Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311324
ทั่วไป:13288196
ทั้งหมด:13599520
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 5, 6, 7 ... 278, 279, 280  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42785
Location: NECTEC

PostPosted: 11/07/2008 10:38 am    Post subject: Reply with quote

ผวาสินบนยุ่นฉุดรถไฟฟ้า สนข.ฟุ้ง9สายเซฟแสนล.


Thai Post 11 กรกฎาคม 2551 กองบรรณาธิการ

โบรกเกอร์หวั่นปัญหาสินบน "นิชิมัตสึ" ลากอิตาเลียนไทยฯ วืดรถไฟฟ้าสายสีม่วง แต่ยังดีไม่ได้ยื่นซองร่วม สนข.ดันรถไฟฟ้าล็อตแรก 6 เส้นเข้าบอร์ดระบบราง ฟุ้งสร้างเสร็จคนใช้ถึง 8 ล้านคน เซฟเงินค่าน้ำมันกว่า 1 แสนล้าน

บริษัท หลักทรัพย์ดีบีเอส วิคเคอร์ส (ประเทศไทย) ออกบทวิเคราะห์ผลกระทบกรณี บมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวลลอปเมนต์ (ITD) จัดตั้งบริษัทร่วมค้ากับ "นิชิมัตสึ" บริษัทรับเหมาก่อสร้างของญี่ปุ่น และมีข่าวพัวพันกับสินบนโครงการก่อสร้างอุโมงค์ระบายน้ำของกรุงเทพมหานคร (กทม.) ทำให้เกิดความกังวลว่า หาก ITD ร่วมทุนกับนิชิมัตสึประมูลโครงการรถไฟฟ้าในอนาคต หากธนาคารเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (เจบิก) ซึ่งได้ปล่อยกู้โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ทำการแบล็กลิสต์นิชิมัตซึ จะทำให้ ITD ไม่ได้ประมูลรถไฟฟ้าสายสีม่วง ซึ่งมีมูลค่าประมาณ 4 หมื่นล้านบาท แต่จากการตรวจสอบกับ ITD ปรากฏว่าการยื่นซองประมูลสายสีม่วงไม่ได้ยื่นกับนิชิมัตสึ

ด้านหุ้น ITD ปิด 4.42 เพิ่มขึ้น 0.22 บาท หรือ 5.24% มูลค่าซื้อขาย 337 ล้านบาท

นางสร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) กล่าวว่า การประชุมคณะกรรมการพัฒนาระบบขนส่งทางรางและระบบขนส่งมวลชนวันที่ 11 ก.ค.นี้ จะรายงานความคืบหน้าโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าระยะแรก 6 เส้นทางจากทั้งหมด 9 เส้นทาง รวมถึงโครงการจัดหารถเมล์ 6,000 คัน ทั้งนี้ หากโครงการรถไฟฟ้าเดินหน้าตามเป้าหมาย จะทำให้ในปี 2551 ที่เริ่มก่อสร้างมีเงินหมุนเวียนสู่ระบบเศรษฐกิจ 19,000 ล้านบาท

เบื้องต้น สนข.ประเมินว่า หากรถไฟฟ้า 6 สายก่อสร้างแล้ว ปีแรกจะมีประชาชนใช้บริการ 3 ล้านคน เพิ่มเป็น 6 ล้านคนปี 2559 และถ้าเสร็จทั้ง 9 สายจะมีคนใช้บริการไม่ต่ำกว่า 8 ล้านคน คาดว่าจะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายจากราคาน้ำมันมากกว่า 100,000 ล้านบาท จากเดิมที่ประเมินเมื่อปี 2547 จะประหยัดได้ 50,000 ล้านบาท.
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42785
Location: NECTEC

PostPosted: 17/07/2008 8:51 pm    Post subject: Reply with quote

ลูกกรอก” ไม่หวั่นแบล็กลิสต์ เชื่อเจบิกปล่อยกู้รถไฟฟ้า 9 สาย

โดย ผู้จัดการออนไลน์ 17 กรกฎาคม 2551 14:28 น.


รมว.คมนาคม มั่นใจ “เจบิก” พร้อมปล่อยกู้รถไฟฟ้า 9 สาย พร้อมยืนยัน เริ่มดำเนินการก่อสร้างปีนี้ได้ 5 เส้นทาง แม้ก่อนหน้านี้ มีการตั้งข้อสังเกตว่า โครงการรถไฟฟ้าอาจโดนหางเลข “มัตสึชิตะ” ถูกแบล็กลิสต์จากรัฐบาลญี่ปุ่น

วันนี้ (17 ก.ค.) นายสันติ พร้อมพัฒน์ รมว.คมนาคม เปิดเผยภายหลังการหารือกับธนาคารเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (เจบิก) โดยแสดงความมั่นใจว่า โครงการรถไฟฟ้าสามารถเพิ่มการก่อสร้างในปีนี้ได้ 5 เส้นทาง คือ สายสีม่วง สายสีแดง สายสีน้ำเงิน สายสีเขียวอ่อน และสายสีเขียวแก่ โดยจะได้รับการสนับสนุนเงินกู้จากเจบิกใน 3 สาย คือ สีม่วง สีแดง และ สีน้ำเงิน โดยในส่วนของสายสีม่วงได้ลงนามไปแล้ว ส่วนสายสีแดงและสีน้ำเงิน ยังคงอยู่ในช่วงการส่งเอกสาร

ขณะนี้ “เจบิก” ได้ให้ความสนใจสนับสนุนเงินทุนก่อสร้างรถไฟฟ้าทั้ง 9 สายทาง ซึ่งไทยได้ขอให้เจบิกเร่งรัดอนุมัติวงเงินกู้รถไฟฟ้าทั้ง 5 สายทาง หลังราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จึงจำเป็นต้องเร่งให้โครงการดังกล่าวเกิดขึ้นโดยเร็ว เพื่อรองรับการเดินทางของประชาชน และเกิดการจ้างงานเพิ่มขึ้น ซึ่งทางเจบิกได้ยืนยันจะให้เงินกู้ไม่จำกัดจำนวนแก่ไทย โดยวงเงินค่าก่อสร้างเบื้องต้น มูลค่ากว่า 170,000 ล้านบาท ซึ่งหากรถไฟฟ้าก่อสร้างเสร็จครอบคลุมจะสามารถให้บริการผู้โดยสารได้กว่า 1 ล้านคนต่อวัน และยังจูงใจให้ประชาชนหันมาใช้ระบบขนส่งสาธารณะแทนการใช้รถส่วนตัว ซึ่งจะช่วยลดค่าใช้จ่ายได้ไม่ต่ำกว่า 15,000 บาทต่อเดือน

ส่วนการศึกษาผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม หรือ อีไอเอ ให้กับเจบิก โดยในวันที่ 3 ก.ค.นี้รัฐบาลญี่ปุ่นจะพิจารณาวงเงินสายสีแดงในเบื้องต้น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวเพิ่มเติมว่า ได้มีการเจรจาในการลดระยะเวลาขั้นตอนการพิจารณาเงินกู้ลงจาก 6 เดือน เหลือ 3 เดือน เพื่อให้โครงการรถไฟฟ้าสามารถเริ่มการก่อสร้างได้ภายในปีนี้

// ------------------------------------------------------------

คค.เตรียมซื้อรถไฟฟ้า 500 ขบวน เชื่อนักธุรกิจสนตั้ง รง.ประกอบสร้างรายได้คนไทย

โดย ผู้จัดการออนไลน์ 17 กรกฎาคม 2551 14:59 น.


นายสันติ พร้อมพัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ในอีก 5 ปีข้างหน้า หลังจาก โครงการรถไฟฟ้า 9 เส้นทาง ได้ดำเนินการก่อสร้างและเชื่อว่าจะแล้วเสร็จในบางเส้นทาง จะต้องมีการสั่งซื้อรถไฟฟ้า ประมาณ 500 ขบวน เพื่อรองรับ 9 เส้นทางที่จะเกิดขึ้น ซึ่งจะเป็นแรงจูงใจให้นักธุรกิจที่เชี่ยวชาญทางด้านรถไฟฟ้า มาลงทุนในการประกอบและตั้งโรงงานในประเทศไทย เพราะโดยทั่วไปหากประกอบรถไฟฟ้า ทำเพียง 300 ขบวน ถือว่าคุ้มทุน ซึ่งจะส่งผลให้ ไทยได้รับประโยชน์จากการถ่ายทอดเทคโนโลยีในการประกอบรถไฟฟ้า รวมทั้งสร้างงานให้กับคนไทย
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวยืนยันว่า โครงการรถไฟฟ้ามีความจำเป็นและคุ้มค่า โดยสามารถลดการใช้น้ำมันได้ถึง 200,000 ล้านบาทต่อปี รวมทั้ง ประชาชนจะประหยัดเวลาในการเดินทาง จากการที่เดินทางจากชานเมืองมาในเมือง ใช้เวลา 2 ชั่วโมง จะลดลงเหลือ 40 นาทีเท่านั้น

// ----------------------------------------------------

เจบิกปล่อยกู้ไม่จำกัดสร้างรถไฟฟ้าไทย

โดย ผู้จัดการออนไลน์ 17 กรกฎาคม 2551 09:40 น.


นายสันติ พร้อมพัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม พร้อมด้วย นายประภัสร์ จงสงวน ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย หรือ รฟม. และผู้บริหารกระทรวงการคลัง เดินทางเยือนประเทศญี่ปุ่นเพื่อหารือกับคณะผู้บริหารธนาคารเพื่อความร่วมมือแห่งประเทศญี่ปุ่น หรือ เจบิก
โดยนายสันติ กล่าวว่า ไทยได้รายงานความคืบหน้าในการดำเนินโครงการรถไฟฟ้าแต่ละเส้นทาง เนื่องจากเจบิคให้ความสนใจสนับสนุนเงินทุนก่อสร้างรถไฟฟ้าทั้ง 9 สายทาง นอกจากนี้ ยังขอให้เจบิคเร่งรัดอนุมัติวงเงินกู้รถไฟฟ้าทั้ง 5 สายทาง หลังราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ไทยต้องสูญเสียมูลค่าการนำเข้าน้ำมันไม่ต่ำกว่า 300,0000 ล้านบาทต่อปี จึงจำเป็นต้องเร่งก่อสร้างโครงการเมกะโปรเจกต์ เพื่อให้โครงการดังกล่าวเกิดขึ้นโดยเร็ว รองรับการเดินทางของประชาชนและเกิดการจ้างงานเพิ่มขึ้น
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวอีกว่า เจบิกได้ยืนยันจะให้เงินกู้ไม่จำกัดจำนวนแก่ไทย โดยจะพยายามเร่งรัดกระบวนการพิจารณาให้พร้อมเปิดซองประกวดราคารถไฟฟ้าทั้ง 5 สายทางได้ภายในสิ้นปี 2551 สำหรับวงเงินค่าก่อสร้างเบื้องต้น มูลค่ากว่า 170,000 ล้านบาท ซึ่งหากรถไฟฟ้าก่อสร้างเสร็จครอบคลุมจะสามารถให้บริการผู้โดยสารได้กว่า 1 ล้านคนต่อวัน และยังจูงใจให้ประชาชนหันมาใช้ระบบขนส่งสาธารณะแทนการใช้รถส่วนตัว ซึ่งจะช่วยลดค่าใช้จ่ายได้ไม่ต่ำกว่า 15,000 บาทต่อเดือน

// -----------------------------------------------------------------

เจบิคเมินปัญหาการเมือง พร้อมปล่อยกู้สร้างรถไฟฟ้า

Thairath [17 ก.ค. 51 - 09:35]


ที่ประเทศญี่ปุ่น วันนี้ (17 ก.ค.) นายสันติ พร้อมพัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวภายหลังหารือกับคณะผู้บริหารธนาคารเพื่อความร่วมมือแห่งประเทศญี่ปุ่น (เจบิค) ว่า ได้สร้างความมั่นใจให้กับเจบิคถึงความพร้อมของรัฐบาลไทยที่จะเดินหน้าเปิดประมูลโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีแดง และ สายสีน้ำเงินให้แล้วเสร็จภายในปีนี้ เนื่องจากขณะนี้ โครงการก่อสร้างผ่านการศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) แล้ว เพื่อให้เจบิคเร่งรัดอนุมัติวงเงินกู้รถไฟฟ้าทั้ง 5 สายทาง หลังราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ไทยต้องสูญเสียมูลค่าการนำเข้าน้ำมันไม่ต่ำกว่า 300,0000 ล้านบาทต่อปี จึงจำเป็นต้องเร่งก่อสร้างโครงการเมกะโปรเจกต์ เพื่อให้โครงการดังกล่าวเกิดขึ้นโดยเร็ว รองรับการเดินทางของประชาชนและเกิดการจ้างงานเพิ่มขึ้น

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวต่อว่า เจบิคยืนยันจะให้เงินกู้ไม่จำกัดจำนวนแก่รัฐบาลไทย โดยจะพยายามเร่งรัดกระบวนการพิจารณาให้พร้อมเปิดซองประกวดราคารถไฟฟ้าทั้ง 5 สายทางได้ภายในสิ้นปี 2551 สำหรับวงเงินค่าก่อสร้างเบื้องต้น มูลค่ากว่า 170,000 ล้านบาท หากรถไฟฟ้าก่อสร้างเสร็จครอบคลุมจะสามารถให้บริการผู้โดยสารได้กว่า 1 ล้านคนต่อวัน และยังจูงใจให้ประชาชนหันมาใช้ระบบขนส่งสาธารณะแทนการใช้รถส่วนตัว ช่วยลดค่าใช้จ่ายได้ไม่ต่ำกว่า 15,000 บาทต่อเดือน

นายสันติ กล่าวด้วยว่า แม้เจบิคจะไม่ได้สอบถามถึงสถานการณ์ทางการเมืองไทย แต่เหตุการณ์ความวุ่นวายในขณะนี้ อาจทำให้นักลงทุนขาดความเชื่อมั่นในนโยบายของรัฐบาล อีกทั้งการเดินหน้าโครงการต่างๆ และการใช้อำนาจบริหารของรัฐบาล มีความลำบากมากขึ้นจากปัญหาการเมืองในประเทศ
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42785
Location: NECTEC

PostPosted: 18/07/2008 9:19 pm    Post subject: Reply with quote

พอ รัฐบาล รู้ตัวว่าเงินไม่พอ เล่นจะเอา Monorail มาขาย ทั้งที่ ประชาชนต้องการ Heavy Rail หรือ Light Rail เห็นแล้วตูละหน่าย

แม้ตอนไป KL ปี 2008 เจ้า KL Monorail จะไม่สั่นสะเทอนเหมือน KL Monorail ปี 2004 แต่ถ้าจะให้ใช้กับ Main Trunk Line แล้ว ผมอยากจะเชือดเจ้าของความคิดกะมือผมเองเสียด้วยซ้ำ แต่ ถ้า Feeder Lines แถวประตูน้ำ กะ ทางเชื่อมบางวื่อ กับหมอชิต 2 ก็พอทนได้ ... เพราะ ชาวบ้านย่านลาดพร้าวอยากได้รถไฟฟ้าแบบ Light หีรือ Heavy Rail แต่ ไม่ ปรารถนา กะ Monorail เท่าไหร่

// ----------------------------------------------------------------------
คมนาคมเล็งนำระบบ "โมโนเรล" ของญี่ปุ่นมาพัฒนาใช้ในไทย

โดย ผู้จัดการออนไลน์ 18 กรกฎาคม 2551 19:24 น.


นายสันติ พร้อมพัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม นำคณะเยี่ยมชมระบบรถไฟฟ้าขนาดเบา หรือ โมโนเรล (Mono Rail) ที่ประเทศญี่ปุ่น พร้อมทั้งแสดงความสนใจที่จะนำมาพัฒนาในประเทศไทย เพราะสามารถก่อสร้างสถานีและโครงสร้างพื้นฐานบนถนนที่มีช่องจราจรที่แคบ และลงทุนน้อยกว่าระบบรถไฟฟ้าทั่วไปด้วย ทั้งนี้ ได้มอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร ศึกษาเพิ่มเติมว่ามีถนนเส้นใดบ้างที่สามารถพัฒนาระบบรถไฟฟ้าโมโนเรลได้ เช่น เพชรบุรี หรือลาดพร้าว รวมถึงเส้นทางเลียบคลองแสนแสบด้วย
ระบบรถไฟฟ้าโมโนเรล เป็นรถไฟฟ้าที่วิ่งอยู่บนคานเดียว ทำให้ประหยัดต้นทุนค่าก่อสร้าง เหลือกิโลเมตรละ 600 - 800 ล้านบาท รองรับผู้โดยสารแต่ละเส้นทางได้ประมาณวันละ 100,000 คน
ขณะที่นายพงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ซึ่งเดินทางร่วมคณะไปด้วย เปิดเผยว่า เพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศแห่งประเทศญี่ปุ่น (เจบิก) ซึ่งให้เงินกู้โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง (บางใหญ่ - ราษฎร์บูรณะ) ตกลงจะเพิ่มวงเงินกู้ให้กับไทยอีก 4,000 - 5,000 ล้านบาท จากวงเงินเดิม 32,000 ล้านบาท ตามต้นทุนค่าก่อสร้างที่เพิ่มสูงขึ้น

นอกจากนี้ รถไฟฟ้าสายสีแดง (รังสิต - บางซื่อ) ก็คาดว่าจะได้รับเงินกู้จากเจบิกประมาณ 80,000 ล้านบาทด้วย
ส่วนหนี้สาธารณะที่จะเกิดขึ้นจากการลงทุนในโครงการเมกะโปรเจกต์ เชื่อว่าจะอยู่ในเพดานที่ไม่เกินร้อยละ 50 ของจีดีพี
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42785
Location: NECTEC

PostPosted: 23/07/2008 2:15 pm    Post subject: Reply with quote

คลังคาด1-2เดือนสรุปเงินกู้รถไฟฟ้า4สาย

Bangkokbiznews 23/07/2008


รมว.คลังคาดภายใน 1-2 เดือนได้ข้อสรุปแหล่งเงินกู้ก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้า 4 เส้นทาง พร้อมเปิดประมูลโครงการภายในปีนี้ คาดกู้เงิน8 หมื่นล้านจากเจบิค-ลงทุนรถไฟฟ้าสีแดง-น้ำเงิน

กรุงเทพธุรกิจ ออนไลน์ : นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่า คาดว่าภายใน 1-2 เดือนจากนี้ จะได้ข้อสรุปเรื่องแหล่งเงินกู้โครงการรถไฟฟ้า 4 สายที่เหลือ โดยคาดว่าจะเปิดประมูลโครงการดังกล่าวได้ในปีนี้

"ผลการหารือร่วมกับรมว.คมนาคมเมื่อวานนี้ ได้พูดคุยเรื่องแหล่งเงินกู้รถไฟฟ้า 4 สายที่เหลือ เราคงใช้เวลาสรุปแหล่งเงินกู้ในอีก 1-2 เดือนต่อจากนี้ เมื่อได้ข้อสรุปแล้วก็จะเปิดประมูลได้ภายในปีนี้"

สำหรับโครงการรถไฟฟ้า 4 สายนั้น ประกอบด้วย รถไฟฟ้าสายสีแดงสีน้ำเงิน สีเขียวอ่อน และสีเขียวแก่

คลังคาดกู้เงิน8 หมื่นล้านจากเจบิค-ลงทุนรถไฟฟ้าสีแดง-น้ำเงิน

สำนักบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.)กระทรวงการคลัง คาดว่าจะกู้เงินจากธนาคารเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น(เจบิค) วงเงินราว 8 หมื่นล้านบาทเพื่อใช้ลงทุนในโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดง และสายสีน้ำเงิน ซึ่งคาดว่าจะเซ็นสัญญากู้ในต้นไตรมาส 4/51

"แดงกับน้ำเงิน คงกู้จากเจบิคแน่นอน วงเงินประมาณ 8 หมื่นล้านบาท จะสรุปรายละเอียดทั้งหมดให้เสร็จในสิ้นเดือนนี้ ก่อนที่จะลงนามสัญญาเงินกู้ในช่วงต้นไตรมาส 4" นายพงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ ผู้อำนวยการ สบน.กล่าว

ทั้งนี้ หลังเซ็นสัญญาเงินกู้กับเจบิคแล้ว จะเริ่มดำเนินการเปิดประมูลโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดง และสีน้ำเงินทันที

สำหรับแหล่งเงินทุนที่จะใช้ลงทุนในโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวอ่อน และเขียวแก่ประมาณ 5.5 หมื่นล้านบาทนั้น จะเป็นแหล่งเงินในประเทศ ซึ่งมีทั้งเงินกู้ และเงินงบประมาณ
Back to top
View user's profile Send private message
black_express
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/03/2006
Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ

PostPosted: 23/07/2008 4:05 pm    Post subject: Reply with quote

เชื่อเถอะครับว่า หากเข้าสู่การพิจารณาของเจบิก โครงการโมโนเรลไม่ผ่านมาให้รกตาหรอก เพราะไม่คุ้มค่าในทางเศรษฐกิจและการขนส่ง นอกจากจะหาเงินมาสร้างเอง
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42785
Location: NECTEC

PostPosted: 24/07/2008 9:20 am    Post subject: Reply with quote

รัฐบาลเตรียมเปิดประมูลรถไฟฟ้า 4 สายภายในปีนี้

โดย ผู้จัดการออนไลน์ 23 กรกฎาคม 2551 16:16 น.


น.พ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยถึงความคืบหน้าการดำเนินการโครงการเมกะโปรเจกต์ในด้านขนส่งมวลชนว่า ภายในสิ้นปีนี้รัฐบาลจะสามารถเปิดประมูลรถไฟฟ้าได้อีก 4 สาย ประกอบด้วยสายสีแดง สายสีน้ำเงิน สายสีเขียวอ่อน และสีเขียวแก่ ซึ่งปัจจุบันอยู่ในขั้นตอนของการเจรจาเรื่องแหล่งเงินทุน คาดว่าจะสามารถสรุปผลเรื่องแหล่งเงินกู้ภายใน 2 เดือน แต่ในเบื้องต้นหน่วยงานที่เเกี่ยวข้อง จะต้องมีการปรับราคาต้นทุนในการก่อสร้างตามราคาวัสดุที่เพิ่มสูงขึ้นก่อน ที่จะมีการขออนุมัติเงินกู้
ทั้งนี้ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ย้ำว่า โครงการรถไฟฟ้าเป็นหนึ่งในโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจ ที่จะต้องมีการประกาศให้ชัดเจนว่า จะมีการเดินหน้าภายในปีนี้ เพื่อส่งสัญญานการลงทุน และสร้างความเชื่อมั่น โดยรูปแบบรถไฟฟ้าดังกล่าวจะมีทั้งแบบบนดินและใต้ดิน ซึ่งจะให้เอกชนที่มีความเชี่ยวชาญ เข้ามาบริหารจัดการ


// ---------------------------------------------------------------------------------
เจบิคยั่วเงินกู้ รถไฟฟ้า4เส้น ดอกเบี้ย0.01%

ไทยโพสต์ 24 กรกฎาคม 2551 กองบรรณาธิการ

นายสันติ พร้อมพัฒน์ รมว.คมนาคม เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 22 ก.ค.ได้หารือกับกระทรวงการคลัง กรณีแหล่งเงินลงทุนก่อสร้างรถไฟฟ้า 4 เส้นทาง


คือ สายสีน้ำเงิน (บางซื่อ-ท่าพระและหัวลำโพง-บางแค) สายสีแดง (บางซื่อ-รังสิต) สายสีเขียวอ่อน (แบริ่ง-สมุทรปราการ) และสายสีเขียวเข้ม (หมอชิต-สะพานใหม่) โดยสายสีน้ำเงินและสีแดง จะกู้เงินจากธนาคารเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (เจบิค) ทั้งการก่อสร้างและระบบรถ ส่วนสีเขียวทั้ง 2 เส้น จะใช้แหล่งเงินกู้ในประเทศ

ทั้งนี้ เจบิคได้ยื่นข้อเสนอ 2 รูปแบบ คือ เงินกู้ดอกเบี้ยพิเศษ 1.44% ต่อปี ชำระคืน 25-30 ปี และเงินกู้ดอกเบี้ยพิเศษสุด 0.01% ต่อปี ชำระคืน 40 ปี ซึ่งกำลังพิจารณาว่าจะเลือกรูปแบบใด แต่ส่วนตัวต้องการรูปแบบดอกเบี้ยพิเศษสุดอยู่แล้ว เพียงแต่ไทยอาจต้องมีข้อแลกเปลี่ยนที่เป็นประโยชน์ต่อญี่ปุ่นด้วย

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วงเงินที่ไทยจะกู้เจบิคเพื่อดำเนินโครงการสีน้ำเงินและสีแดง เป็นเงินประมาณ 1.5 แสนล้านบาท

นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.คลัง กล่าวว่า รถไฟฟ้าทั้ง 4 สายจะมีความชัดเจนถึงขั้นเปิดประมูลได้ภายในปี 2551 นี้แน่นอน และภายในประมาณ 2 เดือนข้างหน้านี้ รัฐบาลจะประกาศวงเงินก่อสร้างที่ชัดเจน รวมถึงวงเงินที่จะกู้และแหล่งเงินกู้ด้วยว่าจะกู้จากเจบิคแค่ไหน

ส่วนวงเงินค่าก่อสร้างที่ชัดเจน คงรอต้องมีการปรับรอบสุดท้ายก่อนนำเสนอตัวเลขแก่แหล่งเงินกู้ โดยอาจจะไม่เพิ่มถึง 10% อย่างที่คาดการณ์ไว้ เนื่องจากขณะนี้ราคาน้ำมันเริ่มปรับลดลงแล้ว
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44842
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 26/07/2008 1:39 pm    Post subject: ผู้ว่าฯ กาญจน์มั่นใจถนนเศรษฐกิจเชื่อมทวายเกิดแน่ Reply with quote

ผู้ว่าฯ กาญจน์มั่นใจถนนเศรษฐกิจเชื่อมทวายเกิดแน่

กาญจนบุรี 24 ก.ค.51 - นายอำนาจ ผการัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดกาญจนบุรี เปิดเผยภายหลังร่วมเสวนาหอการค้าจังหวัด วันนี้ (24 ก.ค.) ที่โรงแรมริเวอร์แคว ถึงความคืบหน้าแผนก่อสร้างเส้นทางเศรษฐกิจกาญจนบุรี–ทวาย ประเทศพม่า ว่า มีความเป็นไปได้สูง เพราะเมื่อเร็วๆ นี้ นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี ซึ่งเดินทางไปเยือนประเทศจีน และพูดคุยกับนักลงทุนจีนถึงแผนการก่อสร้างเส้นทางสายเศรษฐกิจทั้งรถยนต์และรถไฟจากจีนมายังภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทยบริเวณ จ.หนองคาย ผ่านเข้าสุพรรณบุรี กาญจนบุรี และสู่เมืองทวาย จึงมั่นใจว่าถนนสายกาญจนบุรี-ทวาย เกิดขึ้นแน่นอน เพราะจีนต้องการทรัพยากรจากพม่าอย่างมาก อีกทั้งยังช่วยลดระยะทางมากขึ้น อย่างไรก็ดี ปลายเดือนสิงหาคมนี้ ตนและผู้เกี่ยวข้องจะเดินทางไปหารือกับตัวแทนรัฐบาลพม่าและภาคเอกชน เพื่อวางแนวทางการลงทุนไว้ล่วงหน้า ขณะเดียวกันจังหวัดเตรียมพัฒนาพื้นที่บ้านพุน้ำร้อน ต.บ้านเก่า อ.เมือง เพื่อรองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจ โดยจะเร่งศึกษารายละเอียดการวางผังเมืองและระบบความปลอดภัยระหว่างชายแดนไทย-พม่า.-สำนักข่าวไทย

อัพเดตเมื่อ 2008-07-24 16:50:46
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42785
Location: NECTEC

PostPosted: 28/07/2008 3:58 pm    Post subject: Reply with quote

“สันติ พร้อมพัฒน์” เร่ขายฝัน ดันรถไฟฟ้าเข้าย่านชุมชน

โดย ผู้จัดการรายสัปดาห์ 27 กรกฎาคม 2551 22:54 น.


*เจ้ากระทรวงคมนาคม ขายฝันรอบใหม่ ตะลุยสร้างรถไฟฟ้าย่านชุมชน

*“ลาดพร้าว บางกะปิ เพชรบุรี เลียบคลองแสนแสบ” จ่อคิวลุ้นนั่ง“โมโนเรล”

*ค่ายผลิตรถไฟฟ้าแดนปลาดิบ จ้องตั้งฐานผลิตในไทย

*ขู่การเมืองไม่เปลี่ยน คนกรุงฯนั่งรถไฟฟ้ารอบเมืองใน 5 ปี

ท่ามกลางความไม่ชัดเจนของแผนการลงทุนโครงการระบบขนส่งมวลชนขนาดใหญ่ที่ยังไม่มีใครกล้าฟันธงว่า จะมีการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายแรกเมื่อไหร่ หลังจากที่รัฐบาลพยายามที่จะเร่งให้เกิดการก่อสร้างขึ้น แต่ต้องติดปัญหาต่าง ๆ มากมาย ทั้งจากภายในรัฐบาลเอง และปัจจัยภายนอกที่รุมเร้าจนทำให้โครงการไม่เกิดขึ้นเสียที ไม่ว่าจะเป็น การหาแหล่งเงินกู้ที่ในช่วงแรก รัฐบาลพยายามจะบอกว่า ต่างชาติสนใจปล่อยกู้หลายราย แต่พอถึงเวลาที่ต้องหาแหล่งวงเงินกู้ กลับไม่มีนักลงทุนกลุ่มไหนปล่อยกู้ จนทำให้แผนการลงทุนเลื่อนออกมาจนถึงวันนี้

แต่รัฐบาลโดยกระทรวงคมนาคมก็ไม่หยุดนิ่ง พยายามที่จะเชื่อมต่อโครงข่ายระบบขนส่งเข้าด้วยกันให้มากที่สุด เพื่อให้การแก้ปัญหาจราจรครบวงจร ประชาชนเดินทางสะดวกและไม่จำเป็นต้องนำรถยนต์ส่วนตัวออกมาใช้ ทางกระทรวงคมนาคมจึงหาแนวทางแก้ปัญหาบริเวณชุมชนแออัด และไม่สามารถก่อสร้างรถไฟฟ้าได้ จึงจะก่อสร้างระบบเดินรถอีกแบบหนึ่ง ซึ่งแตกต่างจากรถไฟฟ้าที่เรารู้จักและคุ้นเคย นั่นคือรถไฟฟ้า “โมโนเรล” เป็นระบบรถไฟฟ้าอีกรูปแบบหนึ่ง มีข้อดีตรงที่ใช้งบลงทุนก่อสร้างน้อยกว่ารถไฟฟ้าใต้ดินถึง 3 เท่า ใช้เวลาก่อสร้างไม่นาน อีกทั้งยังสามารถก่อสร้างในเส้นทางที่คับแคบ ย่านชุมชนได้ แต่มีจุดเสียตรงที่สามารถขนผู้โดยสารได้น้อยเฉลี่ย 30,000-50,000 คนต่อวัน

สันติ พร้อมพัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า ระบบรถไฟฟ้าโมโนเรลมีลักษณะพิเศษคือ สามารถก่อสร้างสถานีและโครงสร้างพื้นฐานบนถนนในเส้นทางที่มีช่องจราจรแคบ และการลงทุนยังถูกกว่าการก่อสร้างงานโยธาของระบบรถไฟฟ้าทั่วไป และระบบล้อของโมโนเรลก็ใช้ระบบล้อยางที่ก่อให้เกิดเสียงดังที่เป็นมลภาวะน้อยมาก ดังนั้น นอกจากแผนการก่อสร้างรถไฟฟ้า 9 เส้นทางที่รัฐบาลกำลังดำเนินการอยู่ในขณะนี้ กระทรวงคมนาคม จะมอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ไปศึกษาเพิ่มเติมว่ามีถนนเส้นใดที่สามารถพัฒนาระบบรถไฟฟ้าโมโนเรลได้บ้าง

ขณะนี้กระทรวงคมนาคมเห็นว่ามีถนนหลายสายที่มีคุณสมบัติตามหลักเกณฑ์เหล่านี้ เช่น ถนนเพชรบุรี ถนนลาดพร้าว ถนนสุขุมวิท และเส้นทางเลียบคลองแสนแสบ ก็สามารถพัฒนาระบบรถไฟฟ้าขนาดเบาขึ้นได้ ซึ่งคาดว่าระบบดังกล่าวจะสามารถผลักดันให้เกิดขึ้นไม่เกิน 5 ปี หากการเมืองยังไม่เปลี่ยนแปลง

“ระบบโครงการรถไฟฟ้าแบบโมโนเรลเป็นรถไฟฟ้าที่ก่อสร้างวิ่งอยู่บนคานเดียว ทำให้ประหยัดต้นทุนก่อสร้าง การลงทุนก่อสร้าง ใช้ต้นทุนประมาณ กม.ละ 600-800 ล้านบาท รองรับความจุของผู้โดยสารในเส้นทางประมาณวันละ 30,000-50,000 คน ขึ้นไป ทั้งนี้ ระบบรถไฟฟ้าโมโนเรลของบริษัท โตเกียว โมโนเรล จำกัด ซึ่งวิ่งเชื่อมต่อระหว่างสถานี ฮามามัตสูโช ถึงท่าอากาศยานฮาเนดะ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ใช้เวลาวิ่งเพียง 18 นาที จากระยะทาง 17.8 กม.”

รฟม.เด้งรับ“โมโนโรล”

ประภัสร์ จงสงวน ผู้ว่าการ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) กล่าวถึงการก่อสร้างโมโนเรลว่า หากรัฐบาลต้องการเร่งก่อสร้างรถไฟฟ้าในเส้นทางที่มีความคับแคบและมีชมชุนหนาแน่น ซึ่งเป็นอุปสรรคในการก่อสร้างนั้น ระบบโมโนเรลน่าจะเป็นทางออกที่ดี เพราะเป็นระบบที่ดี ทั้งนี้ ในกรุงเทพฯมีพื้นที่ที่มีชุมชนอาศัยหนาแน่นหลายแห่ง และเหมาะที่จะลงทุนระบบโมโนเรล เช่น บริเวณลานจอดรถสถานีลาดพร้าว-บางกะปิ และถนนเพชรบุรี เป็นต้น

“ข้อดีของโมโนเรลคือ ต้นทุนในการก่อสร้างถูกกว่ารถไฟฟ้าใต้ดินที่วิ่งอยู่ในปัจจุบันถึง 30% โดยค่าก่อสร้าง 600-800 ล้านบาทต่อกม.ในขณะที่การก่อสร้างรถไฟฟ้ายกระดับ จะใช้เงินลงทุน 1,100-1,200 ล้านบาทต่อกม.หรือรถไฟฟ้าใต้ดินที่ใช้เงินลงทุน 3,000 ล้านบาทต่อกม. และใช้เวลาก่อสร้างเพียง 2 ปีเท่านั้น ” ประภัสร์กล่าว

สำหรับความคืบหน้าเรื่องการกู้เงินกับธนาคารเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น(เจบิก)ในการขอกู้เงินโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน รวมถึงขอความเห็นของหน่วยงานที่สนใจให้กู้ระบบราง 9 สาย

ในขณะที่สายสีแดง(บางซื่อ-ตลิ่งชัน)ทางกระทรวงการคลัง โดยสำนักบริหารหนี้สาธารณะ(สบน.)และเจบิกจะทำข้อตกลงในส่วนของรายละเอียดเงินกู้ ซึ่งทางเจบิกจะส่งทีมงานมาศึกษาการเชื่อมต่อ ความเป็นไปได้ของเงินลงทุน ซึ่งในวันที่ 30ส.ค.นี้จะมีการประชุมหารือของ 3 กระทรวงหลักของญี่ปุ่นที่จะพิจารณาในหลักการเบื้องต้น อย่างไรก็ตาม ทางกระทรวงคมนาคมได้แจ้งให้ทางเจบิกทราบถึงความพร้อมของสายสีแดงว่าได้ผ่านกระบวนการต่างๆเรียบร้อยแล้ว ไม่ว่าจะเป็นการขอสิ่งแวดล้อมหรือ EIA เป็นต้น

นอกจากนี้ได้มีการหารือกับผู้ผลิตรถไฟฟ้า เพื่อเชิญชวนให้มาลงทุนในประเทศไทยซึ่งในอนาคตอาจจะมีการตั้งโรงงานผลิตรถไฟฟ้า โดยผู้ว่ารฟม.กล่าวว่า ต้องการรับฟังความเห็นของผู้ผลิตรถไฟฟ้าที่จะเสนอตัวเข้ามาว่ามีเงื่อนไขอะไรบ้าง เช่น รฟม.จะยืนยันได้หรือไม่ว่าหากผู้ผลิตรถไฟฟ้าผลิตรถ 300 ขบวนแล้วจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงหากเปลี่ยนรัฐบาล เป็นต้น โดยผู้ผลิตรถไฟฟ้าที่แสดงความสนใจมีหลายบริษัท เช่น คาวาซากิ , มิซุบิชิ , นิปองซะเรียวอินดัสทรี, มิตาซิ อินดัสทรี และ ฟุจิ อินดัสทรี ซึ่งทั้ง 5 รายเป็นผู้ผลิตรถไฟฟ้ารายใหญ่ของญี่ปุ่น

กระทรวงอุตฯเห็นด้วยสร้างโรงงานผลิต

ในขณะที่กระทรวงอุตสาหกรรมเห็นด้วยกับการก่อตั้งโครงงานผลิตรถไฟฟ้า โดยใช้อุปกรณ์และชิ้นส่วนในประเทศ ขณะที่ผู้ประกอบการไทยมีความพร้อมที่จะผลิตอุปกรณ์ชิ้นส่วนป้อนให้แก่โรงงานประกอบรถไฟฟ้าได้ เช่น ระบบปรับอากาศ กระจก ที่นั่ง ราวจับ ฉนวนกันความร้อน ยางปูพื้น โคมไฟในตัวรถ ผนัง เพดาน ยกเว้นระบบควบคุมหลักเดินรถที่ต้องซื้อจากต่างประเทศ โดยมีผู้ผลิตรถไฟฟ้าต่างชาติหลายรายสนใจเข้ามาตั้งโรงงานในไทย เช่น ซีเมนส์ บอม บาร์ดิเยร์ เพราะเห็นว่าไทยมีความต้องการรถไฟฟ้าจำนวน 324 ขบวน แบ่งเป็นสายสีม่วง 126 ขบวน สายสีน้ำเงิน 84 ขบวน สายสีเขียว 84 ขบวน สายสีแดง 30 ขบวน จำนวนรถไฟฟ้าดังกล่าวเพียงพอต่อการตั้งโรงงานประกอบภายในประเทศ ซึ่งดร.ขัติยา ไกรกาญจน์ ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ส.อ.ท. กล่าวว่า ผู้ประกอบการทุกกลุ่มสนับสนุนการตั้งโรงงานประกอบรถไฟฟ้าภายในไทย รวมทั้งสนับสนุนให้ไทยเป็นศูนย์กลางผลิตรถไฟฟ้าในภูมิภาคเพื่อส่งออกไปประเทศใกล้เคียง เช่น สิงคโปร์ มาเลเซีย ฮ่องกง โดย ส.อ.ท.จะส่งหนังสือไปถึงนายกรัฐมนตรีเพื่อแจ้งว่าเอกชนสนับสนุนโครงการดังกล่าว

ปี 52 กู้สร้างรถไฟฟ้า 8 หมื่นลบ.

ด้านพงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ ผู้อำนวยการ สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) กล่าวว่า เจบิก มีความพร้อมที่จะปล่อยกู้เพิ่มในส่วนของโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าในสายสีม่วง(บางใหญ่-ราษฎร์บูรณะ ) อีก 4,000 -5,000 ล้านบาท จากวงเงินกู้เดิม 32,000 ล้านบาท และไทยได้รับวงเงินก้อนแรก 18,000 ล้านบาท ซึ่งการเพิ่มวงเงินกู้นี้ ก็เป็นไปตามข้อเท็จจริง ที่ต้นทุนในการก่อสร้างโครงการขนาดใหญ่ ประสบปัญหาต้นทุนก่อสร้างสูงขึ้น ทั้งจากราคาน้ำมันและวัสดุก่อสร้าง ส่วนโครงการรถไฟฟ้าที่คาดว่า จะได้รับเงินกู้จากเจบิก เพื่อใช้ดำเนินการต่อไป คือรถไฟฟ้าสายสีแดง (รังสิต-บางซื่อ)และสายสีน้ำเงิน วงเงินกู้ประมาณ 80,000 ล้านบาท แบ่งการปล่อยกู้เป็นงวดๆละ 20,000 ล้านบาท ในส่วนของสายสีน้ำเงิน สำหรับสายสีแดง บางซื่อ –ตลิ่งชันนั้น ในวันที่ 30 ก.ค.นี้คงต้องรอให้ทางญี่ปุ่น โดย 3 กระทรวงหลัก คือ กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงการคลังและกระทรวงนิติ มีการประชุมหารือข้อสรุปก่อนว่าจะเป็นไปในทิศทางไหน โดยสายสีแดงจะใช้วงเงินกู้เท่าไหร่
Back to top
View user's profile Send private message
nathapong
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/03/2006
Posts: 3515
Location: Ayuthaya - Lamlukka - Navanakhon - Silom

PostPosted: 28/07/2008 5:42 pm    Post subject: Reply with quote

Quote:
กระทรวงอุตฯเห็นด้วยสร้างโรงงานผลิต

ในขณะที่กระทรวงอุตสาหกรรมเห็นด้วยกับการก่อตั้งโครงงานผลิตรถไฟฟ้า โดยใช้อุปกรณ์และชิ้นส่วนในประเทศ ขณะที่ผู้ประกอบการไทยมีความพร้อมที่จะผลิตอุปกรณ์ชิ้นส่วนป้อนให้แก่โรงงานประกอบรถไฟฟ้าได้ เช่น ระบบปรับอากาศ กระจก ที่นั่ง ราวจับ ฉนวนกันความร้อน ยางปูพื้น โคมไฟในตัวรถ ผนัง เพดาน ยกเว้นระบบควบคุมหลักเดินรถที่ต้องซื้อจากต่างประเทศ โดยมีผู้ผลิตรถไฟฟ้าต่างชาติหลายรายสนใจเข้ามาตั้งโรงงานในไทย เช่น ซีเมนส์ บอม บาร์ดิเยร์ เพราะเห็นว่าไทยมีความต้องการรถไฟฟ้าจำนวน 324 ขบวน แบ่งเป็นสายสีม่วง 126 ขบวน สายสีน้ำเงิน 84 ขบวน สายสีเขียว 84 ขบวน สายสีแดง 30 ขบวน จำนวนรถไฟฟ้าดังกล่าวเพียงพอต่อการตั้งโรงงานประกอบภายในประเทศ


ที่กระทรวงอุตเสนอ ชงมาเนี่ย น่าจะไปเอา พรีเซนเตชั่น เรื่อง ขายฝัน สร้างรถไฟฟ้า ... อะอะ
จัดทำโดย สศอ.สมัยเมื่อ 3-4 ปีล่วงมาแล้ว และจัดงานที่เซ็นทรัลลาดพร้าว เอามาโฆษณาอีกรอบก็ เหลือเฟือ

ถ้าจำไม่ผิด มีสมาชิกบ้านนี้(คุณป้อม) ในเวบเก่า เป็นนายแบบเสียด้วย ก่อนลาออกไปทำงานภาคเอกชน
Back to top
View user's profile Send private message Send e-mail
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42785
Location: NECTEC

PostPosted: 29/07/2008 1:24 pm    Post subject: Reply with quote

วิบากกรรมรถไฟฟ้า 9 สาย "เจบิก" โขกดอกเบี้ย-หดระยะเวลาให้กู้
Prachachat Thurakij วันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 ปีที่ 32 ฉบับที่ 4022 (3222)

แผนกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐผ่านโครงการเมกะโปรเจ็กต์ โดยเฉพาะการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้า 9 สาย จะสามารถสานฝันให้เป็นผลงานชิ้นโบแดงได้เหมือนกับที่คาดหวังเอาไว้หรือไม่ ดูเหมือนคำตอบยังอยู่อีกยาวไกล

แต่ในความเป็นจริง โปรเจ็กต์เร่งด่วน ก็ไม่สามารถเดินหน้าได้รวดเร็วอย่างที่คิด ถึงวันนี้รถไฟฟ้าทุกสายเหมือนกับยังย่ำ อยู่กับที่ ทำให้ภาครัฐต้องออกแรงแก้ปมปัญหา เพราะหากปล่อยให้เวลาทอดยาวออกไปอีก ก็ไม่รู้ว่าต้นทุนก่อสร้างจะสูงขึ้นอีกเท่าใด

จากปัจจุบันเพียงแค่รถไฟฟ้าระยะแรก 5 โครงการ 7 สายทาง ระยะทาง 145 กิโลเมตร ค่าก่อสร้างก็บานปลายจาก กรอบเดิม 259.7 แสนล้านบาท เป็น 319,344 ล้านบาท เพราะไม่ใช่แค่วัสดุก่อสร้างเท่านั้นที่เป็น ตัวผันแปร ยังมีเรื่องอัตราดอกเบี้ยที่ เจบิกกำลังจะปรับขึ้นอีก

ล่าสุดระหว่างวันที่ 15-19 กรกฎาคม 2551 ที่ผ่านมา นายสันติ พร้อมพัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และคณะ พร้อมด้วย นายพงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) นายประภัสร์ จงสงวน ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เดินทางข้ามน้ำข้ามทะเลไปประเทศญี่ปุ่น เพื่อเข้าพบธนาคารเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (เจบิก)



เป้าหมายคือการเจรจากู้เงินก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วงบางซื่อ-ท่าพระ และหัวลำโพง-บางแค สายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต นอกจากสายสีม่วง ช่วงบางซื่อ-บางใหญ่ ที่เจบิกอนุมัติเงินกู้ให้แล้ว งวดแรก 18,000 ล้านบาท นอกจากนี้ยังขอให้เจบิกลดขั้นตอนต่างๆ ให้เร็วขึ้น

ยันปีนี้เปิดประมูล 3 สาย

นายสันติกล่าวว่า เจบิกสนใจให้กู้เงินในอันดับต้นๆ สำหรับโครงการรถไฟฟ้าทั้ง 9 สาย ขณะนี้กำลังพิจารณาปล่อยกู้สายสีน้ำเงิน แต่ให้ รฟม.เร่งเคลียร์ปัญหาเรื่องผลกระทบสิ่งแวดล้อมให้เสร็จโดยเร็ว ส่วนสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต ซึ่งจะใช้เงินกู้ทั้งโครงการ เจบิกแจ้งว่าจะนำเข้าสู่การพิจารณาของกระทรวงการคลัง กระทรวงการต่างประเทศ และกระทรวงมิติก่อน ปลายเดือนนี้น่าจะได้ข้อสรุป

"ถ้าเป็นไปได้ ผมอยากจะให้ขายแบบได้ปีนี้ในส่วนของสายสีแดง สีน้ำเงิน และ สีเขียว ซึ่งสายสีเขียวน่าจะเร็วเพราะใช้ เงินกู้ในประเทศ ขั้นตอนต่างๆ จะมีไม่มาก ส่วนสีม่วงกำลังจะเปิดให้ยื่นซองประมูล"

ม่วง-น้ำเงิน-แดงกู้เจบิก

ขณะที่นายพงษ์ภาณุกล่าวว่า ขณะนี้ได้ข้อสรุปชัดเจนแล้วว่าในการก่อสร้างรถไฟฟ้าตามนโยบายของรัฐบาลที่จะกู้เงินจาก เจบิก มีสายสีม่วงที่เซ็นสัญญาเงินกู้ก้อนแรกไปแล้ว 18,000 ล้านบาท จะมีก้อนที่ 2 ในปี 2552 อีกกว่า 14,000 ล้านบาท

นอกจากนี้จะมีสายสีน้ำเงินและสีแดงซึ่งจะกู้ทั้งโครงการ ตกประมาณ 8-9 หมื่นล้านบาทต่อสายทาง อาจแบ่งงวดกู้ออกเป็น 3-4 งวด สำหรับสายสีเขียวทั้ง 2 สายจะกู้เงินในประเทศแทน วงเงินรวมประมาณ 5 หมื่นกว่าล้านบาท

"ที่ สบน.จัดทำรายละเอียดไว้ ปีงบประมาณ 2552 จะมีการกู้เงินใหม่ 4 แสนล้านบาท เพื่อนำมาใช้ลงทุน โครงการต่างๆ เป็นเงินกู้ต่างประเทศ 5 หมื่นล้านบาท ที่เหลือกู้ในประเทศ แต่จะพยายามกู้เงินต่างประเทศมากขึ้น เพราะความเสี่ยงจะน้อยกว่า ในวงเงิน 5 หมื่นล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นโครงการของกระทรวงคมนาคม ทั้งรถไฟฟ้า สะพาน ถนน"

สำหรับสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต ทางเจบิกมีข้อข้องใจทางด้านเทคนิคว่า สรุปแล้วรัฐบาลไทยจะจัดซื้อรถไฟแบบใด มาวิ่ง ระหว่างรถไฟดีเซลราง หรือรถไฟฟ้า และการรื้อย้ายชุมชนริมทางรถไฟฟ้า จะเป็นหน้าที่ของการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) หรือผู้รับเหมาก่อสร้าง โดยได้ขอความชัดเจนจากฝ่ายไทย ซึ่งรัฐบาลจะตอบกลับเป็นทางการเร็วๆ นี้

เจบิกบีบกู้ระยะสั้น-ขึ้นดอกเบี้ย

ด้านนายประภัสร์เปิดเผยว่า ในการพิจารณาเงินกู้เจบิกแจ้งว่าจะมีการปรับเงื่อนไขใหม่ เพราะมองว่าปัจจุบันประเทศไทยมีรายได้ต่อหัวเพิ่มขึ้น ทำให้การกู้เงินจากเดิมที่เคยเจรจาไว้ในการก่อสร้าง รถไฟฟ้าใต้ดินสายแรก เป็นกู้ระยะยาว 40 ปี ดอกเบี้ย 0.75% ล่าสุดจะปรับอัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น และระยะในการปล่อยกู้ จะสั้นลง เช่นเดียวกับสายสีม่วงที่เพิ่งเซ็นสัญญาเงินกู้อัตราดอกเบี้ยอยู่ที่ 1.4% ระยะเวลาชำระคืน 25 ปี แต่กระทรวงการคลังพิจารณาแล้วเห็นว่าไม่มีผลกระทบต่อการชำระหนี้ของประเทศ
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 5, 6, 7 ... 278, 279, 280  Next
Page 6 of 280

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©