Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311296
ทั่วไป:13272960
ทั้งหมด:13584256
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 110, 111, 112 ... 278, 279, 280  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42750
Location: NECTEC

PostPosted: 18/03/2015 10:28 pm    Post subject: Reply with quote

บอร์ด รฟม.คิดเอาที่ดินเวนคืนทำรถไฟฟ้ามาพัฒนาเชิงพาณิชย์ เสนอแก้พระราชบัญญัติ รฟม.
โดย ไทยรัฐฉบับพิมพ์
18 มีนาคม 2558 เวลา 05:01


พล.อ.ยอดยุทธ บุญญาธิการ ประธานคณะกรรมการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (บอร์ด รฟม.) เปิดเผยว่า เร็วๆ นี้ สถาบันเทคโนโลยี พระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ได้รายงานความคืบหน้าเบื้องต้นโครงการศึกษาพัฒนาพื้นที่โดยรอบบริเวณศูนย์ซ่อมบำรุงรถไฟฟ้าสายเฉลิมรัชมงคล (รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วงหัวลำโพง-บางซื่อ) เขตห้วยขวาง ถนนพระราม 9 ซึ่งพื้นที่ดังกล่าวมีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 1,000 ไร่ ใช้สำหรับก่อสร้างศูนย์บำรุงรถไฟฟ้าประมาณ 300 ไร่ ปัจจุบันเหลือพื้นที่ประมาณ 700 ไร่ ในจำนวนนี้ได้มีการจัดสรรที่ดิน โดยส่วนหนึ่งก่อสร้างเป็นสำนักงาน รฟม. บริษัท รถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด สำนักงานสนามบริษัท ผู้รับเหมา โครงการรถไฟฟ้าส่วนต่อขยาย และกลุ่มบริษัทที่ปรึกษา แต่ยังคงเหลือพื้นที่อีกจำนวนมาก สำหรับแนวทางการพัฒนาพื้นที่ประมาณ 700 ไร่ จะเน้นการใช้พื้นที่เกี่ยวกับกิจการด้านคมนาคม เช่น ศูนย์กลางระบบราง กระทรวงคมนาคม สำนักงานโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายในอนาคต ศูนย์ซ่อมบำรุงรถไฟฟ้าสายสีส้ม ตลิ่งชัน-มีนบุรี รวมถึงการเสนอพัฒนาในเชิงพาณิชย์ เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม สำหรับผลการศึกษาโครงการพัฒนาพื้นที่ดังกล่าวยังไม่สามารถดำเนินการได้ทันที เพียงแต่มีการปรับพื้นที่รองรับไว้ โดยนำดินที่ขุดจากการสร้างอุโมงค์ใต้ดินมาใช้ให้เป็นประโยชน์ ส่วนแนวทางที่เสนออาจจะใช้เป็นกรอบแนวทางในการพัฒนาพื้นที่ในอนาคต เนื่องจากเพราะพื้นที่ดังกล่าวได้มาจากการเวนคืนที่ดิน หากจะมีการเปลี่ยน แปลงวัตถุประสงค์การใช้ที่ดิน จะต้องเสนอขอแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เช่น พระราชบัญญัติ รฟม. ขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินการแก้ไข ทั้งในส่วนของโครงสร้างอำนาจบริหาร และการใช้พื้นที่ที่ได้จาก การเวนคืนเพื่อดำเนินการในเชิงพาณิชย์ ขณะเดียวกัน จะต้องพิจารณารายละเอียดกฎหมายอื่นประกอบกัน เช่น ร่างกฎหมายรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ กฎหมายเวนคืนที่ ซึ่งจะมีการปรับปรุงแก้ไขใหม่ เป็นต้น ทั้งนี้ พื้นที่ศูนย์ซ่อมบำรุง รฟม. มีโครงการที่จะพัฒนาในเชิงพาณิชย์ ที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการรถไฟฟ้า และได้สอบถามไปยังคณะกรรมการกฤษฎีกาถึงอำนาจหน้าที่ รฟม. สามารถดำเนินการได้หรือไม่ และล่าสุดคณะกรรมการกฤษฎีกาให้ความเห็นว่า รฟม.ไม่สามารถนำพื้นที่ดังกล่าว รวมถึงพื้นที่อื่นที่ได้จากการเวนคืนไปพัฒนาในเชิงพาณิชย์ได้ หากจะดำเนินจริงจะต้องเสนอขอแก้ไขกฎหมายเพื่อรองรับภารกิจดังกล่าว.
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42750
Location: NECTEC

PostPosted: 18/03/2015 10:35 pm    Post subject: Reply with quote

‘กลุ่มบีเอสวี’ กินรวบตั๋วร่วม นำร่อง BTS-MRT
ออนไลน์เมื่อ วันศุกร์ที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2558 เวลา 11:51 น.
โดย กอง บก.ฐานเศรษฐกิจ อสังหา REAL ESTATE -
คอลัมน์ : อสังหาฯ-คมนาคม
ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 35 ฉบับที่ 3,035 วันที่ 15 - 18 มีนาคม พ.ศ. 2558

คมนาคมเลือกกลุ่มบีเอสวี ที่มีบีทีเอสเป็นแกนนำทำโครงการระบบตั๋วร่วม ตีกรอบใช้งานได้ภายใน 30 เดือน นำร่อง เฟสแรกใช้ ควบคู่กับ BTS-MRT- แอร์พอร์ตลิงค์ และเครือข่ายอื่นๆ ภายในสิ้นปี 2559 ส่วนผู้ใช้บริการ พกบัตรเดียวใช้ได้ทุกระบบ เผยใช้งบ 338 ล้านดำเนินการ
alt พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า สำนักงานนโยบายและแผน การขนส่งและจราจร (สนข.) ได้ลงนามในสัญญาจ้างโครงการจัดทำระบบศูนย์บริหารจัดการรายได้กลาง กับกลุ่มบีเอสวี (BSV) ที่มีบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด(มหาชน)หรือบีทีเอส เป็นที่เรียบร้อย โดยมีกรอบการทำงาน 42 เดือน จากนี้จะเร่งเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาอนุมัติจัดตั้งคณะกรรมการระบบตั๋วร่วมระดับชาติที่มีรมว.คมนาคม เป็นประธาน เพื่อกำหนดนโยบายด้านการขนส่งและมาตรการพร้อมบทบาทของหน่วยงานระบบขนส่งในการเข้าร่วมโครงการตั๋วร่วม รวมถึงพิจารณากรอบอัตราค่าโดยสารร่วม
"บัตรรูปแบบเก่าจะทยอยยกเลิกไป ขณะที่ทางด่วนยังคงใช้บัตรเดิมไปก่อน หากแล้วเสร็จและใช้ระบบตั๋วใหม่ก็จะสามารถใช้งานได้กับทุกด่าน แต่หากส่วนไหนเสร็จแล้วและมีความพร้อมก็จะทยอยนำเข้ามาสู่ระบบต่อไป และในเดือนมีนาคมนี้ก็สามารถออกแบบบัตรได้แล้ว ต่อไปจะเร่งติดตั้งระบบมาตรฐาน คาดว่าจะสามารถดำเนินการได้เร็วกว่าแผน"
ในส่วนระบบศูนย์บริหารจัดการรายได้กลาง (CCH)นั้นจะแล้วเสร็จและพร้อมใช้งานในเดือนสิงหาคม 2559 ส่วนการเชื่อมต่อระบบตั๋วร่วมกับระบบขนส่งสาธารณะต่างๆ คาดว่าจะเชื่อมต่อและให้บริการได้ภายในเดือนสิงหาคม 2560 โดยจะเป็นการดำเนินการร่วมกับผู้บริหารจัดการระบบตั๋วร่วม (CTC) ที่อยู่ในระหว่างการดำเนินการจัดตั้ง
ด้านนายพีระพล ถาวรสุภเจริญ ผู้อำนวยการสนข. กล่าวว่า ได้กำหนดมาตรฐานบัตรสามารถชำระเงินครอบคลุมทั้งภาคขนส่งและร้านค้าต่างๆ นอกเหนือจากสามารถใช้บัตรตัวใหม่นี้เพื่อเดินทางไปยังระบบขนส่งมวลชนต่างๆ ได้ด้วยบัตรใบเดียวแล้ว บัตรนี้ยังจัดให้มีโครงสร้างที่สามารถรองรับการจัดทำเที่ยวโดยสารร่วม (CTP-Common Trip Pass) ที่สามารถใช้เดินทางได้กับทุกระบบขนส่งที่รองรับการให้บริการ พร้อมกันนี้ยังรองรับการให้สิทธิพิเศษสำหรับกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ เช่น นักเรียน ผู้สูงอายุ และผู้มีรายได้น้อย เป็นต้น
"ระบบเดิมที่แต่ละรายใช้อยู่ในปัจจุบันจะต้องมีการทยอยปรับให้สามารถเข้ามาใช้กับระบบตั๋วร่วมได้ภายใน 1-2 เดือนนี้โดยการคัดเลือกระบบราง 1 โครงการ และระบบทางด่วน 1 โครงการเป็นการนำร่อง ขณะนี้มีหน่วยงานต่างๆแสดงความสนใจและเข้าร่วมหลายรายแล้ว ในอนาคตจะมีการใช้รูปแบบบัตรเดียวกันทั้งหมด ปัจจุบันผู้ประกอบการเดินรถมีค่าใช้จ่ายบริหารประมาณ 3% หากใช้ระบบตั๋วร่วมจะเสียค่าใช้จ่ายประมาณ 1% ส่วนการเจรจาเชื่อมโยงกับประเภทธุรกิจนอกเหนือจากการเดินรถนั้นขึ้นอยู่กับข้อตกลงแต่ละราย อีกทั้งยังจะมีการปรับลดค่าแรกเข้าซึ่งจัดเก็บประมาณ 15 บาทอีกด้วย"
ขณะเดียวกันสิ่งที่สนข.ต้องทำควบคู่ไปกับการพัฒนาระบบตั๋วร่วมก็คือเร่งดำเนินการจัดตั้งบริษัทร่วมทุนระหว่างรัฐและเอกชน ซึ่งจะดำเนินการตามพระราชบัญญัติการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2556 อยู่ระหว่างนำเสนอต่อกระทรวงคมนาคม และครม.พิจารณาให้ความเห็นชอบในหลักการเพื่อจะได้ดำเนินการตามขั้นตอนต่อไป
ด้านดร.เผด็จ ประดิษฐเพชร รักษาราชการ ผู้อำนวยการสำนักงานโครงการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม สนข. กล่าวเสริมว่า บริษัทจำกัดที่ก่อตั้งขึ้นนั้นจะมีการใช้งบประมาณหมุนเวียนราว 600 ล้านบาท เบื้องต้นมาจากเงินงบประมาณ 338 ล้านบาท โดยในบริษัทจำกัดนี้ภาครัฐถือหุ้นไม่เกิน 50% พร้อมกันนี้เตรียมงบ 244 ล้านบาท ปรับปรุงระบบต่างๆ ที่ใช้งานอยู่ในปัจจุบันให้สามารถมาใช้ระบบตั๋วร่วมที่จัดทำใหม่นี้ได้คือ งบ 80 ล้านบาทใช้กับโครงการรถไฟฟ้า MRT 90 ล้านบาทใช้กับบีทีเอส และ 60 ล้านบาทใช้กับแอร์พอร์ตเรลลิงค์ ขึ้นอยู่กับจำนวนช่องประตูการเข้า-ออก ทั้งนี้ต้องเตรียมเงินไว้เพื่อการซ่อมบำรุงและดูแลระบบอีกราว 160 ล้านบาท
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42750
Location: NECTEC

PostPosted: 20/03/2015 12:58 am    Post subject: Reply with quote

รฟม.คาดปี 63 คน กทม.ใช้รถไฟฟ้าครบ6สาย สายสีชมพู-เหลืองรอเสนอ ครม.ขออนุมัติโครงการ

ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
18 มีนาคม พ.ศ. 2558 เวลา 16:40:13 น.


เมื่อเวลา 12.00 น. ที่ทำเนียบรัฐบาล มีการประชุมคณะกรรมการเศรษฐกิจ (คณะรัฐมนตรีเศรษฐกิจ) โดยนายพีระยุทธ สิงห์พัฒนากุล ผู้อำนวยการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) แถลงความก้าวหน้าการดำเนินงานโครงการถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในกรุงเทพฯและปริมณฑล ว่า รฟม.มีเขตความรับผิดชอบอยู่ 6 สายทาง แบ่งเป็นส่วนที่อยู่ระหว่างก่อสร้าง ได้แก่ รถไฟฟ้าสายสีม่วง (บางใหญ่-บางซื่อ) ระยะทาง 23 กิโลเมตร ปัจจุบันอยู่ระหว่างการดำเนินการระบบไฟฟ้า คาดว่าจะเปิดเดินรถได้กลางปี 59 คาดว่าจะเริ่มทยอยเดินรถได้ภายในไตรมาสแรกของปี 59 ทั้งนี้ครั้งที่นายกฯได้เดินทางไปญี่ปุ่นได้เร่งรัดให้ประกอบตัวรถให้เร็วขึ้น และจะทยอยส่งมาในเดือนกันยายนนี้ และจะทดลองเดินรถชั่วคราวในเดือนมีนาคม และจะเปิดบริการเต็มรูปแบบในปีหน้า ทั้งนี้นายกรัฐมนตรีเร่งรัดให้เดินรถขบวนแรกได้ก่อนปีใหม่

สายสีน้ำเงินส่วนต่อขยายระยะทาง 27 กิโลฯ ปัจจุบันงานโยธาฯ ก้าวหน้าไปแล้วร้อยละ 60 ส่วนระบบการเดินรถขณะนี้อยู่ระหว่างคัดเลือกเอกชนมาร่วมลงทุน คาดว่าคงได้ข้อสรุปเร็ว ๆ นี้ ซึ่งคาดว่าจะเริ่มเปิดการเดินรถได้กลางปี 61 และทยอยเปิดเรื่อยไปถึงปี 62

สายสีเขียวช่วงต่อขยายไปจากโครงการบีทีเอสของ กทม. มีสองส่วน คือ ส่วนใต้ (แบริ่ง-สมุทรปราการ) ก่อสร้างไปแล้วร้อยละ 50 คาดว่าเมื่อได้ข้อสรุปรูปแบบการเดินรถจากการหารือกับบีทีเอสแล้ว คิดว่าจะเปิดเดินรถได้ต้นปี 63 และส่วนเหนือ (หมอชิต-สะพานใหม่-คูคต) ซึ่งรฟม.ได้ประกวดราคาแล้วเสร็จ คาดว่าจะลงนามสัญญาว่าจ้างผู้รับจ้างดำเนินการก่อสร้างได้เดือนเมษายนปีนี้ และเริ่มก่อสร้างได้มิถุนายน ซึ่งระยะเวลาก่อสร้างคาดว่าใกล้เคียงกับส่วนใต้ คาดว่าจะเปิดเดินรถได้ต้นปี 63

สำหรับโครงการที่อยู่ระหว่างเสนอ ครม.อนุมัติและประกวดราคา ได้แก่ รถไฟฟ้าสายสีส้มส่วนตะวันออก (พระรามเก้า-มีนบุรี) ระยะทาง 21 กิโลเมตร ซึ่งโครงการอยู่ระหว่างอนุมัติ ครม. คาดว่าแผนจะเริ่มประกวดราคาได้ภายในปีนี้ และเริ่มก่อสร้างได้ปี 59 ซึ่งจะใช้เวลาในการก่อสร้าง 4 ปี และเปิดเดินรถได้กลางปี 63 และอีก 2 โครงการ คือ สายสีชมพูและสายสีเหลือง มีสถานะใกล้เคียงกันคือ รฟม. ขอเสนอครม.เพื่ออนุมัติโครงการ ขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของกระทรวงคมนาคม แผนจะสามารถประกวดราคาได้ในปี 59 เริ่มก่อสร้างได้ปี 60 และเปิดโครงการได้ในปี 63
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42750
Location: NECTEC

PostPosted: 23/03/2015 2:47 am    Post subject: Reply with quote

รฟม. คาดรถไฟฟ้าสายสีส้มเริ่มสร้างปี 59
by Passavee Thitiphonwattanakul
VoiceTV
22 มีนาคม 2558 เวลา 16:32 น.


การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย คาดรถไฟฟ้าสายสีส้มเริ่มสร้างปี 2559

การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ได้ศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม เพื่อก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีส้ม ตะวันออก พระราม9–มีนบุรี เสร็จสิ้นแล้ว แต่ยังเหลือในส่วนที่มีการเปลี่ยนแนวเส้นทางไปใช้ถนนพระราม 9 ซึ่งส่งผลการศึกษาไปยังสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมพิจารณา หากผ่านการับรองแล้ว จะนำเสนอผลต่อ บอร์ด รฟม. เพื่อเสนอต่อกระทรวงคมนาคมและและคณะรัฐมนตรีอนุมัติ

//--------------


เร่งเดินหน้าสายสีเหลืองและสายสีชมพูให้เริ่มก่อสร้างได้ในปี60
เดลินิวส์
วันอาทิตย์ 22 มีนาคม 2558 เวลา 12:01 น.
รายงานข่าวจากการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(รฟม.)เปิดเผยถึงความคืบหน้าในการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันออกพระราม9–มีนบุรีว่า ขณะนี้การศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม(อีไอเอ)ดำเนินการเสร็จสิ้นแล้วแต่ยังเหลือเพิ่มเติมในส่วนที่มีการเปลี่ยนแนวเส้นทางไปใช้ถนนพระราม9ซึ่งทาง รฟม.ได้ส่งผลการศึกษาไปยังสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม(สผ.)โดยหากผ่านการับรองแล้วจะนำเสนอผลต่อคณะกรรมการบริหารกิจการ(บอร์ด)รฟม.เพื่อเสนอต่อกระทรวงคมนาคมและและคณะรัฐมนตรี(ครม.)อนุมัติ คาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 1-2เดือน อย่างไรก็ตามหลังจากที่ครม.อนุมัติการคาดว่าจะสามารถเปิดประกวดราคาหาผู้รับเหมาก่อสร้างได้ประมาณปี2559 สำหรับรถไฟฟ้าสายสีเหลืองช่วงลาดพร้าว-สำโรงระยะทาง30.4กิโลเมตรและสายสีชมพูช่วงแคราย-มีนบุรี34.5กิโลเมตรอยู่ระหว่างการพิจารณาของกระทรวงคมนาคมและเสนอต่อ ครม.ซึ่งคาดว่าทั้ง2สายจะเริ่มก่อสร้างได้ประมาณปี2560นี้ เช่นกัน.

คาดว่า จะใช้เวลาประมาณ 1-2 เดือน และสามารถเปิดประกวดราคาหาผู้รับเหมาก่อสร้างได้ประมาณปี 2559
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44637
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 24/03/2015 8:39 am    Post subject: Reply with quote

นายกฯยันรถไฟฟ้า10สายแล้วเสร็จในปี63
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ วันที่ 23 มีนาคม 2558, 12:00

"พล.อ.ประยุทธ์" ยืนยันรถไฟฟ้า 10 สายจะดำเนินการแล้วเสร็จภายในปี 2563 พร้อมหนุนเอกชนค้าขายเขตชายแดน แก้ปัญหากับดักรายได้ปานกลาง

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เปิดเผยในการประชุมสามัญประจำปี2558 สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย หรือ ส.อ.ท. ปาฐกถาพิเศษ เรื่องการเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันการค้าของประเทศไทยว่า ภายในปี 2563 จะเร่งดำเนินการสร้างรถไฟฟ้าให้ได้ครบทั้ง 10 สาย เพื่อสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกให้กับประชาชน นอกจากนี้ยังจะเร่งสนับสนุนการค้าชายแดนให้เพิ่มมากขึ้น เนื่องจากมีโอกาสในการสร้างรายได้ให้กับประเทศ

แต่ทั้งนี้การค้าชายแดน ไทยยังประสบกับปัญหาเรื่องราคา เนื่องจากสินค้าไทยมีราคาแพง ดังนั้นอาจจำเป็นต้องลดต้นทุนในด้านผลิตภัณฑ์เพื่อให้สินค้ามีราคาถูกลง เช่น การปรับปรุงแพคเกจทำเป็น กล่องยาสีฟันช่วยชาติ เป็นต้น

นอกจากนี้ สิ่งสำคัญในการดำเนินธุรกิจภาครัฐและเอกชนจะต้องมีการหารือร่วมกัน เพราะแต่ละฝ่ายไม่สามารถต่างคนต่างเดินได้ จะต้องมีการประสานความร่วมมือกัน ทำความเข้าใจกันเพื่อเชื่อมโยงการดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพ

ทั้งนี้ นายกฯ กล่าวว่า การจะให้ประเทศก้าวต่อไปได้นั้น จะต้องทำให้ประเทศไทยหลุดออกจากประเทศที่มีรายได้ปานกลาง จะต้องมีการเพิ่มรายได้ให้กับคนจน สร้างรายได้ให้กับประเทศ การจัดเก็บภาษีที่เพิ่มขึ้น แต่สำหรับปัจจุบันยังพบอุปสรรค คือ เศรษฐกิจโลกยังมีความผันผวนจึงส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยให้ชะงักไปด้วย
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44637
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 03/04/2015 9:36 pm    Post subject: Reply with quote

"รฟม."เตรียมเสนอ ครม.เคาะรถไฟฟ้า 3 สาย
NOW 26 ข่าวค่ำ ตรงประเด็น วันที่ 03 เมษายน 2558

พล.อ.ยอดยุทธ บุญญาธิการ ประธานกรรมการ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(รฟม.) เปิดเผยว่า รฟม.เตรียมศึกษาความเหมาะสมเพื่อขยายรถไฟฟ้าอีก 3 เส้นทาง ได้แก่ สายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย ช่วงบางแค-พุทธมณฑลสาย 4 และ ช่วงพุทธมณฑลสาย4-อ้อมน้อย รวมทั้งสายสีน้ำตาล ช่วงแคราย-ลำสาลี
โครงการดังกล่าวกำลังออกแบบและทำรายงานผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) คาดว่างานออกแบบจะเสร็จเดือน ส.ค.2558 และ รฟม.จะเสนออนุมัติก่อสร้างเดือน ก.ย.2558 และคาดว่า ครม.อนุมัติเดือน ธ.ค.2558 และเริ่มการก่อสร้างปี 2560 และเปิดให้บริการได้ในช่วงปี 2564

ทั้งนี้ โครงการส่วนต่อขยายสายสีน้ำเงินมีระยะทาง 3 กิโลเมตร 4 สถานี ส่วนโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล ช่วงแคราย-ลำสาลี ระยะทาง 21.6 กิโลเมตร 22 สถานี
สำหรับความคืบหน้ารถไฟฟ้าเส้นทางอื่น สายสีเขียวช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ การก่อสร้างคืบหน้าไปแล้วกว่า 60% โดยคาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2563
สายสีม่วง บางใหญ่-บางซื่อ การก่อสร้างคืบหน้า 99% เปิดบริการวันที่ 12 ส.ค. 59
สายสีน้ำเงินช่วงหัวลำโพง-บางแค และช่วงเตาปูน-ท่าพระ คืบหน้า 60% เปิดบริการปี 2561
สายสีส้ม ตลิ่งชัน - มีนบุรี แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ช่วงพระราม 9 - มีนบุรี และช่วงตลิ่งชัน-พระราม 9 อยู่ระหว่างเตรียมการเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) คาดว่าจะก่อสร้างปี 2559 และเปิดบริการปี 2563
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42750
Location: NECTEC

PostPosted: 07/04/2015 8:25 am    Post subject: Reply with quote

รฟม.เตรียมชง ครม.อนุมัติรถไฟฟ้า 7 โครงการในปีนี้


โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
6 เมษายน 2558 07:58 น. (แก้ไขล่าสุด 6 เมษายน 2558 10:40 น.)




บอร์ด รฟม.เห็นชอบก่อสร้างรถไฟฟ้าสีม่วงใต้ ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก) มูลค่า 1.03 แสนล้าน ชง ครม.ขออนุมัติ ส.ค.นี้ “ยอดยุทธ” เผยปี 58 จะเดินหน้าขออนุมัติก่อสร้างรวม 7 โครงการ ทยอยประมูล ชมพู, เหลือง, ส้ม, ม่วงใต้, น้ำตาล, น้ำเงินต่อขยายถึงอ้อมน้อย คาดก่อสร้างเสร็จหมดในปี 64 พร้อมปรับแผนเดินรถสีชมพูและสีเหลืองเป็นสัมปทาน PPP Net Cost

พล.อ.ยอดยุทธ บุญญาธิการ ประธานคณะกรรมการ (บอร์ด) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมบอร์ด รฟม. เมื่อวันที่ 3 เม.ย.ที่ผ่านมามีมติเห็นชอบการก่อสร้างงานโยธาโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก) กรอบวงเงินรวม 103,949 ล้านบาท โดยให้ รฟม.เสนอกระทรวงคมนาคม และคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่ออนุมัติภายในเดือน ส.ค.นี้เพื่อเริ่มก่อสร้างในปี 2560 และเปิดให้บริการในปี 2563 พร้อมทั้งได้อนุมัติหลักการร่าง พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนฯ และเพื่อกิจการขนส่งมวลชนฯ ซึ่งจะเสนอสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณาตามขั้นตอนต่อไปอนุมัติแหล่งเงินโครงการ

ทั้งนี้ เห็นชอบให้ รฟม.กู้เงินตาม พ.ร.บ. รฟม. มาตรา 75(3) โดยให้กระทรวงการคลังจัดหาแหล่งเงินกู้ที่เหมาะสมสำหรับค่าก่อสร้างงานโยธา และค่าจ้างที่ปรึกษาโครงการ กรอบวงเงิน 87,147 ล้านบาท และให้สำนักงบประมาณจัดสรรงบประมาณ เป็นค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินภายในกรอบวงเงิน 16,803 ล้านบาท พรัอมทั้งให้สำนักงบประมาณจัดสรรเงินงบประมาณประจำปีให้เป็นรายได้แก่ รฟม.ให้เพียงพอต่อการดำเนินงานต่างๆ เช่น การชำระหนี้ เงินต้น และดอกเบี้ย และเงินชดเชยสาธารณะตามที่กระทรวงการคลังจะตกลงกับ รฟม.ต่อไป

สำหรับรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก) ระยะทาง 23.6 กม. รวม 17 สถานี เป็นโครงสร้างใต้ดิน 12.6 กม. จำนวน 10 สถานี โครงสร้างยกระดับ 11 กม. จำนวน 7 สถานี

นอกจากนี้ บอร์ดยังเห็นชอบการทบทวนรูปแบบการลงทุนโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วง แคราย-มีนบุรี กรอบวงเงินค่าก่อสร้างงานโยธา 31,261 ล้านบาท ระยะทาง 34.5 กม. และสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง กรอบวงเงินค่าก่อสร้างงานโยธา 31,675 ล้านบาท ระยะทาง 30.4 กม. จากเดิมที่ รฟม.จะจัดซื้อระบบรถไฟฟ้าเอง (PSC) โดยอนุมัติดำเนินโครงการ โดยให้เอกชนร่วมลงทุนในรูปแบบ PPP Net Cost (ภาครัฐลงทุนค่างานโยธาและที่เกี่ยวข้อง และภาคเอกชนลงทุนค่างานระบบรถไฟฟ้าและขบวนรถไฟฟ้ารวมทั้งบริหารการเดินรถและซ่อมบำรุง) โดยให้ รฟม.ดำเนินการตามขั้นตอนของพระราชบัญญัติการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2556 ต่อไป ซึ่งรูปแบบ PPP Net Cost นั้นจะมีความเสี่ยงด้านรายได้ค่าโดยสาร, ด้านการเงิน และด้านต้นทุนการจัดหาระบบรถไฟฟ้าและให้บริการต่ำ เนื่องจากเอกชนเป็นผู้รับความเสี่ยง คาดว่าจะเสนอเรื่องไปกระทรวงคมนาคมเพื่อเสนอ ครม.ได้ในเดือน เม.ย. คาดว่าจะเริ่มก่อสร้างได้ในปี 2560 เปิดให้บริการในปี 2563

พล.อ.ยอดยุทธกล่าวว่า ในปี 2558 รฟม.จะเสนอ ครม.ขออนุมัติดำเนินการก่อสร้างรถไฟฟ้ารวม 7 โครงการ คือ สายสีชมพู, สีเหลืองส่วนสายสีส้ม (ตลิ่งชัน-มีนบุรี) ขณะนี้ได้เสนอกระทรวงคมนาคมพิจารณาอนุมัติในช่วงตะวันออก (พระราม 9-มีนบุรี) คาดว่า ครม.จะพิจารณาในเดือน มิ.ย. ส่วนช่วงตะวันตก (ตลิ่งชัน-พระราม 9) อยู่ระหว่างศึกษาออกแบบและจัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) คาดว่าจะแล้วเสร็จในเดือน มิ.ย. 2558 และเสนอบอร์ด รฟม.ได้ในเดือน ก.ค. และเสนอ ครม.อนุมัติในเดือน ต.ค. 2558 เริ่มประกวดราคาก่อสร้างในปี 2558-2559 เปิดให้บริการในปี 2563

อย่างไรก็ตาม รฟม.ได้เตรียมพร้อมศึกษาความเหมาะสมในการดำเนินโครงการรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายอีก 3 เส้นทาง ได้แก่ สายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย ช่วงบางแค-พุทธมณฑลสาย 4 ระยะทาง 8 กม. โดยอยู่ระหว่างศึกษาออกแบบและจัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) คาดว่าจะแล้วเสร็จในเดือน ส.ค. 2558 และเสนอ ครม.ขออนุมัติก่อสร้างโครงการ ในเดือน ธ.ค. 2558, สายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย ช่วงพุทธมณฑลสาย 4-อ้อมน้อย ระยะทาง 3 กม. มี 4 สถานี ขณะนี้อยู่ระหว่างศึกษาความเหมาะสม, สายสีน้ำตาล ช่วงแคราย-ลำสาลี ระยะทาง 21.6 กม. จำนวน 22 สถานี อยู่ระหว่างการพิจารณาของกระทรวงคมนาคม

ส่วนการคัดเลือกเอกชนลงทุนโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ส่วนต่อขยาย ช่วงหัวลำโพง-บางแค และช่วงเตาปูน-ท่าพระนั้น บอร์ดเห็นชอบตามมติคณะกรรมการมาตรา 13 พ.ร.บ.ว่าด้วยเอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535 ในการเจรจาตรงกับบริษัท รถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BMCL ผู้ให้บริการเดินรถไฟฟ้าสายเฉลิมรัชมงคล เพื่อให้การเดินรถโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินฯ เป็นการเดินรถต่อเนื่องตลอดสาย โดยใช้รูปแบบการลงทุนแบบ PPP Net-Cost เป็นลำดับแรก เนื่องจากมีความคุ้มค่าสูงกว่า มีความเสี่ยงด้านรายได้ค่าโดยสาร, ด้านการเงิน และด้านต้นทุนการจัดหาระบบรถไฟฟ้าและให้บริการต่ำ หากไม่ประสบผลสำเร็จให้ใช้รูปแบบ PPP Gross Cost ต่อไป ซึ่งขั้นตอนจากนี้ รฟม.จะต้องเสนอให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) และกระทรวงการคลังเห็นชอบก่อน แล้วจึงเสนอให้กระทรวงคมนาคม เพื่อเสนอ ครม.เห็นชอบต่อไป

อย่างไรก็ตาม บอร์ดเห็นชอบการควบบริษัทระหว่างบริษัท รถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BMCL กับบริษัท ทางด่วนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BECL ซึ่งจะมีการโอนสัมปทานสัญญาโครงการระบบรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล และโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงบางใหญ่-บางซื่อ ของ BMCL ด้วย
https://www.youtube.com/watch?feature=player_embedded&v=QKhXYFcWSR4

//--------------

บอร์ด รฟม.ไฟเขียวรถไฟฟ้า 3 สาย เตรียมชง ครม.อนุมัติ
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
7 เมษายน 2558 13:11 น.
รถไฟฟ้าสีเหลือง-ชมพูมาแน่! เตรียมชง ครม. หลังให้เอกชนซื้อขบวนรถเอง
โดย ไทยรัฐฉบับพิมพ์
7 เมษายน 2558 07:30

พล.อ.ยอดยุทธ บุญญาธิการ ประธานคณะกรรมการ (บอร์ด) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมบอร์ดเมื่อวันที่ 3 เมษายน เห็นชอบให้ดำเนินโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ ส่วนต่อขยาย เตาปูน-ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก) ระยะทาง 23.6 กิโลเมตร วงเงินก่อสร้าง 103,949 ล้านบาท โดยหลังจากนี้จะเสนอกระทรวงคมนาคมเพื่อเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรี ขออนุมัติแหล่งเงิน โดยให้สำนักงบประมาณจัดสรรงบประมาณค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน 16,803 ล้านบาท กระทรวงการคลังจัดหาแหล่งเงินกู้สำหรับงานก่อสร้างและค่าจ้าง ที่ปรึกษา 87,147 ล้านบาท รวมทั้งออกพระราชกฤษฎีกาเวนคืนที่ดิน ส่วนการประกวดราคาต้องรอหลังจากคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติเห็นชอบแผนการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA)

นอกจากนี้ เห็นชอบให้ปรับรูปแบบการลงทุนโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี ระยะทาง 34.50 กิโลเมตร วงเงินก่อสร้าง 31,261 ล้านบาท และรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง ระยะทาง 29.10 กิโลเมตร วงเงินก่อสร้าง 31,675 ล้านบาท มาเป็นรูปแบบพีพีพี เน็ต คอสต์ (PPP Net Cost) คือให้รัฐเป็นผู้ลงทุนค่าก่อสร้างและส่วนที่เกี่ยวข้อง ส่วนเอกชนลงทุนงานระบบรถไฟฟ้า จัดหาขบวนรถ และบริหารเดินรถและซ่อมบำรุง จากเดิม รฟม.ลงทุนจัดหาขบวนรถเอง

ทั้งนี้ ต้องดำเนินการตามพระราชบัญญัติการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ.2556 (พ.ร.บ.ร่วมทุน) คือเสนอเรื่องต่อกระทรวงคมนาคมและคณะรัฐมนตรีเพื่อขออนุมัติดำเนินโครงการ

นายพีระยุทธ สิงห์พัฒนากุล ผู้ว่าการ รฟม. กล่าวว่า โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพูและสีเหลือง ซึ่งเป็นระบบรางเดี่ยว หรือ โมโนเรล เคยเสนอเรื่องให้สำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรีแล้ว แต่ถูกส่งกลับมาเพื่อขอให้ปรับรูปแบบการบริหารโครงการใหม่ โดยเฉพาะการเดินรถ ซึ่งตามข้อเสนอเดิม รฟม.มีแผนจะลงทุนจัดซื้อขบวนรถไฟฟ้าเอง แต่จ้างเอกชนเข้ามาเดินรถ แต่นโยบายของรัฐบาลชุดนี้สนับสนุนรูปแบบพีพีพี เน็ต คอสต์ คือให้เอกชนร่วมลงทุนจัดหาขบวนรถด้วย เพื่อประหยัดงบประมาณรัฐบาล จึงได้ให้ปรับรูปแบบการลงทุนในส่วนนี้ และต้องเสนอเรื่องไปยังกระทรวงคมนาคม เพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป คาดว่าภายในเดือนเมษายนนี้ หรือไม่เกินต้นเดือนพฤษภาคม จะสรุปรายละเอียดทั้งหมดส่งให้กระทรวงคมนาคม เพื่อเสนอคณะรัฐมนตรี ทั้งนี้ หากคณะรัฐมนตรีเห็นชอบ จะประกวดราคาและเริ่มก่อสร้างได้ในปี 2560
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42750
Location: NECTEC

PostPosted: 08/04/2015 10:55 pm    Post subject: Reply with quote

“อาคม” เปลี่ยนไป
เลือก “ทางด่วน” ทิ้ง “โมโนเรล”

ยังไม่สายที่รัฐบาลจะเปลี่ยนใจหันมาสร้างโมโนเรลแทนทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือ บนถนนรัตนาธิเบศร์ ถนนงามวงศ์วาน และถนนประดิษฐ์มนูธรรม ดังเช่นรัฐบาลที่ผ่านมาได้รับข้อเสนอของผมที่เสนอให้เปลี่ยนจากทางด่วนเป็นโมโนเรล ในขณะนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่างๆ เช่น สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เป็นต้น ต่างก็เห็นตามด้วย เพราะเล็งเห็นว่าการก่อสร้างโมโนเรล หรือรถไฟฟ้ารางเดี่ยวจะก่อให้เกิดประโยชน์ได้มากกว่า ผมขอยกตัวอย่างความเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดังนี้

1. นายจุฬา สุขมานพ ผู้อำนวยการ สนข.ในขณะนั้น เปิดเผยว่า “สนข.ได้ข้อสรุปในเรื่องดังกล่าวแล้ว มีความเห็นว่าการปรับเปลี่ยนรูปแบบจากการก่อสร้างจากทางด่วนเป็นการก่อสร้างรถไฟฟ้ามีความเหมาะสมกว่า” (เดลินิวส์ออนไลน์ 9 เมษายน 2556)

2. พล.ต.อ.วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี ปลัดกระทรวงคมนาคมในขณะนั้น กล่าวว่า “ที่ประชุมยังมอบหมายให้ สนข.ไปปรับแผนแม่บทระบบขนส่งใหม่เพื่อนำระบบรถไฟฟ้าโมโนเรลเข้ามาแทนการก่อสร้างทางด่วนขั้น 3 สายเหนือ...ขณะที่ สศช. ก็เห็นด้วย แต่ต้องศึกษาก่อนว่าจะมีผลกระทบกับแผนแม่บทเดิมหรือไม่” (มติชนรายวัน 28 มิถุนายน 2556)

แต่เมื่อเร็วๆ นี้ นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่าจะเร่งอนุมัติโครงการก่อสร้างทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือ ช่วง N2 (สี่แยกเกษตรฯถึงถนนนวมินทร์) และ N3 (ถนนนวมินทร์ถึงถนนกรุงเทพฯ-ชลบุรีสายใหม่) ให้ได้ในปี 2558 และคาดว่าจะดำเนินก่อสร้างได้ในปี 2559 ... ส่วนช่วง N1 (บางใหญ่ถึงสี่แยกเกษตรฯ) อยู่ระหว่างการหารือของ สนข. กับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เพื่อหาทางลดผลกระทบและการบดบังทัศนียภาพมหาวิทยาลัย โดยคาดว่าจะสามารถสรุปได้ในปีนี้ (กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ 20 กุมภาพันธ์ 2558)

นายอาคมนั้น นอกจากจะดำรงตำแหน่ง รมช.คมนาคมแล้ว ยังดำรงตำแหน่งเลขาธิการ สศช. อีกด้วย ที่สำคัญ ในขณะที่ สศช. ในสมัยนั้นก็เห็นด้วยกับการเปลี่ยนการก่อสร้างทางด่วนขั้นที่ 3 เป็นโมโนเรล และผู้ที่ดำรงตำแหน่งเลขาธิการ สศช. ในขณะนั้นก็คือนายอาคมนั่นเอง นั่นหมายความว่านายอาคมเปลี่ยนไป ด้วยเหตุนี้ ผมจึงผิดหวังต่อความเห็นของนายอาคมอย่างมาก

คนที่ดำรงตำแหน่งเลขาธิการ สศช. ซึ่งเป็นหน่วยงานวางแผนสำคัญของประเทศย่อมรู้ดีว่าในอดีตที่ผ่านมาเราส่งเสริมให้มีการใช้รถยนต์ส่วนบุคคลมากกว่ารถโดยสารสาธารณะหรือระบบขนส่งมวลชน พูดได้ว่ามีการ “ขนรถ” มากกว่า “ขนคน” ดังจะเห็นได้จากมีการก่อสร้างทางด่วนจนถึงปัจจุบันเป็นระยะทางประมาณ 235 กิโลเมตร ในขณะที่มีการก่อสร้างรถไฟฟ้าเพียงแค่ประมาณ 85 กิโลเมตร เท่านั้น (ไม่รวมสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน ระยะทาง 15.1 กิโลเมตร ซึ่งยังไม่มีรถไฟฟ้าให้บริการ) ผลลัพธ์ที่ตามมาก็คือ รถติดวินาศสันตะโร เผาผลาญน้ำมันเชื้อเพลิงจำนวนมหาศาล และก่อให้เกิดมลภาวะอย่างหนัก

ผมอยากให้ท่าน รมช.คมนาคม และเลขาธิการ สศช. กลับไปอ่านรายงานการศึกษาการจราจรและขนส่งสำหรับกรุงเทพฯ และปริมณฑลฉบับสมบูรณ์ฉบับแรกของประเทศไทย ซึ่งทำการศึกษาโดยผู้เชี่ยวชาญชาวเยอรมัน ในระหว่างปี พ.ศ. 2514-2519 การศึกษานี้ได้เสนอแนะให้เราให้ความสำคัญต่อระบบขนส่งมวลชนมากกว่าทางด่วน นั่นคือให้เราสร้างรถไฟฟ้าเป็นระยะทางยาวกว่าทางด่วน แต่เราทำกลับกัน ส่งผลให้มีทางด่วนเป็นระยะทางยาวกว่ารถไฟฟ้า

ทั้งหมดนี้ เพื่อขอให้ท่าน รมช.คมนาคม และเลขาธิการ สศช. พิจารณาทบทวนความเห็นของท่านใหม่ โดยขอให้เปลี่ยนไปสร้างโมโนเรลแทนทางด่วนขั้นที่ 3
https://www.facebook.com/Dr.Samart/photos/a.232032303608347.1073741828.232025966942314/607459899398917/?type=1
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44637
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 10/04/2015 1:06 pm    Post subject: Reply with quote

พัฒนาท่าเรือรับรถไฟฟ้า
โดย ไทยรัฐฉบับพิมพ์ 10 เม.ย. 2558 05:45

นางสร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์ ปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการพิจารณาการเชื่อมต่อระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนกับขนส่งสาธารณะ ว่า กรมเจ้าท่าได้ลงนามปรับปรุงท่าเทียบเรือริมแม่น้ำเจ้าพระยารวม 17 ท่า ด้วยงบประมาณ 70 ล้านบาท เพื่อให้ได้ท่าเรือที่ทันสมัยและมีความปลอดภัยแก่ประชาชน โดยเบื้องต้นจะปรับปรุงก่อน 3 ท่า คือ ท่าเรือพรานนก ท่าเรือราชวงศ์ และท่าเรือสี่พระยา ให้แล้วเสร็จในเดือน ก.ย.2558 ส่วนที่เหลือจะดำเนินการแล้วเสร็จภายในเดือน ก.ย.2559

“ท่าเทียบเรือในแม่น้ำเจ้าพระยามีทั้งหมด 35 ท่า แต่การดำเนินการในครั้งนี้จะเป็นการปรับปรุงท่าเทียบเรือที่มีผู้ใช้บริการเป็นจำนวนมาก และมีการชำรุดหรืออยู่ในสภาพทรุดโทรมก่อน โดยจะเน้นในด้านความปลอดภัยในการให้บริการแก่ประชาชนเป็นหลัก”

นางสร้อยทิพย์กล่าวว่า ส่วนการพัฒนาท่าเทียบเรืออีก 19 ท่า ให้เป็นระบบปิดในลักษณะเดียวกับสถานีรถไฟฟ้า และรองรับการให้บริการระบบตั๋วร่วม หรือบัตรใบเดียวสามารถใช้ได้ทั้งเรือ รถไฟฟ้า รถเมล์ และทางด่วนนั้น ขณะนี้กรมเจ้าท่าอยู่ระหว่างหารือกับกรมธนารักษ์ในฐานะเจ้าของพื้นที่ท่าเทียบเรือ เพื่อเปิดทางให้บริษัทเอกชนเข้าไปพัฒนา โดยคาดว่าจะได้ข้อสรุปภายในเดือน เม.ย.-พ.ค.นี้ และเปิดให้บริการตั๋วร่วมได้ในเดือน ส.ค.ปีหน้า ทั้งนี้ ท่าเทียบเรือนำร่องที่มีการพัฒนาก่อนมี 3 ท่า คือ ท่าเรือสาทร ท่าเรือนนทบุรี และท่าเรือปิ่นเกล้า โดยให้ภาคเอกชนเป็นผู้ลงทุนทั้งหมด โดยจะมีการจัดทำพื้นที่ด้านหลังท่าเทียบเรือ ซึ่งอยู่บนฝั่งให้เป็นที่นั่งรอเรือโดยสารแทนไปยืนรอที่ท่าเรือเพื่อให้เกิดความปลอดภัยมากขึ้น นอกจากนี้ ยังจะปรับปรุงท่าเรือบางโพ เพื่อเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วงบางซื่อ-ท่าพระ และท่าเรือพระนั่งเกล้า เชื่อมรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงบางใหญ่-บางซื่อ ตลอดจนเปิดให้บริการท่าเรือคลองแสนแสบ เพื่อเชื่อมต่อการเดินทางกับรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์ สถานีรามคำแหงด้วย.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42750
Location: NECTEC

PostPosted: 10/04/2015 2:56 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
พัฒนาท่าเรือรับรถไฟฟ้า
โดย ไทยรัฐฉบับพิมพ์ 10 เม.ย. 2558 05:45


คมนาคมเดินหน้าพัฒนาระบบเชื่อมต่อรถไฟฟ้า
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
9 เมษายน 2558เวลา 20:20:18 น.


9 เม.ย. นางสร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์ ปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการพิจารณาการเชื่อมต่อระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนกับขนส่งสาธารณะรูปแบบอื่น ว่า การพัฒนาพื้นที่การเชื่อมต่อระหว่างรถไฟชานเมืองสายสีแดงกับรถไฟฟ้าสายสีม่วง ขณะนี้การรถไฟแห่งประเทศไทย(ร.ฟ.ท.) ได้ส่งมอบพื้นที่ให้กับการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(รฟม.) เพื่อออกแบบพื้นที่เป็นจุดเชื่อมต่อ โดยทาง รฟม. จะใช้งบประมาณของหน่วยงานในการพัฒนา พื้นที่ดังกล่าวจัดทำที่ขึ้นลงแบบ Inclined Platform สำหรับผู้พิการ จำนวน 2 ตัวติดตั้งที่บันไดทางเชื่อมต่อ และบันทางขึ้นลง

ทั้งนี้ด้านกรมเจ้าท่าได้ลงนามการพัฒนาท่าเรือ 17 แห่ง เพื่อเปิดให้บริการได้ในเดือน ก.ย. 2558 ทั้งหมด 3 แห่งได้แก่ ท่าเรือพรานนก ,ท่าเรือราชวงศ์ และท่าเรือสี่พระยา ส่วนอีก 14 แห่งเตรียมเปิดให้บริการได้ภายในเดือน ก.ย. 2559 สำหรับท่าเรือเอกชนอีก 19 เเห่ง อยู่ระหว่างเสนอกรมธนารักษ์เพื่อขอปรับปรุงท่าเรือทั้ง 19 แห่ง เพื่อบริการเป็นระบบปิด ด้วยการใช้ระบบตั๋วร่วม คาดว่าท่าเรือเอกชนทั้ง 19 แห่ง สามารถให้บริการได้พร้อมกับระบบตั๋วร่วมของสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร(สนข.) ในช่วงเดือน ส.ค. 2559 กำหนดให้บริการนำร่อง 3 แห่ง ได้แก่ ท่าเรือสาทร , ท่าเรือนนทบุรี และท่าเรือปิ่นเกล้า

อย่างไรก็ตามได้มอบหมายให้กรมเจ้าท่าจัดทำแผนพัฒนาพื้นหลังท่าเรือ เพื่อให้สามารถเชื่อมต่อกับระบบขนส่งสาธารณะรูปแบบต่างๆได้ โดยเลือกเฉพาะท่าเรือสำคัญ ขณะที่การรถไฟฯแจ้งว่า ได้สร้างท่าเรือบริเวณคลองเเสนแสบ ใช้เป็นทางเชื่อมต่อไปยังแอร์พอร์ตลิ้งก์สถานีมักกะสันเพื่ออำนวยความสะดวกให้ประชาชนที่เดินทางต่อไปยังแอร์พอร์ตลิ้งก์ คาดว่าจะเปิดให้บริการได้ในเดือน พ.ค.นี้ และได้ขอความร่วมมือให้ทางกรุงเทพมหานครจัดทำป้ายสัญลักษณ์บอกทาง และสร้างทางจักรยานเชื่อมจากแอร์พอร์ตลิ้งก์ไปยังมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง โดยทางแอร์พอร์ตลิ้งก์หารือร่วมกับประชาคมในพื้นที่มหาวิทยาลัย ด้วยการใช้งบกระตุ้นเศรษฐกิจของกรมทางหลวงวงเงิน 50 ล้านบาทในการสร้างทางจักรยาน
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 110, 111, 112 ... 278, 279, 280  Next
Page 111 of 280

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©