RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311216
ทั่วไป:13151178
ทั้งหมด:13462394
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
Goto page 1, 2, 3 ... 277, 278, 279  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44251
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 18/02/2008 1:53 pm    Post subject: รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล Reply with quote

http://www.komchadluek.net/2008/02/18/x_main_a001_190490.php?news_id=190490

ท่านประธานรัฐสภาที่เคารพ

เศรษฐกิจไทยในปีนี้จะเป็นปีที่ต้องเผชิญกับปัญหาจากเศรษฐกิจโลกที่มีความรุนแรง อย่างน้อยสองประการ คือ ปัญหาหนี้ด้อยคุณภาพของอสังหาริมทรัพย์ในประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจที่ส่งผลกระทบถึงตลาดเงินและเศรษฐกิจของประเทศต่างๆ ในโลก และปัญหาราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นและก่อให้เกิดแรงกดดันต่อภาวะเงินเฟ้อในโลกและในประเทศไทย

นอกจากปัญหาเฉพาะหน้าดังกล่าวแล้ว รัฐบาลยังมีภารกิจสำคัญอื่นๆ ในการวางรากฐานการเจริญเติบโตที่มั่นคงและยั่งยืน และส่งเสริมภาคการผลิตและบริการให้สามารถปรับตัวไปสู่การผลิตสินค้าและบริการที่มีมูลค่าสูงขึ้น เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน ซึ่งเป็นปัญหาโครงสร้างระยะยาวของประเทศ ส่วนด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม สังคมไทยจะเริ่มเข้าสู่จุดเริ่มต้นของสังคมผู้สูงอายุในปี 2552 และประชากรไทยตั้งแต่เด็กจนถึงผู้สูงอายุอยู่ในภาวะที่ต้องปรับตัวเข้าสู่สังคมฐานความรู้ในยุคโลกาภิวัตน์ ในขณะที่ภาวะโลกร้อน ภัยธรรมชาติ และปัจจัยด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมีความสำคัญต่อเศรษฐกิจและคุณภาพชีวิตของประชาชนเพิ่มมากขึ้นตามลำดับ

ในช่วง 4 ปีต่อไป รัฐบาลจะดูแลปัญหาทั้งระยะสั้นและระยะยาว และมุ่งมั่นที่จะบริหารประเทศ ภายใต้หลักการสำคัญสองประการ ซึ่งรัฐบาลเชื่อมั่นว่าจะสามารถสร้างความยั่งยืนให้แก่เศรษฐกิจและสังคมไทย และสร้างความเชื่อมั่นให้แก่นักลงทุนไทยและต่างประเทศ และประชาคมโลก

ประการแรก คือ การสร้างความสมานฉันท์ให้แก่คนไทยทุกภาคส่วนที่จะต้องร่วมมือกันในการนำพาประเทศให้ผ่านพ้นวิกฤติการณ์ต่างๆ และสร้างรากฐานที่มั่นคงสำหรับประเทศในอนาคต การสร้างความสมานฉันท์นี้รวมถึงเรื่องที่สำคัญ คือ การแก้ไขและเยียวยาปัญหาในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ไปสู่แนวทางของการอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุขและสามัคคีของพี่น้องประชาชนในพื้นที่ และพัฒนาศักยภาพเศรษฐกิจในพื้นที่ภาคใต้ของประเทศให้เป็นฐานเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศ

ประการที่สอง คือ การสร้างความสมดุลและภูมิคุ้มกันให้แก่เศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งเกี่ยวข้องกับนโยบายในทุกด้าน ตั้งแต่การพัฒนาคนให้มีคุณธรรมนำความรู้ การสนับสนุนการออมระยะยาว การส่งเสริมเกษตรทฤษฎีใหม่ในพื้นที่ที่เหมาะสม การพัฒนาชุมชนให้พึ่งตนเองได้และเชื่อมโยงกับตลาดอย่างเป็นขั้นตอน จนถึงการสร้างความมั่นคงด้านพลังงาน การดูแลการเคลื่อนย้ายเงินทุน และการเพิ่มความสามารถในการใช้ประโยชน์และต่อยอดเทคโนโลยีให้เข้ากับภูมิปัญญาไทยเพื่อนำไปสู่นวัตกรรมและสร้างรายได้ให้แก่ระบบเศรษฐกิจตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งเป็นแนวทางหลักในการดำเนินงานของรัฐบาลตามแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ

นอกจากหลักการทั้งสองประการแล้ว รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันได้ให้ความสำคัญแก่

บทบาทการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาประเทศ และกลไกการตรวจสอบการดำเนินงานของภาครัฐ เพื่อให้อยู่ในกรอบแนวทางของการบริหารประเทศตามหลักธรรมาภิบาล รัฐบาลตระหนักถึงความสำคัญดังกล่าว และจะยึดเป็นแนวทางในการดำเนินงานของรัฐบาล

ท่านประธานรัฐสภาที่เคารพ

รัฐบาลได้กำหนดนโยบายการบริหารราชการแผ่นดินที่สำคัญ โดยแบ่งการดำเนินการเป็น 2 ระยะ คือ ระยะเร่งด่วนที่ต้องเริ่มดำเนินการในปีแรก และระยะการบริหารราชการ 4 ปีของรัฐบาล ดังต่อไปนี้

1. นโยบายเร่งด่วนที่จะเริ่มดำเนินการในปีแรก

รัฐบาลถือเป็นความจำเป็นเร่งด่วนในการสร้างความปรองดองสมานฉันท์ในสังคม ปราบปรามยาเสพติด สร้างความเชื่อมั่นให้แก่นักลงทุน ฟื้นฟูให้เศรษฐกิจมีความเข้มแข็ง แก้ไขปัญหาความยากจน โดยพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากเพื่อเพิ่มศักยภาพการหารายได้ ลดรายจ่าย สร้างโอกาสในอาชีพอย่างยั่งยืนให้แก่ประชาชน โดยเฉพาะเกษตรกร แรงงาน และวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มีความสำคัญเร่งด่วน โดยมีนโยบายที่สำคัญ คือ

1.1 สร้างความปรองดองสมานฉันท์ของคนในชาติและฟื้นฟูประชาธิปไตย โดยการเสริมสร้างความเข้าใจร่วมกันของประชาชนในชาติให้เกิดความสมัครสมานสามัคคีเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เพื่อให้เกิดความร่วมมือร่วมใจในการแก้ไขปัญหาวิกฤติของประเทศ และสร้างเสถียรภาพทั้งทางด้านการเมือง การปกครอง สังคม และเศรษฐกิจ โดยมุ่งถึงประโยชน์สุขของประชาชนส่วนรวมเป็นสำคัญ ซึ่งจะเป็นรากฐานที่มั่นคงในการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนต่อไป

1.2 แก้ไขปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยน้อมนำแนวทางพระราชทาน “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” มาดำเนินภารกิจในด้านความมั่นคงและด้านการพัฒนา โดยให้มีความสอดคล้องกับลักษณะเฉพาะของพื้นที่ วิถีชีวิต วัฒนธรรม และความเชื่อของประชาชน ตลอดทั้งอำนวยความเป็นธรรมและความยุติธรรม โดยเน้นการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนเพื่อให้เกิดความสงบเรียบร้อย ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน สร้างความสมานฉันท์และสันติสุขในพื้นที่โดยเร็วที่สุด

1.3 เร่งรัดแก้ไขปัญหายาเสพติดและปราบปรามผู้มีอิทธิพล โดยยังคงยึดหลักการ “ผู้เสพ คือผู้ป่วยที่ต้องได้รับการรักษา ส่วนผู้ค้า คือผู้ที่ต้องได้รับโทษตามกระบวนการยุติธรรม” ทั้งนี้ รัฐบาลจะเร่งรัดปราบปรามการค้ายาเสพติด ลดปริมาณผู้เสพยา และป้องกันมิให้กลุ่มเสี่ยงเข้าไปเป็นเหยื่อของยาเสพติด โดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนควบคู่กับมาตรการปราบปรามและบังคับใช้กฎหมายอย่างเป็นธรรม และใช้มาตรการทางกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมตัดช่องทางการหาเงินทุจริตของผู้มีอิทธิพลในทุกๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นการตัดไม้ทำลายป่า การค้ามนุษย์ และการเป็นเจ้ามือการพนัน เป็นต้น

1.4 ดำเนินมาตรการในการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนและผู้ประกอบการ โดยดูแลเสถียรภาพของค่าเงินบาท ระดับราคาสินค้าอุปโภคบริโภค และราคาพลังงานให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมและเป็นธรรมแก่ผู้บริโภคและผู้ผลิต พร้อมทั้งจัดหาสินค้าราคาประหยัดจำหน่ายเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของผู้มีรายได้น้อย

1.5 เพิ่มศักยภาพของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง ให้เป็นแหล่งเงินหมุนเวียนในการลงทุน สร้างงานและอาชีพ สร้างรายได้และลดรายจ่ายให้แก่ประชาชนในชุมชนและวิสาหกิจขนาดเล็กในครัวเรือน พัฒนากองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองที่มีการบริหารจัดการที่ดี ให้สามารถยกระดับเป็นธนาคารหมู่บ้านและชุมชน

1.6 จัดสรรงบประมาณตามขนาดประชากร (Small Medium Large: SML) ให้ครบทุกหมู่บ้านและชุมชน เพื่อสร้างโอกาสให้ชุมชนสามารถแก้ไขปัญหาของชุมชนด้วยตนเอง และพัฒนาโครงการที่จะก่อให้เกิดรายได้อย่างยั่งยืน พัฒนาสินทรัพย์ชุมชน อนุรักษ์และรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของชุมชน เพื่อให้เกิดการเชื่อมโยงการใช้ทรัพยากรของรัฐ ท้องถิ่น และจังหวัด อย่างมีประสิทธิภาพ

1.7 สานต่อโครงการธนาคารประชาชน เพื่อกระจายโอกาสการเข้าถึงแหล่งเงินให้แก่ประชาชนผู้มีรายได้น้อย สร้างทางเลือกและลดการพึ่งพาแหล่งเงินกู้นอกระบบ ซึ่งจะทำให้ประชาชนมีโอกาสในการสร้างงาน สร้างรายได้ด้วยตนเอง

1.8 สนับสนุนสินเชื่อแก่ผู้ประกอบการขนาดกลาง ขนาดย่อม และวิสาหกิจชุมชน เพื่อสร้างโอกาสในการลงทุนและสร้างรายได้ ผ่านสถาบันการเงินของรัฐและธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย

1.9 เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการโครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ เพื่อให้แต่ละชุมชนสามารถใช้ทรัพยากรและภูมิปัญญาท้องถิ่นในการพัฒนาสินค้า โดยรัฐพร้อมที่จะสนับสนุนให้ชุมชนเข้าถึงองค์ความรู้สมัยใหม่ แหล่งเงินทุน และพัฒนาขีดความสามารถในการบริหารจัดการและการตลาด เพื่อเชื่อมโยงสินค้าจากชุมชนสู่ตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ

1.10 พักหนี้ของเกษตรกรรายย่อยและยากจน ที่ผ่านกระบวนการจัดทำแผนฟื้นฟูอาชีพ เพื่อสร้างโอกาสให้เกษตรกรสามารถยกระดับคุณภาพชีวิตด้วยการสร้างรายได้และอาชีพที่มั่นคง

1.11 สร้างระบบประกันความเสี่ยงให้เกษตรกร เพื่อลดความเสี่ยง อันเนื่องมาจากผลกระทบความเสียหายจากภัยธรรมชาติ และสร้างกลไกในการสร้างเสถียรภาพราคาของสินค้าเกษตรที่เป็นธรรม

1.12 ขยายบทบาทของศูนย์ซ่อมสร้างเพื่อชุมชน (Fix-it Center) และสถาบันอาชีวศึกษา เพื่อให้คำแนะนำและถ่ายทอดความรู้ในการใช้ การดูแลรักษาและซ่อมบำรุงเครื่องมืออุปกรณ์การประกอบอาชีพ เครื่องใช้ในครัวเรือน รวมทั้งสร้างเครือข่ายศูนย์ฯ กับชุมชนและวิสาหกิจเพื่อให้เกิดการพัฒนานวัตกรรม ระบบรับรองและตรวจสอบคุณภาพในขั้นต้นของสินค้าชุมชน

1.13 สร้างโอกาสให้ประชาชนได้มีที่อยู่อาศัยอย่างทั่วถึง เช่น โครงการ “บ้านเอื้ออาทร” “บ้านรัฐสวัสดิการ” และ “ที่อยู่อาศัยของตนเองเป็นครั้งแรก” โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ซึ่งสามารถเดินทางเชื่อมระหว่างกรุงเทพมหานครและปริมณฑลด้วยระบบขนส่งมวลชนได้อย่างสะดวก

1.14 เร่งรัดการลงทุนที่สำคัญของประเทศ เช่น การพัฒนาระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล 9 สาย รถไฟความเร็วสูง รถไฟทางคู่ รถไฟชานเมือง และรถไฟก้างปลาเชื่อมโยงจังหวัดที่ยังไม่มีรถไฟขนส่งผู้โดยสารและขนส่งสินค้า และการพัฒนาขีดความสามารถของท่าอากาศยานสากล เป็นต้น เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง และเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
1.15 ......
/
/
/
--- น่าจะรื้อฟื้นขบวนรถรวมขึ้นมาใหม่ ในสายสุพรรณ กันตัง และ ....สงขลา Shocked
/
/
/


Last edited by Mongwin on 24/11/2009 11:34 am; edited 5 times in total
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42554
Location: NECTEC

PostPosted: 26/02/2008 1:04 pm    Post subject: Reply with quote

คมนาคมลุยรถไฟฟ้า7แสนล้าน สันติลั่นปีนี้ตอกเข็ม1-2สาย รฟม.ขายซอง'สีม่วง'มี.ค.

Thaipost 26 กุมภาพันธ์ 2551 กองบรรณาธิการ

"สันติ" เร่งเครื่องเมกะโปรเจ็กต์รถไฟฟ้า ยันภายในปี 51 ตอกเสาเข็มแน่ 1-2 สาย คาดรัฐบาล "สมัคร" ละเลงงบลงทุนเฉียด 7 แสนล้าน


รฟม.เริ่มกระบวนการประมูลสายสีม่วง มี.ค.นี้ เผยนายกฯ สั่งลุย ไม่ต้องหวงเรื่องเงินกู้ จ่อเซ็นเจบิคทันทีหากสัญญาพร้อม

นายสันติ พร้อมพัฒน์ รมว.คมนาคม เปิดเผยถึงโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าทั้ง 9 สายทางตามนโยบายรัฐบาล ว่า จะเร่งดำเนินการในเส้นทางที่มีความพร้อมมากสุดก่อน อย่างน้อย 2 เส้นทาง เช่น สายสีม่วง ช่วงบางซื่อ-บางใหญ่ และสายสีน้ำเงิน ช่วงหัวลำโพง-ท่าพระ สายสีแดง ซึ่งได้มอบนโยบายกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปเร่งรัดการดำเนินการตามแผน และประกาศไว้แล้วในปี 2551 นี้ จะมีการตอกเข็มก่อสร้างรถไฟฟ้าเส้นทางใหม่แน่นอน เบื้องต้น 1-2 สาย โดยต้องคำนึงถึงประโยชน์ในการให้บริการประชาชนด้วย

"เราจะเริ่มทำเลยคือ 5 เส้นทางเดิมจากรัฐบาลชุดที่แล้ว ผมยืนยันว่าภายในปีนี้จะต้องได้ลงเสาเข็มแน่ๆ โดยดูว่าเส้นไหนพร้อมสุดก็จะลงมือทันที เช่น สายสีม่วง ซึ่งไม่มีปัญหาเรื่องการเวนคืนที่ดินและไม่ต้องปรับแนวเส้นทางเพิ่มเติม" นายสันติกล่าว

แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคมกล่าวว่า โครงการรถไฟฟ้า 5 เส้นทางเดิมที่ผ่านความเห็นชอบจากรัฐบาลชุดที่แล้ว ถือว่าเป็นโครงการระยะที่ 1 จะดำเนินการภายในปี 2551-2552 ประกอบด้วย

1. สายสีแดง ตลิ่งชัน-บางซื่อ-รังสิต-มักกะสัน มูลค่า 105,900 ล้านบาท,
2. สายสีม่วง บางใหญ่-บางซื่อ 54,800 ล้านบาท,
3. สายสีน้ำเงิน บางซื่อ-ท่าพระ-หัวลำโพง 58,200 ล้านบาท,
4. สายสีเขียวเข้ม แบริ่ง-สมุทรปราการ 24,600 ล้านบาท และ
5. สายสีเขียวอ่อน หมอชิต-สะพานใหม่ 30,700 ล้านบาท

ส่วน 9 สายทางใหม่ ประกอบด้วย
1.หัวลำโพง-มหาชัย มูลค่า 53,500 ล้านบาท
2.ดอนเมือง-รังสิต 12,600 ล้านบาท
3.สะพานใหม่-ลำลูกกา 16,400 ล้านบาท
4.บางหว้า-พุทธมณฑล 20,000 ล้านบาท
5.บางนา-บางพลี 8,200 ล้านบาท
6.ศาลายา-มีนบุรี 109,400 ล้านบาท
7.บางซื่อ-ดาวคะนอง
52,900 ล้านบาท
8.วงแหวนบางนา-บางหว้า-บางนา
140,200 ล้านบาท และ

9.วัดใหญ่-ป้อมพระจุล 7,500 ล้านบาท

โดยเส้นทางที่จะเริ่มดำเนินการภายในปี 2551 คือ

1. ดอนเมือง-รังสิต,
2. บางหว้า-พุทธมณฑล และ
3. ศาลายา-มีนบุรี

รวมมูลค่าโครงการของรัฐบาลชุดนี้ 420,200 ล้านบาท และถ้ารวมโครงการจากรัฐบาลชุดก่อน ทำให้รัฐบาลชุดนี้ใช้งบลงทุนรวม 695,000 ล้านบาท

นายประภัสร์ จงสงวน ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) กล่าวว่า นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี ได้ให้นโยบายให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเดินหน้าโครงการรถไฟฟ้าทั้ง 9 สายอย่างเต็มที่ โดยไม่ต้องเป็นห่วงในเรื่องเงินทุน เพราะมีวิธีการหาเงินได้หลายวิธี

ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 25 ก.พ.ได้มีการประชุมร่วมกับเจ้าหน้าที่ของธนาคารเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (เจบิค) และกระทรวงการคลัง เพื่อดำเนินการจัดทำร่างสัญญาเงินกู้สำหรับรถไฟฟ้าสายสีม่วง บางใหญ่-บางซื่อ ฉบับที่ 1 วงเงิน 1.8 หมื่นล้านบาท จากวงเงินกู้ทั้งหมด 3.3 หมื่นล้านบาท ที่จะต้องแยกเป็น 3 สัญญา และทยอยทำสัญญาเป็นรายปี

"รฟม.ยังยืนยันกำหนดการเดิมที่จะเริ่มกระบวนการประกวดราคารถไฟฟ้าสายสีม่วง ตั้งแต่เดือน มี.ค.เป็นต้นไป ขณะนี้รอเพียงเอกสารจากทางเจบิคเท่านั้น เมื่อได้เอกสารแล้วจะเริ่มเปิดขายซองประกวดราคาให้กับเอกชน จากนั้นให้แต่ละบริษัทกลับไปทำข้อเสนอ ซึ่งแบ่งเป็น 3 ซอง คือ ข้อเสนอด้านคุณสมบัติ ข้อเสนอด้านเทคนิค และข้อเสนอด้านการเงิน โดยขั้นตอนนี้จะใช้เวลา 3 เดือน จากนั้น รฟม.จะรวบรวมข้อเสนอส่งให้ทางเจบิคพิจารณา เนื่องจากเป็นการประกวดราคาแบบสากล ส่วนการลงนามสัญญาเงินกู้ ร่างสัญญาพร้อมเมื่อไรก็ลงนามได้ทันที" นายประภัสร์กล่าว.
Back to top
View user's profile Send private message
CENTENNIAL
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 30/03/2006
Posts: 3642
Location: Thailand

PostPosted: 26/02/2008 1:21 pm    Post subject: Reply with quote

เฮียวิซซี่แบร์ฮะ ผมสงสัยว่า ทำไม ย่าน ม.รามคำแหง วิทยาเขตหัวหมาก ที่มีประชากรแถวนั้นเป็นหลายแสนคน มี ม.เอแบค มีสนามราชมังคลา มีซอยแยกที่คนมากมาย เช่น ซอยมหาดไทย ซอยราม 53
ทำไมถึงไม่มีรถไฟฟ้าผ่านซักสายเลยฮะ


แล้วรถไฟก้างปลานี่ เป็นแค่จินตนาการหรือเปล่าฮะ เพราะไม่เคยเห็นแผนนี้มาก่อนเลย ไม่ว่าจะเป็นโครงการของฝ่ายไหน
เฮียเคยขุดเจอไหมฮะ ถ้าเคยเจอ ผมชมแผนโครงการนี้ซักหน่อยนะ Very Happy
Back to top
View user's profile Send private message Send e-mail
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42554
Location: NECTEC

PostPosted: 26/02/2008 1:37 pm    Post subject: Reply with quote

CENTENNIAL wrote:
เฮียวิซซี่แบร์ฮะ ผมสงสัยว่า ทำไม ย่าน ม.รามคำแหง วิทยาเขตหัวหมาก ที่มีประชากรแถวนั้นเป็นหลายแสนคน มี ม.เอแบค มีสนามราชมังคลา มีซอยแยกที่คนมากมาย เช่น ซอยมหาดไทย ซอยราม 53
ทำไมถึงไม่มีรถไฟฟ้าผ่านซักสายเลยฮะ


แล้วรถไฟก้างปลานี่ เป็นแค่จินตนาการหรือเปล่าฮะ เพราะไม่เคยเห็นแผนนี้มาก่อนเลย ไม่ว่าจะเป็นโครงการของฝ่ายไหน
เฮียเคยขุดเจอไหมฮะ ถ้าเคยเจอ ผมชมแผนโครงการนี้ซักหน่อยนะ Very Happy


หมวดเอ็มครับ ก็สาย มีบุรี - ศาลายา ที่ดัดแปลงมาจาก สายบางกะปิ - บางยำหรุ นั่นประไร ที่ ผ่านหน้า สนามกีฬาหัวหมาก และ ม. ราม
Back to top
View user's profile Send private message
puggi
3rd Class Pass
3rd Class Pass


Joined: 04/07/2006
Posts: 119

PostPosted: 26/02/2008 2:54 pm    Post subject: Reply with quote

ไม่อยากจะขัดอะไร แต่ว่า เงินน่ะมีมั้ย

เห็น ใครเข้ามาเป็นรัฐบาลก็บอกว่าจะทำนู่น จะทำนี่ รวมเงิน แล้ว มากกว่างบประมาณประเทศไทย ไม่รู้กี่เท่า ต่อให้ กู้ เต็ม ลิมิต 60% gdp ก็ยังทำไม่ได้ขนาดนั้นหรอก

พยายามทำ ของเดิมๆ ก่อนดีกว่ามั้ย สายสีม่วง สีนำเงิน

ส่วนต่อ ขยาย บีทีเอส เอาแค่นี้ ก่อน ก็รากเลือดแล้ว

อ้อ ขยาย รถไฟ รางคู่ อีกด้วย ไม่ต้องไป ขยายราง

เฮ้อ ขายฝัน มากี่ปี ประชาชน ไม่เคยได้ สัมผัส สักที Evil or Very Mad
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42554
Location: NECTEC

PostPosted: 26/02/2008 2:57 pm    Post subject: Reply with quote

New lines with a price tag of nearly 700 Billion Baht
Thai Post - 25 Feb 2008

Mr. Santi (MOT) said he will have full committement for the first 5 lines initiated by the Old ginger Government which can be listed as follows:

1. Red line commuter: Talingchan - Bangsue - Rangsit - Makkasan with a price tag of 105.9 billion Baht
2. Purple line: Bangyai - Bangsue -> 54.8 billion Baht
3. Blue Ring: Bangsue - Tha Phra - Hua Lampahong 58.2 billion Baht
(No section from Tha Phra to Bang Khae at the time being)
4. Paknam extension: Bearing - Samut Prakarn 24.6 billion Baht
5. Phaholyothin extension: Mochit - Saphan Mai 30.7 billion Baht

These 5 lines have reached the point that PPP will have no hope to win the new election from BKK voters as well as investors asnd unless they have started the construction and approving the funds for these 5 lines initiated by the old Ginger ... a calssing case of the intiiator and the one who finis the project are not the same person.

For the case fo 9 Neww lines of Samak, it can be classified as follows:

1. Hua Lamphong - Mahachai 53.5 billion Baht -> need negotiation and connection with Crown Property bureau since the line will have to pass through Si Phraya area which belongs to Crown Property bureau .. to ensure approval for this section

2. Donmueang - Rangsit (Rangsit extension of BTS to win popular votes by pickign up regular passenger at Future Park, Major Rangsit, Si Mum Mueang market) - 12.6 billion Baht

3. Saphan Mai - Lam lookka (Lam Lookka extension) to please Samak as well as RTAF since his men has real estate deal aroudn Lam Lookka area. - 16.4 billion Baht

4. Bang Wah - Phutthamonthon (New extension of BTS after transferring the section fo Blue line from Tha Phra to Bang Khae to BTS) - 20 billion Baht

5. Bang Na - Bang Plee -> the line to Southern terminal of Suvannabhum to please Samut Prakarn voters as well as those who work and study along Bang bang Pakogn highway - 8.2 billion Baht (! -> at Graded line?!)
6. Salaya - Minburi -> the expanded Orange line beyond Bang Kapi and bang Bumru - 109.400 billion Baht ... passing near Chitladda palace
7. Bangsue - dao Khanong (the SOuthern section fo Purple line) ... need connection to Sukhothai Palace - 52.9 billion Baht
8. Gold Ring - Bang na -Bang Wah - Bang Na -> almost the same as the ring line initiated when Samak was BMA governor - 140.2 billion Baht

9. Wat Yai - fort Chulachomklao - 7.5 billion Baht (Another at Graded line)

The lines which will be tagged alogn the 5 lines of the old Ginger are

1. Donmueang - Rangsit (Rangsit extension of BTS to win popular votes by pickign up regular passenger at Future Park, Major Rangsit, Si Mum Mueang market) - 12.6 billion Baht

2. Bang Wah - Phtthamonthon (New extension of BTS after transferring the section fo Blue line from Tha Phra to Bang Khae to BTS) - 20 billion Baht

3. Salaya - Minburi (the expanded Orange line beyond Bang Kapi and bang Bumru - 109.400 billion Baht ... passing near Chitladda palace)

Total cost of The 9 lines by Samak: 420.2Billion Baht
Total cost of The 9 lines by Samak + 5 lines by the old Ginger: 695 Billion Baht (!)

Now, Minitry of Finance and JBIC is drafting the loan contract for the first batch of JBIC loan at 18 billion Baht (from total loan of 33 billion Baht). The contract will have to be issued year by year ... and Wayuphak Funds 2 will cover the rest ... of Ministry of Energy refused to allow Ministry of Finnace to meddle on energy funds.
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44251
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 26/02/2008 6:30 pm    Post subject: Reply with quote

CENTENNIAL wrote:
แล้วรถไฟก้างปลานี่ เป็นแค่จินตนาการหรือเปล่าฮะ เพราะไม่เคยเห็นแผนนี้มาก่อนเลย ไม่ว่าจะเป็นโครงการของฝ่ายไหน
เฮียเคยขุดเจอไหมฮะ ถ้าเคยเจอ ผมชมแผนโครงการนี้ซักหน่อยนะ Very Happy


ผมก็ไม่เคยเห็นเหมือนกันครับ สงสัยจะแค่โครงการในฝันครับ
ตอนนี้ก็เป็นแค่ก้างปลากระป๋องครับ เปื่อยกรอบเป็นท่อนๆ แบบสายวงเวียนใหญ่ มหาชัย แม่กลอง
กับมีก้างโผล่มานิดเดียวแบบ สวรรคโลก สุพรรณบุรี กันตัง คีรีรัฐนิคม
และก้างเปื่อยหมดแล้วแบบ หาดใหญ่-สงขลา
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42554
Location: NECTEC

PostPosted: 28/02/2008 5:03 pm    Post subject: Reply with quote

"สันติ"ยอมรับรถไฟฟ้า15 บาทแค่ฝันพึ่งระบบตั๋วร่วมช่วยเฉลี่ยต้นทุนเอกชน

โดย ผู้จัดการรายวัน 28 กุมภาพันธ์ 2551 08:19 น.


ผู้จัดการรายวัน-"สันติ"เผยต้องมีตั๋วร่วมถ้าจะให้ค่าโดยสารรถไฟฟ้าต่ำที่สุด ยอมรับ 15 บาท เป็นแค่ฝัน ขณะที่ แหล่งเงินจากจีนสนใจเตรียมเจรจาขอลงทุน ยอมรับแนวรถไฟฟ้ายังไม่นิ่งคาดมี.ค.ได้ข้อยุติก่อนกำหนดแผนการเงิน

นายสันติ พร้อมพัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเปิดเผยภายหลังการประชุมร่วมกับนายสหัส บัณฑิตกุล รองนายกรัฐมนตรี ซึ่งเรียกประชุมกระทรวงที่อยู่ในกำกับดูแล วานนี้ (27 ก.พ.) ว่า ในส่วนของกระทรวงคมนาคม มีโครงการสำคัญที่รองนายกฯให้ความสนใจคือ รถไฟฟ้าและโครงการแลนด์บริจด์ เนื่องจากเห็นว่าจะสามารถส่งเสริมเศรษฐกิจในภาพรวมได้ ซึ่งกระทรวงคมนาคมจะเร่งหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อเป็นการทำความเข้าใจเบื้องต้นถึงวิธีการและรูปแบบจัดทำงบประมาณ ของปี 2552 ที่ถูกต้อง ซึ่งรัฐธรรมนูญได้กำหนดไว้ค่อนข้างละเอียด

สำหรับโครงการรถไฟฟ้า 9 สายว่า ภายในเดือนมี.ค.นี้น่าจะมีความชัดเจนในเรื่องแนวเส้นทาง ซึ่งในหลักการเส้นทางใดที่มีการต่อขยายออกไปหากไม่กระทบกับแนวเส้นทางเดิมก็ให้ดำเนินการในส่วนของเส้นทางเดิมออกไปได้เลย ส่วนที่ต่อขยายก็จะต้องเร่งสรุปความชัดเจนและหารือร่วมกับรองนายกฯ อีกครั้ง โดยมีเป้าหมายการลงทุนโครงการรถไฟฟ้าเพื่อทำให้ค่าโดยสารต่ำที่สุด ดังนั้นแนวทางการให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการเดินรถนั้นจะต้องมีเงื่อนไขเรื่องตั๋วร่วม เพื่อเฉลี่ยต้นทุนและทำให้ผู้โดยสารได้รับประโยชน์มากที่สุด เนื่องจากปัจจุบันการเชื่อมต่อการเดินทางระหว่างรถบบรถไฟฟ้าบีทีเอสกับรถไฟใต้ดินยังต่างคนต่างเก็บทำให้ค่าโดยสารสูง

"ยอมรับว่า ค่าโดยสารรถไฟฟ้าที่ 15 บาท เป็นความฝันที่อยากให้เกิดขึ้นแต่จะเป็นความจริงหรือไม่ ก็ต้องอยู่ที่วิธีการบริหารจัดการด้วย โดยรัฐบาลมีเป้าหมายที่จะทำให้อัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้าเป็นอัตราที่ผู้โดยสารรู้สึกพอใจนั่นก็คือต้องเป็นอัตราที่ต่ำที่สุด และความสะดวกสบาย ให้กับผู้โดยสารรวมถึงจะต้องไม่มีการผูกขาดหรือข้อจำกัด เรื่องการเชื่อมต่อ เหมือนกรณีรถไฟฟ้าบีทีเอส ที่กทม.พบปัญหากับส่วนต่อขยาย"นายสันติกล่าว

สำหรับกรอบการลงทุนรถไฟฟ้า 9 สายนั้น เนื่องจากสูงกว่า 7 แสนล้านบาทดังนั้น จะต้องใช้ทั้งเงินกู้ภายในประเทศ เช่น กรุงไทยบอนด์ งบประมาณ เงินกู้จากธนาคารเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศญี่ปุ่น หรือ เจบิก รวมถึงเงินลงทุนจากจีนที่ให้ความสนใจและจะส่งตัวแทนเข้าพบ ซึ่งจีนให้ความสนใจในโครงการมาก โดยจะต้องหารือกับสำนักงบประมาณ กระทรวงการคลัง สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ภายหลังแนวเส้นทางมีความชัดเจนแล้ว ซึ่งกรณีเงินกู้หากมีเงื่อนไขที่ดีก็จะดีกว่าการใช้งบประมาณมาดำเนินการ

ทั้งนี้ตามแผนเบื้องต้นการดำเนินโครงการรถไฟฟ้า 9 สายของกระทรวงคมนาคมนั้น จะเร่งดำเนินการระหว่างปี 2551-2553 ระยะทางรวมเกือบ รวมระยะทาง 349 กม เป็นเงินลงทุนของรัฐ ในส่วนของโครงสร้างพื้นฐาน 523,679 ล้านบาท ส่วนที่เหลือจะเป็นการให้เอกชนลงทุนระบบเดินรถเอกชนลงทุนระบบเดินรถ 171,615 ล้านบาท รวมมูลค่าโครงการกว่า 7 แสนล้านบาท
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42554
Location: NECTEC

PostPosted: 28/02/2008 8:25 pm    Post subject: Reply with quote

"หมัก-สันติ"เล่นเกมรถไฟฟ้า ชิงประมูลม่วง-แดง-เขียว
ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 ปีที่ 31 ฉบับที่ 3979 (3179)

รถไฟฟ้า 9 สายส่ออลเวง เหตุจากนโยบาย "สมัคร" กับ "สันติ พร้อมพัฒน์" เป็นคนละพิมพ์เขียว สนข.ต้องควัก 30 ล้าน จ้างบริษัทที่ปรึกษาจูนโมเดล เผยคมนาคมดัน 5 เส้นทางแจ้งเกิด เผยระยะเร่งด่วนขอเดินหน้าลุย 3 สายที่พร้อมที่สุดก่อน

1. แดงช่วง บางซื่อ-ตลิ่งชัน และ
2. แดงช่วง บางซื่อ-รังสิต (รวมการสร้างอาคารสถานีกรุงเทพใหม่ที่บางซื่อ) และ
3. สีม่วง ช่วงบางซื่อ-บางใหญ่

ดีเดย์ประมูลปีนี้แน่ บิ๊กรับเหมาเคลื่อนไหวคึกคัก จับคู่พันธมิตรจากญี่ปุ่น จีน เยอรมนีแย่งเค้กรถไฟฟ้า

นับวันการผลักดันก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้า หนึ่งในเมกะโปรเจ็กต์ที่รัฐบาลหวังจะให้ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจก็ยิ่งมีความไม่แน่นอน โดยเฉพาะอย่างยิ่งนโยบายของนายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี ที่เปิดประเด็นโครงการรถไฟฟ้า 9 สาย ที่ดูเหมือนยังไม่ได้ตกผลึกหลอมรวมกันได้กับแผนก่อสร้างรถไฟฟ้า 5 สายของกระทรวงคมนาคม สร้างความสับสนให้กับสาธารณชนทั่วไป ขณะเดียวกันเริ่มมีการตั้งข้อสังเกตว่าการดำเนินการในทางปฏิบัติอาจกำลังมีปัญหา

รถไฟฟ้าคนละพิมพ์เขียว

แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคม เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า แม้รัฐบาลสมัคร 1 พยายามผลักดันโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้า เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุน และต้องการกระตุ้นเศรษฐกิจ แต่ถึงขณะนี้ดูเหมือนทิศทางการดำเนินงานของนายกฯ และนายสันติ พร้อมพัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ไปคนละทิศ ละทางไม่ชัดเจนว่าโครงการนี้จะได้ข้อสรุปอย่างไร

เห็นได้จากนายกฯต้องการก่อสร้างรถไฟฟ้า 9 สาย 9 แฉก ระยะทาง 300 กิโลเมตร ภายใน 3 ปี ประกอบด้วย

1. สายหมอชิต-สะพานใหม่-ลำลูกกา 30 กิโลเมตร (ส่วนต่อขยายพหลโยธิน ที่ เพิ่มเข้าไปอีก)
2. สายบางใหญ-ไทรน้อย 25 กิโลเมตร (สายม่วงที่ ได้รับการขยายทาง)
3. สายตากสิน-พุทธมณฑลสาย 4 ระยะทาง 21.7 กิโลเมตร (มีมหกรรม ตัดสายน้ำเงิน ช่วงท่าพระ - บางแคให้บีทีเอส แล้วยิดไปถึงพุธมณฑลสาย 4 ดีที่ไม่หักเลี้ยว ไปมหิดลศาลายา)
4. สายสำโรง-เมืองโบราณ 17 กิโลเมตร (ส่วนต่อขยายปากน้ำ ที่ได้รับการขยายเอาใจนิคมอุตสาหกรรม)
5. สายดอนเมือง-ฟิวเจอร์ ปาร์ค รังสิต 8 กิโลเมตร (ส่วนต่อขยายพหลโยธินที่มีส่วนแยก ที่ ปากทางหัวสนามบินดอนเมือง เพื่อเอาใจชาวบ้านย่านสี่มุมเมือง และ ฟิวเจอร์ปาร์ก)

6. สายคลองมหานาค-สุขสวัสดิ์-ป้อมพระจุล 32.5 กิโลเมตร (สายม่วง ส่วนใต้)ที่น่ากลัวต่องแยกจาก สายม่วงส่วนเหนือ เพราะ ....)
7. สายมีนบุรี-ศาลายา 51 กิโลเมตร (สายสีส้มที่ขยายจากบางบำหรุไปตามทางรถไฟสายใต้ ไปที่ศาลายา)

8. สายวงแหวนรอบใน บางซื่อ-คลองเตย 29 กิโลเมตร (วงแหวนรอบในสายน้ำเงิน) และ

9. สายวงแหวนรอบนอก จากเกษตรนวมินทร์-ศรีนครินทร์-เทพารักษ์-ปู่เจ้าสมิงพราย-ราชพฤกษ์-พระรามที่ 5 ระยะทาง 88 กิโลเมตร (วงแวนทองของสมัคร)

โดยไม่มีสายบางซื่อ-ตลิ่งชัน และบางซื่อ-รังสิต หรือรถไฟฟ้าสายสีแดง ที่การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดให้ผู้รับเหมายื่นซองประมูลช่วงปลายปีที่ผ่านมาและได้ให้กระทรวงคมนาคมนำแผนแม่บทเดิมและสายใหม่มาบูรณาการร่วมกัน จากนั้นจะลงไปกำกับดูแลการก่อสร้างเอง โดยนั่งเป็นประธานคณะกรรมการกำกับดูแลการก่อสร้าง 1 ในกรรมการ 5 ชุดที่จะแต่งตั้งขึ้นมากำกับดูแลโครงการเมกะโปรเจ็กต์

ขณะที่แนวคิดของพรรคพลังประชาชนที่ส่งนายสันติมานั่งเก้าอี้ รมว.คมนาคม มีแนวคิดจะ ดำเนินโครงการส่วนที่เห็นว่ามีความพร้อมก่อนโดยผลักดันสร้าง

1. สายสีแดงช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน และ
2. สายสีแดง บางซื่อ-รังสิต และ
3. สีม่วงบางซื่อ-บางใหญ่ ให้ได้ ส่วนที่เหลือจะทยอยก่อสร้างในปีต่อๆ ไป

(มีเหตุผลดีมาก)
"สันติ" ชู 5 สาย แจ้งเกิด "แดง-ม่วง"

นายสันติเปิดเผยว่า จะเดินหน้าแผนการลงทุนระบบขนส่งมวลชนตามนโยบายของนายกฯ โดยสร้างรถไฟฟ้า 9 สาย 300 กิโลเมตร วงเงินลงทุน 7 แสนล้านบาท แบ่งเป็นรัฐลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน 5.23 แสนล้านบาท เอกชนลงทุนระบบเดินรถ 1.71 แสนล้านบาท ครอบคลุมพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล

โดยแบ่งเป็นระยะที่ 1 ระยะเร่งด่วน เริ่มดำเนินการปี 2551 เปิดประมูลและก่อสร้าง 5 สาย ระยะทาง 136 กิโลเมตร วงเงิน 2.8 แสนล้านบาท รัฐลงทุนโครงสร้าง 223,286 ล้านบาท เอกชนลงทุนระบบเดินรถ 50,962 ล้านบาท เป็นสายที่พร้อมอยู่แล้ว คือ

1. สายสีแดง บางซื่อ-ตลิ่งชัน และ
2. สายแดงช่วงบางซื่อ-รังสิต
3. สายสีม่วง บางซื่อ-บางใหญ่
4. สายสีน้ำเงิน บางซื่อ-ท่าพระ-หัวลำโพง
5. สายสีเขียว แบริ่ง-สมุทรปราการ และ
6. สายหมอชิต-สะพานใหม่

แต่ที่จะประมูลได้เลย มี 3 สาย คือ สีแดงช่วง บางซื่อ-ตลิ่งชัน และบางซื่อ-รังสิต และสีม่วง ช่วงบางซื่อ-บางใหญ่

ส่วนระยะที่ 2 เพิ่มเติมจากนโยบายของนายกฯ เริ่มในปี 2552 วงเงิน 4.2 แสนล้านบาท 125 กิโลเมตร มี

1. สะพานใหม่-ลำลูกกา
2. สายดอนเมือง-ฟิวเจอร์ ปาร์ค รังสิต
3. สายบางหว้า-พุทธมณฑล
4. สายมหานาค-ป้อมพระจุล
5. สายสมุทรปราการ-เมืองโบราณ
6. สายมีนบุรี-ศาลายา

ที่จะดำเนินการในปี 2553 คือรถไฟฟ้าวงแหวน 88 กิโลเมตร (เกษตรนวมินทร์-ศรีนครินทร์-เทพารักษ์-ปู่เจ้าสมิงพราย-ราชพฤกษ์-พระรามที่ 5)

"ใน 3 ปีเป็นโครงการที่พร้อมก่อสร้างได้ก่อนเลย ที่เหลือคงทยอยทำจนครบ 9 สาย"

เมื่อถามว่าทั้ง 5 สายที่จะก่อสร้างได้รับความเห็นชอบจากนายกฯหรือยัง นายสันติกล่าวว่า ทั้ง 9 สายที่นายกฯกล่าวไม่ได้เปลี่ยนแปลงแผนแม่บท เพียงแค่ต่อขยายออกไปชานเมืองทำให้การลงทุนต่ำ ถือเป็นแนวคิดเดียวกันแต่จะดูว่าเส้นไหนพร้อมก่อนก็ทำไปก่อน ส่วนแหล่งเงินจะกู้ทั้งในและต่างประเทศ บางส่วนเป็นเงินงบประมาณ แต่ที่สนใจปล่อยกู้มีธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) จะให้กู้โดยออกพันธบัตร นอกนั้นมีธนาคารเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่นหรือเจบิก ล่าสุดจีนก็สนใจในลักษณะให้กู้เงินเพื่อสร้างรถไฟฟ้า และชำระคืนภายหลังหรือใช้วิธีแลกเปลี่ยนสินค้าหรือบาร์เตอร์เทรดสินค้าด้านเกษตร เช่น ยางพารา

ทบทวนแผนแม่บทใหม่ สนข.จ่าย 30 ล.

ด้านนายไมตรี ศรีนราวัฒน์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่ง (สนข.) เปิดเผยว่า จะเสนอแผนให้รัฐบาลลงทุนก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้า 9 สายตามนโยบายนายกฯ โดยส่วนมีความพร้อมก็จะเดินหน้าไปก่อน เนื่องจากบางโครงการคืบหน้าไปมากแล้ว อย่างการเวนคืนที่ดิน การออกแบบรายละเอียด จึงไม่อยากให้ล่าช้าต่อไปอีก

ส่วนที่จะเพิ่มเติมนั้นจะต้องศึกษาความเหมาะสมโครงการ หลังจากนั้นจึงจะก่อสร้างเพิ่ม ไม่ว่าสายที่จะต่อไปลำลูกกา รังสิต ไทรน้อย เมืองโบราณ ศาลายา พุทธมณฑลสาย 4 มีนบุรี ป้อมพระจุล เป็นต้น

"จะเร่งก่อสร้างส่วนที่เป็นไข่แดงก่อน 5 สาย คือ สีแดง บางซื่อ-ตลิ่งชัน คาดว่าจะเซ็นสัญญากับผู้รับเหมาได้ในเดือนพฤษภาคมนี้ จะทำเพิ่มเติมเป็นฟีดเดอร์ภายหลัง ส่วนสีเขียว หมอชิต-สะพานใหม่ และแบริ่ง-สมุทรปราการ อยู่ระหว่างออกแบบรายละเอียด จะแล้วเสร็จเมษายนนี้"

ส่วนสีน้ำเงินคงยังไม่ดำเนินการ ต้องรอดูความชัดเจนก่อน เพราะมีบางส่วนแตกต่างไปจากแผนเดิม เนื่องจากนโยบายของนายกฯต้องการให้เป็นวงแหวนชั้นใน เช่นเดียวกับรถไฟฟ้าวงแหวน ที่ต้องศึกษาความเหมาะสมของโครงการว่าคุ้มทุนที่จะก่อสร้างหรือไม่

"เร็วๆ นี้ สนข.จะว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษามา ทบทวนแผนแม่บทใหม่ โดยดูของเดิมที่ สนข. ศึกษาไว้กับนโยบายใหม่ของนายกฯ ใช้เงินค่าจ้างประมาณ 30 ล้านบาท เพื่อศึกษาความเหมาะสมของแต่ละโครงการว่ามีความเป็นไปได้และคุ้มทุนหรือไม่ จะใช้เวลาศึกษา 6-8 เดือน"

เทียบแผนแม่บทรถไฟฟ้า

เมื่อเทียบแผนแม่บทรถไฟฟ้า 10 สาย และโครงข่ายตามดำริของนายกฯ แบ่งออกได้ 3 ส่วน คือ

1.ส่วนที่เหมือนกันทุกประการ 3 โครงการ คือ
1.1 สายสีเขียว หมอชิต-สะพานใหม่
1.2 สายแบริ่ง-สมุทรปราการ และ
1.3 แอร์พอร์ตเรลลิงก์ ที่กำลังก่อสร้าง

2.ส่วนที่เหมือนกันบางส่วน ได้แก่
2.1 สีม่วง บางซื่อ-บางใหญ่ มีปลายทางต่อขยายต่อไปซึ่งต้องพิจารณา
2.2 สีน้ำเงิน ช่วงบางซื่อ-ท่าพระ และหัวลำโพง-บางแค มีช่วงจรัญสนิทวงศ์ที่เหมือนกัน ส่วนที่เหลือต้องพิจารณาใหม่
2.3 สีม่วง ตอนล่างกับช่วงสีเขียว มหานาค-สุขสวัสดิ์-ป้อมพระจุล มีส่วนเหมือนกันตอนบน
2.4 สีเหลืองกับรถไฟฟ้าวงแหวน ช่วงศรีนครินทร์-เทพารักษ์ เหมือนกัน
2.5 สีส้มและน้ำตาลเดิมเหมือนกับสายมีนบุรี-ศาลายา แต่ต่อขยายไปศาลายา

และ

3.ส่วนที่ไม่เหมือนกันเลย ได้แก่
3.1 สีเขียว สะพานใหม่-ลำลูกกา
3.2 สีเขียว ดอนเมือง-รังสิต สีเขียว
3.3 บางหว้า-พุทธมณฑล สาย 4 และ
3.4 สายสีแดงทั้งโครงข่าย รวม 106 กิโลเมตร

"จีน-ญี่ปุ่น" เนื้อหอม รับเหมาไทยรุมตอม

ด้านนายสมบัติ กิจจาลักษณ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท รถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีเอ็มซีแอล กล่าวว่า ภาคเอกชนขณะนี้ยังรอความชัดเจนโครงการรถไฟฟ้า 9 เส้นทางว่ามีรายละเอียดอย่างไร แนวเส้นทางจะเปลี่ยนแปลงหรือไม่ จะก่อสร้างเส้นไหนก่อน โดยบริษัทพร้อมเข้าลงทุน แต่ขอให้ภาครัฐมีความชัดเจน และคิดว่าลงทุนได้ถูกกว่ารายอื่นๆ เพราะบริหารรถไฟฟ้าใต้ดินอยู่แล้วจึงเชื่อมต่อกับส่วนที่ต่อขยายใหม่ได้

นายสมชาย ศิริเลิศพาณิชย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซินเทค คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า กำลังรอผลการประมูลสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน ที่เข้าประมูลไปแล้ว ส่วน 9 สายใหม่รอดูความชัดเจนก่อน แต่สนใจจะร่วมประมูลกับผู้รับเหมาพันธมิตรจากจีน คือ ไชน่า สเตรท กลุ่มเดิมที่เคยจับมือร่วมประมูลสายสีแดงมาแล้ว

ขณะที่นายพัฒนพงษ์ ตนุมัธยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แอสคอน คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) ยืนยันว่า เตรียมพร้อมเข้าประมูลเมกะโปรเจ็กต์ของภาครัฐทั้ง 9 สาย และกำลังหาพันธมิตรร่วมทุน เป็นรับเหมาจากเยอรมนี และญี่ปุ่น เช่นเดียวกับบริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) และบริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) ที่เตรียมผนึกพันธมิตรผู้รับเหมาจากญี่ปุ่นและจีน

บูมพื้นที่ชานเมืองทั้ง 4 มุมเมือง

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในส่วนของความเคลื่อน ไหวแวดวงการพัฒนาที่ดิน เกือบทุกบริษัทติดตามข่าวคราวโครงการรถไฟฟ้าอย่างใกล้ชิด หากโครงการเกิดได้จริงจะเปิดพื้นที่พัฒนาใหม่ๆ อีกมาก เนื่องจากทั้ง 9 สายลากออกชานเมือง จึงพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัย โครงการเชิงพาณิชย์ได้มาก และเพิ่มมูลค่าที่ดิน เช่น ลากไปถึงลำลูกกาช่วยดึงคนจากหนองจอก นิมิตรใหม่มาใช้บริการ ไปรังสิตดึงคนจากนครนายก ปทุมธานี ไปมีนบุรีดึงคนจากสุวิน ทวงศ์ ฉลองกรุง ร่มเกล้า สายแอร์พอร์ตลิงก์ ที่ไปลาดกระบัง มีฉะเชิงเทรา บางบ่อ ไปเมืองโบราณ มีนิคมอุตสาหกรรมบางปู บางปลา ป้อมพระจุล มีคลองสรรพสามิต เป็นต้น

หน้า 1
Back to top
View user's profile Send private message
CENTENNIAL
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 30/03/2006
Posts: 3642
Location: Thailand

PostPosted: 29/02/2008 12:08 am    Post subject: Reply with quote

เฮียวิซซี่แบร์ฮะ เท่าที่ผมอ่านดูแล้ว มีแต่โครงการรถไฟฟ้าก้างปลา ทั้งนั้นเลย

แล้วโครงการรถไฟรางคู่ รถไฟก้างปลา เพื่อเอาใจคนต่างจังหวัด ไม่มีเห็นซักแผนเลยฮะ Sad
Back to top
View user's profile Send private message Send e-mail
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page 1, 2, 3 ... 277, 278, 279  Next
Page 1 of 279

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©