RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311322
ทั่วไป:13284380
ทั้งหมด:13595702
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - เรื่องหายาก .. ดูดมาจากเวบเก่า
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

เรื่องหายาก .. ดูดมาจากเวบเก่า
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 19, 20, 21 ... 73, 74, 75  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สาระความรู้วิชาการรถไฟและประวัติศาสตร์รถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42784
Location: NECTEC

PostPosted: 28/11/2009 3:36 am    Post subject: Reply with quote

๘ มีนาคม ร.ศ. ๑๒๐ (AD 1902): รัฐบาลสยามให้กรมรถไฟหลวง เก็บค่าเช่าที่ดิน ตามทางรถไฟสายปากน้ำ ดั่งนี้:
๑. ค่าที่ดิน ๘๑.๖๑ เอเคอร์ คิดเอเคอร์ละ ๕ อัฐ => รวม ๖ บาท ๑ สลึง ๑ เฟื้อง (๖.๓๗๕ บาท)
๒. ค่าเช่าที่สถานีปากน้ำ ๕ เอเคอร์ คิด คิดเอเคอร์ละ ๒ บาท ๒ สลึง รวม ๑๗ บาท ๒ สลึง

๕ กุมภาพันธฺ์ ร.ศ. ๑๒๔ (AD 1906) : ผู้จัดการรถไฟสายปากน้ำ เชื้อเชิญให้บรรดาเจ้านายฝ่ายหน้าลงทุนสร้างรถไฟ จาก สถานีสำโรง ขนานไปกับคลองสำโรงถึง บางปะกง เป็นระยะทาง ๔๔.๕ กิโลเมตร (๑๑๑๒๑ เส้น) แต่ต้องการเงินถึง ๑,๒๗๔,๐๐๐ บาทจากบรรดาเจ้านายฝ่ายหน้า ลงทุนโดนจะแถมหุ้นลมให้ด้วย แต่ พระคลังข้างที่ไม่เอาด้วย .... เพราะ ตอนก่อตั้งรถไฟปากน้ำ ก็ได้ซื้อหุ้น ไปเยอะแล้ว

๒๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๖๔ บริษัทรถไฟปากน้ำ ขอสัมปทานเพิ่มอีก ๒๕ ปี เพื่อนำไปลงทุนติดระบบรถไฟฟ้า (รถรางนั่นแหละ) และ ระบบอื่นที่่จำเป็น แต่ไม่ได้รับการอนุมัติ เป็นแต่ช่วยให้เข้าถึงแห่งเงินกู้เท่านั้น


Last edited by Wisarut on 01/03/2019 1:00 pm; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
ksomchai
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 08/04/2009
Posts: 6384
Location: เมืองทองเนื้อเก้า มะพร้าว สัปรด สวยสดหาด เขา ถ้ำ งามล้ำน้ำใจ ป่าชุ่มน้ำผืนใหญ่ แหล่งวางไข่ปลาทู

PostPosted: 28/11/2009 8:52 am    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
Click on the image for full size

นางสาวมยุรี วิชัยวัฒนะ(มยุรี เจริญศิลป์) นางสาวสยาม ปี พ.ศ.2480 ถ่ายโดยช่างภาพกรมรถไฟ เมื่อ 13 ธันวาคม 2480 (มีภาพเก็บรักษาที่ หจช.)


Arrow เพิ่งเปิดเข้ามาดูเห็นภาพนี้แล้ว ตู้รถไฟน่าจะเป็นรุ่นเดียวกับที่จอดอยู่สวนรถไฟหรือเปล่า ครับ Question ตู้นี้ ครับ

Click on the image for full size

Click on the image for full size
Arrow ปัจจุบันถ้ามีพ่วงไปกับขบวนรถก็ดีนะครับ ชมวิวถ่ายถาพได้สะดวก
Back to top
View user's profile Send private message Send e-mail
black_express
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/03/2006
Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ

PostPosted: 28/11/2009 8:46 pm    Post subject: Reply with quote

คล้ายๆ กัน แต่ไม่ใช่ครับ Razz สังเกตได้จากลักษณะบังแดดเหนือหน้าต่างโบกี้
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42784
Location: NECTEC

PostPosted: 08/12/2009 1:08 am    Post subject: รหัสทางหลวงยุคสมัยที่ขึ้นกับกรมรถไฟ Reply with quote

1. ทางหลวงหมายเลข 1: เด่นไชย - แพร่

2. ทางหลวงหมายเลข 2: เชียงใหม่ - ลำพูน (ถนนมีต้นยางน้ำมัน 2 ข้างทาง) แม้ทางรถไฟจะไปถึงเชียงใหม่ แต่ ถนนสายนี้ก็สำคัญเพราะ เป็นทางเชื่อม ทั้งสองนครในตำบลที่คนตั้งบ้านเรือนหนาแน่น เข้าด้วยกัน

3. ทางหลวงหมายเลข 3: ลำปาง - งาว - พะเยา - เชียงราย => ทางสะดวกดีสินค้าจากเชียงราย และเชียงตุง จะลงมาถนนสายนี้เป็นหลัก รถยนต์สามารถไปได้ถึงเมืองงาว พ.ศ. ๒๔๖๓ และ รถยนต์สามารถไปได้ถึงพะเยา พ.ศ. ๒๔๖๔ แม้ใน เดือนมกราคม พ.ศ. ๒๔๖๒ เกวียนจากลำปางและเชียงรายสามารถไปมาถึงกันได้แล้ว ใช้เวลา ๖ วัน ซึ่งดีกว่าแต่ก่อนที่ต้องขี่ม้า หรือ ไม่ก็ใช้ม้าต่างซึ่งกินเวลา ๘ วัน

4. ทางหลวงหมายเลข 4: ควนเนียง - สตูล

5. ทางหลวงหมายเลข 5: ถนนแม่ออน => ในเวียง - สถานีรถไฟเชียงใหม่ - สันกำแพง - แม่ออน สำคัญรองแต่เพียง ทางหลวงหมายเลข 4 (ถนนแม่ริม) และมีทางหลวงท้องถิ่นจาก แม่ออน ไปดอยสะเก็ด ที่ทำท่าจะเป็นทางเกวียนเสียมากกว่า เพราะ มีทางหลวงหมายเลข 6 รองรับอยู่ แต่ กระนั้น การทอผ้าไหมที่สันกำแพง จะเป็นสินค้าที่ขายในเวียงเชียงใหม่ ดังนั้นทำถนนจากใยนเวียงถึงสถานีรถไฟ ให้ดีพอให้รถเดินได้ตลอดปี แล้วให้ถนนจากหน้าสถานี ไป แม่ออน เป็นทางเกวียน จะ คุ้มค่าที่สุด

6. ทางหลวงหมายเลข 6: ในเวียง - ดอยสะเก็ด - เวียงป่าเป้า - แม่สรวย - เชียงราย => ถนนที่เชื่อมเชียงใหม่กับเชียงรายเข้าด้วยกัน พอไปได้ถึงดอยสะเก็ด แม้สะพาน อาจต้องสร้างใหม่ แทนสะพานเดิมที่ง่อนแง่นเต็มที แต่พ้นจากดอยสะเก็ด จะเป็นทางขึ้นเขาขึ้นดอย แม้แต่นาย เฮนรี่กิตตินส์ ยังบอกว่า ถ้ารักจะสร้างทางรถไฟ ต่อ จากเชียงใหม่ ไป เชียงรายโดยแปรสภาพ ทางช่วง ดอยสะเก็ด - เวียงป่าเป้า - แม่สรวย - เชียงราย ให้เป็นทางรถไฟ น่ากลัวว่าต้องเจาะอุโมงค์หลายแห่ง ทำให้แพงเกินกำลังรัฐบาลสยามจะสร้างและบำรุงรักษาให้ดีได้ตลอด

ดังนั้น ทางหลวงหมายเลข 6 สำคัญเฉพาะด้านการปกครองทำให้ การปกครองไปได้อย่างทั่วถึงเท่านั้น และ กรมทางจะรักษาเฉพาะทางช่วง ในเวียง - ดอยสะเก็ดให้ดีทุกฤดูกาลเท่านั้น นอกนั้น ขอให้จำกัดแต่เป็นทางเกวียน จนกว่าความต้องการจะมากพอ

7. ทางหลวงหมายเลข 7: เชียงใหม่ - บ้านแม่ - วัดจอมทอง ริมแม่น้ำปิง ตอนแรกกะจะให้รถยนต์เดินได้ทุกฤดูถึงฮอดแต่ งดเสียเพราะ ไม่มีงบบำรุงทางให้ดีตลอด ถนนสายนี้ มีแยกจากบ้านแม่ไป ช้างเคิง แม่สะเรียง ขุนยวม มีแต่สินค้าจากรัฐฉานและ พม่า และ มีแต่ ชาวไทใหญ่ และ ชาวเขาที่ใช้ถนนเส้นนี้ ถ้ารักจะบำรุงให้ถนนเส้นนี้ใช้งานได้ดีทุกฤดู ก็คงเพราะ เป็นถนนยุทธศาสตร์ ที่สำคัญในด้านการเมืองการปกครองโดยแท้

8. ทางหลวงหมายเลข 8: เชียงใหม่ - ห้วยแก้ว - ดอยสุเทพ - ถนนท้องถิ่น ที่ สามารถบอกบุญให้สร้างได้ถึงพระธาตุดอยสุเทพ - ทำให้กรมทางสามารถถอดรายชื่อถนนเส้นออกจากบัญชี ทางหลวงแผ่นดินได้ ซึ่งที่สุดก็ทำได้สำเร็จเพราะ การบอกบุญด้วยครูบาศรีวิชัย เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๗

9. ทางหลวงหมายเลข 11: สงขลา - หาดใหญ่ - สะเดา
10. ทางหลวงหมายเลข 18: บ้านโป่ง - กาญจนบุรี (เชือมกับถนนทรงพล ที่ มาจากนครปฐม ถึง บ้่านโป่ง)

สมัยรัชกาลที่ ๖ (พ.ศ. ๒๔๖๒) ได้กำหนดให้ ทางหลวงหมายเลข 4 คือถนนที่เรียกกันว่าถนนแม่ริม จากในเวียงเชียงใหม่ จะเชื่อมกับ แม่ริม มีแยกไปเมืองปาย สระเมิง สันมหาพล เชียงดาว และ เมืองฝาง มีทางเกวียนแยกจากสันมหาพล ไป เมืองพร้าว และทางหลวงท้องถิ่น ไปเชียงราย และ ทางเกวียนไปแม่สรวย แต่อาจมีการขนสินค้าทางน้ำจาก เชียงรายและ เชียงดาวผ่านสันมหาพล ลงแม่ปิงไปเชียงใหม่ ส่วน กรณีลำน้ำแม่ริมที่บรรจบกับแม่ปิงที่สบริม นั้นตื้นเขินยามแล้ง ทำให้ ไม่น่าวิตกว่าจะเป็นคู่แข่งกับทางหลวงแผ่นดิน ดังนั้น การรักษาถนนแม่ริม (เชียงใหม่ - ฝาง) ให้ดีทุกฤดูกาลถึงเมืองฝางจึงเป็นเรื่องที่สมควรทำ

นอกจากนี้มีทางเกวียนขนานกับ ทางหลวงหมายเลข 4 แต่ผ่านสันทราย และ เมืองพร้าว แต่ ไม่สู้สำคัญนัก

นอกจากนี้ อุปราชภาคเหนือ ดำริจะให้สร้างถนนจากในเวียง ไป แม่ท่าช้าง แต่ ผลการสำรวจจริงพบว่า มีของป่าและสินค้าจาก แม่ท่าช้างไปในเวียง น้อยกว่าที่อุปราชภาคเหนือได้อวดอ้าง หรือ เพราะ ท่านอุปราชหลงเชื่อภาพการที่พ่อค้าแม่ขายใช้ทางเกวียนจาก แม่ท่าช้างเข้าไปในเวียง บางที่ อุปราชภาคเหนือ ต้องการให้กรมทางช่วยสร้างสะพานให้ใหม่แทนสะพานเดิมที่ง่อนแง่นเต็มที ถ้าได้สร้างสะพานเสียใหม่ คงจะมีคนเดินทางไปมากกันมากขึ้นกว่านี้ก็ได้ ดังนั้นสร้างเป็นทางเกวียนน่าจะคุ้มค่าที่สุด

ตอนแรก มีการกำหนดให้ ถนน สถานีนครลำปาง - ในเวียง เป็นทางหลวงแผ่นดินหมายเลขที่ ๙ แต่ ภายหลังให้แปรสภาพ ถนน สถานีนครลำปาง - ในเวียง เป็นส่วนหนึ่งของ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓ (ลำปาง - งาว - พะเยา - เชียงราย) เพื่อให้ป้อนทางรถไฟได้จริงๆ และ ตอนหลัง รัฐบาลได้ตั้งโรงงานน้ำตาลเกาะคา เมื่อปี 2480 ก็ได้ ตัดถนนจาก สถานีนครลำปาง ไปเกาะคา เพื่อลำเลียง ผลผลิต ขึ้นรถไฟได้สะดวก โดยไม่จำเป็นต้องต่อทางรถไฟเล็กในไร่อ้อย และ โรงงานน้ำตาลเกาะคา ไปที่สถานี

อ้างอิงจาก:
1. เอกสาร ร.7 ชุด กรมรถไฟหลวง กระทรวงพาณิชย์และคมนาคม (พ.4) หจช.]
2. เอกสาร ร.6 ชุด กรมรถไฟหลวง ภาคเหนือ (คค. 5.) ชุด Considerations Affecting The Highways around Chiengmai 21 January 1919.


Last edited by Wisarut on 08/02/2010 3:56 pm; edited 4 times in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42784
Location: NECTEC

PostPosted: 18/01/2010 10:26 am    Post subject: Reply with quote

ช่วงนี้ หจช. ปิดวันเสาร์ เป็นเวลา 3 เดือน เพื่อ ซ่อม Dumb Waiter แย่จริงๆ Sad
แต่ พอไป หอสมุดแห่งชาติก็เจอของดี คือ หนังสือ แผนที่กรุงเทพฯ พ.ศ.2450-2550 ของ สํานักงานผังเมือง กรุงเทพมหานคร เพราะ หนังสือเล่มนี้ทำให้ ผมเห็นตำแหน่ง ที่ถูกต้องของสถานีสำหรับรถไฟพิเศษสำหรับพระเจ้าอยู่หัวและเชื้อพระวงศ์ - Embarassed Laughing

สมัยนั้น สถานี สามเสน สำหรับ พสกนิกร อยู่ บริเวณ ใต้ไปจาก สถานี สามเสนบัจจุบัน แถวหน้าวัด จอมสุดาราม ซึ่งอยู่ฝั่งเหนือคลองสามเสน ขณะที่สถานีสามเสนสำหรับพระเจ้าอยู่หัว อยู่ริมคลองสามเสนฝั่งใต้ ระหว่าง ถนนสุโขทัยและ ถนนสุคันธาราม

นอกจากนี้ ผมยังได้เห็นหนังสือแผนที่ พินิจพระนคร 2475 - 2545 ที่คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจัดพิมพ์ ปี 2549 ทำให้ได้เห็นโรงเก็บรถราง ย่านสะพานเหลืองที่สร้างเมื่อปี 2453-54 ด้วย

ไว้ว่างๆ จะสแกนภาพจากแผนที่ซึ่งได้ซีร็อกส์ไว้นะครับ
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44782
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 18/01/2010 11:07 am    Post subject: Reply with quote

เจ้าหน้าที่หอจดหมายเหตุแห่งชาติ บอกว่า ตอนนี้ต้องหอบเอกสาร เดินขึ้นลงบันไดครับ ก็น่าเห็นใจ

เกี่ยวกับหนังสือแผนที่ทั้งสองเล่มนี้ มีข้อมูลดังนี้ครับ

Quote:
• การอนุรักษ์ และเผยแพร่แผนที่ประวัติศาสตร์ กรุงเทพ

ช่วงเวลาประมาณ 25 ปี ระหว่างปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นช่วงเวลาที่นำความเปลี่ยนแปลงมากมายมหาศาลมาสู่สถาปัตยกรรมและเมืองกรุงเทพฯ การขยายตัวของประชากรเมือง ระบบราชการอย่างใหม่ ระบบคมนาคมและสาธารณูปโภค ตลอดจนค่านิยมในรูปแบบวิถีชีวิตอย่างตะวันตก ทำให้สถาปัตยกรรมและเมืองกรุงเทพฯ เปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก โดยในส่วนหลักฐานทางกายภาพของการเปลี่ยนแปลงสถาปัตยกรรมและเมืองในช่วงดังกล่าว สามารถศึกษาผ่าน แผนที่บริเวณกรุงเทพฯ 2 ชุด ที่ได้มีการจัดทำขึ้นในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่ออันสำคัญยิ่งนี้ ได้แก่

แผนที่บริเวณกรุงเทพฯ พ.ศ. 2450 เป็นแผนที่ที่จัดทำขึ้นโดยกรมแผนที่ เมื่อครั้งยังสังกัดอยู่กระทรวงเกษตราธิการ เพื่อประโยชน์ในการออกโฉนดที่ดินในเขตพระนคร ด้วยมาตราส่วน 1 : 1000 แผนที่ชุดนี้จึงมีความละเอียดแม่นยำสูงกว่าแผนที่กรุงเทพฯ ชุดใดๆ ที่มีมาก่อน ให้ทั้งข้อมูลเกี่ยวกับสถาปัตยกรรม วัสดุอาคาร ภูมิสถาปัตยกรรม ตลอดจนนามอาคารสถานที่ต่างๆ ในพระนครเมื่อปลายรัชกาลที่ 5

และแผนที่บริเวณกรุงเทพฯ พ.ศ. 2475 เป็นแผนที่ที่จัดทำโดยกรมแผนที่ทหาร กระทรวงกลาโหม เพื่อประโยชน์ในราชการทั่วไป ในมาตราส่วน 1 : 5000 ด้วยเทคโนโลยีการพิมพ์สี ทำให้แผนที่ชุดดังกล่าวมีข้อมูลเกี่ยวกับสถาปัตยกรรม ภูมิสถาปัตยกรรม และผังเมืองอันมีประโยชน์อย่างยิ่ง เมื่อประกอบกับแผนที่บริเวณกรุงเทพฯ พ.ศ. 2450 ก็ทำให้สามารถศึกษาเปรียบเทียบความเปลี่ยนแปลงของลักษณะทางกายภาพของเมือง ในช่วงเวลาดังกล่าว ได้อย่างชัดเจน

รศ. ดร. บัณฑิต จุลาสัย จากภาควิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เล็งเห็นคุณค่าของแผนที่บริเวณกรุงเทพฯ ในฐานะที่เป็นหลักฐานสำคัญของ เครื่องมือ ที่เจ้านายขุนนางสยามได้ใช้ในการวางแผน พัฒนาแก้ไขปรับปรุงพระนครให้ทันสมัย และในฐานะ ภาพสะท้อน ของลักษณะทางกายภาพของเมือง และการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในขณะนั้น จึงได้ดำเนินการรวบรวม คัดลอก และ จัดทำฐานข้อมูลแผนที่บริเวณกรุงเทพฯ พ.ศ. 2450 และ พ.ศ. 2475 อย่างเป็นระบบ เพื่อเป็นองค์ความรู้ทางประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมและเมืองกรุงเทพฯ เพื่อให้สะดวกแก่การค้นคว้า สำหรับการเรียนการสอนในระดับบัณฑิตศึกษา และ เพื่อการวิจัย หรือจัดพิมพ์เผยแพร่ต่อไป

ผลการวิจัยได้ภาพสะท้อนผ่านแผนที่ ซึ่งแสดงการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพของเมืองกรุงเทพฯ ในช่วงเวลาหกสิบปีอย่างชัดเจน ด้วยคุณค่าของงานวิจัยดังกล่าว จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับกองบัญชาการทหารสูงสุด จึงนำผลงานวิจัยในโครงการไปเป็นส่วนหนึ่งของการจัดทำโครงการนิทรรศการ พินิจพระนคร 2475-2545 ณ กรมแผนที่ทหาร ในระหว่างวันที่1-2 กันยายน พ.ศ. 2549 และจัดแสดงนิทรรศการ พินิจพระนคร 2475-2545 ณ อาคารมหาจุฬาลงกรณ์ ในระหว่างวันที่ 15 -27 กันยายน พ.ศ. 2549 นอกจากนี้ผลงานวิจัยดังกล่าวจะได้เป็นส่วนหนึ่งของ หนังสือ พินิจพระนคร 2475 - 2545 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ที่ทรงมีต่อพสกนิกรในกรุงเทพมหานครตลอดช่วงเวลาหกสิบปีแห่งการครองราชย์ที่ผ่านมา และเพื่ออนุรักษ์แผนที่ประวัติศาสตร์ ตลอดจนเผยแพร่ข้อมูลแผนที่ประวัติศาสตร์และภาพถ่ายทางอากาศให้แพร่หลายมากยิ่งขึ้น
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
BanPong1
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 07/12/2006
Posts: 2733
Location: กม.37 สายเหนือ, กม.68 สายกาญจนบุรี

PostPosted: 18/01/2010 8:37 pm    Post subject: Reply with quote

^
^
ช่วงนี้กำลังโดนเร่งให้ทำวิจัยๆๆๆๆๆๆๆ
ขอบคุณครับที่ทั้งสองท่านนำเรื่องนี้มาจุดประกายให้มีกำลังใจในการทำงานขึ้นครับ Smile Smile
_________________
Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message Send e-mail MSN Messenger
nathapong
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/03/2006
Posts: 3515
Location: Ayuthaya - Lamlukka - Navanakhon - Silom

PostPosted: 19/01/2010 1:43 pm    Post subject: Reply with quote

^
^
จากโพสของ ห.หมี
“หนังสือ แผนที่กรุงเทพฯ พ.ศ.2450-2550 ของ สํานักงานผังเมือง กรุงเทพมหานคร”

สงสัยต้องพา อ.บ้านโป่ง
ไปเก็บข้อมูลวิจัย เกี่ยวกับระบบรางที่หน้างานเป็นของแถม ...กระมั้งครับ อิอิ...

ปล. อ.บ้านโป่ง ได้บัตรเข้างาน เดือนกพ. ที่ไบเทคหรือยังครับ...
Back to top
View user's profile Send private message Send e-mail
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42784
Location: NECTEC

PostPosted: 19/01/2010 4:05 pm    Post subject: Reply with quote

^^^
ปี 2449-50 ถนนพญาไท ยังไม่มี มีแต่คลองพญาไท เชื่อมคลองแสนแสบเข้ากับคลองสามเสน ตอนแรก โดนถมปิดทาง ตตอนสร้างทางรถไฟสายแปดริ้วจนเจ้าของที่นาข้างคลองพญาไทที่เป็นมุสลิม โวยวายเอา แต่ ทางราชการชี้แจงว่า คลองพญาไทไม่ได้มีน้ำตลอดปี มีน้ำเฉพาะ ตอนที่คลองแสนแสบและ คลองสามเสนล้นออกมา ทำให้ กรมรถไฟ สามารถถมตัดคลองเป็นสองส่วนได้

ที่สุด ในสมัย ร.6 ก็ได้ถมคลองพญาไทแล้วตัดถนนพญาไทขึ้นแทน
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42784
Location: NECTEC

PostPosted: 16/02/2010 10:05 pm    Post subject: Reply with quote

Travel Talk: 1937 Serene Siam 1937 สยามปี 2480 โดย MGM (บริษัทเมโทรสิงโตหอน) - มีภาพ หน้าหัวลำโพงและตลาดน้ำมหานาค ใกล้สะพานดำที่ทาสีเทา ด้วย
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สาระความรู้วิชาการรถไฟและประวัติศาสตร์รถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 19, 20, 21 ... 73, 74, 75  Next
Page 20 of 75

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©