Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311296
ทั่วไป:13273842
ทั้งหมด:13585138
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 116, 117, 118 ... 278, 279, 280  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 24/06/2015 12:58 am    Post subject: Reply with quote

เสี่ยงใหญ่! “อพาร์ตเมนต์คนจน” อาจซ้ำรอยบ้านเอื้ออาทร
โดย ASTVผู้จัดการรายวัน
22 มิถุนายน 2558 22:47 น.

อีตาโสภณแก รับไอเดียทำแฟลตสำหรับคนจนตามทางรถไฟฟ้าที่บิิ๊กตูคิดจะทำ ไม่ไหว เพราะ บิดเบือนตลาดเต็มประดา ทำท่าจะออกไปทางบ้านเอื้อาทรคนเมืองแน่ๆ และ อาจ ขัดลาภที่ได้จากการทำคอนโดที่แกชอบยิ่งนัก
http://www.dailynews.co.th/bangkok/329671

ถ้าเป็นคอนโดแบบนี้ค่อยพอเจรจากันได้หน่อยซ
มิตซุย ฟูโดซัง ผนึกอนันดาฯ ชูพัฒนาโครงการแนวรถไฟฟ้า ช่วย “เมืองลดมลพิษ”


โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
22 มิถุนายน 2558 11:58 น.
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44648
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 30/06/2015 10:38 pm    Post subject: Reply with quote

รฟม.เคาะรถไฟสายสีส้ม ใช้แนวเส้นทางเดิม "ตลิ่งชัน-ศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี"
ข่าวสดออนไลน์ วันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2558 เวลา 22:02 น.

รฟม.สรุปแล้วแนวเส้นทางรถไฟสายสีส้มกลับไปใช้ทางเดิม "ตลิ่งชัน-ศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี" ชี้เหมาะสมที่สุดและคนรายได้น้อยมีโอกาสใช้มากกว่า พร้อมถกกทม.เคลียร์ส่งมอบพื้นที่ สร้างสายสีเขียวช่วงรัชดาภิเษก และสะพานข้ามแยกเกษตร

นายพีระยุทธ สิงห์พัฒนากุล ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เผยว่า ขณะนี้รฟม.กำลังปรับแผนการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีส้ม ให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการจัดการจราจรทางบก (คจร.) กำหนด โดยจะกลับไปใช้แนวเส้นทางเดิมคือ "ตลิ่งชัน-ศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี" จากเดิมที่ได้ศึกษาไว้ว่าจะเปลี่ยนไปใช้เส้นทางตลิ่งชัน-พระราม 9-มีนบุรี โดยจะนำเสนอเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการ (บอร์ด) รฟม. ในวันที่ 3 ก.ค.

สำหรับปัญหาการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต บริษัทผู้รับเหมายังไม่สามารถลงพื้นที่ก่อสร้างได้ เนื่องจาก กทม. กังวลปัญหาจราจรติดขัดบริเวณถนนรัชดาภิเษก และช่วงสะพานข้ามแยกเกษตร ดังนั้นจะนำเสนอแผนการดำเนินงานเข้าสู่การพิจารณาของบอร์ดด้วย จากนั้นจะนำไปหารือกับ กทม.เพื่อให้ได้ข้อสรุปร่วมกันภายในเดือนก.ค. แล้วผู้รับเหมาจะลงพื้นที่ก่อสร้างได้ในเดือนก.ย.-ต.ค.นี้

"รฟม.และกทม.จะต้องหาข้อสรุปร่วมกันให้ได้โดยเร็วที่สุด เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อการก่อสร้างที่จะล่าช้าออกไปด้วย เพราะเมื่อสรุปแนวทางจัดการจราจรแล้ว จะต้องประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก่อนลงพื้นที่ด้วย"

รายงานข่าวแจ้งว่า ก่อนหน้านี้คจร. ที่มี ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน พิจารณาแนวเส้นทางโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงตลิ่งชัน-ศูนย์วัฒนธรรม ระยะทาง 17.5 กิโลเมตร กรณีที่ รฟม. เสนอปรับเปลี่ยนช่วงที่ผ่านชุมชนประชาสงเคราะห์-สถานีศูนย์วัฒนธรรม เป็นแนวใหม่โดยให้ผ่านดินแดง-ถนนพระราม 9 โดย คจร.มีมติให้ รฟม.ดำเนินการก่อสร้างตามแนวเส้นทางเดิมที่ประกาศไว้ในแผนแม่บทรถไฟฟ้า เนื่องจากเป็นแนวเส้นทางที่เหมาะสม ผ่านชุมชน และมหาวิทยาลัย ซึ่งส่วนใหญ่ประชาชนมีรายได้น้อยจะได้ใช้ประโยชน์จากรถไฟฟ้ามากกว่า

ขณะที่แนวเส้นทางใหม่เป็นย่านคอนโดมิเนียม ตึกสูงซึ่งเป็นที่อยู่ของคนมีฐานะ ซึ่งไม่ว่าจะเป็นแนวเดิมหรือเปลี่ยนแนวใหม่ล้วนแต่มีผลกระทบหมด แต่ควรเลือกแนวที่มีการประกาศไว้แล้ว ซึ่งที่ผ่านมา รฟม.ดำเนินงานล่าช้า จึงต้องรีบไปทำความเข้าใจกับประชาชน ขณะเดียวกันที่ประชุมยังมีมติอนุมัติโครงการช่วงศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี ระยะทาง 21.5 กิโลเมตรด้วย
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 01/07/2015 2:21 am    Post subject: Reply with quote

รอผลศึกษารถไฟฟ้าสายสีน้ำตาลซื้อเวลาสร้างทางด่วนเกษตรฯ
เดลินิวส์
วันอังคารที่ 30 มิถุนายน 2558 เวลา 10:50 น.

รอผลศึกษารถไฟฟ้าสายสีน้ำตาลซื้อเวลาสร้างทางด่วนเกษตรฯ เร่งศึกษา”สายสีน้ำตาล”หวังทดแทนด่วนขั้นที่3เกษตรนวมินทร์ซื้อเวลาลดกระแส”คัดค้าน”จากชาวบ้าน

รายงานข่าวจากกระทรวงคมนาคมแจ้งว่า คณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก(คจร.)ว่า ที่ประชุมมีมติให้สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร(สนข.)ดำเนินการศึกษาความเหมาะสมโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาลช่วงแคราย-ลำสาลี(บึงกุ่ม)โดยพิจารณาความเหมาะสมและผลกระทบของการดำเนินโครงการรถไฟฟ้าเพื่อทดแทนการดำเนินโครงการทางพิเศษขั้นที่ 3สายเหนือ ตอน N1N2 และ N3ซึ่งคจร.ได้หมายให้สำนักงานนโยบายและแผนขนส่งและจราจร(สนข.)เป็นผู้ดำเนินการศึกษารายละเอียดโครงการโดยจะเริ่มศึกษาประมาณปี2560ซึ่งจะใช้เวลาในการศึกษาประมาณ2-3 ปี สำหรับแนวทางในการศึกษานั้นจะต้องมีการศึกษาจากความต้องการเดินทางของประชาชนที่อาศัยอยู่ในบริเวรแนวเส้นทางร่วมทั้งดุความต้องการใช้ระบบขนส่งว่าประชาชนมีพฤติกรรมแบบใดนอกจากนี้จะต้องมีการศึกษาด้านความคุ้มค่าการลงทุนด้วย

อย่างไรก็ตามเนื่องจากรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาลถือส่าเป็นเส้นทางที่เชื่อมฝั่งตะวันออกและฝั่งตะวันดังนั้นหากดำเนินการก่อสร้างก็จะสามารถเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีอื่นๆอาทิสายสีชมพู่ช่วงแคราย-มีนบุรี สายสีม่วงช่วงบางใหญ-บางซื่อและสายสีเขียวเหนือหมอชิต-คูคต-สะพาใหม่ซึ่งก็จะส่งผลให้การเดินทางสามารถเชื่อมกันได้ดียิ่งขึ้น รายงานข่าวแจ้งต่อว่าโครงการศึกษาทางด่วนสายเหนือN1 N2 N3นั้นการทางพิเศษแห่งประเทศไทย(กทพ.)ก็ยังคงดำเนินการศึกษาต่อไปจนกว่าการศึกษาจะเสร็จสิ้นหลังจากนั้นก็จะต้องมีการนำผลการศึกษาของทั้ง2โครงการมาวิเคราะห์เปรียบเทียบกันถึงความเหมาะสมอย่างไรก็ตามภายหลังจากที่คจร.มีมติไปแล้วจะต้องนำเสนอมติให้คณะรัฐมนตรี(ครม.)ทราบอีกครั้ง

ทั้งนี้โครงการระบบทางพิเศษขั้นที่3 สายเหนือเริ่มต้นที่ถนนวงแหวนรอบนอกตะวันตกบริเวณบางใหญ่เข้าสู่ถนนรัตนาธิเบศร์ผ่านสี่แยกแคราย ถนนงามวงศ์วานผ่านถนนวิภาวดี รังสิตแยกเกษตร ตรงไปตามถนนเกษตรฯ-นวมินทร์สิ้นสุดถนนนวมินทร์ที่จุดเชื่อมมอเตอร์เวย์เวย์กรุงเทพฯ-ชลบุรีซึ่งที่ผ่านมาได้มีประชาชนรวมตัวกันต่อต้านโครงการจึงส่งผลให้ไม่สามารถดำเนินการก่อสร้างได้ ดังนั้นเพื่อเป็นการลดความขัดแย้งรัฐบาลจึงต้องการให้มีการศึกษาทั้ง2รูปแบบว่ารูปแบบใดมีความเหมาะสมมากที่สุดโดยที่การศึกษาจะต้องใช้เวลาหลังจากนี้2-3ปีการตัดสินใจจะเป็นหน้าที่ของรัฐบาลในอนาคต.“
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44648
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 02/07/2015 8:57 pm    Post subject: Reply with quote

ชงประจินลดค่าแรกเข้าตั๋วร่วม สั่งเร่งสรุปแผนก่อสร้างทางคู่
ไทยโพสต์ Thursday, July 2, 2015 - 00:07

คมนาคมเผยผลสรุปตั๋วร่วม แนะล้มราคาเดียวตลอดสาย อ้างทำรัฐสูญเงิน ให้ใช้แนวทางลดค่าตั๋วแรกเข้า 20% จากตั๋วโดยสาร ระบุรัฐชดเชยเพียง 2 พันล้านบาท/ปี ด้านประจินสั่งเร่งสรุปแนวทางก่อสร้างรถไฟทางคู่ไทย-จีน ภายในวันที่ 15 ก.ค.นี้

นายกีรติ กิจมานะวัฒน์ ที่ปรึกษาระบบตั๋วร่วม เปิดเผยว่า แนวทางที่คณะกรรมการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วมจะเสนอแนวทางให้ พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รมว.คมนาคม พิจารณาในเดือน ส.ค.2558 นี้มี 3 แนวทาง ประกอบด้วย 1.รูปแบบตั๋วต่อตั๋ว 2.รูปแบบส่วนลดแรกเข้าตั้งแต่ 20%-50% และ 3.รูปแบบตั๋วโดยสารอัตราเดียว เช่น 20 บาท/ตลอดสาย หรือ 30 บาท/ตลอดสาย

ทั้งนี้ จากการศึกษาของที่ปรึกษาโครงการพบว่า แนวทางที่มีความเป็นไปได้ และควรนำมาปฏิบัติดีที่สุดคือ รูปแบบที่มีส่วนลดแรกเข้า 20% เนื่องจากผู้โดยสารที่เดินทาง จะได้รับส่วนลดตั๋วแรกเข้าต่อตั๋วเฉลี่ย 3 บาท จากปกติ 15 บาท และการชดเชยของภาครัฐจะลดลงด้วย แต่ถ้าเลือกแนวทางที่ 3.จัดเก็บอัตราค่าโดยสารราคาเดียวที่ 20-30 บาทตลอดวัน จะมีข้อเสียคือ ภาครัฐจะต้องจัดหางบประมาณมาชดเชยส่วนนี้กว่า 8,000 ล้านบาท/ปี

นางสร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์ ปลัดกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า ภายในเดือน ก.ค.58 นี้ คณะกรรมการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วมจะเสนอต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) เปลี่ยนตัวประธานคณะกรรมการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วมจากปลัดกระทรวงคมนาคม เป็น พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รมว.คมนาคม เพื่อเป็นคณะกรรมการกำกับระบบตั๋วร่วม ซึ่งจะมีอำนาจหน้าที่กำกับโครงสร้างค่าโดยสารที่เป็นธรรมระดับชาติ รวมถึงเสนอแนวทางความเป็นไปได้ในการดำเนินการในโครงการระบบตั๋วร่วม

พล.อ.อ.ประจินกล่าวถึงผลการประชุมคณะกรรมการร่วมเพื่อความร่วมมือด้านรถไฟไทย-จีน ครั้งที่ 5 ว่า การสำรวจแนวเส้นทางก่อสร้างรถไฟความเร็วปานกลางไทย-จีน เส้นทางหนองคาย-นครราชสีมา-แก่งคอย-มาบตาพุด และเส้นทางแก่งคอย-กรุงเทพฯ ของฝ่ายจีน ส่วนใหญ่เป็นไปตามที่สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ศึกษาไว้เดิม แต่อาจมีพื้นที่ที่ต้องเบี่ยงเลี่ยงสาธารณูปโภค โดยเฉพาะช่วงกรุงเทพฯ-ภาชี ซึ่งฝ่ายไทยไม่ต้องการให้เปลี่ยนแนวเส้นทาง ดังนั้น พล.อ.ท.บรรจง พล.อ.ท.บรรจง คล้ายนสูตร์ ที่ปรึกษา รมว.คมนาคม ไปหารือร่วมกับ สนข.และฝ่ายจีน ให้ได้ข้อสรุปภายในวันที่ 15 ก.ค.นี้ รวมทั้งตั้งเป้าสำรวจออกแบบแนวเส้นทางเบื้องต้นต้องแล้วเสร็จไม่เกิน 21 ส.ค.นี้
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44648
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 10/07/2015 2:46 pm    Post subject: Reply with quote

รถไฟฟ้า 4 สาย ยกขบวนเลื่อนประมูลปีหน้า ปรับแผนขยับกดปุ่มประมูลปีหน้า
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ 10 ก.ค. 2558 เวลา 12:40:24 น.

ลุ้นไม่ขึ้น! รฟม.เลื่อนเปิดสายสีม่วงออกไปอีก 6 เดือน เป็น พ.ค.ปี"59 ขอเวลาทดสอบระบบ ส่วนอีก 4 สาย "ส้ม-ชมพู-เหลือง-ม่วงใต้" ปรับแผนขยับกดปุ่มประมูลปีหน้า "เซ็นทรัล เวสต์เกต" รอเก้อ ธุรกิจอสังหาฯมองบวก ชี้โอกาสทองผู้บริโภคเลือกช็อปบ้าน-คอนโดฯ ทำเลบางซื่อ-บางใหญ่ ยังขายราคาเดิม

นายพีระยุทธ สิงห์พัฒนากุล ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า จากที่ได้หารือกับ พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รมว.คมนาคมได้ข้อสรุปว่า โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง (บางซื่อ-บางใหญ่) 23 กิโลเมตร ปัจจุบันงานก่อสร้างโยธาเสร็จ 100% จะเปิดทดลองเดินรถเสมือนจริงให้ผู้โดยสารใช้บริการได้เดือน พ.ค. 2559 และเปิดใช้เชิงพาณิชย์เต็มรูปแบบหรือเก็บค่าโดยสาร 12 สิงหาคม 2559

สารพัดเหตุเลื่อนสายสีม่วง

"เดิมมีนโยบายให้เร่งรัดเปิดบริการโดยเปิดทดลองเดินรถ 5 ธ.ค.นี้ แต่การทดสอบระบบมีหลายขั้นตอนเพื่อให้เกิดความปลอดภัย ใช้เวลาอย่างน้อย 6 เดือนขึ้นไป รวมถึงการฝึกอบรมคนด้วย"

ทั้งนี้ บมจ.รถไฟฟ้ากรุงเทพ หรือบีเอ็มซีแอล ผู้รับสัมปทานเดินรถสายสีม่วง เร่งส่งมอบรถเร็วขึ้นแล้ว อย่างน้อยที่สุดตามกำหนดเดิมจะต้องเปิดบริการ ธ.ค. 2559 ล่าสุดเลื่อนเร็วขึ้นเป็น ส.ค. 2559 โดยรถไฟฟ้า 3 ขบวนแรกจะลงเรือปลาย ส.ค. ถึงไทย ก.ย.นี้ ครบทั้งหมด 21 ขบวนสิ้นปีนี้หรือ ม.ค.ปีหน้า จากนั้นเริ่มทดสอบการเดินรถ

นายพีระยุทธกล่าวว่า สำหรับอัตราค่าโดยสาร รฟม.เตรียมจ้างที่ปรึกษามาศึกษารายละเอียด จะแล้วเสร็จอีก 3 เดือน เบื้องต้นคาดว่าอัตรา 16-40 บาทเท่ารถไฟฟ้าใต้ดิน รวมถึงต้องหารือกับบีเอ็มซีแอลและสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ถึงแนวทางจัดทำระบบตั๋วร่วม ที่ตกลงกันว่าปี 2559 จะนำมาใช้กับรถไฟฟ้าใต้ดิน บีทีเอส และสายสีม่วง

"สำหรับรถไฟฟ้าสาย สีน้ำเงินต่อขยายช่วงบางซื่อ-ท่าพระ และหัวลำโพง-บางแค ยังกำหนดเปิดบริการปี"62 สายสีเขียวช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการเปิดปี"63"

4 สายทางขยับปีหน้าด้วย

ขณะเดียวกัน การประมูลก่อสร้างรถไฟฟ้าสายใหม่ นายพีระยุทธกล่าวว่า เลื่อนเปิดประมูลในปี 2559 ทั้งหมดจำนวน 4 สายทาง วงเงินลงทุนรวม 325,934 ล้านบาท ได้แก่ สายสีส้ม (ศูนย์วัฒนธรรมฯ-มีนบุรี) ระยะทาง 21 กม. 110,325 ล้านบาท สายสีชมพู (แคราย-มีนบุรี) 34.5 กม. 56,725 ล้านบาท สายสีเหลือง (ลาดพร้าว-สำโรง) 30.4 กม. 54,768 ล้านบาท และสายสีม่วงใต้ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ 23.6 กม. 104,116 ล้านบาท

"ปีนี้คงทำได้แค่ขออนุมัติคณะรัฐมนตรี (ครม.) การประมูลเริ่มต้นปี"59 เป็นต้นไป สาเหตุที่ล่าช้า อาทิ สีส้ม ปรับเปลี่ยนเส้นทางจุดเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าใต้ดิน จากสถานีศูนย์วัฒนธรรมฯเป็นสถานีพระราม 9 แต่สรุปสุดท้ายกลับมาใช้แนวเดิมศูนย์วัฒนธรรมฯ-มีนบุรี เมื่อคมนาคมเห็นชอบจะเสนอ ครม. เปิดประมูลไม่เกินไตรมาส 1/59"

สายสีชมพูและสายสีเหลืองล่าช้าเนื่องจากปรับรูปแบบโครงการเป็นระบบโมโนเรล รวมทั้งเปิดทางให้ระบบอื่น ๆ ที่เอกชนสนใจร่วมลงทุนด้วย รูปแบบการลงทุนก็ปรับใหม่ให้เอกชนร่วมลงทุน 100% แบบ PPP งานก่อสร้างและระบบรถตาม พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ 2556 ส่วนค่าเวนคืนที่ดินเป็นภาระของรัฐบาล

ก่อนหน้านี้ พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รมว.คมนาคมเคยระบุว่า โครงการขนาดใหญ่ เช่น รถไฟฟ้า รถไฟทางคู่ รถไฟไทย-จีน รถไฟไทย-ญี่ปุ่น รถไฟความเร็วสูง มอเตอร์เวย์ สนามบินสุวรรณภูมิเฟส 2 และดอนเมือง มูลค่าลงทุน 1.5 ล้านล้านบาทจะทยอยเปิดประมูลก่อสร้างหลังเดือน ส.ค. 2558 เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ

รถไฟเข็นประมูลทางคู่

นายวุฒิชาติ กัลยาณมิตร ผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยว่า ภายใน ก.ค.นี้จะเร่งประมูลรถไฟทางคู่ 3 สายทาง วงเงิน 55,384 ล้านบาท ได้แก่ ฉะเชิงเทรา-คลองสิบเก้า-แก่งคอย, จิระ-ขอนแก่น และประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร รวมถึงรถไฟฟ้าต่อขยายแอร์พอร์ตลิงก์ (พญาไท-ดอนเมือง) วงเงิน 31,103 ล้านบาท

เพอร์เฟคชี้โอกาสผู้บริโภค

นายชายนิด อรรถญาณสกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ. พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค กล่าวว่า การเลื่อนเปิดใช้รถไฟฟ้าสายสีม่วง 6 เดือนไม่กระทบกำลังซื้อบ้านและคอนโดฯ ในแนวรถไฟฟ้ามากนัก ในส่วนคอนโดฯอาจชะลอตัดสินใจซื้อบ้าง

"อยากให้รัฐบาลทำนโยบายให้นิ่ง ก่อนแล้วจึงประกาศ เนื่องจากเกี่ยวพันกับการดำเนินธุรกิจภาคเอกชน ทุกคนอยากให้เปิดเร็ว ๆ เพราะเปิดใช้เร็วหรือช้ามีผลต่อจิตวิทยาผู้บริโภค ทั้งคนซื้อบ้าน คอนโดฯ และมู้ดคนที่จะมาเดินช็อปปิ้งศูนย์การค้าเซ็นทรัล เวสต์เกต ที่ีกำหนดเปิดบริการปลาย ส.ค.นี้"

การเลื่อนเปิดบริการ รถไฟฟ้าสายสีม่วงเป็นโอกาสที่ผู้บริโภคจะได้ซื้อบ้าน-คอนโดฯ ต้นทุนเดิม เนื่องจากเมื่อใดรถไฟฟ้าเปิดให้บริการจะมีผลต่อการปรับราคาอสังหาฯ ตามแนวรถไฟฟ้า โดยปรับขึ้น 10-15% เพราะค่าที่ดินแพงมาก เมื่อเลื่อนเปิดบริการทำให้ราคาอสังหาฯยังยืนราคาเดิมช่วงครึ่งปีหลังนี้

พฤกษาฯเผยซัพพลายเพียบ

นายประเสริฐ แต่ดุลยสาธิต กรรมการและรองกรรมการผู้จัดการ บริษัท พฤกษา เรียลเอสเตท จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า การเลื่อนเปิดรถไฟฟ้าสายสีม่วงคงไม่มีผลต่อการซื้ออสังหาฯที่จะชะลอตัวแต่ อย่างใด เพราะรถไฟฟ้าสร้างเสร็จไปเยอะแล้ว ทำให้ลูกค้ามีความมั่นใจว่าถึงจะเปิดช้าไปบ้างแต่ก็เป็นรถไฟฟ้าสายแรกที่ เปิดให้บริการเมื่อเทียบกับสายอื่น ๆ

"2-3 ปีมานี้ทำเลแนวรถไฟฟ้าสายสีม่วงมีผู้ประกอบการเข้าไปลงทุนพัฒนาโครงการจำนวน มาก โดยเฉพาะคอนโดฯระดับกลาง-ล่างราคา 1-3 ล้านมีซัพพลายร่วม 2-3 หมื่นยูนิต ทำเลที่ซัพพลายมีเยอะจะเป็นช่วงเลยจากถนนกรุงเทพฯ-นนทบุรี ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาไปถึงบางใหญ่ ส่วนทำเลช่วงเตาปูน-บางโพมีโครงการสร้างเสร็จและส่งมอบไปแล้วบางส่วน"

นาย ประเสริฐกล่าวอีกว่า สำหรับรถไฟฟ้าสายใหม่อยากให้รัฐบาลเร่งประมูลก่อสร้าง ไม่อยากให้ล่าช้ามาก รวมทั้งเรื่องการเปลี่ยนแนวเส้นทาง ซึ่งเอกชนได้ลงทุนพัฒนาโครงการไปรอล่วงหน้าแล้ว จึงอาจจะมีผลต่อการขับเคลื่อนการลงทุนของภาคเอกชนที่เลือกลงทุนคู่ขนานไปกับ โครงการของรัฐ
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44648
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 10/07/2015 7:52 pm    Post subject: Reply with quote

‘บางซื่อ’ GRAND CENTRAL STATION สู่ศูนย์คมนาคม AEC
ฐานเศรษฐกิจ วันอังคารที่ 07 กรกฏาคม 2015 เวลา 10:56 น. รศ.มานพ พงศพัต คอลัมนิสต์ผู้ทรงคุณวุฒิ - ศาสตราภิชาน รศ.มานพ พงศทัต

‘บางซื่อ’ GRAND CENTRAL STATION สู่ศูนย์คมนาคม AEC

"บางซื่อ" กำลังจะต้องปรับตัวเองให้เป็นสถานีรถไฟกลางที่ยิ่งใหญ่ ของ SOUTH-EAST-ASIA ในไม่ช้านี้ ปีหน้า AEC จะเปิดเต็มตัว การเดินทางข้ามชาติ ค้าขายระหว่างชาติจะเข้มข้นยิ่งขึ้น และการเดินทางทางบกด้วยรถไฟ ที่ขนทั้งคนและสินค้า จะมีความสำคัญยิ่งขึ้นไปอีก และ AEC 10 ประเทศ มีประเทศที่พื้นดินติดกันถึง 8 ใน 10 ประเทศ อีกทั้งพี่ใหญ่ของโลก คือจีน มาขอร่วมด้วย Network ทางบกกำลังสำคัญยิ่งขึ้น และใน AEC ก็จะมีไทยนี่แหละที่มี Region Location ที่เด่นสุด อยู่ในศูนย์กลางของทุกประเทศ ซึ่งจะเป็นศูนย์คมนาคมของ AEC มาสเตอร์แพลน(Masterplan) รถไฟใหม่ โดยการควบคุมของกระทรวงคมนาคมกำลังถูกเร่งให้ต้องรีบวางผังแม่บทและนำไปสู่การปฏิบัติได้รวดเร็ว ขณะนี้กระทรวงคมนาคมได้อนุมัติหลายโครงการที่เกี่ยวข้องกับ Regional AEC HUB ขณะนี้ดำเนินการก่อสร้างอยู่ อาทิเช่น รถไฟฟ้ามหานคร 2 สายที่จะมาใช้บางซื่อ รถไฟรางมาตรฐาน รถไฟเร็วหัวจรวดที่จีนจะเข้ามาเกี่ยวข้อง การต่อเชื่อมของ BTS จตุจักร ของสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร(สนข.)มายังสถานีบางซื่อ อาจจะต่อไปถึงสถานีเตาปูน อีกทั้งจะปรับมาตรฐาน AIR PORT LINK

นอกจากรถไฟแล้ว ก็มีการทางพิเศษฯที่กำลังก่อสร้างทางยกระดับศรีรัช-วงแหวนรอบนอกด้านตะวันตก จากฝั่งธนมาบางซื่อ อีกทั้งยังมีแผนที่จะต้องขยายถนนเทอดดำริ หน้าสถานีใหม่บางซื่อซึ่งกำลังก่อสร้างอยู่ให้กว้างขวางมากขึ้น งานก่อสร้าง Infrastructure ที่จะมารวมศูนย์บางซื่อจึงสำคัญยิ่ง ต้องประสานกับหน่วยงานที่มิได้ขึ้นกับการรถไฟไทย แต่อยู่ใต้คมนาคมเช่นกัน สนข.ซึ่งเป็นฝ่ายเสนาธิการด้านการขนส่งก็กำลังจะจัดให้บางซื่อมีระบบที่ดียิ่งขึ้น มิฉะนั้นเมื่อการก่อสร้างเสร็จลงจะวุ่นวายสับสน รถจะติด น้ำจะท่วมมากขึ้น การขนส่งที่จะเป็น HUB ของ AEC จะมีปัญหาต้องมาแก้ไขทีหลัง

+ปัญหารถไฟไทย

รถไฟไทยเองก็มีปัญหา ทั้งปัญหาหนี้สิน ปัญหาการปรับปรุงพัฒนาระบบรางทั้งประเทศและไม่มีองค์กรพร้อมจะพัฒนาทรัพย์สิน พื้นที่ 2,000 ไร่ของบางซื่อให้เป็นเชิงพาณิชย์เต็มรูปแบบ เช่น เมืองใหญ่ทั่วโลก ขณะนี้การรถไฟฯกำลังเริ่มทำผังแม่บท โดยปรับปรุงจากแผนเดิมและแผนจากหลายหน่วยงานจะเห็นชัดเจนขึ้นเร็วๆ นี้

องค์ประกอบของการพัฒนาบางซื่อก็จะมี GRAND CENTRAL STATION ขึ้นมาใหม่ ใหญ่มาก โดยจะย้ายหัวลำโพงมาที่นี่ ลดความสำคัญของหัวลำโพงเป็นสถานีในเมือง ที่ดิน 2,000 ไร่ก็จะแบ่งใช้เพื่อการขนส่งทางราง ทั้งคนและสินค้า รวมทั้งที่จอดรถไฟรวมที่เรียกกันว่า โปงราง ประมาณ 800 ไร่ เป็นสวนสาธารณะ สวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ สวนรถไฟและสวนจตุจักร รวม 3 สวน ต่อเนื่องกันประมาณอีก 700-800 ไร่ ก็ต้องขอขอบคุณรถไฟไทยที่ช่วยเปิดพื้นที่โล่ง เพื่อสาธารณประโยชน์ มิใช่เอาไปทำสนามกอล์ฟในเมืองเช่นในอดีต

+จัดประโยชน์ที่ดินบางซื่อ

ประการสำคัญเมื่อพื้นที่ที่เหลืออีกประมาณ 700ไร่ รถไฟก็มีความพยายามจะนำไปพัฒนาเชิงพาณิชย์ เพื่อนำรายได้มาจุนเจือการเดินรถ และชำระหนี้ ขณะนี้กระทรวงการคลังกำลังเจรจาให้รถไฟนำที่ดินบางส่วนประเมินราคามาชำระหนี้สาธารณะที่รัฐค้ำประกันอยู่ เริ่มต้นที่มักกะสัน ซึ่งจะต้องแบ่งใช้ที่ดิน เหลือเพียงส่วนน้อยที่จะมาชำระใช้หนี้คงจะไม่พอ ที่เหลือก็คงจะต้องแบ่งพื้นที่บางส่วนที่สถานีบางซื่อ และอาจจะบางส่วนจากสถานีแม่น้ำเพื่อใช้หนี้ให้หมด ทั้งหนี้สาธารณะ และหนี้ของรถไฟให้ค่าเงินการติดลบมาในอดีต

พื้นที่เชิงพาณิชย์ของบางซื่อ หลังจากกระจัดกระจายจากการใช้งานหน่วยงาน เช่น ตลาดจตุจักรให้เอกชนเช่าไปแล้วและศาลเด็ก ก็จะแบ่งเค้กออกมาได้อีกเป็น 4 ก้อนใหญ่ คือ 1) ที่ติดสถานีกลางบางซื่อ ด้านทิศใต้ที่เรียกว่า ZONE A ประมาณ 38 ไร่ 2) ZONE B อยู่ติดกันด้านตะวันออกประมาณ 75 ไร่ 3) แปลง ZONE C ที่เป็นที่ตั้งของบริษัท ขนส่ง จำกัด(บขส.) ที่อาจจะย้ายไปรังสิต อีกประมาณ 100 ไร่จะจัดเป็น NEW HI-RITE COMMUNITY มี MONORAIL ต่อเชื่อม 4) ZONE D เป็นพื้นที่กั้นระหว่าง ZONE B และตลาดจตุจักร ซึ่ง สนข.เข้ามามีบทบาท จะทำเป็นที่เปลี่ยนถ่ายจากรถที่มาจากทางด่วน ลงมาสู่พื้นดิน อาจจะเป็น PARK & RIDE กลางสวน ทั้งยังเป็นจุดเชื่อมทางเดินจากสถานีบีทีเอสจตุจักรทะลุตลาดจตุจักร ZONE D , ZONE B ไปสู่ ZONE A และสถานีกลางบางซื่อและมีที่เหลืออีก 400 ไร่ ที่เรียกว่า กม.11

+บทบาทการพัฒนาและองค์กรรับผิดชอบ

การพัฒนาคงจะต้องมีการศึกษา กำหนดบทบาทของแต่ละพื้นที่ว่าจะพัฒนาเป็นอะไร ตลาดอสังหาริมทรัพย์มีไหม ใครจะมาลงทุน รถไฟเองคงทำไม่ได้เพราะคลังไม่ยอมค้ำประกันการกู้ให้อีกแล้ว ก็จะต้องใช้วิธีหาเอกชนทั้งในและนอกประเทศมาร่วมลงทุน คงจะไม่พ้น พ.ร.บ.ร่วมทุน หรือจะให้คลังมาช่วยจัดการ โดยผ่านองค์กร "ธนารักษ์พัฒนา" ซึ่งเคยทำมาแล้วที่ศูนย์ราชการ หรือรถไฟจะตั้งองค์กร "รถไฟพัฒนา" เหมือนธนารักษ์พัฒนา หาเอกชนมืออาชีพเข้ามาทำ แยกเป็นอีกนิติบุคคลออกไปและอาจจะนำเข้าสู่ตลาดทุนตลาดหุ้นในอนาคตก็ยังได้

ขณะนี้ทุกคนกำลังรอดูว่า "ผังแม่บทบางซื่อ" จะออกมาอย่างไร รัฐบาลคสช.ก็ใจร้อนมาก คมนาคมก็ถูกบีบให้รีบทำงานนี้ เพราะรถไฟช้ามาก ช้ามาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 เพราะรัฐบาลนี้ต้องการเห็นผลงาน ถ้าไม่มีการบ้านส่ง ไม่มีการเริ่มพัฒนา อาจจะต้องมีการปรับเปลี่ยนหรือไม่ก็ต้องคอยดูกันให้ดี

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 35 ฉบับที่ 3,068 วันที่ 9 - 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2558
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44648
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 13/07/2015 5:05 pm    Post subject: Reply with quote

คมนาคมชงครม. 5 ส.ค. รถไฟสายสีเหลือง
INN News ข่าวเศรษฐกิจ วันจันทร์ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ.2558 16:51น.

คมนาคม เตรียมชง ครม. เห็นชอบ โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง 5 สิงหาคม 58 ใช้รูปแบบลงทุน PPP

พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังการประชุมโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ว่า ที่ประชุมได้มีข้อสรุปได้ 3 ประเด็นคือ
1.จะดำเนินการก่อสร้างเป็นระบบรถไฟฟ้ารางเดี่ยวหรือรถไฟฟ้าโมโนเรล
2.จะใช้การลงทุนรูปแบบความร่วมมือภาครัฐฯ-ภาคเอกชน หรือ PPP และ
3.ให้ภาครัฐรับผิดชอบการเวนคืนที่ดินมูลค่าโครงการละประมาณ 6 พันล้านบาท
ดังนั้นจึงได้สั่งการให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย หรือ รฟม. ไปจัดทำรายละเอียดของตัวเลขงบประมาณที่จะเวนคืนที่ดินให้ชัดเจน และค่าก่อสร้างด้านงานโยธาและเดินรถ รวมถึงความเสี่ยงที่ภาครัฐและเอกชนจะรับตามรูปแบบ PPP จากนั้นจะเสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาในวันที่ 5 สิงหาคมนี้ทั้ง 2 เส้นทาง

ส่วนโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มช่วงศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี ภายในสัปดาห์นี้จะให้ รฟม. ลงพื้นที่ร่วมกับฝ่ายข้อมูลและฝ่ายปฏิบัติการของกระทรวงกลาโหมและเจ้าหน้าที่ตำรวจไปเจรจากับประชาชนที่ได้ผลกระทบ เพื่อสร้างความเข้าใจและดูปัญหาความเดือดร้อนและช่วยเหลืออย่างเป็นระบบ และต้องเตรียมรับมือกรณีที่อดีต ส.ส. จะนำคณะไปดำเนินการฟ้องร้องด้วย ซึ่งคาดว่าจะเสนอเข้าคณะรัฐมนตรีในช่วงหลังสิงหาคมนี้ แต่ยังไม่สามารถระบุวันได้

----

ดันสาย‘สีเหลือง-ชมพู’เป็นรถไฟรางเดี่ยว
แนวหน้า วันอังคาร ที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2558, 06.00 น.

พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รมว.คมนาคม เปิดเผยถึงโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง(ช่วงลาดพร้าว-บางกะปิ-สำโรง) และสายสีชมพู(ช่วงแคราย – มีนบุรี)ว่า ในที่ประชุมมีมติสรุปให้ดำเนินการก่อสร้างเป็นระบบรถไฟฟ้ารางเดี่ยว(รถไฟฟ้า
โมโนเรล) และจะมีการใช้รูปแบบการลงทุนแบบเอกชนร่วมทุน(PPP) นอกจากนี้มีมติเห็นชอบให้ทางภาครัฐ
รับผิดชอบในส่วนของค่าเวนคืนที่ดิน คาดว่าการเวนคืนแต่ละโครงการละประมาณ 6,000 ล้านบาท

พร้อมกันนี้ได้สั่งให้ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(รฟม.) จัดทำรายละเอียดของตัวเลขงบประมาณที่จะเวนคืนที่ดินให้มีความชัดเจน รวมถึงค่าก่อสร้างด้านงานโยธา และการเดินรถ เพื่อให้ทราบว่าทั้งภาครัฐ และเอกชน จะลงทุนมูลค่าเท่าไหร่ ตามรูปแบบ PPP ก่อนจะเสนอให้คณะรัฐมนตรี(ครม.)พิจารณาในวันที่ 5 ส.ค.2558 และเข้าสู่ขั้นตอนการประกวดราคาและเปิดประมูลในช่วงไตรมาสที่ 2 ปี2559

รมว.คมนาคม กล่าวอีกว่า ส่วนโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม(ช่วงศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี) ทาง รฟม.จะลงพื้นที่
ร่วมกับฝ่ายข้อมูลและฝ่ายปฏิบัติการของ กระทรวงกลาโหม และเจ้าหน้าที่ตำรวจไปเจรจากับประชาชนที่ได้ผลกระทบภายในสัปดาห์นี้ เพื่อสร้างความเข้าใจ และดูปัญหาความเดือดร้อนและช่วยเหลืออย่างเป็นระบบ

มีรายงานแจ้งว่า สำหรับรถไฟโมโนเรล (monorail) เป็นระบบขนส่งเหมาะสำหรับวิ่งบนทางที่มีขนาดแคบ และนิยมใช้เป็นระบบขนส่งที่มีจำนวนคนไม่มาก โดยมีข้อดีคือโครงสร้างโปร่ง วงเลี้ยวแคบ ค่าก่อสร้างต่ำ และเวนคืนที่ดินน้อยกว่า สามารถขนส่งผู้โดยสารได้ 10,000-40,000 คนต่อชั่วโมงต่อทิศทาง มีความเร็วสูงสุด 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 15/07/2015 7:35 pm    Post subject: Reply with quote

คมนาคมไฟเขียวสัมปทานโมโนเรลสีเหลือง-ชมพู ร่วมทุน 100% เล็งประมูลในไตรมาส 2/59


โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
13 กรกฎาคม 2558 19:21 น. (แก้ไขล่าสุด 14 กรกฎาคม 2558 10:17 น.)




“คมนาคม” เห็นชอบลงทุนรถไฟฟ้าสายสีเหลืองและสีชมพูเป็นโมโนเรลรูปแบบสัมปทาน PPP Net-Cost เบ็ดเสร็จ 100% จ่อชง ครม.ใน ส.ค.นี้ ส่วนสายสีส้มด้านตะวันออก (ศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี) สั่ง รฟม.ประสานกลาโหมและตำรวจจัดทีมลงพื้นที่ทำความเข้าใจประชาชนย่านประชาสงเคราะห์ ยอมรับต้องติดตามกลุ่มเคลื่อนไหวคัดค้าน

พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังเป็นประธานประชุมความคืบหน้าโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง ระยะทาง 30.4 กิโลเมตร วงเงิน 55,986 ล้านบาท และรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี ระยะทาง 36 กิโลเมตร วงเงิน 56,691 ล้านบาท ว่า กระทรวงคมนาคมเห็นชอบตามที่การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เสนอรูปแบบการลงทุน (Public private Partnership : PPP) โดยให้เอกชนร่วมลงทุนในรูปแบบ PPP Net-Cost โดยให้สัมปทานเอกชน ซึ่งเอกชนจะต้องรับภาระลงทุน 100% (ทั้งค่าก่อสร้างงานโยธา ระบบราง ขบวนรถไฟฟ้า รวมถึงบริหารการเดินรถและซ่อมบำรุง) โดยก่อสร้างเป็นรถไฟฟ้าแบบรางเดี่ยว (Monorail) โดยหลังจากนี้จะเสนอไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อพิจารณาก่อนเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อขออนุมัติต่อไป โดยคาดว่าจะเสนอ ครม.ได้ภายในเดือน ส.ค. 2558

สำหรับรถไฟฟ้าสายสีส้มช่วงตลิ่งชัน-มีนบุรี ระยะทาง 38.8 กิโลเมตร ในส่วนของสายตะวันออก เฟสแรก ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย-มีนบุรี ระยะทาง 21.2 กิโลเมตร วงเงิน 110,325 ล้านบาทนั้น รฟม.จะต้องลงพื้นที่เพื่อชี้แจงชาวชุมชนประชาสงเคราะห์จำนวน 184 ครัวเรือนเพื่อให้เข้าใจในการก่อสร้างตามแนวเส้นทางเดิมซึ่งเป็นไปตามแผนแม่บทรถไฟฟ้าก่อน และเป็นไปตามมติคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) และคณะกรรมการ (บอร์ด) รฟม.ที่เห็นชอบให้ก่อสร้างตามแนวสายทางเดิม โดยกระทรวงคมนาคมได้ให้ รฟม.ประสานทีมปฏิบัติการข่าวสารเชิงสร้างสรรค์ (Information Operations : IO) จากกระทรวงกลาโหมและตำรวจ เพื่อร่วมในการลงพื้นที่ชี้แจงทำความเข้าใจประชาชนด้วย

ทั้งนี้ ยอมรับว่าในการดำเนินโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มนั้นจะต้องดูความเคลื่อนไหวของกลุ่มที่เตรียมนำประชาชนด้วย ซึ่งยอมรับว่าก่อนนำเสนอ ครม.จะต้องทำความเข้าใจกับทุกฝ่ายก่อนเพื่อไม่ให้เกิดปัญหา

“เดิมวางแผนจะเสนอรถไฟฟ้าสายสีเหลือง, ชมพู และส้มเข้า ครม.พร้อมกันภายในวันที่ 5 ส.ค.นี้ แต่จากการประเมินคาดว่าอาจจะไม่ทัน โดยเฉพาะสายสีส้มที่ต้องทำความเข้าใจกับประชาชนย่านประชาสงเคราะห์ที่คัดค้านแนวเส้นทางก่อน ดังนั้นอาจจะเสนอสายสีเหลืองและสีชมพูได้ก่อน ส่วนการประกวดราคานั้นคาดว่าหากได้รับอนุมัติ น่าจะเปิดประมูลได้ช่วงไตรมาส 2 ปี 2559” พล.อ.อ.ประจินกล่าว
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 06/08/2015 12:29 pm    Post subject: Reply with quote

เเนะนำข้อมูลโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู (ช่วงเเคราย-มีนบุรี)
-----------------------------------------
...ต้นทางของรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย – มีนบุรี เริ่มจากสถานีศูนย์ราชการจังหวัดนนทบุรี ซึ่งอยู่ใกล้แยกแคราย ผ่านถนนติวานนท์ก่อนเลี้ยวเข้าถนนแจ้งวัฒนะ เชื่อมต่อถนนรามอินทรา ไปสิ้นสุดปลายทางที่สถานีมีนบุรี รวมระยะทาง 34.5 กิโลเมตร เส้นทางรถไฟฟ้าจะผ่านที่พักอาศัย สถานที่ราชการ รัฐวิสาหกิจ สถาบันการศึกษา โรงพยาบาล และศูนย์การค้าหลายแห่ง มีจำนวน 30 สถานี เพื่อรองรับและอำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้บริการมากที่สุด ดังนี้
1. สถานีศูนย์ราชการนนทบุรี ตั้งอยู่บนถนนรัตนาธิเบศร์ บริเวณข้างศูนย์ราชการจังหวัดนนทบุรี เป็นสถานีสำหรับเปลี่ยนเส้นทางระหว่างรถไฟฟ้าสายสีชมพูกับรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงบางใหญ่ – บางซื่อ
2. สถานีแคราย ตั้งอยู่บนถนนติวานนท์ บริเวณใกล้กับโ รงพยาบาลโรคทรวงอก นนทบุรี ระหว่างซอยติวานนท์ 11 กับซอยติวานนท์ 13
3. สถานีสนามบินน้ำ ตั้งอยู่บนถนนติวานนท์ ใกล้กับทางแยกสนามบินน้ำ ระหว่างซอยติวานนท์ 38 กับซอยติวานนท์ 40
4. สถานีสามัคคี ตั้งอยู่บนถนนติวานนท์ ใกล้ทางแยกเข้าถนนสามัคคี ระหว่างคลองบางตลาด กับถนนสามัคคี
5. สถานีกรมชลประทาน ตั้งอยู่บนถนนติวานนท์ ใกล้กับโรงเรียนชลประทานวิทยา ระหว่างซอย ติวานนท์ 4 กับซอยติวานนท์ 6
6. สถานีปากเกร็ด ตั้งอยู่บริเวณหัวมุมห้าแยกปากเกร็ด ก่อนเข้าสู่ถนนแจ้งวัฒนะ
7. สถานีเลี่ยงเมืองปากเกร็ด ตั้งอยู่บนถนนแจ้งวัฒนะ ก่อนถึงทางแยกเลี่ยงเมืองปากเกร็ด ตัดกับถนนแจ้งวัฒนะ
8. สถานีแจ้งวัฒนะ – ปากเกร็ด 28 ตั้งอยู่บนถนนแจ้งวัฒนะ ใกล้กับห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลพลาซ่าแจ้งวัฒนะ
9. สถานีเมืองทองธานี ตั้งอยู่บนถนนแจ้งวัฒนะ ใกล้กับถนนเข้าเมืองทองธานี และสะพานข้ามแยกเมืองทองธานี
10. สถานีศรีรัช ตั้งอยู่บนถนนแจ้งวัฒนะ ถัดจากทางพิเศษศรีรัช หน้าทางเข้าอิมแพคเมืองทองธานี
11. สถานีแจ้งวัฒนะ 14 ตั้งอยู่บนถนนแจ้งวัฒนะ บริเวณซอยแจ้งวัฒนะ 14 (ซอยหมู่บ้านเมืองทอง 1)
12. สถานีศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ ตั้งอยู่บนถนนแจ้งวัฒนะ หน้ากรมการกงศสุล
13. สถานีทีโอที ตั้งอยู่บนถนนแจ้งวัฒนะ ระหว่างซอยแจ้งวัฒนะ 5 และซอยแจ้งวัฒนะ 7
14. สถานีหลักสี่ ตั้งอยู่บนถนนแจ้งวัฒนะ ใกล้กับบริเวณสูนย์การค้า ไอทีสแควร์ เป็นสถานีสำหรับเปลี่ยนเส้นทางระหว่างรถไฟฟ้าสายสีชมพู กับรถไฟฟ้าสายสีแดง ช่วงบางซื่อ – รังสิต
15. สถานีราชภัฏพระนคร ตั้งอยู่บนถนนแจ้งวัฒนะ บริเวณหน้ามหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร
16. สถานีวัดพระศรีมหาธาตุ ตั้งอยู่บนถนนรามอินทรา ใกล้กับวงเวียนอนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญ เป็นสถานีสำหรับเปลี่ยนเส้นทางระหว่างรถไฟฟ้าสายสีชมพู กับรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงหมอชิต – สะพานใหม่ – คูคต
17. สถานีรามอินทรา 3 ตั้งอยู่บนถนนรามอินทรา ใกล้กับเซ็นทรัลรามอินทรา ระหว่างซอยรามอินทรา 3 กับซอยรามอินทรา 5
18. สถานีลาดปลาเค้า ตั้งอยู่บนถนนรามอินทรา ใกล้ทางเข้าถนนลาดปลาเค้า
19. สถานีรามอินทรา 31 ตั้งอยู่บนถนนรามอินทรา ช่วงซอยรามอินทรา 31 ถึงซอยรามอินทรา 35
20. สถานีมัยลาภ ตั้งอยู่บนถนนรามอินทรา ช่วงซอยรามอินทรา 12 ถึงทางพิเศษฉลองรัช รามอินทรา – อาจณรงค์)
21. สถานีวัชรพล ตั้งอยู่บนถนนรามอินทรา บริเวณใกล้ซอยวัชรพล ช่วงซอยรามอินทรา 59 กับซอยรามอินทรา 61 เป็นสถานีสำหรับเปลี่ยนเส้นทางระหว่างรถไฟฟ้าสายสีชมพู กับรถไฟฟ้าสายสีเทาในอนาคต
22. สถานีรามอินทรา 40 ตั้งอยู่บนถนนรามอินทรา ระหว่างซอยรามอินทรา 40 กับซอยรามอินทรา 42
23. สถานีคู้บอน ตั้งอยู่บนถนนรามอินทรา บริเวณทางแยกนวมินทร์ (รามอินทรา กม.8) ระหว่างซอยรามอินทรา 46 กับซอยรามอินทรา 48 ซอยคู้บอน ใกล้แยกคู้บอน
24. สถานีรามอินทรา 83 ตั้งอยู่บนถนนรามอินทรา บริเวณทางแยกไปถนนนวมินทร์ ใกล้โรงพยาบาลสินแพทย์
25. สถานีวงแหวนตะวันออก ตั้งอยู่บนถนนรามอินทรา ใกล้ศูนย์การค้าแฟชั่นไอส์แลนด์ และ The Promenade
26. สถานีนพรัตนราชธานี ตั้งอยู่บนถนนรามอินทรา บริเวณถัดจากโรงพยาบาลนพรัตนราชธานี ใกล้กับแยกเข้าสวนสยาม
27. สถานีบางชัน ตั้งอยู่บนถนนรามอินทรา บริเวณใกล้ซอยรามอินทรา 109 และซอยรามอินทรา115
28. สถานีเศรษฐบุตรบำเพ็ญ ตั้งอยู่บนถนนรามอินทรา ใกล้กับโรงเรียนเศรษฐบุตรบำเพ็ญ
29. สถานีตลาดมีนบุรี ตั้งอยู่บนถนนสีหบุรานุกิจ บริเวณใกล้ตลาดมีนบุรี
30. สถานีมีนบุรี ตั้งอยู่บนถนนรามคำแหง ใกล้กับทางแยกร่มเกล้า เป็นสถานีสำหรับเปลี่ยนเส้นทางระหว่างรถไฟฟ้าสายสีชมพู กับรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงตลิ่งชัน – มีนบุรี และมีจุดจอดและจร (Park and Ride) ในบริเวณเดียวกับพื้นที่ศูนย์ซ่อมบำรุง
โดยสถานะปัจจุบันของโครงการ อยู่ในระหว่างเสนอโครงการให้คณะกรรมการร่วมทุนฯ เเละคณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติซึ่งหาก ครม. อนุมัติเเล้ว รฟม. จะดำเนินการตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ใน พ.ร.บ. การให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2556 ทั้งนี้คาดว่า โครงการจะสามารถเริ่มการก่อสร้างได้ในปี 2560.....
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=1609902609226467&id=1409174012632662
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44648
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 13/08/2015 11:57 am    Post subject: Reply with quote

คมนาคมไฟเขียวเวนคืนที่ดิน ผุดสร้างมอเตอร์เวย์-รถไฟฟ้า
โดย ไทยรัฐฉบับพิมพ์ 13 ส.ค. 2558 05:01

ผู้สื่อข่าวรายงานจากกรมทางหลวงถึงความคืบหน้าการเวนคืนที่ดินโครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย์) 3 เส้นทางว่า ขณะนี้รัฐบาลกำลังเร่งดำเนินการเวนคืน 3 เส้นทางวงเงินรวมกว่า 18,000 ล้านบาท คือ เส้นทางพัทยา-มาบตาพุด, เส้นทางบางใหญ่-กาญจนบุรี และเส้นทางบางปะอิน-นครราชสีมา ทั้งนี้ในการเวนคืนทุกเส้นทางจะแล้วเสร็จเร็วหรือช้าขึ้นกับงบประมาณที่กรมทางหลวงได้รับในแต่ละปี

นายพีระยุทธ สิงห์พัฒนากุล ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.)กล่าวว่า ขณะนี้ รฟม.ได้เดินหน้าเวนคืนที่ดินเพื่อก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสีต่างๆ
ทั้งสายสีเขียว ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต ซึ่งเริ่มลงพื้นที่เวนคืนไปแล้ว,
สายสีน้ำเงิน ส่วนต่อขยาย ช่วงบางซื่อ-ท่าพระ และช่วงหัวลำโพง-บางแค ซึ่งเหลือพื้นที่ที่ต้องเวนคืนเพียงจุดเดียวคือ บริเวณแยกไฟฉาย
ในส่วนของสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง, สายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี อยู่ระหว่างพิจารณาออกพระราชกฤษฎีกา (พ.ร.ฎ.) เวนคืนที่ดิน ของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา

ส่วนโครงการที่รอขออนุมัติจาก ครม. และอยู่ระหว่างเสนอ
มีโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ
ขณะที่โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย บอร์ด รฟม.มีมติให้เดินรถต่อเนื่อง และปรับมาใช้รูปแบบลงทุนแบบพีพีพี เน็ต คอสต์ คือให้รัฐเป็นผู้ลงทุนค่าก่อสร้าง ส่วนเอกชนลงทุนงานระบบรถไฟฟ้า จัดหาขบวนรถ และบริหารเดินรถและซ่อมบำรุง.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 116, 117, 118 ... 278, 279, 280  Next
Page 117 of 280

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©