View previous topic :: View next topic |
Author |
Message |
Cummins
2nd Class Pass
Joined: 28/03/2006 Posts: 719
Location: มหาวิทยาลัยราชมงคลอิสาน วิทยาเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นครราชสีมา
|
Posted: 29/03/2006 9:29 am Post subject: โดนแซงจนได้ |
|
|
ว้า ว่าจะประเดิมด้วยเรื่องเครื่องดีเซลและระบบขับเคลื่อนซะหน่อย โดนเฮียแซงปาดหน้าซะจนได้ _________________ อดีตโชเฟอร์ล้อเหล็ก |
|
Back to top |
|
|
Wisarut
1st Class Pass (Air)
Joined: 27/03/2006 Posts: 43454
Location: NECTEC
|
Posted: 29/03/2006 9:40 am Post subject: |
|
|
ส่งท้าด้วยของดี คือ รถไฟไทย จากวารสาร World Railway แบบกรกฎาคม 2496 ที่ต้นฉบับอยู่ที่อสเตรเลีย สแกนโดยคุณ อาเลียนา
ดูเจ้าซุลเซอร์ 500 แรงม้ากะ รถโบกี้โดยสาร 3 คันนี่สิ
ดูโปรเจคทางรถไฟสายมรณะสิ
ดูเจ้าซุลเซอร์ 500 แรงม้ากะ รถโบกี้โดยสาร 3 คันนี่สิ
ดูโรงเก็รถจักรดีเซลและดีเซลรางสิ ... เสียดายที่บรรยายผิดเป็นที่มักกะสันแทยนที่จะเป็นที่สถานีกรุงเทพ เพราะภาพนี้ มีต้นฉบับในรายงานปี 2474 เสียด้วย
ปิดท้าย
|
|
Back to top |
|
|
Wisarut
1st Class Pass (Air)
Joined: 27/03/2006 Posts: 43454
Location: NECTEC
|
Posted: 29/03/2006 12:23 pm Post subject: |
|
|
จาก ปดร. 2496 บอกว่าถ้ากรณีเวลาบนตัวรถไฟกะเวลาบนสถานีที่ขอทางสะดวกไม่ตรง กัน ให้เวลาในสถานีทางสะดวกเป็นถูกไว้ก่อน
สมัยนั้นเขตทางจากบางซื่อ - คลองรังสิตห้ามขับเร็วเกิน 40 กม/ชม. และช่วงขุนตานจำกัดไม่เกิน 25 กม./ชม.แม้จะเป็นด่วนสายเหนือก็ตาม
นอกจากนี้ พบว่าการพ่วงรถสินค้าของ อีคลาสพ่วงได้สูงสุดไม่เกิน 40 หลังรถตญ. 4 ล้อ (เท่ากะ รถโดยสารล้อโบกี้ 13 คัน) ส่วนรถจักรอื่นๆ
ไม่เกิน 50 หลังรถตญ. 4ล้อ (เท่ากะ รถโดยสารล้อโบกี้ 16-17 คัน)
ห้ามพ่วงรถจักรเข้ากะรถจักรกาแรตต์ หรือ รถจักร 601 เป็นอันขาด คงเพราะมีปัญหาในการเลี้ยวกระมังเพราะใช้ล้อตายไม่ใช่ล้อโบกี้ แถมเป็นรถใหญ่เลี้ยวลำบากด้วย
นอกจากนี้ห้ามพ่วงรถจักรเกิน 3 คัน โดยให้หัวเล็กนำหน้าหัวใหญ่ และ ให้หัวที่ 3 อยู่ท้ายขบวน และการพ่วงพหุห้ามต่อรถจักรติดกันเกิน 2 หัว
สมัย 2496 เขามีเขตจำกัดความเร็วที่แม้แต่ด่วนพิเศษนครพิงค์ และ ด่วนระหว่างประเทศ
และ รถสายอื่นๆ ต้องปฏิบัติตามที่กำหนดไว้ดังนี้
สาย ตั้งแต่ กม. ถึง กม. พิกัดสูงสุด ช่วง
เหนือ 9.500 28.50 40 กม./ชม. บางซื่อ - คลอง รังสิต
เหนือ 501.000 636.000 40 กม./ชม. บ้านด่าน - หนองวัวเฒ่า (ขาขึ้น)
เหนือ 632.000 501.000 40 กม./ชม. หนองวัวเฒ่า - บ้านด่าน (ขาล่อง)
เหนือ 661.000 672.000 35 กม./ชม. ปางม่วง - แม่ตานน้อย (ขาขึ้น)
เหนือ 672.000 690.000 25 กม./ชม. แม่ตานน้อย - ทาชมพู (ขาขึ้น)
เหนือ 690.000 721.000 45 กม./ชม. ทาชมพู - ดอยติ (ขาขึ้น)
สวรรคโลก 458.000 486.000 40 กม./ชม. บ้านดารา - สวรรคโลก (ใช้ราง 50 ปอนด์)
อีสาน 134.000 179.000 35 กม./ชม. ทับกวาง - ปากช่อง (ขาขึ้น - ทางนรก)
อีสาน 173.000 131.000 35 กม./ชม. บันไดม้า - ทับกวาง (ขาล่อง - ทางนรก)
ใต้ 33.780 34.120 30 กม/ชม. งิ้วราย - นครชัยศรี
ใต้ 99.960. 100.320 30 กม/ชม. บ้านกล้วย - ราชบุรี
ใต้ 415.000 418.000 35 กม/ชม. เขาไชยราช - มาบอำมฤต
ใต้ 634.000 637.000 35 กม/ชม. ทุ่งโพธิ์ - สุราษฏร์ธานี 2
ใต้ 768.000 773.00 35 กม/ชม. ช่องเขา - ร่อนพิบูลย์
ใต้ 930.500 931.150 40 กม/ชม. หาดใหญ่ - น้ำน้อย
อัตราหน่วยบรรทุกปี 2496
รถสินค้า 4 ล้อ - หน่วยละ 2 ตัน
รถเปล่า 4 หน่วย
รถบรรทุกสัตว์ 6 หน่วย
รถบรรทุกสัมภาระประจำขบวน 6 หน่วย
รถบรรทุกภาระครึ่งหลัง 7 หน่วย
รถบรรทุกภาระเต็มหลัง 10 หน่วย
รถ พห. สินค้า 5 หน่วย
รถเปลี่ยนสภาพเป็นรถถังน้ำและ รถถังน้ำ ในสภาพรถเปล่า 4 หน่วย
รถเปลี่ยนสภาพเป็นรถถังน้ำและ รถถังน้ำ ในสภาพรถบรรทุก 10 หน่วย
รถพักผ่อนพนักงาน 5 หน่วย
รถป.จ. 18 หน่วย
รถสินค้า 8 ล้อ - หน่วยละ 2 ตัน
รถเปล่า 8 หน่วย
รถบรรทุกภาระครึ่งหลัง 14 หน่วย
รถบรรทุกภาระเต็มหลัง 20 หน่วย
รถ บรรทุกภาระ 12 หน่วย
รถ บรช. 20 หน่วย
รถ บปก. 30 หน่วย
รถ พห. โดยสาร 10 หน่วย
รถโดยสาร 4 ล้อ 10 หน่วย
รถโบกี้คนโดยาร, รถโบกี้สัมภาระ 20 หน่วย
รถ บตส. บรรทุกหรือเปล่า 14 หน่วย
รถจักรติดต่อท้ายขบวนถือว่าเป็นรถจักรตาย
รถจักรเบอร์ 21 ถึง 63 (รถดีเซลสับเปลี่ยน + รถจักรถังน้ำ) 15 หน่วย
รถจักรเลขที่ 125 ถึง 197 (รถเคราส์ และ อีคลาส) 30 หน่วย
รถจักรเบอร์ 501 ถึง 506 (รถจักรดีเซลสวิส 500 แรงม้า) 30 หน่วย
รถดีเซลรางเลขที่ 11 ถึง 16 (รถดีเซลรางฟริกซ์) 30 หน่วย
รถโบกี้กลไฟ 30 หน่วย
นอกนั้นถือเป็น 60 หน่วย
ความยาวรถ ในทางราบ (1 หลัง รถ 4 ล้อ)
รถสินค้า 60 หลัง
รถรวม 50 หลัง
รถด่วนรถเร็ว 14 หลัง (รถโบกี้)
รถสินค้าใช้รถจักรอีคลาส 50 หลัง
ความยาวรถรวมและรถสินค้า ในทางภูเขา (1 หลัง รถ 4 ล้อ)
บ้านด่าน - เด่นชัย 35 หลัง
แก่งหลวง - ลำปาง 35 หลัง
ห้างฉัตร - ทาชมพู 30 หลัง
แก่งคอย - ปากช่อง 40 หลัง
ทุ่งสง - ร่อนพิบูลย์ 50 หลัง
รถ 4 ล้อ 3 หลัง ยาวเท่ากะรถโบกี้โดยสาร 1 หลัง
รถ 4 ล้อ 2 หลัง ยาวเท่ากะรถสินค้า 8 ล้อ 1 หลัง
รถดีเซลเปล่า เร็วไม่เกิน 45 กม./ชม. และ รถจักรไอน้ำเปล่า เร็วไม่เกิน 30 กม./ ชม
Last edited by Wisarut on 27/12/2006 12:12 pm; edited 1 time in total |
|
Back to top |
|
|
Wisarut
1st Class Pass (Air)
Joined: 27/03/2006 Posts: 43454
Location: NECTEC
|
Posted: 29/03/2006 1:27 pm Post subject: |
|
|
วันนี้มุดหาของดีในหอสมุดแห่งชาติก็เจอของดีครับ
1) ภูมิศาสตร์มณฑลกรุงเทพ โดย นาย ถัด พหรมมานพ ปป. พิมพ์เมื่อปี 2474
รถด่วนระหว่างประเทศ กรุงเทพ - ไปร (สหรัฐมลายู)
ออกจากกรุงเทพ เวลา 07:40 ทุกๆ วันอาทิตย์ และ วันพุธ
มาถึงกรุงเทพ เวลา 16:50 ทุกๆ วันพุธ และ วันเสาร์
รถด่วนกรุงเทพ - เชียงใหม่
ออกจากกรุงเทพ เวลา 16:00 ทุกๆ วันอาทิตย์ และ วันพุธ
มาถึงกรุงเทพ เวลา 9:55 ทุกๆ วันพุธ และ วันเสาร์
มีรถธรรมดา เดินไปที่เพชรบุรี, ราชบุรี, นครปฐม, อยุธยา, ลพบุรี ฉะเชิงเทรา
วันเดียวกลับก็ยังทัน
มีรถยนตร์ราง จากกรุงเทพ ไปสถานีใกล้ๆ ภายในมณฑลกรุงเทพ วันละหลายเที่ยว
สถานีกรุงเทพนี้นับว่าเป้นสถานีที่สำคัญและใหญ่ที่สุดในบรราดสถานีรถไฟหลวงแห่งประเทศสยาม ที่หน้าสถานีมีนาฬิกาบอกเวลาเห็นได้แต่ไกล และมีบริเวณกว้างขวาง พอรับ รถลาก รถม้า รถยนตรฺจอดรับผู้โดยสารได้โดยแยกเป็นแผนก หรือจะขึ้นรถรางก็ได้เพราะ มีหลีกรถรางอยู่ใกล้ๆสถานี
ความยาวสถานีและโรงพักรถมีความยาวเท่าถนนรองเมืองพอดี
ค่าขนของเมื่อลงจากรถหรือชานชลา คิดเที่ยวละ 50 สตางต์ หรือ ชิ้นละ 5 สตางค์ (ค่าหนังสือพิมพ์กรุงเทพเดลิเมล์ 1 ฉบับ) ของหนักเกิน 100 กิโลกรับคิดชิ้นละ 1 บาท และ บรรทุกรถที่เข็ได้เพียง 1 ชิ้นเท่านั้น
สถานีรถไฟหลวงบางกอกน้อย อยู่ปากคลองบางกอกน้อย จังหวัดธนบุรี เดิมเป็นที่สุดทางรถไฟสายใต้ แต่เมื่อสร้างสะพานพระราม 6 รถไฟมารวมกันที่สถานีใหญ่กรุงเทพ มีรถไฟไประหว่าง สถานีบางกอกน้อย กับสถานีชุมทางตลิ่งชัน เพื่อต่อกับรถไฟจากสถานีกรุงเทพ ถ้าจะไปที่นครปฐม, บ้านโป่ง ราชบุรี, ไปขึ้นที่บาสงกอกน้อยจะถูกกว่า และมีรถยนตร์รางวิ่งระหว่าง บางกอกน้อย และ นครปฐมวันละหลายเที่ยว ผู้โดยสารจาอฝั่งพระนครต้องข้ามฟาก มีเรือจ้างจอดรับผู้โดยสารเสมอ นอกจากนี้ยยังมีรถไฟรับส่งสินค้าไปที่รถไฟสายใต้ วิ่งผ่านด้วย
// ----------------
สถานีรถไฟหลวงบางซื่อที่สุดถนนเตชะวนิชข้างบริษัทปูนซีเมนต์ไทยจำกัด ต่อไปจะเป็นชุมทางสำคัญ และ เป็นสถานีใหญ่เพราะรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือ, สายเหนือ และสายใต้มารวมกันที่สถานีนี้ โดยบางซื่อจะเป็นที่ชุมนุมรถ และ ที่ไว้รถ และที่ทำการเกี่ยวกับการรถไฟ
และต่อไปทางรถไฟจากชุมทางบางซื่อถึงชุมทางบ้านภาชีจะมีรางคู่ เวลานี้กำลังวางรางเป็นตอนๆ
ทางจากสายเหนือ และ สายใต้ เมื่อ มาถึงบางซื่อจะมีทางคู่ไปกรุงเทพ ส่วนทางสายตะวันออกมีแยกที่สะพานยมราช ถนนเพชรบุรี
//------------------
สถานีรถไฟหลวงพิเศษ ตั้งอยู่ที่ถนนสวรรคโลก ข้างสวนจิตรลดา เรียกว่าสถานีรถไฟหลวงจิตรลดา เป็นสถานีพิเศษสำหรับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อเวลาจะเสด็จพระราชดำเนินด้วยทางรถไฟ และ ยังใช้เป็นสถานีสำหรับรับรองแขกบ้านแขกเมือง ที่สำคัญอีกด้วย
// -----------
สถานีรถไฟหลวงมักกะสัน ตั้งอยู่ที่ตำบลมักกะสันเป็นที่ตั้งโรงงาน ของกรมรถไฟ มีทางแยก ไปริ่มแม่น้ำเจ้าพระยาสำหรับรับเครื่องประกอบ การรถไฟที่สั่งจากต่างประเทศ
สถานีรถไฟบริษัท รถไฟสายปากน้ำกรุงเทพ เป็นต้นทางรถไฟสายปากน้ำ
ตั้งต้นที่ถนนพระราม 4 ริมคลองหัวลำโพง เยื้องหน้าสถานีรถไฟหลวงกรุงเทพ
สำหรับผู้ที่จะเดินทางไปปากน้ำ ใช้เวลาเดินทางประมาณ 1 ชั่วโมง ค่าโดยสาร 50 สตางค์
เดิมใช้รถไฟแต่ตอนนี้ใช้เดินด้วยรถไฟฟ้าเสียแล้ว ทำนองรถรางในจังหวัดพระนคร
หนทางและรถเรียบร้อยมาก
// ---------------------
สาถนีรถไฟบริษัทรถไฟสายแม่กลอง กรุงเทพ ตั้งที่ตำบลปากคลองสาน จังหวัดธนบุรี ตรงข้ามใปกคลองผดุงกรุเกษม ทางฝั่งพระนคร รถไฟสายนี้ไปถึงทางจีน (ตลาดมหาชัย จังหวัดสมุทรสาคร) ท่าท่าจีนมีเรือข้าฟากไปขึ้นรถไฟไปอีกต่อหนึ่ง รถไฟสายนี้บรรทุกปลาและผู้โดยสารจากท่าจีนเข้าพระนครทุกวัน ตอนออกจาก สถานีปากคลองสาน จะผ่านสวนผลไม่ฃ้ และ สาวนพลูอำเภอ ปากคลองสาน อำเภอบางยี่เรือ อำเภอบุคคโล อำเภอบาสงขุนเทียน ตอนจังหวัดธนบุรีมีรรถรางเดินถึงวัดสิงห์ ผู้เอยู่ตอนกลางและตอนเหนือพระนครควาขึ้นที่สถานีตลาดพลู เพราะ ขึ้นที่สถาสนีปากคลองานจะไกลกว่า และต้องใช้เรือจ้าพามาท่าปากคลองสาน
// -----------
สถานีรถไฟบริษัทรถไฟบางบัวทอง สายนี้เป็รนรถไฟสายเล้ก อยู่ข้างวัดบวรมงคล ตรงข้ามปากคองผดุงกรุงเกษมด้านเหนือ ลัดเลาะสวนผลไม้ ผ่านอำเภอบางพลัด, อำเภอตลิ่งชัน, อำเภอบางกรวย, อำเภอ บางใหญ่ ถึงบางบัวทอง (ตลาดพระพิมล) จะมีรถต่อไปที่ตำบลระแหง อำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี มีแยกไปบางใหญ้ และ นนทบุรี มีรถเดินประจำวันละหลายเที่ยว
มีรถสินค้าระหว่างจังหวัดนนทบุรี บางบัวทองและตำบลระแหง ลาดหลุมแก้ว
วันนี้รถและทางเรียบร้อยดีมาก ต่อไปจะเป้นเส่นทางสำคัญ สำหรับไปย่านบางบัวทอง, ระแหง และ แม่น้ำอ้อม
ท่ารับข้าวเปลือก ข้าวสารจากเรือข้าวปากน้ำจะอยู้ที่สถานีบางซ่อนเพื่อนำข้าวไว้ ไปส่งที่ สถานีแม่น้ำ (และ ภายหลังได้ไปที่คลองเตย ) ทำให้มีรถจักรเดินระหว่างสถานีบางซ่อน กับ สถานีแม่น้ำ ทุกวัน แถมมีปั้นจั่นยกของซึ่งตอนนี้เป็นซากอยู่ที่เชิงสะพานพระราม 6 |
|
Back to top |
|
|
Wisarut
1st Class Pass (Air)
Joined: 27/03/2006 Posts: 43454
Location: NECTEC
|
Posted: 29/03/2006 5:42 pm Post subject: |
|
|
ตอนเกิดกบฎบวรเดช เกิดเหตุการณ์สำคัญๆดังนี้
1) รถจักรสวิสแบบ 450 แรงม้าเบอร์ 504 ได้รับการหุ้มเกราะหลังจากที่พวกกบฏบวรเดชได้ยิงพันตรีหลวงอำนวยสงคราม กระสุนทะลุหน้าผากเสียชีวิตในสมรภูมิบางเขน
2) ฝ่ายกบฏได้ปล่อย รถจักรฮาโนแม็ก เลขที่ 277 ได้พุ่งเข้าชนรถไฟบรรทุกทหาร ทำให้มีการบาดเจ็บล้มตายเป็นอันมาก เมื่อ 14-15 ตุลาคม 2476 รถจักรฮาโนแม็กเบอรร์ 277
เป็นตอปิโบกชนรถถังน้ำ (บทน. 4) ที่หลักสี่ - ต้นแบบรถจักร ตอปิโดบกโดยแท้
3) พันเอกพระยาศรีสิทธิ์สงคราม (ดิ่น ท่าราบ) แม่ทัพฝ่ายกบฏ ได้สั่งให้ถอนรางรถไฟช่วงหินลับเพื่อใช้สร้างเป็นที่กำบังและซุ่มยิงต่อต้านทหารรัฐบาล แต่ ที่สุด พันเอกพระยาศรีสิทธิ์สงคราม ถูกทหารฝ่ายรัฐบาลยิงเสียชีวิต เมื่อ 23 ตุลาคม 2476 เวลา 2 ทุ่ม ที่เสาโทรเลขที่ 4 กม. 143 (กม. 143/4) ก่อนถึงสถานีหินลับ
// ------------------------------------------------------------
อีกเรื่องหนึ่งก็ ก็ตอนที่กรมพระยาดำรงและครอบครัว อพยพจากกรุงเทพ ลงไปที่สงขลา ช่วงกบฏบวรเดช (กลางตุลาคม 2476) ก็เกิดการติดขัดหลายเรื่องขึ้นมากคือ
1) รถโดนกักที่ประจวบคีรีขันธ์ โดยอ้างว่ามีพวกกบฏบวรเดชหนีมาซ่อนในกระบวนรถ
ซึ่งขัดแย้งขนาดที่ทหารที่อารักขาราชวงศ์เกือบจะลั่นไกใส่บรรดาตำรวจที่ มาจุ้นจ้านกระบวนรถโดยไม่ฟังเสียงว่าในหลวงให้ตามเสด็จลงมาทางใต้
2) มีการถอดรางออกไปหลายท่อน เพื่อทำให้รถตกราง
3) ขั้น 3 นี่ร้ายที่สุดคือมีการนำโบกี้รถไฟบรรทุกดินระเบิด หมายจะระเบิดสะพานให้ขบวนรถนั้นตกรางไป ให้มีการบาดเจ็บล้มตายเป็นอันมากแต่โชคดีที่มีคนสังเกตเห็น ทำให้แผนนี้ล้มไป .....
Last edited by Wisarut on 29/03/2006 5:59 pm; edited 2 times in total |
|
Back to top |
|
|
nathapong
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/03/2006 Posts: 3515
Location: Ayuthaya - Lamlukka - Navanakhon - Silom
|
Posted: 29/03/2006 7:58 pm Post subject: |
|
|
เฮีย วิศ...
ใจเย็นๆ หรือจะแอบไป เมืองจีน ก่อนสงกรานต์ เลยรีบ ปั๊มผลงานก่อน อะนะ อิอิ...
ผมว่าผมกะเฮีย จะทำเป็น ไฟล์ word กันก่อนไหม แล้วแปลงเป็น PDF
แปะลายน้ำ พร้อมโลโก้ เครื่องหมายการค้า กันก้อบปี้ อีกทีนึง..
หากครายบังอาจ.. |
|
Back to top |
|
|
black_express
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/03/2006 Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ
|
Posted: 01/05/2006 8:59 am Post subject: |
|
|
ภาพจากแผ่นพับ แนวทางรถไฟสายสุพรรณบุรี ต่อไปยัง บ้านป่าหวาย จัดให้เดี๋ยวนี้ล่ะครับ
พล.ต.ต. ชลอ ศรีสรากร ( อดีตอธิบดีกรมรถไฟหลวง เมื่อปี 2485 ) ทราบว่า ท่านออกบวช และเป็นเจ้าอาวาสวัดเต่าไหใต้ ต.ท่าสัก อ.พิชัย จ.อุตรดิตถ์ และมรณภาพไปหลายปีแล้วครับ
Last edited by black_express on 05/06/2006 10:14 am; edited 1 time in total |
|
Back to top |
|
|
Wisarut
1st Class Pass (Air)
Joined: 27/03/2006 Posts: 43454
Location: NECTEC
|
Posted: 28/07/2006 5:30 pm Post subject: |
|
|
ไหนๆก็ขุดของดีจากราชกิจจายุคโบราณก็เลยจะมาคงไว้ในที่นี้
// ----------------------------------------------------------
1) ประกาศกระทรวงเศรษฐการ เรื่องการยกเลิกกิจการไปรษณีย์โทรเลข สถานีสนามจันทร์
เนื่องจาก กรมรถไฟได้ยุบเลิกสถานีรถไฟสนามจันทร์ นับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2479
กรมไปรษณีย์โทรเลขจึงยุบเลิกบริการไปรษณีย์ที่สถานีสนามจันทร์นั้นด้วย
ประกาศ มา ณ วันที่ 9 เมษายน พุทธศักราช 2479 โดย
พันเอก เภา บริภัณฑ์ยุทธกิจ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐการ
// --------------------------------------------------
2) ประกาศกระทรวงเศรษฐการ เรื่องการยกเลิกกิจการไปรษณีย์โทรเลข สถานีลำภูรา
เนื่องจาก กรมรถไฟได้ยุบเลิกสถานีรถไฟลำภูรา นับตั้งแต่วันที่ 15 พฤศจิกายน2479
กรมไปรษณีย์โทรเลขจึงยุบเลิกบริการไปรษณีย์ที่สถานีสนามจันทร์นั้นด้วย
ประกาศ มา ณ วันที่ 16 พฤศจิกายน พุทธศักราช2479 โดย
พันเอก เภา บริภัณฑ์ยุทธกิจ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐการ
Last edited by Wisarut on 24/11/2007 7:59 pm; edited 1 time in total |
|
Back to top |
|
|
Wisarut
1st Class Pass (Air)
Joined: 27/03/2006 Posts: 43454
Location: NECTEC
|
Posted: 28/07/2006 6:54 pm Post subject: |
|
|
แจ้งความกระทรวงโยธาธิการ แพนกกรมรถไฟ
นับตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน รศ. 125 จะไม่ยอมให้ผู้หนึ่งผู้ใดเข้าที่ชานสำหรับขึ้นรถไฟตามบรรดาสเตชั่นใหญ่ๆ โดยไม่มีตั๋วสำหรับที่จะเข้าไปในที่นั้น สำหรับผู้ที่ไม่ใช่ผู้โดยสาร ให้ซื้อตั๋วสำหรับขึ้นไปที่ชานสำหรับขึ้นรถไฟ ได้ ณ ที่ช่องขายตั๋ว ราคาใบละ 2 อัฐ (ประมาณ 3 สตางค์- ข้าแกง 2-3 จานในสมัยนั้น)
แจ้งความมา ณ วันที่ 28 พฤษภาคม รัตนโกสินนทร์ศก 125
โดยพระยาเสถียร ฐาปนกิตย์
ปลัดทูลฉลองกระทรวงโยธาธิการ
Last edited by Wisarut on 24/11/2007 8:00 pm; edited 1 time in total |
|
Back to top |
|
|
Wisarut
1st Class Pass (Air)
Joined: 27/03/2006 Posts: 43454
Location: NECTEC
|
Posted: 19/08/2006 11:16 pm Post subject: |
|
|
เออ, วันนี้จะแจ้งเรื่องไปได้ข้อมูล เดรื่องบอมบ์กรุงเทพ .... ไม่ทราบว่าตอนนี้มันหายไปไหนหว่า ... อ้อ เจอแล้ว ....
ในหนังสือเรื่อง สันติบาลใต้ดิน ของ พลตำรวจตรี ชลอ ศรีศรากร (พิมพ์เมื่อปี 2488 โดยสำนักพิมพ์อุดม - มีสำเนาที่ หอสมุดปรีดี ธรรมศาสตร์ท่าพระจันทร์ ... ยังไม่มีการ Reprint คงเพราะท่านไม่อยากจะมีเวรมีกรรม เวลาท่านไปโลกหน้าในเพศสมณะ และ โดนหลวงพรหมโยธี หมายหัวไว้ว่าพิมพ์หนังสือต้องห้ามจนมีการฟ้องหิมิ่นประมาทกัน) ได้เล่าว่า
ผู้เขียนได้แจ้งให้หลวงอดุลยเดชจรัสเมื่อปี 2486-87 ว่า ท่านจอมพล ยังทำบาป 7 ประการ ที่ทำให้ประชาชน เสื่อมศรัทธาคือ
1) สั่งให้เลิกกินหมากกินพลู จนลิ่วล้อไปโค่นสวนหมาก ทำลายทางหากินสุจริตโดยแท้
2) การตั้งนายทหารหญิงเพื่อเอาใจท่านผู้หยิงละเอียด โดยให้อภิสิทธิ์มากมายจนทหารชายทั้งนายทั้งพล พากันเสื่อมศรัทธา
3) มีการออกสมุดปกดำทำลายขวัญทหารบก ทหารอากาศ ซึ่งแถมข้อความด่าท่านผู้นำอย่างเทสาด ....
4) เจ้ากระทรวงที่เสื่อมสมรรถภาพ ชอบปล่อยให้ลูกน้องฉ้อราษร์บังหลวง ทั้งๆที่ชาวบ้านเขารู้กันทั้งบาง แต่ท่านจอมพลยังเลี้ยงไว้ได้แก่
4.1) หลวงพรหมโยธี - รมต. มหาดไทย และ เจ้ากรมรถไฟทหารท่านชอบให้มีรำโทน ตอนไปตรวจราชการที่อุบล
4.2) นายประยูร ภมรมนตรี - รมต. ศึกษาธิการ
4.3) หลวงเสรีเริงฤทธิ์ - รมต. คมนาคม และ อดีตเจ้ากรมรถไฟ
4.4) นอกจากนี้ จอมพลท่านยังเลี้ยงคนขี้ฉ้อที่มี สายโยงใยกะกองทัพญี่ปุ่น เช่นนายวนิช ปานะนนท์ ซึ่งเป็นทั้งพี่เขยของ แม่ทัพเรือหลวงศิลป์สงครามชัย (สินธุ์ กมลนาวิน) และ นาย เจิม อธึกเทวเดช ซึ่งเป็นญาติกะหลวงอธึกเทวเดช (บุญเจียม โกมลมิศร์ - ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็น เจียม อธึกเทวเดช) แม่ทัพอากาศ ด้วย .....
5) การเกณฑ์แรงงานไปสร้างนครเพชรบูรณ์ทำให้คนล้มตายเพราะไข้ป่าเป็นอันมาก
6) ตอนที่ไม่เปิดสมัยประชุมสภาก็ออก พรก. เป็นว่าเล่น พอ พรก. โดน สภาตีตกไป ก็ ไม่ยอมลาออก ผิดธรรมเนียมการปกครองชัดๆ นอกจากนี้ เวลามีประชุมสภา ท่านก็แจ้นหนีไปอยู่ถ้ำเสือที่ โคกกระเทียมเสียนี่
7) การบังคับให้สวมหมวก และ แต่ชุดฝรั่ง แทนชุดที่มีอยู่เดิม ทั้งๆที่เกิดภัยสงคราม จนเสื้อผ้าไม่มีจะนุ่ง เป็นการบีบคั้นยิ่งกว่าสมัยราชาธิปไตยเสียอีก ทำให้ชาวบ้านเสื่อมศรัทธาในระบบการปกครองใหม่
การตั้งป้อมสู้ญี่ปุ่นที่เพชรบูรณ์โดยไม่มี Connection กะ สหรัฐและอังกฤษ เป็นการฆ่าตัวตายชัดๆ ... ดันให้นายมั่น นายคง ไปด่าในหลวงของเขา ใครเขาจะยอมช่วยหละ
นอกจากนี้ผู้การชลอได้ส่งจดหมายให้ท่านผู้หญิงละเอียดว่า อย่านึกว่าท่านผู้นำจะเปนนายกฯๆได้คนเดียว คนอื่น เขาก็เป็นได้ ดังนั้นมาสู้กันด้วยวิถีทางประชาธิปไตยจะดีกว่า
ถ้าหามาอ่านได้ยาก เอาที่คัดลง ปรีดีสาร ไปก่อนก็ได้นะครับ
http://www.openbase.in.th/files/ebook/textbookproject/pridiarticle031.pdf
Last edited by Wisarut on 23/01/2022 10:30 pm; edited 2 times in total |
|
Back to top |
|
|
|