Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311296
ทั่วไป:13274171
ทั้งหมด:13585467
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - เผยโฉม รถ "สายสีแดงอ่อน"
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

เผยโฉม รถ "สายสีแดงอ่อน"
Goto page Previous  1, 2, 3 ... , 77, 78, 79  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44653
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 21/11/2023 8:56 am    Post subject: Reply with quote

RED Line SRTET
21 พ.ย. 66 05:06 น.

https://www.facebook.com/REDLineSRTET/posts/330730466245565

บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด
ผู้ให้บริการรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง
ขอแจ้งตารางเดินรถประจำ
วันอังคารที่ 21 พฤศจิกายน 2566
🚇 รถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง
⏰ เปิดให้บริการตั้งแต่เวลา
05.00 น. - 24.00 น.
ให้บริการตามตารางเวลาเดินรถปกติ
โดยให้บริการรถไฟจำนวน 8 ขบวน
………………………………
🚇 ธานีรัถยา : สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์-สถานีรังสิต (สายเหนือ)
▪️ช่วงเวลาเร่งด่วน ความถี่ 10.00 นาที
▪️นอกช่วงเวลาเร่งด่วน ความถี่ 15.00 นาที
• 05.00 น. – 07.00 น. ความถี่ 15 นาที
• 07.00 น. – 09.30 น. ความถี่ 10 นาที
• 09.30 น. – 17.00 น. ความถี่ 15 นาที
• 17.00 น. – 19.30 น. ความถี่ 10 นาที
• 19.30 น. – 24.00 น. ความถี่ 15 นาที
รถไฟฟ้าเที่ยวแรก เวลา 05.00 น.
รถไฟฟ้าเที่ยวสุดท้าย เวลา 24.00 น.
………………………………
🚇 นครวิถี : สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์-ตลิ่งชัน (สายตะวันตก)
05.00 น. - 24.00 น. ความถี่ 20 นาที
รถไฟฟ้าเที่ยวแรก เวลา 05.00 น.
รถไฟฟ้าเที่ยวสุดท้าย เวลา 24.00 น.
………………………………
🚇 รถไฟฟ้าสายสีแดง ยกระดับคุณภาพชีวิตชานเมือง
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44653
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 23/11/2023 5:31 am    Post subject: Reply with quote

นั่งรถไฟฟ้าสายสีแดง ต่อรถไฟ Feeder ไปนครปฐม​ | Train to Nakhon Pathom 20 baht! | Sunny​ ontour​
Sunny ontour
Nov 22, 2023


https://www.youtube.com/watch?v=zSNd_J5dMMU

นั่งรถไฟฟ้าสายสีแดง ต่อรถไฟ Feeder ไปนครปฐม​ | Train to Nakhon Pathom 20 baht! | Sunny​ ontour​

การรถไฟฯ แจ้งปรับให้บริการเดินรถ ขบวนรถดีเซลรางชานเมือง (Feeder) เส้นทางสายใต้ ธนบุรี – นครปฐม เริ่ม 15 กันยายน 66

เที่ยวไป

1. ขบวนรถชานเมืองที่ 1123 ออกจากธนบุรีเวลา 06.15 น. ถึงนครปฐมเวลา 07.20 น.
2. ขบวนรถชานเมืองที่ 1115 ออกจากธนบุรี เวลา 11.20 น. ถึงนครปฐมเวลา 12.30 น.
3. ขบวนรถชานเมืองที่ 1117 ออกจากธนบุรี เวลา 14.15 น. ถึงนครปฐมเวลา 15.20 น.
4. ขบวนรถชานเมืองที่ 1129 ออกจากธนบุรี เวลา 16.55 น. ถึงนครปฐมเวลา 18.00 น.


เที่ยวกลับ

1. ขบวนรถชานเมืองที่ 1124 ออกจากนครปฐม เวลา 08.00 น. ถึงธนบุรี เวลา 09.05 น.
2. ขบวนรถชานเมืองที่ 1116 ออกจากนครปฐม เวลา 12.45 น. ถึงธนบุรี เวลา 13.50 น.
3. ขบวนรถชานเมืองที่ 1118 ออกจากนครปฐม เวลา 15.35 น. ถึงธนบุรี เวลา 16.40 น.
4. ขบวนรถชานเมืองที่ 1132 ออกจากนครปฐม เวลา 20.30 น. ถึงธนบุรี เวลา 21.35 น.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44653
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 26/11/2023 3:46 pm    Post subject: Reply with quote

นั่งรถไฟเข้ากรุงเทพ​จาก สถานีรถไฟ​นครปฐม​ - สถานีตลิ่งชัน ต่อรถไฟฟ้า​สีแดงต่อไปกรุงเทพ​อภิวัฒน์​
Sunny ontour
Nov 26, 2023


https://www.youtube.com/watch?v=QBdIraFzsEU


รฟฟท.สุดปลื้ม สายสีแดงปัง! แห่ใช้เพิ่ม16%
Source - ไทยโพสต์
Monday, November 27, 2023 05:02

บางซื่อ * นายสุเทพ พันธุ์เพ็ง กรรมการผู้อำนวยการใหญ่บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด (รฟฟท.) หรือผู้ให้บริการรถไฟ ฟ้าชานเมืองสายสีแดง เปิดเผย ว่า หลังจากรถไฟฟ้าสายสีแดงใช้มาตรการอัตราค่าโดยสารสูงสุด 20 บาทตลอดสายตาม นโยบายรัฐบาล พบว่าปัจจุบันมีผู้ใช้บริการเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 29,000 คนต่อวัน หรือเพิ่มขึ้น 16% เนื่องจากพบว่ามีผู้ใช้บริการเดินทางด้วยระบบรางมากขึ้น ขณะเดียวกันได้รับอานิสงส์จากนักท่องเที่ยวที่เดินทางจากสนามบินดอนเมืองที่มาใช้บริการ

ทั้งนี้ หลังจากรถไฟฟ้าสายสีแดงได้รับนโยบายรถ ไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย พบว่าได้รับเสียงตอบรับเป็นอย่างดี ตัวเลขที่เพิ่มขึ้น 16% นั้น ดีกว่าเป้าที่ก่อนหน้านี้ตั้งเป้าไว้ทั้งปีอยู่ที่ 20% ขณะเดียวกันหากรถไฟฟ้าสายสีชมพูช่วงแคราย-มีนบุรี เปิดให้บริการแล้ว มั่นใจว่าจะช่วยให้ผู้โดยสารสายสีแดงเพิ่มขึ้นเป็น 20% ซึ่งหลังจากนี้ต้องติดตามตัวเลขต่อไป สำหรับรถไฟชานเมืองสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต จะเชื่อมกับรถไฟฟ้าสายสีชมพู บริเวณสถานีหลักสี่ (PK14) โดย รถไฟฟ้าสายสีแดงเปิดให้บริการ ตั้งแต่เวลา 05.00-24.00 น. ให้บริการตามตารางเวลาเดินรถปกติ โดยให้บริการรถไฟจำนวน 8 ขบวน

สำหรับนโยบายรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย กระทรวงคมนาคมมีวัตถุประสงค์หลักที่จะ ช่วยอำนวยความสะดวกในการเดินทาง และลดภาระค่าใช้จ่ายในการเดินทางให้แก่ประชาชน นอกจากนี้ ยังช่วยลดปัญหามลพิษ รวมถึงลดปัญหาฝุ่น PM 2.5 ประหยัดต้นทุนด้านสิ่งแวดล้อม และยังช่วยลดปัญหาการจราจรติดขัดในกรุงเทพฯ และปริมณฑล ประหยัดเวลาในการเดินทางบนถนน นอกจากนี้ ยังช่วยให้การเดินทางโดยรถยนต์ลดลง ช่วยลดการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน และยังส่งเสริมให้ประชาชนมาใช้ระบบรางมากขึ้น.

ที่มา: นสพ.ไทยโพสต์ ฉบับวันที่ 27 พ.ย. 2566
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 28/11/2023 11:10 am    Post subject: Reply with quote

เริ่ม 30 พ.ย.นี้ แตะบัตร EMV นั่ง “สายสีม่วง-แดง” ข้ามสาย จ่ายไม่เกิน 20 บาท
เศรษฐกิจ-ยานยนต์
27 พฤศจิกายน 2566 เวลา 17:02 น.

เริ่ม 30 พ.ย. นี้ แตะบัตร EMV นั่งรถไฟฟ้าข้ามสาย “ม่วง-แดง” จ่ายไม่เกิน 20 บาท ต้องเปลี่ยนถ่ายระบบที่สถานีบางซ่อนภายใน 30 นาที “สุรพงษ์” เตรียมลงพื้นที่ร่วมใช้งานจริงกับประชาชน ด้าน รฟม. ชี้นโยบาย 20 บาทตลอดสาย ช่วยดันผู้โดยสาร “สายสีม่วง” พุ่ง ช่วงวันหยุดเพิ่มกว่า 13%



นายสุรพงษ์ ปิยะโชติ รมช.คมนาคม เปิดเผยว่า ตั้งแต่วันที่ 30 พ.ย. 66 ผู้โดยสารที่เดินทางเชื่อมต่อระหว่างรถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม (MRT สายสีม่วง) ของ รฟม. และรถไฟฟ้าชานเมือง สายนครวิถี (สายสีแดง) ของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) จะได้รับสิทธิชำระค่าโดยสารร่วม 2 สาย สูงสุดไม่เกิน 20 บาท เท่านั้น เมื่อใช้บัตรโดยสาร EMV Contactless ใบเดียวกัน และเปลี่ยนถ่ายระบบ ณ สถานีบางซ่อน ภายในระยะเวลา 30 นาที ในวันดังกล่าว ตนจะลงพื้นที่ร่วมกับการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อทดลองใช้ระบบ EMV Contactless เดินทางข้ามสาย ระหว่างรถไฟฟ้า MRT สายสีม่วง และรถไฟฟ้าชานเมือง สายสีแดง พร้อมๆ กับประชาชนผู้ใช้บริการ เพื่อติดตามตรวจสอบความเรียบร้อยในการให้บริการด้านการเดินทางแก่ประชาชนด้วย



นายสุรพงษ์ กล่าวต่อว่า สำหรับนโยบาย “รถไฟฟ้า 20 บาท ตลอดสาย” เป็นหนึ่งในนโยบาย Quick Win ของรัฐบาลในด้าน “คมนาคม เพื่อความอุดมสุขของประชาชน” ซึ่งกระทรวงคมนาคมได้เร่งผลักดันให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อตอบสนองความต้องการ และความคาดหวังของประชาชนในด้านการเดินทาง และการให้บริการระบบคมนาคมขนส่ง ซึ่งที่ผ่านมา กระทรวงคมนาคมได้กำกับดูแลหน่วยงานในสังกัดที่ดำเนินงานด้านระบบรางอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะในส่วนของ รฟม. และการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ที่เป็น 2 หน่วยงานนำร่องนโยบายรถไฟฟ้า 20 บาท มาใช้ในการให้บริการรถไฟฟ้าของภาครัฐ ตั้งแต่ที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบ เมื่อวันที่ 16 ต.ค. 66 เป็นต้นมา 



ทั้งนี้ ได้ให้มีการติดตามประเมินความคุ้มค่าด้านจำนวนผู้โดยสารที่เพิ่มมาในระบบเปรียบเทียบกับรายได้ เพื่อรายงานให้กระทรวงคมนาคมทราบเป็นระยะ พร้อมทั้งมอบหมายให้กรมการขนส่งทางราง (ขร.) เป็นเจ้าภาพร่วมกับหน่วยงานผู้ให้บริการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน ในการศึกษาแนวทางและจัดทำข้อเสนอแนะในเชิงนโยบายที่เหมาะสมสำหรับการกำหนดอัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้าในระยะต่อๆ ไป ที่สามารถสานต่อนโยบายดังกล่าวได้ และต้องอยู่บนพื้นฐานที่ไม่เป็นภาระทางการเงินของหน่วยงานภาครัฐในอนาคตด้วย ควบคู่ไปกับการจัดทำแผนเพิ่มประสิทธิภาพในการหารายได้เพิ่มเติมของหน่วยงานภาครัฐ โดยการดำเนินการดังกล่าว จะต้องเกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชนผู้ใช้บริการ...
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 30/11/2023 4:08 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
เริ่ม 30 พ.ย.นี้ แตะบัตร EMV นั่ง “สายสีม่วง-แดง” ข้ามสาย จ่ายไม่เกิน 20 บาท
เศรษฐกิจ-ยานยนต์
27 พฤศจิกายน 2566 เวลา 17:02 น.


เริ่มแล้ว!จ่าย 20 บาท"สีแดงต่อสีม่วง"ด้วยบัตร EMV เชื่อมที่บางซ่อน"สุรพงษ์" ย้ำรัฐขาดทุนแต่ช่วยลดภาระปชช.
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: 30 พฤศจิกายน 2566 เวลา 15:47 น.
ปรับปรุง: 30 พฤศจิกายน 2566 เวลา 15:47 น.


“สุรพงษ์” คิกออฟ รถไฟฟ้า 20 บาทเดินทางเชื่อมต่อ" สีแดง-สีม่วง" ด้วยบัตร EMV คาดผู้โดยสารสถานีบางซ่อนเพิ่ม 1 เท่าตัว แจง 20 บาททำขาดทุนเพิ่ม แต่ช่วยลดภาระประชาชนต้องดูผลตอบแทนทางเศรษฐกิจมากกว่าตัวเลขทางบัญชี ขณะที่จุดคุ้มทุนผู้โดยสารต้อง1 แสนต่อวัน

วันที่ 30 พ.ย. 2566 นายสุรพงษ์ ปิยะโชติ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ได้ตรวจการดำเนินมาตรการเก็บค่าโดยสารรถไฟฟ้าสูงสุด 20 บาทต่อเที่ยว ที่
สถานีบางซ่อน ซึ่งเริ่มใช้วันแรก กับผู้ที่เดินทางเชื่อมต่อระหว่างรถไฟชานเมืองสายสีแดงกับรถไฟฟ้าสายสีม่วง ที่สถานีบางซ่อน ภายใต้เงื่อนไข ชำระค่าโดยสารผ่านทางบัตร EMV (Europay, MasterCard, VISA) หรือบัตรเครดิต และบัตรเดบิตที่เข้าร่วม หลังจากที่ก่อนหน้าดำเนินมาตรการเก็บค่าโดยสารรถไฟฟ้าสูงสุด 20 บาท สำหรับรถไฟชานเมืองสายสีแดง
ช่วงสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ - สถานีรังสิต และ ช่วงสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์–สถานีตลิ่งชัน และรถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม หรือ MRT สายสีม่วง ช่วงคลองบางไผ่ - เตาปูน สูงสุดสายละ 20 บาท ซึ่งเป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2566



นายสุรพงษ์ ปิยะโชติ รมช.คมนาคม กล่าวว่า การเตรียมพร้อมระบบให้บริการเป็นไปด้วยดี ซึ่งรัฐบาลต้องการลดภาระค่าครองชีพแบ่งเบาค่าใช้จ่ายในการเดินทางให้ประชาชน และรณรงค์ให้ประชาชน มาใช้ระบบรางในการเดินทางเพื่อลดมลพิษทางรถยนต์ วันนี้เริ่มใช้ค่าโดยสาร 20 บาท ใช้ 2 สายต่อกันได้แลัว หลังจากนี้จะขยายนโยบายต่อไป ในสายอื่นๆ โดยยังไม่มีกำหนดเวลาสิ้นสุดนโยบาย

หลักการ รถไฟชานเมืองสายสีแดง และรถไฟฟ้า MRT สายสีม่วง ค่าโดยสารสูงสุดไม่เกิน 20 บาท ต้องใช้ บัตร EMV Contactless โดยระบบจะตัดเงินก่อน แล้วทำการให้ส่วนลดคืนใน 3 วัน ทั้งนี้ รัฐบาลพร้อมรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในการใช้บริการเพื่อนำมาปรับปรุงให้เหมาะสม

โดยปัจจุบันสถานีบางซ่อนมีผู้โดยสารใช้เดินทางข้ามสายระหว่างสายสีแดงและสายสีม่วงอยู่ประมาณ 400-500 คนต่อวันคาดว่าเมื่อใช้ 20 บาทเดินทางเชื่อม 2 สายผู้โดยสารจะเพิ่มเป็น 1,000 คนต่อวัน หรือเพิ่มขึ้น ประมาณ 1 เท่าตัว

ทั้งนี้จากการให้บริการมาตรการลดค่าโดยสาร 20 บาทในช่วงที่ผ่านมาทำให้มีผู้ใช้บริการเพิ่มขึ้น โดยรถไฟสายสีแดงผู้โดยสารก่อนมาตรการ 20 บาทช่วงวันที่1 -15 ตุลาคม 2566 มีจำนวนเฉลี่ย 21,632 คนต่อวันหลังมาตรการ 20 บาทช่วงวันที่ 16 ตุลาคม- 27 พฤศจิกายน 2566 มีจำนวนเฉลี่ย 26,097 คนต่อวันเพิ่มขึ้น 20.64%
ส่วนรถไฟฟ้าสายสีม่วงผู้โดยสารก่อนมาตรการ 20 บาทช่วงวันที่1 -15 ตุลาคม 2566 มีจำนวนเฉลี่ย 56,979 คนต่อวันหลังมาตรการ 20 บาทช่วงวันที่ 16 ตุลาคม- 27 พฤศจิกายน 2566 มีจำนวนเฉลี่ย 64,803 คนต่อวันเพิ่มขึ้น 13.73%
ซึ่งหากจำนวนผู้โดยสารขึ้นไปอยู่ในระดับเฉลี่ย 100,000 คนต่อวันจะถือเป็นจุดคุ้มทุนค่าใช้จ่าย ที่รัฐไม่ต้องชดเชย และหากจำนวนผู้โดยสารเลย มากกว่า 100,000 คนขึ้นไปก็จะเป็นส่วนที่โครงการมีกำไรได้



ส่วนกรณีที่มีการวิพากษ์ วิจารณ์ ว่า มาตรการรถไฟฟ้า 20 บาทของรัฐบาล รายได้ลดลงและ ทำให้ขาดทุนเพิ่ม รมช.คมนาคมกล่าวว่า บริการ สาธารณะเป้าหมายไม่ได้มุ่งหวังกำไร แต่อยากให้ดูกำไรทางอ้อมที่จะเกิดขึ้นทั้งด้านเศรษฐกิจการลดค่าใช้จ่ายการเดินทางของประชาชน สามารถนำเงินไปใช้จ่ายในด้านอื่นได้มากขึ้น

สำหรับรถไฟฟ้าสายสีม่วงการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) จ้างบริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM บริหารการเดินรถ ปัจจุบันวงเงิน 2,700 ล้านบาทต่อปี โดยมีรายได้ ก่อนมาตรการ 20 บาทตลอดสาย เฉลี่ยวันละ 1.33 ล้านบาท และมีรายได้หลังเก็บ 20 บาทตลอดสาย เฉลี่ยวันละ 8.3 แสนบาท



ส่วนการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) จ้างบริษัทลูก คือ บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด (รฟฟท.) เดินรถไฟฟ้าสายสีแดงมีค่าใช้จ่าย ประมาณ 480 ล้านบาทต่อปี โดยมีรายได้ ก่อนมาตรการ 20 บาทตลอดสาย เฉลี่ยวันละ 6.61แสนบาท และมีรายได้หลังเก็บ 20 บาทตลอดสาย เฉลี่ยวันละ 5.14 แสนบาท



สำหรับรายละเอียดของการคิดอัตราค่าโดยสารและการใช้บัตร ดังนี้

1. อัตราค่าโดยสาร กรณีเดินทางข้ามสายระหว่างรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง และรถไฟฟ้า MRT สายสีม่วง สูงสุดไม่เกิน 20 บาท เริ่มให้บริการทุกวัน ตั้งแต่เวลา 05.00-24.00 น.


2. ผู้โดยสารที่เดินทางข้ามสายผ่านระบบรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง ต้องใช้ Gate EMV ด้วยบัตรเครดิตMaster Card และ Visa Card ของทุกธนาคาร หรือบัตรเดบิต Master Card และ Visa Card ของธนาคารกรุงไทย และธนาคารยูโอบี โดยไม่รับเงินสด หรือระบบตั๋วโดยสารที่ไม่ใช่ ระบบ Gate EMV

3. การเดินทางเชื่อมต่อระหว่างระบบรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง กับรถไฟฟ้า MRT สายสีม่วง จะต้องเปลี่ยนสถานีที่ สถานีบางซ่อน เท่านั้น

4. ผู้โดยสารที่เดินทางข้ามสายระหว่างระบบรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง กับรถไฟฟ้า MRT สายสีม่วง จะต้องเดินทางข้ามระบบภายใน 30 นาที และใช้บัตรใบเดียวกัน หากเกินกว่าระยะเวลาที่กำหนด จะคิดตามอัตราค่าโดยสารสูงสุดคือ 42 บาท

ทั้งนี้ ผู้โดยสารควรมีเงินสำรองภายในบัตร ไม่ต่ำกว่า 40 บาท เพื่อรองรับการเรียกเก็บอัตราค่าโดยสารผ่านบัตร EMV Contactless จากทางธนาคาร โดยหากการเดินทางเข้าเงื่อนไขตามนโยบายอัตราค่าโดยสารสูงสุดไม่เกิน 20 บาท ธนาคารจะดำเนินการ Cash Back กลับเข้าบัตรให้ภายใน 3 วัน

ทั้งนี้ การดำเนินนโยบายดังกล่าวจะช่วยลดภาระค่าครองชีพในการเดินทางแก่ประชาชนได้เป็นอย่างมาก จากเดิมจะเสียค่าโดยสารรถไฟฟ้าสูงสุดถึงสายละ 42 บาท อีกทั้งต้องเสียค่าแรกเข้าเมื่อมีการเปลี่ยนไปใช้รถไฟฟ้าสายใหม่ แต่เมื่อมีการเชื่อมต่อการเดินทางของรถไฟฟ้าทั้ง 2 สายเข้าด้วยกัน จะคิดค่าโดยสารรวมกันสูงสุดที่ 20 บาทเท่านั้น
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 30/11/2023 4:14 pm    Post subject: Reply with quote

ต่อขยายสายสีแดง “รังสิต-มธ.” จ่อบรรจุวาระครม. 800 คนวาร์ปแดง-ม่วง 20 บาทฉิว
เศรษฐกิจ-ยานยนต์
30 พฤศจิกายน 2566 เวลา 09:01 น.



“ทีมข่าวนวัตกรรมขนส่งเดลินิวส์” รายงานด้วยว่า วันนี้ (วันที่ 30 พ.ย.) นายสุรพงษ์ ปิยะโชติ รมช.คมนาคม จะลงพื้นที่ทดสอบการเดินทางข้ามระบบโดยใช้บัตร EMV contactless มาตรการอัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้าสูงสุด 20 บาทตลอดสาย ระยะที่ 2 เพื่อเชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีแดง สายนครวิถี ช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน ของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) และรถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม (MRT สายสีม่วง) ช่วงเตาปูน-คลองบางไผ่ ของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ที่สถานีบางซ่อน เป็นวันแรกที่เปิดให้ผู้โดยสารเดินทางเชื่อมต่อระหว่างรถไฟฟ้าสายสีม่วง และสายสีแดง ได้รับสิทธิชำระค่าโดยสารร่วม 2 สาย สูงสุดไม่เกิน 20 บาท เมื่อใช้บัตรโดยสาร EMV Contactless ใบเดียวกัน และเปลี่ยนถ่ายระบบ ณ สถานีบางซ่อน ภายในเวลา 30 นาทีด้วย


ปัจจุบันสถานีบางซ่อน สายสีม่วง มีผู้ใช้บริการประมาณ 4,700 คนต่อวัน ขณะที่สายสีแดง มีผู้ใช้บริการประมาณ 491 คนต่อวัน ส่วนผู้โดยสารที่เดินทางเชื่อมต่อระหว่างสายสีแดง และสายสีม่วง ด้วยบัตร EMV contactless มีประมาณ 500 คนต่อวัน คาดว่าเมื่อมีมาตรการ จะทำให้มีผู้โดยสารเดินทางข้ามระบบโดยใช้บัตร EMV contactless เพิ่มขึ้นเป็นประมาณ 800 คน ยอมรับว่าก่อนหน้านี้ มีผู้โดยสารใช้บัตร EMV contactless เดินทางด้วยระบบรถไฟฟ้าสายสีต่างๆ น้อยมาก ซึ่งจากข้อมูลเดือน มิ.ย. 66 มีผู้โดยสารใช้บัตร EMV 3.58% หรือประมาณ 6.3 หมื่นคน ของจำนวนผู้โดยสารในระบบรถไฟฟ้าอยู่ที่ประมาณ 1.7-1.8 ล้านคนต่อวัน

ภายหลังกระทรวงคมนาคม มีนโยบายยกเว้นค่าแรกเข้าระหว่างสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง และสายสีน้ำเงิน ช่วงหัวลำโพง-บางซื่อ ที่สถานีลาดพร้าว ให้กับผู้โดยสารที่ใช้บัตร EMV เดินทางเชื่อมต่อ 2 สาย ปรากฏว่า จากข้อมูลเดือน ส.ค. 66 ปริมาณผู้โดยสารที่ใช้บัตร EMV เพิ่มสูงขึ้นเป็น 10.24% หรือประมาณ 1.8 แสนคนต่อวัน คาดว่าเมื่อเปิดให้ผู้โดยสารใช้บัตร EMV ได้รับสิทธิชำระค่าโดยสารร่วม 2 สาย ระหว่างสีแดงกับสีม่วงไม่เกิน 20 บาท จะทำให้ปริมาณผู้โดยสารที่ใช้บัตร EMV ในภาพรวมทั้งระบบรถไฟฟ้าเพิ่มสูงขึ้นเช่นกัน



บัตร EMV เพิ่มความสะดวกรวดเร็วในการเดินทางให้ประชาชนมากขึ้น เพียงใช้บัตรใบเดียว ในระหว่างรอตั๋วร่วมที่กระทรวงคมนาคมกำลังเร่งผลักดันให้เกิดขึ้นในอนาคต ปัจจุบันบัตรเครดิต EMV ของทุกธนาคาร ใช้ร่วมกับรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน สายสีม่วง สายสีแดง สายสีเหลือง และสายสีชมพูได้ ส่วนบัตรเดบิต EMV ของธนาคารกรุงไทย และธนาคารยูโอบี ใช้งานได้ในสายสีเหลือง โดยข้อมูลเบื้องต้นพบว่า คนไทยกว่า 6 ล้านคน ถือบัตรเครดิตประมาณ 25 ล้านใบ จากประชากร 66 ล้านคน...
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44653
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 01/12/2023 5:08 pm    Post subject: Reply with quote

"สุริยะ”หารือ“เอกอัครราชทูตญี่ปุ่น" แจ้งสนใจร่วมทุนรถไฟสายสีแดงและบริหารท่าเริอแหลมฉบัง
ผู้จัดการออนไลน์ 1 ธ.ค. 2566 12:01

“สุริยะ” หารือ “เอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย”เผย สนใจร่วมลงทุนรถไฟรถไฟสีแดง และบริหารท่าเทียบเรือแหลมฉบัง A5 และ B1 - B5 พร้อมเดินหน้าความร่วมมือโครงสร้างพื้นฐานคมมนาคมกับไทย

วันที่ 1 ธันวาคม 2566 นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ให้ Mr. NASHIDA Kazuya (นายนะชิดะ คะสุยะ) เอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทยและคณะเข้าพบ เพื่อหารือเกี่ยวกับความร่วมมือด้านคมนาคมขนส่งระหว่างไทยและญี่ปุ่น โดยมี นายสรวุฒิ เนื่องจำนงค์ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และนายชยธรรม์ พรหมศร ปลัดกระทรวงคมนาคม ร่วมหารือ
นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รมว.คมนาคม กล่าวว่า ความร่วมมือของไทยและญี่ปุ่นในการพัฒนาความเชื่อมโยงและโครงสร้างพื้นฐานในประเทศไทยได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ทางเทคนิคในด้านคมนาคมขนส่งที่ทั้งสองฝ่ายสนใจร่วมกัน และมีความยินดีที่นักลงทุนญี่ปุ่นให้ความสนใจในการลงทุนในโครงการต่าง ๆ ด้านคมนาคมขนส่งในประเทศไทย ซึ่งความร่วมมือเหล่านี้จะเป็นก้าวสำคัญสู่โครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่งที่แข็งแกร่งและเชื่อมโยงถึงกัน ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อทั้งสองประเทศ และหวังว่าจะได้มีการประสานความร่วมมือระหว่างกันต่อไปในอนาคต

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมและเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย ได้หารือถึงความสนใจจากผู้ประกอบการญี่ปุ่นในการเข้าร่วมลงทุนโครงการระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดงส่วนต่อขยาย ซึ่งปัจจุบันอยู่ระหว่างการเสนอคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบการปรับกรอบวงเงินโครงการฯ ประกอบด้วย โครงการระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดง ช่วงตลิ่งชัน - ศาลายา และสถานีเพิ่มเติม 3 สถานี (สถานีสะพานพระราม 6 สถานีบางกรวย - กฟผ. และสถานีบ้านฉิมพลี) ระยะทาง 14.8 กิโลเมตร โครงการระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดงอ่อน ช่วงตลิ่งชัน - ศิริราช ระยะทาง 5.70 กิโลเมตร โครงการระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดงเข้ม ช่วงรังสิต- ธรรมศาสตร์ศูนย์รังสิต ระยะทาง 8.84 กิโลเมตร โครงการระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดงอ่อน ช่วงบางซื่อ - พญาไท - มักกะสัน - หัวหมาก และสายสีแดงเข้ม ช่วงบางซื่อ - หัวลำโพง (Missing Link) ระยะทาง 25.9 กิโลเมตร

และให้ความสนใจร่วมลงทุนบริหารท่าเทียบเรือแหลมฉบัง A5 และ B1 - B5 ซึ่งการท่าเรือแห่งประเทศไทยอยู่ระหว่างนำเสนอคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบต่อรูปแบบและรายละเอียดการประกวดราคา

ทั้งนี้ ในวันที่ 14 – 18 ธันวาคม 2566 นายกรัฐมนตรีพร้อมด้วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม มีกำหนดการเยือนประเทศญี่ปุ่น ในการประชุมสุดยอดอาเซียน - ญี่ปุ่น สมัยพิเศษ (ASEAN-Japan Commemorative Summit) รวมทั้งจะเข้าร่วมการประชุม Thailand-Japan Investment Forum 2023 โดยจะนำโครงการแลนด์บริดจ์มาเป็นข้อหารือ ซึ่งโครงการแลนด์บริดจ์จะเป็นเส้นทางการเดินเรือใหม่ของโลกและจะสามารถแก้ปัญหาของความล่าช้าในการเดินเรือผ่านช่องแคบมะละกา ซึ่งกระทรวงคมนาคมได้เดินหน้าประชาสัมพันธ์ให้นานาประเทศได้รู้จักโครงการเพิ่มมากขึ้น เพื่อนำเสนอโอกาสนักลงทุนต่างประเทศมาลงทุนในประเทศไทย
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44653
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 02/12/2023 3:17 pm    Post subject: Reply with quote

นิวไฮ! ผู้โดยสายสีแดง&ม่วง หลังเปิดให้ใช้ EMV ข้ามสาย 20 บาท
เดลินิวส์ 2 ธันวาคม 2566 14:47 น.
เศรษฐกิจ

นายพิเชฐ คุณาธรรมรักษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางราง (ขร.) เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 1 ธ.ค. เป็นวันศุกร์แรกหลังเปิดให้บริการเชื่อมต่อรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงและรถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม (สีม่วง) ด้วยค่าโดยสารสูงสุดรวม 20 บาท เมื่อใช้บัตร EMV ที่สถานีบางซ่อน เป็นผลให้มีผู้ใช้บริการรถไฟฟ้าชานเมือง (สายสีแดง) 34,719 คน-เที่ยว (รวมรถไฟทางไกลต่อสายสีแดงฟรี 145 คน-เที่ยว) และรถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม (สายสีม่วง) 83,274 คน-เที่ยว สูงสุดตั้งแต่มีสถานการณ์โควิด-19 (สูงสุดครั้งล่าสุด สายสีแดง เมื่อ 27 ต.ค. 66 จำนวน 34,161 คน-เที่ยว และสายสีม่วง เมื่อ 27 พ.ย. 66 จำนวน 82,358 คน-เที่ยว) นอกจากนี้ที่สถานีศูนย์ราชการนนทบุรี เป็นอีกหนึ่งสถานีที่มีทางเดินเชื่อมต่อระหว่างโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู (PK01) และโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง (PP11) ด้วย

นายพิเชฐ กล่าวอีกว่า สำหรับภาพรวมจำนวนผู้โดยสารที่ใช้บริการระบบราง ประจำวันที่ 1 ธ.ค. 66 พบว่า มีผู้ใช้บริการระบบราง รวม 1,876,215 คน-เที่ยว ประกอบด้วย 1.รถไฟระหว่างเมืองของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) 83,223 คน-เที่ยว ประกอบด้วย ขบวนรถโดยสารเชิงพาณิชย์ 30,503 คน-เที่ยว และขบวนรถโดยสารเชิงสังคม 52,720 คน-เที่ยว และ 2.รถไฟฟ้าในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล (รวมรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง) 1,792,992 คน-เที่ยว ประกอบด้วย รถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์ 74,436 คน-เที่ยว, รถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง 34,719 คน-เที่ยว (นิวไฮ) (รวมรถไฟทางไกลเชื่อมต่อสายสีแดงฟรี 145 คน-เที่ยว)

รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล (สายสีน้ำเงิน) 505,682 คน-เที่ยว, รถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม (สายสีม่วง) 83,274 คน-เที่ยว (นิวไฮ), รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิทและสายสีลม 946,650 คน-เที่ยว, รถไฟฟ้า สายสีทอง 6,978 คน-เที่ยว, รถไฟฟ้ามหานคร สายสีเหลือง 46,750 คน-เที่ยว และรถไฟฟ้ามหานคร สายสีชมพู 94,503 คน-เที่ยว
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44653
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 20/12/2023 10:27 am    Post subject: Reply with quote

คมนาคม สั่งรฟท.ทบทวนขยายแนวเส้นทางรถไฟฟ้าสีแดงส่วนต่อขยาย
ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday December 20, 2023 10:15 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นายสุรพงษ์ ปิยะโชติ รมช.คมนาคม เปิดเผยว่า ได้มอบหมายให้การรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) ไปศึกษาทบทวนขยายระยะทางโครงการระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดงส่วนต่อขยายเพิ่มเติม เพื่อรองรับการขยายการเติบโตของเมืองและเชื่อมกับชุมชม และทำให้ภาครัฐสามารถวางแผนในการสร้างชุมชนใหม่ๆให้เกิดขึ้น และช่วยให้ลดความแออัดของเมืองลงอีกด้วย เช่น ช่วงรังสิต-มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ศูนย์รังสิต (มธ.รังสิต) ควรขยายไปถึงอยุธยา หรือ ช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา ควรขยายไปถึง นครปฐม

นายสุรพงษ์ คาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 1-2 เดือน เนื่องจากโครงการมีผลศึกษาเดิมอยู่ก่อนแล้ว โดยจะนำกลับไปเสนอครม.ได้อีกครั้งประมาณเดือนม.ค.- ก.พ. 67

อย่างไรก็ตาม การขยายเส้นทางออกไปจะส่งผลต่อค่าก่อสร้างที่เพิ่มขึ้น ซึ่งคงต้องมีการปรับเรื่องตัวเลขวงเงินลงทุนโครงการใหม่ด้วย ทั้งนี้ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณารายละเอียดอย่างรอบคอบ

สำหรับการพัฒนาโครงการระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดงส่วนต่อขยาย จำนวน 3 เส้นทาง ได้แก่ 1. ช่วงรังสิต-มธ.รังสิต 2.ช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา และ 3. ช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช โดย ช่วงรังสิต-มธ.รังสิต ระยะทาง 8.84 กม. วงเงิน 6,448.69 ล้านบาท ได้เสนอเรื่องไปที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (สลค.) แล้ว อยู่ระหว่างรอบรรจุวาระการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณา แต่ล่าสุดกระทรวงคมนาคมได้ถอนเรื่องกลับมาแล้ว

ส่วนช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา ระยะทาง 14.80 กม. วงเงิน 10,670.27 ล้านบาท และช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช ระยะทาง 5.7 กม. วงเงิน 4,616 ล้านบาท อยู่ในขั้นตอนสอบถามความเห็นหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 20/12/2023 10:55 am    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
จบแล้วปีนี้! ส่วนต่อขยาย “สายสีแดง” ไม่เข้า ครม. ยืดเส้นทางไป “อยุธยา-นครปฐม”
เดลินิวส์ วันพุธที่ 20 ธันวาคม 2566 เวลา 7:15 น.
นวัตกรรมขนส่ง


Mongwin wrote:
คมนาคม สั่งรฟท.ทบทวนขยายแนวเส้นทางรถไฟฟ้าสีแดงส่วนต่อขยาย
ข่าวเศรษฐกิจ วันพุธที่ 20 ธันวาคม 2566 เวลา 10:15 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)



สั่งขยายเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีแดง ออกไปนอกเมืองให้มากขึ้น
Date Time: วันพุธ ที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2566 เวลา 06:20 น.


นายสุรพงษ์ ปิยะโชติ รมช.คมนาคม เปิดเผยถึงโครงการรถไฟสายสีแดงส่วนต่อขยาย 3 เส้นทางว่า สั่งการให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) พิจารณาขยายระยะทางรถไฟสายสีแดงส่วนต่อขยาย 3 เส้นทางออกไปนอกเมืองให้มากขึ้น จากเส้นทางเดิม เช่น ช่วงรังสิต-มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ศูนย์รังสิต ก็ให้พิจารณาขยายไปถึงอยุธยา ส่วนสายสีแดง ช่วง ตลิ่งชัน-ศาลายา ก็ให้ขยายเส้นทางไปถึงนครปฐม เป็นต้น คาดว่า รฟท.จะเสนอกลับมาหลังปีใหม่ และคาดว่าจะเสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาได้ไม่เกิน 2 เดือนหลังจากนั้น

สาเหตุที่ให้พิจารณาขยายระยะเส้นทางไกล เพราะประชาชนส่วนมากอาศัยนอกเมือง การเมืองขยายตัว กระทรวงคมนาคมจึงต้องวางแผนรองรับการเติบโตของเมือง และช่วยลดปริมาณประชากรในเขตเมือง หากมีระบบขนส่งโดยสารสาธารณะที่สมบูรณ์ โดยเฉพาะระบบราง

“การให้ รฟท.กลับไปพิจารณาขยายเส้นทางส่วนต่อขยาย เพิ่มขึ้น ยอมรับว่าจะต้องใช้งบประมาณเพิ่มขึ้น ซึ่งส่วนนี้ต้องรอให้ รฟท.ไปพิจารณาดู ให้เกิดความรอบคอบ การขยายระยะทางก่อสร้างของเส้นทาง จะส่งผลให้รัฐบาลสามารถวางแผนในการสร้างชุมชนใหม่ๆให้เกิดขึ้น และช่วยให้ลดการอพยพเข้ามาอยู่ในเมือง หากมีระบบขนส่งสาธารณะที่ดี และเดินทางสะดวก รวดเร็ว”

สำหรับแผนพัฒนาโครงการระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดง ส่วนต่อขยายจำนวน 3 เส้นทางนั้น ประกอบด้วย สายสีแดง ช่วงรังสิต-มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ศูนย์รังสิต ระยะทาง 8.84 กิโลเมตร (กม.) ซึ่งเดิมส่วนต่อขยายช่วงนี้ได้เสนอสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (สลค.) แล้ว รอบรรจุวาระการประชุม ครม. ล่าสุด ส่งมาให้ รฟท. ดำเนินการใหม่, ส่วนต่อขยาย ช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา ระยะทาง 14.80 กม. ซึ่งพร้อมเสนอ ครม.เช่นกัน, ส่วนช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช ระยะทาง 5.7 กม. อยู่ระหว่างรอการพิจารณาหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างเป็นทางการ เช่น สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) อย่างไรก็ตาม เมื่อมีนโยบายให้พิจารณาปรับขยายระยะทาง ดังนั้น ส่วนต่อขยายทั้ง 3 ช่วงก็จะกลับมาที่ รฟท. เพื่อพิจารณาใหม่.

“สุรพงษ์”สั่งรฟท.ทบทวน”สีแดงต่อขยาย”ถอนเรื่องจากครม.ศึกษายืดเส้นทางออกไปถึงอยุธยาและนครปฐมเร่งสรุปในต้นปี 67
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันพุธ ที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2566 เวลา 06:33 น.
ปรับปรุง: วันพุธ ที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2566 เวลา 06:33 น.


“สุรพงษ์”สั่งรฟท.ทบทวน “สายสีแดงส่วนต่อขยาย”ถอนเรื่องคืนจากครม. กลับมาศึกษายืดแนวเส้นทางสายเหนือจากรังสิต-มธ.รังสิต ไปถึงอยุธยา , ตลิ่งชัน-ศาลายา ต่อไปถึงนครปฐม หวังให้เป็นระบบรางหลักรองรับการขยายตัวของเมืองและชุมชนใหม่ๆ ปริมณฑลและหัวเมืองรอบกทม. ยอมรับค่าก่อสร้างเพิ่ม เร่งสรุปใน1-2 เดือน

นายสุรพงษ์ ปิยะโชติ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า จากที่กระทรวงคมนาคมมีนโยบายเร่งรัดการพัฒนาโครงการระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดง ส่วนต่อขยายจำนวน 3 เส้นทาง ได้แก่ 1. ช่วงรังสิต-มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ศูนย์รังสิต 2.ช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา และ 3. ช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช โดยได้มีการเร่งสรุปข้อมูลเพื่อเตรียมนำเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณา นั้น ล่าสุด ได้มีแนวคิดเห็นว่า ควรขยายเส้นทางเพิ่มเติมออกไปยังเมืองรอบนอกมากขึ้น เช่น ช่วงรังสิต-มธ.รังสิต ควรขยายไปถึงอยุธยา หรือ ช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา ควรขยายไปถึง นครปฐม ซึ่งจะต้องนำกลับมาพิจารณาศึกษาเพิ่มเติม จึงได้ถอนเรื่องกลับ เพื่อส่งคืนให้หน่วยงานเจ้าของโครงการ คือ การรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) ไปศึกษาทบทวนขยายระยะทางเพิ่มเติม คาดว่าจะใช้เวลาไม่นาน 1-2 เดือน เนื่องจากโครงการมีผลศึกษาเดิมอยู่ก่อนแล้ว โดยจะนำกลับไปเสนอครม.ได้อีกครั้งประมาณเดือนม.ค.- ก.พ. 2567

“เหตุผลที่ให้รฟท.ทบทวน สายสีแดง ส่วนต่อขยายโดยลากเส้นทางออกไปอีก เพื่อรองรับการขยายการเติบโตของเมืองและเชื่อมกับชุมชม เป็นการเชื่อมต่อการเดินทางด้วยระบบรางที่มีความสะดวก และปลอดภัย เป็นการเตรียมแผนลงทุนที่คุ้มค่าเพื่ออนาคต และทำให้ภาครัฐสามารถวางแผนในการสร้างชุมชนใหม่ๆให้เกิดขึ้น และช่วยให้ลดความแออัดของเมืองลงอีกด้วย”

นายสุรพงษ์กล่าวว่า การขยายเส้นทางออกไป จะส่งผลต่อค่าก่อสร้างที่เพิ่มขึ้น ซึ่งคงต้องมีการปรับเรื่องตัวเลขวงเงินลงทุนโครงการใหม่ด้วย ทั้งนี้ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณารายละเอียดอย่างรอบคอบ


สำหรับการพัฒนาโครงการระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดง ส่วนต่อขยายจำนวน 3 เส้นทาง ได้แก่ ช่วงรังสิต-มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ศูนย์รังสิต ระยะทาง 8.84 กม. วงเงิน 6,448.69 ล้านบาท ซึ่งก่อนหน้านี้ ได้เสนอเรื่องไปที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (สลค.) แล้ว อยู่ระหว่างรอบรรจุวาระการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาซึ่ง ล่าสุดกระทรวงคมนาคมได้ถอนเรื่องกลับมาแล้ว

ส่วน สายสีแดง ส่วนต่อขยาย ช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา ระยะทาง 14.80 กม. วงเงิน 10,670.27 ล้านบาท อยู่ในขั้นตอนสอบถามความเห็นหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)และช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช ระยะทาง 5.7 กม. วงเงิน 4,616 ล้านบาท รอการพิจารณาหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่นกัน
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... , 77, 78, 79  Next
Page 78 of 79

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©