Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311296
ทั่วไป:13273131
ทั้งหมด:13584427
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - รวมข่าวโครงการรถไฟทางคู่
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

รวมข่าวโครงการรถไฟทางคู่
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 248, 249, 250 ... 390, 391, 392  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44640
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 24/10/2019 5:47 am    Post subject: Reply with quote

สถานีหัวหินยังสวยที่สุดแม้สร้างลอยฟ้า
เดลินิวส์ (กรอบบ่าย) ฉบับวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2562

ยกราง14เมตรลดจุดตัดแห่งที่2ของไทย อัพเดททางคู่สายใต้นครปฐม-ชุมพรลิ่ว

รายงานข่าวจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) แจ้งความคืบหน้าโครงการการก่อสร้างรถไฟทางคู่สายใต้ ช่วงนครปฐม-ชุมพร ระยะทาง 421 กิโลเมตร (กม.) 5 สัญญา วงเงิน 33,982 ล้านบาทว่าภาพรวมการก่อสร้างเป็นไปตามแผนงาน คาดว่าจะแล้วเสร็จปี 64 เปิดบริการปี 65โดยสัญญาที่ 1 ช่วงนครปฐม-หนองปลาไหล 93 กม. คืบหน้า 44% สัญญาที่ 2 ช่วงหนองปลาไหล-หัวหิน 76 กม. คืบหน้า 58% สัญญาที่ 3 ช่วงหัวหิน-ประจวบคีรีขันธ์ 84 กม. คืบหน้า 40% สัญญาที่ 4 ประจวบคีรีขันธ์บางสะพานน้อย 88 กม. คืบหน้า 35% และสัญญาที่ 5 บางสะพานน้อย-ชุมพร 80 กม. คืบหน้า 30%

รายงานข่าวจาก รฟท. แจ้งต่อว่า ในส่วนของสัญญาที่ 2 ช่วงหนองปลาไหล-หัวหิน ผู้รับเหมาเริ่มก่อสร้างสถานีหัวหินแห่งใหม่แล้ว เป็นสถานียกระดับสูง 14 เมตร อยู่ตรงข้ามเยื้องสถานีหัวหินแห่งเดิมเล็กน้อยคืบหน้า 30-40% คาดว่าเฉพาะตัวสถานีหัวหินน่าจะแล้วเสร็จเดือน มี.ค. 63 สาเหตุที่ก่อสร้างสถานีหัวหินแห่งใหม่ เพราะจะทำเป็นทางรถไฟยกระดับข้ามเมืองเหมือน จ.ขอนแก่น ซึ่งถือเป็นสถานีรถไฟทางคู่แห่งที่ 2 ของไทยที่สร้างเป็นทางยกระดับ เนื่องจากเมืองหัวหินมีจุดตัดทางผ่านเมืองเยอะและเป็นเมืองที่มีขบวนรถไฟวิ่งผ่านจำนวนมาก รางยกระดับจะช่วยแก้ปัญหารถติดในเมืองเพิ่มความปลอดภัยและทำให้การเดินรถใช้เวลารวดเร็วมากขึ้นโดยทางรถไฟจะเริ่ม ยกระดับตั้งแต่จุดก่อนเข้าอุโมงค์ เส้นเข้าหัวรันเวย์สนามบิน กม. 212 ไปถึงสถานีหนองแก จ.ประจวบ คีรีขันธ์ ระยะทางประมาณ 4 กม.

รายงานข่าวจาก รฟท. แจ้งอีกว่า ระหว่างก่อสร้างสถานีหัวหินแห่งใหม่จะบูรณะสถานีหัวหินแห่งเก่าไปพร้อม ๆ กัน โดยเชิญเจ้าหน้าที่จากกรมศิลปากรมาร่วมดำเนินการด้วยเพราะเป็นอาคารอนุรักษ์ที่จะดำเนินการอะไรต้อง อยู่ภายใต้การพิจารณาของกรมศิลปากร ขณะที่โครงสร้างสถานี ใหม่ยังเน้นออกแบบสถาปัตยกรรมสวยงามไม่แพ้สถานีเดิม เช่น เสาตอม่อตัดขอบเป็นบัว สีที่ใช้จะเน้นสีแดงหมากสุก และสีขาวครีม ตัวอักษรบนป้ายต่าง ๆ ใช้แบบอักษรเดียวกับสถานีเดิม

รายงานข่าวจาก รฟท. แจ้งด้วยว่า ได้รับโจทย์จาก รฟท.ว่าสถานีแห่งใหม่ต้องมีสถาปัตยกรรมที่สอดคล้องกับสถาปัตยกรรมเดิมและต้องไม่บดบังความสวยงามของสถานีเดิมที่เรียกว่าเป็นสถานีรถไฟที่สวยที่สุดในประเทศไทยอย่างไรก็ตามการจะดำเนินการอะไรเกี่ยวกับเมืองหัวหินถือเป็นโจทย์ที่ท้าทายของทีมสถาปนิก โดยเฉพาะสถานีหัวหินมีพลับพลาพระมงกุฎเกล้าฯ มีห้องทรงงานเป็นโจทย์สำคัญ และที่สถานีแห่งนี้มีประชาชนและนักท่องเที่ยวมาเยี่ยมชมจำนวนมาก จึงต้องอนุรักษ์เป็นพิพิธภัณฑ์ไว้อย่างดีบันทึกเรื่องราวต่าง ๆ ของสถานีรถไฟตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 24/10/2019 6:11 am    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
อลังการ​งานสร้างตอม่อทางรถไฟ ช่วงมวกเหล็ก
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=2596332463759554&set=a.463715857021236&type=3&theater


ทางยกระดับในโครงการรถไฟทางคู่ มาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระ ข้ามหุบเขา มวกเหล็ก



วันนี้ไปทอดกฐิน ที่โคราช เลยแวะไปชมโครงการ ทางคู่ มาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระ ที่มวกเหล็ก ที่เป็นทางยกระดับ แก้ปัญหาความชันในหุบเขามวกเหล็ก ซึ่งจะทำให้ลดเวลาเดินทางที่รถไฟจะต้องขึ้นลงเขา เร่งเครื่อง

ซึ่งปรกติกว่าจะข้ามหุบเขามวกเหล็กได้ต้องใช้เวลา 15-30 นาที จะร่นเวลาเหลือไม่ถึง 10 นาทีได้เลย

ดังนั้น โครงการทางคู่ไม่ใช่แค่ทำทางคู่กับทางรถไฟเดิมไปเฉยๆนะจ๊ะ แต่มีการทำแก้ปัญหาการเดินทางเดิม ที่ทำให้เดินทางช้า ทั้ง อุโมงค์ และสะพานข้ามหุบเขาแบบนี้ด้วยครับ

ปล.เห็นคนแชร์ไปเยอะในแนวว่าเป็นความเร็วสูง ขอบอกก่อนว่า เส้นนี้ไม่ใช่ความเร็วสูงนะครับ ความเร็วสูงจะทำทางยกระดับ คล้ายๆกัน มาขนานกับเส้นนี้อีกทีนึงครับ

Quote:
1. ทำไมต้องทำสะพาน
ตอบ - ลักษณะทางกายภาพของมวกเหล็กคือเป็นแอ่ง รถไฟจะวิ่งจากหินลับ มันลงแอ่งมาเลย แล้วไปขึ้นเนินต่อที่กลางดง ทางรถไฟจะต้องคดโค้งไปตามสันเนินเพื่อให้ไต่ระดับขึ้นไปได้ (ลองไปเปิดดู Google mapตาม)
สะพานนี้จึงเป็น Shortcut ข้ามมวกเหล็กไปเลย ลอยฟ้าแม่ม แล้วย้ายสถานีไปอยู่ตรง รร.นายเรืออากาศแห่งใหม่ที่เข้าจากทางถนนมิตรภาพได้ง่ายกว่าสถานีเก่าครับ
2. เวลาลดเยอะไหม
จากแก่งคอย - ปากช่อง ของเดิมที่ไปตามภุมิประเทศแบบตามมีตามเกิด ใช้เวลาประมาณ 1.5 - 2 ชม. ได้ ด้วยความเร็วตั้งแต่ 45-90 กม./ชม. แต่ทางใหม่นี้คือมีแนวทางใหม่ (new alignment) ที่ช่วยให้ทางตรงมากขึ้น ลดการคดโค้งโดยไม่จำเป็น ความเร้วอัพไปถึง 120-140 ทำให้แก่งคอย - ปากช่อง ใช้เวลาประมาณ 40 นาที เศษๆ เท่านั้นครับ (หรืออาจจะเร็วกว่า)

https://www.facebook.com/Thailand.Infra/posts/766858150419333
https://www.youtube.com/watch?v=gxT-C04WkFE

อุโมงค์ผาเสด็จ
https://www.facebook.com/Thailand.Infra/photos/p.767553243683157/767553243683157/?type=3&theater
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44640
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 24/10/2019 9:01 am    Post subject: Reply with quote

ความคืบหน้างานก่อสร้างรถไฟทางคู่สายใต้ ช่วงสถานีบ้านโป่ง - ราชบุรี
Oct 16, 2019
Banpong station

ถ่ายจากตู้โดยสาร ธนบุรี - หลังสวน 16/10/2019


https://www.youtube.com/watch?v=i4aqQ9Rnci8
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44640
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 25/10/2019 5:48 pm    Post subject: Reply with quote

หนีตายกระเจิง! แท่งปูนรถไฟรางคู่ หนัก 100 ตัน ล้มทับคนงานดับ เพื่อนเล่านาทีระทึก!
ข่าวสดออนไลน์ วันที่ 25 ตุลาคม 2562 - 17:23 น.

Click on the image for full size

หนีตายกระเจิง! แท่งปูนรถไฟรางคู่ หนัก 100 ตัน ล้มทับคนงานดับ เพื่อนเล่านาทีระทึก! รถแบกโฮกำลังเข้ามาดึงแผ่นเหล็กท้องแบบออกมาจากตัวแท่งปูน จู่ๆ ก็ล้มลงมา
แท่งปูนรถไฟรางคู่ วันที่ 25 ต.ค. ร.ต.อ.สมชาย ยอดดำเนินกุล รองสารวัตร (สอบสวน) สภ.ธงชัย จ.ประจวบคีรีขันธ์ ได้รับแจ้งเหตุแท่งปูนคานสะพานขนาดใหญ่หนักกว่า 100 ตัน ล้มทับคนงานก่อสร้างเสียชีวิตคาที่ บริเวณสถานที่ก่อสร้างสะพานปูนรถไฟรางคู่ พื้นที่หมู่ 5 ต.ธงชัย อ.บางสะพาน จ.ประจวบคีรีขันธ์ จึงได้ประสานเจ้าหน้าที่กู้ชีพเทศบาลบ้านกรูด และเจ้าหน้าที่กู้ภัยมูลนิธิสว่างราษฎร์ศรัทธาธรรมสถาน ก่อนรุดไปตรวจสอบพร้อมแพทย์เวร ร.พ.บางสะพาน

ที่เกิดเหตุอยู่ห่างจาก สภ.ธงชัย ประมาณ 100 เมตร พบศพ นายโรจนัสก์ อุ่มยืนยง อายุ 32 ปี ซึ่งเป็นคนงานที่เข้ามาทำงานรับเหมาช่วง ถูกแท่งปูนคานสะพานรางรถไฟรางคู่ (ยู-เกรทเดอร์) น้ำหนักกว่า 100 ตัน ล้มลงมาทับเสียชีวิตจนร่างกายท่อนบนแหลกละเอียด เจ้าหน้าที่ต้องใช้รถเครนขนาดใหญ่มายกแบบเหล็กรองด้านล่างออก ซึ่งเป็นไปด้วยความยากลำบาก โดยใช้เวลานานกว่า 2 ชั่วโมง จึงจะนำศพออกมาได้

จากการสอบสวนทราบว่า นายโรจนัสก์ ได้มารับจ้างเป็นแรงงานให้กับ นายสุทธิชัย ศรีสุพรรณ ซึ่งเป็นผู้รับเหมาช่วง เข้ามาดำเนินการก่อสร้างสะพานสำหรับรถไฟรางคู่ในบริเวณดังกล่าว จากการสอบถาม นายรักเร่ เพื่อนร่วมงานผู้ตายที่อยู่ในเหตุการณ์ เล่าว่า ขณะเกิดเหตุมีคนงานอยู่ในบริเวณดังกล่าว 4 คน เพื่อช่วยดูในเรื่องของความเรียบร้อย ขณะที่รถแบกโฮกำลังเข้ามาดึงแผ่นเหล็กท้องแบบออกมาจากตัวแท่งปูนเพื่อนำไปวางไว้ด้านข้าง

จู่ๆ แท่นปูนดังกล่าวได้เกิดล้มพังลงมา ตนและเพื่อนๆ อีก 2 คน กระโดดหนีออกมาได้ทัน แต่ นายโรจนัสก์ หนีไม่ทันจึงถูกแท่นปูนดังกล่าวทับเสียชีวิตคาที่ ซึ่งเจ้าหน้าที่ตำรวจจะได้เรียกผู้เกี่ยวข้อง รวมถึงผู้รับเหมา เพื่อมาสอบปากคำเพิ่มเติมก่อนจะสรุปสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุครั้งนี้ต่อไป
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 25/10/2019 6:21 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
หนีตายกระเจิง! แท่งปูนรถไฟรางคู่ หนัก 100 ตัน ล้มทับคนงานดับ เพื่อนเล่านาทีระทึก!
ข่าวสดออนไลน์ วันที่ 25 ตุลาคม 2562 - 17:23 น.


คานคอนกรีตรถไฟรางคู่ประจวบฯชุมพรถล่ม คนงาน ดับ 1 บาดเจ็บ 3

ข่าวภูมิภาค
สยามรัฐออนไลน์
วันที่ 25 ตุลาคม 2562 - 16:27
เมื่อเวลา 13.30 น. วันที่ 25 ตุลาคม 2562 ร.ต.อ.สมชาย ยอดดำเนินกุล รองสารวัตรสอบสวน สภ.ธงชัย จ.ประจวบคีรีขันธ์ รับแจ้งเหตุแท่นปูนคานสะพานขนาดใหญ่หนักกว่า 100 ตัน ล้มทับคนงานก่อสร้างเสียชีวิตคาที่ จึงได้ประสาน จนท.กู้ชีพเทศบาลบ้านกรูด และ จนท.กู้ภัยมูลนิธิสว่างราษฎร์ศรัทธาธรรมสถาน พร้อมด้วยแพทย์เวร รพ.บางสะพาน ลงตรวจสอบจุดเกิดเหตุ


ที่เกิดเหตุบริเวณจุดก่อสร้างสะพานปูน รถไฟรางคู่ ด้านข้าง สภ.ธงชัย พื้นที่ ม.5 ต.ธงชัย อ.บางสะพาน จ.ประจวบคีรีขันธ์ พบศพ ชายไทย ทราบชื่อ คือ นายโรจนัสก์ อุ่มยืนยง อายุ 32 ปี อยู่บ้านเลขที่ 121/1 ม.7 ต.ทับสะแก อ.ทับสะแก จ.ประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งเป็นแรงงานที่เข้ามาทำงานรับเหมาช่วง ถูกแท่งปูนคานสะพานรางรถไฟ(ยู-เกรทเดอร์) น้ำหนักกว่า 100 ตัน ล้มลงมาทับเสียชีวิตในที่เกิดเหตุ โดยสภาพศพ ร่างกายท่อนบนแหลกละเอียด จนท. ต้องใช้รถเครนขนาดใหญ่ มายกแบบเหล็กรองด้านล่างออก ก่อนจะให้แพทย์เวรเข้าตรวจสอบสภาพศพ ซึ่งเป็นไปด้วยความยากลำบาก โดยใช้เวลากว่า 2 ชม. จึงจะนำศพออกมาให้ญาตินำไปดำเนินการทางศาสนาต่อไป

จากการสอบสวนเบื้องต้น ทราบว่า นายโรจนัสก์ อุ่มยืนยง ผู้เสียชีวิตได้มารับจ้างเป็นแรงงานให้กับ นายสุทธิชัย ศรีสุพรรณ ซึ่งเป็นผู้รับเหมาช่วง เข้ามาดำเนินการก่อสร้างสะพานสำหรับรถไฟรางคู่ในบริเวณดังกล่าว ซึ่งจากการสอบถาม นายรักเร่ กันเรือง อายุ 36 ปี เพื่อนร่วมงานที่อยู่ในเหตุการณ์ช่วงเวลาที่เกิดเหตุเล่าให้ฟังว่า ขณะเกิดเหตุมีคนงานอยู่ในบริเวณดังกล่าว 4 คน เพื่อช่วยดูในเรื่องของความเรียบร้อย ขณะที่รถแบคโฮว์ กำลังเข้ามาดึงแผ่นเหล็กท้องแบบออกมาจากตัวแท่งปูนเพื่อนำไปวางไว้ด้านข้าง ขณะ ตัวแท่งปูนดังกล่าวได้ล้มพังลงมา ตนและเพื่อนๆอีก 2 คน กระโดดหนีออกมาได้ทัน แต่นายโรจนัสก์ ผู้ตาย หนีไม่ทันจึงถูกแท่งปูนดังกล่าวทับเสียชีวิตในที่เกิดเหตุ ซึ่งทางเจ้าหน้าที่ตำรวจจะได้มีการเรียกผู้เกี่ยวข้อง รวมถึงผู้รับเหมา เพื่อมาสอบปากคำเพิ่มเติมก่อนจะสรุปสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุครั้งนี้ต่อไป
พิสิษฐ์​ รื่นเกษม​ ข่าวประจวบคีรีขันธ์
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44640
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 29/10/2019 8:39 pm    Post subject: Reply with quote

ไฮสปีด-รถไฟทางคู่'บิ๊กเชนจ์' ของ ร.ฟ.ท.
กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2562

เรื่อง : วรรณิกา จิตตินรากร
ภาพ : วันชัย ไกรศรขจิต

ภารกิจนี้ไม่ใช่แค่เรื่องเทคโนโลยี ยังรวมถึงการพัฒนาบุคลากร และการวางรากฐานให้ประเทศ

การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) องค์กรที่มีการขยับครั้งสำคัญ ในรอบหลายทศวรรษ เมื่อถูกมอบหมายภารกิจให้เร่งขยายเส้นทางรถไฟสายใหม่และรถไฟทางคู่ หลังจากเส้นทางรถไฟของไทยหยุดนิ่งที่ประมาณ 4,000 กิโลเมตรมานาน รวมถึงการเกิดขึ้นของรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน) ที่จะมาเป็นภาพจำใหม่ของการเดินทางด้วยระบบรางของคนไทย

วรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจบริหารทรัพย์สิน การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ที่ปัจจุบันควบตำแหน่งรักษาการผู้ว่าการ ร.ฟ.ท.ด้วย คำสั่งตาม ม.44 เมื่อวันที่ 16 พ.ค.2561 ถูกมอบหมายให้มารับภารกิจ'บิ๊ก เชนจ์' ครั้งนี้ เพื่อขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การขนส่งทางรางของประเทศ

- นิยามของ Big Change ในขณะนี้คืออะไร

คือการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานก่อน เพราะเราจะมีรถไฟทางคู่ 1,000 กิโลเมตร และยังมีเส้นทางใหม่อีก 1,500 กิโลเมตร นั่นคือทางสายใหม่ที่จะเสร็จปี 2568 ซึ่งจะทำให้มีรถไฟทางคู่เกิน 50 เปอร์เซ็นต์ ของโครงข่ายจะเป็นเน็ตเวิร์คที่สมบูรณ์มาก เกือบเท่าญี่ปุ่นแล้ว และเมื่อพัฒนาทางรถไฟ Big Change ไปแล้ว สิ่งที่ตามมาคือตลาด ถ้าเราจะทำเองต้องปรับตัวตอนนี้เลย ส่วนเรื่องไอที ถ้ามีเงินก็ซื้อได้ แต่เรื่องคนสร้างไม่ได้ ซื้อตัวกันไม่ได้แบบนักฟุตบอล ทำได้อย่างเดียวคือ จ้างทีมบริหาร แต่คนรถไฟมันต้องสร้าง และเรื่องซ่อมทาง วันนี้เราจะมีทางเพิ่มขึ้น อีก 2,500 กิโลเมตร รวมเป็น 6,500 กิโลเมตร เราจะซ่อมกันแบบเดิมไม่ได้

แต่การ Big Change จะเห็นได้ชัดว่า จะนำไปสู่การหารายได้ มันต้องคิดมีแผน ที่นำทาง มียุทธศาสตร์กำกับ เพื่อให้ คนรุ่นหลัง เพราะวันนี้มันไม่มีเลย เราต้อง พัฒนาให้คนรุ่นหลังเห็นภาพ ส่วนเรื่อง

บำรุงรักษารถจักร ล้อเลื่อนสามารถจ้างได้แต่บำรุงทาง จ้างไม่ได้เพราะต้องเป็นคนที่รู้เราต้องรู้ก่อนถึงจะไปจ้างเอาท์ซอสได้ ไม่อย่างนั้นจะคุมงานไม่ได้

- 5 ปีข้างหน้า ร.ฟ.ท.จะเปลี่ยนผ่านอย่างไร

ขอเล่าก่อนว่า ตั้งแต่ก่อตั้งรถไฟมา 120 ปี เดิมเป็นกรมรถไฟหลวง เป็นราชการ เต็มตัว พัฒนารถไฟมาจนถึงปี 2494 ถึงเวลาต้องกู้เงินมาซ่อมแซมระยะทาง จึงไปกู้ธนาคารโลก ซึ่งมีเงื่อนไขว่าระบบราชการจะไม่รอดจึงต้องเปลี่ยนเป็นรัฐวิสาหกิจ เพื่อให้มีความยืดหยุ่นมากในการบริหารธุรกิจ จึงเกิด ร.ฟ.ท.ขึ้นมา ช่วงนั้นมีทางรถไฟ 3,300 กิโลเมตร จนปัจจุบันมีทางรถไฟ 4,043 กิโลเมตร รวม 68 ปี เรามีทางรถไฟใหม่เพิ่มขึ้น ทั้งทางเก่าและทางคู่ 700 กม.

เหตุผลที่เป็นเช่นนี้เพราะรัฐบาลตั้งแต่ปี 2500 ทุ่มเงินทั้งหมดไปทำถนน ทำให้เครือข่ายทางถนนเราดีกว่า หลังพัฒนาติดต่อกันมา 40-50 ปี ส่วนโครงการรถไฟต้องให้เครดิตรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ที่สั่งให้สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ทำแผนแม่บทพัฒนารถไฟ พอเปลี่ยนเป็นรัฐบาลพรรคเพื่อไทย ก็พัฒนาต่อและเพิ่มรถไฟความเร็วสูง 2 ล้านล้านบาทเข้ามา และ มีการพัฒนารถไฟทางคู่

พอถึงรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เข้ามาเมื่อ 5-6 ปีก่อน ก็เข้ามาพัฒนาทางคู่ต่อ ทำให้แผนพัฒนาทางคู่ตอนนี้มีทั้งหมด 993 กิโลเมตร

- การลงทุนรถไฟทางคู่เพิ่มการขนส่งอย่างไร

ก่อนที่รัฐบาลจะอนุมัติแผนแม่บท ในตอนนั้น มีคำถามว่า ร.ฟ.ท.ให้อะไร กับประเทศได้บ้าง จึงบอกว่าตอนนี้ ขนส่งสินค้าทางรถไฟ 2 เปอร์เซ็นต์ ของการขนส่งสินค้าทั้งหมด หรือ ปีละ 11 ล้านตัน แต่เคยทำได้ดีที่สุด 15-16 ล้านตัน ช่วงปี 2545-2546

รัฐบาลในสมัยนั้นจึงเริ่มที่เส้นทางฉะเชิงเทรา เพื่อต่อไปที่ท่าเรือแหลมฉบัง เพื่อสนับสนุนสถานีบรรจุและแยกสินค้ากล่อง (Inland Container Depot : ICD) ลาดกระบัง พอมีทางคู่ตรงนี้ การขนส่งสินค้าก็เพิ่มขึ้น จึงเป็นการ จุดประกายที่จะพัฒนาทางคู่ต่อ

เมื่อพัฒนารถไฟทางคู่เส้นนั้นได้ ก็เพิ่มการขนส่งสินค้าได้ตามเป้าหมายจากปีละ 4 แสนตัน เป็น 1 ล้านตัน และลดความแออัดการเดินทางบนถนน เพราะผู้เดินทางไปพัทยามีทางเลือกมากขึ้น ซึ่งปัจจุบันโครงการ ICD ลาดกระบัง ประมูล เสร็จแล้ว ก็จะปรับการขนส่งจากทางถนน มารถไฟได้อีก 3-4 แสน ที.อี.ยู.ต่อปี

- รถไฟทางคู่จะสร้าง Big Change อย่างไร

ร.ฟ.ท.มองเพิ่มโอกาสในกลุ่ม สินค้าอื่น คือ สินค้าโชห่วย ที่แต่ก่อนขนส่งอยู่บ้าง แต่ตอนนี้การขนส่งไม่ได้ไป โชห่วยแล้ว แต่ไปในรูปแบบโมเดิร์นเทรด ผู้ประกอบการนิยมใช้รถยนต์ 100 เปอร์เซ็นต์ เพราะฉะนั้นการขนส่งสินค้าโชห่วย จะเป็นตลาดใหญ่ แต่ ร.ฟ.ท.ยังไม่มีแชร์ จึงเห็นว่าเมื่อมีรถไฟทางคู่แล้ว เราน่าจะแข่งกับรถยนต์ได้แล้ว เพราะจะวิ่ง Over Night ได้

นอกจากนี้ อยู่ระหว่างศึกษากับองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (ไจก้า) เพื่อมองโอกาสขนส่งสินค้าตู้คอนเทนเนอร์ขนาดเล็ก กำลังดูเรื่องโมเดลธุรกิจอยู่ ว่าจะนำโมเดิร์นเทรดมาใช้อย่างไร และคอนเทนเนอร์จะใช้อย่างไร และต้องหาพาร์ทเนอร์เข้ามาช่วย

สินค้าอีกตัวที่น่าสนใจ คือ Parcel (พัสดุ) อีกไม่กี่ปีไปรษณีย์ไทยซึ่งเคย เป็นแชมป์ ก็อาจจะหลุดแชมป์ ถ้าเจอ เทรนด์แบบนี้ เพราะมีการใช้รถยนต์หมด ขนสินค้าส่งโดยตรง เช่น เคอร์รี่ จะทำยังไงให้พวกนี้มาเป็นพาร์ทเนอร์กับเรา ก็กำลังหาทางคุยกันอยู่ เราจะเข้าไป ตรงไหน เราก็เปิดรับ แต่ว่าสถานที่ของเราก็ยังไม่พร้อม เพราะต้องย้ายไปสถานีกลางบางซื่อ

- การปรับบริการจะเป็นอย่างไร

Big Change ที่จะเกิดขึ้น คือ การขนส่งผู้โดยสารทางไกล ตู้นอน รถนอน แต่ก่อนมียอดจองเต็มมาก จนกระทั่งมีโลว์คอส์ตแอร์ไลน์ ไม่ถึง 10 ปี บินกันว่อนฟ้ามีผู้ให้บริการ 4-5 ราย แต่รถไฟวิ่งเส้นเชียงใหม่ใช้เวลา 12 ชั่วโมง ต่อวัน ไปหาดใหญ่ 16 ชั่วโมงต่อวัน คนบางกลุ่มก็ยังเหนียวแน่นกับรถไฟ เส้นทางที่ขายดียังมีทางเหนือ แต่ทางหนองคายโล่งมาก รถไฟอยู่แบบนี้ก็ต้องยอมรับ ความเร็วต้องให้เขาไป เรามา ปรับบทบาทของเรา หันมาบริการ นักท่องเที่ยว เพราะเขาไม่ได้ดูราคา แต่ดูที่การจัดทริป

ส่วนนี้การรถไฟฯ ก็ต้องปรับตัว ปรับระบบกันใหม่ นี่เป็นตลาดหนึ่งที่เราจะทำ แต่ในไทยก็ทำได้แค่สายเหนือ สายอีสานไม่มีนักท่องเที่ยว มีแค่หนองคาย ที่จะข้ามไปลาว ส่วนทางใต้น้อยมาก ไปชุมพร สมุย แต่เป็นตลาดนักท่องเที่ยวเที่ยวเอง พวกนี้จึงต้องดูตลาด เราก็มองว่าถ้าไปเชียงใหม่ก็จะขายแบบแพคทัวร์ ขายล่วงหน้าให้ได้

ดังนั้น อาวุธที่เราจะต้องมี คือ รถใหม่ อุปกรณ์ภายในใหม่ อยู่ในขั้นตอน ขอสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) กำลังจะปรับขอเป็นรถ 2 ระบบไฟฟ้าและดีเซล เพราะต้องเข้ามาดำเนินการที่สถานีกลางบางซื่อ

อีกส่วน คือ ตั๋วรถไฟปัจจุบันยังเป็นแบบเก่า แต่ปีหน้าจะหมดสัญญา เราจะทำแบบอี ทิคเก็ต เพื่อเอาไปเชื่อมระบบกับสายสีแดง แอร์พอร์ต เรล ลิงก์ โดยขายผ่านเว็บ เติมเงินเข้าบัตรได้เลย จ่ายผ่านออนไลน์ได้ ถ้าตั๋วขายได้สะดวก การเดินทางก็สะดวก

- จะมีโอกาสเห็นรถไฟใช้พลังงานไฟฟ้าเมื่อไหร่

ผ่านมา 30 กว่าปีแล้ว ที่เราพูดเรื่องนี้ กันมาตลอด แต่ยังไม่ได้ทำให้เห็นภาพ
เราได้เห็นเพียงรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ แต่ตอนนี้ ร.ฟ.ท.มีแผนติดตั้งเสาไฟฟ้าคร่อมรางเดิมไว้ แต่เราก็ตั้งใจเดินรถ ให้เกิดเป็น 2 ระบบ ถ้าไม่วิ่งไฟฟ้า ก็สามารถวิ่งรางเดิมเป็นดีเซลได้

คณะกรรมการ ร.ฟ.ท.อนุมัติให้ ติดตั้งเสาไฟฟ้าแล้ว 250 กิโลเมตร และระยะที่ 2 อีก 500 กิโลเมตร จะเสร็จในอีก 10 ปีแรก รถไฟไทยก็จะมีรถไฟฟ้าวิ่ง 250 กิโลเมตร ไม่มีมลพิษเข้ามา ส่วนวง 500 กิโลเมตร จะเป็นระยะถัดไป ถามว่าจำเป็นต้องไปสุดเชียงใหม่ หรือ ปาดังเบซาร์ไหม ก็ขึ้นอยู่กับความต้องการ ของผู้โดยสาร เพราะต้องมีความถี่ 80 ขบวนรถขึ้นไป ถึงจะคุ้มค่าในการลงทุน

จุดเปลี่ยนถ่ายในอนาคต ก็คงต้องคิด แล้วว่า ระบบไฟฟ้าและดีเซลจะร่วมกันยังไง คงต้องมีส่วนที่ไม่พัฒนาเป็นระบบไฟฟ้าอยู่แล้ว อย่างเส้นทางเชียงใหม่ที่ยังต้องเป็นดีเซล ก็จะมีจุดเปลี่ยนถ่ายที่พิษณุโลก ความถี่อาจจะเพิ่มขึ้นทุกชั่วโมง แต่คนจะไปเชียงใหม่จะเดินทางต่อยังไง เพราะคอนเซปต์ที่คนจะไปพิษณุโลก ก็สามารถไปได้ แค่ต้องปรับเปลี่ยน คอนเนคไฟล์ต พักที่พิษณุโลกก่อน แล้วค่อยต่อไปเชียงใหม่ เป็นคอนเซปต์เปลี่ยนขบวนทุกสาย เปลี่ยนจากรถไฟฟ้าเป็นดีเซลเพื่อต่อไปเส้นทางเชียงใหม่

- จุดเริ่มต้นของรถไฟความเร็วสูง มาอย่างไร

สิ่งนี้ถือว่าเป็นสิ่งที่หล่นมาจากฟ้า ตอนนั้นที่ได้รับมอบหมายจากรัฐบาล ผมยอมรับเลยว่ารถไฟของเรา ยังวิ่งด้วยเชื้อเพลิงดีเซลอยู่ จึงมองว่าเราต้องขยับไปที่พลังงานไฟฟ้า จึงค่อยๆ เรียนรู้ และค่อยขยับอีกขั้นไปที่ไฮสปีดเทรน

ผมยังไม่มีความรู้มาก เพื่อไป ต่อรองกับจีน ในการเจรจาโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน ครอบคลุมเส้นทางตั้งแต่กรุงเทพฯ-หนองคาย ซึ่งในช่วงเจรจาเราก็ทำงานกันเต็มที่ เพราะเชื่อว่าความรู้มันเรียนกันได้ ซึ่งในด้านเทคนิคเราไม่รู้ แต่เราสามารถเรียนได้ เพราะเราก็มีที่ปรึกษาต่างชาติเข้ามาช่วย รู้บ้าง ไม่รู้บ้าง ก็ต้องประคองกันไป เพื่อให้รัฐบาลผลักดันโครงการนี้ไปให้ได้

ขณะนี้ก็จ้างผู้รับเหมาจะเสร็จภายในปีนี้ ส่วนสัญญา 2.3 (งานระบบราง ระบบไฟฟ้าและเครื่องกล รวมทั้งจัดหาขบวนรถไฟและฝึกอบรมบุคลากร) ก็จะพยายามดำเนินการให้จบภายในปีนี้

ส่วนอีกโครงการเป็นรถไฟความเร็วสูง เชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง สุวรรณภูมิ อู่ตะเภา) ก็ฟ้าประทานมาให้อีก วันนี้ ก็ถือเป็นโครงการอีกรูปแบบหนึ่งที่รัฐจะเข้าไปดูแล โดยสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) จะเป็นผู้ขับเคลื่อนโครงการนี้ เพราะ ร.ฟ.ท.ไม่มีบุคลากรเพียงพอที่จะดูแลโครงการนี้ได้ทั้งหมด

ตอนนี้กำลังอยู่ระหว่างการตั้งองค์กรบริหารรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน เพื่อกำกับดูแลตลอดอายุโครงการ 50 ปีจะเป็นการทำงานควบคู่กับเอกชน เพื่อให้เป็นไปตามที่ลงนามสัญญา ซึ่งการพัฒนารถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน เอกชนคู่สัญญาจะเป็น ผู้ดำเนินการแต่ภาครัฐจะต้องควบคุมพวกเขา ให้อยู่ภายใต้การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) ถือเป็นเรื่องที่เราต้องเดินให้ได้ เพราะถ้าไม่เกิดวันนี้ ก็อาจจะไม่ได้ทำ กันอีก

การทำงานตอนนี้ก็ต้องเร่งแล้ว เพราะต้องเตรียมคนไทยให้ขับ ไฮสปีดเทรน ให้ได้ ต้องใช้เวลาเรียน 2 ปี ซึ่งจะต้องไปเทรนที่ปักกิ่ง เพราะ ต้องมีการทดสอบประสาทสัมผัส ตรงนี้ไม่ใช่เรื่องง่ายถ้าอยากเห็นคนไทยขับรถไฟความเร็วสูง

- เตรียมพร้อมเรื่องคนเพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงอย่างไร

ที่สำคัญ คือ ต้องมีคนรุ่นใหม่ เข้ามาบริหารด้วย เพราะสาเหตุคือวันนี้ คนมีปัญหาเพราะว่าโดนกฎเหล็กเมื่อปี 2541 กำหนดให้รับคนได้ 50 เปอร์เซ็นต์จากคนเกษียณ ทำให้ตอนแรกมีพนักงาน 28,000 คน แต่ปัจจุบันเหลือคนไม่ถึง 10,000 คน และลูกจ้างอีก 4,000 คน รวม 13,000 คน และมีท่าทีที่จะน้อยลงอีกถ้าไม่ยกเลิกคำสั่งนี้

แล้วอะไรที่เกิดขึ้นกับคนรถไฟ คือ คนมีความรู้เดิมมีเยอะ แต่พอเกษียณก็ค่อยๆ หายหมด คนรุ่นใหม่เข้ามา ก็มีน้อย คนเก่งเดิมก็อยู่ แต่คนเก่งใหม่ไม่มีเข้ามาเติม จะมีก็น้อยมาก องค์กร ก็อ่อนแอลง รับคนใหม่ได้ไม่เต็มที่ และนานๆ จะมีคนเกรดเอเข้ามา บำนาญก็ไม่มีตั้งแต่ปี 2542 หลังจากนั้นมีแต่เงินสงเคราะห์ ซึ่งผู้ที่เข้ามาช่วงนั้นเป็นคนรุ่นใหม่ที่ตอนนี้มีประสบการณ์กับ ร.ฟ.ท. 10 ปี แต่คนที่อยู่ระดับผู้อำนวยการฝ่ายขึ้นไปใน 10 ปี จะไม่มีเหลือเลย

ถามว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับคนกลุ่มนี้ คือ การเลื่อนไปเป็นผู้บริหารอัตโนมัติและต้องเรียนรู้ เพราะอีก 10 ปีข้างหน้าต้องไปเป็นผู้บริหารแบบช่วยไม่ได้ คงต้องเผชิญแบบนี้อีก 20-30 ปีข้างหน้า ดังนั้นคนกลุ่มนี้ คือ หัวหอกของ ร.ฟ.ท. และถ้าหลังจากนี้ไม่วางแผนให้ดี จะเกิดปัญหาขาดช่วงแบบนี้อีก แผนบุคลากร จึงเป็นเรื่องที่ต้องวางแผน
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 30/10/2019 12:46 pm    Post subject: Reply with quote

Update รถไฟทางคู่ช่วงมาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระ 27/10/2562 เฉพาะสัญญา 1 และ 3 ช่วงมาบกะเบา-คลองขนานจิตร และงานอุโมงค์
https://www.facebook.com/pg/ThaiRailNews/photos/?tab=album&album_id=2510300782385232&__tn__=H-R
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 31/10/2019 6:16 pm    Post subject: Reply with quote

“พลิกโฉมรถไฟไทย” เผยแผนพัฒนารถไฟทางคู่ทั่วประเทศ ระยะทางรวม 3,169 กม.!!

แผนพัฒนาทางรถไฟทั่วประเทศ
• ทางคู่ระยะที่ 1 (ระยะเร่งด่วน) ระยะทางรวม 995 กม. อยู่ระหว่างก่อสร้าง 7 เส้นทาง
1. ฉะเชิงเทรา-คลองสิบเก้า-แก่งคอย ระยะทาง 106 กม. - ใกล้เสร็จแล้ว ได้ชุมทางหนองบัว และได้ชุมทางไผ่นาบุญมาเพิ่มด้วย

2. ชุมทางถนนจิระ-ขอนแก่น ระยะทาง 187 กม. ถือว่าใกล้เสร็จแต่มีปัญหาน้ำท่วมทางลอดตอนฝนตก

3. ประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร ระยะทาง 167 กม. ได้มีการทำท่าเรือไปเกาะเต่าจากสถานีชุมพรแน่ๆ

4. มาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระ ระยะทาง 132 กม. มีทางลอยฟ้าที่มวกเหล็ก แต่ติดปัญหาช่วงตัวเมืองโคราช กว่าจะเสร็จก็ปลายปี 2565

5. นครปฐม-หัวหิน ระยะทาง 165 กม. - ล่าช้าเพราะ ระเบิด 7 ลูก ที่ราชบุรี
6. ลพบุรี-ปากน้ำโพ ระยะทาง 148 กม. - มีทาง bypass ที่ท่าวุ้งด้วย
7. หัวหิน-ประจวบคีรีขันธ์ ระยะทาง 90 กม.

• ทางคู่ระยะที่ 2 ระยะทางรวม 1,493 กม.
ปัจจุบันอยู่ระหว่างขออนุมัติโครงการ
8. ปากน้ำโพ-เด่นชัย ระยะทาง 285 กม. งานนี้ต้องเคลียร์เรื่องทางช่วง บ้านด่านไปเด่นชัยก่อน

9. ชุมทางถนนจิระ-อุบลราชธานี ระยะทาง 309 กม. งานนี้อาจได้สร้างก่อนเพื่อนเพราะความต้องการสูง

10. ขอนแก่น-หนองคาย ระยะทาง 174 กม. งานนีัได้ทำแน่ เพราะไม่ยาก แม้ต้องสร้างสถานีลอยฟ้าที่ อุดรธานี

11. ชุมพร-สุราษฎร์ธานี ระยะทาง 167 กม. รอหน่อย
12. สุราษฎร์ธานี-หาดใหญ่-สงขลา ระยะทาง 324 กม. รอหน่อย
13. เด่นชัย-เชียงใหม่ ระยะทาง 189 กม. ได้ทำช้า เพราะ ต้องเคลียร์ EIA อีกเยอะ
14. หาดใหญ่-ปาดังเบซาร์ระยะทาง ระยะทาง 45 กม. ได้ทำแน่ แต่ถ้าจะให้ติดระบบรถไฟฟ้า ต้องทำโครงการรถไฟฟ้าสาย หาดใหญ่ - ปาดังเบซาร์ไปด้วย

• ทางคู่สายใหม่ระยะเร่งด่วนระยะทางรวม 681 กม.
15. เด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ ระยะทาง 326 กม. ปัจจุบันครม.อนุมัติโครงการแล้ว - ตอกหมุดกหนดเขตทางแล้วด้วย
16. บ้านไผ่-มุกดาหาร-นครพนม ระยะทาง 355 กม. ปัจจุบันอยู่ระหว่างขออนุมัติโครงการ เพราะ ปัญหาน้ำท่วมภาคอีสานทำให้เจอปัญหา ต้องเคลียร์ EIA เยอะ

รวมทั้งสิ้น 3,169 กม.
https://www.facebook.com/Thfutu/photos/a.105677750798573/146746786691669/?type=3&theater
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 01/11/2019 11:15 am    Post subject: Reply with quote

เตรียมทุบ! #สะพานสีมาธานี สร้างอุโมงค์ทางลอดทดแทน
ที่นี่ นครราชสีมา
พุธที่ 30 ตุลาคม 2562

เริ่มต้นหลังจากสะพานรถยนต์ บริเวณทางเลี่ยงเมืองสิ้นสุดที่บริเวณสถานีรถไฟถนนจิระ ระยะทาง 5 กิโลเมตร โดยรื้อสะพานรถยนต์บริเวณโรงแรมสีมาธานี และก่อสร้างทางลอดรถยนต์ทดแทน คาดว่าจะเริ่มก่อสร้าง เดือน ก.ค.63 แล้วเสร็จ ธ.ค.66 งบประมาณ 11,518.30ล้านบาท (เกินกรอบ ครม. อนุมัติ)

ในด้านจราจรอาจเกิดผลกระทบความไม่สะดวกในช่วงก่อสร้าง ต้องเตรียมแผนรองรับการจราจรให้เกิดผลกระทบให้น้อยที่สุด แต่จะส่งผลดีด้านวิถีชีวิตต่อชุมชนรอบข้างจะเปลี่ยนเป็นย่านเศรษฐกิจการค้ามากยิ่งขึ้น

อย่างไรก็ตาม ต่อจากนี้ รฟท.และหน่วยงานในพื้นที่ จะต้องกำหนดแนวทางจัดการจราจร เพื่อลดผลกระทบที่จะเกิดขึ้นช่วงการก่อสร้าง
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 01/11/2019 11:54 am    Post subject: Reply with quote


ทางคู่ถนนจิระ - ขอนแก่น
https://www.youtube.com/watch?v=kYv6CcpMgbc
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 248, 249, 250 ... 390, 391, 392  Next
Page 249 of 392

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©