RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311296
ทั่วไป:13273241
ทั้งหมด:13584537
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวความคืบหน้าโครงการทางรถไฟสายนครพนม
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวความคืบหน้าโครงการทางรถไฟสายนครพนม
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 28, 29, 30 ... 44, 45, 46  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 28/05/2021 12:35 am    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
“เอ.เอส.- ยูนิคฯ”เคาะลด23 ล้านแบ่งคนละสัญญา ทางคู่”บ้านไผ่-นครพนม” 5.54 หมื่นล้าน
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: อังคารที่ 25 พฤษภาคม 2564 เวลา 18:45 น.
ปรับปรุง: อังคารที่ 25 พฤษภาคม 2564 เวลา 18:45 น.


“เอ.เอส.-ยูนิค” ผนึกรับเหมาท้องถิ่น คว้าเค้กรถไฟทางคู่บ้านไผ่-นครพนม
ข่าวอสังหาริมทรัพย์
วันที่ 25 พฤษภาคม 2564 เวลา 18:51 น.


"เอ.เอส.-ยูนิค" คว้าคนละสัญญาทางคู่อีสาน "บ้านไผ่-นครพนม" 5.5หมื่นล.
หน้าเศรษฐกิจมหภาค / Mega Project
วันที่ 27 พฤษภาคม 2564 เวลา07:59 น.

รฟท.ประมูล รถไฟทางคู่ สายอีสาน บ้านไผ่-นครพนม 2สัญญา 355กิโลเมตร มูลค่า 5.5หมื่นล้าน ตามคาด 2รับเหมา "เอ.เอส.-ยูนิค" คว้าคนละสัญญา


การรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) เปิดประมูล โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่สายอีสานช่วง บ้านไผ่-นครพนม 2สัญญาระยะทาง355กิโลเมตรมูลค่า5.5หมื่นล้านบาท โดย วิธียื่นราคาแบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-bidding) เมื่อวันที่25 พฤษภาคม 2564ปรากฎว่า
บริษัท เอ. เอส. แอสโซซิเอท เอ็นยิเนียริ่ง (1964) จำกัดร่วมกับผู้รับเหมาท้องถิ่น คว้าสัญญาที่ 1 ช่วงบ้านไผ่-หนองพอก ระยะทาง 177.50 กม. วงเงิน 27,127 ล้านบาท ราคากลาง 27,123 ล้านบาท เสนอราคาต่ำสุดอยู่ที่ 27,100 ล้านบาท ( ราคากลาง 27,123,620,000 บาท ราคาเสนอต่ำสุด 27,100,000,000บาท ส่วนต่าง 23,620,000.00บาท คิดเป็น 0.09%) สำหรับผู้ยื่นข้อเสนอครั้งนี้รฟท.ระบุว่ามี 4 ราย จากผู้ซื้อซองทั้งหมด 16 ราย

ส่วนบริษัท ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน)ร่วมกับบริษัทรับเหมาท้องถิ่น คว้าสัญญาที่2 ช่วงหนองพอก-สะพานมิตรภาพ 3 ระยะทาง 177.2 กม. วงเงิน 28,335 ล้านบาท ราคากลาง 28,333 ล้านบาท โดยเสนอราคาต่ำสุดอยู่ที่ 28,310 ล้านบาท (ราคากลาง 28,333,930,000บาท ราคาเสนอต่ำสุด 28,310,000,000บาท ส่วนต่าง 23,930,000.00 บาท คิดเป็น0.08% ) โดย มีผู้ยื่นข้อเสนอ 4 ราย จากผู้ซื้อซองทั้งหมด 16 ราย

หลังจากนี้จะเปิดให้เอกชนยื่นซองข้อเสนอด้านเทคนิคภายในวันที่ 27 พ.ค.นี้ ประกาศผลผู้ชนะการประมูลโครงการภายในวันที่ 15 ก.ค.2564 และลงนามสัญญาภายในวันที่ 6 ส.ค.2564 โดยใช้ระยะเวลาก่อสร้าง 4 ปี เปิดให้บริการในปี 2569 ขณะผลประมูลรถไฟทางคู่ สายเหนือ ช่วงเด่นชัย-เชียวราย-เชียงของ ระยะทาง 323กม. 3สัญญา มูลค่า7.2หมื่นล้านบาท ที่รฟท.เปิดประมูลไปก่อนหน้านี้(18พ.ค.)
สัญญาที่ 1 ช่วงเด่นชัย-งาว ระยะทาง 103 กิโลเมตร ราคากลาง 26,599 ล้านบาท ราคาต่ำสุด 26,568 ล้านบาท ต่ำกว่าราคากลาง 31 ล้านบาท กิจการร่วมค้า ITD-NWR (บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด ( มหาชน ) และบริษัท เนาวรัตน์พัฒนาการ จำกัด (มหาชน)
สัญญาที่2 ช่วงงาว-เชียงราย ระยะทาง 135 กิโลเมตรกิจการร่วมค้า CKST JOINT VENTURE( บมจ.ช.การช่าง กับ บมจ.ซิโน-ไทย) เสนอราคาที่ 26,900 ล้านบาท ราคากลาง 26,913 ล้านบาทต่ำกว่า 13 ล้านบาท
สัญญาที่ 3 ช่วง ช่วงเชียงราย-เชียงของ ระยะทาง 84 กิโลเมตร กิจการร่วมค้า CKST JOINT VENTURE ( บมจ.ช.การช่าง กับ บมจ.ซิโน-ไทย) เสนอราคาที่ 19,390 ล้านบาท ราคากลาง 19,406 ล้านบาท ราคาต่ำกว่า 16 ล้านบาทโดยสัญญา2และ3 ช.การช่างและซิโนไทย คว้าไป2สัญญา
ทั้งนี้ วงในผุู้รับเหมา นพ.ระวี มาศฉมาดล ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคพลังธรรมใหม่ สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการรถไฟแห่งประเทศไทย ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ตั้งข้อสังเกตว่าทั้ง5สัญญา ทางคู่ สายเหนือ –อีสาน มูลค่า1.28แสนล้านบาท ผลการประมูลน่ากังขา และส่อไปในทางสมยอมราคาหรือฮั้วประมูล เพราะ
1.มีการเสนอราคาต่ำกว่าราคากลาง เพียง 0.08-0.09%
2.ไม่เกิดการแข่งขัน
3.รัฐอาจเสียประโยชน์ด้านงบประมาณที่สูง
3.มีผู้ซื้อซองแต่ละสัญญาเกือบ20ราย แต่มีเพียง 5รายดังกล่าว ผ่านผลงานยื่นประมูลและคว้าทางคู่ทั้ง2เส้นทาง5สัญญานี้ไปได้ตามคาด
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 30/05/2021 10:52 pm    Post subject: Reply with quote

เปิดTOR รถไฟทางคู่ใหม่"สายเหนือ”ล็อกสเปคหรือไม่
หน้า เศรษฐกิจมหภาค / Mega Project
เสาร์ที่ 29 พฤษภาคม 2564 เวลา 18:32 น.


การรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.)ประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ (e-bidding)โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ใหม่สายเหนือช่วงเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของระยะทาง323กิโลเมตร(กม.) 3สัญญาวงเงิร72,321ล้านบาท ผลการประกวดราคาปรากฎผู้ชนะอย่างไม่เป็นทางการเสนอราคาต่ำสุด ห่างจากราคากลางแบบเฉียดฉิว ห่างกันหลักสิบล้านบาท หรือเฉลี่ย 0.08-0.09% สร้างความกังขา เป็นที่พูดถึงในวงกว้างว่า อาจจะมีการสมยอมหรือฮั้ว หรือไม่ โดยเฉพาะ การตั้งคำถาม ของนักการเมือง นักวิชาการ ผู้รับเหมา ตลอดจนสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ รถไฟแห่งประเทศไทย (สร.รฟท) ว่าในที่สุดแล้วรฟท.เองอาจเสียประโยชน์เพราะการประมูลครั้งนี้ไม่ก่อให้เกิดการแข่งขันในเชิงราคา

ทั้งนี้ดูตัวอย่างทีโออาร์สัญญาที่1ช่วงเด่นชัย-งาวระยะทางประมาณประมาณ 103 กิโลเมตร โดยเป็นโครงการก่อสร้างทางรถไฟใหม่เป็นคันทางระดับดินและทาง รถไฟยกระดับ และงานก่อสร้างอุโมงค์รถไฟ ระยะทางประมาณ7 กิโลเมตร พร้อมทั้งงานติดตั้งระบบอาณัติสัญญาณ และโทรคมนาคมตลอดทั้งสายทาง ด้วยวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ (e-bidding) โดยมีข้อแนะนําและข้อกําหนด เอกสารแนบท้ายเอกสารประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ ต้องจัดทำแบบแบบรายละเอียดทั้ง การออกแบบทางรถไฟโค้งทางดิ่งแนวราบ ,แบบก่อสร้างงานโยธาทั่วไปขณะเดียวกัน ยังต้องแสดงแบบ รูปตัดของถนนในพ้ืนที่ชุมชน เนื่องจากบางจุดเป็นย่านชุมชน​หนาแน่น มีถนนที่เชื่อมเพื่อการเข้าออกชุมชนเป็นจำนวนมาก ปริมาณจราจรหนาแน่นอีกทั้งแบบการก่อสร้างสะพานรถไฟเนื่องจาก เส้นทางสายนี้ภูมิประเทศเป็นภูเขาสูงมีดินสไลด์ ทั้ง3สัญญา จึงมีทั้งโครงสร้างอุโมงค์ ลอดใต้ชั้นดินและโครงสร้างสะพานให้รถไฟวิ่งข้ามผ่านอุโมงค์ภูเขา ฯลฯหรือ
เงื่อนไขตาม ข้อ1.1 แบบรูปและรายการละเอียด เล่ม IV (แบบรูป) - แบบรูป ฉบับที่ 1 HORIZONTAL AND VERTICAL ALIGNMENT ,
แบบรูป ฉบับที่ 2 GENERAL CIVIL WORK, TYPICAL CROSS SECTION AND GEOTECHNICAL DATA ,
แบบรูป ฉบับที่ 3-1 RAILWAY BRIDGE (1/2): STRUCTURAL ARRANGEMENT ,
แบบรูป ฉบับที่3-2 RAILWAY BRIDGE (2/2): STRUCTURAL DETAILS UNDERPASSBOX AND DRAINAGE WORK
แบบรูป ฉบับที่ 4 TRACK WORK, SIGNALLING AND TELECOMMUNICATION WORK, TUNNEL WORK ,
แบบรูป ฉบับที่ 5-1 STATION AND FACILITIES BUILDING (ARCHITECTURAL) ,
แบบรูป ฉบับที่ 5-2STATION AND FACILITIES BUILDING (STRUCTURAL )WORK, BUILDING SERVICES SYSTEM) AND 'UTILITIES IN STATION AREA.,
แบบรูป ฉบับที่ 6HIGHWAYS ROADWAY-CROSSING OVERPASS, ACCESSROAD AND ROAD WORK IN STATION AREA

อีกข้อสำคัญแบบตรวจสอบข้อมูลของผู้ประกอบการที่จะเข้าร่วมการเสนอราคาในโครงการที่มีวงเงิน จัดซื้อจัดจ้างตั้งแต่ 500 ล้านบาทขึ้นไป
1.9 แบบข้อตกลงคุณธรรม (Integrity Pact) ความร่วมมือป้องกันและต่อต้านการทุจริตใน การจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ(สําหรับส่วนราชการ/รัฐวิสาหกิจ/องค์การมหาชน/หน่วยงานของรัฐและภาคเอกชน)
1.10รายละเอียดการคํานวณราคากลางงานก่อสร้างตาม BOQ (Bit of Quantities)
1.11แผนการใช้พัสดุที่ผลิตภายในประเทศและแผนการใช้เหล็กที่ผลิตภายในประเทศ

นอกจากนี้ยังมีแบบฟอร์มหนังสือยืนยันตนเองว่าไม่เป็นผู้ที่ถูกระบุชื่อไว้ในบัญชีรายชื่อผู้ทิ้งงานทั้งใน ประเทศและต่างประเทศ (เฉพาะนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ) แบบฟอร์มหนังสือยืนยันตนเองว่า ไม่เป็นผู้ที่ได้รับเอกสิทธิ์หรือความคุ้มครองซึ่งอาจ ปฏิเสธไม่ยอมขึ้นศาลไทยฯ (เฉพาะนิติบุคคล ที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ) แบบข้อตกลงคุณธรรม (Integrity Pact) แบบตรวจสอบข้อมูลของผู้ประกอบการที่จะเข้าร่วมการเสนอราคาในโครงการที่มี วงเงิน จัดซื้อจัดจ้างตั้งแต่ 500 ล้านบาทขึ้นไป ที่สำคัญยังต้องจัดทำ แบบฟอร์มการจัดทําแผนการใช้พัสดุที่ผลิตในประเทศไทย แบบฟอร์มการจัดทําแผนการใช้เหล็กที่ผลิตภายในประเทศ คําสั่งสํานักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกลาง กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ที่ 66/2558ลว. 24 มีนาคม2558
ขณะข้อ1.13เล่ม IB (เงื่อนไขของสัญญา) -
ภาคผนวก A สําหรับเงื่อนไขของสัญญา- เงื่อนไขทั่วไปของสัญญา- เงื่อนไขเฉพาะของสัญญา -
เงื่อนไขพิเศษของสัญญา1.14เล่ม IIA (ข้อมูลด้านเทคนิค) - รายการการปฏิบัติตามข้อกําหนดรายการจําเพาะ- การตอบรับข้อมูลจําเพาะทางเทคนิค - ภาคผนวก C ถึง 0
รายละเอียดด้านเทคนิค1.15 เล่ม IIB (ข้อมูลด้านราคา) -
ภาคผนวก B รายการประมาณการค่าใช้จ่ายหมุนเวียนรายเดือน - บัญชีปริมาณงาน (Bit of Quantities : BOQ)

1.16 เล่ม III (ข้อกําหนดรายการจําเพาะด้านเทคนิค) ฉบับที่1/3 -
หมวด 1ข้อกําหนดทั่วไป-
หมวด 2 งานดิน-
หมวด 3 งานถนนสําหรับสะพานทางข้าม ทางลอด สะพานกลับรถ และถนนเชื่อม สถานี-
หมวด 4 งานโครงสร้าง ฉบับที่ 2/3-
หมวด 5 งานอาคาร- หมวด 6 งานท่อและการระบายน้ำ-
หมวด 7 งานสาธารณูปโภคฉบับที่ 3/3-
หมวด 8งานทางรถไฟ-
หมวด 9 งานอุโมงค์
หมวด 10 งานอาณัติสัญญาณและโทรคมนาคม มีคุณสมบัติ สำคัญคือมีความสามารถตามกฎหมาย ,ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย,ไม่อยู่ระหว่างเลิกกิจการ ,ไม่เป็นบุคคลซึ่งอยู่ระหว่างถูกระงับการยื่นข้อเสนอหรือทําสัญญากับหน่วยงานของรัฐไว้ ชั่วคราว เนื่องจากเป็นผู้ที่ไม่ผ่านเกณฑ์การประเมินผลการปฏิบัติงานของผู้ประกอบการตามระเบียบที่รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงการคลังกําหนดตามที่ประกาศเผยแพร่ในระบบเครือข่ายสารสนเทศของกรมบัญชีกลาง , ไม่เป็นบุคคลซึ่งถูกระบุชื่อไว้ในบัญชีรายชื่อผู้ทิ้งงานและได้แจ้งเวียนชื่อให้เป็นผู้ทิ้งงาน ของหน่วยงานของรัฐในระบบเครือข่ายสารสนเทศของกรมบัญชีกลาง ซึ่งรวมถึงนิติบุคคลที่ผู้ทิ้งงานเป็นหุ้นส่วนผู้ จัดการ กรรมการผู้จัดการ ผู้บริหาร ผู้มีอํานาจในการดําเนินงานในกิจการของนิติบุคคลนั้นด้วย อีกทั้ง มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่คณะกรรมการนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐกําหนดในราชกิจจานุเบกษา เป็นนิติบุคคลผู้มีอาชีพรับจ้างงานที่ประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ดังกล่าว ไม่เป็นผู้มีผลประโยชน์ร่วมกันกับผู้ยื่นข้อเสนอรายอื่นที่เข้ายื่นข้อเสนอให้แก่ การรถไฟฯ ณ วันประกาศประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ หรือไม่เป็นผู้กระทําการอันเป็นการขัดขวางการแข่งขันอย่างเป็นธรรม ในการประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ครั้งนี้ ไม่เป็นผู้ได้รับเอกสิทธิ์หรือความคุ้มกันซึ่งอาจปฏิเสธไม่ยอมขึ้นศาลไทย เว้นแต่รัฐบาล ของผู้ยื่นข้อเสนอได้มีคําสั่งให้สละเอกสิทธิ์และความคุ้มกันเช่นว่านั้น ประเด็นสำคัญข้อ
2.10 มีเงื่อนไขระบุว่า ผู้ยื่นข้อเสนอต้องมีผลงานก่อสร้างประเภทเดียวกันกับงานที่ประกวดราคาจ้างก่อสร้างทางรถไฟ ในวงเงินไม่น้อยกว่า3,989ล้านบาทและผลงานก่อสร้างอุโมงค์ที่มีมูลค่าก่อสร้างในสัญญาเดียวไม่น้อยกว่า403ล้านบาท และเป็นผลงานที่เป็นคู่สัญญาโดยตรงกับหน่วยงานของรัฐหรือหน่วยงานเอกชนที่การรถไฟแห่งประเทศไทยเชื่อถือข้อ
2.11ผู้ยื่นข้อเสนอที่เสนอราคารูปแบบกิจการร่วมค้าต้องเป็นกิจการที่มีข้อตกลงระหว่างผู้เข้าร่วมค้าเป็นลายลักษณ์อักษรว่าต้องดำเนินการร่วมกันเป็นทางการค้าหรือหากำไรระหว่างบริษัทกับบริษัท,บริษัทกับห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล,ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลกับห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศโดยข้อตกลงนั้นอาจกำหนดให้มีผู้เข้าร่วมค้าหลักก็ได้
2.12กรณีนิติบุคลรายเดียวผู้ยื่นข้อเสนอต้องลงทะเบียนในระบบจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐด้วยอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Government Procurement : e - GP) ของกรมบัญชีกลาง
2.13 ผู้ยื่นข้อเสนอจะต้องมีนโยบายและแนวทางการป้องกันการทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้าง
2.14 ผู้ยื่นข้อเสนอจะต้องลงนามในข้อตกลงคุณธรรม กรณีโครงการที่ได้รับการคัดเลือกจาก คณะกรรมการความร่วมมือป้องกันการทุจริต (คณะกรรมการ ค.ป.ท.) ให้จัดทําข้อตกลงคุณธรรม
2.15ผู้ยื่นข้อเสนอจะต้องมีคุณสมบัติครบถ้วนตามข้อ 2.1 ถึง 2.15และมีคุณสมบัติเพิ่มเติมดังนี้

1.ผู้ยื่นข้อเสนอที่เป็นนิติบุคคลรายเดียว ต้องเป็นนิติบุคคลไทยที่จดทะเบียนตามกฎหมายไทยต้องมีผลงานก่อสร้างทางรถไฟ(ก) ที่มีมูลค่าก่อสร้างในสัญญาเดียวไม่น้อยกว่า 3,989ล้านบาทซึ่งได้รวมภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว และผลงานก่อสร้างอุโมงค์(ข) ที่มีมูลค่า ก่อสร้างในสัญญาเดียว ไม่น้อยกว่า 403ล้านบาทซึ่งได้รวมภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว
2.ผู้ยื่นข้อเสนอที่เป็นกิจการร่วมค้า ต้องมีนิติบุคคลไทยที่จดทะเบียนตามกฎหมาย ไทยเป็นผู้เข้าร่วมค้าหลัก (Lead Firm) โดยสมาชิกทุกรายที่รวมตัวกันเป็นกิจการร่วมค้านั้นต้องเป็นนิติบุคคล และ ต้องมีสัดส่วนนิติบุคคลไทยรายเดียวหรือมากกว่าหนึ่งรายรวมกันในการร่วมค้ามากกว่า50% โดยผู้เข้า ร่วมค้าหลัก (Lead Firm) จะต้องมีสัดส่วนการร่วมค้ามากที่สุดและสัดส่วนนี้จะต้องไม่เปลี่ยนแปลงตลอดระยะเวลา โครงการ ซึ่งในวันยื่นเอกสารประกวดราคา จะต้องยื่นเอกสารข้อตกลงสําหรับการร่วมกันเป็นกิจการร่วมค้าสําหรับ โครงการก่อสร้างงานสัญญาที่ 1ช่วงเด่นชัย-งาว ซึ่งต้องชี้ชัดถึงสัดส่วนของการร่วมค้าของแต่ละนิติบุคคลในกลุ่ม และต้องระบุข้อความไว้ด้วยว่า สมาชิกทุกรายของกิจการร่วมค้ายินยอมผูกพันตนในการที่จะรับผิดชอบร่วมกันและ แทนกันในหน้าที่ความรับผิดชอบและหนี้ทั้งปวงต่อการรถไฟแห่งประเทศไทยในทุกกรณี (Shall be jointly and severally responsible for all cases) มิฉะนั้นแล้วการรถไฟแห่งประเทศไทยจะไม่รับพิจารณาข้อเสนอของผู้ยื่นข้อ เสนอรายนั้น

กิจการร่วมค้าต้องมีผลงานก่อสร้างทางรถไฟ(ก) ที่มีมูลค่าก่อสร้างในสัญญาเดียวไม่น้อยกว่า 3,989ล้านบาท และผลงานก่อสร้างอุโมงค์(ข) ที่มีมูลค่า ก่อสร้างในสัญญาเดียว ไม่น้อยกว่า 403ล้านบาท ซึ่งได้รวมภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว ซึ่งผู้เข้าร่วมค้าหลัก (Lead Firm) และสมาชิกผู้เข้าร่วมค้า ต้องมีผลงานดังนี้ ผู้เข้าร่วมค้าหลัก (Lead Firm) ต้องมีผลงานก่อสร้างทางรถไฟ(ก) ที่มีมูลค่าก่อสร้างใน สัญญาเดียวไม่น้อยกว่า3,989ล้านบาท และผู้เข้าร่วมค้าหลัก (Lead Firm) หรือสมาชิกผู้ร่วมค้ารายใดรายหนึ่งต้องมีผลงานก่อสร้างอุโมงค์(ข) ที่มีมูลค่าก่อสร้างในสัญญาเดียวไม่น้อยกว่า 403ล้านบาท ซึ่งได้รวมภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว ผู้เข้าร่วมค้ารายอื่นๆ ของกิจการร่วมค้าทุกรายต้องมีผลงานอย่างน้อยอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้ ก) ผลงานก่อสร้างทางรถไฟ(ก) ที่มีมูลค่าก่อสร้างในสัญญาเดียวไม่น้อยกว่า 900ล้านบาท ซึ่งได้รวมภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว ข) ผลงานก่อสร้างอุโมงค์(ข) ที่มีมูลค่าก่อสร้างในสัญญาเดียวไม่น้อยกว่า 403ล้านบาทซึ่งได้รวมภาษีมูลค่าเพิ่มแล้วค) ผลงานก่อสร้างงานโยธา(ค) ที่มีมูลค่าก่อสร้างในสัญญาเดียวไม่น้อยกว่า 900ล้านบาทซึ่งได้รวมภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว กรณีผู้ร่วมค้ารายอื่นๆ ไม่มีผลงานตามข้อ ก), ข) หรือ ค) ข้างต้น ผู้ร่วมค้ารายนั้นต้องเป็นผู้ขึ้นทะเบียนผู้ประกอบการงานก่อสร้างไว้กับกรมบัญชีกลางตามสาขางานก่อสร้างทาง หรือสาขางานก่อสร้าง สะพาน หรือสาขางานก่อสร้างทางและสะพานพิเศษโดย ผลงานก่อสร้างทางรถไฟ(ก) หมายถึง ผลงานก่อสร้างทางรถไฟหรือ ผลงานก่อ สร้างทางรถไฟฟ้า หรือ ผลงานก่อสร้างทางรถไฟความเร็วสูง หรือ ผลงานงานปรับปรุงทางรถไฟ (Track Rehabilitation) หรือผลงานงานเสริมความมั่นคงโครงสร้างทาง (Track Strengthening) หรือผลงานก่อสร้างใน ลักษณะเดียวกัน โดยผลงานก่อสร้างทางรถไฟ ผลงานก่อสร้างทางรถไฟฟ้า และผลงานก่อสร้างทางรถไฟความเร็วสูง ต้องมีงานติดตั้งระบบราง (Track Work) รวมอยู่ในสัญญา ซึ่งผลงานดังกล่าวข้างต้นสามารถเป็นรูปแบบเสมอระดับ (At Grade) หรือยกระดับ (Elevated) หรือใต้ดิน (Underground) ผลงานก่อสร้างอุโมงค์(ข) หมายถึง ผลงานการก่อสร้างอุโมงค์ที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางภายในไม่น้อยกว่า 5.0 เมตร ก่อสร้างด้วยวิธีการเจาะระเบิด NATM (New Austrian Tunneling Method) หรือก่อสร้าง ด้วยวิธีการใช้เครื่องเจาะ TBM (Tunneling Boring Machine) หรือผลงานการก่อสร้างอุโมงค์ในลักษณะเดียวกัน ผลงานก่อสร้างงานโยธา(ค) หมายถึง ผลงานก่อสร้างถนน หรือผลงานก่อสร้างสะพานหรือผลงานก่อสร้างทางลอด หรือผลงานก่อสร้างทางยกระดับ หรือผลงานก่อสร้างโรงซ่อมบํารุงรถไฟหรือรถไฟฟ้าทั้งนี้ในการพิจารณาคุณสมบัติของผู้ยื่นข้อเสนอที่เป็นกิจการร่วมค้าจะปฏิบัติตามแนวทางหนังสือคณะกรรมการ วินิจฉัยปัญหาการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ ที่ กค (กวจ)0405.2/ว581ลงวันที่ 7 ธันวาคม 2563

ขณะข้อ 2.16 การพิจารณาผลงานตามข้อ2.10และ2.15จะยึดถือหลักเกณฑ์ ดังนี้
1. ผลงานก่อสร้างทางรถไฟ(ก) และผลงานก่อสร้างงานโยธา(ค) ที่นํามายื่นให้ใช้ผลงาน ภายในประเทศ ส่วนผลงานก่อสร้างอุโมงค์(ข) ที่นํามายื่นสามารถใช้ผลงานภายในประเทศหรือต่างประเทศ และต้อง เป็นผลงานที่เป็นคู่สัญญาโดยตรงกับหน่วยงานของรัฐ หรือหน่วยงานเอกชนที่การรถไฟแห่งประเทศไทยเชื่อถือ
2. ผลงานที่นํามายื่นต้องเป็นผลงานที่แล้วเสร็จตามเงื่อนไขสัญญาแล้ว โดยผลงานดังกล่าวต้องแล้วเสร็จเป็นเวลาไม่เกิน20 ปี นับถึงวันที่ยื่นข้อเสนอ โดยต้องมีสําเนาสัญญาจ้างและหนังสือรับรองผลงานที่ระบุมูลค่าของงานที่แล้วเสร็จ หากหนังสือรับรองผลงานไม่ได้ระบุมูลค่าผลงานที่แล้วเสร็จ ผู้ยื่นข้อ เสนอจะต้องแสดงเอกสารหลักฐานอื่นที่ระบุมูลค่าผลงานที่แล้วเสร็จมาด้วย
3. กรณีที่ผู้ยื่นข้อเสนอใช้ผลงานในลักษณะเป็นกิจการร่วมค้าหรือค้าร่วม (Joint Venture หรือ Consortium)ผู้ยื่นข้อเสนอจะต้องแสดงสัดส่วนความรับผิดชอบของผลงานในอดีต โดยต้องมีหนังสือ รับรองที่ระบุมูลค่าของงานซึ่งออกโดยผู้ว่าจ้าง และสําเนาข้อตกลงร่วมค้าที่แสดงสัดส่วนความรับผิดชอบของผู้ยื่นข้อ เสนอและสําเนาสัญญาจ้าง หากหนังสือรับรองผลงานไม่ได้ระบุมูลค่าผลงานที่แล้วเสร็จ ผู้ยื่นข้อเสนอจะต้องแสดง เอกสารหลักฐานอื่นที่ระบุมูลค่าผลงานที่แล้วเสร็จมาด้วย
4.หนังสือรับรองผลงานและเอกสารหลักฐานอื่นที่ระบุมูลค่าผลงานที่แล้วเสร็จตามข้อ 2.16 (1), (2), (3)ต้องออกโดยหัวหน้าหน่วยงานหรือผู้มีอํานาจของหน่วยงานที่ว่าจ้าง และต้องระบุมูลค่าผลงานที่แล้วเสร็จและแสดงรายละเอียดของงานมาด้วย ซึ่งหากหนังสือรับรองหรือเอกสารหลักฐานอื่นที่ระบุมูลค่าผลงานที่ แล้วเสร็จไม่ได้แสดงรายละเอียดของงาน ผู้ยื่นข้อเสนอจะต้องยื่นเอกสารหลักฐานอื่นที่ทําให้การรถไฟฯ เชื่อถือและ สามารถตรวจสอบรายละเอียดของงานที่สอดคล้องกับรายละเอียดคุณสมบัติผลงานตามที่กําหนดในข้อ 2.10และ2.15

นี่คือตัวอย่างทีโออาร์สัญญาที่1 เด่นชัย-งาว ระยะทาง103กิโลเมตรซึ่งอีก2สัญญาเงื่อนไขไม่ต่างกัน สำหรับโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ช่วงเด่นชัย-เชียงราย-เชียงระยะทาง323กิโลเมตรมูลค่า7.2หมื่นล้านบาท ที่มีเสียงสะท้อนกันมากว่า อาจเป็นตะแกรงร่อนให้ผู้รับเหมาเพียงไม่กี่รายหลุดรอดนำผลงานออกไปขอยื่นประกวดราคาได้ ท้ายที่สุดนี้อยากถามว่านี่อาจจะเป็นการล็อกสเปค หรือไม่?...ใครรู้ช่วยตอบที
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 30/05/2021 10:53 pm    Post subject: Reply with quote

ประมูลรถไฟทางคู่เหนือ-อีสาน งานเข้า!เหตุเปลี่ยนทีโออาร์?
หน้า เศรษฐกิจมหภาค / Mega Project
อาทิตย์ที่ 30 พฤษภาคม 2564 เวลา 11:19 น.

ประมูลรถไฟทางคู่เหนือ-อีสาน งานเข้า! เหตุเปลี่ยนทีโออาร์?
สยามรัฐออนไลน์
อาทิตย์ที่ 30 พฤษภาคม 2564 เวลา 12:47 น.

ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์ เทียบชัด รถไฟทางคู่สายใต้ กับประมูลรถไฟทางคู่เหนือ-อีสาน งานเข้า!เหตุเปลี่ยนทีโออาร์?

ผลการประมูลรถไฟทางคู่สายเหนือช่วงเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ และสายอีสานช่วงบ้านไผ่-มหาสารคาม-ร้อยเอ็ด-มุกดาหาร-นครพนม เมื่อเร็วๆ นี้ พบว่าราคาประมูลใกล้เคียงกับราคากลางมาก ทำให้ถูกตั้งข้อสังเกตว่าเป็นไปได้อย่างไร?
เมื่อเปรียบเทียบกับผลการประมูลรถไฟทางคู่สายใต้ช่วงนครปฐม-หัวหิน-ประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร ในปี 2560 ซึ่งได้ราคาประมูลต่ำกว่าราคากลางมากกว่า จึงน่าคิดว่าอะไรทำให้เป็นเช่นนั้น เป็นเพราะข้อกำหนดของผู้ว่าจ้าง (ทีโออาร์) ต่างกัน ใช่หรือไม่?
ผมจึงได้เปรียบเทียบทีโออาร์ระหว่างสายใต้กับสายเหนือและสายอีสาน ได้ผลดังนี้
1. ค่าก่อสร้าง
1.1 สายใต้
สายใต้แบ่งสัญญาการก่อสร้างออกเป็นสัญญาย่อย มีค่าก่อสร้างต่อสัญญาอยู่ระหว่าง 6,071-8,390 ล้านบาท ซึ่งต่ำกว่าค่าก่อสร้างต่อสัญญาของสายเหนือและสายอีสานมาก
1.2 สายเหนือและสายอีสาน
สายเหนือและสายอีสานไม่ได้แบ่งการก่อสร้างออกเป็นสัญญาย่อย ทำให้มีค่าก่อสร้างสูงกว่าสายใต้มาก กล่าวคือมีค่าก่อสร้างต่อสัญญาอยู่ระหว่าง 19,406-28,333 ล้านบาท
2. ผลงานก่อสร้างทางรถไฟของผู้รับเหมาที่จะเข้าประมูล
2.1 สายใต้
ทีโออาร์กำหนดให้ผู้รับเหมาที่จะเข้าประมูลสายใต้ต้องมีผลงานก่อสร้างทางรถไฟในสัญญาเดียวไม่น้อยกว่า 10% ของค่าก่อสร้างโครงการที่จะประมูล คิดเป็นผลงาน 607-839 ล้านบาท (10% ของค่าก่อสร้าง 6,071-8,390 ล้านบาท)
นั่นหมายความว่าผู้รับเหมาที่จะเข้าประมูลก่อสร้างรถไฟทางคู่สายใต้จะต้องเคยมีผลงานก่อสร้างทางรถไฟในสัญญาเดียวไม่น้อยกว่า 607-839 ล้านบาท ขึ้นอยู่กับว่าจะเข้าประมูลสัญญาไหน หากมีผลงานไม่ถึงก็ไม่สามารถเข้าประมูลได้
2.2 สายเหนือและสายอีสาน
ทีโออาร์กำหนดให้ผู้รับเหมาที่จะเข้าประมูลสายเหนือและสายอีสานต้องมีผลงานก่อสร้างทางรถไฟมากกว่าสายใต้ โดยกำหนดให้มีผลงานในสัญญาเดียวไม่น้อยกว่า 15% ของค่าก่อสร้าง คิดเป็นผลงาน 2,910-4,250 ล้านบาท (15% ของค่าก่อสร้าง 19,406-28,333 ล้านบาท)
นั่นหมายความว่าผู้รับเหมาที่จะเข้าประมูลก่อสร้างรถไฟทางคู่สายเหนือและสายอีสานจะต้องเคยมีผลงานก่อสร้างทางรถไฟในสัญญาเดียวไม่น้อยกว่า 2,910-4,250 ล้านบาท ขึ้นอยู่กับว่าจะเข้าประมูลสัญญาไหน หากมีผลงานไม่ถึงก็ไม่สามารถเข้าประมูลได้
3. ระบบอาณัติสัญญาณ
3.1 สายใต้
สายใต้แยกประมูลงานติดตั้งระบบอาณัติสัญญาณออกจากงานก่อสร้างทางรถไฟ เนื่องจากถูกทักท้วงว่าจะเป็นการเอื้อประโยชน์ให้ผู้รับเหมารายใดรายหนึ่ง กล่าวคือผู้รับเหมาที่จะเข้าประมูลจะต้องมีหนังสือรับรองจากผู้ผลิตระบบอาณัติสัญญาณว่ายินดีจะขายและติตตั้งระบบอาณัติสัญญาณให้ ซึ่งเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ผลิตเลือกออกหนังสือรับรองให้ผู้รับเหมารายใดก็ได้ เช่น อาจจะออกหนังสือรับรองให้เฉพาะผู้รับเหมาขนาดใหญ่เท่านั้น ทำให้ผู้รับเหมาขนาดกลางไม่สามารถเข้าประมูลได้ ถือเป็นการล็อกสเปกผู้รับเหมาอย่างแยบยล ด้วยเหตุนี้ ทีโออาร์สายใต้จึงแยกการติดตั้งระบบอาณัติสัญญาณออกจากงานก่อสร้างทางรถไฟเพื่อขจัดปัญหาดังกล่าว
3.2 สายเหนือและสายอีสาน
สายเหนือและสายอีสานรวมงานติดตั้งระบบอาณัติสัญญาณเข้ากับงานก่อสร้างทางรถไฟ ซึ่งอาจทำให้ปิดโอกาสการเข้าประมูลของผู้รับเหมาขนาดกลางได้ เนื่องจากไม่ได้รับหนังสือรับรองจากผู้ผลิตระบบอาณัติสัญญาณ
4. ผู้รับเหมาขนาดกลางเข้าประมูลได้หรือไม่?
4.1 สายใต้
ผู้รับเหมาขนาดกลางเข้าประมูลได้ เนื่องจากทีโออาร์เปิดกว้างมากกว่าสายเหนือและสายอีสาน
อนึ่ง เดิมการประมูลรถไฟทางคู่สายใต้ ผู้รับเหมาขนาดกลางไม่สามารถเข้าประมูลได้ เนื่องจากทีโออาร์กำหนดผลงานก่อสร้างทางรถไฟในสัญญาเดียวไว้สูง โดยกำหนดไว้ไม่น้อยกว่า 15% ของค่าก่อสร้าง อีกทั้ง มีการรวมงานติดตั้งระบบอาณัติสัญญาณไว้ในงานก่อสร้างทางรถไฟ ซึ่งอาจทำให้สามารถล็อกสเปกให้ผู้รับเหมาขนาดใหญ่ได้
ผมจึงได้ทักท้วง เป็นผลให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ปรับเปลี่ยนทีโออาร์ โดยลดผลงานก่อสร้างทางรถไฟในสัญญาเดียวจาก 15% เหลือ 10% ของค่าก่อสร้าง และแยกประมูลงานติดตั้งระบบอาณัติสัญญาณออกจากการประมูลงานก่อสร้างทางรถไฟ เป็นการปลดล็อกให้ผู้รับเหมาขนาดกลางสามารถเข้าประมูลได้
4.2 สายเหนือและสายอีสาน
ผู้รับเหมาขนาดกลางไม่สามารถเข้าประมูลได้ หากต้องการเข้าร่วม จะต้องรวมกับผู้รับเหมาขนาดใหญ่เป็นกิจการร่วมค้า และจะต้องมีคุณสมบัติครบถ้วนตามทีโออาร์ ซึ่งโดยทั่วไปหากไม่จำเป็นจริงๆ ผู้รับเหมาขนาดใหญ่มักปฏิเสธไม่ให้ผู้รับเหมาขนาดกลางเข้าร่วมด้วย เพราะผู้รับเหมาขนาดใหญ่มีคุณสมบัติครบถ้วนตามทีโออาร์อยู่แล้ว จึงไม่ต้องอาศัยผู้รับเหมาขนาดกลาง
อีกทั้ง อาจไม่ต้องการแบ่งรายได้และผลงานให้ผู้รับเหมาขนาดกลาง เนื่องจากหากผู้รับเหมาขนาดกลางมีผลงานเพิ่มขึ้นก็จะกลายเป็นผู้รับเหมาขนาดใหญ่ในวันข้างหน้า ทำให้มีผู้รับเหมาขนาดใหญ่เข้ามาแข่งขันกันมากขึ้น โอกาสที่จะชนะการประมูลโครงการใดโครงการหนึ่งก็จะยากขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อผู้รับเหมาขนาดใหญ่ได้งานแล้วก็มักจะจ้างผู้รับเหมาขนาดกลางเป็น “ผู้รับเหมาช่วง” มาทำงานให้
5. สรุป
จะเห็นได้ว่า สายใต้มีค่าก่อสร้างต่อสัญญาต่ำกว่า อีกทั้ง ทีโออาร์กำหนดให้ผู้รับเหมาที่สามารถเข้าประมูลได้มีผลงานก่อสร้างทางรถไฟเป็นสัดส่วนของค่าก่อสร้างต่ำกว่าด้วย จึงทำให้ผู้รับเหมาขนาดกลางสามารถเข้าประมูลได้ด้วย ส่งผลให้การประมูลมีการแข่งขันกันมากกว่าสายเหนือและสายอีสาน ซึ่งมีเฉพาะผู้รับเหมาขนาดใหญ่เท่านั้นที่สามารถเข้าประมูลได้
ด้วยเหตุนี้ ผลการประมูลรถไฟทางคู่สายใต้จึงได้ราคาประมูลต่ำกว่าราคากลางมากกว่าสายเหนือและสายอีสาน กล่าวคือสายใต้ได้ราคาประมูลต่ำกว่าราคากลาง 5.66% ในขณะที่สายเหนือและสายอีสานได้ราคาประมูลต่ำกว่าราคากลางเท่ากัน คือเพียง 0.08% เท่านั้น
ทั้งหมดนี้ ด้วยความหวังดี หาก ร.ฟ.ท. ใช้ทีโออาร์รูปแบบเดียวกับการประมูลรถไฟทางคู่สายใต้ในการประมูลสายอื่นก็จะสามารถประหยัดงบประมาณแผ่นดินในการก่อสร้างรถไฟทางคู่ได้เป็นจำนวนไม่น้อย
แต่ทำไมจึงไม่ใช้?

https://www.facebook.com/Dr.Samart/posts/2386801068131449
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 01/06/2021 11:20 pm    Post subject: Reply with quote

การรถไฟแห่งประเทศไทยชี้แจงข้อเท็จจริงการประมูลโครงการก่อสร้างทางรถไฟ สายเหนือช่วงเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของสายตะวันออกเฉียงเหนือ ช่วงบ้านไผ่-มหาสารคาม-ร้อยเอ็ด-มุกดาหาร-นครพนม เปรียบเทียบกับสายใต้ช่วงนครปฐม-หัวหิน-ประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร
อังคารที่ 1 มิถุนายน 2564

ละเอียดยิบ รฟท.แจงปรับทีโออาร์ ประมูลทางคู่สายเหนือ-อีสาน
หน้า เศรษฐกิจมหภาค / Mega Project
อังคารที่ 1 มิถุนายน 2564 เวลา 16:24 น.
เช็ครายละเอียดที่นี่! ‘การรถไฟฯ’ แจงยิบปมประมูลทางคู่ 2 เส้นทาง ‘เหนือ-อีสาน’ พร้อมเปิด 5 ประเด็นโต้ ‘สามารถ ราชพลสิทธิ์’
อังคารที่ 1 มิถุนายน 2564
เช็ครายละเอียดที่นี่! ‘การรถไฟฯ’ แจงยิบปมประมูลทางคู่ 2 เส้นทาง ‘เหนือ-อีสาน’ พร้อมเปิด 5 ประเด็นโต้ ‘สามารถ ราชพลสิทธิ์’
อังคารที่ 1 มิถุนายน 2564


“การรถไฟฯ” แจงละเอียดยิบปมประมูลทางคู่ 2 เส้นทาง “เหนือ-อีสาน” พร้อมเปิด 5 ประเด็นโต้ “สามารถ ราชพลสิทธิ์” หลังโพสต์เฟซบุ๊ก “งานเข้า! เหตุเปลี่ยนทีโออาร์”
รฟท.แจงประมูลรถไฟทางคู่สายเหนือ-อีสาน หลังปรับเปลี่ยนทีโออาร์รวบสัญญา หวั่นกระทบโครงการล่าช้า

รายงานข่าวจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยว่า กรณีที่มีกระแสข่าวการเปลี่ยนทีโออาร์ในการประมูลรถไฟทางคู่สายช่วงเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ และรถไฟทางคู่ช่วงบ้านไผ่-นครพนม นั้น รฟท.ได้แบ่งสัญญาการก่อสร้างทางรถไฟทางคู่ สายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ เป็น 3 สัญญา และสายบ้านไผ่-นครพนม เป็น 2 สัญญา โดยแต่ละสัญญารวมงานระบบอาณัติสัญญาณฯ เนื่องจากประสบการณ์การดำเนินโครงการต่างๆในอดีต ทำให้เห็นว่าการแบ่งน้อยสัญญามีข้อดีมากกว่าการแบ่งเป็นสัญญาย่อยจำนวนมาก ตามรายละเอียด ดังนี้


ตามที่มีสื่อมวลชนได้นำเสนอข่าวเมื่อวันที่ 30 พ.ค. 2564 โดยมีหัวข้อและเนื้อหาเกี่ยวกับการที่
ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์, อดีตรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร โพสต์ผ่านเฟซบุ๊ก ระบุว่า "ประมูลรถไฟทางคู่เหนือ-อีสาน งานเข้า!เหตุเปลี่ยนทีโออาร์? นั้น ทางการรถไฟแห่งประเทศไทย ขอเรียนชี้แจงข้อมูลที่ถูกต้องในประเด็นต่างๆดังนี้

ประเด็นที่ 1
ดร. สามารถ ได้ระบุว่าผลการประมูลรถไฟทางคู่สายเหนือช่วงเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ และสายอีสานช่วงบ้านไผ่-มหาสารคาม
-ร้อยเอ็ด-มุกดาหาร-นครพนม เมื่อเร็วๆ นี้ พบว่าราคาประมูลใกล้เคียงกับราคากลางมาก ทำให้ถูก
ตั้งข้อสังเกตว่าเป็นไปได้อย่างไร? เมื่อเปรียบเทียบกับผลการประมูลรถไฟทางคู่สายใต้ช่วงนครปฐม-หัวหิน-ประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร ในปี 2560 ซึ่งได้ราคาประมูลต่ำกว่าราคากลางมากกว่า จึงน่าคิดว่าอะไรทำให้
เป็นเช่นนั้น เป็นเพราะข้อกำหนดของผู้ว่าจ้าง (ทีโออาร์) ต่างกัน ใช่หรือไม่?
ค่าก่อสร้างสายใต้
สายใต้แบ่งสัญญาการก่อสร้างออกเป็นสัญญาย่อย มีค่าก่อสร้างต่อสัญญาอยู่ระหว่าง 6,071-8,390 ล้านบาท ซึ่งต่ำกว่าค่าก่อสร้างต่อสัญญาของสายเหนือและสายอีสานมาก
ค่าก่อสร้างสายเหนือและสายอีสาน
สายเหนือและสายอีสานไม่ได้แบ่งการก่อสร้างออกเป็นสัญญาย่อย ทำให้มีค่าก่อสร้างสูงกว่าสายใต้มาก กล่าวคือมีค่าก่อสร้างต่อสัญญาอยู่ระหว่าง 19,406-28,333 ล้านบาท
การรถไฟฯ ขอชี้แจงและให้ข้อมูลที่ถูกต้องดังนี้ :
การรถไฟฯ แบ่งสัญญาก่อสร้างทางรถไฟ สายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ เป็น 3 สัญญา และสายบ้านไผ่-นครพนม เป็น 2 สัญญา โดยแต่ละสัญญารวมงานระบบอาณัติสัญญาณฯ เนื่องจากประสบการณ์
การดำเนินโครงการต่างๆในอดีต ทำให้เห็นว่าการแบ่งน้อยสัญญามีข้อดีมากกว่าการแบ่งเป็นสัญญาย่อยจำนวนมาก ตามรายละเอียดดังนี้
ด้านบริหารสัญญา​
การแบ่งสัญญาออกเป็นสัญญาย่อยหลายสัญญาทำให้การบริหารจัดการโครงการจะเกิดความทับซ้อน
ซึ่งมีผลเสียต่อการดำเนินการต่างๆ อาทิ
- ผู้รับจ้างจะต้องเสนอขออนุมัติทำงานในทุกขั้นตอนของการก่อสร้างและทุกสัญญา ซึ่งทำให้กระบวนการดำเนินงานทั้งหมดเกิดความซ้ำซ้อน
- การควบคุมงาน อาจมีการวินิจฉัยสัญญาแตกต่างกันในหัวข้อการพิจารณาเดียวกัน
- การบริหารวัสดุก่อสร้างในสัญญาที่กำหนดให้ใช้วัสดุที่ได้จากการขุดมาใช้เป็นวัสดุถม การแบ่งหลายสัญญาอาจทำให้ไม่มีงานขุดกับงานถมอยู่ในสัญญาเดียวกัน แต่ถ้าเป็นสัญญาขนาดใหญ่ซึ่งมีงานขุดและงานถมอยู่ในสัญญาเดียวกันก็สามารถนำวัสดุงานขุดไปใช้เป็นวัสดุงานถมได้ ทำให้ประหยัดงบประมาณค่าก่อสร้าง
- พื้นที่ทำงาน หากแยกสัญญาระบบอาณัติสัญญาณฯ ออกจากงานโยธาจะมีปัญหาเรื่องการได้ตัวผู้รับจ้างไม่พร้อมกัน ทำให้มีปัญหาในเรื่องการทำงานในพื้นที่เดียวกันดังที่ปรากฏในโครงการทางคู่ระยะที่ 1 สายใต้ (นครปฐม-ชุมพร) สายอีสาน (มาบกะเบา-จิระ) และสายเหนือ (ลพบุรี-ปากน้ำโพ) ขณะที่โครงการที่รวมงานโยธาและอาณัติสัญญาณฯ ไว้ในสัญญาเดียวกัน เช่น โครงการทางคู่ฉะเชิงเทรา-แก่งคอย โครงการ
ทางคู่ชุมทางถนนจิระ-ขอนแก่น ไม่มีปัญหาเรื่องพื้นที่ทำงานทับซ้อนแต่อย่างใด เพราะเป็นผู้รับเหมา
รายเดียวกัน
- การรอข้อมูลงานอาณัติสัญญาณฯ การรวมสัญญางานโยธากับระบบอาณัติสัญญาณฯ ผู้รับเหมา
จะประสานข้อมูลกันภายใน ไม่ต้องรอข้อมูล แต่หากแยกสัญญาผู้รับเหมางานโยธาต้องรอรับข้อมูล
การทำงานจากผู้รับเหมางานระบบอาณัติสัญญาณฯ เป็นต้น
ด้านงบประมาณ​
ในกรณีที่แบ่งเป็นสัญญาใหญ่สามารถลดค่าใช้จ่ายค่าดำเนินการ เช่น ค่าใช้จ่ายในการเตรียมการ
ค่าก่อสร้างและค่าใช้จ่ายสำนักงานสนาม ค่าใช้จ่ายในการจัดเตรียมบุคลากรควบคุมงาน ค่าใช้จ่ายเครื่องจักร ยานพาหนะ และค่าใช้จ่ายการจ้างที่ปรึกษา PMC เป็นต้น
ด้านเวลา
ในกรณีที่แบ่งเป็นสัญญาใหญ่และรวมสัญญาโยธากับระบบอาณัติสัญญาณฯ เข้าไว้ด้วยกันสามารถควบคุมบริหารจัดการให้โครงการแล้วเสร็จทันเวลา และเปิดเดินรถได้ตามแผนที่วางไว้ได้ดีกว่าการแบ่งเป็นสัญญาย่อย ๆ หรือแยกงานระบบอาณัติสัญญาณฯ ออกจากงานโยธา

ประเด็นที่ 2 ผลงานก่อสร้างทางรถไฟของผู้รับเหมาที่จะเข้าประมูล
ดร.สามารถ ได้ระบุว่าสายใต้ทีโออาร์กำหนดให้ผู้รับเหมาที่จะเข้าประมูลสายใต้ต้องมีผลงานก่อสร้างทางรถไฟในสัญญาเดียวไม่น้อยกว่า 10% ของค่าก่อสร้างโครงการที่จะประมูล คิดเป็นผลงาน 607-839 ล้านบาท (10% ของค่าก่อสร้าง 6,071-8,390 ล้านบาท) นั่นหมายความว่าผู้รับเหมาที่จะเข้าประมูลก่อสร้างรถไฟทางคู่สายใต้จะต้องเคยมีผลงานก่อสร้างทางรถไฟในสัญญาเดียวไม่น้อยกว่า 607-839 ล้านบาท ขึ้นอยู่กับว่าจะเข้าประมูลสัญญาไหน หากมีผลงานไม่ถึงก็ไม่สามารถเข้าประมูลได้
สายเหนือและสายอีสาน
ทีโออาร์กำหนดให้ผู้รับเหมาที่จะเข้าประมูลสายเหนือและสายอีสานต้องมีผลงานก่อสร้างทางรถไฟมากกว่าสายใต้ โดยกำหนดให้มีผลงานในสัญญาเดียวไม่น้อยกว่า 15% ของค่าก่อสร้าง คิดเป็นผลงาน 2,910-4,250 ล้านบาท (15% ของค่าก่อสร้าง 19,406-28,333 ล้านบาท)นั่นหมายความว่าผู้รับเหมาที่จะเข้าประมูลก่อสร้างรถไฟทางคู่สายเหนือและสายอีสานจะต้องเคยมีผลงานก่อสร้างทางรถไฟในสัญญาเดียวไม่น้อยกว่า 2,910-4,250 ล้านบาท ขึ้นอยู่กับว่าจะเข้าประมูลสัญญาไหน หากมีผลงานไม่ถึง
ก็ไม่สามารถเข้าประมูลได้
การรถไฟฯ ขอชี้แจงและให้ข้อมูลที่ถูกต้องดังนี้ :
การกำหนดผลงานก่อสร้างเป็นไปตามระเบียบและหนังสือของคณะกรรมการวินิจฉัยฯ ของกรมบัญชีกลาง ที่ทุกหน่วยงานต้องปฏิบัติในการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ โดยให้กำหนดผลงานก่อสร้างเป็นผลงานประเภทเดียวกับงานที่ประกวดราคาและมีมูลค่าไม่เกิน 50% ของมูลค่างานที่ประกวดราคา
การกำหนดผลงานก่อสร้างทางรถไฟเป็น 15% ของมูลค่างานจึงเป็นไปตามระเบียบที่กำหนดและ
การรถไฟฯ ได้คำนึงถึงจำนวนผู้ที่มีผลงานสามารถเข้าร่วมการแข่งขันที่เพียงพอแล้ว
ทั้งนี้ สำหรับสายเด่นชัย ผลงานก่อสร้างอุโมงค์กำหนดผลงานไว้ 5% ของค่าก่อสร้างงานอุโมงค์ เป็นผลงานทั้งในและต่างประเทศ เพราะการก่อสร้างงานอุโมงค์เป็นส่วนสำคัญของงานในแต่ละสัญญา โดยผลงานก่อสร้างอุโมงค์นี้กำหนดให้เป็นผลงานของสมาชิกกิจการร่วมค้าได้ เพื่อให้มีจำนวนผู้เข้าร่วมแข่งขัน
ที่เพียงพอ ส่วนสายบ้านไผ่-นครพนม แม้ไม่มีงานอุโมงค์ แต่ก็มีระยะเวลาการก่อสร้างเพียง 48 เดือน ที่ต้องวางแผนงานก่อสร้างให้สอดคล้องกับการได้พื้นที่ก่อสร้างจากการเวนคืน
ทั้ง 2 โครงการ จึงต้องการผู้ประกอบการที่มีขีดความสามารถดำเนินงาน หรือบริหารความร่วมมือ
จากผู้ประกอบการอื่นๆที่มาร่วมมือกันทำงานตามความเชี่ยวชาญและความชำนาญได้อย่างสอดคล้อง
ลงตัวกัน จึงกำหนดผลงานการก่อสร้างไว้ที่ 15% ของมูลค่าสัญญา ซึ่งก็ประเมินแล้วว่ามีผู้ประกอบการ
ที่มีมากพอที่จะเกิดการแข่งขันกันเสนอราคา

ประเด็นที่ 3 ระบบอาณัติสัญญาณ
ดร. สามารถได้ระบุว่าสายใต้ สายใต้แยกประมูลงานติดตั้งระบบอาณัติสัญญาณออกจากงานก่อสร้างทางรถไฟ เนื่องจากถูกทักท้วงว่าจะเป็นการเอื้อประโยชน์ให้ผู้รับเหมารายใดรายหนึ่ง กล่าวคือผู้รับเหมาที่จะเข้าประมูลจะต้องมีหนังสือรับรองจากผู้ผลิตระบบอาณัติสัญญาณว่ายินดีจะขายและติตตั้งระบบอาณัติสัญญาณให้ ซึ่งเป็นการ
เปิดโอกาสให้ผู้ผลิตเลือกออกหนังสือรับรองให้ผู้รับเหมารายใดก็ได้ เช่น อาจจะออกหนังสือรับรอง
ให้เฉพาะผู้รับเหมาขนาดใหญ่เท่านั้น ทำให้ผู้รับเหมาขนาดกลางไม่สามารถเข้าประมูลได้ ถือเป็นการ
ล็อกสเปกผู้รับเหมาอย่างแยบยล ด้วยเหตุนี้ ทีโออาร์สายใต้จึงแยกการติดตั้งระบบอาณัติสัญญาณ
ออกจากงานก่อสร้างทางรถไฟเพื่อขจัดปัญหาดังกล่าว
สายเหนือและสายอีสาน
สายเหนือและสายอีสานรวมงานติดตั้งระบบอาณัติสัญญาณเข้ากับงานก่อสร้างทางรถไฟ ซึ่งอาจทำให้
ปิดโอกาสการเข้าประมูลของผู้รับเหมาขนาดกลางได้ เนื่องจากไม่ได้รับหนังสือรับรองจากผู้ผลิตระบบอาณัติสัญญาณ
การรถไฟฯ ขอชี้แจงและให้ข้อมูลที่ถูกต้องดังนี้ :
การรวมสัญญางานโยธาและระบบอาณัติสัญญาณฯ ไม่เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ผลิตเลือกออกหนังสือรับรองให้กับผู้รับเหมารายใดรายหนึ่งตามที่มีการตั้งข้อสังเกต เพราะผู้ผลิตที่มีคุณสมบัติตามที่การรถไฟฯ กำหนด มีอยู่หลายราย และเงื่อนไขการประกวดราคาก็ไม่ได้กำหนดให้ผู้ผลิตฯ ออกหนังสือรับรองให้แก่ผู้รับเหมาเพียงรายเดียวแต่อย่างใด

ประเด็นที่ 4 ผู้รับเหมาขนาดกลางเข้าประมูลได้หรือไม่?
ดร. สามารถ ได้ระบุว่าสายใต้ผู้รับเหมาขนาดกลางเข้าประมูลได้ เนื่องจากทีโออาร์เปิดกว้างมากกว่าสายเหนือและสายอีสาน
อนึ่ง เดิมการประมูลรถไฟทางคู่สายใต้ ผู้รับเหมาขนาดกลางไม่สามารถเข้าประมูลได้ เนื่องจากทีโออาร์กำหนดผลงานก่อสร้างทางรถไฟในสัญญาเดียวไว้สูง โดยกำหนดไว้ไม่น้อยกว่า 15% ของค่าก่อสร้าง
อีกทั้ง มีการรวมงานติดตั้งระบบอาณัติสัญญาณไว้ในงานก่อสร้างทางรถไฟ ซึ่งอาจทำให้สามารถ
ล็อกสเปกให้ผู้รับเหมาขนาดใหญ่ได้
ผมจึงได้ทักท้วง เป็นผลให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ปรับเปลี่ยนทีโออาร์ โดยลดผลงานก่อสร้างทางรถไฟในสัญญาเดียวจาก 15% เหลือ 10% ของค่าก่อสร้าง และแยกประมูลงานติดตั้งระบบอาณัติสัญญาณออกจากการประมูลงานก่อสร้างทางรถไฟ เป็นการปลดล็อกให้ผู้รับเหมาขนาดกลางสามารถ
เข้าประมูลได้
สายเหนือและสายอีสาน
ผู้รับเหมาขนาดกลางไม่สามารถเข้าประมูลได้ หากต้องการเข้าร่วม จะต้องรวมกับผู้รับเหมาขนาดใหญ่
เป็นกิจการร่วมค้า และจะต้องมีคุณสมบัติครบถ้วนตามทีโออาร์ ซึ่งโดยทั่วไปหากไม่จำเป็นจริงๆ ผู้รับเหมาขนาดใหญ่มักปฏิเสธไม่ให้ผู้รับเหมาขนาดกลางเข้าร่วมด้วย เพราะผู้รับเหมาขนาดใหญ่มีคุณสมบัติครบถ้วนตามทีโออาร์อยู่แล้ว จึงไม่ต้องอาศัยผู้รับเหมาขนาดกลาง
อีกทั้ง อาจไม่ต้องการแบ่งรายได้และผลงานให้ผู้รับเหมาขนาดกลาง เนื่องจากหากผู้รับเหมาขนาดกลาง
มีผลงานเพิ่มขึ้นก็จะกลายเป็นผู้รับเหมาขนาดใหญ่ในวันข้างหน้า ทำให้มีผู้รับเหมาขนาดใหญ่เข้ามาแข่งขันกันมากขึ้น โอกาสที่จะชนะการประมูลโครงการใดโครงการหนึ่งก็จะยากขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม
เมื่อผู้รับเหมาขนาดใหญ่ได้งานแล้วก็มักจะจ้างผู้รับเหมาขนาดกลางเป็น “ผู้รับเหมาช่วง” มาทำงานให้
การรถไฟฯ ขอชี้แจงและให้ข้อมูลที่ถูกต้องดังนี้ :
การกำหนดผลงานการก่อสร้างทางรถไฟเป็น 15% และรวมงานระบบอาณัติสัญญาณไว้ด้วยนั้น ไม่ได้เป็นการกีดกันการแข่งขันในการประกวดราคาแต่อย่างใด เพราะโครงการทางคู่ 2 สายแรก สายฉะเชิงเทรา-คลองสิบเก้า-แก่งคอย และชุมทางจิระ-ขอนแก่น ได้กำหนดมูลค่าผลงานก่อสร้างทางรถไฟไว้ 25% และรวมงานระบบอาณัติสัญญาณฯ ไว้ด้วย ซึ่งการประกวดราคาและการบริหารจัดการงานก่อสร้างโครงการ
ทั้งสองได้แล้วเสร็จครบถ้วนตามเป้าหมายทุกประการ
แต่อย่างไรก็ตาม ผู้รับเหมาขนาดย่อมถึงขนาดกลางก็สามารถเข้าร่วมการประมูลในครั้งนี้ได้ โดยเห็นได้จากเงื่อนไขการประกวดราคาที่การรถไฟฯ กำหนดในครั้งนี้ซึ่งเปิดกว้างให้ผู้รับเหมาขนาดย่อมถึง
ขนาดกลางที่มีผลงานตามที่กำหนดหรือขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกอบการงานก่อสร้างไว้กับกรมบัญชีกลางตามสาขางานก่อสร้างทางหรือสาขางานก่อสร้างสะพานสามารถเข้าร่วมประมูลในรูปแบบสมาชิก
กิจการร่วมค้าได้

ประเด็นที่ 5 สรุป
ดร. สามารถได้ระบุว่าจะเห็นได้ว่า สายใต้มีค่าก่อสร้างต่อสัญญาต่ำกว่า อีกทั้ง ทีโออาร์กำหนดให้ผู้รับเหมาที่สามารถเข้าประมูลได้มีผลงานก่อสร้างทางรถไฟเป็นสัดส่วนของค่าก่อสร้างต่ำกว่าด้วย จึงทำให้ผู้รับเหมาขนาดกลางสามารถเข้าประมูลได้ด้วย ส่งผลให้การประมูลมีการแข่งขันกันมากกว่าสายเหนือและสายอีสาน ซึ่งมีเฉพาะผู้รับเหมาขนาดใหญ่เท่านั้นที่สามารถเข้าประมูลได้ ด้วยเหตุนี้ ผลการประมูลรถไฟทางคู่สายใต้จึงได้ราคาประมูลต่ำกว่าราคากลางมากกว่าสายเหนือและสายอีสาน กล่าวคือสายใต้ได้ราคาประมูลต่ำกว่าราคากลาง 5.66% ในขณะที่สายเหนือและสายอีสานได้ราคาประมูลต่ำกว่าราคากลางเท่ากัน คือเพียง 0.08% เท่านั้น

ทั้งหมดนี้ ด้วยความหวังดี หาก ร.ฟ.ท. ใช้ทีโออาร์รูปแบบเดียวกับการประมูลรถไฟทางคู่สายใต้ในการประมูลสายอื่นก็จะสามารถประหยัดงบประมาณแผ่นดินในการ นี้
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 02/06/2021 8:44 pm    Post subject: Reply with quote

รอดูว่าจะมีการลดเขตเวนคืนเหลือเท่าที่จำเป็นจริงๆหรือเปล่า
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 04/06/2021 10:29 pm    Post subject: Reply with quote

เปิด TOR ทางคู่ "อีสาน"บ้านไผ่-นครพนมล็อกสเปคหรือไม่
พฤหัสบดีที่ 3 มิถุนายน 2564 เวลา 19:23 น.

เปิดTOR รถไฟทางคู่”อีสาน”บ้านไผ่-นครพนม”5.5หมื่นล้านบาท ล็อกสเปคใช่หรือไม่


การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เผยผลการประมูลวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-bidding)โครงการก่อสร้าง2รถไฟทางคู่ ใหม่ สายเหนือ –อีสาน มูลค่า1.28แสนล้านบาท ประกอบด้วย สายเหนือช่วงเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ ระยะทาง323 กิโลเมตร 3สัญญา วงเงิน7.29หมื่นล้านบาท และ สายอีสาน ช่วงบ้านไผ่-นครพนม ระยะทาง355กิโลเมตร 2สัญญา วงเงิน 5.5หมื่นล้านบาทปรากฎว่าทั้ง5สัญญา มีผู้เสนอราคาต่ำสุด ใกล้เคียงราคากลางค่อนข้างมาก หรือห่างจากราคากลางคิดเป็น 0.08-0.09% สะท้อนว่า ไม่เกิดการแข่งขันหรือส่อไปในทางสมยอมหรือฮั้ว อีกทั้ง รัฐมีการตั้งสเปค ทีโออาร์ ที่สูงทั้งมูลค่างานและ ผลงานที่ผ่านมา ทำให้มีผู้รับเหมานำผลงานผ่านเข้าประมูลได้ 5ราย จากผู้ที่ซื้อซอง สัญญาละราย 17-18ราย ซ้ำร้ายกว่านั้นเอกชนทั้ง 5ราย สามารถได้งาน ครบ ทั้ง5สัญญาดัง ที่มีการทำนายจากผู้รับเหมารายกลางออกมาก่อนหน้าที่จะประกวดราคาดังนี้

1.โครงการก่อสร้างทางคู่สายเหนือ ช่วงเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ 323กม.มูลค่า 7.29หมื่นล้านบาท 3สัญญา
สัญญาที่ 1 ช่วงเด่นชัย-งาว 103 กม. ราคากลาง 26,599 ล้านบาท กิจการร่วมค้า ITD-NWRเสนอราคาต่ำสุด 26,568 ล้านบาท ต่ำกว่าราคากลาง 31 ล้านบาท
สัญญาที่2 ช่วงงาว-เชียงราย 135 กม. ราคากลาง 26,913 ล้านบาทกิจการร่วมค้า CKST JOINT VENTURE เสนอราคาต่ำสุด 26,900 ล้านบาท ต่ำกว่าราคากลาง 13 ล้านบาท
สัญญาที่ 3 ช่วง ช่วงเชียงราย-เชียงของ 84 กิโลเมตร ราคากลาง 19,406 ล้านบาท กิจการร่วมค้า CKST JOINT VENTURE เสนอราคาต่ำสุด 19,390 ล้านบาท ต่ำกว่าราคากลาง 16 ล้านบาท

2.โครงการรถไฟทางคู่สายอีสาน ช่วงบ้านไผ่-นครพนม 355กม.มูลค่า5.5หมื่นล้านบาท 2สัญญา
สัญญาที่ 1 ช่วงบ้านไผ่-หนองพอก 177.50 กม. ราคากลาง 27,123 ล้านบาท เอ.เอส. JVรับเหมาท้องถิ่น เสนอราคาต่ำสุด 27,100 ล้านบาท ต่ำกว่าราคากลาง23ล้านบาท
สัญญาที่2 ช่วงหนองพอก-สะพานมิตรภาพ 3 177.2 กม. ราคากลาง 28,333 ล้านบาท ยูนิค ฯJVรับเหมาท้องถิ่น เสนอราคาต่ำสุดอยู่ที่ 28,310 ล้านบาท ต่ำกว่าราคากลาง 23ล้านบาท

ทั้งนี้ประเด็นสำคัญที่นักวิชาการมองคือ ราคาประมูลต่อสัญญาที่สูงเกินไป เฉลี่ย 20,000ล้านบาท หากเทียบกับ เส้นทางสายใต้ บางเส้นทาง มีมูลค่าต่อสัญญาเฉลี่ยเพียง5,000 ล้านบาท การตั้งวงเงินต่อสัญญาที่สูงทำให้ ผู้รับเหมารายกลาง ไม่สามารถเข้าแข่งขันประมูลได้ สำหรับ หลักเกณฑ์การประมูล หรือเงื่อนไข TOR ที่ ถูกจับตามองในวงกว้างว่าอาจมีการล็อกสเปคหรือไม่ ขอยกตัวอย่างการประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ (e-bidding) การจ้างก่อสร้างโครงการก่อสร้างทางรถไฟ สายบ้านไผ่-มหาสารคราม-ร้อยเอ็ด-มุกดาหาร-นครพนม สัญญาที่ 1 ช่วงบ้านไผ่-หนองพอก ตามประกาศ การรถไฟแห่งประเทศไทย ลงวันที่ มีนาคม 2564ข้อ 2.10 ผู้ยื่นข้อเสนอต้องมีผลงานก่อสร้างประเภทเดียวกันกับงานที่ประกวดราคาจ้างก่อสร้าง ทางรถไฟ(ก)ในวงเงินไม่น้อยกว่า 4,068,000,000.00 บาท (สี่พันหกสิบแปดล้านบาทถ้วน) และเป็นผลงานที่ เป็นคู่สัญญาโดยตรงกับหน่วยงานของรัฐ หรือหน่วยงานเอกชนที่การรถไฟแห่งประเทศไทยเชื่อถือ 2.11 ผู้ยื่นข้อเสนอที่เสนอราคาในรูปแบบของกิจการร่วมค้า ต้องเป็นกิจการที่มีข้อตกลงระหว่างผู้เข้าร่วมค้าเป็นลายลักษณ์อักษรว่าจะดำเนินการร่วมกันเป็นทางการค้าหรือหากำไร ระหว่างบริษัทกับบริษัท บริษัทกับห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลกับห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือระหว่างบริษัทและ/หรือ ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลกับนิติบุคคลอื่น หรือนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ โดยข้อตกลงนั้นอาจ กำหนดให้มีผู้เข้าร่วมค้าหลักก็ได้ นอกจากนี้ ข้อ2.12 ยังระบุว่า ผู้ยื่นข้อเสนอต้องลงทะเบียนในระบบจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐด้วยอิเล็กทรอนิกส์(Electronic Government Procurement : e - GP) ของกรมบัญชีกลาง 2.13 ผู้ยื่นข้อเสนอจะต้องมีนโยบายและแนวทางการป้องกันการทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้าง 2.14 ผู้ยื่นข้อเสนอจะต้องลงนามในข้อตกลงคุณธรรม กรณีโครงการที่ได้รับการคัดเลือกจาก คณะกรรมการความร่วมมือป้องกันการทุจริต (คณะกรรมการ ค.ป.ท.) ให้จัดทำข้อตกลงคุณธรรม2.15 ผู้ยื่นข้อเสนอจะต้องมีคุณสมบัติครบถ้วนตามข้อ 2.1 ถึง2.14 และมีคุณสมบัติ
เพิ่มเติมดังนี้ (1)ผู้ยื่นข้อเสนอที่เป็นนิติบุคคลรายเดียว ต้องเป็นนิติบุคคลไทยที่จดทะเบียนตามกฎหมายไทย ต้องมีผลงานก่อสร้างทางรถไฟ(ก) ที่มีมูลค่าก่อสร้างในสัญญาเดียวไม่น้อยกว่า 4,068,000,000.00 บาท (สี่พัน
หกสิบแปดล้านบาทถ้วน) ซึ่งได้รวมภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว ทั้งนี้ ผู้ยื่นข้อเสนอที่เป็นกิจการร่วมค้า ต้องมีนิติบุคคลไทยที่จดทะเบียนตามกฎหมายไทยเป็น ผู้เข้าร่วมค้าหลัก (Lead Firm) โดยสมาชิกทุกรายที่รวมตัวกันเป็นกิจการร่วมค้านั้นต้องเป็นนิติบุคคล และต้องมี สัดส่วนนิติบุคคลไทยรายเดียวหรือมากกว่าหนึ่งรายรวมกันในการร่วมค้ามากกว่าร้อยละ 50 (50%) โดย ผู้เข้าร่วมค้าหลัก (Lead Firm) จะต้องมีสัดส่วนการร่วมค้ามากที่สุดและสัดส่วนนี้จะต้องไม่เปลี่ยนแปลงตลอด ระยะเวลาโครงการ ซึ่งในวันยื่นเอกสารประกวดราคา จะต้องยื่นเอกสารข้อตกลงสำหรับการร่วมกันเป็นกิจการ
ร่วมค้าสำหรับโครงการก่อสร้างงานสัญญาที่ 1 ช่วงบ้านไผ่-หนองพอก ซึ่งต้องชี้ชัดถึงสัดส่วนของการร่วมค้าของแต่ละนิติบุคคลในกลุ่ม และต้องระบุข้อความไว้ด้วยว่า สมาชิกทุกรายของกิจการร่วมค้ายินยอมผูกพันตน ในการที่จะรับผิดชอบร่วมกันและแทนกันในหน้าที่ความรับผิดชอบและหนี้ทั้งปวงต่อการรถไฟแห่งประเทศไทยใน ทุกกรณี (Shall be jointly and severally responsible for all cases) มิฉะนั้นแล้วการรถไฟแห่งประเทศไทยจะไม่ รับพิจารณาข้อเสนอของผู้ยื่นข้อเสนอรายนั้น กิจการร่วมค้าต้องมีผลงานก่อสร้างทางรถไฟ(ก)ที่มีมูลค่าก่อสร้างในสัญญาเดียวไม่น้อยกว่า 4,068,000,000บาท (สี่พันหกสิบแปดล้านบาทถ้วน) ซึ่งได้รวมภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว โดยสามารถนำผลงานก่อสร้างของผู้เข้าร่วมค้าหลัก (Lead Firm) เป็นผลงานของกิจการร่วมค้า ได้และผู้เข้าร่วมค้ารายอื่นๆ ของกิจการร่วมค้าทุกรายต้องมีผลงานอย่างน้อยอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้ ผลงานก่อสร้างทางรถไฟ(ก) ที่มีมูลค่าก่อสร้างในสัญญาเดียวไม่น้อยกว่า 900,000,000บาท (เก้าร้อยล้านบาทถ้วน) ซึ่งได้รวมภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว ข) ผลงานก่อสร้างงานโยธา(ข) ที่มีมูลค่าก่อสร้างในสัญญาเดียวไม่น้อยกว่า 900,000,000บาท (เก้าร้อยล้านบาทถ้วน) ซึ่งได้รวมภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว
เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว การประมูลรถไฟทางคู่สายนี้ ส่อไปทางฮั้วหรือล็อกสเปคหรือไม่...ใครรู้ช่วยบอกที

อ่านทีโออาร์แนบท้าย
https://medias.thansettakij.com/pdf/2021/1622722443.pdf
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44640
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 23/06/2021 7:38 am    Post subject: Reply with quote

จี้ล้มประมูล ทางคู่ 8 กลุ่มรุมถล่ม สัญญาเอื้อรายใหญ่คว้างาน
ฐานเศรษฐกิจ ฉบับวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2564

8 กลุ่มนักการเมือง-นักวิชาการ-รับเหมานักกฎหมาย-คนรถไฟไล่จี้ "บิ๊กตู่" อาศัยอำนาจ พรบ.บริหารราชการแผ่นดินล้มประมูลรถไฟทางคู่เหนือ-อีสาน มูลค่า1.28 แสนล้าน เอื้อ 5 ขาใหญ่ 5 สัญญาประหยัดงบประเทศชาติแค่ 106 ล้าน ดันเขียนทีโออาร์ใหม่แนะยึดมติซูเปอร์บอร์ดเดิม แบ่ง 7 สัญญาสายเหนือเปิดเอกชนรายกลางร่วมแข่งขัน

การประมูลรถไฟทางคู่สายใหม่ 2 เส้นทาง ประกอบด้วย สายเหนือ ช่วงเด่นชัย-เชียงรายเชียงของ และสายอีสาน ช่วงบ้านไผ่มุกดาหาร-นครพนม รวม 5สัญญา มูลค่า1.28แสนบาท ของการรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) กลายเป็นปมร้อน ที่พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชานายกรัฐมนตรี ต้องเร่งแก้ปัญหา เพราะเกิดข้อครหาในวงกว้างว่าอาจส่อไปในทางสมยอมหรือเกิดการฮั้วประมูลนำพาซึ่งความไม่โปร่งใสมาสู่รัฐบาลในทางกลับกันหากเพิ่กเฉยไม่ได้รับการแก้ไข ประเมินว่าเรื่องนี้ต้องร้อนฉ่าถึง สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) อย่างแน่นอน

8กลุ่มล้มประมูล2ทางคู่

การเปิดหน้าชนจากหลายฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ไล่เรียงพบ มี 8 กลุ่มทั้งนักการเมืองผู้รับเหมา นักวิชาการ แม้แต่พนักงานของการรถไฟฯเองนำพาไปสู่การเรียกร้องให้ นายกรัฐมนตรีชะลอการลงนามในสัญญาหรือล้มประมูลโครงการ รถไฟทางคู่สายเหนืออีสาน เพราะมีความเห็นไปในทิศทางเดียวกัน ว่าการประมูลในครั้งนี้ ไม่ชอบมาพากลในหลายด้าน รัฐไม่ได้ประโยชน์จากการแข่งขัน

สะท้อนจากผู้รับเหมารายใหญ่ผ่านเกณฑ์เงื่อนไขการประมูล (ทีโออาร์) นำผลงาน ยื่นขอประกวดราคา ได้เพียง5ราย ที่สำคัญผลการประมูลราคาเสนอต่ำสุดทั้ง 5 สัญญาห่างจากราคากลางเพียง 0.08% หรือ วงเงิน 1.28 แสนล้านบาท รัฐประหยัดงบประมาณเพียง 106 ล้านบาท ที่ลงลึกไปในรายละเอียดมากกว่านั้น คือทั้ง 5 บริษัท ได้งานครบทุกรายพอเหมาะพอดีทั้ง 5 สัญญา หรือที่นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม หัวหน้าพรรคไทยภักดี ออกมาระบุว่า 5บริษัท5สัญญา ครบตามเป้าหมาย หากมองด้วยสายตา จะทราบทันทีว่าส่อไปในทางฮั้วแน่นอน

หมอวรงค์ยังสะท้อนอีกว่า เมื่อไม่มีการแข่งขันรัฐสูญงบประมาณ ไม่ต่ำกว่า 7,000 ล้านบาท สอดคล้องนายสามารถ ราชพลสิทธิ์ รองหัวหน้าพรรค ประชาธิปัตย์ที่ออกมากระทุ้งหลายรอบ นอกจากราคาประมูลต่ำกว่าราคากลาง หากเปรียบเทียบกับทางคู่สายใต้ช่วงนครปฐมชุมพร ที่ห่างจากราคากลางถึงกว่า 2,000 ล้านบาท เช่นเดียวกับรถไฟความเร็วสูง ไทย-จีน ระยะแรกช่วงกรุงเทพมหานครนครราชสีมา ที่ราคาเสนอต่ำสุดทิ้งห่างราคากลางค่อนข้างมาก ถึง 40% ทั้งที่เป็นการประมูลจากหน่วยงานเดียวแต่วิธีการต่างกันจนน่าแปลก

ไม่ต่างจาก นายมานะ นิมิตรมงคล เลขาธิการ องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) นพ.ระวี มาศฉมาดล ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคพลังธรรมใหม่ สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ การรถไฟที่ตั้งข้อสังเกตไม่ต่างกันว่า การประมูลครั้งนี้ไม่ชอบมาพากล ที่ต้องเร่งสะสาง

ภายหลังจากกลุ่มดังกล่าว เรียกร้องให้ตรวจสอบการประมูล2ทางคู่ ล่าสุดผู้แทนคณะราษฎรไทยแห่งชาติ และนายศรีสุวรรณ จรรยา ได้ รวมตัวกันยื่นหนังสือ ถึงนายกรัฐมนตรี ที่ทำเนียบรัฐบาลแบบสดๆร้อนๆ เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน ที่ผ่านมา ในข้อความระบุว่า ขอให้ตั้งคณะกรรมการสอบสวนการประมูลรถไฟรางคู่ที่ส่อฮั้วประมูลพร้อมทั้งขอให้นำเสนอต่อครม.ให้พิจารณาชะลอโครงการรถไฟทางคู่ที่ใช้เงินกว่า 1.28 แสนล้านบาท ออกไปก่อนเนื่องจากโครงการไม่มีความจำเป็นเร่งด่วนประกอบกับภาวะวิกฤติการเงินการคลังของประเทศ เพื่อประโยชน์ต่อทางราชการขณะก่อนหน้านี้นายศรีสุวรรณ ได้มีหนังสือร้องไปยัง สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) และป.ป.ช.ตามลำดับ เพื่อให้ตรวจสอบเรื่องการเปิดให้ 5 ผู้รับเหมารายใหญ่ ทำให้รัฐเสียประโยชน์ด้านราคา

ทั้งนี้ การชะลอการประมูลโครงการดังกล่าวออกไป ทางนายกรัฐมนตรีในฐานะหัวหน้ารัฐบาล มีอำนาจจะยับยั้งการปฏิบัติราชการใดๆ ที่ขัดต่อ นโยบายหรือมติของคณะรัฐมนตรีก็ได้ และมีอำนาจสั่งสอบสวนข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการปฏิบัติราชการของราชการส่วนกลาง ราชการส่ว นภูมิภาค และราชการส่วนท้องถิ่น ตามพ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 ได้

เปิดไส้ในส่อฮั้วประมูล

สำหรับชนวนปัญหา เกิดจากรฟท. ได้ปรับลดสัญญา ทางคู่สายเหนือ จาก7สัญญาประกอบด้วยงานราง 6 สัญญาและอาณัติสัญญาณ 1 สัญญา เหลือ 3 สัญญารวมอาณัติสัญญาน ภายหลังซุปเปอร์บอร์ดมีอันต้องหมดวาระลงตามรัฐบาลคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)มาเป็นรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง โดยเห็นว่า 7สัญญาอาจเกิดความล่าช้า ในทางกลับกันมีการตั้งข้อสังเกตว่า หากแบ่ง 3 สัญญาจะทำให้มูลค่าแต่ละสัญญาสูง ทำให้ผู้รับเหมารายกลาง หลุดจากเวทีแข่งขัน ส่วนสายอีสานซอยสัญญารอไว้ 2 สัญญา ซึ่งเป็นอำนาจของคณะกรรมการการรถไฟแห่งประเทศไทย (บอร์ดรฟท.) เห็นชอบและประมูลในเวลาไล่เลี่ยกันดังนั้น 5 บริษัท 5 สัญญาได้งานไปครองแบบพอเหมาะพอเจอะคงไม่เกินความจริงนัก

แจงยุบ7สัญญาทางคู่เหนือ

ขณะการชี้แจงของ รฟท. และกระทรวงคมนาคม ออกมาเป็นระยะถึงความโปร่งใส สาเหตุหั่น 7 สัญญาประมูลรถไฟทางคู่สายเหนือเหลือ 3 สัญญา นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผย "ฐานเศรษฐกิจ" ถึงกรณีที่คณะราษฎรไทยแห่งชาติยื่นหนังสือ ถึงนายกรัฐมนตรีชะลอ2 ทางคู่ แต่ยืนยีนว่าไดดำเนินการตามระเบียบกฎหมายและขั้นตอนปกติ

ด้านแหล่งข่าวรฟท.ระบุว่า รฟท.ยังไม่ทราบเรื่องดังกล่าว หากมีการชะลอการประมูลโครงการฯออกไปจะได้รับผลกระทบต่อแผนการก่อสร้างโครงการฯ

"การจัดแบ่งสัญญาสายเหนือเป็น 7 สัญญา ที่มีงานโยธา 6 สัญญา และงานอาณัต สัญญาณ 1 สัญญาโดย คกจ. (คณะกรรมการกำกับการจัดซื้อจัดจ้าง หรือซุปเปอร์บอร์ด) ที่แต่งตั้งโดยคำสั่งหัวหน้าคณะ คสช. นั้น ยังไม่มีการรายงานผลการพิจารณาดังกล่าวจนกระทั่ง คกจ. ถูกยกเลิกตามคำสั่งที่ 9/2562 ของหัวหน้าคณะคสช."

"โครงการไม่มีความจำเป็นเร่งด่วนประกอบกับภาวะวิกฤติการเงินการคลังของประเทศ เพื่อประโยชน์ต่อทางราชการ"
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 25/06/2021 8:05 pm    Post subject: Reply with quote

13กลุ่มเครือข่ายภาคประชาชน หนุน รถไฟทางคู่-เหนือ-อีสาน
25 มิถุนายน พ.ศ. 2564 เวลา 18:53 น.

13กลุ่มเครือข่ายภาคประชาชน ภาคเหนือ-อีสาน ห่วง 2ทางคู่ถูกคนบางกลุ่มโจมดีไม่เป็นธรรม



การรวมตัวของเครือข่ายภาคประชาชน 13 กลุ่ม ภาคเหนือและภาคอีสาน แสดงความเป็นห่วงกรณีมีคนบางกลุ่มพยายามนำประเด็นทางการเมือง เข้ามาโจมตีการก่อสร้างโครงการรถไฟทางคู่ สายเหนือ ช่วงเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ และสายอีสาน ช่วงบ้านไผ่มุกดาหาร-นครพนม อย่างไม่เป็นธรรม พร้อมแสดงจุดยืนสนับสนุนให้รัฐบาล กระทรวงคมนาคม และการรถไฟฯ เร่งเดินหน้าโครงการเพื่อประโยชน์ต่อส่วนรวมและประเทศชาติเป็นสำคัญ ศูนย์ประชาสัมพันธ์ การรถไฟแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า การรถไฟฯ ได้รับแจ้งจากกลุ่มเครือข่ายภาคประชาชน 13 กลุ่ม ในพื้นที่ 4 จังหวัดภาคเหนือ ได้แก่ จังหวัดลำปาง เชียงราย แพร่ พะเยา และ 5 จังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ จังหวัดขอนแก่น มหาสารคาม ร้อยเอ็ด มุกดาหาร นครพนม ได้แสดงความห่วงใยถึงกรณีมีกลุ่มคนบางกลุ่ม พยายามนำประเด็นทางการเมืองเข้ามาโจมตีการลงทุนก่อสร้างโครงการรถไฟทางคู่สายใหม่ 2 เส้นทาง สายเหนือ ช่วงเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ และสายอีสาน ช่วงบ้านไผ่มุกดาหาร-นครพนม อย่างไม่เป็นธรรมทั้งนี้ ภาคประชาชน ผู้ประกอบการภาคธุรกิจ หอการค้าจังหวัด นักวิชาการ และนักการเมืองท้องถิ่นเห็นตรงกันว่า การลงทุนโครงการรถไฟทางคู่ทั้ง 2 โครงการ มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของพี่น้องประชาชนคนไทยให้ได้รับประโยชน์นั้น ทั้งในด้านการจ้างงาน การกระจายความเจริญสู่ท้องถิ่น การลดปัญหาการย้ายถิ่นฐาน ก่อให้เกิดเงินทุนหมุนเวียนภายในเศรษฐกิจชุมชน อีกทั้งยังมีส่วนช่วยเพิ่มศักยภาพระบบขนส่งโลจิสติกส์ของประเทศได้อีกด้วยดังนั้น กลุ่มเครือข่ายภาคประชาชนจำนวน 13 กลุ่ม จึงขอแสดงจุดยืนสนับสนุนให้รัฐบาล กระทรวงคมนาคม และการรถไฟฯ เดินหน้าโครงการลงทุนรถไฟทางคู่ให้เกิดขึ้นได้ตามแผน โดยยึดประโยชน์ต่อประชาชนและประเทศเป็นสำคัญ เพราะหากปล่อยให้ปัญหาทางการเมือง หรือเรื่องผลประโยชน์ของพวกพ้องมาส่งผลต่อโครงการแล้ว จะทำให้ประเทศชาติเสียโอกาสเพิ่มขึ้นอีกหลังต้องหยุดชะงักโครงการมาแล้วกว่า 60 ปี และเป็นห่วงว่าหากจะกลับมาทำในอนาคต รัฐบาลอาจต้องจ่ายค่าลงทุนก่อสร้างแพงขึ้นกว่าเดิมอีกก้เป็นได้ปัจจุบัน ทางกลุ่มเครือข่ายภาคประชาชน ได้รวมตัวแสดงจุดยืนด้วยการทำป้ายสนับสนุนขอให้รัฐบาลช่วยเดินหน้าโครงการรถไฟทางคู่แล้วในหลายพื้นที่ เช่น “ประชาชนชาว อ.สอง จ.แพร่ ขอสนับสนุนเป็นกำลังใจให้รัฐบาลและการรถไฟฯ พร้อมคณะที่ปรึกษาสร้างรถไฟทางคู่ สายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ” “เครือข่ายคนรักรถไฟล้านนาตะวันออก เด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ ได้ทำป้ายโปรดให้ฝันเป็นจริง 60 ปีที่รอคอย ส่งข่าวถึงผู้ใหญ่ใจดีผลักดันเป็นของขวัญที่เฝ้ารอ” โดยจะมีการเสนอเรื่องนี้ให้ ส.ส. และนักการเมืองภายในจังหวัดช่วยขับเคลื่อนสนับสนุนต่อไปอีกด้วย
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 25/06/2021 8:06 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
จี้ล้มประมูล ทางคู่ 8 กลุ่มรุมถล่ม สัญญาเอื้อรายใหญ่คว้างาน
ฐานเศรษฐกิจ ฉบับวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2564 "


ลิงก์มาแล้วครับ
https://www.thansettakij.com/content/Macro_econ/485001
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44640
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 15/07/2021 4:31 pm    Post subject: Reply with quote

เลื่อนไทม์ไลน์รถไฟทางคู่ “สายเหนือ-อีสาน” “นายกฯ” ตั้งสอบปมล็อก TOR ฮั้วประมูล ปราบโกงจริง? หรือแค่เบรกกระแสชั่วคราว!!!
เผยแพร่: 15 ก.ค. 2564 08:31 ปรับปรุง: 15 ก.ค. 2564 08:31 โดย: ผู้จัดการออนไลน์


การประมูลโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ สายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ ระยะทาง 323 กม. วงเงิน 72,921 ล้านบาท และรถไฟทางคู่ สายบ้านไผ่-มหาสารคาม-ร้อยเอ็ด-มุกดาหาร-นครพนม ระยะทาง 355 กม. วงเงิน 55,458 ล้านบาท รวมจำนวน 5 สัญญา ได้สร้างความประหลาดใจและเกิดข้อกังขาอย่างมาก เมื่อผลปรากฏว่ามีผู้รับเหมา 5 รายชนะประมูลด้วยวงเงินที่ต่ำกว่าราคากลางเพียง 0.08% เท่ากันทุกสัญญา และเมื่อเทียบกับมูลค่าโครงการแล้ววงเงินที่ลดอยู่ในระดับ 60 ล้านบาทเท่านั้นฮ
ทำให้มีหลายภาคส่วนเข้ามาตรวจสอบพร้อมกับเปิดข้อพิรุธความไม่โปร่งใสในการประมูลต่างๆ นานา ตั้งแต่การกำหนด TOR ที่เอื้อผู้รับเหมา มีการปิดกั้นผู้รับเหมาขนาดกลางทำให้ไม่เกิดการแข่งขัน และส่อว่าจะมีการฮั้วราคากันทำให้รัฐเสียผลประโยชน์ จากราคาที่น่าจะลดลงมากกว่านี้

ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ได้เปิดปมข้อสงสัยของการประมูลรถไฟทางคู่สายเหนือ-สายอีสาน โดยได้หยิบยกการประมูลรถไฟทางคู่สายใต้ช่วงนครปฐม-หัวหิน-ประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร ระยะทาง 420 กม. เมื่อปี 2560 ซึ่งการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) แบ่งเป็น 5 สัญญา มีราคากลางเฉลี่ยสัญญาละ 7,204 ล้านบาท ซึ่งทำให้ผู้รับเหมาขนาดกลางสามารถเข้าร่วมประมูลได้ด้วย เกิดการแข่งขันกัน และพบว่าผลประมูลออกมาต่ำกว่าราคากลางเฉลี่ย 5.66%

ดังนั้น การแบ่งสัญญาย่อยหลายสัญญาจะทำให้ราคากลางต่ำลง เมื่อราคากลางต่ำลง ผู้รับเหมาขนาดกลางสามารถเข้าร่วมประมูลได้ส่งผลให้เกิดการแข่งขันกันมากขึ้น ราคาที่ได้จากการประมูลก็จะต่ำกว่าราคากลางมากขึ้น ซึ่งจะช่วยประหยัดงบประมาณลง ซึ่งพิสูจน์แล้วจากการประมูลรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน ช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา งานโยธา วงเงิน 1.36 แสนล้านบาท แบ่ง 14 สัญญา (ไม่รวมงานติดตั้งระบบอาณัติสัญญาณฯ) ทำให้รัฐประหยัดค่าก่อสร้างได้ถึง 14.65%

แต่...รฟท.ทำตรงกันข้าม

นอกจากนี้ กรณีรวมประมูลงานติดตั้งระบบอาณัติสัญญาณฯ กับงานโยธามีข้อเสีย เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ผลิตเลือกออกหนังสือรับรองให้ผู้รับเหมารายใดก็ได้ เช่น อาจจะออกหนังสือรับรองให้เฉพาะผู้รับเหมาขนาดใหญ่เท่านั้น ทำให้ผู้รับเหมาขนาดกลางไม่สามารถเข้าร่วมประมูลได้ ถือเป็นการล็อกสเปกอย่างแยบยล

สรุปว่า หาก รฟท.ใช้ TOR มาตรฐานเหมือนสายใต้ ผลราคาอาจจะต่ำกว่านี้ ประหยัดเงินได้อย่างน้อย 5.7% เทียบจากวงเงิน 2 โครงการที่ 128,374 ล้านบาท คิดเป็นเงินที่ประหยัดได้ถึง 7,216 ล้านบาท

@“หมอวรงค์” ซัดเขียน TOR ล็อกให้รับเหมา 5 รายใหญ่

นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม รักษาการหัวหน้าพรรคไทยภักดี กล่าวว่า ลดราคาเพียง 0.08% เท่ากันทุกสัญญา แสดงให้เห็นว่ามีเจตนาไม่บริสุทธิ์ ซึ่งสมัย คสช.มีซูเปอร์บอร์ด (คณะกรรมการกำกับการจัดซื้อจัดจ้างของหน่วยงานรัฐ) ได้มีมติการแบ่งสัญญาการก่อสร้างรถไฟทางคู่สายเหนือ เป็น 7 สัญญา คือ สร้างทางรถไฟ 6 สัญญา งานระบบอาณัติสัญญาณฯ 1 สัญญา เพื่อให้เกิดการแข่งขัน

แต่เมื่อคณะกรรมการซูเปอร์บอร์ดต้องสิ้นสุดลง รฟท.จึงถือโอกาสจ้างที่ปรึกษาเข้ามาศึกษาทบทวนและปรับ 7 สัญญา เหลือ 3 สัญญา และผูกรวมงานระบบอาณัติสัญญาณฯ เข้าไว้ด้วย โดยอ้างว่า ถ้าซอย 7 สัญญางานจะเสร็จช้ากว่า 3 สัญญา ส่วนสายอีสานกำหนด 2 สัญญา ทำให้มูลค่าต่อสัญญาสูงมาก รับเหมารายกลางเข้าไม่ได้ ไม่มีการแข่งขัน มีขบวนการตบตาประชาชนเพื่อนำไปสู่การฮั้วประมูลระดับชาติ

“ดร.สามารถ และ นพ.วรงค์” ได้ร่วมยื่นหนังสือถึง พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เพื่อให้ พิจารณาทบทวนการประมูลโครงการนี้และตรวจสอบความไม่ถูกต้องในการประมูล เพื่อประโยชน์ของประเทศ และเพื่อให้เกิดความน่าเชื่อถือ เชื่อมั่นต่อรัฐบาล

ด้านนายศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย และนายพลภาขุน เศรษฐบดี แกนนำคณะราษฎรไทยแห่งชาติ ได้ยื่นหนังสือถึงนายกรัฐมนตรี ขอให้ตั้งกรรมการสอบการประมูลรถไฟทางคู่สายใหม่ที่ส่อพิรุธ และขอให้สั่งการไปยังกระทรวงคมนาคม เพื่อให้ รฟท.ระงับการลงนามในสัญญาว่าจ้างบริษัทที่ รฟท.ประกาศให้เป็นผู้ชนะการประมูล และยกเลิกการประกวดราคา

ทำให้เมื่อวันที่ 17 มิ.ย. 2564 นายกฯ ได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบการประกวดราคาก่อสร้างทางรถไฟทางคู่ สายเหนือ และสายอีสาน ดังกล่าว โดยมีนายดนัย มู่สา ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน

@องค์กรต่อต้านคอร์รัปชันเปิดเวทีถก “ฮั้วประมูล”

องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) หรือ ACT ได้เปิดเวทีเสวนาออนไลน์ การประมูลรถไฟทางคู่ความโปร่งใสที่ไม่จริงใจ!!! โดยมี ดร.สุเมธ องกิตติกุล ผู้อำนวยการวิจัยด้านนโยบายการขนส่ง และโลจิสติกส์ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) รศ.ดร.ต่อตระกูล ยมนาค อดีตกรรมการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ (คตช.) ดร.ประจักษ์ ทรัพย์มณี ผู้สังเกตการณ์รถไฟทางคู่ ดร.มานะ นิมิตรมงคล เลขาธิการ ACT ร่วมวงเสวนา

ชี้ว่าเป็นโครงการที่อื้อฉาวที่ รฟท.ถูกตั้งคำถามอย่างมากในรอบ 10 ปี ซึ่งการคอร์รัปชันกับโครงการขนาดใหญ่จะเริ่มตั้งแต่ ขั้นตอนศึกษาความเป็นไปได้ เขียน TOR กำหนดสเปก จนถึงการประมูล และช่วงบริหารสัญญา

โดยตั้งข้อสังเกตเรื่องการแบ่งสัญญาน้อยทำให้มูลค่าแต่ละสัญญาสูง การเปลี่ยนแปลงกติการวมงานโยธาและระบบอาณัติสัญญาณฯ ที่นำไปสู่การฮั้วประมูลได้

ดร.ประจักษ์ ทรัพย์มณี ซึ่งเข้าร่วมสังเกตการณ์ตั้งแต่ทำ TOR ระบุว่า การเปลี่ยนกติการวมงานโยธากับงานระบบอาณัติสัญญาณฯ ไว้ด้วยกัน ทำให้รับเหมารายกลางและรายเล็กบางรายเข้าไม่ได้ ทำให้งานก่อสร้างจำกัดอยู่ภายใต้ 5 บริษัท และไม่เห็นด้วยกับนโยบาย Thai First เพราะการกีดกันบริษัทต่างชาติ ซึ่งทำให้ขาดการถ่ายทอดเทคโนโลยีสมัยใหม่ระบบรางซึ่งประเทศไทยยังไม่มี

@“ศักดิ์สยาม-รฟท.”แจงยิบ...ซัดกลับทุกปมสงสัย

ด้าน ศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม และ รฟท. ได้ยืนยันว่าดำเนินการเป็นไปด้วยความโปร่งใส มีกระบวนการตรวจสอบการดำเนินการอย่างเปิดเผยในทุกขั้นตอนและเป็นไปตามระเบียบปฏิบัติของทางราชการ และข้อกฎหมายทุกประการ วิธีประมูล e-bidding เป็นรูปแบบการประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ในการประมูลงานภาครัฐที่มีความโปร่งใสและเป็นธรรม ไม่ทำให้เกิดการสมยอมกันระหว่างผู้รับจ้างในการฮั้วราคา หรือตกลงราคากัน เพราะเป็นการเสนอราคาที่ต่างคนต่างยื่นประมูลโดยไม่ทราบ ณ เวลานั้นว่าจะมีใครเข้าร่วมประมูลบ้าง และประมูลในราคาเท่าไหร่

ประเด็น...การรวมสัญญางานโยธากับระบบอาณัติสัญญาณฯ มีข้อดีคือ การบริหารโครงการมีประสิทธิภาพ ลดค่าใช้จ่าย overhead สำนักงาน เครื่องจักร เสร็จเปิดเดินรถได้ตามแผน ส่วนการแยกย่อยสัญญาสายใต้ ทำให้งานมีความล่าช้ากว่า 2 ปี จากการส่งต่อข้อมูล การมอบพื้นที่ระหว่างผู้รับจ้างงานโยธา กับงานอาณัติสัญญาณฯ

อีกทั้งไม่มีการกีดกันผู้รับเหมารายกลางหรือรายเล็กใดๆ เพราะผู้ผลิตระบบอาณัติสัญญาณที่มีคุณสมบัติตามที่ รฟท.กำหนดมีจำนวนหลายราย เงื่อนไขประมูลไม่ได้กำหนดให้ผู้ผลิตออกหนังสือรับรองให้ผู้เสนอราคาเพียงรายเดียว

@งานยาก ผ่านเขตภูเขา เจาะอุโมงค์ ใช้เทคนิคสูง

ประเด็น...TOR กำหนดผลงาน 15% เอื้อบริษัทใหญ่ จากเดิมซูเปอร์บอร์ดแบ่งงานเล็กผลงานแค่ 10% รายกลางแข่งได้

รฟท.ชี้แจงว่า...แนวเส้นทางอยู่ในเขตภูเขา มีการเจาะอุโมงค์ที่คาดว่าจะยาวที่สุดในประเทศ ใช้เทคนิคก่อสร้างสูง แบ่งงานเล็กจะมีปัญหาล่าช้า

ประเด็น...เสนออาณัติสัญญาณฯ 2 ยี่ห้อ เป็นการเผื่อเลือก ไม่เป็นประโยชน์ต่อ รฟท. และเมื่อปี 2550 กรมบัญชีกลางเคยชี้ว่าการเสนอราคาแบบหลายโรงงานเป็นการเผื่อเลือก ทำไม่ได้ ซึ่ง รฟท.เคยต้องยกเลิกประมูลมาแล้ว

ผู้ประมูลได้จะเลือกยี่ห้อราคาถูกให้ รฟท. เช่น เสนอทั้ง Siemens ของเยอรมนี และ LG ของเกาหลี ราคาเกาหลีจะถูกกว่า 20-30% และการที่ รฟท.เกรงว่าเมื่อให้เสนอระบบอาณัติสัญญาณฯ ยี่ห้อเดียวผู้ขายจะข่มผู้รับเหมา เช่น อาจปรับราคา “รฟท.ห่วงผลประโยชน์ผู้รับเหมามากกว่าของ รฟท.”

รฟท.ชี้แจงว่า...ระเบียบของกรมบัญชีกลางไม่ได้กำหนดการให้ยื่นไม่เกิน 2 ผลิตภัณฑ์ เป็นการแข่งขันเปิดกว้าง เป็นธรรม อีกทั้ง รฟท.ยังลดความเสี่ยงเรื่องความล่าช้า เรื่องยี่ห้อไหนไม่เป็นประเด็น เพราะ รฟท.จะพิจารณาคุณสมบัติตามที่กำหนดเป็นหลัก ซึ่งหากให้ยื่นยี่ห้อเดียว ทุกรายมีโอกาสเสนอของเกาหลีเหมือนกันเพราะราคาถูกกว่า เพราะหากใช้ยี่ห้อราคาสูงกว่าคงแข่งขันไม่ได้

@ต้นทุนวัสดุพุ่ง ประมูลราคากลางเดิม 5 สัญญาช่วยประหยัดงบ 7,600 ล้านบาท

ราคากลางที่ประมูลจัดทำตามราคาวัสดุเมื่อ ต.ค. 2563 ขณะที่ เม.ย. 2564 ช่วงประมูลราคาวัสดุ โดยเฉพาะเหล็กปรับเพิ่มขึ้นกว่า 30% ส่วนราคาน้ำมันดีเซล B7 ปรับจาก 21.59 บาท/ลิตร เป็น 27.79 บาท/ลิตร หรือเพิ่มขึ้น 6.2 บาท/ลิตร (+29%)

ซึ่งหากวิเคราะห์ราคากลาง รถไฟสายเหนือและสายอีสานทั้ง 5 สัญญา ณ วันที่ทำราคากลาง กับวันที่ยื่นเสนอราคา พบว่ามีส่วนต่างเพิ่มขึ้นถึง 7,600 ล้านบาท

สายเหนือ มีผลต่างราคากลาง 4,662 ล้านบาท

สัญญา 1 เด่นชัย-งาว ต้องปรับจาก 26,599 ล้านบาทเป็น 28,298 ล้านบาท (เพิ่ม 1,699 ล้านบาท)



สัญญา 2 งาว-เชียงราย ต้องปรับจาก 26,913 ล้านบาท เป็น 28,716 ล้านบาท (เพิ่ม 1,802 ล้านบาท)

สัญญา 3 เชียงราย-เชียงของ ต้องปรับจาก 19,406 ล้านบาท เป็น 20,566 ล้านบาท (เพิ่ม 1,160 ล้านบาท)

สายอีสาน มีผลต่างราคากลาง 2,968 ล้านบาท

สัญญา 1 บ้านไผ่-หนองพอก ต้องปรับจาก 27,123 ล้านบาท เป็น 28,657 ล้านบาท (เพิ่ม 1,533 ล้านบาท)

สัญญา 2 หนองพอก-สะพานมิตรภาพ 3 ต้องปรับจาก 28,333 ล้านบาท เป็น 29,768 ล้านบาท (เพิ่ม 1,434 ล้านบาท)

@รฟท.เลื่อนไทม์ไลน์ รอผลคณะ กก.ตรวจสอบของ “นายกฯ”

“นิรุฒ มณีพันธ์” ผู้ว่าฯ รฟท. กล่าวว่า ขณะนี้ยังไม่มีการประกาศผลผู้ชนะประมูล เพราะอยู่ในขั้นตอนของการพิจารณาผล และจะต้องนำเสนอคณะกรรมการ (บอร์ด) รฟท.เห็นชอบก่อนจึงจะประกาศผู้ชนะได้ ซึ่ง บอร์ด รฟท.จะประชุมวันที่ 21 ก.ค.นี้ แต่ยังไม่มีวาระเรื่องนี้ อีกทั้งเรื่องนี้นายกรัฐมนตรีได้ตั้งคณะกรรมการขึ้นมาตรวจสอบฯ ดังนั้น แม้ รฟท.จะมั่นใจในทุกขั้นตอนที่ดำเนินการ ว่าโปร่งใส ถูกต้องตามระเบียบ แต่ควรรอผลการตรวจสอบก่อน

คำตอบสุดท้าย น่าจะอยู่ที่คณะกรรมการตรวจสอบฯ ว่าจะสรุปผลอย่างไร...นายกฯ จะปราบโกงจริง? หรือการตั้งคณะกรรมการตรวจสอบจะเป็นแค่ เกมเบรก... บรรดานักร้องที่ออกมาขย่มประมูลชั่วคราว!!!

Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 28, 29, 30 ... 44, 45, 46  Next
Page 29 of 46

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©