Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311303
ทั่วไป:13277954
ทั้งหมด:13589257
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - เรื่องหายาก .. ดูดมาจากเวบเก่า
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

เรื่องหายาก .. ดูดมาจากเวบเก่า
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 13, 14, 15 ... 73, 74, 75  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สาระความรู้วิชาการรถไฟและประวัติศาสตร์รถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42770
Location: NECTEC

PostPosted: 16/12/2008 5:43 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
สำหรับ Guide to Nakhon Pathom, by Erik Seidenfaden, The Royal State Railways of Siam, 1929 เล่มนี้พอทราบไหมครับคุณวิศรุต ว่าหน้าตาข้างในเป็นอย่างไรบ้าง
ผมว่าจะสั่งซื้อจากเว็บหนังสือหายากแห่งหนึ่งครับ เค้าทำออกมาเป็น digital rare book แล้ว


หนังสือนำเที่ยวจังหวัดนครปฐม มีขายเป็นดีวีดีที่ร้านหนังสือท่าช้างครับ

Note: แก้ Quote เพื่อไม่ให้รกเกินไป Embarassed


Last edited by Wisarut on 18/03/2009 11:59 pm; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44705
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 16/12/2008 6:33 pm    Post subject: Reply with quote

ขอบคุณมากครับ Very Happy
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42770
Location: NECTEC

PostPosted: 17/01/2009 2:56 am    Post subject: Glimpses of A Great Tourist Country French Indo-China Reply with quote

จากหนังสือ Glimpses of A Great Tourist Country French Indo-China at the Beginning of 1938 จัดพิมพ์โดย สำนักงานการท่องเที่ยวอินโดจีน (Office Central Du Tourisme Incoshinois) ที่ไซ่ง่อน เมื่อ มกราคม 1938 (ปลายปี 2480)

อินโดจีนฝรั่งเศสสร้างเครือข่ายถนนดินลูกรังอัดแน่น ตั้ง 32,000 กม. เช่น ถนนแม่น้ำโขง (ทางหลวงหมายเลข 13) และ ถนนสายไซ่ง่อน - ปากเซ ยาว 375 ไมล์ (600 กิโลเมตร) เดินได้ตลอดทั้งปี นี่คงเป็นเหตุสำคัญที่ทำให้รัฐบาลสยามยุคนั้นซึ่งจบจากฝรั่งเศส มีมติ ครม. ในปี 2482 ให้ ตัดระยะการก่อสร้างทางรถไฟจาก ขอนแก่นไปหนองคายให้หมดระยะที่อุดรธานี และ สร้างทางหลวงสายอุดรธานี - สกลนคร - นครพนม (ทางหลวงหมายเลข 22) และ เสริมความแข็งแรงให้ถนนลูกรัง สาย อุดรธานี - หนองคายแทน

ในหนังสือ ของ สำนักงานการท่องเที่ยวอินโดจีน มีภาพรถยนต์รางมิเชอร์ลิน สาวย ลาวกาย - ยุนนานฟู ที่ ผู้ว่าแสง จุลจาริตต์ อยากเอามาลงในหนังสือของท่าน ใจจะขาด แต่เอาลงไม่ได้ ไม่ได้ เพราะหนังสือ เปียกน้ำ ชำรุด ตั้งแต่คราวน้ำท่วมปี 2485

รถไฟอินโดจีน มี 2 ระบบคือ รถไฟที่เดินโดย สำนักงานข้าหลวงใหญ่อินโดจีน (กรมรถไฟอินโดจีน ) และ รถไฟของบริษัท Compagnie Francaise des Chemins de Fer de l'Indochine et du Yunnan มีรถชั้น 1, ชั้น 2 ชั้น 3 และ ชั้น 4 (รถ ตญ. ทำเป็นรถโดยสาร) สำหรับชาวพื้นเมืองเท่านั้น

นอกจากนี้มีรถยนต์รางมิชลิน จุได้ 15 คนต่อหลัง (มีชั้นเดียว) สำหรับวิ่งไปยุนนาน และ รถยนต์ราง ชั้น1/2/3 สำหรับรถ ที่วิ่งในตังเกี๋ย อานัม และ โคชินจีน

นอกจากนี้ รถไฟอินโดจีนเริ่มมี รถ บชท.ป. + บชอ.ป. ไว้ใช้ด้วย และ กำลังสร้างเพิ่มที่ โรงงานของกรมรถไฟอินโดจีน

รถเสบียง นั้นให้ผู้รับเหมาไปทำ ดังนี้:
1. โรงแรมราชธานีนครฮานอย (The Hotel Metropole - Hanoi) ช่วงฮานอย (Hanoi)ถึง วินห์-เบนทุย (Vinh-Benthuy)
2. โรงแรมจีนที่เมืองตูจาม (เมืองทับจาม) รับผิดชอบตั้งแต่ ช่วง ญาตรัง (Nhatrang) ถึงนครเว้ (Hue)

รถไฟสายฮานอย - ลาวกาย แลบะ ยุนนานฟูไม่มีรถเสบียง ให้ซื้อกินเอาข้างทางได้

กรมรถไฟอินโดจีน รับผิดชอบเส้นทางต่อ่ไปนี้

1. ฮานอย - ไซ่ง่อน (Hanoi - Saigon) ยาว 1100 ไมล์ (1760 กิโลเมตร) ผ่านสามแคว้น - ตังเกี๋ย, อานัม, โคชินจีน
2. ฮานอย - ด่านลางเซิน - แยกไปนาจาม (Hanopi - Saigon - Nacham) ในแคว้นตังเกี๋ย ยาว 112 ไมล์ (179.2 กิโลเมตร)
3. ตูจาม - ดาลัต (Tourcham - Dalat) ยาว 53 ไมล์ (84.8 กิโลเมตร) ในแคว้นอานัม
4. ไซ่ง่อน - มิโธ (Saigon - Mytho) ยาว 44 ไมล์ (70.4 กิโลเมตร) ในแคว้นโคชินจีน
5. พนมเปญ - มงคลบุรี (Phnom Penh - Mongkolborey) ยาว 207 ไมล์ (331.2 กิโลเมตร) ในแคว้นเขมร
6. ชะโดมุก - ล็อกนิน (Thudaumot - Locninh) ยาว 63 ไมล์ (100.8 กิโลเมตร) ในแคว้นโคชินจีน

รถไฟสายฮานอย - ไซ่ง่อน มีรถนอนเดินทุกวันด้วย (นอนได้ 2 คืน) และรถไฟสายตูจาม - ดาลัต มีรถนอนเดินทุกวันด้วย

รถไฟของบริษัท Compagnie Francaise des Chemins de Fer de l'Indochine et du Yunnan มีเดินในสายต่อไปนี้

1. ฮานอย - เมืองท่าไฮฟอง ยาว 64 ไมล์ (102.4 กิโลเมตร) ในแคว้นตังเกี๋ย
2. ฮานอย - ลาวกาย ยาว 185 ไมล์ (296 กิโลเมตร) ในแคว้นตังเกี๋ย
3. ลาวกาย - ยุนนานฟู ยาว 291 ไมล์ (465.6 กิโลเมตร) ในมณฑลยูนนาน

รถไฟสาย ฮานอย - ลาวกาย มีรถนอน เดินจากฮานอยทุกคืนวันศุกร์ แม้จะมีรถนั่งเดินระหว่างฮานอยไปยูนนานฟู ทุกวันรถนอนออกจาก ฮานอยเวลา 20:30 คืนวันศุกร์ ถึงด่านลาวกายเวลา 05:51 วันเสาร์ จากนั้นให้ผ่านด่าน ตม.ไปขึ้นรถที่ เหอกู่ (HoKeou)
รถจอดพักรับประทานอาหารกลางวันที่ ไคหยวน (Kai Yuen หรือ Amitcheou) เวลา 12:11 รถออกจาก ไคหยวน เวลา 13:00ถึงยุนนานฟู เวลา 18:43

รถไฟ ฮานอย - ลาวกาย เดินจาก ยุนนานฟูเวลา 07:06 ของวันพฤหัสบดี ถึงไคหยวน เวลา 12:47 รถอออกจากไคหยวนเวลา 13:50ถึงด่านลาวกาย 19:25 พักทานอาหารรค่ำที่ Touring Hotel รถออกจากด่านลาวกาย 21:30 ถึงฮานอยเช้าวันศุกร์ เวลา 06:45

ผู้โดยสารขนของได้ 30 กิโลกรัมโดยไม่เสียภาษี

อินโดจีนใช้เงินเปียสต์ เป็นหลักโดย 1 เปียสต์แลกได้ 10 ฟรังส์ฝรั่งเศส มีเหรียญ 50 เซนต์ 20 เซนต์ 10 เซนส์ทำจากเงิน เหรียญ 5 เซนต์ทำจากนิกเกิล และ เหรียญ 1 เซนต์ และครึ่งเซนต์ทำจากทองแดง และ มัธนบัตรออกให้โดย ธนาคารอินโดจีน (Banque de l'Indochine) มีสาขา ที่ ฮานอยไซ่ง่อน เว้ ตุราน พนมเปญ พระตะบอง

จะไปนครวัด จากกรุงเทพ ให้นั่งรถไฟ 8 ชั่วโมงจากกรุงเทพ ถึงอรัญประเทศ แล้วนั่งรถเมล์จากอรัญประเทศไปนครวัด (ระยะทาง 100 เมล์ - 160 กม.)

นั่งเรือ ของ Siam Steam Navigation ไปลงที่กเมืองท่า เรียม, เก็บ และ ฮาเตียน ซึ่งมีเดินทุกสัปดาห์ หรอื เรือ ของ OSK มีเดินจากกรุงเทพไปไซ่ง่อนทุกเดือน มีเรือเดินตรงจากสิงคโปร์ไปไซ่ง่อน และ ฮ่องกงไป ไฮฟอง และ ไซ่ง่อน

รถไฟจากกรุงเทพไปอรัญประเทศ โดยกรมรถไฟ
รถรวม 51 ออกกรุงเทพ 0730 มีอาหารกลางวันเป็นตะกร้าซึ่งโด่งดังคราวนำไปถวายเป็นเครื่องต้นให้ในหลวง และ พระราชวงศ์ เมื่อ 8 พฤษภาคม 2473 รถรวม 51 ถึงอรัญประเทศ เวลา 1510

รถรวม 52 ออกจากอรัญประเทศ เวลา 0930 ถึงกรุงเทพเวลา 1710

รถไฟเขมร ออกจาก พนมเปญ เวลา 0600 ถึงมงคลบุรี (ห่างจากชายแดนสยาม 55 กิโลเมตร) เวลา 1418
รถไฟเขมร ออกจาก มงคลบุรี เวลา 1800 ถึงพระตะบองเวลา 2006
รถไฟเขมร ออกจาก พระตะบอง เวลา 0545 ถึงพระตะบองเวลา 1158

รถด่วน สายใต้ 1/3 กรุงเทพ - ชุมพร -ไปร และ รถด่วนสายใต้ 4/2 ไปร - ชุมพร - กรุงเทพ มีเดิน สัปดาห์ละ 2 หน
รถด่วน สายใต้ 1/3 ออกกรุงเทพทุกวันเสาร์ และอังคาร 1600 ถึงปีนัง (ไปร) วันอาทิตย์และพุธ เวลา 18:30
รถด่วน สายใต้ 4/2 ออกปีนัง (ไปร) 0940 ทุกวันศุกร์และจันทร์ ถึงกรุงเทพ เวลา 12:00 ทุกวันเสาร์ และอังคาร
รถด่วน ของกรมรถไฟมลายู ออก ไปร เวลา 2000 ถึงสิงคโปร์ 17:58
รถด่วน ของกรมรถไฟมลายู ออกสิงคโปร์ เวลา 0840 ทุกวันพฤหัสบดี และ อาทิตย์ ถึง ไปร ทุกวัน ศุกร์และจันทร์ เวลา 06:45
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42770
Location: NECTEC

PostPosted: 08/02/2009 11:53 pm    Post subject: เที่ยวเมืองเพชรบุรี ปี 2474 Reply with quote

ไปเที่ยวเมืองเพชรบุรี เล่นไม่ยาก เพราะ ในปี 2474 มีรถไฟ เดินจากกรุงเทพ ไป เพชรบุรีทุกวัน 2 ขบวนได้แก่

1. ขบวนออกกรุงเทพ 0700 ถึงเพชรบุรี 1320
2. ขบวนออกกรุงเทพ 1330 ถึงเพชรบุรี 1925

นอกจากนี้ รถด่วนสายใต้ที่ลงไป ปีนัง ซึ่งออกจากกรุงเทพ ทุกวันพุธและอาทิตย์ เวลา 0740 จะถึงสถานีเพชรบุรีเวลา 1154



ระหว่างทาง ถ้าใครอยากไปเที่ยวเมืองกาญจนบุรี ก็ลงที่บ้านโป่ง เพราะ มีทางหลววงแผ่นดินหมายเลข 18 (ถนนแสงชูโต) ไปถึงเมืองกาญจนบุรี ห่างจากสถานีบ้านโป่ง เพียง 51 กิโลเมตร จะต่อไปปราสาทเมืองสิงห์ก็อยู่ห่างงจากเมืองกาญจนบุรีไปตามลำน้ำแควน้อย 32 กิโลเมตร หรือ จะไปไปลถึงน้ำตกไทรโยคน้อย หรือ ด่านพระเจดีย์สามองค์ก็ไม่เลว แต่ต้องไปช่วงหน้าหนาว เพื่อจองเรือขึ้นไปตามลำน้ำแคว

ถ้าใครจะไปนมัสการพระแท่นดงรัง ก็ไม่ยาก เพราะ พระแท่นดงรังห่างจากบ้านโป่งเพียง 16 กิโลเมตรเอง หรือจะไปดูของโบราณเช่นตะเกียงโรมัน ที่พงตึก ก็ห่างจากบ้านโป่งเพียง 15 กิโลเมตร

ขึ้นขบวนบ่ายถึงตอนค่ำ อย่าตกใจ เพราะ เพียงแค่เดิน ออกจากสถานีเพชรบุรี ก็เจอ บ้านพักรถไฟ (Railway Resthouse) แล้ว ค่าอาหารเช้า 1 บาท ค่า อาหารกลางวันแบบ Tiffin 2 บาท ค่าน้ำชายามบ่าย 0.50 บาท และ ค่าอาหารเย็น 2.50 บาท

ขากลับมีรถไฟออกเพชรบุรีเที่ยวเช้า ตอน 0640 ถึง กรุงเทพ 1242 และ
รถไฟออกเพชรบุรีเที่ยวสาย 1045 ถึงกรุงเทพ 1715
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44705
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 09/02/2009 8:28 am    Post subject: Re: เที่ยวเมืองเพชรบุรี ปี 2474 Reply with quote

Wisarut wrote:
ขึ้นขบวนบ่ายถึงตอนค่ำ อย่าตกใจ เพราะ เพียงแค่เดิน ออกจากสถานีเพชรบุรี ก็เจอ บ้านพักรถไฟ (Railway Resthouse) แล้ว ค่าอาหารเช้า 1 บาท ค่า อาหารกลางวันแบบ Tiffin 2 บาท ค่าน้ำชายามบ่าย 0.50 บาท และ ค่าอาหารเย็น 2.50 บาท

น่าเสียดายที่แผนที่สถานีรถไฟเพชรบุรี(เดิม) ปี 2478 ไม่ได้ระบุตำแหน่งที่ตั้งของบ้านพักรถไฟนี้ไว้ Sad

Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
BanPong1
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 07/12/2006
Posts: 2733
Location: กม.37 สายเหนือ, กม.68 สายกาญจนบุรี

PostPosted: 09/02/2009 9:10 am    Post subject: Re: เที่ยวเมืองเพชรบุรี ปี 2474 Reply with quote

Wisarut wrote:

ระหว่างทาง ถ้าใครอยากไปเที่ยวเมืองกาญจนบุรี ก็ลงที่บ้านโป่ง เพราะ มีทางหลววงแผ่นดินหมายเลข 18 (ถนนแสงชูโต) ไปถึงเมืองกาญจนบุรี ห่างจากสถานีบ้านโป่ง เพียง 51 กิโลเมตร


ขอบคุณคุณวิศรุตมาก ที่ทำให้ได้ทราบว่า ถนนแสงชูโต (บ้านโป่ง-กาญจนบุรี)
เคยถูกกำหนดให้เป็น ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 18

(ขอนอกเรื่องไปนอกระบบรถไฟหน่อยนะครับ webmaster)
เข้าใจว่าจุดเริ่มต้นคือ หลังสถานีรถไฟบ้านโป่งผ่านหอนาฬิกาแล้วไปบรรจบกับเส้นทางปัจจุบันที่สี่แยกก่อนเข้าเมือง
แต่ขณะนี้ทางหลวงสายนี้ใช้เลข 323 โดยไปเริ่มจากจุดแยกทางหลวงหมายเลข 4 บริเวณสระกระเทียม ผ่านสามแยกกระจับ แล้วไม่เข้าตลาดบ้านโป่ง
ปัจจุบันหมายเลข 18 ใช้กับทางหลวงสายไหนหรือเปล่าครับครับ
ในระบบเลขทางหลวงปัจจุบันหมายเลขที่ขึ้นต้นด้วย 1 ในเลขทางหลวง 2-3-4 หลัก ส่วนใหญ่จะอยู่ในภาคเหนือใช่ไหมครับ
_________________
Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message Send e-mail MSN Messenger
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44705
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 09/02/2009 10:50 am    Post subject: Re: เที่ยวเมืองเพชรบุรี ปี 2474 Reply with quote

ทางหลวงแผ่นดิน ยุคก่อน 2500
ผมสังเกตว่าในแผนที่เก่าๆ จะใช้รูปแบบดังนี้ครับ
(1) ทางหลวงแผ่นดินสายที่ NN
(2) ทางหลวงแผ่นดินสาย XX-YY
(3) ถนน.....
เช่น ทางหลวงแผ่นดินสายที่ 18
ทางหลวงแผ่นดินสายนาเกตุ-โคกโพธิ์ (ปัจจุบันคือทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 42)
ถนนแสงชูโต
เป็นต้น

ถนนที่ผ่านสุขาภิบาลท่าเรือ อ.ท่ามะกา จ.กาญจนบุรี
ใช้ว่า ถนนแสงชูโต แล้วมีวงเล็บกำกับว่า ทางหลวงแผ่นดินสายที่ 18
แต่ในแผนที่ปี 2514
ใช้ว่าทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 323 แล้วครับ
---------------------------------
อนึ่ง การตั้งชื่อทางหลวงนั้น
ในวันที่ 12 ธ.ค. 2493 มีประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องตั้งชื่อทางหลวงแผ่นดินและสะพานขนาดใหญ่
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2493/D/067/6377.PDF
ระบุว่า ทางหลวงแผ่นดิน สายสามแยกดอนกระเบื้อง-กาญจนบุรี-ปิล๊อก ให้ขนานนามว่า ถนน"แสงชูโต" เพื่อเป็นเกียรติแก่หลวงอุปกรณ์รัฐวิถี (สระ แสงชูโต) อดีตนายช่างใหญ่กรมทาง
ดังนั้น จึงสรุปได้ว่า ชื่อ ถนนแสงชูโต ได้มาทีหลังชื่อ ทางหลวงแผ่นดินสายที่ 18 ครับ

ต่อมาในวันที่ 23 พ.ค. 2506 ได้เกิดระบบการเรียกชื่อทางหลวงแผ่นดินขึ้น
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2506/D/057/1463.PDF
ทางหลวงแผ่นดินสายพระเจดีย์สามองค์-ทองผาภูมิ-กาญจนบุรี-บ้านโป่ง-กรุงเทพฯ-สมุทรปราการ-ชลบุรี-สัตตหีบ-ระยอง-จันทบุรี-ตราด-ไม้รูด จึงเรียกว่าทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 6 ครับ

ต่อมาในวันที่ 25 มิ.ย. 2509 ได้มีการปรับปรุงระบบหมายเลขทางหลวง มาเป็นแบบที่ใช้อยู่ในปัจจุบันครับ (ภาคเหนือขึ้นต้นด้วยเลข 1 ภาคอีสานขึ้นต้นด้วยเลข 2 ภาคกลางขึ้นต้นด้วยเลข 3 ภาคใต้ขึ้นต้นด้วยเลข 4 ทางหลวงสายประธาน มี 1 หรือ 2 หลัก ทางหลวงแผ่นดินสายรองมี 3 หลัก ทางหลวงจังหวัดมี 4 หลัก)
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2509/D/057/2148.PDF
และได้กำหนดให้ทางแยกจากเพชรเกษม-บ้านโป่ง-ลาดหญ้า ให้ใช้หมายเลข 323 ครับ
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42770
Location: NECTEC

PostPosted: 09/02/2009 7:40 pm    Post subject: Re: เที่ยวเมืองเพชรบุรี ปี 2474 Reply with quote

Mongwin wrote:
Wisarut wrote:
ขึ้นขบวนบ่ายถึงตอนค่ำ อย่าตกใจ เพราะ เพียงแค่เดิน ออกจากสถานีเพชรบุรี ก็เจอ บ้านพักรถไฟ (Railway Resthouse) แล้ว ค่าอาหารเช้า 1 บาท ค่า อาหารกลางวันแบบ Tiffin 2 บาท ค่าน้ำชายามบ่าย 0.50 บาท และ ค่าอาหารเย็น 2.50 บาท

น่าเสียดายที่แผนที่สถานีรถไฟเพชรบุรี(เดิม) ปี 2478 ไม่ได้ระบุตำแหน่งที่ตั้งของบ้านพักรถไฟนี้ไว้ Sad

http://biochem.flas.kps.ku.ac.th/rft/petchaburi2478.jpg


งั้นมาดูแผนที่ซึ่งกรมรถไฟหลวงได้ทำไว้ (สแกนจาก Guide to Phetburi พิมพ์ปี 2474)
Click on the image for full size

หน้าตาบ้านพักรถไฟ ปี 2474
Click on the image for full size

รถด่วนสายใต้เอาเจ้าฮาโนแมก ทำขบวนจากกรุงเทพ ตอน 0700 ถึงเพชรบุรี เกือบเที่ยง
Click on the image for full size

สถานี เพชรบุรี เปิดใช้งานแทนอาคารไม้ตั้งแต่ 1 กุมภาพันธ์ 2459 เพราะ เงินกู้ ทางรถไฟสายใต้ จากรัฐบาลมลายู จากรูปเห็นใครก็ไม่รู้ชะโงกหน้ามาดูกล้อง Laughing Embarassed
Click on the image for full size


Last edited by Wisarut on 08/12/2009 1:03 am; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44705
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 10/02/2009 10:52 am    Post subject: Re: เที่ยวเมืองเพชรบุรี ปี 2474 Reply with quote

Wisarut wrote:
งั้นมาดูแผนที่ซึ่งกรมรถไฟหลวงได้ทำไว้ (สแกนจาก Guide to Phetburi พิมพ์ปี 2474)
http://i46.photobucket.com/albums/f139/Wisarut/PhetburiStationMap2474.jpg

Shocked
แม้ตำแหน่งอาคารสถานีเพชรบุรีเดิม ในแผนที่ของคุณวิศรุต ปี 2474
กับแผนที่ปี 2478 ในราชกิจจานุเบกษา จะคลาดเคลื่อนกันเล็กน้อย
แต่ก็ยืนยันการมีอยู่จริงของอาคารสถานีเพชรบุรีเดิมนะครับ

ภาพประกอบข้างบนนี้เป็นอาคารสถานีราชบุรีใช่ไหมครับ
อาคารสถานีเพชรบุรีดั้งเดิมเลย จะเป็นแบบมีหลังคาครอบรางรถไฟครับ

สถานีรถไฟเพชรบุรี
จาก สยามคือบ้านของเรา พิมพ์ครั้งแรก ธันวาคม ๒๕๕๐
ISBN 978-974-09-4090-6

Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42770
Location: NECTEC

PostPosted: 18/03/2009 11:56 pm    Post subject: Re: ค่าที่พักโรงแรมวังพญาไท เมื่อ 1 สิงหาคม 2473 Reply with quote

หน้าตาห้องเดอลุกซ์ Block B (หอกลาง - พระที่นั่งพิมานจักรี) โรงแรมวังพญาไท พิมพ์ออกเป็นโปสการ์ดจากสยามด้วย

Click on the image for full size

Wisarut wrote:
Block B (หอกลาง - พระที่นั่งพิมานจักรี)
ห้องเดอลุกซ์ เบอร์ 1 (ชั้น 2)
มีห้องนอน ห้องนั่งเล่น ห้องเขียนหนังสือ (ห้องทรงพระอักษรใน ร. ๖) และ ห้องอาบน้ำ แต่ไม่รวมค่าอาหาร คิด 120 บาทต่อคืน

(หมายเหตุ ห้องนี้ได้งดให้บริการที่พักเพราะได้ยกให้เป็นที่ทำการ สถานีวิทยุ 7 PJ วังพญาไทตั้งแต่ 25 กุมภาพันธ์ 2473 แล้วเนื่องจากฝรั่งสู้ค่าที่พักไม่ไหว)
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สาระความรู้วิชาการรถไฟและประวัติศาสตร์รถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 13, 14, 15 ... 73, 74, 75  Next
Page 14 of 75

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©