Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311216
ทั่วไป:13151550
ทั้งหมด:13462766
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 136, 137, 138 ... 277, 278, 279  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42556
Location: NECTEC

PostPosted: 11/07/2016 7:01 pm    Post subject: Reply with quote

ราชบุรีฯ เผยความพร้อมประมูลรถไฟฟ้า
โดย MGR Online
11 กรกฎาคม 2559 12:12 น. (แก้ไขล่าสุด 11 กรกฎาคม 2559 15:06 น.)


ราชบุรีฯ เผยความพร้อมประมูลรถไฟฟ้า
“ผลิตไฟฟ้าราชบุรีฯ” เผยความพร้อมประมูลโครงการรถไฟฟ้าสีชมพู-เหลือง โดยได้เจรจาเจ้าของผู้ผลิตรถไฟฟ้าโมโนเรล และบริษัทชำนาญการบริหารจัดการด้านไฟฟ้า ยันสอดรับแผนกลยุทธ์ธุรกิจใหม่ที่มุ่งเน้นธุรกิจเกี่ยวเนื่องไฟฟ้าทั้งระบบสายส่ง รถไฟฟ้าและน้ำประปา รวมทั้งรุกธุรกิจพลังงานหมุนเวียนเพิ่มขึ้น

แหล่งข่าวระดับสูงบริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรี โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) (RATCH) เปิดเผยว่า ตามที่บริษัทฯ ได้เข้าไปซื้อเอกสารประกวดราคาโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพูช่วงแคราย-มีนบุรี และรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง เมื่อวันที่ 6 ก.ค.นั้น เนื่องจากเห็นว่าเป็นธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับไฟฟ้า
สอดคล้องแผนกลยุทธ์เชิงธุรกิจใหม่ที่จะหันมาลงทุนธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับไฟฟ้าที่บริษัทมีความชำนาญ

ทั้งนี้ บริษัทฯ ได้มีการเตรียมความพร้อมในการยื่นประมูลโครงการรถไฟฟ้าดังกล่าวมาระยะหนึ่ง โดยบริษัทเจรจากับบริษัทผู้ผลิตรถไฟฟ้ารางเดี่ยว หรือ Monorail บ้างแล้ว ขณะที่บริษัทมีประสบการณ์การบริหารจัดการโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่เข้ามาดำเนินการธุรกิจนี้ได้ กล่าวได้ว่าเป็นก้าวแรกในการรุกธุรกิจนี้
ส่วนเงินทุนนั้นบริษัทมีฐานะการเงินที่แข็งแกร่งและมีความพร้อมด้านเงินทุนซึ่งเป็นจุดแข็งของบริษัท

แหล่งข่าวระดับสูงกล่าวต่อไปว่า บริษัทฯ ได้มีการจัดทำแผนกลยุทธ์ธุรกิจใหม่จะเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทในเร็วๆ นี้ โดยวางแผนกลยุทธ์ที่จะแตกไลน์การลงทุนที่เกี่ยวเนื่องจากไฟฟ้า เช่น ธุรกิจสาธารณูปโภค (น้ำประปา) ระบบสายส่ง และ รถไฟฟ้า ฯลฯ รวมทั้งรุกธุรกิจพลังงานหมุนเวียนเพิ่มมากขึ้น

โดยบริษัทฯ มีแผนที่จะทำธุรกิจน้ำประปาในประเทศเพื่อนบ้าน เช่น ลาว โดยมีการเสนอโครงการไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ขณะนี้อยู่ระหว่างการเจรจากับลาว ส่วนพม่านั้นเนื่องจากธุรกิจน้ำประปาเป็นธุรกิจสาธารณูปโภคจำเป็นต้องอาศัยภาครัฐในการนำร่องเจรจาก่อน เพราะกฎระเบียบการลงทุนด้านสาธารณูปโภคในพม่ายังไม่เปิดให้เอกชนทำเว้นแต่ลงทุนในนิคมอุตสาหกรรม

“ส่วนใหญ่บริษัทที่ทำโรงไฟฟ้าจะมีความเชี่ยวชาญเรื่องน้ำอยู่แล้ว ทั้งการบริหารจัดการน้ำ การบำบัดน้ำเสียให้เป็นน้ำสะอาด การทำน้ำอาร์โอ โดยบริษัทฯ สนใจที่จะทำธุรกิจน้ำประปา โดยมองไปยังประเทศเพื่อนบ้านทั้งลาว และพม่า ที่ยังมีความต้องการใช้น้ำประปาอีกมาก”

ส่วนระบบสายส่งก็เป็นอีกธุรกิจหนึ่งที่บริษัทฯ ให้ความสนใจโดยเฉพาะที่ลาว เนื่องจากการลงทุนโรงไฟฟ้าในประเทศเพื่อนบ้านจำเป็นต้องมีการลงทุนด้านสายส่งจากโรงไฟฟ้าเชื่อมกับระบบสายส่งในไทย ที่ผ่านมาบริษัทมีความชำนาญในด้านนี้อยู่แล้ว ซึ่งการรุกธุรกิจดังกล่าวจะมีส่วนผลักดันให้เกิดโครงการระบบสายส่งไฟฟ้าอาเซียน (ASEAN Power Grid : APG) เกิดได้เร็วขึ้น

สำหรับธุรกิจพลังงานหมุนเวียนนั้น บริษัทฯ มีเป้าหมายเพิ่มสัดส่วนในธุรกิจนี้คิดเป็น 20% กำลังการผลิตไฟฟ้าทั้งหมดในปี 2567 จากปัจจุบันมีสัดส่วนเพียง 4%เท่านั้น โดยบริษัทได้มีการยื่นประมูลโครงการรับซื้อไฟจากโรงไฟฟ้าชีวมวลที่ 3 จังหวัดภาคใต้ไม่เกิน 36 เมกะวัตต์ รวมทั้งสนใจโครงการโซลาร์รูฟด้วย

โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี ระยะทาง 34.5 กม. วงเงิน 53,490 ล้านบาท และรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง ระยะทาง 29.1 กม. วงเงิน 51,810 ล้านบาท จะเปิดให้ยื่นเอกสารประกวดราคาในวันที่ 7 พ.ย. 2559 เวลา 09.00-15.00 น. เปิดซองข้อเสนอในวันที่ 17 พ.ย. 2559 เวลา 13.00 น. โดยรถไฟฟ้าสายสีชมพูและสายสีเหลืองเป็นระบบรถไฟฟ้ารางเดี่ยว หรือ Monorail
ให้เอกชนร่วมลงทุนรูปแบบ PPP- Net Cost โดยการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) จะดำเนินการจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน และให้สัมปทานการลงทุนออกแบบและก่อสร้างงานโยธา การจัดหาระบบรถไฟฟ้า การให้บริการเดินรถไฟฟ้าและซ่อมบำรุงแก่ผู้รับสัมปทาน
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42556
Location: NECTEC

PostPosted: 13/07/2016 7:30 pm    Post subject: Reply with quote

4 เอกชนซื้อซองโมโนเรล
โดย ไทยรัฐฉบับพิมพ์ 13 ก.ค. 2559 05:01
งานนี้ ช.การช่าง (ผ่านทาง BEM) ซีโนไทย (ผ่านทาง BTSC) อิตาเลียนไทย และ โรงไฟฟ้าราชบุรียื่นประมูลทำรถโมโนเรล สายสีชมพูและสีเหลือง

หวังว่าจะเริ่มก่อสร้างปี 2560 และ เปิด2563 ตามแผนนะ

//-------------
รฟม.เผย ITD ซื้อซองสายสีชมพู-สีเหลืองเป็นราย 4/สายสีส้มเปิดขายซอง 15 ก.ค.

ข่าวเศรษฐกิจ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) --
พุธที่ 13 กรกฎาคม 2559 18:41:37 น.
พล.อ.ยอดยุทธ บุญญาธิการ ประธานคณะกรรมการ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (บอร์ด รฟม.) เปิดเผยว่า ตามที่ รฟม.ได้ประกาศขายเอกสารประกวดราคาโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี ระยะทาง 34.5 กม. วงเงิน 53,490 ล้านบาท และโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง ระยะทาง 29.1 กม. วงเงิน 51,810 ล้านบาท ไปตั้งแต่วันที่ 6 ก.ค.59 แล้วนั้น ล่าสุด บมจ.อิตาเลียนไทย ดิเวล๊อปเม้นต์ (ITD) ได้เข้ามาซื้อซองประกวดราคาเป็นรายที่ 4 จากวันแรกที่มีเอกชน 3 รายซื้อไปแล้ว คือ บมจ.ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ (BEM), บมจ. ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ (BTSC) และ บมจ.ราชบุรี โฮลดิ้ง (RATCH)

ส่วนรถไฟฟ้าสายสีส้ม (ตะวันออก) ช่วงศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ระยะทาง 21.2 กม. วงเงิน 79,726.43 ล้านบาท รฟม.จะเปิดขายเอกสารประกวดราคาก่อสร้างตั้งแต่วันที่ 15 ก.ค.-1 ส.ค.59 โดยยื่นข้อเสนอวันที่ 31 ต.ค.59 คาดว่าจะเริ่มก่อสร้างได้ต้นปี 2560 ทั้งนี้ ในส่วนของการเดินรถสายสีส้มจะพิจารณาเปิดให้เป็นรูปแบบ PPP เป็นรายเดียวตลอดสาย ทั้งด้านตะวันออกและตะวันตก มูลค่าประมาณ 4 หมื่นล้านบาท เพื่อให้เกิดการเชื่อมต่อและไม่ยุ่งยากเหมือนสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย

ส่วนรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ (เตาปูน-ราษฎร์บูรณะ) ระยะทาง 23.6 กม. วงเงิน 101,112 ล้านบาท อยู่ในระหว่างเสนอให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติโครงการ ขณะที่การเดินรถวงเงินประมาณ 2 หมื่นล้านบาทนั้นจะยึดหลักการเดินรถต่อเนื่องเช่นกัน ซึ่งจะต้องพิจารณาโดยใช้บรรทัดฐานของสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย

พร้อมกันนี้ ที่ประชุมบอร์ด รฟม. ยังมีมติเห็นชอบร่าง พ.ร.บ.การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ซึ่งจะมีการแก้ไขในหลายมาตรา เช่น การให้ รฟม.สามารถนำพื้นที่จากการเวนคืนมาดำเนินการธุรกิจเกี่ยวเนื่องได้ ภายหลังจากใช้ประโยชน์ในพื้นที่ตามวัตถุประสงค์ครบถ้วนแล้ว เพื่อหารายได้เพิ่มและนำมาพัฒนากิจการรถไฟฟ้าได้เช่นเดียวกับในต่างประเทศ และจะช่วยลดภาระของประชาชนในเรื่องค่าโดยสารที่จะไม่สูงมากด้วย

ส่วนประเด็นการแต่งตั้งรักษาการผู้ว่าฯ รฟม.กรณีตำแหน่งผู้ว่าฯ ว่าง จากเดิมที่ให้ตั้งรองผู้ว่าฯ ที่อาวุโสสูงสุด มาเป็นให้อำนาจบอร์ดพิจารณาแต่งตั้งจากรองผู้ว่าฯ ที่เหมาะสม ซึ่งจะเหมือนรัฐวิสาหกิจอื่นๆ, การกำหนดอัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้า ซึ่งจะปรับทุกๆ 2 ปี โดยอ้างอิงดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) จากเดิมที่ต้องเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) ให้เห็นชอบก่อนประกาศใช้ มาเป็นให้อำนาจบอร์ด รฟม.พิจารณาเห็นชอบแทน
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42556
Location: NECTEC

PostPosted: 16/07/2016 3:22 am    Post subject: Reply with quote

“สมคิด” เร่งแผนพัฒนาพื้นที่ สร้างรายได้หนุนเมกะโปรเจกต์
โดย MGR Online
15 กรกฎาคม 2559 14:51 น. (แก้ไขล่าสุด 15 กรกฎาคม 2559 15:42 น.)


“สมคิด” สั่งคมนาคมทำรายละเอียดผลตอบแทนในการพัฒนาพื้นที่สถานีและการใช้ที่ดินโดยรอบที่เกี่ยวเนื่องให้ได้ประโยชน์สูงสุด เพื่อเปิดเชิญชวนเอกชนไทย-เทศร่วมลงทุนเพิ่มรายได้เชิงพาณิชย์จากการลงทุนโครงการเมกะโปรเจกต์ ให้เวลา 1 เดือนรายงานนายกฯ ด้าน “อาคม” ยอมรับติดปัญหา กม.เวนคืน บางเรื่องอาจต้องเสนอใช้ ม.44 ช่วย

นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมแนวทางการใช้ประโยชน์ที่ดินจากการเวนคืนเพื่อดำเนินการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงคมนาคม ว่าตามที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้มอบหมายให้ช่วยดูแลเรื่องของการจัดรูปเรื่องของการหารายได้ให้กับโครงการต่างๆ ทั้งโครงการรถไฟ รถไฟฟ้าของกระทรวงคมนาคม ซึ่งได้เชิญทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องและสำนักงานผังเมืองมาร่วมหารือ โดยให้ทำกรอบรวมถึงรายละเอียดในการพัฒนาพื้นที่เพื่อเพิ่มรายได้เชิงพาณิชย์ของแต่ละโครงการเพื่อเป็นหลักเกณฑ์พัฒนาเป็นต้นแบบเพื่อนำมาใช้เป็นหลักเกณฑ์ในการให้เอกชนเข้ามาประมูลแข่งขัน เพราะหลักเกณฑ์จะเป็นฐานในการให้เอกชนคำนวณตัวเลขที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาได้ โดยให้เวลา 1 เดือนในการจัดทำรายละเอียดเพื่อเตรียมรายงานต่อนายกรัฐมนตรี เชื่อว่าในส่วนของผังเมืองจะมีความชัดเจนขึ้นว่าจุดไหนที่สามารถดำเนินการอย่างไร

ทั้งนี้ ได้กำหนดขอบเขตเบื้องต้นเร่งด่วน ใน 4 โครงการ คือ โครงการความร่วมมือพัฒนาระบบขนส่งทางรางระหว่างไทยกับจีน เส้นทางกรุงเทพ-นครราชสีมา, รถไฟความเร็วสูง กรุงเทพ-ระยอง และกรุงเทพ-หัวหิน และโครงการภายใต้ความร่วมมือรถไฟไทย-ญี่ปุ่น ในความร่วมมือด้านระบบราง เส้นทางแนวเศรษฐกิจด้านใต้ กาญจนบุรี-กรุงเทพ, กรุงเทพ-ฉะเชิงเทรา-อรัญประเทศ, กรุงเทพ-ฉะเชิงเทรา-แหลมฉบัง ให้ดูว่าในแต่ละเส้นทางการจัดระบบที่ดินและการก่อสร้างจะใช้ประโยชน์จากพื้นที่ได้อย่างไร

โดยให้แนวทางว่าในแต่ละเส้นทางมีกี่สถานี ควรอยู่จุดใด และการใช้ประโยชน์ของพื้นที่สถานีได้อย่างไร และพื้นที่ระหว่างสถานีมีจุดใดที่สามารถพัฒนาได้ และกำหนดเป็นหลักเกณฑ์ในการให้เอกชนเข้ามาประมูลแข่งขัน เพราะเมื่อศึกษาแล้วจะรู้ถึงผลตอบแทนในการพัฒนาว่าแต่ละโครงการจะมีกี่เปอร์เซ็นต์ ตัวนี้จะเป็นฐานในการให้เอกชนคำนวณตัวเลขที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาได้ เช่น ความร่วมมือรถไฟไทย-จีนเส้นทางกรุงเทพ-โคราช ไทยลงทุนเองทั้งหมด จะมีการหาผู้มาร่วมลงทุน

“แนวคิดการพัฒนารูปแบบนี้หากทำได้ ที่เกรงกันว่าลงทุนแล้วไม่คุ้มผลตอบแทนน้อยจะไม่เกิดขึ้น และจะมีกำไรแน่นอน รัฐบาลต้องการให้ภาคเอกชนเข้ามาแข่งขันกันโดยภาครัฐจะเป็นผู้กำกับและร่วมลงทุน ซึ่งในแต่ละเส้นทางจะเปิดให้เอกชนไทยและต่างประเทศเข้ามาร่วมลงทุนแต่ช่วงแรกจะเชิญชวนเอกชนไทยก่อน ส่วนต่างประเทศหากสนใจสามารถมาร่วมได้ซึ่งในสัปดาห์หน้าผมจะมาติดตามความคืบหน้าเรื่องได้มอบหมายไว้ที่กระทรวงคมนาคมอีก” นายสมคิดกล่าว และว่า นอกจากนี้ยังได้กำชับให้กระทรวงคมนาคม เร่งจัดทำรายละเอียดโครงการศูนย์กลางคมนาคมพหลโยธิน และการพัฒนาเชิงพาณิชย์บริเวณสถานีกลางบางซื่อ นำเสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) โดยเร็ว เพื่อเปิดเชิญชวนให้เอกชนเข้ามาร่วมประมูล จะเป็นการใช้ประโยชน์จากที่ดินเพื่อพัฒนาพื้นที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

นายสมคิดกล่าวว่า ในส่วนของกฎหมายเวนคืนที่ดินนั้น กฤษฎีกาพิจารณาเรื่องที่เกี่ยวข้องจุดไหนที่มีปัญหาด้านกฎหมาย จะต้องระบุออกมาเพื่อแก้ไขก่อน โดยไม่จำเป็นต้องใช้ ม.44 จึงได้มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องหาวิธีการทางกฎหมาย ทำให้เรื่องดังกล่าวถูกต้องตามกฎหมาย เพื่อให้ประเทศได้ประโยชน์สูงสุด เนื่องจากปกติที่ดินที่เวนคืนมาตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 หน่วยงานเวนคืนใช้ประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ของการเวนคืนจะนำไปใช้ประโยชน์อื่นไม่ได้ ถ้าติดขัดจุดนี้ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายต้องไปหารือกันว่าจะแก้ไขอย่างไร

นอกจากนี้ กระทรวงคมนาคมได้รายงานความคืบหน้าโครงการต่างๆ ที่รัฐบาลได้เร่งรัดไว้ เช่น รถไฟฟ้าสายสีชมพู สายสีเหลือง และสายสีส้ม ซึ่งได้ดำเนินการไปตามแผน ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการเปิดขายซองประกวดราคา หลังจากนั้นภายในระยะเวลา 3 เดือนจะเปิดยื่นแข่งขันราคา และได้พูดคุยถึง เส้นทางอื่นจะมีการผลักดันให้ดำเนินการตามแผน เส้นทางที่ไปสู่ชนบทที่สำคัญ เช่น รถไฟทางคู่ ให้เร่งรัดดำเนินการให้เร็วขึ้นเพื่อให้เกิดความสะดวกในการขนส่งสินค้า

ด้านนายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมกล่าวว่า กระทรวงคมนาคมจะเร่งดำเนินการตามนโยบาย รองนายกฯ ซึ่งจะให้ฝ่ายกฎหมายพิจารณาประเด็นข้อกฎหมายที่ติดขัด และนำเสนอเพื่อขอแก้ไขต่อไป หากเรื่องใดที่ใช้เวลานานในการแก้ไขกฎหมาย อาจจะจำเป็นต้องพิจารณาเพื่อใช้ ม.44 มาช่วย เพื่อให้เวลาในเรื่องกฎหมายสอดคล้องกับงานโครงการที่จะต้องเริ่มดำเนินการไปได้ ซึ่งมีกฎหมายที่เกี่ยวข้องหลายฉบับ ขณะนี้กฤษฎีกาช่วยดูอยู่ สำหรับการดำเนินโครงการต่อไปในอนาคตหากจะต้องมีการเวนคืนพื้นที่จะต้องประกาศเป็นเขตพัฒนาซึ่งสามารถดำเนินการเพิ่มกิจกรรมทางเศรษฐกิจได้ เพราะสถานีรถไฟอย่างเดียวจะไม่ได้ประโยชน์สูงสุด และหากพัฒนาพื้นที่ได้จะสร้างรายได้ให้คนในท้องถิ่นด้วย ซึ่งมีอีกวิธี คือ ใช้กฎหมายผังเมืองซึ่งเป็นประกาศพื้นที่ควบคุม พื้นที่ห้ามก่อสร้าง เป็นการจัดรูปที่ดินเพื่อให้เมืองสวยงาม มีประสิทธิภาพ เกิดย่านพาณิชยกรรม เป็นไปได้ที่จะใช้กฎหมาย 2 ฉบับคู่กันไป

“การใช้ประโยชน์สองข้างทางไม่ได้หมายความว่าไม่ใช่ทุกจุดทุกกิโลเมตรตลอดเส้นทาง แต่จะพัฒนาเป็นจุดที่มีศักยภาพ เช่น กรุงเทพ-โคราช จะมีการพัฒนาช่วงสถานีกลางดง และปากช่อง ดูเป็นจุดใหญ่ๆ และค่อยๆ ขยายไป ต้องดูตลอดเส้นทางก่อน มีสถานีไหนบ้างที่มีศักยภาพหรือมีการลงทุนไปบ้างก่อนแล้ว หรือเป็นที่ราชพัสดุ ซึ่งจะสามารถจัดสรรทำประโยชน์ได้” นายอาคมกล่าว

สำหรับการประเมินตัวเลขผลตอบแทนที่จะเกิดขึ้นจากการพัฒนาพื้นที่นั้นจะประกอบด้วย 3 ส่วน การใช้ประโยชน์พื้นที่สถานี การใช้พื้นที่รอบสถานี และการพัฒนาเมือง ซึ่งจะเกิดการพัฒนา 3 วง ในตัวสถานี รอบสถานี และตัวเมือง

นายอาคมกล่าวว่า กรณีที่ผู้อยู่รอบสถานี มีรายได้เพิ่มขึ้นจะมีการเก็บภาษีมากขึ้นด้วยหรือไม่ ไม่ได้มีการพูดถึง ซึ่งเป็นหน้าที่ของกระทรวงการคลังพิจารณาแนวทางของผู้ที่ได้ประโยชน์จากการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งขณะนี้มีกฎหมายเรื่องภาษีการใช้ประโยชน์อยู่แล้ว จะต้องคิดถึงมูลค่าที่เกิดขึ้นจากการมีโครงสร้างพื้นฐานเพิ่มขึ้น ซึ่งในการทำโครงการจะมองในแง่ประโยชน์รวม เศรษฐกิจรวม กรณีที่มีมูลค่าเพิ่ม รายได้เพิ่มจากพัฒนาพื้นที่จะต้องพิจารณาก่อนว่าจะสามารถนำมาช่วยอุดหนุนค่าโดยสารได้อย่างไร มีแนวคิดในส่วนของผู้ด้อยโอกาส หรือประชาชนทั่วไป ที่อาจจะได้รับการสิทธิในการใช้รถไฟฟ้าในเขตเมือง ในราคาพิเศษ โดยกำหนดเป็นช่วงเวลาในการเดินทางนอกเวลาเร่งด่วน
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42556
Location: NECTEC

PostPosted: 16/07/2016 4:49 am    Post subject: Reply with quote

รฟม.เปิดขายซองงานโยธา 'รถไฟฟ้าสายสีส้ม'
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
วันที่ 15 กรกฎาคม 2559, 18:30
อ่านแล้ว 2,763 ครั้ง

รฟม. เปิดขายซองงานโยธารถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ - มีนบุรี 7 บิ๊กรับเหมาไทย - เทศแห่ลงสนามแข่งเดือด คาด 31 ต.ค.นี้เปิดยื่นซอง


นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ รองผู้ว่าการ (วิศวกรรมและก่อสร้าง) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยในฐานะคณะกรรมการประกวดราคาโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ - มีนบุรี ในส่วนของงานโยธาโดยระบุว่า วันนี้ (15 ก.ค.59) รฟม.ได้ทำการเปิดขายซองประกวดราคาโครงการดังกล่าว และพบว่ามีเอกชนสนใจเข้าร่วมซื้อซองราคาจำนวน 7 ราย ซึ่งเป็นบริษัทรับเหมาทั้งในและต่างประเทศ อาทิ บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) บริษัท อิตาเลียนไทย จำกัด (มหาชน) บริษัท ซิโน-ไทยเอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) บริษัท เนาวรัตน์พัฒนาการ จำกัด (มหาชน) และบริษัท ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) เป็นต้น

ทั้งนี้ โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ – มีนบุรี มีระยะทาง 20 กม. วงเงิน 9.25 หมื่นล้านบาท โดย รฟม.มีกำหนดขายซองราคาตั้งแต่วันที่ 15 - 29 ก.ค.นี้ กำหนดยื่นซองในวันที่ 31 ต.ค.2559 ก่อนจะนำไปสู่การลงนามสัญญาจ้างเอกชนประมาณเดือน ม.ค. – ก.พ. 2560 และเริ่มดำเนินการก่อสร้างทันที โดยในส่วนของโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม รฟม.เปิดประมูลในส่วนของงานโยธา แบ่งออกเป็น 6 สัญญา

1.สัญญาจ้างออกแบบควบคู่งานก่อสร้างงานโยธาช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ -รามคำแหง 12
2.สัญญาออกแบบควบคุมงานก่อสร้าง ช่วงรามคำแหง 12 - หัวหมาก
3. สัญญาออกแบบควบคุมงานก่อสร้าง ช่วงหัวหมาก - บ้านม้า
4.โครงการยกระดับคลองบ้านม้า - มีนบุรี
5.สัญญาจ้างก่อสร้างศูนย์ซ่อมบำรุงและอาคารจอดแล้วจร และ
6.สัญญาจ้างออกแบบควบคู่งานก่อสร้างระบบราง
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44251
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 22/07/2016 6:27 pm    Post subject: Reply with quote

เปิดโพย39สถานีชุมทางรถไฟฟ้าเชื่อมกรุง "บางซื่อ-ศูนย์วัฒนธรรม"ฮับการเดินทางแหล่งธุรกิจใหม่ใหญ่สุด
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ 22 ก.ค. 2559 เวลา 18:01:29 น.

เปิดโผ 39 สถานีจุดตัดรถไฟฟ้าทั่วกรุง ทำเลทองแห่งใหม่ เชื่อมการเดินทาง แหล่งงานและที่อยู่อาศัย จากชานเมือง-ศูนย์กลางธุรกิจ นายกสมาคมคอนโดฯเผย "อโศก-สุขุมวิท-พญาไท" จุดตัดใต้ดิน-บีทีเอส-แอร์พอร์ตลิงก์ฮอต ราคาที่ดินพุ่ง ห้องชุดขาย 2 แสน/ตร.ม. บิ๊กศุภาลัยชี้สถานีศูนย์วัฒนธรรม จุดเชื่อมต่อใต้ดินและสีส้ม อนาคตขึ้นแท่นนิวซีบีดี

ผู้สื่อข่าว "ประชาชาติธุรกิจ" รายงานว่า ปัจจุบันการพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์และค้าปลีกแนวรถไฟฟ้าสารพัดสีกำลังเป็นที่สนใจของนักลงทุนเป็นอย่างมากโดยเฉพาะสถานีที่เป็นจุดเชื่อมต่อของรถไฟฟ้าที่จะเป็นที่นิยมชมชอบของผู้ประกอบการ

เปิดโผจุดเชื่อม39สถานี

จากการสำรวจพบว่ามีสถานีที่เป็นจุดตัดรถไฟฟ้า จำนวน 39 สถานี ประกอบด้วย 1.สถานีหมอชิตจะเชื่อมกับสถานีจตุจักรรถไฟฟ้าใต้ดิน 2.สถานีสยามสแควร์จุดเปลี่ยนถ่ายของบีทีเอสไปยังสายสีลม ปลายทางที่สถานีบางหว้า

3.สถานีพญาไทเชื่อมแอร์พอร์ตลิงก์ และสาย Missing Link (บางซื่อ-หัวลำโพง-หัวหมาก) ในอนาคต 4.สถานีราชเทวีเชื่อมกับสถานีประตูน้ำสายสีส้มตะวันตก (ศูนย์วัฒนธรรม-ตลิ่งชัน) 5.สถานีอโศกเชื่อมกับสถานีสุขุมวิทของรถไฟฟ้าใต้ดิน 6.สถานีสีลมรถไฟฟ้าใต้ดินเชื่อมสถานีศาลาแดงบีทีเอส 7.สถานีวุฒากาศของบีทีเอสเชื่อมกับสถานีตากสินสายสีแดง (ตากสิน-มหาชัย)

8.สถานีบางหว้าของบีทีเอสเชื่อมสายสีน้ำเงินต่อขยาย 9.สถานีห้าแยกลาดพร้าว สายสีเขียวต่อขยาย (หมอชิต-คูคต) เชื่อมกับสถานีพหลโยธินรถไฟฟ้าใต้ดิน 10.สถานีอนุสาวรีย์หลักสี่ของสายสีเขียวต่อขยายเชื่อมกับสายสีชมพู (แคราย-มีนบุรี) 11.สถานีสำโรงของสีเขียวต่อขยาย (แบริ่ง-สมุทรปราการ) เชื่อมสายสีเหลือง (ลาดพร้าว-สำโรง)

12.สถานีท่าพระจุดเปลี่ยนถ่ายของสายสีน้ำเงินเดิมและส่วนต่อขยาย 13.สถานี วังบูรพาเชื่อมสายสีม่วง (เตาปูน-ราษฎร์บูรณะ) กับสีน้ำเงินต่อขยาย 14.สถานีหัวลำโพงเชื่อมรถไฟฟ้าใต้ดินกับสีแดง (บางซื่อ-หัวลำโพง) 15.สถานีบางขุนนนท์เชื่อมสายสีส้ม 16.สถานีสิรินธรเชื่อมสีแดง (มักกะสัน-บางบำหรุ) กับสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย 17.สถานีเตาปูนจุดเปลี่ยนถ่ายสายสีม่วง (บางใหญ่-เตาปูน)

18.สถานีศูนย์วัฒนธรรมเชื่อมสายสีส้ม (ศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี) 19.สถานีเพชรบุรีเชื่อมรถไฟฟ้าใต้ดินกับแอร์พอร์ตลิงก์สถานีมักกะสัน 20.สถานีตลิ่งชันเชื่อมสายสีแดงกับสีส้ม 21.สถานีวงเวียนใหญ่เชื่อมสีม่วงต่อขยายกับสีแดงหัวลำโพง-มหาชัย 22.สถานีบางซ่อนเชื่อมสายสีม่วงกับสีแดง (บางซื่อ-ตลิ่งชัน)

23.สถานีศูนย์ราชการนนทบุรีเชื่อมสายสีม่วงกับสีชมพู 24.สถานีราชปรารภเชื่อมสายสีส้มกับแอร์พอร์ตลิงก์ 25.สถานีมีนบุรีเชื่อมสีส้มกับสีชมพู 26.สถานีพัฒนาการเชื่อมสายสีเหลืองกับแอร์พอร์ตลิงก์สถานีหัวหมาก 27.สถานีแยกลำสาลีเชื่อมสายสีเหลืองกับสีส้ม 28.สถานียมราชเชื่อมสายสีส้มกับสีแดง 29.สถานีสามเสนจุดเชื่อมกับสายสีแดง 30.สถานีผ่านฟ้าสายสีม่วงต่อขยายกับสถานีอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยสายสีส้ม

31.สถานีบางซื่อจุดเชื่อมระบบรางทั้งรถไฟชานเมืองไฮสปีดเทรนและรถไฟฟ้า32.สถานีราชวิถีจุดเชื่อมสายสีแดง 33.สถานีหลักสี่เชื่อมสายสีแดงกับสีชมพู 34.สถานียศเสเชื่อมบีทีเอสกับสีแดง 35.สถานีรางน้ำเชื่อมสีส้มกับสีแดง 36.สถานีอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิสายสีแดงเชื่อมกับบีทีเอส 37.สถานีลาดพร้าวรถไฟฟ้าใต้ดินเชื่อมสายสีเหลือง 38.สถานีบางบำหรุจุดเชื่อมสายสีแดง และ 39.สถานีสามเสนในจุดเชื่อมของสายสีแดงกับแอร์พอร์ตลิงก์ต่อขยาย

อโศก-สุขุมวิท-พญาไทฮอต

นายประเสริฐ แต่ดุลยสาธิต นายกสมาคมอาคารชุดไทย เปิดเผยว่า ปัจจุบันจุดตัดรถไฟฟ้าหรือสถานีอินเตอร์เชนจ์ที่ดีที่สุดของกรุงเทพฯ มองว่าเป็นทำเลสถานีอโศก-สุขุมวิท และสถานีพญาไท ซึ่งเชื่อมบีทีเอสกับแอร์พอร์ตลิงก์ ถือเป็นทำเลไพรมที่พัฒนาไปจนถึงระดับที่เป็นย่านพาณิชยกรรม ทำให้ราคาที่ดินปรับตัวสูงขึ้น และราคาอสังหาฯเพื่อการอยู่อาศัยแพงตามไปด้วย มีการเปิดตัวที่ราคามากกว่า 2 แสนบาท/ตร.ม. ทั้งนี้พื้นที่ทั้ง 2 แห่งยังมีศักยภาพพัฒนาที่อยู่อาศัยได้อีก แต่ต้องเป็นระดับลักเซอรี่

ส่วนบริเวณอื่นที่มองว่ามีแนวโน้มที่ดี คือทำเลบางซื่อ ซึ่งรัฐมีแนวคิดจะพัฒนาเป็นสถานีกลางบางซื่อ เชื่อมต่อการเดินทางทั้งสายสีน้ำเงิน ม่วง และแดง ทำให้เป็นฮับการเดินทาง ด้วยศักยภาพแล้วการเดินทางที่จะมารวมศูนย์บริเวณนี้ ทำให้น่าจะเป็นจุดดึงดูดประชากร คล้ายกับมารีน่าเบย์ที่สิงคโปร์ แต่มีอุปสรรคคือที่ดินรอบบริเวณส่วนใหญ่เป็นของหน่วยงานรัฐและเครือเอสซีจี ทำให้เอกชนหาที่ดินพัฒนาได้ยาก

ส่วนสถานีที่ยังไม่ได้ก่อสร้าง อาจจะยังเร็วเกินไปที่จะรีบเร่งลงทุน เพราะเอกชนมีบทเรียนจากการก่อสร้างและเดินรถไฟฟ้าสายสีม่วงซึ่งล่าช้ากว่ากำหนด ทำให้การลงทุนผิดจังหวะ มีสต๊อกคอนโดฯเหลือขายมากเพื่อรอเดินรถไฟฟ้า เชื่อว่าจะมีกระแสที่ดีอีกครั้งในพื้นที่รถไฟฟ้าสายใหม่ ๆ เมื่อเริ่มการก่อสร้างแล้ว

สถานีศูนย์วัฒนธรรมฮับแห่งใหม่

นายไตรเตชะ ตั้งมติธรรม กรรมการผู้จัดการ บมจ.ศุภาลัย กล่าวว่า จุดตัดรถไฟฟ้าที่น่าจะเป็นพื้นที่อนาคตคือ สถานีศูนย์วัฒนธรรม ซึ่งจะเป็นสถานีอินเตอร์เชนจ์สายสีน้ำเงินกับส้ม ทำให้จะกลายเป็นฮับสำหรับคนย่านรามคำแหง เพราะเป็นการเปิดการพัฒนาบนถนนสายหลักคือรามคำแหง ที่ยังไม่มีรถไฟฟ้าเชื่อมการเดินทางมายังในเมือง

ทั้งนี้สถานีศูนย์วัฒนธรรมถือเป็นเขตนิวซีบีดี (ศูนย์กลางธุรกิจแห่งใหม่) แม้จะยังมีที่ดินเปล่าให้พัฒนาได้อีกมาก แต่ราคาค่อนข้างสูง บริเวณริมถนนหลักราคากว่า 6 แสนบาท/ตร.ว. หากพัฒนาเป็นคอนโดฯราคาจะไม่ต่ำกว่า 1.5 แสนบาท/ตร.ม. หรือถ้าเป็นที่ดินในซอยต่าง ๆ ราคาประมาณ 2-3 แสนบาท/ตร.ว. พัฒนาห้องชุดต้องเปิดขายไม่ต่ำกว่า 9 หมื่นบาท/ตร.ม.

นอกจากนี้มองว่ายังไม่มีจุดตัดรถไฟฟ้าในอนาคตอื่น ๆ ที่น่าสนใจ แม้แต่พื้นที่สถานีกลางบางซื่อจะเป็นฮับการเดินทางด้านระบบราง คาดว่าจะพัฒนาได้ยากเพราะไม่ใช่พื้นที่ที่มีชุมชนดั้งเดิม ต้องใช้เวลาในการสร้างดีมานด์ให้คนต้องการเข้ามาอาศัย ซึ่งย่านบางซื่อจะเป็นพื้นที่เปลี่ยนถ่ายคนไปสู่จุดอื่นมากกว่าแหล่งที่พักอาศัย
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44251
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 23/07/2016 10:18 am    Post subject: Reply with quote

จัดสรรงบปี'60 สร้างรถไฟฟ้า 6 สาย
โพสต์ทูเดย์ 22 กรกฎาคม 2559 เวลา 06:33 น.

แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า แม้ว่าขณะนี้งบปี 2560 จะอยู่ในชั้นการพิจารณาของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณางบประมาณฯ แต่คาดว่าในปีงบ 2560 กระทรวงจะได้รับจัดสรรงบกว่า 1.95 แสนล้านบาท ซึ่งในจำนวนนี้เป็นงบลงทุน 1.53 แสนล้านบาท โดยเป็นงบภายใต้ยุทธศาสตร์ด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศ 3 แผนงาน วงเงินกว่า 1.02 แสนล้านบาท

ทั้งนี้ โครงการที่บรรจุในงบปี 2560 เช่น โครงการลงทุนต่อเนื่องจากปีงบ 2559 อาทิ โครงการศูนย์ขนส่งชายแดน จ.นครพนม โครงการศูนย์เปลี่ยนถ่ายรูปแบบการขนส่งสินค้าเชียงของ จ.เชียงราย โครงการก่อสร้างทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย์) สายบางปะอิน-นครราชสีมา และมอเตอร์เวย์สายบางใหญ่-กาญจนบุรี ส่วนโครงการใหม่ที่จะดำเนินการในปีงบ 2560 อาทิ โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่สายบ้านไผ่-นครพนม โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ 3 เส้นทาง คือ ช่วงชุมทาง<br />จิระ-อุบลราชธานี ช่วงชุมพร-สุราษฎร์ ธานี ช่วงขอนแก่น-หนองคาย รวมถึงโครงการก่อสร้างทางรถไฟเชื่อมต่อระหว่างท่าเรือแหลมฉบัง-ท่าเรือน้ำลึกทวาย เป็นต้น

สำหรับงบที่จัดสรรเพื่อลงทุนรถไฟฟ้ามี 6 เส้นทาง ได้แก่
1.สายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง
2.สายสีเขียว สมุทรปราการ-บางปู
3.สายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี
4.สายสีม่วง ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ
5.สายสีน้ำเงิน ช่วงบางแค-พุทธมณฑลสาย 4 และ
6.สายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี และช่วงตลิ่งชัน-ศูนย์วัฒนธรรม

ด้านโครงการลงทุนคมนาคมทางน้ำ เช่น การก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งพังในแม่น้ำป่าสัก ระยะที่ 1 ส่วนการลงทุนระบบขนส่งทางอากาศ เช่น ก่อสร้างอาคารที่พักผู้โดยสารหลังใหม่พร้อมอาคารประกอบที่ท่าอากาศยานแม่สอด โครงการก่อสร้างสนามบินเบตง การศึกษาแผนรักษาความปลอดภัยและฝึกอบรมที่ท่าอากาศยาน 3 แห่ง ได้แก่ ท่าอากาศยานกระบี่ สุราษฎร์ธานี และอุบลราชธานี

นายธีระพงษ์ รอดประเสริฐ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงคมนาคม กล่าวหลัง น.อ.วีระยุทธ ดิษยะศริน ประธานมูลนิธิอนุรักษ์และพัฒนาอากาศยานไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ และคณะ เข้าพบ ว่า มูลนิธิฯ เสนอแนวทางการผลักดันให้ประเทศไทยเป็นผู้นำกลุ่มประเทศอาเซียนในกระบวนการผลิตอากาศยานและชิ้นส่วนอากาศยาน

อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้ สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เคยศึกษาเรื่องอุตสาหกรรมการบินในการผลิตอากาศยาน พบว่าเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นค่อนข้างยากสำหรับประเทศไทย และต้องใช้เวลาผลักดันไม่น้อยกว่า 15 ปี ดังนั้น ประเทศไทยจึงจะร่วมมือกับประเทศในกลุ่มอาเซียนเพื่อผลักดันโครงการนี้ เพราะมีโอกาสเป็นไปได้ง่าย

“เนื่องจากเรื่องการผลิตอากาศยานไม่ได้อยู่ในกรอบการเจรจาของอาเซียน จึงต้องสอบถามสมาชิกอาเซียนว่าเห็นด้วยหรือไม่ และแน่นอนว่าสิ่งที่รัฐบาลกำลังสนับสนุนอยู่ในขณะนี้ คือ การก้าวไปสู่การเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนอากาศยาน” นายธีระพงษ์ กล่าว
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44251
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 27/07/2016 10:41 am    Post subject: Reply with quote

เอกชนแห่ซื้อซองประมูลรถไฟฟ้า 3 สาย
เดลินิวส์ จันทร์ที่ 25 กรกฎาคม 2559 เวลา 23.55 น.

เอกชนแห่ซื้อซองประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้ม-ชมพู-เหลืองคึกคัก คาดได้ผู้รับเหมาลงนามสัญญาปี 60 คาดสายสีชมพู-เหลือง จะมีเอกชนหน้าใหม่เข้ามาซื้อ เหตุเป็นโครงการโมโนเรล

          นายธีรพันธ์ เตชะศิรินุกูล รองผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย  (รฟม.)  เปิดเผยว่า    เมื่อวันที่ 22 ก.ค. ที่ผ่านมามีเอกชนเข้าซื้อซองประกวดราคาโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีส้มช่วง ศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี ระยะทาง 21 กม. วงเงินลงทุนทั้งโครงการ   92,532 ล้านบาท เพิ่มอีก2 ราย คือบริษัท ซีทีซีไอ (ประเทศไทย) และบริษัท  เอ.เอส.แอสโซซิเอท เอ็นจิเนียริ่ง (1964)  รวมเป็น 9 ราย  หลังจากก่อนหน้านี้มีมาแล้ว 7 ราย คือ บริษัท ช.การช่าง  บริษัท ซิโน-ไทยเอ็นจีเนียริ่ง   บริษัท อิตาเลียนไทย   บริษัท ยูนิค เอ็นจิเนียริ่งฯ   บริษัท เนาวรัตน์พัฒนาการ  บริษัท ซิโน ไฮโดร คอร์ปอเรชั่น  และ บริษัท เอส เค เอ็นจิเนียริ่ง   สาเหตุที่ผู้รับเหมาเข้าซื้อซองจำนวนมาก  คาดว่าเพราะเงื่อนไขประกวดราคาค่อนข้างเปิดกว้างให้เอกชนเข้าแข่งขัน  โดยจะให้ซื้อซองไปถึงวันที่  1 ส.ค.นี้  และยื่นซองวันที่ 31 ต.ค.  คาดว่าจะได้ผู้รับเหมามาเซ็นสัญญาต้นปี 60
         
นายธีรพันธ์ กล่าวต่อว่า  ส่วนการขายซองประกวดราคาโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี ระยะทาง 34.5 กม. วงเงินลงทุน 56,691 ล้านบาทและ โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง ระยะทาง29.1 กม. วงเงินลงทุน 54,644 ล้านบาท  ซึ่งเปิดขายซอง 6 ก.ค.-5ส.ค.  ล่าสุด มีเอกชนมาซื้อซองเพิ่มอีก2ราย คือบริษัท ซิโน-ไทยเอ็นจีเนียริ่ง และ บริษัท เอส เค เอ็นจิเนียริ่ง   รวมเป็น 6 ราย โดย 4 รายที่ซื้อซองไปก่อนหน้านี้ ได้แก่ บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ (BEM)  บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ (BTSC)  บริษัท ราชบุรี โฮลดิ้ง (RATCH)  และ บมจ.อิตาเลียนไทย กำหนดยื่นซองประกวดราคาทั้งสองโครงการวันที่ 7 พ.ย. คาดว่าจะได้ผู้รับเหมาลงนามสัญญาเดือนเม.ย.60
       
 รายงานข่าวแจ้งว่า เอกชนส่วนใหญ่ซื้อซองรถไฟฟ้าสีส้มทั้ง 6 สัญญา  มีเพียงบริษัท เนาวรัตน์พัฒนาการ ซื้อซองสัญญาที่ 1 -3   ซึ่งเป็นงานก่อสร้างใต้ดินทั้งหมด  ในส่วนของสายสีชมพูและสายสีเหลืองนั้นคาดว่าจะมีเอกชนหน้าใหม่เข้ามาซื้อซองอีกเนื่องจากเป็นโครงการแบบโมโนเรล หรือรถไฟฟ้ารางเดี่ยว   ซึ่งก่อนหน้านี้มีต่างชาติประกาศสนใจโครงการโมโนเรล
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42556
Location: NECTEC

PostPosted: 28/07/2016 9:47 am    Post subject: Reply with quote


รถไฟฟ้าสี่สายจะเริ่มการเดินรถ 2562-2563
https://www.youtube.com/watch?v=1YJQJdJem5U

RATCH เข้าซื้อซองประมูลรถไฟฟ้าสายสีชมพู-เหลือง มองเป็นหนึ่งในโครงการสาธารณูปโภคที่น่าสนใจลงทุน


ข่าวหุ้น-การเงิน สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) --
พุธที่ 27 กรกฎาคม 2559 12:16:42 น.
นายรัมย์ เหราบัตย์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง (RATCH) เปิดเผยว่า บริษัทฯ ได้เข้าซื้อซองประมูลโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู-เหลือง เนื่องจากมองว่าเป็นหนึ่งในโครงการสาธารณูโภคที่น่าสนใจลงทุน โดยขอศึกษาเอกสารประกวดราคาและเจรจาพันธมิตรก่อนตัดสินใจว่ายื่นซองประมูลหรือไม่

อ่านต่อได้ที่ :



เอกชนแห่ซื้อซองประมูล 3 รถไฟฟ้าใหม่ สายสีเหลือง 7 ชมพู 6 สีส้ม 11
โดย ไทยรัฐฉบับพิมพ์
28 กรกฎาคม 2559 05:01

บ.จีนสนใจร่วมวง

นายพีระยุทธ สิงห์พัฒนากุล ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) กล่าวว่าหลังจาก รฟม.เปิดขายซองประกวดราคาโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี และโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง ตั้งแต่วันที่ 6 ก.ค. จนถึงวันที่ 5 ส.ค.2559ขณะนี้มีเอกชนสนใจซื้อซองเอกสารโครงการรถไฟฟ้าทั้ง 2 โครงการ จำนวน 6 ราย ได้แก่

1.บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (BEM)
2.บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (BTSC)
3.บริษัท ราชบุรี โฮลดิ้ง จำกัด
4.บริษัท อิตาเลียนไทย ดิเวล๊อปเมนต์ จำกัด (ITD)
5.บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (STEC)
6.บริษัท เอส เค เอ็นจิเนียริ่ง

โดยล่าสุด มีบริษัท ไชน่า คอมมิวนิเคชั่น คอนสตรัคชั่น คอมพานี ลิมิเต็ด รายที่ 7 กำหนดยื่นซองเอกสารวันที่ 7 พ.ย. เวลา 09.00-15.00 น. และเปิดซองเอกสารวันที่ 17 พ.ย. เวลา 13.00 น.

นายพีระยุทธกล่าวว่า สำหรับโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ตะวันออก ช่วงศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี เปิดขายซองตั้งแต่ 15-29 ก.ค.2559 ขณะนี้มีผู้ซื้อซองรวม 11 ราย ได้แก่

1.บริษัท ช.การช่าง จำกัด
2.บริษัท ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด
3.บริษัท อิตาเลียนไทย ดิเวล๊อปเมนต์ จำกัด
4.บริษัท เนาวรัตน์พัฒนาการ จำกัด
5.บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด
6.ชิโนไฮโดร คอร์ปอเรชั่น ลิมิเต็ด
7.บริษัท เอสเค เอ็นจิเนียริ่งแอนด์คอนสตรัคชั่น จำกัด
8.บริษัท ซีทีซีไอ (ประเทศไทย) จำกัด
9.บริษัท เอ.เอส.แอสโววิเอท เอนยิเนียริ่ง (1964) จำกัด
10.อีทีเอฟ และ
11.CHINA COMMUNICATIONS CONSTRUCTION COMPANY

ทั้งนี้ รฟม.กำหนดยื่นซองเอกสารประกวดราคา วันที่ 31 ต.ค.2559.
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44251
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 30/07/2016 10:11 am    Post subject: Reply with quote

รถไฟฟ้าสายสีเทา ลุ้นเอกชนร่วมวงเปิดทำเลทองใหม่
โพสต์ทูเดย์ 30 กรกฎาคม 2559 เวลา 07:50 น.

Click on the image for full size

โดย...สุกัญญา สินถิรศักดิ์

รถไฟฟ้าสายสีเทา (วัชรพล-พระโขนง-สะพานพระราม 9-ท่าพระ) เป็นหนึ่งในโครงการก่อสร้างเส้นทางรถไฟฟ้าตามแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนทางราง ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล ปี 2553-2572 ของกรุงเทพมหานคร (กทม.) ซึ่งบริษัท กรุงเทพธนาคม (เคที) รัฐวิสาหกิจที่ดูแลโครงการรถไฟฟ้าของ กทม.กำลังเร่งผลักดันให้เกิดขึ้น โดยเป็นเส้นทางที่เชิญชวนภาคเอกชนเข้ามาลงทุน ก่อนหน้านี้ได้ไฟเขียวให้กลุ่มไอคอนสยามลงทุนโครงการรถไฟฟ้าสายสีทอง (กรุงธนบุรี-คลองสาน) ไปแล้ว

สำหรับโครงการรถไฟฟ้าสายสีเทา (วัชรพล-พระโขนง-สะพานพระราม 9-ท่าพระ) ตามแผนแม่บทจะพัฒนาเป็นรูปแบบรถไฟฟ้ารางเดี่ยว (โมโนเรล) ที่มีเส้นทางตามแนวแกนเหนือ-ใต้ รองรับการเจริญเติบโตของที่พักอาศัยบริเวณถนนประดิษฐ์มนูธรรมและย่านสาธุประดิษฐ์ เริ่มจากถนนรามอินทรา ลงมาตามแนวถนนประดิษฐ์มนูธรรม เลียบทางพิเศษฉลองรัช เข้าสู่ใจกลางเมืองย่านทองหล่อ สุขุมวิท พระราม 4 สาทร นราธิวาสราชนครินทร์ ถนนพระราม 3 ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณสะพานพระราม 3 ผ่านสี่แยกมไหสวรรย์ ไปสิ้นสุดที่บริเวณแยกท่าพระ

รถไฟฟ้าเส้นทางดังกล่าวมีระยะทางรวม 39.91 กม. จำนวน 39 สถานี แบ่งออกเป็น 3 เฟส ได้แก่ ระยะที่ 1 วัชรพล-ทองหล่อ รวมระยะทาง 10.25 กม. จำนวน 15 สถานี ระยะที่ 2 พระโขนง-พระราม 3 รวมระยะทาง 12.17 กม. จำนวน 15 สถานี และระยะที่ 3 พระราม 3-ท่าพระ รวมระยะทาง 11.49 กม. จำนวน 9 สถานี ซึ่งตามแผนแม่บทจะก่อสร้างเฟสแรกให้แล้วเสร็จในปี 2562 แล้วจึงจะเริ่มต้นเฟสต่อมา

จากการสำรวจของศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ วิเคราะห์ว่า โมโนเรลเป็นรถไฟฟ้าระบบเบาใช้งบลงทุนน้อย และใช้เวลาก่อสร้างสั้น และเวนคืนที่ดินไม่มาก และมีเอกชนให้ความสนใจ เช่น บริเวณถนนประดิษฐ์มนูธรรมก็มีกระแสข่าวกลุ่มเคอีแลนด์พร้อมเสนอที่ดินในการก่อสร้าง ฯลฯ แต่ในเชิงการก่อสร้างจริง อาจติดปัญหาการจราจรในหลายพื้นที่ รวมถึงหากต้องเวนคืนที่ดินตามแนวเส้นทางนี้ราคาที่ดินแพงมากแล้ว แต่หากก่อสร้างได้จริงและเปิดให้บริการ จะมีหลายจุดตัดที่น่าสนใจ เช่น จุดตัดระหว่างสายสีเทากับสายสีชมพูจะเป็นผลบวกมากๆ กับถนนรามอินทรา

อย่างไรก็ตาม ประเด็นผังเมืองในหลายพื้นที่ที่จะมีรถไฟฟ้าเส้นใหม่ๆ ผ่าน ปัจจุบันยังมีข้อจำกัดในการพัฒนา คาดว่าอนาคตจะมีการเปลี่ยนแปลงให้สอดคล้องกัน

ด้านการสำรวจของฝ่ายวิจัย คอลลิเออร์ส อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย วิเคราะห์ว่า จากเส้นทางที่ระบุมาจะพบว่าผ่านย่านสำคัญของกรุงเทพฯ หลายแห่ง ผ่านเส้นทางรถไฟฟ้าสายปัจจุบันที่ถนนสุขุมวิท สาทร พระราม 4 และตัดผ่านเส้นทางรถไฟฟ้าที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคตอีกหลายเส้นทางทั้งสายสีส้ม สายสีเหลือง สายสีแดง (ที่จะต่อมาจากหัวลำโพงผ่านลาดหญ้า) สายสีม่วงใต้ อีกทั้งสถานีต้นทางที่สถานีวัชรพลยังเชื่อมต่อกับเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีชมพู และสถานีปลายทางที่สถานีท่าพระเชื่อมต่อกับเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ทำให้โมโนเรลเส้นทางนี้จะเป็นเส้นทางสายสำคัญอีกเส้นทางหนึ่งในอนาคตแน่นอน

ปัจจุบันมีโครงการคอนโดมิเนียมในพื้นที่ตามแนวเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีเทาทั้งหมด 112 โครงการ รวม 4.58 หมื่นยูนิต โดยคอนโดมิเนียมในพื้นที่ตามแนวถนนพระราม 3 มีสัดส่วนมากถึง 28% มากที่สุดในเส้นทางรถไฟฟ้านี้ ส่วนพื้นที่ตามแนวถนนรัชดา-ท่าพระ ก็เป็นอีกทำเลที่คาดว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงในเรื่องของการเปิดขายโครงการคอนโดมิเนียมในอนาคต เพราะไม่ไกลจากสถานีรถไฟฟ้าตลาดพลู และเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ รวมถึงสถานีท่าพระของรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ทำให้เส้นทางรถไฟฟ้าสายสีเทาช่วงนี้จะเชื่อมต่อกับเส้นทางรถไฟฟ้าเส้นทางอื่นอีก 3 เส้นทางในอนาคต

อย่างไรก็ตาม พื้นที่ที่จะมีการเปลี่ยนแปลงทันทีที่รถไฟฟ้าสายสีเทาคืบหน้า นั่นคือ ตามแนวถนนประดิษฐ์มนูธรรม เพราะมีความพร้อมในเรื่องของโครงการค้าปลีกและไม่ไกลจากพื้นที่ที่มีความเจริญในปัจจุบันอย่างถนนลาดพร้าว แต่ยังขาดเรื่องของระบบขนส่งสาธารณะที่เชื่อมต่อกับเส้นทางรถไฟฟ้าปัจจุบันเท่านั้น

ทั้งนี้ จากการสำรวจราคาที่ดินตามแนวรถไฟฟ้าสายสีเทาในเฟสแรก พบว่า บริเวณรามอินทรา เสนอขายอยู่ที่ 2-2.5 แสนบาท/ตร.ว. ส่วนซอยสุขุมวิท 71 หรือซอยเอกมัย ราคาที่ดินช่วงกลางซอยอยู่ที่ 3-4 แสนบาท/ตร.ว. ส่วนสุขุมวิท 55 หรือซอยทองหล่อช่วงกลางซอยอยู่ที่ 5-6 แสนบาท/ตร.ม. จะเห็นว่าหากมีการเวนคืนที่ดินบริเวณช่วงต้นๆ เส้นทาง จะมีต้นทุนในการเวนคืนที่สูงมาก

ดังนั้น ต้องจับตาว่า กทม.จะมีแนวทางในการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีเทาอย่างไร และจะมีเอกชนรายใดพร้อมร่วมลงขันเพื่อผลักดันเส้นทางนี้ให้เกิดได้จริง
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42556
Location: NECTEC

PostPosted: 01/08/2016 3:07 pm    Post subject: Reply with quote

รถไฟฟ้าสายสีเหลือง (ลาดพร้าว-สำโรง) เติมเต็มโครงข่ายขนส่งมวลชน กทม.โซนตะวันออก
โดย ฐานเศรษฐกิจ -
ออนไลน์เมื่อ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2559
ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ
ปีที่ 36 ฉบับที่ 3,179
วันที่ 31 กรกฎาคม – 3 สิงหาคม พ.ศ. 2559
รถไฟฟ้าสายสีเหลือง (ลาดพร้าว-สำโรง) เติมเต็มโครงข่ายขนส่งมวลชน กทม.โซนตะวันออก

เปิดขายซองเอกสารประกวดราคาไปแล้วสำหรับโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง ซึ่งเป็นโครงการตามแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนทางรางในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล ที่ได้กำหนดให้อยู่ในโครงข่ายเพิ่มเติมที่มีกำหนดเปิดให้บริการในอีกไม่กี่ปีนี้

รถไฟฟ้าสายสีเหลืองเป็นระบบรถไฟฟ้ารางเดี่ยว (Monorail) สามารถขนส่งผู้โดยสารได้ 1 – 4 หมื่นคน/ชั่วโมง/ทิศทาง เน้นการใช้พื้นที่บริเวณเกาะกลางถนนให้เกิดประโยชน์มากที่สุด มีระดับทางวิ่งสูง 15 เมตร ชานชาลากว้าง 20-25 เมตร ยาว 110 เมตร เพื่อลดผลกระทบด้านการเวนคืนที่ดินให้น้อยที่สุด

แต่ละสถานีก่อสร้างตามมาตรฐานความปลอดภัยโดยมีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้โดยสารดังนี้คือ ชั้นพื้นดินหลังแนวบาทวิถี มีทางขึ้น-ลง 4 แห่ง พร้อมติดตั้งลิฟต์ บันใดเลื่อน และทางลาดเชื่อมต่อลิฟต์สำหรับผู้พิการฝั่งถนนละ 1 ตัว ชั้นที่ 1 เป็นชั้นออกบัตรโดยสาร (Concourse) ลักษณะแบบเปิดโล่ง และสามารถใช้เป็นสะพานลอยคนข้าม ชั้นนี้ประกอบด้วยที่จำหน่ายบัตรโดยสาร เครื่องเก็บบัตรโดยสารอัตโนมัติและสิ่งอำนวยความสะดวกผู้พิการ ได้แก่ ลิฟต์ โทรศัพท์สาธารณะ ห้องน้ำ และที่จำหน่ายตั๋ว โดยบางสถานีสามารถใช้เชื่อมต่อไปยังอาคารข้างเคียง และอาคารจอดรถของโครงการ ชั้นที่ 2 เป็นชานชาลา (Flatform) สำหรับจอดรถไฟฟ้ารับ-ส่งผู้โดยสาร มีประตูอัตโนมัติกั้นที่ชานชาลาสูงประมาณ 1.50 เมตร เพื่อป้องกันผู้โดยสารพลัดตกลงรางรถไฟฟ้า ปลายชานชาลาทั้ง 2 ด้านมีบันใดสำหรับผู้โดยสารขึ้น-ลง บันใดเลื่อน และบันใดสำหรับหนีภัยในกรณีฉุกเฉิน 2 แห่ง พร้อมลิฟต์ 2 ตัวสำหรับผู้พิการ

รถไฟฟ้าสายสีเหลืองมีอาคารจอดแล้วจร (Park and Ride) อาคารจอดรถเชื่อมต่อสถานีรถไฟฟ้าที่สถานีศรีเอี่ยม จำนวน 1 แห่ง อาคาร 10 ชั้น สามารถจอดรถได้ประมาณ 3,000 คัน มีศูนย์ซ่อมบำรุง (Depot) ตั้งอยู่บริเวณด้านทิศตะวันตกของทางแยกต่างระดับศรีนครินทร์ตัดกับถนนบางนา-ตราด มีพื้นที่ประมาณ112 ไร่ ภายในศูนย์ประกอบด้วยศูนย์ควบคุมการเดินรถ กลุ่มอาคารซ่อมบำรุง สำนักงานบริหารและจัดการ และโรงจอดรถไฟฟ้า


ทั้งนี้ตลอดเส้นทางของรถไฟฟ้าสายสีเหลืองยังมีจุดเชื่อมต่อกับโครงการรถไฟฟ้าและระบบขนส่งมวลชนอื่นๆถึง 4 จุด คือ สถานีรัชดาฯ เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้ามหานครสายเฉลิมรัชมงคล (MRT) สถานีลำสาลี เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงตลิ่งชัน-มีนบุรี สถานีพัฒนาการ เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงค์และรถไฟสายตะวันออก สถานีสำโรง เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ

รถไฟฟ้าสายสีเหลืองมีจำนวน 23 สถานี ประกอบด้วย
1.สถานีรัชดาฯ ตั้งอยู่ช่วงหน้าอาคารจอดแล้วจรบนถนนรัชดาภิเษก
2. สถานีภาวนา ปากซอยภาวนา(ลาดพร้าว 41) - ปากทางเข้าวัดลาดพร้าว
3.สถานีโชคชัย 4 หน้าศูนย์การค้าโชคชัย 4 (ลาดพร้าว 53) - ทางลัดไป เสนานิคม - ลาดปลาเค้า - มีทางไปต่อซอยภาวนา - ถนนรัชดาภิเษกตรงซอยอาภาภิรมย์ - ลาดพร้าว 71 ก็ด้วย
4.สถานีลาดพร้าว 71 บริเวณปากซอยลาดพร้าว 71 - ทางเข้าเขตลาดพร้าว
5. สถานีลาดพร้าว 83 ระหว่างซอยลาดพร้าว 83 กับซอยลาดพร้าว 85
6. สถานีมหาดไทย บริเวณปากซอยลาดพร้าว 95 (ตรงซอยลาดพร้าว 112)
7. สถานีลาดพร้าว 101 ใกล้ตลาดสดลาดพร้าว
8. สถานีบางกะปิ หน้าห้างแม็คโคร ใกล้เดอะมอลล์บางกะปิ
9. สถานีลำสาลี ช่วงแยกลำสาลี
10. สถานีศรีกรีฑา ช่วงแยกศรีกรีฑา (ปากทางเข้ากรุงเทพกรีฑา)
11. สถานีพัฒนาการ ระหว่างจุดตัดทางรถไฟและจุดตัดถนนพัฒนาการ
12. สถานีกลันตัน หน้าธัญญะช็อปปิ้งพาร์ค
13. สถานีศรีนุช ด้านทิศใต้ของแยกศรีนุช
14. สถานีศรีนครินทร์38 ปากซอยศรีนครินทร์38
15. สถานีสวนหลวง ร.9 ระหว่างห้างซีคอนสแควร์และห้างพาราไดซ์พาร์ค
16. สถานีศรีอุดม ช่วงแยกศรีอุดม
17. สถานีศรีเอี่ยม บริเวณทางแยกต่างระดับศรีเอี่ยม
18. สถานีศรีลาซาล บริเวณแยกศรีลาซาล - ทางเข้าซอยลาซาล (สุขุมวิท 105) ฝั่งศรีนครินทร์
19. สถานีศรีแบริ่ง บริเวณแยกศรีแบริ่ง - ทางเข้าซอยแบริ่ง (สุขุมวิท 107) ฝั่งศรีนครินทร์
20. สถานีศรีด่าน ใกล้กับแยกศรีด่าน - ทางเข้าซอยวัดด่านสำโรง (สุขุมวิท 113)
21. สถานีศรีเทพา ใกล้กับแยกศรีเทพา
22. สถานีทิพวัล ปากซอยหมู่บ้านทิพวัล และ
23. สถานีสำโรง ใกล้แยกสุเทพา ช่วงแยกตลาดสดเทพารักษ์

แนวเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีเหลืองนี้มีจุดเริ่มต้นจากบริเวณจุดเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล (MRT) ที่แยกรัชดา-ลาดพร้าว ไปตามถนนลาดพร้าวจนถึงแยกบางกะปิ หลังจากนั้นจะเลี้ยวขวาไปเข้าสู่ถนนศรีนครินทร์ ผ่านแยกลำสาลี โดยมีจุดเชื่อมต่อระบบขนส่งมวลชน 2 สายคือ สายสีส้ม บริเวณแยกลำสาลี และแอร์พอร์ตลิงค์ บริเวณแยกต่างระดับพระราม 9 ต่อจากนั้นแนวเส้นทางจะวิ่งไปตามถนนศรีนครินทร์ ผ่านแยกพัฒนาการ ศรีนุช ศรีอุดมสุข ศรีเอี่ยม จนถึงแยกศรีเทพา ก่อนจะเลี้ยวไปทางทิศตะวันตก เข้าสู่ถนนเทพารักษ์ ผ่านจุดเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ ที่สถานีสำโรง มีระยะทางรวมประมาณ 30 กิโลเมตร

รถไฟฟ้าเส้นนี้แม้ว่าจะเริ่มประกาศขายเอกสารประกวดราคาไปแล้วแต่ยังมีกระบวนการคัดเลือกผู้รับเหมาอีกช่วงระยะเวลาหนึ่งจนกว่าจะได้ผู้รับเหมาซึ่งคาดว่าจะได้ตัวผู้รับเหมาในปลายปีนี้ก่อนที่จะเริ่มลงพื้นที่ก่อสร้างในปลายปีหน้า ใช้ระยะเวลาก่อสร้างประมาณ 3 ปี ซึ่งหากสามารถเร่งรัดงานก่อสร้างและงานระบบติดตั้งได้เร็วก็คงจะให้บริการได้เร็วขึ้น รถไฟฟ้าเส้นทางนี้คงจะสามารถช่วยเติมเต็มโครงข่ายระบบขนส่งมวลชนในพื้นทีกรุงเทพมหานครโซนตะวันออกได้อย่างครอบคลุมมากขึ้น
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 136, 137, 138 ... 277, 278, 279  Next
Page 137 of 279

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©