Rotfaithai.Com :: View topic - เรื่องหายาก .. ดูดมาจากเวบเก่า
View previous topic :: View next topic
Author
Message
Wisarut
1st Class Pass (Air) Joined: 27/03/2006 Posts: 45053
Location: NECTEC
Posted: 25/04/2025 10:10 am Post subject:
งานช้างจังหวัดสุรินทร์ รวม 3 ปี พ.ศ. จากฟิล์มหนัง 16 ม.ม. 3 ชุดครับ.. ในฐานะที่ ผมเป็นคนสุรินทร์คนหนึ่ง เวลาที่ผมไปตามหาฟิล์มหนังไทยเก่าๆ ในต่างจังหวัด แล้วเผอิญได้พบฟิล์มหนังที่ถ่ายทำเกี่ยวกับงานช้างสุรินทร์ ผมจะรู้สึกดีใจมากๆ เพราะสมัยนั้น ผมเห็นคนที่เขาไปเที่ยวงานช้างในจังหวัดสุรินทร์ เขาจะมีกล้องถ่ายหนังบ้าง กล้องถ่ายรูปบ้าง แล้วเขาก็ถ่ายงานแสดงช้างเอาไว้ ผมก็คิดว่า ทำอย่างไร เราจะได้เห็นภาพจากฟิล์มหนังที่เขาถ่ายทำไว้บ้าง แต่ก็ไม่เคยพบฟิล์มเลยเพราะส่วนใหญ่จะเป็นถ่ายทำและเก็บไว้ฉายดูในครอบครัวตัวเอง หนังแบบนี้เขาเรียกว่า หนังบ้าน..
ผมหาฟิล์มหนังมา ก็หลายสิบปีแล้ว เพิ่งจะมีโอกาสพบฟิล์มหนังบ้านที่ถ่ายทำงานช้างสุรินทร์อยู่ 3 ชุดเองครับ.. แต่ละชุดนั้น ผมเคยโพสต์ไว้ในยูทูปบ้างแล้ว แต่วันนี้ จะรวมๆ มาโพสต์ไว้ในเฟซบุ๊กใหม่นี้ รวมความยาวประมาณ 25 นาที ฟิล์มหนังจะไม่มีเสียงพูด ผมก็เลยบรรยายประกอบไปเท่าๆ ที่รู้นะครับ..
https://www.facebook.com/watch?v=1710318579920736
Back to top
Wisarut
1st Class Pass (Air) Joined: 27/03/2006 Posts: 45053
Location: NECTEC
Posted: 29/04/2025 2:17 pm Post subject:
ประกาศสร้างมัสยิดหลวงอันซอริซซุนนะห์ บางกอกน้อย
ราชกิจจานุเบกษา 28 สิงหาคม 2444 สมัยรัชกาลที่ 5 ทรงพระราชทานทรัพย์ให้สร้างมัสยิดใหม่เพื่อกระทำพิธีกรรม อัญชลีกรรมสำหรับชาวมุสลิมนิกายสุหนี่
เนื่องจากที่ดินมัสยิดเดิมนั้นตั้งอยู่ริมคลองบางกอกน้อยฝั่งใต้และเมื่อมีการสร้างทางรถไฟสายบางกอกน้อยในปี 2443 ทางรถไฟถูกที่มัสยิดจึงทำให้ต้องรื้อและพระราชที่ดินให้ใหม่ มีพื้นที่ยาว 33 วา กว้าง 14 วา 2 ศอก
https://www.facebook.com/noomrattana/posts/3355280014613888
Back to top
Mongwin
1st Class Pass (Air) Joined: 24/09/2007 Posts: 48728
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
Back to top
Mongwin
1st Class Pass (Air) Joined: 24/09/2007 Posts: 48728
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
Posted: 31/05/2025 11:30 pm Post subject:
เปิดคลังฟิล์มกระจกที่ปกติไม่เปิดให้เข้าชม และเบื้องหลังนิทรรศการล่าสุดโดยคุณใหม่ | Cloud Documentary
The Cloud
May 28, 2025
https://www.youtube.com/watch?v=sMBg7f9eb5Q
มองภาพฟิล์มกระจก 1 ใบ
เราไม่ได้เห็นแค่ประวัติศาสตร์
แต่ได้จ้องมองหน้าต่างกาลเวลาที่บันทึก ความจริง ของวันวานเอาไว้
ภาพถ่ายฟิล์มกระจกเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ นั่นคือที่มาที่ทำให้เกิด Glass Plate Negatives: Circles of Centres นิทรรศการที่เล่าความจริงสำคัญในสมัยรัชกาลที่ 5 คัดเลือกภาพถ่ายจากฟิล์มกระจกชุดหอพระสมุดวชิรญาณ ในกล่องที่ 53 - 78 โดยมี ท่านผู้หญิงสิริกิติยา เจนเซน รับหน้าที่เป็นภัณฑารักษ์ของนิทรรศการ คัดเลือกภาพถ่ายจำนวน 84 ภาพ จาก 1,000 กว่าภาพ มาจัดแสดงในนิทรรศการ
Cloud Documentary ตอนนี้ นอกจากจะเล่าเบื้องหลังการจัดนิทรรศการ การอนุรักษ์ฟิล์มกระจกในห้องควบคุมอุณหภูมิและความชื้น ซึ่งไม่เคยเปิดให้ใครเข้าชม เราจะได้เห็นว่าทำไมฟิล์มกระจกจึงเป็นวัตถุพิเศษที่สำคัญกับประวัติศาสตร์อย่างยิ่ง
รายการตอนนี้สร้างโดย The Cloud ร่วมกับกระทรวงวัฒนธรรม, กรมศิลปากร, สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ, มูลนิธิสิริวัฒนภักดี, บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน), สมาคมถ่ายภาพแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์, มูลนิธิส่งเสริมการถ่ายภาพ, หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร และกรุงเทพมหานคร
นิทรรศการนี้จะเปิดให้ประชาชนทั่วไปเข้าชมระหว่างวันที่ 22 พฤษภาคม - 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2568 ณ ห้องนิทรรศการหลัก ชั้น 9 หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร
กำกับ : ศวิตา ศีลตระกูล
ที่ปรึกษา : วินัย สัตตะรุจาวงษ์, ทรงกลด บางยี่ขัน
ช่างภาพ : ศวิตา ศีลตระกูล, ทรัพย์ทวี สมีแจ้ง, เมธี สมานทอง
ลำดับภาพ : วสกร ฟักน่วม
ควบคุมการผลิต : วรัมพร ศิริสวัสดิ์
นักศึกษาฝึกงาน : กานต์ ปิยารักษ์, ลินดา คงบัน
Back to top
Wisarut
1st Class Pass (Air) Joined: 27/03/2006 Posts: 45053
Location: NECTEC
Back to top
Wisarut
1st Class Pass (Air) Joined: 27/03/2006 Posts: 45053
Location: NECTEC
Posted: 13/06/2025 1:15 am Post subject:
แผนที่คมนาคมสยามปี 1932 (พ.ศ. 2475) นับว่ามีความถูกต้องทันสมัยมากกว่าแผนที่กรมรถไฟเสียอีก เพราะแสดงทางไปบัวใหญ่ที่เปิดแล้วแต่ปี พ.ศ. 2474 และทางที่กำลังก่อสร้างไปแหนองคายและนครพนม ก่อนที่คณะราษฎร์จะเปลี่ยนแปลงนโยบายจากการสร้างทางรถไฟจาก บ้านลิงส่องที่อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี ไปนครพนม เป็นการสร้างทางหลวงดินลูกรังจากอุดรธานีผ่านสกลนครไปนครพนมเพื่อลดต้นทุน โดยตัดสินใจแต่ปี พ.ศ. 2479 เพราะค่าก่อสร้างทางหลวงดินลูกรังมีราคาต่อกิโลเมตรแค่ 1 ใน 4 ของการสร้างทางรถไฟบนทางราบ แถมตัดรอนให้ทางรถไฟหมดระยะที่อุดรธานี ด้วยมติคณะรัฐมนตรีปี พ.ศ. 2482 เพราะ ไม่คุ้ม กับการทำทางรถไฟต่ออีก 55 กิโลเมตร เนื่องจากเวลานั้นเมืองลาวที่ฝรั่งเศสปกครองขุดได้แต่แร่ตะกั่ว ยังไม่สามารถขุดแร่อื่นๆให้คุ้มทุนได้ แถมข้าวเปลือกนาปีนาปรังที่ผลิตได้ยังมีไม่พอป้อนรถไฟที่เดินเป็นรถรวมรายวัน แค่ทางรถไฟจากขอนแก่นไปอุดรธานีระยะทาง 119 กิโลเมตรก็หมดงบไป 8 ล้าน 2 แสน บาทแล้ว
ตอนนั้นมีทางเกวียนจากจักราชไปพิมาย และ ทางเกวียนจากอุบลไปหัวเมืองภาคอีสาน ซึ่งกำลัง ปรับปรุงเป้นทางหลวงดินลูกรังเดินได้ทุกฤดูกาล และ ทา่งกำลังก่อสร้างจากตะพานหินไปเพชรบูรณ์ และทางจากแม่สอดไปสววรคโลกอีกด้วย ส่วนเชียงใหม่มีทางหลวงไปรอบทิศแม้บางส่วนยังเป็นทางเกวียนพอเดนได้บางฤดูกาล แต่ทางหลวงจากลำปางไปเชียงแสนและแม่สายมีมาแต่ปี 2459 แล้ว ส่วนทางหลวงจากพนัศนิคมไประยองกำลังก่อสร้างอยู่กว่าจะถึงสัตหีบก็ปี 2482 และถึงระยองปี 2484-5 หัวหิน - ชะอำก็มีทางหลวงแล้วแต่ปี 2470 แม้แต่ทางจากบ้านโป่งไปกาญจนบุรี และถนนทรงพลจากนครปฐมไปบ้านโป่ง นั้นมีแค่ปี 2467 แล้ว
มีทางหลวงจากปากน้ำชุมพรไปทับหลีแล้วแต่กว่าจะถึงระนองก็นานหน่อย ส่วนทางหลวงจาก ตรังไปกันตังนั้น ตรังไปพัทลุง และตรังไปทุ่งสง นั้นมีแล้วแต่ปี 2458 แต่ทางหลวงจากกันตังผ่านกระบี่ไปพังงากำลังก่อสร้าง และ ทางหลวงจากพังงาไปทุ่งมะพร้าวทำให้สามารถยุบจังหวัดตะกั่วป่าได้ ยังมีทางหลวงจากร่อนพิบูลย์ไปนครศรีธรรมราช ด้วยนอกเหนือจากทางหลวง จากปัตตานี ยะลา นราธิวาส ที่เชื่อมสถานีโคกโพธิ์ สถานียะลา สถานีตันหยงมัส แต่ทางไปเบตงยังไม่เสร็จสมบูรณ์ทำให้เวลาเกิดกองโจรยกพวกปล้นเมืองเบตงทำให้ตำรวจต้องข้ามแดนไปมลายูเพื่อเข้าเบตงเพื่อตามจับโจรได้
https://gallica.bnf.fr/ark:/12148/btv1b53066766z/f1.item.r=siam.zoom
แผนที่การก่อสร้างทางรถไฟจากพนมเปญไปปอยเปต ปี 1932 เพื่อตอบสนองการก่อสร้างทางรถไฟถึงอรัญประเทศที่เปิดเมือ่พฤศจิกายน 1926
https://gallica.bnf.fr/ark:/12148/btv1b531956099/f1.item.r=siam.zoom
ดูให้ชัดๆ เลยว่าแผนที่ประเทศไทยก่อนการส่งมอบดินแดนคืนเมื่อกลางธันวาคม 2489 นั้นมีหน้าตาเช่นไรแถมทางหลวงทางรถไฟให้ด้วย
https://collections.lib.uwm.edu/digital/collection/agdm/id/6807/rec/38?
เครือข่ายทางหลวงสยามเมื่อเทียบกะอินโดจีน
https://collections.lib.uwm.edu/digital/collection/agdm/id/1514/rec/52?
แผนที่กรุงเทพปี 1917 มีร่องรอยทางรถรางด้วย
https://collections.lib.uwm.edu/digital/collection/agdm/id/3516/rec/4
https://collections.lib.uwm.edu/digital/collection/agdm/id/3515/rec/4
แผนที่กรุงเทพปี 1928 โดยกรมรถไฟ เสียดายมากที่ไม่มีทางรถรางให้เห็น
https://collections.lib.uwm.edu/digital/collection/agdm/id/5614/rec/8
แผนที่เทศบาลนครเชียงใหม่ปี 1945
https://collections.lib.uwm.edu/digital/collection/agdm/id/6966/rec/23
Back to top
Wisarut
1st Class Pass (Air) Joined: 27/03/2006 Posts: 45053
Location: NECTEC
Posted: 16/06/2025 10:44 pm Post subject:
2469 รถไฟมาถึงจังหวัดสุรินทร์ ความเจริญ-ของอร่อย ของแปลกที่มาพร้อมกัน
ประวัติศาสตร์
ผู้เขียน กองบรรณาธิการศิลปวัฒนธรรม
เผยแพร่ วันพฤหัสที่ 12 มิถุนายน พ.ศ.2568
เรื่องการเดินรถไฟ ถึง จ. สุรินทร์ เป็นครั้งแรกนั้นเป็นอย่างไร ไพบูลย์ สุนทรารักษ์ เขียนไว้ในบทความชื่อ ข่าวรถไฟ เมื่อปี 2469 ว่าเมื่อ 90 กว่าปีก่อน ความเจริญก็ดี, ของใหม่แปลกก็ดี ที่มาพร้อมกับ รถไฟ จากกรุงเทพมหานครมีอะไรบ้าง
ไพบูลย์ สุนทรารักษ์ นั้นเป็นชาวสุรินทร์ เกิดในช่วงปลายรัชกาลที่ 6 (พ.ศ. 2454-2467) เริ่มเรียนหนังสือในปี 2469 ซึ่งในปีนั้น รถไฟ มาถึงจังหวัดสุรินทร์ บันทึกเหตุการณ์เกี่ยวกับรถไฟนี้จึงเป็นประสบการณ์ตรงของเขา ซึ่งในที่นี้ขอสรุปบางส่วนมานำเสนอ
ไพบูลย์เล่าว่า เมื่อรถไฟมาถึงจังหวัดบุรีรัมย์ ผู้คนในเมือง (สุรินทร์) ต่างก็พูดคุยกันว่า อีกไม่นานรถไฟจะมาถึง จ. สุรินทร์ ประเด็นสนทนาในเวลาจึงเป็นเรื่องเกี่ยวกับรถไฟ และสิ่งที่จะมากับรถไฟ เป็นสำคัญ
วันที่ 1 พฤษภาคม 2469 รถไฟแล่นมาถึงจังหวัดสุรินทร์ ผู้คนแตกตื่นไปดูกันแน่นขนัด พร้อมกับเสียงเล่าลือว่า รถไฟหลวงมีผีสิง เพราะทับคนตายบ่อย ไหนจะคนขับที่เป็นคนแขก หน้าตาน่ากลัว ในระยะแรกรถไฟจึงเป็นของน่ากลัวที่ใครๆ ก็ไม่กล้าเข้าใกล้
รถไฟหัวรถจักรไอน้ำในยุคแรกๆ ที่ลือกันว่ามีผีสิง เพราะทับคนตายบ่อย (ภาพจาก หนังสือ100 เรื่องเมืองสุรินทร์)
ก่อนรถไฟจะมาถึง ผู้ใหญ่บอกว่า รถไฟจะมาพร้อมกับของกินจากกรุงเทพฯ เช่น ปลาทูเค็ม ปลาทูนึ่ง ส้มโอหวาน ทุเรียนกวน ฯลฯ และเมื่อรถไฟมาถึงจริง ก็เป็นเช่นนั้น ทั้งที่จังหวัดสุรินทร์ก็มีส้มโอกิน แต่ก็ไม่หวานอร่อยสู้ส้มโอบางกอก ราคาลูกละ 10 สตางค์ ที่มาพร้อมกับรถไฟไม่ได้ หรืออาหารทะเลอย่าง ปลาทูนึ่ง เข่งละ 5 สตางค์ ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันว่าอร่อยก็เริ่มให้กิน ฯลฯ
ของประหลาด หรือจริงๆ คือสัตว์หน้าตาประหลาดอีกอย่างที่ไม่เคยเห็นมาก่อน ได้รู้จักกันเมื่อรถไฟถึงสุรินทร์ก็คือ ปูทะเล ที่ชาวจีนนำมาขาย คนพากันมุงดูปูทะเลด้วยความแปลกใจ ว่ามันคืออะไรหน้าตาดูประหลาด ยิ่งเห็นเชือกที่มัดทั้งขาและตัว ทำให้ยิ่งดูน่ากลัวมากกว่าน่ากิน ถึงกลับมีบางคนบอกว่าถ้าเชือกที่มัดขาปูขาด ต้องรีบวิ่ง ช้าไม่ได้ เพราะมันจะกินคน [สันนิษฐานว่าคงเป็นการพูดหยอกเด็กๆ]
รถไฟยังนำพาความเจริญอื่นๆ มาด้วย เช่น คนจีนเดินทางมายังจังหวัดสุรินทร์มากขึ้น, พื้นที่หลังสถานีรถไฟเดิมเป็นท้องนา ก็กลายเป็นตลาด มีห้องแถวไม้ปลูกสร้างขึ้นจำนวนมาก นอกจากนี้ ยังมีสิ่งอื่นๆ ที่ตามมากับรถไฟ เช่น โสเภณี, ร้านกาแฟ, ร้านขายสินค้าต่างๆ, โรงแรม มีการขุดดินตัดถนน (เป็นถนนดินไม่ลงหิน) จากสถานีรถไฟเข้าไปในเมือง ถนนสายนี้ปัจจุบันคือ ถนนธนสาร
จ. สุรินทร์ กลายเป็นเมืองคึกคักอยู่นาน เพราะเป็นชุมทางรถไฟชั่วคราว หลายจังหวัดในภาคอีสานต้องเดินทางมาขึ้นรถไฟที่ จ. สุรินทร์เพื่อเดินทางไปโคราชหรือกรุงเทพฯ
รถไฟเป็นเรื่องใหญ่ของคนยุคนั้นอยู่นาน มีเรื่องเล่าเกี่ยวกับรถไฟมากมาย จนเมื่อทางรถไฟผ่านเมืองสุรินทร์ไปแล้ว ความสนุกสนาน ความตื่นเต้นต่างๆ ก็ลดลง เพราะปลายทางรถไฟไปอยู่ที่เมืองศรีสะเกษและอุบลราชธานี...
https://www.silpa-mag.com/history/article_53930
Back to top
Wisarut
1st Class Pass (Air) Joined: 27/03/2006 Posts: 45053
Location: NECTEC
Posted: 24/06/2025 9:39 am Post subject:
ไกด์บุ๊กบางกอก คู่มือท่องเที่ยว สมัย ร.5 เนื้อหามีอะไรบ้าง ใครเป็นคนเขียน
ผู้เขียน วิภา จิรภาไพศาล
เผยแพร่ วันจันทร์ที่ 23 มิถุนายน พ.ศ.2568
เมื่อ พ.ศ. 2447 ในสมัยรัชกาลที่ 5 นายโจคิม อันโตนิโอ ช่างภาพฝีมือดี ได้เขียนหนังสือ ไกด์บุ๊กบางกอก และตีพิมพ์วางจำหน่าย หนังสือฉบับดังกล่าวน่าจะเป็น หนังสือคู่มือท่องเที่ยวกรุงเทพฯ เล่มแรกๆ ในยุคบุกเบิก
โจคิม อันโตนิโอ เป็นใคร
โจคิม อันโตนิโอ (J. Antonio) เป็นชาวเมืองมาเก๊า เชื้อสายโปรตุเกส เดินทางมาสยามในสมัยรัชกาลที่ 5 เมื่อ พ.ศ. 2436 ทำงานหลายอย่าง เช่น พนักงานร่างแบบในบริษัทสถาปนิกของชาวอิตาลี, เป็นเจ้าหน้าที่ร่างภาพกรมรถไฟหลวง พร้อมๆ กับการเปิดสตูดิโอถ่ายภาพของตนเองบนถนนเจริญกรุง ใช้ชื่อว่า สตูดิโอถ่ายภาพเจริญกรุง
การทำงานที่กรมรถไฟหลวงสร้างโอกาสให้เขาเดินทางไปสถานที่ต่างๆ ของสยาม ได้เก็บบันทึกภาพบ้านเมือง, ผู้คน ฯลฯ ไว้เป็นจำนวนมาก ด้วยการถ่ายภาพบ้าง การวาดภาพบ้าง ซึ่งเป็นวัตถุดิบสำคัญของเขาในเวลาต่อมา
ผลงานภาพถ่ายของอันโตนิโอ เคยจัดแสดงงานนิทรรศการภาพถ่ายที่เมืองฮานอย เวียดนาม (พ.ศ. 2445), นิทรรศการภาพถ่ายที่เมืองเซนต์หลุยส์ สหรัฐอเมริกา (พ.ศ. 2447) ซึ่งทั้งสองงานนี้ผลงานของเขาได้รางวัลเหรียญเงิน
ที่สำคัญ โปสการ์ด ที่เป็นการเสด็จพระราชดำเนินของรัชกาลที่ 5 รวมทั้งสถานที่ต่างๆ ในสยามที่เห็นกันบ่อยครั้งก็เป็นผลงานของอันโตนิโอ จนได้รับการขนานนามว่าเป็นช่างภาพอย่างเป็นทางการในราชสำนักสยาม
โปสการ์ดรัชกาลที่ 5 เสด็จฯ ไปทรงเปิดสะพาน ถ่ายโดยอันโตนิโอ (ภาพจากของสะสม ไกรฤกษ์ นานา)
ไกด์บุ๊กบางกอก
พ.ศ. 2447 อันโตนิโอตีพิมพ์หนังสือนำเที่ยวชื่อ Guide to Bangkok and Siam เล่มแรกๆ ในยุคที่เทคโนโลยีการพิมพ์ยังไม่ก้าวหน้า และเมืองไทยก็ยังไม่ค่อยมีหนังสือในลักษณะนี้มาก่อน
ภายในหนังสือแบ่งเนื้อหาเป็น 15 บท ดังนี้
บทที่ 1 ราชอาณาจักรสยาม (ปัจจุบัน), บทที่ 2 ประวัติศาสตร์ไทยฉบับย่อ (อดีต), บทที่ 3 การเดินทางมาสู่บางกอก, บทที่ 4 บนฝั่งแม่น้ำ, บทที่ 5 เมืองบางกอก
บทที่ 6 โรงแรมที่พัก/อาหารการกิน, บทที่ 7 การรถไฟในสยาม, บทที่ 8 การพณิชยกรรม, บทที่ 9 วัฒนธรรมและงานรื่นเริง, บทที่ 10 ประเพณีและธรรมเนียม
บทที่ 11 วัดวาอาราม, บทที่ 12 ทัศนาจรออกนอกเมืองหลวง, บทที่ 13 การท่องเที่ยวในชนบท, บทที่ 14 มาตราเงินและค่าใช้จ่าย และบทที่ 15 สัพเพเหระและสรุป
เรือพระที่นั่งมหาจักรี ใช้เสด็จประพาสยุโรปครั้งแรก ถ่ายโดยอันโตนิโอ (ภาพจากของสะสม ไกรฤกษ์ นานา)
แน่นอนว่าในฐานะช่างภาพฝีมือดี ภาพประกอบในเล่มย่อมได้รับความสำคัญ ดังนั้นภาพส่วนใหญ่ในหนังสือคู่มือการท่องเที่ยวเล่มนี้จึงเป็นผลงานของเขา นอกจากนี้ยังมี แผนที่กรุงเทพฯ ซึ่งวาดแบบร่างโดยอันโตนิโอเองด้วย
ส่วนกลุ่มเป้าหมายและความตั้งใจในการทำหนังสือเล่มนี้ อันโตนิโอเขียนไว้ในหนังสือว่า
แม้นว่าจะมีหนังสือนำเที่ยวรอบโลกตีพิมพ์ออกจำหน่ายในประเทศต่างๆ อยู่แล้ว แต่ความน่าสนใจของสยามด้วยประเด็นเฉพาะเป็นแรงจูงใจให้ข้าพเจ้าเรียบเรียงไก๊ด์บุ๊กเล่มนี้ขึ้น ซึ่งก็น่าจะเป็นประโยชน์ต่อผู้มาเยือนประเทศนี้ในครั้งแรกๆ หรือแม้แต่ชาวสยามเอง
.
https://www.silpa-mag.com/history/article_154718
โชคดีที่มีฉบับ reprint พอหาอ่านได้อยู่
https://www.whitelotusbooks.com/books/1904-travellers-guide-to-bangkok-and-siam
Back to top
Mongwin
1st Class Pass (Air) Joined: 24/09/2007 Posts: 48728
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
Posted: 02/07/2025 10:04 pm Post subject:
ฟิล์มกระจกกล่องใหม่ ภาพสามมิติ และนิทรรศการใหม่ Circles of Centres | The Rest is History | EP. 1
The Cloud
Jun 27, 2025
https://www.youtube.com/watch?v=noWre--KKcQ
The Rest is History คือรายการใหม่จาก The Cloud ที่เราจะชวนเพื่อนพ้องในวงการของเรามาเล่าประวัติศาสตร์ในแวดวงที่ตัวเองเชี่ยวชาญ
แขกรับเชิญในตอนแรกคือ ท่านผู้หญิงสิริกิติยา เจนเซน และ ปุ๋ม-ภาวิดา สมวงศ์ นักจดหมายเหตุชำนาญการพิเศษ ผู้อำนวยการกลุ่มอนุรักษ์เอกสาร ทั้งสองจะมาเล่าการอ่านประวัติศาสตร์ผ่านภาพถ่ายฟิล์มกระจก นวัตกรรมถ่ายภาพโบราณที่กลายเป็นหลักฐานชิ้นสำคัญในการขุดค้นประวัติศาสตร์ พัฒนาการตั้งแต่ยุคเริ่มแรก จนกลายเป็นมรดกแห่งความทรงจำของโลก
นอกจากนี้ยังเล่าเบื้องหลังนิทรรศการฟิล์มกระจกครั้งล่าสุด Glass Plate Negatives : Circles of Centres การนำภาพที่เก็บไว้มาแสดงสำคัญอย่างไร การ อ่านภาพ คืออะไร ฟิล์มกระจกถ่ายภาพสามมิติได้จริงไหม อดีตในฟิล์มกระจกทำให้เราเรียนรู้อะไรบ้าง คำตอบอยู่ในรายการ The Rest is History ตอนนี้
Back to top
You cannot post new topics in this forum You cannot reply to topics in this forum You cannot edit your posts in this forum You cannot delete your posts in this forum You cannot vote in polls in this forum
Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group