RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311322
ทั่วไป:13284163
ทั้งหมด:13595485
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - รวมข่าวโครงการรถไฟทางคู่
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

รวมข่าวโครงการรถไฟทางคู่
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 75, 76, 77 ... 390, 391, 392  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42784
Location: NECTEC

PostPosted: 03/10/2013 8:57 am    Post subject: Reply with quote

คนอีสานอยากได้รถไฟรางคู่ ใช้เงินผ่านพรบ.งบประมาณ

โดย ASTVผู้จัดการรายวัน 2 ตุลาคม 2556 19:50 น.


ศูนย์วิจัยธุรกิจและเศรษฐกิจอีสาน (อีสานโพล) คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เผยผลสำรวจเรื่อง "รถไฟความเร็วสูง กับรถไฟรางคู่ในความคิดของคนอีสาน”โดยผลสำรวจพบว่า กลุ่มตัวอย่างชาวอีสาน แนะให้ใช้เงินกู้ 2 ล้านล้านบาทผ่าน พ.ร.บ. งบประมาณรายจ่าย เสนอรัฐลงทุนร่วมเอกชนสร้างรถไฟความเร็วสูง และอยากได้รถไฟรางคู่ทุกจังหวัด ก่อนรถไฟความเร็วสูง
ดร.สุทิน เวียนวิวัฒน์ หัวหน้าโครงการ"อีสานโพล" เปิดเผยว่า การสำรวจนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เกี่ยวกับโครงการรถไฟความเร็วสูง และรถไฟรางคู่ ซึ่งเป็นหนึ่งในโครงการหลักที่อยู่ใน พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาท เพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน โดยทำการสำรวจระหว่างวันที่ 28-30 ก.ย.56 จากกลุ่มตัวอย่าง 1,210 ราย ในเขตพื้นที่ภาคอีสาน 20 จังหวัด
เมื่อถามความเห็นว่า การใช้เงินกู้ 2 ล้านล้านบาทเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ควรผ่าน พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่าย เพื่อรักษาวินัยทางการคลังตามที่ฝ่ายค้านเสนอหรือไม่ จากผลสำรวจพบว่ากลุ่มตัวอย่าง ร้อยละ 44.5 เห็นว่า ควรผ่าน พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่าย รองลงมาร้อยละ 37.9 ตอบว่า ไม่แน่ใจ และมีเพียงร้อยละ17.6 เห็นว่า ไม่ต้องผ่าน
ส่วนคำถามว่า โครงการรถไฟความเร็วสูง รัฐบาลควรลงทุนเองหมด หรือร่วมทุนกับเอกชน กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ ร้อยละ 60.4 เห็นว่า รัฐควรร่วมทุนกับเอกชน ขณะที่อีกร้อยละ 39.6 เห็นว่า รัฐควรลงทุนเองทั้งหมด
นอกจากนี้เมื่อถามกลุ่มตัวอย่างว่า ท่านเห็นด้วยหรือไม่ กับการยกเลิกโครงการรถไฟความเร็วสูง แล้วนำงบมาสร้างรถไฟรางคู่ทุกจังหวัดแทนก่อน กลุ่มตัวอย่างเกินครึ่ง คือร้อยละ 52.0 เห็นด้วยที่จะเน้นสร้างรถไฟรางคู่ให้ครอบคลุมก่อน รองลงมาร้อยละ 32.7 ตอบว่า ไม่แน่ใจ และมีเพียงร้อยละ 15.3 ที่ไม่เห็นด้วย
"จากผลสำรวจก่อนหน้านี้ จะพบว่าประชาชนอยากให้มีการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน อย่างไรก็ตาม จากผลการสำรวจครั้งนี้จะเห็นว่า คนอีสานส่วนใหญ่ต้องการให้รัฐบาลใช้เงินกู้ 2 ล้านล้านบาทอย่างรอบคอบ โดยใช้งบผ่าน พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายทุกปี นอกจากนี้ คนอีสานส่วนใหญ่ยังอยากให้รัฐร่วมลงทุนกับเอกชนในการสร้างรถไฟความเร็วสูง แทนที่จะลงทุนทำเองทั้งหมด เพื่อที่จะได้มีงบประมาณเพียงพอในการลงทุนสร้างรถไฟรางคู่ ให้ครอบคลุมเชื่อมโยงทุกจังหวัด" ดร.สุทิน กล่าว

//----------------------------------------

คนอีสานขอรถไฟรางคู่ก่อนรถไฟความเร็วสูง แนะใช้เงินกู้ผ่าน พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่าย

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 2 ตุลาคม 2556 18:04 น.


ศูนย์ข่าวขอนแก่น - อีสานโพลเผยผลสำรวจ “รถไฟความเร็วสูงกับรถไฟรางคู่ในความคิดของคนอีสาน” พบกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่แนะให้ใช้เงินกู้ 2 ล้านล้านบาท ผ่าน พ.ร.บ. งบประมาณรายจ่าย และอยากได้รถไฟรางคู่ทุกจังหวัด ก่อนจะลงทุนรถไฟความเร็วสูง

วันนี้ (2 ต.ค.) ดร.สุทิน เวียนวิวัฒน์ หัวหน้าโครงการอีสานโพล ศูนย์วิจัยธุรกิจและเศรษฐกิจอีสาน คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เปิดเผยว่า ระหว่างวันที่ 28-30 กันยายน ได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เกี่ยวกับโครงการรถไฟความเร็วสูงและรถไฟรางคู่ ซึ่งเป็นหนึ่งในโครงการหลักที่อยู่ใน พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาท เพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน โดยสำรวจจากกลุ่มตัวอย่าง 1,210 ราย ในภาคอีสาน 20 จังหวัด

เมื่อถามความเห็นว่าการใช้เงินกู้ 2 ล้านล้านบาท เพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานควรผ่าน พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายเพื่อรักษาวินัยทางการคลังตามที่ฝ่ายค้านเสนอหรือไม่ พบว่า กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 44.5 เห็นว่า ควรผ่าน พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่าย ร้อยละ 37.9 ไม่แน่ใจ และมีเพียงร้อยละ17.6 เห็นว่าไม่ต้องผ่าน

เมื่อถามต่อว่า โครงการรถไฟความเร็วสูง รัฐบาลควรลงทุนเองหมด หรือร่วมทุนกับเอกชน กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 60.4 เห็นว่า รัฐควรร่วมทุนกับเอกชน ขณะที่ร้อยละ 39.6 เห็นว่า รัฐควรลงทุนเองทั้งหมด

เมื่อถามว่าเห็นด้วยหรือไม่กับการยกเลิกโครงการรถไฟความเร็วสูง แล้วนำงบมาสร้างรถไฟรางคู่ทุกจังหวัดแทนก่อน กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 52.0 เห็นด้วยที่จะเน้นสร้างรถไฟรางคู่ให้ครอบคลุมก่อนก่อน รองลงมาร้อยละ 32.7 ตอบว่าไม่แน่ใจ และมีเพียงร้อยละ 15.3 ที่ไม่เห็นด้วย

ดร.สุทิน กล่าวว่า จากผลสำรวจก่อนหน้านี้ พบว่าประชาชนอยากให้มีการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน อย่างไรก็ตาม จากผลการสำรวจครั้งนี้จะเห็นว่า คนอีสานส่วนใหญ่ต้องการให้รัฐบาลใช้เงินกู้ 2 ล้านล้านบาทอย่างรอบคอบ โดยใช้งบผ่าน พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่าย

นอกจากนี้ คนอีสานส่วนใหญ่ยังอยากให้รัฐร่วมลงทุนกับเอกชนในการสร้างรถไฟความเร็วสูง แทนที่จะลงทุนทำเองทั้งหมด เพื่อที่จะได้มีงบประมาณเพียงพอในการลงทุนสร้างรถไฟรางคู่ให้ครอบคลุมเชื่อมโยงทุกจังหวัด
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42784
Location: NECTEC

PostPosted: 10/10/2013 10:15 am    Post subject: Reply with quote

ชี้รถไฟความเร็วสูงไม่เกิดประโยชน์ต่อเศรษฐกิจอีสาน ยกพัฒนารถไฟรางคู่/เส้นทางรถไฟใหม่เหมาะสมกว่า

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 9 ตุลาคม 2556 12:42 น.


ประธานสภาอุตสาหกรรมจ.ขอนแก่น เชื่อมั่นว่าการพัฒนาระบบรางคู่น่าจะเหมาะสมกับและเกิดประโยชน์ต่อพื้นที่ภาคอีสานมากกว่า

ศูนย์ข่าวขอนแก่น - ประธานสภาอุตสาหกรรมขอนแก่น เผยรถไฟความเร็วสูง 2.2 ล้านล้านบาท ไม่เกิดประโยชน์ต่อเศรษฐกิจและสังคมภาคอีสาน ชี้ผลศึกษา สนข.ทำถึงแค่นครราชสีมา ขณะที่การเดินทางด้วยรถยนต์กับรถไฟถึงกรุงเทพฯ ใช้เวลาไม่ต่างกัน ระบุรถไฟความเร็วสูงในเอเชียมีแค่ 3 ประเทศที่รัฐสามารถอุดหนุนได้ จวกสร้างภาระหนี้ระยะยาว ไม่ศึกษารอบด้าน แนะยกระบบรถไฟรางคู่ รถไฟสายใหม่บ้านไผ่-นครพนม เหมาะกับสภาพเศรษฐกิจปัจจุบันกว่า

วันนี้ (9 ต.ค.) นายวิฑูรย์ กมลนฤเมธ ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดขอนแก่น กล่าวว่า กรณีที่รัฐบาลมีนโยบายกู้เงินเพื่อปรับโครงสร้างพื้นฐานประเทศ จำนวน 2.2 ล้านล้านบาท โดยนำมาพัฒนาระบบรางกว่า 1.6 ล้านล้านบาทนั้น จะมีการลงทุนในโครงการรถไฟความเร็วสูงเข้ามาในพื้นที่ภาคอีสานด้วย ซึ่งจากข้อมูลของสำนักนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) พบว่าตามงบประมาณ 2.2 ล้านล้านบาทนั้น รถไฟความเร็วสูงเข้ามาในภาคอีสานแค่ จ.นครราชสีมา

ส่วนการพัฒนาเส้นทางให้มาถึง จ.ขอนแก่น หรือ จ.หนองคาย ยังไม่มีงบประมาณ และยังไม่มีบริษัทใดกล้าลงทุน ซึ่งแม้ว่ารัฐบาลชุดนี้จะสามารถกู้เงินมาลงทุนได้ แต่เชื่อว่าจะไม่เกิดประโยชน์ต่อภาคเศรษฐกิจ หรือการท่องเที่ยว จ.ขอนแก่น หรือจังหวัดใกล้เคียงมากนัก

ที่สำคัญตั๋วโดยสารรถไฟความเร็วสูงมีราคาสูงมาก ซึ่งการเดินทางระหว่างกรุงเทพฯ มา จ.นครราชสีมา ด้วยรถไฟความเร็วสูงนั้น ต้องยอมรับว่ามีขั้นตอนมากพอสมควร ไม่ต่างจากการโดยสารด้วยเครื่องบิน เมื่อเทียบกับการเดินทางด้วยรถยนต์โดยสาร หรือรถยนต์ส่วนตัว เชื่อว่าจะใช้เวลาถึงจุดหมายปลายทางไม่ต่างกันนัก และเชื่อว่าคนที่มีกำลังซื้อตั๋วโดยสารรถไฟความเร็วสูงก็มีไม่กี่กลุ่ม หรือมีจำนวนค่อนข้างน้อย

นายวิฑูรย์ กล่าวว่า ตามหลักการของการพัฒนารถไฟความเร็วสูง จะมีเฉพาะประเทศที่พัฒนาแล้วเท่านั้น จุดมุ่งหมายเพื่อเป็นรัฐสวัสดิการให้แก่ประชากรในประเทศ ประเทศเหล่านี้จะนำเงินภาษีมาอุดหนุน ยอมขาดทุนไปกับการทุ่มเงินลงทุนทำรถไฟความเร็วสูง โดยในเอเชียมีเพียง 3 ประเทศ คือ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และจีน ส่วนโซนอื่น คือ สหภาพยุโรป ล้วนเป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว สามารถอุดหนุนเงินภาษีแก่รถไฟความเร็วสูงได้

ขณะที่ประเทศไทย มีเงินคงคลังไม่มากพอ ทั้งต้องกู้เงินจากต่างประเทศมาลงทุน ประเทศจะแบกภาระขาดทุนได้หรือไม่ และปัญหาสำคัญคือ ต้องใช้หนี้เงินกู้ก้อนใหญ่ในระยะยาว ซึ่งบทเรียนการพัฒนารถไฟความเร็วสูงที่สำคัญ คือ ประเทศเวียดนาม ที่ประกาศว่าจะพัฒนารถไฟความเร็วสูงเป็นประเทศแรกของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่เมื่อนักเศรษฐศาสตร์ได้วิเคราะห์ และท้วงติงรัฐบาล สุดท้ายเวียดนามก็ต้องล้มเลิกโครงการไป

นายวิฑูรย์ กล่าวว่า การสร้างรถไฟความเร็วสูงจะไม่เกิดประโยชน์ด้านเศรษฐกิจ และสังคมต่อภาคอีสานมากนัก อีกทั้งรัฐบาลชุดนี้ยังขาดการศึกษาที่รอบด้าน ไม่เข้าใจว่าจะเร่งรัดผลักดันโครงการไปเพื่ออะไร เพราะการสร้างทางรถไฟความเร็วสูง ต้องเวนคืนที่ดินตามเส้นทางรถไฟผ่านอีกมาก เนื่องจากแนวเส้นทางรถไฟต้องเป็นเส้นตรงให้รถไฟทำความเร็วได้ ขณะที่สภาพเศรษฐกิจประเทศ ณ ปัจจุบัน ไม่เอื้อที่รัฐจะมาอุดหนุน และสร้างภาระหนี้ให้แก่ประเทศในระยะยาว

“โดยส่วนตัวแล้วเห็นว่าภายใต้โครงการเงินกู้ปรับโครงสร้างพื้นฐานประเทศ 2.2 ล้านล้านบาทนั้น ควรสนับสนุนแผนพัฒนาเส้นทางรถไฟรางคู่ น่าจะเหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจประเทศไทยมากกว่า เพราะใช้เงินลงทุนต่ำกว่ามาก อีกทั้งผลการศึกษาของ สนข.พบว่า เส้นทางรถไฟรางคู่จะเกิดประโยชน์ต่อการขนส่งมวลชน และการขนถ่ายสินค้า มากกว่าระบบรถไฟรางเดี่ยวถึง 5 เท่าตัว”

นายวิฑูรย์ กล่าวว่า ตามแผนพัฒนาระบบรางคู่เส้นทางภาคอีสานนั้น เพียงแค่พัฒนาระบบรางคู่จากชุมทาง อ.จิระ จ.นครราชสีมา มา จ.ขอนแก่น อุดรธานี และหนองคาย ส่วนอีกเส้นทาง คือ จากชุมทาง อ.จิระ ไป จ.บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี จะเกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมโดยรวมกับภาคอีสานมากที่สุด

และที่สำคัญมีโครงการศึกษาเส้นทางรถไฟสายใหม่ จาก อ.บ้านไผ่ ผ่านมาที่ จ.มหาสารคาม ร้อยเอ็ด มุกดาหาร และนครพนม น่าจะเกิดประโยชน์ต่อเศรษฐกิจพื้นที่ภาคอีสานมากกว่า เพราะจะเปิดพื้นที่ภาคอีสานเชื่อมกับประเทศเพื่อนบ้าน เกิดการขนส่งมวลชน การขนส่งสินค้าระหว่างประเทศมากขึ้น รัฐบาลควรดำเนินการเส้นทางรถไฟเส้นใหม่นี้ควบคู่ไปด้วย ซึ่งจะเกิดประโยชน์ต่อเศรษฐกิจ และสังคมภาคอีสาน
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42784
Location: NECTEC

PostPosted: 16/10/2013 1:47 am    Post subject: Reply with quote

แห่ยึดอีสานผุดโรงงานวัสดุรับรถไฟทางคู่
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
15 ตุลาคม 2556 เวลา 15:04:32 น.


เปิดโพยละเอียดยิบวัสดุก่อสร้างหลักในแผนลงทุน 2 ล้านล้าน "ปูน เหล็ก หิน ซีเมนต์ ทราย" รับเค้กอื้อซ่า ธุรกิจรับเหมาขาใหญ่-รายเล็กภูธรคึกคักรับงานประมูล 531 สัญญา มูลค่างาน 1.5 ล้านล้าน เปิดโควตารับแรงงานต่างด้าวเพิ่ม ป้อนความต้องการใช้ในไซต์ก่อสร้างช่วง 7 ปีหน้า 2.8 แสนคน


นายจุฬา สุขมานพ ผู้อำนวยการ สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) กระทรวงคมนาคม เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า สนข.อยู่ระหว่างติดตามข้อมูลที่ประสานให้หน่วยงานที่ได้รับจัดสรรงบประมาณ 2 ล้านล้านบาท จัดทำข้อมูลรายละเอียดแต่ละหน่วยมีความต้องการใช้ปริมาณวัสดุก่อสร้างและแรงงานในแต่ละโครงการ เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมและป้องกันไม่ให้มีปัญหากระทบการก่อสร้างในช่วง 7 ปีตามแผนดำเนินโครงการ


ดักทางแก้ปัญหาของขาด-แพง

"แผนลงทุน 2 ล้านล้านบาทใช้เวลา 7 ปี ถ้าโครงการก่อสร้างพร้อมกันมีปัญหาแน่ ดังนั้นเมื่อได้ข้อมูลชัดเจนจากหน่วยงาน ขั้นตอนต่อไปจะได้เชิญเอกชนมาหารือเพื่อเตรียมความพร้อม เช่น หอการค้า ผู้ผลิต

วัสดุก่อสร้าง เพื่อร่วมกันดูว่ามีแหล่งวัสดุที่ไหนบ้าง จะวางแผนสต๊อกสินค้ามากน้อยแค่ไหน อย่างหินอาจจะต้องเปิดประทานบัตรเหมืองหินเพื่อระเบิดหินใหม่ ปูนซีเมนต์ก็เช่นเดียวกัน ถ้าข้อมูลไม่ดีจะทำให้มีปัญหาของขาด ของแพง ทำให้งานช้าหรือเกิดการกักตุนได้ถ้าทำพร้อมกันโดยไม่วางแผนล่วงหน้า"

นายจุฬากล่าวอีกว่า สำหรับวัสดุก่อสร้างที่ใช้จากผู้ผลิตในประเทศมีหิน ทราย ปูนซีเมนต์ ส่วนเหล็กอาจจะต้องนำเข้าเนื่องจากใช้ในปริมาณที่มาก ซึ่งบริษัทเอกชนที่เป็นผู้ผลิตจะต้องไปดูว่าจะนำเข้าและใช้ในประเทศสัดส่วนเท่าไหร่ รวมทั้งหากนำเข้าจะเป็นเหล็กจากผู้ผลิตประเทศใด

จ้างแรงงาน 2.8 แสนคน

ผู้อำนวยการ สนข.กล่าวด้วยว่า ด้านแรงงานคาดว่าจะมีความต้องการประมาณ 287,337 คน คิดเป็นงบประมาณการจ้างงาน 282,263 ล้านบาท แยกเป็นไซต์ก่อสร้างระบบทางราง 224,718 คน งบประมาณ 213,164 ล้านบาท ทางถนน 61,405 คน วงเงิน 59,586 ล้านบาท และทางน้ำ 1,214 คน วงเงิน 9,512 ล้านบาท

พร้อมกันนี้ สนข.จะต้องประสานกระทรวงแรงงานเพื่อจัดสรรโควตาแรงงานจากต่างประเทศเข้ามาเพิ่ม และใน 7 ปีข้างหน้าคาดว่าจะเกิดการจ้างงานประมาณ 500,000 คนในทุกภาคส่วน ทั้งแรงงานก่อสร้างและภาคบริการ

แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคมเปิดเผยเพิ่มเติมว่า เบื้องต้นมีข้อมูลปริมาณการใช้วัสดุก่อสร้างโครงการด้านระบบรางออกมาแล้ว ประกอบด้วยโครงการรถไฟความเร็วสูง 4 สายทาง รถไฟทางคู่ 11 สาย และรถไฟทางคู่สายใหม่ 3 สาย

ระบบรางใช้มากสุด

แยกเป็น 1.เหล็กราง 764,819,819.40 กิโลกรัม 2.เหล็กเสริม 2,454,873,160.18 กิโลกรัม 3.ซีเมนต์ 8,394,596,133.76 กิโลกรัม 4.หิน 7,875,944,356.86 ลูกบาศก์เมตร และ 5.ทราย 3,596,119,616.53 ลูกบาศก์เมตร

สำหรับงานก่อสร้างถนนของกรมทางหลวง (ทล.) คิดเป็นมูลค่า 83,269,952,734 บาท ประกอบด้วย 1.ยางแอสฟัลต์ 454,594 ตันราคา 32,365 บาท/ตัน คิดเป็นวงเงิน 14,712,934,810 บาท 2.หินผสมแอสฟัลต์ 48,187,099 ลูกบาศก์เมตร ราคา 200-250 บาท รวมมูลค่า 12,046,774,750 บาท

3.หินคลุก 8,720,292 ลูกบาศก์เมตร ราคา 150-220 บาท มูลค่า 1,918,464,240 บาท 4.ลูกรัง 9,614,118 ลูกบาศก์เมตร ราคา 50-80 บาท รวมมูลค่า 769,129,440 บาท

5.วัสดุคัดเลือก 11,905,072 ลูกบาศก์เมตร ราคา 45-75 บาท รวมมูลค่า 892,880,400 บาท 6.ดินถมและทรายถม 108,729,586 ลูกบาศก์เมตร ราคา 35-100 บาท รวมมูลค่า 10,872,958,600 บาท

7.เหล็ก 1,429,381 ตัน ราคา 19,375 บาท/ตัน รวมมูลค่า 27,694,256,875 บาท 8.ปูนซีเมนต์ 4,411,321 ตัน ราคา 2,194 บาท/ตัน รวมมูลค่า 9,678,435,274 บาท

9.หินผสมคอนกรีต 8,259,956 ลูกบาศก์เมตร ราคา 280-300 บาท รวมมูลค่า 2,477,986,800 บาท 10.ทรายผสมและรองแผ่นพื้นคอนกรีต 6,303,233 ลูกบาศก์เมตร ราคา 320-350 บาท รวมมูลค่า 2,206,131,550 บาท

แห่ผุด รง.หมอนคอนกรีต

นายประภัสร์ จงสงวน ผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยว่า ตอนนี้ได้รับรายงานจากฝ่ายก่อสร้างว่ามีการตั้งโรงงานผลิตหมอนคอนกรีตใหม่เกิดขึ้นประมาณ 4-5 แห่งในภาคอีสาน และได้ประสานกับ ร.ฟ.ท. ขอนำสินค้ามาทดสอบมาตรฐานโดยเสนอผ่านบริษัทรับเหมาก่อสร้าง เพื่อรองรับกับโครงการใน 2 ล้านล้านบาท ซึ่งจะมีการก่อสร้างทางรถไฟใหม่เพิ่มขึ้นอีกกว่า 2,000 กิโลเมตรทั่วประเทศ

แหล่งข่าวกระทรวงคมนาคมเปิดเผยอีกว่า นอกจากวัสดุก่อสร้างและแรงงานก่อสร้างที่จะได้รับประโยชน์จากโครงการ 2 ล้านล้านบาทแล้ว ในส่วนของผู้รับเหมาก่อสร้างจะมีงานประมูลถึง 531 สัญญา มีทั้งรูปแบบอีออกชั่นหรือประมูลทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ และแบบนานาชาติ วงเงินรวมประมาณ 1,526,188 ล้านบาท ส่วนงานประมูลระบบรถไฟฟ้าอีก 16 สัญญา วงเงินประมาณ 297,595 ล้านบาท ค่าจ้างที่ปรึกษาวงเงินประมาณ 41,339 ล้านบาท
Back to top
View user's profile Send private message
black_express
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/03/2006
Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ

PostPosted: 16/10/2013 10:21 am    Post subject: Reply with quote

รถไฟทางคู่ รู้สึกจะเป็นข่าวฮอตมากกว่ารถไฟความเร็วสูงเสียอีก

ถ้าการรถไฟฯ รับลูกไม่ทัน ทั้งความพร้อมและกำลังคน ก็ตัวใครตัวมันล่ะครับ Razz
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42784
Location: NECTEC

PostPosted: 16/10/2013 10:58 am    Post subject: Reply with quote

^^^
ก็โพลล์บอกว่า คนต้องการทาลคู่ทั่วไทยเสียยิ่งกว่ารถไฟความไวสูงซะอีกแน
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42784
Location: NECTEC

PostPosted: 24/10/2013 7:56 pm    Post subject: Reply with quote

สัมภาษณ์พิเศษ: ร.ฟ.ท.ตีกรอบผู้รับเหมาประมูลรถไฟทางคู่แสนล้าน
โดย นงนภัส ไม้พานิชย์

กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันพฤหัสบดีที่ 24 ตุลาคม 2556 07:23

ประภัสร์ จงสงวนการันตีรฟทพร้อมเปิดประมูลงานก่อสร้างล็อตแรก โครงการรถไฟทางคู่ 5 เส้นทาง มูลค่ากว่า 1.16 แสนล้านบาท ลั่นเปิดประมูลพร้อมกันทุกโครงการ เพื่อให้งานแล้วเสร็จภายใน 7 ปีตามแผน เช็คความพร้อมผู้รับเหมาก่อนให้งาน ทั้งเครื่องมืออุปกรณ์และบุคลากร เพื่อให้ได้บริษัทที่มีศักยภาพ

การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ต้องรับผิดชอบดำเนินโครงการพัฒนาระบบรางภายใต้พ.ร.บ.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงิน 2 ล้านล้านบาท เพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของประเทศ วงเงินประมาณ 1.2 ล้านบาท ในส่วนของร.ฟ.ท.จะมีแผนงานรวม 28 โครงการ

นายประภัสร์ จงสงวน ผู้ว่าการ ร.ฟ.ท. ให้สัมภาษณ์"กรุงเทพธุรกิจ" ถึงการเตรียมความพร้อมในการดำเนินโครงการต่างๆ ว่า โครงการก่อสร้างที่สามารถดำเนินการได้ก่อนคือโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ระยะเร่งด่วน 5 โครงการ วงเงินรวม 1.16 แสนล้านบาท คือ

1.ลพบุรี-ปากน้ำโพ ระยะทาง 148 กม.วงเงิน 2.4 หมื่นล้านบาท
2.มาบกะเบา-นครราชสีมา (ถนนจิระ) ระยะทาง 132 กม. วงเงิน 2.9 หมื่นล้านบาท
3.ถนนจิระ-ขอนแก่น ระยะทาง 185 กม. วงเงิน 2.6 หมื่นล้านบาท
4.นครปฐม-หัวหิน ระยะทาง 165 กม. วงเงิน 2 หมื่นล้านบาท และ
5.ประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร ระยะทาง 167 กม. วงเงิน 1.7 หมื่นล้านบาท

เช็คศักยภาพผู้รับเหมาก่อนรับงาน
ทั้งนี้ หากร.ฟ.ท.ได้รับการจัดสรรงบประมาณ คาดว่าจะเปิดประกวดราคาได้ภายในปีนี้ และเริ่มงานก่อสร้างภายในต้นปี 2557 โดยใช้เวลาก่อสร้างประมาณปีครึ่งถึง 2 ปี ซึ่งร.ฟ.ท.จะแบ่งงานก่อสร้างเป็นหลายสัญญา และแบ่งสัญญาตามระยะทางที่เหมาะสม เพื่อให้งานก่อสร้างแล้วเสร็จเร็วขึ้น และจะประกวดราคาพร้อมกันทั้ง 5 โครงการ หากทยอยก่อสร้างจะเสร็จไม่ทันตามแผน 7 ปี

"การดำเนินงานทุกอย่างเป็นไปตามขั้นตอนปกติ รวมทั้งขั้นตอนการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม และการประกวดราคาพร้อมกันเพราะต้องการให้งานเสร็จและเปิดใช้พร้อมกัน และในการประกวดราคาจะตรวจสอบความพร้อมและความสามารถของผู้รับเหมาว่าสามารถทำงานให้แล้วเสร็จตามกำหนดได้หรือไม่ ถือเป็นครั้งแรกที่จะตรวจสอบงานในมือของผู้รับเหมา โดยจะตรวจสอบทั้งเครื่องมืออุปกรณ์และจำนวนบุคลากรว่ามีความสามารถรับงานได้เท่าใด หากบุคลากรและเครื่องมือไม่เพียงพอจะไม่ได้รับการคัดเลือก"

นอกจากนั้น ในระยะแรกนี้ ร.ฟ.ท.จะต้องเร่งดำเนินการอีก 4 โครงการ คือ
1.โครงการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานทางรถไฟ เป็นงานปรับปรุงทาง ราง หมอน สะพาน และติดตั้งรั้ว
2.โครงการติดตั้งเครื่องกั้นถนนเสมอระดับและปรับปรุงเครื่องกั้น
3.โครงการปรับปรุงระบบอาณัติสัญญาณไฟสีทั่วประเทศ และ4.โครงการติดตั้งระบบโครงข่ายโทรคมนาคม

อีก 2 ปีเริ่มประมูลโครงการเฟส2
ส่วนโครงการที่อยู่ระหว่างการออกแบบรายละเอียดและศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม และจะดำเนินการในระยะถัดไป คือ โครงการก่อสร้างทางคู่อีก 6 เส้นทาง ระยะทางรวม 1,364 กม. วงเงิน 1.4 แสนล้านบาท คือ

1.หัวหิน-ประจวบคีรีขันธ์ ระยะทาง 90 กม.
2.ชุมพร-สุราษฎ์ธานี ระยะทาง 167 กม.
3.สุราษฎร์ธานี-ปาดังเบซาร์ ระยะทาง 339 กม.
4.ปากน้ำโพ-เด่นชัย ระยะทาง 285 กม.
5.ขอนแก่น-หนองคาย ระยะทาง 174 กม. และ
6.ชุมทางถนนจิระ-อุบลราชธานี ระยะทาง 309 กม.

"คาดว่าโครงการก่อสร้างทางคู่ 6 เส้นทางนี้จะต้องใช้เวลาอีกประมาณ 2 ปี จึงสามารถประกวดราคาได้ เพราะต้องใช้เวลาในการพิจารณาศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมค่อนข้างนาน แต่ทุกโครงการจะใช้พื้นที่เขตทางของรถไฟ จึงไม่มีปัญหาเรื่องการจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน"

เสนอตัวรับผิดชอบไฮสปีด4เส้นทาง
สำหรับการดำเนินโครงการรถไฟความเร็วสูงนั้น ร.ฟ.ท.อยู่ระหว่างศึกษาออกแบบเส้นทางท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ-ระยอง ส่วนเส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ กรุงเทพฯ-หนองคาย และกรุงเทพฯ-ปาดังเบซาร์ สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) จะเป็นผู้รับผิดชอบเรื่องการออกแบบ
ทั้งนี้ โครงการรถไฟความเร็วสูงเส้นทางกรุงเทพฯ-ระยอง จะออกแบบไปถึงจังหวัดตราด แต่ในระยะแรกจะก่อสร้างถึงจังหวัดระยอง ปัจจุบันอยู่ระหว่างการศึกษาความเหมาะสมเรื่องแนวเส้นทาง เบื้องต้นจะผ่านจังหวัดฉะเชิงเทราตามแนวเส้นทางรถไฟเดิม หลังจากนั้นจะเสนอรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม โดยร.ฟ.ท.มั่นใจว่ารถไฟความเร็วสูงเส้นทางกรุงเทพฯ-ระยองจะก่อสร้างเสร็จก่อนเส้นทางอื่น เพราะไม่ต้องจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน สามารถใช้พื้นที่เขตทางรถไฟก่อสร้างได้ทันที
อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันยังไม่มีข้อสรุปว่าหน่วยงานใดจะเป็นผู้รับผิดชอบดำเนินงานก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง โดยร.ฟ.ท.เสนอเป็นผู้รับผิดชอบก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงทั้ง 4 เส้นทาง เพราะมั่นใจว่าพนักงานมีประสิทธิภาพสามารถดำเนินการได้ แต่ขอเพียงโอกาสในการดำเนินโครงการ เพราะไม่มีบุคคลหรือหน่วยงานใดรู้เรื่องรถไฟดีกว่าร.ฟ.ท. ที่ผ่านมาสังคมอาจมองว่าร.ฟ.ท.ไม่มีประสิทธิภาพในการทำงาน แต่ไม่ได้ศึกษาให้ลึกซึ้งว่าเหตุใดจึงเป็นเช่นนี้
"การที่ร.ฟ.ท.ขาดการลงทุนและขาดการพัฒนาระบบรางมาเป็นเวลานาน ขณะที่ค่าโดยสารถูกกำหนดไว้ในอัตราต่ำ เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ร.ฟ.ท.ไม่มีกำไร และถูกมองว่าไม่มีประสิทธิภาพ ทั้งที่เป็นนโยบายของรัฐบาลที่กำหนดให้ร.ฟ.ท.ต้องเป็นเช่นนี้"
ส่วนแนวทางการใช้วิธีบาร์เตอร์เทรดในโครงการรถไฟความเร็วสูง เชื่อว่ารัฐบาลมีประสบการณ์เกี่ยวกับวิธีการบาร์เตอร์เทรดมาก่อนหน้านี้แล้ว และคงไม่ทำให้เกิดปัญหาเหมือนครั้งที่ผ่านมาแน่นอน ขณะที่การดำเนินงานดังกล่าวจะไม่ส่งผลกระทบให้โครงการรถไฟความเร็วสูงของร.ฟ.ท.ต้องล่าช้า เพราะปัจจุบันยังอยู่ระหว่างการศึกษาออกแบบ

แนะแยกบัญชีหนี้สินจากการลงทุน
อย่างไรก็ตาม ร.ฟ.ท.ยังมีโครงการก่อสร้างทางคู่สายใหม่ 3 เส้นทาง ระยะทางรวม 696 กม. วงเงิน 1.2 แสนล้านบาท ซึ่งเป็นโครงการภายใต้พ.ร.บ.2 กู้เงิน คือ

1.เด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ ระยะทาง 326 กม.
2.บ้านไผ่-มหาสารคาม-ร้อยเอ็ดมุกดาหาร-นครพนม ระยะทาง 358 กม. และ
3.ชุมทางบ้านภาชี-อ.นครหลวง ระยะทาง 15 กม.

นอกจากนี้ ยังมีโครงการระบบรถไฟในเมือง ได้แก่ โครงการรถไฟสายสีแดงอ่อน ช่วงบางซื่อ-มักกะสัน-หัวหมาก และสายสีแดงเข้ม ช่วงบางซื่อ-หัวลำโพง โครงการรถไฟสายสีแดงเข้ม ช่วงรังสิต-ม.ธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต โครงการรถไฟเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ส่วนต่อขยายช่วงดอนเมือง-บางซื่อ-พญาไท โครงการรถไฟสายสีแดงอ่อนช่วงบางซื่อตลิ่งชัน โครงการรถไฟสายสีแดงอ่อนช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา และโครงการก่อสร้างโรงรถจักรแห่งใหม่ที่อ.แก่งคอย จ.สระบุรี

"ในการดำเนินโครงการภายในพ.ร.บ.กู้เงินนั้น ผมมีแนวคิดให้รัฐบาลแยกบัญชีหนี้สินจากการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานให้ชัดเจน เพื่อไม่ให้ร.ฟ.ท.ต้องรับภาระหนี้สินจากการกู้เงินมาลงทุนเหมือนในอดีต ซึ่งร.ฟ.ท.มีภาระหนี้สินกว่า 1 แสนล้านบาท ส่งผลให้ประสบปัญหาขาดทุนมาโดยตลอด หรืออาจให้ร.ฟ.ท.นำผลตอบแทนทางเศรษฐกิจของโครงการมาลงบัญชีเป็นรายได้ เพื่อชดเชยภาระหนี้สินจากการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน"
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42784
Location: NECTEC

PostPosted: 28/10/2013 6:29 pm    Post subject: Reply with quote

ร.ฟ.ท.ตีกรอบประมูลรถไฟทางคู่แสนล้าน
โดย : นงนภัส ไม้พานิชย์
กรุงเทพธุรกิจ
วันที่ 24 ตุลาคม 2556 10:38

Click on the image for full size

"ประภัสร์"การันตี ร.ฟ.ท.พร้อมเปิดประมูลงานก่อสร้างล็อตแรก รถไฟทางคู่ 5 เส้นทาง มูลค่ากว่า 1.16 แสนล้าน ลั่นประมูลพร้อมกันทุกโครงการ

การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ต้องรับผิดชอบดำเนินโครงการพัฒนาระบบรางภายใต้พ.ร.บ.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงิน 2 ล้านล้านบาท เพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของประเทศ วงเงินประมาณ 1.2 ล้านบาท ในส่วนของร.ฟ.ท.จะมีแผนงานรวม 28 โครงการ

นายประภัสร์ จงสงวน ผู้ว่าการ ร.ฟ.ท. ให้สัมภาษณ์กับ "กรุงเทพธุรกิจ" ถึงการเตรียมความพร้อมในการดำเนินโครงการต่างๆ ว่า โครงการก่อสร้างที่สามารถดำเนินการได้ก่อนคือโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ระยะเร่งด่วน 5 โครงการ วงเงินรวม 1.16 แสนล้านบาท คือ

1.ลพบุรี-ปากน้ำโพ ระยะทาง 148 กม.วงเงิน 2.4 หมื่นล้านบาท
2.มาบกะเบา-นครราชสีมา (ถนนจิระ) ระยะทาง 132 กม. วงเงิน 2.9 หมื่นล้านบาท
3.ถนนจิระ-ขอนแก่น ระยะทาง 185 กม. วงเงิน 2.6 หมื่นล้านบาท
4.นครปฐม-หัวหิน ระยะทาง 165 กม. วงเงิน 2 หมื่นล้านบาท และ
5.ประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร ระยะทาง 167 กม. วงเงิน 1.7 หมื่นล้านบาท

เช็คศักยภาพผู้รับเหมาก่อนรับงาน

ทั้งนี้ หากว่า ร.ฟ.ท.ได้รับการจัดสรรงบประมาณ คาดว่าจะเปิดประกวดราคาได้ภายในปีนี้ และเริ่มงานก่อสร้างภายในต้นปี 2557 โดยใช้เวลาก่อสร้างประมาณปีครึ่งถึง 2 ปี ซึ่งร.ฟ.ท.จะแบ่งงานก่อสร้างเป็นหลายสัญญา และแบ่งสัญญาตามระยะทางที่เหมาะสม เพื่อให้งานก่อสร้างแล้วเสร็จเร็วขึ้น และจะประกวดราคาพร้อมกันทั้ง 5 โครงการ หากทยอยก่อสร้างจะเสร็จไม่ทันตามแผน 7 ปี

"การดำเนินงานทุกอย่างเป็นไปตามขั้นตอนปกติ รวมทั้งขั้นตอนการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม และการประกวดราคาพร้อมกันเพราะต้องการให้งานเสร็จและเปิดใช้พร้อมกัน และในการประกวดราคาจะตรวจสอบความพร้อมและความสามารถของผู้รับเหมาว่าสามารถทำงานให้แล้วเสร็จตามกำหนดได้หรือไม่ ถือเป็นครั้งแรกที่จะตรวจสอบงานในมือของผู้รับเหมา โดยจะตรวจสอบทั้งเครื่องมืออุปกรณ์และจำนวนบุคลากรว่ามีความสามารถรับงานได้เท่าใด หากบุคลากรและเครื่องมือไม่เพียงพอจะไม่ได้รับการคัดเลือก"

นอกจากนั้น ในระยะแรกนี้ ร.ฟ.ท.จะต้องเร่งดำเนินการอีก 4 โครงการ คือ 1.โครงการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานทางรถไฟ เป็นงานปรับปรุงทาง ราง หมอน สะพาน และติดตั้งรั้ว 2.โครงการติดตั้งเครื่องกั้นถนนเสมอระดับและปรับปรุงเครื่องกั้น 3.โครงการปรับปรุงระบบอาณัติสัญญาณไฟสีทั่วประเทศ และ4.โครงการติดตั้งระบบโครงข่ายโทรคมนาคม

อีก 2 ปีเริ่มประมูลโครงการเฟส 2

ส่วนโครงการที่อยู่ระหว่างการออกแบบรายละเอียดและศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม และจะดำเนินการในระยะถัดไป คือ โครงการก่อสร้างทางคู่อีก 6 เส้นทาง ระยะทางรวม 1,364 กม. วงเงิน 1.4 แสนล้านบาท คือ

1.หัวหิน-ประจวบคีรีขันธ์ ระยะทาง 90 กม.
2.ชุมพร-สุราษฎร์ธานี ระยะทาง 167 กม.
3.สุราษฎร์ธานี-ปาดังเบซาร์ ระยะทาง 339 กม.
4.ปากน้ำโพ-เด่นชัย ระยะทาง 285 กม.
5.ขอนแก่น-หนองคาย ระยะทาง 174 กม. และ
6.ชุมทางถนนจิระ-อุบลราชธานี ระยะทาง 309 กม.

"คาดว่าโครงการก่อสร้างทางคู่ 6 เส้นทางนี้ จะต้องใช้เวลาอีกประมาณ 2 ปี จึงสามารถประกวดราคาได้ เพราะต้องใช้เวลาในการพิจารณาศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมค่อนข้างนาน แต่ทุกโครงการจะใช้พื้นที่เขตทางของรถไฟ จึงไม่มีปัญหาเรื่องการจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน" เมื่อทำทางคู่สำเร็จแล้วจะทำให้มีผู้โดยสารเพิ่มจาก 35 ล้านคนต่อปี เป็น 70-80 ล้านคน ต่อปี และ เพิ่มการขนสินค้าจาก 11 ล้านตันต่อปี เป็น 50 ล้านตัน ต่อปี

เสนอตัวรับผิดชอบไฮสปีด 4 เส้นทาง

สำหรับการดำเนินโครงการรถไฟความเร็วสูงนั้น ร.ฟ.ท.อยู่ระหว่างศึกษาออกแบบเส้นทางท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ-ระยอง ส่วนเส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ กรุงเทพฯ-หนองคาย และกรุงเทพฯ-ปาดังเบซาร์ สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) จะเป็นผู้รับผิดชอบเรื่องการออกแบบ

ทั้งนี้ โครงการรถไฟความเร็วสูงเส้นทางกรุงเทพฯ-ระยอง จะออกแบบไปถึงจังหวัดตราด แต่ในระยะแรกจะก่อสร้างถึงจังหวัดระยอง ปัจจุบันอยู่ระหว่างการศึกษาความเหมาะสมเรื่องแนวเส้นทาง เบื้องต้นจะผ่านจังหวัดฉะเชิงเทราตามแนวเส้นทางรถไฟเดิม หลังจากนั้นจะเสนอรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม โดย ร.ฟ.ท.มั่นใจว่ารถไฟความเร็วสูงเส้นทางกรุงเทพฯ-ระยอง จะก่อสร้างเสร็จก่อนเส้นทางอื่น เพราะไม่ต้องจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน สามารถใช้พื้นที่เขตทางรถไฟก่อสร้างได้ทันที

อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันยังไม่มีข้อสรุปว่าหน่วยงานใดจะเป็นผู้รับผิดชอบดำเนินงานก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง โดย ร.ฟ.ท.เสนอเป็นผู้รับผิดชอบก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงทั้ง 4 เส้นทาง เพราะมั่นใจว่าพนักงานมีประสิทธิภาพสามารถดำเนินการได้ แต่ขอเพียงโอกาสในการดำเนินโครงการ เพราะว่าไม่มีบุคคลหรือหน่วยงานใดรู้เรื่องรถไฟดีกว่า ร.ฟ.ท. ที่ผ่านมาสังคมอาจมองว่าร.ฟ.ท.ไม่มีประสิทธิภาพในการทำงาน แต่ไม่ได้ศึกษาให้ลึกซึ้งว่าเหตุใดจึงเป็นเช่นนี้

"การที่ ร.ฟ.ท.ขาดการลงทุนและขาดการพัฒนาระบบรางมาเป็นเวลานาน ขณะที่ค่าโดยสารถูกกำหนดไว้ในอัตราต่ำ เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ ร.ฟ.ท. ไม่มีกำไร และถูกมองว่าไม่มีประสิทธิภาพ ทั้งที่เป็นนโยบายของรัฐบาลที่กำหนดให้ ร.ฟ.ท. ต้องเป็นเช่นนี้"

ส่วนแนวทางการใช้วิธีบาร์เตอร์เทรดในโครงการรถไฟความเร็วสูง เชื่อว่ารัฐบาลมีประสบการณ์เกี่ยวกับวิธีการบาร์เตอร์เทรดมาก่อนหน้านี้แล้ว และคงไม่ทำให้เกิดปัญหาเหมือนครั้งที่ผ่านมาแน่นอน ขณะที่การดำเนินงานดังกล่าวจะไม่ส่งผลกระทบให้โครงการรถไฟความเร็วสูงของ ร.ฟ.ท. ต้องล่าช้า เพราะปัจจุบันยังอยู่ระหว่างการศึกษาออกแบบ

แนะแยกบัญชีหนี้สินจากการลงทุน

อย่างไรก็ตาม ร.ฟ.ท.ยังมีโครงการก่อสร้างทางคู่สายใหม่ 3 เส้นทาง ระยะทางรวม 696 กม. วงเงิน 1.2 แสนล้านบาท ซึ่งเป็นโครงการภายใต้ พ.ร.บ.2 กู้เงิน คือ

1.เด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ ระยะทาง 326 กม.
2.บ้านไผ่-มหาสารคาม-ร้อยเอ็ด-มุกดาหาร-นครพนม ระยะทาง 347 กม. (ยาวจริงๆ 358 กิโลเมตร) และ
3.ชุมทางบ้านภาชี-อ.นครหลวง ระยะทาง 15 กม.

นอกจากนี้ ยังมีโครงการระบบรถไฟในเมือง ได้แก่
1. โครงการรถไฟสายสีแดงอ่อน ช่วงบางซื่อ-มักกะสัน-หัวหมาก และ
2. สายสีแดงเข้ม ช่วงบางซื่อ-หัวลำโพง
3. โครงการรถไฟสายสีแดงเข้ม ช่วงรังสิต-ม.ธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต
4. โครงการรถไฟเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ส่วนต่อขยายช่วงดอนเมือง-บางซื่อ-พญาไท
5. โครงการรถไฟสายสีแดงอ่อนช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน (ติดตั้งระบบไฟฟ้า)
6. โครงการรถไฟสายสีแดงอ่อนช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา และ
7. โครงการก่อสร้างโรงรถจักรแห่งใหม่ที่อ.แก่งคอย จ.สระบุรี - รวมการย้ายโรงงานมักกะสันไปด้วย

"ในการดำเนินโครงการภายในพ.ร.บ.กู้เงินนั้น ผมมีแนวคิดให้รัฐบาลแยกบัญชีหนี้สินจากการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานให้ชัดเจน เพื่อไม่ให้ ร.ฟ.ท.ต้องรับภาระหนี้สินจากการกู้เงินมาลงทุนเหมือนในอดีต ซึ่ง ร.ฟ.ท.มีภาระหนี้สินกว่า 1 แสนล้านบาท ส่งผลให้ประสบปัญหาขาดทุนมาโดยตลอด หรืออาจให้ ร.ฟ.ท.นำผลตอบแทนทางเศรษฐกิจของโครงการมาลงบัญชีเป็นรายได้ เพื่อชดเชยภาระหนี้สินจากการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน"

//------------------------------------------------------
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42784
Location: NECTEC

PostPosted: 26/11/2013 12:56 pm    Post subject: Reply with quote

แนะรัฐเร่งรถไฟรางคู่ชี้ไทยไม่พร้อม‘เร็วสูง’

กรุงเทพธุรกิจ 26 พฤศจิกายน 2556 09:35

นักวิชาการแนะรัฐบาลเร่งรถไฟรางคู่ ชี้ไทยไม่พร้อมรถไฟความเร็วสูง

รัฐบาลอยู่ระหว่างผลักดันร่าง พ.ร.บ.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงิน เพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งของประเทศ 2 ล้านล้านบาท ซึ่งผ่านการพิจารณาวาระ 3 แล้ว โครงการนี้จะมีผลดีผลเสียอย่างไร รุทธิ์ พนมยงค์ หัวหน้าสาขาวิชาการบริหารธุรกิจระหว่างประเทศ โลจิสติกส์และการขนส่ง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ ณรงค์ ป้อมหลักทอง นักวิชาการอิสระ ด้านการขนส่งระบบราง ร่วมแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับผลการวิจัยที่ได้รับการสนับสนุนจาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) และ สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ในรายการ "บิซิเนส ทอล์ค" กรุงเทพธุรกิจทีวี

ณรงค์กล่าวว่า โครงการ 2 ล้านล้านบาทรัฐจะต้องลำดับความสำคัญให้ดีว่าควรจะลงทุนส่วนไหนอย่างไร จึงจะสร้าง ประโยชน์กับประเทศมากที่สุด โดยการลงทุนที่เห็นด้วย คือ การลงทุนรถไฟรางคู่ 1.65 ล้านล้านบาท เนื่องจาก มีความ เหมาะสม และสร้างประโยชน์ได้จริง โดยเฉพาะเมื่อประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ เออีซี เกิดขึ้นในปี 2558 รวมไปถึง การเชื่อมโยงการขนส่งกับจีนในอนาคต

ทั้งนี้เห็นว่าการขนส่งทางรถไฟ สามารถตอบโจทย์ได้ทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นปริมาณ หรือต้นทุนที่ต่ำกว่าการขนส่งทางถนน 4-5 เท่าตัว แต่พบว่าปัจจุบัน การขนส่งทางรถไฟมีสัดส่วนแค่ 1.8% เท่านั้นซึ่งถือว่าต่ำมาก

"ที่สำคัญคือ การขนส่งทางถนนในปัจจุบันเก็บต้นทุนจากเอกชนต่ำกว่าความเป็นจริง 30% ซึ่งในขณะนี้อาจจะไม่มี ปัญหาอะไร แต่ในอนาคต เมื่อเพื่อนบ้านเข้ามาใช้มากขึ้น เท่ากับว่าไทยต้องอุดหนุนค่าใช้จ่ายให้ 30% เช่นกัน" ทั้งนี้การ แก้ปัญหาด้วยการเพิ่มค่าธรรมเนียมขนส่งทางถนนไม่ใช่ทางออกที่ ถูกต้อง แต่ต้องพัฒนาระบบรางให้มีศักยภาพ ทั้งเรื่อง ของความเร็วความปลอดภัย และต้นทุน ซึ่งจะเป็นการดึงดูดให้คนหันมาใช้บริการแทนขนส่งทางถนน ทั้งนี้การสร้างรถไฟ รางคู่จะเป็นเหมือนกระดูกสันหลังที่เชื่อมโยงตั้งแต่สิงคโปร์ไปจีนตอนใต้ จากนั้นใช้การขนส่งทางรถบรรทุกที่ปัจจุบันมีอยู่ 6-7 แสนคัน เชื่อมต่อไปยังประเทศเพื่อนบ้านทางซ้ายและขวาในรัศมีประมาณ 300 กม. หรือประมาณ 1 วัน
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42784
Location: NECTEC

PostPosted: 26/11/2013 6:52 pm    Post subject: Reply with quote

ยกเลิก การประมูลเพื่อสร้างทางคู่ ฉะเชิงเทรา - คลอง 19 - แก่งคอย เพื่อแก้ TOR
http://www.railway.co.th/srt/pr/news/viewshownews.asp?idnews=+1314
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42784
Location: NECTEC

PostPosted: 22/12/2013 3:36 am    Post subject: Reply with quote

นี่ขนาดทางคู่ยังไม่ถุึงอุดรธานี ก็ยังปั่นราคาที่ดินเมืองขอนแก่นพุ่งไป30% และ ที่ดินเมืองอุดรธานีขึ้นจากเดิม 5-10% - ถ้าทางคู่ ไปได้สะดวก จะว่ากระไรหละเนี่ย

http://www.manager.co.th/Crime/ViewNews.aspx?NewsID=9560000156486
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 75, 76, 77 ... 390, 391, 392  Next
Page 76 of 392

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©