RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311296
ทั่วไป:13274057
ทั้งหมด:13585353
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - เผยโฉม รถ "สายสีแดงอ่อน"
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

เผยโฉม รถ "สายสีแดงอ่อน"
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 76, 77, 78, 79  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 17/03/2023 5:32 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
ขยายรถไฟฟ้าสีแดงลุ้นรัฐบาลหน้า
Source - เดลินิวส์
Friday, March 17, 2023 05:29


ที่มา: นสพ.เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 17 มี.ค. 2566


ลิงก์มาแล้วจ้า
ส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าสีแดง 4 เส้นทางลุ้นรัฐบาลหน้า
*ครม.อนุมัติไว้ตั้งแต่ปี2559เสียเวลารื้อศึกษาPPP
*สายหลักผู้โดยสารค่อยๆโตพีคสุดวันศุกร์2.4หมื่น
*สถานีกลางกรุงเทพฯ ยังแชมป์ผู้ใช้บริการสูงที่สุด
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/760763198834250
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44652
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 16/04/2023 7:26 am    Post subject: Reply with quote

รถไฟฟ้าสายสีแดง มีแท่งห้ามล้อ ด้วยนะ
CheTrain
Apr 15, 2023


https://www.youtube.com/watch?v=U-SOca_qD3Q
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44652
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 02/06/2023 7:06 am    Post subject: Reply with quote

รฟฟท.รับรางวัลหน่วยงานพัฒนา "เว็บไซต์ที่ทุกคนเข้าถึงได้" ตามมาตรฐาน WCAG
ผู้จัดการออนไลน์ 1 มิ.ย. 2566 17:42 น.

นายสุเทพ พันธุ์เพ็ง กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด (รฟฟท.) หรือผู้ให้บริการเดินรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง เข้ารับรางวัลหน่วยงานรัฐที่สามารถปรับปรุงเว็บไซต์ผ่านเกณฑ์การประกวดเว็บไซต์ที่ทุกคนเข้าถึงได้ (Web Content Accessibility Guidelines) ภายใต้โครงการส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาเว็บไซต์ที่ทุกคนเข้าถึงได้ ประจำปี 2566 จาก ศาสตราจารย์พิเศษ วิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ ปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สดช.) ณ ห้องวายุภักษ์ โรงแรมเซ็นทรา บาย เซ็นทารา ศูนย์ราชการและคอนเวนชั่น เซ็นเตอร์ แจ้งวัฒนะ หลักสี่ กรุงเทพฯ เมื่อวันจันทร์ที่ 29 พฤษภาคม 2566 ที่ผ่านมา

โครงการรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงสายสีแดง เปิดให้บริการอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2564 มีจำนวน 13 สถานี ได้แก่ สถานีกลางบางซื่อ (ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็นกรุงเทพอภิวัฒน์), สถานีจตุจักร, สถานีวัดเสมียนนารี, สถานีบางเขน, สถานีทุ่งสองห้อง, สถานีหลักสี่, สถานีการเคหะ, สถานีดอนเมือง, สถานีหลักหก, สถานีรังสิต, สถานีบางซ่อน, สถานีบางบำหรุ และสถานีตลิ่งชัน


บิ๊กเนมชิงพื้นที่สถานีกลาง-สายสีแดง
Source - เดลินิวส์
Monday, June 26, 2023 06:20

กว่า5หมื่นตร.ม.สัญญา20ปี บังคับต้องมี'ร้านอาหารถูก'

นายอนันต์ โพธิ์นิ่มแดง รองผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) เปิดเผยว่า การจำหน่ายเอกสารประกวดเสนอผลตอบแทนการใช้ประโยชน์พื้นที่ เพื่อประกอบกิจกรรมเชิงพาณิชย์ และสิทธิการบริหารจัดการพื้นที่ติดตั้งป้ายโฆษณา บริเวณอาคารสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ และอาคารสถานีรถไฟสายสีแดง 12 สถานี ได้แก่ สถานีตลิ่งชัน สถานีบางบำหรุ สถานีบางซ่อน สถานีจตุจักร สถานีวัดเสมียนนารี สถานีบางเขน สถานีทุ่งสองห้อง สถานีหลักสี่ สถานีการเคหะ สถานีดอนเมือง สถานีหลักหก และสถานีรังสิต ซึ่งแบ่งเป็น 4 สัญญามีเอกชนสนใจซื้อซองเอกสารเสนอผลตอบแทน 3 สัญญา รวม 5 ราย ประกอบด้วย

สัญญาที่ 1 โครงการยื่นข้อเสนอผลตอบแทนการใช้ประโยชน์พื้นที่ เพื่อประกอบกิจกรรมเชิงพาณิชย์ บริเวณอาคารสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ คิดเป็นพื้นที่ 47,675 ตารางเมตร (ตร.ม.) สัญญา 20 ปี มีผู้สนใจซื้อเอกสารฯ 3 ราย ได้แก่ บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน), บริษัท คิง เพาเวอร์ สุวรรณภูมิ จำกัด และ บริษัท เปรม กรุ๊ป เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด สัญญาที่ 2 โครงการยื่นข้อเสนอผลตอบแทนการใช้ประโยชน์พื้นที่ เพื่อประกอบกิจกรรมเชิงพาณิชย์ บริเวณอาคารสถานีรถไฟสายสีแดง 12 สถานี พื้นที่ 3,759 ตร.ม. ไม่มีเอกชนสนใจซื้อเอกสารฯ

สัญญาที่ 3 โครงการยื่นข้อเสนอเพื่อสิทธิการบริหารจัดการพื้นที่ติดตั้งป้ายโฆษณา บริเวณอาคารสถานีกลางฯพื้นที่ 2,303 ตร.ม. สัญญา 20 ปี มีเอกสนใจซื้อเอกสารฯ 2 ราย ได้แก่ บริษัท แพลน บี มีเดีย จำกัด(มหาชน) และบริษัท คิง เพาเวอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด และสัญญาที่ 4 โครงการยื่นข้อเสนอเพื่อสิทธิการบริหารจัดการพื้นที่ติดตั้งป้ายโฆษณา บริเวณอาคารสถานีรถไฟสายสีแดง 12 สถานี พื้นที่ 2,080 ตร.ม. สัญญา 3 ปี มีเอกชนสนใจซื้อเอกสารฯ 2 ราย ได้แก่ บริษัท แพลน บี มีเดีย จำกัด (มหาชน) และบริษัท คิง เพาเวอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด

นายอนันต์ กล่าวอีกว่า ในส่วนของสัญญาที่ 2 ที่ไม่มีเอกชนสนใจซื้อเอกสารฯ นั้น รฟท. จะเปิดประมูลครั้งที่ 2 เดือน ก.ค. 66 หากพบว่ายังไม่มีเอกชนรายใดสนใจซื้อซองเอกสารฯ อีก ทาง รฟท. จะพิจารณาตัดสินใจว่าจะดำเนินการในส่วนนี้อย่างไรต่อไป เบื้องต้น ยังมีบริษัท เอสอาร์ที แอสเสท จำกัด (SRTA) ซึ่งเป็นบริษัทลูกของ รฟท.ที่สามารถเข้ามาดำเนินการได้ สาเหตุที่เอกชนไม่สนใจ เนื่องจากอายุสัญญาเพียง 3 ปีอาจไม่จูงใจเอกชนร่วมลงทุนมากนัก

ในส่วนของสัญญาที่ 1 และ 3 กำหนดยื่นซองเอกสารข้อเสนอ วันที่ 4 ก.ค. 66 ณ สถานีกลางฯประกาศผลผู้ผ่านคุณสมบัติ วันที่ 13 ก.ค. 66 ประกาศผู้ผ่านข้อเสนอด้านเทคนิค วันที่ 15 ส.ค.66 ณ อาคารฝ่ายบริหารทรัพย์สิน ชั้น 1 และเปิดซองข้อเสนอด้านผลตอบแทนสัญญาที่ 1 วันที่ 16 ส.ค. 66 เวลา 09.00-12.00 น. (เช้า) และสัญญาที่ 3 เวลา 13.00-16.00 น. (บ่าย) ที่สถานีกลางฯ

ขณะที่สัญญาที่ 4 กำหนดยื่นซองเอกสารข้อเสนอ วันที่ 5 ก.ค. 66 ณ สถานีกลางฯประกาศผู้ผ่านคุณสมบัติ วันที่ 13 ก.ค. 66 ประกาศผลผู้ผ่านข้อเสนอด้านเทคนิค วันที่ 15 ส.ค. 66 ณ อาคารฝ่ายบริหารทรัพย์สิน ชั้น 1 และเปิดซองข้อเสนอด้านผลตอบแทน วันที่ 17 ส.ค. 66 ณ สถานีกลางฯ คาดว่าจะได้ผู้ประกอบการเข้าใช้ประโยชน์พื้นที่ฯ ภายในเดือน พ.ย. 66 และ คาดว่าจะมีรายได้ตลอดอายุสัญญาขั้นต่ำอยู่ที่ประมาณ 5,520 ล้านบาท จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ และยกระดับการให้บริการผู้โดยสารภายในสถานีกลางฯให้เป็นจุดนัดพบ แหล่งชอปปิง แลนด์มาร์คแห่งใหม่ของคนกรุงเทพฯ ในอนาคต

นายอนันต์ กล่าวด้วยว่า เบื้องต้น รฟท. ต้องการให้รูปแบบการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ มีร้านอาหาร พื้นที่จำหน่ายสินค้า OTOP 600 ตร.ม. และพื้นที่ชอปปิงมอลล์ เหมือนกับห้างสรรพสินค้า เพื่อเพิ่มตัวเลือก ในการบริการผู้โดยสารที่อยู่ระหว่างรอขบวนรถไฟที่จะเดินทาง อีกทั้งยังดึงดูดให้ประชาชนเข้ามาใช้บริการ เพื่อพักผ่อนหย่อนใจในสถานีกลางฯมากขึ้น สำหรับราคาอาหาร เครื่องดื่ม และสินค้าที่วางจำหน่ายนั้น จะใกล้เคียงกับห้างสรรพสินค้า อาจมีราคาสูงกว่าด้านนอก แต่จะควบคุมไม่ให้ราคาสูงเกินไป และกำหนดให้มีร้านอาหารราคาประหยัดในพื้นที่ไกลออกไปเหมือนในสนามบิน ไว้บริการผู้โดยสารด้วย.

ที่มา: นสพ.เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 27 มิ.ย. 2566 (กรอบบ่าย)
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44652
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 11/07/2023 9:32 am    Post subject: Reply with quote

เริ่ม 15 ส.ค.นี้ ปรับเพิ่มความถี่บริการ “สายสีแดง” ผู้โดยสารนิวไฮ 2.6 หมื่นคน
Source - เดลินิวส์
Monday, July 10, 2023 06:07

2.6หมื่นคนปล่อยรถเร็วขึ้น สถานีหลักสี่พร้อมรับสีชมพู

นายสุเทพ พันธุ์เพ็ง กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด (รฟฟท.) ผู้ให้บริการรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง (รถไฟฟ้าสายสีแดง) เปิดเผยว่า ได้หารือการรถไฟ แห่งประเทศไทย (รฟท.) ถึงการปรับแผนเดินรถไฟฟ้าสาย สีแดง เนื่องจากขณะนี้ปริมาณผู้โดยสารรถไฟฟ้าสายสีแดงเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง รวมทั้งมีเสียงสะท้อนจากผู้โดยสารว่ารอขบวนรถค่อน ข้างนาน ได้ข้อสรุปว่าตั้งแต่วันที่ 15 ส.ค. 66 รฟฟท. จะปรับเพิ่มความถี่ให้บริการเดินรถเร็วขึ้นทั้งสายเหนือ (ธานีรัถยา) ช่วงสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์-รังสิต และสายตะวันตก (นครวิถี) ช่วงสถานีกลางฯ-ตลิ่งชัน เพื่อลดการรอคอยขบวนรถนาน และดึงดูดผู้โดยสารมาใช้บริการเพิ่มขึ้นอีก พร้อมเพิ่มขบวนรถไฟให้บริการจากเดิม 8 ขบวนเป็น 10 ขบวน

นายสุเทพ กล่าวต่อว่า การปรับเพิ่มความถี่ช่วงสถานีกลางฯรังสิต ในชั่วโมงเร่งด่วน (Peak) เวลา 07.00.-09.30 น. และ 17.00-19.30 น. จากเดิม 12 นาทีต่อขบวน เป็น 10 นาทีต่อขบวน และช่วงนอกชั่วโมงเร่งด่วน (Off Peak) จะปรับเพิ่มความถี่จากเดิม 20 นาทีต่อขบวน เป็น 15 นาทีต่อขบวน ขณะที่ช่วงสถานีกลางฯ-ตลิ่งชัน ช่วง Peak ให้บริการความถี่เท่าเดิมที่ 20 นาทีต่อขบวน แต่จะเพิ่มความถี่ช่วง Off Peak จากเดิม 30 นาทีต่อขบวน เป็น 20 นาทีต่อขบวน การปรับเพิ่มความถี่ไม่ส่งผลกระทบต่อการเดินรถไฟทางไกลในภาพรวม ยังให้บริการเดินรถตามเวลาปกติ

นายสุเทพ กล่าวอีกว่า ปัจจุบันมีผู้โดยสารเฉลี่ยวันละ 2.3-2.4 หมื่นคน หากเป็นวันศุกร์อยู่ที่ประมาณ 2.5 หมื่นคน โดยเมื่อวันศุกร์ที่ 30 มิ.ย.ที่ผ่านมา ตัวเลขผู้โดยสารกว่า 2.6 หมื่นคน สูงสุดนับตั้งแต่เปิดบริการ (นิวไฮ) สถานีกลางฯ ยังมีผู้โดยสารสูงที่สุด ประมาณวันละ 8 พันคน รองลงมาสถานีดอนเมืองวันละ 4 พันคน และสถานีรังสิตวันละ 3 พันคน แม้ปริมาณผู้โดยสารจะยังไม่ถึงตามตัวเลขผลการศึกษาที่คาดการณ์ไว้ว่าจะอยู่ที่ประมาณ 8 หมื่นคน แต่ขณะนี้ถือว่าผู้โดยสารเป็นไปตามเป้าหมายใหม่ที่วางไว้แล้วว่า จะเพิ่มขึ้น 10% จากปีที่ผ่านมา ซึ่งปี 65 อยู่ที่ประมาณ 1.6 หมื่นคนต่อวัน ส่วนปี 67 ตั้งเป้าหมายเพิ่มขึ้น 10% เช่นกัน (หรือเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ยเป็นประมาณวันละกว่า 2.6 หมื่นคน)

นายสุเทพ กล่าวด้วยว่า รฟฟท. ได้เพิ่มสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ในทุกสถานี อาทิ ที่นั่งพักคอย และป้ายบอกทาง ในส่วนของสถานีหลักสี่ ได้เตรียมความพร้อมด้านต่าง ๆ ไว้แล้ว โดยเฉพาะทางเดินเชื่อมต่อกับสถานีหลักสี่ ของรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี เมื่อเปิดบริการรถไฟฟ้าสายสีแดงพร้อมรองรับ และคาดว่าจะมีผู้ใช้บริการที่สถานีหลักสี่เพิ่มมากขึ้น และส่งผลให้ปริมาณผู้โดยสารสายสีแดงเพิ่มขึ้นตามไปด้วย ส่วนทางเดินลอยฟ้า (Sky Walk) ที่เชื่อมต่อกับสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ อยู่ระหว่างเก็บรายละเอียดอีกเล็กน้อยและตรวจรับงาน คาดว่า จะเปิดบริการกลางเดือน ส.ค.นี้.

ที่มา: นสพ.เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 11 ก.ค. 2566 (กรอบบ่าย)

https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/822822532628316


อัปเดตรถไฟฟ้า 4 สายทาง | ฟังหูไว้หู (31 ก.ค. 66)
9MCOT
Aug 1, 2023


https://www.youtube.com/watch?v=TO8PK4e4vx4


VDO Presentation รถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง
RED Line SRTET
Aug 16, 2023


https://www.youtube.com/watch?v=tuFOswpYnYY
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44652
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 21/08/2023 8:04 am    Post subject: Reply with quote

รถไฟฟ้าสายสีแดงปรับบริการให้ผู้โดยสารสะดวกมากขึ้น
Thaipost
Aug 20, 2023

ผู้ใช้บริการรถไฟฟ้าสายสีแดง หรือ รฟฟท. ปรับเวลาเปิดให้บริการ และปรับความถี่การเดินรถไฟฟ้า เพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้บริการที่เพิ่มมากขึ้น


https://www.youtube.com/watch?v=mYfcJhNLQvc
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 04/09/2023 11:05 am    Post subject: Reply with quote

อัดแสนล้านลุยรถไฟฟ้า เวนคืนตัดถนน ใหม่ พลิกโฉมศาลายาบูม"นครปฐม"
ฐานเศรษฐกิจ
04 กันยายน 2566


คมนาคม ปูพรม ระบบรางรถไฟฟ้า เวนคืนตัดถนนใหม่ พรึบแสนล้าน ดันนครปฐมบูมเมืองอยู่อาศัย -อุตสาหกรรม เกษตรชุมชน ยกระดับผังเมืองเอื้อพัฒนา พุทธมณฑลดงบ้านหรู ลากสายสีแดง เชื่อมศาลายา ปั้น TOD เมืองมหาวิทยาลัยมหิดลเชื่อมกทม.


นครปฐม จังหวัดปริมณฑลตั้งอยู่ทางตะวันตกของกรุงเทพมหานคร (กทม.)เมืองเก่าแก่ที่เต็มไปด้วยมรดกทางวัฒนธรรมโบราณด้วย จุดเด่นชัยภูมิติดต่อจังหวัดใกล้เคียง รอบทิศทาง และมีระยะทางห่างจากกรุงเทพฯเพียง 56 กิโลเมตรโดยมีถนนบรมราชชนนีและสะพานพระราม8 เชื่อมเข้าใจกลางเมือง

ปัจจุบัน มีความเจริญอย่างมากจากการลงทุนโครงพื้นฐานรัฐส่งผลให้เกิดการไหลบ่าของการพัฒนาที่อยู่อาศัยออกมายังฝั่งนครปฐมมากขึ้น ส่วนใหญ่เป็นคนกรุงเทพฯ ที่เบื่อหน่ายความแออัดคับคั่งในเมืองหลวง ต้องการมองหาความเงียบสงบชานเมืองแต่ใช้เวลาเดินทาง เข้าสู่ใจกลางเมืองได้สะดวกรวดเร็ว

พุทธมณฑลทำเลฮอตเชื่อมกทม.

โดยเฉพาะ พื้นที่3 อำเภอ ศักยภาพด้านที่อยู่อาศัยและการลงทุน ได้แก่ 3 อำเภอ ใกล้กรุงเทพฯ ได้แก่ 1. อำเภอพุทธมฑล 2. อำเภอสามพราน 3.อำเภอนครชัยศรี โดยพุทธมณฑล มีจุดเด่นเชื่อมกับกรุงเทพฯเป็นเนื้อเดียว โดยเขตปกครองของนครปฐม เริ่มตั้งแต่พุทธมณฑลสาย4 เป็นต้นไป ที่ปัจจุบันเต็มไปด้วยหมู่บ้านจัดสรรขนาดใหญ่ อาณาจักรบ้านหรูของบิ๊กแบรนด์ที่ปัจจุบันมีโครงข่ายถนนตัดใหม่ของกรุงเทพมหานคร จากพรานนก ไปยังพุทธมณฑสาย4 ถนนตัดใหม่ในพื้นที่ กรุงเทพฯ (ฝั่งธนบุรี) และจังหวัดนครปฐมโดยต่อขยายถนนพรานนกจากสามแยกไฟฉายไปบรรจบถนนพุทธมณฑลสาย 4 ระยะทาง 16.4 กิโลเมตร

เส้นทางลัดเข้าออกเมืองที่สำคัญและมีบ้านจัดสรรเข้าจับจองพื้นที่กันมากรวมถึงการเวนคืนตัดถนนลากจากพุทธมณฑลสาย4 เชื่อมทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย์) บางใหญ่-กาญจนบุรี และยังมีส่วนต่อขยายสายสีนํ้าเงินลากต่อจากฝั่งธนบุรี ต่อจากสถานีหลักสอง กรุงเทพฯ ไปยังพทุธมณฑลสาย4 คาดว่าราคาที่ดินขยับสูงและมีการจัดจองที่ดินพัฒนาคอนโดมิเนียมกันอย่างสนุกมือ รวมถึงตำบลศาลายามีความเจริญอย่างมากมีมหาวิทยาลัยและศูนย์การค้าอย่างเซ็นทรัลมาลงในพื้นที่

ขณะอำเภอสามพรานส่วนใหญ่เน้นเมืองเกษตกรรมแหล่งผลิตส้มโอขนาดใหญ่และ สวนกล้วยไม้ ส่งออกระดับโลก ทำให้ พื้นที่ดังกล่าวถูกกำหนดเป็นพื้นที่สีเขียว โดยเฉพาะตำบลทรงคะนอง ติดกับแม่นํ้า ท่าจีนจึงห้ามพัฒนาโครงการบ้านจัดสรรเพราะเสี่ยงนํ้าเสียที่ปล่อยมาจากบ้านจัดสรรทำให้ผลผลิตเสียหายส่วนอำเภอนครชัยศรีเป็นเมืองโรงงานสีเขียวรองรับเกษตรกรรมสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้พื้นที่และประเทศจำนวนไม่น้อย

รายงานข่าวจากสำนักงานโยธาธิการและผังเมืองจังหวัดนครปฐม สะท้อนว่าพุทธมณฑล เป็นอำเภอเดียวที่เชื่อมต่อกับกรุงเทพฯแบบไร้รอยต่อเหมือนนนทบุรี เพราะเป็นพื้นที่รองรับการขยายตัวของบ้านจัดสรรมาจากกรุงเทพฯปัจจุบันอยู่ระหว่างจัดทำผังเมืองรวมชุมชนอำเภอพุทธมณฑล เพื่อศักยภาพการพัฒนา รองรับเป็นเมืองอยู่อาศัยโดยใช้ FAR สัดส่วนพื้นที่อาคารรวมต่อพื้นที่ดินเหมือนกับกรุงเทพฯ เพื่อสร้าง

ปั้น TOD รอบ “มหิดล” รับสายสีแดง

ขณะเดียวกันรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) มีแผนขยาย จากตลิ่งชันมาตำบลศาลายา อำเภอ พุทธมณฑล ปลายทางที่มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งมีแผนพัฒนาเชิงพาณิชย์รอบสถานี หรือTOD ปัจจุบันมหาวิทยาลัยมหิดลศึกษาร่วมกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ศูนย์รังสิต โดยจะใช้รูปแบบเดียวกัน ที่มีสายสีแดงพาดผ่าน ซึ่งผังเมืองกำหนดให้บริเวณดังกล่าวเป็นพื้นที่สีแดง (พ.5 ) สร้างได้10เท่าของแปลงที่ดิน มุ่งเน้นพัฒนาเชิงพาณิชย์โดยมีมหาวิทยาลัยเป็นศูนย์กลาง

ส่วนบริเวณศูนย์การค้าเซ็นทรัล ศาลายา เป็นแม่เหล็กสร้างความเจริญเข้าพื้นที่โดยรอบแต่ผังเมืองกำหนดให้เป็น พื้นที่สีเขียว (ที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรม) โซนที่อยู่อาศัยชั้นดีพัฒนาได้เฉพาะบ้านเดี่ยว ขณะราคาที่ดินติดถนนอยู่ในราว 15-20 ล้านบาทต่อไร่ และมีแนวโน้มปรับสูงขึ้นจากความต้องการที่ดินเพื่อพัฒนาที่อยู่อาศัยต่อเนื่อง

ปูพรมรถไฟฟ้า3สาย

ด้านการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานรองรับความเจริญมีต่อเนื่อง มีรายงานข่าวจากกรมการขนส่งทางราง (ขร.) ว่า กรมฯได้ ศึกษาโครงการเพื่อพัฒนาแบบจำลองการคาดการณ์ความต้องการเดินทางด้วยระบบราง และการพัฒนาโครงข่ายระบบขนส่งมวลชนทางรางในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล (พื้นที่ต่อเนื่อง) ระยะที่ 2 หรือ M-MAP 2โดยได้ดำเนินการศึกษาแนวเส้นทางโครงข่ายรถไฟฟ้าจากการทบทวนแผน M-MAP เดิม และแผน M-MAP 2 Blueprint ซึ่งทาง JICA เคยศึกษาไว้ ร่วมกับข้อเสนอแนะจากหน่วยงานและประชาชนในเขตจังหวัดปริมณฑลที่รับฟังความคิดเห็นและที่ปรึกษานำเสนอเพิ่มเติมเพื่อตอบโจทย์นโยบายการพัฒนา

แนวเส้นทางใหม่ระบบรางที่มีความเป็นไปได้ในจังหวัดนครปฐม จำนวน 3 โครงการ ประกอบด้วย 1.โครงการรถไฟสายสีแดงช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา ระยะทาง 14.8 กิโลเมตร วงเงิน 10,670 ล้านบาท แบ่งเป็น ค่าจ้างที่ปรึกษาจัดประกวดราคา 7 ล้านบาท ค่าจ้างที่ปรึกษาวิศวกรอิสระ (ICE) 30 ล้านบาท ค่าจ้างที่ปรึกษาควบคุมงานก่อสร้าง (CSC) 271 ล้านบาท ค่างานโยธาและระบบราง จำนวน 8,076 ล้านบาท ค่างานระบบไฟฟ้าและเครื่องกล 2,284 ล้านบาท

ขณะนี้รฟท.อยู่ระหว่างเตรียมเสนอขออนุมัติโครงการฯหลังจากมีการจัดตั้งคณะรัฐมนตรี (ครม.) ชุดใหม่ ที่ผ่านมากระทรวงคมนาคมได้เสนอส่วนต่อขยายสายสีแดง ช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา คาดว่าจะเสนอต่อครม.ใหม่ เดือนตุลาคมนี้จากนั้นจะเปิดประมูลในไตรมาสที่ 1 ปี 2567 ใช้เวลาก่อสร้าง 3 ปี พร้อมเปิดให้บริการ 2570

2.N10 รถไฟฟ้าสายศาลายา- มหาชัย และ 3.M8 รถไฟฟ้าส่วนต่อขยายสายสีนํ้าเงิน ช่วงบางแค-พุทธมณฑลสาย 4 ระยะทาง 8 กิโลเมตร 21,197 ล้านบาท ซึ่งเป็นระบบขนส่งมวลชนที่เชื่อมต่อจากสายสีนํ้าเงิน ช่วงหัวลำโพง-บางแค และช่วงบางซื่อ-ท่าพระ



สายสีนํ้าเงิน ไปพุทธมณฑลสาย4

ส่วนต่อขยายสายสีนํ้าเงิน ช่วงบางแค-พุทธมณฑลสาย 4 แนวเส้นทางลากต่อจากสายสีนํ้าเงิน ช่วงหัวลำโพง-บางแค ที่สถานีหลักสอง โดยมีลักษณะเส้นทางเป็นทางยกระดับไปตามเกาะกลางของถนนเพชรเกษม ข้ามแยกเพชรเกษม-พุทธมณฑลสาย 2 ซึ่งจะมีโครงการสะพานข้ามแยกในอนาคตจากนั้นแนวเส้นทางจะลดระดับลงเพื่อลดสายส่งไฟฟ้าแรงสูงบริเวณหน้าโรงไฟฟ้าบางกอกน้อย แล้วจึงยกระดับขึ้นไปยังสถานีพุทธมณฑลสาย2 (BS21) และยกระดับเพิ่มขึ้นเพื่อข้ามโครงการสะพานข้ามแยกไปยังสถานีทวีวัฒนา (BS22)

คงระดับเดิมต่อไปจนถึงสิ้นสุดโครงการผ่านสถานีพุทธมณฑลสาย 3 (BS23) ข้ามแยกเพชรเกษม-พุทธมณฑลสาย 3 และโครงการสะพานข้ามทางแยกวิ่งข้ามทางแยกมาเจริญ (ซอยเพชรเกษม 81) และโครงการสะพานข้ามแยกเข้าสู่สถานีพุทธมณฑลสาย 4 (BS24) ซึ่งเป็นสถานีสุดท้ายของโครงการ โดยจะมีอาคารจอดแล้วจรทั้ง 2 ฝั่งของสถานี จำนวน 4 สถานี และอาคารจอดแล้วจร 2 แห่ง

ทางคู่นครปฐม เปิดใช้ก.ย. นี้

ส่วนความคืบหน้ารถไฟทางคู่ช่วงนครปฐม-ชุมพร 421 กิโลเมตร 3.39 หมื่นล้านบาท ปัจจุบันมีความก้าวหน้างานโยธา 5 สัญญา 96.92% ขณะนี้ได้เปิด ใช้ทางคู่ ช่วงเขาเต่า-ประจวบคีรีขันธ์ประมาณ 78 กิโลเมตร (กม.) แล้ว โดย รฟท. อยู่ระหว่างพิจารณาทยอยเปิดการใช้งานเป็นช่วงๆ เริ่มจากสถานีบางเค็มถึงสถานีหนองศาลา ระยะทาง 48 กิโลเมตร (กม.) ช่วงที่หยุดรถบ้านดอนทรายถึงที่หยุดรถหนองมงคล ระยะทาง 23.77 กิโลเมตร (กม.) คาดว่าจะทยอยเปิดภายในเดือนกันยายน 2566

โดยใช้ระบบเครื่องทางสะดวกและมอบตั๋วทางสะดวก (กรฟ.3) ตามเดิมไปพลางก่อนในระหว่างที่รอติดตั้งระบบอาณัติสัญญาณและโทรคมนาคมตามสัญญา 6 ปัจจุบันมีความก้าวหน้าไปประมาณ 50%

ลุยถนน“สาย4-มอเตอร์เวย์ บางใหญ่”

รายงานข่าวจากกรมทางหลวง (ทล.) กล่าวว่า ความคืบหน้าโครงการก่อสร้างทางหลวงแนวใหม่เชื่อมถนนพุทธมณฑลสาย 4 กับทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย์) หมายเลข 81 สายบางใหญ่-กาญจนบุรี ระยะทาง 6.5 กิโลเมตรรวมวงเงิน 6,125 ล้านบาท แบ่งเป็นค่าก่อสร้าง 4,310 ล้านบาท และค่าเวนคืนที่ดิน 1,815 ล้านบาท ปัจจุบันกรมฯได้จ้างบริษัทที่ปรึกษาออกแบบความเหมาะสมของโครงการฯและจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (EIA) จะดำเนินการแล้วเสร็จภายในปี 2566

“หลังจากนั้นกรมฯจะเสนอรายงานการประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (EIA) ของโครงการฯ ต่อคณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (คชก.)และคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (กก.วล.) อนุมัติ ภายในปี 2567-2568”

ขณะการเวนคืนและการจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินภายในปี 2569-2570 หลังจากนั้นจะดำเนินการหาผู้รับจ้างและเริ่มดำเนินการก่อสร้างภายในปี 2571-2573 คาดว่าจะเปิดใช้บริการภายในปี 2574

ส่วนแนวเส้นทางโครงการก่อสร้างทางหลวงแนวใหม่เชื่อมโยงถนนพุทธมณฑลสาย 4 กับทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 81 สายบางใหญ่-กาญจนบุรี มีจุดเริ่มต้นบริเวณทางหลวงหมายเลข 3310 หรือ ถนนพุทธมณฑลสาย 4 ที่เชื่อมต่อกับทางหลวงชนบทหมายเลข นฐ.4006 (แยกหอนาฬิกาศาลายา) จากนั้นแนวเส้นทางมุ่งทิศเหนือผ่านทางรถไฟสายใต้ คลองมหาสวัสดิ์ และคลองนราภิรมย์จากนั้นแนวเส้นทางจะตัดกับทางหลวงชนบท นบ.1011 โครงการถนนต่อเชื่อมถนนนครอินทร์-ศาลายา ทางหลวงชนบท นบ.5014 คลองบางใหญ่ ทางหลวงชนบท นบ.1009 และไปสิ้นสุดที่จุดบรรจบกับทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 81 สายบางใหญ่-กาญจนบุรี โดยรูปแบบถนนเป็นทางหลวงขนาด 6 ช่องจราจร รวมระยะทางประมาณ 6.5 กิโลเมตร (กม.)

ขณะความคืบหน้ามอเตอร์เวย์ หมายเลข 8 หรือ M8 สายนครปฐม-ชะอำ ระยะทาง 109 กิโลเมตร แบ่งการก่อสร้างออกเป็น2ช่วง ช่วงที่ 1 ช่วงนครปฐม-ปากท่อ ระยะทาง 61 กิโลเมตร และ ช่วงที่ 2 ช่วงปากท่อ-ชะอำ 48 กิโลเมตร ซึ่งกรมฯจะเริ่มดำเนินการนำร่องช่วงนครปฐม-ปากท่อ วงเงิน 43,227 ล้านบาท แบ่งเป็น ค่างานโยธา 29,156 ล้านบาท งานระบบ 1,783 ล้านบาท และค่าเวนคืนที่ดิน 12,288 ล้านบาท โดย คาดว่าจะเสนอต่อกระทรวงคมนาคมและครม. ใหม่พิจารณารูปแบบการลงทุนในช่วงแรกก่อน ภายในปี 2567

ขณะเดียวกันอยู่ระหว่างเสนอแผนความต้องการเงินกู้ระยะปานกลาง 5 ปี (เริ่มตั้งแต่ปี 2567-2571) หาก ครม. ใหม่เห็นชอบ จะเริ่มจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินและเวนคืนที่ดินภายในปี 2568-2569 หลังจากนั้นจะเริ่มเปิดประมูลให้เอกชนร่วมลงทุนภายในปี 2568 เริ่มก่อสร้างในปี 2569 ระยะเวลาก่อสร้าง 4 ปี คาดว่าจะเปิดให้บริการปี 2573

สำหรับแนวเส้นทางมอเตอร์เวย์ สายนครปฐม-ชะอำ (M8) แบ่งออกเป็น 2 ช่วง ประกอบด้วย ช่วงที่ 1 ช่วงนครปฐม-ปากท่อ 61 กิโลเมตร (กม.) จุดเริ่มต้นโครงการต่อเชื่อมกับ M81 สายบางใหญ่-กาญจนบุรี ที่บริเวณทางแยกต่างระดับนครชัยศรี อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม สิ้นสุดเชื่อมต่อมายังทางหลวงหมายเลข 35 (ถนนธนบุรี-ปากท่อ) อ.ปากท่อ จ.ราชบุรี

นครอินทร์-ศาลายาคืบ

รายงานข่าวจากกรมทางหลวงชนบท (ทช.) กล่าวว่า สำหรับความคืบหน้าโครงการถนนต่อเชื่อมถนนนครอินทร์-ศาลายา จ.นนทบุรี, นครปฐม ระยะทางรวมประมาณ 12 กิโลเมตร งบประมาณค่าก่อสร้าง 4,432 ล้านบาท ปัจจุบันกรมฯได้ของบประมาณปี 67 ประมาณ 900 ล้านบาท เพื่อเวนคืนที่ดินในโครงการฯบางส่วน แต่งบเวนคืนที่ดินถูกตัดเหลือ 450 ล้านบาท ซึ่งต้องดูว่าจะได้รับจัดสรรปี 2567 เท่าใด คาดว่าจะต้องรอรัฐบาลใหม่เป็นผู้พิจารณา

แนวเส้นทางโครงการถนนเชื่อมต่อถนนนครอินทร์-ศาลายา จ.นนทบุรี, นครปฐม มีจุดเริ่มต้นจากทางหลวงชนบท นฐ.5035 ที่ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม แนวเส้นทางวางตัวไปทางทิศตะวันออก ผ่านคลอง ตาพริ้ง ผ่านทางหลวงชนบท นฐ.3004 ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม ข้ามคลองนราภิรมย์ ตัดผ่านทางหลวงชนบท นบ.5014 ข้ามคลองสามท้าว ตัดทางหลวงชนบท นบ.1001 ตำบลบางใหญ่ อำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี ข้ามคลองจีนบ่าย ข้ามคลองขุนเจน
https://www.thansettakij.com/real-estate/575094
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44652
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 12/10/2023 7:51 am    Post subject: Reply with quote

ข่าวนวัตกรรมขนส่งเดลินิวส์-Dailynews
11 ต.ค. 66 21:50 น.

เช็กผลประชุม “รมช.สุรพงษ์” มอบนโยบายการรถไฟ
*ปีหน้าลุยสร้าง4สายทางคู่เฟส2กว่า 1.3แสนล้าน
*ดึงหาดใหญ่-ปาดังเบซาร์เข้ากลุ่มโครงการด่วน
*พร้อม “ขอนแก่น-หนองคาย/ปากน้ำโพ-เด่นชัย”
*และ“ชุมทางถนนจิระ-อุบลราชธานี”ยาว 308กม.
*รถโดยสารดีเซลรางปรับอากาศ184คันมาปี 67
*ประมูลต่อขยายสีแดงก่อนงานระบบรถค่อยว่ากัน

https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/869449654632270


ปีหน้าลุยทางคู่ 4 สาย 1.3 แสนล้าน! ดึง “หาดใหญ่-ปาดังเบซาร์” เข้าโครงการด่วน
เดลินิวส์ 11 ตุลาคม 2566 22:02 น.
เศรษฐกิจ-ยานยนต์

“คมนาคม” ลุยชงทางคู่เฟส 2 รวม 4 เส้นทางกว่า 1.3 แสนล้านเข้า ครม. พ.ย.นี้ ดัน “หาดใหญ่-ปาดังเบซาร์” จากลำดับท้ายขึ้นมาอยู่กลุ่มแรก สนองความต้องการประชาชน กระตุ้นการค้าชายแดนใต้ พร้อมส่งรถไฟฟ้าสายสีแดง ต่อขยาย 3 เส้น เข้าครม. ภายในปี 66 ขีดเส้นปีนี้ต้องเคลียร์ปัญหารถไฟไฮสปีดให้จบ เร่งจัดหารถโดยสาร ส่วนปีหน้ารายได้ต้องเป็นบวก อีก 3 เดือนจะมาติดตามงาน

เมื่อวันที่ 11 ต.ค. นายสุรพงษ์ ปิยะโชติ รมช.คมนาคม เปิดเผยภายหลังตรวจเยี่ยม และมอบนโยบายให้การรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) ว่า ได้สั่งการให้ รฟท. ปรับแผนการดำเนินโครงการรถไฟทางคู่ ระยะ(เฟส) ที่ 2 โดยให้นำช่วง ชุมทางหาดใหญ่-ปาดังเบซาร์ ระยะทาง 45 กิโลเมตร(กม.) วงเงิน 7,864 ล้านบาท ขึ้นมาดำเนินการในลำดับแรกๆ พร้อมกับช่วงขอนแก่น-หนองคาย, ช่วงปากน้ำโพ-เด่นชัย และช่วงชุมทางถนนจิระ-อุบลราชธานี เนื่องจากเป็นความต้องการของประชาชน และภาคธุรกิจในพื้นที่ชายแดนใต้ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจการค้าชายแดน  และทำให้การค้าชายแดนสะดวกมากขึ้น  ทั้งนี้เดิมช่วงชุมทางหาดใหญ่-ปาดังเบซาร์ ถูกจัดลำดับความสำคัญไว้ในอันดับสุดท้ายของแผนการดำเนินงาน 

นายสุรพงษ์ กล่าวต่อว่า เบื้องต้นได้รับรายงานว่าขณะนี้ช่วงขอนแก่น-หนองคาย ระยะทาง 167 กม. วงเงิน 29,748 ล้านบาท ได้ผ่านการพิจารณาความเห็นชอบจากคณะกรรมการ(บอร์ด) รฟท. และเสนอมายังกระทรวงคมนาคม เพื่อเตรียมเสนอคณะรัฐมนตรี(ครม.) พิจารณาแล้ว ส่วนอีก 3 เส้นทาง ได้แก่ ช่วงปากน้ำโพ-เด่นชัย ระยะทาง 285 กม. วงเงิน 59,399 ล้านบาท, ช่วงชุมทางถนนจิระ-อุบลราชธานี ระยะทาง 308 กม. วงเงิน 36,683ล้านบาท และช่วงชุมทางหาดใหญ่-ปาดังเบซาร์ ทาง รฟท. จะเสนอบอร์ด รฟท. พิจารณาในวันที่ 19ต.ค.66 ก่อนเสนอกระทรวงคมนาคม และ ครม.ต่อไป ซึ่งคาดว่าจะเสนอให้ ครม. พิจารณาได้ในเดือน พ.ย.66 และเปิดประมูลทั้ง 4 เส้นทางได้ภายในปี 67

นายสุรพงษ์ กล่าวอีกว่า ทั้ง 4 โครงการมีความพร้อมแล้ว และเป็นโครงการที่ผ่านความเห็นชอบรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม(อีไอเอ) จากคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ(กก.วล.) แล้ว หาก ครม. เห็นชอบก็สามารถดำเนินการได้ทันที โดยตามแผนงานแต่ละเส้นทางจะทยอยก่อสร้างแล้วเสร็จ และสามารถเปิดให้บริการได้ตั้งแต่ปี 70-72 อย่างไรก็ตามนอกจากนี้ได้เร่งรัดให้ผลักดันโครงการระบบรถไฟชานเมือง(รถไฟฟ้าสายสีแดง) ส่วนต่อขยาย โดยจะเสนอเข้า ครม. พิจารณาภายในสิ้นปี 66 จำนวน3 เส้นทาง ซึ่งปัจจุบันผ่านความเห็นชอบจากบอร์ด รฟท. แล้ว 1 เส้นทาง ได้แก่ ช่วงรังสิต-มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ระยะทาง 8.84  กม. วงเงิน 6,468 ล้านบาท  

นายสุรพงษ์ กล่าวด้วยว่า ส่วนอีก 2 เส้นทาง ได้แก่ ช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช ระยะทาง 5.7 กิโลเมตร(กม.) วงเงิน 4,616 ล้านบาท และช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา ระยะทาง 14.8 กม. วงเงิน 10,670 ล้านบาท จะเสนอเข้าบอร์ด รฟท. พิจารณาในเร็วๆ นี้ ในส่วนของรูปแบบการลงทุนโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดง ส่วนต่อขยายที่เดิมจะเปิดให้เอกชนเข้าร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ(PPP) นั้น เบื้องต้นจะให้เปิดประมูลในส่วนของงานโยธาก่อน ส่วนการบริหารงานเดินรถ งานระบบตั๋ว จัดหาขบวนรถ และการดำเนินงานและบำรุงรักษา(O&M) นั้น ยังอยู่ระหว่างการพิจารณา

นายสุรพงษ์ กล่าวอีกว่า ขณะเดียวกันได้เร่งรัดการดำเนินโครงการรถไฟความเร็วสูง(ไฮสปีด) ตามความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทย-จีน ระยะ(เฟส)ที่ 1 กรุงเทพฯ-นครราชสีมา ระยะทาง 253 กม. วงเงิน 1.79 แสนล้านบาท ซึ่งขณะนี้เหลือการลงนามสัญญา 2 สัญญาจากทั้งหมด 14 สัญญา ได้แก่ สัญญาที่ 4-5 ช่วงบ้านโพ-พระแก้ว ระยะทาง 13.3 กม. เตรียมลงนามสัญญาเดือน ต.ค.66 และสัญญาที่ 4-1 ช่วงบางซื่อ-ดอนเมือง ระยะทาง 15.21 กม. ยังมีประเด็นเรื่องการดำเนินงานกับโครงการรถไฟไฮสปีดเชื่อมสามสนามบิน(ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) ซึ่งเป็นช่วงที่มีโครงสร้างทับซ้อนกัน อยู่ระหว่างการเจรจา ซึ่งได้มอบนโยบายให้เร่งเคลียร์ทุกปัญหาให้จบภายในปี 66 เพราะเวลาไม่รอใครเดินหน้าตลอด

นายสุรพงษ์ กล่าวต่อว่า จากการรับฟังการรายงานผลประกอบการของ รฟท. พบว่า ยังขาดทุน และมีหนี้สะสมกว่า 2 แสนล้านบาท มีจุดอ่อนเรื่องการตลาด ซึ่งเป็นจุดที่จะช่วยเพิ่มรายได้ได้ จึงมอบให้พิจารณาหาบริษัทที่มีความเชี่ยวชาญ (Outsource) เข้ามาช่วย หรือตั้งทีมของ รฟท. ขึ้นมาดูแลเรื่องนี้โดยเฉพาะ นอกจากนี้มอบให้ รฟท. ปรับเป้าหมายการทำกำไรจากการดำเนินงานก่อนหักดอกเบี้ย ภาษี ค่าเสื่อมราคา และค่าตัดจำหน่าย (EBITDA)  เป็นบวก โดยต้องให้เกิดขึ้นในปี 67 (ไม่รวมหนี้สะสม) ซึ่งจะเร็วกว่าที่แผนฟื้นฟูกำหนดไว้ว่าไม่เกินปี 76 และในปี 68 ให้เพิ่มขึ้นเป็นกำไร โดยการที่จะทำให้ผลการดำเนินงานไม่ขาดทุน ต้องลดรายจ่าย และเพิ่มรายได้จากทั้งการขนส่งสินค้า และผู้โดยสาร

นายสุรพงษ์ กล่าวอีกว่า ปัจจุบันมีการขนส่งสินค้าทางราง 3% ของปริมาณขนส่งสินค้าทั้งประเทศ มีรายได้จากการขนส่งสินค้าประมาณ 2พันล้านบาทต่อปี โดยให้หาวิธีเพิ่มการขนส่งสินค้าทางรางให้เป็น 30% หากทำได้รายได้จะเพิ่มขึ้นเป็นประมาณ 2.2 หมื่นล้านบาทต่อปี ขณะที่การขนส่งผู้โดยสารอยู่ที่ 2% ของการเดินทางของประชาชนทั่วประเทศ โดยให้ รฟท. ไปตั้งเป้าหมายว่าจะเพิ่มตัวเลขได้อยู่ที่เท่าไหร่ อย่างไรก็ตามตนจะลงมาติดตามงาน รฟท. ที่ได้สั่งการไปทุก 3 เดือน ส่วนเรื่องการจัดหารถโดยสารดีเซลรางปรับอากาศ 184 คัน จะเร่งรัดให้ดำเนินการจัดหาฯ ภายในปีงบประมาณ 67 พร้อมทั้งให้เร่งปรับปรุงคุณภาพรถโดยสาร รวมถึงการบริการที่มีอยู่ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น  ส่วนเรื่องการปรับราคาค่าโดยสารที่ได้ปรับไปครั้งสุดท้ายเมื่อปี 38 นั้น ขอให้ รฟท. ทำคุณภาพให้ดีก่อน จากนั้นจึงจะมาว่ากันเรื่องการปรับขึ้นค่าโดยสาร
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44652
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 20/10/2023 8:27 am    Post subject: Reply with quote

‘สุรพงษ์’ เร่งเครื่องสายสีแดงส่วนต่อขยายลุ้นช่วง ‘รังสิต-มธ.’ ชง ครม.เคาะสัปดาห์หน้า
ไทยโพสต์ 20 ตุลาคม 2566 เวลา 7:45 น.

‘สุรพงษ์‘ ตรวจงาน ‘กรมราง’เร่งสร้างสายสีแดงส่วนต่อขยาย 3 เส้นทาง จ่อชง ครม.เคาะ ‘รังสิต-มธ’สัปดาห์หน้า ดัน พ.ร.บ.กรมราง เสนอ ครม. เห็นชอบภายในสิ้นปีนี้ ก่อนมีผลบังคับใช้ปี 67 ส่วนไฮสปีดไทย-จีน คืบหน้า 27% วางเป้าเสร็จปี 69

20 ต.ค. 2566 – นายสุรพงษ์ ปิยะโชติ รมช.คมนาคม เปิดเผยภายหลังมอบนโยบายให้กรมการขนส่งทางราง(ขร.) ว่าได้เร่งรัดการดำเนินการรถไฟชานเมืองสายสีแดง(รถไฟฟ้าสีแดง) ส่วนต่อขยาย ซึ่งขณะนี้ได้เสนอช่วงรังสิต-มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ไปยังสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี(สลค.) รอบรรจุเป็นวาระในการประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) คาดว่าจะพิจารณาในการประชุมวันที่ 24 ต.ค.นี้

อย่างไรก็ตามส่วนอีก 2 เส้นทาง ช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา จะเสนอ สลค.ในช่วงต้นสัปดาห์หน้า ส่วนช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช เบื้องต้นสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สศช.) เห็นชอบทางวาจามาแล้ว คาดว่าจะเสนอ สลค. เพื่อเข้าสู่การพิจารณาของ ครม. ได้ประมาณเดือน พ.ย.นี้ และคาดว่าจะสามารถเปิดประกวดราคา(ประมูล) ทั้ง 3 เส้นทางได้ในต้นปี 67

นายสุรพงษ์ กล่าวว่า รถไฟฟ้าสายต่างๆ โดยเฉพาะสายสีแดงจะประสบความสำเร็จได้ ต้องมีระบบฟีดเดอร์ที่ดีป้อนผู้โดยสารเข้าสู่ระบบรางให้มีประสิทธิภาพสูงสุด โดยได้มอบให้ขร. และกรมการขนส่งทางบก(ขบ.) หารือร่วมกันในการจัดฟีดเดอร์เข้าถึงทุกสถานีโดยเร็วที่สุด ซึ่งเบื้องต้นมี 2 แนวทาง 1.ปรับปรุงเส้นทางเดิม โดยเป็นแนวทางที่ทำได้เร็วที่สุด และ 2.กำหนดเส้นทางใหม่ คาดว่าหากทำได้จะช่วยดึงดูดผู้โดยสารมาใช้รถไฟฟ้ามากขึ้น

สำหรับร่างร่างพระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.)การขนส่งทางราง คาดว่าจะเสนอกลับไปยัง ครม. พิจารณาได้ภายในปี 66 ก่อนเข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฏรต่อไป และคาดว่าร่างกฎหมายฉบับนี้จะมีผลบังคับใช้ในปลายปี 67 ซึ่งจะช่วยเพิ่มความปลอดภัยในการใช้บริการให้กับประชาชนมากขึ้น และช่วยคุ้มครองผู้โดยสาร อาทิ กรณีที่รถไฟฟ้าล่าช้า หรือรถไฟขัดข้อง ซึ่งจะกำหนดมาตรการเยียวยาที่ชัดเจนให้ผู้ประกอบการปฏิบัติตาม

ทั้งนี้จะช่วยทำให้ค่าโดยสารมีความเป็นธรรม และราคาถูกลงด้วย เพราะกำหนดไว้ชัดเจนว่าห้ามทุกระบบเก็บค่าแรกเข้าซ้ำซ้อนไม่ว่าจะเป็นของผู้ประกอบการรายใดก็ตาม รวมทั้งการดำเนินนโยบายต่างๆ ของรัฐบาลก็จะง่ายขึ้น อาทิ รถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย เพราะกฎหมายจะเขียนชัดเจนว่า ต้องดำเนินการตามนโยบายรัฐบาล โดยต้องเสนอมายังคณะกรรมการนโยบายการขนส่งทางราง มีนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน เพื่อกำหนดกลไกเยียวยาผู้ประกอบการต่อไป

นายสุรพงษ์ กล่าวต่อว่านายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และนายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รมว.คมนาคม เน้นการพัฒนาระบบรางเชื่อมโลกทั้งหมด จึงได้สั่งการให้ติดตาม และเร่งรัดการก่อสร้างโครงการรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีด) ตามความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทย-จีน ระยะ(เฟส)ที่ 1 กรุงเทพฯ-นครราชสีมา ระยะทาง 253 กิโลเมตร(กม.) และโครงการรถไฟทางคู่สายต่างๆ รวมทั้งเคลียร์ปัญหาต่างๆ ให้จบภายในสิ้นปี 66 โดยเฉพาะสัญญาที่ 4-1 ช่วงบางซื่อ-ดอนเมือง ระยะทาง 15.21 กม. ที่ยังติดประเด็นเรื่องการดำเนินงานกับโครงการรถไฟไฮสปีดเชื่อมสามสนามบิน(ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) ซึ่งเป็นช่วงที่มีโครงสร้างทับซ้อนกัน

นายสุรพงษ์ กล่าวว่า ตลอดจนสัญญาที่ 4-5 ช่วงบ้านโพ-พระแก้ว ระยะทาง 13.3 กิโลเมตร(กม.) ที่ยังรอความชัดเจนเรื่องการสร้างสถานีรถไฟความเร็วสูงอยุธยา ซึ่งในประเด็นนี้ตนจะเป็นผู้เจรจากับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่าย ทั้งฝ่ายที่เห็นด้วย และไม่เห็นด้วยด้วยตัวเอง เชื่อว่าเรื่องนี้มีทางออกแน่นอน และยืนยันว่าต้องสร้างสถานีอยุธยา

“ในการเจรจาจะนำทุกสิ่งวางขึ้นบนโต๊ะทั้งหมด ทั้งประโยชน์ที่จะได้รับ และผลเสีย มั่นใจว่าสถานีอยุธยาสามารถอยู่ร่วมกันกับชุมชน เมืองเก่าได้ และอาจเป็นสถานีที่สวยที่สุด เป็นแลนด์มาร์คดึงดูดให้ประชาชน และนักท่องเที่ยวมาเยี่ยมชมก็ได้ อย่างไรก็ตามปัจจุบันโครงการรถไฟไฮสปีดเฟสที่ 1 มีความคืบหน้าประมาณ 27% ซึ่งตามแผนต้องแล้วเสร็จภายในปี 70 โดยปัญหาต่างๆ ของ 2 สัญญานี้มีทางออกแล้ว 90%”นายสุรพงษ์ กล่าว

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในการมอบนโยบาย ขร.วันนี้ นายสุรพงษ์ ได้เร่งรัดให้การก่อสร้างโครงการรถไฟไฮสปีด ไทย-จีน ระยะที่ 1 กรุงเทพฯ-นครราชสีมา ให้แล้วเสร็จภายในปี 2569 หรือเร็วกว่าแผนที่กำหนดจะแล้วเสร็จในปี 2570
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 20/10/2023 4:24 pm    Post subject: Reply with quote

"สุรพงษ์" ดันรถไฟสีแดงต่อขยายช่วง มธ.รังสิต 6.4 พันล้าน ลุ้น ครม.เคาะสัปดาห์หน้า
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: 19 ตุลาคม 2566 เวลา 19:23 น.
ปรับปรุง: 19 ตุลาคม 2566 เวลา 20:11 น.


"สุรพงษ์" ดันรถไฟสีแดงต่อขยาย 3 สาย เสนอช่วง มธ.รังสิต 6.4 พันล้าน ลุ้น ครม.เคาะสัปดาห์หน้า สั่งกรมรางหารือ ขบ.วางโครงข่ายฟีดเดอร์เชื่อมสถานีรถไฟฟ้า พร้อมรับปากช่วยแก้ปมสถานีอยุธยา ไฮสปีด "ไทย-จีน" เร่งเสร็จปี 69

วันที่ 19 ต.ค. 2566 นายสุรพงษ์ ปิยะโชติ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยหลังตรวจเยี่ยมและมอบนโยบาย กรมการขนส่งทางราง (ขร.) ว่า การพัฒนาระบบรางเป็นนโยบายสำคัญของรัฐบาล จึงต้องมีการกำหนดกรอบนโยบายการดำเนินงานที่ชัดเจนเพื่อให้การดำเนินงานและการกำกับดูแลโครงสร้างพื้นฐานด้านระบบรางของประเทศสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลและกระทรวงคมนาคม โดยมีนโยบายเร่งรัดการพัฒนาโครงการระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดง ส่วนต่อขยายจำนวน 3 เส้นทาง เพื่อให้เปิดให้บริการได้ตามแผนภายในปี 2570 ได้แก่ ช่วงรังสิต-มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ศูนย์รังสิต ระยะทาง 8.84 กม. วงเงิน 6,448.69 ล้านบาท ซึ่งขณะนี้ได้เสนอเรื่องไปที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (สลค.) แล้วเพื่อรอบรรจุวาระการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาในสัปดาห์หน้า

ad

สำหรับสายสีแดง ส่วนต่อขยาย ช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา ระยะทาง 14.80 กม. วงเงิน 10,670.27 ล้านบาท มีความพร้อมที่จะเสนอ ครม.ภายในเดือน ต.ค.นี้เช่นกัน ส่วนช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช ระยะทาง 5.7 กม. วงเงิน 4,616 ล้านบาท รอการพิจารณาหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างเป็นทางการ เช่น สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)



นายสุรพงษ์กล่าวว่า การพัฒนาโครงการรถไฟฟ้าให้มีความสำเร็จ และมีประสิทธิภาพสูงสุดนั้นจะต้องมีระบบฟีดเดอร์ที่เชื่อมต่อการเดินทาง เพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้โดยสารเข้าสู่สถานีและเปลี่ยนถ่ายการเดินทางได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งได้มอบให้ ขร. และกรมการขนส่งทางบก (ขบ.) เร่งหารือร่วมกันในการจัดฟีดเดอร์เข้าถึงสถานีรถไฟฟ้าทุกแห่งโดยเร็วที่สุด

ทั้งนี้ อาจจะใช้แนวทางการปรับปรุงเส้นทางรถโดยสารที่มีอยู่เดิม หรือกำหนดเส้นทางใหม่ก็ได้



พร้อมกันนี้ ได้เร่งรัดก่อสร้างโครงการรถไฟทางคู่ ระยะที่ 1 ที่กำลังก่อสร้างอยู่ 4 โครงการ ระยะทาง 613 กม. และให้เร่งนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาโครงการรถไฟทางคู่ ระยะที่ 2 จำนวน 7 โครงการ รวมถึงการพัฒนาโครงการรถไฟความเร็วสูง โครงการรถไฟสายใหม่ระยะทาง 677 กม. และโครงการพัฒนาทางรถไฟเชื่อมต่อนิคมอุตสาหกรรม ระยะเร่งด่วน (ปี พ.ศ. 2566-2570) เพื่อช่วยส่งเสริมการลงทุน กระตุ้นเศรษฐกิจ เพิ่มขีดความสามารถให้แก่ประเทศ และอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชน



สำหรับปัญหาการก่อสร้างล่าช้า ทั้งรถไฟทางคู่และโครงการรถไฟความเร็วสูง (รถไฟไทย-จีน) )กรุงเทพมหานคร-หนองคาย ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ระยะทาง 253 กม.นั้น ให้เร่งแก้ปัญหาให้เสร็จภายในปี 2566

ซึ่งโครงการรถไฟไทย-จีน (กรุงเทพฯ-นครราชสีมา) ปัจจุบันมีความคืบหน้าประมาณ 27% ตามแผนที่มีการปรับใหม่กำหนดแล้วเสร็จภายในปี 2570 ซึ่งเห็นว่าควรเร่งแผนงานให้เสร็จเร็วขึ้นอีก โดยพบว่ายังมีส่วนที่ไม่ได้เริ่มก่อสร้างอีก 2 สัญญา คือ สัญญา 4-5 ช่วงบ้านโพ-พระแก้ว ระยะทาง 13.30 กม. ซึ่งมีประเด็น มรดกโลก และการก่อสร้างสถานีอยุธยา



นายสุรพงษ์กล่าวว่า กรณีสถานีอยุธยานั้น ต้องก่อสร้างสถานีตามแบบ ซึ่งมีทั้งฝ่ายที่เห็นด้วยกับการก่อสร้างและฝ่ายที่คัดค้านการก่อสร้าง เรื่องนี้ตนจะเจรจากับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องให้เห็นว่าประโยชน์ที่จะได้รับมีอะไร และมีผลเสียอย่างไร ทั้งนี้ มั่นใจว่าสถานีอยุธยาสามารถอยู่ร่วมกับชุมชน และเมืองเก่าได้ และจะเป็นสถานีที่สวยที่สุด เป็นแลนด์มาร์กให้นักท่องเที่ยวมาเยี่ยมชมก็ได้ เชื่อว่าเรื่องนี้มีทางออกที่ตกลงร่วมกันได้แน่นอน

X

ส่วนประเด็นสัญญา 4-1 ช่วงบางซื่อ-ดอนเมือง ระยะทาง 15.21 กม. ซึ่งเป็นช่วงที่มีโครงสร้างทับซ้อนกับรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (สุวรรณภูมิ-ดอนเมือง-อู่ตะเภา) นั้นอยู่ในขั้นตอนการแก้ปัญหาร่วมกับอีอีซี



สำหรับร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.)การขนส่งทางราง พ.ศ.... ที่ตกจากการพิจารณาสภาฯ รัฐบาลชุดก่อน ปัจจุบันร่างพระราชบัญญัติการขนส่งทางราง พ.ศ. .... อยู่ระหว่างดำเนินการแก้ไขปรับปรุงในส่วนที่ยังไม่สอดคล้องกับบทบัญญัติของกฎหมายที่เปลี่ยนแปลงไปในปัจจุบัน



นายสุรพงษ์กล่าวว่า คาดว่าจะเสนอร่าง พ.ร.บ.การขนส่งทางรางฯ กลับไปยัง ครม. เพื่อพิจารณาได้ภายในปี 2566 ก่อนเข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรตามขั้นตอนต่อไป และคาดว่าร่างกฎหมายฉบับนี้จะมีผลบังคับใช้ในปลายปี 2567 เพื่อให้การกำกับดูแลระบบขนส่งทางรางมีมาตรฐานเดียวกันทั้งประเทศและเทียบเท่าสากล และจะช่วยเพิ่มความปลอดภัยในการใช้บริการให้แก่ประชาชนมากขึ้น

Mongwin wrote:
‘สุรพงษ์’ เร่งเครื่องสายสีแดงส่วนต่อขยายลุ้นช่วง ‘รังสิต-มธ.’ ชง ครม.เคาะสัปดาห์หน้า
ไทยโพสต์ 20 ตุลาคม 2566 เวลา 7:45 น.
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44652
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 23/10/2023 6:52 am    Post subject: Reply with quote

ขสมก. เล็งตัดรถเสริมป้อนคนนั่งรถไฟฟ้าสายสีแดง-ม่วง
เดลินิวส์ 23 ตุลาคม 2566 14:03 น.
เศรษฐกิจ-ยานยนต์

“ขสมก.” เร่งทำแผนตัดรถเมล์เสริมบางเส้นทางเชื่อมสถานีรถไฟฟ้าสายสีแดง-สายสีม่วง ที่ใช้บริการหนาแน่น เพิ่มสะดวก รวดเร็ว หนุนขนส่งผู้โดยสารป้อนรถไฟฟ้าตามนโยบาย 20 บาทตลอดสายเพิ่มในอนาคต ขณะที่รถเมล์เชื่อมรถไฟฟ้า 2 สาย 42 เส้นทางยอดใช้บริการ เฉพาะ 16 ต.ค. 66 วันแรก ใช้นโยบายรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย กว่า 2.2 แสนคน รายได้ 2.9 ล้านบาท

รายงานข่าวจากองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) แจ้งว่า ตามที่นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รมว.คมนาคม มีโยบายให้ ขสมก. จัดแผนเดินรถโดยสารประจำทาง (รถเมล์) เชื่อมต่อรถไฟฟ้า 2 สาย ได้แก่ 1.รถไฟฟ้าสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต และช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน และ 2.รถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน-คลองบางไผ่ ที่นำร่องใช้นโยบายรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงระบบรถไฟฟ้าทั้ง 2 สายสะดวก รวดเร็ว ทำให้จำนวนผู้โดยสารที่ใช้บริการถไฟฟ้า 2 สายเพิ่มขึ้นในอนาคตนั้น

ปัจจุบัน ขสมก. มีรถเมล์ผ่านเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีแดง และรถไฟฟ้าสายสีม่วงอยู่แล้ว เพื่อขนส่งผู้โดยสารป้อนให้กับระบบรถไฟฟ้า ขณะเดียวกันนางมนพร เจริญศรี รมช.คมนาคม ที่กำกับดูแล ขสมก. สั่งให้พิจารณาปริมาณจำนวนผู้โดยสารที่ใช้บริการรถเมล์ผ่านสถานีรถไฟฟ้าทั้ง 2 สาย ที่เป็นจุดเชื่อมต่อที่ใช้บริการหนาแน่น เช่น สถานีรังสิต ดอนเมือง บางบำหรุ และตลิ่งชัน เป็นต้น เพื่อนำข้อมูลมาจัดทำแผนให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้โดยสารมากที่สุด โดยอาจใช้วิธีการตัดรถเสริมบางเส้นทาง เน้นสถานีที่มีผู้โดยสารใช้จำนวนมาก เพื่อเกิดการเดินทางที่สั้นลง รวดเร็ว สะดวก เพราะรถเมล์บางเส้นทางมีระยะทางไกล ใช้เวลาเดินรถไป-กลับนาน เกิดการหมุนรถช้า ส่งผลให้ผู้โดยสารไม่ได้รับความสะดวก

อย่างไรก็ตาม คาดว่าแผนการตัดรถเสริมบางเส้นทางที่ผ่านสถานีรถไฟฟ้า 2 สาย ที่ใช้บริการหนาแน่นนี้ จะใช้เวลาประมาณ 1 สัปดาห์แล้วเสร็จ จากนั้นจะดำเนินการจัดแผนการเดินรถให้เหมาะสมต่อไป เพื่อเพิ่มเที่ยววิ่งและรับส่งผู้โดยสารเข้าใช้ระบบรถไฟฟ้าทั้ง 2 สายจำนวนมากขึ้นในอนาคต

ปัจจุบัน ขสมก. มีรถเมล์ให้บริการรวม 2,885 คัน จำนวน 107 เส้นทาง ผู้โดยสารใช้บริการอยู่ที่ 700,000 กว่าคนต่อวัน ในจำนวนนี้หากแยกเป็นรถเมล์ที่เชื่อมต่อเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีแดง และรถไฟฟ้าสายสีม่วง รวมทั้งหมด 42 สาย ขณะเดียวกันอยู่ระหว่างเก็บข้อมูลจำนวนผู้โดยสารที่ใช้บริการรถเมล์ที่เชื่อมต่อรถไฟฟ้าทั้ง 2 สาย ช่วงก่อน และหลังวันที่ 16 ต.ค. 66 ซึ่งเป็นวันแรกที่ใช้นโยบายรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย ประมาณ 1 สัปดาห์ เพื่อนำมาเปรียบเทียบกันว่า จะมีจำนวนผู้โดยสารเพิ่มมากน้อยแค่ไหน พร้อมสรุปข้อมูลให้ชัดเจน เพื่อจัดทำแผนจัดการเดินรถเชื่อมต่อรถไฟฟ้าทั้ง 2 สายต่อไป


ทั้งนี้ จากการเก็บข้อมูลจำนวนผู้โดยสารที่ใช้บริการรถเมล์ 42 สาย ที่เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีแดง และสายสีม่วง เฉพาะวันที่ 16 ต.ค. 66 (วันแรกที่ใช้นโยบายรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย) พบว่า มีผู้โดยสารรวม 221,659 คน 5,698 เที่ยววิ่ง มีรายได้ค่าโดยสารรวม 2,932,759 บาท แบ่งเป็น

รถไฟฟ้าสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต และช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน จำนวน 13 สถานี มีรถเมล์ผ่าน 27 สาย ผู้โดยสารใช้บริการเมื่อวันที่ 16 ต.ค. 66 จำนวน 139,247 คน 3,665 เที่ยววิ่ง รายได้ 2,020,818 บาท สำหรับ 27 สาย เช่น 49 สถานีกลางบางซื่อ-หัวลำโพง, สาย 79 พุทธมณฑลสาย 2-ราชประสงค์, สาย 510 มธ.ศูนย์รังสิต-อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ และ สาย 555 รังสิต-สุวรรณภูมิ (ทำงด่วน)

ส่วนรถไฟฟ้าสายสีม่วง จำนวน 16 สถานี มีรถเมล์ผ่าน 15 สาย ผู้โดยสารใช้บริการเมื่อวันที่ 16 ต.ค. 66 จำนวน 82,412 คน 2,033 เที่ยววิ่ง รายได้ 911,941 บาท สำหรับ 15 สาย เช่น สาย 18 อู่ท่าอิฐ-อนุสาวรีย์ชัยฯ, สาย 50 พระราม7-สวนลุมพินี, สาย 63 สถานีรถไฟฟ้าพระนั่งเกล้า-อนุสาวรีย์ชัยฯ และสาย 516 หมู่บ้านบัวทองเคหะ-เทเวศร์

ทั้งนี้ มีรถเมล์บางสายที่ผ่านทั้งรถไฟฟ้าสายสีแดงและรถไฟฟ้าสายสีม่วง เช่น สาย 16 หมอชิต 2-สุรวงศ์, สาย 134 หมู่บ้านบางบัวทอง-หมอชิต 2, สาย 191 การเคหะคลองจั่น-กระทรวงพาณิชย์ และสาย 505 ปากเกร็ด-สวนลุมพินี
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 76, 77, 78, 79  Next
Page 77 of 79

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©