Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311296
ทั่วไป:13272874
ทั้งหมด:13584170
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - เรื่องของหัวลำโพง
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

เรื่องของหัวลำโพง
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 12, 13, 14 ... 31, 32, 33  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สถานีรถไฟและสถาปัตยกรรมสำคัญเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44636
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 15/11/2021 12:30 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
อำลา "หัวลำโพง" ปิดฉาก 105 ปี ศูนย์กลางระบบราง พัฒนาพื้นที่พลิกโฉมใหม่
ไทยรัฐออนไลน์ สกู๊ปไทยรัฐ
ผู้เขียน : ปูรณิมา
THE ISSUE
วันที่ 11 พฤศจิกายน 2564 เวลา 19:35 น.

ปิดฉาก “หัวลำโพง” ยุติเดินรถสิ้นปี 64 เปิดพิมพ์เขียวผุด “มิกซ์ยูส” อนุรักษ์ “โดม” เชื่อมเมืองเก่า-ศูนย์ธุรกิจใหม่
เผยแพร่: 15 พ.ย. 2564 08:27 ปรับปรุง: 15 พ.ย. 2564 08:27 โดย: ผู้จัดการออนไลน์

Click on the image for full size

นับถอยหลังปิดฉาก...อำลา “หัวลำโพง” หรือสถานีรถไฟกรุงเทพ ที่เปิดให้บริการอยู่คู่กับคนไทยเป็นเวลายาวนาน 105 ปี สู่การพัฒนา ปรับเปลี่ยนบทบาท เป็นศูนย์กลางแหล่งชอปปิ้ง โรงแรม “ศักดิ์สยาม ชิดชอบ” รมว.คมนาคม ยืนยันใช้สถานีกลางบางซื่อเป็นสถานีสุดท้ายหรือเป็นสถานีต้นทางและปลายทางแทน “หัวลำโพง” ภายในสิ้นปี 2564 หมายความว่าจะต้องไม่มีรถไฟที่วิ่งเข้าหัวลำโพงเพื่อแก้จุดตัดกับถนน แก้ปัญหาจราจรให้เป็นรูปธรรม และนำพื้นที่ย่านหัวลำโพงทั้งหมดมาพัฒนาปรับโฉมใหม่ ภายใต้แนวคิด ยังคงความเป็นอาคารอนุรักษ์ ผสมผสาน มีการจัดสรรพื้นที่ทั้งแนวราบและแนวสูงใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ เพื่อสร้างรายได้ให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) อย่างยั่งยืน

ย้อนอดีต สำหรับสถานีหัวลำโพงถูกออกแบบเป็นรูปโดมสไตล์อิตาเลียนผสมผสานกับศิลปะยุคเรเนสซองส์ และมีนาฬิกาบอกเวลาที่มีอายุเก่าแก่ติดตั้งไว้ที่กึ่งกลางยอดโดมสถานี ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของสถานีเก่าแก่คู่บ้านคู่เมืองนี้ ซึ่งเป็นส่วนที่จะยังคงอนุรักษ์ไว้ ส่วนพื้นที่ด้านในโถงสถานีจะมีการปรับปรุงให้เป็นโมเดิร์นมากขึ้น

ส่วนแนวทางรถไฟ จะมีการจัดระเบียบใหม่ให้มีความสะอาดสวยงาม และทันสมัย เป็นพื้นที่ออกกำลังกาย สำหรับประชาชนที่อยู่สองข้างทางจะต้องจัดระเบียบเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาบุกรุกซ้ำซาก โดยเน้นย้ำให้จัดสรรพื้นที่ให้ประชาชนสามารถทำมาค้าขายได้ด้วย

ศักดิ์สยามกล่าวว่า ตามแผนดำเนินงานที่ รฟท.นำเสนอจะทยอยลดขบวนที่จะเข้าหัวลำโพง เพราะบางขบวนยังมีผู้ใช้บริการมาก จำเป็นต้องทยอยเปลี่ยนผ่านเพื่อลดผลกระทบ ส่วนสายใต้ ยังต้องรอระบบเพื่อให้ขบวนรถวิ่งบนโครงสร้างของรถไฟชานเมืองสายสีแดงได้ ซึ่งตนเห็นว่าการหยุดบริการที่หัวลำโพงเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องทำให้เกิดความชัดเจน จึงให้ รฟท.ทำแผนไทม์ไลน์ให้ชัดเจนและต้องตัดสินใจให้เด็ดขาดภายในปี 2564 เพราะไม่ต้องการให้ปิดถนนรอรถไฟวิ่งผ่านเป็นปัญหาจราจรอีกต่อไป พร้อมกันนี้ จะได้เดินหน้าการพัฒนาหัวลำโพงได้

“หากยังไม่กล้าทำให้ชัดเจน มัวแต่กังวลคนใช้บริการเยอะ ไม่หยุดเสียที ทุกอย่างก็เดินต่อไม่ได้ ผมกล้ายอมรับถูกวิพากษณ์วิจารณ์ เพราะสุดท้ายคนส่วนใหญ่จะได้ประโยชน์มหาศาล ดังนั้นต้องกล้าที่จะทำ”


ส่วนการให้บริการสำหรับผู้ที่ต้องการเดินทางมายังหัวลำโพงจะไม่กระทบ เพราะจะมีระบบฟีดเดอร์ เป็นรถ ขสมก.วิ่งบริการระหว่างสถานีกลางบางซื่อ-หัวลำโพง ใช้ทางด่วน และใช้ระบบตั๋วร่วม ผู้โดยสารซื้อตั๋วรถไฟ ปลายทางหัวลำโพง เมื่อลงรถไฟที่สถานีกลางบางซื่อจะสามารถใช้รถ ขสมก.ต่อไปยังหัวลำโพงโดยไม่ต้องเสียค่าโดยสารเพิ่ม อาจต้องปรับพฤติกรรมการเดินทาง

ส่วนการพัฒนาที่ดินรถไฟ คาดหมายในปี 2565 ไม่เฉพาะหัวลำโพง ยังมีทำเลทองที่จะนำมาพัฒนาอีก เช่น สถานีธนบุรี-ศิริราช, พื้นที่แนวพระรามเก้า RCA-คลองตัน ประมาณ 135 ไร่ ซึ่งล้วนมีศักยภาพ มีระบบคมนาคมเชื่อมต่อพื้นที่ จะสร้างรายได้เพิ่มให้ รฟท. และสามารถนำมาอุดหนุนภาระบริการด้าน PSO และคาดหวังว่าจะแก้ปัญหาขาดทุนของ รฟท.ได้อย่างยั่งยืนใน 5 ปีจะเห็นรูปธรรม

@23 ธ.ค.ปรับตารางเดินรถไฟใหม่ วิ่งเข้าหัวลำโพงเหลือ 22 ขบวน

รถไฟชานเมืองสายสีแดง เส้นทางบางซื่อ-รังสิต และบางซื่อ-ตลิ่งชัน กำหนดเปิดให้บริการเชิงพาณิชย์ โดยเก็บค่าโดยสาร รวมถึงเป็นการเปิดใช้สถานีกลางบางซื่ออย่างเป็นทางการวันที่ 29 พ.ย. 2564 โดยมี บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด (รฟฟท.) เป็นผู้เดินรถ

ส่วนขบวนรถไฟชานเมือง รถไฟทางไกล ในปัจจุบัน รฟท.ได้วางแผนปรับตารางการเดินรถใหม่ จำนวน 155 ขบวน โดยเริ่มในวันที่ 23 ธ.ค. 2564 เบื้องต้นจะปรับลดการเดินรถเข้าสถานีหัวลำโพงเหลือ 22 ขบวน/วัน

โดยขบวนรถไฟสายเหนือ และสายอีสาน ปรับตารางเดินรถใหม่ รวมทั้งหมด 74 ขบวน

1. รถไฟทางไกลเชิงพาณิชย์ สายเหนือ ต้นทางเชียงใหม่ สายอีสานต้นทาง “หนองคาย และอุบลราชธานี” จะวิ่งบนโครงสร้างสายสีแดงเข้าสถานีกลางบางซื่อ รวม 42 ขบวน/วัน

2. รถไฟชานเมือง สายเหนือ/สายอีสาน อีกจำนวน 14 ขบวน/วัน ผู้โดยสารเปลี่ยนให้ใช้สถานีรังสิต และสถานีดอนเมืองเป็นจุดเชื่อมต่อกับรถไฟสายสีแดงเพื่อเข้าสู่สถานีกลางบางซื่อ

3. รถไฟชานเมือง สายเหนือ จำนวน 2 ขบวน/วัน วิ่งบนโครงสร้างรถไฟชานเมืองสายสีแดงสู่สถานีกลางบางซื่อ

4. รถไฟชานเมือง สายเหนือ/สายอีสาน จำนวน 6 ขบวน/วัน วิ่งบนโครงสร้างรถไฟชานเมืองสายสีแดงจากรังสิต-วัดเสมียนนารี จากนั้นจะใช้ทางรถไฟเดิมวิ่งเข้าสถานีบางซื่อเดิม และเข้าสู่สถานีหัวลำโพง เนื่องจากเป็นขบวนที่มีผู้โดยสารจำนวนมาก จึงจะทยอยปรับต่อไป

5. ขบวนรถวิ่ง Loop เป็นฟีดเดอร์ สายสีแดงเส้นทางดอนเมือง-รังสิต-บางปะอิน-อยุธยา
จำนวน 10 ขบวน/วัน ความถี่ 1 ชม./ขบวน รองรับการยกเลิกเดินรถไฟบางขบวน

รถไฟสายใต้ มีสถานีตลิ่งชันเป็นสถานีเปลี่ยนถ่ายผู้โดยสาร มีจำนวน 62 ขบวน

• ขบวนรถเร็ว รถด่วน รถด่วนพิเศษ จำนวน 24 ขบวน/วัน จะใช้เส้นทางรถไฟเดิมวิ่งเข้าสถานีบางซื่อเดิม เนื่องจากอยู่ระหว่างจัดหาระบบห้ามล้ออัตโนมัติ โดยหัวรถจักรจะเข้ามากลางปี 2565 จากนั้นจะทดสอบการเดินรถร่วมระหว่างรถไฟทางไกลกับสายสีแดงต่อไป

• รถไฟชานเมือง จากสุพรรณบุรี และนครปฐม จำนวน 2 ขบวน/วัน วิ่งเข้าสถานีหัวลำโพง

• รถไฟชานเมือง เข้าสถานีธนบุรี สามารถใช้สถานีตลิ่งชันของสายสีแดงเปลี่ยนถ่ายผู้โดยสารได้ มีจำนวน 2 ขบวน/วัน และขบวนรถเดิมอีก 10 ขบวน

• ขบวนรถวิ่ง Loop เส้นทางสถานีธนบุรี-ศาลายา-มหิดล-นครปฐม เป็นฟีดเดอร์ สายสีแดง จำนวน 24 ขบวน/วัน

รถไฟสายตะวันออก มีการยกเลิก 7 ขบวนที่เดินรถจากสถานีบางซื่อเข้าพื้นที่ชั้นใน มีการปรับตารางเดินรถ 19 ขบวน

• รถไฟธรรมดา ชานเมือง 14 ขบวน/วัน เข้าสถานีหัวลำโพงเนื่องจากมีผู้โดยสารจำนวนมาก

• รถไฟธรรมดา ชานเมือง จำนวน 5 ขบวน ปรับวิ่งถึงสถานีมักกะสัน เป็นจุดเชื่อมต่อกับแอร์พอร์ตเรลลิงก์

มีจุดเปลี่ยนถ่ายสินค้า 3 จุด
คือ 1. สายเหนือ/อีสาน ที่สถานีเชียงรากน้อย ตามผลศึกษาไจก้าเดิม จะมีการทำลานขนส่งและขยายทาง ใช้เงินลงทุน 497.3 ล้านบาท และหารือผู้ประกอบการขนส่งในการเข้ามาดำเนินการขนถ่ายสินค้า 2. สายใต้ ที่สถานีวัดสุวรรณ จะปรับปรุงวงเงินค่าก่อสร้าง 519.5 ล้านบาท และ 3. สายตะวันออก ที่ ICD ลาดกระบัง

@ปรับโฉมชานชาลา-โรงซ่อม สำนักงาน รฟท. 120 ไร่ ผุดแลนด์มาร์กแห่งใหม่

สำหรับสถานีกรุงเทพ ปัจจุบันมีพื้นที่รวม 120 ไร่ แบ่งเป็น

โซน A - พื้นที่ถนนเข้าออก และลานจอดรถ ด้านคลองผดุงกรุงเกษม 16 ไร่

โซน B - อาคารสถานีกรุงเทพ (หัวลำโพง) 13 ไร่

โซน C - โรงซ่อมรถดีเซลรางและรถโดยสาร 22 ไร่

โซน D - ชานชาลาทางรถไฟ 12 ชาน และย่านสับเปลี่ยน 49 ไร่

โซน E - อาคารสำนักงานการรถไฟ ตึกคลังพัสดุ 20 ไร่

อาณาเขต ตั้งแต่ด้านติดถนนพระราม 4 ทอดยาว ผ่านพื้นที่ชานชาลาอาคารกองบังคับการตำรวจรถไฟ สำนักงาน รฟท. ตึกแดง จดถนนพระราม 1 ติดกับสะพานกษัตริย์ศึก ขนาบข้างด้วยคลองผดุงกรุงเกษมและถนนรองเมือง มูลค่าที่ดินกว่า 1.5 หมื่นล้านบาท

บริษัท เอสอาร์ที แอสเสท จำกัด (เอสอาร์ทีเอ)​ ในฐานะบริษัทลูกของ รฟท. ได้นำเสนอการศึกษา “สถานีกรุงเทพ” ว่า มีแนวคิดการพัฒนา “เน้นเป็นพื้นที่สาธารณะให้แก่คนเมือง และเพิ่มศักยภาพพื้นที่เชิงพาณิชย์” และด้วยทำเลที่ตั้งอยู่กลางเมือง ใกล้ทางด่วน มีรถไฟสีแดงส่วนต่อขยาย และ MRT สีน้ำเงิน มีเส้นทางรถท่องเที่ยวรอบเมือง ติดคลองผดุงกรุงเกษม สามารถจะพัฒนาเป็น “ศูนย์คมนาคมกลางเมือง”

โดยการจัดสรรพื้นที่เน้นการพัฒนาแนวดิ่ง สำหรับเชิงพาณิชย์ที่ทันสมัย (State-of-Art Mixed Use) เป็นแหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่เชิงวัฒนธรรมร่วมสมัย แหล่งศูนย์รวมร้านค้า และร้านอาหารที่มีชื่อรอบเกาะรัตนโกสินทร์ ผสมผสานสินค้าแบรนด์เนมระดับโลก รวมถึงศูนย์ประชุมนานาชาติ และอนุรักษ์อาคาร สถาปัตยกรรมเดิม พื้นที่ประวัติศาสตร์เป็นพิพิธภัณฑ์ (Life Museum) เป็นสะพานเชื่อมประวัติศาสตร์สู่ อนาคต ส่วนพื้นที่โดยรอบมีการปรับเป็นพื้นที่สีเขียว พื้นที่กิจกรรม (Green Space)

“อนุรักษ์มรดก คงความเป็นอัตลักษณ์เดิม ปรับปรุงผสมโมเดิร์น เพื่อให้สอดคล้องกับการดำเนินชีวิตสมัยใหม่ เป็นแลนด์มาร์กแห่งใหม่ของกรุงเทพฯ”

@เปิดพิมพ์เขียว “หัวลำโพง” มิกซ์ยูสระดับเวิลด์คลาส ขนาดมหึมา 9 แสนตารางเมตร

สถานีกรุงเทพ มีทำเลที่ตั้งที่โดดเด่นอย่างมาก เนื่องจากฝั่งหนึ่งเป็นย่านเมืองเก่า ไชน่าทาวน์ และอยู่ไม่ห่างจากรอบเกาะรัตนโกสินทร์ กับอีกฝั่งเป็นศูนย์กลางธุรกิจ หรือ CBD แนวคิดการพัฒนาจึงออกมาในรูปแบบการผสมผสานระหว่างอัตลักษณ์เมืองเก่ากับความทันสมัย ชื่อ “Hualampong Heritage Complex” โดยอาคารโดมสถานีหัวลำโพงด้านหน้าจะอนุรักษ์ไว้เพื่อรำลึกประวัติศาสตร์ของกิจการรถไฟไทยในอดีต

มีพื้นที่พัฒนารวมประมาณ 900,000 ตารางเมตร ประกอบด้วย เฟสแรก ปรับปรุงอาคารโดมสถานีกรุงเทพ พื้นที่ประมาณ 25,000 ตารางเมตร ซึ่งจะมีการบูรณะโดยคงสถาปัตยกรรมเดิมและพัฒนาโถงด้านในเป็นพื้นที่สำหรับร้านค้าแบรนด์เนม พิพิธภัณฑ์รถไฟ

พัฒนาพื้นที่ส่วนถัดไปผุดอาคารสูง เป็นสำนักงาน ซึ่งการออกแบบตึกนี้ได้แรงบันดาลใจจาก...โลโก้ ของ รฟท.ที่มีลักษณะเป็นปีกนกโอบรอบตึก โดยมีพื้นที่รวม 130,000 ตารางเมตร

พัฒนาพื้นที่ติดกับคลองผดุงกรุงเกษม เป็น Promenade ประมาณ 5 ชั้น พื้นที่ประมาณ 110,000 ตารางเมตร มีร้านค้าและสำนักงาน และมีลานกิจกรรม และทางลงท่าเรือด้วย เพื่อใช้สำหรับการท่องเที่ยวทางน้ำรูปแบบใหม่ๆ

และมีอาคารส่วนของศูนย์ประชุม ขนาดพื้นที่ 55,000 ตารางเมตร และอาคารเป็นโรงแรม Service Residence พื้นที่ 60,000 ตารางเมตร

ส่วนเฟส 2 จะเป็นการพัฒนา ส่วนทางรถไฟและย่านสีเปลี่ยน เป็นอาคารสูงอีก 4 หลัง พื้นที่รวม 490,000 ตารางเมตร พัฒนาสำนักงาน หรือโรงแรม

สำหรับที่ทำการสำนักงานของการรถไฟฯ และตึกแดง ตึกคลังพัสดุ ในปัจจุบันมีพื้นที่รวมประมาณ 30,000 ตารางเมตร เป็นอาคารอนุรักษ์ คงสถาปัตยกรรมเดิม จะไม่มีการเปลี่ยนแปลง โดยจะบูรณะเป็นร้านค้า และโรงแรมระดับ 6 ดาวเหมือนในยุโรป

หลังจากนี้จะจ้างที่ปรึกษาเพื่อจัดทำแผนแม่บท และที่ปรึกษาออกแบบเพื่อลงรายละเอียด รูปแบบ มูลค่าโครงการที่เกิดประโยชน์สูงสุด

@เร่งไทม์ไลน์ ศึกษาออกแบบ ตั้งเป้าเปิดประมูล ต.ค. 65

สำหรับ Action Plan แนวทางการพัฒนาพื้นที่ ประกอบด้วยการวางแบบแนวคิดการพัฒนาเบื้องต้น ช่วงเดือน ก.ย.-พ.ย. 65, จัดทำแผนแม่บท (ระยะสั้น-ระยะยาว) เสนอคมนาคม เพื่อคัดเลือกที่ปรึกษาด้านแผนแม่บทและที่ปรึกษาออกแบบ เดือน ธ.ค. 64-มิ.ย. 65

สรุปแผนปฏิบัติการและรายละเอียดการพัฒนาและมูลค่าการลงทุน โครงสร้างการลงทุน เสนอขออนุมัติ เดือน ก.ค.-ก.ย. 65, กระบวนการสรรหาเอกชน และเจรจาสัญญาภายใต้โครงสร้างการลงทุน เดือนต.ค. 65-ก.พ. 66 จากนั้นเป็นช่วงการส่งมอบพื้นที่ก่อสร้าง

@เร่งแก้ “สีผังเมือง” อุปสรรคผุดตึกสูง

การพัฒนาพื้นที่สถานีกรุงเทพยังมีปัญหา อุปสรรค ที่ต้องเร่งแก้ไข ในประเด็นผังเมืองกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2556 ที่ระบุว่าสถานีหัวลำโพงผังที่ดินเป็นสีน้ำเงิน เป็นสถานที่ราชการ ดังนั้นภายใต้นโยบายการจัดประโยชน์ที่ดินต้องสอดคล้องกับการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อก่อประโยชน์สูงสุดเชิงพาณิชย์ และการพิจารณาปรับผังเป็นสีแดงตามพื้นที่โดยรอบเป็นสิ่งจำเป็นต่อรูปแบบการพัฒนา และจูงใจเอกชนเข้าร่วมลงทุน

รฟท.ต้องไปดำเนินการเปลี่ยนผังสีเพื่อก่อสร้างตึกสูง รวมถึงการยุติการเดินรถไฟเข้าสถานีหัวลำโพง เพื่อจัดเตรียมพื้นที่ส่งมอบให้เอกชนที่จะเข้ามาพัฒนา ขณะที่ยังมีข้อกังวลเรื่องการจัดระเบียบชุมชน สองข้างทางรถไฟ และเมื่อนักลงทุนที่จะเข้ามาแล้วจะมีกรณีรื้อ...ปรับ เปลี่ยนแบบ มีการทุบทำลายสถาปัตยกรรม ที่ควรอนุรักษ์ของสถานีหัวลำโพงหรือไม่!!!
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44636
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 16/11/2021 3:50 pm    Post subject: Reply with quote

ผู้ว่าฯกทม.ตรวจงานปรับภูมิทัศน์คลองผดุงฯโซนหัวลำโพง คาดแล้วเสร็จมี.ค.65
เดลินิวส์ 16 พฤศจิกายน 2564 14:45 น.
ทั่วไทย-กทม.

ผู้ว่าฯกทม.ลงพื้นที่ตรวจความคืบหน้าโครงการปรับปรุงภูมิทัศน์บริเวณริมคลองผดุงกรุงเกษม นำร่องโซนหัวลำโพง คาดแล้วเสร็จมี.ค.65

Click on the image for full size

เมื่อวันที่ 16 พ.ย.  พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าฯกทม. ลงพื้นที่ตรวจความคืบหน้าโครงการปรับปรุงภูมิทัศน์บริเวณริมคลองผดุงกรุงเกษม โดยมีคณะผู้บริหารกทม. สำนักการโยธา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมลงพื้นที่ ณ บริเวณถนนกรุงเกษม จุดก่อสร้างปรับปรุงท่าน้ำ (ท่าน้ำที่ 1) เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย จากนั้นผู้ว่าฯกทม.และคณะตรวจเยี่ยมโครงการก่อสร้างจากจุดก่อสร้างปรับปรุงท่าน้ำ (ท่าน้ำที่ 1) ไปถึงสะพานเจริญสวัสดิ์

Click on the image for full size

ผู้ว่าฯกทม. กล่าวว่า วันนี้ได้มาดูความคืบหน้าการดำเนินโครงการปรับปรุงภูมิทัศน์บริเวณริมคลองผดุงกรุงเกษม โซนหัวลำโพง โดยดำเนินการทั้งสองฝั่งคลอง ซึ่งในการพัฒนาปรับปรุงภูมิทัศน์นั้น จำเป็นจะต้องมีการรื้อย้ายต้นไม้บางส่วนออก โดยมีรุกขกรช่วยดูแลการล้อมย้ายไปดูแล และอนุบาลตามหลักวิชาการ จากนั้นจะนำไปปลูกในพื้นที่อื่นที่เหมาะสมต่อไป อย่างไรก็ดี ในการพัฒนาปรับปรุงภูมิทัศน์คลองผดุงกรุงเกษมนั้น ได้รับความร่วมมือจากหลายหน่วยงานและดำเนินการควบคู่กับการดูแลสภาพแวดล้อมอื่นๆ ด้วย เช่น ความสวยงามริมคลอง ความสะอาดของน้ำในคลอง การใช้ประโยชน์ในพื้นที่ การเพิ่มพื้นที่สีเขียว เพื่อให้เกิดความร่มรื่นและสวยงาม กำหนดแล้วเสร็จในเดือน มี.ค. 65 สำหรับฝั่งหัวลำโพงคาดว่าจะแล้วเสร็จในเดือน ธ.ค. 64 พร้อมกับการปรับปรุงคลองช่องนนทรีช่วงที่ 2 สามารถเปิดบางส่วนได้ก่อนปีใหม่หรือประมาณวันที่ 25 ธ.ค. 64

สำหรับโครงการปรับปรุงภูมิทัศน์คลองผดุงกรุงเกษมฯ ระยะทางรวม 4,480 ม. แบ่งเป็น 6 โซน ได้แก่ โซน 1 ตลาดน้อย ระยะทาง 680 ม., โซน 2 หัวลำโพง ระยะทาง 1,250 ม., โซน 3 โบเบ๊ ระยะทาง 450 ม., โซน 4 นางเลิ้ง ระยะทาง 700 ม., โซน 5 สถานที่ราชการ ระยะทาง 700 ม. และโซน 6 เทเวศร์ ระยะทาง 700 ม. ซึ่งในระยะแรกเป็นการดำเนินการนำร่องโครงการปรับปรุงภูมิทัศน์คลองผดุงกรุงเกษม โซนที่ 2 หัวลำโพง (ช่วงจากสะพานเจริญสวัสดิ์ถึงสะพานกษัตริย์ศึก) ปัจจุบันอยู่ระหว่างดำเนินการ วันเริ่มสัญญา 1 ต.ค. 64 วันสิ้นสุดสัญญา 29 มี.ค. 65 ระยะเวลาก่อสร้าง 180 วัน

Click on the image for full size

โดยมีรายละเอียดการดำเนินการ ได้แก่ ความกว้างทางเท้าเฉลี่ยฝั่งถนนกรุงเกษม ประมาณ 8-10 ม. และฝั่งถนนเลียบทางรถไฟ ประมาณ 5 ม. ความยาวตามแนวคลองช่วงที่ปรับปรุง 1,250 ม. เบื้องต้นจะดำเนินการปรับปรุง ดังนี้
1. ปรับปรุงทางเท้า เนื้อที่ประมาณ 15,000 ตร.ม.
2. ปรับปรุงท่าน้ำจำนวน 4 แห่ง
3. ปรับปรุงคันหินยาว 2,500 ม.
4. ปรับปรุงโคมไฟส่องสว่างถนนและทางเท้า ตลอดช่วงโครงการ
5. ปรับปรุงโคมไฟผนังคลอง ตลอดช่วงโครงการ
6. งานเพิ่มพื้นที่สีเขียว
7. งานภูมิสถาปัตย์ และ
8. ปรับปรุงฝาบ่อพักท่อระบายน้ำ

ส่วนแผนงานที่เร่งรัดให้แล้วเสร็จภายในสิ้นปีนี้ ได้แก่ งานปรับปรุงทางเท้า ตั้งแต่สะพานเจริญสวัสดิ์ ถึงสะพานนพวงศ์ (ฝั่งสถานีรถไฟหัวลำโพง) แล้วเสร็จ – ท่าน้ำแห่งที่ 1 แล้วเสร็จ ขณะนี้ได้ดำเนินการรื้อถอนราวกันตกเดิม รื้อคันหินและทางเท้าเดิม สร้างคันหิน และทางเท้าใหม่ ทุบรื้อพื้นที่เท้าเดิม สร้างพื้นฐานทางเท้าใหม่ ย้ายเสาไฟฟ้าส่องสว่างเดิม และเตรียมงานสร้างท่าน้ำ ผลงานตามแผนร้อยละ 18 ทาได้ร้อยละ 21 เร็วกว่าแผนร้อยละ 3 (ข้อมูล ณ วันที่ 15 พ.ย. 64).


----------


นับถอยหลัง ปิดตำนาน 105 ปี “สถานีรถไฟกรุงเทพ” (หัวลำโพง) สถานีรถไฟหลักที่สำคัญที่สุดของไทย
เผยแพร่: 16 พ.ย. 2564 21:26 ปรับปรุง: 16 พ.ย. 2564 21:26 โดย: ผู้จัดการออนไลน์

Click on the image for full size

เตรียมนับเวลาถอยหลัง สู่การปิดตำนาน "สถานีรถไฟกรุงเทพ" หรือที่เราเรียกกันว่า "หัวลำโพง" สถานีรถไฟหลักที่สำคัญที่สุดในประเทศ ที่เปิดบริการมาเนิ่นนานถึง 105 ปี ที่พร้อมยุติบทบาทลงในสิ้นปีนี้ และใช้สถานีกลางบางซื่อเป็นสถานีสุดท้ายหรือเป็นสถานีต้นทางและปลายทางแทน

ในวันนี้สถานีรถไฟกรุงเทพกำลังจะเข้าสู่การเปลี่ยนแปลง จากสถานีรถไฟของการเดินทางทั้งเป็นสถานีเริ่มต้นและสถานีปลายทาง รวมถึงพื้นที่ย่านหัวลำโพงทั้งหมดมาพัฒนาปรับโฉมสู่คอมมูนิตี้มอลล์แบบใหม่หรือศูนย์กลางแหล่งชอปปิ้ง โรงแรม ภายใต้แนวคิด ยังคงความเป็นอาคารอนุรักษ์ ผสมผสาน

Click on the image for full size

แต่เดิม “สถานีรถไฟกรุงเทพ” หรือที่นิยมเรียกกันว่า “สถานีรถไฟหัวลำโพง” โดยคำว่า “หัวลำโพง” สันนิษฐานว่าตั้งชื่อตามคลองและทุ่งที่มีฝูงวัวที่วิ่งกันคึกคัก ที่เรียกว่า ทุ่งวัวลำพอง และได้เพี้ยนเสียงมาเป็น หัวลำโพง บ้างก็สันนิษฐานว่าเป็นชื่อต้นไม้ชนิดหนึ่งคือ ต้นลำโพง ซึ่งเคยมีมากในบริเวณนี้

Click on the image for full size

ความเป็นมาของสถานีแห่งนี้เริ่มสร้างในสมัย รัชกาลที่ ๕ ในปี พ.ศ. 2453 สร้างเสร็จและเริ่มใช้งาน วันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2459 ในรัชสมัยรัชกาลที่ ๖ สถานีรถไฟหัวลำโพง เดิมเป็นสถานีที่ให้บริการทั้งด้านการขนส่งสินค้า และขนส่งมวลชน ต่อมาการขยายตัวในด้านการโดยสารและขนส่งสินค้ามีมากขึ้น แต่ด้วยพื้นที่อันจำกัดเพียง 120 ไร่ จึงทำให้ต้องย้ายกิจการขนส่งสินค้าไปอยู่ที่ย่านสินค้าพหลโยธิน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2503 และทำการปรับปรุงสถานีรถไฟหัวลำโพงให้เป็นสถานีรถไฟสำหรับบริการด้านขนส่งมวลชนเพียงอย่างเดียว เพื่อสามารถรองรับผู้โดยสารจากทั่วทุกสารทิศของประเทศ

Click on the image for full size

ตัวสถานีแบ่งเป็นสองส่วนหลัก ได้แก่ อาคารมุขหน้า มีลักษณะเหมือนระเบียงยาว และอาคารโถงสถานีเป็นอาคารหลังคาโค้งขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมแบบคลาสสิก คือ เป็นงานเลียนแบบสถาปัตยกรรมโบราณของกรีก - โรมัน จุดเด่นของสถานีหัวลำโพงอีกอย่างหนึ่งคือ กระจกสีที่ช่องระบายอากาศ ทั้งด้านหน้าและด้านหลังซึ่งประดับไว้อย่างผสมผสานกลมกลืนกับตัวอาคาร เช่นเดียวกับนาฬิกาบอกเวลาซึ่งติดตั้งไว้กลางส่วนโค้งของอาคารด้านในและด้านนอก โดยเป็นนาฬิกาที่สั่งทำขึ้นพิเศษเป็นการเฉพาะ ไม่ระบุชื่อบริษัทผู้ผลิตเหมือนนาฬิกาทั่วๆ ไป ซึ่งถือเป็นเอกลักษณ์สำคัญของสถานีนี้ โดยจะเป็นส่วนที่ยังคงอนุรักษ์ไว้ ส่วนพื้นที่ด้านในโถงสถานีจะมีการปรับปรุงให้เป็นโมเดิร์นมากขึ้น

Click on the image for full size

สำหรับแนวทางรถไฟ จะมีการจัดระเบียบใหม่ให้มีความสะอาดสวยงาม และทันสมัย เป็นพื้นที่ออกกำลังกาย สำหรับประชาชนที่อยู่สองข้างทาง จะต้องจัดระเบียบเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาบุกรุกซ้ำซาก โดยเน้นย้ำให้จัดสรรพื้นที่ให้ประชาชนสามารถทำมาค้าขายได้ด้วย

ด้วยทำเลของสถานีรถไฟกรุงเทพมีที่ตั้งที่โดดเด่นอย่างมาก เนื่องจากเป็นทั้งย่านเมืองเก่า ไชน่าทาวน์ และอยู่ไม่ห่างจากรอบเกาะรัตนโกสินทร์ กับอีกฝั่งเป็นศูนย์กลางธุรกิจ จึงพัฒนาออกมาในรูปแบบการผสมผสานระหว่างความเป็นเมืองเก่ากับความทันสมัย ภายใต้ชื่อ
“Hualampong Heritage Complex” โดยอาคารโดมสถานีหัวลำโพงด้านหน้าจะอนุรักษ์ไว้เพื่อรำลึกประวัติศาสตร์ของกิจการรถไฟไทยในอดีต

Click on the image for full size

Click on the image for full size

โดยในเฟสแรกจะมีการปรับปรุงอาคารโดมสถานีกรุงเทพ พื้นที่ประมาณ 25,000 ตารางเมตร ซึ่งจะมีการบูรณะโดยคงสถาปัตยกรรมเดิมและพัฒนาโถงด้านในเป็นพื้นที่สำหรับร้านค้าแบรนด์เนม พิพิธภัณฑ์รถไฟ ส่วนพัฒนาพื้นที่ส่วนถัดไป เป็นอาคารสำนักงาน ลานกิจกรรม และทางลงท่าเรือ เพื่อใช้สำหรับการท่องเที่ยวทางน้ำรูปแบบใหม่ๆ

Click on the image for full size

นอกจากนี้หากใครไปเก็บภาพความทรงจำกับสถานีรถไฟแห่งนี้ ก็มีอีกหนุ่งจุดสำคัญซึ่งอยู่ที่ด้านหน้าสถานีมีสวนหย่อมและน้ำพุสำหรับประชาชน เป็นอนุสาวรีย์ “ช้างสามเศียร”

มีพระบรมรูปของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แกะสลักเป็นภาพนูนสูงประดิษฐานอยู่ด้านบน

Click on the image for full size

Click on the image for full size

หลังจากที่สถานีรถไฟเก่าแก่ที่สุดของไทยยุติบทบาทลง เราอาจไม่มีโอกาสได้เข้ามาสัมผัสบรรยากาศของสถานที่แห่งนี้ ในฐานะสถานีต้นทางและปลายทางกรุงเทพอีกต่อไปแล้ว จะเหลือเพียงเป็นความทรงจำของผู้คนที่ชื่นชอบหลงใหลในเสน่ห์การเดินทางของรถไฟ และหากใครอยากไปเก็บบรรยากาศความทรงจำดีๆ ก็ลองหาโอกาสไปเยี่ยมเยือนกันได้


----------


ปิดตำนาน 105 ปี สถานีรถไฟ “หัวลำโพง” | เจาะข่าวดัง 16/11/64 เดลินิวส์
Nov 16, 2021
Dailynews Live-TH


https://www.youtube.com/watch?v=3syblYHsjpQ


รฟท.แจงยิบหลังโดนโซเชียลกังขาข่าวลือรื้อ"หัวลำโพง"ประวัติศาสตร์รถไฟไทย | TOP ข่าวเที่ยง | TOP NEWS
Nov 16, 2021
TOP NEWS


https://www.youtube.com/watch?v=EsO9errVcEU
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42749
Location: NECTEC

PostPosted: 17/11/2021 12:07 am    Post subject: Reply with quote

"อำลาหัวลำโพง ปิดฉาก 105 ปี "
สิ้นเดือนพฤศจิกายนนี้ จะเป็นเดือนสุดท้ายที่ขบวนรถไฟจากทุกสารทิศทั้งระยะใกล้และไกล ที่เคยเข้า-ออกสถานีรถไฟกรุงเทพ หรือหัวลำโพง ในการเป็นสถานีต้นทางและปลายทาง โดยจะย้ายไปสถานีกลางบางซื่อ ซึ่งเป็นศูนย์กลางการเดินทางด้วยระบบรางแห่งใหม่ของประเทศไทย
https://www.facebook.com/kittima.kesjamras.7/posts/6389952677713581

ย้อนรอย105 ปี สถานีหัวลำโพง สู่สถานีกลางบางซื่อ
หน้าอสังหาริมทรัพย์
ฐานเศรษฐกิจดิจิทัล |
วันจันทร์ ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 เวลา 18:23 น.

ย้อนรอย105 ปี หัวลำโพงสู่สถานีกลางบางซื่อ การรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) เตรียมลดบทบาท พลิกโฉม พัฒนาเมือง มิกซ์ยูส ส่งไม้ต่อ การเดินรถสู่ศูนย์กลางการเดินทางทางราง ทันสมัยใหญ่ที่สุดในอาเซียน



หลังทำหน้าที่ให้บริการรับส่งผู้โดยสารมานาน105ปี ถึงเวลาที่ สถานีรถไฟกรุงเทพ หรือหัวลำโพง ของการรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) มีอันต้องยุติบทบาทลง ภายในปลายปี 2564พร้อม ส่งไม้ต่อล่องขบวนรถเข้าสู่สถานีกลางกลางบางซื่อ ศูนย์กลางการเดินทางทางรางแห่งใหม่ทันสมัยและใหญ่ที่สุดในอาเซียนส่งผลให้ สถานีประวัติศาสตร์เหลือไว้เพียงสัญลักษณ์ กับความทรงจำอย่างโถงหัวลำโพง อาคารบริหารตลอดจนหมุดร.5 ส่วนพื้นที่โดยรอบ120ไร่ มีเป้าหมายแปลงโฉมให้เป็นเมืองมิกซ์ยูสทันสมัยกลางใจเมือง มีอาณาบริเวณครอบคลุมทิศเหนือ จรดคลองมหานาค ทิศใต้ จรดถนนพระราม 4 ทิศตะวันออก จรดถนนรองเมือง ทิศใต้ จรดคลองผดุงกรุงเกษม


สถานีหัวลำโพง เริ่มก่อสร้างในปี 2453 ปลายสมัยรัชกาลที่ 5 และ เปิดใช้บริการอย่างเป็นทางการ วันที่ 25มิถุนายน 2459 โดยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จ ทรงกดปุ่มสัญญาณไฟฟ้าให้รถไฟขบวนแรกแล่นเข้าสู่สถานี

การก่อสร้างออกแบบโดดเด่นด้วยสถาปัตยกรรม โดมสไตล์อิตาเลียน ผสมผสานศิลปะยุคเรอเนสซองคล้ายรถไฟเมืองแฟรงค์เฟิร์ตในประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน อีกทั้งวัสดุ สำเร็จรูป ลวดลายประดับแทรกไว้เป็นศิลปะในการก่อสร้างอันวิจิตร วิจิตรสวยงามมาก บันไดและเสาอาคารบริเวณทางขึ้นที่ทำการกองโดยสาร หรือโรงแรมราชธานีเดิมเป็นหินอ่อน

โดยเฉพาะเพดานเป็นไม้สักสลักลายนูน ซึ่งหาดูได้ยาก จุดเด่นของสถานีกรุงเทพอีกอย่างหนึ่งคือ กระจกสีที่ช่องระบายอากาศ ทั้งด้านหน้าและด้านหลัง ติดตั้งไว้อย่างผสมผสานกลมกลืนกับตัวอาคารเช่นเดียวกับนาฬิกาบอกเวลาที่มีอายุเก่าแก่เท่า กับตัวสถานี ติดตั้งไว้กึ่งกลางยอดโดมสถานี เป็นนาฬิกาที่สั่งทำพิเศษเส้นผ่าศูนย์กลาง 160 เซนติเมตร ควบคุมด้วยไฟฟ้าระบบดี.ซี.จากห้องชุมสายเป็นเครื่องบอกเวลาแก่ผู้สัญจรผ่านไป-มา และผู้ใช้บริการที่สถานีกรุงเทพจนถึงปัจจุบัน




บริเวณด้านหน้าสถานีมีสวนหย่อมและน้ำพุสำหรับประชาชนนั่งพักผ่อน ข้าราชการรถไฟได้รวบรวมทุนทรัพย์เป็นมูลค่า 9,150บาท จัดสร้างอนุสาวรีย์น้อมเกล้าฯ อุทิศส่วนกุศลถวายแด่พระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงอนุสาวรีย์ที่ว่านี้เป็นรูปมีพระบรมฉายาลักษณ์ด้านข้างแบบลายนูนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวประดิษฐานอยู่สถานีกรุงเทพใช้เป็นที่รับ-ส่ง ทั้งผู้โดยสารและสินค้า

หาก ยืนอยู่บริเวณด้านหน้าสถานีและหันหน้าเข้าสู่สถานีหลังคารูปครึ่งวงกลมจะเป็นส่วนให้บริการแก่ผู้โดยสาร พื้นที่ด้านขวามือเป็นที่ตั้งของโรงแรมราชธานี ซึ่งปัจจุบันนี้เป็นที่ทำการกองโดยสาร และด้านซ้ายมือจะเป็นที่ทำการรับ-ส่งสินค้า ซึ่งปัจจุบันเป็นจุดจอดรถแท๊กซี่ฯลฯ

สถานีกรุงเทพ หรือหัวลำโพงกลายเป็นสถานีเก่าแก่คู่บ้านคู่เมืองมีขบวนรถเข้า-ออก ประมาณ 200 ขบวน มีผู้โดยสารเดินทางเข้านับหมื่นคนโดยเฉพาะในช่วงวันหยุดนักขัตฤกษ์ เทศกาลปีใหม่ สงกรานต์ เข้าพรรษา ตรุษจีนจะมีผู้คนหลั่งไหลมาใช้บริการบริเวณสถานีแห่งนี้นับแสนคนจนสถานที่อันกว้างขวางโอ่โถงของสถานีแห่งนี้ดูคับแคบลงไปเลยทีเดียว แต่นับนี้คงเหลือไว้แต่ความทรงจำเท่านั้น


Last edited by Wisarut on 19/11/2021 9:56 am; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42749
Location: NECTEC

PostPosted: 17/11/2021 12:42 am    Post subject: Reply with quote

กระทรวงคมนาคมออกหนังสือชี้แจงกรณี "ไม่รื้อสถานีหัวลำโพง"
ดูแล้วจะเป็นคำตอบ ที่ไม่ตรงกับคำถาม
สถานีรถไฟกรุงเทพ(หัวลำโพง) เป็นสถานีรถไฟแห่งประวัติศาสตร์ที่ล้นเกล้ารัชกาลที่ ๕ ทรงมีพระอัจฉริยภาพให้สร้างขึ้นเพื่อให้ประชาชนได้ใช้ประโยชน์สำหรับโดยสารรถไฟไปมาหาสู่กัน
จึงจำเป็นต้องมีขบวนรถไฟสำหรับให้บริการกับประชาชน ด้วย หากไม่มีขบวนรถไฟให้บริการแล้าจะมีคุณค่าได้อย่างไร.....
https://www.facebook.com/thaisrut/posts/5101185956576419
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44636
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 17/11/2021 8:28 pm    Post subject: Reply with quote

23 ธันวา บอกลาหัวลำโพง รฟท.หยุดบริการโยกใช้“สถานีกลางบางซื่อ”
กรุงเทพธุรกิจ 17 พ.ย. 2564 เวลา 20:24 น.

23 ธันวา บอกลาหัวลำโพง รฟท.หยุดบริการโยกใช้“สถานีกลางบางซื่อ”
อาคารรูปโดมสไตล์อิตาเลียนผสมผสานกับศิลปะยุคเรอเนสซองคือสถานีรถไฟกรุงเทพ หรือเรียกกันทั่วไปว่า “หัวลำโพง” เริ่มก่อสร้างในปลายสมัยรัชกาลที่ 5

ในปี พ.ศ.2453 การก่อสร้างแล้วเสร็จ และเปิดใช้บริการอย่างเป็นทางการโดยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จฯ ทรงกระทำพิธีกดปุ่มสัญญญาณไฟฟ้าให้รถไฟขบวนแรกเดินเข้าสู่สถานีกรุงเทพ เมื่อวันที่ 25 มิ.ย. พ.ศ.2459 จากวันที่หัวลำโพงทำงานรับใช้คนไทยมานานและกำลังจะหมดภาระกิจในเร็ววันนี้

รายงานข่าวจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ระบุว่า ตามนโยบายของกระทรวงคมนาคม ในวันที่ 23 ธ.ค.นี้ ร.ฟ.ท. จะหยุดให้บริการเดินรถไฟเข้าสถานีกรุงเทพ(หัวลำโพง) ปรับให้บริการสถานีสุดท้ายที่สถานีกลางบางซื่อ และนำสถานีกรุงเทพมาพัฒนาพื้นที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

ส่งผลให้ขบวนรถไฟชานเมือง รถไฟทางไกล ในปัจจุบัน จำนวน 155 ขบวน ในวันที่ 23 ธ.ค. 2564 จะปรับลดการเดินรถเข้าสถานีหัวลำโพงเหลือ 22 ขบวนต่อวัน


โดยขบวนรถไฟสายเหนือ และสายอีสาน ปรับตารางเดินรถใหม่ รวมทั้งหมด 74 ขบวน ประกอบด้วย รถไฟทางไกลเชิงพาณิชย์ สายเหนือ ต้นทางเชียงใหม่, สายอีสานต้นทางหนองคาย และอุบลราชธานี จะวิ่งบนโครงสร้างสายสีแดงเข้าสถานีกลางบางซื่อ รวม 42 ขบวนต่อวัน ส่วนรถไฟชานเมือง สายเหนือ/สายอีสาน จำนวน 14 ขบวนต่อวัน ผู้โดยสารเปลี่ยนให้ใช้สถานีรังสิต และสถานีดอนเมืองเป็นจุดเชื่อมต่อกับรถไฟสายสีแดงเพื่อเข้าสู่สถานีกลางบางซื่อ


นอกจากนี้ รถไฟชานเมือง สายเหนือ จำนวน 2 ขบวนต่อวัน วิ่งบนโครงสร้างรถไฟชานเมืองสายสีแดงสู่สถานีกลางบางซื่อ และรถไฟชานเมือง สายเหนือ/สายอีสาน จำนวน 6 ขบวนต่อวัน วิ่งบนโครงสร้างรถไฟชานเมืองสายสีแดงจากรังสิต-วัดเสมียนนารี จากนั้นจะใช้ทางรถไฟเดิมวิ่งเข้าสถานีบางซื่อเดิม และเข้าสู่สถานีหัวลำโพง เนื่องจากเป็นขบวนที่มีผู้โดยสารจำนวนมาก ร.ฟ.ท.จึงจะทยอยปรับการเดินรถต่อไป

นอกจากนี้จะมีขบวนรถวิ่ง Loop เป็นฟีดเดอร์ สายสีแดงเส้นทางดอนเมือง-รังสิต-บางปะอิน-อยุธยา จำนวน 10 ขบวนต่อวัน มีความถี่ 1 ชั่วโมงต่อขบวน รองรับการยกเลิกเดินรถไฟบางขบวน

ส่วนรถไฟสายใต้ มีสถานีตลิ่งชันเป็นสถานีเปลี่ยนถ่ายผู้โดยสาร มีจำนวน 62 ขบวน อาทิ ขบวนรถเร็ว รถด่วน รถด่วนพิเศษ จำนวน 24 ขบวนต่อวัน จะใช้เส้นทางรถไฟเดิมวิ่งเข้าสถานีบางซื่อเดิม, รถไฟชานเมือง จากสุพรรณบุรี และนครปฐม จำนวน 2 ขบวนต่อวัน วิ่งเข้าสถานีหัวลำโพง

รถไฟชานเมือง เข้าสถานีธนบุรี สามารถใช้สถานีตลิ่งชันของสายสีแดงเปลี่ยนถ่ายผู้โดยสารได้ มีจำนวน 2 ขบวนต่อวัน และขบวนรถเดิมอีก 10 ขบวนและมีขบวนรถวิ่ง Loop เส้นทางสถานีธนบุรี-ศาลายา-มหิดล-นครปฐม เป็นฟีดเดอร์ สายสีแดง จำนวน 24 ขบวนต่อวัน


ด้านรถไฟสายตะวันออก มีการยกเลิก 7 ขบวนที่เดินรถจากสถานีบางซื่อเข้าพื้นที่ชั้นใน มีการปรับตารางเดินรถ 19 ขบวน โดยรถไฟธรรมดา ชานเมือง 14 ขบวนต่อวัน เข้าสถานีหัวลำโพงเนื่องจากมีผู้โดยสารจำนวนมาก และรถไฟธรรมดา ชานเมือง จำนวน 5 ขบวน ปรับวิ่งถึงสถานีมักกะสัน เป็นจุดเชื่อมต่อกับแอร์พอร์ตเรลลิงก์


----------


รื้อหัวลำโพงจริง ไม่ใช่เฟคนิวส์ "ฐาน" ไล่ศูนย์ต่อต้านเฟคนิวส์ทบทวนตัวเอง
หน้าแรก
การเมือง
ฐานเศรษฐกิจดิจิทัล |17 พ.ย. 2564 เวลา 21:40 น.

Click on the image for full size

รื้อหัวลำโพงจริง ไม่ใช่เฟคนิวส์ "ฐานเศรษฐกิจ " ไล่ศูนย์ต่อต้านเฟคนิวส์ทบทวนตัวเอง ศักดิ์สยาม ระบุชัด ให้ พัฒนาพื้นที่ให้เป็นศูนย์คมนาคมกลางเมือง -จัดสรรพื้นที่บางส่วนสำหรับเชิงพาณิชย์ให้ทันสมัย

นายบากบั่น บุญเลิศ บรรณาธิการอำนวยการ หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ กล่าวว่า ศูนย์ต่อต้านเฟคนิวส์ที่นำข่าวพาดหัวหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจระหว่างวันที่ 14-17 พ.ย.2564 พาดหัวข่าว ทุบหัวลำโพงขึ้นตึกสูง*ขุมทองเชื่อมไชน่าทาวน์-ผนึก 4 ศูนย์กลางธุรกิจ เนื้อหาโดยสรุปความว่า

รฟท.เปิดผังพัฒนาหัวลำโพง 5 โซน 120 ไร่ ดันแลนด์มาร์คใหม่ เขตปทุมวันขุมทองกลางเมืองขึ้นตึกสูง มิกซ์ยูส เชื่อมเมืองเก่าไชน่าทาวน์เยาวราชเกาะรัตนโกสินทร์กับซีบีดีศูนย์ธุรกิจใหม่ สี่พระยา สุรวงศ์ สีลม สาทรแบบไร้รอยต่ออนาคตเมืองคู่แฝดบนนถนนพระราม 4 -พระราม 1

เป็นการรายงานข่าวถึงแนวทางการพัฒนาที่ดินบริเวณหัวลำโพง จะหยุดการเดินรถ ในวันที่23 ธ.ค.นี้ และนำที่ดินบริเวณดังกล่าวมาพัฒนาในเชิงพาณิชย์ ซึ่งปรากฎต่อมาโดยการแถลงของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมมีแผนพัฒนาพื้นที่บริเวณนี้จริง

"ศูนย์ต่อต้านเฟคนิวส์ นำข่าวชิ้นนี้ขึ้นพร้อมบอกว่าเป็นข่าวปลอมไม่ต้องแชร์นั้น ศูนย์ต่อต้านเฟคนิวส์ที่รัฐบาลตั้งขึ้นควรต้องทบทวนการทำหน้าที่ของตัวเองเพราะตรรกะและวิธีคิดวิบัติ และต้องการให้ข่าวสารเป็นไปตามที่ตนเองต้องการอย่างเดียว โดยไม่ฟังความให้รอบด้าน"

ที่ผ่านมา นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ระบุ ถึงแนวทางการพัฒนาพื้นที่สถานีกรุงเทพ (หัวลำโพง) และการพัฒนาตลอดแนวเส้นทางบางซื่อ – หัวลำโพง ว่า เบื้องต้นบริษัท เอสอาร์ที แอสเสท จำกัด ได้วางแนวทางการพัฒนาพื้นที่ให้เป็นศูนย์คมนาคมกลางเมือง

รวมถึงจัดสรรพื้นที่บางส่วนสำหรับเชิงพาณิชย์ให้ทันสมัย พร้อมทั้งมีพื้นที่กิจกรรมสำหรับทุกเพศทุกวัย โดยยังคงความเป็นอัตลักษณ์เดิม สอดคล้องกับความสมัยใหม่ และรูปแบบการดำเนินชีวิต เพื่อนำพื้นที่บริเวณดังกล่าวมาพัฒนาให้เกิดประโยชน์มากที่สุด

ส่วนพื้นที่ริมทางรถไฟ ช่วงสถานีกลางบางซื่อ – สถานีหัวลำโพง ปัจจุบันอยู่ระหว่างการทบทวนแบบโครงการ Missing Link โดยเฉพาะบริเวณสถานีราชวิถี (อยู่บริเวณโรงพยาบาลรามาธิบดี) เพื่อให้เกิดความสะดวกในการเข้าถึงการบริการของโรงพยาบาล

“ได้สั่งการให้รฟท.เร่งพิจารณาแนวทางการหยุดให้บริการรถไฟเข้าสถานีกรุงเทพ (หัวลำโพง) โดยเร็ว เพื่อให้มีความชัดเจนในการเริ่มพัฒนาพื้นที่บริเวณสถานีกรุงเทพหัวลำโพง”

นายศักดิ์สยาม กล่าวต่อว่า สำหรับการศึกษาการพัฒนาพื้นที่หัวลำโพง ปัจจุบันบริษัท เอสอาร์ที แอสเสท จำกัด อยู่ระหว่างพิจารณาการออกแบบที่แตกต่างไปจากเดิม คือ การประกวดแบบการพัฒนาพื้นที่หัวลำโพง โดยให้นักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ (Land Developer) เข้าร่วมการแข่งขัน เพื่อให้เกิดมีแนวความคิดที่หลากหลายมากขึ้น

“ทั้งนี้ บริษัท เอสอาร์ที แอสเสท จำกัด จะเป็นผู้พิจารณาแนวทางการลงทุนของโครงการฯ เพื่อให้การร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชนก่อให้เกิดผลประโยชน์ต่อรฟท.มากที่สุด และดำเนินการตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องคู่ขนานกันไป เพื่อไม่ให้การดำเนินการโครงการล่าช้า”

Click on the image for full size
http://songkhlastation.com/image/than141164.jpg
---------------

ร้องยี้ย้ายรถไฟไปบางซื่อ ขอรถชานเมืองเข้าหัวลำโพง เปิดศึกฐานเศรษฐกิจ-ศูนย์ต้านเฟกนิวส์
เผยแพร่: 18 พ.ย. 2564 04:25 ปรับปรุง: 18 พ.ย. 2564 04:25 โดย: ผู้จัดการออนไลน์

ชาวเน็ตโวยหลังย้ายรถไฟทุกขบวนจากหัวลำโพงไปบางซื่อ ชี้ควรเหลือรถไฟชานเมืองวิ่งเหมือนเดิม หัวลำโพงไปบางซื่อ 2 บาท ราคาถูกกว่าต่อรถสายสีแดง ซัดผลักภาระให้ประชาชน จ่ายค่ารถไฟฟ้าแพงหลายเท่า อีกด้านเปิดศึกฐานเศรษฐกิจ-ศูนย์ต้านข่าวปลอม ปมพาดหัวทุบหัวลำโพงขึ้นตึกสูง

วันนี้ (18 พ.ย.) รายงานข่าวแจ้งว่า ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ประเทศไทย ได้ชี้แจงกรณีที่หนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่งพาดหัวข่าวระบุว่า "ทุบหัวลำโพงขึ้นตึกสูง" กรณีที่การรถไฟแห่งประเทศไทย จะทุบสถานีหัวลำโพง เพื่อสร้างเป็นตึกสูงนั้นเป็นข้อมูลเท็จ เพราะการรถไฟฯ ไม่ได้จะทุกสถานีหัวลำโพงทิ้ง แล้วสร้างเป็นตึกสูงแทนแต่อย่างใด แต่จะย้ายให้รถไฟทุกขบวนปรับเส้นทางให้สิ้นสุดจากสถานีกรุงเทพ (หัวลำโพง) เป็นสถานีปลายทางที่สถานีกลางบางซื่อ ตั้งแต่วันที่ 23 ธ.ค. 2564 ส่วนสถานีหัวลำโพง จะพัฒนาเป็นพื้นที่สาธารณะให้กับคนเมือง และเพิ่มศักยภาพเชิงพาณิชย์ โดยการพัฒนายังคงความเป็นอัตลักษณ์เดิมให้สอดคล้องกับความสมัยใหม่และปรับเข้ากับรูปแบบการดำเนินชีวิตในปัจจุบัน ดังนั้น จะยังคงอนุรักษ์อาคารหัวลำโพงและจุดสำคัญทางประวัติศาสตร์ในบริเวณนี้อย่างครบถ้วน

เรื่องนี้ปรากฎว่า นายบากบั่น บุญเลิศ บรรณาธิการอำนวยการ หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ออกมาชี้แจงผ่าน เว็บไซต์ฐานเศรษฐกิจ ตอบโต้ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ประเทศไทย ว่า เป็นการรายงานข่าวถึงแนวทางการพัฒนาที่ดินบริเวณหัวลำโพง จะหยุดการเดินรถในวันที่ 23 ธ.ค.นี้ และนำที่ดินบริเวณดังกล่าวมาพัฒนาในเชิงพาณิชย์ ซึ่งปรากฎต่อมาโดยการแถลงของ รมว.คมนาคม มีแผนพัฒนาพื้นที่บริเวณนี้จริง ศูนย์ต่อต้านเฟคนิวส์ นำข่าวชิ้นนี้ขึ้นพร้อมบอกว่าเป็นข่าวปลอมไม่ต้องแชร์นั้น ศูนย์ต่อต้านเฟคนิวส์ที่รัฐบาลตั้งขึ้นควรต้องทบทวนการทำหน้าที่ของตัวเองเพราะตรรกะและวิธีคิดวิบัติ และต้องการให้ข่าวสารเป็นไปตามที่ตนเองต้องการอย่างเดียว โดยไม่ฟังความให้รอบด้าน

อีกด้านหนึ่ง มีรายงานว่า จากข่าวที่ระบุว่า การรถไฟแห่งประเทศไทย จะย้ายให้รถไฟทุกขบวนปรับเส้นทางให้สิ้นสุดจากสถานีกรุงเทพ (หัวลำโพง) เป็นสถานีปลายทางที่สถานีกลางบางซื่อ ตั้งแต่วันที่ 23 ธ.ค. 2564 ตามนโยบายของนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม นั้น ได้เกิดกระแสต่อต้านจากโซเชียลฯ ถึงนโยบายดังกล่าว โดยในเฟซบุ๊ก "ทีมพีอาร์การรถไฟแห่งประเทศไทย" มีชาวเน็ตแสดงความคิดเห็นจำนวนมาก อาทิ

- อยากให้รถไฟชานเมือง เข้าถึงหัวลำโพง เพราะราคาถูกกว่าต่อรถสายสีแดง

- ผลักภาระให้ประชาชน ชานเมือง เข้าหัวลำโพง คือ ช่วยประชาชนสุดๆ แล้วค่าใช้จ่าย

- จะให้รถไฟหยุดเข้าหัวลำโพงทุกขบวนน่ะ ได้ถามคนใช้บริการบ้างรึยัง ไม่ใช่เอาแต่ความคิดของพวกระดับสูงที่ไม่เคยใช้บริการมาทำ แล้วปล่อยให้คนที่ใช้บริการเดือดร้อน

- อยากทราบว่าผู้บริหารที่ยื่นข้อเสนอ อ้างว่าพัฒนาให้ดีขึ้นได้รับทราบความเดือดร้อนของประชาชนที่ต้องเพิ่มภาระค่าโดยสารที่มากขึ้นอีกหลายเท่าตัวหรือไม่ ถ้าต้องขึ้นสายสีแดงซึ่งต้องต่อรถเข้าไปในเมืองอีก พิจารณาดีๆ ไม่ใช่เพิ่มภาระให้ประชาชนนะคะ คนสั่งได้ลงมานั่งรถสาธารณะหรือเปล่า รบกวนพิจารณาใหม่เรื่องรถเข้าหัวลำโพงด้วยนะคะ

- ที่หัวลำโพงควรจะมีรถชานเมืองเข้าออกเหมือนเดิมนะครับ

- บอกตามตรงนะ การเข้าหัวลำโพงอะ สะดวก และประหยัดสุดแล้วในการเดินทาง ไม่เข้าใจว่าจะปิดเพื่ออะไร เซ็ง

- ขอให้เป็นแค่ข่าวปลอมจริงนะ อย่าไปแอบสร้างจริงหล่ะ เสด็จท่านก็คงไม่ปลื้ม หัวลำโพงเพื่อคนรากหญ้าสี่ภาค เป็น Unseen เป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยวทุกมุมทั่วโลก ควรมีไว้คู่การรถไฟไทย

- ทางเชื่อมระหว่างบางซื่อ-พญาไท ยังไปไม่ถึงไหนเลย ก็ยังดันทุรังจะย้ายอีก ถามจริง มีผลประโยชน์อื่นแอบแฝงหรือเปล่า คนคิดนโยบายไม่เคยใช้จริง ไปไหนก็มีรถนำขบวน เคยคิดที่จะมาสอบถามความเห็นของประชาชนที่ใช้งานจริง ใช้งานทุกวันบ้างไหม

- จะเป็นพิพิธภัณฑ์ตั้งโชว์และฝุ่นเกาะและเก่าพังหรือจะเป็นพิพิธภัณฑ์ที่มีชีวิต ยังมีรถไฟเข้าออกบ้าง มีขบวนท่องเที่ยว ขบวนรถจักรไอน้ำ

- อยากให้มีรถชานเมืองเข้ากรุงเทพ (หัวลำโพง) จากบางซื่อ ค่ารถไฟ 2 บาท แต่ค่า MRT 42 บาท

- คนทำงานยังต้องโดยสารรถไฟจากชานเมืองเข้ามาที่สถานีกรุงเทพหัวลำโพงอีกมากมาย รถชานเมืองควรมีวิ่งเหมือนเดิม

- คือ ไม่กังวลเรื่องทุบตึก ที่จะไม่ให้รถไฟแม้แต่รถชานเมืองเนี่ยเข้าหัวลำโพงเนี่ย ดูจะใจร้ายไปกับคนทำงานในเมืองไปหน่อย อย่างน้อยส่วนรถชานเมืองให้เข้าหัวลำโพงเพื่อรับส่งให้กับคนที่เดินทางในย่านราชวิถี สามเสน หรือ ส่งไปตามจุดต่างๆ เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับทุกคน

- ผมรับประกันได้เลยว่า มีผู้โดยสารรถชานเมือง ที่ยังเดินทางเข้า-ออก สถานีกรุงเทพ (หัวลำโพง) ออกมาต่อต้านแน่ๆ ครับ เพราะทำให้เดินทางลำบากขึ้น รถไฟฟ้าแพง แถมยังมาไม่ถึง รถเมล์จากบางซื่อ-หัวลำโพงก็นาน รถไฟฟ้าใต้ดินก็อ้อมไกล กว่าจะถึงก็เกิน 30 นาที เรื่องง่ายๆ ผู้ใหญ่ในองค์กร กลับคิดไม่ได้ เมืองนอกเขายังไม่ยกเลิกการเดินรถเลย

- ล็อคจิกแปลกมากค่ะ ไม่ให้รถไฟซึ่งเป็นขนส่งสาธารณะเข้ามาหัวลำโพง ซึ่งเป็นพื้นที่กลางเมือง เพื่อแก้ปัญหาจราจร จริงๆ มันควรสนับสนุนให้มีขนส่งสาธารณะเข้าเมืองมาเยอะๆ จะได้ไม่ต้องใช้รถส่วนตัวมากกว่าไหมคะ เราต้องจัดลำดับความสำคัญของรถบนถนนใหม่นะคะ รถสาธารณะที่ขนคนเยอะๆ ต้องสำคัญกว่ารถส่วนบุคคลค่ะ จะติดสัญญาณไฟของรถไฟบ้างก็ต้องเข้าใจนะคะ

- แล้วจะไม่ให้รถไฟวิ่งเข้าหัวลำโพงซักขบวนเลยหรอครับ ยกเลิกการเดินรถ แล้วเมื่อไหร่จะสร้างส่วนต่อขยายล่ะครับ จากบางซื่อมาหัวลำโพง

- สายตะวันออกจะเริ่มที่ไหน ถ้ามักกะสันจะไปยังไงในเมื่อสถานีไม่มีรถเมล์เข้าถึง

- ตัดระยะแค่บางซื่อทั้งหมด นี่ใช้สมองคิดดีแล้วงั้นเหรอ ไม่ว่าจะเป็นกระทรวงคมนาคมหรือผู้บริหาร รฟท ไม่ได้คิดที่จะทำเพื่อประชาชนจริงๆ สินะ แล้วคนที่ต้องไปแถวสามเสน โรงพยาบาลรามาธิบดี ยมราช จะทำอย่างไร มีขนส่งต่อเนื่องให้เค้าไหม ถ้าไม่มีอะไรให้อย่าหาทำกับความคิดโง่ๆ แบบนี้ ยุคแห่งความล้มเหลวและการคอร์รัปชันจริงๆ มีแต่ทำให้ดิ่งลงเหว ไหนล่ะความภาคภูมิใจที่ชอบพูดถึง ก็ดีแต่อ้างอดีตที่สวยหรูแต่ไม่เคยสำนึกได้จริงๆ ทุเรศและอุบาทว์ที่สุด

- ผู้ว่าฯ กับ รมต. ลองไปนั่งรถไฟชานเมืองตอนเช้าๆ จากอยุธยา แล้วต่อรถเมล์ เข้ามาแถวๆ รพ.รามา กับ ยมราช ให้ผู้โดยสารดูเป็นตัวอย่างหน่อยครับ

- ทำอย่างกับที่สถานีกลางบางซื่อมันมีขนส่งมวลชนครอบคลุมทุกพื้นที่ ไม่นึกถึงหัวอกคนที่ต้องเดินทางไปทำงานตั้งแต่โซนสามเสนถึงหัวลำโพงทุกวันบ้างเลย หรือคนที่ต้องเดินทางไปโรงพยาบาลรามาด้วยรถไฟ อย่างน้อยก็ควรให้รถชานเมืองยังเข้าหัวลำโพงได้เหมือนเดิม อย่าดีแต่ผลักภาระให้ประชาชน

- มันไม่ใช่แค่ปัญหาว่ามีรถต่อจากบางซื่อไหม แต่มันยังมีเรื่องเวลาด้วย คนทำงานที่ต้องนั่งรถชานเมืองจากรอบกรุงเทพ เข้ามาสุดที่บางซื่อ กว่าจะหารถโดยสารอื่นเพื่อไปเส้นทางเดิมได้นี่ต้องใช้เวลาเท่าไหร่ จะไปทำงานกันทันไหม รถไฟฟ้าก็ไม่ได้ผ่านเส้นทางนั้น ถ้าจะลดปัญหาเรื่องการจราจร แค่รถทางไกลไม่เข้าสถานีกรุงเทพ เหลือแต่รถชานเมือง มันก็วินๆกันทั้งสองฝ่าย ทั้งผู้ใช้รถไฟ และรถยนต์นะครับ

- ยกเลิกรถทุกขบวนไม่ให้เข้าสถานีกรุงเทพ ไหนล่ะครับสายสีแดงส่วนต่อขยายไปมหาชัย ทำหรือยัง ไม่ใช่อยู่ด้วนๆ แค่บางซื่อ ที่เหลือก็ตามยถากรรม ทำยังกับระบบขนส่งมวลชนแถวนั้น รถจะเพียงพอให้บริการเนอะ แล้วขบวนรถชานเมือง มีวิธีอะไรรองรับไหมครับ ถ้าท่านผู้ว่าการฯ จะรับลูกท่าน รมต.คมนาคม ยกเลิกกันจริง ๆ ในวันที่ 23 ธันวา นี้ มีบทเรียนจากทางรถไฟสายสงขลามาแล้ว ยังไม่เรียนรู้กันเลยใช่ไหมครับ

อ่านโพสต์ต้นฉบับ คลิกที่นี่
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44636
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 18/11/2021 7:29 am    Post subject: Reply with quote

"สถานีรถไฟหัวลำโพง" แม้จะอาลัย แต่ยังไม่อำลา
By จุดประกาย18 พ.ย. 2564 เวลา 7:00 น.

Click on the image for full size

แม้จะขีดเส้นว่า เดือนพฤศจิกายน 64 สถานีรถไฟกรุงเทพ(หัวลำโพง)จะปิดบริการอย่างเป็นทางการ แต่ด้วยข้อจำกัดหลายอย่าง และบางเส้นทางยังไม่เชื่อมต่อกับสถานีกลางบางซื่อ ในทางปฏิบัติจึงยากที่จะดำเนินการ

การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) มีแผนที่จะพลิกโฉม สถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง) อายุ 105 ปี ให้เป็นย่านการค้าพาณิชยกรรมแห่งใหม่

ศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวในการประชุมติดตามนโยบาย แนวทางการพัฒนาพื้นที่สถานีกรุงเทพ (หัวลำโพง) และแนวทางการพัฒนาตลอดแนวเส้นทางรถไฟ บางซื่อ-หัวลำโพง เมื่อวันที่ 10 พ.ย. 2564 ว่า

“กระทรวงคมนาคม มีนโยบายให้ สถานีกลางบางซื่อ เป็นศูนย์กลางการเดินทางด้วยระบบรางของประเทศไทย ส่งผลให้ สถานีกรุงเทพ (หัวลำโพง) ที่ปัจจุบันเป็นศูนย์กลางการเดินทางระบบรางของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ลดบทบาทลง

แต่เนื่องจากพื้นที่ดังกล่าวมีประวัติศาสตร์ยาวนาน ตั้งอยู่ใจกลางเมือง เข้าถึงได้ง่ายด้วยรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน และรถไฟฟ้าสายสีแดง (ในอนาคต) จึงควรนำพื้นที่ดังกล่าวมาพัฒนาให้เกิดประโยชน์มากที่สุด”

Click on the image for full size

“หัวลำโพง” ยังมีรถไฟวิ่งอยู่

นิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) กล่าวว่า นโยบายของ รมว.คมนาคม คือ หลังเปิดสถานีกลางบางซื่อในเดือน พ.ย. 2564 จะปิดให้บริการที่สถานีหัวลำโพง ตามหลักการจะไม่มีรถโดยสารเข้าไปถึงสถานีหัวลำโพงเดือน พ.ย. 2564

แต่เนื่องจากยังมีข้อจำกัดในเรื่องโรงซ่อม การเติมน้ำมันรถจักร ที่ยังต้องเข้ามาที่สถานีหัวลำโพง จะปรับเวลาให้เข้ามาได้ช่วงเวลา 22.00-04.00 น. เพื่อไม่ให้กระทบต่อการจราจรบริเวณจุดตัดกับถนนตามนโยบาย

ในเบื้องต้น รถไฟสายเหนือ สายตะวันออกเฉียงเหนือ และสายใต้ สามารถปรับแผนการเดินรถเข้าสถานีกลางบางซื่อได้ ส่วนเส้นทางสายตะวันออกยังมีปัญหาเล็กน้อย เนื่องจากเส้นทางยังไม่เชื่อมต่อกับสถานีกลางบางซื่อ ประเมินว่ามีผู้โดยสารได้รับผลกระทบประมาณ 3,000 คน/วัน

"สถานีรถไฟหัวลำโพง" แม้จะอาลัย แต่ยังไม่อำลาสถานีรถไฟหัวลำโพง

Click on the image for full size

หยุดให้บริการ 23 ธันวาคม 64

ล่าสุด รฟท. แจ้งว่า วันที่ 23 ธ.ค.นี้ รฟท.จะหยุดให้บริการเดินรถไฟเข้าสถานีกรุงเทพ(หัวลำโพง) จะให้บริการสถานีสุดท้ายที่สถานีกลางบางซื่อ ส่งผลให้ขบวนรถไฟชานเมือง, รถไฟทางไกล 155 ขบวน ในวันที่ 23 ธ.ค. 2564 ปรับลดการเดินรถเข้าสถานีหัวลำโพงเหลือ 22 ขบวนต่อวัน

โดยขบวนรถไฟสายเหนือ, สายอีสาน 74 ขบวน (รถไฟสายเหนือต้นทางเชียงใหม่, สายอีสานต้นทางหนองคาย,อุบลราชธานี) จะวิ่งเข้าสถานีกลางบางซื่อ 42 ขบวนต่อวัน

ส่วนรถไฟชานเมืองสายเหนือ,สายอีสาน 14 ขบวนต่อวัน ให้ผู้โดยสารเปลี่ยนมาใช้สถานีรังสิต,สถานีดอนเมืองเป็นจุดเชื่อมต่อกับรถไฟสายสีแดงเพื่อเข้าสู่สถานีกลางบางซื่อ

ขบวนรถไฟชานเมืองสายเหนือ 2 ขบวนต่อวัน วิ่งบนโครงสร้างสายสีแดงเข้าสู่สถานีกลางบางซื่อ รถไฟชานเมืองสายเหนือ,สายอีสาน 6 ขบวนต่อวัน วิ่งบนโครงสร้างสายสีแดงรังสิต-วัดเสมียนนารี ใช้ทางรถไฟเดิมวิ่งเข้าสถานีบางซื่อเดิมและเข้าสู่สถานีหัวลำโพง

รถไฟสายใต้ มีสถานีตลิ่งชันเป็นสถานีเปลี่ยนถ่ายผู้โดยสาร 62 ขบวน (ขบวนรถเร็ว, รถด่วน, รถด่วนพิเศษ) 24 ขบวนต่อวัน ใช้เส้นทางเดิมวิ่งเข้าสถานีบางซื่อเดิม รถไฟชานเมืองจากสุพรรณบุรีและนครปฐม 2 ขบวนต่อวัน วิ่งเข้าสถานีหัวลำโพง

รถไฟชานเมือง เข้าสถานีธนบุรี ใช้สถานีตลิ่งชันของสายสีแดงเปลี่ยนถ่ายผู้โดยสาร 2 ขบวนต่อวัน และมีขบวนรถวิ่ง Loop เส้นทางสถานีธนบุรี-ศาลายา-มหิดล-นครปฐม 24 ขบวนต่อวัน

รถไฟสายตะวันออก ยกเลิก 7 ขบวนที่เดินรถจากสถานีบางซื่อเข้าพื้นที่ชั้นใน ปรับตารางเดินรถ 19 ขบวน รถไฟธรรมดาชานเมือง 14 ขบวนต่อวันเข้าสถานีหัวลำโพง รถไฟธรรมดาชานเมือง 5 ขบวนต่อวัน ปรับวิ่งถึงสถานีมักกะสัน เป็นจุดเชื่อมต่อกับแอร์พอร์ตเรลลิงก์

Click on the image for full size

เปิดแผนพัฒนาหัวลำโพง

โครงการปรับปรุงสถานีรถไฟหัวลำโพง เป็นแผนดำเนินงานระยะยาวของ รฟท.ที่มุ่งสร้างรายได้จากที่ดินที่มีอยู่เพื่อจัดการกับหนี้ของ รฟท.ที่มีอยู่ถึงหลักแสนล้านบาท

การพลิกฟื้น ‘หัวลำโพง’ จึงเป็นความคาดหวังของหลายๆ ภาคส่วน ไม่ว่า การท่องเที่ยว การพักผ่อนหย่อนใจ การค้าการลงทุน และการอนุรักษ์พื้นที่ทางประวัติศาสตร์ให้คงอยู่ต่อไป โดยมีแนวทางว่า

1.พัฒนาพื้นที่สถานีกรุงเทพ (หัวลำโพง) ให้ รฟท.เร่งพิจารณาหยุดให้บริการรถไฟเข้าสถานีกรุงเทพ(หัวลำโพง)โดยเร็ว เพื่อความชัดเจนในการเริ่มพัฒนาพื้นที่บริเวณสถานีกรุงเทพ (หัวลำโพง)

2.ศึกษาการพัฒนาพื้นที่หัวลำโพง โดย บริษัท เอสอาร์ที แอสเสท จำกัด อาจจะพิจารณาการออกแบบที่แตกต่างไปโดยให้นักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ (Land Developer) เข้าร่วมการแข่งขัน เพื่อให้มีแนวความคิดที่หลากหลายมากขึ้น

3.แนวทางการลงทุนของโครงการ รฟท.และบริษัท เอสอาร์ที แอสเสท จำกัด ควรพิจารณาแนวทางการลงทุนที่ก่อให้เกิดผลประโยชน์ต่อการรถไฟแห่งประเทศไทยมากที่สุด

Click on the image for full size

โฉมใหม่หัวลำโพงแบ่งเป็น 5 โซน

ไตรทิพย์ ศิวะกฤษณ์กุล กรรมการบริษัท และรักษาการกรรมการผู้จัดการ บริษัท เอสอาร์ที เเอสเสท จำกัด กล่าวว่า ที่นี่จะเป็นขุมทองสร้างรายได้มหาศาลให้กับ รฟท. โดยแบ่งพื้นที่ออกเป็น 5 โซน

โซน A 16 ไร่ เป็นอาคารสถานีหัวลำโพงและพื้นที่สาธารณะ

โซน B 13 ไร่ มีแผนปรับปรุงอาคารให้เป็นไปตามแนวทางอนุรักษ์

โซน C 22 ไร่ พื้นที่โรงซ่อมรถราง กำหนดเป็นพื้นที่เชิงพาณิชย์ ร้านค้า ร้านอาหาร พื้นที่กิจกรรม เน้นพื้นที่สีเขียว มีต้นแบบจากเวนิส อิตาลี

โซน D 49 ไร่ พื้นที่ชานชาลา,เส้นทางทางรถไฟ,ย่านสับเปลี่ยนการเดินรถ มีแผนพัฒนาเป็นรูปแบบมิกซ์ยูส โรงแรม อาคารสำนักงาน ที่อยู่อาศัยคอนโดมิเนียม ห้างสรรพสินค้า โดยยึดต้นแบบ โตเกียว มิดทาวน์

โซน E 20 ไร่ อาคารสำนักงาน รฟท. ตึกคลังพัสดุเดิม มีแผนพัฒนาเป็นมิกซ์ยูส โรงแรม อาคารสำนักงาน ศูนย์กิจกรรม โดยยึดต้นแบบโครงการ Suzhou Creek เมืองเซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน

สำหรับแผนเดิมที่เคยศึกษาไว้เมื่อ ปี 2555-2556 ได้นำมาพิจารณาให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป”

ปรับแก้ผังเมืองเพื่อใช้ประโยชน์ที่ดิน

หัวลำโพง มีพื้นที่ทั้งหมด 132 ไร่ เมื่อตัดพื้นที่อนุรักษ์ ที่ต้องขึ้นทะเบียนโบราณสถานออกแล้วจะเหลือ 120 ไร่ ตามผังเมือง พื้นที่อยู่ในเขตสีน้ำเงิน เป็นสถานที่ราชการ สาธารณูปโภค ไม่สามารถพัฒนาเป็นพื้นที่เชิงพาณิชย์ได้ บริษัท เอสอาร์ที เเอสเสท จำกัด จึงทำเรื่องขออนุมัติปรับสีผังเมืองให้เป็นสีแดง เพื่อพัฒนาโครงการต่อไป

ในส่วนของ พื้นที่อนุรักษ์ และพื้นที่สาธารณะ จะมีการปรับปรุงอาคารสถาปัตยกรรมเดิมให้คงไว้ตามแนวทางอนุรักษ์ และปรับทัศนียภาพให้สวยงาม เพิ่ม พื้นที่สีเขียว พัฒนาทางจักรยานริมรางรถไฟ

โดยแผนการอยู่ในขั้นตอนปรับแบบให้มีความเหมาะสม คาดว่าจะได้เห็นแบบเสมือนจริงในเดือนธันวาคม
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44636
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 18/11/2021 12:03 pm    Post subject: Reply with quote

“สร.รฟท.” ออกแถลงการณ์ ค้านหยุดเดินรถไฟเข้า “หัวลำโพง” กระทบประชาชน!
เดลินิวส์ 18 พฤศจิกายน 2564 11:43 น.
เศรษฐกิจ-ยานยนต์

“สหภาพฯรถไฟ” ออกแถลงการณ์คัดค้านหยุดเดินรถไฟเข้าหัวลำโพง กระทบประชาชนเต็มๆ อย่าอ้างว่ารถไฟเป็นเหตุที่ทำให้รถติดในกรุงเทพฯ ชี้ใช้พื้นที่หาประโยชน์เชิงพาณิชย์อาจผิดกฎหมาย หวั่นมีทุจริตคอรัปชั่น วอนประชาชนร่วมกันคัดค้าน สืบทอดเจตนารมณ์ ร.5

เมื่อวันที่ 18 พ.ย. นายสราวุธ สราญวงศ์ รักษาการประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจรถไฟ (สร.รฟท.) เปิดเผยว่า สร.รฟท. ได้ออกแถลงการณ์เรื่อง “ขอคัดค้านนโยบายการหยุดให้บริการรถไฟเข้าสถานีกรุงเทพ(หัวลำโพง) และหยุดขบวนการทำลายประวัติศาสตร์ของการรถไฟฯ” โดย สร.รฟท.  ไม่เห็นด้วยกับนโยบายดังกล่าว และขอคัดค้านด้วยเหตุผลดังนี้

1. ทำให้ประชาชนที่ใช้บริการในการมาทำงานไป-กลับ จำนวนมากได้รับความเดือดร้อน ไม่ได้รับความสะดวกในการใช้บริการเดินทาง ซึ่งภารกิจหลักของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) คือ การให้บริการระบบขนส่งสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานของรัฐอันจําเป็นต่อการดํารงชีวิตของประชาชนจากทั่วทุกภูมิภาคเข้าสู่กรุงเทพฯ และจากใจกลางตัวเมืองกลับไปสู่ทั่วทุกภูมิภาค ด้วยความสะดวก ปลอดภัย

สถานีหัวลำโพงเป็นจุดเริ่มต้น และปลายทาง ของขบวนรถไฟชานเมืองในเส้นทางต่างๆ ที่มีประชาชนหลากหลายอาชีพใช้บริการเดินทางเข้ามาทำงาน และเรียนในเขตกรุงเทพฯ ซึ่งมีฐานะทางเศรษฐกิจแตกต่างกันไป นอกจากนี้ยังเป็นสถานีเชื่อมต่อการเดินทางรถไฟในเส้นทางสายตะวันออก ใช้ในการเดินขบวนรถพิเศษเนื่องในโอกาสต่างๆ ที่สำคัญของประเทศ และของ รฟท. หากนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม เห็นว่าจำเป็นต้องปิดสถานี และหยุดให้บริการรถไฟเข้าสถานีหัวลำโพง ควรสอบถามความเห็นของประชาชนผู้ใช้บริการก่อนจะดีกว่าหรือไม่

นายสราวุธ กล่าวต่อว่า 2.จากเหตุผลที่อ้างว่าจะช่วยแก้ปัญหาการจราจรติดขัดในพื้นที่กรุงเทพฯ เนื่องจากขบวนรถไฟเป็นปัญหาที่ทำให้รถติดนั้น ไม่เป็นความจริง แต่ในทางตรงกันข้ามกลับทำให้ประชาชนที่เดินทางจำนวนมากจากทั่วประเทศได้รับความสะดวกในการเดินทางเข้ามาในตัวเมืองชั้นใน แล้วทางรถไฟก็มีมาก่อนถนนในกรุงเทพฯ เกือบทั้งหมด แล้วเหตุใดตอนสร้างถนนข้ามตัดผ่านทางรถไฟ ผู้เกี่ยวข้องไม่หาวิธีแก้ปัญหาจุดที่ถนนตัดผ่านกับทางรถไฟ และขอตั้งคำถามไปที่ รมว.คมนาคมว่า หากไม่มีขบวนรถไฟเข้ามาแล้ว บนท้องถนนในกรุงเทพฯ การจราจรจะไม่ติดขัดใช่หรือไม่ ถ้ายังมีปัญหาการจราจรอยู่ใครจะเป็นผู้รับผิดชอบความผิดพลาดในเรื่องนี้

3.พื้นที่ในบริเวณสถานีรถไฟหัวลำโพง เป็นที่ดินที่เกี่ยวข้องที่ใช้สำหรับการเดินรถ มีวัตถุประสงค์เพื่อประโยชน์แห่งรัฐและประชาชน ดำเนินธุรกิจอันเกี่ยวกับการขนส่งของรถไฟ การนำมาใช้เพื่อประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ อาจเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ขัดกับวัตถุประสงค์ตาม พ.ร.บ.การรถไฟแห่งประเทศไทย พ.ศ.2494 มาตรา 6 ซึ่งหาก รมว.คมนาคม ต้องการหาประโยชน์จากการพัฒนาที่ดิน เพื่อมาชดเชยผลการดำเนินงานที่ขาดทุนของ รฟท. โดยจำเป็นต้องพัฒนาที่ดินบริเวณดังกล่าวแล้ว ในแนวทางไม่จำเป็นต้องปิดสถานีหัวลำโพง และหยุดให้บริการเดินรถไฟแต่อย่างใด เพราะการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์กับการขนส่งสาธารณะทางรถไฟสามารถดำเนินการควบคู่กันได้ อีกทั้งยังมีพื้นที่ มีทีดินว่างเปล่าของ รฟท. อีกหลายแปลงที่จะหาประโยชน์ และหารายได้ให้แก่ รฟท. ได้ ทั้งในกรุงเทพ และ ต่างจังหวัด

Click on the image for full size

นายสราวุธ กล่าวอีกว่า คำถามคือ ทำไมไม่ทำ มีผู้มีอิทธิพลมากบารมี กี่รายที่หาประโยชน์เข้ากระเป๋าพวกพ้องของตนเอง และเห็นว่าการดำเนินการดังกล่าวอาจทำให้มีการทุจริตคอรัปชั่นตามมาได้ หรือว่าการปิดสถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง) จะเป็นขบวนการทำลายคุณค่าทางประวัติศาสตร์ การด้อยค่าความสำคัญโดยทำให้ภาพของการเป็นกิจการแห่งรถไฟสยามเลือนหายไป หากไม่มีขบวนรถไฟเข้ามาแล้วจะเรียกว่าเป็นสถานีรถไฟได้อย่างไรกัน คงจะเหลือเพียงความเป็นหน่วยงานที่มีแต่หนี้สิน โดยที่ไม่กล่าวถึงเหตุผลที่มาของหนี้สินเหล่านั้นว่ามาได้อย่างไร ใครต้องรับผิดชอบ พร้อมกับการยกเหตุผล (ข้ออ้างลอยๆ) ขึ้นมาประกอบในการจะเอาที่ดินใจกลางเมือง 120 ไร่ ที่ทรงมีพระบรมราชโองการพระราชทานไว้ เพื่อใช้ในกิจการดำเนินธุรกิจอันเกี่ยวกับการขนส่งของ รฟท. ไปยกให้นายทุนเอกชนเช่าเพื่อหาประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ โดยไม่คำนึงถึงประวัติศาสตร์ที่สำคัญที่ก่อให้เกิดความภาคภูมิใจ ความเจริญและความอยู่ดีกินดีของคนในชาติมามากกว่า 120 ปี ซึ่งประเมินค่ามิได้ คนที่คิดทำลาย คิดดีแล้วหรือ สมควรแล้วหรือ

นายสราวุธ กล่าวด้วยว่า สร.รฟท. ขอคัดค้านไม่เห็นด้วยกับนโยบายการหยุดให้บริการรถไฟเข้าสถานีหัวลำโพง และขอแจ้งให้สมาชิก สร.รฟท. คนรถไฟทุกคน รวมทั้งประชาชนผู้ที่รักความเป็นธรรม ในสังคมได้รับทราบ และได้ร่วมกันแสดงความคิดเห็นร่วมกันออกมาคัดค้านนโยบายของ รมว.คมนาคม ที่ให้ รฟท. หยุดให้บริการรถไฟเข้าสถานีหัวลำโพง ซึ่งเป็นขบวนการทำลายประวัติศาสตร์ของ รฟท. เพื่อสืบทอดเจตนารมณ์พระราชปณิธานของสมเด็จพระปิยมหาราชที่มีมาอย่างยาวนาน และทรงพระราชทาน “กิจการรถไฟ” ไว้เพื่อประโยชน์แห่งรัฐและประชาชน.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42749
Location: NECTEC

PostPosted: 18/11/2021 1:37 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
“สร.รฟท.” ออกแถลงการณ์ ค้านหยุดเดินรถไฟเข้า “หัวลำโพง” กระทบประชาชน!
เดลินิวส์
18 พฤศจิกายน 2564 เวลา 11:43 น.
เศรษฐกิจ-ยานยนต์
[/color]


‘สหภาพรถไฟ’ ออกโรงค้านหยุดให้บริการรถไฟเข้าสถานีหัวลำโพง
18 พฤศจิกายน 2564 เวลา 12:32 น.

สหภาพรถไฟฯออกแถลงการณ์ คัดค้านนโยบายการหยุดให้บริการรถไฟเข้าสถานีกรุงเทพ ย้ำสถานีรถไฟหัวลำโพงจําเป็นต่อการดํารงชีวิตของประชาชนจำนวนมากจากทั่วทุกส่วนภูมิภาค แนะควรสอบถามความเห็นของประชาชนก่อนปิดให้บริการ

18 พ.ย.2564-รายงานข่าวจากสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจรถไฟ(สร.รฟท.)แจ้งว่าได้ออกเรื่อง “ขอคัดค้านนโยบายการหยุดให้บริการรถไฟเข้าสถานีกรุงเทพ (หัวลำโพง) และหยุดขบวนการทำลายประวัติศาสตร์ของการรถไฟฯ” โดยสร.รฟท. ไม่เห็นด้วยกับนโยบาย และขอคัดค้านด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ 1. ทำให้ประชาชนที่ใช้บริการในการมาทำงานไป-กลับ จำนวนมากได้รับความเดือดร้อน เนื่องจากจะทำให้เกิดผลกระทบต่อประชาชนภาพรวมในวงกว้าง จากการไม่ได้รับความสะดวกในการใช้บริการเดินทาง

ทั้งนี้เนื่องจากภารกิจหลักของการรถไฟฯ คือการให้บริการระบบขนส่งสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานของรัฐอันจําเป็นต่อการดํารงชีวิตของประชาชนจำนวนมากจากทั่วทุกส่วนภูมิภาคเข้ามาสู่กรุงเทพมหานคร และจากใจกลางตัวเมืองกลับไปสู่ทั่วทุกภูมิภาค ด้วยความสะดวก ปลอดภัย

นอกจากนั้นยังเป็นสถานีเชื่อมต่อการเดินทางรถไฟในเส้นทางสายตะวันออก ใช้ในการเดินขบวนรถพิเศษเนื่องในโอกาสต่างๆ ที่สำคัญของประเทศและของการรถไฟฯ และเป็นพื้นที่อันควรค่ายิ่งแก่การอนุรักษ์ใช้เป็นพื้นที่ท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ได้ หากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเห็นว่าจำเป็นต้องปิดสถานีและหยุดให้บริการรถไฟเข้าสถานีหัวลำโพงจริงๆควรสอบถามความเห็นของประชาชนผู้ใช้บริการก่อนจะดีกว่าหรือไม่

2.จากข้อมูลเหตุผลที่อ้างถึงว่าในการปิดสถานีและไม่ให้มีขบวนรถเข้ามาในสถานีรถไฟหัวลำโพง นั้นเพื่อแก้ปัญหาการจราจรติดขัดในพื้นที่ กทม. เนื่องจากขบวนรถไฟเป็นปัญหาที่ทำให้รถติด ซึ่งไม่เป็นความจริง แต่ในทางตรงกันข้ามกลับทำให้ประชาชนที่เดินทางจำนวนมากจากทั่วประเทศได้รับความสะดวกในการเดินทางเข้ามาในตัวเมืองชั้นใน แล้วทางรถไฟก็มีมาก่อนถนนใน กทม.เกือบทั้งหมด แล้วทำไมตอนสร้างถนนข้ามตัดผ่านทางรถไฟ ผู้เกี่ยวข้องไม่หาวิธีแก้ปัญหาจุดที่ถนนตัดผ่านกับทางรถไฟ และขอตั้งคำถามไปที่รัฐมนตรีฯว่าหากไม่มีขบวนรถไฟเข้ามาแล้ว บนท้องถนนใน กทม.การจราจรจะไม่ติดขัดใช่หรือไม่ ถ้ายังมีปัญหาการจราจรอยู่ใครจะเป็นผู้รับผิดชอบความผิดพลาดในเรื่องนี้

3.พื้นที่ในบริเวณสถานีรถไฟหัวลำโพงเป็นที่ดินที่เกี่ยวข้องที่ใช้สำหรับการเดินรถมีวัตถุประสงค์ในการใช้เพื่อประโยชน์แห่งรัฐและประชาชน ดำเนินธุรกิจอันเกี่ยวกับการขนส่งของรถไฟ การนำมาใช้เพื่อประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ อาจเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ขัดกับวัตถุประสงค์ตามพระราชบัญญัติการรถไฟแห่งประเทศไทย พ.ศ.2494 มาตรา 6 หากรัฐมนตรีมีความต้องการที่จะหาประโยชน์จากการพัฒนาที่ดิน เพื่อมาชดเชยผลการดำเนินงานที่ขาดทุนของการรถไฟฯ โดยจำเป็นต้องพัฒนาที่ดินบริเวณดังกล่าวแล้ว ในแนวทางไม่จำเป็นต้องปิดสถานีหัวลำโพง และหยุดให้บริการเดินรถไฟแต่อย่างใด เพราะการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์กับการขนส่งสาธารณะทางรถไฟสามารถดำเนินการควบคู่กันไปได้ อีกทั้งยังมีพื้นที่ มีทีดินว่างเปล่าของการรถไฟฯอีกมากมายหลายแปลงที่จะหาประโยชน์ หารายได้ให้แก่การรถไฟฯได้ทั้งในกรุงเทพ และ ต่างจังหวัด

ทั้งนี้ สร.รฟท. คำถามคือ ทำไมไม่ทำ มีผู้มีอิทธิพลมากบารมี กี่รายที่หาประโยชน์เข้ากระเป๋าพวกพ้องของตนเอง และเห็นว่า การดำเนินการดังกล่าวอาจทำให้มีการทุจริตคอรัปชั่นตามมาได้ หรือว่า….การปิดสถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง)…จะเป็นขบวนการทำลายคุณค่าทางประวัติศาสตร์ การด้อยค่าความสำคัญโดยทำให้ภาพของการเป็นกิจการแห่งรถไฟสยามเลือนหายไป หากไม่มีขบวนรถไฟเข้ามาแล้วจะเรียกว่าเป็นสถานีรถไฟได้อย่างไรกัน คงจะเหลือเพียงความเป็นหน่วยงานที่มีแต่หนี้สิน โดยที่ไม่กล่าวถึงเหตุผลที่มาของหนี้สินเหล่านั้น ว่ามาได้อย่างไร ใครต้องรับผิดชอบ

พร้อมกับการยกเหตุผล (ข้ออ้างลอยๆ) ขึ้นมาประกอบในการจะเอาที่ดินใจกลางเมืองจำนวน120 ไร่ ที่ทรงมีพระบรมราชโองการพระราชทานไว้เพื่อใช้ในกิจการดำเนินธุรกิจอันเกี่ยวกับการขนส่งของการรถไฟฯ ไปยกให้นายทุนเอกชนเช่าเพื่อหาประโยชน์ในเชิงพาณิชย์…โดยไม่คำนึงถึงประวัติศาสตร์ที่สำคัญที่ก่อให้เกิดความภาคภูมิใจ ความเจริญและความอยู่ดีกินดีของคนในชาติมามากกว่า 120 ปีซึ่งประเมินค่ามิได้….คนที่คิดทำลาย คิดดีแล้วหรือ….มันสมควรแล้วหรือ

อย่างไรก็ตามสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจรถไฟฯ ขอคัดค้านไม่เห็นด้วยกับนโยบายการหยุดให้บริการรถไฟเข้าสถานีกรุงเทพ(หัวลำโพง) และขอแจ้งให้พี่น้องสมาชิก สร.รฟท. คนรถไฟทุกท่าน รวมทั้งพี่น้องประชาชนผู้ที่รักความเป็นธรรม ในสังคมได้รับทราบ และได้ร่วมกันแสดงความคิดเห็นร่วมกันออกมาคัดค้านนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมที่ให้การรถไฟฯหยุดให้บริการรถไฟเข้าสถานีกรุงเทพ(หัวลำโพง) ซึ่งเป็นขบวนการทำลายประวัติศาสตร์ของการรถไฟ ฯ เพื่อสืบทอด เจตนารมณ์พระราชปณิธาน ของสมเด็จพระปิยมหาราชที่มีมาอย่างยาวนาน และทรงพระราชทาน “กิจการรถไฟ” ไว้เพื่อประโยชน์แห่งรัฐและประชาชน

สหภาพรถไฟ ซัด ใช้ ที่ดิน“หัวลำโพง” หาประโยชน์เชิงพาณิชย์ ขัดกฎหมายรถไฟ
หน้าอสังหาริมทรัพย์
ฐานเศรษฐกิจดิจิทัล |
20 พฤศจิกายน 2564 เวลา 12:22 น.
สหภาพรถไฟ ซัด ใช้ ที่ดินสถานีหัวลำโพง หาประโยชน์เชิงพาณิชย์ ขัด ขัดต่อวัตถุประสงค์ตามพระราชบัญญัติ(พรบ.) การรถไฟแห่งประเทศไทย พ.ศ.2494มาตรา 6 เข้าข่ายผิดกฎหมาย ยัน ออกนโยบายรีบร้อน ปิดสถานีหัวลำโพง

สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจรถไฟแห่งประเทศไทย (สร.รฟท) ออกแถลงการณ์คัดค้านนโยบาย ของนายศักดิ์สยามชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมซึ่ง1ใน3ข้อเรียกร้องคือแผนพัฒนาพื้นที่รอบสถานีหัวลำโพงและพื้นที่ริมทางรถไฟเชื่อมโยงสถานีกลางบางซื่อเชิงพาณิชย์

นายสราวุธ สราญวงศ์ รักษาการประธาน สร.รฟท.ระบุว่า อยู่ในข่าย ขัดต่อวัตถุประสงค์ตามพระราชบัญญัติ(พรบ.) การรถไฟแห่งประเทศไทย พ.ศ.2494มาตรา 6 เพราะก่อนกรมรถไฟจะโอนกิจการให้การรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) ในข้อความกฎหมายระบุชัดว่าที่ดิน หัวลำโพง ใช้เพื่อประโยชน์ด้านการขนส่ง สำหรับประชาชนเท่านั้น






สร.รฟท. ตั้งข้อสังเกตว่ามีลักษณะรีบร้อน ทั้งที่พื้นที่หัวลำโพงยังไม่มีความพร้อม

1.ที่ดินแปลงหัวลำโพงยังไม่ปรับสีผังเมือง รอไว้ล่วงหน้า

2.สร.รฟท.กับรฟท.เจรจาได้ข้อยุติว่า ไม่ปิดหัวลำโพงและมีขบวนรถเข้า-ออกรับส่งผู้โดยสารอย่างน้อย1ขบวน

3. หากปิดหัวลำโพง รฟท.ควรลงทุนMissing Link สายสีแดงเข้มช่วงบางซื่อ-หัวลำโพง รองรับการเดินทางก่อน

4.การเดินรถทำควบคู่ไปกับพัฒนาได้แต่ กลับไม่ทำ ยิ่งชวนให้สงสัย

5.มีแผนพัฒนาออกมาอย่างรีบเร่ง

6. พื้นที่ที่จะพัฒนามิกซ์ยูส ขึ้นอาคารสูง ตามโมเดล ของรฟท. มีความชัดเจน ตั้งอยู่ด้านหลังสถานีหัวลำโพง ใกล้ตึกขาวตึกแดง ติดโรงซ่อมพวงราง

7. ปิดหัวลำโพงเพื่ออนุรักษ์ทำเป็นพิพิธภัณฑ์ คำถามว่าใครจะมาบ่อยครั้ง เท่ากับเปิดเดินรถตามปกติเหมือนต่างประเทศ

8.เหตุใดไม่นำพื้นที่ที่พร้อมกว่าอย่างสถานีแม่น้ำ และที่ดินรถไฟต่างจังหวัดมาหารายได้ แทน

9.ตั้งข้อสงสัย พื้นที่แปลง120ไร่หัวลำโพง ภายใต้ ผังเมืองสีน้ำเงิน เมื่อเทียบกับ การปรับเป็นพื้นที่สีแดง ราคาประเมิน-มูลค่าที่ดินให้ผลตอบแทนต่างกันเท่าใดและใครได้ประโยชน์








นายสราวุธ ย้ำว่า หากรัฐมนตรีมีความต้องการที่จะหาประโยชน์จากการพัฒนาที่ดิน เพื่อมาชดเชยผลการดำเนินงานที่ขาดทุนของการรถไฟฯ มองว่าไม่จำเป็นต้องปิดสถานีหัวลำโพง และหยุดให้บริการเดินรถ เพราะการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์กับการขนส่งสาธารณะทางรถไฟสามารถดำเนินการควบคู่กันไปได้

อีกทั้งยังมีพื้นที่ มีทีดินว่างเปล่าของการรถไฟฯอีกมากมายหลายแปลงที่จะหาประโยชน์ หารายได้ให้แก่การรถไฟฯได้ทั้งในกรุงเทพ และ ต่างจังหวัด คำถามคือ ทำไมไม่ทำ มีผู้มีอิทธิพลมากบารมี กี่รายที่หาประโยชน์เข้ากระเป๋าพวกพ้องของตนเอง และเห็นว่า การดำเนินการดังกล่าว อาจทำให้มีการทุจริตคอรัปชั่นตามมาได้

“พื้นที่ในบริเวณสถานีรถไฟหัวลำโพงเป็นที่ดินที่เกี่ยวข้องที่ใช้สำหรับการเดินรถมีวัตถุประสงค์ในการใช้เพื่อประโยชน์แห่งรัฐและประชาชน ดำเนินธุรกิจอันเกี่ยวกับการขนส่งของรถไฟการนำมาใช้เพื่อประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ อาจเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย “


Last edited by Wisarut on 24/11/2021 10:23 am; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44636
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 19/11/2021 9:28 am    Post subject: Reply with quote

ถล่มยับ! ประชาชน “ค้าน” หยุดเดินรถไฟเข้า “หัวลำโพง” เดือดร้อนค่าใช้จ่ายเพิ่ม
เดลินิวส์ 19 พฤศจิกายน 2564 8:32 น.
เศรษฐกิจ-ยานยนต์

ประชาชนถล่มยับ! ค้านหยุดเดินรถไฟเข้า “หัวลำโพง” กระทบผู้โดยสารเต็มๆ ค่าใช้จ่ายเพิ่ม ผิดหลักการขนส่งระบบรางเพื่อประชาชน แนะฟังเสียงให้รอบด้าน รอรถไฟสีแดงต่อขยายให้เสร็จก่อน ขณะที่สหภาพรถไฟฯ ล่ารายชื่อ-ออกแถลงการณ์คัดค้าน ด้าน รฟท. เตรียมชงแผนให้ “ศักดิ์สยาม” เคาะ 22 พ.ย.นี้ ต้องเช็กให้ดี! จุดสิ้นสุดหลากสถานี

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ขณะนี้มีประชาชนส่งข้อความ (Inbox) รวมทั้งแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องการพัฒนาพื้นที่ และการหยุดเดินขบวนรถไฟเข้ามายังสถานีกรุงเทพ(หัวลำโพง) มายังเพจเฟซบุ๊ก “ข่าวนวัตกรรมขนส่ง เดลินิวส์” จำนวนมาก โดยส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยกับการหยุดเดินรถไฟเข้าสถานีหัวลำโพงทันทีในปลายปีนี้ เพราะส่งผลกระทบต่อการเดินทางของประชาชน โดยเฉพาะนักเรียน นักศึกษา และคนทำงานในเขตเมืองชั้นใน ซึ่งมีเป็นจำนวนมาก ส่วนใหญ่จะโดยสารขบวนรถไฟมาลงยังสถานีสามเสน สถานีโรงพยาบาลรามาธิบดี และสถานียมราช

นอกจากนี้มองว่าแม้จะสามารถเดินทางจากสถานีกลางบางซื่อ มายังสถานีหัวลำโพงได้ด้วยรถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงิน แต่เป็นการเพิ่มภาระค่าใช้จ่ายให้ประชาชนผู้มีรายได้น้อย ซึ่งประชาชนที่อยู่ชานเมืองนั่งรถไฟเข้ามาทำงานในกรุงเทพฯ เสียค่ารถไม่กี่บาท แต่ถ้าต้องมานั่งรถไฟฟ้า MRT ต้องจ่ายเพิ่ม 40 บาท อีกทั้งยังเป็นการเดินทางอ้อมโลกเข้ากรุงเทพฯ ขณะเดียวกันปัจจุบันขนส่งสาธารณะที่สถานีกลางบางซื่อ ก็ยังไม่ได้รับความสะดวก ดังนั้นจึงควรก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีแดง ส่วนต่อขยาย ช่วงบางซื่อ-พญาไท-มักกะสัน-หัวหมาก และช่วงบางซื่อ-หัวลำโพง หรือ Missing Link  ให้แล้วเสร็จก่อน จึงค่อยพัฒนาพื้นที่ เพื่อลดผลกระทบที่จะเกิดขึ้น

ขณะที่บางคนเห็นว่า ก่อนหน้านี้การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดประมูลที่ดินโซนใกล้สถานีกลางบางซื่อ ซึ่งไม่มีเอกชนสนใจ แต่กลับจะมาเปิดประมูลสถานีหัวลำโพงอย่างคึกคัก จึงตั้งคำถามว่า กระทรวงคมนาคม และ รฟท. ทำเพื่ออะไร เพื่อสิ่งใดกันแน่ ทั้งที่โซนสถานีกลางบางซื่อ ไม่กระทบกับระบบขนส่งทางราง แต่สถานีหัวลำโพง กระทบการเดินทางของประชาชนชัดเจน การทำแบบนี้ รฟท. ส่อผิดหลักการของการขนส่งระบบรางเพื่อประชาชน อย่างไรก็ตามหลายคนมีข้อเสนอว่า ควรรับฟังความคิดเห็นจากหลายๆ ฝ่าย ทำประชาพิจารณ์จากประชาชนด้วย ไม่ควรรีบร้อนทำ 

ผู้สื่อข่าวรายงานต่อว่า ขณะเดียวกันสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจรถไฟ (สร.รฟท.) ได้เชิญชวนประชาชนร่วมลงชื่อคัดค้าน “การสั่งปิดสถานีรถไฟกรุงเทพ(หัวลำโพง)” โดยนายสราวุธ สราญวงศ์ รักษาการประธาน สร.รฟท. เปิดเผยว่า ขณะนี้มีประชาชนลงชื่อคัดค้านแล้วกว่า 3,000 คน ไม่เห็นด้วย 100% กับการหยุดเดินรถเข้า-ออกหัวลำโพง ซึ่งจะเปิดให้ร่วมลงชื่อไปอีกประมาณ 1-2 สัปดาห์ จากนั้นจะรวบรวมข้อมูลทั้งหมดเสนอให้ รมว.คมนาคม รับทราบว่าประชาชนได้รับผลกระทบจากนโยบายนี้ และจะมีวิธีแก้ปัญหาอย่างไร พร้อมกันนี้ สร.รฟท. ยังออกแถลงการณ์ “ขอคัดค้านนโยบายการหยุดให้บริการรถไฟเข้าสถานีกรุงเทพ(หัวลำโพง) และหยุดขบวนการทำลายประวัติศาสตร์ของการรถไฟฯ” ด้วย

รายงานข่าวแจ้งว่า ขณะนี้ รฟท. ได้จัดทำแผนการเดินรถให้สอดรับกับนโยบายของนายศักดิ์สยาม ที่ให้พิจารณาแนวทางหยุดให้บริการรถไฟเข้าสถานีหัวลำโพงภายในสิ้นปี 64 เสร็จเรียบร้อยแล้ว โดยจะเสนอให้ที่ประชุมคณะกรรมการติดตามการเปิดให้บริการรถไฟฟ้าสายสีแดง และสถานีกลางบางซื่อ ซึ่งมีนายศักดิ์สยาม เป็นประธาน พิจารณา ในวันที่ 22 พ.ย.นี้ อย่างไรก็ตามก่อนหน้านี้ รฟท. มีแผนว่าตั้งแต่วันที่ 23 ธ.ค.64 รฟท. จะเปิดให้บริการขบวนรถไฟทางไกล ที่สถานีกลางบางซื่อ ซึ่งจะเหลือรถไฟชานเมืองที่ยังคงเข้า-ออกสถานีหัวลำโพง 22 ขบวน แบ่งเป็น รถไฟทางไกลสายเหนือ 4 ขบวน สายอีสาน 2 ขบวน สายใต้ 2 ขบวน และสายตะวันออก 14 ขบวน

รายงานข่าวแจ้งต่อว่า แต่เมื่อนายศักดิ์สยาม มีนโยบายให้หยุดเดินรถไฟเข้าสถานีหัวลำโพงภายในสิ้นปีนี้ ทาง รฟท. จึงปรับแผนใหม่อีกครั้ง โดยให้รถไฟ 22 ขบวนที่เดิมจะสิ้นสุดที่สถานีหัวลำโพง ปรับเป็นสิ้นสุดสถานีปลายทางที่สถานีกลางบางซื่อ ตั้งแต่วันที่ 23 ธ.ค.64 ส่วนสถานีหัวลำโพง จะพัฒนาเป็นพื้นที่สาธารณะให้กับคนเมือง และเพิ่มศักยภาพเชิงพาณิชย์ โดยยังคงความเป็นอัตลักษณ์เดิมให้สอดคล้องกับความสมัยใหม่

รายงานข่าวแจ้งด้วยว่า ขบวนรถไฟจะสิ้นสุดในสถานีปลายทางที่แตกต่างกัน อาทิ รถไฟสายเหนือ บางขบวนอาจหยุดรถที่สถานีรังสิต บางขบวนหยุดที่สถานีกลางบางซื่อ หรือสถานีบางซื่อ ขณะที่สายใต้ สิ้นสุดที่สถานีตลิ่งชัน หรือสถานีบางซื่อ ส่วนสายตะวันออก บางขบวนอาจสิ้นสุดที่สถานีมักกะสัน แต่บางขบวน อาทิ มาจากอรัญประเทศ หรือพลูตาหลวง อาจต้องสิ้นสุดที่สถานีฉะเชิงเทรา และเปลี่ยนขบวนรถต่อสายฉะเชิงเทรา-มักกะสัน เป็นต้น อย่างไรก็ตามต้องรอให้คณะกรรมการติดตามฯ เป็นผู้พิจารณาแผนอีกครั้ง.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42749
Location: NECTEC

PostPosted: 19/11/2021 10:54 am    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
“สร.รฟท.” ออกแถลงการณ์ ค้านหยุดเดินรถไฟเข้า “หัวลำโพง” กระทบประชาชน!
เดลินิวส์ 18 พฤศจิกายน 2564 11:43 น.
เศรษฐกิจ-ยานยนต์


สหภาพการรถไฟฯ ออกโรงค้านย้ายหัวลำโพง ชี้ประชาชนเดือดร้อน-ด้อยค่าประวัติศาสตร์
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: 18 พฤศจิกายน 2564 17:41 น.
ปรับปรุง: 18 พฤศจิกายน 2564 17:41 น.



สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจรถไฟแห่งประเทศไทย คัดค้านการหยุดให้บริการรถไฟเข้าสถานีหัวลำโพง ชี้ทำให้ประชาชนที่ใช้บริการในการมาทำงานไป-กลับจำนวนมากได้รับความเดือดร้อน และการพัฒนาที่ดินที่ใช้ในกิจการรถไฟอาจไม่ชอบด้วยกฎหมาย ชี้เป็นการด้อยค่าประวัติศาสตร์รถไฟไทยให้เลือนหายไป

วันนี้ (18 พ.ย.) สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจรถไฟแห่งประเทศไทยออกแถลงการณ์หัวข้อ "ขอคัดค้านนโยบายการหยุดให้บริการรถไฟเข้าสถานีกรุงเทพ (หัวลำโพง) และหยุดขบวนการทำลายประวัติศาสตร์ของการรถไฟฯ" ระบุว่า กิจการรถไฟไทย หรือ "กรมรถไฟหลวง" ได้ก่อกำเนิดขึ้นนับตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ “พระปิยมหาราช” ซึ่งเกิดขึ้นจากสายพระเนตรอันยาวไกลของพระองค์ท่าน โดยมีประกาศพระบรมราชโองการสร้างทางรถไฟสยามตั้งแต่กรุงเทพฯ ถึงเมืองนครราชสีมา ลงวันที่ 1 มีนาคม ร.ศ. 109 ซึ่งตรงกับพุทธศักราช 2433 ทรงตระหนักถึงความสำคัญของการคมนาคมทางรถไฟ เพื่อให้เกิดความเจริญแก่บ้านเมืองเป็นสำคัญ ซึ่งเป็นหน่วยงานเพียงหน่วยงานเดียวที่พระองค์ท่านเสด็จฯ มากระทำพระฤกษ์ แซะดิน ตอกหมุด ตรึงรางรถไฟ ด้วยพระองค์เอง เมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2434 มีพระราชดำรัสว่า

“เรารู้สำนึกแน่อยู่ว่าธรรมดาความเจริญรุ่งเรืองของประชาชนย่อมอาศัยถนนหนทางไปมากันเป็นใหญ่เป็นสำคัญ ได้เร็วขึ้นเพียงใด ก็เป็นการขยายชุมชนให้ไพศาลยิ่งขึ้นเพียงนั้น เราจึงได้อุตส่าห์คิดจะทำทางรถไฟให้สมกำลังบ้านเมือง”

ต่อมาเมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2439 พระองค์เสด็จฯ มาในพระราชพิธีเปิดการเดินรถไฟปฐมฤกษ์จากสถานีกรุงเทพ ถึงสถานีอยุธยา คือการเดินรถไฟสายแรกเพื่อให้กิจการรถไฟฯ จารึกไว้ในประวัติศาสตร์แผ่นดินสยาม เป็นการสะท้อนให้เห็นถึงการเป็นสัญลักษณ์แห่งการนำพาสยามสู่ยุคแห่งการพัฒนาประเทศ เพื่อสร้างความเจริญเท่าเทียมนานาอารยประเทศ อันนำมาซึ่งความภาคภูมิใจของคนไทยเป็นอย่างยิ่ง ที่ทำให้ประเทศรอดพ้นจากการถูกยึดครองจากชาติมหาอำนาจตะวันตกในยุคล่าอาณานิคม

สถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง) เริ่มก่อสร้างในปลายสมัยรัชกาลที่ ๕ เมื่อปี พ.ศ. 2453 ก่อสร้างแล้วเสร็จ และเปิดใช้บริการอย่างเป็นทางการ โดยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จฯ ทรงกระทำพิธีกดปุ่มสัญญาณไฟฟ้าให้รถไฟขบวนแรกเดินเข้าสู่สถานีหัวลำโพง เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2459 สถานีหัวลำโพงจึงเป็นสถานที่ที่มีความสำคัญยิ่งในการเดินทางของประชาชนด้วยขบวนรถไฟ เป็นสถานีจุดเริ่มต้นและปลายทางในการเดินทาง เป็นแลนด์มาร์กที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ของประเทศไทยที่อยู่เคียงคู่กันโดยไม่สามารถแยกออกจากกันได้ และเป็นสัญลักษณ์แห่งพระอัจฉริยภาพที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทาน “กิจการรถไฟหลวง” ให้แก่พสกนิกรชาวไทยทุกหมู่เหล่าได้ใช้ประโยชน์อย่างถ้วนหน้า สร้างความเจริญและโอกาสให้แก่ประเทศไทยมาจนถึงปัจจุบัน

ตามที่ปรากฏเป็นข่าวเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2564 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ ได้เปิดเผยต่อสื่อมวลชนหลังจากเป็นประธานการประชุมติดตามนโยบายแนวทางการพัฒนาพื้นที่สถานีกรุงเทพ (หัวลำโพง) และแนวทางการพัฒนาตลอดแนวเส้นทางรถไฟบางซื่อ-หัวลำโพง ด้วย Application “Zoom” ว่าหลังจากที่ได้มีการเปิดใช้งานสถานีกลางบางซื่อเต็มระบบเพื่อเป็นศูนย์กลางการเดินทางด้วยระบบรางของประเทศไทยโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ให้การรถไฟฯ เร่งพิจารณาแนวทางการหยุดให้บริการรถไฟเข้าสถานีหัวลำโพงโดยเร็ว เพื่อให้มีความชัดเจนในการเริ่มพัฒนาพื้นที่บริเวณสถานีหัวลำโพง ตามที่มีการเผยแพร่ผ่านสื่อออนไลน์

สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจรถไฟแห่งประเทศไทย (สร.รฟท.) ซึ่งจัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543 โดยมีวัตถุประสงค์เป็นไปตามมาตรา 40 (4) “เพื่อปกป้องรักษาผลประโยชน์ของการรถไฟฯ” จากนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ในเรื่องนี้ สร.รฟท.ไม่เห็นด้วยกับนโยบาย และขอคัดค้านด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้

1. ทำให้ประชาชนที่ใช้บริการในการมาทำงานไป-กลับ จำนวนมากได้รับความเดือดร้อน เนื่องจากจะทำให้เกิดผลกระทบต่อประชาชนภาพรวมในวงกว้าง จากการไม่ได้รับความสะดวกในการใช้บริการเดินทาง เนื่องจากภารกิจหลักของการรถไฟฯ คือการให้บริการระบบขนส่งสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานของรัฐอันจําเป็นต่อการดํารงชีวิตของประชาชนจำนวนมากจากทั่วทุกส่วนภูมิภาคเข้ามาสู่กรุงเทพมหานคร และจากใจกลางตัวเมืองกลับไปสู่ทั่วทุกภูมิภาค ด้วยความสะดวก ปลอดภัย เพราะเป็นจุดเริ่มต้น และปลายทางของขบวนรถไฟชานเมืองในเส้นทางต่างๆ ที่มีประชาชนหลากหลายอาชีพ นักเรียน นิสิต นักศึกษาจำนวนมากใช้บริการเดินทางเข้ามาทำงานและเรียนในเขตกรุงเทพมหานคร ซึ่งมีฐานะทางเศรษฐกิจแตกต่างกันไป นอกจากนั้นยังเป็นสถานีเชื่อมต่อการเดินทางรถไฟในเส้นทางสายตะวันออก ใช้ในการเดินขบวนรถพิเศษเนื่องในโอกาสต่างๆ ที่สำคัญของประเทศและของการรถไฟฯ และเป็นพื้นที่อันควรค่ายิ่งแก่การอนุรักษ์ใช้เป็นพื้นที่ท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ได้ หากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเห็นว่าจำเป็นต้องปิดสถานีและหยุดให้บริการรถไฟเข้าสถานีหัวลำโพงจริงๆ ควรสอบถามความเห็นของประชาชนผู้ใช้บริการก่อนจะดีกว่าหรือไม่

2. จากข้อมูลเหตุผลที่อ้างถึงว่าในการปิดสถานีและไม่ให้มีขบวนรถเข้ามาในสถานีรถไฟหัวลำโพงนั้นเพื่อแก้ปัญหาการจราจรติดขัดในพื้นที่ กทม. เนื่องจากขบวนรถไฟเป็นปัญหาที่ทำให้รถติด ซึ่งไม่เป็นความจริง แต่ในทางตรงกันข้ามกลับทำให้ประชาชนที่เดินทางจำนวนมากจากทั่วประเทศได้รับความสะดวกในการเดินทางเข้ามาในตัวเมืองชั้นใน แล้วทางรถไฟก็มีมาก่อนถนนใน กทม.เกือบทั้งหมด แล้วทำไมตอนสร้างถนนข้ามตัดผ่านทางรถไฟ ผู้เกี่ยวข้องไม่หาวิธีแก้ปัญหาจุดที่ถนนตัดผ่านกับทางรถไฟ และขอตั้งคำถามไปที่รัฐมนตรีฯ ว่าหากไม่มีขบวนรถไฟเข้ามาแล้ว บนท้องถนนใน กทม.การจราจรจะไม่ติดขัดใช่หรือไม่ ถ้ายังมีปัญหาการจราจรอยู่ใครจะเป็นผู้รับผิดชอบความผิดพลาดในเรื่องนี้

3. พื้นที่ในบริเวณสถานีรถไฟหัวลำโพงเป็นที่ดินที่เกี่ยวข้องที่ใช้สำหรับการเดินรถ มีวัตถุประสงค์ในการใช้เพื่อประโยชน์แห่งรัฐและประชาชน ดำเนินธุรกิจอันเกี่ยวกับการขนส่งของรถไฟ การนำมาใช้เพื่อประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ อาจเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ขัดกับวัตถุประสงค์ตามพระราชบัญญัติการรถไฟแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2494 มาตรา 6 หากรัฐมนตรีมีความต้องการที่จะหาประโยชน์จากการพัฒนาที่ดิน เพื่อมาชดเชยผลการดำเนินงานที่ขาดทุนของการรถไฟฯ โดยจำเป็นต้องพัฒนาที่ดินบริเวณดังกล่าวแล้ว ในแนวทางไม่จำเป็นต้องปิดสถานีหัวลำโพง และหยุดให้บริการเดินรถไฟแต่อย่างใด เพราะการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์กับการขนส่งสาธารณะทางรถไฟสามารถดำเนินการควบคู่กันไปได้ อีกทั้งยังมีพื้นที่ มีที่ดินว่างเปล่าของการรถไฟฯ อีกมากมายหลายแปลงที่จะหาประโยชน์ หารายได้ให้แก่การรถไฟฯ ได้ทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด คำถามคือ ทำไมไม่ทำ มีผู้มีอิทธิพลมากบารมีกี่รายที่หาประโยชน์เข้ากระเป๋าพวกพ้องของตนเอง และเห็นว่า การดำเนินการดังกล่าวอาจทำให้มีการทุจริตคอร์รัปชันตามมาได้ หรือว่า....การปิดสถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง)…จะเป็นขบวนการทำลายคุณค่าทางประวัติศาสตร์ การด้อยค่าความสำคัญโดยทำให้ภาพของการเป็นกิจการแห่งรถไฟสยามเลือนหายไป หากไม่มีขบวนรถไฟเข้ามาแล้วจะเรียกว่าเป็นสถานีรถไฟได้อย่างไรกัน คงจะเหลือเพียงความเป็นหน่วยงานที่มีแต่หนี้สิน โดยที่ไม่กล่าวถึงเหตุผลที่มาของหนี้สินเหล่านั้น ว่ามาได้อย่างไร ใครต้องรับผิดชอบ ? ? ? พร้อมกับการยกเหตุผล (ข้ออ้างลอยๆ) ขึ้นมาประกอบในการจะเอาที่ดินใจกลางเมืองจำนวน 120 ไร่ ที่มีพระบรมราชโองการพระราชทานไว้เพื่อใช้ในกิจการดำเนินธุรกิจอันเกี่ยวกับการขนส่งของการรถไฟฯ ไปยกให้นายทุนเอกชนเช่าเพื่อหาประโยชน์ในเชิงพาณิชย์…โดยไม่คำนึงถึงประวัติศาสตร์ที่สำคัญที่ก่อให้เกิดความภาคภูมิใจ ความเจริญและความอยู่ดีกินดีของคนในชาติมามากกว่า 120 ปีซึ่งประเมินค่ามิได้….คนที่คิดทำลาย คิดดีแล้วหรือ....มันสมควรแล้วหรือ

สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจรถไฟฯ ขอคัดค้านไม่เห็นด้วยกับนโยบายการหยุดให้บริการรถไฟเข้าสถานีกรุงเทพ (หัวลำโพง) และขอแจ้งให้พี่น้องสมาชิก สร.รฟท. คนรถไฟทุกท่าน รวมทั้งพี่น้องประชาชนผู้ที่รักความเป็นธรรมในสังคมได้รับทราบ และได้ร่วมกันแสดงความคิดเห็นร่วมกันออกมาคัดค้านนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมที่ให้การรถไฟฯ หยุดให้บริการรถไฟเข้าสถานีกรุงเทพ (หัวลำโพง) ซึ่งเป็นขบวนการทำลายประวัติศาสตร์ของการรถไฟฯ เพื่อสืบทอดเจตนารมณ์พระราชปณิธานของสมเด็จพระปิยมหาราชที่มีมาอย่างยาวนาน และพระราชทาน “กิจการรถไฟ” ไว้เพื่อประโยชน์แห่งรัฐและประชาชน
https://www.facebook.com/thaisrut/posts/5106735912688090
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สถานีรถไฟและสถาปัตยกรรมสำคัญเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 12, 13, 14 ... 31, 32, 33  Next
Page 13 of 33

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©