Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311296
ทั่วไป:13274999
ทั้งหมด:13586295
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวและภาพรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวและภาพรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 137, 138, 139 ... 228, 229, 230  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> รถไฟฟ้า (BTS) และรถไฟฟ้าใต้ดิน (MRT)
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 10/09/2015 10:20 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
สมคิดเร่งคมนาคมเดินหน้ารถไฟฟ้าสีน้ำเงิน
INN News ข่าวเศรษฐกิจ วันพุธที่ 9 กันยายน พ.ศ.2558 20:08 น.


“สมคิด”เร่งคมนาคมลงทุนPPP ลดภาระรัฐ จี้สรุปเดินรถสีน้ำเงินและแอร์พอร์ตลิงก์ต่อขยาย


โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
9 กันยายน 2558 16:35 น. (แก้ไขล่าสุด 9 กันยายน 2558 17:07 น.)



“สมคิด”กำชับคมนาคมจัดลำดับการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมขนส่ง ตั้งกรอบความยั่งยืนทางการคลังใน 5 ปี ภาระหนี้ต้องไม่เกิน 50% ของจีดีพี เน้นร่วมทุนเอกชน (PPP) เพื่อลดภาระลงทุนของรัฐ สั่งวางโครงข่ายคมนาคมหนุนไทยเป็นศูนย์กลาง AEC เชื่อมแนวตะวันออก-ตะวันตก และยกระดับนิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบังเป็นซุปเปอร์อีสเทิร์นซีบอร์ด ดึงนักลงทุนเข้ามาเพิ่ม พร้อมเร่งสรุปการเดินรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยายและแอร์พอร์ลิงก์พญาไท-ดอนเมือง ส่วนรถไฟไทย-จีนเดินหน้าตามข้อตกลงเดิม





นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจ เปิดเผยภายหลังตรวจเยี่ยมและมอบนโยบายกระทรวงคมนาคม วันนี้ (9 ก.ย.) ว่า ตามแผนโครงการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานของกระทรวงคมนาคมซึ่งมีมูลค่าสูงและหากรวมกับโครงการลงทุนของกระทรวงอื่นๆ จะยิ่งมีมูลค่ามหาศาล หลายล้านล้านบาท ซึ่งได้มอบหมายให้กระทรวงคมนาคมจัดลำดับการลงทุนโครงการก่อนหลัง ให้เหมาะสมและเพื่อสร้างความมั่นใจ ซึ่งต่อจากนี้จะเป็นเรื่องการขับเคลื่อนเชิงปฏิรูป โดยเป็นการลงทุนด้านคมนาคมโครงสร้างพื้นฐานโดยใน 5 ปีข้างหน้า จะต้องวางกรอบความยั่งยืนทางการคลัง จากงบประมาณที่ลงทุนนั้น โดยภาระหนี้ต่อจีดีพีต้องไม่เกิน 50% แม้ว่ามาตรฐานทั่วโลกจะอยู่ที่ 60% แต่ไทยจะต้องพยายามควบคุมให้ได้ในกรอบดังกล่าวเพื่อไม่ให้การลงทุนโครงการจำนวนมากแล้วทำให้การเงินอ่อนแอ

ทั้งนี้ในกรอบความความยั่งยืนหากเดินหน้าเฉพาะโครงการคมนาคมคงไม่มีปัญหา เพราะมูลค่าลงทุน 2 ล้านล้านบาท จีดีพีไม่เกิน 50% อยู่แล้ว แต่ประเทศไทยยังมีโครงการลงทุนในส่วนของกระทรวงอื่น ดังนั้นต้องจัดระเบียบการลงทุน และต้องมีการเปิดให้เอกชนเข้ามาร่วมลงทุนในรูปแบบรัฐและเอกชนลงทุนร่วมกัน (Public private Partnership : PPP)เพื่อลดภาระของรัฐบาลและเป็นแนวทางที่สามารถลงทุนได้รวดเร็ว ซึ่ง PPP นั้นไม่ได้หมายถึงรัฐบาลลงทุนส่วนใหญ่แล้วเหลืองานส่วนน้อยให้เอกชนลงทุน แต่ควรเป็นการร่วมทุนในPPP รูปแบบอื่นๆ ที่มีเงื่อนไขจูงใจเอกชนเข้ามาลงทุน โดยรัฐได้ประโยชน์สูงสุด การประมูลเป็นไปอย่างโปร่งใส

ส่วนการร่วมทุนกับประเทศจีน ญี่ปุ่น หรืออเมริกานั้น นายสมคิดกล่าวว่า ต้องอยู่บนเงื่อนไขที่ไทยได้ประโยชน์ เช่น ได้รับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่ต่ำ หากการกู้เงินจากต่างประเทศมีดอกเบี้ยสูงกว่าในประเทศ จะต้องปรับมาใช้เงินกูในประเทศในสัดส่วนที่เหมาะสม ซึ่งนอกจากไม่เพิ่มหนี้ต่างประเทศแล้วยังช่วยเรตติ้งประเทศสูงขึ้นด้วย หรือบางโครงการมีศักยภาพสามารถจัดตั้งกองทุนโครงสร้างพื้นฐาน ขึ้นมาดำเนินการได้ต้องทำ โดยมอบหมายให้นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คมนาคมหารือกับกระทรวงการคลังเพื่อหาแนวทางหรือเงื่อนไขที่จูงใจประชาชนให้เข้ามาซื้อกองทุนโครงสร้างพื้นฐาน เพราะที่ผ่านมาได้รับความสนใจน้อยเพราะการตอบแทนผลประโยชน์ใช้เวลานาน

“โครงการความร่วมมือรถไฟไทย-จีนนั้น ขณะนี้ยังคงเดินหน้าไปตามมติครม. ส่วนที่มีคนไม่เห็นด้วยกับโครงการนั้น ทางคมนาคมต้องรับฟังและปรับปรุงให้ถูกต้องเหมาะสม ตอนนี้ คือ จีนทำเส้นทางไหน ญี่ปุ่นทำเส้นทางไหน ก็เดินไปตามนั้น นอกจากนี้ได้เร่งรัดการจัดหาผู้เดินรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย (หัวลำโพง-บางแค และบางซื่อ-ท่าพระ) และ แอร์พอร์ตลิงก์ส่วนต่อขยาย (พญาไท-ดอนเมือง) ด้วย”นายสมคิดกล่าว

นอกจากนี้ได้ฝากให้กระทรวงคมนาคมพิจารณาโครงการที่เป็นส่วนสนับสนุนการเชื่อมต่อภายในประเทศเพื่อรองรับและทำให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลาง AEC เพื่อเกิดประโยชน์กับประเทศสูงสุด รวมถึงการวางโครงข่ายคมนาคมเพื่อสนับสนุนคลัสเตอร์ในอุตสาหกรรมกลุ่มต่างๆ เช่น คลัสเตอร์นิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบังหรืออีสเทิร์นซีบอร์ด ที่มีการลงทุนเป็นแสนล้านบาท และในอนาคตจะมีการแข่งขันสูงทั้งจากเวียดนาม อินโดนีเซีย ดังนั้นจะต้องปรับอีสเทิร์นซีบอร์ด ให้เป็นซุปเปอร์คลัสเตอร์ ที่มีโครงสร้างพื้นฐานที่ทันสมัย มีสิ่งจูงใจให้นักลงทุนเดิมอยู่ต่อและดึงดูดนักลงทุนใหม่เพิ่มขึ้น ดังนั้นต้องมีการพัฒนาถนน สนามบิน ท่าเรือ คลังสินค้า ระบบโลจิสติกส์ เป็นต้น

ด้านนายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คมนาคมกล่าวว่า กระทรวงคมนาคมจะต้องจัดลำดับการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานเพื่อให้เป็นไปตามนโยบายหลักมี 3 เรื่องหลักคือ 1. ขับเคลื่อนโครงการสำคัญเพื่อเสริมสร้างศักยภาพประเทศด้วยความรอบคอบและคุ้มค่าการลงทุน 2. เพิ่มคุณภาพชีวิตประชาชนในเมืองและในชนบท 3. การส่งเสริมการท่องเที่ยวด้วยการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมขนส่ง ในขณะเดียวกันจะต้องบริหารจัดการแหล่งเงินทุนให้เหมาะสม ซึ่งนโยบายต้องการลดภาระการลงทุนภาครัฐ โดยเปิดให้เอกชนเข้ามาร่วมลงทุนมากขึ้น ซึ่งจะมีการพิจารณาว่ามีโครงการใดที่สามารถร่วมทุนกับเอกชนPPPได้ โดยจะมีการปรับรูปแบบ PPP จากเดิมที่รัฐลงทุนโครงสร้างพื้นฐานและให้เอกชนมาร่วมในการบริหารจัดการ เป็นการให้เอกชนเข้ามาร่วมตั้งแต่เริ่มต้นโครงการ หรือลงทุน 100%

ทั้งนี้โครงการรถไฟฟ้าเป็นการลงทุนแบบ PPP แล้ว โดยรัฐลงทุนโครงสร้างพื้นฐานงานโยธา และเอกชนเข้ามาลงทุนด้านการเดินรถ โดยมีรถไฟฟ้าสายสีชมพูและสีเหลืองที่จะให้เอกชนเข้ามาร่วมลงทุนทั้ง งานโยธาและเดินรถแบ PPP เต็มโครงการ 100% นอกจากนี้ยังมีโครงการรถไฟความเร็วสูง เส้นทางกรุงเทพ-ระยองและกรุงเทพ-หัวหิน ที่จะเป็น PPP เต็มโครงการ 100% สำหรับ 17โครงการเร่งด่วนในปี 2558-2559 ของกระทรวงคมนาคมที่เหลืออื่นๆ นั้น จะมีการพิจารณาความเหมาะสมอีกครั้ง ซึ่งภายในปีนี้จะเสนอครม.เพื่อขออนุมัติโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม (ศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี) สายสีม่วงใต้ (เตาปูน-ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก) และเปิดประมูลก่อสร้างในปี 59

ส่วนการจัดตั้งกองทุนโครงสร้างพื้นฐานนั้น เดิมจะใช้ในโครงการมอเตอร์เวย์ เพราะมีความเป็นไปได้ แต่มีประเด็นพิจารณาเรื่องระดมทุนนั้นรัฐต้องการันตีผลตอบแทนตั้งแต่เริ่มต้น ซึ่งเป็นจุดอ่อนสำหรับโครงการคมนาคมที่มีมูลค่าสูงผลตอบแทนทางการเงินต่ำ ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจและสังคมสูง รัฐจึงต้องรับภาระลงทุน ทำให้มอเตอร์เวย์ต้องปรับไปใช้เงินกู้เพื่อให้สามารถเริ่มต้นโครงการได้ก่อน เพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นใจการลงทุนและกับประชาชน แต่อย่างไรก็ตามในอนาคตเมื่อรัฐลงทุนไปได้ระยะหนึ่งสามารถที่จะปรับมาตั้งกองทุนโครงสร้างพื้นฐานและถ่ายโอนจากรูปแบบเดิมไปได้

“ขณะนี้ได้มอบหมายให้หน่วยงานไปจัดทำกรอบตารางการทำงานแต่ละโครงการให้ชัดเจน ซึ่งเป็นการปรับ Action Plan เดิมให้กระชับมากขึ้น ว่า จะเสนอครม.เมื่อใด ประกาศทีโออาร์เมื่อใด ประมูลเมือใด อีก 1 อาทิตย์จากนี้จะชัดเจน”

ส่วนการสนับสนุนคลัสเตอร์อุตสาหกรรมโดยเฉพาะการยกระดับอีสเทิร์นซีบอร์ด เป็นซุปเปอร์อีสเทิรน์ซีบอร์ดนั้น พื้นที่เดิม จ.ชลบุรีและระยอง เต็มแล้วจะมีการขยายพื้นที่ออกไป จ. ฉะเชิงเทรา,ปราจีนบุรี,นครนายก,สระแก้ว โดยจะต้องวางแผรงานโครงข่ายคมนาคมขนส่งเพื่อสนับสนุนการเป็นศูนย์กลางดังกล่าว

//------------------

“สมคิด”เร่งสรุปเดินรถสีน้ำเงินชี้ต้องประมูลตามความเห็นสศช.


โดย ASTVผู้จัดการรายวัน
10 กันยายน 2558 00:06 น.

ASTVผู้จัดการรายวัน-“สมคิด”จี้”คมนาคมเร่งสรุปเดินรถไฟฟ้าสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย และก่อสร้างแอร์พอร์ตลิงค์ช่วงพญาไท-ดอนเมือง ด้าน”อาคม”ยันเดินหน้าตามมติสศช.เปิดประมูล และใช้ PPP -Gross Costตามมติครม.เดิม ส่วนกรณีรฟม.เสนอขอปรับเป็น PPP-Net Costและเจรจาขอพิจารณารายละเอียดก่อนชี้เป็นสาระสำคัญ เผยมัวเปลี่ยนไปเปลี่ยนมาเลยทำโครงการล่าช้ามาได้ประมูลซะที

นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจ เปิดเผยว่า ได้เร่งรัดให้กระทรวงคมนาคมสรุปการจัดหาผู้เดินรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย (หัวลำโพง-บางแค และบางซื่อ-ท่าพระ) เนื่องจากขณะนี้การก่อสร้างงานโยธามีความก้าวหน้าแล้ว 60% โดยคำนึงประโยชน์ประชาชนและรัฐ และเร่งรัด โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์ส่วนต่อขยาย (พญาไท-ดอนเมือง) ด้วย เพื่อให้โครงข่ายครบเชื่อมระหว่างสนามบินดอนเมืองและสนามบินสุวรรณภูมิ โดยหากพร้อมให้เสนอเพื่อพิจารณาตามขั้นตอนและดำเนินการด้วยความโปร่งใส

ด้านนายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมกล่าวถึงความคืบหน้าการคัดเลือกผู้เดินรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย ช่วงหัวลำโพง-บางแค และบางซื่อ-ท่าพระ ระยะทาง 27 กม. ว่า จากที่คณะกรรมการตามมาตรา 13 แห่งพ.ร.บ.ว่าด้วยเอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535 (พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ 35) ได้สอบถามไปยังกระทรวงการคลังและสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ซึ่งไม่เห็นด้วยกับวิธีการเจรจาตรง ดังนั้นจะต้องเดินหน้าตามเดิมคือการประกวดราคา ซึ่งเป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรี (ครม.)

ทั้งนี้ กรณีที่ทางการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) จะขอเปลี่ยนแปลงรูปแบบการลงทุนจาก PPP -Gross Cost (รัฐเป็นผู้รับความเสี่ยงค่าโดยสารและจ้างเอกชนเป็นผู้เดินรถและซ่อมบำรุง โดยรัฐจ่ายค่าจ้างเดินรถ) เปลี่ยนเป็นรูปแบบ PPP-Net Cost (สัมปทาน โดยเอกชนเป็นผู้เดินรถและซ่อมบำรุง พร้อมทั้งรับความเสี่ยงค่าโดยสารและจ่ายผลตอบแทนให้รัฐ) เพื่อให้การเดินรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินต่อเนื่องตลอดสาย (Through Operation) ซึ่งจะนำไปสู่การเจรจาตรงกับบริษัท รถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BMCL ได้นั้น ถือเป็นสาระสำคัญ จะต้องนำเสนอครม. เพื่อทบทวนมติเดิม

นายอาคมกล่าวว่า เนื่องจากเริ่มเดิมนั้น ครม.มีมติเห็นชอบให้ใช้ รูปแบบ PPP -Gross Cost และเปิดประมูลแต่ต่อมากระทรวงคมนาคมขอปรับรูปแบบ เป็น PPP-Net Cost และไม่ขอเปิดประมูล และครม.เคยพิจารณาแล้ว โดยให้สอบถามกระทรวงการคลังและสภาพัฒน์ฯ และเมื่อคลังและสภาพัฒน์ฯตัดสินชัดเจนแล้ว ก็ต้องเดินหน้าประมูลต่อไป แต่หากทางรฟม.ยังคิดว่าอยากจะเจรจาและเปลี่ยนรูปแบบก็ต้องเสนอครม.ใหม่ ซึ่งขณะนี้ได้ส่งเรื่องมาที่กระทรวงคมนาคมแล้ว ปลัดคมนาคมเพิ่งได้รับเรื่องจาก รฟม.ที่ขอปรับเปลี่ยนรูปแบบการร่วมทุน ซึ่งกระทรวงคมนาคมต้องพิจารณารายละเอียดก่อนว่าจะเห็นด้วยหรือไม่ หากไม่เห็นด้วยก็ต้องเดินไปตามรูปแบบเดิม

“ขั้นตอนก่อนหน้านี้ ครม.ให้สอบถามความเห็นของกระทรวงคลังและสภาพัฒน์ฯ ซึ่งตอบอย่างไร กระทรวงคมนาคมต้องปฏิบัติตาม ยกเว้นหากกระทรวงคมนาคมเห็นว่าควรเปลี่ยนแปลงวิธีการจะต้องเสนอครม.ส่วนตัวผมอยากให้เดินไปตามแนวทางที่สภาพัฒน์ฯให้ความเห็นคือเปิดประมูล เพราะจะไม่ทำให้เสียเวลาอีกโดยคณะกรรมการมาตรา 13 แห่งพ.ร.บ.ร่วมทุนฯ35 ทำหน้าที่ต่อไปให้จบ คือถ้าไม่ไปมัวเสียเวลาจาก PPP -Gross Cost เป็น PPP-Net Cost และเปลี่ยนจากประมูลเป็นเจรจา วันนี้ทางคณะกรรมการมาตรา 13 คงเปิดประมูลคัดเลือกไปแล้วงานจะมีความคืบหน้าไปมากกว่านี้แล้ว”นายอาคมกล่าว

เตรียมแบ่งแอร์พอร์ตลิงก์ประมูลสร้างช่วงพญาไท-บางซื่อก่อน

ด้านนางสร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์ ปลัดกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า รมว.คมนาคมเห็นด้วยกับแนวทางการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์ส่วนต่อขยาย ช่วงพญาไท-บางซื่อ-ดอนเมือง ในช่วง พญาไท-บางซื่อก่อนเพื่อเร่งรัดงาน เนื่องจากเป็นส่วนที่ใช้แนวเดียวกับ รถไฟฟ้าสายสีแดง ช่วงหัวลำโพง-บางซื่อ และรถไฟดีเซล หรือ Missing Link ซึ่งจะต้องก่อสร้างไปตามแนวเส้นทางอุโมงค์และทางระดับดินในช่วงผ่านพื้นที่ด้านหน้าพระราชวังสวนจิตรลดา จึงจำเป็นต้องเสนอครม.และประมูลไปพร้อมกัน โดยขณะนี้ได้เร่งรัดให้นายวุฒิชาติ กัลยาณมิตร ผู้ว่าฯร.ฟ.ท.ให้สรุปทั้ง 3 โครงการเสนอกระทรวงคมนาคมเร็วที่สุด
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44656
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 15/09/2015 8:30 am    Post subject: Reply with quote

งานเข้า! ระวัง"ค่าโง่"สร้างรถไฟฟ้าสีน้ำเงิน ช่องโหว่ส่งมอบช้า ผู้รับเหมาขอชดเชย2พันล.
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ 14 ก.ย. 2558 เวลา 21:00:34 น.

จับตาค่าโง่โผล่รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ผู้รับเหมา 5 สัญญาแห่ขอขยายเวลา 2-3 ปี แถมเรียกค่าชดเชยอีก 2 พันล้าน หลัง รฟม.ส่งมอบพื้นที่ล่าช้า

ประธานบอร์ดยอมรับต้องจ่าย รอที่ปรึกษาตรวจสอบวงเงิน เตรียมชงบอร์ด-คมนาคม-ครม.พิจารณา ขอขยายกรอบวงเงินเพิ่ม "สมคิด" จี้สางปมสัญญาเดินรถ 2 หมื่นล้านจบโดยเร็ว "อาคม" รับลูกสั่ง รฟม.เปิดประมูล ปิดทางเจรจาตรงรายเดิม หลังดีเลย์มานาน "บีเอ็มซีแอล" เผยเลือกรายเดิม ประชาชนได้ใช้บริการปลายปี′60

Click on the image for full size

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ขณะนี้โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย (บางซื่อ-ท่าพระและหัวลำโพง-บางแค) 27 กม. ใช้เม็ดเงินลงทุนกว่า 8.2 หมื่นล้านบาท กำลังประสบปัญหาทั้งการก่อสร้างและหาเอกชนมาเดินรถ จนกระทบต่อแผนเปิดใช้บริการขยับจากเดิมอย่างน้อย 1 ปี จากปี 2560 เป็นปี 2561-2562 ล่าสุดกำลังมีปัญหาผู้รับเหมาก่อสร้างขอค่าชดเชยจากการส่งมอบพื้นที่ล่าช้า

รับเหมาเรียกค่าชดเชย 2 พันล้าน

แหล่งข่าวจากการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ขณะนี้ผู้รับเหมาทั้ง 5 สัญญาทำหนังสือขอขยายเวลาก่อสร้างออกไปอีกประมาณ 2-3 ปี พร้อมกับขอค่าชดเชย เพราะ รฟม.ไม่สามารถส่งมอบพื้นที่ให้ได้ทันตามกำหนด คิดเป็นเงินรวมกว่า 2,300 ล้านบาท ประกอบด้วย 1.สัญญางานอุโมงค์ใต้ดิน (หัวลำโพง-สนามชัย) ของ บมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ ขอขยายเวลาออกไป 9 เดือน จากเดิมจะสิ้นสุดวันที่ 5 มิ.ย. 2559 เป็นวันที่ 2 มี.ค. 2560 ขอค่าชดเชย 300 ล้านบาท

2.สัญญางานอุโมงค์ใต้ดิน (สนามชัย-ท่าพระ) ของ บมจ.ช.การช่าง ขอขยายเวลา 3 เดือน เดิมสิ้นสุดวันที่ 5 มิ.ย. 2559 เป็นวันที่ 3 ก.ย. 2559 แต่ไม่ขอค่าชดเชย

3.สัญญาทางวิ่งยกระดับ (เตาปูน-ท่าพระ) ของกลุ่ม บมจ.ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น ขอขยายเวลา 3 ปี จากเดิมสิ้นสุดวันที่ 29 ก.ย. 2558 เป็นวันที่ 11 ก.ย. 2562 ขอค่าชดเชย 1,000 ล้านบาท

4.สัญญาทางวิ่งยกระดับ (ท่าพระ-หลักสอง) ของบ มจ.ซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์คอนสตรัคชั่น ขอขยายเวลา 2 ปี จากเดิมสิ้นสุดวันที่ 29 ก.ย. 2558 เป็นวันที่ 18 ก.ย. 2560 ขอค่าชดเชย 500 ล้านบาท

และ 5.สัญญางานวางรางทั้งโครงการ ของ บมจ.ช.การช่างขอขยายเวลาไป 3 ปีจากเดิมสิ้นสุดวันที่ 5 มิ.ย. 2559 เป็นวันที่ 31 ธ.ค. 2561 ขอค่าชดเชย 500 ล้านบาท เพราะต้องรอการก่อสร้างทั้ง 4 สัญญาเสร็จถึงจะเริ่มวางราง

"ทั้งเส้นทางมีพื้นที่บางจุดที่ส่งมอบช้า นับจากผู้รับเหมาเริ่มสร้างปี′54 จากนั้นก็สะสมมาเรื่อยๆ หนักสุดสัญญาที่ 3 และ 4 ของยูนิคและซิโน-ไทยฯบริเวณแยกท่าพระและแยกไฟฉาย ที่ทับซ้อนกับงานก่อสร้างของกรุงเทพมหานคร"แหล่งข่าวกล่าวและว่า

รฟม.ชงบอร์ด-ครม.ไฟเขียว

ปัจจุบัน รฟม.กำลังจะเสนอให้คณะกรรมการ (บอร์ด) รฟม.พิจารณาวงเงินที่จะชดเชยให้กับผู้รับเหมา จากนั้นจะเสนอให้นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมพิจารณาก่อนเสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติ เนื่องจากเป็นการขอขยายเวลาและมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเกินจากกรอบวงเงินลงทุนเดิม และไม่ได้มีมติ ครม.มารองรับเหมือนกับกรณีอื่น ๆ เช่น โครงการอยู่ในพื้นที่อุทกภัย

พล.อ.ยอดยุทธ บุญญาธิการ ประธานบอร์ด รฟม. กล่าวว่า ได้รับรายงานจาก รฟม.แล้วว่าต้องขอขยายเวลาก่อสร้างให้กับผู้รับเหมาทั้ง 5 สัญญา เนื่องจากส่งมอบพื้นที่ให้ล่าช้าหลายจุด เช่น แยกไฟฉาย แยกบรมราชชนนี แยกท่าพระ อีกทั้งผู้รับเหมาจะขอค่าชดเชยด้วย จะให้บริษัทที่ปรึกษาประเมินวงเงินที่ผู้รับเหมาเสนอมาก่อน ที่จะเข้าสู่ที่ประชุมบอร์ดอนุมัติและเสนอ ครม.อนุมัติกรอบวงเงินที่เกินจากเดิมต่อไป

Click on the image for full size

อาคมสั่งเปิดประมูลเดินรถใหม่

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี ได้เร่งรัดกระทรวงคมนาคมจัดหาผู้เดินรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยายโดยเร็ว หลังล่าช้ามานาน ขณะที่ปัจจุบันงานก่อสร้างคืบหน้าไปกว่า 60% โดยให้คำนึงถึงความโปร่งใส ถูกต้อง บนพื้นฐานเป็นประโยชน์ต่อรัฐและประชาชน

"จริงๆ ควรจะเดินหน้าไปนานแล้ว เพราะ ครม.อนุมัติไปแล้วให้ใช้รูปแบบ PPP Gross Cost คือ จ้างเอกชนจัดหารถ เดินรถและซ่อมบำรุง และใช้วิธีเปิดประมูล ที่ผ่านมาไปเสียเวลาขอเปลี่ยนรูปแบบเป็น PPP Net Cost ให้เอกชนรับสัมปทาน และขอเจรจาตรงกับรายเดิม ตามที่ รฟม.เสนอมาล่าสุด แต่ตอนนี้นโยบายคงต้องเปลี่ยนให้กลับไปยึดมติ ครม.ตามเดิม คือ รฟม.ต้องเปิดประมูลโดยเร็ว เพราะหากจะปรับใหม่ต้องขอ ครม.ใหม่อีกครั้ง เพราะเป็นการเปลี่ยนแปลงสาระสำคัญ"

BMCL ชี้เลือกรายเดิมเปิดเร็วขึ้น

นายสมบัติ กิจจาลักษณ์ กรรมการผู้จัดการบริษัท รถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีเอ็มซีแอล กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า หาก รฟม.เลือกบริษัทเดินรถให้ ผลโดยอัตโนมัติคือทำให้การเปิดใช้บริการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินทำได้เร็วขึ้นภายใน 24 เดือน จาก 36 เดือน เนื่องจากบริษัทใช้เดโป้เดิมที่พระราม 9 ไม่ต้องไปหาที่ดินสร้างใหม่ กับสั่งซื้อรถไฟฟ้าลอตเดียวกันมาเดินรถ 1 สถานี และรถไฟฟ้าใต้ดินเดิม สามารถนำรถขบวนดังกล่าววิ่งให้บริการเส้นทางสีน้ำเงินได้ที่สถานีเตาปูนเป็นต้นไป คาดว่าจะซื้อรถใหม่ จำนวน 28 ขบวน จะเสนอ รฟม.ว่ามีแผนการเปิดใช้ 4 ระยะ หากเลือกรายใหม่มาเดินรถคงต้องรอให้เปิดพร้อมกันทั้งโครงข่าย"

นายพงษ์สฤษดิ์ ตันติสุวณิชย์กุล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานพัฒนาธุรกิจ บมจ.ช.การช่าง กล่าวว่า บริษัทพร้อมหมด ไม่ว่ารัฐบาลจะเปิดประมูลหรือเจรจา รวมถึงใช้วิธีจ้างหรือให้สัมปทาน บริษัทเป็นผู้ลงทุนต้องทำตามกติการัฐ ถ้ารัฐอยากจ้างความเสี่ยงอยู่ที่รัฐ แต่ถ้าเป็นสัมปทานแสดงว่ารัฐไม่รับความเสี่ยง ให้เอกชนรับแทน จะต้องเจรจากัน

"อยากขอให้รายเดิมที่เป็นผู้เดินรถ เพราะเป็นส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าใต้ดินสายเดิม ทำให้การบริการวิ่งเป็นวงกลม รถวิ่งต่อไปได้เลย ที่เรียกว่าเดินรถต่อเนื่อง ไม่ต้องเปลี่ยนรถ เช่น ขึ้นจากสามย่านไปหัวลำโพง ทะลุไปวัดมังกรฯ ถ้าคนละเจ้าต้องเปลี่ยนรถที่หัวลำโพง ถ้าเราได้ทำต่อ จะทยอยเปิดใช้เป็น 4 เฟส"

ได้แก่ 1.ช่วงเตาปูน-บางซื่อ (เชื่อมสายสีม่วง) จะใช้รถขบวนเดิมของใต้ดินมาวิ่ง พร้อมเปิดบริการกลางปี 2559 2.เปิดทดสอบเดินรถช่วงเตาปูน-บางพลัดเดือน มิ.ย. และเปิดบริการเดือน พ.ย. 2560 3.เปิดทดสอบเดินรถช่วงหัวลำโพง-หลักสอง เดือน ต.ค. และเปิดบริการเดือน มี.ค. 2561 และ 4.เปิดทดสอบเดินรถช่วงบางพลัด-ท่าพระ เดือน ม.ค. และเปิดบริการเดือน มิ.ย. 2561

เปิดใช้ตลอดสาย เม.ย.ปี′62

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ขณะที่ รฟม.กำหนดเวลาเปิดเดินรถตลอดสายวันที่ 1 เม.ย. 2562 ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับงานสัญญาที่ 6 (ระบบเดินรถ) วงเงิน 22,141 ล้านบาท ต้องเซ็นสัญญาวันที่ 1 ธ.ค. 2558 และการจัดหารถและทดสอบระบบจะเสร็จวันที่ 12 มี.ค. 2562 มีแผนเปิดเดินรถเป็น 2 ระยะ คือ ช่วงหัวลำโพง-หลักสอง วันที่ 1 ก.ย. 2561 และช่วงเตาปูน-ท่าพระ วันที่ 1 เม.ย. 2562 จะเปิดให้บริการตลอดสายยกเว้นสถานีแยกไฟฉายที่จะล่าช้าไป
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44656
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 25/09/2015 11:17 am    Post subject: Reply with quote

เร่งเดินรถสีน้ำเงิน บอร์ด รฟม.สรุปใช้ พ.ร.บ.ร่วมทุนปี 56
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 25 กันยายน 2558 10:19 น.

Click on the image for full size

บอร์ด รฟม.เร่งหาเอกชนเดินรถสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย เห็นชอบยุติใช้ พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ 35 เปลี่ยนเป็นปี 56 แทน ชี้เป็นไปตามแผนยุทธศาสตร์ PPP เร่งชงคมนาคม “ผู้ว่าฯ รฟม.” เผยรูปแบบร่วมทุนและวิธีคัดเลือกจะเปิดประมูลหรือเจรจาขึ้นกับ กก.ตาม พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ พร้อมยอมรับส่งมอบพื้นที่ล่าช้าผู้รับเหมาขอขยายสัญญาสีน้ำเงิน เร่งปรับแผนงาน

นายพีระยุทธ สิงห์พัฒนากุล ผู้ว่าการ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 21 ก.ย.ที่ผ่านมาคณะกรรมการ (บอร์ด) รฟม.ที่มี พล.อ.ยอดยุทธฺ บุญญาธิการ เป็นประธาน ได้มีการพิจารณาความคืบหน้าการจัดหาผู้เดินรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย (หัวลำโพง-บางแค และบางซื่อ-ท่าพระ) ระยะทาง 27 กม. โดยที่ประชุมมีมติให้ รฟม.ยุติการใช้ พ.ร.บ.ว่าด้วยเอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535 (พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ 35) ในการดำเนินการคัดเลือกเอกชน และเห็นควรให้ใช้พระราชบัญญัติการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2556 (พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ 56) เนื่องจากโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยายถูกบรรจุไว้ในแผนยุทธศาสตร์การให้เอกชนร่วมลงทุน (แผนยุทธศาสตร์ PPP) โดยจะเร่งสรุปข้อมูลนำเสนอต่อกระทรวงคมนาคมเพื่อเสนอต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) และคณะกรรมการ PPP ตามขั้นตอนต่อไป

ทั้งนี้ รฟม.เสนอขอใช้ พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ 56 แทน พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ 35 ส่วนรูปแบบการร่วมทุนนั้นขึ้นอยู่กับการพิจารณาของคณะกรรมการ PPP จะเลือกรูปแบบที่เหมาะสม ระหว่างให้ใช้ PPP-Gross Cost (รัฐเป็นผู้รับความเสี่ยงค่าโดยสารและจ้างเอกชนเป็นผู้เดินรถและซ่อมบำรุง โดยรัฐจ่ายค่าจ้างเดินรถ) ตามเดิม หรือเปลี่ยนเป็นรูปแบบ PPP-Net Cost (สัมปทานโดยเอกชนเป็นผู้เดินรถและซ่อมบำรุง พร้อมทั้งรับความเสี่ยงค่าโดยสารและจ่ายผลตอบแทนให้รัฐ) ซึ่งรูปแบบ PPP-Net Cost จะนำไปสู่การเดินรถรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินต่อเนื่องตลอดสาย (Through Operation) ขณะที่วิธีการคัดเลือกระหว่างการประกวดราคาหรือเจรจากับบริษัท รถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BMCL นั้น จะมีคณะกรรมการตาม พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ พิจารณาอีกในขั้นตอนต่อไป

นายพีระยุทธกล่าวถึงการก่อสร้างงานโยธาโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินว่า ยอมรับว่าผู้รับเหมาได้เสนอขอขยายระยะเวลาสัญญาการก่อสร้างออกไป ซึ่งสาเหตุหนึ่งเกิดจากการส่งมอบพื้นที่ก่อสร้างล่าช้า โดยเฉพาะสัญญาที่ 3 (ทางวิ่งยกระดับ ช่วงเตาปูน-ท่าพระ) ของกลุ่ม บมจ.ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น ที่ติดปัญหาที่บริเวณสี่แยกท่าพระและสามแยกไฟฉาย โดย รฟม.อยู่ระหว่างการตรวจสอบข้อเท็จจริงรายละเอียดต่างๆ เพื่อพิจารณาการขยายระยะเวลาก่อสร้างและค่าใช้จ่ายเพิ่ม โดยคาดว่าจะใช้เวลาอีกประมาณ 2-3 เดือน ซึ่งเบื้องต้นได้รายงานให้บอร์ดรับทราบแล้ว ซึ่งได้กำชับให้ รฟม.พิสูจน์รายละเอียดอย่างรอบคอบ

อย่างไรก็ตาม จะต้องมีการปรับแผนงานโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยายใหม่เพื่อให้สอดคล้องกับความเป็นจริง โดยในส่วนของการก่อสร้างงานโยธานั้นคาดว่าหลังพิจารณาเรื่องการขยายเวลาก่อสร้างและปรับแผนใหม่ และบวกกับระยะเวลาในการจัดหาผู้เดินรถอีก 33 เดือนหรือไม่เกิน 36 เดือน ซึ่งเรื่องเดินรถต้องรอความชัดเจนการขอใช้ พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ 56 และข้อสรุปรูปแบบว่าจะประมูลหรือเจรจามาประกอบด้วย โดยยังตั้งเป้าว่าจะสามารถเปิดเดินรถได้ประมาณปลายปี 2561 หรือต้นปี 2562

***เห็นชอบ MOU ร่วม กทม.รับเดินรถสายสีเขียวใต้และเหนือ
นอกจากนี้ ที่ประชุมบอร์ด รฟม.ยังได้เห็นชอบร่างบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ระหว่างกระทรวงคมนาคมกับกรุงเทพมหานคร (กทม.) เรื่องการมอบหมายให้กรุงเทพมหานครเป็นผู้เดินรถโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวทั้ง 2 สาย คือ รถไฟฟ้าสายสีเขียวใต้ ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ และสายสีเขียวเหนือช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต ซึ่งเป็นไปตามมติคณะกรรมการจัดระบบจราจร (คจร.)
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 28/09/2015 2:25 am    Post subject: Reply with quote

รฟม.แจงผุดสายสีน้ำเงินล่าช้าติดปัญหาเวนคืน
TNN24
27 กันยายน 2558 , 16.00 น.

รฟม.เผยรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ล่าช้ากว่าแผน 2 ปี เหตุติดปัญหาเวนคืนที่ดินสีแยกไฟฉาย ขณะที่ภาพรวมโครงการคืบหน้าร้อยละ 60

วันนี้(27ก.ย.58)นายพีระยุทธ สิงห์พัฒนากุล ผู้ว่าการการรถไฟฟ้ามวลชนแห่งประเทศไทย หรือ รฟม. เปิดเผยกับสำนักข่าว ไอ.เอ็น.เอ็น. ถึงความคืบหน้าโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วงหัวลำโพง-บางแค และ บางซื่อ-ท่าพระ ระยะทางรวม 27 กิโลเมตร ว่า ขณะนี้การก่อสร้างโครงการคืบหน้าแล้วร้อยละ 60 แต่ภาพรวมถือว่ายังล่าช้ากว่าแผนประมาณ 2 ปี เนื่องจากยังปัญหาเรื่องการเวนคืนที่ดิน บริเวณสี่แยกไฟฉาย โดยทางเจ้าหน้าที่อยู่ระหว่างการเจรจากับประชาชนในพื้นที่ได้ ทั้งนี้ คาดว่าจะสามารถเริ่มก่อสร้างได้ในช่วงเดือนตุลาคมนี้

ขณะเดียวกัน สำหรับการขุดอุโมงค์ลอดใต้แม่น้ำเจ้าพระยาจะดำเนินการแล้วเสร็จภายในอีก 2 เดือน และเปิดให้บริการได้ไม่เกินปี 2562 ส่วนการจัดหาขบวนรถในโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินจะใช้การลงทุนในรูปแบบ PPP Gross Cross เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายของ นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี ที่ต้องการให้เอกชนเข้ามาร่วมลงทุนในโครงการภาครัฐ เนื่องจากจะช่วยลดภาระด้านงบประมาณของรัฐ และสามารถนำงบประมาณไปแบ่งจัดสรรในโครงการอื่นๆ ได้มากขึ้น
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 28/09/2015 10:46 am    Post subject: Reply with quote



รายงานความก้าวหน้าการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายน้ำเงิน ช่วงบางโพ - ท่าพระ
https://www.youtube.com/watch?feature=player_embedded&v=Xt7Oa5XWvjM
https://www.youtube.com/watch?feature=player_embedded&v=ObBWjYhrq2g
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 29/09/2015 7:15 pm    Post subject: Reply with quote

ควบรวมทางด่วน-รถไฟฟ้าสะดุด ยืดเวลาถึงเม.ย.59
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
29 กันยายน 2558 , เวลา 18:39:00 น.


นางพเยาว์ มริตตนะพร กรรมการผู้จัดการบริษัททางด่วนกรุงเทพ จำกัด(มหาชน) หรือบีอีซีแอล เปิดเผยผลการประชุมผู้ถือหุ้นร่วมระหว่าง บริษัท ทางด่วนกรุงเทพ จำกัด(มหาชน) หรือบีอีซีแอล และบริษัท รถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด(มหาชน) หรือ บีเอ็มซีแอล ในวาระ ขออนุมัติขยายเวลาในการจัดประชุมผู้ถือหุ้นร่วมพิจารณาเรื่องต่างๆที่เกี่ยวข้องหรือจำเป็นในการควบบริษัท ว่า ขณะนี้ได้ทำเรื่องควบรวมบริษัททั้ง 2 บริษัทไปให้ทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับ 2 บริษัทแล้ว ไม่ว่าจะเป็นการทางพิเศษแห่งประเทศไทย(กทพ.) และ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(รฟม.) ซึ่งทั้ง 2 องค์กรได้อนุมัติเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

จากนี้จะต้องส่งเรื่องไปให้รัฐมนตรีว่าการกระทรงคมนาคมเสนอคณะรัฐมนตรี(ครม.) เห็นชอบ การควบรวมกิจการถึงจะสมบูรณ์ จากเดิม เราได้ขอเวลาในการพิจารณา 6 เดือนจะสิ้นสุดในวันที่ 2 ต.ค.58

แต่ด้วยต้องรอกระบวนการจากทางภาครัฐจึงต้องมีการประชุมผู้ถือหุ้นอีกครั้งเพื่อเห็นชอบขยายเวลาไปอีก 6 เดือนไปจนถึง 1เม.ย 59 หากถึงกำหนดแล้วยังไม่สามารถควบรวมได้ก็จะกลับไปเริ่มกระบวนการใหม่

อย่างไรก็ตามคาดว่าทางกระทรวงคมนาคมจะนำเรื่องเข้าสู่ที่ประชุมครม. ภายในเดือนต.ค58 นี้ หากได้รับการอนุมัติ จากนั้นจะใช้ระยะเวลาในการดำเนินการจัดตั้งบริษัทใหม่ ภายใน 40 วัน

//-------------


รถไฟฟ้าใต้ดินเตรียมทำ ′เลดี้ โบกี้′ ชั่วโมงเร่งด่วน
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
28 กันยายน 2558 , เวลา 16:59:47 น.


ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายพีระยุทธ สิงห์พัฒนากุล ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย หรือ รฟม. เปิดเผยว่า เตรียมเสนอบริษัทรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด มหาชน หรือ บีเอ็มซีแอล จัดทำเลดี้ โบกี้ หรือตู้รถสำหรับผู้หญิง ในขบวนรถไฟฟ้าใต้ดิน ช่วงชั่วโมงเร่งด่วน เพื่อลดปัญหาผู้โดยสารรอขบวนรถนาน และรองรับการเปิดใช้รถไฟฟ้าสายสีม่วงที่คาดว่าจะมีผู้โดยสารใช้บริการเพิ่มมากขึ้น

เนื่องจากที่ผ่านมาในขบวนปกติ พบปัญหาผู้โดยสารผู้หญิง ไม่กล้ายืนชิดกับผู้โดยสารผู้ชาย ทำให้เกิดช่องว่างในตู้รถ จนไม่สามารถรับผู้โดยสารได้เต็มศักยภาพ
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 29/09/2015 8:21 pm    Post subject: Reply with quote

วันนี้ (29 ก.ย. 2558) ทีมผู้ผลิตสารคดีจากสถานีโทรทัศน์แห่งชาติของกัมพูชา (National Television of Cambodia : TVK) ได้เข้าพบและขอสัมภาษณ์นายธีรพันธ์ เตชะศิรินุกูล รองผู้ว่าการ รฟม. (กลยุทธ์และแผน) ในประเด็นความก้าวหน้าของระบบการเดินรถไฟฟ้าของ รฟม. เพื่อนำไปจัดทำสารคดีเกี่ยวกับระบบการขนส่งสาธารณะของไทย และเป็นกรณีศึกษาสำหรับการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะของกัมพูชาต่อไป โดยสารคดีดังกล่าวจะออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์แห่งชาติของกัมพูชา (TVK)
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=1625599244323470&id=1409174012632662

เรียนเชิญผู้ที่สนใจเข้าร่วมประชุมสัมมนารับฟังความคิดเห็นประชาชน ครั้งที่ 2 งานศึกษาทบทวนรายละเอียดความเหมาะสม ออกแบบ และจัดเตรียมเอกสารประกวดราคา โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วงบางแค - พุทธมณฑล สาย 4 ในวันพุธที่ 30 กันยายน 2558 ณ ห้องประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ เวลา 9.00-12.00 น.
https://www.facebook.com/1409174012632662/photos/a.1409211292628934.1073741828.1409174012632662/1625372007679527/?type=3&theater

28 กันยายน 2558 ขุดเจาะอุโมงค์ลอดแม่น้ำเจ้าพระยา ตัวที่ 2
จากวัดกัลยาณมิตรวรมหาวิหาร บริเวณปล่องระบายอากาศที่ 3 (IVS3) ไปสถานีสนามไชย
รฟม. และ ช.การช่าง ผู้รับจ้างงานสัญญา ที่ 2 เดินเครื่องขุดเจาะอุโมงค์รถใต้ดินอุโมงค์ที่ 2 ลอดแม่น้ำเจ้าพระยา จากปล่องระบายอากาศที่ 3 (IVS3) ทะลุสนามไชย โดยอุโมงค์ที่ 2 มีความตั้งใจที่จะเจาะทะลุผนังสถานีสนามไชย ในวันมหามงคล 5 ธันวาคม 2558 นี้ เช่นเดียวกับอุโมงค์ ที่ 1 ซึ่งจะเจาะทะลุผนังสถานีสนามไชยตรงกับวันที่ 5 ธันวาคม 2557 ที่ผ่านมา ส่วนงานสถานีสนามไชย และสถานีอิสรภาพ อยู่ระหว่างตกแต่งภายใน คาดว่าจะแล้วเสร็จ เดือนพฤษภาคม 2559 นี้ค่ะ
https://www.facebook.com/prpmc.blueline/posts/972742116080330
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 30/09/2015 1:13 pm    Post subject: Reply with quote

รฟม.คาดอีก6ปีเปิดบริการรถไฟฟ้าสีน้ำเงินได้
ข่าวเศรษฐกิจ
INN News
วันพุธที่ 30 กันยายน พ.ศ.2558 12:01 น.

รฟม. คาดอีก 6 ปี รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วงบางแค-พุทธมณฑล สาย 4 จะเปิดให้บริการ พร้อมรองรับผู้ใช้บริการ ในช่วงแรกได้ 65,000 คน

นายธีรพันธ์ เตชะศิรินุกูล รองผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย หรือ รฟม. กล่าวยอมรับว่า โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วงบางแค-พุทธมณฑล สาย 4 ยังมีผลกระทบเล็กน้อย เรื่องการเวนคืนที่ดินบริเวณตัวสถานีและทางขึ้นลงรถไฟฟ้า เขตพื้นที่ทางเท้าของกรุงเทพมหานคร ซึ่งยังอยู่ระหว่างการสำรวจจำนวนประชาชนที่ได้รับผลกระทบ โดยโครงการนี้จุดเริ่มต้นที่สถานีหลักสอง มุ่งหน้าทางทิศตะวันตก และสิ้นสุดบริเวณจุดตัดถนนพุทธมณฑลสาย 4 ก่อสร้างแบบยกระดับไปตามเกาะกลางถนน ตลอดแนวถนนเพชรเกษม ระยะทาง 8 กิโลเมตร จำนวน 4 สถานีรถไฟฟ้า ใช้งบประมาณในการก่อสร้าง 17,000 ล้านบาท รองรับผู้ใช้บริการได้ช่วงแรกได้ถึงวันละ 65,000 คน และสูงสุดถึง 5 แสนคน ซึ่งคาดว่าจะเปิดใช้ได้ในปี 2564

อย่างไรก็ตาม การเดินรถเชื่อมต่อระหว่างช่วงหัวลำโพง-บางแค รฟม. ได้เสนอเป็นการเดินรถต่อเนื่อง โดยไม่ต้องเปลี่ยนรถ

//------------

วันนี้ (30 กันยายน 2558) รฟม. จัดการประชุมสัมมนารับฟังความคิดเห็นประชาชน ครั้งที่ 2 งานศึกษาทบทวนรายละเอียดความเหมาะสม ออกแบบ และจัดเตรียมเอกสารประกวดราคา โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วงบางแค - พุทธมณฑล สาย 4 ณ ห้องประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ เวลา 9.00-12.00 น. โดยมีประชาชนที่สนใจเข้าร่วมงานเป็นจำนวนมาก
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=1625782304305164&id=1409174012632662


รองผู้ว่า รฟม.เผย ปชช.ส่วนใหญ่เห็นด้วยโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน


โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
30 กันยายน 2558 15:15 น.

นายธีรพันธ์ เตชะศิรินุกูล รองผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย หรือ รฟม. กล่าวว่า หลังจากที่มีการเปิดรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในครั้งแรกประชาชนส่วนมากเห็นด้วยกับโครงการ เนื่องจากเป็นโครงการส่วนต่อขยายที่มีการขยายเส้นทางจากช่วงบางแคหลักสอง มาจนถึงพุทธมณฑลสาย 4 ซึ่งมีระยะทางในการขยาย 8 กิโลเมตร และสามารถรองรับการเดินทางจากประชาชนในละแวกหนองแขมเพื่อที่จะเข้าเมืองได้อย่างสะดวก ด้านกระแสตอบรับประชาชนส่วนมากเห็นด้วยกับโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน
ส่วนข้อจำกัดของโครงการคือ การประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการขอใช้พื้นที่ที่จะทำทางขึ้นลง รวมทั้งพื้นที่ที่จะต้องมีการรื้อย้ายสาธารณูปโภค เช่นสายไฟฟ้า ประปา โทรศัพท์ อยู่ระหว่างการประสานงานกับเจ้าหน้าที่เพื่อจะนำไปสู่การก่อสร้างรถไฟฟ้าที่มีปัญหาและส่งผลกระทบต่อประชาชนน้อยที่สุด อีกทั้งการเวณคืนที่ดิน ยังมีบางส่วน เพราะทางขึ้นลงของรถไฟฟ้า ส่วนมากจะไปอยู่ในพื้นที่ของประชาชน แต่จะพยายามให้อยู่ในพื้นที่ว่าง เนื่องจากขนาดของสถานีค่อนข้างใหญ่ จึงทำให้ต้องใช้พื้นที่จำนวนมาก
อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ประชาชนจะได้รับจากโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน คือ ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ ในส่วนของเส้นทาง จำนวนร้อยละ 20 รวมถึงช่วยเยียวยาปัญหาการจราจร เพราะถนนเพชรเกษม เป็นพื้นที่ที่ใช้เข้าออกเมือง จึงมีปัญหาด้านการจราจรเป็นอย่างมาก ช่วงหนองแขมถึงบางแค โดยการต่อขยายเส้นทางรถไฟฟ้าไปสู่ชานเมืองจะช่วยลดปัญหาการจราจร หรือลดปริมาณรถบนถนนได้เป็นอย่างมาก
นอกจากนี้ รฟม.จะมีการสร้างที่จอดรถ บริเวณจุดสิ้นสุดโครงการ คือ สี่แยกพุทธมณฑลสาย4 เพื่ออำนวยความสะดวกให้ประชาชนที่ใช้รถไฟฟ้า ทั้งนี้ หากโครงการผ่านการพิจารณาจากคณะรัฐมนตรี และกระทรวงคมนาคม แล้วจะสามารถก่อสร้างได้ในช่วงกลางปี 2560 โดยจะสามารถเปิดใช้งานได้ในปี 2564
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 01/10/2015 7:29 pm    Post subject: Reply with quote

เผยภาพสถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน "สนามไชย"
Traffic Live
Now TV26
วันที่ 01 ตุลาคม 2558

==> เผยภาพสถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน "สนามไชย" (ขอบคุณภาพจาก : Thailand Skyline)
วันนี้จะพาไปดูภาพการตกแต่งภายใน ของสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินสนามไชย ที่มีการออกแบบอย่างวิจิตรพิสดารกว่าสถานีอี่นๆ จะสวยงามขนาดไหน ไปชมกับเลยครับ
สถานีสนามไชยเป็นเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินต่อขยายจากหัวลำโพง-บางแค ตั้งอยู่บริเวณถ.สนามไชย ในเกาะรัตนโกสินทร์ ซึ่งเป็นพื้นที่ด้านประวิติศาสตร์ ใกล้กับวัดโพธิ์ มิวเซียมสยาม ปากคลองตลาด และอยู่ไม่ไกลจากพระบรมมหาราชวัง
การออกแบบตกแต่งภายในจึงมีความพิเศษกว่าสถานีอื่นๆโดยใช้สถาปัตยกรรมไทยคล้ายกับภายในของท้องพระโรงหรือด้านในของโบสถ์ ใช้สีขาว สีทองและสีชาดเป็นสีหลัก มีสัญลักษณ์ประจำสถานีคือ หงส์สีทอง ออกแบบโดยรองศาสตราจารย์ ดร.ภิญโญ สุวรรณคีรี ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (สถาปัตยกรรม)
ตามกำหนดเวลาจะแล้วเสร็จในปี 59 เมื่อเปิดให้บริการนอกจากประชาชนจะเดินทางเข้าเมืองง่ายขึ้นแล้ว จะช่วยส่งเสริมการท่องเที่ยวได้อีกด้วย
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44656
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 01/10/2015 8:58 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
รองผู้ว่า รฟม.เผย ปชช.ส่วนใหญ่เห็นด้วยโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
30 กันยายน 2558 15:15 น.

รถไฟฟ้าสายแรกไปนครปฐมเวนคืนแค่ 40 ราย
เดลินิวส์ วันพฤหัสที่ 1 ตุลาคม 2558 เวลา 9:47 น.

รถไฟฟ้าสายแรกไปนครปฐมเวนคืนแค่40ราย ปี60ลงเสาเข็มรถไฟฟ้าไปพุทธมณฑลสาย 4ชานกรุงต่อเนื่องนครปฐม รับประชาชนกว่า 65,000คนต่อวัน ใช้แนวเกาะกลางถนนมีเวนคืนแค่40กว่าราย

เมื่อวันที่ 30 ก.ย. 2558 ที่มหาวิทยาลัยเอเชัยอาคเนย์ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(รฟม.) จัดประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชนครั้งที่ 2 โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยายช่วงบางแค-พุทธมณฑลสาย 4 ระยะทาง 8กิโลเมตรโดยมีนายธีรพันธ์ เตชะศิรินุกูล รองผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(รฟม).(ฝ่ายปฏิบัติการ) เป็นประธาน ประชุม ร่วมกับกลุ่มบริษัทที่ปรึกษา นายธีรพันธ์ กล่าวว่า สำหรับการรับฟังความคิดเห็นประชาชนครั้งที่ 2 ทางรฟม.ได้มีการนำเสนอผลการดำเนินงานและการลงพื้นที่เก็บข้อมูลเบื้องต้นพร้อมทั้งได้นำความเห็นของประชาชนจากการจัดการรับฟังความเห็นครั้งที่ 1 นำไปวิเคราะห์ แก้ไขและหลังจากที่รับฟังความคิดเห็นเป็นครั้งสุดท้ายแล้วรฟม.และกลุ่มบริษัทที่ปรึกษาจะ นำข้อมูลไปประกอบการออกแบบรายละเอียดโครงการ พร้อมทั้งเสนอผลการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมต่อสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม(สผ.)เพื่อขออนุมัติ โดยขณะนี้ขั้นตอนการออกแบบรายละเอียดโครงการเบื้องต้นใกล้จะเสร็จสมบูรณ์แล้วซึ่งคาดว่าประมาณเดือนพ.ย. 58 นี้ จะ นำเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการบริหารกิจการ(บอร์ด)รฟม.และหลังจากนั้นจะเสนอแผนไปยังกระรทรวงคมนาคม คาดว่าประมาณกลางปี 59 จะเสนอขออนุมัติโครงการจากคณะรัฐมนตรี(ครม.)หลังจากที่ครม.อนุมัติแล้วจะต้องใช้เวลาประมาณ 1 ปีในการร่างทีโออาร์และดำเนินการประกวดราคาหาผู้รับเหมาซึ่งจะใช้เวลาในขั้นตอนดังกล่าวประมาณ 1 ปี ดังนั้นจะสามารถเริ่มเข้าพื้นที่ก่อสร้างช่วงกลางปี 60 ใช้เวลาก่อสร้าง 4 ปี สำหรับงบประมาณในการก่อสร้างทั้งหมดรวมค่าก่อสร้างและค่าระบบรถไฟฟ้าประมาณ 17,000 ล้านบาท ค่าเวนคืนที่ดินสำหรับก่อสร้างที่จอดรถและทางขึ้นลงสถานีบางจุด 4,900 ล้านบาทโดยเบี้องต้นจะต้องทำงานเวนคืนประมาณ 40 กว่าราย

นายธีรพันธ์ กล่าวต่อว่า สำหรับโครงการรถไฟฟ้าสายดังกล่าวจะเป็นการช่วยแก้ไขปัญหาการจราจรบริเวณถนนเพชรเกษมที่ปัจจุบันมีสภาพการจราจรหนาแน่นเพราะเป็นเส้นทางหลักเข้าเมือง หากเปิดให้บริการจะสามารถรองรับประชาชนได้มากถึง 65,000 คนต่อวันซึ่งประชาชนจะได้รับความสะดวกในการเดินทางมากยิ่งขึ้นเพราะส่วนต่อขยายบางแค-พุทธมณฑลสาย 4 จะเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสาสีน้ำเงินส่วนต่อขยายหัวลำโพง-บางแค-บางซื่อ-ท่าพระ โดยประชาชนที่เดินทางมากจากสถานีหัวลำโพงสามารถนั่งต่อเนื่องได้โดยไม่ต้องเปลี่ยนขบวนรถ แต่หากมาจากบางซื่อจะต้องลงเปลื่ยนขบวนที่สถานีท่าพระ ส่วนรูปแบบโครงการจะเป็นแบบยกระดับต่อเนื่องมาจากสถานีหลักสองวิ่งไปตามเกาะกลางถนนเพชรเกษมมี 4 สถานี คือ สถานีพุทธมณฑลสาย2 ทวีวัฒนา พุทธมณฑลสาย 3 และ สถานีพุทธมณฑลสาย 4 มีอาคารจอดรถบริเวณสถานีพุทธมณฑลสาย 4 ทั้งนี้ถือเป็นรถไฟฟ้าสายแรกที่จะมาถึงพื้นที่จังหวัดนครปฐม
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> รถไฟฟ้า (BTS) และรถไฟฟ้าใต้ดิน (MRT) All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 137, 138, 139 ... 228, 229, 230  Next
Page 138 of 230

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©