Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311296
ทั่วไป:13272514
ทั้งหมด:13583810
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - คุยเรื่องเครียดแบบไม่เครียดสไตล์นาย anusorn
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

คุยเรื่องเครียดแบบไม่เครียดสไตล์นาย anusorn
Goto page Previous  1, 2, 3  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สาระความรู้วิชาการรถไฟและประวัติศาสตร์รถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
anusorn
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 04/09/2006
Posts: 1642
Location: มณฑลอาคเนย์

PostPosted: 09/10/2007 3:29 pm    Post subject: Reply with quote

Nippon_M wrote:
Very Happy สูตรเดี่ยวกันกับ

a = v2-v1/t2-t1 รึเปล่า ครับ Shocked

อิอิ
ปล. โอ้ สุดยอด Very Happy


แม่นแล้วครับ
Back to top
View user's profile Send private message
Dahlia
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 17/02/2007
Posts: 1030
Location: BKK / NST

PostPosted: 09/10/2007 6:18 pm    Post subject: Reply with quote

Mr. Green เด็กกฎหมายอย่างผม คงได้แต่อ่านอย่างเดียวครับ... เห็นสูตรก็ลมจะจับแล้ว... Mr. Green
Back to top
View user's profile Send private message Send e-mail MSN Messenger
nathapong
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/03/2006
Posts: 3515
Location: Ayuthaya - Lamlukka - Navanakhon - Silom

PostPosted: 09/10/2007 6:53 pm    Post subject: Reply with quote

Dahlia wrote:
Mr. Green เด็กกฎหมายอย่างผม คงได้แต่อ่านอย่างเดียวครับ... เห็นสูตรก็ลมจะจับแล้ว... Mr. Green


หุหุ... เหมือนกันขอรับ

ขอบคุณ อ.อนุสรณ์ ที่มาช่วยขยายความเรื่องวิชาการให้....

ว่าแต่ อ.กิตติ พี่ห่าน และสมาชิกรุ่นพี่ ๆ ไม่ลงมาช่วยแจม บ้างหรือครับ


Quote:
“คำเตือน: - เยาวชนที่มีอายุต่ำกว่า 15 ปี ถ้าเข้ามาอ่านผู้ปกครองควรให้คำแนะนำ เพราะอ่านแล้วอาจไม่รู้เรื่อง ไม่เข้าใจ ว่ากระทู้นี้โพสท์กันถึงเรื่องอะไร(ฟะ) วัยรุ่นเซ็ง !!! อ่านแล้วปวดหัว เอาไว้ให้อายุมากกว่านี้ก่อน ให้มีความพร้อมกว่านี้แล้วค่อยกลับมาอ่านก็ยังไม่สายครับ”


ชอบคำเตือน นี้จัง
Back to top
View user's profile Send private message Send e-mail
Gunnersaurus
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 29/03/2006
Posts: 1574
Location: เมืองช้าง

PostPosted: 09/10/2007 8:32 pm    Post subject: Reply with quote

ความรู้วิชาฟิสิกส์อันน้อยนิดของผมคืนอาจารย์ไป ๑๖ ปีแล้ว

เข้ามาดูก็พอจำได้แค่เลาๆ พอรื้อฟื้นความหลังครับ Crying or Very sad

Dahlia wrote:
Mr. Green เด็กกฎหมายอย่างผม คงได้แต่อ่านอย่างเดียวครับ... เห็นสูตรก็ลมจะจับแล้ว... Mr. Green

เรียนกฎหมายอาจมีสักวันที่ต้องคิดถึงวิชาฟิสิกส์ เคมี ชีวะครับ Wink
Back to top
View user's profile Send private message
tuie
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 09/07/2006
Posts: 12156
Location: สถานีบ้านตุ้ย

PostPosted: 09/10/2007 8:53 pm    Post subject: Reply with quote

ขอบคุณอาจารย์อนุสรณ์เป็นอย่างสูงที่สร้างสรรค์บทความดีๆ มีสาระ ยากจะหาอ่านได้ตามเวบฯใดๆ มาให้พี่ๆน้องๆชาว RFT ได้ความรู้เพิ่มเติมครับ bow

เรื่องทางฟิสิกส์ถึงจะยากไปบ้าง Shocked แต่อาจารย์ก็พยายามอธิบายให้เข้าใจได้ดีขึ้น ลดความมึนงงไปได้เยอะ แต่ถ้ามีแบบทดสอบให้ทำเมื่อไร "กรรม" คงตามผมทัน Embarassed กล่าวคือ คงได้เกรดไม่เกิน D เหมือนอย่างที่ผมเคยแจกเกรดนี้แก่นักศึกษาผู้น่า... เป็นแน่ Laughing

รอติดตามชมอยู่นะครับ Smile
Back to top
View user's profile Send private message
RAPID140
3rd Class Pass (Air)
3rd Class Pass (Air)


Joined: 03/07/2006
Posts: 430
Location: สถานีท่าช้าง นครราชสีมา

PostPosted: 09/10/2007 9:27 pm    Post subject: Reply with quote

Laughing นี่ถ้ามีอินทิเกรต 3 ชั้น อีกหน่อยนี่มันส์เลยครับ Laughing
Back to top
View user's profile Send private message Send e-mail MSN Messenger
Vera
3rd Class Pass
3rd Class Pass


Joined: 09/11/2006
Posts: 201
Location: เชียงใหม่ กรุงเทพ

PostPosted: 09/10/2007 10:58 pm    Post subject: Reply with quote

แอบงงอยู่เล็กน้อยครับอาจารย์อนุสรณ์สำหรับเด็กรัฐศาสตร์อย่างผม Very Happy
_________________
อิสระให้อะไรได้มากกว่าที่คุณคิด
Back to top
View user's profile Send private message Send e-mail
anusorn
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 04/09/2006
Posts: 1642
Location: มณฑลอาคเนย์

PostPosted: 15/10/2007 5:32 pm    Post subject: Reply with quote

ขอขอบคุณทุกๆ ท่านที่เข้ามาแวะอ่านกันครับ

สำหรับบทความที่นำมาลงเป็นตอนๆ นี้ ผมจะแยกประเภทเป็นระดับความรู้ไว้ให้ครับโดยจะมีอยู่ทั้งหมด 3 ระดับคือ

1. พื้นฐานทางวิทยาศาสตร์
2. พื้นฐานทางวิศวกรรม
3. วิศวกรรมเชิงลึก

ในตอนแรกๆ ผมจะเสนอหัวข้อที่เป็นพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ไปก่อน พอถึงพื้นฐานทางวิศวกรรม และ วิศวกรรมเชิงลึก จะได้เข้าใจได้ไม่ยากครับ

จะพยายามมา update สัปดาห์ละ 1 ตอนครับ ถ้าไม่ติดงานประจำเร่งด่วน
Back to top
View user's profile Send private message
anusorn
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 04/09/2006
Posts: 1642
Location: มณฑลอาคเนย์

PostPosted: 15/10/2007 5:50 pm    Post subject: Reply with quote

ตอนที่ 2 อัตราเร่งของรถไฟ (ภาคจบ)
ระดับความรู้ : พื้นฐานทางวิทยาศาสตร์

ในตอนที่ 2 นี้จะว่ากันถึงอัตราเร่งที่ไม่คงที่บ้างครับ ดังที่กล่าวไปบ้างแล้วในตอนที่ 1 ว่าถ้าเกิด พขร. เปิด step คอนโทรลเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ นั้น อัตราเร่งก็จะเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ แบบไม่คงที่ ตราบใดที่ผู้สังเกตการณ์ (ผู้บันทึกเวลา) ยังบันทึกเวลาอยู่ กรณีนี้อัตราเร่งในแต่ละตำแหน่งเวลาจะไม่เท่ากัน เช่น ที่เวลาผ่านไป 5 วินาที หรือ 20 วินาที จะมีอัตราเร่งไม่เท่ากัน (ซึ่งจะแตกต่างจากกรณีแรกที่ไม่ว่าเวลา 5 หรือ 20 วินาทีจะมีอัตราเร่งเท่ากัน) ค่าของอัตราเร่งที่ไม่คงที่นี้ในการคำนวณจะเรียกว่าเป็น “อัตราเร่งที่เวลาขณะใดขณะหนึ่ง” ความหมายก็คือ เป็นอัตราเร่งที่ตำแหน่งเวลาต่างๆ ที่เราสนใจอยากรู้นั่นเองครับ ในด้านการคำนวณนั้นจะใช้ทฤษฎีของแคลคูลัสเข้ามาช่วยครับ

Click on the image for full size
รูปที่ 1 ความสัมพันธ์ระหว่างอัตราเร็วและเวลา ของอัตราเร่งคงที่

Click on the image for full size
รูปที่ 2 ความสัมพันธ์ระหว่างอัตราเร็วและเวลา ของอัตราเร่งไม่คงที่

จากรูปที่ 1 และ รูปที่ 2 จะเห็นถึงความแตกต่างระหว่างอัตราเร่งคงที่และไม่คงที่ ซึ่งจากกราฟความสัมพันธ์ระหว่าง อัตราเร็ว (แนวดิ่ง) และ เวลา (แนวนอน) จะได้ว่า อัตราเร่ง คือ ความชันของเส้นกราฟนั่นเอง ถ้าเส้นความชันเป็นเส้นตรงดังรูปที่ 1 ก็คือ อัตราเร่งคงที่ ถ้าเส้นความชันเป็นเส้นโค้งดังรูปที่ 2 ก็คือ อัตราเร่งไม่คงที่ครับ ซึ่ง เวลาที่ใช้จาก t1 ถึง t2 เพื่อให้ได้อัตราเร็ว จาก V1 เป็น V2 ก็คือการเปิดคอนโทรล step 1 และ เวลาที่ใช้จาก t2 ถึง t3 เพื่อให้ได้อัตราเร็ว จาก V2 เป็น V3 ก็คือการเปิดคอนโทรล step 2 ครับ ส่วนวิธีการทางแคลคูลัสที่สามารถนำมาช่วยคำนวณได้ ก็คือเรื่องของการหาอนุพันธ์ (Differential) และ ทฤษฎีเรื่อง Limit นั่นเองครับ แต่ในที่นี้ผมจะขอข้ามไม่กล่าวถึง (กลัวจะเอียนจนพาลจะ Nothing) แต่ถ้าอยากให้เขียนก็ขอกันมาครับ เดี๋ยวจัดให้ แต่ที่ผมจะเสนอก็คือให้กลับไปใช้วิธีการคิดกรณีอัตราเร่งคงที่แบบในตอนที่ 1 ครับ แต่วิธีนี้จะทำให้อัตราเร่งที่ได้ไม่ใช่ค่าที่แท้จริงในแต่ละวินาที แต่จะกลายเป็นอัตราเร่งเฉลี่ยแทนครับ ซึ่งโดยส่วนมากพวกรถยนต์ทั่วๆ ไปก็มักใช้อัตราเร่งเฉลี่ยนี่ล่ะครับนำเสนอว่า 0-100 km/h ใช้เวลากี่วินาที

Click on the image for full size
จากรูปที่ 3 จะแสดงให้เห็นถึงความแตกต่างระหว่างอัตราเร่งที่แท้จริง (ไม่คงที่) และอัตราเร่งเฉลี่ย (คงที่)ครับ

ลองมาดูกรณีศึกษาที่ 2 ครับ ; บังเอิญนายอนุสรณ์ ได้ไปโดยสารรถ THN ขบวนเดิมและเบาะนั่งตำแหน่งเดิมกับตอนที่ 1 (หากินง่ายดี) แล้วเกิดอยากทราบว่า จาก 0-100 km/h จะมีอัตราเร่งเฉลี่ยเท่าไร โดยนายอนุสรณ์ ได้เริ่มบันทึกเวลาตั้งแต่ขณะรถเริ่มเคลื่อนตัว จนกระทั่งเปิดคอนโทรล step สุดท้ายแล้วรถเปลี่ยนจากเกียร์ไฮดรอลิกส์ (เกียร์ต่ำ) เป็นต่อตรง (เกียร์สูง) จนกระทั่งถึง 100 km/h จึงเลิกบันทึกเวลา โดยใช้เวลาทั้งหมด 3 นาทีครึ่ง

เราใช้สมการในตอนที่ 1 มาแทนค่าได้เลยครับ
a = (Vf - Vi)/(tf - ti)

เอ้า! แปลงหน่วยกันก่อนครับ
0 km/h = 0 m/s
100 km/h = 100/3.6 m/s = 27.78 m/s
3 นาที + 30 วินาที = (60 x 3) + 30 = 210 วินาที

a = (27.78 – 0)/(210 - 0)

a = 0.132 m/s^2

จะได้อัตราเร่งเฉลี่ยมีค่า 0.132 เมตรต่อวินาทียกกำลังสอง

ลองเทียบกับรถ Supercar อย่าง McLaren F1 ที่ทำเวลา 0-100 km/h ได้ 3.3 วินาที ดูครับ

a = (27.78 - 0)/(3 - 0)

a = 8.418 m/s^2

ในเรื่องของอัตราเร่งของรถไฟเราจะจบกันในตอนที่ 2 นี้ครับ และต่อจากนี้อีกประมาณ 2-3 ตอน ก็จะยังคงเป็นเรื่องเกี่ยวกับพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ เพื่อปูทางก่อนที่จะเข้าไปสู่เนื้อหาทางพื้นฐานทางวิศวกรรมและวิศวกรรมเชิงลึกครับ สำหรับผู้ที่มีความรู้พื้นฐานอยู่ก่อนแล้ว อย่าเพิ่งเบื่อครับรับรองว่าพอเข้าไปเรื่องพื้นฐานทางวิศวกรรมแล้วไม่ผิดหวังแน่นอนครับ
Back to top
View user's profile Send private message
boat
3rd Class Pass
3rd Class Pass


Joined: 03/07/2006
Posts: 135
Location: ผมก็ไม่รู้.. ว่าที่นี่ที่ไหน??

PostPosted: 15/10/2007 6:17 pm    Post subject: Reply with quote

โห นี่สงสัยผมคงเข้าเรียนผิดห้อง ครับจารย์ครับ... Rolling Eyes

เรามันเด็กเอกEng ศึกษาศาสตร์ มึนเลย
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สาระความรู้วิชาการรถไฟและประวัติศาสตร์รถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3  Next
Page 2 of 3

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©