RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311324
ทั่วไป:13287700
ทั้งหมด:13599024
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - เรื่องของหัวลำโพง
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

เรื่องของหัวลำโพง
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 18, 19, 20 ... 31, 32, 33  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สถานีรถไฟและสถาปัตยกรรมสำคัญเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42784
Location: NECTEC

PostPosted: 11/12/2021 11:04 pm    Post subject: Reply with quote

“อดีตผู้ว่าฯ รฟท.” ตั้งคำถาม “คมนาคม” ปิดหัวลำโพง ใครได้ ใครเสียผลประโยชน์ ?
วันพฤหัสบดี ที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2564 เวลา 20:54 น.

หลังเป็นกระแสมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ต้นปีหลังคมนาคมมีท่าทีจ่อปิด “สถานีหัวลำโพง” ประภัสร์ จงสงวน อดีตผู้ว่าฯ รฟท. ฝากคำถามถึงคมนาคมว่า ใครที่จะเป็นผู้ได้รับผลประโยชน์และผลกระทบ แล้วสถานีกลางบางซื่อมีความพร้อมแค่ไหน

จากกรณีที่คมนาคมและการรถไฟไทยยังไม่มีท่าทีที่ชัดเจนว่าจะปิดสถานีหัวลำโพงหรือไม่ นายประภัสร์ จงสงวน อดีตผู้ว่าการรถไฟไทย ระบุว่า เป็นการแสดงให้เห็นว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่ได้เตรียมการให้พร้อมในเรื่องนี้ พอเห็นว่ามีคนคัดค้านก็ต้องทำเวทีประชาพิจารณ์

จากการสังเกตที่ผ่านมาตัวผู้ว่าฯ รฟท. ไม่เคยออกมาแถลงข่าวด้วยตัวเอง ใช้วิธีการแจกข่าวผ่านประชาสัมพันธ์ ถ้าไปดูจริง ๆ ทุกฉบับมีข้อความขัดแย้งกันในตัว



ส่วนตัว ตั้งข้อสังเกตว่า ที่ดินของ รฟท. มีเยอะอยู่แล้วทำไมต้องมาเอาของหัวลำโพง พร้อมทั้งตั้งคำถามว่า บนถนนพระรามสี่มีห้างสรรพสินค้าและคอมมูนิตี้มอลล์อยู่มากพอแล้ว ทำไมถึงต้องทำให้หัวลำโพงกลายเป็นมิกซ์ยูสเพิ่มขึ้นมาอีกที่หนึ่ง

และถ้าหากเป็นประเทศอื่นเขาจะอนุรักษ์สิ่งที่เป็นประวัติศาสตร์ของประเทศเอาไว้ แต่ประเทศไทยกลับจะสร้างมิกซ์ยูสขึ้นมาแทนที่หัวลำโพงและเหลือเพียงด้านหน้าของหัวลำโพงเอาไว้เป็นทางเข้าออกจึงอยากถามผู้เกี่ยวข้องว่า

“มองเห็นคุณค่าของหัวลำโพงเป็นเพียงประตูทางเข้าออกเท่านั้นหรือ จึงเป็นคำถามว่าทำไมจึงต้องเป็นสถานีหัวลำโพงที่จะนำไปพัฒนาเป็นพื้นที่เชิงพาณิชย์ทั้งที่สถานีอื่นก็มี”


ในส่วนของการแก้ปัญหาการจราจรติดขัดที่ถูกนำมาเป็นส่วนหนึ่งของเหตุผลในการปิดสถานีหัวลำโพงนั้นมองว่า ไม่น่าจะมีความเกี่ยวข้องกันเพราะปัญหารถติดมีมานานแล้วและที่ผ่านมารัฐบาลไม่เคยหยิบยกปัญหานี้มาพูดถึงแต่กลับนำมาพูดเมื่อมีประเด็นปิดหัวลำโพง ที่สำคัญรถไฟไม่ได้เพิ่งมีแต่มีมานานก่อนถนนทุกเส้น ถ้าให้พูดตามหลักวิชาการไม่มีประเทศไหนที่ตัดถนนตัดกับรางรถไฟในทางระดับเดียวกัน แม้จะอ้างว่าเป็นการประหยัดเงินแต่สุดท้ายแล้วปัญหาก็มาตกที่การจราจร

“ผมอยากถามว่าใครเกิดก่อนใครระหว่างถนนกับรถไฟ เพราะรถไฟไม่ได้เพิ่งเข้ามา แต่เข้ามานานแล้ว” นายประภัสร์กล่าว

สำหรับสถานีกลางบางซื่อส่วนตัวมองว่า สถานียังไม่มีความพร้อมเพราะรถไฟไม่ว่าจะวิ่งมาจากสายไหนก็จะสิ้นสุดแค่ที่บางซื่อ จึงอยากถามต่อว่า

“จะให้พี่น้องประชาชนเดินทางอย่างไรในการต่อรถไฟดีเซลราง เขาต้องใช้รถเมล์หรือรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ดูระยะทางความห่างระหว่างสถานีกลางบางซื่อกับรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินแล้วเดินเกือบกิโลฯ แล้วต้องไปเสียเงินอีกเท่าไหร่ เพราะจากเมื่อก่อนเสียแค่ไม่กี่บาท แต่ต่อไปต้องเสียถึง 42 บาท”

พร้อมทั้งถามต่อว่าเหตุผลจริง ๆ ที่จะไม่ให้รถวิ่งเข้าหัวลำโพงคืออะไร และที่ผ่านมาเชื่อว่าไม่เคยมีเอกสารอย่างเป็นทางการเสนอไปยัง ครม. ว่าจะมีการยกเลิกขบวนรถเข้าหัวลำโพง

กรณีที่จะมีการจัดเวทีทำประชาพิจารณ์ออนไลน์ในวันที่ 14 ธันวาคม ที่จึงนี้ ส่วนตัวมองว่าถ้าภาครัฐเป็นผู้เริ่มจัดไม่ค่อยไว้ใจเท่าไรเนื่องจากอาจจะมีผลประโยชน์ทับซ้อนกันและอาจไม่ได้เข้าถึงประชาชนผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการปิดสถานีหัวลำโพงจริง ๆ แต่ตนเองเชื่อว่าถ้าเปิดให้ประชาชนลงชื่อผ่านทางออนไลน์ได้จริง ๆ ประชาชนส่วนใหญ่คงจะไม่เห็นด้วยโดยเฉพาะประชาชนที่โดยสารรถไฟเป็นประจำไม่มีทางที่จะเห็นด้วยกับการปิดสถานีหัวลำโพงแน่นอน เพราะตนเองเคยให้ทีมงานไปคุยกับประชาชนผู้ใช้รถไฟที่อยู่ตามหัวเมืองต่าง ๆ ได้ข้อมูลว่าประชาชนคัดค้านทั้งหมดพร้อมบอกว่าต่อไปจะทำอย่างไรโดยเฉพาะผู้โดยสารสายยาวมักจะมีสัมภาระเยอะ ไม่ว่าจะเป็นข้าวสาร ผลไม่ต่าง ๆ แล้วถ้าอนาคตต่อไปไม่มีหัวลำโพงแล้วประชาชนเหล่านี้จะทำอย่างไร การที่จะนำขึ้นไปบนรถไฟฟ้าก็เป็นเรื่องที่ไม่สะดวกมากนัก พร้อมเสนอว่าการจัดเวทีควรจัดเวทีตามหัวเมืองต่าง ๆ ทั่วประเทศมากกว่าเพื่อที่จะได้รับฟังความคิดเห็นประชาชนได้ทั่วถึงอย่างแท้จริง นอกจากนี้สิ่งสำคัญของขนส่งระบบรางอย่างรถไฟก็คือถูกสร้างมาเพื่อรองรับผู้มีรายได้น้อย
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44834
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 12/12/2021 7:02 pm    Post subject: Reply with quote

นายกฯ สั่ง รฟท.รวมทุกปัญหาพิจารณาแนวทางสถานีหัวลำโพง 14 ธ.ค.นี้
เผยแพร่: 12 ธ.ค. 2564 15:40 ปรับปรุง: 12 ธ.ค. 2564 15:40 โดย: ผู้จัดการออนไลน์

นายเอกรัช ศรีอาระยันพงษ์ ผู้อำนวยการศูนย์ประชาสัมพันธ์ การรถไฟแห่งประเทศไทย ระบุว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม พร้อมด้วย นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม รวมทั้ง นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย สั่งการให้รวบรวมทุกปัญหาความเดือดร้อน ความคิดเห็น และข้อเสนอแนะจากทุกภาคส่วน นำมาประกอบการพิจารณา เพื่อหาแนวทางการเดินรถเข้าสถานีหัวลำโพงที่เหมาะสม เพื่อให้ส่งผลกระทบต่อประชาชนน้อยที่สุดและเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมมากที่สุด ซึ่งการรถไฟฯ จะมีการเปิดเวทีสาธารณะรูปแบบออนไลน์ เพื่อรับฟังความคิดเห็นจากทุกภาคส่วน ในวันที่ 14 ธันวาคมนี้ เวลา 13.00 น. เพื่อรวบรวมข้อมูลให้ครบถ้วนรอบด้าน มาประกอบการพิจารณาหาแนวทางที่จะก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด


-------


"นักวิชาการอิสระ"เชื่อ ไม่มีใครค้านพัฒนาหัวลำโพง แนะ ต้องเพิ่มมูลค่า ไม่สร้างความเดือดร้อนให้ ปชช.รายได้น้อย
เผยแพร่: 13 ธ.ค. 2564 08:45 ปรับปรุง: 13 ธ.ค. 2564 08:45 โดย: ผู้จัดการออนไลน์

วันนี้ (13 ธ.ค.) ดร.กิตติธัช ชัยประสิทธิ์ นักวิชาการอิสระและอาจารย์ประจำคณะสถาปัตยกรรม ศิลปะและการออกแบบ​ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (KMITL) เชี่ยวชาญด้านทฤษฎีและประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม กล่าวถึงกรณีที่นายวินท์ สุธีรชัย อดีต ส.ส. และนักธุรกิจรุ่นใหม่ เสนอให้มีการพัฒนาหัวลำโพงให้เทียบเท่ากับ Landmark ในต่างประเทศว่า ประเด็นนี้ไม่มีใครคัดค้านที่การรถไฟฯ จะนำพื้นที่ว่างไปพัฒนาให้เกิดประโยชน์ หรือปล่อยให้เอกชนเช่าเพื่อพัฒนา เพราะคงเป็นเรื่องดีที่การรถไฟจะมีรายได้ ปลดหนี้ และมีเงินมาพัฒนาสวัสดิภาพของพนักงานและการให้บริการสาธารณะ แต่สิ่งที่ประชาชนคาดหวังคือ การพัฒนานั้นต้องไม่สร้างความเดือดร้อนให้กับประชาชนผู้มีรายได้น้อย ในขณะเดียวกันก็ต้องสามารถนำคุณค่าทางประวัติศาสตร์ของหัวลำโพง มาสร้างเป็นมูลค่าทางเศรษฐกิจให้เกิดขึ้นไปพร้อมกับการเพิ่มพื้นที่กิจกรรมและพื้นที่สีเขียวให้กับผู้คนในเมืองด้วย

ดร.กิตติธัช กล่าวต่อว่า การจัดการพื้นที่หัวลำโพงควรแบ่งเป็น 2 ประเด็น ประการแรก คือ การเดินรถ ซึ่งในอนาคตชุมทางรถไฟจะต้องย้ายไปอยู่บางซื่อ และหัวลำโพงจะกลายมาเป็นเพียงสถานีรถไฟในเมืองแห่งหนึ่งเท่านั้น แต่ด้วยการที่เส้นทางระหว่างบางซื่อ-หัวลำโพงยังอยู่ในขั้นตอนประมูลเท่านั้น ทำให้ประชาชนผู้มีรายได้น้อยต้องลำบากกับค่าใช้จ่ายและเวลาเดินทางที่เพิ่มเข้ามา ดังนั้นในระหว่างที่ Missing Link ยังไม่เสร็จ การรถไฟฯ ควรบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนด้วยการให้มีการเดินรถบนดินเข้าไปยังหัวลำโพง โดยเน้นที่ขบวนรถไฟชั้น 3 เพื่อไม่สร้างภาระให้กับผู้มีรายได้น้อยที่ต้องอาศัยรถไฟเข้ามายังหัวลำโพง

และประการที่สอง คือ เรื่องการนำพื้นที่หัวลำโพงไปบริหารจัดการ ซึ่งมีความเป็นไปได้ 2 รูปแบบ 1. รูปแบบแรกคือ การเปลี่ยนกิจกรรมภายใน จากสถานีรถไฟ กลายเป็นพิพิธภัณฑ์ พื้นที่ศิลปะและวัฒนธรรม หรือลานกิจกรรมของคนเมือง เพื่อเปิดโอกาสให้คนได้เข้ามาใช้พื้นที่ในการสร้างแรงบันดาลใจและพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ ตามแนวคิดในการผลักดันย่านสร้างสรรค์ (Creative District) ซึ่งรูปแบบนี้การรถไฟอาจประสานความร่วมมือกับทาง TCDC ซึ่งอยู่ในบริเวณนั้น นอกจากนี้ควรจะนำใช้พื้นที่บางส่วนให้เช่าสำหรับทำกิจกรรมหรือร้านอาหาร ร้านกาแฟ ร้านค้า ที่นำเอาเอกลักษณ์ของหัวลำโพงมาเป็นจุดขายเพื่อหารายได้มาใช้สำหรับบริหารจัดการอาคารและพื้นที่

ในส่วนรูปแบบที่สอง คือ การรักษาความเป็นสถานีไว้ ในขณะที่ชุมทางหลักไปอยู่บางซื่อ หัวลำโพงก็จะมีรถเข้ามาน้อยลง และมีผู้ใช้งานน้อยลง หัวลำโพงจึงอาจเปลี่ยนจากสถานีแบบเดิม ให้กลายเป็นพื้นที่สีเขียว ลานกิจกรรม ร้านค้า ร้านอาหาร ผสมไปกับพื้นที่สถานีเดิม เช่นกรณีสถานีรถไฟ Atocha ในประเทศสเปน ซึ่งลักษณะนี้จะทำให้หัวลำโพงยังคงทำหน้าที่เป็นสถานี พร้อมกับปรับกิจกรรมให้เหมาะสมกับวิถีชีวิตคนเมืองมากขึ้น อีกทั้งยังทำให้การถไฟมีรายได้เพิ่มขึ้น และประชาชนก็ได้คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นจากพื้นที่สาธารณะที่เพิ่มเข้ามาในบริเวณนั้น
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44834
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 14/12/2021 7:54 am    Post subject: Reply with quote

นัดชี้อนาคต‘หัวลำโพง’ สถานีประวัติศาสตร์คู่การพัฒนา
แนวหน้า วันอังคาร ที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2564, 06.00 น.

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม เปิดเผยว่าในวันที่ 14 ธ.ค.2564 การรถไฟแห่งประเทศ(ร.ฟ.ท.) จะมีการเปิดเวทีรับฟังความคิดเห็น“อนาคตสถานีหัวลำโพงประวัติศาสตร์คู่การพัฒนา” ซึ่งในการจัดงานดังกล่าวจะมีการเชิญผู้ร่วมเสวนามาจากหลายภาคส่วนทั้งนักวิชาการ ภาคสังคม และพี่น้องประชาชน อาทิ นายประภัสร์ จงสงวน อดีตผู้ว่าการ ร.ฟ.ท., นางสาวรสนา โตสิตระกูลอดีตสมาชิกวุฒิสภา, นายศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทยฯ เป็นต้น เพื่อแสดงความคิดเห็นและให้ข้อเสนอแนะต่อการพัฒนาพื้นที่ของสถานีหัวลำโพงที่จะเกิดขึ้นในอนาคต โดยจะรวบรวมข้อมูลให้ครบถ้วนอย่างรอบด้านเพื่อนำมาพิจารณาหาแนวทางที่จะเกิดประโยชน์ต่อส่วนรวม


ทั้งนี้ร.ฟ.ท.มอบหมายให้ บริษัท บริหารสินทรัพย์ เป็นผู้ดำเนินการ ซึ่งหลังจากการเปิดรับฟังความเห็นดังกล่าวแล้วหลังจากนั้นก็คาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 2 สัปดาห์ เพื่อให้ทางการรถไฟฯรวบรวมข้อมูลความคิดเห็นและหาข้อสรุปต่อจากนั้นก็ส่งรายงานสรุปให้ทางกระทรวงคมนาคมเพื่อพิจารณาเสนอคณะรัฐมนตรี(ครม.) เพื่อพิจารณาต่อไป แต่ยืนยันว่าไม่ได้เร่งในการพิจารณาเนื่องจากไม่ได้มีแค่การพัฒนาพื้นที่สถานีหัวลำโพงเพียงอย่างเดียวแต่ยังมีที่ดินในแปลงอื่นๆอีกเช่น บางซื่อ ศิริราช มักกะสัน สถานีแม่น้ำ อาร์ซีเอ และคลองตัน โดยหากดำเนินการได้ตามแผนจะทำให้การรถไฟฯกลับมามีสภาพการเงินที่แข็งแรง
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44834
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 14/12/2021 12:55 pm    Post subject: Reply with quote

ถ่ายทอดสด การเปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นทุกภาคส่วน “อนาคตสถานีหัวลำโพง ประวัติศาสตร์คู่การพัฒนา”
วันอังคารที่ 14 ธันวาคม 2564 เวลา 13.00-16.30 น.

Click on the image for full size

เพจทีมพีอาร์การรถไฟแห่งประเทศไทย Arrow https://fb.watch/9TXvTdyReg/

เพจสำนักข่าวไทย Arrow https://fb.watch/9TXRGLQh0l/

สเเกน QR Code ร่วมเเสดงความคิดเห็นที่ https://bit.ly/qformpr
พบกับเสวนา 4 หัวข้อ
• ทำไมต้องลดบทบาท ลดขบวนรถเข้าหัวลำโพงหลังการเปิดใช้สถานีกลางบางซื่อ
• ทำไมต้องใช้สถานีกลางบางซื่อเป็นศูนย์กลางเชื่อมต่อการเดินทาง
• ลดขบวนรถเข้าหัวลำโพงใครได้-ใครเสีย
• อนาคตสถานีหัวลำโพง
• รับความคิดเห็นผู้ชมทาง ONLINE และ ONSITE
*งานครั้งนี้ดำเนินการภายใต้มาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)*
ถ่ายทอดสดผ่าน Live เฟซบุ๊ก
- สำนักข่าวไทย fb.com/tnamcot
- ทีมพีอาร์การรถไฟฯ fb.com/pr.railway
Live ยูทูบ
- สำนักข่าวไทย
- การรถไฟแห่งประเทศไทย official

YouTube สำนักข่าวไทย


https://www.youtube.com/watch?v=_NAWUYy0jw4


YouTube การรถไฟแห่งประเทศไทย official


https://www.youtube.com/watch?v=jFJbb_FDOH8
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42784
Location: NECTEC

PostPosted: 14/12/2021 6:21 pm    Post subject: Reply with quote

เวทีเสวนา”หัวลำโพง”ไม่จบ!! ต้องไปต่อศาลปกครอง
*เปลี่ยนสีผังเมืองที่ราชการให้พัฒนาพาณิชย์
*คมนาคมถอยให้รถไฟเข้า22ขบวนจาก118
*ลดบทบาทรางไปบางซื่อพัฒนาที่แก้จุดตัด
*ปชช.ต้านเดือดร้อนอย่าโทษรถไฟทำรถติด
*แฉรฟท.หยุดขายตั๋วแล้วไร้แผนงานรองรับ
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/3067986360089528

“ศักดิ์สยาม” ขีดเส้นตาย รฟท.สรุปความเห็น ปมปิดสถานีหัวลำโพง-งดรถไฟเข้าสถานี
หน้าเศรษฐกิจ Mega Project
ฐานเศรษฐกิจดิจิทัล |
วันอังคาร ที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2564 เวลา 16:38 น.

“ศักดิ์สยาม” สั่งรฟท.รวบรวมความคิดเห็นประชาชน หลังกระแสดราม่าประชาชนค้านปิดสถานีหัวลำโพง-งดขบวนรถไฟเข้าสถานี ภายใน 2 สัปดาห์ เตรียมชงครม.พิจารณา ยันมีรถไฟเข้าสถานีเหลือ 22 ขบวนตามเดิม

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า กรณีที่การรถไฟแห่งประเทศ(รฟท.) จะมีการเปิดเวทีรับฟังความคิดเห็น"อนาคตสถานีหัวลำโพงประวัติศาสตร์คู่การพัฒนา ในวันที่ 14 ธ.ค.นี้ เป็นการเชิญผู้ร่วมเสวนามาจากหลายภาคส่วนทั้งนักวิชาการ ภาคสังคม และพี่น้องประชาชน เพื่อแสดงความคิดเห็นและให้ข้อเสนอแนะต่อการพัฒนาพื้นที่ของสถานีหัวลำโพงที่จะเกิดขึ้นในอนาคต โดยจะรวบรวมข้อมูลให้ครบถ้วนอย่างรอบด้านเพื่อนำมาพิจารณาหาแนวทางที่จะเกิดประโยชน์ต่อส่วนรวม ทั้งนี้ปัจจุบันทางการรถไฟฯได้มีการมอบหมายให้ บริษัท บริหารสินทรัพย์ เป็นผู้ดำเนินการ






“หลังจากการเปิดรับฟังความเห็นดังกล่าวแล้ว รฟท.จะรวบรวมความคิดเห็นเพื่อหาข้อสรุปทั้งหมดภายใน 2 สัปดาห์ จากนั้นจะเสนอต่อกระทรวงคมนาคมพิจารณาและเสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) เห็นชอบต่อไป ยืนยันว่าไม่ได้เร่งในการพิจารณาเป็นเพียง Concept Design เท่านั้น ซึ่งไม่ได้มีแค่การพัฒนาพื้นที่สถานีหัวลำโพงเพียงอย่างเดียวแต่ยังมีที่ดินในแปลงอื่นๆอีก เช่น บางซื่อ ศิริราช มักกะสัน RCA ฯลฯ หากดำเนินการได้ตามแผนจะทำให้รฟท.กลับมามีสภาพการเงินที่แข็งแรง ส่วนกรณีขบวนรถไฟทางไกลเข้าสถานีหัวลำโพง จำนวน 22 ขบวน ยังเหมือนเดิม ทั้งนี้มอบหมายให้รฟท.ไปพิจารณาบริหารตารางเวลาการเดินรถ (Slot) เพื่อลดผลกระทบกับการจราจรน้อยที่สุด หากทำได้ก็ทำ”

"นักวิชาการอิสระ"เชื่อ ไม่มีใครค้านพัฒนาหัวลำโพง แนะ ต้องเพิ่มมูลค่า
หน้าเศรษฐกิจMega Project
ฐานเศรษฐกิจดิจิทัล |
วันจันทร์ ที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2564 เวลา 9:15 น.

"นักวิชาการอิสระ"เชื่อ ไม่มีใครค้านพัฒนาหัวลำโพง แนะ ต้องเพิ่มมูลค่า ไม่สร้างความเดือดร้อนให้ ปชช.รายได้น้อย

วันนี้ (13 ธ.ค.)ดร.กิตติธัช ชัยประสิทธิ์ นักวิชาการอิสระและอาจารย์ประจำคณะสถาปัตยกรรม ศิลปะและการออกแบบ​ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (KMITL) เชี่ยวชาญด้านทฤษฎีและประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม กล่าวถึงกรณีที่นายวินท์ สุธีรชัย อดีต ส.ส. และนักธุรกิจรุ่นใหม่ เสนอให้มีการพัฒนาหัวลำโพงให้เทียบเท่ากับ Landmark ในต่างประเทศว่า ประเด็นนี้ไม่มีใครคัดค้านที่การรถไฟฯ จะนำพื้นที่ว่างไปพัฒนาให้เกิดประโยชน์ หรือปล่อยให้เอกชนเช่าเพื่อพัฒนา เพราะคงเป็นเรื่องดีที่การรถไฟจะมีรายได้ ปลดหนี้ และมีเงินมาพัฒนาสวัสดิภาพของพนักงานและการให้บริการสาธารณะ

แต่สิ่งที่ประชาชนคาดหวังคือ การพัฒนานั้นต้องไม่สร้างความเดือดร้อนให้กับประชาชนผู้มีรายได้น้อย ในขณะเดียวกันก็ต้องสามารถนำคุณค่าทางประวัติศาสตร์ของหัวลำโพง มาสร้างเป็นมูลค่าทางเศรษฐกิจให้เกิดขึ้นไปพร้อมกับการเพิ่มพื้นที่กิจกรรมและพื้นที่สีเขียวให้กับผู้คนในเมืองด้วย


ดร.กิตติธัช กล่าวต่อว่า การจัดการพื้นที่หัวลำโพงควรแบ่งเป็น 2 ประเด็น ประการแรก คือ การเดินรถ ซึ่งในอนาคตชุมทางรถไฟจะต้องย้ายไปอยู่บางซื่อ และหัวลำโพงจะกลายมาเป็นเพียงสถานีรถไฟในเมืองแห่งหนึ่งเท่านั้น แต่ด้วยการที่เส้นทางระหว่างบางซื่อ-หัวลำโพงยังอยู่ในขั้นตอนประมูลเท่านั้น ทำให้ประชาชนผู้มีรายได้น้อยต้องลำบากกับค่าใช้จ่ายและเวลาเดินทางที่เพิ่มเข้ามา

ดังนั้นในระหว่างที่ Missing Link ยังไม่เสร็จ การรถไฟฯ ควรบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนด้วยการให้มีการเดินรถบนดินเข้าไปยังหัวลำโพง โดยเน้นที่ขบวนรถไฟชั้น 3 เพื่อไม่สร้างภาระให้กับผู้มีรายได้น้อยที่ต้องอาศัยรถไฟเข้ามายังหัวลำโพง

และประการที่สอง คือ เรื่องการนำพื้นที่หัวลำโพงไปบริหารจัดการ ซึ่งมีความเป็นไปได้ 2 รูปแบบ

1. รูปแบบแรกคือ การเปลี่ยนกิจกรรมภายใน จากสถานีรถไฟ กลายเป็นพิพิธภัณฑ์ พื้นที่ศิลปะและวัฒนธรรม หรือลานกิจกรรมของคนเมือง เพื่อเปิดโอกาสให้คนได้เข้ามาใช้พื้นที่ในการสร้างแรงบันดาลใจและพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ ตามแนวคิดในการผลักดันย่านสร้างสรรค์ (Creative District)

ซึ่งรูปแบบนี้การรถไฟอาจประสานความร่วมมือกับทาง TCDC ซึ่งอยู่ในบริเวณนั้น นอกจากนี้ควรจะนำใช้พื้นที่บางส่วนให้เช่าสำหรับทำกิจกรรมหรือร้านอาหาร ร้านกาแฟ ร้านค้า ที่นำเอาเอกลักษณ์ของหัวลำโพงมาเป็นจุดขายเพื่อหารายได้มาใช้สำหรับบริหารจัดการอาคารและพื้นที่

ในส่วนรูปแบบที่ 2 คือ การรักษาความเป็นสถานีไว้ ในขณะที่ชุมทางหลักไปอยู่บางซื่อ หัวลำโพงก็จะมีรถเข้ามาน้อยลง และมีผู้ใช้งานน้อยลง หัวลำโพงจึงอาจเปลี่ยนจากสถานีแบบเดิม ให้กลายเป็นพื้นที่สีเขียว ลานกิจกรรม ร้านค้า ร้านอาหาร ผสมไปกับพื้นที่สถานีเดิม เช่นกรณีสถานีรถไฟ Atocha ในประเทศสเปน

ซึ่งลักษณะนี้จะทำให้หัวลำโพงยังคงทำหน้าที่เป็นสถานี พร้อมกับปรับกิจกรรมให้เหมาะสมกับวิถีชีวิตคนเมืองมากขึ้น อีกทั้งยังทำให้การถไฟมีรายได้เพิ่มขึ้น และประชาชนก็ได้คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นจากพื้นที่สาธารณะที่เพิ่มเข้ามาในบริเวณนั้น

Mongwin wrote:
ถ่ายทอดสด การเปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นทุกภาคส่วน “อนาคตสถานีหัวลำโพง ประวัติศาสตร์คู่การพัฒนา”
วันอังคารที่ 14 ธันวาคม 2564 เวลา 13.00-16.30 น.

Click on the image for full size

เพจทีมพีอาร์การรถไฟแห่งประเทศไทย Arrow https://fb.watch/9TXvTdyReg/

เพจสำนักข่าวไทย Arrow https://fb.watch/9TXRGLQh0l/


https://www.youtube.com/watch?v=_NAWUYy0jw4


https://www.youtube.com/watch?v=jFJbb_FDOH8
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44834
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 14/12/2021 7:34 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
เวทีเสวนา”หัวลำโพง”ไม่จบ!! ต้องไปต่อศาลปกครอง
*เปลี่ยนสีผังเมืองที่ราชการให้พัฒนาพาณิชย์
*คมนาคมถอยให้รถไฟเข้า22ขบวนจาก118
*ลดบทบาทรางไปบางซื่อพัฒนาที่แก้จุดตัด
*ปชช.ต้านเดือดร้อนอย่าโทษรถไฟทำรถติด
*แฉรฟท.หยุดขายตั๋วแล้วไร้แผนงานรองรับ
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/3067986360089528

"คมนาคม" เดินหน้าปรับขบวนรถไฟเหลือ 22 ขบวน เข้าหัวลำโพง 23 ธ.ค.นี้
กรุงเทพธุรกิจ 14 ธ.ค. 2564 เวลา 18:08 น.

“คมนาคม” เปิดแผนลดบทบาทสถานีหัวลำโพง จ่อปรับขบวนรถชานเมืองบริการเหลือ 22 ขบวน เริ่ม 23 ธ.ค.นี้ ปั้นสถานีกลางบางซื่อฮับใหม่ ยันคุ้มค่าลดความสูญเสียทางเศรษฐกิจ - จราจรติดขัด 616 ล้านบาท “เอสอาร์ทีเอ” เผยโมเดลพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ ไม่ทุบ 5 จุดประวัติศาสตร์

นายสรพงศ์ ไพฑูรย์พงษ์ รองปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายในงานรับฟังความคิดเห็นทุกภาคส่วน “อนาคตสถานีหัวลำโพง ประวัติศาสตร์คู่การพัฒนา” โดยระบุว่า ที่มาของการพัฒนาสถานีกลางบางซื่อ เริ่มศึกษาตั้งแต่ปี 2542 เป้าหมายเพื่อทำศูนย์กลางการคมนาคม ซึ่งในช่วงที่ผ่านมากระทรวงฯ ได้หารือเพื่อบริหารจัดการการเดินรถ อัตราค่าบริการ การประชาสัมพันธ์ การเชื่อมต่อโหมดอื่นๆ และการดูแลความเรียบร้อย เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนผ่านที่เรียบร้อย

อย่างไรก็ดี ยืนยันว่าการประชุม 7 ครั้งที่ผ่านมาไม่มีการพูดถึงปิดหัวลำโพง เพียงแต่ลดบทบาทหัวลำโพงย้ายบริการเดินรถเข้ามาที่สถานีกลางบางซื่อ เพื่อเกิดการบริหารจัดการการเดินรถให้มีประสิทธิภาพและบริหารจัดการการขนส่งเชื่อมโหมดอื่น โดยตามแผนวันที่ 23 ธ.ค.นี้ การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) มีแผนปรับขบวนรถจาก 118 ขบวน เหลือเข้าหัวลำโพง 22 ขบวน ซึ่งกระทรวงฯ ได้ทำการบ้านเรื่องระบบขนส่งมวลชนรองรับบริการสถานีกลางบางซื่อ ตรวจสอบความพร้อมมากกว่า 90% ยืนยันว่าวันนี้เรามีความพร้อม

“เราพยายามให้ถนนทุกสายมุ่งไปที่บางซื่อ ถนนและรางมาอยู่ที่นี่ ดังนั้นรถไฟทางไกลจะมีการเปลี่ยนบทบาท จากฮับที่หัวลำโพงมาเป็นฮับที่บางซื่อแทน แต่ยังมีการเดินรถไฟชานเมืองอยู่ นี่คือคำว่าลดบทบาท”

นายพิเชฐ คุณาธรรมรักษ์ รองอธิบดีกรมการขนส่งทางราง กระทรวงคมนาคม กล่าวว่า ยืนยันว่าจะไม่มีการทุบหัวลำโพง และไม่ได้ปิด เพราะยังมีการเดินรถไฟเข้าอยู่ แต่กระทรวงฯ จะลดบทบาทของสถานีหัวลำโพง เพราะสถานีกลางบางซื่อเสร็จแล้ว โดยจะลดรถไฟ 118 ขบวน เหลือ 22 ขบวน หรือเหลือแค่ 1 ใน 5 ถือเป็นการลดบทบาท แต่เพราะวันนี้ต้องการสร้างฮับการเดินทางแห่งใหม่เพื่อบริการที่ดีขึ้น

อย่างไรก็ดี การปรับลดขบวนรถเข้ามายังหัวลำโพงเหลือเพียง 22 ขบวนจะเริ่มดำเนินการตั้งแต่วันที่ 23 ธ.ค.2564 เป็นต้นไป ซึ่งจะบรรเทาปัญหาจราจรจากจุดตัดทางรถไฟ 86% ลดความสูญเสียทางเศรษฐกิจ 81 ล้านบาท และลดความสูญเสียจากการจราจรติดขัดในภาพรวมอีก 535 ล้านบาท รวมลดความสูญเสียไปถึง 616 ล้านบาทต่อปี

นอกจากนี้ การย้ายขบวนรถเชิงพาณิชย์มาสิ้นสุดที่สถานีกลางบางซื่อ ยังช่วยเพิ่มความสะดวกด้านการเดินทางให้ประชาชนได้มากกว่า เพราะสถานีกลางบางซื่อมีพื้นที่รวม 2,325 ไร่ มากกว่าสถานีหัวลำโพงที่มี 120 ไร่ รองรับผู้โดยสารได้มากกว่า 6.2 แสนคนเที่ยวต่อวัน มากกว่าหัวลำโพงที่รองรับได้ 6 หมื่นคนเที่ยวต่อวัน อีกทั้งยังมีชานชาลาบริการมากถึง 24 ชานชาลา มากกว่าหัวลำโพงที่มี 14 ชานชาลา

ด้านนางสาวไตรทิพย์ ศิวะกฤษณ์กุล คณะกรรมการ (บอร์ด) ร.ฟ.ท. และรักษาการกรรมการผู้จัดการ บริษัท เอสอาร์ที แอสเสท จำกัด กล่าวว่า แผนพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ ร.ฟ.ท.จะเน้นพื้นที่สีเขียว เป็นการพัฒนาโครงการแบบผสมผสาน (มิกซ์ยูส) เน้นการเดินเท้า ไม่ใช้เครื่องยนต์ พลังงานสะอาด โดยศูนย์คมนาคม หรือ TOD แห่งนี้ จะเป็นศูนย์กลางเชื่อมโยงคมนาคมในรูปแบบต่างๆ เป็นโมเดลที่พัฒนาทุกพื้นที่ของ ร.ฟ.ท.ซึ่งผลพลอยได้คือรายได้กลับมาให้กับ ร.ฟ.ท.

ส่วนพื้นที่สถานีหัวลำโพงบทบาทจะลดลงในเรื่องของรถไฟทางไกล แต่ยังเป็นศูนย์กลางการเดินทาง โดยเอสอาร์ทีมีแผนปรับปรุงอาคารประวัติศาสตร์ที่มีคุณค่า บูรณะให้อยู่ในสภาพดี ยืนยันว่าไม่มีการทุบทำลาย จะรักษาไว้ให้เป็นมรดกของชาติ และเพิ่มพื้นที่สีเขียวโดยรอบ ผสมผสานพื้นที่เชิงพาณิชย์ เช่น พื้นที่หัวรถจักร จะพัฒนามาสนับสนุนการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม จัดสรรพื้นที่เชิงพาณิชย์เลียบคลองพดุงกรุงเกษม ศึกษาแนวทางอนุรักษณ์ผสานการพัฒนาในต่างประเทศเป็นต้นแบบ

“ขอย้ำอีกครั้งว่าไม่มีการทุบสถานีหัวลำโพงเด็ดขาด แนวทางบริหารพื้นที่ 120 ไร่ จะเป็นรูปแบบ TOD อนุรักษ์พื้นที่ประวัติศาสตร์ 5 ส่วนสำคัญ คือ อนุสาวรีย์ช้างสามเศียร สถานีรถไฟหัวลำโพง อนุสรณ์ประถมฤกษ์ ตึกบัญชาการการรถไฟ และตึกแดง เพราะถือเป็นสมบัติของแผ่นดินที่มีค่า เราจะซ่อมแซมให้คงสภาพอยู่ดี และคงแนวทางดำเนินการให้สอดคล้องกับสภาพปัจจุบัน”

ส่วนพื้นที่ที่เหลืออีก 90 ไร่ เช่น พวงราง ที่จอดรถ โรงซ่อม โรงจอดรถไฟ เมื่อย้ายการดำเนินการออกไปสถานีกลางบางซื่อ ไม่มีรถไฟให้บริการ ไม่ได้ใช้ประโยชน์อะไร หากไม่พัฒนาก็จะเสื่อมโทรม การดำเนินการของเอสอาร์ทียังมีเป้าหมายให้สถานีหัวลำโพงเป็นฮับการเดินทางในเมือง เชื่อมต่อการเดินทางไปบางซื่อที่จะเป็นฮับเดินทางระยะไกล การพัฒนา TOD จะเน้นการรักษาวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ของรถไฟให้ชัดเจน สร้างเป็นศูนย์การเรียนรู้ เสริมวัฒนธรรมคนไทยและความร่วมสมัย เพื่อให้นักท่องเที่ยวมาเรียนรู้ และพัฒนาให้มีพื้นที่สีเขียวมากขึ้น
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44834
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 14/12/2021 8:18 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
เวทีเสวนา”หัวลำโพง”ไม่จบ!! ต้องไปต่อศาลปกครอง
*เปลี่ยนสีผังเมืองที่ราชการให้พัฒนาพาณิชย์
*คมนาคมถอยให้รถไฟเข้า22ขบวนจาก118
*ลดบทบาทรางไปบางซื่อพัฒนาที่แก้จุดตัด
*ปชช.ต้านเดือดร้อนอย่าโทษรถไฟทำรถติด
*แฉรฟท.หยุดขายตั๋วแล้วไร้แผนงานรองรับ
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/3067986360089528

จัดเสวนาหัวลำโพง ยันแค่ลดบทบาทไม่ทุบแน่
บ้านเมือง วันอังคาร ที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2564, 20.01 น.

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ภายในงานเปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นทุกภาคส่วน "อนาคตสถานีหัวลำโพง​ ประวัติศาสตร์​คู่การพัฒนา" จัดโดย การรถไฟแห่งประเทศไทย ร่วมกับ สำนักข่าวไทย อสมท. ตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของกระทรวงสาธารณสุข และถ่ายทอดสดผ่าน เฟชบุ๊กแฟนเพจ ทีม PR การรถไฟแห่งประเทศไทย , ช่องยูทูป การรถไฟแห่งประเทศไทย Official และเฟชบุ๊กแฟนเพจ สำนักข่าวไทย โดยมีผู้เข้าร่วมการเสวนาจจากทุกภาคส่วน

นายสรพงศ์​ ไพฑูรย์​พงศ์​ ร​องปลัดกระทรวงคมนาคม​ กล่าวว่า​ ที่ผ่านมากระทรวงคมนาคม​ได้ตั้งคณะทำงานขึ้นมาบริหารจัดการเดินรถ​ และการจัดการรถไฟฟ้าสายสีแดง​ สถานีกลางบางซื่อ ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2564 ​ ซึ่งทุกครั้งที่มีการประชุม​ ไม่เคยมีการพูดว่าจะปิดหัวลำโพง​ แต่เป็นเพียงการลดบทบาทเท่านั้น โดยที่หัวลำโพงจะยังมีการเดินรถขบวนชานเมืองเข้าสู่หัวลำโพงอยู่ ส่วนรถทางไกลจะสิ้นสุดขบวนที่สถานีกลางบางซื่อ​ ทั้งนี้ กระทรวงคมนาคม ยืนยันว่าได้มีการเตรียมพร้อมการจัดการเดินรถ และความพร้อมด้านอื่นมาเป้นระยะเวลา 7 เดือน อย่างไรก็ตาม กระทรวงคมนาคมยืนยันว่าจำนำผลการเสวนาวันนี้ไปประกอบการพิจารณา ก่อนถึงวันที่ 23 ธันวาคมนี้

นายพิเชฐ คุณาธรรมรักษ์ รองอธิบดี กรมขนส่งทางราง (ขร.) กล่าวว่า ตามแผนการลดบทบาทหัวลำโพง จะลดจำนวน จบวนรถไฟ จาก 128 ขบวน เหลือ 22 ขบวน เฉพาะขบวนรถไฟชานเมืองเท่านั้น เป็นไปตามแผนแม่บทเพื่อตอบโจทยฺการแก้ไขปัญหาจราจร ซึ่งปัจุจบันมีจุดตัด 7 จุด หากมีรขวบนรถเข้าหัวลำโพง จะมีการปิดเครื่องกันกว่า 800 ครั้ง เมื่อลดลงเหลือ 22 ขบวน จะลดจุดตัดลงไปถึง 84 %

นายอนันต์ โพธิ์นิ่มแดง ผู้ช่วยผู้ว่าการด้านปฏิบัติการ รฟท.กล่าวว่าสถานกลางบางซื่อเปิดให้บริการเชิงวพาณิชย์ เต็มรูปแบบเมื่อ 1 ธ.ค. 64 ที่ผ่านมา ขณะนี้พร้อมแล้วทที่จะรองรับการเดินทางของรถไฟระบบอื่น เช่น รถไฟทางไกลที่จะมาสิ้นสุดที่นี่ และได้เตรียมระบบเดินทางต่อเชื่อมไว้รองรับการเดินทางของประชาชนแล้ว ​

นางไตรทิพย์​ ศิวะกฤษณ์กุล กรรมการ รฟท. และรักษาการ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอสอาร์ที แอสเสท จำกัด กล่าวว่า​ เอสอาร์ที ตั้งตามมติ ครม.​ โดย ​รฟท.ถือหุ้น​ 100% เพื่อบริหารจัดการสินทรัพย์ของ รฟท.ที่ไม่ใช่รางรถไฟ และยืนยันว่าพร้อมที่จะเข้าบริหารที่ดินทุกแปลงของการรถไฟเพื่อเกิดรายได้และผลตอบแทนกับการรถไฟ ส่วนพื้นที่หัวลำโพง 120 ไร่ ในอนาคตจะการพัฒนาให้เป็นไปตามแนวทางทีโอดี​ เกิดประโยชน์ทั้งต่อผู้ใช้บริการและชุมชนโดยรอบ มีทั้งพัฒนาเป็นพื้นที่ประวัติศาสตร์ ปรับทัศนียภาพ เพิ่มพื้นที่สีเขียว และสร้างพื้นที่เชิงวัฒนธรรม รวมทั้งพื้นที่เชิง แต่พื้นที่หัวลำโพงจะแตกต่าง เพราะมีคุณค่าทางประวัติศา​สตร์​ วางสถานีหัวลำโพงเป็นพื้นที่เชื่อมต่อการเดินทาง​ สร้างเป็นศูนย์การเรียนรู้

นายประภัสร์​ จงสงวน​ อดีตผู้ว่าการรถไฟ​แห่ง​ประเทศไทย​ กล่าวว่า​ ผู้ว่าการรถไฟควรออกมาชี้แจงด้วยตัวเอง เพราะที่ผ่านมากระแสข่าวออกมาสับสนทั้งข่าวการปิดหัวลำโพง และภาพ​อาคารสูง เนื่องจากก่อนหน้านี้มีการเผยแพร่ภาพการพัฒนาพื้นที่สถานีหัวลำโพงให้มีลักษณะคล้ายทางเข้าห้างสรรพสินค้าหรู ซึ่งต่างกับการชี้แจงในครั้งนี้ โดยมองว่าปัญหาจะไม่เกิดหากมีการชี้แจง และต้องเป็นข้อเท็จจริง พร้อมระบุไม่เห็นด้วยที่จะงดเดินรถไฟสายยาว เพราะขณะนี้เส้นทางรถไฟความเร็วสูง ทั้ง กรุงเทพ-นครราชสีมา และ รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ยังไม่คืบหน้า และต้องเห็นใจประชาชนที่ต้องมีค่าใช้จ่ายการเดินทางที่สูงขึ้น การจะหยุดเดินรถเข้าหัวลำโพง ก็ต่อเมื่อมีโครงข่ายรถไฟสายสีแดงครบถ้วนแล้ว เรียกร้องให้พูดความจริง รถไฟไม่ได้ทำให้รถติด อยากขอให้กระทรวงพิจารณาให้รอบคอบ

ขณะที่นางสาวรสนา​ โตสิ​ตระกูล​ อดีตสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) กล่าวว่า กระแสและภาพข่าวที่เกิดขึ้น ทำให้รู้สึกว่าเป็นการด้อยค่าหัวลำโพง ที่เป็นหน้าประวัติศาสตร์แรกของการเปลี่ยนแปลงระบบรางไปสู่ความทันสมัย หากมีการเปลี่ยแปลงหัวลำโพง ก็ควรทำไปเพื่อประโยชน์ที่สนับสนุนการเดินรถ หน้าที่ของการรถไฟฯ คือการดูแลระบบการเดินทางด้วยรถไฟ ให้มีคุณภาพ สนับสนุนช่วยเหลือประชาชน และควรให้ความสำคัญกับการเดินทางเชื่อมต่อที่สะดวก ไม่ควรหยุดการเดินรถเข้าหัวลำโพง เพราะมีผลกระทบทั้งในเชิงธุรกิจ และเหมือนเป็นการด้อยค่ารถไฟ และหันไปหนุนรถไฟฟ้า ซึ่งมีราคาแพงกว่า พร้อมคัดค้านการหยุดขายตั๋วจากสถานีหัวเมือง มายังสถานีหัวลำโพง โดยขอให้กระทรวงคมนาคมพิจารณาให้รอบคอบเพราะส่งผลกระทบต่อประชาชนผู้ใช้รถไฟฯ

ขณะเดียวกัน นายสุรเชษฐ์ ประวีณวงศ์วุฒิ ส.ส. พรรคก้าวไกล ระบุว่า ปัญหาที่เกิดเป็นเพราะการบริหารจัดลำดับความสำคัญในการพัฒนาที่ผิดพลาด โดยเฉพาะโครงการรถไฟสายสีแดงอ่อน (Missing Link) ช่วงบางซื่อ-พญาไท-มักกะสัน-หัวหมาก และสีแดงเข้ม ช่วงบางซื่อ-หัวลำโพง ซึ่งเป็นโครงการที่ควรเกิดก่อน เพื่อเชื่อมการเดินทางสู่สถานีกลางบางซื่อ แต่กลับมีการผลักดันโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินก่อน พร้อมย้ำไม่เห็นด้วยหากจะมีการปิดหัวลำโพง แต่ยอมรับได้หลังการรถไฟชี้แจงว่าป็นเพียงกาลดขบวนรถไฟข้าหัวลำโพง แต่ยังต้องจับตาว่าจะมีการบริหารจัดการอย่างไร

นอกจากนี้ นายสาวิทย์ แก้วหวาน ที่ปรึกษาสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการรถไฟแห่งประเทศไทย ที่บอกว่ายังไม่เห็นด้วยกับการหยุดเดินรถเข้าหัวลำโพง เพราะจะกระทบกับผู้ใช้บริการ แต่หากในอนาคตมีการเชื่อมต่อการเดินทางที่ครอบคลุม และให้สถานีรถไฟหัวลำโพง เป็นสถานีรถไฟและพิพิธภัณฑ์ที่มีชีวิต โดยลดจำนวนขบวนรถที่เข้าสถานีหัวลำโพงค่อยมาคุยกันในภายหลัง โดยจะนำรายชื่อผู้ที่ไม่เห็นด้วยพร้อมหนังสือคัดค้านเรื่องดังกล่าวยืนต่อนายกรัฐมนตรี พร้อมระบุการนำภาระหนี้ในอนาคตมารวมกับหนี้ปัจจุบันแล้วบอกว่าการรถไฟฯมีหนี้ถึง 600,000 ล้านบาท ถือว่าไม่เป็นธรรมกับการรถไฟฯ และเป็นการบิดเบือนข้อเท็จจริง

นายศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย ยืนยันว่า หากการรถไฟ ฯ ลดจำนวนขบวนรถไฟเข้าหัวลำโพง และทำให้ประชาชนได้รับผลกระทบ ตนจะไปยื่นฟ้องแน่นอน การจะปิดหรือไม่ปิดหัวลำโพง ต้องทำประชามติเพื่อฟังเสียงของประชาชนทั้งประเทศ

นายสุเมธ องกิตติกุล ผู้อำนวยการวิจัยด้านนโยบายการขนส่งและโลจิสติกส์ ทีดีอาร์ไอ กล่าวว่า ค่อนข้างสนับสนุนการย้ายศูนย์กลางระบบรางไปยังสถานีกลางบางซื่อ เนื่องจากพื้นที่มีความเหมาะสม และรองรับรถไฟได้หลายประเภท รวมถึง ทางคู่ และความเร็วสูง ที่ในอนาคตจะมีจำนวนเที่ยววิ่งเพิ่มขึ้นกว่าในปัจจุบัน แต่ที่สำคัญคือการเชื่อมต่อการเดินทางให้เกิดความสะดวก / แต่สิ่งที่กระทรวงคมนาคม จำเป็นต้องทำต่อคือการสร้างให้การเดินทางสะดวกขึ้น ดึงคนมาใช้บริการระบบขนส่งสาธารณะมากขึ้น และต้องเร่งแก้ปัญหา โครงการ Missing Link ที่ล่าช้ามานาน ทำให้การเดินทางไม่เชื่อมต่อ

นายกิตติธัช ชัยประสิทธิ์ อาจารย์ประจำภาควิชาสถาปัตยกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง กล่าวว่าการพัฒนาระบบรางเพื่อให้เกิดประโยชน์เป็นเรื่องดี แต่ต้องมีการสื่อสารที่ชัดเจนว่าประชาชนได้ประโยชน์อะไร เชื่อว่าเมื่อโครงการ Missing Link เสร็จสิ้น จะต้องมีการกำหนดราคาค่าโดยสารที่ผู้มีรายได้น้อยสามารถใช้บริการได้ด้วย


------------

เวทีเสวนา”หัวลำโพง”เดือด!ค้านหยุดเดินรถ”ประภัสร์”ขอให้พูดความจริง”ศรีสุวรรณ”ฟ้องแน่ หากรฟท.ขอปรับผังสี
เผยแพร่: 14 ธ.ค. 2564 20:13 ปรับปรุง: 14 ธ.ค. 2564 20:13 โดย: ผู้จัดการออนไลน์

เวทีเสวนา”หัวลำโพง”ดุเดือด“คมนาคม”ย้ำไม่เคยพูดปิดหรือทุบ ด้าน”ประภัสร์” ขอให้พูดความจริง นักวิชาการสับแบบตึกสูงข่มโดมสถานีที่ต้องอนุรักษ์ ชี้พัฒนาต้องยึดผลประโยชน์ประชาชนมากกว่านายทุน“ศรีสุวรรณ”ฟ้องแน่ หากรฟท.ขอปรับเป็นสีแดง

วันที่ 14 ธ.ค.2564 การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นในหัวข้อ "อนาคตสถานีหัวลำโพงประวัติศาสตร์คู่การพัฒนา" โดยมีผู้ร่วมเสวนามาจากหลายภาคส่วนทั้งผู้แทนกระทรวงคมนาคม รฟท. นักวิชาการ ภาคประชาสังคม โดยนายสรพงศ์ ไพฑูรย์พงษ์ รองปลัดกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า ในการประชุมคณะกรรมการเตรียมการเปิดให้บริการและการบริหารโครงการระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) และสถานีกลางบางซื่อที่มี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นประธาน ทั้งหมด 7 ครั้ง ไม่เคยมีการประชุมครั้งไหนที่ รมว.คมนาคม สั่งให้ปิด หัวลำโพง ขณะที่ในการศึกษาในทุกแนวทางการเดินรถรวมถึงกรณีปิดการเดินรถที่หัวลำโพง ซึ่งพบว่า จะมีประชาชนได้รับกระทบประมาณหมื่นกว่าคนดังนั้น จึงจะไม่ทำในสิ่งที่ประชาชนเดือดร้อน ทั้งหมดเป็นเพียงการลดบทบาท ของศูนย์กลางระบบรางจากที่สถานีหัวลำโพง มาที่สถานีกลางบางซื่อ เพื่อให้การบริหารจัดการเดินรถที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งสถานีกลางบางซื่อจะเชื่อมโยงกับรถไฟฟ้า 3 สาย และมีการปรับเส้นทางรถเมล์ เพื่อให้เชื่อมกับสถานีรถไฟฟ้าสายสีแดงทั้ง 13 สถานี ประมาณ 80 เส้นทาง โดยวิ่งเข้าสถานีกลางบางซื่อ 15 เส้นทาง เพื่อทำให้การเดินทางเชื่อมต่ออย่างไร้รอยต่อ

โดยคณะกรรมการฯเตรียมเปิดสถานีกลางบางซื่อและสายสีแดง ที่มีรมว.คมนาคมเป็นประธาน ได้มีการตั้งคณะอนุกรรมการ 5 ชุด เพื่อเตรียมการเปิดให้บริการ ในด้านต่างๆ เพื่อบูรณาการในการเปลี่ยนผ่านต้องไม่ทำให้ประชาชนเดือดร้อน สำหรับรถไฟชานเมืองนั้นมีความสำคัญ เพื่อไม่ให้กระทบต่อประชาชน ที่ประชุมจึงมีมติที่ยังคงการเดินรถไฟชานเมืองเข้าสถานีหัวลำโพง 22 ขบวน ไว้ก่อน

นายพิเชฐ คุณาธรรมรักษ์ รองอธิบดีกรมการขนส่งทางราง กล่าวว่า เรื่องข่าวทุบหัวลำโพง ยืนยันไม่จริงเป็นเฟกนิวส์ ส่วนประเด็นปิดหัวลำโพง ไม่จริง เพราะยังคงมีรถไฟวิ่งเข้าอยู่ แต่จะมีการลดบทบาทเพราะมีการเปิดใช้สถานีกลางบางซื่อ โดยปัจจุบันมีขบวนรถไฟเข้าสถานีหัวลำโพง 118 ขบวน โดยตั้งแต่วันที่ 23 ธ.ค.64 จะปรับลดเหลือ 22 ขบวน แบ่งเป็น สายเหนือ/ตะวันออกเฉียงเหนือ (อีสาน) 6 ขบวน, สายใต้ 2 ขบวน และสายตะวันออก 14 ขบวน สำหรับรถไฟฟ้าสายสีแดงนั้นอยู่ในแผนแม่บทมาเป็น 20 ปีแล้ว ซึ่งมีเหตุผลส่วนหนึ่งคือ จะช่วยลดจุดตัดในกทม. 27 จุด ลดจำนวนการปิดกั้นถนนได้วันละ 826 ครั้ง/วัน เหลือ 112 ครั้ง หรือลดลง 86% เนื่องจากยังคง 22 ขบวนเข้าหัวลำโพง ซึ่งจะช่วยแก้ปัญหาจราจรได้ ส่วน หัวลำโพงจะถูกลดบทบาทลงและในอนาคต จะมีขบวนรถไฟสายสีแดงส่วนต่อขยายเข้าหัวลำโพง ซึ่งจะก่อสร้างในอีก 2-3 ปีข้างหน้า

“รถไฟ 22 ขบวน มีผู้โดยสารที่ได้รับผลกระทบประมาณ 7,000 เที่ยวคนต่อวัน (ไป-กลับ) คิดเป็น 0.018% เมื่อเทียบกับจำนวนผู้เดินทางในกรุงเทพฯ ทั้งหมดประมาณ 34 ล้านคนเที่ยวคนต่อวัน ซึ่งหลังเกิดโควิดเหลือประมาร 20 ล้านคนเที่ยว แต่กระทรวงคมนาคมก็ยังแคร์อยู่”

นางสาวไตรทิพย์ ศิวะกฤษณ์กุล รักษาการกรรมการผู้จัดการ บริษัท เอสอาร์ที แอสเสท จำกัด กล่าวว่า เอสอาร์ทีแอสเสท ตั้งเป็นบริษัทลูก รฟท. ตามมติครม. มีสถานะเป็นรัฐวิสาหกิจ รฟท.ถือหุ้น 100 %มีหน่าที่บริหารทรัพย์สินรถไฟ ในส่วนของที่ดิน แนวคิดการพัฒนาพื้นที่สถานี ในรูปแบบ TOD โดยเน้นพื้นที่สีเขียว มีโครงสร้างพื้นฐาน พัฒนาผสมผสานหรือมิกซ์ยูส เน้นการเดินเท้า และใช้พลังงานสะอาด และเป็นพื้นที่สีเขียว สำหรับการพัฒนาสถานีหัวลำโพง จะมีความพิเศษเพราะเป็นพื้นที่ประวัติศาสตร์ และไม่มีการรื้อหรือทุบสถานี โดยจะลดบทบาทและปรับเปลี่ยนการใช้พื้นที่ 120 ไร่ ซึ่งมีสถาปัตยกรรม 5 จุดที่ต้องอนุรักษ์ไว้ ได้แก่

1.อนุสาวรีย์ช้างสามเศียร ด้านหน้า ซึ่งเป็นหลักกิโลเมตรที่ 0 ของการเดินรถไฟ
2.อาคารสถานีหัวลำโพง อายุ 105 ปี
3.อนุสรณ์ปฐมฤกษ์ เป็นจุดที่รัชกาลที่ 5 ปักหมุดรางรถไฟ
4.ตึกบัญชาการ ที่ทำการรฟท. และ
5.ตึกแดง
โดยจะอนุรักษ์และหาแนวทางพัฒนา โดย จะมีพื้นที่เหลือพัฒนาประมาณ 90 ไร่ ซึ่งหากหากไม่พัฒนามีแนวโน้มพื้นที่จะเสื่อมโทรม และมีผู้บุกรุกเข้ามา

นายประภัสร์ จงสงวน อดีตผู้ว่า รฟท. กล่าวว่า เรื่องนี้สำคัญและผู้ว่าฯรฟท.ต้องออกมาชี้แจงเอง ไม่ใช่ส่งผู้ช่วยฯ มาชี้แจง อย่าหลบหน้าสื่อ อยากให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องออกมาพูดความจริง การสื่อสารเป็นเรื่องสำคัญหมดยุคทำอะไรปิดบังแล้ว วันนี้เราไม่ควรมานั่งกันตรงนี้หากชี้แจงให้ชัดเจนตั้งแต่แรก ภาพที่ออกมาเอาหัวลำโพง มาด้อยค่าเป็นประตูทางเข้าอาณาจักรขายของราคาแพง แบรนด์เนม

ส่วนเรื่องสถานีกลางบางซื่อ สมัยผมเป็นผู้ว่าฯ แนวคิดหัวลำโพงต้องมีรถไฟวิ่งเข้าไป และจะหยุดเดินรถได้ต่อเมื่อมีสายสีแดงวิ่งเข้าไป แต่วันนี้จะให้หยุดเดินก่อน อ้างว่า สถานีบางซื่อเสร็จแล้ว แต่ประชาชนเดือดร้อน เสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขณะที่เศรษฐกิจปัจจุบันแย่แล้วยังทำให้ประชาชนเดือดร้อน ผมไม่เห็นด้วยกับหยุดรถไฟทางไกลเข้าหัวลำโพงขอให้กระทรวงฯพิจารณาให้ดี และอย่าโทษว่ารถไฟทำให้รถติด อย่าลืมว่ารถไฟมีมาก่อนถนน ไม่มีประเทศใดในโลกที่ให้ถนนมาตัดกับรถไฟ เพราะต้องทำสะพานข้าม หรืออุโมงค์ลอด มีแต่ประเทศไทยเท่านั้น และไม่ใช่ว่าพอไม่มีรถไฟวิ่งแล้วรถจะไม่ติดตามที่ กรมรางบอก แน่นอน อย่าหาว่าผมสอนกรมรางเลย เห็นใจประชาชนสักนิด

นางสาวรสนา โตสิตระกูล อดีตสมาชิกวุฒิสภา กทม. กล่าวว่า รถไฟเป็นระบบรางที่มีความสะดวก และเข้าหัวลำโพงการเลิกเดินรถเข้าหัวลำโพง ประชาชนกระทบมากและยังกระทบไปถึง แท็กซี่ สามล้ม ประชาชนที่ค้าขายในพื้นที่ทั้งหมด ซึ่งตามกฎหมาย การลดขบวนหรือหยุดเดินรถ ตามกฎหมายระบุชัดเจนว่าต้องมีพระบรมราชโองการเท่านั้นจึงจะทำได้ ขอส่งเสียงไปยัง รมว.คมนาคมด้วยว่า การลดขบวนรถไฟเข้าหัวลำโพง อาจจะเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย เพราะทราบมาว่าขณะนี้ รฟท. หยุดจำหน่ายตั๋วโดยสารตจากหัวเมืองเข้าสู่สถานีหัวลำโพงแล้ว หากเป็นเรื่องจริงจะเป็นเรื่องใหญ่ที่เราไม่ยอม เพราะทำอะไรควรฟังเสียงประชาชน และสำรวจความเดือดร้อนของประชาชนก่อน

นายศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย กล่าวว่า หากการรถไฟฯจะเปลี่ยนสีผังเมืองของสถานีหัวลำโพงจากสีน้ำเงิน่ซึ่งเป็นที่ดินหน่วยงานราชการไม่สามารถพัฒนาเชิงพาณิชย์ได้ให้เป็นสีแดงที่ดินประเภมพาณิชกรรม ตนจะไปฟ้องศาลปกครอง

นายสาวิทย์ แก้วหวาน ที่ปรึกษาสหภาพแรงงาน รัฐวิสาหกิจรฟท. กล่าวว่า วันนี้ ไม่จำเป็นต้องฟังคงามเห็นแล้วเพราะทุกสื่อ กระแสสังคมไม่เห็นด้วยกับการปิดหัวลำโพง ส่วนที่บอกว่าสังคมเข้าใจผิด คงไม่ถูกต้องเพราะสื่อคงไม่กุข่าวเอง

สำหรับรถไฟ มีกระบวนการที่แสวงหาผลประโยชน์ทุกยุค ขณะที่หน้าที่รถไฟคือบริการประชาชนโดยเฉพาะผู้มีรายได้น้อย เพราะเก็บค่าโดยสารถูก ส่วนเลิกวิ่งรถไฟเข้าหัวลำโพง เพราะแก้รถติดได้ ก็เป็นตรรกะที่ผิดมาก บอกให้หยุดลงที่บางซื่อ ให้คนลงและมาต่อฟีดเดอร์ รถยนต์อีก ตกลงจะแก้รถติดอย่างไร

ซึ่งวันนี้ ได้ยื่นหนังสือต่อนายกรัฐมนตรี พร้อมเสนอรายชื่อคัดค้านเกือบ 3 หมื่นรายชื่อ ณ ศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ทำเนียบรัฐบาล เพื่อให้พิจารณากรณีหยุดให้บริการเดินรถเข้าสถานีหัวลำโพง และหากสุดท้ายกระทรวงคมนาคมยังคงทำตามเดิมก็ถือว่าเป็นความพ่ายแพ้ของคนทั้งประเทศ ที่สูญเสียคุณค่าทางประวัติศาสตร์ให้กลุ่มทุน แม้วันนี้จะไม่รู้สว่าเป็นใครแต่ รฟท.ไม่มีทางทำเองได้ เพราะรฟท.ไม่เชี่ยวชาญ เรื่องพัฒนาที่ดินสหภาพฯเสนอให้ตั้งบริษัทลูกขึ้น แต่หากตั้งมาแล้วมาปิดหัวลำโพง ก็ไม่ควรมีบริษัทนี้ เพราะผิดวัตถุประสงค์ในการตั้งบริษัทลูก

นายศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย กล่าวว่า หากรฟท.จะเปลี่ยนสีผังเมืองสถานีหัวลำโพงจากสีน้ำเงินซึ่งเป็นที่ดินหน่วยงานราชการไม่สามารถพัฒนาเชิงพาณิชย์ได้ให้เป็นสีแดงที่ดินประเภทพาณิชกรรม ไม่ใช้เรื่องง่าย อย่างน้อยต้องผ่านด่านผมก่อน ซึ่งผมฟ้องศาลปกครองแน่นอน

ดร.กิตติธัช ชัยประสิทธิ์ อาจารย์ประจำภาควิชาสถาปัตยกรรม ศิลปะและการออกแบบ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังกล่าวว่า ภาครัฐควรทำงานโดยไม่เอาประชาชนเป็นตัวตั้ง ซึ่งเห็นด้วยกับการออกแบบสถานีกลางบางซื่อใหญ่ รองรับได้มาก รวมถึงการพัฒนาหารายได้ แต่รูปแบบ จะทำอย่างไรที่จะเกิดประสิทธิภาพจริง ใครที่จะได้ประโยชน์กับสิ่งนี้ จากการสื่อสาร ภาพตึกที่ขึ้นสูงด้านหลังหัวลำโพง ภาพนี้ ไม่รู้ว่าทีมไหนนำเสนอแต่ในแง่ ที่เป็นอาจารย์ด้านนี้นักศึกษาที่ทำแบบนี้จะให้สอบตก เพราะตึกนั้นข่มหัวลำโพง ไม่รู้คนออกแบบทำภาพวางยา รฟท.หรือไม่

ในฐานะนักวิชาการ การพัฒนาหัวลำโพง มีร้านแบรนด์เนม เป็นห้าง ถามว่าวันนี้ยังมีห้างไม่พออีกหรือ ดังนั้นต้องพูดให้ชัด ว่าประชาชนได้อะไร คนในพื้นที่รอบๆ ได้อะไรจากการพัฒนา เมื่อพัฒนาแล้ว รถไฟมีเงินเข้ามา บริการจะดีขึ้นอย่างไร

ขณะที่ความเห็นของประชาชนผ่านทางเฟสบุ้ค มีเกือบ 500 ความเห็น เช่น “คนที่มาเสวนาอะ......นึกถึงปากท้องประชาชนให้มากกว่าเก้าอี้ของตัวเองไม่ใช่นายสั่งอะไร ก็ได้ครับพี่ ดีครับผม เหมาะสมครับท่าน ดูตัวอย่างตอนย้ายไปสุวรรณภูมิ และก็อย่ามาพูดว่ามีมาตรการเยียวยาเพราะมันแค่ชั่วคราวและไอที่แหกปากว่ารถไฟทำให้การจราจรติดขัด เลิกคิดซะนะ”

“ อีก 9 วัน จะมีรถเข้าหัวลำโพงเหลือเพียง 22 ขบวนแล้ว แต่ขณะนี้กลับยังไม่ชัดเจนว่ามีขบวนใดบ้าง และจะมายกเลิกเร่งรีบการเดินรถไปเพื่ออะไร”

“เดิน 22 ขบวน แล้วเดินรถยังไง สถานีที่แจ้งปิด 5 สถานีคืออะไร ที่ประกาศออกมา ????”

“ทำให้เกิดความวุ่นวาย และเป็นภาระของประชาชนมาก ซึ่งจากที่โทรไปสอบถามทางคอลเซ็นเตอร์ของ รฟท. 1690 เมื่อสอบถามเรื่องนี้ได้คำตอบว่า ยังไม่มีข้อมูล จึงอยากถามว่า รฟท. มีความพร้อมมากแค่ไหน และการจัดเวทีครั้งนี้เป็นเพียงพิธีกรรมหรือไม่ เพราะยังคงเดินหน้าแผนปรับลดขบวนรถไฟเข้าหัวลำโพงเหมือนเดิม”
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44834
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 15/12/2021 7:14 am    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
เวทีเสวนา”หัวลำโพง”ไม่จบ!! ต้องไปต่อศาลปกครอง
*เปลี่ยนสีผังเมืองที่ราชการให้พัฒนาพาณิชย์
*คมนาคมถอยให้รถไฟเข้า22ขบวนจาก118
*ลดบทบาทรางไปบางซื่อพัฒนาที่แก้จุดตัด
*ปชช.ต้านเดือดร้อนอย่าโทษรถไฟทำรถติด
*แฉรฟท.หยุดขายตั๋วแล้วไร้แผนงานรองรับ
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/3067986360089528

ต้องฟ้องศาลปกครอง
Source - เดลินิวส์
Wednesday, December 15, 2021 05:52
รฟท.ปรับสีผังเมืองหัวลำโพง

พัฒนาพื้นที่เป็นเชิงพาณิชย์

เมื่อวันที่ 14 ธ.ค. กระทรวงคมนาคม ได้เปิดเวทีรับฟังความ คิดเห็นทุกภาคส่วน ในหัวข้อ "อนาคตสถานีหัวลำโพงประวัติศาสตร์ คู่การพัฒนา" โดยนายสรพงศ์ ไพฑูรย์พงษ์ รองปลัดกระทรวงคมนาคม กล่าวว่ายืนยันว่ากระทรวงคมนาคมไม่เคยพูดว่าจะปิดสถานีกรุงเทพ(หัวลำโพง) เพียงแต่จะลดบทบาทจากการเป็นศูนย์กลางการเดินทาง ทางรางที่สถานีหัวลำโพงไปยังสถานีกลางบางซื่อเพื่อให้การบริหารจัด การเดินรถมีประสิทธิภาพมากขึ้นและเชื่อมโยงกับขนส่งระบบอื่นได้อย่างไร้รอยต่อ อาทิ รถไฟฟ้า 3 สาย และรถเมล์ซึ่งขณะนี้ได้ปรับเส้นทางรถเมล์ ขสมก. ให้เชื่อมกับรถไฟฟ้าสายสีแดงทั้ง 13 สถานี ประมาณ 80 เส้นทาง ในจำนวนนี้เชื่อมเข้าสถานีกลางบางซื่อประมาณ 15 เส้นทาง

นายพิเชฐ คุณาธรรมรักษ์ รองอธิบดีกรมการขนส่งทางราง (ขร.) กล่าวว่าปัจจุบันมีขบวนรถไฟเดินรถเข้าสถานีหัวลำโพง 118 ขบวน โดยตั้งแต่วันที่ 23 ธ.ค. 64 รฟท. มีแผนลดขบวนรถไฟเข้าหัวลำโพงเหลือ 22 ขบวน แบ่งเป็นสายเหนือ/ตะวันออกเฉียงเหนือ (อีสาน) 6 ขบวน, สายใต้ 2 ขบวน และสายตะวันออก 14 ขบวน จะช่วยลดปัญหาจราจร และทำให้จุดตัดรถไฟในกรุงเทพฯ ลดลง 86% ช่วยลดจำนวนการปิดกั้นถนนได้วันละ 826 ครั้งอย่างไรก็ตามการลดขบวนรถไฟเข้าหัวลำโพงจะมีผู้โดยสารที่ได้รับผลกระทบประมาณ 7,000 เที่ยวคนต่อวัน (ไป-กลับ) คิดเป็น 0.018% ของจำนวนผู้เดินทางในกรุงเทพฯ ทั้งหมด

นายอนันต์ โพธิ์นิ่มแดง ผู้ช่วยผู้ว่าการ รฟท. กล่าวว่า รฟท. ไม่มีแผนปิดสถานีหัวลำโพงและยังมีแผนขยายเส้นทางเดินรถไฟ สายสีแดงไปยังทุกทิศทาง โดยสายเหนือเส้นทางรังสิต-มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ในอนาคตขยายถึงบ้านภาชี จ.พระนครศรี อยุธยา, สายตะวันตก เส้นทางศาลายา-ศิริราช ขยายถึง จ.นครปฐม, สายตะวันออกเส้นทางบางซื่อ-หัวหมาก ขยายถึง จ.ฉะเชิงเทรา และสายใต้ เส้นทางบางซื่อ-หัวลำโพง ขยายถึงวงเวียนใหญ่และปากท่อ จ.ราชบุรี

น.ส.ไตรทิพย์ ศิวะกฤษณ์กุล รักษาการกรรมการผู้จัดการ บริษัท เอสอาร์ที แอสเสท จำกัด กล่าวว่าแนวคิดการพัฒนาพื้นที่สถานีหัวลำโพงเบื้องต้นจะมีความพิเศษกว่าที่อื่นเพราะเป็นพื้นที่ประวัติศาสตร์ มีสถาปัตยกรรม 5 จุดที่ต้องอนุรักษ์ไว้ ได้แก่
1.ช้างสามเศียร ซึ่งเป็นหลักกิโลเมตรที่ 0 ของการเดินรถไฟ
2.อาคารสถานีหัวลำโพง
3.อนุสรณ์ปฐมฤกษ์ เป็นจุดที่รัชกาลที่ 5 ปักหมุดรางรถไฟ
4.ตึกบัญชาการ และ
5.ตึกแดง
ซึ่งจะทำให้เหลือพื้นที่สถานีหัวลำโพงประมาณ 90 ไร่ที่จะนำมาพัฒนาให้เกิดประโยชน์ โดยจะเน้นให้ เป็นศูนย์การเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์และทำพื้นที่สีเขียว เพราะหากไม่พัฒนามีแนวโน้มพื้นที่จะเสื่อมโทรมและมีผู้บุกรุกเข้ามา

นายประภัสร์ จงสงวน อดีตผู้ว่า รฟท. กล่าวว่า อยากให้ ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องออกมาพูดความจริงการสื่อสารเป็นเรื่องสำคัญ หมดยุคทำอะไรปิด บังแล้ว ผู้บริหารต้อง ออกมาให้ข้อมูลและ อย่ามาโทษว่ารถไฟทำให้รถติด เพราะรถไฟมีก่อนถนนไม่มีประเทศใดในโลกที่ให้ถนนมาตัดกับรถไฟ ต้องทำสะพานข้าม หรืออุโมงค์ลอดและไม่เห็นด้วยกับการหยุดเดินรถไฟทางไกลเข้าหัวลำโพงควรหยุดเดินรถเมื่อโครงข่ายรถไฟฟ้าสายสีแดงแล้วเสร็จครบก่อน

นางรสนา โตสิตระกูล อดีตสมาชิกวุฒิสภา กทม. กล่าวว่า ทราบมาว่าขณะนี้ รฟท.หยุดจำหน่ายตั๋วโดยสารจากหัวเมืองมายังสถานีหัวลำโพงแล้วสร้างความเดือดร้อนให้ประชาชน ซึ่งหากเป็นเรื่องจริงจะเป็นเรื่องใหญ่ที่เราไม่ยอมเพราะทำอะไรควรฟังเสียงประชาชน และสำรวจความเดือดร้อนของประชาชนก่อนอีกทั้งอยากส่งเสียงไปยัง รมว.คมนาคม ด้วยว่า การลดขบวนรถไฟเข้าหัวลำโพงอาจจะเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย

ด้านนายศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย กล่าวว่าหากการรถไฟฯจะเปลี่ยนสีผังเมืองจาก สีน้ำเงินที่เป็นที่ดินหน่วยงานราชการไม่สามารถพัฒนาเชิงพาณิชย์ได้เป็นสีแดงที่ดินประเภทพาณิชยกรรม ตนจะไปฟ้องศาลปกครอง

ผู้สื่อข่าวรายงานว่าในช่วงท้ายของการจัดงาน ได้เปิดให้ประชาชนได้แสดงความคิดเห็น โดยมีบางรายระบุว่าอีก 9 วัน จะ มีรถเข้าหัวลำโพงเหลือเพียง 22 ขบวนแล้วแต่ขณะนี้กลับยังไม่ชัดเจนว่ามีขบวนใดบ้างและจะมาเร่งรีบยกเลิกการเดินรถไปเพื่ออะไร ซึ่งทำให้เกิดความวุ่นวายและเป็นภาระของประชาชนมาก ซึ่งจากที่โทรฯ ไปสอบถามทางคอลเซ็นเตอร์ของ รฟท. 1690 เมื่อสอบถามเรื่องนี้ได้คำตอบว่า ยังไม่มีข้อมูล จึงอยากถามว่า รฟท.มีความพร้อมมากแค่ไหน และการจัดเวทีครั้งนี้เป็นเพียงพิธีกรรมหรือไม่เพราะยังคงเดินหน้าแผนปรับลดขบวนรถไฟเข้าหัวลำโพงเหมือนเดิม.

ที่มา: นสพ.เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 16 ธ.ค. 2564 (กรอบบ่าย)


เสียงจากหัวลำโพงผ่านมุมมองประวัติศาสตร์ : เรื่องนี้มีตำนาน
Dec 14, 2021
Thai PBS


https://www.youtube.com/watch?v=vMse8pl5YcY

ไม่ว่าการเริ่มต้นของสถานีกลางบางซื่อ จะเท่ากับนับถอยหลังวันปิดฉากหัวลำโพง อย่างที่มีกระแสวิจารณ์กันมาข้ามเดือนหรือไม่ แต่วันที่ 14 หรือวันนี้ เป็นวันแรกที่การรถไฟฯ เปิดเวทีรับฟังความคิดเห็น เรื่องการเดินรถว่าจะไปต่อหรือปิดตัว ซึ่งทางสหภาพฯ รถไฟยังกังวลว่าจะทิ้งพันธกิจเดิม อย่างการเดินทางราคาถูก รวมถึงอาจนำไปสู่การรื้อเส้นทางประวัติศาสตร์


วันเปลี่ยนผ่าน หัวลำโพงสู่บางซื่อ : Spirit of Asia
Nov 28, 2021
Thai PBS


https://www.youtube.com/watch?v=QquN6Z0ksCs

เมื่อความยิ่งใหญ่ของศูนย์กลางการเดินทางต้องเคลื่อนย้ายขบวน เปลี่ยนผ่านจากสถานีรถไฟหัวลำโพง มาสู่สถานีกลางบางซื่อ ความเปลี่ยนแปลงนี้ส่งผลต่อการเดินทางของนักสัญจรและความเป็นอยู่ของชุมชนรายล้อมสถานีรถไฟหัวลำโพง ทว่าสถานีรถไฟหัวลำโพงยังไม่ได้หายหน้าหายตาไปไหน ยังคงอนุรักษ์ความเก่าแก่ โอ่โถงเอาไว้ และรอวันที่จะเปลี่ยนแปลงในอนาคต
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44834
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 15/12/2021 7:45 am    Post subject: Reply with quote

"ไม่ปิด-ไม่รื้อ" หัวลำโพง ลดเที่ยวรถไฟ! คนยังค้านแนวคิด | TNN ข่าวดึก | 14 ธ.ค. 64
Dec 14, 2021
TNN Online


https://www.youtube.com/watch?v=kD9djEAiWh0

ในเวทีรับฟังความคิดเห็นทุกภาคส่วน หัวข้อ “อนาคตสถานีหัวลำโพง ประวัติศาสตร์คู่การพัฒนา” ที่เปิดรับฟังความเห็นจากภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชน รองปลัดกระทรวงคมนาคม ยืนยันชัดเจนว่า จะไม่มีการปิดและรื้อทิ้งสถสนีรถไฟหัวลำโพง แต่จะลดบทบาทการเดินรถไฟลง พร้อมพัฒนาพื้นที่เป็นสถานีที่เรียนรู้ทางประวัติศาสตร์


วีดิทัศน์ชี้แจงหัวลำโพง ตอนที่ 1 แนวคิดการพัฒนาสถานีกลางบางซื่อ
Dec 15, 2021
กรมการขนส่งทางราง กระทรวงคมนาคม


https://www.youtube.com/watch?v=CzWzV5xV5-k

วีดิทัศน์ชี้แจงหัวลำโพง ตอนที่ 2 การให้บริการของสถานีกลางบางซื่อ
Dec 15, 2021
กรมการขนส่งทางราง กระทรวงคมนาคม


https://www.youtube.com/watch?v=Zux59SMAIhU


ยืนยันไม่ทุบไม่ปิดหัวลำโพง
Dec 15, 2021
Thai PBS News


https://www.youtube.com/watch?v=uznLNOAWGfM

ตั้งแต่สัปดาห์หน้า รถไฟที่จะวิ่งเข้าหัวลำโพงจะปรับลดลงเหลือ 22 ขบวน จากเดิม 118 ขบวนต่อวัน โดยมีคำยืนยันว่าจะไม่มีการทุบหัวลำโพงแน่นอน นับเป็นการลดบทบาทของสถานีกลางที่เคียงคู่สังคมไทยมา 105 ปี


Last edited by Mongwin on 15/12/2021 7:09 pm; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44834
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 15/12/2021 12:59 pm    Post subject: Reply with quote

รฟท.สรุปความเห็นหัวลำโพงก่อนสิ้นปี
เผยแพร่: 15 ธ.ค. 2564 10:37 ปรับปรุง: 15 ธ.ค. 2564 10:37 โดย: ผู้จัดการออนไลน์

การรถไฟ ขอเวลา 1 - 2 สัปดาห์ รวบรวมความเห็นประเด็นหัวลำโพง ยืนยันไม่ได้ปิดหัวลำโพง เป็นเพียงการลดบทบาทของสถานีรถไฟ ด้านฝ่ายคัดค้าน เสนอทำประชามติ ฟังเสียงประชาชนทั้งประเทศ

การรถไฟแห่งประเทศไทย หรือ รฟท. เปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นหัวข้อ "อนาคตสถานีหัวลำโพงประวัติศาสตร์คู่การพัฒนา" โดยมีผู้เข้าร่วม จากหลายภาคส่วน ทั้งผู้แทนกระทรวงคมนาคม ,รฟท. ,นักวิชาการ ,ภาคประชาสังคม โดยทางฝั่งนโยบาย นายสรพงศ์ ไพฑูรย์พงษ์ รองปลัดกระทรวงคมนาคม ชี้แจงว่า กระทรวงคมนาคม เตรียมพร้อมการจัดการเดินรถ และความพร้อมด้านอื่น มาเป็นระยะเวลา 7 เดือน และยืนยัน ไม่เคยมีการพูดว่าจะปิดหัวลำโพง เป็นเพียงการลดบทบาทสถานีรถไฟกรุงเทพเท่านั้น โดยที่หัวลำโพง จะยังมีการเดินรถขบวนชานเมืองเข้าสู่หัวลำโพงอยู่ ส่วนรถทางไกล จะสิ้นสุดขบวนที่สถานีกลางบางซื่อ

นายพิเชฐ คุณาธรรมรักษ์ รองอธิบดีกรมการขนส่งทางราง ย้ำว่า ข่าวทุบหัวลำโพง เป็นเฟกนิวส์ เพราะหัวลำโพง ยังมีรถไฟวิ่งเข้าสถานีอยู่ เพียงแต่จะลดบทบาทสถานี หลังเปิดใช้สถานีกลางบางซื่อเต็มรูปแบบ โดยปัจจุบัน มีขบวนรถไฟเข้าสถานีหัวลำโพง 118 ขบวน โดยตั้งแต่วันที่ 23 ธันวาคมนี้ จะปรับลดเหลือ 22 ขบวน แบ่งเป็น สายเหนือ,ตะวันออกเฉียงเหนือ 6 ขบวน, สายใต้ 2 ขบวน และสายตะวันออก 14 ขบวน วัตถุประสงค์หลัก เพื่อช่วยลดจุดตัดใน กทม. 27 จุด และลดจำนวนการปิดกั้นถนน จากวันละ 826 ครั้งต่อวัน เหลือ 112 ครั้ง หรือลดลง 86% ซึ่งจะช่วยแก้ปัญหาจราจรได้

ด้านนางไตรทิพย์ ศิวะกฤษณ์กุล กรรมการ รฟท. และรักษาการกรรมการผู้จัดการ บริษัท เอสอาร์ที แอสเสท กล่าวว่า เอสอาร์ที ตั้งตามมติ ครม. โดย รฟท.ถือหุ้น 100% เพื่อบริหารจัดการสินทรัพย์ของ รฟท.ที่ไม่ใช่รางรถไฟ เพื่อให้เกิดรายได้ และผลตอบแทนกับ รฟท. ส่วนพื้นที่หัวลำโพง 120 ไร่ในอนาคต มีแผนจะพัฒนาให้เกิดประโยชน์ ทั้งต่อผู้ใช้บริการและชุมชนโดยรอบ พัฒนาเป็นพื้นที่ประวัติศาสตร์ ปรับทัศนียภาพ เพิ่มพื้นที่สีเขียว พื้นที่เชื่อมต่อการเดินทาง สร้างเป็นศูนย์การเรียนรู้ พื้นที่เชิงวัฒนธรรม รวมทั้งพื้นที่เชิงพาณิชย์

ส่วนทางฝั่งที่คัดค้าน นายสาวิทย์ แก้วหวาน ที่ปรึกษาสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ รฟท. บอกถึงสาเหตุที่ไม่เห็นด้วยกับการหยุดเดินรถเข้าหัวลำโพง เพราะจะกระทบกับผู้ใช้บริการ แต่หากในอนาคต มีการเชื่อมต่อการเดินทางที่ครอบคลุม และให้สถานีรถไฟหัวลำโพง เป็นสถานีรถไฟและพิพิธภัณฑ์ที่มีชีวิต โดยลดจำนวนขบวนรถที่เข้าสถานีหัวลำโพง ค่อยมาคุยกันในภายหลัง และมองว่า การนำภาระหนี้ในอนาคต มารวมกับหนี้ปัจจุบัน แล้วบอกว่า รฟท.มีหนี้ถึง 600,000 ล้านบาท ถือว่าไม่เป็นธรรมกับการรถไฟฯ และเป็นการบิดเบือนข้อเท็จจริง

ด้านนายศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย บอกว่า การจะปิดหรือไม่ปิดหัวลำโพง ต้องทำประชามติเพื่อฟังเสียงของประชาชนทั้งประเทศ พร้อมขู่ด้วยว่า หาก รฟท.จะเปลี่ยนสีผังเมืองของสถานีหัวลำโพง จากสีน้ำเงิน ซึ่งเป็นที่ดินหน่วยงานราชการไม่สามารถพัฒนาเชิงพาณิชย์ได้ ให้เป็นสีแดง ที่ดินประเภทพาณิชย์กรรม จะไปฟ้องศาลปกครองแน่

ในมุมวิชาการ ดร.สุเมธ องกิตติกุล ผู้อำนวยการวิจัยด้านนโยบายการขนส่งและโลจิสติกส์ ทีดีอาร์ไอ กล่าวว่า สนับสนุนการย้ายศูนย์กลางระบบรางไปยังสถานีกลางบางซื่อ เนื่องจากพื้นที่มีความเหมาะสม และรองรับรถไฟได้หลายประเภท รวมถึง ทางคู่ และความเร็วสูง ที่ในอนาคตจะมีจำนวนเที่ยววิ่งเพิ่มขึ้นกว่าในปัจจุบัน แต่ที่สำคัญคือการเชื่อมต่อการเดินทางให้เกิดความสะดวก แต่สิ่งที่กระทรวงคมนาคม จำเป็นต้องทำต่อคือการสร้างให้การเดินทางสะดวกขึ้น ดึงคนมาใช้บริการระบบขนส่งสาธารณะมากขึ้น และต้องเร่งแก้ปัญหา โครงการ Missing Link ที่ล่าช้ามานาน ทำให้การเดินทางไม่เชื่อมต่อ

ขั้นตอนหลังจากรับฟังความคิดเห็นในครั้งนี้ กระทรวงคมนาคม และรฟท.จะรวบรวมความคิดเห็นต่างๆ ไปประกอบการพิจารณา ก่อนถึงวันที่ 23 ธันวาคมนี้
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สถานีรถไฟและสถาปัตยกรรมสำคัญเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 18, 19, 20 ... 31, 32, 33  Next
Page 19 of 33

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©