RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311326
ทั่วไป:13289355
ทั้งหมด:13600681
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - รวมข่าวโครงการรถไฟทางคู่
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

รวมข่าวโครงการรถไฟทางคู่
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 106, 107, 108 ... 390, 391, 392  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44866
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 14/10/2015 4:28 pm    Post subject: Reply with quote

จ.หนองคาย สรุปแนวทางที่เหมาะสมรถไฟรางคู่
แหล่งที่มา : สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดหนองคาย
วันที่ข่าว : 14 ตุลาคม 2558

การรถไฟแห่งประเทศไทย สรุปแนวเส้นทางและรูปแบบโครงสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงขอนแก่น – หนองคาย

วันนี้ (14 ต.ค. 58) ที่ห้องประชุมโรงแรมอัศวรรณ อำเภอเมืองหนองคาย นายประสงค์ คงเคารพธรรม รองผู้ว่าราชการจังหวัดหนองคาย เป็นประธานเปิดการประชุมเพื่อสรุปแนวเส้นทางและรูปแบบที่เหมาะสม สัมมนาครั้งที่ 2 งานบริการที่ปรึกษาเพื่อศึกษาความเหมาะสมและออกแบบรายละเอียดโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ช่วงขอนแก่น – หนองคาย

นายวรรณนพ ไพศาลพงศ์ รองวิศวกรใหญ่ด้านก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน กล่าวว่า โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงขอนแก่น – หนองคาย มีจุดเริ่มต้นที่ กม.454 ซึ่งเป็นจุดสิ้นสุดของโครงการก่อสร้างช่วงจิระ – ขอนแก่น ห่างจากสถานีรถไฟขอนแก่น 450 ประมาณ 4.2 กิโลเมตร และมีจุดสิ้นสุดโครงการที่สถานีรถไฟหนองคาย รวมระยะทาง 174 กิโลเมตร มีสถานี 14 สถานี และที่หยุดรถไฟ 2 แห่ง ผลการศึกษาคาดว่า ในปี 2584 เส้นทางนี้จะมีปริมาณผู้โดยสารถึง 1.7 ล้านเที่ยวต่อปี และปริมาณสินค้า 3.9 ล้านตันต่อปี เส้นทางนี้มีศักยภาพในการเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งทางรถไฟทั้งในประเทศและการเชื่อมโยงสู่ประเทศเพื่อนบ้าน โดยในแนวเหนือ – ใต้ สามารถเชื่อมโยงเส้นทางรถไฟสายสิงคโปร์ – คุนหมิง และแนวเส้นทางสามารถเชื่อมต่อเส้นทางหนองคาย – โคราช – สระบุรี – แหลมฉบัง – มาบตาพุด เปลี่ยนถ่ายการขนส่งทางรถไฟไปยังระบบการขนส่งทางชายฝั่งที่ท่าเรือแหลมฉบังและมาบตาพุดไปยังนานาชาติ

สำหรับการออกแบบรถไฟทางคู่ด้วยรางขนาดความกว้าง 1 เมตร โดยการก่อสร้างทางวิ่งเพิ่ม 1 ทาง คู่ขนานกับทางรถไฟในปัจจุบัน เน้นใช้พื้นที่ในเขตทางของการรถไฟเป็นหลัก เพื่อหลีกเลี่ยงการเวนคืนที่ดินประชาชน มีการออกแบบเพื่อยกเลิกจุดตัดทางรถไฟเสมอระดับทุกแห่ง ปรับปรุงให้เป็นทางต่างระดับ ทางลอด หรือทางข้าม ทำให้ไม่มีจุดตัดระหว่างรถไฟกับรถยนต์อีกตลอดเส้นทาง ทำให้เกิดความปลอดภัยทั้งการเดินรถไฟและการใช้ถนน.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42789
Location: NECTEC

PostPosted: 14/10/2015 5:47 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
จ.หนองคาย สรุปแนวทางที่เหมาะสมรถไฟรางคู่
แหล่งที่มา : สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดหนองคาย
วันที่ข่าว : 14 ตุลาคม 2558



คาดรถไฟทางคู่ขอนแก่น-หนองคายปี 84 คนใช้บริการ 1.7 ล้านคน/ปี


โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์

14 ตุลาคม 2558 17:19 น.

คาดรถไฟทางคู่ขอนแก่น-หนองคายปี 84 คนใช้บริการ 1.7 ล้านคน/ปี

หนองคาย - รฟท. สรุปแนวเส้นทางและรูปแบบโครงสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงขอนแก่น-หนองคาย ระยะทาง 174 กิโลเมตร มี 14 สถานี คาดปี 2584 มีปริมาณผู้โดยสาร 1.7 ล้านคนต่อปี สินค้า 3.9 ล้านตัน

วันนี้(14 ต.ค. )ที่ห้องประชุมโรงแรมอัศวรรณ อ.เมือง จ.หนองคาย นายประสงค์ คงเคารพธรรม รองผู้ว่าราชการจังหวัดหนองคาย เป็นประธานเปิดการประชุมเพื่อสรุปแนวเส้นทางและรูปแบบที่เหมาะสม สัมมนาครั้งที่ 2 งานบริการที่ปรึกษาเพื่อศึกษาความเหมาะสมและออกแบบรายละเอียดโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ช่วงขอนแก่น - หนองคาย

นายวรรณนพ ไพศาลพงศ์ รองวิศวกรใหญ่ด้านก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน กล่าวว่า โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงขอนแก่น - หนองคาย มีจุดเริ่มต้นที่ กม. 454 ซึ่งเป็นจุดสิ้นสุดของโครงการก่อสร้างช่วงจิระ - ขอนแก่น ห่างจากสถานีรถไฟขอนแก่น 450 ประมาณ 4.2 กิโลเมตร และมีจุดสิ้นสุดโครงการที่สถานีรถไฟหนองคาย รวมระยะทาง 174 กิโลเมตร มีสถานี 14 สถานี และที่หยุดรถไฟ 2 แห่ง

จากผลการศึกษาคาดว่าในปี 2584 เส้นทางนี้จะมีปริมาณผู้โดยสารถึง 1.7 ล้านคนต่อปี และปริมาณสินค้า 3.9 ล้านตันต่อปี

เส้นทางนี้มีศักยภาพในการเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งทางรถไฟทั้งในประเทศ และการเชื่อมโยงสู่ประเทศเพื่อนบ้าน โดยในแนวเหนือ-ใต้ สามารถเชื่อมโยงเส้นทางรถไฟสายสิงคโปร์-คุนหมิง และแนวเส้นทางสามารถเชื่อมต่อเส้นทางหนองคาย - โคราช - สระบุรี - แหลมฉบัง - มาบตาพุด เปลี่ยนถ่ายการขนส่งทางรถไฟไปยังระบบการขนส่งทางชายฝั่งที่ท่าเรือแหลมฉบังและมาบตาพุดไปยังนานาชาติ

สำหรับการออกแบบรถไฟทางคู่ด้วยรางขนาดความกว้าง 1 เมตร โดยการก่อสร้างทางวิ่งเพิ่ม 1 ทาง คู่ขนานกับทางรถไฟในปัจจุบัน เน้นใช้พื้นที่ในเขตทางของการรถไฟเป็นหลัก เพื่อหลีกเลี่ยงการเวนคืนที่ดินประชถนนาชน มีการออกแบบเพื่อยกเลิกจุดตัดทางรถไฟเสมอระดับทุกแห่ง ปรับปรุงให้เป็นทางต่างระดับ ทางลอด หรือทางข้าม ทำให้ไม่มีจุดตัดระหว่างรถไฟกับรถยนต์อีกตลอดเส้นทาง ทำให้เกิดความปลอดภัยทั้งการเดินรถไฟและการใช้ถนน
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42789
Location: NECTEC

PostPosted: 15/10/2015 8:04 pm    Post subject: Reply with quote

ยักษ์รับเหมาลุ้นชิงทางคู่ แห่ซื้อซอง2สายค่า3.7หมื่นล.วงในชี้ผ่านเกณฑ์4ราย

HEADLINE
ฐานเศรษฐกิจ
ออนไลน์เมื่อ พฤหัสบดี ที่ 15 ตุลาคม 2558
ตีพิมพ์ใน หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 35 ฉบับที่ 3096 วันที่ 15 – 17 ตุลาคม พ.ศ. 2558

รถไฟทางคู่เนื้อหอม ยักษ์รับเหมาไทย/จีนร่วม10 บริษัท แห่ซื้อซองประกวดราคา 2 เส้นทาง “ชุมทางจิระ-ขอนแก่น และช่วงฉะเชิงเทรา-คลองสิบเก้า-แก่งคอย” ค่ากว่า 3.7 หมื่นล้าน หวังชิงเค้กก่อสร้าง วงในคาดมีเพียง 4 บริษัทใหญ่ที่ผ่านเกณฑ์ จับตา “อิตาเลียนไทย”เบียดกับ “ซิโน-ไทย” คาดปี 62 หลายเส้นทางทยอยเปิดให้บริการ

แหล่งข่าวระดับสูงจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่าภายหลังจากการที่ประกาศขายซองเอกสารประกวดราคาโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ เส้นทางชุมทางถนนจิระ-ขอนแก่น วงเงิน 26,007 ล้านบาท ตั้งแต่วันที่ 5-9 ตุลาคม 2558 ที่ผ่านมานั้น พบว่ามีผู้สนใจซื้อซองทั้งสิ้นจำนวน 9 ราย โดยบริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด(มหาชน) สนใจซื้อซองเป็นรายแรก ส่วนบริษัท ช.การช่าง จำกัด(มหาชน) ซื้อซองเป็นลำดับที่ 2 และบริษัท ช.ทวีก่อสร้างฯ ซื้อซองเป็นลำดับที่ 3 โดยส่วนใหญ่เป็นกลุ่มบริษัทรับเหมาชั้นนำของไทยทั้งสิ้น

สำหรับผู้สนใจซื้อซองเอกสารประกวดราคาทั้ง 9 รายคือ

1.บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด(มหาชน)
2.บริษัท ช.การช่าง จำกัด(มหาชน)
3.บริษัท ช.ทวีก่อสร้าง จำกัด
4.บริษัท ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด(มหาชน)
5.บริษัท ไชน่า ฮาร์เบอร์ เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด
6.บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด(มหาชน)
7.บริษัท เสริมสงวนก่อสร้าง จำกัด
8. บริษัท เอ.เอส.แอสโซซิเอท เอ็นจิเนียริ่ง (1964) จำกัด จำกัด และ
9.บริษัท ทิพากร จำกัด

“หลังจากนี้จะนำผู้ซื้อซองลงตรวจสอบพื้นที่จริงในวันที่ 15 ตุลาคมนี้ โดยจะพบว่าผู้รับเหมาชั้นนำในวงการก่อสร้างของไทยยังให้ความสนใจกันหลายราย แต่เมื่อยื่นซองจะได้เห็นความร่วมมือกันในบางราย อาทิ กลุ่ม ช.การช่าง อาจจะร่วมกับกลุ่ม ช.ทวี ก่อสร้าง หรือกลุ่ม ซิโน-ไทย ร่วมกับกลุ่มเอ.เอส.แอสโซซิเอท ดังนั้นกลุ่มที่เหลือต้องจับตาดูว่าจะมีการร่วมกับกลุ่มบริษัทใดอีกบ้าง ทั้งในประเทศและจากต่างประเทศ แต่จับตาว่าท้ายที่สุดแล้วรายใดจะมีภาษีดีกว่า โดยเฉพาะเรื่องต้นทุนการก่อสร้าง ซึ่งในเบื้องต้นกลุ่มอิตาเลียนไทยและกลุ่มซิโน-ไทย น่าจะได้เปรียบกว่ารายอื่น เนื่องจากมีโรงงานประกอบชิ้นส่วนอยู่ในพื้นที่วิหารแดง และโซนภาคตะวันออก ซึ่งในปี 2562 จะเห็นภาพการเปิดให้บริการรถไฟทางคู่เส้นทางต่างๆที่ร.ฟ.ท. เร่งเปิดประมูลก่อสร้างชัดเจนยิ่งขึ้น”

แหล่งข่าวกล่าวอีกว่าสำหรับความคืบหน้าโครงการก่อสร้างทางคู่ ในเส้นทางรถไฟสายชายฝั่งทะเลตะวันออก ช่วงฉะเชิงเทรา-คลองสิบเก้า-แก่งคอย มูลค่า 1.1 หมื่นล้านบาทนั้น ร.ฟ.ท.ได้ประกาศขายเอกสารประกวดราคาแล้วเช่นกัน พบว่ามีผู้สนใจซื้อซองเอกสารจำนวนทั้งสิ้น 14 ราย สำหรับ 2 สัญญา โดยแยกเป็นสัญญาที่

1 งานก่อสร้างทางรถไฟทางคู่ ช่วงฉะเชิงเทรา-คลองสิบเก้า-วิหารแดง และช่วงบุใหญ่-แก่งคอย พร้อมทางคู่เลี่ยงเมือง(Chord Lines) 3 แห่ง มีผู้ซื้อจำนวน 8 ราย ส่วนสัญญาที่ 2 งานก่อสร้างทางรถไฟทางคู่ ช่วงวิหารแดง-บุใหญ่ พร้อมอุโมงค์รถไฟ มี 6 กลุ่มบริษัทแสดงความสนใจซื้อซองประกวดราคา (รายละเอียดตามตาราง)

ซึ่งภายหลังจากประกาศขายซองไปแล้ว มีผู้สนใจยื่นซองเอกสารประกวดราคาโครงการดังกล่าวในแต่ละสัญญาดังนี้คือ สัญญาที่ 1 มีผู้แสดงความสนใจยื่นซอง 6 รายคือ

1.บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด(มหาชน)
2.บริษัท เอ.เอส.แอสโซซิเอท เอ็นยิเนียริ่ง(1964) จำกัด
3.กิจการร่วมค้า ทีซี(บริษัท ทิพากร จำกัด ร่วมกับบริษัท ไชน่า ฮาร์เบอร์ เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด) 4.บริษัท ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด(มหาชน)
5.บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด(มหาชน)
6.กิจการร่วมค้า ซีเคซีเอช(บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน)ร่วมกับบริษัท ช.ทวีก่อสร้าง จำกัด)

ส่วนสัญญาที่ 2 มีผู้แสดงความสนใจ 4 ราย คือ

1.บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด(มหาชน)
2.กิจการร่วมค้าทีซี
3. บริษัท เนาวรัตน์พัฒนาการ จำกัด(มหาชน) และ
4.บริษัท ไร้ท์ทันเน็ลลิ่ง จำกัด

ด้านนายภาคภูมิ ศรีชำนิ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด(มหาชน) กล่าวว่าจากที่ได้พิจารณาทีโออาร์การประกวดราคาแล้ว คาดว่าจะมีเพียง 4 รายที่ผ่านการพิจารณาคือ

1.บริษัท ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด(มหาชน)
2. บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด(มหาชน)
3.บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด(มหาชน) และ
4.บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน)

“ในส่วนซิโน-ไทยนั้น สำหรับเส้นทางชุมทางถนนจิระ-ขอนแก่น ยังยืนยันว่าจะขอยื่นเดี่ยว เช่นเดียวกับเส้นทางฉะเชิงเทรา-คลองสิบเก้า-แก่งคอยไม่ต้องร่วมกับรายอื่น เพราะมีความพร้อมและเตรียมตัวมานานแล้ว โดยเฉพาะเรื่องเงินลงทุนและเครื่องมือหรืออุปกรณ์ แต่ท้ายที่สุดแล้วคงต้องรอผลสรุปของการแข่งขันอีกครั้ง”
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44866
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 19/10/2015 1:48 pm    Post subject: Reply with quote

เดินหน้าทางคู่เด่นชัย-เชียงใหม่
แนวหน้า วันจันทร์ ที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2558, 09.45 น.

เดินหน้าทางคู่เด่นชัย-เชียงใหม่ ระดมกึ๋นยกระดับรถไฟสายเหนือ

โครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ที่มีการลงทุนด้วยเม็ดเงินจำนวนมากนั้น ส่วนใหญ่สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) จะได้รับมอบหมายจากกระทรวงคมนาคม ให้เป็นหน่วยงานสำรวจออกแบบ กระทั่งเป็นผู้จัดสัมมนาเพื่อรับฟังความคิดเห็นของหน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้อง รวมถึงประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ ซึ่งในครั้งนี้ สนข.ได้มีการจัดรับฟังความคิดเห็นเรื่องของรถไฟทางคู่ในเส้นทางสายเหนืออีกครั้ง

นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ รองผู้อำนวยการ สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) กล่าวภายหลังเป็นประธานร่วมเปิดการสัมมนารับฟังความคิดเห็นของประชาชน ครั้งที่ 2 โครงการศึกษาและออกแบบรถไฟทางคู่ ช่วงเด่นชัย-เชียงใหม่ เพื่อนำเสนอสรุปแนวเส้นทางโครงการที่เหมาะสม ประโยชน์ของโครงการ การออกแบบแนวเส้นทาง รูปแบบของการพัฒนาโครงการ และผลกระทบสิ่งแวดล้อม พร้อมทั้งรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากทุกภาคส่วน สำหรับการสัมมนาครั้งนี้ได้นำเสนอแนวทางเลือกที่เหมาะสมที่สุดได้แก่ แนวเส้นทางเลือกที่ 4 ซึ่งเป็นการผสมผสานกันระหว่างแนวเส้นทางเลือกที่ 2 และทางเลือกที่ 3 โดยแบ่งเป็น 2 ช่วง คือ ช่วงสถานีเด่นชัย-สถานีจังหวัดลำปางระยะทางประมาณ 105 กิโลเมตร โดยก่อสร้างทางใหม่เพิ่ม 1 ทาง ตามแนวเส้นทางรถไฟเดิม แต่บางช่วงที่ปรับแนวเส้นทางให้เป็นทางตรงหรือเพิ่มรัศมีโค้งมากขึ้น เพื่อให้รถไฟสามารถวิ่งด้วยความเร็วสูงสุด 120 กม./ชม.ได้ และช่วงสถานีจังหวัดลำปาง-สถานีจังหวัดเชียงใหม่ ระยะทางประมาณ 84 กิโลเมตรเป็นการก่อสร้างทางใหม่ 2 ทาง ตามแนวเส้นทางตัดใหม่เป็นส่วนใหญ่ โดยให้มีระยะทางที่เหมาะสมและก่อให้เกิดผลกระทบน้อยที่สุด และออกแบบรัศมีโค้งให้รถไฟสามารถทำความเร็วสูงสุดได้ถึง 160 กม./ชม. ตลอดเส้นทาง เส้นทางเด่นชัย-เชียงใหม่ มีสถานีหลักตามแนวเส้นทาง 18 สถานี ได้แก่ ปากปาน แก่งหลวง ห้วยแม่ต้า บ้านปิน ผาคัน ปางป๋วย แม่จาง แม่เมาะ ศาลาผาลาด แม่ทะ หนองวัวเฒ่า ลำปาง ห้างฉัตร ศาลาแม่ทา ลำพูน ป่าเส้า สารภี และ เชียงใหม่ ระยะทางรวม 188 กิโลเมตร ในการออกแบบทางรถไฟ โครงการออกแบบตามมาตรฐานของ American Railway Engineering and maintenance-of- Way Association (AREMA) และการรถไฟแห่งประเทศไทย ที่กำหนดให้สามารถรองรับน้ำหนักกดเพลา 20 ตัน (U20) ส่วนรางใช้ขนาดรางแบบ Meter Gauge (ระยะห่างระหว่างราง 1.00 เมตร)

สำหรับมาตรการลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่สำคัญๆ เช่น ด้านเสียงและความสั่นสะเทือน กำหนดให้การเจาะ การตอกเสาเข็ม การขุดผิวดิน ดำเนินในช่วงเวลากลางวัน พร้อมติดตั้งกำแพงกั้นเสียงเพื่อลดระดับเสียงรบกวนที่เกินมาตรฐานบริเวณชุมชนและสถานที่สำคัญ รวมทั้งจัดตั้งศูนย์รับเรื่องร้องเรียนด้านการระบายน้ำในพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดน้ำท่วมจะทำการออกแบบเป็นสะพานช่วงสั้นหรือทางยกระดับและช่วงผ่านลำน้ำสายหลัก จะออกแบบตอม่อของโครงสร้างทางรถไฟ ไม่ให้กีดขวางการไหลของน้ำ ด้านการสัญจรของชุมชน ออกแบบจุดตัดให้เหมาะสม สอดคล้องกับการใช้งาน และความต้องการของชุมชน ด้านการโยกย้ายและเวนคืน จะทำการเวนคืนที่ดินเท่าที่จำเป็น โดยพิจารณาค่าชดเชยอย่างเป็นธรรมด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมของทุกฝ่ายและมีการประชาสัมพันธ์ให้ผู้ถูกเวนคืนทราบขั้นตอนการเวนคืนโดยดำเนินการจ่ายค่าทดแทนทรัพย์สินตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530

หากมีการพัฒนาโครงการรถไฟทางคู่ช่วงเด่นชัย-เชียงใหม่ จะส่งผลให้เส้นทางรถไฟสายเหนือมีการเชื่อมต่อโครงข่ายระบบรางที่สมบูรณ์มากขึ้น เพิ่มขีดความสามารถด้านการขนส่งสินค้า ที่สำคัญยังเพิ่มศักยภาพด้านการท่องเที่ยวในพื้นที่ภาคเหนือ โดยเฉพาะจังหวัดเชียงใหม่ที่เป็นเมืองหลักของภาคเหนือ เป็นศูนย์กลางการพาณิชย์ อุตสาหกรรมและการคมนาคม มีศักยภาพในการพัฒนาสูง ซึ่งจะเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยขับเคลื่อนเมืองเชียงใหม่ให้กลายเป็นฮับด้านการท่องเที่ยวที่สำคัญของประเทศไทยในอนาคต ทั้งนี้ เมื่อโครงการแล้วเสร็จ ในปี พ.ศ.2595 คาดว่าจะมีผู้ใช้บริการจำนวน 25,751 คนเที่ยว/วัน ขนส่งสินค้าจำนวน 1.552 ล้านตัน/ปี ทั้งนี้ ภายหลังจากการสัมมนาครั้งนี้จะมีการประชุมกลุ่มย่อย และจัดการสัมมนารับฟังความคิดเห็นครั้งที่ 3 เพื่อนำเสนอผลสรุปการศึกษาของโครงการประมาณเดือนกุมภาพันธ์ 2559 ผู้ที่สนใจสามารถติดตามความคืบหน้าและรายละเอียดโครงการได้ที่ www.denchai-chiangmai-doubletrack.com และแฟนเพจรถไฟทางคู่เด่นชัย-เชียงใหม่

สำหรับโครงการดังกล่าวนั้น เพื่อให้สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของไทย พ.ศ.2558-2565 ซึ่งแนวทางการพัฒนาในระยะเร่งด่วนที่จะดำเนินการใน พ.ศ.2557 และ พ.ศ.2558 ประกอบด้วยการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งทางราง โดยปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานรถไฟทางคู่ในเส้นทางรถไฟเดิมในช่วงที่มีปัญหาความคับคั่งของการเดินรถ 6 เส้นทาง เพื่อใช้ในการขนส่งสินค้า ซึ่งกระทรวงคมนาคมได้จัดทำแผนการดำเนินงานโครงการการลงพัฒนาด้านคมนาคมขนส่ง พ.ศ.2558 โดยมีเส้นทางรถไฟทางคู่ ช่วงเด่นชัย-เชียงใหม่ รวมอยู่ในแผนดำเนินการระยะที่ 2 (พ.ศ.2559-2563) ซึ่งก่อนหน้านี้ คณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้เห็นชอบไปแล้ว โดยได้เห็นชอบจัดสรรงบประมาณปี พ.ศ.2558 ให้ศึกษาความเหมาะสมและออกแบบระบบรถไฟทางคู่ช่วงเด่นชัย-เชียงใหม่

อย่างไรก็ตาม โครงการศึกษาความเหมาะสมและออกแบบรายละเอียดระบบรถไฟทางคู่-ช่วงเด่นชัย-เชียงใหม่ มีจุดมุ่งหมายเพื่อเพิ่มขีดความสามารถด้านการเดินทาง การขนส่งสินค้า เพิ่มความจุทาง และลดระยะเวลา เพื่อเพิ่มศักยภาพด้านการท่องเที่ยวของประเทศตามแหล่งสถานที่ที่สำคัญในเขตภาคเหนือ และช่วยประหยัดพลังงานเชื้อเพลิงที่ใช้ในภาคการขนส่งของประเทศ ลดปัญหามลพิษที่มีต่อสิ่งแวดล้อม รวมถึงเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งสาธารณะที่พื้นที่ชนบทและเมือง รวมถึงเพื่อเป็นการจูงใจให้ประชาชนหันมาใช้บริการขนส่งทางรางมากขึ้นด้วย
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44866
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 21/10/2015 7:27 am    Post subject: Reply with quote

รฟท.มั่นใจลงทุนโครงสร้างพื้นฐานปีนี้ 6 หมื่นล้านบาท
สำนักข่าวไทย กอง บก.ข่าวเศรษฐกิจ2015/10/20 3:34 PM

กรุงเทพฯ 20 ต.ค. – ผู้ว่าการ รฟท.ยืนยันเดินหน้าโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานเต็มสูบ โดยปี 58 สามารถเริ่มประกวดราคาได้หลายโครงการ รวมทั้งรถไฟฟ้าสายสีแดง สัญญา 3 ทำให้ปีนี้รถไฟจะมีโครงการลงทุนไม่น้อยกว่า 60,000 ล้านบาท

นายวุฒิชาติ กัลยาณมิตร ผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) กล่าวถึงความคืบหน้าการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานในส่วนของโครงการสำคัญที่อยู่ในกำกับดูแลของ รฟท.ตามนโยบายของกระทรวงคมนาคมและรัฐบาลที่ต้องการเร่งรัดการลงทุนให้มีความคืบหน้า รวดเร็ว ว่า ในส่วนของ รฟท.ล่าสุด โครงการที่เคยมีปัญหายืดเยื้อมายาวนาน คือ โครงการรถไฟฟ้าสายสีแดง สัญญาที่ 3 ประกอบด้วยงานระบบไฟฟ้าและเครื่องกล รวมถึงตู้รถไฟฟ้าช่วงบางซื่อ-รังสิต และตลิ่งชัน-บางซื่อ มูลค่าโครงการกว่า 32,000 ล้านบาท

โดยขณะนี้องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น ( ไจก้า) ในฐานะผู้ให้กู้เห็นชอบโครงการแล้ว ดังนั้น รฟท.จึงได้นำเสนอโครงการให้กระทรวงคมนาคมอนุมัติเดินหน้าโครงการ ก่อนที่จะมีการเสนอให้สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) พิจารณาต่อไป ซึ่งเชื่อว่ากระบวนการทั้งหมดจะเสร็จภายในปีนี้

นอกจากนี้ โครงการที่ รฟท.สามารถเดินหน้าการลงทุนได้ทันที คือ โครงการรถไฟทางคู่ ซึ่งมีแผนดำเนินการ 6 เส้นทาง ประกอบด้วย
1. เส้นทางฉะเชิงเทรา-คลองสิบเก้า-แก่งคอย ระยะทาง 106 กิโลเมตร
2. เส้นทางชุมทางถนนจิระ-ขอนแก่น ระยะทาง 185 กิโลเมตร
3. เส้นทางประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร

4. มาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระ ระยะทาง 132 กิโลเมตร
5. เส้นทางลพบุรี-ปากน้ำโพ ระยะทาง 148 กิโลเมตร และ
6. เส้นทางนครปฐม-หัวหิน ระยะทาง 165 กิโลเมตร

โดยใน 6 โครงการมีโครงการที่พร้อมเดินหน้าและเริ่มขายซองประกวดราคาไปแล้ว 3 โครงการ วงเงินไม่น้อยกว่า 30,000 ล้านบาท โดยหลังจากนี้จะเริ่มเร่งรัดโครงการทันที

ส่วนอีก 3 โครงการรอสรุปผลศึกษาด้านสิ่งแวดล้อม เชื่อว่าจะได้ข้อสรุปทั้งหมดภายในปี 2558 ซึ่ง รฟท.จะเร่งเดินหน้าประกวดราคาเช่นเดียวกัน.-สำนักข่าวไทย
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44866
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 21/10/2015 12:30 pm    Post subject: Reply with quote

สรุปผลการประชุมปรึกษาสาธารณะครั้งที่ 1 (การประชุมกลุ่มย่อย) งานบริการที่ปรึกษาเพื่อศึกษาความเมาะสมและออกแบบรายละเอียด โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงชุมทางถนนจิระ-อุบลราชธานี
Arrow http://goo.gl/Mr1LLy

กำหนดการประชุมการมีส่วนร่วมของประชาชน (การประชุมใหญ่) ครั้งที่ 2 โครงการศึกษาความเหมาะสมและออกแบบรายละเอียด โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงชุมทางถนนจิระ-อุบลราชธานี
- แผนการดำเนินงาน Arrow http://goo.gl/OxHv1A
- กำหนดการประชุม Arrow http://goo.gl/meKB5f

ที่มา: http://www.publicconsultation.opm.go.th/phs/new_index3.asp 15 ต.ค. 58
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42789
Location: NECTEC

PostPosted: 21/10/2015 4:07 pm    Post subject: Reply with quote

รฟท.คาดลงนามสัญญารถไฟทางคู่ 6 เส้นทางทันสิ้นปีนี้
Written by: กอง บก.ข่าวเศรษฐกิจ
สำนักข่าวไทย
21 ตุลาคม พ.ศ. 2558 3:19 PM

กรุงเทพฯ 21 ต.ค. – รฟท.คาดลงนามสัญญารถไฟทางคู่ 6 เส้นทางทันสิ้นปีนี้ พร้อมเตรียมขอ ครม.ขยายวงเงินสัญญา3 รถไฟฟ้าสายสีแดงเป็น 32,399 ล้านบาท และเตรียมเดินหน้าทางคู่ระยะ 2 อีก 6 เส้นทาง มูลค่ากว่า 1 แสนล้านบาท

นายออมสิน ชีวะพฤกษ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังมอบนโยบายผู้บริหารการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ว่า ได้เร่งรัดให้ รฟท. ดำเนินการก่อสร้างรถไฟทางคู่ คาดว่าปลายปีนี้จะสามารถลงนามก่อสร้างและประกวดราคาได้ 3 เส้นทาง ได้แก่
1. เส้นทาง ฉะเชิงเทรา-คลองสิบเก้า-แก่งคอย ,
2. เส้นทางชุมทางถนนจิระ-ขอนแก่น และ
3. เส้นทางประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร

ส่วนอีก 3 เส้นทาง ได้แก่ เส้นทางลพบุรี-ปากน้ำโพ, เส้นทางมาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระ และเส้นทางนครปฐม-หัวหิน ยังไม่ผ่านการประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม แต่จะเสนอต่อคณะรัฐมนตรีถึงแนวทางการแก้ไขปัญหา เพื่อขอให้เปิดประมูลโครงการได้ภายในปลายปีนี้และใช้ระยะเวลาก่อสร้างประมาณ 3 ปี

ส่วนโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดง รวมสัญญา 1 และ 2 คืบหน้าร้อยละ 40 ส่วนสัญญา 3 ประกอบด้วยงานระบบไฟฟ้าและเครื่องกล รวมถึงตู้รถไฟฟ้าช่วงบางซื่อ-รังสิต และตลิ่งชัน-บางซื่อ จะขอขยายวงเงินเป็น 32,399 ล้านบาท จากเดิมตั้งไว้ 30,500 ล้านบาท โดยขณะนี้องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น (ไจก้า) ในฐานะผู้ให้กู้เห็นชอบโครงการแล้ว ดังนั้น ร.ฟ.ท.จึงนำเสนอโครงการให้กระทรวงคมนาคมอนุมัติเดินหน้าโครงการก่อนที่จะมีการเสนอให้สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) พิจารณาต่อไป ซึ่งเชื่อว่ากระบวนการทั้งหมดจะเสร็จภายในปีนี้

นอกจากนี้ จะเดินหน้าโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ระยะ 2 อีก 6 เส้นทาง คือ
1.ปากน้ำโพ-เด่นชัย
2. ขอนแก่น-หนองคาย
3. หัวหิน-ประจวบขีรีขันธ์
4. จิระ-อุบล
5. ชุมพร-สุราษฎร์ธานี และ
6.สุราษฎร์ธานี-หาดใหญ่-สงขลา
ระยะทางรวม 1,349 กิโลเมตร มูลค่ากว่า 100,000 ล้านบาท คาดว่าจะเริ่มดำเนินการได้ปี 2560 และก่อสร้างเสร็จปี 2564

ด้านนายวุฒิชาติ กัลยาณมิตร ผู้ว่าการ รฟท. กล่าวถึงความคืบหน้าการจัดหาที่ดินในเขต ร.ฟ.ท. เพื่อนำมาสร้างที่อยู่อาศัยให้ประชาชนผู้มีรายได้น้อยตามนโยบายของรัฐบาล ว่า ปัจจุบันพื้นที่ของ รฟท.กว่าร้อยละ 80 ใช้เพื่อการเดินรถเหลือพื้นที่เพียงร้อยละ 20 ยังไม่ได้ใช้ประโยชน์ แต่พื้นที่ข้างต้นกระจายตัวทั่วประเทศ จึงจะขอศึกษาพื้นที่ที่เหมาะสมก่อน คาดว่าได้ข้อสรุปภายในสัปดาห์หน้า เบื้องต้นมองว่าพื้นที่เหมาะสมอยู่บริเวณเชียงรากน้อย จังหวัดปทุมธานี ส่วนการจัดหารถโดยสารใหม่ 115 คัน คาดว่าจะมีการรับมอบรถโดยสารชุดแรกในช่วงเดือนพฤษภาคม 2559.-
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44866
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 21/10/2015 5:53 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
รฟท.คาดลงนามสัญญารถไฟทางคู่ 6 เส้นทางทันสิ้นปีนี้
Written by: กอง บก.ข่าวเศรษฐกิจ
สำนักข่าวไทย
21 ตุลาคม พ.ศ. 2558 3:19 PM
รมช.คมนาคม กำชับ ร.ฟ.ท.เร่งเปิดประมูลโครงการรถไฟทางคู่ 6 เส้นทางตามแผน
ข่าวเศรษฐกิจ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- พุธที่ 21 ตุลาคม 2558 17:32:45 น.

นายออมสิน ชีวะพฤกษ์ รมช.คมนาคม กล่าวภายหลังการเดินทางมาตรวจเยี่ยมและมอบนโยบายให้กับผู้บริหารการรถไฟแห่งประเทศไทย(ร.ฟ.ท.) ว่า ได้ติดตามความคืบหน้าโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ 6 เส้นทาง ซึ่งได้รับรายงานว่า รถไฟทางคู่ช่วงฉะเชิงเทรา-คลองสิบเก้า-แก่งคอย ระยะทาง 106 กม. กำลังเปิดซองประกวดราคา คาดว่าจะลงนามสัญญาก่อสร้างได้ภายในต้นเดือน ธ.ค.นี้, ช่วงชุมทางถนนจิระ-ขอนแก่น ระยะทาง 185 กม. อยู่ระหว่างประชาพิจารณ์ TOR คาดว่าจะลงนามสัญญาก่อสร้างได้ในกลางเดือน ธ.ค.นี้ ส่วนช่วงประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร ระยะทาง 167 กม. ได้รับความเห็นชอบรายงานการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม(EIA) แล้ว อยู่ระหว่างเสนอสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สศช.) และคณะรัฐมนตรี(ครม.) เพื่อเร่งลงนามสัญญาในเดือน ธ.ค.นี้เช่นกัน

ส่วนช่วงมาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระ ระยะทาง 132 กม., ช่วงนครปฐม-หัวหิน ระยะทาง 165 กม. และช่วงลพบุรี-ปากน้ำโพ ระยะทาง 148 กม. อยู่ระหว่างการพิจารณารายงานการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม(EIA) ซึ่งตามแผนจะประกวดราคาในปี 2559 ซึ่งจะนำเสนอขออนุมัติคณะรัฐมนตรี(ครม.) เพื่อเปิดประกวดราคาคู่ขนานไปด้วยเพื่อเร่งรัดโครงการ

นอกจากนี้ยังมีโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่อีก 6 เส้นทาง ระยะทางรวม 1,349 กม. วงเงินกว่า 1 แสนล้านบาท ประกอบด้วย
1.ช่วงปากน้ำโพ-เด่นชัย ระยะทาง 258 กม.
2.ช่วงขอนแก่น-หนองคาย ระยะทาง 174 กม.
3.ช่วงหัวหิน-ประจวบคีรีขันธ์ ระยะทาง 90 กม.
4.ช่วงชุมทางถนนจิระ-อุบลราชธานี ระยะทาง 309 กม.
5.ช่วงชุมพร-สุราษฏร์ธานี ระยะทาง 167 กม.
6.ช่วง สุราษฏร์ธานี-หาดใหญ่-สงขลา ระยะทาง 324 กม.
ซึ่งอยู่ระหว่างการศึกษา โดยทั้ง 6 เส้นทางดังกล่าว ร.ฟ.ท.จะเปิดให้เอกชนที่สนใจเข้ามาร่วมลงทุนในรูปแบบ PPP เพื่อลดภาระหนี้สาธารณะของภาครัฐ


ส่วนโครงการก่อสร้างรถไฟสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต สัญญาที่ 1(งานก่อสร้างสถานีกลางและศูนย์ซ่อมภาพรวมบำรุง) และสัญญาที่ 2( งานก่อสร้างทาง) ในภาพรวมมีความคืบหน้าประมาณ 40% ส่วนสัญญา 3(งานระบบไฟฟ้าและเครื่องกล รวมตู้รถไฟฟ้าบางซื่อ-รังสิต และบางซื่อ-ตลิ่งชัน) มูลค่า 27,926 ล้านบาท ล่าสุดได้สรุปผลการเจรจาราคากับกลุ่มกิจการร่วมค้า MHSC Consortium(บริษัท MITSUBISHI Heavy Industrial Ltd บริษัท Hitachi และ บริษัท Sumitomo Corporation) ที่ 32,399 ล้านบาท ซึ่งเกินกรอบวงเงินที่บอร์ด ร.ฟ.ท.ได้ขอปรับกรอบวงเงินใหม่ไว้ที่ 30,500 ล้านบาท ดังนั้นจะเสนอ ครม.เพื่อขอปรับเพิ่มกรอบวงเงินส่วนที่เกินดังกล่าว โดยจะเร่งสรุปและลงนามสัญญาภายในเดือน ธ.ค.นี้ คาดว่าจะเปิดเดินรถในปี 2561-2562

ด้านนายวุฒิชาติ กัลยาณมิตร ผู้ว่าการ ร.ฟ.ท.กล่าวว่า ได้สรุปแผนย้ายโรงงานมักกะสันออกจากพื้นที่ เพื่อส่งมอบที่ดิน 497 ไร่ ให้กระทรวงการคลัง ตามข้อตกลงชำระหนี้มูลค่ากว่า 6 หมื่นล้านบาทว่า จะใช้เงินดำเนินการย้ายโรงงานประมาณ 13,000 ล้านบาท ซึ่งจะต้องเจรจากับกระทรวงคลังให้ช่วยเหลือก่อนเพราะ ร.ฟ.ท.ไม่มีงบประมาณ คาดว่าจะรื้อย้ายแล้วเสร็จในปี 2563-2564

ปัจจุบัน ร.ฟ.ท.มีรายได้รวมเฉลี่ยประมาณ 10,000 ล้านบาท เป็นรายได้จากการขนส่งสินค้ากว่า 2,000 ล้านบาท, ผู้โดยสารประมาณ 3,600 ล้านบาท และรายได้จากที่ดินประมาณ 2,500 ล้านบาท ซึ่งปี 2559 คาดว่าจะมีรายได้เพิ่มจากที่ดินอีกประมาณ 1,000 ล้านบาท โดยจะเร่งโครงการรถไฟทางคู่ เพื่อเพิ่มโครงข่ายและขีดความสามารถในการขนส่งและโลจิสติกส์

----

รถไฟฯ จ่อคุยคลังขอ 1.3 หมื่นล้านย้ายโรงงานมักกะสัน ยันเซ็นสัญญาทางคู่ 3 สาย ธ.ค.นี้
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 21 ตุลาคม 2558 17:50 น.

“ออมสิน”เร่งประมูลรถไฟทางคู่ 6 เส้นทางตามแผน ด้าน“วุฒิชาติ”ยันเซ็นสัญญาก่อสร้างได้ 3 สายใน ธ.ค.นี้ พร้อมเตรียมเปิดอีก 6 เส้นทางระยะสุดท้ายเชื่อมทั่วประเทศ วงเงินกว่า 1 แสนล้าน เปิดนโยบายให้เอกชนร่วมลงทุนเพื่อลดภาระหนี้ภาครัฐ ขณะที่จ่อคุยคลัง ขอ 1.3 หมื่นล้านค่ารื้อย้ายโรงงานมักกะสันไปแก่งคอย เพื่อส่งพื้นที่ให้คลังเช่า 99 ปี ล้างหนี้กว่า 6 หมื่นล้าน

นายออมสิน ชีวะพฤกษ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังมอบนโยบายกับผู้บริหารการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เมื่อวันที่ 21 ต.ค. ว่า ได้ติดตามความคืบหน้าโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ 6 เส้นทาง ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินการ ประกอบด้วย
1. ช่วงฉะเชิงเทรา-คลองสิบเก้า-แก่งคอย ระยะทาง 106 กม. วงเงิน 10,992.47 ล้านบาท ซึ่งกำลังประกวดราคา คาดว่าจะลงนามสัญญาก่อสร้างในต้นเดือนธ.ค.นี้

2. ช่วงชุมทางถนนจิระ-ขอนแก่น ระยะทาง 185 กม. วงเงิน 26,005 ล้านบาท อยู่ระหว่างประชาพิจารณ์ TOR คาดว่าจะลงนามสัญญาก่อสร้างได้ในกลางเดือนธ.ค.นี้ ส่วน

3. ช่วง ประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร ระยะทาง 167 กม.วงเงิน 17,291 ล้านบาท รายงานการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ได้รับความเห็นชอบแล้ว อยู่ระหว่างเสนอสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) และคณะรัฐมนตรี (ครม.) ซึ่งจะเร่งลงนามสัญญาในเดือนธ.ค.เช่นกัน

4. ช่วงมาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระ ระยะทาง 132 กม. วงเงิน 29,853 ล้านบาท

5. ช่วงนครปฐม-หัวหิน ระยะทาง 165 กม. วงเงิน 20,036 ล้านบาท

6. ช่วงลพบุรี-ปากน้ำโพ ระยะทาง 148 กม. วงเงิน 24,840 ล้านบาท อยู่ระหว่างการพิจารณารายงานการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA)
ซึ่งตามแผนจะประกวดราคาในปี 2559 ซึ่งจะนำเสนอขออนุมัติคณะรัฐมนตรี(ครม.) เพื่อเปิดประกวดราคาคู่ขนานไปด้วย โดยยังไม่มีข้อผูกพันจนกว่าEIA จะเรียบร้อย เพื่อเร่งรัดงาน

นอกจากนี้ยังมีโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่อีก 6 เส้นทาง ระยะทางรวม 1,349 กม. วงเงินกว่า 1 แสนล้านบาทประกอบด้วย
1. ช่วงปากน้ำโพ-เด่นชัย ระยะทาง 258 กม.
2. ช่วงขอนแก่น-หนองคาย ระยะทาง 174 กม.
3. ช่วงหัวหิน-ประจวบคีรีขันธ์ ระยะทาง 90 กม.
4. ช่วงชุมทางถนนจิระ-อุบลราชธานี ระยะทาง 309 กม.
5. ช่วงชุมพร-สุราษฏร์ธานี ระยะทาง 167 กม.
6. ช่วง สุราษฏร์ธานี-หาดใหญ่-สงขลา ระยะทาง 324 กม.
โดยอยู่ระหว่างการศึกษา ทั้งนี้ 6 เส้นทางดังกล่าวร.ฟ.ท.จะเปิดให้เอกชนที่สนใจเข้ามาร่วมลงทุนในรูปแบบ PPP เพื่อลดภาระหนี้สาธารณะของภาครัฐ

ส่วนโครงการก่อสร้างรถไฟสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต สัญญาที่ 1(งานก่อสร้างสถานีกลางและศูนย์ซ่อมภาพรวมบำรุง) และสัญญาที่ 2 ( งานก่อสร้างทาง) ในภาพรวมมีความคืบหน้าประมาณ 40% ส่วนสัญญา 3 (งานระบบไฟฟ้าและเครื่องกล รวมตู้รถไฟฟ้าบางซื่อ-รังสิต และบางซื่อ-ตลิ่งชัน) มูลค่า 27,926 ล้านบาท ล่าสุดได้สรุปผลการเจรจาราคากับกลุ่มกิจการร่วมค้า MHSC Consortium (บริษัท MITSUBISHI Heavy Industrial Ltd บริษัท Hitachi และ บริษัท Sumitomo Corporation) ที่ 32,399 ล้านบาท ซึ่งเกินกรอบที่บอร์ดร.ฟ.ท.ได้ปรับกรอบวงเงินใหม่ไว้ที่ 30,500 ล้านบาท ซึ่งจะมีการเสนอครม.เพื่อขอปรับเพิ่มกรอบวงเงินส่วนที่เกินดังกล่าวโดยจะเร่งสรุปและลงนามสัญญาภายในเดือนธ.ค.นี้ และดำเนินการจัดหาระบบและตัวรถเพื่อเปิดเดินรถในปี 2561-2562 พร้อมกันนี้ได้เร่งรัดโครงการรถไฟสายสีแดงอ่อน ช่วงพญาไท-หัวหมาก และสีแดงเข้ม ช่วงบางซื่อ-หัวลำโพง วงเงิน 44,157.76 ล้านบาท และรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์ ช่วงพญาไท-บางซื่อ เพื่อนำเสนอครม.เนื่องจากมีช่วงที่ต้องใช้ทางร่วมกัน จึงต้องออกแบบไปพร้อมกัน

ด้านนายวุฒิชาติ กัลยาณมิตร ผู้ว่าฯ ร.ฟ.ท.กล่าวถึงการพัฒนาย่านโรงงานมักกะสัน 497 ไร่ว่า ที่ปรึกษาได้สรุปรายงานฉบับสุดท้ายกรณีการย้ายโรงซ่อมมักกะสัน, โรงพยาบาลบุรฉัตรไชยากร (โรงพยาบาลรถไฟ) และบ้านพักพนักงานไปที่แก่งคอย โดยมีค่าดำเนินการประมาณ 13,000 ล้านบาทซึ่งร.ฟ.ท.จะเจรจากับกระทรวงการคลังเรื่องงบดำเนินการรื้อย้าย เพื่อเร่งมอบพื้นที่ให้คลังตามข้อตกลงเช่าระยะยาว 99 ปี ในการชำระหนี้มูลค่าประมาณ 61,846 ล้านบาท คาดว่าจะรื้อย้ายแล้วเสร็จในปี 2563-2564

ปัจจุบัน ร.ฟ.ท.มีหนี้สินประมาณ 113,000 ล้านบาท โดยเป็นหนี้ของ แอร์พอร์ตลิงก์ ประมาณ 33,000 ล้านบาท ซึ่งหากเจรจาแยกบัญชีได้ร.ฟ.ท.จะเหลือหนี้ประมาณ 80,000 ล้านบาท และหากเดินหน้าพัฒนาที่มักกะสันเพื่อชำระหนี้กับคลังกว่า 60,000 ล้านบาท จะเหลือหนี้ประมาณ 20,000 ล้านบาท ซึ่งจะหาทางเพิ่มรายได้เพื่อชำระหนี้ โดยจะมีการปรับโครงสร้างองค์กร เร่งโครงข่ายรถไฟทางคู่เพิ่มศักยภาพการขนส่งด้านโลจิสติกส์ ซึ่งตลาดยังมีความต้องการอีกมาก สำหรับรายได้รวมเฉลี่ยประมาณ 10,000 ล้านบาทต่อปี เป็นรายได้จากการขนส่งสินค้า 2,000 ล้านบาท, ผู้โดยสาร 3,600 ล้านบาท รายได้อื่นๆ เช่นที่ดินประมาณ 2,500 ล้านบาท ซึ่งปี 2559 คาดว่าจะมีรายได้เพิ่มจากที่ดินอีกประมาณ 1,000 ล้านบาท
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44866
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 26/10/2015 3:51 pm    Post subject: Reply with quote

‘อาคม’ฟันธงเดินตามโรดแมป จ่อขอครม.อนุมัติทำก่อนได้EIA
จันทร์ ที่ 26 ตุลาคม 2558 ฐานเศรษฐกิจ

“อาคม” ย้ำลงทุนโครงสร้างพื้นฐานเดินตามกรอบยุทธศาสตร์คมนาคม แม้ช่วงต้นล่าช้าแต่เร่งสปีดปลายได้ เผยโครงการรถไฟไทย-จีน เตรียมนับหนึ่งก่อสร้างศูนย์ควบคุมการเดินรถ กลางปี 59 สรุปผลศึกษาสมบูรณ์ทั้งโครงการ ด้านรถไฟทางคู่เฟสแรก 6 เส้นทาง จ่อขอครม.อนุมัติดำเนินการก่อนได้อีไอเอ หลังเปิดประมูลได้ 2 เส้น ส่วนที่เหลือมั่นใจชงครม.อนุมัติทันรัฐบาลชุดนี้ไม่เกินกลางปี 59

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ให้สัมภาษณ์”ฐานเศรษฐกิจ”ว่า การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมในขณะนี้ถือว่าอยู่ในช่วงโรดแมปที่ 2 ตามแผนยุทธศาสตร์ 5 ด้านของคมนาคม มีโครงการที่จะผลักดันให้เปิดประมูลในปลายปี 2558 และ 2559 หลายโครงการด้วยกัน โดยที่ผ่านมาได้ขับเคลื่อนและคณะรัฐมนตรี (ครม.)อนุมัติให้ดำเนินการแล้ว

Click on the image for full size

คือ 1.ทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย์) 3 สายทาง เพื่อให้การเดินทางระหว่างเมืองรวดเร็วขึ้น ประกอบด้วย สายบางปะอิน-นครราชสีมา, สายบางใหญ่-กาญจนบุรี และสายพัทยา-มาบตาพุด 2.การพัฒนาทางน้ำ ซึ่งมีโครงการท่าเทียบเรือชายฝั่งที่แหลมฉบัง ไม่ให้เรือขนาดเล็กแย่งคิวจอดกับเรือเดินทะเล และโครงการพัฒนาศูนย์การขนส่งตู้สินค้าทางรถไฟในท่าเรือแหลมฉบัง ลดปัญหาจราจรในท่าเรือแหลมฉบัง พร้อมกันนี้ยังได้ขยายถนนจาก 8 ช่องจราจรเป็น 16 ช่องจราจร

3 การพัฒนารถไฟทางคู่ เฟสแรก 6 เส้นทาง แต่ได้รับอนุมัติ 2 เส้นทางคือ
1.เส้นฉะเชิงเทรา-คลองสิบเก้า-แก่งคอย และ
2.เส้นชุมทางถนนจิระ-ขอนแก่น ซึ่งปัจจุบันอยู่ระหว่างเปิดการประมูล

ส่วนเส้นประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร ได้มีการหารือร่วมกันว่าจะเสนอ ครม.เพื่อขออนุมัติให้ดำเนินการก่อนที่ สผ.จะรับรองรายงานวิเคราะห์ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) เนื่องจากต้องการเร่งรัดกระบวนการออกทีโออาร์ และประกวดราคา แต่จะยังไม่เซ็นสัญญากับผู้รับจ้าง จนกว่าจะได้รับผลการรับรองอีไอเอ

ส่วนเส้นทางที่ 4-5-6 คาดจะสามารถเสนอให้ ครม.อนุมัติได้ทันในรัฐบาลปัจจุบันไม่เกินกลางปี 2559

ส่วนโครงการรถไฟระหว่างเมืองมี 4 โครงการ ประกอบด้วย โครงการรถไฟไทย-จีน กรุงเทพฯ-แก่งคอย-นครราชสีมา-หนองคาย และช่วงแก่งคอย-มาบตาพุด ผลการหารือมีความคืบหน้ามาโดยลำดับ ขณะนี้ได้ผลการศึกษาบางส่วนมาแล้ว มี 2 ส่วนคือ ส่วนที่ 1.การศึกษาความเหมาะสม ส่วนที่ 2.นั้นฝ่ายไทยได้ให้ความเห็นในเรื่องของ 1 เป็นรูปแบบการลงทุนและเรื่องของการเงิน โดยส่วนที่ประมาณการผู้โดยสาร สินค้า ต้นทุนดำเนินการ ให้เห็นภาพชัดเจนเพื่อนำเสนอรัฐบาลเห็นชอบให้ดำเนินการต่อไป

สำหรับรูปแบบการลงทุนและเรื่องการเงินนั้น ได้เห็นร่วมกันว่าจะใช้เงินจากหลายแหล่ง ไม่ได้กู้จากจีนทั้งหมด แต่จะกู้เฉพาะส่วนที่นำเข้าเทคโนโลยีจากจีน ส่วนการก่อสร้างจะขอใช้ผู้รับเหมาไทย ส่วนระบบอาณัติสัญญาณคงเป็นเรื่องของฝ่ายจีน คาดว่าไม่เกินกลางปี 2559 จะนำเสนอโครงการได้ทั้งหมด

“ระหว่างที่การศึกษาโครงการยังไม่สรุป แต่ได้หารือกับจีนว่าจะสร้างศูนย์ควบคุมการเดินรถก่อน โดยจะสร้างที่เชียงรากน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งเป็นเรื่องจำเป็น นอกจากสั่งการรถไฟจากกรุงเทพฯ แก่งคอย นครราชสีมา ขอนแก่น หนองคายแล้ว ยังจะครอบคลุมรถไฟเส้นอื่นด้วย จึงจะเริ่มต้นตรงศูนย์ควบคุมสั่งการก่อน ”

ขณะที่โครงการรถไฟไทย-ญี่ปุ่น มีเส้นกาญจนบุรี-แหลมฉบัง ซึ่งเดิมมีทางรถไฟขนาด 1 เมตรรองรับไว้แล้ว ทางญี่ปุ่นก็ได้ส่งทีมมาสำรวจเพื่อให้สามารถเริ่มต้นโครงการได้ในปี 2559 ส่วนจะเร็วมากน้อยแค่ไหนนั้นต้องขึ้นกับแนวทางการปรับปรุงตามผลการศึกษาให้เป็นทางคู่ของทางญี่ปุ่น นอกจากนี้ยังเส้นกรุงเทพฯ-เชียงใหม่-พิษณุโลก อยู่ระหว่างการศึกษาความเหมาะสม ยังมีเวลาเพียงพอเนื่องจากฝ่ายญี่ปุ่นต้องการให้เป็นรถไฟความเร็วสูงรูปแบบชินคันเซน คาดว่ากลางปี 2559 จะได้รับผลการศึกษา และจะเสนอหลักการจากครม.ในกลางปี 2559 และช่วงปลายปีก็จะส่งรายงานฉบับสุดท้าย ส่วนการก่อสร้างนั้นเมื่อขออนุมัติหลักการและปลายปีขอความเห็นชอบโครงการก็จะเริ่มดำเนินการในขั้นต่อไป คาดว่าจะเริ่มก่อสร้างได้ในปี 2561

นอกจากนี้ยังมีอีก 2 โครงการ 1.รถไฟความเร็วสูง เส้นทางกรุงเทพ-ระยอง และกรุงเทพ-หัวหิน ประมาณ 190 กิโลเมตร จะใช้รูปแบบการร่วมลงทุน หรือ พีพีพี อยู่ระหว่างการหารือร่วมกับภาคเอกชนว่ามีความสนใจหรือไม่ ซึ่งเตรียมนำเสนอคณะกรรมการร่วมลงทุนไม่เกินไตรมาสที่ 1 ของปี 2559 เพื่อขออนุมัติโครงการให้ภาคเอกชนเข้ามาร่วมลงทุนต่อไป

รมว.คมนาคม ยังได้กล่าวถึงการพัฒนารถไฟฟ้าในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครนั้น ปัจจุบันสายสีม่วง เตาปูน-บางใหญ่ ก่อสร้างเสร็จเรียบร้อย และรัฐบาลได้เร่งรัดในเรื่องการจัดหาขบวนรถมาให้บริการ โดยจะเริ่มทดสอบระบบตั้งแต่เดือนธันวาคมปีนี้ และทดลองให้ใช้บริการฟรีตั้งแต่เดือนพฤษภาคม-มิถุนายน ก่อนที่จะเปิดให้บริการเชิงพาณิชย์ในเดือนสิงหาคมปีหน้า เช่นเดียวกับสายสีเขียวใต้ ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ ที่การก่อสร้างคืบหน้าแล้วกว่า 60% คาดว่าจะเร่งเปิดให้บริการในเดือนธันวาคม ปี 2559 และสายสีเขียวเหนือ ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต อยู่ระหว่างการเริ่มก่อสร้างซึ่งอยู่ระหว่างการหารือเพื่อโอนให้กับกรุงเทพมหานครให้เดินรถต่อเนื่องกับช่วงที่บีทีเอสที่ให้บริการในปัจจุบัน
ด้านเส้นทางใหม่ สายสีชมพู (แคราย-มีนบุรี) ที่จะใช้ระบบโมโนเรลได้เสนอเรื่องไปยังคณะกรรมการร่วมลงทุนแล้ว โดยการร่วมทุนกับภาคเอกชนคล้ายกับรูปแบบที่บีทีเอสเดินรถในปัจจุบัน คือกรุงเทพมหานครเปิดให้กลุ่มบีทีเอสลงทุนทั้งหมด ดังนั้นสีชมพูและสีเหลืองก็จะเปิดให้เอกชนลงทุนทั้งหมด จึงขึ้นอยู่กับคณะกรรมการร่วมลงทุนที่นายกรัฐมนตรีได้มอบหมายให้นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรีเป็นประธานพิจารณา เร็วสุดน่าจะสิ้นปีนี้ คงทราบผลการพิจารณา หลังจากนั้นก็จะเร่งจัดทำทีโออาร์และเร่งประกวดราคาต่อไป

ส่วนสายสีส้ม แคราย-มีนบุรี แบ่งออกเป็น 2 ตอน มีตอนตะวันตก (ตลิ่งชัน-ศูนย์วัฒนธรรม) และตอนตะวันออก (ศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี) ซึ่งตอนตะวันออกเตรียมเสนอเรื่องขออนุมัติก่อสร้างโดยอยู่ระหว่างการหารือร่วมกับ รฟม.ในเรื่องการเดินรถ คาดว่าภายใน 1 เดือนนี้จะเสนอเรื่องไปยัง ครม. ในเดือนพฤศจิกายนนี้โดยจะต้องรอความเห็นหน่วยเกี่ยวข้องประกอบการพิจารณาด้วย ซึ่งอีไอเอตอนตะวันออกผ่านการรับรองแล้ว ยังคงค้างตอนตะวันตกเท่านั้น สายสีม่วงใต้ (เตาปูน-พระประแดง) เป็นเส้นทางผ่านเกาะรัตนโกสินทร์ชั้นใน เร่งเสนอ ครม. ให้ได้กลางปี 2559 เช่นเดียวกับสายสีแดง (มิสซิ่งลิงค์) เชื่อมพื้นที่ด้านในระหว่างบางซื่อ-พญาไท-มักกะสัน-หัวหมาก-หัวลำโพง เพื่อแก้ไขปัญหาจุดตัดรถไฟในเขตเมือง บางจุดเป็นอุโมงค์แบบเปิด ขณะนี้อยู่ระหว่างขอความเห็นหน่วยเกี่ยวข้องประกอบการนำเสนอครม.ได้ในปลายปีนี้ นอกจากนั้นยังมีแอร์พอร์ตลิงค์ส่วนต่อขยาย พญาไท-บางซื่อ-ดอนเมือง ด้วย

“ภาพรวมยังเป็นไปตามแผน โดยเฉพาะช่วงไตรมาสที่กำหนดไว้ ได้ให้นโยบายไปว่าหากขยายระยะเวลาออกไปก็ทำได้ แต่ต้องอยู่ในกรอบระยะเวลาที่กำหนด ไม่ให้ขยับช่วงปลายออกไปคือ ปีที่เปิดให้บริการช่วงไหนก็ยังคงไว้เช่นเดิม ดังนั้นจึงต้องเร่งปรับการทำงานให้แล้วเสร็จตามที่กำหนดไว้ โดยความตั้งใจอยากให้เป็นไปตามแผนให้ได้มากที่สุด โดยเฉพาะตามแผนแม่บท 10 เส้นทาง” นายอาคมกล่าวก่อนเสริมว่า

“ไม่ได้มองเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจแต่จะเป็นการสร้างความมั่นคงและการเติบโตทางเศรษฐกิจในระยะยาว หากโครงการทั้งหมดไม่เสร็จจะเห็นว่าโครงการอื่นๆ ไม่เกิดขึ้นด้วย อสังหาริมทรัพย์ก็รอความชัดเจน การพัฒนาศูนย์การค้า ก็จะมองเห็นโอกาสได้ อีกทั้งการพัฒนาก็ยังจะใช้รูปแบบ TOD ( แนวทางการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีขนส่งมวลชน ) นำมาใช้มากขึ้น ระยะการพัฒนาจะไม่ห่างจากสถานีมากจนเกินไป ทั้งส่วนของที่อยู่อาศัยและการพาณิชย์ เป็นคอนเซ็ปต์ของเมืองสมัยใหม่ รถไฟฟ้าจึงมีส่วนช่วยกระจายความเจริญออกไปสู่เมืองหรือพื้นที่รอบนอกได้มากขึ้น”

อย่างไรก็ตาม ยังมีอีกหลายเส้นทางที่อยู่ระหว่างการศึกษาและสำรวจออกแบบ เช่น สีน้ำตาล และสีเทา คงจะส่งต่อให้รัฐบาลต่อไปดำเนินการ ถือว่าเพียงช่วงระยะเวลาสั้นๆของการบริหารรัฐบาลสามารถเร่งผลักดันให้เกิดผลได้จริง ไม่ต้องรอเวลาไปถึงรัฐบาลหน้าอีกต่อไป

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 35 ฉบับที่ 3,099 วันที่ 25 – 28 ตุลาคม พ.ศ. 2558
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44866
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 01/11/2015 7:17 pm    Post subject: Reply with quote

รฟท. เตรียมเปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงชุมทางจิระ – อุบลราชธานี
สวท.สุรินทร์ 31 ตุลาคม 2558

การรถไฟแห่งประเทศไทย เตรียมเปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนชาวสุรินทร์ ครั้งที่ 2 เพื่อเสนอแนะโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงชุมทางจิระ – อุบลราชธานี

นายจเร รุ่งฐานีย ประธานคณะกรรมการบริหารโครงการฯ เปิดเผยว่า การรถไฟแห่งประเทศไทย ได้ว่าจ้างกลุ่มบริษัทที่ปรึกษาภาคเอกชน ศึกษาความเหมาะสม และออกแบบรายละเอียดโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงชุมทางถนนจิระ - อุบลราชธานี จึงกำหนดจัดการประชุมใหญ่ เพื่อการมีส่วนร่วมของประชาชนชาวสุรินทร์ เป็นครั้งที่ 2 ในวันที่ 3 พฤศจิกายน นี้ ณ โรงแรมทองธารินทร์ จังหวัดสุรินทร์ ตั้งแต่เวลา 08.30 - 12.00 น. เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่

โดยจะมีการนำเสนอความก้าวหน้าการศึกษาโครงการด้านวิศวกรรม การศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม และการดำเนินงานการมีส่วนร่วมของประชาชน พร้อมทั้งรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากกลุ่มเป้าหมาย เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการศึกษาความเหมาะสมและออกแบบรายละเอียดโครงการให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น

ทั้งนี้ สำหรับการสร้างรถไฟทางคู่ โครงการนี้ เป็นการพัฒนาระบบรถไฟด่วนความเร็ว 160 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ใช้รางขนาด 1 เมตร สร้างทางรถไฟทางคู่ ขนานกับทางรถไฟเดิม โดยมีจุดเริ่มต้นของโครงการบริเวณสถานีชุมทางถนนจิระ จ.นครราชสีมา และสิ้นสุดที่สถานีอุบลราชธานี ระยะทางรวมประมาณ 309 กิโลเมตร

คาดว่า หลังการศึกษาความเหมาะสมและออกแบบรายละเอียดโครงการเสร็จสิ้นใน เดือนเมษายน 2559 จะสามารถเริ่มสร้างได้ในปี พ.ศ.2560 และจะแล้วเสร็จในปีพ.ศ.2564 ซึ่งจะเพิ่มประสิทธิภาพการคมนาคมระบบรางให้เดินทางและขนส่งได้อย่างรวดเร็ว ตรงเวลา และปลอดภัยยิ่งขึ้น
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 106, 107, 108 ... 390, 391, 392  Next
Page 107 of 392

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©