RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311324
ทั่วไป:13287477
ทั้งหมด:13598801
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ตามข่าวรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงค์ ชุดแรก..ถึงเมืองไทยแล้ว
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ตามข่าวรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงค์ ชุดแรก..ถึงเมืองไทยแล้ว
Goto page Previous  1, 2, 3, 4, 5
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> รถไฟฟ้าท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (ARL)
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42784
Location: NECTEC

PostPosted: 29/10/2007 11:03 am    Post subject: Reply with quote

"โครงการรถไฟฟ้าไฮสปีด "3 หมื่นล้าน คลานเหมือนเต่าเหตุติดปัญหาเวนคืนที่ดิน

โดย ผู้จัดการรายสัปดาห์ 26 ตุลาคม 2550 14:03 น.


ศูนย์ข่าวศรีราชา-การรถไฟแห่งประเทศไทยรับมอบรถไฟฟ้า ไฮสปีดเทรนโปรเจกต์ยักษ์ 3 หมื่นล้านสมัยรัฐบาลทักษิณ ล็อตแรก 8 โบกี้ หลังระดมทุนเอกชนร่วม 18,000 ล้านบาท ดำเนินการ เผยยังขาดงบประมาณอีกว่า 9,000 ล้านในการดำเนินการต่อ แต่รักษาการผู้ว่า ร.ฟ.ท.ยังมั่นใจเสร็จทันตามกำหนด ด้านบริษัทรับเหมาก่อสร้าง เผยยังไม่เป็นที่พอใจเพราะติดเรื่องความล่าช้าของการเวนคืนที่ดินกว่า 1 ปี

นายบัญชา คงนคร รักษาการผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เผยหลังจากเป็นประธานในพิธีรับมอบรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงค์ จากบริษัท ซีเมนส์ จำกัด (Siemens) จำนวน 8 โบกี้ เมื่อวันที่ 17 ตุลาคม ว่า ตามที่รัฐบาลสมัย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ได้ดำเนินการก่อสร้างท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ โดยหวังเป็นประตูในการเดินทางเข้าสู่ประเทศไทย และเป็นศูนย์กลางคมนาคมทางอากาศในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ เพื่อให้ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิมีความสมบูรณ์แบบในระดับนานาชาติ จึงเห็นควรให้มีระบบรถไฟด่วนเชื่อมระหว่างพื้นที่ใจกลางเมืองของกรุงเทพมหานครฯ กับท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกแก่ผู้โดยสารที่จะมาใช้บริการท่าอากาศยานสุวรรณภูมิที่สามารถเดินทางได้ในเวลาอันรวดเร็วและเชื่อถือได้

คณะรัฐมนตรีในชุดนั้นได้มีมติอนุมัติให้การรถไฟแห่งประเทศไทย ดำเนินการก่อสร้างโครงการระบบขนส่งทางรถไฟเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และสถานีรับส่งผู้โดยสารอากาศยานในเมือง ในวงเงินรวม 30,000 ล้านบาท โดยระดมทุนจากภาคเอกชนมาดำเนินการจัดการก่อนภาครัฐจะจ่ายคืนให้ภายหลัง และทางคณะรัฐมนตรีสมัยนั้นได้มีมติเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2547 ให้ ร.ฟ.ท.ดำเนินการ

ผลปรากฏว่ามีกลุ่มกิจการร่วมค้า ARLC จำนวน 5 บริษัทเป็นผู้รับจ้างก่อสร้างโครงการ ประกอบด้วย 1.บริษัท บี กริม อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด 2.B.Grimm MBA Hongkong Ltd. 3.บริษัท Siemens Aktiengesellschaft จำกัด 4.บริษัท ซีเมนต์ จำกัด และ 5.บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน)

นายบัญชา เผยต่อไปว่า สำหรับรายละเอียดของโครงการถึงรูปแบบการดำเนินงานขณะนี้มีความคืบหน้าไปได้ระดับหนึ่ง ซึ่งการดำเนินการก่อสร้างโครงการดังกล่าวคาดว่าจะเสร็จสิ้นตามกำหนดที่วางไว้ แต่อาจติดปัญหาบ้างบางประการแต่จะเร่งดำเนินการให้ทันตามกำหนดอย่างแน่นอน ซึ่งที่ผ่านมากระทรวงการคลังได้จัดหาเงินจำนวน 18,000 ล้านบาทเพื่อจ่ายให้สถาบันการเงิน แต่ทว่ายังไม่ครอบคลุมค่าใช้จ่ายทั้งหมด เพราะต้องใช้วงเงินเพิ่มอีกจำนวน 9,000 ล้านบาท ขณะนี้อยู่ระหว่างเจรจากับสำนักบริหารหนี้ ของกระทรวงการคลังในเรื่องของระยะเวลาการก่อสร้าง

ทั้งนี้คาดว่าหากโครงการดังกล่าวแล้วเสร็จ จะทำให้ประหยัดเชื้อเพลิงและเวลาในการเดินทาง และทำให้นักท่องเที่ยวที่เข้ามาในประเทศไทยได้รับความสะดวกสบาย สมกับที่เป็นสนามบินศูนย์กลางของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ด้าน Mr.Ralph Hasselbacher รองประธานอาวุโส และหัวหน้ากลุ่มธุรกิจระบบขนส่ง บริษัท ซีเมนส์ จำกัด แสดงความคิดเห็นหลังจากส่งมอบรถไฟฟ้าว่า ยังไม่พอใจกับการดำเนินการก่อสร้างโครงการดังกล่าวเท่าที่ควร เนื่องจากรูปแบบของโครงการมีความล้าช้ากว่ากำหนดถึง 1 ปี โดยปัญหาส่วนใหญ่ที่พบจะมาจากเรื่องการเวนคืนพื้นที่เพื่อใช้ในการก่อสร้างได้ทันตามกำหนด ซึ่งแตกต่างกับโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้า BTS และรถไฟฟ้าใต้ดินที่ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก เพราะสามารถส่งมอบงานได้เสร็จสิ้นก่อนล่วงหน้า

สำหรับรถไฟฟ้าที่ได้มีการส่งมอบในครั้งนี้ ถือเป็นรถไฟฟ้าที่มีความทันสมัยที่สุด และเป็นที่นิยมใช้ในแถบยุโรป อังกฤษ เยอรมัน ออสเตรเลีย และ อเมริกา โดยสามารถใช้ความเร็วได้ถึง 160 กิโลเมตรต่อชั่วโมง โดยการส่งมอบให้กับการรถไฟจะส่งมอบทั้งสิ้น 31 ตู้ แบ่งเป็นรถเร็วสูง 16 ตู้ และรถธรรมดา 15 ตู้ โดยจะทยอยส่งมอบจนครบจำนวน รวมทั้งความปลอดภัยที่มีระบบอาณัติสัญญาณที่ดีที่สุดในโลก ซึ่งเป็นไปตามมาตรฐานเดียวกับรถไฟฟ้า BTS และรถไฟฟ้าใต้ดิน ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน

หลังจากนี้การรถไฟแห่งประเทศไทยจะนำไปรถไฟฟ้าล็อตแรกทั้ง 8 โบกี้ที่ได้รับมอบไปจอดไว้ที่โรงเก็บถนนนิคมมักกะสัน แขวงมักกะสัน เขตราชเทวี กรุงเทพฯ ซึ่งรถไฟฟ้าส่วนที่เหลือจะทยอยนำส่งต่อไปจนครบทั้ง 31 โบกี้ และจะมีการกำหนดการนำมาทดสอบวิ่งจริงในวันที่ 9 พฤศจิกายน ที่จะถึงนี้ เพื่อทดสอบสมรรถภาพของการใช้งานจริงของแอร์พอร์ตเรลลิ้ง

สำหรับความเป็นมาของโครงการระบบขนส่งทางรถไฟ เชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและสถานีรับส่งผู้โดยสารอากาศยานในเมือง เริ่มต้นมาตั้งแต่สมัยรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ซึ่งได้มีมติจัดให้มีระบบรถไฟด่วนเชื่อมระหว่างพื้นที่ธุรกิจของกรุงเทพมหานครกับท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ระยะทางประมาณ 28 กม. ( ช่วงพญาไท-มักกะสัน-สุวรรณภูมิ) ต่อมาคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 1 มิ.ย.2547 อนุมัติให้การรถไฟแห่งประเทศไทย ดำเนินการก่อสร้างโครงการ

โดยมีกลุ่มกิจการร่วมค้า ARLC จำนวน 5 บริษัท เป็นผู้ชนะการประมูล โดยมีบริษัทที่ปรึกษาและควบคุมงานก่อสร้างจำนวน 7 บริษัทประกอบด้วย 1.บริษัท เอเชี่ยน เอ็นจิเนียริ่ง คอนซัลแตนส์ จำกัด 2.บริษัท ไทย เอ็นจิเนียริ่ง คอนซัลแตนส์ จำกัด 3.บริษัท แปซิฟิค คอนซัลแทนส์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด 4.บริษัท โชติจินดา มูเซล คอนซัลแตนท์ จำกัด 5.DE-Consult Dentsche Eisenbahn-Consulting Gmbh 6.บริษัท วิสิทธิ์ เอ็นจิเนียริ่ง คอนซัลแตนส์ จำกัด และ 7.บริษัท ดีไซน์ คอนเซป จำกัด

ทั้งนี้รูปแบบของโครงการในการให้บริการและส่วนบริการเสริม 3 ลักษณะ คือ 1.รถไฟฟ้าด่วนท่าอากาศยานสุวรรณภูมิที่ให้บริการผู้โดยสารด้วยรถไฟฟ้าปรับอากาศความเร็วสูง วิ่งตรงระหว่างสถานีมักกะสัน/อโศก ถึงสถานีสุวรรณภูมิ ภายในเวลา 15 นาที

2.รถไฟฟ้าท่าอากาศยานสุวรรณภูมิที่ให้บริการผู้โดยสาร วิ่งรับ-ส่งเริ่มต้นระหว่างสถานีพญาไท-ราชปรารภ-มักกะสัน/อโศก-รามคำแหง-หัวหมาก-บ้านทับช้าง-ลาดกระบัง ผ่าน 7 สถานี สู่ปลายทางที่สถานีสุวรรณภูมิ ภายในเวลา 28 นาที และ 3.สถานีรับ-ส่งผู้โดยสารอากาศยานในเมือง ซึ่งเป็นสถานีแห่งเดียวที่ผู้โดยสารสามารถนำสัมภาระมา Check-in เข้าสู่บริการขนถ่ายสัมภาระไปยังสนามบินสุวรรณภูมิได้อย่างสะดวกสบาย

ส่วนงานระบบรางและงานระบบไฟฟ้า-เครื่องกล จำแนกเป็น 1.ระบบรางรถไฟฟ้า/แนวราง, 2.ระบบอาณัติสัญญาณและควบคุมการเดินรถ, 3.ระบบโทรคมนาคม, 4.ระบบจ่ายกำลังขับเคลื่อนด้วยพลังไฟฟ้า, 5.ระบบจำหน่ายตั๋วอัตโนมัติ, 6.ระบบชานชาลาประตูอัตโนมัติ, 7.อุปกรณ์ซ่อมบำรุงรักษาในโรงซ่อมบำรุง และ 8.ระบบการตรวจบัตรโดยสารและระบบขนถ่ายกระเป๋า และส่วนงานจัดหาตู้รถโดยสารไฟฟ้า จำแนกเป็น รถไฟฟ้าด่วนท่าอากาศยานสุวรรณภูมิจำนวน 16 ตู้ และรถไฟฟ้าท่าอากาศยานสุวรรณภูมิจำนวน 15 ตู้ โดยที่ผ่านมามีความคืบหน้าของโครงการก่อสร้างจนถึงปัจจุบันแล้วประมาณ 70 % ทั้งในส่วนของงานก่อสร้างฐานราก งานก่อสร้างเสา งานเข็มตอก Spun Pile งานติดตั้ง Viaduct Segment งานเสาเข็มเจาะ งานติดตั้งโครงหลังคาและงานอื่นๆ

ทั้งนี้ข้อมูลจากผลการศึกษาพบว่าราคาก่อสร้างทางรถไฟเข้าสนามบินสุวรรณภูมิช่วงพญาไท-สุวรรณภูมิ ซึ่งใช้เม็ดเงินลงทุน 30,000 ล้านบาท แบ่งรายละเอียดตามส่วนงานต่างๆ ได้เป็น 1.งานโยธา-ทางรถไฟจำนวน 19,776.9 ล้านบาท 2.งานระบบจำนวน 6,163 ล้านบาท 3.งานจัดหาตู้รถไฟฟ้าจำนวน 4,075 ล้านบาท

ระยะทางรถไฟฟ้าจากพญาไทไปสุวรรณภูมิ รวมทั้งหมดระยะทาง 28.5 กิโลเมตร จะแบ่งเป็น 2 รูปแบบคือ 1.รถไฟด่วนเข้าสนามบิน (มักกะสัน-สุวรรณภูมิ) ใช้เวลาเดินทาง 15 นาที ค่าโดยสาร 100 บาทต่อเที่ยว 2.รถไฟขนส่งมวลชนที่จะจอดทุกสถานี (พญาไท-มักกะสัน-สุวรรณภูมิ) ใช้เวลาเดินทาง 30 นาที ค่าโดยสารเริ่มต้นที่ 10 บาท เพิ่มกิโลเมตรละ 1 บาท (ไม่เกิน 40 บาท) วิ่งด้วยความเร็ว 160 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

ทั้งนี้ ประมาณการณ์ว่าโครงการนี้มีผลตอบแทนทางด้านเศรษฐกิจถึง 22.4% ทางการเงิน 7.4% สัดส่วนอุปกรณ์นำเข้า 55% โดยระยะเวลาก่อสร้าง 30 เดือน และใช้เวลาทดสอบ 6 เดือน ซึ่งเป็นการเชื่อมต่อระหว่างเขตเมืองชั้นในของกรุงเทพฯ กับสนามบิน และจะทำให้คนหันมาใช้ระบบขนส่งมวลชนมากขึ้น เพื่อประหยัดพลังงาน และช่วยแก้ปัญหาการจราจรติดขัด สำหรับผู้เดินทางสามารถเช็กกระเป๋าเดินทาง (City Air Terminal) ได้ที่สถานีมักกะสันใหม่ที่ติดกับสถานีรถไฟใต้ดินเพชรบุรี และจะมีศูนย์ซ่อมบำรุงที่สถานีคลองตัน แถวย่าน RCA 40 ไร่ เป็นที่ดินของ ร.ฟ.ท. นอกจากนี้มีแผนจะพัฒนาเป็นย่านการค้าหรือศูนย์ธุรกิจ และจะทำเป็นสถานีรถไฟฟ้าในอนาคต
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42784
Location: NECTEC

PostPosted: 29/10/2007 11:04 am    Post subject: Reply with quote

คุณ Tong Maverick ได้ถ่ายรุปโรงรถไฟฟ้าที่คลองตันดังรูป

Click on the image for full size
Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> รถไฟฟ้าท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (ARL) All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3, 4, 5
Page 5 of 5

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©