RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311296
ทั่วไป:13272771
ทั้งหมด:13584067
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟแดนภารตะ และ อนุทวีป
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟแดนภารตะ และ อนุทวีป
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 52, 53, 54 ... 59, 60, 61  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> เกี่ยวกับรถไฟต่างประเทศ
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42746
Location: NECTEC

PostPosted: 24/01/2023 11:34 am    Post subject: Reply with quote


🔰 รถด่วนราชธานีรุ่นเก่าโดนแปรสภาพเป็น รถด่วนชั้นสามติดแอร์สำหรับคนจน 🔥 สาย PATNA - KOTA Express😍😍 ช่วง Patna - DDU ที่สถานี Jaynagar 💚
https://www.youtube.com/watch?v=KKqqqMAdDZQ
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42746
Location: NECTEC

PostPosted: 02/02/2023 12:16 pm    Post subject: Reply with quote


✅ Content :- South Eastern Railways :: Nagercoil Shalimar Express + East Coast express + Baghajatin Express + Bhubaneswar Jan Shatabdi Express🔥🤩🤩
📛 Video :- https://youtu.be/yQRzc6RaP0w
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44634
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 03/02/2023 10:02 am    Post subject: Reply with quote

Srilanka Railway North Line Track Making works 🛤 #rail_story #Rail #train_services
Rail Story ரயில் புதினம்
Jan 22, 2023


https://www.youtube.com/watch?v=wVb5vr6G9D4
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42746
Location: NECTEC

PostPosted: 06/02/2023 2:12 pm    Post subject: Reply with quote

"เหนือจรดใต้ เปิดโลกทัศน์ด้วยรถไฟอินเดีย"
เขียนโดย ณัฐ วัชรคิรินทร์
ภารัต-สยาม / Bharat-Siam
วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 14:26 น.

ขณะนี้กระแสหนึ่งที่เริ่มกลับมาครึกครื้นอีกครั้ง ก็คือกระแสการท่องเที่ยว หลังจากที่ธุรกิจท่องเที่ยวซบเซาไปเป็นระยะเวลานานพอสมควรจากการระบาดของโควิด – 19 ก็เริ่มมีสัญญาณที่ดีขึ้นเรื่อย ๆ คนส่วนใหญ่เรียนรู้ที่จะใช้ชีวิตอยู่กับโรคระบาดนี้และสิ่งต่าง ๆ เริ่มเข้าสู่ภาวะปกติ หลายคนเริ่มโหยหาสิ่งที่ขาดไปในช่วงเวลาดังกล่าวนี้ คือการไปท่องเที่ยวต่างประเทศนั่นเอง ในจำนวนนี้ ก็มีผู้ที่ประสงค์จะไปเยี่ยมเยือนอินเดีย ทว่าหลายคนที่ต้องการไปท่องเที่ยวอินเดียอาจจะมีคำถามในใจว่า หากต้องการจะเดินทางด้วยรถไฟไปตามเมืองต่าง ๆ ของอินเดีย จะได้รับความสะดวกสบายหรือไม่ หรือว่าเป็นไปตามภาพเก่า ๆ ที่เคยรับรู้กันว่ารถไฟอินเดียต้องแน่นขนัดไปด้วยผู้โดยสารที่ล้นออกมาตามหน้าต่างและลามขึ้นไปบนหลังคา ดังที่ปรากฏบนสื่อออนไลน์บ่อย ๆ ซึ่งทำให้ภาพพจน์ของรถไฟอินเดียดูจะไม่ปลอดภัยนัก ดังนั้นในวันนี้เราจะมาไขข้อข้องใจข้อนี้และเล่าเรื่องของรถไฟอินเดียให้ฟังโดยสังเขป
ก่อนอื่นต้องขอกล่าวว่า เรื่องของรถไฟกับอินเดียนั้น ดูจะแยกกันไม่ขาด เพราะรถไฟเป็นวิธีการคมนาคมที่มีบทบาทมากที่สุดในอินเดียโดยไม่ต้องสงสัย ทั้งด้วยประวัติศาสตร์ที่อยู่คู่อินเดียมายาวนานตั้งแต่ยุคจักรวรรดิ ทั้งเส้นทางอันครอบคลุม เข้าถึงเมืองและสถานที่ต่าง ๆ มากมายตั้งแต่เหนือจรดใต้ ทั้งค่าโดยสารที่เอื้ออำนวยให้คนทุกชนชั้นสามารถเข้าถึงได้ง่าย รวมไปถึงการที่รถไฟปรากฏอยู่ตามสื่อต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาพยนตร์อินเดียซึ่งจำนวนมากจะต้องมีการโดยสารรถไฟในเรื่อง ถึงแก่มีบางคนตั้งคำถามว่า ภาพยนตร์อินเดีย (ที่มีเนื้อเรื่องสมัยใหม่) มีเรื่องใดบ้างหรือเปล่าที่ไม่มีรถไฟเลย ซึ่งเมื่อมาลองคิดดูแล้วก็หายากจริง ๆ ที่จะไม่มีรถไฟปรากฏในเรื่อง บางเรื่องถึงกับดำเนินเนื้อเรื่องบนขบวนรถไฟทั้งเรื่องเลยก็ว่าได้ นั่นเป็นข้อหนึ่งที่แสดงให้เห็นว่าวิถีชีวิตคนอินเดียผูกพันกับรถไฟอย่างมาก และรถไฟมีบทบาทมากในการพาชาวอินเดียจำนวนพันกว่าล้านเดินทางไปทั่วประเทศอันกว้างใหญ่
สำหรับประวัติรถไฟอินเดียโดยสังเขปมีดังต่อไปนี้
รถไฟอินเดียเกิดเป็นครั้งแรกในสมัยบริติชราช ช่วงปลายทศวรรษ 1830 และทศวรรษ 1840 ในแถบเมืองมัทราส (Madras) ซึ่งปัจจุบันใช้ชื่อว่า เจนไน (Chennai)โดยชาวอังกฤษที่เข้ามาปกครองอินเดียในสมัยนั้นเป็นผู้สร้างทางรถไฟขึ้น แรกเริ่มเดิมทีจุดประสงค์หลักในการใช้งานคือ สำหรับขนส่งสินค้าจำพวกหินแกรนิตและวัตถุดิบการก่อสร้างโดยเฉพาะ หาได้ใช้ขนผู้โดยสารแต่อย่างใดไม่ ส่วนรถไฟโดยสารนั้นถือกำเนิดขึ้นอีกราว 20 ปีต่อมา คือในช่วงทศวรรษ 1850 ซึ่งหากนับถึงปัจจุบันก็มีอายุร่วม 170 ปีแล้ว เกี่ยวกับเรื่องนี้ เราได้ทราบจากบันทึกว่า เมื่อวันที่ 16 เมษายน ค.ศ. 1853 เวลา 15:53 น. รถไฟโดยสารขบวนแรกในอินเดียได้ออกเดินทางจากโบรีบันเดอร์ ชายฝั่งบอมเบย์ (Bombay) ซึ่งปัจจุบันเรียกว่า มุมไบ (Mumbai) ไปยังเมืองทันนา (Thanna) หรือที่ปัจจุบันเรียก ฐาเณ (Thane) รวมระยะทาง 21 ไมล์หรือประมาณ 33.8 กิโลเมตร รถไฟขบวนดังกล่าวมี 14 ตู้ และผู้โดยสารที่เดินทางไปกับขบวนแรกนี้มีประมาณ 400 คน ใช้เวลาเดินทาง 57 นาทีจึงถึงปลายทาง ซึ่งแม้ว่านับตามมาตรฐานปัจจุบันจะถือว่าช้ามาก แต่ก็เรียกได้ว่าสะดวกที่สุดแล้วสำหรับการเดินทางในยุคนั้น
รถไฟขบวนแรกของอินเดียที่ว่านี้ ดำเนินการโดยบริษัทชื่อ Great Indian Peninsula Railway (GIPR) ซึ่งก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1849 โดยผ่านพระราชบัญญัติจากสภาอังกฤษ ด้วยทุนเรือนหุ้นมูลค่า 50,000 ปอนด์ และได้เข้าทำสัญญาอย่างเป็นทางการกับบริษัทอินเดียตะวันออก (East India Company) เพื่อดูแลการก่อสร้างทางรถไฟเชื่อมต่อบอมเบย์กับเมืองสำคัญอื่น ๆ ของอินเดียในเวลานั้น ช่วงแรกมีรถไฟในอินเดีย บริษัท GIPR ได้ขยายเส้นทางรถไฟออกไปรอบ ๆ เมืองบอมเบย์ตามลำดับ โดยที่เมืองในสมัยนั้นมักจะมีชื่อเรียกตามสำเนียงของคนอังกฤษที่เข้ามาปกครอง เส้นทางจากทันนาไปกัลเลียน (เป็นการออกเสียงแบบอังกฤษ ส่วนอินเดียเรียกกัลยาณ) เปิดในวันที่ 1 พฤษภาคม ค.ศ. 1854 ครั้นถึงวันที่ 12 พฤษภาคม ค.ศ. 1856 ก็เปิดส่วนต่อขยายผ่านเมืองปาดัสเดอร์รี (ปาลัสธารี) ไปถึงคัมพูลี (โขโปลี) และอีกราวสองปีต่อมา คือ 14 มิถุนายน ค.ศ. 1858 ก็เปิดเส้นทางคันดาลา-ปูนา (ปูเณ) บริษัทดังกล่าวยังดูแลเส้นทางเชื่อมต่อไปยังมัทราสและกัลกัตตา (โกลกาตา) อีกด้วย ในปี ค.ศ. 1854 รถไฟโดยสารขบวนแรกของอินเดียตะวันออกได้เปิดเส้นทางจากเมืองฮาวราไปสู่เมืองฮูกลีเป็นระยะทาง 24 ไมล์หรือประมาณ 39 กิโลเมตร และในปี ค.ศ. 1856 ก็เกิดรถไฟขบวนสายใต้ที่มีระยะทางรวม 60 ไมล์หรือ 97 กิโลเมตร
ในปี ค.ศ. 1864 เกิดพัฒนาการครั้งสำคัญ คือภาคเหนือของอินเดียมีชุมทางรถไฟแห่งแรก ชื่อว่า “ชุมทางเดลี” (The Delhi Junction) ซึ่งเป็นสถานีเก่าแก่ที่สุดในเมืองและยังคงดำเนินการมาจนถึงปัจจุบัน สถานีแห่งนี้ก่อตั้งขึ้นในย่านจานท์นีจอก (Chandni Chawk) เพื่อรองรับขบวนรถไฟที่เดินทางจากเมืองฮาวราในเบงกอลตะวันตก อาคารหลังปัจจุบันของชุมทางเดลีก่อสร้างขึ้นตั้งแต่ปี ค.ศ. 1903 มีจุดเด่นคือลักษณะสถาปัตยกรรมที่คล้ายคลึงกับป้อมแดง (Red Fort) ที่อยู่ไม่ห่างกันมากนัก
สมควรกล่าวด้วยว่า ในยุคต้นของรถไฟอินเดีย มีเหตุการณ์สำคัญครั้งหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับประเทศไทยหรือสยามในเวลานั้นด้วย กล่าวคือ การเสด็จประพาสอินเดียของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ในปี ค.ศ. 1872 พร้อมด้วยพระบรมวงศานุวงศ์และคณะผู้ติดตามอีกจำนวนหนึ่ง ในสมัยนั้นเส้นทางรถไฟขยายออกไปมากพอสมควรแล้ว สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงจึงได้ทรงอาศัยรถไฟอินเดียเสด็จพระราชดำเนินไปยังเมืองต่าง ๆ อยู่หลายเที่ยว แต่ละครั้งใช้เวลาประทับอยู่ในรถไฟอย่างยาวนาน เช่นในเที่ยวแรกที่เสด็จจากกัลกัตตาไปเดลี พระองค์ประทับในรถไฟถึง 1 วัน 1 คืนเต็ม ๆ นอกจากนี้ยังประทับรถไฟอีกในการเสด็จจากเดลีไปอาครา จากอาคราไปกอนโปร์ และต่อไปยังลัคเนาว์ จากนั้นจากลัคเนาว์ไปบอมเบย์ ซึ่งครั้งหลังสุดนี้เป็นการเดินทางที่น่าตื่นตาตื่นใจสำหรับคณะผู้ตามเสด็จอย่างยิ่ง เพราะขบวนรถไฟพระที่นั่งลอดผ่านอุโมงค์ถึง 14 ครั้งในเวลาเพียง 15 นาที สำหรับความเกี่ยวเนื่องกับประเทศไทยนั้น รองศาสตราจารย์สาวิตรี เจริญพงศ์ ได้วิเคราะห์เอาไว้ในผลงานเล่มล่าสุดที่จัดพิมพ์กับศูนย์อินเดียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คือเรื่อง "ยุวกษัตริย์พระปิยมหาราชประพาสอินเดีย" ว่า ในการประพาสอินเดียครั้งนั้น รัชกาลที่ 5 ต้องพระราชอัธยาศัยการเสด็จด้วยรถไฟมาก เพราะเป็นการเดินทางอันสะดวกรวดเร็วเมื่อเทียบกับวิธีอื่นในยุคสมัยนั้น เป็นไปได้ว่ากระตุ้นให้เกิดพระราชดำริจะจัดตั้งทางรถไฟในสยามประเทศ และทรงกระทำตามพระราชดำริดังกล่าวได้สำเร็จในอีกเกือบ 20 ปีต่อมา โดยมีขบวนกรุงเทพฯ – ปากน้ำเป็นขบวนปฐมฤกษ์ มีระยะทางประมาณ 21 กิโลเมตร ที่เชื่อได้ว่าพระองค์ได้แบบอย่างมาจากอินเดียก็เพราะรถไฟไทยเกิดขึ้นก่อนที่จะประพาสยุโรปครั้งแรก และใช้เวลาสำรวจและก่อสร้างอยู่เกือบสิบปี ดังนั้นคงไม่ผิดถ้าจะกล่าวว่านี่เป็นคุณูปการข้อหนึ่งของอินเดียที่มีต่อสังคมไทยในช่วงเปลี่ยนผ่านสู่ความทันสมัย
เดิมทีทางรถไฟอินเดียสายต่าง ๆ เป็นของบรรดาบริษัทเอกชน มีผู้ประกอบการมากมาย ต่อมาในช่วงทศวรรษ 1950 เป็นต้นมา รัฐบาลได้จัดระเบียบกิจการรถไฟต่าง ๆ โดยเข้าถือหุ้นในบริษัทต่าง ๆ เหล่านั้นและเข้าไปบริหารจัดการ หน่วยงานที่รับผิดชอบดูแลทางรถไฟทั่วอินเดียในปัจจุบันเรียกว่า Indian Railways (IR) ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐบาลอินเดีย ใต้การกำกับดูแลของกระทรวงการรถไฟ (Ministry of Railways)
ปัจจุบันเส้นทางรถไฟของอินเดียมีความยาวรวมทั้งหมดถึงกว่าหนึ่งแสนสองหมื่นกิโลเมตร ครอบคลุมทุกภูมิภาคทั่วประเทศ มีจำนวนสถานี 7,325 แห่ง สะพาน 150,390 แห่ง สถานีที่สูงจากระดับน้ำทะเลที่สุดคือสถานีฆุม (Ghum) บนเส้นทางดาร์จีลิงหิมาลัย ที่ระดับความสูงถึง 2,257 เมตร รถไฟอินเดียจัดเป็นเครือข่ายทางรถไฟที่ใหญ่เป็นอันดับสี่ของโลก ถัดจากสหรัฐอเมริกา รัสเซีย และจีน ตามลำดับ และยังนับเป็นหนึ่งในเครือข่ายที่มีผู้ใช้งานมากที่สุดในโลก จากการเก็บสถิติครั้งล่าสุดเมื่อปี ค.ศ. 2020 ประมาณการว่ามีผู้ใช้งานรถไฟอินเดียกว่า 8 พันล้านคนต่อปีหรือเฉลี่ยประมาณ 22 ล้านคนเศษต่อวัน และขนส่งสินค้ามากกว่า 1,200 ล้านตันต่อปี ไม่เพียงแต่การเดินทางในอินเดียเท่านั้น รถไฟอินเดียยังมีเส้นทางเชื่อมต่อกับประเทศเพื่อนบ้านดังต่อไปนี้คือ บังกลาเทศ ภูฏาน เมียนมา เนปาล และปากีสถาน ดังนั้นเมื่อท่องเที่ยวเข้าไปในอินเดียแล้ว สามารถเดินทางต่อเข้าไปในประเทศเพื่อนบ้านอีกหลายประเทศได้อย่างง่ายดาย
ที่สำคัญบริการรถไฟอินเดียในปัจจุบันยังมีหลากหลายรูปแบบและชั้นโดยสารอีกด้วย ซึ่งจัดแบ่งตามความด่วนของรถไฟ และระดับบริการก็มีตั้งแต่แบบหรูหราไปจนถึงแบบธรรมดาทั่วไป แน่นอนว่าค่าโดยสารก็จะแตกต่างกันไปตามระดับของบริการ ซึ่งเป็นข้อยืนยันว่า การเดินทางด้วยรถไฟถือเป็นวิธีคมนาคมที่ได้รับความนิยมจากมวลชนอินเดียอย่างแท้จริง
จากที่ศึกษาข้อมูลมีรถไฟอินเดียถึงกว่า 30 ประเภท และในจำนวนดังกล่าวมีรถด่วนเกินกว่า 20 ประเภทแล้ว โดยจะมีชื่อเรียกที่มีคำว่า Express ต่อท้าย รถด่วนที่เร็วที่สุดห้าอันดับแรกในอินเดีย มีดังต่อไปนี้
1. วันเทภารัตเอ็กซ์เปรส (Vande Bharat Express) ความเร็วสูงสุดถึง 180 กิโลเมตรต่อชั่วโมง มีสองเส้นทางคือพาราณสี-เดลี และ เดลี-กัฏฑา (Katra หรืออีกชื่อหนึ่งว่า ไวษโณเทวี ตั้งอยู่แถบมลรัฐแคชเมียร์) นี่เป็นรถไฟด่วนพิเศษขบวนล่าสุดที่นายกโมดีทำพิธีเปิดไปในเดือน ก.พ. ปี 2019
2. คติมานเอ็กซ์เปรส (Gatimaan Express) ที่มีความเร็วสูงสุด 160 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เคยมีชื่อเสียงในฐานะรถด่วนที่เร็วที่สุดในอินเดียก่อนที่จะเกิดวันเทภารัตเอ็กซ์เปรสขึ้นมา คติมานเอ็กซ์เปรสทำให้สามารถเดินทางจากเดลีไปอาครา (Agra) ได้ด้วยระยะเวลาเพียง 100 นาทีเท่านั้น
3. ศตาพทีเอ็กซ์เปรส (Shatabdi Express) เส้นทางเดลี-โภปาล (Bhopal) ซึ่งเป็นเมืองหลวงของมลรัฐมัธยประเทศ ความเร็วสูงสุดประมาณ 150 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
4. ราชธานีเอ็กซ์เปรส (Rajdhani Express) เส้นทางมุมไบ-เดลี มีความเร็วสูงสุด 140 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และเช่นเดียวกัน ศตาพทีเอ็กซเปรสเส้นทางเดลี-กานปูร์ (Kanpur) ก็มีความเร็ว 140 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
5. ราชธานีเอ็กซ์เปรสเส้นทางเดลี-ฮาวรา (Delhi-Howrah) และดูรอนโต้เอ็กซเปรส (Duronto Express) เส้นทางบิกาเนร์-นิวเดลี-ศิยัลดาห์ (Bikaner-New Delhi-Sealdah) สองสายนี้มีความเร็วเท่ากันที่ประมาณ 135 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
ดังนั้นผู้อ่านที่อยากลองนั่งรถไฟอินเดีย ขอให้มั่นใจว่ามีทางเลือกอย่างหลากหลาย ทั้งแบบหรูหราติดเครื่องปรับอากาศ มีอาหารอร่อย ๆ บริการ และใช้เวลาเดินทางรวดเร็วทันใจ ไปจนกระทั่งรถไฟที่แน่นขนัดไปด้วยผู้คนและใช้เวลาเดินทางค่อนข้างนานและจอดหลายสถานี ทั้งนี้ทั้งนั้นก็เป็นไปตามสไตล์การท่องเที่ยวของแต่ละคน อยู่ที่ว่าต้องการความสะดวกสบายหรืออยากจะสัมผัสวิถีคนท้องถิ่น
ข่าวดีโดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับคนไทยสายจาริกแสวงบุญ ก็คือเมื่อไม่นานนี้นายกรัฐมนตรีโมดีได้ริเริ่มรถไฟที่ชื่อว่า Buddhist Circuit Train เพื่อเชื่อมโยงเมืองสำคัญทางพระพุทธศาสนาเข้าไว้ด้วยกัน โดยประดับตกแต่งขบวนรถอย่างสวยงามด้วยภาพโบราณสถานทางพระพุทธศาสนา จัดเป็นรถไฟที่มีจุดประสงค์เฉพาะในการเอื้ออำนวยความสะดวกแก่การจาริกแสวงบุญของชาวพุทธทั่วโลก ซึ่งนับเป็นหนึ่งในความดำริริเริ่มหลายประการของโมดีเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา หากมีโอกาสเราอาจจะขยายความเป็นอีกหนึ่งหัวข้อในอนาคต เพราะมีรายละเอียดค่อนข้างมาก
ส่วนประเด็นที่กล่าวไว้เมื่อต้นบทความเกี่ยวกับภาพพจน์ด้านความปลอดภัย ตามที่หลายท่านอาจเคยเห็นภาพถ่ายเก่า ๆ หรือสื่อภาพยนตร์เก่า ๆ ของอินเดียที่แสดงภาพการโดยสารรถไฟอย่างแน่นขนัด มีผู้โดยสารล้นออกมาตามช่องหน้าต่างและจำนวนมากก็ขึ้นไปนั่งบนหลังคานั้น ขอชี้แจงว่าปัญหาดังกล่าวจัดเป็นปัญหาสำคัญที่เกิดขึ้นจริง ๆ กับรถไฟอินเดียตลอดมา โดยส่วนใหญ่เรื่องนี้จะเกิดในภูมิภาคอินเดียเหนือที่มีประชากรหนาแน่นมาก (เช่นในมลรัฐพิหารหรืออุตตรประเทศ) ผู้โดยสารที่ไม่ได้นั่งในตัวรถนั้น ส่วนใหญ่ไม่ได้ซื้อตั๋วโดยสารและอาศัยเกาะมาตามทาง และโดดขึ้นโดดลงเวลาที่รถไฟใกล้เข้าสถานีหรือเพิ่งออกจากสถานี
พฤติกรรมดังกล่าวมีคำเรียกเฉพาะเป็นภาษาอังกฤษว่า "train surfing" หรือบางครั้งเรียกว่า "train hopping" หรือ "train hitching" ซึ่งไม่จำเป็นต้องอธิบายขยายความใด ๆ ก็รู้ว่าเป็นพฤติกรรมที่เสี่ยงภัยอันตรายอย่างที่สุด ในปี ค.ศ. 2008 มีสถิติอันน่าเศร้าสลดว่ามีผู้เสียชีวิตถึงประมาณ 17 คนทุกวันจากการโดยสารรถไฟวิธีนี้ พฤติกรรมการโดยสารบนหลังคารถไฟยังปรากฏในภาพยนตร์อินเดียบางเรื่อง และถูกนำเสนอด้วยมุมมองว่าเป็นเรื่องสนุกสนานด้วยซ้ำ เช่นในมิวสิควิดีโอของภาพยนตร์ที่ค่อนข้างมีชื่อเสียงในอดีตเรื่องหนึ่ง เสนอภาพพระเอกของเรื่องร้องเพลงพร้อมกับเต้นอย่างสนุกสนานบนหลังคารถไฟตั้งแต่ท้ายขบวนไปหานางเอกที่นั่งกอดเข่าอยู่บนหลังคาด้านหัวรถจักร ซึ่งพิจารณาจากความนิยมภาพยนตร์ของชาวอินเดียแล้ว ก็ต้องนับว่าสุ่มเสี่ยงต่อพฤติกรรมเลียนแบบเป็นอย่างยิ่ง และสะท้อนมุมมองแบบอินเดียด้วยว่า การกระทำดังกล่าวเป็นเรื่องธรรมดา
แน่นอนว่าการรณรงค์เรื่องนี้มีอยู่ตลอดมาเป็นระยะ ๆ แต่ก็ใช่ว่าพฤติกรรมดังกล่าวจะหมดไปง่าย ๆ ดังนั้น ในปี ค.ศ. 2010 อินเดียตัดสินใจควบคุมปัญหาดังกล่าวอย่างจริงจัง โดยศาลสูงได้ประกาศว่าการโดยสารบนหลังคารถไฟเป็นสิ่งผิดกฎหมาย ในคำประกาศของศาลระบุถึงกับว่า "รถไฟจะต้องหยุดเดินทันทีหากพบเห็นผู้ใดนั่งบนหลังคารถไฟแม้แต่เพียงคนเดียวก็ตาม" (นอกจากในอินเดียแล้วประเทศข้างเคียงเช่นบังกลาเทศก็ประสบปัญหานี้และดูจะหนักกว่าอินเดียด้วยซ้ำ ศาลสูงของบังกลาเทศเพิ่งจะประกาศห้ามการโดยสารบนหลังคารถไฟไปเมื่อเดือนกรกฎาคม ปี ค.ศ. 2022 ที่ผ่านมานี้เอง)
ดังนั้น อาจกล่าวโดยรวมได้ว่า บริการรถไฟอินเดียนั้นกำลังมีพัฒนาการดีขึ้นตามลำดับ ทั้งเรื่องเส้นทางที่มากขึ้น ความเร็วที่เพิ่มขึ้น เทคโนโลยีที่ทันสมัยขึ้น และมาตรการรักษาความปลอดภัยที่เข้มงวดขึ้น ซึ่งก็ทำให้รถไฟอินเดียเป็นตัวเลือกการเดินทางท่องเที่ยวในอินเดียที่น่าสนใจอีกตัวเลือกหนึ่งเลยทีเดียว เพราะการเดินทางโดยรถไฟมีข้อได้เปรียบการโดยสารเครื่องบินอยู่อย่างน้อยหนึ่งข้อ ก็คือการได้ยลทัศนียภาพสองข้างทางไปตลอดเวลาที่รถไฟวิ่งไปตามราง ซึ่งทำให้ได้เพลิดเพลินไปกับภูมิทัศน์ของท้องถิ่นต่าง ๆ ในอินเดีย สมกับหัวข้อที่ได้กล่าวไว้ว่า "เหนือจรดใต้ เปิดโลกทัศน์ด้วยรถไฟอินเดีย" นั่นเอง
https://www.facebook.com/BharatSiamOfficial/posts/205576958656102
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42746
Location: NECTEC

PostPosted: 08/02/2023 1:09 pm    Post subject: Reply with quote

กระทรวงรถไฟอินเดียทำโครงการทางคู่สาย Sambalpur-Titlagarh (182 กิโลเมตร) มูลค่า 26,180 ล้านรูปี เพื่อขนส่งแร่ alumina และเหล็กกล้า, สิ่งทอทั้งแบบทมือและผ้าโรงงาน handloom, textiles, และสินค้าเกษตรในรัฐโอริสสา
https://www.facebook.com/RailMinIndia/posts/570511231776121
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44634
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 09/02/2023 5:43 am    Post subject: Reply with quote

Crazy Loco Ride in Bangladesh Railways 😀
Transit bites
Feb 7, 2023


https://www.youtube.com/watch?v=vFFaVUqKLgQ
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44634
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 10/02/2023 8:11 am    Post subject: Reply with quote

เจาะลึกบังกลาเทศ Ep 4: รีวิวอึด 1 ชั่วโมง ไฟฟ้าบังกลาเทศ dhaka metro rail bangladesh
MrHotsiaAEC
Jan 30, 2023


https://www.youtube.com/watch?v=_NoNSvHOuu4
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42746
Location: NECTEC

PostPosted: 13/02/2023 10:59 am    Post subject: Reply with quote


Winter TrainSpotting : 15203 Barauni Lucknow Express Arrival at Gorakhpur Junction
Video Link - https://youtu.be/gS5VQ7Y5LcQ
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44634
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 19/02/2023 12:46 pm    Post subject: Reply with quote

นั่งรถไฟบังคลาเทศ | Mohanagar Provati Express Bangladesh| EP.134
น้าเต้สะเทือนน้ำ NaTaeSathueanNam
Feb 19, 2023


https://www.youtube.com/watch?v=NG0xiLc82F0

วันนี้พามานั่งรถไฟบังคลาเทศที่สถานีกลางของบังคลาเทศซึ่งกำลังจะพัฒนาเป็นศูนย์การคมนาคมเชื่อมต่อรถไฟฟ้า รถไฟ รถบัส อยู่ในบริเวณเดียวกัน และผมจองตั๋วออนไลน์ไว้ตั้งใจว่าจะนั่งรถไฟไปเมืองกาจีปูนอกเมืองธากาพอนั่งไปถึงสถานีหน้าสนามบินแล้วอยากรีวิวรถไฟขบวนอื่นๆแต่โชคร้ายตั๋วเต็มพอดีเลยไม่สามารถเดินทางต่อไปยังเมืองกาจีปูได้ครับ ต้องขออภัยด้วยนะครับ

ลิงค์จองตั๋วรถไฟบังคลาเทศ https://eticket.railway.gov.bd/
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44634
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 27/02/2023 7:37 am    Post subject: Reply with quote

Tirupati To Amravati : Full Journey : 12765 TPTY - AMI Superfast Express : Indian Railways
Chinmay Kole
Feb 26, 2023


https://www.youtube.com/watch?v=6JXP2fBoyTk
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> เกี่ยวกับรถไฟต่างประเทศ All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 52, 53, 54 ... 59, 60, 61  Next
Page 53 of 61

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©