RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311296
ทั่วไป:13272814
ทั้งหมด:13584110
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - เรื่องของหัวลำโพง
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

เรื่องของหัวลำโพง
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 17, 18, 19 ... 31, 32, 33  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สถานีรถไฟและสถาปัตยกรรมสำคัญเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42748
Location: NECTEC

PostPosted: 06/12/2021 10:11 pm    Post subject: Reply with quote

7ธ.ค.พนักงานรถไฟผนึกนักเคลื่อนไหวรวมพลังต้านปิดหัวลำโพง
หน้าอสังหาริมทรัพย์

ฐานเศรษฐกิจดิจิทัล |
06 ธ.ค. 2564 เวลา 21:23 น.
7ธ.ค.พนักงานรถไฟผนึกนักเคลื่อนไหว รสนา -ประภัสร์ อดีต ผู้ว่ารฟท. ชาวบ้านโดยรอบ สวมเสื้อเหลือง #Saveหัวลำโพง รวมพลังต้านปิดหัวลำโพงก่อน กระทรวงคมนาคม -รัฐบาลเปิดรับฟังความคิดเห็นทุกภาคส่วน 14ธันวาคม มั่นใจ มีนายทุนใหญ่อยุ่เบื้องหลัง



แหล่งข่าวจากสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจรถไฟแห่งประเทศไทย (สร.รฟท.) เปิดเผย”ฐานเศรษฐกิจ”ว่า วันที่7 ธันวาคม เวลา13.00น. พนักงานรถไฟทั้งอดีตและปัจจุบัน กว่า500คนนัดสวมเสื้อสีเหลือง#Saveหัวลำโพง พร้อมด้วยนางสาวรสนา โตสิตระกูล อดีตสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.)นายประภัสร์ จงสงวน อดีตผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.)

นายวีระ สมความคิด เลขาธิการเครือข่ายต่อต้านคอร์รัปชัน แนวร่วมกลุ่มไทยไม่ทน อีกทั้งประชาชนโดยรอบ แสดงพลังภายในสถานีรถไฟหัวลำโพง คัดค้านนโยบายนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมให้รถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) หยุดนำขบวนรถเข้าหัวลำโพง นับตั้งแต่วันที่23ธันวาคมเป็นต้นไป



7ธ.ค.พนักงานรถไฟผนึกนักเคลื่อนไหวรวมพลังต้านปิดหัวลำโพง



ทั้งนี้นาย ราชศักดิ์ ปิยะปัญญานนท์อดีตพนักงานขับรถไฟ พร้อมด้วยกลุ่มพนักงานขับรถไฟ ที่ยังปฏิบัติหน้าที่ในปัจจุบัน ระบุว่าการออกมารวมพลังครั้งนี้เพราะเชื่อว่ามีนายทุนอยู่เบื้องหลัง และแม้ว่ารมว.คมนาคมจะยอมผ่อนปรนให้รถทางใกล้เข้าหัวลำโพง และให้รถทางไกลสายใต้-เหนือ-อีสานหยุดเดินรถที่สถานีกลางบางซื่อ

แต่ภาพแบกกระสอบข้าวสารข้าวเหนียว เข้าสถานีกลางบางซื่อแล้วต่อด้วยรถไฟฟ้าหรือรถแท๊กซี่ เพื่อเข้าเมือง คงลำบากทั้งค่าโดยสารที่เพิ่มขึ้นหลายเท่าตัว และความไม่คุ้นชินอย่างไรก็ตามหัวลำโพงเกิดขึ้นมา105ปีล้นเกล้ารัชกาลที่5 ต้องการให้เป็นศูนย์กลางการเดินทางทางรางสำหรับประชาชนผู้มีรายได้น้อยให้ได้รับความสะดวกสบาย ไม่ใช่ให้นายทุนหาประโยชน์ นายราชศักดิ์กล่าว

7ธ.ค.พนักงานรถไฟผนึกนักเคลื่อนไหวรวมพลังต้านปิดหัวลำโพง


แหล่งข่าวจากพนักงานรถไฟ ระบุว่า เกรงว่าการปิดหัวลำโพงอาจซ้ำรอยสนามกอล์ฟรถไฟ ที่รมว.คมนาคม ในยุคนั้นมีแผนนำออกหาประโยชน์ แต่คนรถไฟต่อต้านในที่สุดแล้ว ได้อ้างว่านำไปทำสวนสาธารณะ

ผลกระทบที่เกิดขึ้น คนรถไฟ จึงแสดงพลังคัดค้านก่อน กระทรวงคมนาคมจะเปิดรับฟังความคิดเห็นในทุกภาคส่วนวันที่14ธันวาคม แต่เชื่อว่าบทสุดท้ายจะมีความพยายามตัดการเดินรถสิ้นสุดที่สถานีกลางบางซื่อทั้งหมด เพื่อนำที่ดินทั้ง120ไร่ไปพัฒนาหาประโยชน์ เชิงพาณิชย์ ขณะเดียวกันประชาชนข้าราชการผู้มีรายได้น้อย ที่เคยใช้บริการจะต้องตกที่นั่งลำบากรวมทั้งประชาชนที่ค้าขาย ทำมาหากินในย่านนี้ด้วย

“พนักงานรถไฟทุกคนอึดอัดใจ ไม่ต้องการให้ปิดหัวลำโพง แต่การออกเสียงคัดค้านและแสดงตน เชื่อว่าอาจมีผลกระทบต่อหน้าที่การงาน”

7 ธันวาคม 2564 ตั้งแต่เวลา 12.30 น.เป็นต้นไป เวทีเสวนา "ปิดหัวลำโพงเพื่อการพัฒนา หรือเป็นการผลักภาระให้ประชาชน" ณ สถานีรถไฟกรุงเทพ(หัวลำโพง)
https://www.facebook.com/ake.bluechifamily/posts/4682561421790766
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42748
Location: NECTEC

PostPosted: 07/12/2021 12:35 pm    Post subject: Reply with quote

หากไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง หากเสียงคัดค้านทัดทานของประชาชนและภาคส่วนต่างๆ ไม่มีความหมาย ในเร็วๆ นี้ จะไม่มีรถไฟวิ่งเข้าสู่สถานีหัวลำโพงแล้ว หลังจากนั้นประชาชนผู้โดยสารรถไฟที่เคยใช้บริการที่สถานีหัวลำโพง และสถานีระหว่างทางจากสถานีบางซื่อถึงหัวลำโพง จะต้องเปลี่ยนไปใช้สถานีกลางบางซื่อ หรือสถานีอื่นๆ ตามที่การรถไฟฯ จัดทำแผนการเดินรถของแต่ละเส้นทางใหม่
ผู้บริหารการรถไฟแห่งประเทศไทย กระทรวงคมนาคม และคณะรัฐมนตรี รู้หรือไม่ว่าเวลาที่คนต่างจังหวัดกลับบ้าน พวกเขาไม่ได้เดินทางเข้ากรุงเทพฯ แบบเดินตัวปลิวสบายๆ แต่คนจำนวนมากนำข้าวสารเป็นกระสอบขึ้นรถไฟเข้ามากรุงเทพฯ ด้วย เพื่อช่วยประหยัดค่าดำรงชีพเท่าที่จะทำได้
พวกเขาเลือกเดินทางโดยรถไฟมายังสถานีที่ใกล้ที่พักในกรุงเทพฯมากที่สุด ซึ่งสำหรับหลายๆ คนนั่นคือสถานีหัวลำโพง
การที่กระทรวงคมนาคมสั่งให้การรถไฟแห่งประเทศไทยหยุดเดินรถไฟเข้าสถานีหัวลำโพง จึงเป็นการทอดทิ้งประชาชนจำนวนมาก และเป็นนโยบายที่ขัดแย้งกับหลักการให้บริการขนส่งสาธารณะอย่างมาก
แม้ว่าในวันที่ 14 ธันวาคมที่จะถึงนี้ การรถไฟแห่งประเทศไทยจะเปิดเวทีรับฟังความเห็นเรื่องแนวทางการพัฒนาสถานีหัวลำโพง แล้วหลังจากนั้นกระทรวงคมนาคมจึงจะมีข้อสรุปนโยบายว่าจะให้การรถไฟแห่งประเทศไทยทำอย่างไรต่อไป จะยังให้รถไฟวิ่ง-ออกสถานีหัวลำโพงต่อไปหรือไม่
แต่ดูเหมือนว่า เวทีรับฟังความเห็นและข้อสรุปที่กำลังจะมาถึงนี้ จะเป็นเพียงการชะลอเวลาออกไปเท่านั้น ไม่มีอะไรการันตีได้ว่าคำสั่งสุดท้ายจะเปลี่ยนไปในทางที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชนผู้ใช้บริการรถไฟ หากเราค้นหาข่าวย้อนไปในอดีตก็จะพบว่า เคยมีข่าวสั่งหยุดเดินรถเข้าหัวลำโพง แล้วเมื่อมีกระแสคัดค้าน กระทรวงคมนาคมก็มีการชะลอคำสั่ง แต่แล้วก็กลับมาออกคำสั่งอีก และเมื่อมีกระแสต้านก็ชะลออีก การชะลอคำสั่งเพื่อรับฟังความเห็นในครั้งนี้จึงอาจไม่ได้นำไปสู่บทสรุปสุดท้าย
เหตุผลหลักที่กระทรวงคมนาคมอยากให้เลิกเดินรถไฟเข้าสถานีหัวลำโพงก็เพราะต้องการใช้ประโยชน์ที่ดินหัวลำโพงเพื่อหารายได้ โดยให้เอกชนเข้ามาเช่าพื้นที่ทำโครงการระยะยาว 30 ปี ซึ่งประเมินว่าจะมีรายได้กว่า 800,000 ล้านบาท ซึ่งคงจะไม่เป็นที่พึงประสงค์ของเอกชนที่จะมาเช่าที่นัก หากยังมีรถไฟเก่าๆ ขนส่งประชาชนที่แบกขนข้าวของมากมายเข้า-ออกพื้นที่โครงการ ทำให้เกิดภาพที่ไม่สวยงาม
ไทยรัฐพลัสอยากให้การรถไฟฯ กระทรวงคมนาคม และรัฐบาล ได้ยินเสียงของประชาชนผู้โดยสารรถไฟ เราจึงนั่งรถไฟจากสถานีรถไฟบางเขนไปยังสถานีปลายทาง ‘หัวลำโพง’ เพื่อพูดคุยกับผู้โดยสารรถไฟ ไม่ว่าจะถามกี่คน ความเห็นที่ได้ก็ล้วนไปในทางเดียวกันคือ อยากให้รถไฟวิ่งเข้าสถานีหัวลำโพงตามเดิม หากไม่มีรถไฟวิ่งเข้าถึงหัวลำโพง ประชาชนจำนวนมากจะเดือดร้อน เดินทางยากลำบากขึ้นกว่าเดิมมาก
ชวนฟังเสียงประชาชนผู้เดินทางโดยรถไฟ และร่วมส่งเสียง #saveหัวลำโพง (ที่มีรถไฟ) : https://plus.thairath.co.th/topic/speak/100773
https://www.facebook.com/thairathplus/posts/276300687804228
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44634
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 07/12/2021 7:33 pm    Post subject: Reply with quote

สหภาพฯ รฟท.จ่อยื่น “นายกฯ” ค้านปิดหัวลำโพง ซัดนโยบายทำร้ายประชาชน-เอื้อนายทุน
เผยแพร่: 7 ธ.ค. 2564 18:14 ปรับปรุง: 7 ธ.ค. 2564 18:14 โดย: ผู้จัดการออนไลน์

สหภาพฯ รฟท.ผนึกประชาชน “SAVE หัวลำโพง” จ่อยื่น “นายกฯ” คัดค้าน “ประภัสร์” ยันต้องมีรถไฟทางไกลเข้าเหมือนเดิม อ้างแก้รถติดผิดหลักสากลต้องให้ระบบรางขนส่งมวลชนได้สิทธิ์ก่อน สงสัยเร่งรีบเคลียร์ที่ดินให้ใคร เตือน “ผู้ว่าฯ รฟท.” เป็นลูกจ้าง รฟท.ต้องทำงานเพื่อองค์กร

วันที่ 7 ธ.ค. 2564 สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการรถไฟแห่งประเทศไทย (สร.รฟท.) ได้จัดกิจกรรม “SAVE หัวลำโพง” ณ สถานีหัวลำโพง พร้อมจัดเวทีเสวนา “ปิดหัวลำโพง เพื่อการพัฒนา หรือผลักภาระให้ประชาชน” โดยพนักงาน รฟท. ประชาชน พร้อมด้วย นายสาวิทย์ แก้วหวาน ที่ปรึกษา สร.รฟท., นายประภัสร์ จงสงวน อดีตผู้ว่าการ รฟท., นางสาวรสนา โตสิตระกูล อดีตวุฒิสภา กทม., นายสามารถ ราชพลสิทธิ์ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์, รศ.ดร.ประภัสสร์ ชูวิเชียร อาจารย์ประจำคณะโบราณคดี ม.ศิลปากร และ ผศ.ปริญญา ชูแก้ว อาจารย์ประจำคณะสถาปัตยกรรมและการวางแผน สถาบัน เทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) ร่วมเสวนา

นายสาวิทย์ แก้วหวาน ที่ปรึกษาสหภาพฯ รฟท. เปิดเผยว่า หัวลำโพงเป็นสถานีรถไฟประวัติศาสตร์ และเป็นที่พึ่งของประชาชน หากปิดสถานีหัวลำโพงประชาชนได้รับความเดือดร้อนแน่นอน ที่ผ่านมาทางสหภาพฯ ได้มีการรวบรวมรายชื่อและพบปะประชาชนผ่านระบบออนไลน์ โดยจะรวบรวมความเห็นของประชาชนสรุปเสนอนายกรัฐมนตรี และนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ให้หยุดนโยบายปิดสถานีหัวลำโพง

ต้องบอกว่าการเปิดสถานีกลางบางซื่อแล้วไม่จำเป็นต้องปิดบริการที่สถานีหัวลำโพง และกรณีที่รมว.คมนาคมบอกว่า รฟท.เป็นหนี้ 6 แสนล้านบาทเป็นหนี้ในอนาคตที่ไม่มีจริง ปัจจุบันรัฐบาลค้างจ่ายหนี้ให้ รฟท. 2.4 แสนล้านบาท ส่วนการพัฒนาที่ดินรถไฟนั้นมีอีกหลายแห่งที่พัฒนาได้ ไม่มีเหตุผลที่ต้องเร่งพัฒนาพื้นที่หัวลำโพง ซึ่งรอบหัวลำโพงมีแหล่งธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องที่สามารถดำเนินการไปได้ควบคู่กับสถานีรถไฟ

ทั้งนี้ สหภาพฯ รฟท.มีข้อเสนอต่อรัฐบาลและผู้เกี่ยวข้อง 3 ข้อ คือ
    1. คงการให้บริการเดินรถไฟรับ-ส่งผู้โดยสารที่สถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง) ต่อไป โดยให้มีขบวนรถไฟชานเมืองทุกสาย และรถบริการเชิงสังคม (PSO) ทางไกล อย่างน้อยเส้นทางละ 1 ขบวน มีต้นทาง-ปลายทางที่สถานีหัวลำโพง เพื่อเป็นบริการขนส่งสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานของรัฐที่รองรับประชาชนจำนวนมากจากทั่วทุกส่วนภูมิภาคเข้ามาสู่ กทม. รวมทั้งใช้ในการเดินขบวนรถพิเศษเนื่องในโอกาสต่างๆ ที่สำคัญของประเทศ และของ รฟท. เนื่องจากเป็นพื้นที่อันควรค่ายิ่งแก่การอนุรักษ์ และการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ ซึ่งเป็นประวัติศาสตร์ที่มีชีวิต ส่วนที่สถานีกลางบางซื่อ ให้เป็นต้นทาง-ปลายทางของขบวนรถเชิงพาณิชย์และขบวนอื่นๆ ที่จะมีต่อไปในอนาคต

    2. การแก้ปัญหาการจราจรติดขัดในพื้นที่ กทม. รัฐบาลควรให้ความสำคัญต่อการขนส่งทางรางเป็นระบบหลักอย่างสมบูรณ์เต็มระบบ เช่นเดียวกับประเทศที่เจริญแล้วที่ใช้ระบบรางแก้ปัญหาจราจรและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ส่วนจุดตัดถนนให้แก้ไขโดยทำทางยกระดับหรืออุโมงค์ และเร่งรัดโครงการก่อสร้างรถไฟชานเมืองสายสีแดงส่วนต่อขยายให้เต็มรูปแบบ

    3. การพัฒนาพื้นที่ในเชิงพาณิชย์เพื่อชดเชยผลการดำเนินงานที่ขาดทุน ให้พัฒนาพื้นที่ที่มีความพร้อม เช่น ย่านพหลโยธิน บางซื่อ จตุจักร รัชดาภิเษก สถานีแม่น้ำ หรือพื้นที่อื่นๆ ในต่างจังหวัด


@“ประภัสร์” ชี้ที่ดินรถไฟมีทั่วประเทศ ทำไมต้อง “หัวลำโพง” แลกประวัติศาสตร์กับเศษเงิน

นายประภัสร์ จงสงวน อดีตผู้ว่าการ รฟท. กล่าวว่า สถานีรถไฟหัวลำโพงเป็นหน้าแรกของประวัติศาสตร์ระบบรางของประเทศไทย เป็นประวัติศาสตร์ที่มีชีวิต ซึ่งรัชกาลที่ ๕ ได้ทรงริเริ่มเพื่อประชาชนคนไทย และทำให้สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของบูรพกษัตริย์ ซึ่งรัฐบาลเองพยายามพูดเสมอว่า ทำไมวันนี้เด็กสมัยใหม่ไม่รู้จักบุญคุณ ไม่รู้จักประวัติศาสตร์ ไม่รู้จักอะไรเลย แต่รัฐบาลเองที่จะทำลายสิ่งที่บูรพกษัตริย์ ได้ทรงสร้างไว้พระราชทานแก่คนไทยทั้งประเทศ ไม่เข้าใจว่าทำเพื่ออะไร หรือทำเพื่อเศษเงิน ต้องถามกันตรงๆ ว่าการพัฒนาพื้นที่หัวลำโพงที่อ้างว่าจะได้เป็นแสนล้านบาท แต่ถามว่าใครได้ หากไปดูการให้เช่าที่ดินรถไฟบริเวณลาดพร้าว หัวหิน รถไฟได้เงินเท่าไรแล้วเอามาช่วยแก้ปัญหาอะไรของรถไฟได้บ้าง นโยบายรัฐบาลไม่เคยอยู่บนพื้นฐานความจริงเลย

รถไฟสร้างขึ้นเพื่อบริการประชาชน ซึ่งคนไทยส่วนใหญ่มีปัญหาเรื่องค่าใช้จ่าย หากไปดูรัฐก่อสร้างรถไฟฟ้าใช้เงินมหาศาลเพื่อให้คนกลุ่มเดียวใช้เท่านั้น การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ก่อตั้งมา 30 กว่าปี แต่มีหนี้สินมากกว่า รฟท.อีก ทำไม รมต.คมนาคมไม่ไปดูบ้าง แต่กลับมามุ่งเน้นที่ รฟท.และที่ดินหัวลำโพง

“ผมฝากถาม รมต.คมนาคมว่าทำไมต้องเป็นหัวลำโพง ในเมื่อตามแผนตั้งบริษัทเอสอาร์ที แอสเสท จำกัด เพื่อบริหารทรัพย์สินรถไฟในรายงานไม่มีชื่อพัฒนาที่ดินหัวลำโพง มีแต่ที่อื่นๆ แล้วทำไมวันนี้ต้องหัวลำโพง ขณะที่ รฟท.ยังมีที่ดินว่างๆ สวยๆ เช่น แถวช่องนนทรี 200 กว่าไร่ อยู่ตรงข้ามบางกะเจ้า วิวสวยมาก ทำไมไม่ไปพัฒนา ทำไมต้องมุ่งที่ถนนพระราม 4 ซึ่งต้องบอกตรงๆ ว่าทุกวันนี้ย่านวิทยุ สาทรรถติดมาก มีโครงการ โรงแรมมากมายอยู่แล้ว แล้วจะมาเปิดที่หัวลำโพงอีก ท่านมีความสุขกับการเห็นรถติดหรือ”

ส่วนกรณีจุดตัดกับถนนประเด็นนี้รถติดจากรถไฟไม่นาน และอยากจะบอกว่าในฐานะที่ผมเคยทำงานที่ การทางพิเศษแห่งประเทศไทย สมัยที่ กทพ.ก่อสร้างทางด่วนขั้นที่ 2 ได้เสนอก่อสร้างทางด่วนลงยมราช เป็นทางยกระดับข้ามทางรถไฟ แต่กระทรวงคมนาคมบอกว่าไม่ให้ทำ โดยให้ทำทางลงตัดกับทางรถไฟ ทำให้ตอนเปิดทางด่วนแรกๆ มีรถชนกัน เพราะรถที่ลงทางด่วนที่เป็นทางโค้งแล้วเจอทางรถไฟต้องเบรกกะทันหัน นี่คือสิ่งที่กระทรวงคมนาคมทำ เป็นอะไรที่แปลก และในโลกนี้ไม่มีที่ไหนที่สร้างถนนใหม่แล้วไปตัดรถไฟ มีแต่สร้างถนนข้ามหรือลอดใต้รถไฟ

“รถไฟทำให้รถติด พูดได้อย่างไร คนในรถไฟมีเท่าไร แต่รถยนต์ 1 คันมี 1 คน หลักการทั่วโลก ระบบรางส่วนรวมต้องได้สิทธิ์ก่อน ไม่ใช่ให้รถเก๋งไปก่อน นายกฯ ต้องลงมาดูเองว่าสมควรหรือไม่ และคมนาคมต้องตอบว่าทำไมต้องเป็นหัวลำโพง ตรงนี้มีอะไรที่ต้องเอาไปให้ได้ ส่วนผู้ว่าฯ รฟท.ท่านเป็นลูกจ้าง รฟท. ไม่ใช่ลูกจ้างคมนาคม ดังนั้นหน้าที่คือต่อรถไฟ รักษาผลประโยชน์รถไฟ ไม่ใช่ปล่อยให้เป็นแบบนี้”

นายประภัสร์กล่าวว่า ตอนเริ่มแผนก่อสร้างสถานีกลางบางซื่อ สมัยที่ตนเป็นผู้ว่าฯ รฟท.นั้นไม่มีนโยบายหรือพูดถึงการปิดหัวลำโพง มีแต่บอกว่าเดินรถคู่กันไป โดยเฉพาะรถไฟทางไกลทั้งหมดยังต้องเข้าหัวลำโพงเพื่อให้ประชาชนทางไกลมีสัมภาระมาด้วยไม่ลำบาก ถามว่าไม่เข้าหัวลำโพงแล้วประชาชนจะเดินทางอย่างไร แล้วยังต้องขนสัมภาระกันอีก ผู้คุมนโยบายคิดกันบ้างหรือไม่ เรื่องนี้จึงรับไม่ได้

ประเด็นหนี้สิน ต้องบอกว่ารถไฟไม่ได้เป็นหนี้แต่รัฐบาลไม่จ่ายชดเชยให้ หากรัฐจ่ายหนี้ก็หายหมด รถไฟอายุกว่า 100 ปี ที่ผ่านมาให้บริการประชาชน ช่วยเรื่องการเดินทางลดค่าใช้จ่าย คิดผลตอบแทนทางเศรษฐกิจที่ตอบแทนประเทศมูลค่ามากมาย ทำไมไม่คิดจุดนี้ นอกจากนี้ การตั้งกรมการขนส่งทางราง (ขร.) ขึ้นมาทำหน้าที่กำกับดูแล แต่วันนี้กรมรางจะเอาทุกรางของรถไฟไปเป็นเจ้าของ เอากรรมสิทธิ์ไปหมด กรมรางควรทำหน้าที่กำกับ ไม่ควรยุ่งเรื่องกรรมสิทธิ์

ด้านนายสามารถ ราชพลสิทธิ์ กล่าวว่า กระทรวงคมนาคมต้องทบทวน หัวลำโพงต้องมีรถชานเมืองและรถไฟทางไกลเข้ามาให้บริการประชาชน เปิดทั้งหัวลำโพงและบางซื่อควบคู่กันไป ใครใกล้ที่ไหน ไปใช้บริการที่นั่น ส่วนที่ รฟท.จะจัดฟังความเห็นเรื่องปิดหัวลำโพงวันที่ 14 ธ.ค.นั้น ตนเห็นว่าไม่ควรจัดเลยนอกจากกระชั้นชิดกับวันที่ 23 ธ.ค.ที่คมนาคมบอกจะหยุดเดินรถแล้ว ส่วนคนที่ถามกันนั้น เป็นผู้ใช้บริการหรือไม่ เพราะผู้โดยสารจริงๆ ไม่มีโอกาสได้มาฟัง มาพูด เวทีไม่ต้องจัดให้เสียเวลา เสียเงิน เพราะจากที่สหภาพฯ รฟท.ได้ลงพื้นที่สอบถามความเห็นผู้ใช้บริการหลายสัปดาห์แล้ว ไม่มีใครเห็นด้วยกับการปิดหัวลำโพงเลย

รศ.ดร.ประภัสสร์ ชูวิเชียร อาจารย์ประจำคณะโบราณคดี ม.ศิลปากร กล่าวว่า การวางแนวเส้นทางรถไฟ และสถานีรถไฟนั้น สะท้อนถึงแนวคิดการคมนาคมขนส่งด้านโลจิสติกส์ที่ผ่านมา ซึ่งมีการใช้แม่น้ำเป็นการคมนาคมหลัก ดังนั้นสถานีรถไฟจึงมักใกล้กับแม่น้ำเพื่อเชื่อมกันได้สะดวกและต่อเนื่อง โดยในอดีตที่ผ่านมามีเหตุการณ์ตัดระยะและหยุดเดินรถไฟ 2 ครั้ง ครั้งแรกปี 2507 มีการตัดระยะรถไฟสายแม่กลองจากสถานีปากคลองสานถึงแค่วงเวียนใหญ่ ทำให้คนจากจังหวัดสมุทรสาคร มหาชัย เดินทางมาถึงหัวลำโพงไม่ได้ ซึ่งรัฐบาลสมัยนั้นอ้างเหตุรถไฟกีดขวางการจราจร ซึ่งเหมือนเหตุผลที่ใช้อ้างในวันนี้เลย เพียงแต่สมัยนั้นยังไม่มีโซเชียล

ครั้งที่ 2 ปี 2546 เป็นการยุบเลิกสถานีรถไฟธนบุรี หรือบางกอกน้อย โดยย่นระยะทางไปตั้งสถานีใหม่ที่สะพานอรุณอัมรินทร์ ซึ่งลึกเข้าไป ออกจากแม่น้ำเจ้าพระยา ทำให้กระทบต่อการเดินทางของสายใต้ นครปฐม การเชื่อมต่อไม่ดี ดังนั้น จึงไม่อยากให้เกิดเป็นครั้งที่ 3 ที่สถานีรถไฟหัวลำโพง ทำไมชอบทำลายประวัติศาสตร์ที่มีชีวิตแล้วไปสร้างสิ่งเทียมขึ้นมา เป็นประวัติศาสตร์กำมะลอ แทนที่จะอนุรักษ์ประวัติศาสตร์ที่มีชีวิตให้ดำรงอยู่ต่อไป

Click on the image for full size


กลุ่มสหภาพฯรถไฟ คัดค้านการปิดสถานีรถไฟหัวลำโพง
Dec 8, 2021
TV5HD ONLINE


https://www.youtube.com/watch?v=uUE01EFDDfo


Last edited by Mongwin on 08/12/2021 4:27 pm; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42748
Location: NECTEC

PostPosted: 07/12/2021 8:42 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
สหภาพฯ รฟท.จ่อยื่น “นายกฯ” ค้านปิดหัวลำโพง ซัดนโยบายทำร้ายประชาชน-เอื้อนายทุน
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันอังคาร ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2564 เวลา 18:14 น.
ปรับปรุง: วันอังคาร ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2564 เวลา 18:14 น.


รถไฟต้องเข้า”สถานีหัวลำโพง”ทุกเสียงเห็นตรงกัน
*ให้นายกฯสั่ง”ศักดิ์สยาม”หยุดแนวคิดด่วน
*อย่าผลักภาระประชาชนจ่ายเพิ่มวันละ200
*ไม่ยอมให้สถาปัตยกรรมงดงามกว่า100ปี
*มาเป็นประตูเข้า"ห้างสรรพสินค้า"เด็ดขาด
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/3062911607263670

ต้านปิดหัวลำโพง-แก้สีผังเมือง เอื้อนายทุนพัฒนาเชิงพาณิชย์
หน้าอสังหาริมทรัพย์

วันพุธ ที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2564 เวลา 8:43 น.

เสียงต้านปิดหัวลำโพงดังกระหึ่มสหภาพรถไฟ สามารถ-รสนา-ประภัสร์ ย้ำชัด ประชาชนเดือดร้อนเบื้องลึกสั่งหยุดเดินรถรอจังหวะแก้สีผังเมืองจาก“น้ำเงินเป็นแดง” เอื้อนายทุนพัฒนาเชิงพาณิชย์ 120 ไร่ ประชาชนค้านขอเพิ่มค่าโดยสารแทนหยุดเดินรถ



กระแสต่อต้านการปิดสถานีรถไฟกรุงเทพหรือหัวลำโพงยกระดับความเข้มข้นขึ้นตามลำดับเมื่อทุกภาคส่วน ผนึกพลังเป็นเสียงเดียว คานอำนาจรัฐ ให้หันมาฟังเสียงสะท้อนโดยเฉพาะประชาชนผู้ใช้บริการ แม้ว่าท่าทีของกระทรวงคมนาคมจะยอมโอนอ่อนผ่อนตามเปิดรับฟังความคิดเห็นในวงกว้าง วันที่14ธันวาคม แต่ในเบื้องลึกแล้ว

สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจรถไฟแห่งประเทศไทย (สร.รฟท.) และนายราชศักดิ์ ปิยะปัญญานนท์ อดีตพนักงานขับรถไฟ สะท้อนว่า เป็นการแสดงท่าทีชั่วคราว เพราะต่างมีธงที่จะนำที่ดินแปลงดังกล่าวพัฒนาเชิงพาณิชย์อยู่แล้ว หากทุกฝ่ายหยุดการเคลื่อนไหวเมื่อใดในไม่ช้าที่ดินหัวลำโพง อาจตกไปอยู่ในมือของนายทุน ที่พวกเขาเชื่อว่าน่าจะมีการชักใยอยู่เบื้องหลัง และอาจมีข้อตกลงเบื้องต้นบางประการไว้ก่อนแล้ว



“ฐานเศรษฐกิจ” ลงพื้นที่สำรวจที่ดินที่ตั้งสถานีหัวลำโพง 120 ไร่ หากมองผิวเผินจากบริเวณด้านหน้าซึ่งเป็นโดมสัญลักษณ์ พบว่าพื้นที่ไม่กว้างขวางนักแต่เมื่อเทียบกับศักยภาพแล้วมีสูงทั้งในแง่ความงดงามทางสถาปัตยกรรมโบราณแบบตะวันตก ภายในตัวอาคารเชื่อมโยงด้วยรถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงิน เมื่อก้าวเข้าสู่ด้านในบริเวณชานชาลาจะเห็นว่า ที่ดิน สถานีหัวลำโพง เป็นแปลงขนาดใหญ่เต็มไปด้วยระบบรางรถไฟ และขบวนรถเข้า-ออก จึงเข้าใจว่าเหตุใดพนักงานของการรถไฟแห่งประเทศไทย นักวิชาการ นักเคลื่อนไหว นักการเมืองจึงออกมาคัดค้าน

ล่าสุดวันที่ 7 ธันวาคมได้มีการเปิดเวทีแสดงความคิดเห็นนัดสำคัญบริเวณสถานีหัวลำโพงซึ่งจัดขึ้นโดยสร.รฟท. ทั้งนี้นายสามารถ ราชพลสิทธิ์ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ และ อดีตรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ให้ข้อคิดว่า หากมีการปิดให้บริการสถานีรถไฟหัวลำโพงในวันที่ 23 ธันวาคมนี้ จะส่งผลให้ประชาชนได้รับผลกระทบด้านค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้นถึง 7 เท่า ซึ่งเป็นการจำกัดการเดินทางให้ประชาชนต้องใช้บริการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินและรถไฟสายสีแดงแทน เพื่อให้เดินทางไปทำงานได้ทันเวลาในแต่ละวัน


ขณะเดียวกันปัจจุบันพบว่า แผนผังการใช้ประโยชน์ที่ดิน ของสถานีรถไฟหัวลำโพงได้กลายเป็นพื้นที่สีแดงแล้วจากเดิมเป็นพื้นที่สีน้ำเงิน ที่ผ่านมาจากการลงพื้นที่เปิดรับฟังความคิดเห็นประชาชนยังพบว่า 100% ประชาชนไม่เห็นด้วยในการปิดให้บริการสถานีรถไฟหัวลำโพง


นายประภัสร์ จงสงวน อดีตผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศ (รฟท.) สะท้อนว่าจากกรณีการปิดสถานีหัวลำโพงนั้น ตามพระราชโองการของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 ที่ชัดเจนว่าทรงพระราชทานที่ดินพื้นที่สถานีหัวลำโพง เพื่อความสะดวกของประชาชนในการเดินทาง ซึ่งการที่จะเปลี่ยนการใช้ที่ดินส่วนนี้เป็นพื้นที่เชิงพาณิชย์นั้นไม่ใช่พระราชประสงค์ รวมถึงภารกิจและวัตถุประสงค์ของการรถไฟฯ เนื่องจากพระราชโองการก็คือกฎหมายสูงสุด สิ่งที่พวกท่านกำลังจะทำคือการล้มเลิกกฎหมายสูงสุดของประเทศ

“การแก้กฎหมายมันต้องมีกระบวนการ ไม่ใช่ตามนโยบายแล้วนโยบายของใคร ของเจ้ากระทรวงหรือของรัฐบาล และในตอนที่รัฐบาลแถลงนโยบายก็ไม่มีการแถลงนโยบายเหล่านี้”

นางสาวรสนา โตสิตระกูล อดีตสมาชิกวุฒิสภา กทม. กล่าวว่า นโยบายหยุดเดินรถเข้าสถานีหัวลำโพงของนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เพื่อเอาพื้นที่เหล่านี้ไปเปิดประมูลทำห้างสรรพสินค้า ถือเป็นนโยบายที่นำเอาสิ่งสวยงามของสถานีหัวลำโพง สถาปัตยกรรมที่มีคุณค่าไปอัพราคาให้กับห้างสรรพสินค้า ไปเป็นประตูทางเข้าห้าง เอาคุณค่าเหล่านี้ไปสร้างมูลค่าเพิ่ม

ดังนั้นวันนี้ต้องคัดค้าน เพราะการเดินทางสำคัญที่สุด ประชาชนที่ต้องการเดินทางเข้ามาหัวลำโพงต้องเดินทางมาได้ ไม่ใช่แค่หยุดอยู่ชานเมือง แต่ควรจะมีรถไฟจากพื้นภาคทุกภาคเข้ามา

“วันนี้เขาต้องการหยุดเดินรถไฟเพื่อเคลียร์พื้นที่สีน้ำเงินที่ไม่สามารถทำพาณิชยกรรมได้ใช่หรือไม่ เพราะการหยุดเดินรถไฟก็จะได้ไประบายสีผังเมือง ดังนั้นเราต้องต่อต้านไม่ให้หยุดเดินรถเข้าสถานีหัวลำโพง”

ด้านนายสาวิทย์ แก้วหวานที่ปรึกษาสร.รฟท. ย้ำว่า วันที่ 23 ธันวาคม จะต้องมีขบวนรถไฟจำนวน 22 ขบวน เข้าสถานีหัวลำโพงเช่นเดิม โดยเสนอไปยังกระทรวงคมนาคมและรัฐบาล 3 ข้อ ดังนี้
1.การให้มีบริการขบวนรถไฟรับ-ส่งผู้โดยสารที่สถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง) ควรมีอยู่ต่อไป โดยให้มีขบวนรถไฟชานเมืองทุกสาย และรถบริการเชิงสังคม (PSO) ทางไกล อย่างน้อยเส้นทางละ 1 ขบวน มีต้นทาง-ปลายทางที่สถานีกรุงเทพ

2.การแก้ปัญหาการจราจรติดขัดในพื้นที่ กทม. รัฐบาลควรให้ความสำคัญกับการขนส่งทางรางเป็นระบบหลักอย่างสมบูรณ์เต็มระบบ 3.การพัฒนาพื้นที่ในเชิงพาณิชย์ เพื่อมาชดเชยผลการดำเนินงานที่ขาดทุนของรฟท.ควรดำเนินการจากที่ดินที่มีความพร้อม เช่น พื้นที่ย่านพหลโยธิน บางซื่อ จตุจักร รัชดาภิเษก สถานีแม่น้ำ รวมถึงภูมิภาคอย่างหัวหิน บุรีรัมย์ฯลฯ

นายกิจธพงษ์ รุ่งกิจวรเสถียร ผู้โดยสารรถไฟชานเมืองสายตะวันออกระบุว่า ไม่ต้องการให้ปิดหัวลำโพง โดยต้องคำนึงถึงประชาชนที่เดินทางระยะสั้นประจำ เพื่อเข้ามาทำงานย่านหัวลำโพงและละแวกใกล้เคียง เพราะค่าโดยสารถูก เพียง3บาทจากสถานีหัวหมาก ถึงหัวลำโพงและสามารถกำหนดเวลาได้ชัดเจน ทั้งนี้ยินดีให้ขึ้นค่าโดยสารเป็น5บาทเพื่อแลกกับการหยุดเดินรถ

เคลียร์ชัด สหภาพรถไฟค้านปิดสถานีหัวลำโพง เอื้อนายทุน
หน้าเศรษฐกิจ Mega Project
ฐานเศรษฐกิจดิจิทัล |
วันอังคาร ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2564 เวลา 15:47 น.

สหภาพรถไฟฯ ค้านปิดสถานีหัวลำโพง จ่อยื่น 3 ข้อเสนอชงรัฐบาลแก้ปัญหาเดินรถไฟ แก้ปัญหาจราจรติดขัด หวั่นเอื้อนายทุนรายใหญ่สร้างศูนย์การค้าฯ

นายสาวิทย์ แก้วหวาน ที่ปรึกษาสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการรถไฟแห่งประเทศไทย (สร.รฟท.) เปิดเผยว่า สำหรับการเปิดรับฟังความคิดเห็นในการหยุดให้บริการเดินรถไฟเข้าสถานีหัวลำโพง นั้น ทางสหภาพมองว่าสถานีรถไฟหัวลำโพงถือเป็นสถานีประวัติศาสตร์และเป็นที่พึ่งของประชาชน หากมีการปิดสถานีหัวลำโพงจะส่งผลกระทบให้ประชาชนได้รับความเดือดร้อน ที่ผ่านมาทางสหภาพได้ดำเนินการล่ารายชื่อและพบปะประชาชนผ่านระบบออนไลน์ทั้งหมดโดยต้องการให้รัฐบาลและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมหยุดดำเนินการนโยบายเหล่านี้ ส่วนกรณีที่นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม มีแผนให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ทบทวนแผนการเดินรถไฟเข้าสถานีหัวลำโพง เบื้องต้นสร.รฟท.ยืนยันต้องมีขบวนรถไฟจำนวน 22 ขบวน เข้าสถานีหัวลำโพงเหมือนเดิม ส่วนข้อเสนออื่นๆคงต้องฟังภาคประชาชนอีกครั้งเพื่อหาข้อสรุปและเสนอต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมและนายกรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป







นายสาวิทย์ กล่าวต่อว่า ส่วนการหยุดเดินรถไฟเข้าสถานีหัวลำโพงในวันที่ 23 ธ.ค.นั้น ทางสหภาพฯไม่เห็นด้วย เนื่องจากสหภาพฯได้ลงพื้นที่สำรวจความคิดเห็นประชาชน ซึ่งพบว่าประชาชนส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยกับการหยุดให้บริการเดินรถไฟเข้าสถานีหัวลำโพง









"หากมีการเปิดให้บริการสถานีกลางบางซื่อและต้องปิดให้บริการสถานีรถไฟหัวลำโพงไม่ใช่เรื่องจำเป็น เพราะสถานีหัวลำโพงถือว่ายังมีความสำคัญทางด้านประวัติศาสตร์และการให้บริการประชาชน ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมต้องทบทวนในเรื่องนี้ว่าจะเห็นผลประโยชน์ในการบริหารพื้นที่เชิงพาณิชย์หรือให้ผลประโยชน์แก่ประชาชนมากกว่ากัน"



"ทุกวันนี้เราต้องพูดความจริงว่ารฟท.เป็นหนี้เพราะมีการให้บริการที่ต่ำกว่าต้นทุน ทำให้มีหนี้สะสม 2.4 แสนล้านบาท เนื่องจากภาครัฐไม่ได้มีการชดเชยรายได้ให้กับรฟท. ขณะเดียวกันที่ดินของรฟท.บริเวณอื่นๆสามารถหาประโยชน์ได้เช่นกัน แต่การยกเลิกสถานีรถไฟหัวลำโพง ทั้งๆที่เป็นสถานีให้บริการด้านระบบรางถือเป็นการผิดกฎหมายอย่างชัดเจน "









นายสาวิทย์ กล่าวต่อว่า ส่วนกรณีที่กระทรวงคมนาคมยกประเด็นถึงรฟท.เป็นหนี้ถึง 6 แสนล้านบาท ซึ่งเป็นหนี้ในอนาคตที่ไม่มีความจริง โดยปัจจุบันภาครัฐค้างจ่ายหนี้ให้รฟท. อยู่ที่ 2.4 แสนล้านบาท ขณะเดียวกันการพัฒนาที่ดินในพื้นที่รฟท.มีหลายแปลง เช่น สถานีย่านจตุจักร ,สถานีบางซื่อ ฯลฯ ที่สามารถพัฒนาพื้นที่ได้ แต่เหตุใดถึงเร่งรัดการพัฒนาพื้นที่สถานีรถไฟหัวลำโพง รวมทั้งบริเวณรอบสถานีรถไฟหัวลำโพงมีหลายธุรกิจที่เช่าบนพื้นที่ของรฟท. เช่น โรงแรมทวินทาวเวอร์ สามารถทำควบคู่กับการให้บริการสถานีรถไฟหัวลำโพงต่อไปได้





สำหรับข้อเสนอของสหภาพฯรถไฟต่อรัฐบาลและผู้เกี่ยวข้องในการแก้ไขปัญหาดังต่อไปนี้ 1. การให้มีบริการขบวนรถไฟรับ – ส่งผู้โดยสารที่สถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง) ควรมีอยู่ต่อไป โดยให้มีขบวนรถไฟชานเมืองทุกสาย และรถบริการเชิงสังคม(PSO)ทางไกล อย่างน้อยเส้นทางละ 1 ขบวน มีต้นทาง – ปลายทางที่สถานีกรุงเทพ เพื่อเป็นบริการขนส่งสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานของรัฐ ที่รองรับประชาชนจำนวนมากจากทั่วทุกส่วนภูมิภาคเข้ามาสู่กรุงเทพมหานคร ด้วยความสะดวก ปลอดภัย รวมทั้งใช้ในการเดินขบวนรถพิเศษเนื่องในโอกาสต่างๆ ที่สำคัญของประเทศ และของการรฟท.อีกทั้งเป็นพื้นที่อันควรค่ายิ่งแก่การอนุรักษ์ใช้เป็นพื้นที่ท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ได้ ซึ่งเป็นประวัติศาสตร์ที่มีชีวิต ส่วนที่สถานีกลางบางซื่อ ให้เป็นต้นทาง – ปลายทาง ของขบวนรถเชิงพาณิชย์และขบวนอื่นๆที่จะมีต่อไปในอนาคต





2.การแก้ปัญหาการจราจรติดขัดในพื้นที่ กทม. รัฐบาลควรให้ความสำคัญกับการขนส่งทางรางเป็นระบบหลักอย่างสมบูรณ์เต็มระบบ ซึ่งในประเทศที่เจริญแล้วต่างก็ใช้ระบบขนส่งทางรางเป็นระบบขนส่งหลักในเมืองเพื่อแก้ไขปัญหาการจราจร ส่งเสริมให้ลดปริมาณการใช้รถยนต์ เนื่องจากขนส่งคนได้เป็นจำนวนมาก ไม่สร้างมลภาวะเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ทางแก้ควรขยายทางยกระดับข้ามทางรถไฟ หรือขุดอุโมงค์ที่ถนนตัดผ่านเสมอระดับทางที่ยมราช โดยรัฐบาลควรดำเนินการเร่งรัดโครงการก่อสร้างโครงข่ายรถไฟชานเมืองสายสีแดงส่วนต่อขยายให้เต็มรูปแบบ ที่ดำเนินการโดยรัฐทั้งระบบโครงสร้างพื้นฐานและการบริหารจัดการ เพื่อควบคุมราคาค่าบริการและเป็นรัฐสวัสดิการให้กับประชาชน



3.การพัฒนาพื้นที่ในเชิงพาณิชย์เพื่อมาชดเชยผลการดำเนินงานที่ขาดทุนของรฟท.ควรดำเนินการจากที่ดินของรฟท.ในพื้นที่ที่มีความพร้อม เช่น พื้นที่ย่านพหลโยธิน บางซื่อ จตุจักร รัชดาภิเษก สถานีแม่น้ำ หรือพื้นที่อื่นๆที่มีศักยภาพและความพร้อมทั้งในกรุงเทพ และต่างจังหวัด เช่น เชียงใหม่ พิษณุโลก อรัญประเทศ สงขลา พังงา ประจวบคีรีขันธ์ อุดรธานี ขอนแก่นอุบลราชธานี นครราชสีมา และ บุรีรัมย์ เป็นต้น







ขณะเดียวกันพื้นที่สถานีรถไฟหัวลำโพงเป็นที่ดินที่มีวัตถุประสงค์ในการใช้เพื่อประโยชน์แห่งรัฐและประชาชน ดำเนินธุรกิจอันเกี่ยวกับการขนส่งของรถไฟที่ใช้สำหรับการเดินรถ การนำมาใช้เพื่อประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ อาจเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ขัดกับวัตถุประสงค์ตามพระราชบัญญัติการรถไฟแห่งประเทศไทย พ.ศ.2494 มาตรา 6 ต้องการที่จะหาประโยชน์จากการพัฒนาที่ดิน โดยหากมีความจำเป็นต้องพัฒนาที่ดินบริเวณสถานีหัวลำโพงด้วย ไม่จำเป็นต้องปิดสถานีหัวลำโพง และหยุดให้บริการเดินรถไฟแต่อย่างใด เพราะการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์กับการขนส่งสาธารณะทางรถไฟสามารถดำเนินการควบคู่กันไปได้




ทั้งนี้ตามกรณีที่อ้างว่ารฟท.ขาดทุนต้องพูดความจริงให้หมด ตามพระราชบัญญัติการรถไฟแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2494 มาตรา 43 ถ้ารายได้มีจำนวนไม่พอสำหรับรายจ่าย(ขาดทุน) รัฐพึ่งจ่ายเงินให้แก่รฟท.เท่าจำนวนที่ขาด โดยรฟท.ดำเนินงานตามนโยบายของรัฐในการให้บริการเชิงสังคมที่ต่ำกว่าต้นทุน ขาดทุนสะสมกว่า 190,000 ล้านบาท แต่รัฐบาลไม่ได้จ่ายเงินชดเชยให้ตามเวลา และตามจำนวนที่ขาด จนทำให้รฟท.ต้องไปกู้เงินเพื่อเสริมสภาพคล่อง และรับภาระดอกเบี้ยประมาณปีละ 3,000 ล้านบาท





นางสาวรสนา โตสิตระกูล อดีตสมาชิกวุฒิสภา กรุงเทพมหานคร (กทม.) กล่าวต่อว่า เราต้านการปิดสถานีรถไฟหัวลำโพง เนื่องจากปัจจุบันผังเมืองสถานีหัวลำโพงเป็นสีน้ำเงิน ซึ่งไม่สามารถนำไปบริหารเป็นพื้นที่เชิงพาณิชย์ได้ แต่นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมต้องการหยุดเดินรถไฟโดยปรับสีผังเมืองเพื่อดำเนินการหารายได้ในการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์โดยการเปิดประมูล ถึงแม้กระทรวงคมนาคมยืนยันว่าไม่มีการทุบสถานีรถไฟหัวลำโพงแต่ก็ถือเป็นการเอื้อนายทุน ทำให้สถานีรถไฟหัวลำโพงกลายเป็นประตูทางเข้าเพื่อสร้างศูนย์การค้าในอนาคต
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42748
Location: NECTEC

PostPosted: 09/12/2021 5:06 pm    Post subject: Reply with quote

'คงอยู่' หรือ 'รื้อทิ้ง' "หัวลำโพง" รัฐควรทำอย่างไร?
นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ ทวิตตอบคำถามผู้สงสัยว่า ควร #ยกเลิกสถานีหัวลำโพง ทิ้งหรือไม่?? ว่า.... #เลิกสนามบินดอนเมืองดีไหม? คำถามยอดฮิตกว่า 10 ปีมาแล้ว วันนั้นโชคดีที่รัฐตัดสินใจโดยใช้ประชาชนเป็นที่ตั้ง ดอนเมืองจึงได้อยู่ต่อ วันนี้มีคำถามสุดฮอตอีกครั้ง ยกเลิกหัวลำโพงดีไหม?.. ต้องดูว่ารัฐบาลตัดสินใจครั้งนี้ จะใช้ #ประชาชนเป็นที่ตั้ง หรือ #นายทุนอสังหาที่จ้องเขมือบผืนที่นี้
.
อาจเปรียบ #สถานีรถไฟ กับ #สนามบิน ได้บ้าง ประเทศที่มีสนามบินกลางเมือง ถ้าไม่มีเรื่องความปลอดภัยมาเกี่ยวข้อง (​เช่นฮ่องกง) ยากที่จะยกเลิก สร้างสนามบินเพิ่มนอกเมืองแทน เพราะประชาชนได้ประโยชน์เต็มที่จากสนามบินใกล้บ้าน ..หงุดหงิดบ้างเรื่องเสียง แต่มีทางแก้คือหยุดบินช่วงกลางคืน
.
ผู้ทีต้องการยกเลิกหัวลำโพง เขาก็มีเหตุผล ...
1. มีสถานีใหญ่แห่งใหม่แล้วที่บางซื่อ เสันทางรถไฟวิ่งเชื่อมหัวลำโพง บางซื่อวิ่งบนดิน ผ่านถนนหลายสาย จราจรเป็นอัมพาต
2. การรถไฟบริหารขาดทุน ต้องเอาพื้นที่ขนาดใหญ่กลางเมืองไปทำประโยชน์หารายได้ ส่วนนี้น่าจะเป็นเหตุผลหลัก
.
#ถ้ารัฐใช้ประชาชนเป็นที่ตั้ง_ต้องเก็บหัวลำโพงไว้ ปัญหาจราจรบริเวณจุดตัด ใครจะเป็นผู้หลีกเส้นทาง รางรถไฟหรือถนน ทางวิศวกรรม ทำได้หมด ส่วนจะแก้ปัญหา #การรถไฟขาดทุน โดยการเอาที่ดินไปให้เช่า อย่าทำเลย...ที่ดินที่ได้มาตั้งแต่เริ่ม เขาให้ใช้ในกิจการรถไฟ ไม่ใช่สร้างศูนย์การค้ามั้ง
.
ข้อเสนอ .....
1. เก็บหัวลำโพงไว้ จัดระบบใหม่ เพราะเราจะมีศูนย์หลักที่บางซื่อ หัวลำโพงจะเป็นเพียงสถานีใจกลางเมืองเท่านั้น แก้จุดตัดที่สำคัญเพราะจราจรหนาแน่น บางจุดเช่นที่ยมราช
2. ที่ดินที่ใช้เพื่อการรถไฟจะลดน้อยลง มีที่ดินเหลือ ทำเป็นสวนสาธรณะ อย่าใช้หัวลำโพงแก้ขาดทุนการรถไฟ....จบ!
https://www.facebook.com/thaitribune1/posts/1737482123125623
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42748
Location: NECTEC

PostPosted: 11/12/2021 6:14 am    Post subject: Reply with quote

#อำลา #หัวลำโพง
บรรยากาศผู้คนคึกคักแบบนี้คงไม่มีให้เห็นอีกแล้ว หลังจากที่หัวลำโพงผ่านการรับใช้ผู้ทุกทุกเพศวัย ทุกระดับชั้นมานานกว่า 105 ปี
สิ่งหนึ่งที่ภาวนาอยากให้โครงสร้างเดิมของหัวลำโพงยังคงอยู่ชั่วลูกหลาน ไว้ให้คนรุ่นหลังเห็นรากเหง้าวัฒนธรรมผ่านอาคารบ้านเรือนที่อนุรักษ์ไว้แบบจริงจัง มากกว่าผ่านรูปถ่าย ที่ดูยังไงก็ไม่ได้อารมณ์เหมือนมาสัมผัสสถานที่จริง
⁉ แปลกใจ และเข้าใจ ⁉
🔥แปลกใจ : ตรงที่ว่าบ้านเรือนตึกเก่า ๆ ที่ควรเก็บรักษา อนุรักษ์ไว้ กลับถูกทุบทิ้งทำลาย สร้างเป็นตึกทันสมัยกันไปหมด จนหลาย ๆ สถานที่ เราก็เสียดายมาก ๆ ว่าน่าจะบูรณะเก็บไว้
💥เข้าใจ : ตึกเก่า บ้านเก่า ค่าบูรณะแพงมาก แต่ถ้าเป็นหลาย ๆ ประเทศเค้าจะไม่ทุบทิ้ง แต่จะให้เงินสนับสนุนในการบูรณะ หลาย ๆ ประเทศเลยมีตึกอายุหลายร้อยปีให้เห็นจนถึงปัจจุบัน และนอกจากค่าบูรณะแล้วที่สูงแล้ว รุ่นลูกหลานก็มักไม่ค่อยเห็นความสำคัญตรงนี้ อยากขายที่ให้นายทุนใช้ประโยชน์ เพื่อนำเงินมาใช้กันมากกว่า
https://www.facebook.com/Letseatthailand/posts/4707744429293107
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42748
Location: NECTEC

PostPosted: 11/12/2021 6:25 am    Post subject: Reply with quote

เริ่ม 23 ธ.ค.นี้! นั่งรถไฟลอยฟ้า “ชุมทางบางซื่อ-รังสิต” เลิกวิ่งพื้นราบ
เศรษฐกิจ-ยานยนต์
10 ธันวาคม 2564 เวลา 21:51 น.

23 ธ.ค.นี้ รฟท. ยุติเดินขบวนรถไฟโดยสารระดับพื้นดิน ตั้งแต่ชุมทางบางซื่อ-รังสิต งดบริการที่สถานี/ที่หยุดรถ 5 แห่ง เปลี่ยนใช้เส้นทางลอยฟ้าเหมือนรถไฟฟ้าสายสีแดงแทน ชี้ผู้โดยสารรถไฟฟ้าสายสีแดงพุ่ง เหตุตอบสนองการเดินทาง ค่าโดยสารถูก

นายเอกรัช ศรีอาระยันพงษ์ ผู้อำนวยการศูนย์ประชาสัมพันธ์ การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยว่า ปัจจุบัน รฟท. ยังคงเปิดให้บริการเดินรถไฟชานเมืองทุกขบวนเข้าถึงสถานีกรุงเทพ (หัวลำโพง) ตามปกติ ไม่ได้มีการหยุดเดินรถที่สถานีดอนเมือง ทั้งนี้ตั้งแต่วันที่ 23 ธ.ค.64 การเดินขบวนรถไฟจากสถานีชุมทางบางซื่อ ถึงสถานีรังสิต ขบวนรถไฟโดยสารทั้งหมดจะขึ้นไปใช้ทางรถไฟยกระดับเช่นเดียวกับรถไฟฟ้าสายสีแดง และยุติการเดินขบวนรถไฟโดยสารบนทางรถไฟระดับพื้นดิน จึงทำให้ไม่สามารถให้บริการที่สถานี และที่หยุดรถระดับพื้นดินรวม 5 แห่ง ได้แก่ สถานีบางเขน สถานีหลักสี่ ที่หยุดรถ กม.11 ที่หยุดรถทุ่งสองห้อง และที่หยุดรถเคหะ กม.19

ADVERTISEMENT



นายเอกรัช กล่าวต่อว่า แผนการปรับลดขบวนรถดังกล่าวไม่ได้เกี่ยวข้อง หรือมีเป้าหมายให้รถไฟฟ้าสายสีแดงเข้ามาวิ่งให้บริการทดแทนแต่อย่างใด แต่จะเป็นการใช้ทางยกระดับในการเดินขบวนรถร่วมกัน และใช้ระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดงในการสนับสนุนการให้บริการของผู้โดยสารในช่วงสถานีดังกล่าว อย่างไรก็ตามสำหรับสาเหตุที่โครงการรถไฟฟ้าสายสีแดงมีผู้โดยสารใช้บริการจำนวนมาก มาจากการให้บริการที่สามารถตอบสนองความต้องการเดินทางของผู้โดยสารได้อย่างดี ตลอดจน รฟท. มีการคิดอัตราค่าโดยสารในราคาที่ไม่สูง เริ่มต้นเพียง 12 บาท เพื่อต้องการแบ่งเบาภาระค่าครองชีพ และเป็นทางเลือกให้พี่น้องประชาชนในการเดินทาง รฟท. ขอยืนยันว่าพร้อมเป็นหน่วยงานในการให้บริการเดินทางขนส่งที่ดีแก่ประชาชนทุกระดับตลอดไป.

ย้ำ! ตั้งแต่ 23 ธ.ค.นี้ เลิกเดินขบวนรถไฟพื้นราบ
*จาก”ชุมทางบางซื่อ-รังสิต”งดบริการ5สถานี
*เปลี่ยนไปใช้เส้นทางลอยฟ้าคู่สายสีแดงแทน
*รฟท.แจงผู้โดยสารพุ่งแรงเกินหมื่นตอบโจทย์
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/457836845793555
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44634
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 11/12/2021 7:02 am    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
เริ่ม 23 ธ.ค.นี้! นั่งรถไฟลอยฟ้า “ชุมทางบางซื่อ-รังสิต” เลิกวิ่งพื้นราบ
เศรษฐกิจ-ยานยนต์
10 ธันวาคม 2564 เวลา 21:51 น.
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/457836845793555

รฟท.ยืนยันไม่จอดรถ'สถานีดอนเมือง'
Source - ไทยโพสต์
Saturday, December 11, 2021 03:30

หัวลำโพง * การรถไฟฯ แจง ยังคงเปิดให้บริการขบวนรถไฟชานเมืองถึงสถานีหัวลำโพงตามปกติ ย้ำยังไม่ได้มีการหยุดรถที่สถานีดอนเมือง เผยเหตุที่ผู้โดยสารสายสีแดงเพิ่มขึ้นเนื่องจากตอบโจทย์ประชาชนในการเดินทาง

นายเอกรัช ศรีอาระยันพงษ์ ผู้อำนวยการศูนย์ประชาสัมพันธ์ การรถไฟแห่งประเทศ ไทย (รฟท.) เปิดเผยถึงกรณีมีการตั้งข้อสังเกตถึงสาเหตุที่มีจำนวนผู้โดยสารใช้บริการรถไฟชานเมือง (รถไฟฟ้า) สายสีแดงจำนวนมาก ว่ามาจากการรถไฟฯ มีการหยุดให้บริการขบวนรถไฟชานเมืองที่สถานีดอนเมืองนั้น เรื่องดังกล่าวไม่เป็นความจริง เนื่องจากปัจจุบันการรถไฟฯ ยังคงเปิดให้บริการเดินรถไฟชานเมืองทุกขบวนเข้าถึงสถานีกรุงเทพ (หัวลำโพง) ตามปกติ ไม่ได้มีการหยุดเดินรถที่สถานีดอนเมืองตามที่มีการตั้งข้อสังเกตแต่อย่างใด

ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 23 ธ.ค. 2564 การเดินขบวนรถไฟช่วงจากสถานีชุมทางบางซื่อถึงสถานีรังสิต ขบวนรถไฟโดยสารทั้งหมดจะขึ้นไปใช้ทางรถไฟยกระดับเช่นเดียวกับรถไฟฟ้าสาย สีแดง และยุติการเดินขบวนรถไฟโดยสารบนทางรถไฟระดับพื้นดิน จึงทำให้ไม่สามารถให้บริการที่สถานีและที่หยุดรถระดับ พื้นดินรวม 5 แห่ง ได้แก่ สถานีบางเขน สถานีหลักสี่ ที่หยุดรถ กม.11 ที่หยุดรถทุ่งสองห้อง และที่หยุดรถเคหะ กม.19 ซึ่งแผนการปรับลดขบวนรถดังกล่าว ไม่ได้เกี่ยวข้องหรือมีเป้าหมายให้รถไฟฟ้าสายสีแดงเข้ามาวิ่งให้บริการทดแทนแต่อย่างใด

สำหรับการให้บริการประชาชนจะเป็นการใช้ทางยกระดับในการเดินขบวนรถร่วมกัน และใช้ระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดงในการสนับสนุนการให้บริการของผู้โดยสารในช่วงสถานีดังกล่าว ส่วนสาเหตุที่โครงการรถไฟฟ้าสายสีแดงมีผู้โดยสารใช้บริการจำนวนมาก มาจากการให้บริการที่สามารถตอบสนองความต้องการเดินทางของผู้โดยสารได้ดี ตลอดจนการรถไฟฯ มีการคิดอัตราค่าโดยสารในราคาที่ไม่สูง โดยเริ่มจัดเก็บค่าโดยสารอัตรา 12-42 บาท เพื่อต้องการแบ่งเบาภาระค่าครองชีพ และเป็นทางเลือกให้พี่น้องประชาชนในการเดินทาง

รายงานข่าวแจ้งว่า ผู้โดยสารรถไฟสายสีแดงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยมีจำนวน 10,602 คน เมื่อวันที่ 26 พ.ย.ที่ผ่านมา วันที่ 27 พ.ย. มีจำนวน 11,180 คน วันที่ 28 พ.ย. มีจำนวน 10,129 คน วันที่ 29 พ.ย. มีจำนวน 11,401 คน และคาดว่าผู้โดยสารจะมาใช้บริการเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง.

ที่มา: นสพ.ไทยโพสต์ ฉบับวันที่ 11 ธ.ค. 2564
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44634
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 11/12/2021 7:14 am    Post subject: Reply with quote

รฟท.จับมือสำนักข่าวไทย เปิดเวทีเสวนารับฟังความเห็นอนาคตหัวลำโพง
Dec 10, 2021
สํานักข่าวไทย TNAMCOT


https://www.youtube.com/watch?v=vVWneBXb7mI

ประเด็นที่เกี่ยวกับสถานีรถไฟหัวลำโพง ทั้งเรื่องของการเดินรถ การพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ในอนาคต ที่ได้รับความสนใจจากสังคมขณะนี้ ในวันที่ 14 ธันวาคมนี้ การรถไฟแห่งประเทศไทย ร่วมกับสำนักข่าวไทย บมจ.อสมท ร่วมกันจัดเวทีรับฟังความเห็นทุกภาคส่วน ซึ่งผู้สนใจร่วมรับฟังได้

เวทีรับฟังความคิดเห็นทุกภาคส่วน “อนาคตสถานีหัวลำโพง ประวัติศาสตร์คู่การพัฒนา” จะจัดขึ้นในวันอังคารที่ 14 ธันวาคมนี้ ตั้งแต่เวลา 13.00-16.30 น. ณ ห้องออดิทอเรียม ชั้น 6 อาคารปฏิบัติการวิทยุและโทรทัศน์ บมจ.อสมท โดยจะมีการถ่ายทอดสดผ่านช่อง Youtube ของสำนักข่าวไทย และไลฟ์สดผ่านเพจ Facebook สำนักข่าวไทย และเพจทีมพีอาร์การรถไฟแห่งประเทศไทย มีวิทยากรที่พร้อมให้ข้อมูลในแง่มุมต่างๆ ครบถ้วน ประกอบด้วย นายสรพงศ์ ไพฑูรย์พงษ์ รองปลัดกระทรวงคมนาคม นายอนันต์ โพธิ์นิ่มแดง ผู้ช่วยผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย นางไตรทิพย์ ศิวะกฤษณ์กุล คณะกรรมการการรถไฟฯ และรักษาการกรรมการผู้จัดการ บริษัท เอสอาร์ที เเอสเสท จำกัด ดร.พิเชฐ คุณาธรรมรักษ์ รองอธิบดีกรมการขนส่งทางราง ดร.สุเมธ องกิตติกุล ผู้อำนวยการวิจัย ด้านนโยบายการขนส่งและโลจิสติกส์ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาแห่งประเทศไทย ดร.ประภัสร์ จงสงวน อดีตผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย นางรสนา โตสิตระกูล อดีต ส.ว.กทม. นายสาวิทย์ แก้วหวาน ที่ปรึกษาสหภาพแรงงานวิสาหกิจรถไฟแห่งประเทศไทย ดร.สุรเชษฐ์ ประวีณวงศ์วุฒิ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคก้าวไกล และนายศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย มีพิธีกรคู่ขวัญ กำภู ภูริภูวดล และ รัชนีย์ สุทธิธรรม ดำเนินรายการ

โดยการรับฟังความคิดเห็น นอกจากจะสามารถแสดงความเห็น หรือคอมเมนต์ใต้เพจทั้ง 2 เพจ และช่องยูทูบ ของสำนักข่าวไทยแล้ว ผู้สนใจเข้าร่วมงานที่ อสมท สามารถลงทะเบียนผ่านการสแกน QR Code เพื่อขอเข้าร่วมงานได้ แต่ยังมีการคัดกรองที่เป็นไปตามมาตรการเฝ้าระวังการระบาดโควิด-19 ของกระทรวงสาธารณสุข รวมทั้งผู้ชมทางออนไลน์จะสามารถสแกน QR Code มุมจอ เพื่อกรอกข้อมูลและแสดงความคิดเห็นผ่าน Google Form ได้ตลอดเวลาการจัดงานในวันดังกล่าว ซึ่งในส่วนนี้ สำนักข่าวไทย จะเผยแพร่ QR Code เพื่อแสดงความเห็นให้ทราบอีกครั้ง

Click on the image for full size
http://songkhlastation.com/image/0D2E0392-AF08-40DD-A7DA-5543347673CC.jpeg


Last edited by Mongwin on 11/12/2021 7:08 pm; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42748
Location: NECTEC

PostPosted: 11/12/2021 6:58 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
Wisarut wrote:
เริ่ม 23 ธ.ค.นี้! นั่งรถไฟลอยฟ้า “ชุมทางบางซื่อ-รังสิต” เลิกวิ่งพื้นราบ
เศรษฐกิจ-ยานยนต์
วันศุกร์ ที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2564 เวลา 21:51 น.
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/457836845793555

รฟท.ยืนยันไม่จอดรถ'สถานีดอนเมือง'
Source - ไทยโพสต์
Saturday, December 11, 2021 03:30



รถไฟชานเมืองเข้าหัวลำโพงตามปกติ รฟท.ปัดหยุดดอนเมืองดันคนใช้สายสีแดง
ข่าวรอบวัน
วันศุกร์ ที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2564 เวลา 17:36 น.
รฟท.ชี้แจงเปิดเดินขบวนรถไฟชานเมืองถึงสถานีกรุงเทพ (หัวลำโพง)ตามปกติ
หน้าเศรษฐกิจคมนาคม
ฐานเศรษฐกิจดิจิทัล
วันศุกร์ ที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2564 เวลา 15:30 น.

การรถไฟฯ ชี้แจงยังคงเปิดให้บริการขบวนรถไฟชานเมืองถึงสถานีกรุงเทพ (หัวลำโพง) ตามปกติ ไม่ได้มีการหยุดรถที่สถานีดอนเมือง เพื่อให้มาใช้บริการรถไฟฟ้าสายสีแดงแต่อย่างใด

รฟท.ยันให้บริการรถไฟชานเมืองถึงหัวลำโพงตามปกติ ไม่ได้หยุดรถที่สถานีดอนเมืองเพื่อดันผู้โดยสารใช้รถไฟฟ้าสายสีแดง ตามโลกโซเชียลวิจารณ์

วันที่ 10 ธันวาคม 2564 เพจทีมพีอาร์การรถไฟแห่งประเทศไทย เผยแพร่ข้อความชี้แจงการเปิดให้บริการขบวนรถไฟชานเมืองถึงสถานีกรุงเทพ (หัวลำโพง) มีข้อความระบุว่า

ตามที่สื่อสังคมออนไลน์ มีการตั้งข้อสังเกตถึงสาเหตุที่มีจำนวนผู้โดยสารใช้บริการรถไฟชานเมือง (รถไฟฟ้า) สายสีแดงจำนวนมาก ว่ามาจากการรถไฟฯ หยุดให้บริการขบวนรถไฟชานเมืองที่สถานีดอนเมืองนั้น

นายเอกรัช ศรีอาระยันพงษ์ ผู้อำนวยการศูนย์ประชาสัมพันธ์ การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ชี้แจงว่า
เรื่องดังกล่าวไม่เป็นความจริง เนื่องจากปัจจุบันการรถไฟฯ ยังคงเปิดให้บริการเดินรถไฟชานเมืองทุกขบวนเข้าถึงสถานีกรุงเทพ (หัวลำโพง) ตามปกติ ไม่ได้หยุดเดินรถที่สถานีดอนเมืองตามที่มีการตั้งข้อสังเกตแต่อย่างใด


โดยตั้งแต่วันที่ 23 ธันวาคม 2564 การเดินขบวนรถไฟช่วงจากสถานีชุมทางบางซื่อถึงสถานีรังสิตจะเป็นขบวนรถไฟโดยสารทั้งหมดจะขึ้นไปใช้ทางรถไฟยกระดับเช่นเดียวกับรถไฟฟ้าสายสีแดง และยุติการเดินขบวนรถไฟโดยสารบนทางรถไฟระดับพื้นดิน

จึงทำให้ไม่สามารถให้บริการที่สถานีและที่หยุดรถระดับพื้นดินรวม 5 แห่ง ได้แก่ สถานีบางเขน สถานีหลักสี่ ที่หยุดรถ กม. 11 ที่หยุดรถทุ่งสองห้อง และที่หยุดรถเคหะ กม. 19

ทั้งนี้ แผนการปรับลดขบวนรถดังกล่าวไม่ได้เกี่ยวข้อง หรือมีเป้าหมายให้รถไฟฟ้าสายสีแดงเข้ามาวิ่งให้บริการทดแทนแต่อย่างใด แต่จะเป็นการใช้ทางยกระดับในการเดินขบวนรถร่วมกัน และใช้ระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดงในการสนับสนุนการให้บริการผู้โดยสารในช่วงสถานีดังกล่าว


สำหรับสาเหตุที่โครงการรถไฟฟ้าสายสีแดงมีผู้โดยสารใช้บริการจำนวนมาก มาจากการให้บริการที่สามารถตอบสนองความต้องการเดินทางของผู้โดยสารได้ดี ตลอดจนการรถไฟฯ มีการคิดอัตราค่าโดยสารในราคาที่ไม่สูง เริ่มต้นเพียง 12 บาท เพื่อต้องการแบ่งเบาภาระค่าครองชีพ และเป็นทางเลือกให้พี่น้องประชาชนในการเดินทาง ซึ่งท้ายนี้การรถไฟฯ ขอยืนยันว่าพร้อมเป็นหน่วยงานในการให้บริการเดินทางขนส่งที่ดีแก่พี่น้องประชาชน ในทุกระดับตลอดไป




อย่างไรก็ตาม ในเพจดังกล่าว มีประชาชนเข้ามาวิพากษ์วิจารณ์แสดงความเห็นและสอบถามความชัดเจนของการเดินรถไฟฟ้าสายสีแดงและการเดินรถไฟเข้าสถานีหัวลำโพงเป็นจำนวนมาก อาทิ

“สรุปแบบง่ายๆ รถธรรมดาชานเมืองยังวิ่งเข้าหัวลำโพงตามปกติ แต่ออกบางซื่อแล้วจะวิ่งขึ้นข้างบน ยิงยาวจอดแค่ดอนเมือง”

“แปลว่ารถธรรมดา ทั้ง10ขบวน ที่เข้าใจกันว่าจะสิ้นสุด/เริ่มต้น ที่ดอนเมือง จะเดินรถขึ้นทางยกระดับเช่นเดียวกับรถด่วน รถเร็ว แต่จะลงจากทางยกระดับที่วัดเสมียนนารี #ไม่เข้าสถานีกลาง และจอดสถานีชุมทางบางซื่อเดิม และสามเสน+หัวลำโพง ต่อไป ถูกต้องหรือไม่ครับ?????”

https://www.facebook.com/pr.railway/posts/5264844686863693

https://www.thebangkokinsight.com/news/business/economics/764606/
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สถานีรถไฟและสถาปัตยกรรมสำคัญเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 17, 18, 19 ... 31, 32, 33  Next
Page 18 of 33

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©