RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311311
ทั่วไป:13280534
ทั้งหมด:13591845
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - รถไฟสายบางบัวทอง
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

รถไฟสายบางบัวทอง
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 15, 16, 17 ... 24, 25, 26  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สาระความรู้วิชาการรถไฟและประวัติศาสตร์รถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44744
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 04/09/2009 11:58 pm    Post subject: Reply with quote

ตั้งแต่บางบัวทองเป็นต้นไป จนถึงวัดบวรมงคล
แนวคันทางส่วนมากเกือบ 100% มีการสร้างถนนทับไปแล้ว
โดยเฉพาะถนนบางกรวย-ไทรน้อย ซึ่งสร้างในราว พ.ศ. 2503
(ช่วงระแหง-บางบัวทองนั้น ในปี พ.ศ. 2516-2518 ส่วนมากยังไม่มีการทำถนนทับ จึงมองเห็นคันทางกลางทุ่งนาได้ชัดเจน หลายส่วนยังมีคันทางเหลืออยู่จนถึงทุกวันนี้ ดังที่เคยเก็บภาพมาให้ชมกันก่อนหน้านี้แล้วครับ)

ดังนั้นสำหรับเส้นทางช่วงบางบัวทองลงไปทางทิศใต้ ภาพถ่ายทางอากาศปี 2516-2518 อาจจะไม่ช่วยในการตามหาแนวคันทางได้มากเท่าไหร่ และอาจเกิดข้อผิดพลาดด้วย

ผมจึงประสานงานกับกรมแผนที่ทหาร จัดซื้อภาพถ่ายทางอากาศที่เก่าที่สุด
เท่าที่หาได้ในปัจจุบัน
นั่นคือภาพถ่ายทางอากาศปี 2495 ในโครงการ World Wide Survey (W.W.S.) ครับ


ขณะนี้ได้ภาพถ่ายมาแล้วจำนวน 5 ภาพ ครอบคลุมตั้งแต่ลาดหลุมแก้วถึงบางยี่ขันครับ Very Happy
จะได้นำเสนอต่อไปครับ
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
headtrack
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 30/05/2009
Posts: 1627
Location: ละแวกภาคกลางตอนบน และภาคเหนือตอนล่าง

PostPosted: 05/09/2009 12:08 am    Post subject: Reply with quote

ว้าว... Shocked

ติดตามชมต่อครับ...
_________________
Click on the image for full size
Find me on Instagram: @632knongtsaikhaow
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44744
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 05/09/2009 12:16 am    Post subject: Reply with quote

ขอบคุณครับ Very Happy

ภาพถ่ายทางอากาศปี 2495 นี้
สหรัฐอเมริกาเป็นผู้ถ่ายให้ครับ โดยมีประวัติความเป็นมาที่น่าสนใจ
เขียนไว้ในสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน เล่มที่ 12 ดังนี้ครับ

Quote:
มีการลงนามในสัญญาลงวันที่ ๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๙๕ มีผลบังคับใช้ตั้งแต่บัดนั้น สาระสำคัญมีว่า ทางสหรัฐอเมริกาจะจัดการถ่ายรูปทางอากาศประเทศไทยทั้งหมดให้ ส่วนงานทางพื้นดินเป็นหน้าที่ของไทย

ทางสหรัฐอเมริกาได้ว่าจ้างบริษัทถ่ายรูปที่มีชื่อเสียงดี เพื่อใช้ทำแผนที่ทางอากาศ ให้เข้ามาทำการนี้ในนามของ บริษัทเวิรลด์ ไวด์ เซอร์เวย์ (World Wide Survey; WWS) ซึ่งเป็นบริษัทที่ตั้งขึ้นโดยร่วมทุนกันระหว่างบริษัทแฟร์ไชลด์ แอเรียล เซอร์เวย์ (Fairchild Aerial Survey) ซึ่งมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ลอสแองเจลีส (Los Angeles) และบริษัทแอโร เซอร์วิซ คอร์ปอเรชัน (Aero ServiceCorporation) สำนักงานใหญ่อยู่ที่ฟิลาเดลเฟีย (Philadelphia)

ใช้เครื่องถ่ายแบบแฟร์ไชลด์ (Fairchild) และเครื่องบินโบอิง ๑๗ (Boeing 17) และ ภายหลังใช้บีชคราฟต์ (Beechcraft) ในการดำเนินงาน ใช้สำนักงานที่ถนนราชดำเนินนอก บริษัทนี้ได้ถ่ายตั้งแต่เหนือลงมาใต้ทั้งหมดถึงละติจูด ๑๑° ๔๕'ในชั่วเวลาไม่นาน

ส่วนบริเวณใต้ละติจูด๑๑° ๔๕'ลงไป สภาพดินฟ้าอากาศไม่อำนวยไม่สามารถถ่ายรูปได้
ต่อมาได้มีข้อตกลงกับทางสหรัฐฯ ที่จะรวบรวมเขียนแผนที่และพิมพ์ขึ้นเป็นแผ่นแผนที่ใช้ระวางขนาด ๑๐'x ๑๕' แทนที่จะเป็น ๑๐' x ๑๐'และให้ใช้อักษรทั้งไทยและอังกฤษ ทางสหรัฐฯ เป็นฝ่ายรวบรวมเขียนรายละเอียดในแผนที่ และจัดพิมพ์ขึ้นก่อน เพราะมีเครื่องมือเครื่องใช้บริบูรณ์ ฝ่ายเราต้องรวบรวมข้อมูลที่ต้องใช้ส่งไปให้

ในการนี้ทางกรมแผนที่ได้ส่งนายทหารไปประจำกับทางฝ่ายสหรัฐฯ เป็นผู้ประสานงานเพื่อความสะดวกและรวดเร็ว โดยไปประจำอยู่คราวละ ๑ ปี แล้วส่งคนใหม่ไปแทนบางทีก็ต้องส่งไป ๒ คน ไปประจำทำหน้าที่ประสานงานที่วอชิงตันด้วยอีกคนหนึ่ง เริ่มส่งไปคนแรก ๑ คน ที่หน่วยบริการแผนที่กองทัพบกสหรัฐฯแห่งตะวันออกไกลเมืองโตเกียว (U.S. Army Map Service, Far East Tokyo) ประเทศญี่ปุ่น ใน พ.ศ. ๒๔๙๘ และเลิกส่งเมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๕

งานบินถ่ายรูปที่เหลือค้างอยู่ในเวลานั้นระหว่างแนวพรมแดนไทย-มาเลเซีย ถึงละติจูด ๑๑° ๔๕'เหนือ ประเทศไทยในฐานะประเทศภาคี ขององค์การสนธิสัญญาร่วมป้องกันแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ส.ป.อ.) ได้ติดต่อขอให้อังกฤษช่วยทำการบินถ่ายรูปให้

โดยกองทัพอากาศอังกฤษ ได้ใช้เครื่องบินแคนเบอร์รา (Canberra) ถ่ายด้วยกล้องที่มีความยาวโฟกัส ขนาด ๖ นิ้ว ๒๐ นิ้ว และ ๓๖ นิ้ว รวม ๗ กล้อง ถ่ายเสร็จ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๒ รูปถ่ายที่ใช้กล้องความยาวโฟกัส ๖ นิ้ว มีมาตราส่วนประมาณ ๑:๖๐,๐๐๐ ซึ่งจะใช้ในการรวบรวมเป็นแผนที่ ยังไม่คมชัดเหมาะสมดีพอสำหรับวิธีโฟโตแกรมเมตรี ทางอังกฤษจึงได้บินถ่ายรูปให้อีกทั่วบริเวณตั้งแต่ละติจูด ๑๑° ๔๕'จนถึงพรมแดนมาเลเซีย

เมื่อเสร็จแล้ว อังกฤษยังได้ขยายความช่วยเหลืองานบินถ่ายรูปให้แก่ประเทศไทยทั่วบริเวณตั้งหมุดอยู่ที่เหนือละติจูด ๑๑° ๔๕ข ขึ้นไปจนเหนือสุด งานนี้ได้แล้วเสร็จใน พ.ศ. ๒๕๐๕ กรมแผนที่ได้ใช้รูปถ่ายเหล่านี้เป็นข้อมูลแก้ไขในรายละเอียดแผนที่ซึ่งได้จากการบินถ่าย พ.ศ. ๒๔๙๕ ทำให้แผนที่มีรายละเอียดถูกต้องมากขึ้น

ในการทำแผนที่มาตรฐาน ๑:๕๐,๐๐๐ ใต้ละติจูด ๗° ยังไม่ได้รูปถ่ายทางอากาศที่ดีพอจึงได้มีการหารือร่วมกันระหว่างเจ้าหน้าที่กรมแผนที่กับเจ้าหน้าที่ฝ่ายสหรัฐอเมริกาเมื่อวันที่ ๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๐๙ เจ้าหน้าที่ฝ่ายไทยได้ เสนอให้มีการจัดทำสิ่งที่ใช้แทนแผนที่ของบริเวณใต้ละติจูด ๗° ได้ตกลงกันว่า จะต้องมีการบินถ่ายรูปหรือสำรวจทางอากาศ ทั่วบริเวณระหว่างละติจูด ๗° ลงไปจนถึงพรมแดนไทย-มาเลเซียขึ้นใหม่และผลิตแผนที่พิกโต การบินถ่ายรูปนี้ ได้เริ่มขึ้นเมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. ๒๕๐๙ ทางสหรัฐฯ ได้ส่งหน่วยบินแวฟ ๖๑ (VAP-61 หรือHeavy Photographic Squadron) เข้ามาทำการบินถ่ายรูปบริเวณดังกล่าว กล้องถ่ายรูปที่ใช้มี ๒ แบบ คือ แบบซีเอ-๑๔ (CA-14) ความยาวโฟกัส ๖ นิ้ว และแบบเคเอ-๔๗เอ (KA-47a) ความยาวโฟกัส ๑๒ นิ้ว ใช้ทำแผนที่รูปถ่ายมาตราส่วน ๑:๕๐,๐๐๐

ขณะที่สหรัฐฯ ทำการบินถ่ายรูปเมื่อเดือน กันยายน พ.ศ. ๒๕๐๙ กรมแผนที่กำลังดำเนิน การแก้ไขแผนที่ ๑:๕๐,๐๐๐ ขนาด ๑๐' x ๑๕' ที่ปกคลุมเหนือพื้นที่ละติจูด ๗° เพื่อให้โครงการแก้ไขแผนที่ ๑:๕๐,๐๐๐ เสร็จในเวลาอันสั้นทางฝ่ายสหรัฐฯ ได้ตกลงบินถ่ายรูปบริเวณที่เหลือของประเทศทั้งหมด รูปถ่ายทางอากาศชุดนี้จึงเป็นข้อมูลที่ทันสมัย

ใน พ.ศ. ๒๕๑๒ ได้มีการพิจารณาเปลี่ยนขนาดระวางแผนที่จากขนาดเดิม ๑๐' x ๑๕' เป็นขนาด ๑๕' x ๑๕' และชื่อชุดระวางจึงเปลี่ยน จากแอล ๗๐๘ (L 708) เป็น แอล ๗๐๑๗ (L 7017) จำนวนระวางแผนที่เดิม ๑,๒๑๖ ระวาง จึงได้ ลดลงเหลือ ๗๗๒ ระวาง

การดำเนินงานเปลี่ยนขนาดระวางแผนที่นี้ได้ดำเนินการจนเสร็จตามภารกิจของกรมแผนที่ เมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. ๒๕๑๖ รวม ๕๐๐ ระวาง ส่วนที่เหลือนั้นดีเอ็มเอ (Defense Mapping Agency; DMA) สหรัฐฯ เป็น ผู้ดำเนินการ ต่อมาเมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๒ ได้มีการโอนแผนที่ชุดแอล ๗๐๑๕ แอล ๗๐๑๖ (L 7015, L 7016) ซึ่งเป็นแผนที่เขตแดน ไทย-ลาว และไทย-กัมพูชาอีก ๕๘ ระวางเข้าในชุดแอล ๗๐๑๗ ดังนั้นแผนที่ครอบคลุมประเทศไทยทั้งสิ้นจึงเป็น ๘๓๐ ระวาง
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44744
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 05/09/2009 12:25 am    Post subject: Reply with quote

ภาพถ่ายทางอากาศปี 2495 นี้ มีความละเอียดไม่มาก คือ 1:50,000
คงเป็นเพราะต้องทำงานแข่งกับเวลา ถ่ายให้ครอบคลุมทั้งประเทศ
(สุดท้ายก็ไม่สำเร็จ ขาดภาคใต้ที่อากาศแปรปรวนครับ)

ส่วนภาพถ่ายปี 2516-2518 มีความละเอียด 1:15,000
เป็นงานที่กรมที่ดิน ลงทุนจัดซื้อเครื่องบินให้กรมแผนที่ถ่ายทั่วประเทศครับ
กว่าจะเสร็จใช้เวลาหลายปี

สามารถเห็นความแตกต่างได้อย่างชัดเจน จะเปรียบเทียบให้ชมครับ

ภาพถ่ายปี 2495 บริเวณปลายรางรถไฟสายบางบัวทอง ที่ระแหง อ.ลาดหลุมแก้ว จ.ปทุมธานี

Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44744
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 05/09/2009 12:33 am    Post subject: Reply with quote

^ ^ ^

Click on the image for full size

ปี 2495 นั้น ทางรถไฟสายบางบัวทองยกเลิกไปแล้วถึง 9 ปีครับ (เลิกกิจการปี 2486)
บริเวณที่โล่งๆ รีๆ มีเงาของต้นไม้ใหญ่ ล้อมรอบนั้น
คงเป็นที่ตั้งของ"ย่านสถานีระแหง" ครับ

ขวาบนของภาพ มองเห็นชุมชนริมคลองระแหง ซึ่งเป็นชุมชนเก่าแก่
เห็นหลังคาบ้านสีขาวๆ

มองเห็นถนนสายเล็กๆ ที่น่าจะมุ่งไปปทุมธานี

สำหรับถนนสายลาดหลุมแก้ว-บางเลนนั้น ในภาพยังไม่ได้สร้างครับ มีแต่ทุ่งนา
(ทางหลวงหมายเลข 346 บางเลน-ลาดหลุมแก้ว สร้างราว พ.ศ. 2515-16)

เปรียบเทียบกับภาพอีก 21 ปีต่อมาครับ (พ.ศ.2516)

http://i284.photobucket.com/albums/ll8/Mongwin/bangbuathong/scan0010.jpg

และภาพถ่ายดาวเทียม อีก 31 ปีต่อมาครับ (พ.ศ.2547)

http://i284.photobucket.com/albums/ll8/Mongwin/bangbuathong/scan0010ge.jpg
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44744
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 05/09/2009 11:06 am    Post subject: Reply with quote

ที่นี้มาดูสถานีสำคัญอีกแห่ง คือสถานีรถไฟบางบัวทองครับ

จากแผนที่ปี 2474
http://www.2bangkok.com/2bangkok/MassTransit/map/BangBuathongRailway.jpg

Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44744
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 05/09/2009 11:09 am    Post subject: Reply with quote

มาถึงแผนที่ปี 2478

http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2480/A/1859.PDF

Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44744
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 05/09/2009 11:14 am    Post subject: Reply with quote

ภาพถ่ายทางอากาศปี 2495 ของกรมแผนที่ทหาร
โครงการ WWS ม้วน M7 AMS 28 รหัสภาพ 819
ถ่ายเมื่อ 28 Dec 1952

Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44744
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 05/09/2009 11:30 am    Post subject: Reply with quote

จากภาพถ่ายทางอากาศปี 2495 เปรียบเทียบกับแผนที่ปี 2478
ทำให้ทราบว่า ถนนบางกรวย-ไทรน้อย ยังไม่ได้สร้าง
มองเห็นคันทางรถไฟอย่างชัดเจน
นอกจากนี้ บริเวณตลาดสด ซึ่งอยู่ตรงข้ามกับอาคารสถานีบางบัวทอง
ยังไม่มีการสร้างอาคารพาณิชย์

ภาพขยายครับ
ลูกศรชี้แสดงตำแหน่งที่ตั้งของอาคารสถานีรถไฟบางบัวทอง
(ถ่ายหลังจากเลิกกิจการแล้ว 9 ปี)
แต่ตัวอาคารยังอยู่

Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44744
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 05/09/2009 11:40 am    Post subject: Reply with quote

ภาพถ่ายทางอากาศ กรมแผนที่ทหาร
โครงการ น.ส.3 รหัสภาพ E25-216
ถ่ายเมื่อ 18 Dec 1975
(32 ปี หลังเลิกกิจการรถไฟสายบางบัวทอง)
พื้นที่ตลาดสด กลายเป็นอาคารพาณิชย์ไปแล้ว
และมีการสร้างถนนบางกรวย-ไทรน้อย ทับแนวคันทาง
ด้านบนของภาพ ถนนเส้นนี้เลี้ยงซ้ายไป อ.ไทรน้อย
ส่วนแนวคันทางเดิมที่มุ่งไประแหง มีการปรับปรุงเป็นถนนลูกรัง

Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สาระความรู้วิชาการรถไฟและประวัติศาสตร์รถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 15, 16, 17 ... 24, 25, 26  Next
Page 16 of 26

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©