RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311296
ทั่วไป:13272679
ทั้งหมด:13583975
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - เรื่องหายาก .. ดูดมาจากเวบเก่า
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

เรื่องหายาก .. ดูดมาจากเวบเก่า
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 15, 16, 17 ... 73, 74, 75  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สาระความรู้วิชาการรถไฟและประวัติศาสตร์รถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
rodfaithai
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 10/07/2006
Posts: 1346

PostPosted: 03/06/2009 10:18 am    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
Wisarut wrote:
1. หมวดศิลาช่องแค
2. หมวดศิลาบ้านหมี่
3. หมวดศิลาสระบุรี (เปิดปี 2482)
4. หมวดศิลาแม่ทะ
5. หมวดศิลาแก่งหลวง
6. หมวดศิลาเกาะสีชัง (เปิดปี 2482)
7. หมวดศิลานาชะอัง
8. หมวดศิลาทุ่งสง (สายกันตัง)
9. หมวดศิลาน้ำน้อย (สายสงขลา)
10. หมวดศิลาหนองหวาย [ท่าชนะ]
11. หมวดศิลาเขาน้อย [พนมโตย ที่พระตะบอง]
12. หมวดศิลาศรีโสภณ [น่าจะเป็นแยกที่ ปอยเปต]

อ้างอิง: วารสารรถไฟ ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 มกราคม 2486

หมวดศิลาน้ำน้อย ใช่ที่เดียวกับหมวดศิลาเขาบรรไดนางหรือเปล่าครับ
(มีพูดถึงหมวดศิลาเขาบรรไดนางกับหมวดศิลานาชะอังในรายงานประจำปี 2498 การรถไฟฯ ด้วยครับ แต่ไม่มีรายละเอียดอะไรนอกจากนี้)
------------------
ศิลปวัฒนธรรม เล่มใหม่ มิ.ย. 52 มีบทความ "100 ปีหัวหิน" ปีไหนแน่? แต่ต้องไม่ใช่ปีนี้ !! ของคุณปรามินทร์ เครือทอง อ้างถึงการค้นพบหัวหินของนายกิตตินส์และการมาถึงของรถไฟที่หัวหิน ทำให้ปีนี้ไม่ใช่ปีที่ครบ 100 ปี ท่านที่สนใจลองอ่านดูนะครับ Very Happy


เห็นที่แผงแล้วแต่ยังไม่ได้พลิกดูครับ

ส่วนที่ หาดเจ้าสำราญมีกล่าวไว้ใน Siam was our home สมัยก่อนเดินทางลำบากน่าดู แต่ฝรั่งก็ยังดั้นด้นไปครับ

แถวเขาบรรไดนาง อาจจะมีแหล่งไม้ฟืนด้วยมั๊งครับ (เดาเอา)
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42746
Location: NECTEC

PostPosted: 03/06/2009 10:56 am    Post subject: Reply with quote

rodfaithai wrote:
เห็นที่แผงแล้วแต่ยังไม่ได้พลิกดูครับ

ส่วนที่ หาดเจ้าสำราญมีกล่าวไว้ใน Siam was our home สมัยก่อนเดินทางลำบากน่าดู แต่ฝรั่งก็ยังดั้นด้นไปครับ

แถวเขาบรรไดนาง อาจจะมีแหล่งไม้ฟืนด้วยมั๊งครับ (เดาเอา)


ฟืนอาจจะตัดจากเขาบรรได้นางแต่ต้องตัดฟืนส่งไปสำรองไว้ที่หาดใหญ่นะครับ
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44634
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 04/06/2009 7:39 am    Post subject: Reply with quote

ภาพจุดตัดที่เขาบันไดนางครับ จากหนังสือสมุดภาพเมืองสงขลา มหาวชิราวุธ ของคุณเอนก นาวิกมูล
ดูจากภาพแล้ว แยกเข้าหมวดศิลาเขาบันไดนางยังไม่ได้สร้างครับ
ถ้ามี จะแยกไปทางซ้ายของภาพครับ
ภาพนี้มองไปทางหาดใหญ่
แล้วด้านขวาของภาพ มีโบกี้รถไฟหรือเปล่าครับ ช่วยพิจารณาหน่อยครับ
(คลิกที่ภาพเพื่อชมภาพใหญ่ขึ้นได้ครับ)

Click on the image for full size

ภาพขยายเฉพาะส่วนครับ ตาลายขออภัยครับ

Click on the image for full size
---------------------------

รายงานประจำปี 2505
รหัส 5/2502 (จ) สร้างวงเวียนกลับรถจักรที่อุตรดิตถ์ 193,403.70 บาท

รายงานประจำปี 2498
เปิดเดินรถอุดรธานี-หนองคาย 23 ก.ย. 2498

รายงานประจำปี 2500
เปิดโรงรถจักรทุ่งสง 3 พ.ค. 2500
เปิดอาคารสถานีปาดังเบซาร์ (ปรับปรุงใหม่) 13 ก.ย. 2500

รายงานประจำปี 2499
เปิดสถานีท่าขนอน เป็นสถานีทางสะดวก มีทางหลีกยาว 299.375 เมตร 13 เม.ย.2499

รายงานประจำปี 2511
เปิดอาคารสถานีและโรงแรมรถไฟหาดใหญ่ 9 พ.ค. 2511
สร้างอาคารสถานีเขาไชยสน ใหม่ 26 ก.ย. 2511
ยุบสถานีเขาปูน (สายกาญจนบุรี) เป็นที่หยุดรถ 13 มิ.ย. 2511
เปิดที่หยุดรถบ้านเกาะมุกข์ ระหว่างสถานีท่าชนะและสถานีเขาพนมแบก 1 ส.ค. 2511

รายงานประจำปี 2502
สร้างสามเหลี่ยมกลับรถจักรที่นครสวรรค์ (35ก./2496) 179,453.89 บาท
ประกาศใช้ 1 มี.ค. 2503

รายงานประจำปี 2505
เปิดสถานีแปดริ้ว 20 ธ.ค. 2504
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44634
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 06/06/2009 7:24 pm    Post subject: Reply with quote

ข้อมูลปี 2495 จากพี่ช.โกวิทครับ Very Happy

mahachai_drc wrote:
กองไม้และศิลา มี 12 แห่ง
1.ช่องแค
2.บ้านหมี่
3.สระบุรี
4.เกาะสีชัง
5.แก่งหลวง
6.แม่ทะ
7.กบินทร์บุรี
8.นาชะอัง
9.ทุ่งสง
10.เขาบรรไดนาง
11.เขากระโดง
12.เขาทะโมน


Quote:
ทางตอนสถานีวังโพถึงสถานีน้ำตกเปิดการเดินรถ รับส่งผู้โดยสารและสินค้า ตั้งแต่วันที่ 1 ก.ค.2501
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42746
Location: NECTEC

PostPosted: 16/06/2009 10:36 pm    Post subject: Reply with quote

ููู^^^
แสดงว่า ได้เปิด บ่อศิลาเขากระโดงอีกครั้งในปี 2494 - 95 เพื่อ รองรับการสร้างทางใหม่แน่ๆ เพราะ เขากระโดงเป็นหินภูเขาไฟซึ่งถือว่าดี แต่ เขาทะโมน ดูๆ ไป ก็เหมือนกับการเปิด บ่อศิลาเขาเหลา คือ พอให้มีศิลาไม่ขาดมือ บ่อศิลาทุ่งสง ก็เช่นกัน

กรณีบ่อศิิลาที่น้ำน้่อย อาจจย้ายไปทำที่ เขาบรรไดนางก็เป็นได้ แต่ ต้องปิดบ่อศิลาที่ ท่าชนะ ไทม่รู้เพราะ สัมปทานหมดอายุ หรอื หินไม่ดี ก็ไม่ทราบได้ Sad
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44634
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 17/06/2009 11:12 am    Post subject: Reply with quote

ยังหาหลักฐานเพิ่มเติมไม่ได้เลยครับว่าหมวดศิลาน้ำน้อย น่าจะเคยอยู่ตรงไหน
เขาน้ำน้อยที่อยู่ใกล้ฮวงซุ้ยท่านขุนนิพัทธ์ ปัจจุบันมีการขุดดินลูกรังไปขาย แต่เมื่อก่อนก็เป็นภูเขาเต็มลูกสมบูรณ์ดี (ดูจากภาพถ่ายทางอากาศปี 2517)

ถ้าเป็นไปได้อาจจะเป็นเขาลูกเดียวกับหมวดศิลาเขาบรรไดนางก็ได้ครับ
เขาที่อยู่ด้านหลังของสะพานข้ามคลองน้ำน้อยนั่นแหละครับ
เคยเป็นเหมืองแร่มาก่อนด้วยครับ Rolling Eyes
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42746
Location: NECTEC

PostPosted: 04/07/2009 11:27 pm    Post subject: Reply with quote

วันนี้อ่านหนังสือเรื่อง Twentieth Century Impressions of Siam: Its History, People, Commerce, Industries and Resource ฉบัีบ Reprint ปี 1994 จากต้นฉบับ ปี 1908 ทำให้ได้รู้ว่า

1. บริษัท Howarth Erskine Ltd. จากอังกฤษ สำนักงานใหญ่ที่สิงคโปร์ มาตั้งสาขาเมืองสยาม และมีสาขาจากกัลกัตตา ถึงเซี่ยงไฮ้ ที่สาขากรุงเทพ มีนายช่างฝรั่งยุโรปไม่ต่ำกว่า 23 คน และ คนงานอีก 600 คน บริษัทนี้ดังเพราะเป็นผู้รับเหมาสร้างสิ่งต่อไปนี้ในกรุงสยาม

1.1 สะพานผ่านฟ้าลีลาศ
1.2 สวนดุสิต (พระราชวังดุสิต)
1.3 หอจ่ายน้ำขนาด 40000 แกลลอน ที่แม้นศรีสำหรับการประปากรุงเทพที่กำลังสถาปนา
1.4 ธนาคารอินโดจีน (Banque de l'Indo-Chine) สาขากรุงเทพ
1.5 ธนาคารชาร์เตอร์แห่งอินเดีย ออสเตรเลีย และ จีน (The Chartered Bank of India, Australia and China) สาขากรุงเทพ
1.6 โกดังสินค้าในกรุงเทพ
1.7 รับเหมาซ่อมเรือตอปิโดให้ในราชการกรมทหารเรือ

2. บริษัท A. J. Corbett & Co. บริหารโดย นาย บริษัท A. J. Corbett วิศวกรชาวสกอตต์ จาก Howarth Erskine Ltd. ที่ทำงานให้ Howarth Erskine Ltd. ตั้งแต่ปี 1900 ถึง 1902 ต่อมาได้ลาออกไปทำงานที่ Straits Engineering Syndicate ที่สิงคโปร์อยู่ 2 ปี ก่อน ทำงานให้ บริษัทผู้รับเหมาของตัวเองที่กรุงเทพ ในปี 1904

บริษัทนี้ได้รับเหมาทำงานให้กรมรถไฟหลวง ดั่งนี้


2.1 รับเหมาจัดหาวัสดุก่อสร้างโรงงานแห่งใหม่ที่มักกะสัน โดย สร้างโรงซ่อมรถจักรไอน้ำ ขนาด 5 ช่วง กว้างยาวสูง 138 ฟุต 6 นิ้ว x 354 ฟุต x 29 ฟุต 6 นิ้ว สำหรับ โรงกลาง และ กว้างยาวสูง 138 ฟุต 6 นิ้ว x 354 ฟุต x 20 ฟุต สำหรับโรงด้านข้าง 4 โรง โรงซ่อมรถจักรไอน้ำดังกล่าว มีเครน 10 ตัน สำหรับยกรถจักรไอน้ำ 2 ตัว มี Transporter และ Traveling Table (ก็คือเจ้า Travelator นั่นเอง) โรงงานแห่งใหม่ที่มักกะสันที่กำลังสร้างนี้ ปููหลังคาสังกะสี (Corrugated Iron roof) และ ใช้กำแพงคอนกรีตเสริมเหล็ก

2.2 ติดตั้งสะพานเหล็กให้ทางรถไฟสายตะวันออก กรุงเทพ - แปดริ้ว 10 สะพาน โดยสะพานที่ยาวที่สุดเป็นสะพานเหล็ก 4 ช่วง ยาว 4 x 10.00 เมตร ข้ามคลองหัวตะเข้

2.3 ติดตั้งสะพานปรมินทร์ข้ามแม่น้ำน่าน ยาว 262 เมตร แบบ cantilever หนัก 600 ตัน ซึ่งสร้างให้โดย บริษัท คลีฟแลนด์บริดจ์ แอนด์ เอนจิเนียริ่ง จำกัด (Cleveland Bridge and Engineering Company Limited.) แห่ง ดาร์ลิงตัน ประเทศอังกฤษ


Last edited by Wisarut on 25/08/2013 10:06 pm; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
rodfaithai
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 10/07/2006
Posts: 1346

PostPosted: 05/07/2009 11:44 am    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:

ภาพจุดตัดที่เขาบันไดนางครับ จากหนังสือสมุดภาพเมืองสงขลา มหาวชิราวุธ ของคุณเอนก นาวิกมูล
ดูจากภาพแล้ว แยกเข้าหมวดศิลาเขาบันไดนางยังไม่ได้สร้างครับ
ถ้ามี จะแยกไปทางซ้ายของภาพครับ
ภาพนี้มองไปทางหาดใหญ่
แล้วด้านขวาของภาพ มีโบกี้รถไฟหรือเปล่าครับ ช่วยพิจารณาหน่อยครับ


ช่างสังเกตจริงๆ

อาจจะเปนไปได้ครับ
รถยนต์ไม่น่าจะจอดติดๆ กันขนาดนั้น ที่ออกจะกว้างขวาง
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44634
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 05/07/2009 2:48 pm    Post subject: Reply with quote

แสดงว่าสมัยนั้นสายสงขลามีทางแยกไปทางตะวันตกของรางด้วย นอกเหนือจากทางแยกไปท่าเรือริมทะเลสาบ
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42746
Location: NECTEC

PostPosted: 13/07/2009 2:13 pm    Post subject: Reply with quote

ทำไมรถไฟสายใต้จึงไม่วิ่งผ่าน ณ ที่นั้น?
โดย นรา

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 13 กรกฎาคม 2552 12:32 น.


ท่านพระครูมหาวิหาราภิรักษ์ได้รับการยกย่องมากว่า สามารถอนุรักษ์ของเก่าล้ำค่าหลายสิ่งในวัดใหญ่สุวรรณาราม ไว้ได้ ด้วยความรู้และความเข้าใจ อาศัยกรรมวิธีอันประณีตละเอียดลออ

และเหนืออื่นใดคือ ความมุ่งมั่นพากเพียรไม่ยอมแพ้แก่อุปสรรคยากลำบากสารพัดสารพัน

เล่ากันว่า ตัวศาลาการเปรียญหลังงาม อันมีชื่อเสียงเป็นที่เลื่องลือ สภาพก่อนบูรณะปฏิสังขรณ์นั้น โย้เอียงไปทั้งหลัง ตีนเสาทุกต้นขาดเกือบหมด

พระครูมหาฯ ท่านแก้ไขด้วยวิธีดังนี้คือ ในฤดูแล้ง ท่านนำพระลูกวัดเดินทางไปตัดไม้จากป่าต้นแม่น้ำเพชรบุรี แล้วนำมาเลื่อยแปรรูปที่บ้านท่าคอย (บ้านเดิมถิ่นเกิดของท่าน) เพื่อนำมาซ่อมแซมแทนที่ส่วนชำรุดเสียหาย

เมื่อได้ไม้ซุงจำนวนเพียงพอแล้ว ท่านได้เกณฑ์ขอแรงชาวเมืองเพชรหลายร้อยคน มาช่วยดึงเชือกกระทั่งศาลาการเปรียญตั้งตรง แล้วจึงต่อหัวเสาที่ชำรุดทุกต้น ในแบบที่เรียกว่าต่อทั้งยืน ไม่ได้ยกเสาออกมา ทั้งยังต้องเข้าปากไม้ให้สนิทกับของเดิม อันเป็นงานที่ยากลำบากสาหัส ต้องใช้ฝีมือชั้นสูงละเอียดพิสดาร

ยากอย่างไรนั้น? พระราชหัตถเลขาของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชนิพนธ์ไว้ดังนี้

"...แต่ในการที่จะซ่อมขึ้นให้บริบูรณ์ดีอย่างเก่านั้น ไม่แต่ฝีมือพระ ถึงฝีมือช่างหลวงทุกวันนี้ก็ยากที่จะทำให้เข้ากันกับของเดิมได้..."

ทว่าพระครูมหาวิหาราภิรักษ์ท่านทำได้สำเร็จนะครับ และกลายเป็นผลงานชิ้นมหัศจรรย์มาจนถึงทุกวันนี้

เรื่องเล่ายังมีอีกว่า ในการซ่อมเครื่องบนพระอุโบสถ ซึ่งเต็มไปด้วยไม้ผุกร่อน ท่านใช้วิธีเอาถ่านสุมไฟออกอย่างค่อยเป็นค่อยไป ละมุนละม่อมนิ่มนวล แล้วจึงใช้ไม้ใหม่เปลี่ยนเข้าทดแทน มิได้รื้อถอนหรือทุบทิ้งแบบจู่โจมหักดิบ

หากใช้วิธีหักโหมแต่สะดวกรวบรัดดังว่า ภาพจิตรกรรมฝาผนัง ก็จะต้องถูกปูนขาวทาทับ หรือได้รับผลกระทบอื่นๆ ในขณะก่อสร้าง จนอาจเสียหายไปตลอดกาล

อีกคราวหนึ่ง ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความเป็นเข้าใจในศิลปะอย่างถ่องแท้ของพระครูมหาวิหาราภิรักษ์ก็คือ เคยมีญาติโยมจากกรุงเทพฯ พบว่า ภาพจิตรกรรมฝาผนังวัดใหญ่สุวรรณาราม อยู่ในสภาพเก่าคร่ำคร่า บางซีกด้านก็เลือนหายหลงเหลืออยู่แค่ร่องรอยซีดจาง

จึงเอ่ยปากอาสาว่า จะรับเป็นเจ้าภาพออกเงินค่าใช้จ่ายทั้งหมด เพื่อซ่อมแซมจิตรกรรมในพระอุโบสถ

ท่านพระครูมหาวิหาราภิรักษ์ตอบสั้นๆ เพียงแค่ขอร้องทำนองว่า ภาพนั้นเป็นของเก่า เก็บรักษาเอาไว้ดูกันบ้าง

ภาพเขียนผนังที่วัดใหญ่สุวรรณาราม จึงเป็นฝีมือดั้งเดิมสมัยอยุธยาแท้ๆ ไม่ได้ผ่านการต่อเติมวาดใหม่ใดๆ เลย จะมีก็เพียงแค่การซ่อมผนึกชั้นสี และเคลือบน้ำยาเคมี โดยการควบคุมดูแลของอาจารย์เฟื้อ หริพิทักษ์ เมื่อปี พ.ศ. 2517 เพื่อถนอมรักษาไม่ให้เกิดการกะเทาะหลุดร่อนเท่านั้น

อาจารย์เฟื้อท่านเคยให้สัมภาษณ์ไว้ว่า "งานขั้นปรมาจารย์นั้น ความรู้และฝีมือเราไม่ถึงเขาหรอก การต่อเติมคือการทำลาย เมื่อคนที่มีความรู้เขามาเห็นก็จะเกิดความไขว้เขว ไม่เชื่อว่าเป็นของคนเดิม ขาดความนับถือ นี่เป็นการทำลายของที่มีคุณค่า ทำเสียหมด ดังนั้นเราต้องรู้ค่าของงานศิลปะ ซึ่งเป็นเรื่องลำบากเหลือเกินที่จะให้คนโดยทั่ว ๆ ไปเข้าใจเรื่องเช่นว่านี้"

ไหนๆ วกเข้าเรื่องนี้แล้ว ผมขออนุญาตอ้างถ้อยคำของอาจารย์เฟื้ออีกสักหนึ่งย่อหน้า

"...ในส่วนของการบูรณะหรืออนุรักษ์งานที่มีคุณค่าศิลปะนั้นมีหลายขั้นตอน...บางอันมีคุณค่าสูงสุด ถือกันว่าเป็นงานขั้นปรมาจารย์ กระทบไม่ได้เลย โดยเฉพาะถ้าเราไปเสริม ก็เหมือนกับไปเพิ่มเติม เปรียบเหมือนดั่งวรรณคดี สมมติสมุดข่อยที่สุนทรภู่เขียนขึ้น ขาดโหว่ตอนใดตอนหนึ่งเราจะไปเติมได้หรือ เราก็ต้องเอาอย่างนั้น"

"เมื่อเราคิดอะไร นึกว่าอย่างนั้นอย่างนี้ก็ไปเขียนใหม่อีกเล่มซิ...ทีนี้ก็มีช่างรองลงมา ถือเป็นชั้นดีเหมือนกันแต่รองลงมา ก็ต้องดูเหตุผลอีกว่า ช่วยได้หรือเปล่า ช่วยเพื่อให้น่าดูขึ้น ทีนี้คนที่จะช่วยต้องมีความรู้ความสามารถทางด้านนี้ และมีเหตุผลพอควรต่อการยกงานนั้น ๆ ขึ้นมา"

คำว่า "ยกงาน" นั้นๆ ขึ้นมา ไม่ได้แปลว่าวาดทับเขียนใหม่นะครับ แค่ทำความสะอาดคราบฝุ่นเขม่าควัน ผนึกชั้นสีที่หลุดร่อนให้คืนดีดังเดิม (ซึ่งมีกรรมวิธีอยู่หลายขั้นตอน) วาดซ่อมแซมเฉพาะตรงบริเวณที่ชำรุดหายไป แก้ไขสีและลวดลายแถบรอบๆ ใกล้เคียง (และมีหลักเกณฑ์ว่า จะต้องแยกแยะให้รู้ดูออกว่า ตรงไหนคือรอยซ่อม ตรงไหนเป็นของเดิม ไม่ใช่ซ่อมจนใหม่เอี่ยมกลืนกันไปหมดทั้งภาพ)

ความเดิมที่ผมตั้งใจจะเขียน (ก่อนเกิดอาการ "ของขึ้น" จนลืมตัวและ "นอกเรื่อง" ไปชั่วขณะร่วมๆ ยี่สิบบรรทัด) ก็คือ ท่านพระครูมหาวิหาราภิรักษ์ ท่านมีสายตาเฉียบคม และรู้ซึ้งถึงคุณค่าของงานศิลปะอย่างถี่ถ้วนถ่องแท้

นอกจากจะมีบทบาทสำคัญในการอนุรักษ์ บูรณะปฏิสังขรณ์ และสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ดีงามเพิ่มเติมมากมาย จนทำให้วัดใหญ่สุวรรณาราม เป็นเสมือนพิพิธภัณฑ์อันล้ำค่าแล้ว ว่ากันว่าท่านยังเป็นพระสงฆ์ที่เคร่งในพระวินัย สงบสำรวม มีศีลาจริยวัตรงดงาม เปี่ยมเมตตา มากด้วยบารมีธรรม บารมีทาน

พระราชวชิราภรณ์ (พระเทพวงศาจารย์) อดีตเจ้าคณะจังหวัดเพชรบุรี สรุปนิยามถึงพระครูมหาวิหาราภิรักษ์เอาไว้สั้นๆ แต่ครอบคลุมใจความล้ำลึกว่า "ท่านเป็นพระจริงๆ"

ตอนซ่อมวัดใหญ่สุวรรณาราม ทุนทรัพย์ทั้งหมดได้มาจากการเรี่ยไรบอกบุญจากญาติโยมสาธุชน

ตรงนี้ก็หยั่งวัดได้อีกว่า ท่านพระครูมหาฯ เป็นที่เคารพศรัทธาของชาวบ้านมากเพียงไร?

แค่ตั้งขันใบใหญ่วางไว้เฉยๆ บนกุฎิ ไม่ต้องป่าวประกาศโน้มน้าวชักจูงอันใด เพียง 3 วันเท่านั้น ยอดเงินบริจาคก็ปาเข้าไปหลายร้อยชั่ง (นั่นเป็นเหตุการณ์เมื่อหนึ่งร้อยปีมาแล้วนะครับ)

มากเกินพอสำหรับการบูรณะวัด

ครั้งนั้นท่านได้เจียดเงินส่วนหนึ่งที่เหลือ มอบหมายให้รองเจ้าอาวาส นำไปดำเนินการก่อสร้างวัดมาบปลาเค้า ที่อำเภอท่ายาง

เหตุผลก็คือ เพราะท่านสงสารเห็นใจชาวบ้านละแวกนั้น ซึ่งต้องรอนแรมบุกบั่นเดินทางไกลข้ามอำเภอ ด้วยความยากลำบาก เพื่อมาทำบุญที่วัดใหญ่สุวรรณาราม

คุณูปการสำคัญอีกอย่างของพระครูมหาฯ ก็คือ ท่านเป็นผู้หนึ่งซึ่งมีส่วนในการปลี่ยนเส้นทางรถไฟ!

ขณะนั้น กิจการรถไฟสายใต้สร้างเสร็จและเปิดใช้ จากกรุงเทพฯ มาสุดปลายทางที่จังหวัดเพชรบุรีแล้ว

หลังพ.ศ. 2456 จึงเริ่มลงมือสร้างและขยายเส้นทางต่อไปยังภาคใต้อีก

จากเพชรบุรีไปยังสถานีต่อไปคือ ห้วยเสือ แนวรางรถไฟกำหนดไว้ว่า จะพาดพ่านระหว่างวัดใหญ่สุวรรณารามกับวัดโพธาราม ตรงไปวัดไผ่ล้อม

งานค่อยๆ คืบหน้า นายช่างฝรั่งสั่งการให้กรุยทาง พูนดิน รวมทั้งตระเตรียมจะรื้อครึ่งหนึ่งของโบสถ์วัดไผ่ล้อม (ซึ่งเป็นวัดร้าง)

ตอนวางแผนกำหนดเส้นทาง วิศวกรนายช่างฝรั่ง คงส่องกล้องสำรวจแล้ว เห็นว่านั่นเป็นแนวรางรถไฟที่ลัดและตรงสุด

ตอนนั้นผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมก็ยังไม่น่าจะมีอะไรมากนัก เส้นทางคงไม่ได้ตัดฝ่าบ้านเรือนหรือย่านชุมชนหนาแน่น ปราศจากการเวนคืนที่ดิน

ทางรถไฟก็คงจะเริ่มลงมือสร้างไปตามปกติ ปราศจากการชุมนุมต่อต้านคัดค้านใดๆ

กระนั้น ความเดือดร้อนและผลกระทบก็มีอยู่จริง

กล่าวคือ บริเวณรางรถไฟนั้น ออกแบบดีไซน์ให้วางรางเหล็กบนเนินสูงจากพื้นดินพอสมควร

การขนไม้ซุงเพื่อนำมาซ่อมวัดใหญ่สุวรรณาราม จึงย่อมเผชิญกับสิ่งกีดขวาง เต็มไปด้วยอุปสรรค ทั้งยากลำบากและไม่สะดวก

เหตุผลแนบพ่วงต่อมา และจะมีความสำคัญต่อไปในอนาคต (ผมเดาเอาว่า ขณะเริ่มทำการก่อสร้าง คงไม่มีใครตระหนักหรือนึกถึงปัญหาเหล่านี้มากนัก) ก็คือ ทำให้บริเวณตัวเมืองคับแคบอับทึบ ปราศจากหนทางขยับขยาย เนื่องจากด้านหนึ่งมีแม่น้ำเพชรบุรีขนาบไว้ อีกด้านหนึ่งก็จะโดนกักล้อมด้วยแนวรางรถไฟ (อันนี้เรากำลังพูดถึงการขยายเขตเมืองในยุคสมัยอดีตนะครับ ไม่ใช่การเติบโตของตัวเมืองแบบปัจจุบัน)

เรื่องนี้เล่าลือกันต่อมาได้สองทาง

อย่างแรก ท่านเจ้าอาวาสวัดใหญ่สุวรรณาราม ได้กราบทูลต่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จนพระองค์ต้องสั่งเปลี่ยนแปลงการวางรางรถไฟสายใต้เสียใหม่

ส่วนอีกเวอร์ชั่น (ซึ่งน่าจะเป็นไปได้มากกว่า) พระครูมหาวิหาราภิรักษ์เห็นว่า เรื่องดังกล่าวเกินวิสัยของท่านจะไปกราบทูลให้ในหลวงทรงทราบ เพราะความสำรวมระมัดระวัง ท่านจึงวางเฉย และดำเนินการซ่อมวัดต่อไป ท่ามกลางอุปสรรคใหม่ๆ ที่เกิดและเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

จนกระทั่งเมื่อเสด็จมายังวัดใหญ่สุวรรณารามในคราวหนึ่ง

พระพุทธเจ้าหลวงคงทอดพระเนตรเห็น สภาพการก่อสร้างซ่อมแซมภายในวัด และได้ทรงตรัสถามรายละเอียดต่างๆ กับพระครูมหาวิหาราภิรักษ์

พระครูมหาฯ ก็คงจะสบโอกาสกราบทูลถึงปัญหาต่างๆ ต่อในหลวงตอนนี้นี่เอง

ครั้นแล้วต่อมาไม่นานนัก จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนเส้นทางรถไฟเสียใหม่ วางแนวอ้อมไปทางหลังวัดวิหาร และวัดไตรโลก เฉียดเขตวัดนาค อุโบสถวัดปีบ มุ่งตรงยังภาคใต้ต่อไป

ทรงให้เหตุผลกับนายช่าง ด้วยสายพระเนตรเล็งเห็นการณ์ไกลว่า ถ้าไม่เปลี่ยนแปลงแนวรถไฟใหม่เสียแล้ว ก็จะทำให้ตัวเมืองแคบลง ไม่มีทางขยายออกไปได้

รถไฟสายใต้ จึงมิได้วิ่งผ่านวัดใหญ่สุวรรณารามด้วยประการฉะนี้


Last edited by Wisarut on 25/08/2013 10:09 pm; edited 2 times in total
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สาระความรู้วิชาการรถไฟและประวัติศาสตร์รถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 15, 16, 17 ... 73, 74, 75  Next
Page 16 of 75

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©