Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311333
ทั่วไป:13293650
ทั้งหมด:13604983
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ในหลวงรัชกาลที่ 9 กับรถไฟไทย
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ในหลวงรัชกาลที่ 9 กับรถไฟไทย
Goto page Previous  1, 2, 3, 4, 5, 6 ... 12, 13, 14  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สาระความรู้วิชาการรถไฟและประวัติศาสตร์รถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42796
Location: NECTEC

PostPosted: 15/01/2007 6:44 pm    Post subject: Reply with quote

เสริมรายงานปี 2517 ด้วย บันทึกหมายกำหนดการเสด็จพระราชดำเนิน ปี 2517

22 พฤษภาคม 2517 เวลา 1045 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ สมเด็จเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร ( สมเด็จพระเทพฯ ) และ สมเด็จเจ้าฟ้าหญิงจุฬาภรณ์ เสด็จจากหัวหินด้วยรถไฟพระที่นั่ง ไปยังโรงปูนซีเมนต์ทุ่งสง ที่สถานีที่วัง เป็นระยะทาง 553 กิโลเมตร

Click on the image for full size
23 พฤษภาคม 2517เวลา 1050 เสด็จจากที่ประทับ ณ โรงปูนซีเมนต์ทุ่งสง ประทับรถไฟพระที่นั่งที่สถานีที่วัง ไปยังสถานีทานพอ ระยะทาง 49 กิโลเมตร เพื่อเป็นประธานในการเททองหล่อพระพุทธรูป ที่วัดโคกเมรุ ตำบลนากะซะ อำเภอฉวาง จังหวัดนครศรีธรรมราช

ระหว่างนั้นได้ให้แพทย์หลวงตรวจรักษาราษฎรที่มาเข้าเฝ้าฯ เป็นเวลา 8 ชั่วโมง


เวลาเย็นได้เสด็จประทับรถไฟพระที่นั่ง จากสถานีทานพอ ไปยังสถานีหัวหิน

24 พฤษภาคม 2517 เวลา 0125 ถึงพระตำแหนักเปี่ยมสุข วังไกลกังวล

4 สิงหาคม 2517 เวลา 1800 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชินี สมเด็จเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร ( สมเด็จพระเทพฯ ) และ สมเด็จเจ้าฟ้าหญิงจุฬาภรณ์ เสด็จจากสถานีจิตรลดา ไปยังสถานีตันหยงมัส เพื่อประทับ ณ พระตำหนักทักษิณราชนิเวศน์

5 สิงหาคม 2517 เวลา 1430 ถึงสถานีตันหยงมัส ให้ราษฎรเข้าเฝ้าก่อนเสด็จประทับแรมที่พระตำหนักทักษิณราชนิเวศน์

25 สิงหาคม 2517 สมเด็จเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร ( สมเด็จพระเทพฯ ) และ สมเด็จเจ้าฟ้าหญิงจุฬาภรณ์ เสด็จจากพระตำหนักทักษิณราชนิเวศน์ ไปยังสถานีตันหยงมัส ประทับรถไฟพระที่นั่ง ยังสถานีที่วัง เพื่อเยี่ยมราษฎร ก่อนประทับแรมที่บ้านพักโรงงานปูนซีเมนต์ไทย ที่ทุ่งสง

28 สิงหาคม 2517 สมเด็จเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร ( สมเด็จพระเทพฯ ) และ สมเด็จเจ้าฟ้าหญิงจุฬาภรณ์ เสด็จ จากบ้านพักโรงงานปูนซีเมนต์ไทย ยังสถานีที่วัง เพื่อประทับรถไฟพระที่นั่ง เสด็จยัง สถานีตันหยงมัส เพื่อประทับแรม ณ พระตำหนักทักษิณราชนิเวศ

เสาร์ที่ 22 กันยายน 2517 เวลา 1200 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ สมเด็จเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร ( สมเด็จพระเทพฯ ) และ สมเด็จเจ้าฟ้าหญิงจุฬาภรณ์ เสด็จกลับพระนครโดยทางรถไฟ จากสถานีตันหยงมัส

อาทิตย์ที่ 23 กันยายน 2517 เวลา 0930 ถึงสถานีหลวงจิตรลดา


Last edited by Wisarut on 17/12/2013 12:42 am; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42796
Location: NECTEC

PostPosted: 22/01/2007 12:36 am    Post subject: Reply with quote

10 มิถุนายน 2499 เวลา 1330 พระเจ้ากรุงลาว ( สมเด็จเจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวงศ์ ) มกุฎราชกุมารสว่างวัฒนา พระชายาคำผุย นายกรัฐมนตรีเจ้าสุวรรณภูมา ได้เดินทางข้ามแม่น้ำโขง มายังสถานีหนองคาย ที่นาทา มีกองเกียรติยศ บรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมีลาวและ พลจัตวา บุศรินทร์ ภักดีกุล ( ราชองครักษ์ ) ได้ตามเสด็จไปด้วย

รถจักรที่ใช้ทำขบวน เป็นรถดาร์เวนปอร์ต 500 แรงม้า มาพ่วงพหุ และมีรถจักรเปล่าทำขบวนนำเพื่ออารักขาขบวนรถพิเศษ เนื่องจากใช้รถโบกี้พระที่นั่งบรรทม และ รถโบกี้พระที่นั่งกลางวัน

รถออกจากสถานีหนองคาย เวลา 1400
ถึงอุดรธานี 1525 ออกอุดรธานี 1530 -> เติมน้ำมัน
ถึงขอนแก่น 1812 ออกขอนแก่น 1815
ถึงนครราชสีมา 2231 ออกนครราชสีมา 2241 -> สับรถ บจพ. 1-3 + เติมน้ำ + เติมน้ำมัน
ถึงปากช่อง 0042 ออกปากช่อง 0052 -> วันที่ 11 มิถุนายน 2499 เช็คห้ามล้อ
ถึงมวกเหล็ก 0153 ออกมวกเหล็ก 0155
ถึงชุมทางแก่งคอย 0255 ออกชุมทางแก่งคอย 0300 -> เติมน้ำมัน
ถึงชุมทางบ้านภาชี 0351 ออกชุมทางบ้านภาชี 0353
ถึงสถานีหลวงจิตรลดา 0600 ออกสถานีหลวงจิตรลดา 0700

รฟท. จัดการ ปลดขบวนรถโบกี้พระที่นั่งไว้ที่จิตรลดาแล้ว จัดการสับกระบวนรถเตรียมทำกระบวนรถสายใต้ที่ย่านสถานีกรุงเทพ เติมน้ำ และ น้ำมันใหม่ และ มกุฎราชกุมารศรีสว่างวัฒนา พระชายาคำผุย และ นายกรัฐมนตรีเจ้าสุวรรณภูมา ได้ให้นายกรัฐมนตรี ผู้แทนพระองค์ เข้าเฝ้า มีกองเกียรติยศ

ถึงนครปฐม 0833 ออกนครปฐม 0836 -> มีสักการะพระปฐมเจดีย์
ถึงราชบุรี 0944 ออกราชบุรี 0947
ถึงเพชรบุรี 1047 ออกเพชรบุรี 1050
ถึงวังก์พง 1232 ออกวังก์พง 1235
ถึงบางสะพานใหญ่ 1529 ออกบางสะพานใหญ่ 1534
ถึงชุมพร 1741 ออกชุมพร 1751 -> เติมน้ำ และ น้ำมัน
ถึงสุราษฎร์ธานี 2133 ออกสุราษฎร์ธานี 2136
ถึงชุมทางทุ่งสง 0016 ออกชุมทางทุ่งสง 0026 -> 12 มิถุนายน 2499 เติมน้ำมัน และ น้ำ
ถึงพัทลุง 0235 ออกพัทลุง 0238
ถึงชุมทางหาดใหญ่ 0435 ออกชุมทางหาดใหญ่ 0455 -> เติมน้ำมัน ตัดบจพ. 3 ของหลวงเสรีเริงฤทธิ์
ถึงปาดังเบซาร์ 0600 (เวลาไทย) ออก 0710 (เวลาไทย - เวลามลายูเป็น 0640)
ถึงสิงคโปร์ 0730 วันที่ 13 มิถุนายน 2499 และลงเรือ Raymond-Poincaré ที่ท่าเรือสิงคโปร์ ซึ่งเรือออกเวลา 1800 วันเดียวกัน

ระหว่างเดินทาง ได้มีการแก้ไข ปดร. ดังนี้

ถึงหัวหิน 1204 จากนั้น มกุฎราชกุมารศรีสว่างวัฒนา พระชายาคำผุย และนายกรัฐมนตรีเจ้าสุวรรณภูมา เสด็จไปเข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ที่วังไกลกังวล ก่อนที่จะเดินทางกลับมาที่กระบวนรถ รถออกจริง 1234


Last edited by Wisarut on 17/06/2007 11:34 pm; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42796
Location: NECTEC

PostPosted: 22/01/2007 12:58 am    Post subject: Reply with quote

ขากลับ ได้เตรียมรถพระที่นั่ง ไว้ที่ปาดังเบซาร์ ดังนี้
1 บพห. 1 บกข. 1 บนท 1 บนอ 1 บนก. 1 บนธ และ 1 บจพ.

รถไฟถึงปาดังเบซาร์ 1300 วันที่ 17 ตุลาคม 2499
ถึงชุมทางหาดใหญ่ 1355 ออกชุมทางหาดใหญ่ 1400 -> ต่อรถบจพ. 3 ของหลวงเสรีเริงฤทธิ์
ถึงพัทลุง 1545 ออกพัทลุง 1548
ถึงชุมทางเขาชุมทอง 1712 ถึงชุมทางเขาชุมทอง 1714
ถึงชุมทางทุ่งสง 1805 ออกชุมทางทุ่งสง 1825 -> เติมน้ำมัน และ น้ำ
ถึงสุราษฎร์ธานี 2112 ออกสุราษฎร์ธานี 2115
ถึงชุมพร 0101 ออกชุมพร 0106 -> 18 ตุลาคม 2499
เติมน้ำ และ น้ำมัน
ถึงวังก์พง 0627 ออกวังก์พง 0630
ถึงเพชรบุรี 0808 ออกเพชรบุรี 0811
ถึงราชบุรี 0908 ออกราชบุรี 0910
ถึงนครปฐม 1017 ออกนครปฐม 1019 -> มีสักการะพระปฐมเจดีย์
ถึงชุมทางตลิ่งชัน 1113 ออกชุมทางตลิ่งชัน 1200 -> สับกระบวนรถ เพื่อทำขบวนเข้าที่จิตรลดา
ก่อนทำขบวนต่อสายอีสาน

ถึงชุมทางบางซื่อ 1230 ออกชุมทางบางซื่อ 1240 -> เติมน้ำมัน
ถึงอยุธยา 1412 ออกอยุธยา 1415
ถึงชุมทางบ้านภาชี 1443 ออกชุมทางบ้านภาชี 1446
ถึงชุมทางแก่งคอย 1537 ออกชุมทางแก่งคอย 1547 -> เติมน้ำมัน
ถึงมวกเหล็ก 1650 ออกมวกเหล็ก 1651
ถึงปากช่อง 1756 ออกปากช่อง 1800 เช็คห้ามล้อ
ถึงนครราชสีมา 2017 ออกนครราชสีมา 2042 -> สับรถ บจพ. 1-3 + เติมน้ำ + เติมน้ำมัน
ถึงบัวใหญ่ 2250 ออกบัวใหญ่ 2253
ถึงบ้านไผ่ 0026 ออกบ้านไผ่ 0029 -> วันที่ 19 ตุลาคม 2499
ถึงขอนแก่น 0130 ออกขอนแก่น 0133
ถึงอุดรธานี 0432 ออกอุดรธานี 0435
รถถึงสถานีหนองคาย เวลา 0600


มีการแก้ไข ปดร. คือ รถพระที่นั่งถึงปาดังเบซาร์ 1200 วันที่ 17 ตุลาคม 2499 และ รถมาถึงตลิ่งชัน เวลา 1005 วันที่ 18 ตุลาคม 2499

ที่ต้องสับกระบวนรถที่ตลิ่งชัน เพราะย่านสถานีตลิ่งชันใหญ่พอ และตอนนั้น คนหันเหความสนใจไปที่พระเจ้าอยู่หัวที่ทรงผนวชเป็นภูมิพโลภิกขุ เต่พระเหตุที่มีงานทรงพระผนวช ทำให้ทางรัฐบาลลาวขอให้จัดขบวนรถที่กรุงเทพ ซึ่งทำไม่ได้ ต้องจัดที่ตลิ่งชันอยู่ดี อย่างดีคือ นำกระบวนรถุไปที่สถานีจิตรลดา ถึงสถานีจิตรลดา 1140 ให้ผู้แทนพระองค์ นายกฯ เข้าเฝ้า รถไฟออกจากสถานีหลวงจิตรลดา เวลา 1210

ในหลวงทรงผนชเป็นภูมิพโลภิกขุ

Click on the image for full size

ชุดภาพในหลวงทรงผนวช 18 ตุลาคม 2499 ดูได้ที่นี่

http://www.wat9chiangmai.com/modules.php?name=News&file=article&sid=43

Click on the image for full size

สมเด็จพระเจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวงศ์สมัยยังมีพระชนม์ชีพอยู่

Click on the image for full size

สมเด็จเจ้ามหาชีวิตสว่างวัฒนาก่อนถูกส่งไปสัมมนาเวียงไชย
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42796
Location: NECTEC

PostPosted: 27/02/2007 7:03 pm    Post subject: Reply with quote

ประวัติตำหนักศาลเสด็จในกรมหลวงชุมพรอุดมศักดิ์ อาคารไม้หลังแรก ณ หาดทรายรี จังหวัดชุมพร
โดย พันเอก แสง จุละจาริตต์
คัดจาก นาวิกศาสตร์ ปีที่ ๘๑ เล่มที่ ๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๑

(หน้าที่ ๑)

เมื่อต้น พ.ศ. ๒๕๐๒ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมพสกนิกรของพระองค์ในจังหวัดต่าง ๆ ของภาคใต้เป็นครั้งแรก ใน รัชสมัยของพระองค์ระหว่างวันที่ ๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๐๒ ถึงวันที่ ๒๗ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๐๒

หมายกำหนดการเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมพสกนิกรภาคใต้ เริ่มเมื่อวันศุกร์ที่ ๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๐๒ เวลา ๐๖๔๕ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระบรมราชินีนาถ เสด็จประทับ ขบวนรถไฟพิเศษพระที่นั่ง จากสถานีหลวงจิตรลา กรุงเทพมหานคร มีพลเอก จรูญ รัตนกุลเสรีเริงฤทธิ์ ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย และพันตรีแสง จุละจาริตต์ ผู้อำนวยการฝ่ายเดินรถ เป็นผู้ควบคุมขบวนรถพิเศษ พระที่นั่งให้เดินทางตามประกาศเดินรถ ( ปดร.) และถวายความปลอดภัยตลอดเส้นทางเส้นเสด็จพระราชดำเนิน

ขบวนรถพิเศษพระที่นั่งหยุดตามประกาศเดินรถ ที่สถานีนครปฐม ราชบุรี เพชรบุรี และประจวบคีรีขันธ์ แห่งละ ๓ นาที และไปถึงสถานีชุมพร เวลา ๑๗๔๕ ( ตรงตามประกาศเดิมรถ ) ทั้งสองพระองค์ เสด็จฯ ลงจากขบวนรถพิเศษพระที่นั่ง ปลัดกระทรวงมหาดไทยกราบบังคมทูล นำข้าราชการผู้ใหญ่ ฝ่ายปกครอง ผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ ๕ อธิบดีผู้พิพากษาศาลชุมพร ผู้บังคับการจังหวัดทหารบกชุมพร ผู้กำกับการตำรวจชุมพร นายอำเภอเมืองชุมพร นายกเทศมนตรีเมืองชุมพร พร้อมด้วยภริยา เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท แล้วเสด็จขึ้นประทับรถยนต์พระที่นั่งจากสถานีรถไฟชุมพร ไปยังจวนผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร ได้จัดถวายเป็นที่ประทับแรม และเสวยพระกระยาหารค่ำ ณ ที่ประทับ

ในค่ำวันที่ ๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๐๒ พันตรี แสง จุละจาริตต์ ( ผู้อำนวยการฝ่ายการเดินรถ ) ได้ไปลา พลเอก จรูญ รัตนกุลเสรีเริงฤทธิ์ ( ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย ) ขออนุญาตออกไปนอกเส้นทางรถไฟ ๒ วัน ซึ่งท่านผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทยก็อนุญาต ผู้อำนวยการฝ่ายการเดินรถได้เดินทาง พร้อมกับภริยา ( นางอำนวย จุละจาริตต์ ) และผู้เกี่ยวข้องชุดหนึ่ง ไประนอง เวลาสองยาม เช้าวันรุ่นขึ้น ภรรยาผู้อำนวยการฝ่ายการเดินรถ ได้ไปช่วยท่านญาติผู้ใหญ่ในสกุล ณ ระนอง เพื่อตกแต่งฮวงซุ้ยต้นตระกูล ณ ระนอง เตรียมที่ประทับขององค์พระประมุขแห่งชาติ ๒ พระองค์ ซึ่งจะเสด็จวางพวงดอกไม้สด ณ สุสาน ต้นตระกูล ณ ระนอง

วันเสาร์ที่ ๗ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๐๒ เวลา ๑๖๐๐ พระบาทสมเด็จพระบรมราชินีนาถ เสด็จโดยรถยนต์พระที่นั่ง จากจวนผู้ว่าราชการจังหวัดระนอง ไปยังสุสานต้นตระกูล ณ ระนอง เสด็จฯ ถึงเวลา ๑๖๒๐ ทรงทักทายกับพระยาประดิพัทธ์ภูบาล ทรงวางพวงดอกไม้สดพระราชทาน แก่สุสานต้นตระกูล ณ ระนอง เวลา ๑๖๓๐ ทรงสนทนาปราศรัยต่อไปจนเวลา ๑๖๔๕ จึงเสด็จประทับรถยนต์พระที่นั่งเสด็จ ฯ ต่อไปยังพลับพลาหน้าโรงเรียนประจำจังหวัด ( พิชัยรัตนคาร ) ฯลฯ ตามหมายกำหนดการของสำนักพระราชวังต่อไป ผู้อำนวยการ ฝ่ายการเดินรถ และภรรยาเดินทางกลับไปชุมพร

วันอาทิตย์ที่ ๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๐๒ เมื่อผู้อำนวยการ ฝ่ายการเดินรถกลับถึงชุมพรในค่ำวันนั้น ได้มีการรับประทานอาหารชุดคณะรถไฟที่ปฏิบัติหน้าที่ ในชบวนรถพิเศษพระที่นั่งของพระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว นาย ยง สุทธรัตน์ วิศวกรบำรุงทางชุมพร ( วบข.ชพ.) ได้พูดว่า

" ผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพรนี้ ไม่สามารถจัดถวายให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จฯ ไปพบพระเจ้าลุงได้ ”

พันตรี แสงฯ ( ผู้อำนวยการฝ่ายการเดินรถ ) จึงถามว่า

" พระเจ้าลุงนั้นคือท่านผู้ใด ”

วิศวกรบำรุงเขต จึงตอบว่า

"ศาลประทับของเสด็จในกรม ก็มีอยู่ศาลหนึ่งที่ปากน้ำชุมพร ”

วิศวกรบำรุงทางชุมพร ตอบว่า

" ศาลนั้นเป็นศาล ราษฎรที่เคารพในพระองค์ สร้างขึ้นด้วยความศรัทธา แต่ไม่เกี่ยวกับพระประวัติกับพระชนม์ชีพของเสด็จในกรมหลวงชุมพร เราคณะรถไฟมาร่วม ใจสร้างศาล ถวายเจ้าพ่อเสด็จ ในกรมหลวงชุมพร สัก ๑ ศาล ขึ้นตรงที่เสด็จในกรมหลวงชุมพร เคยประทับอยู่จะดีไหม ตำบลที่จะสร้างพระ ตำหนักศาลเจ้าคือที่หาดทรายลี ”

วิศวกรบำรุงทางชุมพร จึงได้เล่าให้ฟังถึงศาลเจ้า ที่แท้จริงเป็นศาลเล็ก ๆ ตั้งอยู่ที่ตำบล หาดทรายลี ตรงที่พระตำหนักเดิมเสด็จในกรมหลวงชุมพรทรงปลูกไว้ ระหว่างที่ทรงดำรงชีวิตอยู่ และยังไม่มีถนนไปได้ถึงตำบลนั้น ถ้าจะไปสักการะจะต้องไปโดยเรือตังเกไปจากปากน้ำชุมพร ใช้เวลาเดินทาง ๓๐ - ๔๐ นาที จึงจะไปถึงหาดทรายลี เรือตังเกต้องจอดห่าง เพราะหาดทรายตื้น ผู้ไปเมื่อลงจากเรือต้องเดินลุยน้ำขึ้นไปที่ฝั่ง

วิศวกรบำรุงทางชุมพร เคยไปเฝ้าเสด็จ ในกรมหลวงชุมพร ที่หาดทรายลีมาก่อนแล้ว และเล่าว่า

การไปเฝ้าท่านนั้น เสด็จในกรม ฯ ไม่ประสงค์ให้เดินทางไปโดยมีการเสพสุรา และร้องรำทำเพลงไปตลอดทาง ท่านต้องการ ให้เดินทางโดยสำรวมไปตลอดทาง เมื่อขึ้นไปจากหาดทรายแล้ว ก็เข้าแถวแสดงความเคารพ และถวายรายงาน ท่านต้องการให้อยู่ในระเบียบวินัย ฯ

วิศวกรบำรุงทางชุมพรขอร้องล่วงหน้า ให้คณะรถไฟ และครอบครัวได้ตระหนักโดยทั่วกัน และคอยเตือนกันตลอดทาง และตลอดเวลาด้วย

วิศวกรบำรุงทางชุมพร ต้องการคณะรถไฟผู้ใหญ่ที่เกิดความศรัทธาในเสด็จในกรมฯ ได้ถูกเลือก เป็นคนกลาง ที่คณะรถไฟ ทุกฝ่าย และสำนักงานในส่วนกลาง และเขต แขวงส่วนภูมิภาค ให้ความเคารพนับถือ ได้รับทราบเจตนาจะถวายพระตำหนักศาลเจ้าแก่เสด็จในกรม ฯ จะได้ร่วมใจ ร่วมแรงสามัคคีจัดสร้าง และบำรุงรักษาตลอดไปเป็นการถาวรด้วย
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42796
Location: NECTEC

PostPosted: 27/02/2007 7:08 pm    Post subject: Reply with quote

ประวัติตำหนักศาลเสด็จในกรมหลวงชุมพรอุดมศักดิ์ อาคารไม้หลังแรก ณ หาดทรายรี จังหวัดชุมพร
โดย พันเอก แสง จุละจาริตต์
คัดจาก นาวิกศาสตร์ ปีที่ ๘๑ เล่มที่ ๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๑

( หน้าที่ ๒ )

วันจันทร์ที่ ๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๐๒ คณะรถไฟ และครอบครัว ที่มากับขบวนรถไฟ ที่ประจำเขต แขวงชุมพร ผู้บังคับการตำรวจรถไฟ นายตำรวจรถไฟ นายยงยุทธ พิศาลสารกิจ นายบำรุง ประภารักษ์ ลงเรือตังเก ระวางขับน้ำ ๑๒ ตัน จากท่าเรือปากน้ำชุมพร เดินทางเวลา ๐๘๕๐ ทะเลสงบดีตลอดทาง และไปถึงบริเวณหน้าหาดทรายลีเวลา ๐๙๓๐

ระหว่างทาง วิศวกรบำรุงทางชุมพร บรรยายสรุปว่า เสด็จในกรม ฯ ได้ลาออกจากราชการ และมาปลูกพระตำหนักเล็ก ๆ ในที่ดินเคยเป็นไร่ของนายลี ตอนทรงพานักเรียนนายเรือ ไปฝึกยกพลขึ้นบก ทรงประทับที่ หาดทรายลี ( เรียกตามชื่อของนาย ลี ) เป็นส่วนใหญ่และ เสด็จกลับกรุงเทพฯ เป็นครั้งคราว / ในพระนคร ทรงรักษาผู้เจ็บไข้ได้ป่วยด้วยเครื่องยาสมุนไพร ที่วังของพระองค์ตำบลนางเลิ้ง ทรงเรียกตัวพระองค์ว่า หมอพร

หมายเหตุ ปัจจุบันชาวบ้านและทางราชการเรียกขาน และใช้ชื่อว่าหาดทรายรี

บริเวณพระตำหนักเดิม ไม่มีซากอาคารเหลืออยู่ คงมีต้นหูวางใหญ่อยู่ต้นหนึ่ง ซึ่งชาวบ้าน อาวุโสได้บอกเล่าทอดมาว่า ปลูกอยู่ใกล้พระตำหนักเดิมของเสด็จในกรมฯ

เสด็จในกรมหลวงชุมพร ได้รับพระบรมราชโองการจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า เจ้า อยู่หัว ให้กลับไปรับราชการในกระทรวงทหารเรืออีกครั้ง ก่อนที่ประเทศสยามจะประกาศสงครามกับประเทศเยอรมนี ในสงครามโลกครั้งที่ ๑ ไม่นานนัก และได้ทรงรับราชการครั้งที่สอง นานพอสมควร ต่อมา ได้ทรงลาราชการ มาพักผ่อนที่พระตำหนักหาดทรายลี ทรงประชวร ทิวงคต เมื่อวันที่ ๑๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๖๖ มีพระชนมายุ ๔๓ พรรษาเศษ

ชาวบ้านชาวประมงชุมพร ในรุ่นร่วมสมัย ได้ติดตามพระเกียรติประวัติ และศรัทธาใน พระอภินิหารพระบารมี ตลอดจนตระหนักความสำคัญของสถานที่ ได้ร่วมใจกันสร้างศาลเล็ก ๆ ขึ้น ๒ ศาล ตรงโคนต้นหูกวางต้นนี้ เป็นอาคารแบบบาง กว้าง ๑ เมตร ยาว ๑ เมตร มีหลังคามีฝา ๓ ด้าน ทำด้วยสังกะสี อีกหลังหนึ่งขนาด ๒ x ๑ เมตร มีฝาตามยาวด้านเดียวเป็นสังกะสี และหลังคาสังกะสี หลังแรก ปลูกไม่แข็งแรง และกำลังเซไปข้างหน้า ชาวบ้านต้องตัดไม้เป็นงาน ปักยันตัวอาคารไว้ เป็นแบบไม้ค้ำโพธิ์ เพื่อมิให้อาคารศาลที่แบบบาง ชะโงกต่ำหน้าเกินไป นี่แหละ สภาพของพระตำหนักศาลเจ้าของเสด็จในกรมหลวง ของพระตำหนักศาลเจ้าของเสด็จในกรมหลวงชุมพร ที่ชาวบ้าน ชาวประมงจัดทำถวายไปด้วยกำลังศรัทธาอย่างดีจนสุดกำลังแล้ว และยังถวายอยู่บนอาคารศาลบริวาร เช่น ช้าง ม้า ทำด้วยไม้ที่ถวายอยู่ในจำนวนพอสมควร เพราะปรากฏมาหยิบเอาไปต้องรีบเอามาคืน และขอขมากรรม ฯ และบริเวณหน้าศาล ใต้ร่มของต้นหูกวางก็รักษาไว้โล่งเตียนดี

พวกเรา คณะรถไฟ ผู้ตรวจไฟและครอบครัว เมื่อลุยน้ำเดินขึ้นหาดทรายก็รอพร้อมกัน และตั้งแถวบนดินแข็งเลยหาดทรายขึ้นไปแล้ว พันตรี แสง ฯ ( ผู้อำนวยการฝ่ายการเดินรถ ) บอก คณะรถไฟ ผู้ตรวจรถไฟ “ แถวตรง ” ถวายความเคารพเสด็จในกรมหลวงชุมพรตรงหน้า ย้ำทุกคน ให้ทุกคนสำรวมกายวาจา ถวายความเคารพต่อเสด็จในกรม และสถานที่ และไปจุดธูป เทียน ดอกไม้สักการะทั่วกัน

จากนั้น นาย ยง สุทธิรัตน์ วิศวกรบำรุงทางชุมพร ได้นำดูสถานที่บรรยายสรุประวัติ และสอบถามข้อมูลจากชาวบ้านบริเวณนั้นผู้ออกมาพบกับ พวกเรา คณะรถไฟ ผู้ตรวจรถไฟ และครอบครัว ได้เห็นสถานที่ของอาคารศาลเสด็จในกรม ฯ มีความเศร้าใจ เกิดความรู้สึกว่า ณ สถานที่พระองค์มาทิวงคตที่นี เป็นระยะห่างยาวนานถึง ๓๐ ปิเศษแล้วก็ตาม แต่บรรยากาศที่บริเวณนั้น ในวันนั้น มีพลัง และอานุภาพประหลาดนัก ส่วนใหญ่พวกเราได้รับสัมผัสกับดวงวิญญาณของเสด็จในกรมหลวงชุมพร คือ อาการขนลุก ที่แขนท่อนล่างทั้ง ๒ ข้าง บางคนน้ำตาไหล ฯลฯ ทุกคนตระหนักว่าพระองค์ ยังคงผูกพัน อยู่กับสถานที่นี้อยู่ตลอดเวลา ที่ปากน้ำชุมพร บริเวณตลาดหมู่บ้านประมง ที่ศาลเจ้าของเสด็จในกรม ฯ ซึ่งชาวตลาดและชาวเรือ เมื่อไปสักการะเป็นประจำ พวกเราผ่าน ไปมาได้โดย ไปจุดธูปสักการะ แต่ไม่ได้รับสัมผัสเท่าที่เราได้รับ เท่าที่หาดทรายลีในเช้าวันนี้เลย

พวกเราเริ่มปรึกษากันว่า ควรจะสร้างพระตำหนักศาลเจ้าของเสด็จในกรม เป็นอาคาร รูปอย่างไร จะตั้งตรงไหน กำลังช่างไม้ ช่างปูน ช่างเบ็ดเตล็ด และวัสดุก่อสร้างมีเพียงพอหรือไม่ เมื่อทำเสร็จแล้ว จะต้องถอดได้เป็นชิ้น ควรทำเครื่องหมายไว้แต่ละชิ้น เพื่อจะได้เข้าประกอบ เข้าเป็นรูปทรงถูกต้อง เมื่อนำไปติดตั้งจะนำไปอย่างไร ทางทะเล ฯลฯ

ในกลุ่ม ของพวกเราในรุ่นนั้นมี นาย ยง สุทธิรัตน์ วิศวกรบำรุงเขตชุมพร นายสันต์ กู้เกียรตินันท์ สารวัตรบำรุงทาง ( สบท.) ชุมพร ๒ คนนี้ จะต้องเป็นทัพหน้าในการออกแบบ และสร้างเป็นรูปร่าง แล้วจัดตีเส้นด้วยสีต่าง ๆ ตามรอยประสานของแต่ละชิ้น และให้เลขด้วย เมื่อสีแห้งก็ถอด และผูกมัด นาย พิตร เลิศล้ำ สารวัตรถจักร ( สรจ. ) ชุมพร ศิษย์ก้นกุฏิของเสด็จในกรม ฯ จะเป็นผู้ช่วยทุกสาขาในงานครั้งนี้

นาย สมาน จันทร์เจริญสุข หัวหน้ากองจัดการเดินรถเขต ๔ ( จดข. ) ชุมพร ทำหน้าที่กองส่งกำลังบำรุง จัดยานพาหนะทางบก ทางเรือ โดยเฉพาะเรือท้องแบนเล็ก สำหรับบรรทุกเครื่องก่อสร้างที่ถอดและมัดไป จัดเสบียงอาหารสำหรับผู้ทำงาน ก่อสร้าง ผู้ไปในงาน รวมทั้งภัตตาหารถวายแด่เสด็จในกรม ฯ แต่ละสายส่งยอดคนอย่างจำกัด และแต่ละกอง คุมกำลังพล กำลังเครื่องมือ เครื่องใช้ให้พร้อม ทุกคนหารือกันแล้ว ขอให้ พันตรี แสง จุละจาริตต์ เป็นหัวหน้า ภรรยา ( นางอำนวย จละจาริตต์ ) ก็ยินดีร่วมด้วย สองคนไป ประเดิมการทำบุญนำครั้งแรก มอบปัจจัยเป็นเงิน ๕๐๐,๐๐๐ บาท เป็นทุกประเดิม แก่หัวหน้ากองจัดการเดินรถเขต ๔ ชุมพร ทำหน้าที่หัวหน้ากองส่งกำลัง บำรุงของโครงการ พระตำหนักศาลเจ้าเสด็จในกรมหลวงชุมพร ฯลฯ

พันตรี แสง จุละจาริตต์ เชิญทุกคนไปเข้าแถวในร่มของต้นหูกวาง หันหน้าไปทาง พระตำหนักศาลเจ้า และบอก

“ แถวตรง ”

ถวายความเคารพเสด็จในกรมหลวงชุมพร ฯ ตรงหน้า และประกาศรายงานต่อเจ้าพ่อเสด็จในกรมหลวงชุมพร บรรดาข้าพุทธเจ้า ลูกจ้าง และครอบครัวทั้งชายหญิง มาเฝ้าในวันนี้ มาด้วยน้ำใจเคารพ และเต็มด้วยความศรัทธาปสาทะ อย่างแรงกล้า เนื่องจากเลื่อมใสเคารพนับถือเป็นรากฐานเดิม และมุ่งหมายมาถึงพระตำหนักนี้ เพื่อจะได้สักการะสถานที่เนื้อแท้ที่ท่านได้เคยประทับ และทิวงคต เมื่อได้มาถึงและได้สักการะ เต็มตามตั้งใจแล้ว จึงพร้อมใจทูลขออนุญาตขอปลูกอาคารพระตำหนักศาลถวายใหม่ เป็นอาคารพระตำหนักทรง ไทยให้ภูมิฐานสง่างาม / จักได้นำถวายแด่เจ้าพ่อสัก ๑ หลัง ทั้งจะตกแต่งบริเวณให้สวยงามด้วย
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42796
Location: NECTEC

PostPosted: 27/02/2007 7:10 pm    Post subject: Reply with quote

ประวัติตำหนักศาลเสด็จในกรมหลวงชุมพรอุดมศักดิ์ อาคารไม้หลังแรก ณ หาดทรายรี จังหวัดชุมพร
โดย พันเอก แสง จุละจาริตต์
คัดจาก นาวิกศาสตร์ ปีที่ ๘๑ เล่มที่ ๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๑

( หน้าที่ ๓ )

“ ขอเจ้าพ่อได้โปรดประทานอนุญาต และโปรดให้งานสร้างงานทำชิ้นส่วนต่าง ๆ นำมาทางทะเล เพื่อมาติดตั้งประกอบขึ้นที่ตรงบริเวณใต้ร่มต้นหูกวางใหญ่นี้ ได้เป็นผลสำเร็จ จงทุก ประการ ”

“ ขอได้โปรดประทานให้ศิษย์คณะรถไฟชุดนี้ เจริญก้าวหน้ารุ่งเรืองในด้านการงาน และในด้านส่วนตัวทุกคน ”


พอประกาศเสร็จ ก็มีจิ้งจก ๑ ตัว ไม่ทราบว่ามาจากไหน มาเกาะที่กลางหลังของ พันตรี แสง จะละจาริตต์ ผู้ยืนอยู่หน้าแถว และผู้ยืนในแถวได้เห็นทั่วกัน จิ้งจกตัวนี้ ได้ไต่ขึ้นไปบนศีรษะ เลยที่เส้นผม และไต่ลงไปที่ไหล่ซ้าย ( ถึงตรงนี้ นาย พิตร เลิศล้ำ ) สารวัตรรถจักร ชุมพร ได้ถ่ายภาพไว้

พันตรีแสง จุละจาริตต์ ได้รับทราบจากผู้อยู่ในแถวบอก ถึงพนมมือ และเดินตรงไปที่ตรงหน้าศาลเสด็จในกรม ฯ ในระยะใกล้พอสมควร ยืนสมาธินิ่ง จิ้งจกตัวนั้น ก็โดดขึ้นศาลไป พันตรี แสง และ นางอำนวย จุละจาริตต์ ได้ทูลขออนุญาตขอถ่ายภาพนั่ง ที่หน้าศาลดั้งเดิมเนื้อแท้ของเจ้าพ่อเสด็จในกรมหลวงชุมพร ใต้ร่มต้นหูกวาง หาดทรายลี โดยฝีมือถ่ายภาพของนายพิตร เลิศล้ำ เมื่อวันจันทร์ที่ ๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๐๒

หลังจาก ๙ มีนาคม ๒๕๐๒ แล้ว คณะรถไฟชุดมากับขบวนพิเศษพระที่นั่ง ก็นำขบวนพิเศษเปล่ากลับพระนคร คณะรถไฟชุดเขตแขวงชุมพร ก็กลับไปปฏิบัติงานในสายงานปกติ นายช่างยง สุทธิรัตน์ วิศวกรบำรุงทางชุมพร และนายสันต์ กู้เกียรตินันท์ สบท. ชุมพร ก็จัดออกแบบอาคารพระตำหนักศาลเสด็จในกรม ฯ เป็นอาคารสามมุข มีหลังคาทรงไทย มุงด้วยกระเบื้องลอนคู่หนา ๕ มิลลิเมตร เพราะมีกิ่งไม้แห้งของต้นหูกวางตกลงมาเสมอ หลังคาจะไม่แตกชำรุดง่าย อาคารมีขนาด กว้าง ๓.๘๐ เมตร ยาว ๔.๓๐ เมตร ยกพื้นสูงจากระดับดิน ๐.๘๐ เมตร หน้ามุขที่ยื่นออกด้านทะเล มีลูกกรงกั้น และมีบันไดลงข้างขวางของหน้ามุขสู่พื้นดิน ใช้ไม้แห้งทั้งหมด

จากนั้น ก็เริ่มหาไม้ขนาดต่าง ๆ และงานช่างไม้ก็ดำเนินไปเรื่อย ๆ เนื่องจากต้องใช้ช่างฝีมือ และคนงานของเขตแขวงบำรุงทาง ช่วยกันในเวลาว่าง หรือสมัครใจช่วยกันในวันหยุด โดยไม่ให้งานบำรุงรักษาสถานที่ สะพาน และทาง ล่าช้าและเสียหายได้ การสร้างได้นำมาประกอบเป็นโครงและต่อเติม จนเป็นอาคารพระตำหนักศาล เสร็จประมาณเดือน พฤษภาคม ๒๕๐๒ วิศวกรบำรุงทางชุมพร ทำเครื่องหมายตรงชิ้นส่วนต่าง ๆ ที่สอดเชื่อมต่อกันไว้ให้ชัดเจน และเมื่อจำเป็นก็ใส่เลขไว้ด้วย จากนั้น ก็ถอดออกแต่ละชิ้น และมัดไว้ เพื่อเตรียมขนไปบรรทุกลงเรือ นำไปติดตั้งที่หาดทรายลีต่อไป ระหว่างการทำชิ้น ส่วนต่าง ๆ และประกอบอาคาร นายสมาน จันทร์เจริญสุข หัวหน้ากองจัดการเดินรถเขต ๔ ชุมพร ได้ดูแล และติดต่อกับฝ่ายบำรุงทาง นายช่างยง สุทธิรัตน์ วิศวกรบำรุงทางชุมพร และนายสันต์ กู้เกียรตินันท์ สารวัตรบำรุงทางชุมพร อยู่ตลอดเวลา

หัวหน้ากองจัดการเดินรถเขต ๔ ชุมพร ได้รายงาน พันตรี แสง จุละจาริตต์ ว่า อาคาร พระตำหนักศาลสร้างเสร็จตรวจเรียบร้อย และถอดเป็นชิ้นมัดเสร็จ พร้อมจะพาไปติดตั้งในปลาย พ.ศ. ๒๕๐๒ ผู้อำนวยการฝ่ายเดินรถได้บอกว่า ท่านติดงานไปร่วมด้วยไม่ได้ ขอให้หัวหน้า กองจัดการเดินรถเขต ๔ สารวัตรรถจักร วิศวกรบำรุงเขต สารวัตรบำรุงทางชุมพร หารือกัน และจัดไปให้เรียบร้อยด้วย งานสร้างส่วนต่าง ๆ จนประกอบเป็นอาคารพระตำหนักศาลเสด็จในกรมหลวงชุมพร มีรายชื่อบุคคลสมควรจะบันทึกไว้ คือ ระดับผู้บังคับบัญชา เขต แขวง ชุมพร

๑. นายช่างยง สุทธิรัตน์ วิศวกรบำรุงทางชุมพร

๒. นายช่างสันต์ กู้เกียรตินันท์ สารวัตรบำรุงทางชุมพร

๓. นายสมาน จันทร์เจริญสุข หัวหน้ากองจัดการเดินรถเขต ๔ ชุมพร

๔. นายสุรินทร์ เจริญลาภ รถจักรชุมพร

๕. นายพิตร เลิศล้ำ รถจักรชุมพร

ระดับช่างฝีมือ และคนงาน มี

๑. นายชวน ศุภการ

๒. นายฉาย ธรรมวุฒิ

๓. นายเขียว เปลี่ยนวงศ์

๔. นายเสม กาลพัฒน์

๕. นายพลอย สิทธิยากรณ์

๖. นายเจิม หวังมี

๗. นายชื่น วิมลศรี

วันที่เดินทาง จำกันไม่ได้แน่ชัด แต่เป็นปลายเดือน พฤษภาคม ๒๕๐๒ โดยชั้นแรก นำเครื่องก่อสร้างที่ถอดเป็นชิ้น และมัดแล้วนั้น บรรทุกรถยนต์ และไปขนลงบรรจุในเรือท้องแบน ( เรือทุ่นทหารช่าง ) และคงจอดอยู่ รอวันเดินทางอยู่ที่ปากน้ำ

วันเดินทาง ได้น้ำเอาเรือทุ่นทหารช่าง ไปผูกขนานกันเรือยนต์ เสร็จเวลา ๑๐๐๐ อากาศดี ท้องทะเลสงบ

เมื่อออกเดินทางไป มีเรือของชาวปากน้ำชุมพรที่เขาทราบเรื่อง ก็พากันไปด้วย มีทั้งเรือ เล็ก เรือใหญ่ แต่ไม่ใช่เรือตังเก ในเช้าวันนั้น มีขบวนเรือร่วมในการเดินทางลำแรก มีเครื่องขยายเสียงเป็นเรือนำ มี คณะรถไฟผู้ใหญ่ไปกัน ลำถัดไปเป็นเรือยนต์ มีเรือทุ่นทหารช่างผูกกกขนานไปด้วย บรรทุกอุปกรณ์ และชิ้นส่วนโครงสร้างศาลเสด็จในกรม ฯ มีคนงาน ๗ คน มีคนเรือ ๒ คน และมีนายสมาน จันทร์เจริญสุข หัวหน้ากองจัดการเดิน รถเขต ๔ และลูกชาย ๑ คน นายสุรินทร์ เจริญลาภ สดร.ชุมพร และลูกชาย ๑ คน เรือลำที่สาม เป็นเรือครัวบรรทุกอาหาร น้ำ และติดตั้งเครื่องขยาย เสียงเป็นของชาวตลาดปากน้ำจัดลำดับถัด ไปเป็นเรือของชาวปากน้ำ ผู้รู้ข่าวก็มาร่วมเดินทางไปประมาณ ๑๐ - ๑๕ ลำ
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42796
Location: NECTEC

PostPosted: 27/02/2007 7:15 pm    Post subject: Reply with quote

ประวัติตำหนักศาลเสด็จในกรมหลวงชุมพรอุดมศักดิ์ อาคารไม้หลังแรก ณ หาดทรายรี จังหวัดชุมพร
โดย พันเอก แสง จุละจาริตต์
คัดจาก นาวิกศาสตร์ ปีที่ ๘๑ เล่มที่ ๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๑

( หน้าที่ ๔ )

เมื่อเคลื่อนขบวนออกจากปากน้ำชุมพร สภาพอุตุนิยมเป็นปกติ ท้องฟ้าแจ่มใส่ ไม่มีเมฆ หมอก ทะเลราบเรียบ เมื่อเรือเคลื่อนเข้าไปใกล้จะถึงเกาะมัตโพน ก็เกิดท้องฟ้ามืดครึ้มขึ้นมา ในบัดดล มีพายุลมแรงมาจากในทะเล ทุกอย่างเป็นไปอย่างรวดเร็ว เรือต่าง ๆ เริ่มเสียขบวน และแยกย้ายเบนหัวเรือเข้าฝั่งกลับไปปากน้ำ มีเรือ ๒ ลำ ถูกพายุฝนกระหน่ำ คือ เรือยนต์ พร้อมกับเรือเหล็กทุ่นทหารช่างบรรทุกชิ้นส่วนเครื่องสร้างศาลเสด็จในกรมฯ หางเสือเรือหัก ถูกลมพัดเกยหาดทราย เดินทางกลับไม่ได้ ต้องนำเรือใหญ่แรงม้าสูงไปฉุดลากเข้าปากน้ำ ส่วนอีกลำหนึ่ง เป็นเรือครัว ถูกพายุพัดกระหน่ำเช่นเดียวกัน แต่เมื่อพายุฝนสงบแล้ว สามารถกลับเข้าปากน้ำได้ เรือลำอื่น ๆ ได้ กลับเข้าปากน้ำก่อนโดยปลอดภัยทุกลำ

หัวหน้ากองจัดการ เดินรถเขต ๔ เล่าว่า ( บันทึกเทปคาสเซท ไว้เมือ ๙ พฤศจิกายน ๒๕๒๐ ) ตัวท่านติดอยู่ในเรือยนต์ลำที่เรือเหล็กทุ่นทหารช่างผูกขนาน นายท้ายพยายามวาดหัว ให้เข้าหาฝั่ง วาดเข้าไม่สำเร็จ จนกระทั่งสายโซ่บังคับหางเสือ ติดอยู่กับพังงาขาด นายท้ายเรือก็วิ่งไปต่อเรียบร้อย ตีระฆังเดินทางต่อไป พยายามวาดเรือจะเข้าฝั่ง โซ่ก็ขาดอีกเป็นครั้งที่ ๓ แต่โซ่ก็ขาดอีก หัวหน้ากองจัดการเดินรถเขต ๔ จึงบอกนายท้ายว่า เอาสมอลงเถิด และจิตใจก็ปั่นป่วน เพราะหัวหน้ากองจัดการเดินรถเขต ๔ ชุมพร มีลูกชายอายุ ๑๒ ขวบ ไปในเรือลำนี้ด้วย อีก ๒ คน จึงนึกถึงเจ้าพ่อเสด็จในกรมหลวงชุมพรขึ้นมาได้ หัวหน้ากองจัดการเดินรถเขต ๔ จึงพนมมือเงยหน้าขึ้นสักการะเสด็จในกรม ฯ ด้วยสมาธิ และด้วยความจริงใจ และทูลว่า

“ ที่ข้าพุทธเจ้าพากันมาวันนี้ มาด้วยศรัทธา และเจตนาดี เพื่อนำเอาเครื่องก่อสร้างไปทำการติดตั้ง และสร้างพระตำหนักศาลของเสด็จพ่อที่หาดทรายลี ข้าพุทธเจ้านึกได้ว่า ข้าพุทธเจ้าบกพร่องอยู่สิ่งเดียวที่นึกไม่ถึงคือ ไม่ทันได้กราบทูลเสด็จพ่อ ฯ ข้อนี้ ข้าพระพุทธเจ้า ขอความกรุณาขออภัยจากเสด็จพ่อด้วย ขณะนี้ พวกข้าพุทธเจ้ากำลังเผชิญภัยอยู่ในทะเลรุนแรงเหลือเกิน ขอเสด็จพ่อได้โปรดทรงพระกรุณาช่วยให้พายุและสงบลงด้วยพะย่ะค่ะ ”

หัวหน้ากองจัดการเดินรถเขต ๔ ก้มลงกราบไปบนพื้นเรือ พอกล่าวเสด็จประมาณ ๓ - ๔ นาที เท่านั้น ลมก็เบาลง ฝนก็เบาลง จากนั้นก็ค่อย ๆ เบาลง ๆ จนสงบ เรือถูกพัดไปติดฝั่ง และต่อมา มีเรือมาลากจูงไปปากน้ำ

ต่อมา เจ้าพ่อเสด็จในกรมหลวงชุมพร ได้ประทานฤกษ์ วัน เวลา ที่จะนำเรือเครื่อง ก่อสร้าง และเรือครัว และเจ้าหน้าที่คนงานไปติดตั้ง พระตำหนักศาล เป็นวันที่ ๓ มิถุนายน ๒๕๐๒ เวลา ๑๖๐๐ โดยให้ข่าวผ่านเข้าประทับทรงของท่านคือ นายเสือ เป็นบุตรชายของคหบดี เจ้าของโป๊ะที่ปากน้ำชุมพร มีหลักฐานดี เป็นม้าประทับทรงประจำของเสด็จในกรม ฯ บรรดาศิษยานุศิษย์ของเสด็จในกรมฯ ให้ความเชื่อถือมาก และที่แปลก คือ เวลานายเสือมา ในบริเวณพิธีมณฑล โดยเสด็จในกรมฯ ประทับมา จะต้องเดินขึ้นมาจากชายทะเลไม่รู้มาโดยเรือลำใด ทุกครั้ง การนำเรือเครื่องก่อสร้าง ฯ และเรือครัวได้ไปถึงหาดทรายลีเรียบร้อยตลอด นายช่างสันต์ กู้เกียรติสันท์ ภรรยา พร้อมกับ นายสมาน จันทร์เจริญสุข หัวหน้ากองจัดการเดินรถเขต ๔ ชุมพร ได้จัดเครื่องบัตรพลี และภัตตาหารหวานครบชุด ตามที่ อาจารย์อาคม จันทร์เจริญ กำหนด รวมทั้ง จัดอาหารกลางวัน และเย็นสำหรับเจ้าหน้าที่ ช่างฝีมือ คนงาน ไปพร้อมสรรพ เมื่อขนของลงแล้ว เรือทุกลำก็ขอตัวกลับไปทำงานที่ปากน้ำ และตอนเย็นจะกลับมารับ ต่อไปนี้ เป็นบันทึกของอาจารย์อาคม จันทร์เจริญ เป็น เกจิอาจารย์ด้านพราหมณ์พิธี และไสยศาสตร์ โหราศาสตร์ เป็นประธานในพิธี ฯ วันนี้ ได้เล่าบันทึกของท่าน ( ๙ พฤษภาคม ๒๕๒๘ ) ว่า

“ หัวหน้ากองจัดการเดินรถเขต ๔ เมื่อขึ้นไปที่หาดทรายลี ไม่มีโต๊ะ อาจารย์อาคม จึงเอาเสื่อปูกลางบริเวณใต้ต้นหูกวาง ให้พ้นบริเวณก่อสร้าง และจัดตั้งเครื่องบัตรพลี ฯ และภัตตาหารคาวหวาน กระถางธูป และเชิงเทียน จึงได้จุดธูปเทียน นมัสการพระรัตนตรัย ชุมนุมเทวดา บรรดาครูอาจารย์ ร่ายพระเวทย์ ฯ และออกชื่อทูลอัญเชิญดวงพระวิญญาณ นายพลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ได้โปรดเสด็จในพิธี และรับเครื่องบวงสรวง ขณะนั้น ทั้ง ๆ ก็ยังเช้าอยู่ ได้มีเมฆเกิดขึ้นทางทิศตะวันตกไม่มากนัก แต่มหัศจรรย ์เกิดลมพัดแรง ทั้งลมทั้งฝนกระหน่ำลงมากิ่งหูกวางกิ่งใหญ่หักลงมาทั้งกิ่ง ตกลงตรงบริเวณตั้งเครื่องบัตรพลีบวงสรวงสังเวยและแปลกมาก มีทั้งฝนตก ทั้งลมพัด แต่เหตุไฉนเทียนไม่ดับ ”

อาจารย์บันทึกว่า “ ผมพิจารณาดูว่า กิ่งหูกวางที่หักลงมา ใบมันหนาทึบ หักลงมากั้นลม ทำให้เทียนไม่ดับ น่าอัศจรรย์ที่กิ่งหูกวางกั้นลมพอดี ผมเข้าใจว่า เจ้าพ่อคงบันดาลให้กิ่งไม้มากั้นลมกระมัง ”

พอบูชาฤกษ์เสร็จ ทั้งฝน และลมก็แจ้ง ช้างไม้ก็รีบยกเสาทุกต้น และเริ่มติดเครื่องบน ความจริงช่างไม้ ช่างฝีมือรถไฟไทยทุกคน ได้ทำกับมือตนเองสำเร็จรูปมา เพียงได้นำชิ้นส่วนต่าง ๆ มาประกอบเท่านั้น ทำงานกันจริง ๆ เพียง ๓ - ๔ ชั่วโมงเท่านั้นก็จะเสด็จ ขณะที่ประกอบการติดตั้งอยู่นั้น ค่อนไปทางเวลาเย็น นายเสือม้า ประทับทรงของเสด็จในกรมฯ ก็เดินขึ้นมาจากฝั่งทะเล และไม่ทราบว่าเสด็จมาจากเรือลำไหน และลักษณะที่เดินขึ้นมาก็แสดงว่า เสด็จในกรมฯ ท่านมาประทับม้าแล้ว ซึ่งพวกเรา บรรดาศิษยานุศิษย์คุ้นเคยกับพระอากัปกิริยา จึงได้เข้าเฝ้าเสด็จในกรม ฯ รับสั่งว่า

" วันนี้ทำให้เรา ไม่เสร็จหรอก พรุ่งนี้อีกวันหนึ่งจึงจะเสด็จ ”

นายสมาน จันทร์เจริญสุข จึงทูลว่า

" ก็งานจะเสด็จ พะย่ะค่ะ จะได้รีบดำเนินการเสียให้เสร็จในวันนี้ แม้จะค่ำไปบ้างก็ตาม ช่างเถอะพะย่ะค่ะ ”

ต่อไปนี้บันทึกเทปคาสเซ็ทของ นายสมาน จันทร์เจริญสุข ( ๙ พฤศจิกายน ๒๕๒๐ ) มีความดั่งนี้

“ มีช่างไม้ไปไม่กี่คน ประมาณสัก ๓ - ๔ คน ตัวไม้ไม่หนัก เป็นชิ้น ๆ ไม่ใหญ่นักช่าง ก็ได้ประกอบไปเรื่อย ๆ การประกอบของช่างนี้ ทั้ง ๆ ที่เราได้ทำเครื่องหมายไว้แล้ว แต่รู้สึกการประกอบ ทำไมใส่ผิดถูกกันเรื่อย ทั้ง ๆ ที่ตัวเลขมันบอก ถอด ๆ ใส่ใหม่ ผิดใส่ใหม่ สลับกันอยู่อย่างนี้เรื่อย ก็ทำให้เวลาเราเสียไปมาก จนกระทั้ง เย็นลง ทำท่าทางไม่เสร็จแล้ว ผมก็ร้อนใจ ตะเกียงก็ไม่มี น้ำมันก็ไม่มี ก็มานั่งคิดพิจารณาดู ก็เลยให้เพื่อนของเราไปหาตะเกียงเจ้าพายุ ไปขอยืมเขาที่ข้าง ๆ พระตำหนัก ก็ได้ตะเกียงมา น้ำมันไม่มีอีก น้ำมันไม่มี ไปซื้อที่นั่นก็ไม่มี ก็ตัดสินใจหาเรือไปปากน้ำชุมพร ไปซื้อน้ำมันมาทั้ง ๆ ที่เสด็จเจ้าพ่อ ฯ รับสั่งว่า ไม่เสร็จวันนี้ ผมก็ไม่นึก ก็นึกว่าเหลือนิดเดียวเสร็จแน่ ผลที่สุด เตรียมหาเรือจะไปซื้อน้ำมัน ฝนก็เทลงมาใหญ่เลย ลมไม่มี มีแต่ฝนตกอย่างเดียว ผมก็รอฝนตกก็ยังไม่หาย ถ้าไม่สำเร็จแล้วน้ำมันไม่มี หากจะไปปากน้ำชุมพรเกือบเลยสามทุ่มเข้าไปแล้ว ไปใช้เวลา ๔๕ นาที เข้าไปชั่วโมงครึ่งแล้ว ก็เลยตัดสินใจว่าอย่ากระนั้นเลย เราต้องระงับกันแล้ว พรุ่งนี้มาต่อใหม่ อย่างที่เสด็จท่านรับสั่งเอาไว้ ”
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42796
Location: NECTEC

PostPosted: 27/02/2007 7:17 pm    Post subject: Reply with quote

ประวัติตำหนักศาลเสด็จในกรมหลวงชุมพรอุดมศักดิ์ อาคารไม้หลังแรก ณ หาดทรายรี จังหวัดชุมพร
โดย พันเอก แสง จุละจาริตต์
คัดจาก นาวิกศาสตร์ ปีที่ ๘๑ เล่มที่ ๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๑

( หน้าที่ ๕ )


บันทึกของ อาจารย์ อาคม จันทร์เจริญ ( ๙ พฤษภาคม ๒๕๑๘ ) ในเหตุการณ์ต่อเนื่อง มีดังต่อไปนี้

“ เราต้องนั่งบ้าง ยืนบ้าง ๗ - ๘ คน รออยู่จนดึก ๒๒๐๐ กว่าแล้ว ผมยกมือ ไหว้ขอพรขอให้เรือใด ๆ มาช่วยด้วยเถิด เพราะหนาวก็หนาว ทั้งหิวก็หิว เพราะตอนนั้นอาหารไม่มีแล้ว เมื่อกราบขอความช่วยเหลือ พวกเรามานั่งกันที่หาดทราย รอเรือที่จะรับมันก็ไม่มา ( ตอนนั้นทางรถยนต์ยังไม่มี ) ”

ขณะนั้นมีแสงไฟริบหรี่อยู่กลางทะเล พวกเราจึงเอาไฟฉายส่องไปเปิด ๆ ปิด ๆ ไม่กี่นาที่ เรือลำนั้นเป็นเรือหาปลามาถึง ถามว่าอยู่กันทำไม เราตอบกันว่ามายกศาล เรือที่มารับไม่มา ไม่ทราบว่าจะเป็นอย่างไร

คนเรือลำนั้น รับพวกเรามาส่งที่ปากน้ำชุมพร ได้มาทราบว่า เรือที่จะไปรับพวกเรา เครื่องเสีย ไปรับเราไม่ได้ ทำให้อลเวง ภรรยาผม จ้างรถยนต์มาตามที่ปากน้ำ และจะจ้างเรือออกตาม แต่พอดีเรามาพบกันที่ท่าเรือปากน้ำ

เรื่องนี้ก็น่ามหัศจรรย์ ที่ผมกราบขอร้องว่า ขอให้เรือลำใดลำหนึ่งมารับเถิด ลูกทั้งหลายนี้ ทั้งหนาวทั้งหิว และเรื่องก็สำเร็จกันอย่างน่ามหัศจรรย์

วันรุ่งขึ้น หัวหน้ากองจัดการเดินรถเขต ๔ ชุมพร สารวัตรบำรุงทางชุมพร ช่างฝีมือ และคนงาน ได้ไปดำเนินการการก่อสร้างที่ค้างอยู่ จนเสร็จในวันที่ ๔ มิถุนายน ๒๕๐๒

เสด็จในกรม ฯ ท่านได้ทดลองศิษยานุศิษย์ คณะรถไฟ ซึ่งเป็นศิษย์รุ่นใหม่ได้ตระหนัก ซ้ำยังทรงทรมานเพื่อให้รู้สึกตัว ให้ได้ละทิฐิ / โมหะ และสำรวมตัว ทั้งกาย วาจา ใจ ในการประพฤติและปฏิบัติต่อองค์พระอาจารย์เสด็จในกรม ฯ ตลอดจนสถานที่ประทับของท่านอย่างไร ฯลฯ นับว่าเป็นบทเรียนที่ได้ผลมาก เพราะท่านได้สอนลึกเข้าไปในจิตเหนือสำนึก จิตสำนึก จิตใต้สำนึก คณะรถไฟ ศิษยานุศิษย์รุ่นใหม่ชุดนี้ ได้ถวายความเคารพต่อพระอาจารย์เสด็จในกรมฯ อย่างสูง รับใช้ด้วยความจริงใจ และอุทิศถวายงานด้วยความจงรักภักดี เสียสละ กันทุกคน

มีอยู่หลายครั้งต่อมา ที่เสด็จในกรม ฯ ทรงชมศิษยานุศิษย์คณะรถไฟ ในงานต่าง ๆ ที่จัดถวายแด่ท่าน พิธีอัญเชิญเจ้าพ่อเสด็จในกรมหลวงชุมพร จากพระตำหนักศาลดั้งเดิม ไปประทับพระตำหนักศาลดั้งเดิม ไปประทับพระตำหนักศาลศิษยานุศิษย์ คณะรถไฟชุมพร สร้างถวาย ณ หาดทรายลี

วันอาทิตย์ที่ ๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๐๒ นายสมาน จันทร์เจริญสุข หัวหน้ากองจัดการเดินรถเขตชุมพร เดินทางไปกรุงเทพฯ เข้าพบ พันตรี แสง จุละจาริตต์ และรายงานถึงรายละเอียด เหตุการณ์ในวันที่ ๓ และ ๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๐๒ และแจ้งว่า ได้ทูลขอฤกษ์จากเสด็จในกรม ฯ ผ่านนายเสือม้าประทับทรงของท่าน ถึงวันที่จะทูล อัญเชิญเสด็จจาดพระตำหนักศาลตั้งเดิม ไปประทับที่พระตำหนักศาลศิษยานุศิษย์คณะรถไฟ ชุมพร สร้างถวาย ฯ ท่านได้ประทานเป็นวันอาทิตย์ที่ ๒๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๐๒ เวลา ๑๒๐๐ การที่ได้ทรงเลือกวันอาทิตย์ เพื่อมิให้ศิษยานุศิษย์ คณะรถไฟชุมพร เอาวันและเวลาราชการ ไปใช้งานของท่านเสด็จในกรมฯ ท่านทรงระมัดระวังละเอียดรอบคอบจริง ๆ

วันอาทิตย์ที่ ๒๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๐๒

วันนี้ มีเรือออกไปเป็นจำนวนมาก เฉพาะคณะรถไฟ และครอบครัว ๑๒๐ คน มีชาวประมง และชาวบ้านปากน้ำไปจำนวนมาก เรือเล็ก เรือใหญ่จอดเต็มไปหมดหน้าหาดทรายลี แม้น้ำทะเลเป็นน้ำลง และเรือเข้าชิดหาดทรายไม่ได้ ทุกคนก็ยินดีลุยน้ำขึ้นฝั่งกัน

คณะรถไฟ ผู้ชายแต่งเครื่องแบบ ครอบครัวก็แต่งตัว และสำรวมกิริยาวาจา เราไปถึงค่อนข้างสาย แต่ละคนแยกย้ายไปปฏิบัติหน้าที่ทันที พวกตกแต่งพระตำหนักใหม่ ติดม่าน ติดธง พวกจัดโต๊ะพระกระยาหาร และเก้าอี้ที่ประทับหน้าตำหนักศาลดั้งเดิม เพื่อจัดโต๊ะกระยา หาร คาวหวาน ให้เสร็จก่อน ๑๑๐๐ ตัวผู้อำนวยการฝ่ายการเดินรถ นำเจ้าหน้าที่มาชี้แจงริ้วขบวนทูลอัญเชิญเสด็จ เส้นทางเสด็จ ทดสอบเสียงโห่นำของต้นเสียง คือ นายเชาว์ ศรีสุวรรณ กำหนดใครถือกระถางธูป ถือเชิงเทียน เดินตรงไหน แถวศิษยานุศิษย์ยืนเฝ้า นั่งเฝ้าอย่างไร บนเส้นทางทักษิณาวรรต พระตำหนักศาลใหม่ และคอยพนมมือ และกราบอย่างไร ตลอดจนโห่ – ฮิ้ว รับกับต้นเสียงอย่างไร ใครบ้างช่วยอุ้มช้างไม้บริเวณของท่านเสด็จในกรม ฯ เดินตามในขบวน และนำประดิษฐานบนศาลใหม่ ฯลฯ พวกแม่ครัวคณะรถไฟ ก็แยกย้ายกัน จัดสถานที่เลี้ยงเป็นอาหารหลายอย่าง จัดเป็นหาบ ๆ กระจายไปอยู่ในร่มของสุมทุมพุ่มไม้ รอบบริเวณ ก่อนที่จะออกเรือจากปากน้ำ

พันตรี แสง จุละจาริตต์ ผู้อำนวยการฝ่ายการเดินรถ ได้ถามมหานายเสือ ม้าประทับทรงของเสด็จในกรม ฯ แต่ไม่พบตัว ผู้อำนวยการฝ่ายการเดินรถ จึงถามนาย สมาน จันทร์เจริญสุข หัวหน้ากองการเดินรถชุมพร ว่าจะต้องรอคนทรงไหน นายสมาน จันทร์เจริญสุข เรียนยืนยันว่า ในการเข้าทรงครั้งสุดท้ายเสด็จในกรม ฯ ตรัสว่า

“ การเตรียมการเสร็จเมื่อใด และท่านเสวยกระยาหารเสร็จแล้ว เวลา ๑๒๐๐ ก็ให้ทูลอัญเชิญขึ้นประทับได้ทันที ”

พันตรี แสง จุละจาริตต์ เข้าใจและจัดเตรียมการ ต่าง ๆ ในแนวนั้นต่อไป เวลา ๑๑๓๕ ผู้อำนวยการฝ่ายการเดินรถ ได้ประกาศให้ศิษยานุศิษย์ คณะรถไฟชุมพร ได้มาพร้อมหน้าพระตำหนักเดิม และผู้อำนวยการฝ่ายการเดินรถ ได้จุดธูปเทียนสักการะ พระอาจารย์ ฯ เสด็จในกรม ฯ ชวนศิษยานุศิษย์ คณะรถไฟชุมพรกราบพร้อมกันและถวาย รายงานว่า

“ บรรดาศิษยานุศิษย์ คณะรถไฟของพระอาจารย์ ได้มาพร้อมกันวันนี้ตามฤกษ์ ที่พระอาจารย์ประทานให้แล้ว และพร้อมกันขอทูลอัญเชิญพระอาจารย์ได้เสวยพระกระยาหาร ที่หัวหน้ากองจัดการเดินรถ ศิษยานุศิษย์ และครอบครัวจัดถวาย ณ บัดนี้ ระหว่างเสวยพระกระยาหาร ข้าพระพุทธเจ้า และนายสมาน จันทร์เจริญ หัวหน้ากองจัดการเดินรถเขต ๔ และนายพิตร เลิศล้ำ สารวัตรรถจักรชุมพร จะอยู่ปรนนิบัติตลอด และเวลา ๑๒๐๐ จะเป็นเวลาฤกษ์ และขอทูลอัญเชิญพระอาจารย์ เสด็จจากพระตำหนักดั้งเดิม ขึ้นประทับพระตำหนักคณะรถไฟชุมพร สร้างถวายใหม่ ”

เสร็จแล้ว ได้กราบลงที่พื้นดินทุกคน ผู้อำนวยการฝ่ายการเดินรถ หัวหน้ากองจัดการเดินรถ เขต ๔ ชุมพร สารวัตรจักรชุมพร ลุกขึ้นไปที่โต๊ะเสวย ผู้อำนวยการฝ่ายเดินรถหัวหน้ากอง จัดการเดินรถเขต ๔ ชุมพร เข้ายืน ๒ ข้างเก้าอี้ที่ประทับ ยกลอยขึ้นพร้อมกันจากพื้นดินเล็กน้อย ค่อย ๆ วางลง และเชิญประทับ ผู้อำนวยการฝ่ายเดินรถ ยกจาน และช้อนส้อมสูงขึ้น จากพื้นโต๊ะ และค่อย ๆ วางลง และอัญเชิญเสวย หัวหน้ากองจัดการเดินรถเขต ๔ ชุมพร ยกจานชามภัตตาหารคาวหวานถวายต่อไปตามลำดับ และผลัดกันอยู่เฝ้าปรนนิบัติ

ผู้อำนวยการฝ่ายเดินรถ ได้บอกศิษยานุศิษย์คณะรถไฟชุมพร และบรรดาชาวประมง ชาวตลาด ชาวบ้านที่อยู่ในบริเวณพิธีมณฑล ให้ถอนตัวรีบไปรับประทานอาหารได้แล้ว แม้บ้าน และครอบครัวคณะรถไฟ ได้เตรียมอาหารคาว หวาน มามากมาย กระจัดกระจายกันอยู่ตามสุมทุมพุ่มไม้ รีบรับประทานให้อิ่มหม่พีมัน เวลาก่อนเที่ยง ทุกคนจะต้องมาอยู่ในบริเวณพิธีมณฑล เพราะ ๑๒๐๐ ผู้อำนวยการฝ่ายเดินรถ จะทูลอัญเชิญพระอาจารย์ ฯ เสด็จขึ้นประทับ พระตำหนักศาลใหม่ ต่างคนแยกย้ายกันไปตามถนัด อาหารที่หมดก่อนรายการอื่น คือ ขนมจีนน้ำพริก และขนมจีนน้ำยา พอใกล้เวลา ทุกประมาณ ๒๐๐ - ๓๐๐ คน มาชุมนุมกันรอบพระตำหนักศาล พอใกล้เวลา ๑๒๐๐ ก็ลงนั่งล้อมเป็นวงกลมขนาดใหญ่รอบพระตำหนัก ศาลดั้งเดิมต้นหูกวาง และพระตำหนัก ศาลใหม่ ผู้อำนวยการฝ่ายเดินรถ จัดซักซ้อม นายเชาว์ ศรีสุวรรณ คนต้นเสียงโห่ - ฮิ้ว ว่า เมื่อเสด็จในกรม ฯ เริ่มเสด็จออกจากศาลดั่งเดิม ให้นำโห ่เป็นระยะ ๆ เรื่อยไป จนกว่าจะเสด็จขึ้นประทับบนพระตำหนักศาลใหม่ ได้ซักซ้อมคนถือเชิงเทียน อุ้มกระถางธูปเดิน นำหน้าช้า ๆ อย่างไร ผู้อำนวยการฝ่ายการเดินรถ จะเดินคลอไปทางซ้ายพระอาจารย์อย่างไร บรรดาศิษยานุศิษย์อุ้มบริวารช้างไม้ของท่าน ๑๐ เชือกเศษ เดินเรียงหนึ่ง ระยะต่ออย่างไร และเมื่อนำขึ้นพระตำหนักศาลใหม่ไปวางเรียงประดับอย่างไร ฯลฯ
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42796
Location: NECTEC

PostPosted: 17/06/2007 11:59 pm    Post subject: Reply with quote

ภาพชุดในหลวงเสด็จภาคเหนือ ปี 2501 จาก สวทช.


Click on the image for full size
ในหลวงกับพลเอก ถนอม กิตติขจร (นายกรัฐมนตรี) ที่สถานีจิตรลดา

Click on the image for full size
สมเด็จพระบรมราชินีนารถ ที่สถานีจิตรลดา


Click on the image for full size
วันพฤหัสบดี ที่ 27 กุมภาพันธ์ 2501 เวลา 06.45 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินโดยขบวนรถไฟพระที่นั่งจากสถานีจิตรลดา จังหวัดพระนคร ในการนี้ มีพระบรมวงศานุวงศ์ และข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ไปเฝ้าฯ ส่งเสด็จฯ เป็นอันมาก

Click on the image for full size
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงประทับบนรถไฟพระที่นั่ง เริ่มเสด็จ...

Click on the image for full size
เสด็จพระราชดำเนินถึงสถานี อยุธยา เมื่อเวลา 08.13 น. นายสุทัศน์ สิริสวย ผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยาเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท

Click on the image for full size
นายสันต์ เอกมหาชัย ผู้ว่าราชการจังหวัดลพบุรี เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท
Click on the image for full size
สถานีพิษณุโลก 27 กุมภาพันธ์ 2501

Click on the image for full size
สถานีอุตรดิตถ์ มีนาคม 2501
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42796
Location: NECTEC

PostPosted: 22/06/2007 4:44 pm    Post subject: Reply with quote

15 สิงหาคม 2500 ประธานาธิบดีโงดินห์เดียม แห่งสาธารณรัฐเวียตนาม (เวียตนามใต้) มาเยือนเมืองไทย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระกรุณาโปรดเกล้าให้พลตรี พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุมภฎพงศบริพัตร กรมหมื่นนครสวรรค์ศักดิ์พินิต เป็นผู้แทนพระองค์ ไปรับ ประธานาธิบดีโงดินห์เดียม ขึ้นรถไฟที่สถานีดอนเมือง

Click on the image for full sizeClick on the image for full size

เมื่อรถไฟมาถึงสถานีจิตรลดา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินไปตอนรับ พระราชวงศ์ชั้นผู้ใหญ่ องคมนตรี นายกรัฐมนตรี ประธานสภาผู้แทนราษฎร คณะรัฐมนตรี เสนาธิการกลาโหม นายกเทศมนตรีเทศบาลนครกรุงเทพ ทหารตั้งบแถวกองเกียรติยศ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ประทับรถยนต์พระที่นั่ง ร่วมกับ ประธานาธิบดี เสด็จไปยังวังสวนกุหลาบที่ทางรัฐบาลไทยจัดให้เป็นที่รับรอง

เมื่อถึงวังสวนกุหลาบ ประธานาธิบดี ได้นำข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ฝ่ายเวียตนามเข้าเฝ้า ครั้งแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินกลับ

27 สิงหาคม 2500 ประธานาธิบดีโงดินห์เดียม กราบบังคมทูลลาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ก่อนขึ้นรถยนต์เพื่อเดินทางไปยังสนามบินดอนเมือง
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สาระความรู้วิชาการรถไฟและประวัติศาสตร์รถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3, 4, 5, 6 ... 12, 13, 14  Next
Page 5 of 14

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©