Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311326
ทั่วไป:13289159
ทั้งหมด:13600485
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าว Airport Link
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าว Airport Link
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 118, 119, 120 ... 159, 160, 161  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> รถไฟฟ้าท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (ARL)
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44860
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 21/03/2016 9:50 pm    Post subject: Reply with quote

ไฟฟ้าขัดข้อง-ผู้โดยสารติดค้าง: สะท้อนปัญหาการจัดการภายใน "แอร์พอร์ต เรล ลิงก์"
ThaiPBS 21:01 | 21 มีนาคม 2559

เหตุการณ์รถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ ขัดข้องจากกระแสไฟฟ้าตก ทำให้ผู้โดยสารกว่า 700 คนติดค้างอยู่กลางทางและต้องหาทางออกมาจากขบวนรถอย่างทุลักเล จนหลายคนเป็นลมและต้องนำส่งโรงพยาบาล สะท้อนถึงปัญหาในการรับมือสถานการณ์ฉุกเฉินและมาตรฐานการบำรุงรักษารถไฟฟ้า

จากข้อมูลของบริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด (รฟฟท.) ผู้ให้บริการแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ ปัญหาในการเดินรถเกิดขึ้นเมื่อเวลาประมาณ 07.50 น.วันนี้ (21 มี.ค.2559) เนื่องจากระบบจ่ายไฟที่สถานีรามคำแหงเกิดขัดข้องและมีรถไฟฟ้าหนึ่งขบวนติดค้างอยู่ระหว่างสถานีหัวหมากและสถานีรามคำแหง ฝั่งไปพญาไท โดยมีผู้โดยสารอยู่ในขบวนรถดังกล่าวประมาณ 700 คน

พล.อ.ดรัน ยุทธวงษ์สุข กรรมการและรักษาการกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ รฟฟท. ยอมรับว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นมีสาเหตุมาจากระบบสำรองไฟที่ใช้งานมานานเสื่อมสภาพ ไม่พร้อมใช้งาน ทั้งที่ตามหลักการแล้ว รถไฟฟ้าจะต้องมีระบบสำรองไฟในการเดินรถเพื่อพาผู้โดยสารไปถึงสถานี แต่ขณะนี้การติดตั้งระบบดังกล่าวอยู่ระหว่างรอการอนุมัติจัดซื้อจากการรถไฟแห่งประเทศไทยที่เป็นองค์กรกำกับดูแล รฟฟท.

"สถานีรถไฟฟ้าทุกสถานีจะมีระบบสำรองไฟ แต่ว่าระบบที่เราใช้อยู่ปัจจุบันนี้มีอายุการใช้งาน 5 ปีแล้ว ทำให้ระบบสำรองไฟเสื่อม เรากำลังขออนุมัติการรถไฟฯ เพื่อจัดซื้อระบบสำรองไฟใหม่ อยู่ระหว่างการรออนุมัติจากการรถไฟฯ เมื่อการรถไฟอนุมัติแล้วเราก็จะได้ดำเนินการ" พล.อ.ดรันระบุ พร้อมกับเปิดเผยว่า รฟฟท.ได้ขออนุมัติจัดซื้อระบบสำรองไฟไปประมาณ 1-2 เดือนแล้ว



ขณะที่นายวุฒิชาติ กัลยาณมิตร ผู้ว่าการรถไฟฯ ยืนยันว่าการจัดซื้อจัดจ้างระบบไฟฟ้าสำรองไม่ได้ล่าช้า แต่ รฟฟท.ขออนุมัติจัดซื้อด้วยวิธีพิเศษเร่งด่วนเมื่อต้นเดือนมีนาคม 2559 ด้วยวงเงินสูงถึง 32 ล้านบาท ซึ่งเกินอำนาจผู้ว่าการรถไฟฯ และต้องให้คณะกรรมการรถไฟพิจารณา จึงให้แอร์พอร์ตลิงก์แก้ไขเอกสารให้เป็นไปตามระเบียบด้านการจัดซื้อจัดจ้าง แต่จนถึงขณะนี้การรถไฟฯ ยังไม่ได้เอกสารที่ครบถ้วนจาก รฟฟท.

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการประทรวงคมนาคมระบุว่า ได้สั่งการให้บอร์ดการรถไฟฯ พิจารณาการจัดซื้อระบบไฟสำรองใหม่ในการประชุมวันที่ 29 มี.ค.2559 เเละยอมรับว่า การจัดสรรงบประมาณจากการรถไฟฯ ให้ รฟฟท.ในฐานะบริษัทลูกนั้นมีความล่าช้าซึ่งอาจเป็นปัญหาการบริหาร ส่วนแผนรับมือเหตุฉุกเฉินนั้นได้สั่งการให้จัดทำมานานกว่า 1 เดือนแล้ว หลังเกิดเหตุการณ์รถไฟฟ้าบีทีเอสขัดข้อง

"จริงๆ แล้ว รฟฟท.เป็นบริษัทที่การรถไฟฯ ถือหุ้น 100 เปอร์เซนต์ เพราะฉะนั้นในเรื่องของงบประมาณนั้นก็ยังผูกกับการรถไฟฯ ซึ่งได้พูดคุยกับการรถไฟฯ ไปแล้วว่า แม้ว่าการรถไฟฯ จะต้องเป็นฝ่ายจัดเงินงบประมาณให้บริษัทลูก คือ รฟฟท. แต่ในเรื่องของระเบียบการจัดซื้อจัดจ้างควรจะต้องแยกไปให้ทาง รฟฟท.ดำเนินการเอง ซึ่งจะทำให้เกิดความคล่องตัวมากกว่า ไม่เช่นนั้นการรถไฟฯ จะต้องทำหน้าที่ทั้งจัดเตรียมงบประมาณ อนุมัติงบประมาณและการจัดซื้อจัดจ้างด้วย ซึ่งถ้าเป็นแบบนี้ไม่ต้องมีบริษัทลูกเลยดีกว่า เพราะบริษัทแม่ทำเองหมด" นายอาคมกล่าว

สอดคล้องกับความเห็นของสุเมธ องกิตติกุล นักวิชาการอาวุโสจากทีดีอาร์ไอที่ระบุว่า 2-3ปี มานี้ืไม่เห็นการพัฒนาหรือการเปลี่ยนแปลงด้านการจัดการที่ดีขึ้นของเเอร์พอร์ต เรล ลิงก์ ซึ่งเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในวันนี้สะท้อนให้เห็นชัดเจนว่า ผู้ให้บริการแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ไม่มีแผนการเเก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า และมีการโยนความผิดไปมาระหว่างบริษัทแม่คือ การรถไฟฯ และบริษัทลูกคือ รฟฟท.

"เมื่อเกิดเหตุการณ์เช่นนี้ขึ้น ทุกอย่างต้องทำภายใต้การควบคุมของเจ้าหน้าที่ คุณไม่สามารถปล่อยให้ผู้โดยสารเปิดประตูออกมาเดินบนรางรถไฟอย่างที่เกิดขึ้นได้ เจ้าหน้าที่ต้องมีแผนเผชิญเหตุ มีแผนกำหนดชัดเจนว่าต้องทำอย่างไร เมื่อรถไฟขัดข้องไม่สามารถเคลื่อนต่อไปได้ภายในเวล่าเท่าไหร่ ต้องทำอย่างไร จะเคลื่อนย้ายผู้โดยสารอย่างไร เจ้าหน้าที่รอตรงจุดไหน เท่าที่ทราบหลังเกิดเหตุการณ์ก็มีเจ้าหน้าที่ไปช่วยเหลือ แต่ช้ามาก" นายสุเมธตั้งข้อสังเกต

นายสุเมธระบุว่า หากให้เอกชนรับสัมปทานจะช่วยให้เกิดความคล่องตัวในการบริหารซึ่งจะช่วยให้มีความคล่องตัวในการบำรุงรักษา และการอนุมัติงบประมาณมากกว่า

ผู้ที่ได้รับผลกระทบโดยตรงอย่างผู้ใช้บริการ ระบุว่า อาจต้องพิจารณาการใช้บริการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงค์ใหม่ เพราะที่ผ่านมาเกิดเหตุการณ์รถไฟฟ้ามาช้าและระบบขัดข้องบ่อยครั้ง จนมีผลต่อความมั่นใจในการใช้บริการ

ปัจจุบันแอร์พอร์ตลิงค์มีขบวนรถไฟฟ้าทั้งหมด 9 ขบวน วิ่งด้วยความเร็ว 120 กิโลเมตรต่อชั่วโมง แต่ปัจจุบันวิ่งได้เพียง 7 ขบวนเท่านั้น ส่วนอีก 2 ขบวนอยู่ระหว่างการซ่อมแซม ซึ่งที่ผ่านมามีแผนการจัดซื้อรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงค์เพิ่มอีก 7 ขบวน แต่ก็ยังไม่ได้รับการอนุมัติ เนื่องจากมีข้อร้องเรียนเรื่องล็อกสเป็ก
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42788
Location: NECTEC

PostPosted: 21/03/2016 11:57 pm    Post subject: Reply with quote

แอร์พอร์ต เรล ลิงก์ แจงเหตุรถไฟฟ้าฯขัดข้องล่าช้า
โดย ฐานเศรษฐกิจ -
21 มีนาคม 2559

พลเอกดรัณ ยุทธวงษ์สุข รักษาการกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด หรือผู้ให้บริการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ เปิดเผยว่า เมื่อช่วงเช้าวันที่ 21 มีนาคม 2559 เวลาประมาณ 7.50 น.ระบบเดินรถไฟฟ้าฯได้เกิดความล่าช้าทั้งระบบประมาณ 30 นาทีในเบื้องต้น เนื่องจากระบบจ่ายไฟที่สถานีรามคำแหงเกิดขัดข้อง และในช่วงเวลาที่เกิดเหตุขัดข้องนั้น มีรถไฟฟ้าหนึ่งขบวนติดค้างอยู่ระหว่างสถานีหัวหมากและสถานีรามคำแหง ฝั่งไปพญาไท โดยมีผู้โดยสารอยู่ในขบวนรถดังกล่าวประมาณ 700 คน ซึ่งเจ้าหน้าที่ได้เร่งดำเนินการแก้ไขตามมาตรการและขั้นตอนของบริษัทฯที่ได้กำหนดและมีการฝึกซ้อมไว้ คือ การเคลื่อนย้ายผู้โดยสารจากขบวนรถไฟฟ้าไปยังขบวนรถไฟฟ้า (Evacuation from Train To Train ) โดยศูนย์ควบคุมการเดินรถไฟ (OCC) ได้ส่งขบวนรถไฟเสริมไปช่วย 2 ขบวน ซึ่งขบวนรถไฟเสริมขบวนแรกได้เดินทางถึงขบวนรถไฟที่เสียในเวลา 9.37 น. และได้เคลื่อนย้ายผู้โดยสารที่ตกค้างในขบวนรถไฟที่เสียมายังขบวนรถไฟเสริมเพื่อไปส่งยังสถานีหัวหมาก

ทั้งนี้ในช่วงเวลาดังกล่าวมีผู้โดยสารประมาณ 20 คนได้ทำการเปิดประตูฉุกเฉินและลงเดินยังทางเท้าข้างรางรถไฟไปยังสถานีรามคำแหง ทางศูนย์ควบคุมฯดำเนินการปิดกั้นเส้นทางเพื่อไม่ให้รถไฟฟ้าฯผ่านในเส้นทาง ทำให้ระบบรถไฟฟ้าฯทั้งหมดรวมถึงขบวนรถเสริมที่มาช่วยขบวนรถเสียไม่สามารถเดินรถได้ เพราะต้องรอให้ผู้โดยสารที่ลงเดินเท้าข้างรางรถไฟขึ้นสถานีรถไฟรามคำแหงทั้งหมดก่อน ซึ่งเวลา 10.07 น. ผู้โดยสารที่ลงเดินข้างรางรถไฟได้ขึ้นสถานีรามคำแหงครบถ้วน รถไฟเสริมขบวนแรกจึงได้นำผู้โดยสารถึงสถานีหัวหมาก ส่วนรถไฟเสริมอีกขบวนได้ลากเอารถไฟที่เสียกลับไปยังศูนย์ซ่อมคลองตันเพื่อทำการแก้ไขต่อไป ก่อนที่ในเวลา 10.15 น. รถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ สามารถกลับมาให้บริการได้ตามตารางเดินรถปกติอีกครั้ง โดยมีขบวนรถให้บริการ 5 ขบวน และมีขบวนรถเสริม 1 ขบวน รวมทั้งสิ้น 6 ขบวน

สำหรับมาตรการชดเชยผู้โดยสารนั้น ในส่วนของผู้โดยสารที่ใช้เหรียญโดยสาร (Token) ทางบริษัทฯได้ดำเนินการรับแลกเหรียญและคืนเงินให้ไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ส่วนผู้โดยสารที่ใช้บัตรสมาร์ทพาสแตะเข้าระบบและออกก่อนถึงที่หมาย ให้ผู้โดยสารนำบัตรมาตรวจสอบข้อมูลการเข้า-ออกได้ที่เจ้าหน้าที่ทั้ง 8 สถานี เพื่อขอรับคูปองเดินทาง 1 เที่ยว โดยไม่มีค่าใช้จ่ายในการเดินทาง สำหรับเงื่อนไขอื่นๆบริษัทจะชดเชยให้เดินทางฟรี 1 เที่ยวในทุกกรณี นอกจากนั้นในเรื่องของค่ารักษาพยาบาลผู้โดยสารที่มีอาการเป็นลมในช่วงเหตุการณ์ดังกล่าว ซึ่งบริษัทมีข้อมูลและได้ดำเนินการส่งตัวไปรักษาที่โรงพยาบาลใกล้เคียงจำนวน 8 ราย บริษัทฯจะเป็นผู้รับผิดชอบทั้งหมด

//---------------------

แอร์พอร์ต เรล ลิงก์ เร่งแก้ไข พร้อมรับผิดชอบทั้งหมด
โดย ฐานเศรษฐกิจ -
21 มีนาคม 2559

แอร์พอร์ต เรล ลิงก์ แจงเหตุรถไฟฟ้าฯขัดข้องล่าช้า จนป่วนไปทั้งเส้นทางเดินรถช่วงเช้าวันที่ 21 มี.ค.เผยผู้โดยสารกว่า 700 คนติดอยู่ในรถนานนับชั่วโมงต้องขนส่งโรงพยาบาลใกล้เคียงกันอลหม่าน เร่งชดเชยให้แล้วทุกกรณี ส่วนผู้บาดเจ็บทั้ง 8 รายพร้อมรับผิดชอบทั้งหมด

รถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ ชี้แจงเหตุระบบจ่ายไฟที่สถานีรามคำแหงเกิดขัดข้อง ทำให้ระบบเดินรถไฟฟ้าฯเกิดความล่าช้า เมื่อช่วงเช้าวันที่ 21 มีนาคม 2559 โดยเจ้าหน้าที่ได้เร่งแก้ไขและสามารถกลับมาให้บริการเดินรถได้ตามตารางปกติเป็นที่เรียบร้อยแล้วในช่วงสายวันเดียวกัน

พล.อ.ดรัณ ยุทธวงษ์สุข รักษาการกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด หรือผู้ให้บริการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ เปิดเผยว่า เมื่อช่วงเช้าวันที่ 21 มีนาคม 2559 เวลาประมาณ 7.50 น. ระบบเดินรถไฟฟ้าฯได้เกิดความล่าช้าทั้งระบบประมาณ 30 นาทีในเบื้องต้น เนื่องจากระบบจ่ายไฟที่สถานีรามคำแหงเกิดขัดข้อง และในช่วงเวลาที่เกิดเหตุขัดข้องนั้นมีรถไฟฟ้าหนึ่งขบวนติดค้างอยู่ระหว่างสถานีหัวหมากและสถานีรามคำแหง ฝั่งไปพญาไท โดยมีผู้โดยสารอยู่ในขบวนรถดังกล่าวประมาณ 700 คน ซึ่งเจ้าหน้าที่ได้เร่งดำเนินการแก้ไขตามมาตรการและขั้นตอนของบริษัทฯที่ได้กำหนดและมีการฝึกซ้อมไว้ คือการเคลื่อนย้ายผู้โดยสารจากขบวนรถไฟฟ้าไปยังขบวนรถไฟฟ้า (Evacuation from Train To Train ) โดยศูนย์ควบคุมการเดินรถไฟ (OCC) ได้ส่งขบวนรถไฟเสริมไปช่วย 2 ขบวน ซึ่งขบวนรถไฟเสริมขบวนแรกได้เดินทางถึงขบวนรถไฟที่เสียในเวลา 9.37 น. และได้เคลื่อนย้ายผู้โดยสารที่ตกค้างในขบวนรถไฟที่เสียมายังขบวนรถไฟเสริมเพื่อไปส่งยังสถานีหัวหมาก ทั้งนี้ในช่วงเวลาดังกล่าวมีผู้โดยสารประมาณ 20 คนได้ทำการเปิดประตูฉุกเฉินและลงเดินยังทางเท้าข้างรางรถไฟไปยังสถานีรามคำแหง ทางศูนย์ควบคุมฯดำเนินการปิดกั้นเส้นทางเพื่อไม่ให้รถไฟฟ้าฯผ่านในเส้นทาง ทำให้ระบบรถไฟฟ้าฯทั้งหมดรวมถึงขบวนรถเสริมที่มาช่วยขบวนรถเสียไม่สามารถเดินรถได้ เพราะต้องรอให้ผู้โดยสารที่ลงเดินเท้าข้างรางรถไฟขึ้นสถานีรถไฟรามคำแหงทั้งหมดก่อน ซึ่งเวลา 10.07 น. ผู้โดยสารที่ลงเดินข้างรางรถไฟได้ขึ้นสถานีรามคำแหงครบถ้วน รถไฟเสริมขบวนแรกจึงได้นำผู้โดยสารถึงสถานีหัวหมาก ส่วนรถไฟเสริมอีกขบวนได้ลากเอารถไฟที่เสียกลับไปยังศูนย์ซ่อมคลองตันเพื่อทำการแก้ไขต่อไป ก่อนที่ในเวลา 10.15 น. รถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ สามารถกลับมาให้บริการได้ตามตารางเดินรถปกติอีกครั้ง โดยมีขบวนรถให้บริการ 5 ขบวน และมีขบวนรถเสริม 1 ขบวน รวมทั้งสิ้น 6 ขบวน

สำหรับมาตรการชดเชยผู้โดยสารนั้น ในส่วนของผู้โดยสารที่ใช้เหรียญโดยสาร (Token) ทางบริษัทฯได้ดำเนินการรับแลกเหรียญและคืนเงินให้ไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ส่วนผู้โดยสารที่ใช้บัตรสมาร์ทพาสแตะเข้าระบบและออกก่อนถึงที่หมาย ให้ผู้โดยสารนำบัตรมาตรวจสอบข้อมูลการเข้า-ออกได้ที่เจ้าหน้าที่ทั้ง 8 สถานี เพื่อขอรับคูปองเดินทาง 1 เที่ยวโดยไม่มีค่าใช้จ่ายในการเดินทาง สำหรับเงื่อนไขอื่นๆบริษัทจะชดเชยให้เดินทางฟรี 1 เที่ยวในทุกกรณี นอกจากนั้นในเรื่องของค่ารักษาพยาบาลผู้โดยสารที่มีอาการเป็นลมในช่วงเหตุการณ์ดังกล่าว ซึ่งบริษัทมีข้อมูลและได้ดำเนินการส่งตัวไปรักษาที่โรงพยาบาลใกล้เคียงจำนวน 8 ราย บริษัทฯจะเป็นผู้รับผิดชอบทั้งหมด

//---------------

ผู้ว่ารฟท.แจงให้อิสระบ.รถไฟฟ้าบริหารงาน
ข่าวเศรษฐกิจ
INN News
วันจันทร์ที่ 21 มีนาคม พ.ศ.2559 19:05 น.

ผู้ว่าการรถไฟฯ แจงพร้อมสนับสนุน ให้อิสระบริษัทรถไฟฟ้า รฟท.บริหาร เร่งเสนอข้อมูลเข้าบอร์ดให้ทัน 29 มี.ค.
ตามที่เกิดเหตุการณ์ขบวนรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ หยุดจอดระหว่างสถานีรามคำแหง กับสถานีหัวหมาก เนื่องจากไฟฟ้าดับ และระบบไฟฟ้าสำรองไม่ทำงานและทางบริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัดได้อ้างว่า การรถไฟแห่งประเทศไทย ไม่สนับสนุนการจัดซื้อจัดจ้าง นายวุฒิชาติ กัลยาณมิตร ผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย ชี้แจงว่า การรถไฟฯ พร้อมสนับสนุนและให้อิสระในการจัดซื้อจัดจ้าง ต่อบริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด มาโดยตลอด ทั้งนี้เพื่อความคล่องตัว และประสิทธิภาพการบริหารจัดการให้กับ โดยได้มอบอำนาจในการจัดซื้อจัดจ้าง ตามหนังสือมอบอำนาจ ในวงเงินตามขั้นตอนปกติ คือ วิธีสอบราคา ประกวดราคา กรณีพิเศษ วงเงินไม่เกิน 50 ล้านบาท และวิธีพิเศษ วงเงินไม่เกิน 25 ล้านบาท หากเกินวงเงินข้างต้นให้จัดทำรายงานเสนอคณะกรรมการรถไฟฯสำหรับจากการจัดซื้อระบบไฟฟ้าสำรอง เอกสารรายละเอียดไม่สมบูรณ์ ไม่เป็นไปตามระเบียบดังนั้นจึงให้ ไปดำเนินการให้ครบถ้วน แล้วเสนอเข้ามาใหม่

อย่างไรก็ตาม เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการจัดซื้อจัดจ้างได้ให้ รวบรวมวงเงินทั้งหมดในคราวเดียวกัน ซึ่งล่าสุดขณะนี้ ยังไม่ได้รับรายงานดังกล่าว แต่อย่างใด โดยคณะกรรมการรถไฟฯ จะทำการประชุม ในวันที่ 29 มีนาคมนี้ ซึ่งขอให้ รฟท. นำเสนอให้ทันการประชุมครั้งนี้โดยด่วน เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและความคล่องตัวในการบริหารจัดการ ของ รฟท.
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42788
Location: NECTEC

PostPosted: 23/03/2016 10:51 am    Post subject: Reply with quote

แอร์พอร์ตลิงก์เดือด! 'ออมสิน'สั่งล้อมคอก ซัดต้องมีคนรับผิดชอบ
โดย ไทยรัฐฉบับพิมพ์
23 มีนาคม 2559 06:26

แอร์พอร์ตลิงก์เดือด! “ออมสิน ชีวะพฤกษ์” รมช.คมนาคม ยันต้องมีคนรับผิดชอบ ซัดเหตุใดกรรมการและรักษาการกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัทรถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด ไม่ไปสั่งการแก้ปัญหาด้วยตัวเอง จี้ให้ชี้แจงหลังพบแผนเผชิญเหตุไม่ชัดเจน รวมทั้งงบซ่อมใหญ่ 385.94 ล้านบาท นำไปใช้ซ่อมย่อยเพียง 85 ล้านบาท นายกรัฐมนตรีบอกรู้มีปัญหาหมักหมมมานานแล้ว ต้องลงโทษระดับผู้ปฏิบัติ เผยหลังเกิดเรื่องผู้รับผิดชอบเตรียมล้อมคอกใช้เงินก้อนใหญ่ซื้อเครื่องสำรองไฟฟ้า 7 ชุด และเครื่องสำรองไฟฟ้าติดขบวนรถ 9 ขบวน รวมกว่า 50 ล้านบาท

กรณีระบบเดินรถแอร์พอร์ตลิงก์ขัดข้อง ทำให้ขบวนรถไฟฟ้าจอดนิ่งคารางลอยฟ้าระหว่างสถานีหัวหมากมุ่งหน้าสถานีรามคำแหง มีผู้โดยสาร 745 คนติดอยู่เป็นเวลานานนับชั่วโมง มีบางส่วนเป็นลมเพราะขาดอากาศหายใจ ก่อนผู้โดยสารจะช่วยงัดประตูลงจากรถ เดินย้อนกับมาที่สถานีหัวหมากเพื่อนำคนเจ็บส่งโรงพยาบาล เบื้องต้นผู้รับผิดชอบระบุเหตุจากระบบจ่ายไฟฟ้าขัดข้อง รวมทั้งเครื่องปั่นไฟฟ้าสำรองเก่าใช้การไม่ได้ อยู่ระหว่างรออนุมัติจัดซื้อ

ความคืบหน้า ที่ทำเนียบรัฐบาล เมื่อเวลา 08.45 น. วันที่ 22 มี.ค. นายออมสิน ชีวะพฤกษ์ รมช.คมนาคม ให้สัมภาษณ์ก่อนเข้าประชุมคณะรัฐมนตรี ถึงเหตุการณ์นี้ว่า เตรียมนำเรียน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เพื่อถกถึงปัญหาในที่ประชุม ครม. ส่วนการแก้ไขปัญหา วันที่ 29 มี.ค. เรียกประชุมบอร์ดเพื่อพิจารณาการจัดซื้อเครื่องสำรองไฟฟ้าใหม่ด้วยวิธีพิเศษ ส่วนปัญหาที่เกิดขึ้นสอบถาม พล.อ.ดรัณ ยุทธวงษ์สุข กรรมการและรักษาการกรรมการผู้อำนวยการใหญ่บริษัทรถไฟฟ้า ร.ฟ.ท.จำกัด ทราบว่ารู้ปัญหามาตั้งแต่ปลายปี 58 ไม่เข้าใจว่ารู้นานแล้วและมีอำนาจจัดซื้อโดยวิธีพิเศษในวงเงิน 25 ล้านบาทที่ ร.ฟ.ท.มอบอำนาจให้ แต่ทำไมไม่ทำ ต้องตรวจสอบข้อเท็จจริง

นายออมสินกล่าวต่ออีกว่า ตอนเป็นประธานบอร์ด ร.ฟ.ท.ได้อนุมัติซ่อมแซมใหญ่ทั้ง 9 ขบวน แต่กลับซ่อมเล็กๆน้อยๆ แล้วขออนุมัติกว่า 380 ล้านบาท ไม่ทราบว่าเอาเงินไปทำอะไร แบบนี้ต้องมีมาตรการ ลงโทษ เพราะเป็นอำนาจที่ต้องแก้ไขปรับปรุง อำนาจผู้ว่าการ ร.ฟ.ท.ยกให้ทั้งหมดตั้งแต่สมัยนายประภัสร์ จงสงวน อดีตผู้ว่าการ ร.ฟ.ท.ในปี 56

“เมื่อวันที่ 21 มี.ค. ผมเหนื่อยมาก เดินไปจนถึงตัวรถที่เกิดเหตุระยะทาง 2 กม. ถามว่า พล.อ.ดรัณอยู่ไหน ได้คำตอบว่ารออยู่ที่ออฟฟิศ เลยถามว่าทำไมไม่มาแก้ปัญหา เพราะเรื่องนี้เคยพูดกับนายพาที สารสิน ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัทสายการบินนกแอร์ จำกัด ตอนที่เกิดปัญหาว่า การเป็นผู้บริหารสูงสุดรับผิดชอบองค์กร เมื่อเกิดปัญหาต้องมาถึงที่เกิดเหตุก่อนคนอื่นหรือโทรศัพท์มาสั่งการก็ได้ แต่กลับไม่ทำ ปล่อยให้ผู้โดยสารลำบาก กรณีนี้เช่นเดียวกัน แทนที่จะลงพื้นที่แก้ปัญหากลับปล่อยให้ผู้โดยสารทนไม่ได้ ต้องเดินออกมาท่ามกลางอากาศร้อนๆ” นายออมสินกล่าว

นายออมสินยังระบุว่า สั่งการให้ฝ่ายรับผิดชอบรายงานแผนเผชิญเหตุภายในวันที่ 22 มี.ค. ว่ามีแผนเผชิญเหตุหรือไม่ ถ้ามีแล้วทำไมถึงไม่ทำ งานนี้ต้องมีผู้รับผิดชอบ หลังจากนี้จะไปดูรายละเอียดทั้งหมดเพื่อดูว่าดำเนินการครบถ้วนหรือไม่ ก่อนตัดสินว่าจะต้องตั้งคณะกรรมการสอบหรือไม่ จะอ้างว่าไม่มีงบฯและไม่มีอำนาจไม่ได้

ขณะที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า ตรวจสอบแล้วแอร์พอร์ตลิงก์เส้นนี้มีปัญหามานานแล้วและไม่ได้เกิดจากรัฐบาลนี้ ประเด็นสำคัญคือจำนวนขบวนรถ ไม่ได้เตรียมการในเรื่องระบบต่างๆทดแทน เหตุที่เกิดขึ้นมาจากระบบไฟฟ้าหลักเสีย นอกจากนี้ ยังพบระบบไฟฟ้าสำรองเสียมาหลายเดือนแล้ว อยู่ระหว่างสอบสวน หากทุกคนทำงานเอาใจใส่ก็จบ ที่ผ่านมาอยากบอกว่ามันไม่ใช่ใครที่ต้องไปแถลงตรงโน้นตรงนี้ รมว.คมนาคมได้ให้ รมช.เป็นผู้ชี้แจง ใครอยู่ใกล้ก็ไปก่อนแค่นั้นเองและคนที่ไปช้าต้องตอบให้ได้ว่าทำไมไปช้าเพราะมันเป็นหน้าที่ ในระดับนโยบาย ตนและรัฐมนตรี ส่วนระดับอื่นมีผู้ปฏิบัติอยู่แล้วต้องไปลงโทษผู้ปฏิบัติ ไปหามาตรการไม่ให้เกิดซ้ำอีก การลงโทษมีทั้งเบาไปหาหนัก ไม่ใช่เอาไปฆ่าทิ้ง ต้องแก้ให้ถูกจุด

“สั่งการให้หาทางซ่อมแซมก่อน รถที่ใช้ตอนนี้แน่นเกินไปเพราะเป็นที่นั่งแบบบิสซิเนสหมด อาจต้องเอา 4 ขบวนมาปรับปรุงให้เสร็จภายใน 4 เดือน จะทำให้ได้ที่นั่ง ที่ยืนมากขึ้น สามารถขนคนได้มากขึ้น ส่วนการซื้อใหม่ยังไม่ซื้อ จะซื้อใหม่ตอนที่แก้ปัญหาเสร็จ ทุกคนมุ่งแต่จะซื้อใหม่หมด ผมยังไม่ให้ทั้งหมดหรอก” พล.อ.ประยุทธ์กล่าว

ที่กระทรวงคมนาคม เย็นวันเดียวกัน นายออมสิน ชีวะพฤกษ์ รมช.คมนาคม เปิดเผยอีกครั้งว่า สั่งการ ให้บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด ผู้ให้บริการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์ ทำแผนเผชิญเหตุฉุกเฉินเพิ่มเติมส่งกลับมาใหม่ภายในวันที่ 25 มี.ค. เพราะแผนที่ส่งมาไม่มีรายละเอียดชัดเจน อาทิ แผนช่วยเหลือ แผนงบประมาณซ่อมแซม และผู้รับผิดชอบ นอกจากนี้ยังสั่งการให้ประชุมบอร์ดในวันที่ 24 มี.ค. เรื่องขออนุมัติจัดซื้อเครื่องสำรองไฟฟ้า 7 ชุด วงเงิน 32,114,000 บาท ก่อนเสนอขออนุมัติคณะกรรมการบอร์ดรถไฟวันที่ 29 มี.ค. หากดำเนินการตามขั้นตอนปัญหาที่เกิดขึ้นจะหมดไป ส่วนเรื่องรายละเอียดที่บอร์ดแอร์พอร์ตลิงก์นำงบประมาณกว่า 85 ล้านบาท ไปซ่อมรถบางส่วนก่อน ทั้งที่บอร์ดรถไฟอนุมัติงบกว่า 385.94 ล้านบาท เพื่อซ่อมใหญ่ แต่กลับเลือกซ่อมบางส่วน มองว่าทำไมต้องปรับลดรายการซ่อมจาก 17 รายการเหลือ 13 รายการ ต้องรายงานข้อเท็จจริงกลับมาภายในวันที่ 25 มี.ค. รวมถึงมูลค่าความเสียหายที่เกิดขึ้นและผู้รับผิดชอบ เพื่อเป็นแนวทางรองรับเหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต

พล.อ.ดรัณ ยุทธวงษ์สุข กรรมการและรักษาการกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัทรถไฟฟ้า ร.ฟ.ท.จำกัด ให้สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ว่า เบื้องต้นสั่งการให้นำเครื่องจ่ายไฟฟ้าสำรองที่มีอยู่ไปใช้ทดแทนของเดิมที่ไม่สามารถใช้งานไปติดตั้งที่สถานีรามคำแหงแล้ว คาดระหว่างที่รอบอร์ด ร.ฟ.ท.อนุมัติให้จัดซื้อ จะสามารถให้บริการได้โดยไม่มีปัญหาเกิดขึ้นอีก ทั้งนี้ อุปกรณ์ดังกล่าวมีอายุการใช้งานนาน 5 ปีแล้ว เห็นควรเปลี่ยนใหม่หมด และในวันที่ 28 มี.ค. บริษัทจะมีการซักซ้อมแผนเผชิญเหตุเพื่อรองรับกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน ที่ผ่านมามีการซักซ้อมประมาณเดือนละครั้ง นอกจากนี้บริษัทยังเตรียมจัดซื้อแบตเตอรี่สำรองไฟเพื่อติดตั้งไว้ในขบวนรถไฟฟ้าทั้ง 9 ขบวนที่มีอยู่ เพื่อให้ขบวน รถมีไฟฟ้าใช้กรณีเกิดไฟดับหรือไฟตก รวมเป็นเงิน 18 ล้านบาท ใช้เวลาดำเนินการประมาณ 2-3 เดือน

ด้านนายสุเทพ พันธุ์เพ็ง รักษาการรองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ กลุ่มสายงานปฏิบัติการและซ่อมบำรุง บริษัทรถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด ผู้ให้บริการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์ เปิดเผยว่า เบื้องต้นมีผู้โดยสาร 8 ราย ได้รับผลกระทบ โดย 7 รายได้รับผลกระทบเพียงเล็กน้อย ขณะนี้เดินทางกลับบ้านได้แล้ว ที่เหลืออีก 1 รายเป็นโรคหืดหอบ ยังรักษาที่โรงพยาบาลสินแพทย์ บริษัทรับผิดชอบค่ารักษาพยาบาลทั้งหมด ขณะนี้ยังไม่มีผู้โดยสารรายใดร้องเรียนหรือเรียกร้องค่าเสียหาย รวมทั้งไม่มีปัญหาผู้โดยสารที่ติดอยู่ในขบวนรถตกเที่ยวบินแต่อย่างใด

“ขอยืนยันว่าไม่มีกระจกหรือตัวรถส่วนใดได้รับความเสียหายจากการทุบทำลาย เนื่องจากผู้โดยสารที่เปิดประตูรถปฏิบัติตามคำแนะนำ คือทุบแผ่นพลาสติกที่ซีลปุ่มเปิดประตูฉุกเฉินให้แตกออก จากนั้นดึงสลักเพื่อเปิดประตู ส่วนกรณีที่มีกระแสข่าวว่าอาจจะเกิดปัญหาไฟฟ้าช็อตได้หากผู้โดยสารเดินลงไปในรางนั้น ไม่เป็นความจริง เนื่องจากขบวนรถมีการรับไฟฟ้าผ่านทางหลังคาไม่ใช่การส่งผ่านทางรางเหมือนรถไฟฟ้าบีทีเอส ขณะที่การซ้อมแผนรับมือกรณีเกิดเหตุฉุกเฉินว่า ยืนยันว่าได้ทำตามขั้นตอนและเป็นไปตามมาตรฐานการอพยพคนออกจากขบวนรถ ให้แล้วเสร็จภายใน 30 นาที แต่วันที่เกิดเหตุมีปัจจัยอื่นทำให้การอพยพล่าช้า คือผู้โดยสารเปิดประตูทำให้ขบวนลากหยุดทำงาน ต้องรอรถขบวนใหม่เข้ามาช่วยเหลือแทน” นายสุเทพกล่าว

//----------------------

"ออมสิน"ลั่นต้องมีคนรับผิดชอบ"แอร์พอร์ตลิงก์"เดี้ยง "บิ๊กตู๋"เอือมปัญหาหมักหมม
โดย MGR Online
23 มีนาคม 2559 08:31 น.

กรณีระบบเดินรถแอร์พอร์ตลิงก์ขัดข้อง ทำให้ขบวนรถไฟฟ้าจอดนิ่งคารางลอยฟ้าระหว่างสถานีหัวหมากมุ่งหน้าสถานีรามคำแหง มีผู้โดยสาร 745 คนติดอยู่เป็นเวลานานนับชั่วโมง มีบางส่วนเป็นลมเพราะขาดอากาศหายใจ ก่อนผู้โดยสารจะช่วยงัดประตูลงจากรถ เดินย้อนกับมาที่สถานีหัวหมากเพื่อนำคนเจ็บส่งโรงพยาบาล เบื้องต้นผู้รับผิดชอบระบุเหตุจากระบบจ่ายไฟฟ้าขัดข้อง รวมทั้งเครื่องปั่นไฟฟ้าสำรองเก่าใช้การไม่ได้ อยู่ระหว่างรออนุมัติจัดซื้อ

เมื่อวันที่ 22 มี.ค. นายออมสิน ชีวะพฤกษ์ รมช.คมนาคม กล่าวถึงเหตุการณ์นี้ว่าได้แจ้งพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เพื่อถกถึงปัญหาในที่ประชุม ครม. ส่วนการแก้ไขปัญหา ในวันที่ 29 มี.ค. เรียกประชุมบอร์ดเพื่อพิจารณาการจัดซื้อเครื่องสำรองไฟฟ้าใหม่ด้วยวิธีพิเศษ ส่วนปัญหาที่เกิดขึ้นสอบถาม พล.อ.ดรัณ ยุทธวงษ์สุข กรรมการและรักษาการกรรมการผู้อำนวยการใหญ่บริษัทรถไฟฟ้า ร.ฟ.ท.จำกัด ทราบว่ารู้ปัญหามาตั้งแต่ปลายปี 2558 ไม่เข้าใจว่ารู้นานแล้วและมีอำนาจจัดซื้อโดยวิธีพิเศษในวงเงิน 25 ล้านบาทที่ ร.ฟ.ท.มอบอำนาจให้ แต่ทำไมไม่ทำ ต้องตรวจสอบข้อเท็จจริง

ทั้งนี้ในช่วงที่ตนเป็นประธานบอร์ด ร.ฟ.ท.ได้อนุมัติซ่อมแซมใหญ่ทั้ง 9 ขบวน แต่กลับไปซ่อมเล็กๆน้อยๆ แล้วขออนุมัติกว่า 380 ล้านบาท ไม่ทราบว่าเอาเงินไปทำอะไร แบบนี้ต้องมีมาตรการลงโทษ เพราะเป็นอำนาจที่ต้องแก้ไขปรับปรุง อำนาจผู้ว่าการ ร.ฟ.ท.ยกให้ทั้งหมดตั้งแต่สมัยนายประภัสร์ จงสงวน อดีตผู้ว่าการ ร.ฟ.ท.ในปี 2556

“เมื่อวันที่ 21 มี.ค. ผมเหนื่อยมาก เดินไปจนถึงตัวรถที่เกิดเหตุระยะทาง 2 กม. ถามว่า พล.อ.ดรัณอยู่ไหน ได้คำตอบว่ารออยู่ที่ออฟฟิศ เลยถามว่าทำไมไม่มาแก้ปัญหา เพราะเรื่องนี้เคยพูดกับนายพาที สารสิน ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัทสายการบินนกแอร์ จำกัด ตอนที่เกิดปัญหาว่า การเป็นผู้บริหารสูงสุดรับผิดชอบองค์กร เมื่อเกิดปัญหาต้องมาถึงที่เกิดเหตุก่อนคนอื่นหรือโทรศัพท์มาสั่งการก็ได้ แต่กลับไม่ทำ ปล่อยให้ผู้โดยสารลำบาก กรณีนี้เช่นเดียวกัน แทนที่จะลงพื้นที่แก้ปัญหากลับปล่อยให้ผู้โดยสารทนไม่ได้ ต้องเดินออกมาท่ามกลางอากาศร้อนๆ” นายออมสินกล่าว

นายออมสินยังระบุว่า สั่งการให้ฝ่ายรับผิดชอบรายงานแผนเผชิญเหตุภายในวันที่ 22 มี.ค. ว่ามีแผนเผชิญเหตุหรือไม่ ถ้ามีแล้วทำไมถึงไม่ทำ งานนี้ต้องมีผู้รับผิดชอบ หลังจากนี้จะไปดูรายละเอียดทั้งหมดเพื่อดูว่าดำเนินการครบถ้วนหรือไม่ ก่อนตัดสินว่าจะต้องตั้งคณะกรรมการสอบหรือไม่ จะอ้างว่าไม่มีงบฯและไม่มีอำนาจไม่ได้

ขณะที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า ตรวจสอบแล้วแอร์พอร์ตลิงก์เส้นนี้มีปัญหามานานแล้วและไม่ได้เกิดจากรัฐบาลนี้ ประเด็นสำคัญคือจำนวนขบวนรถ ไม่ได้เตรียมการในเรื่องระบบต่างๆทดแทน เหตุที่เกิดขึ้นมาจากระบบไฟฟ้าหลักเสีย นอกจากนี้ ยังพบระบบไฟฟ้าสำรองเสียมาหลายเดือนแล้ว อยู่ระหว่างสอบสวน หากทุกคนทำงานเอาใจใส่ก็จบ ที่ผ่านมาอยากบอกว่ามันไม่ใช่ใครที่ต้องไปแถลงตรงโน้นตรงนี้ รมว.คมนาคมได้ให้ รมช.เป็นผู้ชี้แจง ใครอยู่ใกล้ก็ไปก่อนแค่นั้นเองและคนที่ไปช้าต้องตอบให้ได้ว่าทำไมไปช้าเพราะมันเป็นหน้าที่ ในระดับนโยบาย ตนและรัฐมนตรี ส่วนระดับอื่นมีผู้ปฏิบัติอยู่แล้วต้องไปลงโทษผู้ปฏิบัติ ไปหามาตรการไม่ให้เกิดซ้ำอีก การลงโทษมีทั้งเบาไปหาหนัก ไม่ใช่เอาไปฆ่าทิ้ง ต้องแก้ให้ถูกจุด

“สั่งการให้หาทางซ่อมแซมก่อน รถที่ใช้ตอนนี้แน่นเกินไปเพราะเป็นที่นั่งแบบบิสซิเนสหมด อาจต้องเอา 4 ขบวนมาปรับปรุงให้เสร็จภายใน 4 เดือน จะทำให้ได้ที่นั่ง ที่ยืนมากขึ้น สามารถขนคนได้มากขึ้น ส่วนการซื้อใหม่ยังไม่ซื้อ จะซื้อใหม่ตอนที่แก้ปัญหาเสร็จ ทุกคนมุ่งแต่จะซื้อใหม่หมด ผมยังไม่ให้ทั้งหมดหรอก” พล.อ.ประยุทธ์กล่าว

นอกจากนี้ นายออมสิน ชีวะพฤกษ์ รมช.คมนาคม เปิดเผยว่า สั่งการ ให้บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด ผู้ให้บริการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์ ทำแผนเผชิญเหตุฉุกเฉินเพิ่มเติมส่งกลับมาใหม่ภายในวันที่ 25 มี.ค. เพราะแผนที่ส่งมาไม่มีรายละเอียดชัดเจน อาทิ แผนช่วยเหลือ แผนงบประมาณซ่อมแซม และผู้รับผิดชอบ

ทั้งนี้ยังสั่งการให้ประชุมบอร์ดในวันที่ 24 มี.ค. เรื่องขออนุมัติจัดซื้อเครื่องสำรองไฟฟ้า 7 ชุด วงเงิน 32,114,000 บาท ก่อนเสนอขออนุมัติคณะกรรมการบอร์ดรถไฟวันที่ 29 มี.ค. หากดำเนินการตามขั้นตอนปัญหาที่เกิดขึ้นจะหมดไป ส่วนเรื่องรายละเอียดที่บอร์ดแอร์พอร์ตลิงก์นำงบประมาณกว่า 85 ล้านบาท ไปซ่อมรถบางส่วนก่อน ทั้งที่บอร์ดรถไฟอนุมัติงบกว่า 385.94 ล้านบาท เพื่อซ่อมใหญ่ แต่กลับเลือกซ่อมบางส่วน มองว่าทำไมต้องปรับลดรายการซ่อมจาก 17 รายการเหลือ 13 รายการ ต้องรายงานข้อเท็จจริงกลับมาภายในวันที่ 25 มี.ค. รวมถึงมูลค่าความเสียหายที่เกิดขึ้นและผู้รับผิดชอบ เพื่อเป็นแนวทางรองรับเหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต


//-----------

รมช.คมนาคมลั่นแอร์พอร์ตลิงก์เสียต้องมีคนรับผิดชอบ โวยบิ๊กบอร์ดรู้ปัญหา-มีอำนาจ-มีงบแต่ไม่แก้
โดย MGR Online
22 มีนาคม 2559 11:04 น. (แก้ไขล่าสุด 22 มีนาคม 2559 13:13 น.)

รมช.คมนาคมลั่นแอร์พอร์ตลิงก์เสียต้องมีคนรับผิดชอบ โวยบิ๊กบอร์ดรู้ปัญหา-มีอำนาจ-มีงบแต่ไม่แก้

รมช.คมนาคม เตรียมแจ้งปมรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์ขัดข้องให้นายกฯ ฟัง เล็งชงบอร์ด ร.ฟ.ท.ซื้อเครื่องสำรองไฟฟ้าใหม่ด้วยวิธีพิเศษ 29 มี.ค. ไล่บี้รักษาการผู้อำนวยการใหญ่ บ.รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท.รู้ปัญหามาตั้งแต่ ต.ค. 58 มีอำนาจแต่ไม่ยอมแก้ เผยตอนนั่งประธานบอร์ดเคยให้ซ่อมใหญ่แต่ทำแค่พาเชียล แล้วงบ 380 ล้านเอาไปทำอะไรกัน บ่นเหนื่อยเดิน 2 กิโลฯ ไปที่เกิดเหตุแต่ไม่เห็นตัว พร้อมสั่งเขียนแผนเผชิญเหตุแล้ว คิดก่อนตั้งกรรมการสอบหรือไม่ ยันต้องมีผู้รับผิดชอบ

วันนี้ (22 มี.ค.) ที่ทำเนียบรัฐบาล เมื่อเวลา 08.45 น. นายออมสิน ชีวะพฤกษ์ รมช.คมนาคม ให้สัมภาษณ์ก่อนเข้าประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ถึงเหตุการณ์รถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์ขบวนสุวรรณภูมิมุ่งหน้าไปสถานีพญาไทขัดข้องว่า ตนจะนำเรื่องนี้เรียนต่อ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ส่วนการแก้ไขปัญหาจะมีการนำเรื่องเข้าบอร์ด ร.ฟ.ท.เพื่อพิจารณาการจัดซื้อเครื่องสำรองไฟฟ้าใหม่ด้วยวิธีพิเศษ ในวันที่ 29 มี.ค.นี้ อย่างไรก็ตาม ตนได้สอบถาม พล.อ.ดรัณ ยุทธวงษ์สุข กรรมการและรักษาการกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท.จำกัด ว่าไม่ได้ดูแลกันเลยหรือ ซึ่ง พล.อ.ดรัณตอบว่า ดูแล เลยถามต่อว่า รู้มานานหรือยัง พล.อ.ดรัน ตอบว่ารู้มาตั้งแต่เดือน ต.ค. 58 ตนจึงไม่เข้าใจในเมื่อเขามีอำนาจในการจัดซื้อโดยวิธีพิเศษในวงเงิน 25 ล้านบาทที่ทาง ร.ฟ.ท.มอบอำนาจให้หมดแล้ว และงบประมาณก็มีว่าทำไมไม่ทำ ตนกำลังตรวจสอบอยู่ว่า เมื่อรู้หมดแล้วทำไมถึงไม่จัดการ

นายออมสินกล่าวว่า ตอนตนเป็นประธานบอร์ด ร.ฟ.ท.ได้อนุมัติให้เขาทำซ่อมแซมใหญ่ (โอเวอร์ฮอล) ทั้ง 9 ขบวน แต่กลับทำพาเชียลโอเวอร์ฮอล แล้วที่ขออนุมัติไป 380 ล้านบาทเอาไปทำอะไรกัน เมื่ออนุมัติแล้วยังจะต้องให้ไปนั่งดูอีกหรือว่าได้ทำอะไรไปบ้าง อย่างนี้ก็เกินไป แบบนี้ต้องลงโทษกันบ้างแล้ว เพราะถ้าเขาเห็นว่ามีอะไรที่จะเสียหายมันเป็นอำนาจของเขาอยู่แล้วที่จะแก้ไขปรับปรุง อำนาจของผู้ว่าการ ร.ฟ.ท.มีเท่าไหร่ก็ยกอำนาจไปให้ทั้งหมดตั้งแต่สมัยนายประภัสร์ จงสงวน ในปี 2556 ทั้งนี้ ตนจะนำเรื่องนี้เข้าสู่ที่ประชุม ครม.และจะอธิบายให้กับนายกฯ ได้ฟัง

“เมื่อวันที่ 21 มี.ค. ผมก็เหนื่อย เดินไปจนถึงตัวรถที่เกิดเหตุ 2 กิโลเมตรกว่า ผมถามว่าผู้บริหารคุณอยู่ไหน พล.อ.ดรัณ อยู่ไหน เจ้าหน้าที่รายงานว่า พล.อ.ดรัณโทรศัพท์มาว่ารออยู่ที่ออฟฟิศ ผมเลยบอกว่าทำไมไม่เดินทางมาแก้ปัญหา เพราะเรื่องพวกนี้ผมเคยพูดกับนายพาที สารสิน ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท สายการบินนกแอร์ จำกัด ตอนที่เกิดปัญหากับนกแอร์ว่าการเป็นผู้บริหารสูงสุดและรับผิดชอบองค์กร เมื่อเกิดปัญหาคุณต้องมาถึงที่เกิดเหตุก่อนคนอื่น หรือคุณอยู่หัวหินแล้วบอกว่าไปถ่ายแบบก็ไม่เป็นไร เพราะไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนในโลกสามารถโทรศัพท์สั่งการได้ว่าต้องแก้ปัญหาอย่างไร เท่านั้นก็จบ แต่กลับไม่ทำ ปล่อยให้ผู้โดยสารลำบาก ผมบอกนายพาทีอย่างนี้เลย กรณีนี้ก็เช่นเดียวกัน แทนที่จะลงไปที่เกิดเหตุเพื่อแก้ปัญหาแต่ต้น แต่ปล่อยจนถึงขั้นผู้โดยสารทนไม่ได้ ต้องเดินตามรางออกมาท่ามกลางอากาศร้อนๆ มันไม่ได้” นายออมสินกล่าว

รมช.คมนาคมกล่าวว่า ตนสั่งให้ฝ่ายที่รับผิดชอบรายงานแผนเผชิญเหตุมาให้ตนในวันนี้ (22 มี.ค.) ว่าตกลงแล้วมีแผนเผชิญเหตุอย่างไร และถ้ามีขั้นตอนแล้วทำไมถึงไม่ทำ ต้องมีผู้รับผิดชอบ อย่างกรณีนี้เขากำหนดว่าเมื่อรถเมื่อวิ่งไปได้ระยะทางเท่าไรแล้วจะต้องมีการปรับปรุง แต่กลับไม่มีการปรับปรุง หลังจากนี้ตนจะไปดูรายละเอียดทั้งหมด โดยให้มีการรายงานขึ้นมาตามขั้นตอน แล้วดูว่าได้ดำเนินการครบถ้วนหรือไม่ จะมาบอกว่าไม่มีอำนาจไม่มีงบประมาณไม่ได้ จากนั้นจะตัดสินอีกครั้งหนึ่งว่าจะต้องมีการตั้งคณะกรรมการสอบหรือไม่
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42788
Location: NECTEC

PostPosted: 23/03/2016 10:59 am    Post subject: Reply with quote

"กระรอกเป็นเหตุ! ทำไฟช็อต ส่งผลระบบไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงค์"ขัดข้อง"
เรื่องโดย Nation TV | ภาพโดย Nation TV

22 มีนาคม 2559 18:17 น.

นายนิพนธ์ จิรทวีวุฒิ ผู้ช่วยผู้ว่าการการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) เปิดเผยถึงกรณีรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงค์ หยุดให้บริการเมื่อวันที่ 21 มี.ค. ที่ผ่านมาว่า เหตุการณ์ดังกล่าวเกิด 2 ปัจจัย ได้แก่ ไฟฟ้าของ กฟน. ดับและเครื่องไฟฟ้าสำรอง (UPS) ของบริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด ผู้ให้บริการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงค์เสียเบื้องต้น เจ้าหน้าที่ กฟน. รายงานว่า เหตุไฟฟ้าดับเกิดจากกระรอก ซึ่งอยู่ตามต้นไม้ ถูกสายป้อนขนาด 12 หรือ 24 kV จากบางกะปิของ กฟน. ส่งผลให้เกิดไฟฟ้าช๊อต อุปกรณ์ตัดไฟฟ้าจึงทำงานเพื่อรักษาความปลอดภัยของระบบ ทำให้สายป้อนที่มีความยาว 2-3 กิโลเมตร ไม่สามารถส่งไฟฟ้าให้รถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงค์ รวมถึงบริเวณรอบสายป้อนตามปกติ ประกอบกับเครื่องไฟฟ้าสำรอง (UPS) ของรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงค์ ที่มีอยู่ไม่ทำงานจึงเกิดเหตุการณ์ดังกล่าวขึ้นอย่างไรก็ตาม ยอมรับว่าปัญหาส่วนหนึ่งเกิดจากระบบ กฟน. แม้ปัจจุบัน กฟน. จะติดตั้งอุปกรณ์ดักสัตว์รบกวนที่เสาไฟฟ้า รวมถึงตัดแต่งต้นไม้ของกรุงเทพมหานคร (กทม.) ซึ่งปลูกตามแนวถนนบริเวณเดียวกับสายป้อนทุกปีแล้ว แต่บางครั้งก็ไม่สามารถดูแลได้ทั่วถึง เพราะต้นไม้เหล่านี้โตเร็ว โดยถ้าระบบไฟฟ้าช๊อตเพราะถูกสัตว์ เช่น กระรอกหรือนกรบกวน รวมถึงจากเหตุอื่นๆ เช่น รถชนเสาไฟฟ้า อุปกรณ์ก็จะตัดไฟฟ้าทันทีเพื่อรักษาระบบโดยรวมเช่นเดียวกับกรณีที่เกิดขึ้น"ถ้าหากการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ในฐานะบริษัทแม่ของรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงค์หรือกระทรวงคมนาคม จะเชิญผู้เกี่ยวข้องรวมถึงรถไฟฟ้าบีทีเอสและรถไฟฟ้าใต้ดินเข้าหารือ ทาง กฟน. ก็ยินดีจะร่วมหาแนวทางหรือมาตรการป้องกันเหตุในอนาคตฎ" นายนิพนธ์กล่าวส่วนกรณีที่ทางรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงค์ระบุว่า กฟน. มีปัญหาไฟฟ้าตกบ่อยจนกระทบต่อการเดินรถนั้นในช่วงที่ผ่านมานั้น นายนิพนธ์ กล่าวว่า ไม่ขอตอบโต้ในประเด็นดังกล่าว แต่พร้อมหารือเพื่อแก้ไขปัญหา โดยปกติ กฟน. จะดูแลคุณภาพไฟฟ้าช่วงต้นทางให้อยู่ในเกณฑ์ที่กำหนด แต่ถ้าความต้องการใช้ไฟฟ้าปลายทางอยู่ในระดับสูงอาจมีปัญหาไฟฟ้าตกบ้างอย่างไรก็ตาม พื้นที่ กฟน. มีโอกาสไฟตกน้อย เนื่องจากระบบส่งอยู่ในระยะสั้น ครอบคลุมพื้นที่เพียง 3 จังหวัด แตกต่างจากพื้นที่ของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (พีอีเอ) ที่มีสายส่งระยะไกลนายนิพนธ์กล่าวถึงช่วงที่ไม่มีกระแสไฟฟ้าจ่ายสู่ระบบรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรล ลิงค์ หรือนิวตรอนโซนว่า รถไฟฟ้าความเร็วสูงทั่วโลกจะใช้ไฟฟ้าเฟสเดียว แรงดันไฟฟ้า 25 kV ทำให้ต้องมีนิวตรอนโซนเพื่อสร้างสมดุลไฟฟ้าในการเดินรถ รถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงค์ที่มีความเร็วสูงสุด 160 กิโลเมตรต่อชั่วโมงจึงใช้ระบบนี้เช่นกัน ส่วนรถไฟฟ้าใต้ดินหรือรถไฟฟ้าบีทีเอสที่มีความเร็ว 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมงจะใช้ไฟฟ้า 3 เฟสเช่นเดียวกับที่ กฟน. จ่าย จึงไม่ต้องใช้ระบบนิวตรอนโซนแต่อย่างใด"
Back to top
View user's profile Send private message
black_express
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/03/2006
Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ

PostPosted: 24/03/2016 3:47 pm    Post subject: Reply with quote

งานนี้โดน รฟท.ตัดหางปล่อยวัดแล้วล่ะ Laughing

ถ้าจะมีสาเหตุมาจากอะไร อย่าไปเปรียบเทียบจากกระรอกเลยนะครับ เพราะปกติสัตว์ตัวเล็กขนาดนั้นคงไม่ขึ้นไปเพ่นพ่านบนเสันทางเสาเดี่ยวยกระดับสูงนับ 5 เมตรแน่ๆ
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42788
Location: NECTEC

PostPosted: 25/03/2016 10:45 am    Post subject: Reply with quote

'แอร์พอร์ตลิงก์' แผนฉุกเฉินอัปยศ |

เดลินิวส์
วันพฤหัสที่ 24 มีนาคม 2559 เวลา 12:35 น.

แม้ผู้บริหารบริษัทรถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด จะช่วยกันออกมาชี้แจง แต่ในวันที่เกิดเหตุจริง ๆ การเผชิญปัญหาไม่ได้เป็นมืออาชีพและไม่มีมาตรฐาน

เหตุแอร์พอร์ตลิงก์ขัดข้องเมื่อวันที่ 21 มี.ค.ที่ผ่านมาทำให้ผู้โดยสาร 745 คน ติดบนขบวนรถนับชั่วโมง กลายเป็นสปอตไลต์ช่วยส่องแสงจ้าให้เห็นชัดว่าบริหารจัดการของบริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท.จำกัด หรือ รฟฟท.ผู้ให้บริการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์ล้มเหลว “บริษัทมีแผนดำเนินการอยู่แล้ว โดยพนักงานขับรถได้แจ้งผู้โดยสารเกี่ยวกับปัญหาที่เกิดขึ้น และขอให้รออยู่ภายในรถเพื่อให้รถอีกขบวนหนึ่งมาลากจูงไปแต่ด้วยจำนวนผู้โดยสารที่มีอยู่เป็นจำนวนมาก เพราะเป็นช่วงเช้าที่เดินทางไปทำงาน ประกอบกับอากาศร้อน การประกาศของพนักงานขับรถจึงทำได้แค่ตู้ด้านหน้า ส่วนด้านหลังไม่ได้ยิน ทำให้ผู้โดยสารส่วนใหญ่ไม่ได้รับข้อมูล และทนไม่ไหวต้องเปิดประตูเอง และเดินลงมาจากขบวนรถทำให้ระบบรถไม่ทำงาน ไม่สามารถนำขบวนรถไฟลากจูงไปได้” พล.อ.ดรัณ ยุทธวงษ์สุข กรรมการและรักษาการกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. แจกแจงถึงปัญหาในวันเกิดเหตุ ในคำพูดที่ออกมายิ่งย้ำชัดให้เห็นว่าบริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด มีความบกพร่องในระดับการปฏิบัติงาน ตัวเลขผู้ใช้บริการแอร์พอร์ตลิงก์มีประมาณวันละ 80,000 คน โดยเฉพาะชั่วโมงเร่งด่วนจะแน่นขนัดเป็นพิเศษ เช่นเดียวกันกับการซ้อมแผนฉุกเฉินยืนยันว่าทำเป็นประจำ นายสุเทพ พันธุ์เพ็ง รักษาการรองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่กลุ่มสายงานปฏิบัติการและซ่อมบำรุงบริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท.จำกัด ระบุว่า เพิ่งจะมีการซ้อมแผนฉุกเฉินเกี่ยวกับการอพยพและขนถ่ายคนออกจากตัวรถไปครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ 28 ม.ค. ที่ผ่านมา สามารถปฏิบัติได้ตามมาตรฐานความปลอดภัยคืออพยพและขนถ่ายผู้โดย สารได้แล้วเสร็จภายใน 30 นาที ปกติแอร์พอร์ตลิงก์จะซ้อมแผนสม่ำเสมอประมาณ 2 เดือนต่อครั้ง แม้ผู้บริหารบริษัทรถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด จะช่วยกันออกมาชี้แจง แต่ในวันที่เกิดเหตุจริง ๆ การเผชิญปัญหาไม่ได้เป็นมืออาชีพและไม่มีมาตรฐาน มีผู้โดยสารเป็นลมเนื่องจากขาดอากาศหายใจบนขบวนรถ เพราะระบบปรับอากาศหยุดชะงัก กดดันผู้โดยสารต้องทุบกระจกลงมาเดินบนรางรถไฟ งานนี้ รมช.คมนาคม นายออมสิน ชีวะพฤกษ์ ตำหนิแผนการรับมือแผนฉุกเฉินของแอร์พอร์ตลิงก์อย่างรุนแรง รวมไปถึงนายกรัฐมนตรี พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา ออกโรงจี้สั่งการให้หามาตรการลงโทษในระดับผู้ปฏิบัติงาน “เมื่อวันที่ 21 มี.ค. ผมเหนื่อยมาก เดินไปจนถึงตัวรถที่เกิดเหตุระยะเวลา 2 กม. ถามว่า พล.อ.ดรัณ อยู่ไหน ได้คำตอบว่ารออยู่ที่ออฟฟิศ เลยถามว่าทำไมไม่มาแก้ปัญหา เพราะเรื่องนี้เคยพูดกับ นายพาที สารสิน ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัทสายการบินนกแอร์ จำกัด ตอนเกิดปัญหาว่าการเป็นผู้บริหารสูงสุดต้องรับผิดชอบองค์กร ต้องมาถึงที่เกิดเหตุก่อน แต่กลับไม่มาปล่อยให้ผู้โดยสารลำบาก ต้องออกมาเดินท่ามกลางอากาศร้อน” รมช.คมนาคม บอกด้วยนํ้าเสียงไม่พอใจ ประเด็นคลุมเครือเรื่องการซ่อมบำรุงการใช้งานของรถไฟที่ผ่านมา 5 ปีถูกตีแผ่ว่าเป็นสาเหตุขัดข้องของรถไฟฟ้า เครื่องสำรองไฟที่หมดอายุการใช้งานทำให้ไฟไม่พอทำให้รถวิ่งไม่ได้ งานนี้คนในรัฐบาลออกมาเปิดเผยการทุจริตของผู้ใต้บังคับบัญชาแบบไม่ไว้หน้า นายออมสินให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนว่า ก่อนหน้านี้บอร์ดรถไฟได้มีการอนุมัติงบประมาณ 385.94 ล้านบาทเพื่อให้มีการซ่อมใหญ่แต่ไม่ดำเนินการกลับเลือกมาซ่อมเพียงบางส่วนโดยใช้งบประมาณ 85 ล้านบาท และปรับลดรายการซ่อมจาก 17 รายการเหลือเพียง 13 รายการ ซึ่งรายละเอียดนี้บอร์ดแอร์พอร์ตลิงก์ต้องรายงานออกมาให้ได้ว่าเกิดจากอะไร ในวันที่ 25 มี.ค. นี้บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท.จำกัด หรือ รฟฟท. ผู้ให้บริการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์ต้องรายงานข้อเท็จจริง ต่อกระทรวงคมนาคม ของเหตุการณ์รถไฟฟ้าขัดข้องและรายละเอียดของการใช้งบประมาณการซ่อม รวมทั้งมูลค่าความเสียหายที่เกิดขึ้นและต้องมีผู้รับผิดชอบ เพื่อเป็นแนวทาง รองรับเหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต มูลค่าการลงทุนของแอร์พอร์ตลิงก์สูงถึง 30,000 ล้านบาท ล้วนมาจากเงินภาษีของประชาชน แต่ผู้มีหน้าที่บริหารจัดการระบบกลับขาดความรับผิดชอบ...หวิดทำให้ 745 ชีวิตตายหมู่คาโบกี้.“

//----------------

ความเห็นกระผม:

ปัญหาที่แท้จริงนะ อยู่ที่ คน คิดแต่จะ Milk เจ้า Airport Link เพื่อเอามาใช้หนี้ และ หวังผูกขาดแบบเสือนอนกิน จนละเลย ในเรื่องงบซ่อมบำรุง กะ การ เข้าช่วยกู้วิกฤต ที่ไม่ควรติดขัดกะ ระบบราชการ ใน รฟท. โดยเด็ดขาด พออ้างว่า รฟฟท. เรียกงบซ่อมบำรุงเกิน เลยไม่อนุมัติงบซ่อมบำรุงให้ รฟฟท. นี่ แค่นี้ก็ถือว่าใช้ไม่ได้แล้วครับ
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42788
Location: NECTEC

PostPosted: 25/03/2016 3:57 pm    Post subject: Reply with quote

แอร์พอร์ตลิงค์ รถไฟฟ้าอันตราย เราเตือนคุณแล้ว !!
โดย MGR Online
25 มีนาคม 2559 13:20 น.

จากกรณีเหตุรถไฟฟ้า แอร์พอร์ต เรลลิงก์ ต้องหยุดกลางรางระหว่างสถานีหัวหมากไปสถานีรามคำแหง เมื่อช่วงเช้า วันที่ 21 มีนาคม ที่ผ่านมา ซึ่งเบื้องต้นพบว่า สาเหตุมาจากกระแสไฟฟ้าที่สถานีรามคำแหงขัดข้อง

ดร.ประมวล สุธีจารุวัฒน์ อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อมูล ความเห็นส่วนตัวผ่าน เฟซบุ๊ก “Assistant Professor Pramual Suteecharuwat, Ph.D.” กรณีความบกพร่องของรถไฟฟ้า “แอร์พอร์ต เรลลิงค์” ดังนี้

เริ่มมีสื่อมวลชนโทรศัพท์มาสอบถามผมเรื่อง Airport Rail Link (ปกติผมจะเรี ยกโครงการนี้ย่อๆ ว่า SARL ~ Suvarnabhumi Airport Rail Link) ขอให้ความเห็นไว้ตรงนี้ ตามนี้นะครับ

กรณีข้อบกพร่องของ SARL ในเช้าวันนี้ มีข้อพิจารณาที่ต้องทำความเข้าใจ และคิดต่อไปยาวๆ เพื่ออนาคต 8-9 ประเด็น

1. ภายใต้เงื่อนไขที่กระบวนการบริหารจัดการงานซ่อมบำรุงของ SARL ที่แตกต่างไปจากโครงการ BTS และ MRT คือ ทาง SARL พยายามจะบริหารกิจกรรมการซ่อมบำรุงด้วยตัวเอง (ไม่ได้ outsource ให้กับเอกชน อย่างที่ BTS และ MRT จ้างบริษัท Siemens เป็นผู้ดำเนินการ) สิ่งที่ SARL ประสบปัญหาและเป็นอุปสรรคหลักจนส่งผลต่อประสิทธิภาพการบริหารจัดการงานซ่อมบำรุงคือ ไม่สามารถจัดหาอะไหล่ได้ทันตามเวลา อันเนื่องจากกระบวนการจัดซื้อที่ผูกกับระเบียบของกระทรวงการคลัง และต้องผ่านการพิจารณาจากบอร์ดบริหาร 2 บอร์ด คือ บอร์ดของ SARL เอง (บริษัท รถไฟฟ้า รฟท จำกัด หรือ รฟฟท.) และบอร์ดของ รฟท.

แปลว่า ปัญหาใหญ่สุดของ SARL แท้ที่จริงไม่ใช่แค่เรื่องเหตุสุดวิสัยอย่างที่เกิด แต่เป็นเรื่องวิธีบริหารจัดการ และ business model ที่จะต้องได้รับการแก้ไขผ่านการปฏิรูปองค์กร

ถ้าไม่มีใครทำอะไร อีกไม่นานปัญหาแบบวันนี้ก็จะวนกลับมาอีก ซ้ำแล้วซ้ำเล่า

2. กระบวนการซ่อมบำรุงโดยพนักงานของ รฟฟท. ได้ผ่านการเรียนรู้มาแล้วนับตั้งแต่เปิดดำเนินการในเดือนสิงหาคม พ.ศ.2553 จวบจนถึงปัจจุบัน ก็ให้บริการมาแล้ว 5-6 ปี ในระหว่างนี้ก็ผ่านวิกฤติมาแล้วหลายครั้ง เรียกได้ว่าพนักงานซ๋อมบำรุงของ รฟฟท. ได้ใช้เวลาสั่งสมประสบการณ์มาพอสมควร และมีขีดความสามารถที่รับมือได้

ทว่าปัญหาอันเกิดจากการขาดแคลนอะไหล่ จนไม่สามารถดำเนินการซ่อมบำรุงได้ตามรอบเวลาที่ควรกระทำ น่าจะเป็นต้นเหตุหลักที่นำไปสู่สารพัดปัญหาที่คล้ายเป็นระเบิดเวลาของ SARL

ความไร้ประสิทธิภาพนี้ กำลังเริ่มสั่นคลอนตัว รฟฟท. เอง เมื่อพนักงานในแผนกงานซ่อมบำรุงส่วนหนึ่งเริ่มย้ายตัวเองไปอยู่บริษัทอื่นๆ ขีดความสามารถในทีมบริหารจัดการงานซ่อมบำรุงก็กำลังจะเริ่มมีปัญหาในไม่ช้า และเรื่องนี้จะกลายเป็นเรื่องใหญ่ที่จะผูกรวมไปกับเรื่องการขาดแคลนอะไหล่เพื่อการซ่อมบำรุงอย่างแน่นอน

3. วันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ.2557 ผมและทีมงานวิจัยที่จุฬาฯ ได้เคยออกมาตั้งโต๊ะแถลงข่าวในนามจุฬาฯ เรื่องความปลอดภัยของระบบ SARL ซึ่งในขณะนั้นวิ่งใช้งานไปแล้วราวๆ 1.3 ล้านกิโลเมตร (ควรทราบว่า ตามคู่มืองานซ่อมบำรุงระบุว่าระบบ SARL จะต้องถูกนำเข้าสู่กระบวนการซ๋อมบำรุงหนัก หรือ overhaul เมื่อวิ่งใช้งานครบ 1.2 ล้านกิโลเมตร บวกไม่เกิน 10% แล้วแต่สภาพการใช้งาน) นั่นหมายความว่า ในขณะเวลานั้น SARL ถึงวาระต้องซ่อมบำรุงใหญ่แล้ว แต่เท่าที่ผมทราบ จวบจนถึงปัจจุบัน SARL วิ่งมาแล้ว 1.6-1.7 ล้านกิโลเมตร โดยที่ยังไม่ผ่านการซ่อมบำรุงหนัก!

ถามว่า แล้วทำไมไม่ดำเนินการซ่อมบำรุงหนัก?

ตอบได้ว่า ปัญหาเริ่มต้นที่การไม่มีอะไหล่ ตามมาด้วยความพยายามของบอร์ดบริหารตั้งแต่ชุดเก่า (ก่อนการปฏิวัติ) และบอร์ดชุดปัจจุบัน ต่างพยายามจะว่าจ้างบริษัทเอกชนรายอื่น ให้มารับผิดชอบกิจกรรมการซ่อมบำรุง แทนการบริหารจัดการด้วยพนักงานของ รฟฟท เอง ซึ่งในกรณีนี้ โดยส่วนตัว ผมเห็นว่าเป็นการแก้ปัญหาไม่ตรงจุดนะครับ

(ข้อมูลน่าสนใจ และต้องสนใจเป็นพิเศษ คือ ณ วันนี้ เจ้าของเทคโนโลยีอย่าง Siemens เองก็ไม่กล้ารับงานซ่อมบำรุง SARL ในขณะนี้นะครับ เพราะสภาพรถ “บอบช้ำ” เกินกว่าบริษัทจะเสี่ยงรับผิดชอบไหว ยกเว้นว่าเงินหนาพอๆ กับซื้อขบวนรถไฟฟ้าใหม่กันเลยทีเดียว)

ล่าสุด ทราบว่าปัจจุบัน รฟฟท. กำลังอยู่ในระหว่างร่างสัญญาเพื่อว่าจ้างเอกชนรายหนึ่งมารับงาน ซึ่งผมไม่ทราบว่าจะสามารถเริ่มงานได้เมื่อไร

สรุปเลยนะครับ สถานะ SARL ตอนนี้ พูดหยาบๆ แบบไม่เกรงใจใคร คือ วิกฤติ และไม่มีใครรับรองความปลอดภัยได้นะครับ

4. ในระยะสั้น ระหว่างที่ รฟฟท. กำลังมีปัญหาการจัดการงานซ่อมบำรุง สิ่งที่ต้องเตรียมการเพื่อรองรับเหตุฉุกเฉิน และเหตุเมื่อเช้าได้พิสูจน์ด้วยตัวมันเองว่า รฟฟท. take action หรือตอบสนองกับเหตุฉุกเฉินช้าเกินไป คือ ต้องเตรียมมาตรการฉุกเฉินเพื่อรองกับเหตุไม่พึงประสงค์ให้เร็วกว่านี้

หากอะไหล่ไม่มี ซ่อมไม่ 100% ก็ต้อง response กับปัญหาเร็วกว่านี้ครับ

5. SARL มีขบวนรถที่ซื้อมาใช้งานครั้งแรก เป็นรถแบบ Express 4 ขบวน และรถแบบ City Line 5 ขบวน ใช้ๆ ไป ก็จอดเสีย 1 ขบวน เพื่อถอดอะไหล่มาซ่อมให้กับ 8 ขบวนที่เหลือ แปลว่าจริงๆ ก็วิ่งได้แค่ 8 ขบวน

ปลายปี 2558 ที่ผ่านมา ทาง รฟฟท. ได้ยุติการให้บริการรถไฟด่วน Express เนื่องเพราะหลายเหตุผล ส่วนหนึ่งก็มาจากปัญหาการซ่อมบำรุง ทำให้มีการดัดแปลงสภาพรถไฟ Express มาให้บริการแบบ City Line

เท่าที่ผมทราบ ขณะนี้จอดเสียไปแล้ว 2 ขบวน วิ่งได้ 7 ขบวน แต่เอาเข้าจริงๆ ก็มีรถวิ่งได้แน่ๆ 5-6 ขบวน ด้วยสภาพความพร้อม 60-70%

6. ผมยังยืนยันคำพูดเดิมที่เคยพูดไว้เมื่อเดือนสิงหาคม 2557 ว่า ระบบตรวจสอบความพร้อมของ SARL จะไม่ยอมให้รถที่มีปัญหาออกไปวิ่ง แต่การไม่ผ่านการซ่อมบำรุงหนัก ทะลุไปถึง 1.6-1.7 ล้านกิโลเมตร ย่อมหมายถึง “ทุกอย่างกำลังดำเนินไปภายใต้ความไม่แน่นอน” ไม่มีใครรับรองผลได้นะครับ

7. เหตุสุดวิสัยร้ายแรงอาจจะเกิดได้จากความบกพร่องของสภาพราง (แบบเดียวกับกรณี BTS แต่ที่น่ากลัวกว่า คือ SARL ไม่ได้ผ่านกระบวนการตรวจสอบแบบเดียวกับที่ BTS ทำ) และการตอบสนองต่อเหตุฉุกเฉินช้ากว่าที่ควรจะเป็น เช่น การปล่อยให้ผู้โดยสารติดอยู่ในรถนานกว่า 30 นาที โดยไม่มีการช่วยระบายอากาศ อาจส่งผลเสียรุนแรง และเหตุวันนี้คือสัญญาณเตือนที่ต้องระวัง

8. ปัญหาของ SARL ดูผิวเผินเป็นเรื่องการซ่อมบำรุง แต่ถ้ามองลึกๆ มองยาวๆ นี่คือเรื่องโครงสร้างองค์กร เรื่องการบริหารจัดการ เรื่องยุทธศาสตร์ ไล่เรียงไปจนถึงเรื่องความไม่พร้อมของไทยเอง ในการจะรับมือกับระบบขนส่งระบบรางที่จะมีขนาดใหญ่ขึ้นๆ

เรื่องแค่นี้ปัจจุบันยังแก้ไม่ได้ แล้วเรื่องในอนาคตจะแก้กันได้อย่างไร

9. SARL อยู่ในสภาพวิกฤติ เวลาได้พิสูจน์ด้วยตัวมันเองแล้วว่า เงื่อนไขการบริหารจัดการในปัจจุบัน ไม่ทำให้ทั้ง รฟฟท. + รฟท. สามารถทำอะไรได้ (ถ้าทำได้ คงทำไปนานแล้ว)

นี่คือเวลาที่ทางรัฐบาล จะต้องดำเนินการอะไรบางอย่าง ก่อนที่ทุกอย่างจะสายเกินไป

**************************
Back to top
View user's profile Send private message
Aesthetics
3rd Class Pass
3rd Class Pass


Joined: 31/07/2015
Posts: 30

PostPosted: 26/03/2016 12:09 pm    Post subject: Reply with quote

จากการบริหารAPRL ถ้าโครงสร้างการบริหารเป็นแบบเดิมแล้วต้องไปต่อกันที่รถไฟฟ้าความเร็วสูง เห็นอนาคตได้เลยครับว่าจะเกิดอะไรขึ้น ผมว่าถ้าเราจะพัฒนาระบบรางในประเทศอย่างจริงจัง เห็นทีต้องวางโครงสร้างการบริหารกันใหม่ละครับ ถ้าให้ ร.ฟ.ท.มารับหน้าทีในเรื่องรถไฟความเร็วสูง ก็เห็นจะไม่เหมาะครับ บังเอิญได้นั่งเครื่องเมื่อคืน ถ้าแนวทางในการบริหารระบบรางในประเทศ นำรูปแบบที่คล้ายกับการบริหารของการท่ามาใช้ ความเห็นส่วนตัวผมว่าก็ดูน่าสนใจไม่น้อยนะครับ แบ่งระหว่าง เจ้าของรางเจ้าของสถานี แยกจากผู้ให้บริการเดินรถ ออกจากกัน แต่ก็ต้องมีมาตรฐานกลางในการตรวจสอบและใช้อ้างอิง เหมือนที่มาตรฐานการบินเค้ามี น่าสนใจไม่น้อยนะครับ

ถ้ารูปแบบของรถไฟฟ้าความเร็วสูง ควรแยกออกมาต่างหากไม่เกี่ยวกับร.ฟ.ท. ผมนึกถึงในช่วงเริ่มก่อตั้งการบินไทยในช่วงเริ่มแรกที่Scandinavian Airlines (SAS) มาร่วมทุนและมาเป็นพี่เลี้ยงให้ในเรื่องการบริหาร operation การตลาด ถ้าไม่นับรวมเรื่องปัญหาในปัจจุบัน ที่เกิดขึ้น เป็นประวัติศาสตร์ในเรื่องการก่อตั้งธุรกิจที่น่าสนใจ น่าจะนำมาปรับใช้กับรถไฟฟ้าความเร็วสูงได้ ถ้าจะใช้สูตรเดียวกับการบินไทย หน้าที่ของรัฐเพียงแค่ทำอย่างไรเมื่อดำเนินการไปแล้วพยายามไม่ให้ประวัติศาสตร์ที่ไม่ดีที่เกิดขึ้นกับการบินไทย เกิดขึ้นซ้ำรอย แค่นั้นเองครับ


Last edited by Aesthetics on 26/03/2016 12:20 pm; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Aesthetics
3rd Class Pass
3rd Class Pass


Joined: 31/07/2015
Posts: 30

PostPosted: 26/03/2016 12:20 pm    Post subject: Reply with quote

Aesthetics wrote:
จากการบริหารAPRL ถ้าโครงสร้างการบริหารเป็นแบบเดิมแล้วต้องไปต่อกันที่รถไฟฟ้าความเร็วสูง เห็นอนาคตได้เลยครับว่าจะเกิดอะไรขึ้น ผมว่าถ้าเราจะพัฒนาระบบรางในประเทศอย่างจริงจัง เห็นทีต้องวางโครงสร้างการบริหารกันใหม่ละครับ ถ้าให้ ร.ฟ.ท.มารับหน้าทีในเรื่องรถไฟความเร็วสูง ก็เห็นจะไม่เหมาะครับ บังเอิญได้นั่งเครื่องเมื่อคืน ถ้าแนวทางในการบริหารระบบรางในประเทศ นำรูปแบบที่คล้ายกับการบริหารของการท่ามาใช้ ความเห็นส่วนตัวผมว่าก็ดูน่าสนใจไม่น้อยนะครับ แบ่งระหว่าง เจ้าของรางเจ้าของสถานี แยกจากผู้ให้บริการเดินรถ ออกจากกัน แต่ก็ต้องมีมาตรฐานกลางในการตรวจสอบและใช้อ้างอิง เหมือนที่มาตรฐานการบินเค้ามี น่าสนใจไม่น้อยนะครับ

ถ้ารูปแบบของรถไฟฟ้าความเร็วสูง ควรแยกออกมาต่างหากไม่เกี่ยวกับร.ฟ.ท. ผมนึกถึงในช่วงเริ่มก่อตั้งการบินไทยในช่วงเริ่มแรกที่Scandinavian Airlines (SAS) มาร่วมทุนและมาเป็นพี่เลี้ยงให้ในเรื่องการบริหาร operation การตลาด ถ้าไม่นับรวมเรื่องปัญหาในปัจจุบัน ที่เกิดขึ้น เป็นประวัติศาสตร์ในเรื่องการก่อตั้งธุรกิจที่น่าสนใจ น่าจะนำมาปรับใช้กับรถไฟฟ้าความเร็วสูงได้ ถ้าจะใช้สูตรเดียวกับการบินไทย หน้าที่ของรัฐเพียงแค่ทำอย่างไรเมื่อดำเนินการไปแล้วพยายามไม่ให้ประวัติศาสตร์ที่ไม่ดีที่เกิดขึ้นกับการบินไทย เกิดขึ้นซ้ำรอย แค่นั้นเองครับ
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44860
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 26/03/2016 12:43 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
แอร์พอร์ตลิงค์ รถไฟฟ้าอันตราย เราเตือนคุณแล้ว !!
โดย MGR Online 25 มีนาคม 2559 13:20 น.

แอร์พอร์ตลิงค์ แอร์พอร์ตเละ
โดย ผู้จัดการรายวัน 26 มีนาคม 2559 06:46 น.

Click on the image for full size
สภาพของผู้โดยสารและความโกลาหลอลหม่านที่เกิดขึ้นกับ รถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงค์ ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2559.

ผู้จัดการสุดสัปดาห์ -ความโกลาหลอลหม่านที่เกิดขึ้นกับ รถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงค์ ที่เกิดขัดข้องกะทันหันในช่วงเวลาเร่งด่วนของเช้าวันจันทร์ที่ 21 มีนาคม 2559 ที่ผ่านมา บอกได้เลยว่านี่ไม่ใช่ครั้งแรกและครั้งสุดท้ายอย่างแน่นอน เพราะแอร์พอร์ตลิงค์แท้ที่จริงคือแอร์พอร์ตเละมาตั้งแต่ริเริ่มโครงการแล้ว เปรียบได้กับการกลัดกระดุมเม็ดแรกผิดก็ผิดเรื่อยมา และจะมีปัญหาเรื่อยไปไม่สิ้นสุดจนกว่าจะหยุดวิ่งนั่นแหละ

07.50 น.เช้าวันจันทร์ 21 มีนาคม ที่ผ่านมา การจ่ายไฟฟ้าของการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.)เกิดขัดข้อง และระบบไฟฟ้าสำรองของแอร์พอร์ตลิงค์ชำรุด ทำให้ไม่สามารถจ่ายไฟไปยังขบวนรถได้ ขบวนรถต้องหยุดวิ่งกะทันหันระหว่างสถานีหัวหมากและสถานีรามคำแหง ฝั่งมุ่งหน้าพญาไท ผู้โดยสารในขบวน 700 คน ที่แออัดและอบอ้าวอยู่ภายในตัวรถด้วยความตื่นตระหนก เป็นลมล้มพับไป 7 ราย ที่เหลือจึงรีบช่วยกันเปิดประตูฉุกเฉินหนีตายจากการขาดอากาศหายใจ

“....อะไรคือขั้นตอนในการปฏิบัติเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน อะไรคือไม่มีการสื่อสารหรือประกาศให้ผู้โดยสารทราบถึงสถานการณ์ที่เกิดขึ้น อะไรคือไม่เปิดประตูฉุกเฉินเมื่อตัดกระแสไฟและอากาศ อะไรคือมาบอกว่าคืนค่าโดยสารให้กับทุกคน เพราะแท้จริงแล้ว ค่าโดยสารเพียงไม่กี่สิบบาท แลกไม่ได้เลยกับชีวิตของคนนับพัน ถ้าหากทุกคนต่างไม่ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน อาจจะมีโศกนาฏกรรมเกิดขึ้น และสุดท้าย อะไรคือความรับผิดชอบของผู้บริหาร ร.ฟ.ท. และ แอร์พอร์ตเรลลิงค์” หนึ่งในเสียงสะท้อนของผู้โดยสารที่ประสบเหตุในวันดังกล่าวที่มีการแชร์ในโลกโซเชียล

Click on the image for full size
ที่น่าสมเพชไปกว่านั้นก็คือ หน่วยงานที่รับผิดชอบอย่าง การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ที่เป็นแม่ บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด ที่เป็นบริษัทลูก คณะกรรมการการรถไฟแห่งประเทศไทย (บอร์ด ร.ฟ.ท.) และกระทรวงคมนาคม ซึ่งเป็นผู้กำกับดูแลเชิงนโยบาย รับรู้ถึงปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับแอร์พอร์ตเรลลิงค์เป็นอย่างดี แต่กลับยังปล่อยให้ปัญหาเกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำ เล่าซ้ำซาก ไม่มีการแก้ไขโดยไม่รู้ชะตากรรมของผู้โดยสารว่าจะโชคดีที่รอดมา ได้(อีกครั้ง) หรือไม่ เพราะรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงค์ ปัจจุบันวิ่งมาแล้ว 1.6-1.7ล้านกิโลเมตร แต่ยังไม่มีการซ่อมบำรุงหนัก ทั้งที่ต้องซ่อมตั้งแต่ 1.2ล้านกิโลเมตรแล้ว

และนั่นเป็นที่มาของการที่นายออมสิน ชีวะพฤกษ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ในฐานะที่กำกับดูแล ร.ฟ.ท.ถึงกับออกโรงว้ากแสดงความไม่พอใจ พล.อ.ดรัณ ยุทธวงษ์สุข กรรมการและรักษาการกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท.จำกัด ผู้ให้บริการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงค์

Click on the image for full size
.ออมสิน ชีวะพฤกษ์ รมช.คมนาคม

Click on the image for full size
พล.อ.ดรัณ ยุทธวงษ์สุข กรรมการและรักษาการกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด หรือผู้ให้บริการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์
แต่จะรวมถึง พล.อ.ธวัชชัย สมุทรสาคร ในฐานะประธานคณะกรรมการบริหาร (บอร์ด) บริษัทรถไฟฟ้า ร.ฟ.ท.จำกัด ด้วยหรือไม่ ไม่ทราบได้ เพียงแต่งานนี้ ทำเอา “บิ๊กเยิ้ม” เต้นเร่าๆ อยู่ไม่น้อย

“ผมสอบถาม พล.อ.ดรัณว่าไม่ได้ดูแลกันเลยหรือซึ่งพล.อ.ดรัณตอบว่าดูแล เลยถามต่อว่ารู้มานานหรือยังพล.อ.ดรันตอบว่ารู้มาตั้งแต่เดือนต.ค.58 ผมจึงไม่เข้าใจในเมื่อเขามีอำนาจในการจัดซื้อโดยวิธีพิเศษในวงเงิน 25 ล้านบาทที่ทาง ร.ฟ.ท.มอบอำนาจให้หมดแล้ว และงบประมาณก็มีว่าทำไมไม่ทำ ผมกำลังตรวจสอบอยู่ว่าเมื่อรู้หมดแล้วทำไมถึงไม่จัดการ ตอนผมเป็นประธานบอร์ดร.ฟ.ท.ได้อนุมัติให้เขาทำซ่อมแซมใหญ่ (โอเวอร์ฮอล) ทั้ง 9 ขบวน แต่กลับทำพาเชียลโอเวอร์ฮอล แล้วที่ขออนุมัติไป 380 ล้านบาทเอาไปทำอะไรกัน เมื่ออนุมัติแล้วยังจะต้องให้ไปนั่งดูอีกหรือว่าได้ทำอะไรไปบ้าง อย่างนี้ก็เกินไปแบบนี้ต้องลงโทษกันบ้างแล้ว

“เมื่อวันที่ 21 มี.ค.ผมก็เหนื่อยเดินไปจนถึงตัวรถที่เกิดเหตุ 2กิโลเมตรกว่า ผมถามว่าผู้บริหารคุณอยู่ไหน พล.อ.ดรัณอยู่ไหนเจ้าหน้าที่รายงานว่าพล.อ.ดรัณโทรศัพท์มาว่ารออยู่ที่ออฟฟิศ ผมเลยบอกว่าทำไมไม่เดินทางมาแก้ปัญหา เพราะเรื่องพวกนี้ผมเคยพูดกับนายพาที สารสิน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท สายการบินนกแอร์ จำกัดตอนที่เกิดปัญหากับนกแอร์ว่าการเป็นผู้บริหารสูงสุดและรับผิดชอบองค์กร เมื่อเกิดปัญหาคุณต้องมาถึงที่เกิดเหตุก่อนคนอื่น หรือคุณอยู่หัวหินแล้วบอกว่าไปถ่ายแบบก็ไม่เป็นไร เพราะไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนในโลกสามารถโทรศัพท์สั่งการได้ว่าต้องแก้ปัญหาอย่างไร เท่านั้นก็จบ แต่กลับไม่ทำปล่อยให้ผู้โดยสารลำบาก ผมบอกนายพาทีอย่างนี้เลย กรณีนี้ก็เช่นเดียวกัน แทนที่จะลงไปที่เกิดเหตุเพื่อแก้ปัญหาแต่ต้น แต่ปล่อยจนถึงขั้นผู้โดยสารทนไม่ได้ ต้องเดินตามรางออกมาท่ามกลางอากาศร้อนๆ มันไม่ได้”นายออมสิน กล่าว

Click on the image for full size
“บิ๊กเยิ้ม” พล.อ.ธวัชชัย สมุทรสาคร ประธานคณะกรรมการบริหาร (บอร์ด) บริษัทรถไฟฟ้า ร.ฟ.ท.จำกัด
ขณะที่ พล.อ.ธวัชชัย สมุทรสาคร ประธานคณะกรรมการบริหาร (บอร์ด) บริษัทรถไฟฟ้า ร.ฟ.ท.จำกัด ฉายา “บิ๊กเยิ้ม”อดีตแม่ทัพภาคที่ 2 องครักษ์พิทักษ์ “บิ๊กตู่”เพื่อนร่วมรุ่นเพื่อนเลิฟเพื่อนรัก พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) และน้องรัก พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม กล่าววาจาแบบมั่นมากว่ามีเขาแอร์พอร์ตลิงค์จึงวิ่งอยู่

“จริงๆ ที่ผมมานั่งมาในตำแหน่งประธานบอร์ด ร.ฟ.ท.เพราะพี่ออมสิน (นายออมสิน ชีวะพฤกษ์ รมช.คมนาคม) ชวนมา ตอนหลังไม่รู้ไปกินผึ้งอะไรมา และความรู้สึกผม คนที่เป็นหัวหน้าไม่จำเป็นต้องไปอยู่ในพื้นที่ มันต้องอยู่จุดคอนโทรล กำกับใครยังไง จะไปว่าเขาไม่ได้ ถึงไปอยู่ก็แก้ไขอะไรไม่ได้ และเรื่องนี้ไม่จำเป็นต้องเคลียร์ใจกับ รมช.คมนาคม เป็นเพื่อนกันอยู่แล้ว เจอหน้าด่ากันได้ ไม่มีปัญหา เราเป็นผู้ใหญ่กันแล้ว ไม่ควรมาทะเลาะกันให้คนอื่นหัวเราะ มันน่าเกลียด และผมไม่ได้โม้ ถ้าไม่ได้ผมมา แอร์พอร์ตลิงค์หยุดวิ่งไปนานแล้ว ไม่มีอะไรสักชิ้น ทะเลาะกันหมด”

ความจริงแล้ว นับตั้งแต่รถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงค์เปิดให้บริการ ก็มีปัญหามาโดยตลอดด้วยความไม่พร้อมด้วยประการทั้งปวง เรียกได้ว่าพอเริ่มเปิดบริการก็เริ่มเดินหน้าเข้าสู่วิกฤตและฉิวเฉียดเกิดโศกนาฏกรรมอย่างที่เพิ่งผ่านมาหมาดๆ และยังสุ่มเสี่ยงกันต่อไป เพราะจุดเริ่มโครงการนี้คนทำไม่ได้คิด คนคิดก็อิ่มอร่อยสบายใจเฉิบไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ส่วนคนที่มารับหน้าที่บริหารจัดการ คือ ร.ฟ.ท.ที่ตั้งบริษัทลูกขึ้นมารับบริหารจัดการ ก็มีสภาพเหมือนถูกโยนขี้ใส่มือเต็มๆ และที่สำคัญผู้บริหารการรถไฟกี่ยุคกี่สมัยมาแล้วที่ไม่มีใครมีฝีมือในการบริหารจัดการ ดูจากผลงานการบริหารรถไฟไทยที่ไปแทบไม่รอดลูกผีลูกคนมาตลอดนั่นชัดเจน

โครงการแอร์พอร์ตลิงค์ มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า “โครงการระบบขนส่งมวลชนทางรถไฟเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และสถานีรับส่งผู้โดยสารอากาศยาน กรุงเทพมหานคร” ใช้เงินไปเกือบ30,000 ล้านบาทในการก่อสร้าง เปิดบริการเชิงพาณิชย์ได้จริงเมื่อวันที่ 23พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 ตลอดช่วงระยะเวลาเปิดให้บริการมากว่า 5 ปี เต็มไปด้วยปัญหา ในด้านการให้บริการ มีปัญหานับตั้งแต่ขบวนรถไม่เพียงพอต่อจำนวนผู้ใช้บริการ การไม่ตรงต่อเวลา รอนาน สถานีเข้าถึงยาก ไม่มีสิ่งอำนวยความสะดวก ซึ่งเหตุที่ขบวนรถล่าช้าเพราะเหลือขบวนรถเพียง 5 ขบวนจากที่มีอยู่ 9 ขบวน อีก 4ขบวนจอดไว้เฉยๆ เพราะถึงเวลาซ่อมใหญ่ไม่มีงบประมาณ ไม่มีอะไหล่ จึงกลายเป็นรถอะไหล่สำหรับซ่อม 5 ขบวนที่ยังวิ่งอยู่

ในด้านการซ่อมบำรุง นี่นับเป็นปัญหาใหญ่ เป็นภัยเงียบและสุ่มเสี่ยงอย่างยิ่งในเวลานี้ คือ ทั้งระบบราง และขบวนรถของแอร์พอร์ตลิงค์ทั้งหมด เลยเวลาที่จะต้องซ่อมบำรุงแล้ว แต่ยังไม่ได้ทำ ในส่วนของระบบราง ก่อนหน้านี้ ผู้เชียวชาญเรื่องระบบกาจราจรอย่างนายสามารถ ราชพลสิทธิ์ อดีต ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ ร่วมกับทีมช่างของแอร์พอร์ตลิงค์เอง ได้ลงพื้นที่สำรวจสภาพราง พบรางที่ชำรุด เสียหายหลายจุด ที่อาจเป็นอันตรายต่อการดเดินรถได้ มีการถ่ายภาพมาเป็นหลักฐาน แต่ผู้บริหารแอร์พอร์ตลิงค์ปฏิเสธว่าไม่เป็นความจริง ทั้งที่กระบวนการซ่อมบำรุงทั้งระบบราง และตู้รถไฟจะต้องใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 1 ปี แต่จนบัดนี้ แอร์พอร์ตลิงค์ ยังไม่ได้ทำอะไรเลย

ปัญหาที่เกิดขึ้นล่าสุดนั้นคือปลายยอดภูเขาน้ำแข็งที่โผล่ออกมาให้เห็นเพียงเล็กน้อย ดังที่ นายประมวล สุธีจารุวัฒน์ อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระบุผ่านเฟซบุ๊ก “Assistant Professor Pramual Suteecharuwat, Ph.D.” กรณีความบกพร่องของรถไฟฟ้า “แอร์พอร์ตเรลลิงค์” หรือ SARL (Suvarnabhumi Airport Rail Link) ว่ากรณีข้อบกพร่องของ SARL เมื่อเช้าวันที่21 มีนาคมที่ผ่านมานั้น แสดงให้เห็นว่ารถไฟฟ้า แอร์พอร์ตลิงค์วิกฤติ มีปัญหารุมเร้าสารพัด ทั้งขาดแคลนอะไหล่ บุคลากรมีฝีมือทยอยออก และที่สำคัญ ปัจจุบันวิ่งมาแล้ว 1.6-1.7 ล้านกิโลเมตร แต่ยังไม่ผ่านการซ่อมบำรุงหนัก ทั้งที่ต้องซ่อมตั้งแต่ 1.2 ล้านกิโลเมตรแล้ว ซึ่งสะท้อนภาพความไม่พร้อมของการบริหารจัดการระบบรางขนาดใหญ่ของไทยในอนาคต หากรัฐบาลไม่รีบแก้ไขมีปัญหาซ้ำอีกแน่

“ปัญหาเริ่มต้นที่การไม่มีอะไหล่ ตามมาด้วยความพยายามของบอร์ดบริหารตั้งแต่ชุดแรกจนถึงชุดปัจจุบัน ต่างพยายามจะว่าจ้างบริษัทเอกชนรายอื่นให้มารับผิดชอบกิจกรรมการซ่อมบำรุง แทนการบริหารจัดการด้วยพนักงานของ ร.ฟ.ท.เอง และที่น่าตกใจคือเจ้าของเทคโนโลยีอย่าง ซีเมนส์ (Siemens) เองก็ไม่กล้ารับงานซ่อมบำรุงSARL ในขณะนี้ เพราะสภาพรถบอบช้ำเกินกว่า บริษัทจะเสี่ยงรับผิดชอบไหว” อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สะท้อนภาพแบบเขย่าขวัญกันเลยทีเดียว

ไม่น่าเชื่อก็ต้องเชื่อว่าเรื่องทำนองนี้เกิดขึ้นได้ซ้ำแล้วซ้ำอีกภายใต้ฟ้า เมืองไทยทั้งโครงการใหญ่ในอดีตที่ผ่านมาและในอนาคตภายภาคหน้า แต่เมื่อย้อนกลับไปดูที่มาของโครงการใหญ่ระดับ 3 หมื่นล้านบาทนี้ ก็จะเข้าใจว่าทำไมแอร์พอร์ตลิงค์จึงตกอยู่ในสภาพที่อเนจอนาถดังที่เห็นในปัจจุบันนี้


โครงการแอร์พอร์ตลิงค์ ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีรัฐบาล นายทักษิณ ชินวัตร เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ.2547 และใช้เวลาเพียง 3 เดือนหลังจากนั้นในการประมูลคัดเลือกผู้ก่อสร้าง ผู้ที่ได้รับงานมูลค่า 26,000 ล้านบาทไป คือ กลุ่มบริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) ของ นายชวรัตน์ และนายอนุทิน ชาญวีรกุล ซึ่งใกล้ชิดกับนายเนวิน ชิดชอบ ที่ขณะนั้นยังเป็นขุนพลข้างกายนายทักษิณ ได้งานโยธามูลค่า 12,000กว่าล้านบาทไป และกลุ่มบีกริม-ซีเมนส์ ได้งานระบบและจัดหาขบวนรถมูลค่า13,000 ล้านบาทไป

ทั้งนี้ เมื่อการก่อสร้างเสร็จสมบูรณ์ การรถไฟฯ รับมอบงาน ผู้รับเหมาก่อสร้างรับเงินไปเรียบร้อยแล้ว ก็ถือว่า โครงการบรรลุเป้าหมายแล้ว หน้าที่ในการบริหารจัดการ เป็นของการรถไฟฯ ซึ่งตั้งบริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท.ขึ้นมาบริหารโครงการแบบฉุกละหุก ไม่มีทั้งบุคลากรที่มีประสบการณ์ ไม่มีเงิน โดยที่รัฐบาล ทั้งรัฐบาลทักษิณ รัฐบาลอภิสิทธิ์ ซึ่งพรรคภูมิใจไทยของนายเนวิน คุมกระทรวงคมนาคมส่งนายโสภณ ซารัมย์ เข้าไปทำหน้าที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ก็ไม่ได้จัดสรรงบประมาณในการดำเนินการ รวมทั้งการจัดซื้ออะไหล่ ซื้อขบวนรถเพิ่มเติม ให้การรถไฟฯ เลย จะให้ก็แต่เงินช่วยเหลือเฉพาะหน้า เมื่อแอร์พอร์ตลิงค์ เกิดปัญหาสภาพคล่อง เพราะปริมาณผู้โดยสารน้อยกว่าที่อ้างไว้ในแผนการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการมาก

แอร์พอร์ตลิงค์ จึงผิดตั้งแต่กลัดกระดุมเม็ดแรกจวบจนบัดนี้ ซึ่งสถาบันอนาคตไทยศึกษา เคยศึกษาโครงการแอร์พอร์ตลิงค์ เมื่อเดือนมิถุนายน 2556เพื่อเป็นบทเรียนสำคัญสำหรับโครงการเงินกู้ 2 ล้านล้านสมัยรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ตั้งท่าเดินหน้ากู้สิบทิศ โดยฉายให้เห็นการวาดฝันกับสิ่งที่เกิดขึ้นจริงของโครงการแอร์พอร์ตลิงค์ คือ

หนึ่ง ระยะเวลาก่อสร้าง กำหนดตามสัญญา5 พฤศจิกายน 2550 แต่เอาเข้าจริงขยายเวลาออกไป 550 วัน เพราะ ร.ฟ.ท.ไม่สามารถส่งมอบพื้นที่ตามสัญญา ที่สำคัญคือ สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน ตรวจพบว่าตอม่อเสาในบางส่วนมีรอยร้าว

สอง เวลาในการเดินรถ ตามแผน รถไฟฟ้า Express Line ออกทุก 15 นาที มีรถ 4 ขบวน ส่วนรถไฟฟ้า City Line เปิดบริการตลอด 24 ชั่วโมง แต่ของจริงคือ Express Line ออกได้ชั่วโมงละเที่ยวและเหลือเพียง 2 ขบวน ส่วน City Line ได้แค่ 06.00 - 24.00น. เท่านั้น เพราะปัญหาขาดการซ่อมบำรุงที่ดี แอร์พอร์ตลิงค์เคยหยุดวิ่งชั่วคราวแล้ว 3 ครั้ง ครั้งแรกเมื่อเดือนกันยายน 2553เพราะประแจสับหลีกที่สถานีลาดกระบังเสีย ไฟแดงที่แสดงบนหน้าปัดควบคุมผิดปกติ และเกิดความขัดข้องจากการชำรุดของแปลงถ่านรับไฟฟ้า ครั้งที่สอง รถไฟฟ้า Express Line หยุดเดินรถ 3 วัน ระหว่างวันที่ 27 - 31มีนาคม 2554 เนื่องจากแปลงรับถ่านไฟฟ้าชำรุด เดือนมิถุนายน 2555 รถไฟฟ้า Express Line ขัดข้องหยุดเดินรถครึ่งชั่วโมงเพราะระบบไฟฟ้าไม่สามารถจ่ายไฟเข้ามอเตอร์ได้ และเมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2557 รถไฟฟ้าธรรมดา (City Line) ของแอร์พอร์ตลิงค์ขบวนที่4 เบรกเสีย เกิดควันไฟคละคลุ้งไปทั่วบริเวณสถานี ผู้โดยสารตกใจวิ่งหนีอลหม่าน เพราะกลัวจะเกิดไฟไหม้ แต่เจ้าหน้าที่บอกว่าเป็นเรื่องปกติ ไม่เกี่ยวกับรถหมดสภาพ แค่ระบบเบรกไม่เสถียรเท่านั้น

สาม การคาดการณ์จำนวนผู้โดยสาร ตามแผนคาดการณ์จะมีผู้โดยสารเฉลี่ยต่อวัน 95,900 คน แต่เปิดบริการมา 5 ปี มีผู้โดยสารเฉลี่ยแค่40,811 คนต่อวัน เท่านั้น

สี่ อำนวยความสะดวกบริการเช็กอินและขนถ่ายสัมภาระผู้โดยสาร ไปยังสนามบินสุวรรณภูมิ เอาเข้าจริงแล้วมีผู้โดยสารมาใช้บริการเช็กอินสัมภาระแค่ 12 คนต่อวัน (ณ เดือนกรกฎาคม 2555) จึงเหลือแค่การบินไทยที่ให้บริการเช็กอิน ปัญหาเพราะการเช็กอินและขนถ่ายสัมภาระที่สถานีมักกะสันยังคงล่าช้า ขณะที่แผนงานอื่นก็ขาดความชัดเจนทั้งแผนพัฒนาธุรกิจและแผนปรับปรุงสิ่งอำนวยความสะดวกเชื่อมระหว่างสถานีมักกะสันกับสถานีรถไฟใต้ดินเพชรบุรี
แอร์พอร์ตลิงค์ ยังมีเรื่องฉาวๆ ที่ถูกคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.)เข้ามาตรวจสอบโครงการหลังเกิดรัฐประหาร 9 กันยาฯ 2549 ประเด็นหนึ่งที่สำคัญคือ การที่ ร.ฟ.ท.จ่ายค่าธรรมเนียมการเงินสำหรับโครงการสูงถึง 7% หรือ 1,666 ล้านบาท ขณะที่โครงการอื่นจะไม่เกิน 2.5%

ผลสอบของ คตส. พบว่า เงินที่ผู้รับเหมาเบิกไป 1,666 ล้านบาทนั้น เอาไปจ่ายค่าธรรมเนียมเงินกู้ให้ธนาคารกสิกรไทยตามที่ธนาคารคิดจริงๆ แค่ 400ล้านบาทเท่านั้น อีก 1,200 ล้านบาท เข้ากระเป๋าแบบหวานหมู แถม ร.ฟ.ท. ยังแก้สัญญาจากที่ต้องชำระค่าก่อสร้างและค่าใช้จ่ายทางการเงินพร้อมดอกเบี้ยทั้งหมดแก่ผู้รับเหมาภายหลังโครงการก่อสร้างทั้งหมดเสร็จสมบูรณ์ มาเป็นให้ชำระเงินแก่ผู้รับเหมาทันทีเมื่อครบกำหนดสัญญา (990 วัน)โดยที่ไม่มีการระบุเงื่อนไขในการรับมอบงานที่แล้วเสร็จแต่อย่างใด

เมื่อ คตส.หมดวาระ ได้โอนเรื่องแอร์พอร์ตลิงค์มาให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.) สอบต่อ ซึ่งผลสอบของ ป.ป.ช.ออกมาเมื่อเดือนเมษายน 2553 ว่า นายจิตต์สันติ ธนะโสภณ ขณะดำรงตำแหน่งผู้ว่าการ ร.ฟ.ท.กับพวกกว่า 10 คนมีความผิดวินัยร้ายแรงและความผิดทางอาญาฐานร่วมกันปฏิบัติหน้าที่ หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ส่วนนายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ อดีตรมว.กระทรวงคมนาคม ป.ป.ช.ให้ยกคำร้อง จากนั้น ป.ป.ช.ได้ส่งสำนวนให้อัยการสูงสุด เป็นผู้ส่งฟ้องคดี แต่ทุกวันนี้สำนวนยังกองอยู่ที่สำนักงานอัยการสูงสุด เหมือนกับอีกหลายๆ คดีที่ไม่มีความคืบหน้า

พร้อมๆ กับปัญหาที่เกิดขึ้นล่าสุด พล.อ.ประยุทธ์ ได้ดับฝันนักจัดซื้อรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงค์ มาเสริมขบวน City Line จำนวน7 ขบวน ขบวนละ 4 ตู้ วงเงินรวม 4,855ล้านบาท เป็นที่เรียบร้อย ใครที่กำลังฝันหวานถึงคอมมิชชั่นลืมไปก่อนได้เลยถ้ายังแก้ปัญหาไม่ได้

“เมื่อเหตุเกิดจากระบบไฟฟ้ามีปัญหา และระบบไฟฟ้าสำรองดันมาเสีย ไปดูว่าระบบไฟฟ้าสำรองมันเสียอย่างไร ให้ไปดูแล้วปรากฏว่าเสียมาหลายเดือนแล้ว และกำลังให้สอบสวนกันอยู่ ถ้าทุกคนทำงานตามหน้าที่ของตัวเอง เอาใจใส่ มันก็จบ ถ้าไม่เอาใจใส่ มันก็เป็นแบบนี้ตลอดไป มันมีผู้ปฏิบัติอยู่แล้ว ก็ต้องไปลงโทษผู้ปฏิบัติว่าจะทำอย่างไร หามาตรการอย่างไรที่จะไม่ให้เกิดขึ้นอีก การลงโทษมีทั้งเบาไปหาหนัก ไม่ใช่เอาไปฆ่าทิ้ง ไปแก้ให้ถูกจุด วันนี้ให้ไปหาทางซ่อมแซมให้มีใช้ รถที่ใช้ตอนนี้มันแน่นเกินไป เพราะเป็นที่นั่งแบบบิสซิเนสหมด อาจจะต้องเอา 4 ขบวนมาปรับปรุงก่อน ภายในเวลา 4เดือน ในเรื่องของการทำให้นั่งได้มากขึ้น ยืนได้มากขึ้น มันจะได้ขนคนได้มากขึ้น เรื่องการซื้อใหม่ยังไม่ซื้อ ซื้อใหม่ตอนที่แก้ปัญหาได้หมดแล้ว และค่อยซื้อยังมีเวลาทัน ทุกคนมุ่งแต่จะซื้อ ๆ หมด ผมยังไม่ให้ทั้งหมดหรอก” พล.อ.ประยุทธ์ กล่าว

นั่นแหละคือความเป็นจริงของรถไฟฟ้าสุดเละเทะที่ชื่อแอร์พอร์ตลิงค์ แอร์พอร์ตเละ ผู้โดยสารที่ใช้บริการนอกจากจะต้องระมัดระวังกระเป๋า สัมภาระ หาที่ยืนให้ได้ โปรดอย่าลืมรักษาชีวิตของท่านของตัวท่านเองด้วย
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> รถไฟฟ้าท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (ARL) All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 118, 119, 120 ... 159, 160, 161  Next
Page 119 of 161

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©