนอคณะกรรมการ (บอร์ด) รฟม.เห็นชอบในวันที่ 9 มี.ค.เพื่อส่งเรื่องมากระทรวงและสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) ต่อไป ซึ่งหลังครม.เห็นชอบจะตั้งคณะกรรมการมาตรา 35 ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2556 (พ.ร.บ. ร่วมทุนฯ 56)
เพื่อกำหนดทีโออาร์เปิดประมูลตามขั้นตอน ซึ่งขณะนี้ถือว่าดำเนินงานได้ตามแผนงาน ไม่ล่าช้า

นายธีรพันธ์ เตชะศิรินุกูล รองผู้ว่าฯรฟม.กล่าวว่า รฟม.เสนอโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพูและสีส้ม แบบเปิดช่อง ว่าเป็นโมโนเรลหรือระบบรองอื่นที่เทียบเท่า ซึ่งกก.PPP กังวลว่า หากมีการเสนอมาหลายแบบจะมีปัญหาในการคัดเลือก จึงให้รฟม.เลือกรูปแบบให้ชัดเจน ซึ่งรถไฟฟ้าทั้งสองสาย ได้ออกแบบเป็นระบบโมโนเรลตั้งแต่เริ่มต้น และผ่าน EIA แล้ว
ซึ่งจะมีผู้รับจ้างรายเดียวเพื่อออกแบบงานโยธา (civil work) ให้สอดคล้องกับระบบรถโมโนเรล และการก่อสร้างสามารถทำได้รวดเร็วเนื่องจากเป็นรายเดียวไม่มีปัญหาเรื่องการเชื่อมต่อ และสามารถหาผู้รับเหมารายย่อยมารับช่วงงานก่อสร้างได้
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42789
Location: NECTEC

PostPosted: 10/03/2016 10:47 am    Post subject: Reply with quote

ลดเต็มที่แล้ว! รฟม.ปรับค่าก่อสร้างสีส้มลง 2.6 พันล้าน
โดย MGR Online
9 มีนาคม 2559 21:36 น. (แก้ไขล่าสุด 9 มีนาคม 2559 23:02 น.)


บอร์ด รฟม.เห็นชอบหั่นราคาก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีส้มลงอีกกว่า 1.6 พันล้านจากเดิมลดไปแล้วพันล้าน รวมลดราคาลงได้ 2,648 ล้านบาท เตรียมเสนอ คค. คาดหลัง ครม.เห็นชอบเปิดประมูลได้ใน 2-3 เดือน พร้อมยืนยันรูปแบบโมโนเรลสายสีชมพูและเหลือง เปิดประมูลสัญญาเดียวรับผิดชอบก่อสร้างและเดินรถ เผยตามแผนเปิดประมูลใน มิ.ย. 59

พลเอก ยอดยุทธ บุญญาธิการ ประธานคณะกรรมการ (บอร์ด) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมบอร์ดเมื่อวันที่ 9 มี.ค. ได้มีมติเห็นชอบการปรับลดกรอบเงินลงทุนโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ด้านตะวันออก (ศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี) ระยะทาง 21.2 กม. ลงอีก 1,620 ล้านบาท จากก่อนหน้านี้ที่ปรับลดไปแล้ว 1,028 ล้านบาท หรือเท่ากับปรับลดรวม 2,648 ล้านบาท ทำให้กรอบวงเงินลดลงจาก 95,108 ล้านบาท เหลือ 92,460 ล้านบาท โดยมีการปรับลดเกรดวัสดุบางส่วนลงเพื่อช่วยลดค่าใช้จ่ายลงได้ โดยไม่เกี่ยวข้องกับการให้บริการและความปลอดภัย

เช่น ฝ้าเพดานเดิมเป็นฝ้าปิด ปรับเป็นฝ้าเปลือย ซึ่งจะเห็นโครงหลังคา สามารถลดค่าใช้จ่ายลง 200 กว่าล้านบาท ส่วนผนังสถานีใต้ดินเดิมเป็นกระเบื้องแกรนิต ปรับลดเกรดลงหรือฝ้าเพดานสถานีใต้ดิน จากความหนา 3 มม. ลดเหลือ 2 มม. รวมถึงชะลองานเทพื้นศูนย์ซ่อมบำรุงฝั่งตะวันตกไว้ก่อน โดยสามารถปรับลดลงได้ 650 ล้านบาท ซึ่งเดิมรวมงานส่วนนี้ไว้กับการก่อสร้างด้านตะวันออกเพื่อความสะดวก

ทั้งนี้ การปรับลดดังกล่าวไม่กระทบความปลอดภัย แต่อาจไม่คงทนหรือไม่สวยงาม โดยจะสรุปรายละเอียดและเหตุผล รวมถึงกรณีการใช้วัสดุจากต่างประเทศเนื่องจาก ในประเทศไม่สามารถผลิตได้ และราคาที่ปรับตามความเป็นจริงตามภาวะค่าน้ำมันในปัจจุบัน และเสนอกระทรวงคมนาคมเพื่อเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) คาดว่าหาก ครม.เห็นชอบประมาณปลายเดือน มี.ค.นี้จะใช้เวลาในการจัดทำราคากลางและเปิดประมูลได้ภายใน 2-3 เดือน

ส่วนรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี 34.5 กม. วงเงินลงทุน 56,691 ล้านบาท และรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง ระยะทาง 30.4 กม. วงเงินลงทุน 54,644 ล้านบาท ซึ่งคณะกรรมการนโยบายการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ (คณะกรรมการ PPP) ขอความชัดเจนใน 4 ประเด็น คือ รูปแบบระบบรถ, ปรับกรอบวงเงินให้เป็นปัจจุบันและเหมาะสมมากขึ้น, ปรับลดค่าใช้จ่ายเผื่อเหลือเผื่อขาด (Provisional Sums), แนววิธีการคัดเลือกเอกชนที่ชัดเจน นั้น บอร์ดยืนยันรูปแบบโมโนเรลในการประกวดราคา โดยเป็นสัญญาเดียว เอกชนรายเดียว ก่อสร้างงานโยธา ระบบราง จัดหาขบวนรถไฟฟ้า รวมถึงบริหารการเดินรถและซ่อมบำรุง ซึ่งรูปแบบโมโนเรลมีข้อดีคือสามารถก่อสร้างได้เร็ว ใช้พื้นที่น้อย เพิ่มตู้โดยสาร เพื่อเพิ่มความจุผู้โดยสารได้และสามารถไต่ระดับทางลาดได้ดี โดยตามแผนที่สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) กำหนดจะเปิดประมูลในเดือน มิ.ย. 2559

นายพีระยุทธ สิงห์พัฒนากุล ผู้ว่าฯ รฟม. กล่าวว่า คณะกรรมการ PPP ต้องการความชัดเจนเรื่องการสนับสนุนเอกชน ซึ่งผลศึกษาคือ จะสนับสนุนหลังเปิดเดินรถเป็นระยะเวลามากกว่า 10 ปีขึ้นไป โดยวงเงินรวมต้องไม่เกินวงเงินค่างานโยธา โดยจะเสนอบรรจุรายละเอียดนี้ไว้ในทีโออาร์ประกวดราคา โดยพิจารณารายที่เสนอให้รัฐอุดหนุนน้อยที่สุด ซึ่งเป็นไปได้ที่รัฐอาจไม่ต้องอุดหนุนเลย ซึ่งข้อดีในการอุดหนุนรูปแบบนี้คือ เป็นการผ่อนจ่ายเงินอุดหนุน รัฐไม่ต้องจ่ายเป็นก้อน

นอกจากนี้ บอร์ดยังอนุมัติตั้งคณะกรรมการดำเนินโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย ช่วงบางแค-พุทธมณฑล สาย 4 ระยะทาง 8 กม. จำนวน 4 สถานี ค่างานโยธา 14,790 ล้านบาท โดยจะเสนอโครงการไปยังกระทรวงคมนาคมเพื่อเสนอ ครม.ขออนุมัติแผนงาน โดยตามแผนจะแล้วเสร็จในปี 2564 พร้อมกันนี้ได้วิเคราะห์รูปแบบการลงทุนในส่วนของการเดินรถที่เหมาะสม คือ PPP Net Cost เนื่องจากรัฐไม่ต้องรับความเสี่ยงอีกด้วย

สำหรับโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงบางใหญ่-เตาปูน นั้น ครม.ได้อนุมัติงบสำหรับก่อสร้างอาคารจอดรถที่คลองบางไผ่ จาก 4 ชั้นเป็น 10 ชั้น วงเงิน 160 ล้านบาท เพื่อรองรับผู้ใช้บริการให้เพียงพอ โดยอยู่ระหว่างพิจารณารูปแบบการคัดเลือกผู้รับจ้างว่าจะใช้วิธีพิเศษให้ผู้รับเหมาที่ทำการก่อสร้างอาคารจอดรถดำเนินการหรือเปิดประมูลใหม่ รวมถึงการก่อสร้างท่าเทียบเรือพระนั่งเกล้าเพื่อเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้า ซึ่ง ครม.อนุมัติวงเงินดำเนินการ 90 ล้านบาทไว้แล้ว อยู่ระหว่างพิจารณารูปแบบการคัดเลือกผู้รับจ้างว่าจะใช้วิธีพิเศษให้ผู้รับเหมางานสัญญา 2 สายสีม่วงหรือเปิดประมูลใหม่ โดยให้สรุปเสนอบอร์ดในเดือน เม.ย.
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42789
Location: NECTEC

PostPosted: 10/03/2016 2:42 pm    Post subject: Reply with quote

รฟม.เตรียมดันรถไฟฟ้าสายสีส้มเข้า ครม.ปลายมี.ค.นี้ หลังลดกรอบวงเงินลงอีก 1.6 พันลบ. คาดเปิดประมูลใน 2-3 เดือน
เรียบเรียง โดย สุรเมธี มณีสุโข อีเมล์. suramatee@efnancethai.com
อนุมัติ โดย พิมพ์รภัส ศิริไพรวัน
สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย- -10 มีนาคม 2559 เวลา 10:43 น.

  พล.อ.ยอดยุทธ บุญญาธิการ ประธานคณะกรรมการ (บอร์ด) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมบอร์ดฯ มีมติเห็น ชอบการปรับลดกรอบเงินลงทุนโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ด้านตะวันออก (ศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี) ระยะทาง 21.2 กิโลเมตร (กม.) ลงอีก 1,620 ล้านบาท จากก่อนหน้านี้ที่ปรับลดไปแล้ว 1,028 ล้านบาท หรือเท่ากับปรับลดรวม 2,648 ล้านบาท ทำให้กรอบวงเงินลดลงจาก 95,108 ล้านบาท เหลือ 92,460 ล้านบาท
   ทั้งนี้ การปรับลดดังกล่าวไม่กระทบความปลอดภัย แต่อาจไม่คงทนหรือไม่สวยงาม โดยเป็นการปรับประเภทวัสดุบางส่วนเพื่อลดค่าใช้จ่าย เช่น ฝ้าเพดานเดิมเป็นฝ้าปิดปรับเป็นฝ้าเปลือย ซึ่งสามารถ ลดค่าใช้จ่ายลง 200 กว่าล้านบาท ส่วนผนังสถานีใต้ดินเดิมเป็นกระเบื้องแกรนิตปรับลดเกรดลง หรือฝ้าเพดานสถานีใต้ดินจากความหนา 3 มม. ลดเหลือ 2 มม. รวมถึงชะลอการก่อสร้างศูนย์ซ่อม บำรุงไปอยู่ในเนื้องานส่วนสายสีส้มด้านตะวัน ตก ซึ่งลดค่าใช้จ่ายลงประมาณ 650 ล้านบาท เป็นต้น
   "ราคาที่ปรับตามความเป็นจริงตามราคาน้ำมันในปัจจุบัน และจะเสนอครม.หากเห็นชอบประมาณ ปลายเดือนมี.ค.นี้ และคาดว่าจะใช้เวลาในการจัดทำราคากลางและเปิดประมูลได้ภายใน 2-3 เดือน" พล.อ.ยอดยุทธ กล่าว
   ด้านรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี ระยะทาง 34.5 กม. วงเงินลงทุน 56,691 ล้านบาท และรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง ระยะทาง 30.4 กม. วงเงินลงทุน 54,644 ล้านบาท ทางคณะกรรมการนโยบายการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ (คณะกรรมการ PPP) ขอความชัดเจนใน 4 ประเด็น คือ รูปแบบระบบรถ, ปรับกรอบวงเงินให้เป็นปัจจุบันและ เหมาะสมมากขึ้น, ปรับลดค่าใช้จ่ายเผื่อเหลือเผื่อขาด (Provisional Sums) และแนววิธีการคัด เลือกเอกชนที่ชัดเจน ที่ประชุมฯ เห็นชอบให้ประกวดราคาในรูปแบบโมโนเรล โดยเป็นสัญญาเดียว เอกชนรายเดียว ก่อสร้างงานโยธา ระบบราง ขบวนรถไฟฟ้า รวมถึงบริหารการเดินรถและซ่อม บำรุง ซึ่งรูปแบบโมโนเรลมีข้อดีคือสามารถก่อสร้างได้เร็ว ใช้พื้นที่น้อย เพิ่มตู้โดยสาร เพื่อเพิ่ม ความจุผู้โดยสารได้และสามารถไต่ระดับทางลาดได้ดี โดยตามแผนงานที่สำนักงานคณะกรรมการ นโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) กำหนดไว้จะเปิดประมูลในเดือนมิ.ย.2559
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42789
Location: NECTEC

PostPosted: 10/03/2016 4:11 pm    Post subject: Reply with quote

จี้ตั้งโรงงานผลิตตัวรถไฟในไทย สจล.หนุนรัฐร่วมทุนกับจีน/ทีมกรุ๊ปเตรียมคนรับระบบราง
โดย ฐานเศรษฐกิจ -
ออนไลน์เมื่อ 10 มีนาคม 2559 155
ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 36 ฉบับที่ 3,138 วันที่ 10 – 12 มีนาคม พ.ศ. 2559

จี้ตั้งโรงงานผลิตตัวรถไฟในไทย สจล.หนุนรัฐร่วมทุนกับจีน/ทีมกรุ๊ปเตรียมคนรับระบบราง

สจล.หนุนรูปแบบร่วมทุนสำหรับ โครงการรถไฟไทย-จีน แนะคมนาคมเจรจาจีนลงทุนเทคโนโลยี และสร้างโรงงานผลิตตัวรถและอุปกรณ์ในไทย แต่ไม่ควรประเคนพื้นที่เชิงพาณิชย์ และพื้นที่สถานี ให้จีนทั้งหมด ด้านทีมกรุ๊ปดอดเซ็นเอ็มโอยู สจล.เปิดโอกาสให้นักศึกษาสร้างองค์ความรู้ใน 4-5 เมกะโปรเจ็กต์ชั้นนำในพื้นที่จริงทั้งไฮสปีดเทรน รถไฟสายสีแดง และสถานีกลางบางซื่อ


ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ อธิการบดี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง(สจล.) เปิดเผย “ฐานเศรษฐกิจ”ว่า รัฐบาลของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ให้ความสนใจกับการพัฒนาระบบรางอย่างมาก ทั้งระบบทางคู่และระบบรางสแตนดาร์ดเกจ หรือโครงการความร่วมมือรถไฟไทย-จีน ซึ่งที่ผ่านมาฝ่ายไทยและจีนได้เจรจามา 9 รอบ แต่ยังไม่มีข้อสรุป ในความเห็นของตนเองนั้นโครงการนี้ควรเป็นโครงการร่วมลงทุนระหว่างไทยกับจีน โดยฝ่ายไทยยินดีรับเทคโนโลยีจากฝ่ายจีน เนื่องจากจีนมีศักยภาพมากเพียงพอ ทั้งนี้ฝ่ายจีนจะต้องมาลงทุนเทคโนโลยี และร่วมลงทุนสร้างโรงงานผลิตตัวรถและอุปกรณ์ในประเทศไทย ในรูปแบบของการความร่วมมือระหว่างผู้เชี่ยวชาญจากจีนร่วมกับมหาวิทยาลัยของไทยเพื่อสอนองค์ความรู้ทั้งหมดให้กับไทย

ในส่วนปัญหาการพัฒนาที่ดินตามแนวเส้นทางรถไฟไทย-จีนนั้น หากร่วมลงทุนด้วยกันเห็นว่าเป็นสิ่งที่เหมาะสมแล้ว สามารถลงนามในสัญญาได้ทันที แต่ไม่ควรนำเอาแบบอย่างที่ฝ่ายจีนดำเนินการกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว(สปป.ลาว) คือขอพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ในที่ดินตามแนวรถไฟมาใช้กับฝ่ายไทย เนื่องจากมีระเบียบกฎหมายที่แตกต่างกัน

สำหรับการพัฒนาบุคลากรเพื่อป้อนระบบรางนั้น รัฐบาลร่วมกับสจล. ผลิตวิศวกรด้านระบบรางเป็นแห่งแรกของประเทศไทย จนเริ่มมีเครือข่ายไปทั่วประเทศ แต่ปัจจุบันรัฐบาลควรเร่งดำเนินการส่งเสริมอย่างเต็มที่เนื่องจากสถาบันการศึกษาต่างๆขาดงบประมาณสนับสนุนจากรัฐบาล


“แนวทางง่ายๆขอเพียง 1% ค่าดำเนินการเมกะโปรเจ็กต์ต่างๆเอามาเป็นค่าใช้จ่าย ทุกมหาวิทยาลัยแบ่งงานกันทำในรูปแบบคอนซอร์เตียม งานวิจัยดังกล่าวต้องสามารถตอบสนองความต้องการได้จริง ไทยจะได้ไม่ต้องไปซื้ออุปกรณ์จากต่างประเทศอีกต่อไป”

ดร.สุชัชวีร์ กล่าวอีกว่า ประการสำคัญกระบวนการต้นทาง อาทิ ระบบรถ ระบบคอมพิวเตอร์หรือระบบอาณัติสัญญาณ ระบบส่งกำลังรถไฟ ระบบขับเคลื่อนตลอดจนระบบการซ่อมบำรุงจะต้องสร้างให้เกิดขึ้นในประเทศไทยโดยเร็ว การออกแบบ วางสเปก ร.ฟ.ท.ไทยต้องรู้เรื่องและสามารถดำเนินการเองได้

“ไทยต้องเตรียมความพร้อมไว้ตั้งแต่วันนี้ เพราะรถไฟฟ้ากำลังจะเป็นอนาคตของโลก รัฐบาลควรต้องให้ความสำคัญเรื่องงบประมาณเพื่อการสร้างบุคลากรให้รองรับเพียงพอ”

ด้านนางเลิศลักษณา ยอดอาวุธ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารงานพัฒนาธุรกิจ บริษัท ทีม กรุ๊ป ออฟ คัมปานีส์ จำกัด กล่าวว่า ล่าสุดทีมกรุ๊ปได้ลงนามความร่วมมือทางวิชาการกับสจล.เพื่อร่วมกันผลิตบุคลากรด้านระบบรางป้อนให้กับหน่วยงานต่างๆ โดยแบ่งเป็น 3 ด้านด้วยกัน คือ 1.ด้านบุคลากร โดยรับนักศึกษา สจล.เข้าฝึกงานโครงการสหกิจศึกษากับทีมกรุ๊ปให้มีโอกาสฝึกปฏิบัติในโครงการจริงๆด้านการคมนาคมขนส่ง ด้านทรัพยากรน้ำ และด้านสถาปัตยกรรมการพัฒนาเมือง

“มีคลังความรู้ทั้งโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูงกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ โครงการรถไฟฟ้าสายสีแดง โครงการรถไฟฟ้าโมโนเรลสายสีชมพูที่ทีมกรุ๊ปทำหน้าที่บริษัทที่ปรึกษาและศึกษารายละเอียดโครงการเหล่านี้ โดยทีม กรุ๊ปได้ส่งผู้เชี่ยวชาญไปบรรยายให้กับนักศึกษาด้านระบบอาณัติสัญญาณและระบบไฟฟ้า เช่นเดียวกับด้านสถาปัตยกรรมและการพัฒนาเมือง ก็มีโครงการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์บริเวณสถานีกลางบางซื่อพร้อมให้นักศึกษาได้ศึกษาเรียนรู้ในภาคปฏิบัติจริงทั้งโครงการได้เลยทันที”
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42789
Location: NECTEC

PostPosted: 11/03/2016 7:55 pm    Post subject: Reply with quote

เผยแพร่แนวเวนคืนสร้างที่จอดรถโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ‘ศูนย์วัฒนธรรมฯ-มีนบุรี’
เขียนโดยisranews
เขียนวันที่ วันศุกร์ ที่ 11 มีนาคม 2559 เวลา 17:14 น.

เผยแพร่ แนวเวนคืนที่ดินสร้างสถานที่จอดรถผู้โดยสาร โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ- มีนบุรี (สุวินทวงศ์)


ราชกิจจานุเบกษา 11 มี.ค.59 เผยแพร่ พระราชกฤษฎีกา กําหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ในท้องที่เขตห้วยขวาง เขตบางกะปิ เขตสวนหลวง เขตสะพานสูง และเขตมีนบุรี กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2559

โดยที่เป็นการสมควรกําหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ในท้องที่เขตห้วยขวาง เขตบางกะปิ เขตสวนหลวง เขตสะพานสูง และเขตมีนบุรี กรุงเทพมหานคร เพื่อดําเนินกิจการรถไฟฟ้า ในส่วนที่เกี่ยวกับ การจัดสร้างโครงการขนส่งด้วยระบบรถไฟฟ้า สถานที่จอดรถสําหรับผู้โดยสาร และกิจการอื่นที่เกี่ยวเนื่องกับ กิจการรถไฟฟ้าตามโครงการรถไฟฟ้า สายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย - มีนบุรี (สุวินทวงศ์) อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 22 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 กับมาตรา 5 วรรคสาม และมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 ประกอบกับมาตรา 35 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2543 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้

มาตรา 1 พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกากําหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ ที่จะเวนคืน ในท้องที่เขตห้วยขวาง เขตบางกะปิ เขตสวนหลวง เขตสะพานสูง และเขตมีนบุรี กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2559”

มาตรา 2 พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป

มาตรา 3 พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับได้มีกําหนดสี่ปี
มาตรา 3 ที่ดินที่จะเวนคืนตามพระราชกฤษฎีกานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อดําเนินกิจการรถไฟฟ้า ในส่วนที่เกี่ยวกับการจัดสร้างโครงการขนส่งด้วยระบบรถไฟฟ้า สถานที่จอดรถสําหรับผู้โดยสาร และกิจการอื่น ที่เกี่ยวเนื่องกับกิจการรถไฟฟ้าตามโครงการรถไฟฟ้า สายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย - มีนบุรี (สุวินทวงศ์)

มาตรา 5 ให้ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยเป็นเจ้าหน้าที่เวนคืน ตามพระราชกฤษฎีกานี้

มาตรา 6 เขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนตามพระราชกฤษฎีกานี้ อยู่ในท้องที่เขตห้วยขวาง เขตบางกะปิ เขตสวนหลวง เขตสะพานสูง และเขตมีนบุรี กรุงเทพมหานคร ภายในแนวเขตตามแผนที่ท้าย พระราชกฤษฎีกานี้

มาตรา 7 ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี
และ เผยแพร่ พระราชกฤษฎีกา กําหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะดําเนินการเพื่อกิจการขนส่งมวลชน ในท้องที่เขตห้วยขวาง เขตบางกะปิ เขตสวนหลวง เขตสะพานสูง และเขตมีนบุรี กรุงเทพมหานคร

โดยที่เป็นการสมควรกําหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะดําเนินการเพื่อกิจการขนส่งมวลชน ในท้องที่ เขตห้วยขวาง เขตบางกะปิ เขตสวนหลวง เขตสะพานสูง และเขตมีนบุรี กรุงเทพมหานคร เพื่อประโยชน์ ในการดําเนินกิจการขนส่งมวลชนตามโครงการรถไฟฟ้า สายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย - มีนบุรี (สุวินทวงศ์) อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 22 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 และมาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการจัดหาอสังหาริมทรัพย์เพื่อกิจการขนส่งมวลชน พ.ศ. 2540 ประกอบกับมาตรา 35 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2543 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้

มาตรา 1 พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกากําหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ ที่จะดําเนินการเพื่อกิจการขนส่งมวลชน ในท้องที่เขตห้วยขวาง เขตบางกะปิ เขตสวนหลวง เขตสะพานสูง และเขตมีนบุรี กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2559”

มาตรา 2 พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป

มาตรา 3 พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับได้มีกําหนดสี่ปี

มาตรา 4 ที่ดินที่จะดําเนินการเพื่อกิจการขนส่งมวลชนตามพระราชกฤษฎีกานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อประโยชน์ในการดําเนินกิจการขนส่งมวลชนตามโครงการรถไฟฟ้า สายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรม แห่งประเทศไทย - มีนบุรี (สุวินทวงศ์)

มาตรา 5 ให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยเป็นหน่วยงานที่ดําเนินการ ตามพระราชกฤษฎีกานี้

มาตรา 6 เขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะดําเนินการเพื่อกิจการขนส่งมวลชนตามพระราชกฤษฎีกานี้ อยู่ในท้องที่เขตห้วยขวาง เขตบางกะปิ เขตสวนหลวง เขตสะพานสูง และเขตมีนบุรี กรุงเทพมหานคร ภายในแนวเขตตามแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกานี้

มาตรา 7 ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี

http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2559/A/022/1.PDF
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44860
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 15/03/2016 9:23 am    Post subject: Reply with quote

กทม.จองลงทุนรถไฟฟ้า 4 สายใหม่ ชง คจร.อนุมัติบรรจุแผนแม่บทระยะ 2
โดย MGR Online 15 มีนาคม 2559 06:41 น. (แก้ไขล่าสุด 15 มีนาคม 2559 08:37 น.)

คจร.ประชุมเคาะรถไฟฟ้าสายใหม่ บรรจุในแผนแม่บทระยะ 2 กทม.ชงลงทุน 4 สาย บางนา-สุวรรณภูมิ, สีเทา, สีทอง และสายบางหว้า-ตลิ่งชัน ส่วน รฟม.ขอต่อสายสีม่วงใต้อีก 5 กม. และร่าง MOU โอนเดินรถสายสีเขียวเหนือและใต้ให้ กทม.

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ในการประชุมคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) ที่มีนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานวันที่ 15 มี.ค. จะมีการพิจารณากรณีที่กรุงเทพมหานคร (กทม.) เสนอขอดำเนินโครงการระบบขนส่งมวลชน เช่น รถไฟฟ้าเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าบีทีเอส จากบางนา-ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ โดยทราบว่าทางบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีทีเอส จะเป็นผู้ลงทุนทั้งหมด ซึ่งหาก คจร.เห็นชอบจะต้องพิจารณาในประเด็นพื้นที่ก่อสร้างเนื่องจากจะต้องใช้เขตทางถนนบางนา-ตราด ของกรมทางหลวง (ทล.) ก่อสร้าง ซึ่งขณะนี้มีตอม่อของทางด่วนบางนา-ชลบุรีบริเวณเกาะกลางแล้ว ดังนั้นหากต้องใช้บริเวณทางเท้าก่อสร้างจะมีผลกระทบอย่างไร

นอกจากนี้จะมีการพิจารณาการต่อขยายเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ ออกไปอีกประมาณ 5 กม. รวมระยะทาง 23.6 กม. วงเงินลงทุนรวม 131,171.94 ล้านบาท โดยมีสถานีเพิ่ม 2 สถานี คือ พระประแดง และครุใน (สุขสวัสดิ์ 70) เนื่องจากยังไม่มีอยู่ในแผนแม่บทรถไฟฟ้า ซึ่งการประชุม คจร.ครั้งนี้ถือเป็นการประชุมในรอบ 9 เดือน เนื่องจากครั้งล่าสุดประชุมเมื่อเดือน มิ.ย. 2558 ทำให้มีเรื่องที่พิจารณามาก

แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคมกล่าวว่า ทางกรุงเทพมหานคร (กทม.) ได้เสนอผลการศึกษาโครงการระบบขนส่งมวลชน 4 โครงการเพื่อบรรจุไว้ในแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ระยะที่ 2 ซึ่งหาก คจร.จะต้องให้สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) นำข้อมูลไปประเมินความเหมาะสม ต่อไป ประกอบด้วย 1. รถไฟฟ้าสายสีเขียวอ่อนช่วงบางหว้า-ตลิ่งชัน ระยะทาง 7.5 กม. วงเงินลงทุนประมาณ 14,000 ล้านบาท 2. รถไฟฟ้าสายสีเทา (โมโนเรล) รวมระยะทาง 39.94 กม. แบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ 1. ช่วงวัชรพล-ทองหล่อ ระยะทาง 16.25 กม. มี 15 สถานี วงเงิน 28,000 ล้านบาท 2. ช่วงพระโขนง-พระราม 3 ระยะทาง 12.20 กิโลเมตร มี 15 สถานี 3. ช่วงพระราม 3-ท่าพระ ระยะทาง 11.49 กม. มี 9 สถานี

3. รถไฟฟ้าสายสีทอง (โมโนเรล) เชื่อมต่อจากรถไฟฟ้าบีทีเอส สถานีกรุงธนบุรี-เขตคลองสาน-ประชาธิปก รวม 2.7 กม. 4. รถไฟฟ้าสายบางนา-ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (LightRail) ระยะทาง 18 กม. ยกระดับตลอดสาย มี 12 สถานีหลัก และ 2 สถานีย่อย วงเงินลงทุน 25,000 ล้านบาท ระยะเวลาก่อสร้าง 3 ปี แนวเส้นทางเริ่มจากรถไฟฟ้าบีทีเอส สถานีบางนาผ่านศูนย์ประชุมแห่งชาติไบเทค, ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลบางนา เข้าสู่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ผ่านพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบล จำนวน 4 แห่งได้แก่ องค์การบริหารส่วนตำบลบางแก้ว องค์การบริหารส่วนตำบลราชาเทวะ องค์การบริหารส่วนตำบลบางพลีใหญ่ และองค์การบริหารส่วนตำบลบางโฉลง

พร้อมขอความเห็นชอบร่างบันทึกข้อตกลง (MOU) ในการโอนรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยายช่วงหมอชิต-คูคต และช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ ให้กรุงเทพมหานคร (กทม.) เป็นผู้บริหารโครงการ ซึ่ง กทม.ต้องจ่ายค่าก่อสร้างประมาณ 6 หมื่นล้านบาท คืนการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ส่วนการเดินรถ กทม.จะจ้างบีทีเอส เป็นผู้เดินรถทั้ง 2 ช่วง โดยหลัง คจร.อนุมัติ ทาง รฟม.และ กทม .จะลงนามใน MOU ร่วมกันต่อไป
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Aesthetics
3rd Class Pass
3rd Class Pass


Joined: 31/07/2015
Posts: 30

PostPosted: 15/03/2016 1:01 pm    Post subject: Reply with quote

เริ่มเห็นเค้าลางว่าอนาคตอันใกล้ถ้าไม่มีการควบคุม เกี่ยวกับการเรียนการสอนเกี่ยวกับระบบราง ผมทำนายได้เลยว่านักศึกษาที่จบไปมีโอกาสได้ทำงานเกี่ยวกับระบบรางย่างลูกชิ้นเป็นแน่แท้ แต่ก็ช่วยไม่ได้นี่ครับกระแสมันมาไม่ต่างอะไรกับกระเป๋าสำเพ็ง เห่อกันใหญ่ แล้วจะควบคุมคุณภาพกันยังไง มั่นใจได้อย่างไรว่ามีงานรองรับ รัฐเองก็ไม่มีหน่วยงานที่ควบคุมมาตรฐานเกี่ยวกับระบบรางเลย ไม่มีPlatform ที่เป็นมาตรฐาน ที่จะใช้อ้างอิง ศึกษาพัฒนา ต่อยอดได้ ทั้งในเรื่อง ความปลอดภัย อาณัติสัญญา การเดินรถ มาตรฐานต่างๆที่เกี่ยวข้อง กับ การปฏิบัติ อุปกรณ์ ไม่มี สมอ จะมาจับก็กล้าๆกลัวเพราะไม่ใช่หน้าที่โดยตรง ปัญหาระบบรางบ้านเราตอนนี้เราไม่มีเพลย์เมคเกอร์ คนที่รอบรู้ทุกเรื่องมาทำหน้าที่ สร้างสรรค์ปั้นเกมส์ให้เกิดความก้าวหน้า อาจารย์วิศวะจุฬาบอกว่าเราไม่มีมังกรให้ปราบ ที่จริงถ้ำมังกรเรามีครับ แต่ต้องล้มวัวล้มควยที่ขวางปากทางเข้าถ้ำก่อน
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42789
Location: NECTEC

PostPosted: 15/03/2016 5:11 pm    Post subject: Reply with quote

^^^
ถ้าเช่นนั้น จะควบคุมหลักสูตรอย่างไรจึงจะสมควรแก่ การ ถ้าเป็นแต่ตำหนิติเตียนเช่นนี้ โดยไม่ออกความเห็นว่าต้องทำอย่างไรจึงจะดีงาม ไม่เป็นทีตำหนิติเตียนเลย หละก็ ออกความเห็นไปก็เปล่าประโยชน์ ชนิดเรียกว่าหาความดีไม่ได้เลยครับ
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 128, 129, 130 ... 279, 280, 281  Next
Page 129 of 281

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©