RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311232
ทั่วไป:13179817
ทั้งหมด:13491049
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - การเดินรถสมัยสงครามมหาเอเซียบูรพา
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

การเดินรถสมัยสงครามมหาเอเซียบูรพา
Goto page Previous  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8, 9  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สาระความรู้วิชาการรถไฟและประวัติศาสตร์รถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 25/06/2007 8:42 pm    Post subject: Reply with quote

มีนาคม 2485 เมื่อกองทัพญี่ปุ่นส่งเจ้าหน้าที่มาตรวจสอบการเดินรถของกรมรถไฟ ก็พบว่า

1. สถานีชุมพร ทุกอย่างดูเรียบร้อยดี แต่ ห้องพักชุดพนักงานขับรถจักรและช่างไฟดูสกปรก

2. สถานีสุราษฎร์ธานี มีเรือขนสินค้า ( เรือนริศ ) จากกรุงเทพฯ มาบ้านดอน ทุกๆ 10 วัน แล้วมีการขนถ่ายสินค้าจากเรือไปขึ้นรถไฟ เพื่อกระจายสินค้าทั่วภาคใต้

3. สถานีหาดใหญ่มีปัญหาเรื่องรถไฟเข้าไปสับขบวนกันจากทุกสารทิศ จนรถเต็มย่านสถานี สับขบวนยากมาก จนต้องให้จอดรอเสานอกที่บ้านดินลาน ศาลาทุ่งลุ่ง น้ำน้อย ควนมีด บางทีต้องจอดค้างคืนเพราะสับขบวนกันไม่เสร็จ

ในวันหนึ่งๆ มีรถผ่านย่านสถานีหาดใหญ่ ดังนี้

มีรถจากสงขลา มาหาดใหญ่ 7 เที่ยว จากหาดใหญ่ มาสงขลา 7 เที่ยว
มีรถจากปาดังเบซาร์ มาหาดใหญ่ 9 เที่ยว จากหาดใหญ่ ไปปาดังเบซาร์ 9 เที่ยว
มีรถจากสุไหงโกลก มาหาดใหญ่ 4 เที่ยว จากหาดใหญ่ ไปสุไหงโกลก 4 เที่ยว

ตอนนี้ขอเพิ่มรถพิเศษต่อไปนี้

กรุงเทพ - หาดใหญ่ - เกมัส วันละ 2 เที่ยว ( ใช้เวลาเดินทาง 4 วัน )
เกมัส - หาดใหญ่ - กรุงเทพ วันละ 2 เที่ยว ( ใช้เวลาเดินทาง 4 วัน )

สงขลา - หาดใหญ่ - เกมัส วันละ 3 เที่ยว
เกมัส - หาดใหญ่ - สงขลา วันละ 3 เที่ยว

โกตาบารู - หาดใหญ่ - ไปร วันละ 4 เที่ยว
ไปร - หาดใหญ่ - โกตาบารู วันละ 4 เที่ยว

นอกจากนี้ ถ้าจำเป็น ก็ต้องเดินรถจาก เกมัส มาเชียงใหม่ ด้วย Shocked

พอถึงที่ปาดังเบซาร์ ก็พบรถพ่วงไทยตกค้างที่มลายูจำนวนไม่น้อย แถมตอนนี้ รถจักร รถพ่วงมลายูก็ขาดแคลน ถึงขนาดต้องบังคับให้คนรถไฟไทย ขับรถจักรเข้าแดนมลายูไปก็มี
ร้ายกว่านั้น ตอนที่ญี่ปุ่นมาคุมรถจักร ก็ก่อเรื่องดังนี้

1. ที่สงขลาทหารญี่ปุ่น ชอบรื้อเอาฝารถ ขต. ทิ้ง เพื่อเอารถข้างต่ำไปขนอาวุธหนักที่ใหญ่เกินขีด แล้วทิ้งฝาไว้เกลื่อนกลาด ต้องยกรถไปซ่อมที่มักกะสัน

2. คนรถไฟญี่ปุ่นที่มาคุมรถจักรไทยไม่ดูให้ดีว่า น้ำในหม้อน้ำเหลือน้อยเกินขีดปลอดภัย ทำให้ตะกั่วบัดกรีที่เชื่อมเตาไฟหลอมละลาย รถจักรบาติญอลแปซิฟิก 224 ต้องส่งไปซ่อมที่มักกะสัน

3. คนรถไฟญี่ปุ่นชอบปีนระเบียบในการสับขบวนรถ ทำให้การสับขบวนรถ ต้องมาแก้ไขใหม่บ่อยๆ

4. คนรถไฟญี่ปุ่นมีเรื่องชกต่อยทำร้ายร่างกาย เช่น กรณีทำร้ายร่างกายนายสถานีสงขลา ฐานไม่สื่อคำสั่ง และ การลากคนขับรถจักรขบวน สุไหงโกลก - หาดใหญ่ ไปทำร้ายซะปางตาย

5. ทหารญี่ปุ่นต่อขบวนรถไม่ระวัง รถชนหน้าอุดรถจักรดุ้ง

ตอนนี้ต้องแก้ปัญหาโดยเอาล่ามญี่ปุ่นมาประจำที่หาดใหญ่ เพื่อแก้ปัญหาการไม่เข้าใจกัน


Last edited by Wisarut on 06/08/2007 1:26 pm; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 25/06/2007 8:55 pm    Post subject: Reply with quote

1 ตุลาคม 2486 กรมรถไฟเซ็นสัญญากับกรมรถไฟมลายูในบังคับบัญชาทหารญี่ปุ่น ว่าด้วยการเดินรถในเขต 4 รัฐมลายูว่า

1. ให้ย้ายสถานีชายแดนจาก ปาดังเบซาร์ไปที่สุไหงปัตตานี เพื่อหนีไข้ป่าที่กินคนรถไฟญี่ปุ่นไปเมืองผี

2. ให้ รถทหารญี่ปุ่นไปก่อน รถทหารไทยตามมา รถของพลเรือนไทย ตามมาทีหลัง

3. ให้ถอนวงเวียนกลับรถจักรจากสุไหงโกลก มาไว้ที่สุไหงปัตตานี เพราะวงเวียนที่ปาดังเบซาร์โดนกองทัพอังกฤษ ระเบิดทิ้ง

4. ให้ขนถ่ายสินค้า และผู้โดยสารไทยลงที่สุไหงปัตตานีให้หมด ห้ามนำสินค้าพลเรือนไทยหรือคนไทยข้ามแดน โดยไม่ได้รับอนุญาตจากทหารญี่ปุ่น เว้นแต่ถ้าเป็นเจ้าหน้าที่ทางการทูตผู้ได้รับอนุญาตให้ข้ามแดนได้ หรือเจ้าหน้าที่ทหารไทย

5. ถ้ามีรถเปล่าจึงจะให้ทหารไทยได้ใช้ก่อน แล้วพลเรือนไทยจึงจะมีสิทธิ์ใช้

6. การขนสัมภาระในราชการทหารไทย ต้องตีตรา] และ ตรา ในวงกลม มิฉะนั้น ห้ามนำขึ้นขบวนรถข้ามแดนผ่านสถานีสุไหงปัตตานีไปเด็ดขาด ถ้ามาจากใต้สถานีสุไหงปัตตานี้ ถ้าไม่ตราอนุญาต ] และ ตรา ในวงกลม) ให้ขนถ่ายลงที่สถานีสุไหงปัตตานีให้หมด

7. กรมรถไฟ สิทธิ์ได้ค่าโดยสาร และ ค่าระวางบรรทุก ส่วนรายได้อื่นๆ ให้กรมรถไฟมลายูในบังคับญี่ปุ่นได้แทน

8. ในการเดินรถทหารญี่ปุ่น และรถทหารไทยที่ข้ามแดนนั้น กรมรถไฟมลายูในบังคับทหารญี่ปุ่นจะส่งใบเรียกเก็บเงิน มาที่กองบัญชาการทหารสูงสุด ผ่านกรมรถไฟ
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 27/06/2007 12:32 pm    Post subject: Reply with quote

โผบัญชีสถานี ใน 4 รัฐมาลัย (4รัฐมลายู) ที่อยู่ในความดูแลของกรมรถไฟ

สถานี ระยะทาง ระยะระหว่างสถานี
----------------------------------------
1. ช่วงตุมปัต - ปาร์เซอร์มัส - กัวมูสัง
Tumpat            0.0   0.0
Kampong Brangan       4.8   4.8
Palekbang          9.6   4.8 -> ปาเลบัง, จุดที่ใกล้โกตาบารูที่สุดและใกล้ฝั่งทะเลพอให้เอาเรือเทียบได้
Wakaf Bharu         14.4   4.8 วากัฟ บารู จุดลงรถเข้าเมืองโกตาบารู ถ้าไม่ต้องการออกทะเล
Teliar Halt         17.7   3.3
Bunut Susu         19.3   1.6
Kampong Machang Halt  20.9   1.6
Pasir Mas   25.7   4.8 ชุมทางปาเซอร์มัส
Chicha Tinggi Halt     30.5   4.8
To U Ban          33.7   3.2
Sungei Keladi       40.2   6.5
Bukit Panau        41.8   1.6
Jelatak Halt        49.8   8.0
Tanah Merah        51.4   1.6
Sungei Kusial       56.3   4.9
Belukar Panjang Halt    61.1   4.8
Temangan          64.3   3.2
Bukit Besi         67.5   3.2
Sungei Nal         77.2   9.7
Krai            85.2   8.0
Pahi            91.7   6.5
Manek Urai        101.3   9.6
Ulu Temiang Halt     115.8   14.5
Sungei Teku Halt     127.1   11.3
Kuala Gris        131.9   4.8 จุดที่ไกลที่สุดที่รถไฟไทยผ่านไปได้เพราะรางจาก ชุมทางเกมัส ไปกัวลาไกร โดนถอนไปสร้างทางรถไฟสายมรณะ
Kuala Pergau       139.9   8.0
Kemubu          149.6   9.7
Bertam          168.9   19.3
Limau Kesturi Halt    178.6   9.7
Renoh Halt        194.6   16.0
Chegar Bongor Halt    197.9   3.3
Gua Musang        205.9   8.0 สถานีสุดท้ายในรัฐกลันตัน

2. สุไหงโกลก - ปาร์เซอร์มัส
สถานี ระยะทาง ระยะระหว่างสถานี
----------------------------------------
Sungei Golok          0.0  0.0
Rantau Panjang   1.6  1.6 -> ห่างจากเขตแดน 300 เมตร
Gual Sitok Halt        4.8  3.2
Gual Periok          8.0  3.2
Lubok Batil Halt       12.8  4.8
Repek             16.1  3.3
Pasir Mas           20.9  4.8 -

ช่วงนี้รถรวม 79 /80 (หาดใหญ่ - สุไหงโกลก - ตุมปัต) เดินรถ ตั้งแต่ 18 ตุลาคม 2486 ถึง ราวๆ เดือนกุมภาพันธ์ 2489 เพราะ ช่วงมกราคม 2489 อังกฤษยังไม่พร้อมเดินรถ

3. ปาดังเบซาร์ - สุไหงปัตตานี
สถานี ระยะทาง ระยะระหว่างสถานี
----------------------------------------
Padang Besar        0.0   0.0
Titi Tinggi Halt      8.0   8.0
Bukit Ketri        20.9  12.9
Mata Ayer         25.7   4.8
Araw            30.5   4.8
Kodiang          38.6   8.1
Megat Dewa Halt      43.4   4.8
Tunjang          51.5   8.1
Anak Bukit Halt      61.1   9.6
Alor Star         69.2   8.1 ตอนแรกญี่ปุ่นจะให้สถานีอลอร์สตาร์เป็นสถานีชายแดนเพราะ สู้ไข้ป่าที่ปาดังเบซาร์ไม่ไหว
Alor Belat Halt      75.6   6.4
Tokai           78.8   3.2
Kobah           86.9   8.1
Junun           94.9   8.0
Gua Chempadak Halt     99.7   4.8
Gurun           104.6   4.9
Sungei Toh Pawang     112.6   8.0
Bedong          115.9   3.3
Sungei Lalang       120.7   4.8
Sungei Patani       125.5   4.8 พ้นจากสถานีสุไหงปัตตานีให้สินค้าของพลเรือนไทยลงจากรถให้หมด เว้นแต่ของที่จำเป็นต่อราชการทหารญี่ปุ่นและทหารไทย ผู้โดยสารก็ต้องลงมาตรวจหนังสือเดินทางด้วย ถ้าเปนผู้ได้รับอนุญาตจึงวจะผ่านแดนได้

REF: http://www.geocities.co.jp/SilkRoad-Lake/3811/ktm/stn.htm


Last edited by Wisarut on 13/09/2007 1:17 pm; edited 2 times in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 27/06/2007 5:00 pm    Post subject: Reply with quote

เรื่องราว 4 รัฐมาลัยที่ เราสงข้าหลวงทหารไปคุม

http://www.angkor.com/2bangkok/2bangkok/forum/showthread.php?t=922
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 07/07/2007 9:25 pm    Post subject: Reply with quote

จาก บก. สูงสุด 2.4.1.6/6 การจัดรถในราชการไทยไปต่อกับรถของญี่ปุ่น

13 มีนาคม 2485 หลังจากที่พันเอกอิชิดา (ผู้บัญชาการด้านการขนส่งกองทัพญี่ปุ่น นั่งรถไฟพิเศษ 999 ไปตรวจการรถไฟ จากกรุงเทพ ไปพนมเปญ ตั้งแต่เช้าวันที่ 2 มีนาคม 2485 และ นั่งรถพิเศษ 992 จากพนมเปญ กลับกรุงเทพ เมื่อ 9 มีนาคม 2485 ก็ได้มีคำสั่งให้ กรมรถไฟไทย เปิดการเดินรถช่วง พระตะบอง ถึงสวายดอนแก้ว แทนทหารญี่ปุ่น และ ให้กรมรถไฟอินโดจีนเดินรถจากโพธิสัตว์ ไปสวายดอนแก้ว แทนญี่ปุ่น ในวันที่ 20 มีนาคม 2485

ขณะนั้น รถไฟไทยเดินรถโดยสารได้ที่อรัญญประเทศ พ้นจากนี้ แม้จะมีคนของกรมรถไฟไปคุม แต่ให้เฉพาะรถทหารญี่ปุ่นเดินรถ เปิดเฉพาะ

สถานีไทยชนะ (สถานีบ้านกูบ) ที่กม. 276 + 000,
สถานีน้ำใส (สถานีติ๊กทะลา) ที่ กม. 301
สถานีศรีโสภณ ที่ กม. 308
สถานีมงคลบุรี ที่ กม. 315 + 169.53
สถานีบันใดสวา ที่ กม. 347 + 188.89
สถานีพระตะบอง ที่ กม. 372 + 309.73 ...
แต่ดันปิดสถานีเสรีเริงฤทธิ์ ที่ กม. 261 + 360

สะพานตึกทะลา ที่ กม. 302.6 และ สะพานศรีโสภณ ที่ กม. 309.2 เป็นสะพานไม้ เดินรถไฟได้แค่ 5 กม./ชม. อรัญญประเทศ - มงคลบุรี 40 กม/ชม.

งานนี้ ให้รถขบวน 51/52 ช่วง กรุงเทพ - กระบินทร์บุรี เดินเป็นรถเร็ว จาก กระบินทร์บุรี - พระตะบอง ให้เป็นรถรวมจอดทุกสถานี

นอกจากนี้ ให้รถขบวน 53/54 ช่วง กรุงเทพ - กระบินทร์บุรี เดินเป้นรถรวม

อย่างไรก็ตาม กรมรถไฟ ต้องเปิดสถานีเพิ่มเติม ที่ โอชะลอ (คลองลึก - กม. 288 + 304) พนมโตย (เขาน้อย กม. 329 + 599.84) และ โอตะเคีย (คลองตะเคียน กม. 360 + 831.21) เพื่อสะดวกการเดินรถไทย และ ญี่ปุ่น และ เปิดสถานีมุงรุสเซ (อธึกเทวเดช กม. 422 + 254.71) เพื่อเติมน้ำ และฟืนรถทหารญี่ปุ่น

ให้สถานีสวายดอนแก้วฝั่งอินโดจีน เป็นสถานีชายแดนเปลี่ยนรถจักร โดยที่นายสถานีพระตะบอง และ นายสถานีโพธิสัตว์ ต้องส่งข่าวว่า รถใดจะเข้ามาที่สถานีสวายดอนแก้ว

กรมรถไฟไทย และ กรมรถไฟอินโดจีน เห็นด้วยในหลักการ เลยจัดการเดินให้ตามประสงค์

11 เมษายน 2485 จอมพล ป. อนุมัติให้ เดินรถ 51/52 ไปพระตะบอง ได้
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 07/07/2007 9:34 pm    Post subject: Reply with quote

18 ตุลาคม 2486 กรมรถไฟ ได้ส่งคนเข้าทำการเดินรถช่วงสุไหงโกลก - ปาเซมัส - ตุมปัต เพราะญี่ปุ่นเริ่มถอนตัวหลังสัญญาการเดินรถ 1 ตุลาคม 2486 เริ่มมีผลบังคับใช้ โดยให้เป็นการยืดระยะรถรวม 79 / 80 จากหาดใหญ่ ข้ามแม่น้ำโกลก ไป ตุมปัต
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 08/07/2007 10:18 pm    Post subject: Reply with quote

1 กันยายน 2488 รถไฟต้องขนเชลยศึกมาที่กรุงเทพ ดังนี้

2 กันยายน 2488 เช้า นครปฐม 500 คน บ่าย กาญจนบุรี 500 คน
3 กันยายน 2488 เช้า นครปฐม 500 คน บ่าย ท่าม่วง 500 คน
4 กันยายน 2488 บ่าย ท่าม่วง 500 คน
5 กันยายน 2488 บ่าย กาญจนบุรี 500 คน
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 06/08/2007 1:46 pm    Post subject: Reply with quote

แม้พันเอกอิชิดะ จะประกาศให้เดินรถสายพระตะบอง เมื่อ 20 มีนาคม 2485 ก็ตาม แต่กว่าจะเดินรถไฟได้จริง คือ เดินรถขบวน กรุงเทพ - พระตะบอง และ ปรับขบวนรถ กรุงเทพ - กบินทร์บุรี เป็นกรุงเทพ - ปราจีนบุรี ก็ เมื่อ 10 เมษายน 2485 เนื่องจากต้องเสียเวลาในการวางระบบโทรเลข และ อาคารสถานี

(อ้างอิง - หนังสือพิมพ์ประชาชาติ - 8 เมษายน 2485)
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 13/09/2007 12:14 pm    Post subject: Reply with quote

25 ธันวาคม 2486 เปิดเดินรถสายชุมพร - กระบุรี โดยใช้รถจักรถังน้ำของ รฟท. เดินรถ และ ใช้ ตญ. และ ขต. รถมลายูทำขบวน ใช้แรงงานมลายู 70% คนจีน 20% คนไทย 10%

19 มีนาคม 2488 สัมพันธมิตรทิ้งระเบิดถล่มย่านสถานีชุมพรทำให้ต้องรื้อรางจากคลองละอุ่นไป 25 กิโลเมตรเพื่อซ่อมทาง

15 กันยายน 2488 สัมพันธมิตรขึ้นเมืองระนองและให้รื้อรางส่วนที่เหลือ ของสาย ชุมพร - กระบุรี ออกไปให้หมด
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 05/01/2008 11:54 pm    Post subject: Reply with quote

15 กันยายน 2486 กรมรถไฟสั่งงดเดินรถด่วนสายเหนือ เพราะ น้ำมันขาดแคลน และ ฟืนขาดแคลน ให้เดินรถ กรุงเทพ - พิษณุโลก ทุกวัน และ ต่อกะ รถ พิษณุโลก - ลำปาง ซึ่งเดินวันเว้นวัน
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สาระความรู้วิชาการรถไฟและประวัติศาสตร์รถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8, 9  Next
Page 3 of 9

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©