Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311296
ทั่วไป:13272851
ทั้งหมด:13584147
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 139, 140, 141 ... 278, 279, 280  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42749
Location: NECTEC

PostPosted: 01/09/2016 12:12 pm    Post subject: Reply with quote

รถไฟฟ้าสายสีเหลืองฉุดคอนโดฯคึกคัก ชี้ราคาที่ดินศรีนครินทร์พุ่งตร.ว.ละ3แสน
โดย ฐานเศรษฐกิจ -
ออนไลน์เมื่อ 1 กันยายน พ.ศ. 2559
ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ
ปีที่ 36 ฉบับที่ 3,188 วันที่ 1 – 3 กันยายน พ.ศ. 2559


คอลลิเออร์ส อัพเดตสถานการณ์ตลาดอสังหาฯ แนวรถไฟฟ้าสายสีเหลือง พบอัตราการขายยังไปได้ดี คาดหลังโครงการก่อสร้างแล้วเสร็จ คอนโดฯแนวถนนลาดพร้าว ศรีนครินทร์ และเทพารักษ์ คึกคัก ส่งผลราคาที่ดินพุ่งต่อเนื่องศรีนครินทร์ทะลุวาละ1-3แสน


นายสุรเชษฐ กองชีพ รองผู้อำนวยการฝ่ายวิจัย คอลลิเออร์ส อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย เปิดเผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า เส้นทางรถไฟฟ้าสายสีเหลืองเป็นอีกเส้นทางที่จะมีความชัดเจนภายในปีนี้และเริ่มการก่อสร้างภายในปี 2560 อีกทั้งเป็นเส้นทางรถไฟฟ้าที่เชื่อมกรุงเทพฯตอนบนกับตอนล่างเข้าด้วยกัน ทำให้คนจากย่านลาดพร้าวที่ต้องการเดินทางมาแถวบางนาไม่จำเป็นต้องนั่งรถไฟฟ้าผ่านกรุงเทพฯชั้นใน อีกทั้งเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีเหลืองยังช่วยเพิ่มศักยภาพของพื้นที่ตลอดแนวเส้นทาง ตั้งแต่ถนนลาดพร้าว ศรีนครินทร์ และเทพารักษ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งตามแนวถนนลาดพร้าว และศรีนครินทร์ที่เป็นพื้นที่ที่อยู่อาศัยมายาวนานมากกว่า 10 ปี ซึ่งที่อยู่อาศัยส่วนใหญ่ในพื้นที่ตามแนวถนนทั้ง 2 เส้นนี้ในอดีตเป็นโครงการบ้านจัดสรร แต่เมื่อมีโครงการรถไฟใต้ดินผ่านถนนลาดพร้าวตอนต้น ทำให้มีโครงการคอนโดมิเนียมเปิดขายมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด แต่โครงการบ้านจัดสรรในพื้นที่ก็ได้รับความสนใจมากขึ้นด้วยเช่นกัน ดูได้จากบ้านจัดสรรที่เปิดขายตลอดแนวรถไฟฟ้าสายสีเหลืองมีมากกว่า 1,000 หน่วย อัตราการขายอยู่ที่ประมาณ 80%

สำหรับตลาดคอนโดมิเนียม กลับเริ่มเป็นที่สนใจจากผู้ประกอบการมากขึ้น ตั้งแต่ช่วงประมาณปี 2551 เป็นต้นมา แม้ว่าความชัดเจนของรถไฟฟ้าสายสีเหลืองจะยังไม่ชัดเจนมากนัก แต่ว่ามีปัจจัยอื่นๆ มาสนับสนุน เช่น ชุมชนขยายตัวและศูนย์การค้าบริเวณลาดพร้าวตอนปลาย หรือศูนย์การค้าขนาดใหญ่ ที่เป็นตัวเพิ่มศักยภาพที่น่าสนใจของถนนศรีนครินทร์ ส่งผลให้ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันมีคอนโดมิเนียมทั้งที่ปิดการขาย หรือว่ายังเหลือขายอยู่ในพื้นที่ตามแนวเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีเหลืองทั้งหมดประมาณ 23,120 หน่วยโดยมีอัตราการขายอยู่ที่ประมาณ 90% ซึ่งในปัจจุบันมีคอนโดมิเนียมเหลือขายอยู่ในพื้นที่นี้ไม่มากแล้ว โดยคอนโดมิเนียมส่วนใหญ่จะอยู่ในพื้นที่ตามแนวถนนลาดพร้าว และศรีนครินทร์

โดยโครงการบนถนนศรีนครินทร์ส่วนใหญ่ จะกระจุกตัวอยู่ในบริเวณที่มีศูนย์การค้าหรือเป็นชุมชนขนาดใหญ่ ราคาขายของคอนโดมิเนียมที่เปิดขายในพื้นที่ตลอดแนวเส้นทางก็มีการปรับขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง โดยราคาขายเฉลี่ยของคอนโดมิเนียมตามถนนลาดพร้าวจะอยู่ที่ประมาณ 7 หมื่นบาทต่อตารางเมตร ส่วนโครงการที่อยู่ในพื้นที่ตามแนวถนนศรีนครินทร์มีราคาขายเฉลี่ยประมาณ 6.5 หมื่นบาทต่อตารางเมตร ระดับราคาขายในพื้นที่นี้ยังแตกต่างกันอยู่มาก เพราะมีบางโครงการที่ขายในราคาประมาณ 5 หมื่นบาทต่อตารางเมตร แต่บางโครงการขายที่มากกว่า 8 หมื่นบาทต่อตารางเมตร ปรับขึ้นมาจากช่วง 2 – 3 ปีก่อนประมาณ 10 – 25%


“คาดว่าหลังจากที่การก่อสร้างเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีเหลืองมีความเป็นรูปธรรมมากขึ้น ในอนาคตจะทำให้พื้นที่ทั้ง 2 ฝั่งของถนนลาดพร้าว ศรีนครินทร์ และเทพารักษ์ มีโครงการคอนโดมิเนียมเปิดขายมากขึ้นอย่างแน่นอน เนื่องจากราคาที่ดินที่ปรับเพิ่มขึ้นต่อเนื่องในช่วงหลายปีที่ผ่านมา โดยในบริเวณถนนลาดพร้าวช่วงที่เชื่อมต่อกับสถานีรถไฟใต้ดินลาดพร้าวราคาที่ดินอยู่ที่ประมาณ 3.5 – 4 หมื่นบาทต่อตร.ว. โดยราคาขายที่ดินบนถนนศรีนครินทร์ก็เพิ่มขึ้นเช่นกัน โดยอยู่ที่ประมาณ 1 – 3 แสนบาทต่อตร.ว.ขึ้นอยู่กับทำเล ส่วนในพื้นที่ตามแนวถนนเทพารักษ์ ราคาที่ดินอาจจะยังไม่สูงมากนักคือต่ำกว่า 1.5 แสนบาทต่อตร.ว.”นายสุรเชษฐ กล่าว
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42749
Location: NECTEC

PostPosted: 01/09/2016 6:26 pm    Post subject: Reply with quote

ผ่าทางตันการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์กับระบบรถไฟฟ้า
โดย ฐานเศรษฐกิจ -
ออลไลน์เมื่อ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2559
ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ
ปีที่ 36 ฉบับที่ 3,187 วันที่ 28 – 31 สิงหาคม พ.ศ. 2559

“….การประเมินความเป็นไปได้ของโครงการต้องรวมรายได้และประโยชน์ทางเศรษฐกิจของการพัฒนาพื้นที่เข้ามาด้วย…”


การลงทุนระบบรถไฟฟ้าทั้งในเมืองและระหว่างเมืองต้องใช้เม็ดเงินลงทุนสูงมากทั้งในส่วนค่าที่ดิน การก่อสร้าง และระบบรถไฟฟ้าต่างๆ ลำพังค่าโดยสารที่ได้คงไม่คุ้มค่าต่อการลงทุน รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินซึ่งเป็นรถไฟฟ้าใต้ดินสายแรกของกรุงเทพฯก็ขาดทุนย่อยยับทั้งในเรื่องค่าโดยสารซึ่งไม่เพียงพอแม้กระทั่งจะกลบค่าให้บริการระบบในแต่ละวัน รถไฟฟ้า BTS ก็ต้องบริหารระบบในภาวะที่ไม่สามารถทำกำไรจากค่าโดยสารได้เพียงอย่างเดียวมาหลายปีก่อนที่จะสามารถหารายได้จากด้านอื่นๆมาเพิ่มเติม

รถไฟฟ้าสายสีม่วงก็มีจำนวนผู้โดยสารต่ำกว่าการคาดการณ์มาก และมีแนวโน้มว่าจะขาดทุนเช่นเดียวกัน ปกติแล้วระบบรถไฟฟ้าซึ่งเป็นระบบขนส่งมวลชนมีธรรมชาติที่สามารถทำกำไรจากค่าโดยสารได้ยากอยู่แล้ว ในหลายประเทศ การให้บริการระบบรถไฟฟ้าก็ประสบสภาวะขาดทุนเช่นเดียวกัน มูลค่าที่เพิ่มขึ้นมาจากโครงข่ายรถไฟฟ้าคือศักยภาพของพื้นที่ตามแนวเส้นทาง และโดยรอบสถานีสำหรับการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ และโอกาสในการหารายได้ในด้านต่างๆ

ในหลายประเทศทั้ง ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ฮ่องกง หรือแม้แต่กระทั่งสหรัฐอเมริกา ได้เข้าใจถึงความจำเป็นของการกำหนดรูปแบบการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีรถไฟฟ้า หรือแม้แต่กระทั่งการพัฒนาเมืองให้อยู่ในรูปแบบ Transit Oriented Development (TOD) เพื่อให้อำนวยความสะดวกในการใช้รถไฟฟ้า และในขณะเดียวกันก็สร้างรายได้ให้กับภาครัฐจากการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ด้วย


รูปแบบการพัฒนา TOD ก็มี 3 รูปแบบด้วยกัน คือ 1) รัฐเป็นผู้ออกแบบพื้นที่และดำเนินการพัฒนาเองทั้งหมด (อาจจะผ่านหน่วยงานที่ได้รับมอบหมาย) 2) รัฐเป็นผู้ออกแบบการพัฒนาพื้นที่และให้สิทธิเอกชนเข้ามาพัฒนา และ 3) รัฐกำหนดกลไกที่ส่งเสริมการพัฒนาพื้นที่และปล่อยให้การพัฒนาเกิดขึ้นเองตามกลไกตลาด ทั้ง 3 รูปแบบมีความยากง่ายต่างกัน และมีปัจจัยแวดล้อมที่จำเป็นต่อความสำเร็จต่างกัน รูปแบบที่รัฐดำเนินการเองหมดก็สามารถดำเนินการได้เร็วแต่มีความเสี่ยงในการลงทุนและการบริหารจัดการ รูปแบบที่รัฐให้สิทธิเอกชนในการพัฒนาก็แบ่งปันความเสี่ยงได้ดีแต่ต้องมีรูปแบบที่สามารถดึงดูดใจนักลงทุนได้

รูปแบบที่ปล่อยให้เกิดการพัฒนาตามกลไกตลาดก็ต้องมีกลไกที่รัฐสามารถเก็บผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นกลับสู่รัฐได้ เช่น ภาษีที่ดิน สำหรับ 3 รูปแบบนี้สามารถปรับใช้ได้ตามความเหมาะสมของพื้นที่ และเส้นทางการพัฒนา เช่น หากเป็นกรณีรถไฟฟ้าในเมืองในพื้นที่ที่มีศักยภาพสูงควรที่จะต้องดำเนินการในรูปแบบที่ให้เอกชนมาร่วมลงทุน แต่หากเป็นกรณีเส้นทางระหว่างจังหวัดในบริเวณที่ยังไม่มีการพัฒนาอย่างเต็มที่ก็ต้องใช้รูปแบบการพัฒนาจากภาครัฐเอง ในกรณีประเทศไทยนั้นก็เช่นเดียวกันคงต้องแบ่งแยกระดับความน่าลงทุน และปัจจัยแวดล้อมที่เกี่ยวข้องสำหรับการกำหนดรูปแบบการพัฒนาพื้นที่ตามแนวรถไฟฟ้า ทั้ง 3 รูปแบบสามารถใช้ผสมผสานกันในพื้นที่เดียวกันได้แล้วแต่ความเหมาะสม

สำหรับประเทศไทยคงยังต้องปรับกลยุทธ์เพื่อสร้างแรงดึงดูดในการลงทุนของภาคเอกชน ประเด็นแรกคือการกำหนดความได้เปรียบของภาคเอกชนในการลงทุนในพื้นที่ TOD เป้าหมาย เช่น การกำหนดการใช้ผังเมืองเฉพาะเพื่อให้สิทธิการพัฒนาพื้นที่สำหรับวัตถุประสงค์ที่เฉพาะเจาะจงในพื้นที่เป้าหมายเท่านั้น พื้นที่รอบข้างจะถูกกำหนดให้ไม่สามารถพัฒนาได้เต็มที่ ซึ่งก็คงเป็นประเด็นโต้เถียงไม่มากก็น้อยเนื่องจากเรามีความคุ้นเคยในอิสระในการพัฒนาที่ดินที่อยู่ภายใต้กรรมสิทธิ์

นโยบายดังกล่าวถูกใช้ในหลายประเทศในการสร้างโครงสร้างการพัฒนาเมืองให้สอดคล้องกับแผนการพัฒนาจริงๆ และกำกับการใช้พื้นที่ดินไปในตัว ประเด็นที่ 2 คือการทำแบบการพัฒนาให้เป็นรูปธรรมพร้อมทั้งการดำเนินการในกระบวนการภาครัฐอื่นๆที่จำเป็นต่อการพัฒนาพื้นที่ เช่น การทำ EIA หรือการขออนุญาตเชื่อมต่อพื้นที่ข้ามเขตทางหลวง ประเด็นดังกล่าวหมายถึงภาครัฐต้องเป็นผู้ให้บริการที่ดีต่อนักลงทุนเพื่อลดความเสี่ยงในปัจจัยต้นทุนการก่อสร้าง และ ดำเนินงานต่างๆ จะสร้างแรงดึงดูดในการลงทุนในพื้นที่เป้าหมายได้มากขึ้น

ประเด็นที่ 3 คือการเตรียมการพัฒนา Essential Public Infrastructure Works (EPIWS) การพัฒนารถไฟฟ้าไม่ใช่เป็นการพัฒนาโครงการ แยกออกจากโครงสร้างพื้นฐานอื่นๆ ในการออกแบบ และก่อสร้างต้องคำนึงถือโครงสร้างพื้นฐานอื่นๆทั้งด้านระบบคมนาคมอื่นๆที่จะเชื่อมโยงมายังสถานี หรือ พื้นที่ชุมชนรอบๆ โครงสร้างด้านระบบไฟฟ้า ประปา หรือ ท่อระบายน้ำ การเตรียมความพร้อมดังกล่าวล่วงหน้าจะช่วยสร้างศักยภาพของพื้นที่ได้อย่างเต็มรูปแบบ ประเด็นที่ 4 คือการปรับรูปแบบการออกแบบ และประเมินโครงการ ซึ่งต้องมีการพัฒนาโครงการโดยออกแบบทั้งระบบราง และการพัฒนาพื้นที่ไปพร้อมกันตั้งแต่ต้น การประเมินความเป็นไปได้ของโครงการต้องรวมรายได้และประโยชน์ทางเศรษฐกิจของการพัฒนาพื้นที่เข้ามาด้วย รวมถึงการมีส่วนร่วมของภาคเอกชนในการกำหนดตำแหน่งพื้นที่ในการพัฒนา

ประเด็นปลีกย่อยอื่นๆที่สามารถสร้างความดึงดูดในการลงทุนได้ประกอบไปด้วย การส่งเสริมของภาครัฐในการใช้พื้นที่ เช่น การดึงหน่วยงานภาครัฐมารวมกันในพื้นที่ที่จะพัฒนาเป็น Local government center นอกจากนั้นยังต้องมีการปรับกลไกทางกฎหมายให้สามารถดำเนินการเรื่องดังกล่าวผ่านหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งได้อย่างคล่องตัว คงต้องรอดูความพยายามครั้งสำคัญครั้งนี้ว่าจะสามารถผลักดันออกมาได้เป็นรูปธรรมมากน้อยเพียงใดภายใต้ปัจจัยที่จำกัดในด้านต่างๆ ของระบบ
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44634
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 03/09/2016 8:37 am    Post subject: Reply with quote

"อาคม" จ่อฟื้นทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือพ่วงโมโนเรลสีน้ำตาลแก้รถติดแคราย-เกษตร-นวมินทร์
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ 02 ก.ย. 2559 เวลา 21:35:26 น.

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นประธานประชุมติดตามความคืบหน้าการดำเนินโครงการระบบทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือ เมื่อวันที่ 2 กันยายน 2559

ทั้งนี้ ที่ประชุมได้มอบให้กรมทางหลวง (ทล.) และการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) หารือร่วมกันเกี่ยวกับการดำเนินโครงการระบบทางด่วน ขั้นที่ 3 สายเหนือ ตอน N2 ส่วนที่เชื่อมต่อแยกเกษตรกับถนนวงแหวนตะวันออก เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการเชื่อมโยงโครงข่ายทางพิเศษของ กทพ.กับทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง


รวมทั้งมอบให้สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ศึกษาทบทวนการดำเนินโครงการก่อสร้างระบบทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือ ตอน N1 N2 และ N3 และผลกระทบด้านการจราจร ศึกษาความเหมาะสมทางด้านวิศวกรรม เศรษฐกิจ การเงิน และผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้นในการดำเนินโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล ช่วงแคราย – บึงกุ่ม เพื่อนำมาพิจารณาความเหมาะสมและผลกระทบของการดำเนินโครงการรถไฟฟ้า เพื่อทดแทนการดำเนินโครงการก่อสร้างระบบทางด่วน ขั้นที่ 3 สายเหนือ ต่อไป

พร้อมนี้ ที่ประชุมได้หารือแนวทางการเชื่อมต่อระหว่างทางยกระดับอุตราภิมุข (ทางยกระดับดอนเมืองโทลล์เวย์) และทางพิเศษศรีรัช – วงแหวนรอบนอกฯ โดยเห็นชอบให้ใช้แนวทางเลือกที่ 1 มีจุดเริ่มต้นจากดอนเมืองโทลล์เวย์ บริเวณพื้นที่ทางยกระดับรัชวิภา (จุดตัด ถ.วิภาวดีรังสิต กับ ถ.รัชดาภิเษก) วางแนวบน ถ.กำแพงเพชร 2 และสิ้นสุดที่ทางแยกต่างระดับบางซื่อ

เพื่อเชื่อมต่อกับทางพิเศษสายศรีรัช – วงแหวนรอบนอกฯ ซึ่งมีความจำเป็นต้องใช้พื้นที่ร่วมกับการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) บริเวณศูนย์ซ่อมบำรุงรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง จึงได้มอบให้ กทพ. ร.ฟ.ท. และ สนข. หารือรายละเอียดเกี่ยวกับการดำเนินงาน และแนวทางการเชื่อมต่อให้มีความสอดคล้องกัน
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42749
Location: NECTEC

PostPosted: 05/09/2016 2:44 pm    Post subject: Reply with quote

ต้นปีหน้าคมนาคมดึง4รถไฟฟ้าใช้"ตั๋วแมงมุม" บัตรใบเดียวนั่งได้ทุกระบบ"BTS-BEM"แบะท่าลดค่าโดยสารร่วม
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
5 กันยายน 2559 เวลา 22:00:05 น.


คมนาคมเร่งเครื่องระบบตั๋วร่วมแมงมุม หลังดีเลย์ 2 ปี ดึง "รฟม.-กรุงไทย" ประเดิม หลัง BTS-BEM เตะถ่วง ตั้งเป้า ม.ค.-ก.พ.ปี"60 เริ่มใช้รถไฟฟ้า 4 สาย "บีทีเอส-ใต้ดิน-แอร์พอร์ตลิงก์-สีม่วง" นั่งสะดวกด้วยบัตรใบเดียว จับตาเอกชนยื่นข้อเสนอให้รัฐอุดหนุนรายได้ แลกลดค่าโดยสาร

นายชาติชาย ทิพย์สุนาวี ปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า กำลังเร่งผลักดันระบบตั๋วร่วมหรือบัตรแมงมุมใช้บริการโดยเร็ว จะให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) จัดตั้งหน่วยธุรกิจมาบริหารจัดการรายได้กลาง (CTC) เป็นการชั่วคราว ช่วงรอกระบวนการจัดหาบริษัทมาดำเนินการ ซึ่งภายในเดือน ก.ย.นี้สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) จะเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติแผนการดำเนินงานตั๋วร่วม 3 เรื่อง ได้แก่ โครงสร้างระบบตั๋ว การจัดตั้งบริษัท CTC ในรูปแบบร่วมทุน (PPP) การยกร่าง พ.ร.บ.ระบบตั๋วร่วม

ดีเดย์ ม.ค.-ก.พ.ปีหน้า

"ม.ค.-ก.พ.ปี′60 จะใช้ตั๋วร่วมรถไฟฟ้า 4 สาย ได้แก่ บีทีเอส รถไฟฟ้าใต้ดิน แอร์พอร์ตลิงก์ และสายสีม่วง ซึ่งผู้ถือบัตรโดยสารใบเดียวจะเดินทางได้หลายระบบด้วยตั๋วใบเดียว มี รฟม.เป็นผู้บริหารจัดการ จะหารือกับเอกชนผู้ให้บริการรถไฟฟ้าทั้ง 4 สาย จะมอบส่วนลดค่าแรกเข้าหรือค่าโดยสารในลักษณะค่าโดยสารร่วมกันได้หรือไม่"

สำหรับการตั้งบริษัทกลาง รัฐและเอกชนจะร่วมกันจัดตั้งบริษัท ตั๋วร่วม จำกัด เป็นผู้บริหารจัดการและบำรุงรักษาตั๋วร่วม โดยสัดส่วนการถือหุ้นเนื่องจากเป็นบริษัทเอกชน ทางภาครัฐจะถือหุ้นไม่เกิน 50% ส่วนที่เหลือจะเป็นเอกชนซึ่งเป็นผู้ให้บริการรถไฟฟ้า 4 สาย อาจจะแปลงสินทรัพย์เป็นทุนเข้ามาร่วมในบริษัทก็ได้

ต.ค.เชื่อมทางด่วน-มอเตอร์เวย์

นอกจากนี้กระทรวงยังเร่งรัดให้มีการเชื่อมระบบบัตรEasyPass ของระบบทางด่วนการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) กับบัตร M pass ใช้ในมอเตอร์เวย์ของกรมทางหลวง (ทล.) จะเริ่มทดสอบระบบร่วมกันเดือน ก.ย. และสามารถเปิดให้บริการเดือน ต.ค.นี้

นายเผด็จ ประดิษฐ์เพชร ปฏิบัติหน้าที่ผู้อำนวยการสำนักบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม เปิดเผยว่า ขณะนี้กำลังดำเนินการใน 4 เรื่อง คือ 1.การนำระบบตั๋วร่วมใช้ในระยะเริ่มต้น จะมี สนข. รฟม.และธนาคารกรุงไทยมาร่วมดำเนินการ จนกว่าจะตั้งบริษัทตั๋วร่วมเสร็จ ซึ่งจะใช้เวลา 1 ปี โดยเจรจาผู้ประกอบการรถไฟฟ้า 4 สาย คือ บีทีเอส รถไฟฟ้าใต้ดิน สายสีม่วง และแอร์พอร์ตลิงก์ ปรับปรุงระบบให้รองรับตั๋วร่วมได้ ให้เอกชนออกค่าใช้จ่ายไปก่อน เมื่อบริษัทตั๋วร่วมจัดตั้งเสร็จแล้ว จะชำระคืนภายหลังตามรูปแบบที่ตกลงกัน เช่น แปลงเป็นทุน เป็นต้น คาดว่าจะได้ข้อยุติภายในเดือน ก.ย.นี้

ใช้ร่วมรถไฟฟ้า 4 สาย

"การใช้ระยะเริ่มต้นจะเริ่มได้ 6-7 เดือนนับจากนี้ เป็นลักษณะตั๋วร่วม คือเป็นตั๋วที่ใช้ต่ออย่างเดียว ตามอัตราค่าโดยสารเดิม ของรถไฟฟ้า 4 สาย อาจจะมีทางด่วนและมอเตอร์เวย์ที่ใช้ร่วมได้ หากปรับปรุงระบบเสร็จ รวมถึงร้านค้าสะดวกซื้อ แบงก์และบริษัทมือถือที่จะเข้าร่วมด้วย หากเจรจากันได้เร็วก็สามารถใช้ร่วมกันได้เลย ส่วนการใช้ค่าโดยสารร่วมจะเป็นในขั้นตอนต่อไปหลังจัดตั้งบริษัทตั๋วร่วมเสร็จ"

2.เร่งร่าง พ.ร.บ.ระบบตั๋วร่วมให้เสร็จโดยเร็วพร้อมกับการใช้ระบบในปี 2560 3.ตั้งบริษัทตั๋วร่วมมาบริหารจัดการและบำรุงรักษาระบบตั๋วร่วมในระยะยาว โดยให้เอกชนร่วมลงทุนแบบ PPP Fast Track จะใช้เวลา 9 เดือน หรือแล้วเสร็จในปี 2560 และ 4.การจัดทำอัตราค่าโดยสารร่วม และค่าฟีต่าง ๆ

"บริษัทกลางที่เอกชนร่วมลงทุนจะใช้เงินทุนเริ่มต้น 600 ล้านบาท ดูเรื่องการจัดการค่าใช้บริการแต่ละระบบ ทำหน้าที่เป็นผู้เก็บเงิน แบ่งสรรเงินให้กับระบบขนส่งสาธารณะประเภทต่าง ๆ จะมีรายได้จากการคิดค่าฟี โดยรัฐจะให้สัมปทานเป็นระยะเวลา 15-20 ปี ส่วนกระทรวงคมนาคมจะเป็นผู้ควบคุมค่าฟีจะไม่ให้เกิน 1.5% ของค่าขนส่งและกำหนดโครงสร้างอัตราค่าโดยสาร จะมี 4 รูปแบบ คือ 1.คิดอัตราเดียว เช่น 20 บาท 30 บาท 40 บาท 2.เก็บตามระยะทาง โดยคิดค่าแรกเข้าครั้งเดียว 3.เก็บตามระยะทาง ลดค่าแรกเข้าครั้งที่ 2 เช่น 10-30% อยู่ที่นโยบายรัฐบาล และ 4.คิดตามโซนพื้นที่ ยังไม่ได้ข้อสรุป จะเป็นรูปแบบไหนอยู่ที่นโยบายของภาครัฐ คาดว่าจะมีคนใช้บัตรตั๋วร่วมแมงมุม 20-30% ของทั้งระบบมีผู้โดยสาร 1 ล้านเที่ยวคน/วัน"

BTS-BEM ชิงโต้โผ

แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคมกล่าวว่า ระบบตั๋วร่วมเตรียมจะเสนอให้ ครม.อนุมัติโครงการตั้งแต่ปลายปี 2557 จนถึงปัจจุบันยังล่าช้าอยู่ 2 ปี เนื่องจากเป็นระบบใหม่ที่ประเทศไทยยังไม่เคยมีมาก่อน ประกอบกับระบบนโยบายไม่มีการฟันธงว่าจะเดินหน้าไปในรูปแบบไหน นอกจากนี้ผู้ประกอบการรถไฟฟ้า คือ บมจ.ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ (BTSC) และ บมจ.ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ (BEM) ต่างมีความต้องการจะเป็นโต้โผในการจัดตั้งบริษัท จนทำให้ทุกอย่างล่าช้า แต่ขณะนี้มีนโยบายลงมาชัดเจนแล้วว่าทุกอย่างจะต้องให้เสร็จโดยเร็ว

"ส่วนค่าโดยสารร่วมอาจจะเป็นเรื่องยากเพราะยังติดสัญญาของผู้ประกอบการเดินรถไฟฟ้ารายเดิมคือ บีทีเอส บีอีเอ็มและแอร์พอร์ตลิงก์ ในเรื่องการคำนวณรายได้ หากจะใช้ค่าโดยสารร่วมกันต้องแก้สัญญาใหม่ และรัฐจะต้องซัพพอร์ตบางส่วนให้ แต่หากเป็นรถไฟฟ้าสายใหม่ ต่อไปจะระบุไว้ในสัญญาสัมปทานว่าจะต้องเข้าระบบตั๋วร่วม เช่น สายสีน้ำเงินต่อขยาย สีเขียวต่อขยาย สีชมพู สีเหลือง"

ค่าโดยสารร่วมรัฐต้องอุดหนุน

นายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บมจ.ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ (BTSC) กล่าวว่า ระบบตั๋วร่วมจะเริ่มใช้นี้ เป็นตั๋วที่ทำให้การเดินทางสะดวกด้วยตั๋วใบเดียว ส่วนอัตราค่าโดยสารร่วมนั้น อาจจะต้องใช้เวลา เพราะเป็นเรื่องใหญ่และละเอียดอ่อน ซึ่งรัฐจะต้องอุดหนุนหรือหาวิธีการยังไงถึงทำให้ win-win ทั้งรัฐ เอกชน และผู้โดยสาร
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42749
Location: NECTEC

PostPosted: 05/09/2016 6:41 pm    Post subject: Reply with quote

"รายงานวันจันทร์"-สถาปนิกแก้รถติด-แค่รถไฟฟ้าไม่พอ ต้องเชื่อมต่อรถ-ราง-เรือ
โดย ไทยรัฐฉบับพิมพ์
5 กันยายน 2559 เวลา 05:15
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42749
Location: NECTEC

PostPosted: 06/09/2016 1:02 am    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
ต้นปีหน้าคมนาคมดึง4รถไฟฟ้าใช้"ตั๋วแมงมุม" บัตรใบเดียวนั่งได้ทุกระบบ"BTS-BEM"แบะท่าลดค่าโดยสารร่วม
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
5 กันยายน 2559 เวลา 22:00:05 น.


ชงตั้งบริษัทตั๋วร่วมชั่วคราว
โพสต์ทูเดย์
5 กันยายน 2559 เวลา 08:50 น.
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44634
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 06/09/2016 3:54 pm    Post subject: Reply with quote

ครม.สั่งศึกษาความคุ้มค่าสร้างรถไฟใต้ดินเกาะรัตนโกสินทร์ ก่อนเริ่มสายสีทอง
มติชนออนไลน์ 6 ก.ย. 59 เวลา: 13:18 น.

“บิ๊กป้อม”เผย ครม.มอบกรุงเทพธนาคม ศึกษาความคุ้มค่าสร้างรถไฟใต้ดินในเขตเกาะรัตนโกสินทร์ ก่อนเริ่มโครงการรถไฟฟ้าสายสีทอง

เมื่อเวลา 12.30 น. วันที่ 6 กันยายน ที่ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม กล่าวภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า ที่ประชุมเห็นชอบตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอโครงการระบบขนส่งมวลชนขนาดรอง สายสีทอง สถานีรถไฟฟ้ากรุงธนบุรี-สำนักงานเขตคลองสาน-ประชาธิปก เพื่อเชื่อมต่อและเพิ่มการเข้าถึงระบบขนส่งมวลชนหลัก บรรเทาปัญหาจราจรในพื้นที่ โดยได้มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น บริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด ได้ศึกษารายละเอียด เพราะมีมติ ครม.เมื่อปี 2537 เรื่องการห้ามยุ่งเกี่ยวกับบางพื้นที่ เนื่องจากถือเป็นการบดบังทัศนียภาพในเกาะรัตนโกสินทร์ และต้องดูว่าการจะทำรถไฟใต้ดินในเขตเกาะรัตนโกสินทร์นั้นคุ้มค่าหรือไม่ ทั้งนี้ ไม่ได้กำหนดกรอบว่าจะต้องกลับมารายงานที่ประชุม ครม.เมื่อใด แต่หากศึกษารายละเอียดเป็นที่เรียบร้อยแล้วก็สามารถกลับมาเสนอที่ประชุม ครม.อนุมัติได้
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42749
Location: NECTEC

PostPosted: 09/09/2016 3:01 am    Post subject: Reply with quote

จ่ายค่าเรือคลองภาษีฯไม่รับเงินสดต้องซื้อบัตรแรบบิทเท่านั้นเริ่ม1ต.ค.
เดลินิวส์
พฤหัสบดีที่ 8 กันยายน 2559 เวลา 13.31 น.

รายงานข่าวแจ้งว่า   หลังจากที่กรุงเทพมหานคร(กทม.) โดยบริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด(เคที)  วิสาหกิจของ กทม.ได้แจ้งว่าในวันที่  1 ต.ค. นี้  จะดำเนินการจัดเก็บค่าโดยสารจากประชาชน ในอัตรา 15 บาท ตลอดเส้นทาง ซึ่งอัตราดังกล่าว ถือเป็นอัตราค่าเดินทางที่เหมาะสม และประชาชนจะประหยัดค่าเดินทางกว่าการเดินทางรูปแบบอื่นๆ ในเส้นทางเดียวกัน โดยการเก็บค่าโดยสารอัตรา 15 บาทตลอดเส้นทางนั้น จะเริ่มจัดเก็บตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 59 นี้ แต่จะมีการยกเว้นค่าโดยสารให้แก่

1.พระภิกษุ สามเณร แม่ชี ผู้พิการ และเด็กที่มีความสูงไม่เกิน 90 เซนติเมตร
2.ผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป และ
3.นักเรียนในเครื่องแบบ ที่ศึกษาอยู่ไม่เกินชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  

สำหรับการใช้งานนั้นบัตรแรบบิทจะต้องมีเงินคงเหลือขั้นต่ำ 15 บาท โดยเมื่อจะลงเรือ ก็ให้แตะบัตรที่เครื่องอ่านบัตรที่จะติดตั้งอยู่บริเวณเสาเรือ เมื่อข้อมูลถูกต้องไฟแสดงสถานะก็จะปรากฎเป็นสีเขียวแสดงว่าชำระเงินเรียบร้อยแล้ว ซึ่งเมื่อจะลงเรือก็ไม่ต้องแตะบัตรออก

ทั้งนี้ได้แจ้งว่า   โดยแจ้งว่าสามารถชำระค่าโดยสารด้วยบัตรแรบบิทประเภทเติมเงิน ที่ห้องจำหน่ายตั๋วโดยสารของสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส เท่านั้นทำให้ประชาชนที่ใช้บริการบางส่วนที่ไม่มีบัตรรถไฟฟ้าประเภทบัตรแรบบิท แสดงความเห็นว่าไม่สะดวกเนื่องจากต้องไปซื้อบัตรรถไฟฟ้าก่อนนำมาใช้งาน ทั้งนี้เจ้าหน้าที่จาก เคทีแจ้งว่า ขออภัยในความไม่สะดวกจากการไม่รับค่าโดยสารที่เป็นเงินสดนั้น  เนื่องจากในอนาคตเรือในคลองภาษีเจริญจะเข้าสู่การชำระค่าโดยสารด้วยระบบตั๋วร่วม เพื่อให้สามารถครอบคลุมการเดินทางในระบบขนส่งมวลชนได้ทั้งหมดตามนโยบายของรัฐบาล จึงมีความเป็นต้องใช้ตั๋วแรบบิทที่มีการติดตั้งระบบรองรับไว้หมดแล้ว  ทั้งนี้สำหรับผู้ที่ได้รับการยกเว้นค่าโดยสาร โดยเฉพาะผู้สูงอายุนั้น เบื้องต้นให้แสดงบัตรประชาชนเพื่อรับคูปอง ที่นายท่าที่ใช้บริการ หากมีการเปลี่ยนแปลงทางโครงการจะแจ้งผ่านท่าเรืออีกครั้งหนึ่ง.... อ่
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44634
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 13/09/2016 1:40 pm    Post subject: Reply with quote

รฟม.ชี้แจงข้อเท็จจริงกรณีรถไฟฟ้าสายสีเหลืองซ้ำรอยสายสีม่วง
โดยฐานเศรษฐกิจ 13 September 2559

รายงานข่าวจากสื่อสารองค์กร การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่า ตามที่มีกระแสข่าวปรากฏในสื่อสังคมออนไลน์ ประเด็นเรื่อง โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว – สำโรง มีแนวเส้นทางไม่เชื่อมต่อกับแนวเส้นทางของรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงหมอชิต – สะพานใหม่ – คูคต ทำให้ผู้ใช้บริการต้องเดินทางหลายต่อ ซึ่งอาจส่งผลให้มีแนวโน้มที่จะขาดทุนเมื่อเปิดให้บริการเช่นเดียวกับรถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม (รถไฟฟ้าสายสีม่วง) เนื่องจากการเดินทางไม่สะดวก นั้น การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ขอเรียนชี้แจงให้ทราบว่า โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว – สำโรง (สายสีเหลืองฯ) เป็นโครงการตามแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนทางรางฯ ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2553 ที่สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) กำหนดแนวเส้นทางและศึกษาออกแบบเบื้องต้นไว้เมื่อปี 2552 โดยออกแบบให้เส้นทางของรถไฟฟ้าสายสีเหลืองฯ เป็นขนส่งมวลชนขนาดรอง (Feeder Line) ทำหน้าที่ป้อนผู้โดยสารเข้าสู่ระบบขนส่งมวลชนหลัก (Main Line) 4 สาย เข้าสู่ใจกลางกรุงเทพฯ ได้แก่ รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล (สายสีน้ำเงิน) โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม (ส่วนตะวันออก) ช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ – มีนบุรี (สายสีส้มฯ) Airport Rail Link และโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงแบริ่ง – สมุทรปราการ (สายสีเขียวฯ)

ต่อมาเมื่อ รฟม. ในฐานะหน่วยงานปฏิบัติ ได้รับมอบผลการศึกษาออกแบบจาก สนข. มาแล้ว รฟม. ได้ศึกษาทบทวนในรายละเอียดเท่าที่จำเป็นเพื่อให้สอดคล้องกับสภาพพื้นที่ในปัจจุบันที่แตกต่างไปจากเมื่อครั้งที่ สนข. ศึกษาฯ อีกครั้งหนึ่ง ผลการศึกษาทบทวนฯ พบว่า ผู้โดยสารของโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลืองฯ ส่วนใหญ่จะเดินทางด้วยระยะทางสั้นๆ เพื่อเปลี่ยนถ่ายการเดินทางกับรถไฟฟ้าสายหลัก สอดคล้องกับคุณลักษณะของแนวเส้นทางที่ออกแบบให้เป็น Feeder Line ในการนี้ รฟม. จึงได้ออกแบบให้ผู้โดยสารสายสีเหลืองฯ สามารถเดินทางเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายหลักได้อย่างสะดวก ดังนี้

1) สถานีรัชดา เชื่อมต่อโดยตรงกับอาคารจอดรถ 9 ชั้น และสถานีลาดพร้าวของสายเฉลิมรัชมงคล
2) สถานีลำสาลี มีทางเดินเชื่อมต่อกับสถานีลำสาลีของสายสีส้มฯ
3) สถานีพัฒนาการ มีทางเดินยกระดับเชื่อมต่อโดยตรงกับสถานีหัวหมากของ Airport Rail Link
4) สถานีสำโรง มีทางเดินยกระดับเชื่อมต่อโดยตรงกับสถานีสำโรงของสายสีเขียวฯ

ทั้งนี้ กรณีที่มีแนวคิดเสนอให้มีการต่อขยายแนวเส้นทางของโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลืองฯ ไปเชื่อมต่อกับโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงหมอชิต – สะพานใหม่ – คูคต เพื่อให้ผู้โดยสารสามารถเดินทางเชื่อมต่อได้สะดวก โดยเสนอให้ต่อขยายไว้ 2 แนวทาง คือ 1) ให้ต่อขยายจากสถานีรัชดาไปตามแนวถนนลาดพร้าวและเชื่อมต่อกับสถานีห้าแยกลาดพร้าว 2) ให้ต่อขยายจากสถานีรัชดาไปตามแนวถนนรัชดาภิเษกและเชื่อมต่อกับสถานีรัชโยธิน นั้น ในทางด้านเทคนิคพบว่า ใต้แนวถนนลาดพร้าวจากแยกรัชดา-ลาดพร้าว ไปถึงแยกตัดกับถนนพหลโยธิน มีอุโมงค์รถไฟฟ้าสายเฉลิมรัชมงคลอยู่แล้ว การก่อสร้างโครงสร้างยกระดับบนถนนลาดพร้าวเหนือแนวอุโมงค์จึงมีความเสี่ยงสูงที่จะกระทบต่อความปลอดภัยของโครงสร้างอุโมงค์ ดังนั้น ทางเลือกที่ 1 จึงไม่เหมาะสมที่จะดำเนินการอย่างยิ่ง ส่วนทางเลือกที่ 2 รฟม. ได้ออกแบบโครงสร้างของโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลืองฯ ให้สามารถต่อขยายเส้นทางไปตามถนนรัชดาภิเษกได้อยู่แล้ว หากในอนาคตสภาพการณ์ต่างๆ เปลี่ยนแปลงไป และปรากฏว่ามีความเหมาะสมที่สมควรจะต่อขยายเส้นทางออกไปอีก รฟม. จะได้ศึกษาออกแบบเพื่อต่อขยายต่อไป
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42749
Location: NECTEC

PostPosted: 13/09/2016 1:44 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
รฟม.ชี้แจงข้อเท็จจริงกรณีรถไฟฟ้าสายสีเหลืองซ้ำรอยสายสีม่วง
โดยฐานเศรษฐกิจ 13 September 2559


รฟม. แจง รถไฟฟ้าสายสีเหลือง ถูกออกแบบให้เชื่อมต่อสายหลักสะดวก
โดย ไทยรัฐออนไลน์
13 กันยายน 2559 เวลา 10:50

เคลียร์มั้ย? รฟม.แจงโซเชียลฯ หวั่นสายสีเหลืองซ้ำรอยสีม่วง ชี้เป็นระบบฟีดเดอร์เชื่อม 4 สายหลัก
โดย MGR Online
13 กันยายน 2559 16:15 น.
รฟม. แจง ปมรถไฟฟ้าสายสีเหลืองไม่เชื่อมต่อสายสีเขียว ปชช.หวั่นซ้ำรอยสายสีม่วง เผย ได้ออกแบบเป็นขนส่งมวลชนขนาดรอง เส้นทางสามารถเชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายหลักได้อย่างสะดวก

เมื่อวันที่ 13 ก.ย. 59 ตามที่มีกระแสข่าวปรากฏในสื่อสังคมออนไลน์ประเด็นเรื่อง โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว–สำโรง มีแนวเส้นทางไม่เชื่อมต่อกับแนวเส้นทางของรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงหมอชิต–สะพานใหม่–คูคต ทำให้ผู้ใช้บริการต้องเดินทางหลายต่อ ซึ่งอาจส่งผลให้มีแนวโน้มที่จะขาดทุน เมื่อเปิดให้บริการเช่นเดียวกับรถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม (รถไฟฟ้าสายสีม่วง) เนื่องจากการเดินทางไม่สะดวกนั้น

การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ชี้แจงว่า โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว–สำโรง (สายสีเหลืองฯ) เป็นโครงการตามแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนทางรางฯ ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2553 ที่สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) กำหนดแนวเส้นทาง และศึกษาออกแบบเบื้องต้นไว้เมื่อปี 2552 โดยออกแบบให้เส้นทางของรถไฟฟ้าสายสีเหลือง เป็นขนส่งมวลชนขนาดรอง (Feeder Line) ทำหน้าที่ป้อนผู้โดยสารเข้าสู่ระบบขนส่งมวลชนหลัก (Main Line) 4 สาย เข้าสู่ใจกลางกรุงเทพฯ ได้แก่ รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล (สายสีน้ำเงิน) โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม (ส่วนตะวันออก) ช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ–มีนบุรี (สายสีส้ม) Airport Rail Link และโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงแบริ่ง–สมุทรปราการ (สายสีเขียว)

ต่อมา เมื่อ รฟม. ในฐานะหน่วยงานปฏิบัติ ได้รับมอบผลการศึกษาออกแบบจาก สนข. มาแล้ว รฟม. ได้ศึกษาทบทวนในรายละเอียดเท่าที่จำเป็น เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพพื้นที่ในปัจจุบันที่แตกต่างไปจากเมื่อครั้งที่ สนข. ศึกษาฯ อีกครั้งหนึ่ง ผลการศึกษาทบทวนฯ พบว่า ผู้โดยสารของโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ส่วนใหญ่จะเดินทางด้วยระยะทางสั้นๆ เพื่อเปลี่ยนถ่ายการเดินทางกับรถไฟฟ้าสายหลัก สอดคล้องกับคุณลักษณะของแนวเส้นทางที่ออกแบบให้เป็น Feeder Line ในการนี้ รฟม. จึงได้ออกแบบให้ผู้โดยสารสายสีเหลือง สามารถเดินทางเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายหลักได้อย่างสะดวก ดังนี้

1) สถานีรัชดา เชื่อมต่อโดยตรงกับอาคารจอดรถ 9 ชั้น และสถานีลาดพร้าวของสายเฉลิมรัชมงคล

2) สถานีลำสาลี มีทางเดินเชื่อมต่อกับสถานีลำสาลีของสายสีส้ม

3) สถานีพัฒนาการ มีทางเดินยกระดับเชื่อมต่อโดยตรงกับสถานีหัวหมากของ Airport Rail Link

4) สถานีสำโรง มีทางเดินยกระดับเชื่อมต่อโดยตรงกับสถานีสำโรงของสายสีเขียว

ทั้งนี้ กรณีที่มีแนวคิดเสนอให้มีการต่อขยายแนวเส้นทางของโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ไปเชื่อมต่อกับโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงหมอชิต–สะพานใหม่–คูคต เพื่อให้ผู้โดยสารสามารถเดินทางเชื่อมต่อได้สะดวก โดยเสนอให้ต่อขยายไว้ 2 แนวทาง คือ

1) ให้ต่อขยายจากสถานีรัชดา ไปตามแนวถนนลาดพร้าว และเชื่อมต่อกับสถานีห้าแยกลาดพร้าว

2) ให้ต่อขยายจากสถานีรัชดาไปตามแนวถนนรัชดาภิเษก และเชื่อมต่อกับสถานีรัชโยธินนั้นในทางด้านเทคนิค พบว่า ใต้แนวถนนลาดพร้าวจากแยกรัชดา-ลาดพร้าว ไปถึงแยกตัดกับถนนพหลโยธิน มีอุโมงค์รถไฟฟ้าสายเฉลิมรัช
มงคลอยู่แล้ว การก่อสร้างโครงสร้างยกระดับบนถนนลาดพร้าวเหนือแนวอุโมงค์ จึงมีความเสี่ยงสูงที่จะกระทบต่อความปลอดภัยของโครงสร้างอุโมงค์ ดังนั้น

ทางเลือกที่ 1 จึงไม่เหมาะสมที่จะดำเนินการอย่างยิ่ง

ส่วนทางเลือกที่ 2 รฟม. ได้ออกแบบโครงสร้างของโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ให้สามารถต่อขยายเส้นทางไปตามถนนรัชดาภิเษกได้อยู่แล้ว หากในอนาคตสภาพการณ์ต่างๆ เปลี่ยนแปลงไป และปรากฏว่ามีความเหมาะสมที่สมควรจะต่อขยายเส้นทางออกไปอีก รฟม. จะได้ศึกษาออกแบบเพื่อต่อขยายต่อไป

อ่านข่าวต่อได้ที่:
http://news.mthai.com/hot-news/economy-news/518690.html
http://news.thaipbs.or.th/content/255722


Last edited by Wisarut on 13/09/2016 5:03 pm; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 139, 140, 141 ... 278, 279, 280  Next
Page 140 of 280

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©