RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311313
ทั่วไป:13280887
ทั้งหมด:13592200
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - เรื่องหายาก .. ดูดมาจากเวบเก่า
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

เรื่องหายาก .. ดูดมาจากเวบเก่า
Goto page Previous  1, 2, 3, 4, 5, 6 ... 73, 74, 75  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สาระความรู้วิชาการรถไฟและประวัติศาสตร์รถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42783
Location: NECTEC

PostPosted: 30/12/2006 8:51 pm    Post subject: Reply with quote

ผู้เขียนบันทึกเรื่องไทยถีบ ได้เล่าต่ออีกว่า

สมัยก่อน เขาไปเรียนมัธยมที่ เมืองคอน จะกลับบ้านที่ทุ่งสง ก็โดยการเกาะรถไฟสาย นครศรีธรรมราช - เขาชุมทอง แล้วมาต่อรถจากหาดใหญ่ ไปทุ่งสง งานนี้ขึ้นบนหัวรถจักร ฟรี เพราะได้ทำงานช่วยเรียงฟืนให้ช่างไฟทั้ง 2 คน เพื่อเร่งทำสตีมให้เร็วขึ้น และบางครั้ง ก็ได้รับแบ่งไข่ต้มจากช่างไฟ เพราะทำงานช่วยเรียงฟืนจนอิดโรย

ทุ่งสง เป็นศูนย์รวมคนรถไฟจริงๆ มีทั้งช่างกล ช่างบำรุงทาง และ ฝ่ายการเดินรถ แต่ช่างกลมีมากกว่าเพื่อน เพราะต้องคออยซ่อมรถจักร ที่อายุมากกว่า 20 ปี ( รถจักรอี - คลาสแน่ๆ ) ที่โดนลูกปืนกลจากเครื่องบินสัมพันธมิตร ที่กราดยิง จน ไอน้ำรั่วจากรถจักร เป็นหมอกบังตาจนแทบมองไม่เห็น Shocked

ทุ่งสงเอง ก็สามารถสื่อสารกับกรุงเทพได้โดยตรงผ่านโทรเลขสายตรง ทำให้ข่าวงที่เกิดขึ้นเมืองกรุงนั้น รู้ไปถึงทุ่งสงในวันรุ่งขึ้น ... และ ครฟ. จะนั่งจับกลุ่มเล่าข่าวที่ได้ยินได้ฟัง ที่ร้านกาแฟ ( โกปี้ ) ใกล้ๆ สถานีทุ่งสง

สมัยนั้น ที่ทุงสงมีแค่หนังสือพิมพ์ ไทยราษฎร์ ( สยามราษฎร์ ) กะหนังสือพิมพ์อีกไม่กี่ฉบับ ยิ่งตอนสงครามต้องใช้กระดาษสาพิมพ์ หล่นน้ำทีหนึ่ง ก็หนังสือพิมพ์ละลายไปกะน้ำเลย Shocked
Back to top
View user's profile Send private message
pattharachai
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 6536
Location: ราชอาณาจักรไทย

PostPosted: 31/12/2006 11:14 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
เอาเป็นว่า ไว้ผมแยกส่วนที่เก็บจาก หจช. และ รายงานประจำปี ออกมาก่อน เพื่อเก็บอยู่ในหลุม นอกนั้นให้เผยแพร่ออกมาได้

ส่วนถนนสุขยางค์ อยู่ที่ตัวเทศบาลนครยะลาไม่ใช่หรือพี่ตึ๋ง Laughing



ถนนสุขยางค์ไม่รู้ใช่เส้นเดียวกับในเบตงหรือเปล่า

จากคำถามของพี่ตึ๋ง ถ้าให้เดา จากการเปิดหนังสือ ใช่ 410 หรือเปล่าครับ
Back to top
View user's profile Send private message Send e-mail Visit poster's website
black_express
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/03/2006
Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ

PostPosted: 03/01/2007 9:23 am    Post subject: Reply with quote

ถูกต้องแล้วครับ คุณบอย...
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42783
Location: NECTEC

PostPosted: 08/01/2007 6:02 pm    Post subject: Reply with quote

// --------------------------------------------------------------------------------------------
สมัยปี 2447 นั้นค่าโดยสารเป็นดังนี้ (จากหนังสือนำเที่ยวกรุงเทพและเมืองสยามโดย นาย เจ. อันโตนิโอ ตากล้องชาวอิตาเลียนประจำกรมรถไฟหลวงที่ตั้งรกรางในกรุงเทพ)

Click on the image for full size
จากหนังสิอ THE 1904 TRAVELLER’S GUIDE TO BANGKOK AND SIAM โดย J. Antonio

กรุงเทพ - สามเสน (แต่ก่อน สามเสนดังเพราะในหลวงให้ตั้งสถานีสำหรับในหลวงไว้ที่สามเสน เพิ่งมาแยกไปที่จิตลดาเมื่อปี 2464) ชั้น 1 คิด 1 สลึง 1 เฟื้อง ชั้น 2 คิด 1 สลึง ชั้น 3 คิด 1 เฟื้อง
และ ค่าสัมภาระ คิด 5 สตางค์/10 กิโล (เท่ากับ 3 อัฐ) ก็นับว่าเอาการอยู่เพราะ 1 อัฐทองแดง ซื้อข้าวแกงได้จานหนึ่งน่อ

กรุงเทพ - คลองรังสิต ชั้น 1 คิด 1 บาท 3 สลึง ชั้น 2 คิด 1 บาท ชั้น 3 คิด 2 สลึง
และ ค่าสัมภาระ คิด 15 สตางค์/10 กิโล (เท่ากับ 9 อัฐ) นี่ก็เอาการเพราะ 1 บาทซื้อ
ข้าวสารชั้นดีสุดได้ 1 ถังเทียวนา

กรุงเทพ - บางปะอิน ชั้น 1 คิด 2 บาท 3 สลึง ชั้น 2 คิด 1 บาท 3 สลึง ชั้น 3 คิด 1 บาท
และ ค่าสัมภาระ คิด 30 สตางค์/10 กิโล (เท่ากับ 1 สลึง 2 อัฐ) นี่ก็เอาการเพราะ 1 บาท หนะเงินค่าแรงเสมียน 1 วันเทียวนา

กรุงเทพ - กรุงเก่า ชั้น 1 คิด 3 บาท 1 สลึง ชั้น 2 คิด 2 บาท 1 สลึง ชั้น 3 คิด 1 บาท 1 สลึง
และ ค่าสัมภาระ คิด 36 สตางค์/10 กิโล (เท่ากับ 1 สลึง 1 เฟื้อง) นี่ก็เอาการเพราะ 2 สลึงก็ค่าแรงกุลีแบกข้าวสาร 1 วันหนะ เพราะราคาสูงแบบนี้ภายหลังต้องกำหนดราคาใหม่เพื่อแข่งกะเรือข้าวเรือโยงไปปากน้ำโพตามลำน้ำเจ้าพระยาได้

กรุงเทพ - บ้นภาชี ชั้น 1 คิด 4 บาท ชั้น 2 คิด 2 บาท 3 สลึง 1 เฟื้อง ชั้น 3 คิด 1 บาท 1 สลึง 1 เฟื้องและ ค่าสัมภาระ คิด 46 สตางค์/10 กิโล

กรุงเทพ - ปากเพรียว (สระบุรี) ชั้น 1 คิด 5 บาท 2 สลึง ชั้น 2 คิด 3 บาท 2 สลึง 1 เฟื้อง ชั้น 3 คิด 2 บาท และ ค่าสัมภาระ คิด 57 สตางค์/10 กิโล

กรุงเทพ - แก่งคอย ชั้น 1 คิด 6 บาท ชั้น 2 คิด 4 บาท ชั้น 3 คิด 2 บาท 1 สลึง และ ค่าสัมภาระ คิด 63 สตางค์/10 กิโล

กรุงเทพ - ปากช่อง ชั้น 1 คิด 10 บาท 1 สลึง ชั้น 2 คิด 6 บาท 1 สลึง 1 เฟื้อง ชั้น 3 คิด 4 บาท 1 เฟื้อง และ ค่าสัมภาระ คิด 118 สตางค์/10 กิโล เพราะต้องผ่านเส้นทางนรกดงพญาไฟมาหนะ


กรุงเทพ - สูงเนิน ชั้น 1 คิด 13 บาท 1 สลึง ชั้น 2 คิด 8 บาท 1 สลึง 1 เฟื้อง ชั้น 3 คิด 5 บาท 2 สลึง 1 เฟื้อง และ ค่าสัมภาระ คิด 150 สตางค์/10 กิโล เพราะต้องผ่านเส้นทางนรกดงพญาไฟมาหนะ

กรุงเทพ - โคราช ชั้น 1 คิด 14 บาท 2 สลึง ชั้น 2 คิด 9 บาท 1 สลึง ชั้น 3 คิด 6 บาท 1 สลึง และ ค่าสัมภาระ คิด 165 สตางค์/10 กิโล เพราะต้องผ่านเส้นทางนรกดงพญาไฟมาหนะ
รถไฟจากกรุงเทพ - โคราช ใช้เวลา 11 ชั่วโมงก็ถึงนะ

กรุงเทพ - ท่าเรือ ชั้น 1 คิด 3 บาท 1 สลึง ชั้น 2 คิด 1 บาท 2 สลึง 1 เฟื้อง ชั้น 3 คิด 1 บาท 2 สลึง และ ค่าสัมภาระ คิด 51 สตางค์/10 กิโล

กรุงเทพ - ลพบุรี ชั้น 1 คิด 6 บาท ชั้น 2 คิด 4 บาท 1 สลึง ชั้น 3 คิด 2 บาท 1 สลึง 1 เฟื้อง และ ค่าสัมภาระ คิด 67 สตางค์/10 กิโล

// ----------------------------------------------------
ไหนๆก็เล่นสายเหนือแล้ว ก็ต้องเล่นสายใต้ถึงจะมันส์

บางกอกน้อย ถึง พระปฐม ชั้น 1 คิด 2 บาท 2 สลึง 1 เฟื้อง ชั้น 2 คิด 1 บาท 3 สลึง
ชั้น 3 คิด 1 บาท 1 สลึง และ ค่าสัมภาระ 25 สตางค์/10 กิโล

บางกอกน้อย ถึง ราชบุรี ชั้น 1 คิด 5 บาท 1 สลึง 1 เฟื้อง ชั้น 2 คิด 3 บาท 2 สลึง 1 เฟื้อง
ชั้น 3 คิด 2 บาท 2 สลึง และ ค่าสัมภาระ 51 สตางค์/10 กิโล

บางกอกน้อย ถึง เพชรบุรี ชั้น 1 คิด 8 บาท 1 เฟื้อง ชั้น 2 คิด 5 บาท 1 สลึง 1 เฟื้อง
ชั้น 3 คิด 3 บาท 2 สลึง และ ค่าสัมภาระ 76 สตางค์/10 กิโล

ที่จริงขุดเจอตารางวิเศษ ปี 2463 น่อ แต่ไม่คัดมาเพราะยาวหน่อย ต้องหากระดาษคัด


Last edited by Wisarut on 02/04/2007 4:25 pm; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42783
Location: NECTEC

PostPosted: 12/01/2007 4:08 pm    Post subject: บันทึกจากหนังสืองานศพของหลวงเสรีเริงฤทธิ์ Reply with quote

19 มกราคม 2499 เปิดสถานีนครสวรรค์ ที่สถานีหนองปลิงเดิม

6 เมษายน 2500 เปิดพระอนุสาวรีย์กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน

1 พฤษภาคม 2500 เปิดโรงรถจักร และโรงงานใหม่ ที่ชุมทางทุ่งสง

24 มิถุนายน 2500 เปิดสถานีตะพานหิน ที่สร้างใหม่ พร้อมเปิดสถานีเด่นชัยที่สร้างใหม่พร้อมชานรับสินค้า ในวันเดียวกัน

13 กันยายน 2500 เปิดสถานีปาดังเบซาร์ที่สร้างใหม่ แทนของเดิมที่โทรมลงอย่างมาก

10 มกราคม 2501 เปิดที่หยุดรถหนองคาย ที่ กม. 624 พร้อมท่าแพขนานยนต์อย่างไม่เป็นทางการ ส่วนสถานีหนองคาย ให้แปรสภาพเป็น สถานีนาทา

30 กรกฎาคม 2501 เปิดโรงรถจักร และโรงงานใหม่ ที่สถานีนครราชสีมา

31 กรกฎาคม 2501 เปิดท่าแพขนานยนต์ข้ามฟาก พร้อมสถานีหนองคาย ที่ กม. 624 อย่างเป็นทางการ

6 กุมภาพันธ์ 2502 เปิดอาคารสถานีตำรวจรถไฟ ที่เชิงสะพานนพวงศ์จากนั้น จึงเกิดการใช้รถโบกี้โดยสาร สายแม่กลอง - บ้านแหลม ที่สถานีแม่กลอง

26 สิงหาคม 2502 เปิดโรงเชื่อมรางที่ได้รับความช่วยเหลือจาก USOM (สหรัฐ) ที่โรงงานมักกะสัน

11 กันยายน 2502 พ้นจากตำแหน่ง ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย

1 มกราคม 2503 เลิกรถไฟสายปากน้ำ แต่ เปิดที่ทำการรับส่งสินค้าย่านพหลโยธิน โดยย้ายที่รับส่งสินค้าออกจากหัวลำโพง
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42783
Location: NECTEC

PostPosted: 17/01/2007 10:32 pm    Post subject: Reply with quote

วันนี้ไปค้น ต่วยตูน เล่มเก่า ก็พบว่า พลโทโอภาส โพธิแพทย์ ( ผู้การ ปืนใหญ่ ยอดนักธุดงค์เรื่องกิน ) ท่านก็ขึ้นรถไฟพิเศษนี้เหมือนกัน ซึ่งจะย่อโดยสังเขปดังนี้

อ้างอิง - ต่วยตูน ฉบับ พฤศจิกายน 2531

5 กรกฎาคม 2531 ขึ้นรถไฟพิเศษที่สถานีสามเสน โดยขึ้นขบวนแขกผู้มีเกียรติ ที่เอารถจักรพ่วงพหุ ( ยีอี.คุณปู่ ) ซึ่งพ่วงรถพิเศษติดแอร์ 22 คัน

ที่สามเสน จอดนานเป็นพิเศษ เพราะ ท่านนายกชาติชาย และ คุณหญิงบุญเรื่อน พร้อมคณะรัฐมนตรี และภริยา เดินทางมาขึ้นรถไฟพิเศษนี้

รถไฟมาถึงสถานีตรงเวลาระดับวินาทีเลยทีเดียว และ ตุ้โบกี้รถไฟดูสะอาดที่สุดเท่าที่เห็นมา นับตั้งแต่ท่านเคยอาศัยรถไฟไปลำปาง และ ไปค่ายทหารทั่วแผ่นดินไทย

งานนี้มีติดสายสะพายผิดกันหลายท่าน เพราะปกติวันที่ 5 กรกฎาคม นี้ เขาให้แต่ชุดขาว กางเกงดำ ( ของท่านผู้การปืนใหญ่ แต่กางแกงดำแถบคู่สีบานเย็น ) และประดับสายสะพายระดับปฐมาภรณ์ช้างเผือก ( ของท่านเป็นสีแดง ) หรือ สายสะพายสูงสุด นอกเหนือจากตรา ภปร. และ สก. ที่ต้องประดับอกขวา

วันนั้น มีการจัดเลี้ยงอาหารว่าตอนเช้า ซึ่งทางโรงแรมดุสิตธานีได้จัดของเตรียมไว้ เป็นครัวซอง ขนมไส้ไก่ ปาท่องโก่ฝรั่งเศส ขนมปังหวาน ทำกล่องดูน่าเก็บมาก ขนมก็ดูน่ากินเสียจริงๆ แถมมีผลไม้แยกต่างหาก มีชา กาแฟ และนำอัดลม แต่ไม่ยักกะมีน้ำผลไม้ช่วยชาวไร่ ชาวสวน เลย

อย่างไรก็ตาม พวกเราที่เคยผ่านงานราชองครักษ์เวร ต้องทำตัวปิดทวาร โดยชิมแค่คำ หรือ 2 คำ เพราะต้องไปร่วมพิธีบวงสรวงบูรพมหากษัตริย์ ขืนตามใจปาก มีหวังเกิดเรื่องใหญ่แน่ๆ Embarassed Laughing

ตัวรถสะอาดอย่างวิเศษ ขนาดเอานิ้วถูตรวจว่ามีฝุ่นติดมือหรือเปล่า ก็ไม่ยักกะมีฝุ่น เหมือนกะห้องนอนนักเรียนนายร้อยปี 1 ยังไง ยังงั้นเลยเทียว Laughing Embarassed

ตามสถานี มีคนตั้งโต๊ะหมู่บูชา และมีคนมารับเสด็จตามรายทางกันล้นหลาม จนสมเด็จพระบรมราชินีนาถ ได้ตรัสชื่นชมการรับเสด็จให้ข้าพเจ้าฟังในภายหลัง

เมื่อถึงสถานีอยุธยา เราได้ขึ้นรถบัสตรงไปที่ ลานพิธีที่พลับพลาตรีมุข ใกล้อนุสาวรีย์พระเจ้าอู่ทองรถบัสที่ว่า ต้องขึ้นให้ตรงที่นั่ง และคันที่กำหนดด้วย เมื่อถึงพลับพลาตรีมุข พวกนายทหารอย่างเราเข้าเต๊นท์ ส่วน 5 เสือ ทบ. ผู้กินเงินเดือนอัตราจอมพล ได้ขึ้นพลับพลาร่วมกับคณะรัฐมนตรี

ในเต็นท์และบริเวณโดยรอบร้อนมาก จนเห็นฝ่ายในบ่นมาเหมือนกัน แต่บ่นแบบไม่ค่อยได้ยิน แม้ในเต็นท์มี ทีวี วงจรปิด แต่ชัดสู้พวกที่ดูอยู่ในบ้านไม่ได้หรอก

ในพิธีนั้น มีอ่านประกาศบวงสรวงดวงพระวิญญาณบูรพมหากษัตริย์ โดยรองราชเลขาธิการ เมื่อเสร็จพิธี พระเจ้าอยู่หัวฯ ประเคนภัตตาหาร และ ถวาย ย่าม พัด และ ผ้าไตร ก่อนจะเสด็จพระราชดำเนินยังเรือนรับรอง ( ตอนนี้เป็นศูนย์การท่องเที่ยวจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ) เพราะเสวยพระกระยาหารกลางวัน

จากนั้น พวกเราได้ขึ้นรถบัสไปพักโรงแรมอู่ทองอินน์ โรงแรมชั้น 1 ของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เพื่อรับประทานอาหารกลางวัน ซึ่งมีของอร่อยมากมาย แต่จัดเป็นบุฟเฟตื 2 โต๊ะยาวเท่านั้น เลยต้องรีบตักกันหน่อย ใคราจะไปเข้าห้องน้ำก็ทำกันซะตอนนี้

คนที่ลงทุนทำโรงแรมชั้น 1 ที่อยุธยาต้องใจกล้าจริงๆ เพราะอยุธยา ห่างจากกรุงเทพ แค่คืบ ขนาดที่ลพบุรี ยังไม่มีโรงแรมดีๆ อย่างอยุธยาเลย

เวลา 1500 ในหลวง และพระราชวงศ์เสด็จกลับ ถึงจิตรลดา เวลา 1630 จากนั้น จึงประทับรถยนต์พระที่นั่งเสด็จกลับพระตำหนักสวนจิตรลดา พระราชวังดุสิต

เวลา 1540 พวกเราขึ้นรถไฟกลับตามพระองค์ไป ระหว่างโดยสาร มีบริการขนมข้องว่างจากโรงแรมดุสิตธานีเหมือนเมื่อเข้า แต่ห่อเล็กกว่าเดิม แม้จะอร่อยไม่แพ้กันก็ตาม มีผลไม้ ชา กาแฟและน้ำอัดลม... เที่ยวนี้กินกันไม่ต้องเกรงใจกันแล้ว ตามสบายปากกันก็คราวนี้ icecream gathering group clap2 beer2

รถไฟจอดที่ดอนเมือง เพื่อให้พวกทหารอากาศ และพวกที่บ้านอยู่ย่านดอนเมืองลง จากนั้น รถไฟแล่นผ่านไป จนถึงสามเสน เราถึงได้ลงจากขบวนรถ สถานีนี้คนลงกันเกือบหมดขบวนเลยทีเดียว
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42783
Location: NECTEC

PostPosted: 24/01/2007 11:45 am    Post subject: Reply with quote

วันนี้เจอเรื่องราวเกี่ยวกะรถไฟและการพัฒนาหาดใหญ่เพื่อเสริมกะเรื่อง ประวัติของ ขุนนิพัทธ์จีนนคร ต้นสกุล จิระนคร ดูได้ที่ มอ. ปัตตานี (รูสมีแล) ครับ
http://mis-pattani.pn.psu.ac.th/registra/grade/temp/speech/maliwan_rakwong/Hatyai.html

ส่วน เรื่อง ประวัติของ ขุนนิพัทธ์จีนนคร ต้นสกุล จิระนคร ดูได้ที่นี่ครับ โดยเลือก
ชีวประวัติขุนนิพัทธ์จีนนคร และ เรื่องเล่าตระกูลดัง : "จิระนคร" ผู้สร้างเมืองหาดใหญ่
http://www.khlong-u-taphao.com/index.php?file=hadyaistory&cat_id=hy2
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42783
Location: NECTEC

PostPosted: 15/02/2007 2:02 pm    Post subject: โผบัญชียุค ปี 2511 ชุด 1 Reply with quote

โผบัญชีสถานี ช่วงอู่ตะเภา - ปาดังเบซาร์
ที่หยุดรถอู่ตะเภา กม. 925.80
ชุมทางหาดใหญ่ กม. 928.54
ที่หยุดรถบ้านพรุ กม. 934.68
สถานีศาลาทุ่งลุ่ง กม. 945.15
สถานีคลองแงะ กม. 952.49
สถานีคลองรำ กม. 961.14
สถานีบ้านท่าข่อย กม. 967.79
ปาดังเบซาร์ฝั่งไทย กม. 973.316
สุดเขตประเทศไทย กม. 973.541
สถานีปาดังเบซาร์ กม. 973.84

แต่ก่อนมีรถดีเซลราง KTM ข้ามแดนจาก ไปร (บัตเตอร์เวิรธ์) ไป หาดใหญ่ และ มีรถรวม สุไหงโกลก - ปาดังเบซาร์ ที่หวานคอกองทัพมดยิ่งนัก Laughing Embarassed

หาดใหญ่ - สงขลา
ชุมทางหาดใหญ่ กม. 928.54
ป้ายหยุดรถตลาดหาดใหญ่ กม. 929.13
ป้ายหยุดรถคลองแห กม. 932.05
ป้ายหยุดรถคลองเปล กม. 934.61
ป้ายหยุดรถบ้านเกาะหมี กม. 936.15
ที่หยุดรถเขาบรรไดนาง กม. 936.92
ป้ายหยุดรถตลาดน้ำน้อย กม. 939.02
สถานีน้ำน้อย กม. 939.83
ที่หยุดรถควนหิน กม. 944.45
ป้ายหยุดรถตลาดพะวง กม. 945.19
ที่หยุดรถน้ำกระจาย กม. 948.53
ป้ายหยุดรถบ้านบางดาน กม. 950.81
ป้ายหยุดรถวัดอุทัย กม. 956.68
สถานีสงขลา กม. 958.04

แต่ก่อนมีรถดีเซลราง ท้องถิ่น หาดใหญ่ - สงขลา 237/238, 239/240, 241/242,243/244,245/246,247/248, และ รถรวม ข. (มีแต่ชั้น 3)479/480
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42783
Location: NECTEC

PostPosted: 15/02/2007 3:38 pm    Post subject: โผบัญชียุค ปี 2511 ชุด 2 Reply with quote

ทุ่งสง - กันตัง

ชุมทางทุ่งสง กม. 757.11
ที่วัง กม. 765.75 - โรงปูนทุ่งสง
กะปาง กม. 776.32 - อ. รัษฎา
ที่หยุดรถควนเมา กม. 780.92
คลองมวน กม. 789.52
ยางยวน กม. 796.07
ห้วยยอด กม. 800.82 - ที่เติมน้ำเติมฟืน
ลำภูรา กม. 814.52
ที่หยุดรถคลองเต็ง กม. 819.87
ที่หยุดรถสวนมัน กม. 823.00 -> ทับเที่ยง?
ตรัง กม. 829.28
ที่หยุดรถนาป้อ กม. 832.68
พรุใหญ่ กม. 837.77
ที่หยุดรถบ้านป่ากอ กม. 843.25
กันตัง กม. 850.09

แต่ก่อนมีรถรวม ก. (มีชั้น 1-2-3) 403 /404 (ทุ่งสง - กันตัง), รถรวม ข. (มีชั้น 3) 477/478 (ทุ่งสง - กันตัง), และ รถธรรมดา กันตัง 121/122
ทุ่งสง - นครศรีธรรมราช
ชุมทางทุ่งสง กม. 757.11
ใสใหญ่ กม. 762.00
ช่องเขา กม. 767.72
ร่อนพิบูลย์ กม. 776.33
ชุมทางเขาชุมทอง กม. 781.01
ที่หยุดรถบ้านเกยเชน กม. 786.15
บ้านทุ่งหล่อ กม. 790.07
โคกคราม กม. 794.67
บ้านท่าช้าง กม. 803.93
วังวัว กม. 806.35
มะม่วงสองต้น กม. 810.88
นครศรีธรรมราช กม. 815.95

แต่ก่อนมีรถ เร็ว 41/42 ธรรมดา 119/120
รถรวม ก. (มีชั้น 1-2-3) 405 /406 (ชุมทางเขาชุมทอง - นครศรีธรรมราช)
รถรวม ก. (มีชั้น 1-2-3) 407 /408 (ชุมทางเขาชุมทอง - นครศรีธรรมราช)
รถรวม ก. (มีชั้น 1-2-3) 409 /410 (ชุมทางเขาชุมทอง - นครศรีธรรมราช)
รถรวม ก. (มีชั้น 1-2-3) 411 /412 (ชุมทางเขาชุมทอง - นครศรีธรรมราช)
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42783
Location: NECTEC

PostPosted: 02/04/2007 3:48 pm    Post subject: Reply with quote

จากหนังสือเรื่อง SIAM IN 1930: General and Medical Features Executive Committee of the Eight Congress of the Far Eastern Association of Tropical Medicine

Click on the image for full size


กรมรถไฟหลวงได้ตั้งโรงแรมที่พักแก่คนเดินทางที่หาดใหญ่, สงขลา (บริเวณเขาน้อย), ทุ่งสง ชุมพร, หัวหิน (โรงแรมหัวหิน), กรุงเทพ (โรงแรมวังพญาไท, โรงแรมราชธานี) เชียงใหม่, และโรงแรมอรัญประเทศ ซึ่งบริการดีมาก ...

รถด่วนสายใต้ใช้เวลา 31 ชั่วโมงในการ วิ่งจาก ไปร (ปีนัง) ไป กรุงเทพ ต้องเติมน้ำเติมฟืนที่หาดใหญ่ ทุ่งสง ชุมพร รถเสบียงก็ทำได้ยอดมาก รถนอนในรถด่วนสายใต้ นั้นติดพัดลมไฟฟ้าและมุ้งกันยุง ด้วย

รถด่วนสายเหนือ ที่ไปเชียงใหม่ นั้นต้องเติมน้ำเติมฟืนที่ พิษณุโลก และ ที่ เด่นไชย

ถ้าจะไปนครวัต ก็ให้นั่งรถสายอรัญประเทศ แล้วพักโรงแรมรถไฟที่อรัญประเทศก่อนนั่งรถเมล์ข้ามแดนไปฝั่งอินโดจีนฝรั่งเศส
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สาระความรู้วิชาการรถไฟและประวัติศาสตร์รถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3, 4, 5, 6 ... 73, 74, 75  Next
Page 5 of 75

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©