RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311296
ทั่วไป:13272898
ทั้งหมด:13584194
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 107, 108, 109 ... 278, 279, 280  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42749
Location: NECTEC

PostPosted: 16/01/2015 11:24 pm    Post subject: Reply with quote

ร้องเปลี่ยนแนวเส้นทางสายสีชมพูย้ายจากตลาดมีนฯไปสุวินทวงศ์
เดลินิวส์
วันศุกร์ 16 มกราคม 2558 เวลา 08:56 น.

สายสีชมพูยังไม่นิ่ง อดีตส.ส.เพื่อไทย ร้องนายกฯเปลี่ยนแนวสถานีตลาดมีนฯไปที่สุวินทวงศ์แทน


เมื่อวันที่15ม.ค.เวลา10.00น.ที่สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน(ก.พ.)นายวิชาญมีนชัยนันท์ ประธานโซนภาคกทม.พรรคเพื่อไทยพร้อมด้วยอดีตส.ส.กทม.พรรคเพื่อไทยได้มายื่นหนังสือถึงพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคสช.ผ่านศูนย์บริการประชาชนฯเพื่อขอให้มีการพิจารณาทบทวนปรับเปลี่ยนเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีชมพูเฉพาะสถานีที่ 29 (ตลาดมีนบุรี)ให้ไปอยู่ที่ถนนสุวินทวงศ์แทน

นายวิชาญ กล่าวว่าเนื่องจากพื้นที่ถนนสุวินทวงศ์มีประชาชนอยู่อาศัยหนาแน่นกว่า200,000คนที่จะได้ใช้ประโยชน์มากกว่าในตลาดมีนบุรีที่มีคนอยู่ประมาณ20,000คนการเลี้ยวซ้ายเข้าถนนสุวินทวงศ์จะเป็นการลงทุนระยะยาวเพื่ออนาคต เพราะปัจจุบันถนนสุวินทวงศ์อยู่ในระหว่างปรับปรุงให้เป็นถนน 8 ช่องทางเดินรถ ผ่านเขตหนองจอกไปยังจังหวัดฉะเชิงเทรา ถนนดังกล่าวมีถนนร่วมและซอยแยกต่างๆเป็นที่อยู่อาศัยของประชาชนจำนวนมาก เช่นถนนหทัยราษฎร์ ออกสู่ถนนสายพหลโยธินและถนนสุขาภิบาล 5 ถนนสามวาและถนนนิมิตใหม่ อยากให้นายกรัฐมนตรีสละเวลาสัก2ชั่วโมงไปดูพื้นที่จะได้สามารถตัดสินใจได้อย่างถูกต้องคุ้มค่าต่อการลงทุนทั้งนี้การเวนคืนทั้ง 2แห่งใช้พื้นที่พอๆกันแต่ที่ตลาดมีนบุรีจะต้องข้ามคลองสามวาและคลองแสนแสบข้ามสุขาภิบาล3และไปสร้างเดปโป้อยู่ติดริมน้ำที่สำคัญต้องเอาสาธารณูปโภคทั้งหมดบนถนนสีหบูรานุกิจลงใต้ดินใช้งบอีกกว่า3,000ล้านบาทแต่หากเวนคืนที่สุวินทวงศ์ ก็ยังสามารถเดินทางไม่เกิน400เมตรเข้าตลาดมีนฯได้

นายวิชาญกล่าวต่อว่า การสร้างรถไฟฟ้าสายสีชมพูโดยให้เส้นทางมาที่ตลาดมีนบุรีจะทำให้ตลาดแออัดมากยิ่งขึ้นเพราะคนที่มาซื้อของไม่ได้นั่งรถไฟมาซื้อของ แต่เป็นคนที่จะต้องการเดินทางไปทำงานนอกจากนี้สวนดุสิตโพลล์ได้ทำการสำรวจจากประชาชนในพื้นที่ดังกล่าวพบว่าร้อยละ 82.35 ต้องการให้เส้นทางรถไฟฟ้าสายสีชมพูเลี้ยวซ้ายจากถนนรามอินทราไปยังถนนสุวินทวงศ์.
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42749
Location: NECTEC

PostPosted: 18/01/2015 1:50 pm    Post subject: Reply with quote

บอร์ดรฟม.เคาะปรับแนวเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีส้ม
โดย ณัฐญา เนตรหิน
ข่าวรายวัน - คอลัมน์ : ข่าวในประเทศ
ฐานเศรษฐกิจ
วันศุกร์ที่ 16 มกราคม 2015 เวลา 20:50 น.

วันนี้(16ม.ค.)พล.อ.ยอดยุทธ บุญญาธิการ ประธานคณะกรรมการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนกรุงเทพฯ(รฟม.) เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการฯถึงกรณีการแก้ไขปัญหาเรื่องการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม(ช่วงศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี) ระยะทาง 21.20 กิโลเมตร ว่า คณะกรรมการฯ มีมติในการเลือกแนวเส้นทางดินแดง-โบสถ์แม่พระฟาติมา-พระราม 9 แทนเส้นทางเดิม ดินแดง-ชุมชนประชาสงเคราะห์-ศูนย์วัฒนธรรม เพื่อเลี่ยงผลกระทบต่อชุมชนประชาสงเคราะห์

การเปลี่ยนแนวเส้นทางดังกล่าว ทำให้สามารถลดค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างลงกว่า 500 ล้านบาท โดยจะเร่งพิจารณารายละเอียดการดำเนินการและส่งเรื่องให้กระทรวงคมนาคมต่อไป
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42749
Location: NECTEC

PostPosted: 19/01/2015 2:02 am    Post subject: Reply with quote

บอร์ดรฟม.ยอมปรับแนวรถไฟฟ้าสีส้มเลี่ยงชุมชนประชาสงเคราะห์


โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
16 มกราคม 2558 18:54 น.

บอร์ดรฟม.จำนนชาวบ้านประชาสงเคราะห์ ยอมปรับแนวเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีส้ม ยึดตามถนนพระราม 9 ลดค่าเวลคืน ผลกระทบชุมชน ค่าก่อสร้างรวมลดลงถึง 500 ล้านบาท ด้านชาวบ้านยันไม่ปรับแนว ร้องศาลปกครองและยื่น"ประยุทธ์"พิจารณา


วันนี้(16 ม.ค.) คณะกรรมการ (บอร์ด) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ที่มีพล.อ.ยอดยุทธ บุญญาธิการ เป็นประธานได้หารือถึงแนวทางการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย-มีนบุรี ระยะทาง 21.20 กม. วงเงิน 110,325.76 ล้านบาท โดยมีตัวแทนชาวบ้านในพื้นที่ในดินแดง ประชาสงเคราะห์ ซึ่งได้รับผลกระทบจากการก่อสร้างเข้าร่วมหารือ เนื่องจากเมื่อวันที่ 6 มกราคมที่ผ่านมา บอร์ดรฟม.มีมติไม่เห็นด้วยกับการปรับแนวเส้นทางพื่อเลี่ยงชุมชนประชาสงเคราะห์ ไปใช้ถนนพระราม9 แทน

โดยนายประทีป นิลวรรณ ประธานชุมชนแม่เนี้ยว แยก3 แกนนำชุมชนประชาสงเคราะห์กล่าวว่า หากบอร์ดรฟม.ยังคงยืนยันตามว่าจะก่อสร้างตามแนวทางที่ 1 ซึ่งผ่านชุมชนจำนวนมาก ชาวบ้านจะประชุมเพื่อขอมติของชุมชนในเจตดินแดงที่ได้รับผลกระทบจากโครงการ เพื่อในการขับเคลื่อนในส่วนของภาคประชาชนต่อไป เช่น ยื่นศาลปกครองและนำมวลชนเข้าพบพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีที่ทำเนียบรัฐบาล เพื่อส่งสัญญาณไปถึงบอร์เ รฟม.ได้เข้าใจและทบทวนมติ โดยเบื้องต้นในวันที่ 18 มกราคมนี้ จะนัดประชุมหารือกันและแจ้งความคืบหน้าให้ชาวบ้านในพื้นที่ได้รับทราบ

ซึ่งก่อนหน้านี้ รฟม.ได้หารือกับชาวบ้านในพื้นที่ในดินแดง ประชาสงเคราะห์ พระราม 9 เพื่อหาทางออกและลดผลกระทบ ช่วงตัดผ่านพื้นที่ถนนประชาสงเคราะห์ ดินแดง โดย รฟม.ได้มีการศึกษาปรับแนวเส้นทางช่วงดังกล่าวใหม่ โดยมีเส้นทางเริ่มจากสถานีรางน้ำไปตามถนนราชปรารภและถนนดินแดง เข้าสู่ถนนพระราม 9 และเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายเฉลิมรัชมงคลที่สถานีพระราม 9 จากนั้นวิ่งต่อไปตามถนนพระราม 9 จนถึงสถานี รฟม. ซึ่งจะลดผลกระทบผู้ถูกเวนคืนประมาณ 150 หลังคาเรือนลง ส่งผลประหยัดงบประมาณเวนคืนได้ 500 ล้านบาท ซึ่งประชาชนส่วนใหญ่เห็นด้วย

ผ.ศ.พงศ์พร สุดบรรทัด พยานผู้เชี่ยวชาญจากคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติกล่าวว่า รฟม.ได้เชิญตัวแทนชุมชนมาชี้แจงต่อที่ประชุมบอร์ดกรณีที่ขอให้ดำเนินการก่อสร้างในทางเลือกที่ 2 เนื่องจากพิสูจน์ได้ว่า ต้นทุนทางสังคม สิ่งแวดล้อมและทางกายภาพต่ำกว่าและมีประสิทธิภาพกว่าแนวที่ผ่านชุมชน ซึ่งการเคลื่อนไหวของชาวบ้านเป็นไปตามข้อเท็จจริงและสิทธิชุมชน สิทธิมนุษยชนที่พึงกระทำได้ เพื่อรักษาชุมชนเก่า โดยชาวบ้านเห็นว่าการออกแบบแนวเส้นทางเดิมที่เลี้ยวไปเลี้ยวมาและผ่านชุมชนเป็นเรื่องไม่ถูกต้อง เพราะต้องมีการเปิดหน้าดิน เพื่อผ่านสถานีศูนย์วัฒนธรรมซึ่งต้องขุดลงใต้ดินลึกกว่า 60 เมตร ซึ่งค่าก่อสร้างจะสูงมาก ในขณะที่ใช้แนวไปทางถนนพระราม 9 จะลดผลกระทบได้มาก

พล.อ.ยอดยุทธ บุญญาธิการ ประธานบอร์ดรฟม.กล่าวว่า ที่ประชุมบอร์ดรฟม.วันนี้ (16 ม.ค.) มีมติให้รฟม.ดำเนินการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีส้มตามทางเลือกที่ 2 โดยขยับแนวมาใช้ถนนพระราม9 แทนการตัดผ่านชุมชนประชาสงเคราะห์ หลังจาก
ขอให้ชาวบ้านมาหารือกัน ใช้เวลา2 ชม. ชาวบ้านยืนยันไม่เห็นด้วยกับแนวเดิมและบอกถึงข้อดีข้อเสีย ซึ่งบอร์ดพอใจและมีมติออกมา โดยแนวพระราม 9 จะไม่มีปัญหาเรื่องผลกระทบสิ่งแวดล้อม และไม่มีเสียงคัดค้านและยังส่งผลให้มูลค่าโครงการทั้งค่าก่อสร้างและค่าเวนคืนลดลงประมาณ 500 ล้านบาท เพราะเส้นทางจะสั้นกว่า แนวเดิม

"เราไม่อยากให้มีความเดือดร้อนต่อชุมชน และอยากให้ชุมชนมีส่วนร่วม ความติ้งการของสังคมเป็นเหตุผลที่ต้องนำมาพิจารณาในการดำเนินโครงการรถไฟฟ้า เมื่อไม่มีการคัดค้านโครงการจะเดินหน้าได้ตามแผน"พล.อ.ยอดยุทธกล่าว

//-------------

รฟม.ปรับแนว-ยุบรวมสถานีสายสีส้ม ประหยัด 3.6 พันล.เร่งชงคมนาคมเดินหน้าเฟสแรก


โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
18 มกราคม 2558 19:01 น.



บอร์ดรฟม.สรุปปรับแนวเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีส้มและยุบรวมสถานีรางน้ำและราชปรารภลดผลกระทบเวนคืน ช่วยประยัดค่าก่อสร้างและเวนคืนรวมกว่า 3.6 พันล. เร่งเสนอคมนาคมใน1-2 สัปดาห์นี้ ขอเดินหน้าเฟสแรก วงเงินกว่า 1.1 แสนล.ก่อน หวั่นยึกยักกระทบภาพรวมล่าช้า พร้อมอนุมัติค่าจ้างเดือนละ 3.4 แสนบาท"พีระยุทธ"นั่งผู้ว่าฯคนใหม่

พล.อ.ยอดยุทธ บุญญาธิการ ประธานคณะกรรมการ (บอร์ด) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่า ในการประชุมบอร์ดเมื่อวันที่ 16 มกราคมที่ผ่านมา ได้มีมติเห็นชอบให้ รฟม.ปรับแนวเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีส้ม (ตลิ่งชัน-มีนบุรี) ระยะทาง 35.4 กม. ใหม่เพื่อลดปัญหาผู้ได้รับกระทบจากการเวนคืนบริเวณ ชุมชนประชาสงเคราะห์ และบริเวณสถานีราชปรารถและสถานีรางน้ำโดยจะสรุปรายละเอียดเสนอเพิ่มเติมไปยังกระทรวงคมนาคมได้ภายใน 1-2 สัปดาห์นี้ เนื่องจากก่อนหน้านี้ รฟม.ได้เสนอแผนการดำเนินโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม รวมถึงสายสีชมพู (แคราย-มีนบุรี) ระยะทาง 34.5 กม.วงเงิน 56,691 ล้านบาท และสายสีเหลือง (ลาดพร้าว-สำโรง) ระยะทาง 29.1 กม. วงเงิน 54,644 ล้านบาทและสายสีส้ม ไปยังกระทรวงคมนาคมแล้วเพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาต่อไป

ทั้งนี้ แนวเส้นทางสายสีส้มที่ปรับเปลี่ยนจะเป็นส่วนของเฟสที่ 1 (ตะวันออก) ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย-มีนบุรี ระยะทาง 21.2 วงเงินประมาณ 110,325.76 ล้านบาท จากเดิมที่ช่วงดินแดงจะเลี้ยวไปตามถนนวิภาวดีผ่านชุมชนประชาสงเคราะห์เพื่อเชื่อมกับรถไฟฟ้าสายเฉลิมรัชมงคลที่สถานีศูนย์วัฒนธรรมฯ แล้วจึงเบี่ยงเข้าแนวถนนพระราม 9 ที่หน้า รฟม. และเลี้ยวซ้ายเข้าถนนรามคำแหงนั้น จะปรับเป็นใช้แนวถนนดินแดงจนถึงถนนพระราม 9 โดยใช้สถานีพระราม 9 เป็นตัวเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายเฉลิมรัชมงคล ที่สถานีพระราม 9 ทำให้สายสีส้ม เฟส1 จะเริ่มต้นจาก พระราม 9-มีนบุรี ซี่งการปรับแนวเส้นทางดังกล่าวทำให้ระยะทางสั้นลงและเส้นทางเป็นแนวตรงค่าก่อสร้างและค่าเวนคืนลดลงรวมประมาณ 500 ล้านบาท ส่วนเฟส 2 (ตะวันตก) จะเป็นช่วงตลิ่งชัน-พระราม 9 จากเดิมคือช่วงตลิ่งชัน-ศูนย์วัฒนธรรม

นอกจากนี้บอร์ดยังมีมติเห็นชอบให้ยุบรวมสถานีรางน้ำและสถานีราชปรารภ ของรถไฟฟ้าสายสีส้ม เฟส2 (ตะวันตก) ซึ่งมีปัญหาเนื่องจากต้องเวนคืนตึกแถวจำนวน 50 ห้อง ซึ่งผู้ถูกเวนคืนเรียกร้องค่าชดเชยสูงถึง 50 ล้านบาทต่อห้อง ในขณะที่ราคาซื้อขายอยู่ที่ประมาณ 20 ล้านบาทต่อห้อง ดังนั้นบอร์ดจึงต้องตัดสินใจหาข้อยุติเพื่อไม่ให้ยืดเยื้อต่อไป ซึ่งการยุบรวมเหลือสถานีเดียวนั้นจะเหลือสถานีราชปรารภไว้ โดยขยับแนวที่ตั้งอยู่ใกล้กับสถานีมักกะสัน (รถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์) มากขึ้น ซึ่งยอมรับว่า ผู้โดยสารจะต้องเดินไกลขึ้นบ้างแต่จะเชื่อมกับแอร์พอร์ตลิ้งก์สะดวก ซึ่งส่วนนี้ทำให้ค่าก่อสร้างและค่าเวนคืนลดลงรวมอีกประมาณ 3,170 ล้านบาท รวมการปรับเส้นทางและยุบรวมสถานีแล้วทำให้ค่าก่อสร้างสายสีส้มลดลงรวม 3,670 ล้านบาท

ตกลงค่าจ้างผู้ว่าฯรฟม.คนใหม่เดือนละ 3.4 แสนบาท

พล.อ.ยอดยุทธ กล่าวว่า บอร์ดยังได้รับทราบผลการเจรจาค่าตอบแทนผู้ว่าฯรฟม. คนใหม่ที่อัตรา 3.4 แสนบาทต่อเดือน โดยนายพีระยุทธ สิงห์พัฒนากุล รองผู้ว่าฯรฟม. ได้รับการสรรหาเป็นผู้ว่าฯรฟม.คนใหม่ โดยในต้นสัปดาห์นี้ รฟม.จะเสนอผลการสรรหาผู้ว่าฯ รฟม.ไปยังกระทรวงคมนาคมเพื่อเสนอครม.เห็นชอบต่อไป เชื่อว่าผู้ว่าฯรฟม.คนใหม่จะสามารถเริ่มทำงานได้ภายในเดือนกุมภาพันธ์นี้

ส่วนการพิจารณารูปแบบจัดหาผู้รับงานเดินรถสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย ช่วงหัวลำโพง-บางแค และบางซื่อ-ท่าพระ ระยะทาง 27 กม.นั้น พล.อ.ยอดยุทธกล่าวว่า ล่าสุดคณะกรรมการตามมาตรา 13 แห่งพระราชบัญญัติเข้าร่วมงานหรือดำเนินงานในกิจการของรัฐ พ.ศ.2536 ยังไม่มีความคืบหน้าในการพิจารณา ซึ่งคงต้องรอให้ผู้ว่า ฯ รฟม.คนใหม่เข้ามาช่วยเร่งดำเนินการรวมถึงการเปลี่ยนตัวประธานคณะกรรมการมาตรา 13 หรือไม่ เพราะเป็นอำนาจของผู้ว่าฯรฟม. ซึ่งบอร์ดต้องการให้ตัดสินใจเรื่องนี้โดยเร็ว เนื่องจากงานจัดหารถต้องใช้เวลาถึง 36 เดือนหลังลงนามในสัญญา ซึ่งอาจทำให้การเปิดให้บริการล่าช้าออกไป แต่ขณะนี้ รฟม.ยังมั่นใจว่าจะสามารถผลักดันให้สามารถเปิดบริการได้ภายในปี 2561 ตามแผนที่วางไว้
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44637
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 19/01/2015 8:57 am    Post subject: Reply with quote

เกาะติดแผนเวนคืนที่ดิน โครงข่ายรถไฟฟ้าใยแมงมุม
เดลินิวส์ วันจันทร์ 19 มกราคม 2558 เวลา 06:00 น.

เริ่มเห็นเค้าโครงเป็นจริงเป็นจังขึ้นมาแล้ว สำหรับโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าในเมือง 10 สายของรัฐบาล

เริ่มเห็นเค้าโครงเป็นจริงเป็นจังขึ้นมาแล้ว สำหรับโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าในเมือง 10 สายของรัฐบาล ที่บางสายก็เริ่มเดินหน้าตอกเสาเข็มลงตอม่อไปแล้ว แต่บางสายก็กำลังตั้งไข่เริ่มอนุมัติโครงการ แต่ก่อนที่ความฝันเครือข่ายรถไฟฟ้าใยแมงมุมทั่วเมืองจะเป็นจริง ก็ต้องผ่านด่านอีกขั้นตอนสำคัญ คือ การจัดกรรมสิทธิ์์และเวนคืน ที่ถือเป็นช่วงที่วุ่นวาย และกระทบกระทั่งต่อชาวบ้านในแนวก่อสร้างมากสุด ซึ่งโต๊ะข่าวเศรษฐกิจเดลินิวส์ อัพเดทสถานการณ์ก่อสร้างและเวนคืนที่รถไฟฟ้าให้ติดตามกัน

สายสีเขียว หมอชิต–สะพานใหม่–คูคต,แบริ่ง–สมุทรปราการ

เริ่มจากสายสีเขียว มีการแบ่งเป็น 2 ช่วง ช่วงแรกหมอชิต–สะพานใหม่–คูคต มีระยะทางรวม 18.4 กม. ลงทุน 58,861 ล้านบาท ถือเป็นสายที่มีแนวการเวนคืนและจัดกรรมสิทธิ์์ชัดเจนมากสุด โดยหลังผ่านการประกวดราคาแล้ว ตั้งแต่เดือน ก.พ.นี้เป็นต้นไป จะเริ่มขั้นตอนจัดกรรมสิทธิ์และเวนคืนที่ดิน โดยเบื้องต้นใช้งบ 7,863 ล้านบาท มีที่ดิน 500 แปลง และสิ่งปลูกสร้าง 500 หลัง โดยมีแนวเวนคืนตามสถานีจุดขึ้น-ลง 16 สถานี เริ่มตั้งแต่จุดเชื่อม กับบีทีเอสหมอชิต ไปตามแนวถนนพหลโยธิน ข้ามดอนเมืองโทลล์เวย์ ผ่านห้าแยกลาดพร้าว รัชโยธิน เกษตร อนุสาวรีย์วงเวียนหลักสี่ หน้าตลาดยิ่งเจริญ เมื่อถึง กม.ที่ 25 เบี่ยงเข้า ถนนลำลูกกา สิ้นสุดที่ สน.คูคต

จุดเวนคืนใหญ่สุดของสายสีเขียว คือช่วงเบี่ยงจากถนนพหลโยธิน ไปถนนลำลูกกา คือย่าน ’ประตูกรุงเทพฯ“ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นที่ดินจัดสรรในเขตทหารเก่า คาบเกี่ยวทั้งเขตสายไหม และลำลูกกา โดยนอกจากใช้สร้างทางตัดแล้ว ยังใช้ก่อสร้างอาคารจอด 2 แห่ง และศูนย์ซ่อมบำรุงพื้นที่รวม 130 ไร่ ส่วนช่วง ก่อสร้างแบริ่ง–สมุทรปราการ ระยะทาง 13 กม. 9 สถานี กำลังก่อสร้าง และเวนคืนพื้นที่ได้แล้ว โดยโครงการช่วงนี้สร้างเสร็จในปี 63

สายสีส้ม ตลิ่งชัน-ศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี

สายสีส้ม ระยะทาง 38.9 กม. ถือเป็นเส้นทางที่น่าจับตามองมากสุด เพราะมีแนวเส้นทางตัดผ่านทั้งย่านธุรกิจสำคัญ ชุมชนเก่า และใจกลางเมืองกรุงเทพฯ หลายแห่ง ไม่ว่าจะเป็นเกาะกลางรัตนโกสินทร์ ประตูน้ำ รางน้ำ ดินแดง พระราม 9 และรามคำแหง โดยโครงการก่อสร้างแบ่งเป็น 2 ช่วง

สีส้มฝั่งตะวันออก ศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี มีระยะทางก่อสร้างเป็นทางยกระดับ 9 กม. และใต้ดิน 12.2 กม. รวม 17 สถานี มีแนวเส้นทางเริ่มจากสถานีศูนย์วัฒนธรรมเชื่อมรถไฟฟ้าใต้ดินเข้าศูนย์ซ่อมบำรุง สำนักงาน รฟม. ไป ถนนพระราม 9 เลี้ยวซ้ายไป ถนนรามคำแหง ผ่านแยกลำสาลี ถนนกาญจนาภิเษก สิ้นสุดที่ สุวินทวงศ์ ใกล้จุดตัด ถนนรามคำแหงกับสุวินทวงศ์ เบื้องต้นประเมินค่าเวนคืนและจัดกรรมสิทธิ์ไว้ที่ 9,600 ล้านบาท โดยที่ดินได้รับผลกระทบ 594 แปลง สิ่งปลูกสร้าง 222 หลัง แต่การเวนคืนส่วนใหญ่จะมีเฉพาะตามจุดขึ้นลงสถานี 17 แห่งเท่านั้น ส่วนที่เหลือใช้วิธีรอนสิทธิใต้ผิวดินโดยไม่ต้องเวนคืน เนื่องจากการก่อสร้างรถไฟฟ้าใต้ดินใช้ขุดลึกลงไปจากพื้นดิน 25-30 เมตร เพื่อทำอุโมงค์ก่อสร้างรถใต้ดิน โดยไม่ต้องกระทบต่อตัวโครงสร้างอาคาร

ส่วน ฝั่งตะวันตก ตลิ่งชัน-ศูนย์วัฒนธรรม ยังมีปัญหาการกำหนดแนวก่อสร้างและการเวนคืนอยู่ เช่น พื้นที่ชุมชนประชาสงเคราะห์ เพื่อทำทางเชื่อมต่อสถานีศูนย์วัฒนธรรม ซึ่งล่าสุดเมื่อวันที่ 16 ม.ค. 58 การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เพิ่งมีมติปรับแบบก่อสร้าง โดยขยับแนวมาใช้ถนนพระราม 9 แทนการตัดผ่านชุมชนประชาสงเคราะห์ เพื่อลดผลกระทบการเวนคืนที่ดิน และช่วยให้ประหยัดงบก่อสร้างและเวนคืนที่ดินได้อีก 500 ล้านบาท

นอกจากนี้ยังต้องติดตามปัญหาในเขตเกาะกรุงรัตนโกสินทร์ ที่มีกฎระเบียบสำคัญหลายข้อ สำหรับแนวทางการจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน เน้นการเวนคืนช่วงสถานีขึ้นลงเริ่มตั้งแต่ ตลิ่งชัน บางขุนนนท์ รพ.ศิริราช สนามหลวง อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย หลานหลวง ไปถนนเพชรบุรี รางน้ำ ดินแดง ก่อนเข้าสู่พระราม 9 ส่วนการสร้างเส้นทางใช้การรอนสิทธิใต้ดินเช่นกัน เพราะเป็นทางใต้ดิน โดยมีแผนสร้างเสร็จปี 63

สายสีเหลือง ลาดพร้าว-สำโรง

ตอนนี้กำลังรอนำเสนอโครงการเข้า ครม.พิจารณา โดยมีระยะทาง 30.4 กม. ลงทุน 56,110 ล้านบาท 23 สถานี โดยเบื้องต้นได้ตั้งงบประมาณเวนคืน และจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน 6,000 ล้านบาท ที่ดิน 310 แปลง สิ่งปลูกสร้าง 160 หลัง โดยแนวเส้นทางจะสร้างตามถนนลาดพร้าวต่อเนื่องไปถนนศรีนครินทร์ พื้นที่การเวนคืนส่วนใหญ่อยู่ทางขึ้นลงตามสถานี 23 แห่ง โดยจุดที่กระทบมากสุด เป็นทางโค้งเบี่ยงจากถนนลาดพร้าว ไป ถนนศรีนครินทร์ แถวเดอะมอลล์ บางกะปิ รวมถึงการทำศูนย์ซ่อมรถย่านสถานีวัดศรีเอี่ยม เยื้องศุภาลัยปาร์ค ตลอดจนช่วง ถนนศรีนครินทร์ ไป ถนนเทพารักษ์ บริเวณแยกศรีเทพา โดยคาดว่ารายละเอียดการก่อสร้าง และแนวเวนคืน จัดกรรมสิทธิ์์ที่ดินจะชัดเจนในกลางปีนี้ และมีแผนก่อสร้างเสร็จปี 63

สายสีชมพู แคราย-มีนบุรี

สายสีชมพู มีระยะทาง 36 กม. ลงทุน 58,264 ล้านบาท โดยปัจจุบันเส้นทางนี้แผนก่อสร้างเป็นรถไฟฟ้ารางเดี่ยว โมโนเรล ซึ่งหากทำตามแผนนี้ใช้งบเวนคืน และจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน 6,800 ล้านบาท มีที่ดินกระทบ 600 แปลง และสิ่งก่อสร้าง 100 กว่าหลัง โดยพื้นที่ถูกผลกระทบเยอะ ได้แก่ ทางเบี่ยงขวาจากถนนติวานนท์ไป ถนนแจ้งวัฒนะ แถวห้าแยกปากเกร็ด และจุดขึ้นตามสถานีต่าง ๆ อีก 30 แห่ง โดยมีสถานีใหญ่ 5 จุด คือ แยกปากเกร็ด เมืองทอง หลักสี่ วงเวียนหลักสี่ รวมถึงมีนบุรีที่ต้องใช้พื้นที่กว่า 280 ไร่ เพื่อสร้างศูนย์ซ่อม อย่างไรก็ตามขณะนี้รัฐบาลมีแผนทบทวนการก่อสร้างโครงการ ซึ่งอาจปรับให้เป็นการสร้างรถไฟฟ้าขนาดใหญ่แทนระบบรางเดี่ยว ให้เกิดความคุ้มค่ากว่าในระยะยาว แต่อาจทำให้แนวการเวนคืนต้องปรับใหม่ และมีพื้นที่ที่ถูกเวนคืนเพิ่มกว่าเดิม

แอร์พอร์ตลิงก์ ดอนเมือง-มักกะสัน

สำนักนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ได้ว่าจ้างกลุ่มบริษัทเอกชนออกแบบรายละเอียดแล้วเสร็จแล้ว โดยมีค่าก่อสร้างรวมทั้งสิ้น 28,253 ล้านบาท ระยะทางรวม 21.8 กม. แต่แบ่งเป็นทางวิ่งยกระดับ 18.3 กม. ทางวิ่งใต้ดิน 3.5 กม. รวม 5 สถานี แต่มีพื้นที่ที่ถูกกระทบจากการเวนคืนน้อยเพียง 25 แปลง เพราะส่วนใหญ่สร้างขนานทางรถไฟเดิม แบ่งเป็นที่ดินของรัฐ 4 แปลง เช่น พื้นที่ของกรมทางหลวง และบ้านราชวิถี และเอกชน 21 แปลง เช่น พื้นที่โรงเรียนสัตย์สงวน เพื่อทำทางวิ่งช่วงก่อนสถานีรถไฟสามเสน โดยทั้งโครงการคาดก่อสร้างเสร็จปี 62

สายสีแดง บางซื่อ-รังสิต-ธรรมศาสตร์

รถไฟฟ้าสายนี้ มีระยะทาง 36.3 กม. อยู่ในเขตรถไฟสายใต้ จึงไม่มีปัญหาในการเวนคืนและการจัดกรรมสิทธิ์์ที่ดินซึ่งเป็นปัญหาที่มีผลกระทบต่อประชาชน แต่อาจส่งผลกระทบต่อประชาชนที่รุกล้ำเข้าไปตั้งรกรากในพื้นรถไฟจะต้องย้ายออก โดยปัจจุบันโครงการกำลังก่อสร้างช่วงบางซื่อ-รังสิต 10 สถานี และมีแผนต่อขยายไปถึงธรรมศาสตร์อีก 5 สถานี ตามแนวถนนเลียบคลองเปรมประชากร คือ สถานีรังสิต สถานีคลองหนึ่ง สถานี ม.กรุงเทพ สถานีเชียงราก และสถานีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ซึ่งคาดเสร็จปี 61 ส่วนการขยายเส้นทางบางซื่อ–หัวลำโพง ซึ่งเพิ่มอีก 6 สถานี แต่ไม่มีผลกระทบการเวนคืนเช่นกัน โดยเริ่มจากสถานีรถไฟชุมทางบางซื่อ สถานีสามเสน สถานีราชวิถี สถานียมราช สถานียศเส และสถานีรถไฟหัวลำโพง โดยขั้นตอนตอนนี้กำลังรออนุมัติจาก ครม. อยู่

สายสีม่วง บางใหญ่-เตาปูน-ราษฎร์บูรณะ-วงแหวนกาญจนาภิเษก

ช่วงบางใหญ่-เตาปูน มีระยะทาง 23 กม. 16 สถานี แทบไม่มีปัญหาอะไร สร้างเสร็จแล้วเกือบ 100% และมีแผนเปิดใช้ได้ 12 ส.ค. 59 โดยขณะนี้เหลือติดขัดข้อกฎหมายอีกเล็กน้อยในการจัดกรรมสิทธิ์์อีก 69 แปลง เพื่อสร้างศูนย์บำรุงในเขตบางใหญ่ 9 แปลง และเวนคืนเพื่อก่อสร้างสถานีขึ้นลงอีก 19 แปลง เช่น สถานีเตาปูน สถานีบางพลู แต่ล่าสุดได้ ออก ร่าง พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ ก็จะทยอยเคลียร์ปัญหาได้ ส่วนเส้นทาง เตาปูน-ราษฎร์บูรณะ-วงแหวนกาญจนาฯ ขณะนี้ยังอยู่ระหว่างศึกษาออกแบบ แต่ยังไม่ได้กำหนดแนวเส้นทาง และการเวนคืนชัดนัก

สายสีน้ำเงิน ช่วงหัวลำโพง–บางแค,ช่วงบางซื่อ–ท่าพระ

เป็นโครงการที่อยู่ระหว่างก่อสร้าง มีระยะทาง 27 กม. รวม 21 สถานี ซึ่งเปิดใช้ได้ปี 62 โดยปัจจุบันมีการจัดกรรมสิทธิ์์และเวนคืนที่ดินไปแล้ว แต่ยังติดปัญหาย่านสถานีแยกไฟฉายเขตบางกอกน้อย หลังเกิดปัญหาพื้นที่ทับซ้อนกับโครงการก่อสร้างทางลอดถนนจรัญสนิทวงศ์กับถนนพรานนก ของ กทม. จึงต้องปรับแนวเขต 32 ตำแหน่ง ทำให้มีอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกเวนคืนประกอบด้วย ที่ดิน 61 แปลง สิ่งปลูกสร้าง 87 หลัง เพื่อสร้างสถานที่จอดรถสำหรับผู้โดยสารและกิจกรรมอื่น ๆ ที่เกี่ยวเนื่อง เริ่มตั้งแต่พื้นที่ตลาดบางขุนศรี จนถึงสถานีขนส่งสายใต้เก่า แยกไฟฉาย ทั้งสองข้างทางถนนจรัญสนิทวงศ์ ส่วนแผน บางแค–พุทธมณฑล สาย 4 กำลังศึกษาออกแบบอยู่ โดยมีแนวเวนคืนที่ดินเพิ่มอีก 4 สถานี สถานีพุทธมณฑลสาย 2 สถานีทวีวัฒนา สถานีพุทธมณฑลสาย 3 และสถานีพุทธมณฑลสาย 4 คาดก่อสร้างเสร็จปี 64

จะเห็นได้ว่าปัญหาการเวนคืน และจัดกรรมสิทธิ์์ที่ดิน ยังคงเป็นอีกปัญหาใหญ่ที่ต้องติดตามต่อเนื่อง เพราะในพื้นที่เดียวกันมีทั้งชาวบ้านที่ได้รับประโยชน์ และเสียประโยชน์อยู่ จึงเป็นหน้าที่ของภาครัฐว่าจะดำเนินการอย่างไรเพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกัน และทำให้โครงการก้าวไปสู่ความสำเร็จ “ฝันที่เป็นจริงของไทย”.

ทีมข่าวเศรษฐกิจ
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42749
Location: NECTEC

PostPosted: 19/01/2015 5:22 pm    Post subject: Reply with quote

ชาวบ้านไม่ไว้ใจรฟม.รอครม.ยัน+เปลี่ยนแนวสายสีส้ม
เดลินิวส์
วันจันทร์ 19 มกราคม 2558 เวลา 11:06 น.


ชุมชนแม่เนี้ยวยันสู้ต่อ หลัง รฟม.ยอมเลี่ยงชุมชนสร้างรถไฟฟ้าสายสีส้มตามแนวถนนพระราม9 ต้องให้มีมติครม.ยืนยัน พร้อมเดินหน้าคัดค้านต่อจนกว่าจะเห็นตอม่อรถไฟฟ้าขึ้น

ผู้สื่อข่าวรายงานว่าจากกรณีที่มีประชาชนชาวชุมชนแม่เนี้ยว ถนนประชาสงเคราะห์ ได้ร้องเรียนการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(รฟม.)ปรับแนวเส้นทางก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันตกช่วงตลิ่งชัน-วัฒนธรรมจากแนวเส้นทางที่ตัดผ่านถนนประชาสงเคราะห์ตามแผนแม่บทเดิมที่ผ่านความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีซึ่งเส้นทางนี้จะเริ่มจากสถานีรางน้ำไปตามถนนราชปรารภ ถนนดินแดง เลี้ยวไปตามถนนวิภาวดีรังสิต ผ่านศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร2 (สถานีดินแดง) เข้าถนนประชาสงเคราะห์ผ่านชุมชนและเชื่อมกับรถไฟฟ้าสายเฉลิมรัชมงคล(สถานีศูนย์วัฒนธรรม)และเบี่ยงเข้าถนนพระราม9จนถึงสถานีรฟม. ในเส้นทางที่อนุมัติไว้นี้ทำให้มีประชาชนบริเวณดังกล่าวได้รับผลกระทบจากการเวียนคืนถึง180 หลังคาเรือน ทั้งนี้แม้ว่าในการประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) รฟม. ซึ่งมีพล.อ.ยอดยุทธ บุญญาธิการ เป็นประธานประชุมล่าสุดเมื่อวันที่16ม.ค.2558 ได้มีการเชิญตัวแทนชาวบ้านเข้าไปพูดคุย และบอร์ดรฟม.มีมติยอมปรับแนวเส้นทางก่อสร้างรถไฟฟ้าเพื่อหลีกเลี่ยงผลกระทบต่อชุมชนแล้วแต่ชาวชุมชนก็จะมีการติดตามต่อไปเพื่อไม่ให้มีการเปลี่ยนแปลงแนวเส้นทางมาผ่านพื้นที่ชุมชนอีก ทั้งนี้สำหรับเส้นทางที่ปรับเปลี่ยนจะขยับแนวมาใช้ถนนพระราม9 แทนการตัดผ่านชุมชนประชาสงเคราะห์ โดยเริ่มจากเริ่มจากสถานีรางน้ำวิ่งไปตามถนนราชปรารภและวิ่งตามถนนดินแดงเข้าสู่ถนนพระราม9เพื่อเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายเฉลิมรัชมงคล(สถานีพระราม9)จากนั้นวิ่งเข้าจนถึงสถานีรฟม.แทน ซึ่งการใช้แนวพระราม 9 จะไม่มีปัญหาเรื่องผลกระทบสิ่งแวดล้อม และไม่มีเสียงคัดค้านใดๆและยังส่งผลให้มูลค่าโครงการทั้งค่าก่อสร้างและค่าเวนคืนลดลงประมาณ 500 ล้านบาท เพราะเส้นทางจะสั้นกว่าแนวเดิม

นายประทีป นิลวรรณ ประธานชุมชนแม่เนี้ยว แยก3 แกนนำชุมชนประชาสงเคราะห์ กล่าวว่า ได้มีการนัดประชาชนภายในชุมชนประชุมหารือเพื่อแจ้งผลการต่อสู้ที่ผ่านมา ซึ่งหลังจากที่ชาวชุมชนได้เข้าพบพล.อ.ยอดยุทธ บุญญาธิการ ประธานบอร์ดการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(รฟม.)เพื่อชี้แจ้งเหตุผลที่ชาวบ้านทำการร้องเรียนและทางบอร์ดก็มีความพึงพอใจและมีมติออกมาใช้แนวพระราม 9 ในที่สุด แต่ถึงแม้ว่ามติทางบอร์ดฯจะมีการเลือกสร้างรถไฟฟ้าสายสีส้มในแนวถนนพระราม9 ตามที่ได้เรียกร้องแล้ว แต่ชาวบ้านจะยืนยันเดินหน้าคัดค้านต่อจนกว่าจะมีมติจากทางคณะรัฐมนตรี (ครม.)ยืนยันที่จะมีการเปลี่ยนเส้นทางเป็นที่แน่ชัดและจะดำเนินการต่อสู้จนกว่าจะมีการดำเนินการก่อสร้างรถไฟฟ้าที่ถนนพระราม9เท่านั้น ทั้งนี้หากยังไม่มีการเปลี่ยนเส้นทาง ทางชาวบ้านก็ได้เตรียมเอกสารต่างๆเตรียมยื่นหนังสือต่อศาลปกครองต่อไป อย่างไรก็ตามทางชุมชนต้องขอขอบคุณทางบอร์ดรฟม.ที่มีมติและเห็นใจประชาชนให้เปลี่ยนเส้นทางการดำเนินการสร้างรถไฟฟ้าใหม่ ทางชุมชนต้องขอขอบพระคุณเป็นอย่างสูง

สำหรับโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มตลิ่งชัน-มีนบุรีตลอดเส้นทางมีระยะทาง 39.5 กิโลเมตร โดยตามแผนการเร่งรัดโครงการของรัฐบาลจะดำเนินการก่อสร้างในช่วงจากศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย-มีนบุรีก่อน ระยะทาง 21.20 กม. วงเงิน 110,325.76 ล้านบาท.

https://www.youtube.com/watch?feature=player_embedded&v=fZSBlHFPkck
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42749
Location: NECTEC

PostPosted: 19/01/2015 10:43 pm    Post subject: Reply with quote

ถูกเวนคืนอย่าเสียใจ+สายสีส้มกรณีตัวอย่าง
เดลินิวส์
วันจันทร์ 19 มกราคม 2558 เวลา 06:30 น.

นี้มาดูกันต่อกับแนวทางการบริหารจัดการเวนคืนที่ดินเพื่อให้เกิดการพัฒนาประเทศได้ “อย่างบัวไม่ให้ช้ำ น้ำไม่ให้ขุ่น” ที่ผมอยากให้ข้อคิดกับผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายเพื่อให้การเวนคืนที่ดินเพื่อก่อสร้างโครงการต่าง ๆ ราบรื่นและประสบความสำเร็จได้ครับ

การพัฒนาวิชาชีพประเมินค่าทรัพย์สิน

ประเทศไทยขาดระบบการแจ้งราคาซื้อขายจริงตามท้องตลาดเพราะถ้าแจ้งจริงซึ่งมักสูงกว่าราคาประเมินของทางราชการ ประชาชนก็ต้องเสียภาษีสูงขึ้น ประชาชนจึงมักพยายามหลีกเลี่ยง ดังนั้นเราจึงต้องพยายามสร้างฐานข้อมูลการซื้อขายที่เป็นจริง วิธีการสร้างก็อาจใช้การลงโทษผู้ที่ไม่แจ้งตามจริงด้วยการปรับให้หนักขึ้น หรืออีกทางหนึ่งก็คือการลดภาษีและค่าธรรมเนียมลง ในการนี้ยังอาจต้องกำหนดให้ทรัพย์สินที่มีมูลค่าเกินกว่าระดับหนึ่ง (เช่น 1, 3 หรือ 5 ล้านบาท) ต้องทำการประเมินค่าทรัพย์สินทุกครั้งก่อนการโอน โดยทางราชการเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายเองเพราะคงคุ้มที่จะเรียกเก็บภาษีและค่าธรรมเนียมโอนได้สูงขึ้นกว่าราคาประเมินของทางราชการ

เมื่อมีฐานข้อมูลการซื้อขายที่เป็นจริงแล้วก็ต้องเผยแพร่ให้ประชาชนทั่วไปได้ทราบด้วย เพื่อคนที่คิดจะซื้อ ขายจำนอง แบ่งแยกมรดก ฯลฯ จะใช้เป็นฐานในการประเมินมูลค่าทรัพย์สินด้วยตนเองในทางหนึ่ง และโดยเฉพาะผู้ประเมินเพื่อการเวนคืนจะสามารถใช้เป็นฐานข้อมูลสำหรับการประเมินค่าทดแทนอีกทางหนึ่ง การเปิดเผยข้อมูลเช่นนี้ในปัจจุบันประเทศไทยยังไม่อนุญาตให้ทำเพราะถือว่าเป็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคล ทั้ง ๆ ที่ในอารยประเทศให้เผยแพร่ได้ ผมก็เห็นว่าควรเผยแพร่เพื่อความโปร่งใสและอาจถือเป็นการป้องกันการฟอกเงินอีกด้วย การมีระบบฐานข้อมูลนี้จึงถือเป็นการสร้างโครงสร้างพื้นฐานสำหรับวิชาชีพประเมินค่าทรัพย์สิน (เพื่อการเวนคืน) โดยเฉพาะ

สิ่งที่แปลกอีกอย่างก็คือ เราไม่มีระบบที่มีประสิทธิภาพในการตรวจสอบและลงโทษผู้ประเมินค่าทรัพย์สิน ถ้าไม่มีการควบคุมคุณภาพที่ดี (qualitycontrol) ไม่มีการออกสุ่มสำรวจผลการทำงานของบริษัทประเมินต่าง ๆ ไม่มีการลงโทษตรงไปตรงมาและเด็ดขาดก็อาจมีบริษัทประเมินหรือผู้ประเมินที่จะกระทำการทุจริตฉ้อฉลได้โดยที่ผลเสียก็จะตกแก่วิชาชีพและผู้ใช้บริการโดยรวม เช่นที่เคยเกิดขึ้นในกรณีต่าง ๆ ที่ผ่านมาอย่างต่อเนื่องผมก็เคยเสนอไปทาง กลต.ในกรณีต่าง ๆ เหล่านี้เช่นกัน

ศึกษาและเผยแพร่ความรู้ต่อเนื่อง

ประชาชนควรมีโอกาสทำความเข้าใจเกี่ยวกับการเวนคืนเพื่อทราบถึงความจำเป็นสิทธิและค่าทดแทนที่ตนควรได้รับด้วยความเป็นธรรม การเผยแพร่ความรู้เหล่านี้จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง เราได้เรียนรู้จากสหรัฐอเมริกาว่ากฎหมายเวนคืนที่ดีต้องแก้ไขได้บ่อย ๆ ให้สอดคล้องกับความเป็นจริง หากระบบกฎหมายของเรายังตายตัวแก้ไขหรือปรับปรุงเพื่อประโยชน์ของมหาชนอย่างมีประสิทธิภาพไม่ได้ การเวนคืนทรัพย์สินก็อาจกลายเป็นการเพิ่มปัญหาความไม่เป็นธรรมในสังคมมากขึ้น

เทคนิควิทยาการที่สมควรได้รับการเผยแพร่ ได้แก่ การสร้างแบบจำลองทางสถิติเพื่อการประเมินค่าทรัพย์สิน (CAMA : computer-assisted mass appraisal) ซึ่งผมเป็นคนแรกที่สร้างขึ้นเมื่อปี 2533 ในงานศึกษาให้กับสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ซึ่งสามารถใช้เพื่อการประเมินค่าทดแทนได้ แต่ประเทศไทยในขณะนั้นก็ไม่มีการศึกษาทางด้านนี้อย่างกว้างขวาง เมื่อปี 2537 ผมจึงได้สร้างแบบจำลอง CAMA ขึ้นอีกครั้งหนึ่ง

และจนถึงปี 2540 อ.แคล้ว ทองสม และคณะจึงได้ทดลองสร้างแบบจำลองขึ้นบ้าง และหลังจากนั้นเมื่อผมเป็นอาจารย์สอนวิชาการประเมินค่าทรัพย์สินตั้งแต่รุ่นแรกที่มหา วิทยาลัยธรรมศาสตร์ก็เริ่มมีการสร้างแบบจำลองเพิ่มเติมแต่ก็ไม่ได้เผยแพร่ให้แพร่หลาย ดังนั้นในประเทศไทยจึงควรจัดการประชุม วิชาการกันทุกปีเพื่อพัฒนาเทคนิควิทยาการใหม่ ๆ อย่างสม่ำเสมอ

แก้ที่ระบบการเมืองของประชาชน

การที่ข้าราชการบางส่วนไม่สามารถริเริ่มสร้างสรรค์งานเวนคืนที่เป็นธรรม หรือการที่ระบบกฎหมายของเราเปลี่ยนแปลงช้าทำให้ผลประโยชน์ของประชาชนเสียหาย รวมทั้งการที่นักวิชาชีพประเมินค่าทรัพย์สินไม่ได้รับการควบคุมเพื่อผู้บริโภค ก็อาจเป็นเพราะระบอบการเมืองที่ผู้มีอำนาจไม่อยากให้เกิดการเปลี่ยนแปลง อยากให้ระบบบริหารระบบรัฐสภาอ่อนแออยู่เช่นนี้เพื่อให้คงสถานะของที่ผู้ได้เปรียบในสังคมเจ้าของที่ดินรายใหญ่จึงจะได้ประโยชน์อย่างต่อเนื่องเพราะไม่อยากถูกเวนคืน

ดังนั้นโดยที่สุดแล้วเราต้องพัฒนาระบบการเมืองที่เอาประชาชนเป็นที่ตั้งให้ประชาชนมีอำนาจผ่านฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหาร เพื่อจะได้ผลักดันและบังคับใช้กฎหมายที่ยังประโยชน์ต่อประชาชนโดยรวม การนี้จึงต้องเริ่มต้นที่ประชาชนทำให้ประชาชนรากหญ้ารู้สิทธิและหน้าที่แห่งตนและให้เห็นว่า ตาสีตาสา กับผู้มีลาภยศบารมีล้วนมีเสียงเดียวเท่ากันในประเทศนี้ ไม่มีใครใหญ่และครอบงำใครได้ รณรงค์ให้ประชาชนส่วนใหญ่เห็นว่าตนนั้นคือเจ้าของประเทศที่แท้จริงสามารถเปลี่ยนแปลงกฎหมายเพื่อประโยชน์แห่งตนและส่วนรวมได้

คิดให้ไกลออกไป

ตามกฎหมายเวนคืนปัจจุบันเราจะเอาที่ดินที่ถูกเวนคืนไปทำประโยชน์ในทางธุรกิจไม่ได้ โดยนัยนี้คงเป็นเพราะกลัวว่าจะเป็นการเอื้อต่อกลุ่มผลประโยชน์หรือแม้แต่โครงการเมืองใหม่ก็มีอันต้องเป็นหมันเพราะหากเวนคืนที่ดินใครมาจะมาจัดสรรสร้างเป็นเมืองเป็นชุมชนโดยขายเป็นบ้านให้อยู่อาศัยกันไม่ได้ ถ้าไม่มีการเวนคืนจะมีถนนรัชดาภิเษกช่วงคลองเตยที่แม้แต่บ้านคนรวยก็ยังต้องรื้อ หรือจะมีสะพานพระรามที่ 8 ที่ช่วยระบายการจราจรหรือโปรดสังวร

แต่ในประเทศเพื่อนบ้าน เช่น มาเลเซีย เวียดนาม และจีน ต่างสามารถเวนคืนที่ดินเอกชนมาพัฒนาในเชิงพาณิชย์ได้ทั้งสิ้น ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ของประเทศชาติ ประเด็นสำคัญอยู่ที่การมีระบบตรวจสอบที่ดีเพื่อไม่ให้เอื้อประโยชน์แก่
พวกพ้องเป็นสำคัญ การที่การพัฒนาประเทศชาติสะดุดเพราะไม่สามารถเวนคืนทรัพย์สินของปัจเจกบุคคลได้ จะทำให้ความเจริญของประเทศถูกฉุดรั้งและลูกหลานไทยในอนาคตอาจเป็นผู้รับผลร้ายเหล่านี้

เราจึงควรทำความเข้าใจให้ชัดเจนในเรื่องการเวนคืน เพื่อให้การพัฒนาประเทศมีความต่อเนื่อง เพื่อความยั่งยืนของประเทศชาติตลอดไป

หมายเหตุ ผมเคยจัดประกวด
เรียงความชิงโล่พระราชทานของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และจัดทำหนังสือ “ถูกเวนคืน อย่าเสียใจ” โดยผมเป็นบรรณาธิการ ท่านสามารถดาวน์โหลดได้ฟรี ที่ www.thaiappraisal.org/thai/journal/order.php?p=publicationb12.php ลองดูนะครับ.
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42749
Location: NECTEC

PostPosted: 26/01/2015 3:08 am    Post subject: Reply with quote

"เซ็นทรัล-จีแลนด์"เฮรับสีส้ม ดันพระราม9ศูนย์กลางธุรกิจ
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
23มกราคม 2558 เวลา 21:43:27 น.



บอร์ด รฟม.ทุบโต๊ะเขย่าใหม่แนวสีส้มช่วงประตูน้ำ-ประชาสงเคราะห์ หั่นสถานีเลี่ยงเวนคืน เบี่ยงเส้นทางมาพระรามที่ 9 ดันขึ้นแท่นอินเตอร์เชนจ์ ศูนย์กลางธุรกิจแห่งใหม่ "จีแลนด์-เซ็นทรัล" ส้มหล่น รฟม.เร่งกดปุ่มเฟสแรกแสนล้าน


พล.อ.ยอดยุทธ บุญญาธิการ ประธานคณะกรรมการ (บอร์ด) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ที่ประชุมบอร์ดเมื่อวันที่ 16 ม.ค. 2558 อนุมัติปรับแนวเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีส้มช่วงตะวันตกจากตลิ่งชัน-ศูนย์วัฒนธรรม ทำให้ประหยัดค่าเวนคืนและก่อสร้างรวม 3,670 ล้านบาท


รื้อแนวใหม่-ลดค่าเวนคืน

แบ่งเป็นช่วงสถานีรางน้ำ-สถานีราชปรารภยุบเหลือ 1 สถานี ขยับมาใกล้แอร์พอร์ตลิงก์ราชปรารภ จะมีทางเชื่อมสถานีประตูน้ำ เพราะแนวเดิมต้องรื้อตึก 50 คูหา จ่ายค่าชดเชยคูหาละ 50 ล้านบาท เมื่อปรับแนวใหม่จะประหยัดงบฯ 3,170 ล้านบาท อีกทั้งปรับแนวช่วงสถานีรางน้ำ-สถานี รฟม. หลังชุมชนประชาสงเคราะห์ 181 รายคัดค้าน โดยเบี่ยงแนวจาก ถ.ประชาสงเคราะห์มาอยู่ ถ.พระรามที่ 9 ลดระยะทาง 1.3 กม. จากเดิม 5.6 กม. เหลือ 4.3 กม. ประหยัดงบฯ 500 ล้านบาท


เบี่ยงแนว ถ.ประชาสงเคราะห์

นายพีระยุทธ สิงห์พัฒนากุล รองผู้ว่าการ รฟม.ด้านวิศวกรรมและก่อสร้าง กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า แนวที่ปรับใหม่ช่วงสถานีรางน้ำ-สถานี รฟม. จะเริ่มจากสถานีรางน้ำไปตาม ถ.ราชปรารภ เบี่ยงแนวเดิมช่วงสามเหลี่ยมดินแดงไปแนว ถ.ดินแดง ถ.พระรามที่ 9 มุ่งหน้าไปยังสถานี รฟม. มี 2 สถานี คือ สถานีเคหะดินแดง อยู่หน้า ร.ร.พิบูลประชาสรรค์ ติดเคหะดินแดง และสถานีพระราม 9 อยู่ฝั่งตะวันออกสถานีพระราม 9 ปัจจุบันตั้งอยู่ในพื้นที่ศูนย์กลางธุรกิจแห่งใหม่ พระราม 9 สแควร์ จากแนวเดิมมี 3 สถานี คือ สถานีเคหะดินแดง, ประชาสงเคราะห์ และศูนย์วัฒนธรรม ลดการเวนคืนจากกว่า 300 ราย เหลือ 30 ราย


สถานีราม 9 อินเตอร์เชนจ์ใหม่

เดิมสายสีส้มจะเชื่อมการเดินทางฝั่งตะวันออก-ตะวันตก มีสถานีศูนย์วัฒนธรรมเป็นจุดต่อเชื่อม และเป็นสถานีร่วมกับสายสีน้ำเงินปัจจุบัน เมื่อปรับแนวใหม่จุดต่อเชื่อมเปลี่ยนไปอยู่สถานีพระราม 9 แต่ไม่เชื่อมเป็นจุดตัด ห่างกัน 100 เมตร ต้องสร้างทางเชื่อมใต้ดินรองรับให้ใช้เป็นสถานีร่วมกันได้ เพื่อลดเวนคืนที่ดิน

ทั้งนี้ รฟม.จะปรับก่อสร้างช่วงตะวันออกจากศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรีใหม่ เริ่มที่สถานีพระราม 9-มีนบุรี และรวบเนื้องานใหม่เข้าไปเฟสแรก จากเดิมเนื้องานรวมอยู่เฟส 2 (ตลิ่งชัน-ศูนย์วัฒนธรรม) โดยเสนอเพิ่มเติมหลังทำแบบรายละเอียดกับรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) เสร็จ ใช้เวลา 4 เดือน

"แต่เพื่อไม่ให้กระทบแผนก่อสร้าง จะประมูลเฟสแรกจากมีนบุรี-สถานี รฟม. 20 กม.ก่อนในปีนี้ มูลค่ากว่า 1 แสนล้านบาท เริ่มสร้างต้นปี"59 ส่วนที่เพิ่มถึงสถานีพระราม 9 เป็นระยะถัดไป คาดว่าเสนอแบบใหม่ให้ ครม.อนุมัติได้กรกฎาคมนี้"


แนวเส้นทางใหม่ 37.9 กม.

แหล่งข่าวจากกลุ่มบริษัทที่ปรึกษาโครงการ เปิดเผยว่า การปรับแนวใหม่ของสายสีส้ม ทำให้ระยะทางทั้งโครงการ (ตลิ่งชัน-มีนบุรี) สั้นลง 1.3 กม. จาก 39.2 กม. เหลือ 37.9 กม. ส่วนสถานีเหลือ 28 สถานี อาจจะเพิ่มสถานีตลาดน้ำตลิ่งชันในอนาคต ขณะที่แนวเส้นทางช่วงต้นและปลายทางยังคงเดิม ปรับแค่ช่วงที่มีปัญหาเวนคืน

จุดเริ่มต้นอยู่ที่สถานีตลิ่งชันไปตามแนวรถไฟสายบางกอกน้อยผ่าน ร.พ.ศิริราช ลอดใต้แม่น้ำเจ้าพระยาเชิงสะพานพระปิ่นเกล้า ผ่านใต้ ถ.ราชดำเนิน เบี่ยงเข้า ถ.หลานหลวง ผ่านยมราชเข้า ถ.เพชรบุรี เลี้ยวเข้า ถ.ราชปรารภถึงดินแดง มุ่งหน้าไป ถ.พระรามที่ 9 เชื่อมรถไฟฟ้าใต้ดินผ่าน ถ.ประดิษฐ์มนูธรรม เลี้ยวซ้ายเข้า ถ.รามคำแหง ผ่านแยกลำสาลี ถ.กาญจนาภิเษก สิ้นสุดที่จุดตัด ถ.สุวินทวงศ์บริเวณมีนบุรี มีรูปแบบก่อสร้างใต้ดินจากตลิ่งชัน-คลองบ้านม้า และจากบ้านม้า-มีนบุรีเป็นโครงสร้างยกระดับ


เปิดโผที่ตั้ง 28 สถานี

สำหรับ 28 สถานี ได้แก่
ตลิ่งชัน อยู่ใต้สถานีรถไฟตลิ่งชันเชื่อมสีแดง (ตลิ่งชัน-ศิริราช)
บางขุนนนท์ ตรงจุดตัด ถ.จรัญสนิทวงศ์ เชื่อมสีน้ำเงินสถานีบางขุนนนท์ และสีแดงสถานีจรัญสนิทวงศ์
ศิริราช อยู่ใต้สะพานอรุณอมรินทร์ ใกล้ ร.พ.ศิริราช และตลาดศาลาน้ำร้อน เชื่อมสีแดงที่สถานีธนบุรี-ศิริราช
สนามหลวง อยู่หน้าโรงละครแห่งชาติ
อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย อยู่หน้าลานพลับพลามหาเจษฎาบดินทร์ เชื่อมสถานีผ่านฟ้าของสีม่วง (บางใหญ่-ราษฎร์บูรณะ)
หลานหลวง อยู่แยกหลานหลวง-สามแยกถนนพะเนียง
ยมราช อยู่หน้าบ้านมนังคศิลาเชื่อมสายสีแดง
ราชเทวี อยู่เพชรบุรีซอย 3-7 เชื่อมบีทีเอสราชเทวี
ประตูน้ำ อยู่หน้าห้างพันธุ์ทิพย์ พลาซา
ราชปรารภ (ใหม่) ใกล้แอร์พอร์ตลิงก์ราชปรารภ
เคหะดินแดง (ใหม่) อยู่หน้า ร.ร.พิบูลประชาสรรค์
พระรามที่ 9 (ใหม่) ติดเดอะแกรนด์พระราม 9 ของกลุ่มจีแลนด์ เป็นสถานีร่วมรถไฟฟ้าใต้ดิน
สถานี รฟม.อยู่ในพื้นที่ รฟม.ติด ถ.พระรามที่ 9
ประดิษฐ์มนูธรรม อยู่ทางเข้าวัดพระราม ๙
รามคำแหง 12 อยู่หน้าห้างเดอะมอลล์
รามคำแหง อยู่หน้ามหาวิทยาลัยรามคำแหง
ราชมังคลาฯ อยู่หน้าสนามกีฬาหัวหมาก
หัวหมาก อยู่หน้า ร.พ.รามคำแหง
ลำสาลี ตรงแยกลำสาลีเชื่อมสีเหลือง (ลาดพร้าว-สำโรง)
ศรีบูรพา อยู่หน้าห้างบี๊กซี เอ็กซ์ตร้า สุขาภิบาล 3
คลองบ้านม้า ระหว่างรามคำแหง 92-94
สัมมากร ใกล้หมู่บ้านสัมมากร
น้อมเกล้า อยู่หน้า ร.ร.เตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า
ราษฎร์พัฒนา อยู่หน้า มิสทิน
มีนพัฒนา อยู่หน้าวัดบางเพ็งใต้
เคหะรามคำแหง ปากซอยรามคำแหง 184
มีนบุรี ซอยรามคำแหง 192 เชื่อมสีชมพู (แคราย-มีนบุรี) และ
สุวินทวงศ์ ใกล้แยกสุวินทวงศ์
จีแลนด์-กคช.รับส้มหล่น

แหล่งข่าวจาก บมจ.แกรนด์ คาแนล แลนด์ (จีแลนด์) เปิดเผยว่า สายสีส้มย้ายสถานีร่วมมาเป็นพระราม 9 ติดกับโครงการเดอะแกรนด์ฯ ของจีแลนด์ ส่งผลดีเพิ่มความคึกคักให้กับย่านพระราม 9 กลายเป็นนิวซีบีดีหรือย่านศูนย์กลางธุรกิจแห่งใหม่เต็มรูปแบบ

ปัจจุบันความคืบหน้าโครงการเดอะแกรนด์ พระราม 9 มี
1) ศูนย์การค้าเซ็นทรัล พระราม 9
2) คอนโดฯเบลล์แกรนด์ พระราม 9
3) ออฟฟิศให้เช่าเดอะไนน์ทาวเวอร์ 2 อาคาร
4) อาคารสำนักงานกลุ่มยูนิลีเวอร์
นอกจากนี้ ที่ประชุมผู้ถือหุ้นบริษัทได้อนุมัติแผนลงทุนโครงการซุปเปอร์ทาวเวอร์สูง 125 ชั้น ลงทุน 18,000 ล้านบาท

ขณะที่นายสุภัคร ลดาวัลย์ ณ อยุธยา รองผู้ว่าการการเคหะแห่งชาติ (กคช.) มองในทำนองเดียวกันว่า จากนโยบายที่จะมีการย้ายสลับตำแหน่งสถานีสายสีส้มจากฝั่งวิภาวดีรังสิตมาเป็นฝั่ง ถ.ดินแดงจะส่งผลดีกับผู้อยู่อาศัยในชุมชนแฟลตดินแดงของ กคช. ทั้งนี้ กคช.มีแผนปรับปรุงแฟลตดินแดงมีอายุกว่า 50 ปี จากปัจจุบันเป็นอาคาร 5 ชั้น 64 อาคาร รวมกว่า 4 พันยูนิต แผนแม่บทเบื้องต้นจะก่อสร้างเป็นตึกสูง 15-25 ชั้น

สำหรับความคืบหน้าโครงการ ล่าสุด เมื่อเดือน พ.ย. 2557 ที่ผ่านมา มีการจัดรับฟังความคิดเห็นจากคนในชุมชนแฟลตดินแดง เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการจัดทำแผนแม่บทฟื้นฟูเมืองชุมชนดินแดง จากนั้นจะเสนอ ครม.ภายในเดือน มี.ค.นี้ อย่างไรก็ตาม กคช. ไม่ได้ออกแบบให้มีทางเชื่อมใต้ดินกับสถานีรถไฟฟ้า เหตุผลเพราะการเชื่อมทางจะเหมาะกับโครงการที่เป็นรูปแบบคอมเมอร์เชียลมากกว่า ในขณะที่แฟลตดินแดงต้องการให้เป็นโครงการสำหรับพักอาศัย
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42749
Location: NECTEC

PostPosted: 29/01/2015 11:31 pm    Post subject: Reply with quote

รถไฟฟ้าไม่ใช่ eco-friendly ทั้งหมด
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
28 มกราคม 2558 13:20 น.

คนที่นิยมเดินทางโดยใช้บริการรถไฟฟ้า อาจจะคิดว่าตนเองเป็นอีกคนหนึ่งที่ได้ร่วมช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมนั้นคงจะต้องคิดกันใหม่ เมื่อผลการศึกษาใหม่บอกว่าที่จริงรถไฟฟ้าอาจจะทำให้อากาศสกปรกมากกว่า และส่งผลให้โลกร้อนเร็วกว่าเดิม
ในการศึกษาของ Julian Marshall จาก University of Minnesota ระบุว่าเพราะเอทานอลที่รถไฟฟ้าใช้นั้นไม่ได้เป็นพลังงานกรีน แต่อาจจะถูกสร้างความเข้าใจผิดไปว่าเทคโนโลยีบางอย่างที่เรียกว่าเทคโนโลยีสะอาดดีกว่าการใช้น้ำมันเบนซิน ดังนั้น การประเมินรถไฟฟ้าต้องดูว่าได้แหล่งพลังงานไฟฟ้าจากไหน ถ้ามาจากพลังงานแสงอาทิตย์ถึงช่วยลดโลกร้อนได้ แต่ถ้าได้จากถ่านหินย่อมไม่ใช่
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42749
Location: NECTEC

PostPosted: 04/02/2015 11:15 pm    Post subject: Reply with quote

กทม.จัดสัมมนาติดตามความคืบหน้าขนส่งระบบราง
ณัฐญา เนตรหิน
ข่าวรายวัน - คอลัมน์ : ข่าวในประเทศ
ฐานเศรษฐกิจ
วันพุธที่ 04 กุมภาพันธ์ 2015 เวลา 13:21 น.

วันนี้(4 ก.พ.58) ที่โรงแรมอินเตอร์คอนติเนนตัล เขตปทุมวัน เวลา 09.30 น. ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นประธานเปิดการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ “พัฒนาระบบขนส่งสาธารณะ พร้อมรับอนาคตกรุงเทพฯ” ซึ่งสำนักการจรารจรและขนส่งกทม.จัดขึ้น โดยเชิญผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในดำเนินโครงการระบบขนส่งสาธารณะทางรางในเขตกรุงเทพมหานครร่วมการสัมมนา อาทิ สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและการจราจร กระทรวงคมนาคม การรถไฟแห่งประเทศไทย การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) บริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด และบริษัทที่ปรึกษาโครงการที่เกี่ยวข้อง

ผู้ว่าฯ กทม. กล่าวว่า ในช่วงเวลานี้มีแผนงานและการก่อสร้างโครงการระบบขนส่งมวลชนระบบรางในเขตกรุงเทพมหานครเป็นจำนวนมาก แม้ว่ากทม.จะไม่ได้เป็นผู้ดำเนินการและรับผิดชอบในทุกสายทาง แต่เนื่องจากโครงการก่อสร้างส่วนใหญ่ดำเนินการในพื้นที่กรุงเทพฯ ซึ่งกทม.ในฐานะผู้ดูแลรับผิดชอบกรุงเทพมหานครจำเป็นต้องรับทราบถึงรายละเอียดโครงการ รวมถึงปัญหาและอุปสรรค ระยะเวลาการก่อสร้าง ตลอดจนกำหนดเวลาแล้วเสร็จ เพื่อประโยชน์ในวางแผนและจัดหาการเดินทางระบบเสริมเพื่อเชื่อมต่อการเดินทางและป้อนผู้โดยสารสู่ระบบขนส่งมวลชนระบบหลัก รวมถึงการแก้ไขปัญหาการจราจรที่สืบเนื่องจากการก่อสร้าง ทั้งนี้หากพิจารณาจากแผนแม่บทและโครงการก่อสร้างระบบรางสายทางต่างๆ พบว่ามีการบรรจบสายทางในพื้นที่เขตดอนเมืองหลายสายทาง ดังนั้นจึงเป็นการดีที่กทม.และหน่วยงานต่างๆ จะได้หารือแนวทางการบริหารจัดการ รวมถึงเชื่อมโยงการทำงานในการแก้ไขปัญหาอันเกิดจากการก่อสร้างระบบขนส่งในสายทางต่างๆ ไม่ส่งผลกระทบต่อการจราจรรวมถึงการเดินทางของประชาชน พร้อมกันนี้จะได้กำชับและขอความร่วมมือหน่วยงานรับผิดชอบโครงการต่างๆ ใช้ความระมัดระวังและดูแลความปลอดภัยระหว่างการก่อสร้างด้วย

ระบบหลัก 8 สายทาง

ปัจจุบันรถไฟฟ้าในเขตกรุงเทพมหานครตามแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ที่อยู่ระหว่างดำเนินการมีจำนวน 13 สายทาง แบ่งเป็น 8 สายหลัก และ 5 สายรอง ซึ่งความคืบหน้าการดำเนินงานรถไฟฟ้าระบบหลัก 8 สายทาง ดังนี้
1. สายสีม่วง (บางใหญ่-เตาปูน) ระยะทาง 23 กิโลเมตร จำนวน 16 สถานี จะเปิดให้บริการพ.ศ. 2559
2. สายสีน้ำเงิน (หัวลำโพง-บางแค-บางซื่อ-ท่าพระ) ระยะทาง 27 กิโลเมตร แบ่งเป็นทางยกระดับ 22 กิโลเมตร และใต้ดิน 5 กิโลเมตร รวมจำนวน 21 สถานี จะเปิดให้บริการพ.ศ. 2560
3. สายสีแดงเข้ม (บางซื่อ-รังสิต) ระยะทาง 26.3 กิโลเมตร จำนวน 10 สถานี จะเปิดให้บริการปี 2561 นอกจากนี้ยังมีแผนงานที่จะขยายเส้นทางไปยังมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์รังสิตด้วย สายสีแดงอ่อน (บางซื่อ-ตลิ่งชัน) ระยะทาง 15 กิโลเมตร จำนวน 3 สถานี จะเปิดให้บริการพ.ศ. 2561 - แม้ว่าจะส่อแววว่าจะล่าช้าเป็นปี 2562-63

4. สายสีเขียวเข้ม (แบริ่ง-สมุทรปราการ) ระยะทาง 13 กิโลเมตร จำนวน 10 สถานี ซึ่งเป็นเส้นทางส่วนต่อขยายต่อเนื่องจากรถไฟฟ้าบีทีเอสของกรุงเทพมหานคร โดยจะเปิดให้บริการพ.ศ.2562 สายสีเขียวเข้ม (หมอชิต-สะพานใหม่-คูคต) ระยะทาง 19 กิโลเมตร จำนวน 16 สถานี โดยจะแบ่งการดำเนินงานเป็น 2 ระยะ ได้แก่ หมอชิต-ตลาดยิ่งเจริญ และ ตลาดยิ่งเจริญ-คูคต คาดว่าจะเปิดให้บริการพ.ศ.2563 โดยในเส้นทางนี้มีแผนดำเนินการส่วนต่อขยายเส้นทางไปยังลำลูกกาด้วย

7. ในส่วนของสายสีเขียวอ่อน (บางหว้า-ตลิ่งชัน) ดำเนินการโดยกทม. ระยะทาง 7 กิโลเมตร จำนวน 6 สถานี ขณะนี้อยู่ระหว่างการศึกษา สำรวจและออกแบบ โดยกทม.ได้ลงนามจ้างที่ปรึกษาโครงการเมื่อเดือนม.ค.58 ที่ผ่านมา คาดว่าจะเปิดให้บริการพ.ศ.2562

8. สายสีส้ม (ตลิ่งชัน-มีนบุรี) ระยะทาง 39.6 กิโลเมตร จำนวน 30 สถานี แบ่งเป็นสถานีใต้ดิน 23 สถานี และทางยกระดับ 7 สถานี ขณะนี้อยู่ระหว่างกระทรวงคมนาคมเสนอขออนุมัติความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี และแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ (ดอนเมือง-พญาไท) ระยะทาง 21.8 กิโลเมตร จำนวน 5 สถานี คาดว่าจะเปิดบริการพ.ศ.2564

สำหรับความคืบหน้าการดำเนินการรถไฟฟ้าระบบรอง 5 สายทาง มีดังนี้
1. สายสีเทา (วัชรพล-ทองหล่อ) ระยะทาง 39.91 กิโลเมตร จำนวน 39 สถานี คาดว่าจะแล้วเสร็จพ.ศ.2562
2. สายสีชมพู (แคราย-มีนบุรี) ระยะทาง 34.5 กิโลเมตร จำนวน 30 สถานี คาดว่าจะแล้วเสร็จ 2563
3. สายสีเหลือง (ลาดพร้าว-สำโรง) ระยะทาง 30 กิโลเมตร จะแล้วเสร็จพ.ศ.2563
4. Light Rail (บางนา-สุวรรณภูมิ) ระยะทาง 18.3 กิโลเมตร จำนวน 9 สถานี
5. ในส่วนของสายสีฟ้า (กทม. 2-ถนนโยธี) ระยะทาง 5.8 กิโลเมตร จำนวน 7 สถานี อยู่ระหว่างจัดทำแผนและศึกษาโครงการ
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42749
Location: NECTEC

PostPosted: 04/02/2015 11:15 pm    Post subject: Reply with quote

รถไฟฟ้าใหม่กว่า 200 สถานนีจุดเปลี่ยนเมือง หนุนอสังหาฯ ชานกรุง-ปริมณฑลโตก้าวกระโดด
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
3 กุมภาพันธ์ 2558 23:09 น. (แก้ไขล่าสุด 4 กุมภาพันธ์ 2558 07:23 น.)


คลิกที่ภาพเพื่อดูขนาดใหญ่ขึ้น
รถไฟฟ้าใหม่กว่า 200 สถานนีจุดเปลี่ยนเมือง หนุนอสังหาฯ ชานกรุง-ปริมณฑลโตก้าวกระโดด
บิ๊กศูนย์ข้อมูลฯ ชี้รถไฟฟ้าเส้นทางใหม่กว่า 200 สถานี ในอีก 5 ปี หนุนตลาดอสังหาฯ โตก้าวกระโดด โดยเฉพาะ กทม.รอบนอก และปริมณฑล พร้อมคาดอสังหาฯ ปี 58 โตแค่ 5% ตาม GDP ไตรมาสแรก หวังงานมหกรรมบ้านและคอนโด ช่วง มี.ค.นี้ช่วยกระตุ้นตลาด

นายสัมมา คีตสิน ผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ เปิดเผยว่า ภาพรวมตลาดอสังหาริมทรัพย์ในปี 58 คาดว่าจะเติบโตเพียง 5% ตามการเติบโตของ GDP โดยในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา ตลาดยังทรงตัวต่อเนื่อง อีกทั้งยังไม่มีแรงหนุนจากปี 57 มาช่วยกระตุ้นตลาด อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าไตรมาส 1 ตลาดอสังหาฯ จะกระเตื้องขึ้นได้จากผลการจัดงานมหกรรมบ้านและคอนโด ที่จะเกิดขึ้นในช่วงเดือนมีนาคมนี้ ซึ่งจะช่วยกระตุ้นให้ตลาดกลับมาคึกคักได้

สำหรับตลาดอสังหาฯ ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล ในปัจจุบันยังคงทรงตัว โดยเฉลี่ยทั้งปีจะมีความต้องการอยู่ที่ประมาณ 1.1-1.2 แสนยูนิต/ปี ซึ่งจะทรงในระดับนี้ต่อเนื่อง แต่จะขยับไปโตในโซนกรุงเทพฯ รอบนอก และปริมณฑล ซึ่งตลาดอสังหาฯ กรุงเทพฯ ชั้นในยังเป็นตลาดคอนโดฯ หรู ศูนย์การค้าหรู อาคารสำนักงาน ส่วนทำเลรอบนอกกรุงเทพฯ และปริมณฑลจะเป็นที่อยู่อาศัยแนวราบ และคอนโดฯ ตามแนวรถไฟฟ้า

ทั้งนี้ การเปลี่ยนแปลงของเมืองในปัจจุบันถือว่าเร็วมาก 5 ปีที่ผ่านมา เปลี่ยนแปลงเร็วกว่า 10 ปีก่อนหน้านี้ และอีก 5 ปีข้างหน้า เมืองจะเปลี่ยนแปลงไปเร็วมากโดยเฉพาะโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าส่วนต่อขยาย และเส้นทางใหม่หากดำเนินงานตามแผนที่วางเอาไว้ในอีก 5 ปีข้างหน้าจะมีสถานีรถไฟฟ้ากว่า 200 สถานี กระจายออกไปรอบนอกกรุงเทพฯ และปริมณฑล จากปัจจุบันมี 63 สถานี อีกทั้งยังมีจุดเชื่อมต่อสถานอีกกว่า 50 สถานี จะทำให้เมืองเปลี่ยนไปจากปัจจุบันอย่างมาก

“การขยายเส้นทางรถไฟฟ้าเป็นปัจจัยบวกสำคัญมากที่จะทำให้ตลาดที่อยู่อาศัยขยายตัวอย่างก้าวกระโดด ตลาดจะกระจายออกไปตามกรุงเทพฯ รอบนอก และปริมณฑลมากขึ้น นอกจากนี้การตัดถนนเส้นทางใหม่ๆ จะช่วยให้ตลาดอสังหาฯ เติบโตเช่นกัน”
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 107, 108, 109 ... 278, 279, 280  Next
Page 108 of 280

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©