Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311296
ทั่วไป:13273002
ทั้งหมด:13584298
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - เรื่องหายาก .. ดูดมาจากเวบเก่า
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

เรื่องหายาก .. ดูดมาจากเวบเก่า
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 32, 33, 34 ... 73, 74, 75  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สาระความรู้วิชาการรถไฟและประวัติศาสตร์รถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 27/05/2012 11:45 pm    Post subject: เครือซีเมนต์ไทยกะรถไฟไทย Reply with quote

พ.ศ. 2458 ความสัมพันธ์กับรถไฟไทย : เชื่อมต่อแหล่งวัตถุดิบ
SCG Heritage - เวบเพื่อเตรียมการฉลอง 100 ปี เครือซีเมนต์ไทยในปี 2556

ความสำคัญของการคมนาคมขนส่งโดยรถไฟในยุคต้นมีมากมายเพียงใดสำหรับการตั้งโรงงานปูนซีเมนต์คงอ่านได้จาก "ทำเลและการก่อสร้าง" ที่ว่าด้วยการการตัดสินใจเปลี่ยนทำเลที่ตั้งโรงงานจากริมแม่น้ำมาอยู่ที่ริมทางรถไฟ

พัฒนาการของการสร้างทางระบบรถไฟในเมืองไทยมีความสำคัญและสัมพันธ์กับการพัฒนาบริษัทปูน

ซิเมนต์ไทยอย่างมาก ถือเป็นปัจจัยพื้นฐานที่สำคัญทีเดียว เนื่องจากก่อนเกิดโรงงานปูนซีเมนต์แห่งแรกของประเทศไทยนั้น โครงข่ายทางรถไฟเกิดขึ้นเชื่อมการคมนาคมจากกรุงเทพฯ ไปยังหัวเมืองสำคัญ ๆ แล้ว

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ประการแรกสุดคือ การเชื่อมโยงระหว่างโรงงานที่บางซื่อกับแหล่งวัตถุดิบสำคัญในประเทศ อันได้แก่ แหล่งดินขาวหรือบางครั้งก็เรียกดินสอพอง (Marl) ซึ่งในช่วงแรกอยู่ที่ตำบลช่องแค อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ โดยขนส่งด้วยรถไฟสายเหนือจากสถานีช่องแคถึงบางซื่อเป็นระยะทาง 180 กิโลเมตร จากหนังสือตอบโต้ระหว่างบริษัทปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (19 มิถุนายน พ.ศ.2456) และกระทรวงคมนาคม (5 สิงหาคม พ.ศ.2456) ระบุว่าบริษัทปูนซิเมนต์ไทย จำกัด ต้องจ่ายค่าขนส่งวัตถุดิบให้การรถไฟเป็นเงินปีละ 50,000 - 100,000 บาท (ในขณะนั้นภาษาอังกฤษใช้ว่า ticals) ในขณะที่บริษัทมีทุนจดทะเบียน 1 ล้านบาท โดยกว่าจะเรียกค่าหุ้นครบ 100% ใช้เวลาถึง 3 ปี (พ.ศ.2459)

ต้นทุนค่าขนส่งโดยรถไฟเป็นปัจจัยพิจารณาการตัดสินเชิงบริหารครั้งสำคัญ ๆ หลายครั้งต่อจากนั้น
ความพยายามแสวงหาวัตถุดิบที่ใช้เวลาและต้นทุนในการขนส่งลดลง ในที่สุด อีกราว 6 ปีหลังจากตั้งโรงงานที่บางซื่อก็สามารถค้นพบแหล่งวัตถุดิบใหม่ที่ตำบลบ้านหมอ อำเภอบ้านหมอ จังหวัดสระบุรี ไม่เพียงอยู่ใกล้เส้นทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือเท่านั้น ยังย่นระยะทางลงอีกเหลือประมาณ 100 กิโลเมตร

“เมื่อการคมนาคมทางรถไฟและรถยนต์ได้เป็นปัจจัยให้เกิดตลาดสำหรับปูนซีเมนต์ ห่างจากเขตพระนครมากขึ้น บริษัทก็ได้ตกลงขยายกิจการเพิ่มเติมด้วยการจัดสร้างโรงงานแห่งใหม่ขึ้นที่ ตำบลท่าหลวง อำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา อันเป็นทำเลที่ได้เปรียบกว่าตำบลบางซื่อ เพราะมีการลำเลียงทางน้ำได้ด้วย แล้วอยู่ห่างจากบ่อดินขาวเพียง 10 กิโลเมตรเท่านั้น งานนี้ได้เริ่มก่อนหน้าที่จะเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 เพียงเล็กน้อย" (จากหนังสือปูนซิเมนต์ไทย พ.ศ.2500 : 1957)

อย่างไรก็ตามการตั้งโรงงานที่ท่าหลวง ทำให้บริษัทปูนซิเมนต์ไทย จำกัด ต้องตัดสินใจลงทุนสร้างทางรถไฟเอง เป็นระยะทางถึง 8 กิโลเมตร เพื่อเชื่อมโรงงานท่าหลวงกับสถานีรถไฟบ้านหมอ ซึ่งยกให้เป็นสมบัติของรัฐในเวลาต่อมา "แต่ก็อีกนั่นแหละเป็นครั้งที่ 2 ในประวัติของบริษัทปูนซิเมนต์ไทย จำกัด ที่ไม่สามารถทำให้กรมรถไฟเห็นอกเห็นใจบริษัทในการจัดแผนงานได้”

ตอนหนึ่งของหนังสือปูนซิเมนต์ไทย พ.ศ.2500 : 1957 ระบุเรื่องนี้เอาไว้ ซึ่งได้สรุปไว้ด้วยว่า "ในที่สุดการเลือกที่ตั้งโรงงานที่ท่าหลวง ก็ได้ทำให้บริษัทเป็นเจ้าจำนำ (คู่ค้า) ใหญ่ที่สุดรายหนึ่งของการรถไฟแห่งประเทศไทย”

//-------------------------------------------------------------

ที่เหลือดูได้ที่นี่ครับ: SCG Timeline
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44637
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 28/05/2012 8:51 am    Post subject: Reply with quote

โรงงานปูนซิเมนต์กับการรถไฟนี่ โตคู่กันมาเลยนะครับ ไม่ว่าจะเป็นไทย กัมพูชาหรืออินโดนีเซีย
สมัยก่อนถึงมีคำพูดติดปากว่า"แยกโรงปูน" นั่นเองครับ

ปูนถุง เป็นของที่ขนาดไม่ใหญ่แต่น้ำหนักมากจนไม่น่าเชื่อครับ ถุงละ 50 กิโลกรัม ดังนั้นวัตถุดิบก็น้ำหนักมากเช่นกัน ของน้ำหนักมากและมีช่องว่างน้อยขนส่งทางรถไฟคุ้มค่าที่สุดแล้ว (ของปริมาตรมากน้ำหนักน้อย ขนส่งทางเรือน่าจะคุ้มกว่า)
ตอนผมเด็ก ๆ คุณแม่จะเอากระดาษถุงปูนมาใช้ห่อปกหนังสือเรียนให้ผมครับ สมัยนั้นปกพลาสติกยังแพงและฟุ่มเฟือย

เครือซีเมนต์ไทยจะฉลองครบ 100 ปีแล้ว ทางรถไฟสายใต้ (ทั้งสงขลาและกันตัง) ก็จะครบ 100 ปีเช่นกัน ต้องเตรียมฉลองกันบ้างแล้วสิครับ Rolling Eyes
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44637
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 28/05/2012 7:47 pm    Post subject: Reply with quote

เช้าวันที่ 8 พฤศจิกายน 2529 ไม่มีใครคาดคิด เมื่อหัวรถจักรดีเซลหมายเลข 4044 ที่พ่วงติดกับหัวรถจักรอีก 5 หัว ที่อยู่ระหว่างการซ่อมที่โรงซ่อมสถานีบางซื่อ ได้เคลื่อนตัวออกจากโรงซ่อมโดยไม่มีคนขับ มุ่งหน้าเข้าสู่สถานีรถไฟหัวลำโพง ด้วยความเร็ว เกือบ 60 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

ตลอดเส้นทางที่ขบวนรถไฟไร้คนขับผ่าน ได้พุ่งชนรถตามเส้นทางตัดทางรถไฟหลายแห่ง ก่อนจะพุ่งเข้าชนเข้าไปในชานชาลา สถานีรถไฟหัวลำโพง ซึ่งมีทั้งร้านค้าและประชาชนที่มารอขึ้นรถไฟเป็นจำนวนมาก จากอุบัติเหตุที่เกิดขึ้น ทำให้มีผู้เสียชีวิต ถึง 6 คน และได้รับบาดเจ็บอีกหลายคน


ที่มา: รายการภาพเก่าเล่าใหม่ ออกอากาศทางช่อง 7 สี 28 พ.ค.55
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
ksomchai
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 08/04/2009
Posts: 6384
Location: เมืองทองเนื้อเก้า มะพร้าว สัปรด สวยสดหาด เขา ถ้ำ งามล้ำน้ำใจ ป่าชุ่มน้ำผืนใหญ่ แหล่งวางไข่ปลาทู

PostPosted: 29/05/2012 8:35 am    Post subject: Reply with quote

ปัจจุบันหัวรถจักรดีเซลหมายเลข 4044 ปัจจุบันประจำการอยู่ที่ใดเอ่ย Question

-------------------------------------------------------------------

Mongwin wrote:
ชมรถไฟไทยจากภาพยนตร์ ในรูปแบบภาพสี เมื่อ 50 ปีที่แล้วกันครับ
ในส่วนที่เป็นภาพยนตร์เรื่อง เรือนแพ พ.ศ.2504 ถ่ายทำที่สถานีรถไฟบางซื่อครับ

http://www.youtube.com/watch?feature=player_embedded&v=vushYH9FZBU

คุณมนัส กิ่งจันทร์ wrote:
บทที่ 508
ชุมทางหนังไทยในอดีต เสนอฉาย
โอ้..กรุงเทพฯ เมืองฟ้าอมร 2504-2514
โดย มนัส กิ่งจันทร์
(facebook 11 พฤษภาคม 2555)
..สวัสดีครับ..วันนี้จะพาทุกท่านย้อนอดีตไปดูกรุงเทพฯ เมืองฟ้าอมรเมื่อ 40-50 ปีที่แล้วว่า มีสภาพบ้านเมืองเป็นอย่างไรกันบ้าง โดยตัดภาพมาจากหนังไทย 13 เรื่องที่ออกฉายในช่วงปีนั้น ๆ ท่านที่เคยเห็นหรือเกิดทัน ก็จะจำได้ว่า เป็นสถานที่แห่งใดบ้าง ส่วนที่ท่านไม่เคยเห็นหรือเกิดไม่ทัน ก็คงต้องอ่านคำบรรยายด้านล่างประกอบด้วยนะครับ..ปัจจุบันสถานที่บางแห่งก็ยังคงอยู่ แต่บางแห่งก็ไม่อยู่ให้เห็นแล้ว..

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ บทที่ 508 โอ้..กรุงเทพฯ เมืองฟ้าอมร 2504-2514
http://www.facebook.com/photo.php?fbid=376354662400237&l=217cf9d28a


Laughing ขออนุญาตเจ้าของภาพ ดูดภาพมาลงนะครับ
Click on the image for full size

Laughing รถที่มีชานเเบบนี้ที่เคยพ่วง ข.รถรวม ๓๖๓-๓๖๔ ประจวบคีรีขันธ์-สุราษฎร์ธานี-ประจวบคีรีขันธ์
และ ข.รถรวมสายเหนือ ข.๔๖๓-๔๖๔ ที่พี่นพ บอกนะ ครับ

ปัจจุบันตู้โดยสารที่มีชานแบบนี้ไม่มีให้เห็นแล้ว เป็นตู้แบบปิดอย่างที่เห็นในปัจจุบัน คงเพื่อความปลอดภัยของผู้โดยสารกระมัง ครับ

ดูจากภาพน่าจะมาจากทางเหนือนะ ครับ ใช้รถจักรลากแบบนี้ถ้ามาจากเชียงใหม่ คงใช้เวลาหลายวัน

ขบวน ๓๖๓ บ้านผมจากประจวบคีรีขันธ์ถึงสุราษฎร์ธานีก็เย็นแล้ว บางทีก็มืดค่ำ เพราะเสียเวลากับการเติมน้ำเติมฟืนและส่งตู้สินค้า
จำได้ว่ารถจักรไอน้ำรุ่นแรก ๆ ที่ใช้ฟืนเป็นเชื้อเพลิง จะหยุดที่บางสะพานใหญ่ ๓๐ นาที หลังจากเปลี่ยนน้ำมันเตาเป็นเชื้อเพลิง หยุดที่บางสะพานใหญ่เติมน้ำอย่างเดียว ๑๕ นาที
เคยเห็นตารางเวลารถวิ่งผ่านระหว่างสถานีนาผักขวง-บางสะพานใหญ่ ระยะทาง ๕ ก.ม.รถจักรไอน้ำ ใช้เวลาวิ่ง ๘ นาที รถจักรดีเซล ๕ นาที
จากนาผักขวง-บ้านกรูด ระยะทาง ๑๐ ก.ม.รถจักรไอน้ำใช้เวลา ๒๐ นาที รถจักรดีเซล ๑๑ นาที ^^

Laughing รถธรรมดาที่ใช้รถจักรไอน้ำลากตู้โดยสารแบนนี้ ที่ผมเคยใช้บริการก็คือ สายหาดใหญ่-สงขลา-หาดใหญ่ ครับ Very Happy
_________________
Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message Send e-mail
Ariya_4543
2nd Class Pass
2nd Class Pass


Joined: 02/04/2008
Posts: 643
Location: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง // สถานีรถไฟหัวลำโพง

PostPosted: 29/05/2012 11:05 am    Post subject: Reply with quote

ได้รับชมแล้วครับ สมัยก่อนนั้นสถานีบางซื่อดูร่มรื่นมาก ๆ ครับ ไปฉากมีป้าดา แล้วก็ แปซิฟิค 833 และ 836 เข้าฉากด้วย คลาสสิคมาก ๆ ครับ คำพูดคำจาคนสมัยนั้นฟังลื่นหูจริง ๆ ที่คุ้น ๆ ในหนังเรืองนี้ถ้าไม่ผิดมี ม.รามคำแหง ด้วย แต่คิดว่าใช่แน่ ๆ แล้วก็ท้องฟ้าจำลองเปลี่ยนไปเยอะจริง ๆ พระเอกสมัยนั้นหน้าตาเข้ม ๆ ร่างกายกำยำมาก ๆ ไม่เหมือนกับเดี๋ยวนี้ที่เน้นหน้าตาอย่างเดียว Laughing
_________________
Ariya_4404@hotmail.co.th // Ariya_Watthanarungsun (Ariya_4543)

Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message Send e-mail MSN Messenger
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44637
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 29/05/2012 3:37 pm    Post subject: Reply with quote

ksomchai wrote:
ปัจจุบันหัวรถจักรดีเซลหมายเลข 4044 ปัจจุบันประจำการอยู่ที่ใดเอ่ย Question

ได้ข่าวว่าอยู่แถว ๆ หาดใหญ่ครับพี่สมชาย
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44637
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 04/06/2012 8:53 pm    Post subject: Reply with quote

23 ตุลาคมปี 2529 มีการนำหัวรถจักรไอน้ำ กลับมาเดินรถขบวนพิเศษ ไปยังจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ระยะทาง 71 กิโลเมตร ซึ่งเป็นทางรถไฟสายแรกของประเทศไทย หลังจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ก่อกำเนินกิจการรถไฟขึ้นเมื่อปี 2439

โดยขบวนรถไฟดังกล่าว มีด้วยกัน 10 โบกี้ นำนักท่องเที่ยวเดินทางไปเที่ยวชมโบราณสถาน และหาซื้อสินค้าพื้นเมือง โดยคิดค่าโดยสารท่านละ 30 บาทแต่เนื่องจากหัวรถจักรไอน้ำ ไม่ได้ใช้งานมานาน หัวรถจักรจึงเกิดขัดข้องเล็กน้อย ทำให้ถึงที่หมายช้าไปจากกำหนดเดิม เป็นเวลากว่า 1 ชั่วโมงครึ่ง


ที่มา: รายการภาพเก่าเล่าใหม่ ช่อง 7 สี ออกอากาศ 4 มิ.ย. 55
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
alderwood
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 10/04/2006
Posts: 6593
Location: กรุงเทพ-ราชสีมา

PostPosted: 04/06/2012 9:07 pm    Post subject: Reply with quote

ใช้รถ C56 แถมวิ่งถอยหลังด้วยครับ Shocked
_________________
รักรถไฟมั่นใจโคปเตอร์ || Railway Racing Team || Korat Spotter
Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website MSN Messenger
BanPong1
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 07/12/2006
Posts: 2733
Location: กม.37 สายเหนือ, กม.68 สายกาญจนบุรี

PostPosted: 10/06/2012 9:43 pm    Post subject: Reply with quote

ksomchai wrote:

ขบวน ๓๖๓ บ้านผมจากประจวบคีรีขันธ์ถึงสุราษฎร์ธานีก็เย็นแล้ว บางทีก็มืดค่ำ เพราะเสียเวลากับการเติมน้ำเติมฟืนและส่งตู้สินค้า
จำได้ว่ารถจักรไอน้ำรุ่นแรก ๆ ที่ใช้ฟืนเป็นเชื้อเพลิง จะหยุดที่บางสะพานใหญ่ ๓๐ นาที หลังจากเปลี่ยนน้ำมันเตาเป็นเชื้อเพลิง หยุดที่บางสะพานใหญ่เติมน้ำอย่างเดียว ๑๕ นาที
เคยเห็นตารางเวลารถวิ่งผ่านระหว่างสถานีนาผักขวง-บางสะพานใหญ่ ระยะทาง ๕ ก.ม.รถจักรไอน้ำ ใช้เวลาวิ่ง ๘ นาที รถจักรดีเซล ๕ นาที
จากนาผักขวง-บ้านกรูด ระยะทาง ๑๐ ก.ม.รถจักรไอน้ำใช้เวลา ๒๐ นาที รถจักรดีเซล ๑๑ นาที ^^



ช่วงเวลาประมาณปลายๆปี 251x ผมอยู่ที่ประจวบฯครับ

ได้เห็นทั้งขบวน 363/364 สุราษฏร์-ประจวบฯ และ 355/356 ธนบุรี-ประจวบฯ
363/364 จะใช้รถจักรไอน้ำ จำได้ว่าใช้รุ่นที่เป็นแปซิฟิค/มิกาโด ที่มีเลข 8xx หรือ 9xx 364 เข้าประจวบมักจะไม่ช้ามากน่าจะเพราะวิ่งมาในเวลาที่ไม่ต้องหลีกรถด่วน/รถเร็วใดๆในเวลากลางวัน ได้เห็นการสับเปลี่ยนรูปขบวน การจัดของรถเสบียง การเติมน้ำ/ฟืน แล้วก็รอนำรสินค้าจากรถ 355/356 มาเข้าขบวนเพื่อส่งต่อไปทางใต้ต่อไป รวมถึงพวกรถไม้ รถสินค้าเกษตรพวกมะพร้าวจากทางใต้ขึ้นไปทางเหนือ

ส่วนรถ 355 มักจะช้าบ่อยๆเพราะช่วงธนบุรี-เพชรบุรี มีรถหนาแน่นรอหลีกบ่อย บ่อยหรือเกือบทุกวันเข้าสองสามทุ่ม แต่ขบวนนี้ตอนนั้น 251x ปลายๆ จะใช้รถจักรดีเซล Hitachi 6xx แล้วครับ อาจจะเพราะปีนั้น รฟท.ได้รถจักร Alsthom มา 50 กว่าหัว เลยโละรถจักรดีเซลบางรุ่นมาใช้กับรถรวม/ชานเมืองได้ ก่อนหน้านั้นขบวนนี้ใช้รถจักรแมคอาเธอร์เป็นส่วนใหญ่ครับ ขบวนยาวเหยียดเต็มหน่วยเกือบทุกวัน ย่านประจวบฯรางเต็มเกือบทุกครั้งที่สองขบวนนี้มาเจอกันตอนเย็นๆ

ในช่งเวลานั้นมีรถรวมที่เป็นช่วงๆละ 200-300 กม.อีกชุดหนึ่งที่ผมจำได้คือ ธนบุรี-เพชรบุรี และเพชรบุรี-ชุมพร

เป็นภาพในความทรงจำที่ไม่ลืมครับ เสียดายที่ในเวลานั้นยังไม่มีกล้องถ่ายรูปส่วนตัว อยากให้มีการส่งต่อขบวนรถรวมเป็นช่วงๆอย่างนี้อีกครับ

Smile Smile Smile Smile Smile
_________________
Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message Send e-mail MSN Messenger
pak_nampho
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 25/06/2007
Posts: 2371
Location: คนสี่แควพลัดถิ่น ทำมาหากิน ที่เกาะภูเก็ต

PostPosted: 11/06/2012 8:11 am    Post subject: Reply with quote

BanPong1 wrote:
ป๊ 251x ปลายๆ จะใช้รถจักรดีเซล Hitachi 6xx แล้วครับ อาจจะเพราะปีนั้น รฟท.ได้รถจักร Alsthom มา 50 กว่าหัว เลยโละรถจักรดีเซลบางรุ่นมาใช้กับรถรวม/ชานเมืองได้ ก่อนหน้านั้นขบวนนี้ใช้รถจักรแมคอาเธอร์เป็นส่วนใหญ่ครับ ขบวนยาวเหยียดเต็มหน่วยเกือบทุกวัน ย่านประจวบฯรางเต็มเกือบทุกครั้งที่สองขบวนนี้มาเจอกันตอนเย็นๆ

ในช่งเวลานั้นมีรถรวมที่เป็นช่วงๆละ 200-300 กม.อีกชุดหนึ่งที่ผมจำได้คือ ธนบุรี-เพชรบุรี และเพชรบุรี-ชุมพร

เป็นภาพในความทรงจำที่ไม่ลืมครับ เสียดายที่ในเวลานั้นยังไม่มีกล้องถ่ายรูปส่วนตัว อยากให้มีการส่งต่อขบวนรถรวมเป็นช่วงๆอย่างนี้อีกครับ

Smile Smile Smile Smile Smile


อ.วิรัตน์ครับ...
เมื่อครั้งยังปี 2516 ก่อนที่ Alsthom จะเข้ามายังมีรถจักรไอน้ำอยู่ แม็คอาเธอร์ ถูกจัดทำขบวนรถสินค้าเป็นหลัก ส่วนแปซิฟิคกับมิกาโด
ใช้วิ่งรถโดยสารอย่างขบวน นครสวรค์-เด่นชัย เมื่อ Alsthom เข้ามา Krupp/GEK ถูกทำทำขบวนจากนครสวรรค์ - ลำปาง
ต่อมาเป็น เป็น THN/NKF จึงเป็น ข.407/408 นครสวรรค์-เชียงใหม่ ในทุกวันนี้ครับ... Razz
_________________
+++++++++++++++++ ๑๑๖ ปี รถไฟไทยก้าวไกล....จากรถจักรไอน้ำ +++++++++++++++++
Click on the image for full size
....................บุตร ครฟ. พขร.ตรี แขวงรถพ่วงปากน้ำโพ ...................
Back to top
View user's profile Send private message Send e-mail
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สาระความรู้วิชาการรถไฟและประวัติศาสตร์รถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 32, 33, 34 ... 73, 74, 75  Next
Page 33 of 75

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©