RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311324
ทั่วไป:13286201
ทั้งหมด:13597525
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 160, 161, 162 ... 278, 279, 280  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44804
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 30/08/2017 5:58 pm    Post subject: Reply with quote

บอร์ด PPP เห็นชอบร่างยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี มูลค่าลงทุน1.62 ล้านลบ.
ข่าวหุ้น วันที่ August 30, 2017

นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ กรรรมการและเลขานุการคณะกรรมการนโยบายการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ (คณะกรรมการ PPP) เปิดเผยผลการประชุมคณะกรรมการ PPP ครั้งที่ 4/2560 ที่มีนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรีเป็นประธานว่า ที่ประชุมยังเห็นชอบร่างแผนยุทธศาสตร์การให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ (แผนยุทธศาสตร์ PPP) พ.ศ. 2560 - 2564 ซึ่งได้นำหลักการสำคัญของยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติมาใช้เป็นกรอบแนวคิดในการจัดแผนยุทธศาสตร์ PPP โดยมีมูลค่าโครงการลงทุนรวม 1.62 ล้านล้านบาท

ทั้งนี้ แผนยุทธศาสตร์ PPP ประกอบด้วยกิจการโครงสร้างพื้นฐานและบริการสาธารณะ จำนวน 22 กิจการ สามารถจำแนกเป็น 1) กิจการที่สมควรให้เอกชนมีส่วนร่วมในการลงทุน (Opt - out) จำนวน 4 กิจการ ได้แก่ กิจการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนทางรางในเมือง กิจการพัฒนาถนนที่มีการเก็บค่าผ่านทางในเมือง กิจการพัฒนาท่าเรือสาธารณะสำหรับขนส่งสินค้า และกิจการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูง และ 2) กิจการที่รัฐส่งเสริมให้เอกชนมีส่วนร่วมในการลงทุน (Opt - in) จำนวน 18 กิจการ เช่น กิจการพัฒนาถนนที่มีการเก็บค่าผ่านทางระหว่างเมือง กิจการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านสาธารณสุข และกิจการพัฒนาท่าอากาศยาน เป็นต้น ซึ่งการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชนจะช่วยยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ และเพิ่มประสิทธิภาพการบริการสาธารณะให้แก่ประชาชน

นอกจากนี้ ที่ประชุมได้รับทราบความคืบหน้าโครงการภายใต้มาตรการ PPP Fast Track จำนวน 11 โครงการ มูลค่าวงเงินลงทุนรวม 934,200 ล้านบาท โดยโครงการที่ดำเนินการตามมาตรการ PPP Fast Track แล้วเสร็จ จำนวน 5 โครงการ มูลค่าวงเงินลงทุนรวม 335,432 ล้านบาท ได้แก่ โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย ซึ่งได้ลงนามในสัญญาแล้ว ส่วนโครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองสายบางปะอิน - นครราชสีมา และสายบางใหญ่ - กาญจนบุรี ในส่วนการดำเนินการและบำรุงรักษา (O&M) ได้เสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาแล้ว ส่วนการให้เอกชนในส่วนของที่พักริมทางจะสามารถเสนอคณะกรรมการ PPP ได้ภายในสิ้นปี 2560


สำหรับโครงการที่อยู่ระหว่างดำเนินการตามมาตรการ PPP Fast Track เพิ่มเติม จำนวน 6 โครงการ ได้แก่
1) โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน - วงแหวนกาญจนาภิเษก
2) โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ - ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย (ส่วนตะวันตก) และช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) (ส่วนตะวันออก)
3) โครงการรถไฟฟ้าสายภูเก็ต ช่วงท่าอากาศยานภูเก็ต - ห้าแยกฉลอง
4) โครงการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนของจังหวัดเชียงใหม่
5) โครงการรถไฟความเร็วสูง สายกรุงเทพฯ - ระยอง
6) โครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองสายนครปฐม - ชะอำ มูลค่าวงเงินลงทุนรวม 598,768 ล้านบาท

นายเอกนิติ กล่าวด้วยว่า ที่ประชุมยังเห็นชอบในหลักการของหลักเกณฑ์การเปรียบเทียบต้นทุน ความเสี่ยง และความคุ้มค่าในการประเมินทางเลือกการลงทุน (Value for Money) ซึ่งได้มีการเทียบเคียงแนวทางที่เป็นมาตรฐานสากล เพื่อให้หน่วยงาน

ที่เกี่ยวข้องสามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการประเมินทางเลือกการลงทุนระหว่างการดำเนินการเองหรือให้เอกชนร่วมลงทุน ซึ่งจะได้พิจารณาถึงต้นทุน ความเสี่ยง และความคุ้มค่าโดยเฉพาะด้านประสิทธิภาพในการให้บริการแก่ประชาชน

นอกจากนี้ ยังได้รับทราบความคืบหน้าของการทบทวนพระราชบัญญัติการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2556 ซึ่งได้ดำเนินการรับฟังความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้องตามมาตรา 77 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ทั้งนี้ คาดว่าจะนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาได้ภายในเดือนกันยายน 2560
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44804
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 31/08/2017 6:43 pm    Post subject: Reply with quote

จี้ประมูลเดินรถ”น้ำเงิน-ส้ม-ม่วง”ห้ามสะดุด
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ วันที่ 31 สิงหาคม 2560 - 13:44 น.

คมนาคมหวั่นเดินรถสะดุดซ้ำรอยสายสีน้ำเงินต่อขยาย สั่ง รฟม.ทบทวนประมูลหาเอกชนลงทุนรายเดียว ให้เดินรถต่อเนื่อง จับตา “น้ำเงิน-ส้ม-ม่วง” 2 ยักษ์ BEM-BTS แบ่งเค้ก แผนลงทุนรถไฟฟ้าสายใหม่หลุดเป้าอื้อ

นายฤทธิกา สุภารัตน์ รักษาการผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า เพื่อไม่ให้เกิดกรณีเดียวกับเปิดเดินรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินต่อขยายบางซื่อ-ท่าพระและหัวลำโพง-บางแคที่ไม่สามารถเปิดบริการได้ทันทีหลังสร้างแล้วเสร็จในปลายปี 2560 เนื่องจากสัญญาเดินรถล่าช้า

ล่าสุดกระทรวงคมนาคมให้ รฟม.ทบทวนการคัดเลือกเอกชนเดินรถสายสีส้มตะวันตก (ศูนย์วัฒนธรรม-บางขุนนนท์) ระยะทาง 12.9 กม. เพื่อให้การเดินรถเป็นรายเดียวกับสายสีส้มตะวันออก (ศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี) กำลังเริ่มงานก่อสร้าง จะแล้วเสร็จและเปิดบริการปี 2566 โดยนำงานติดตั้งระบบอาณัติสัญญาณและจัดหาขบวนรถเปิดประมูลให้เอกชนที่สนใจเดินรถรายเดียว ระยะยาว 30 ปี ให้การบริการต่อเนื่อง คาดว่าจะใช้เงินลงทุน 33,259.12 ล้านบาท


“คมนาคมให้ รฟม.ทำข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับรูปแบบ PPP ของสายสีส้มศูนย์วัฒนธรรม-บางขุนนนท์ จะใช้เวลาศึกษา 8-9 เดือน ทำให้การเสนอโครงการให้คณะรัฐมนตรีอนุมัติล่าช้าออกไปเป็นเดือน เม.ย. 2561 จากเดิมจะเสนอเดือน ก.ค.ที่ผ่านมา ส่วนการเปิดบริการจะล่าช้าจากแผนไปอีกเป็นปี 2567”

ขณะที่สายสีน้ำเงินต่อขยายช่วงบางแค-พุทธมณฑลสาย 4 ระยะทาง 8 กม. ลงทุน 21,197 ล้านบาท อยู่ระหว่างปรับปรุงรายละเอียดโครงการเสนอให้ ครม.อนุมัติ คาดว่าการเดินรถจะเป็นรูปแบบเดียวกับสายสีน้ำเงิน คือ PPP Net Cost เอกชนลงทุนและรับสัมปทานเดินรถ 30 ปี เพราะเป็นระยะทางที่สั้นและเป็นส่วนต่อขยายจากโครงข่ายเดิม หากเปิดประมูลใหม่ จะไม่คุ้มค่าการลงทุน มีกำหนดเปิดบริการปี 2566

สายสีม่วงใต้ (เตาปูน-ราษฎร์บูรณะ) ครม.อนุมัติโครงการเมื่อวันที่ 25 ก.ค. ที่ผ่านมา คาดว่าเปิดประมูลเดือน ธ.ค. 2560 เซ็นสัญญาเดือน พ.ย. 2561 เริ่มก่อสร้างเดือน ธ.ค. 2561 เปิดบริการปี 2566 ซึ่งการเดินรถที่ใช้เงินลงทุน 15,800 ล้านบาท มีแนวโน้มเป็นรูปแบบ PPP Gross Cost เอกชนลงทุนงานระบบ จัดหาขบวนรถ และเดินรถให้ โดยรับค่าตอบแทนเป็นรายปี

เหมือนสายสีม่วง (เตาปูน-คลองบางไผ่)ที่จ้าง บมจ.ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ (BEM) เดินรถให้ 30 ปี เพื่อให้การเดินรถต่อเนื่อง

“รฟม.ก่อตั้งมาได้ 25 ปี สร้างรถไฟฟ้า 6 สายทาง 13 โครงการ ครอบคลุมพื้นที่กรุงเทพฯและปริมณฑล ล่าสุดเพิ่งเปิดเดินรถเชื่อม 1 สถานีจากเตาปูน-บางซื่อให้การเดินทางสายสีม่วงกับสีน้ำเงินสะดวกขึ้น ผู้โดยสารใช้บริการสายสีม่วงเพิ่มขึ้น วันธรรมดาเฉลี่ยอยู่ที่ 50,000 เที่ยวคน/วัน จากเดิม 30,000 เที่ยวคน/วัน และวันหยุดเสาร์-อาทิตย์ เฉลี่ยอยู่ที่ 29,000 เที่ยวคน/วัน จากเดิม 22,000 เที่ยวคน/วัน”

นายฤทธิกากล่าวว่า ส่วนรถไฟฟ้าอยู่ระหว่างก่อสร้าง มี 4 เส้นทาง ได้แก่ สายสีน้ำเงินต่อขยาย 27 กม. สายสีเขียวต่อขยายแบริ่ง-สมุทรปราการ 13 กม. สายสีเขียวต่อขยายหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต 18.7 กม. และสายสีส้มศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี 21.2 กม. มี 2 สายกำลังเตรียมการก่อสร้าง ได้แก่ สายสีชมพูแคราย-มีนบุรี 34.5 กม. และสีเหลืองลาดพร้าว-สำโรง 30.5 กม.

จะแล้วเสร็จและเปิดบริการทั้ง 2 โครงการในปี 2564 ล่าช้าจากเดิมจะเปิดปี 2563 เนื่องจากการประสานงานรื้อย้ายสาธารณูปโภค การเจรจาขอเข้าพื้นที่หน่วยงานราชการอย่าง กรมทางหลวง (ทล.) และ กทม. ล่าช้า ทำให้ รฟม.ต้องเลื่อนส่งมอบพื้นที่จากเดิมเดือน มิ.ย.เป็น ธ.ค.นี้

ส่วนข้อเสนอเอกชนขยายสายสีชมพูไปเมืองทองธานี 2.8 กม. และสายสีเหลืองขยายไปตามถนนรัชดาภิเษก 2.6 กม. สิ้นสุดแยกรัชโยธิน เชื่อมสายสีเขียว บริษัทที่ปรึกษาขอใช้เวลา 4 เดือน
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44804
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 01/09/2017 4:43 pm    Post subject: Reply with quote

เปิดหวูดสร้างรถไฟฟ้าทั่วกรุง ดีเดย์ปีนี้ประมูล 3 สาย "ม่วงใต้-ส้มตะวันตก-แดงอ่อน"
โดย ไทยรัฐฉบับพิมพ์ 1 ก.ย. 2560 09:15

นายธีรพันธ์ เตชะศิรินุกูล ที่ปรึกษาการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าในโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ วงเงิน 1.31 แสนล้านบาทว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างร่างเอกสารประกวดราคา (ทีโออาร์) คาดว่าจะแล้วเสร็จเร็วๆนี้ และประมูลภายในเดือน ต.ค.นี้ ส่วนโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันตกช่วงศูนย์วัฒนธรรม-ตลิ่งชัน วงเงิน 1.21 แสนล้านบาทนั้น ขณะนี้คมนาคมได้สั่งการให้ รฟม.ปรับแผนโครงการเพื่อเปิดให้เอกชนเข้าร่วมลงทุนโครงการแบบพีพีพี จากเดิมเป็นการลงทุนภาครัฐ 100% โดยจะเปิดให้เอกชนร่วมลงทุนในสัญญาก่อสร้างงานโยธา วงเงิน 90,000 ล้านบาท ส่วนสัญญางานเดินรถจะให้เป็นเอกชนรายเดียวเดินรถทั้งสองเส้นทางคือ สายสีส้มตะวันตกและสีส้มตะวันออก ขณะนี้อยู่ระหว่างจัดทำราย ละเอียดเพื่อเปิดลงทุนพีพีพีคาดว่าจะแล้วเสร็จในเดือน ก.ย.นี้ ส่วนความคืบหน้ารถไฟฟ้าสายสีส้ม ตะวันออก ช่วงสถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย-มีนบุรีจากที่มีการประมูลไปแล้ว ขณะนี้มีความคืบหน้า 1.4% ปัจจุบันอยู่ระหว่างเข้าพื้นที่รื้อย้ายสาธารณูปโภคภายใน 2 เดือนนับจากนี้ ส่วนการให้บริการเชื่อมต่อ 1 สถานี เตาปูน-บางซื่อ ระยะเวลาหนึ่งเดือนพบว่ามีผู้โดยสารเพิ่มขึ้นมากปัจจุบันมีปริมาณในวันธรรมดาที่ 52,000 คนต่อวันจากในช่วงแรกที่เปิดให้บริการมีคนใช้ 20,000 คน ดังนั้น รฟม.คาดว่าปริมาณผู้โดยสารสายสีม่วงจะโตขึ้นที่ 80,000-100,000 คนต่อวันภายในกลางปี 61

นายพิชิต อัคราทิตย์ รมช.คมนาคม เผยถึงการก่อสร้างโรงพยาบาลเหนือโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดงอ่อนว่า ทางโรงพยาบาลศิริราช ได้หารือร่วมกับคมนาคม และการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เพื่อขอใช้พื้นที่ของ รฟท. ในการสร้างโรงพยาบาลศิริราช ขนาด 12 ชั้นเหนือสถานีตลิ่งชัน ซึ่งเป็น 1 ในสถานีของโครงการรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงอ่อน ส่วนต่อขยาย ช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช และช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา ในการใช้ประโยชน์ร่วมกันให้แก่ประชาชนเดินทางมารับบริการที่โรงพยาบาลด้วยรถไฟฟ้าได้ อย่างไรก็ตามคาดว่างานก่อสร้างโรงพยาบาลศิริราช จะเริ่มก่อสร้างได้ประมาณเดือน พ.ค.61 ส่วนสถานีตลิ่งชัน จะก่อสร้างเดือน มิ.ย.61 และทั้งสองส่วนจะเปิดให้บริการได้เดือน ธ.ค.63.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44804
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 01/09/2017 6:34 pm    Post subject: Reply with quote

สนข. มั่นใจ ไม่เกิน6เดือน ผู้ประกอบการรถไฟฟ้าเชื่อมโยงบัตรแมงมุมแน่นอน
โดย ไทยรัฐออนไลน์ 1 ก.ย. 2560 15:10

สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร แจงระบบตั๋วร่วมหรือบัตรแมงมุมจะมีรถไฟฟ้าเข้าร่วมไม่เกิน 6 เดือนข้างหน้า รวมทั้งเอกชน แบงก์ใหญ่-ร้านสะดวกซื้อ พร้อมเจรจาร่วมธุรกิจ..

วันที่ 1 ก.ย.60 นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เผยถึง ความคืบหน้าการพัฒนาระบบต๋วร่วมหรือบัตรแมงมุม ซึ่งสัปดาห์นี้ผ่านความเห็นชอบจาก ครม.แล้ว ระยะเริ่มต้นจะครอบคลุมผู้ใช้บริการรถเมล์ทุกเส้นทาง และเชื่อมโยงข้อมูลกับบัตรผู้มีรายได้น้อย ที่มีผู้เข้าร่วมโครงการสวัสดิการแห่งรัฐ กว่า 11 ล้านคน โดยภายหลังระบบตั๋วร่วม ผ่านการอนุมัติจาก ครม. จะทำให้บริษัทเอกชนผู้เดินรถให้บริการรถไฟฟ้าทั้งบีทีเอส และรถไฟฟ้าใต้ดิน มีความมั่นใจพร้อมเข้าร่วมโครงการ

เนื่องจากมติ ครม.มีการมอบหมาย รฟม. ถ่ายโอนงานฐานข้อมูลและเป็นผู้จัดการงานของบริษัทจัดแบ่งรายได้หรือเคลียริ่งเฮาส์ เชื่อมโยงกับผู้ประกอบการเดินรถแต่ละราย เกิดความชัดเจนทั้งในแง่ของกฎหมายและผู้รับผิดชอบ ขณะเดียวกันเชื่อว่าผู้ประกอบการทุกรายจะเห็นว่าการเข้าร่วมระบบตั๋วร่วม จะทำให้ตัวเองมีผู้ใช้บริการเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด และจากการหารือที่ผ่านมาผู้ประกอบการทุกราย ได้วางระบบเบื้องต้นแล้ว

ดังนั้น ไม่เกิน 6 เดือน เชื่อว่าจะเห็นผู้ประกอบการรถไฟฟ้า เชื่อมโยงการบริการกับบัตรแมงมุมแน่นอน เริ่มจากติดตั้งระบบอ่านบัตรบางส่วนในพื้นที่สถานี เช่น ช่องทางที่ผู้โดยสารเข้าสู่สถานี เพื่อตรวจบัตรโดยสาร จะมีการนำร่องใช้ 2 ช่องทาง ที่ตรวจผ่านตั๋วแมงมุมได้ ก่อนขยายเต็มรูปแบบในอนาคต นอกจากนี้ การพัฒนาบัตรแมงมุมนอกจากระบบรถเมล์ทุกเส้นทาง รถไฟฟ้า ในอนาคตจะรวมระบบเรือโดยสาร ทางด่วน ที่จะเข้าร่วมในอนาคตแล้ว

ขณะนี้ ยอมรับว่ามีเอกชนหลายรายสนใจเข้าร่วมธุรกิจเพื่อเชื่อมโยงกับบัตรแมงมุม เพื่อต่อยอด ไม่ว่าจะเป็นสถาบันการเงิน ซึ่งมีธนาคารบางแห่งต้องการเชื่อมโยงบริการบัตรเดบิตกับบัตรแมงมุม อย่างไรก็ตาม จะต้องหารือความร่วมมือต่อไป เนื่องจากการเข้าสู่ระบบจะมี 2 ลักษณะ คือ เฉพาะเชื่อมโยงข้อมูลในบัตร หรือเป็นผู้ออกบัตรเองด้วย ซึ่งจะต้องเชื่อมโยงฐานข้อมูลกับระบบเคลียริ่งเฮาส์ และต้องรอการวางระบบร่วมกันอีกครั้ง

นอกจากนี้ ยังมีกลุ่มธุรกิจร้านสะดวกซื้อก็ให้ความสนใจร่วมบัตรแมงมุมวันนี้ สนข.ยังได้จัดงานสัมมนารับฟังความคิดเห็นครั้ง 1 โครงการสำรวจความต้องการการเดินทางและปรับปรุงฐานข้อมูลการเคลื่อนย้ายสินค้า เพื่อวางแผนระบบขนส่ง โดย ผอ.สนข.ระบุว่าการจัดทำข้อมูลการเคลื่อนย้ายผู้โดยสารระบบขนส่งธารณะและสินค้าจะมีความสำคัญต่อการวางแผนพัฒนาระบบขนส่งเหมือนในอดีตที่ผ่านมาที่พบว่าประชาชนต้องการใช้ระบบขนส่งสาธารณะมากขึ้น จึงพัฒนาระบบรถไฟฟ้า 10 เส้นทาง เพื่อตอบสนองความต้องการส่วนนี้และหลังจากโครงการระบบรถไฟฟ้าเส้นทางต่างๆ พัฒนาจนเสร็จ

อย่างไรก็ตาม สนข.ตั้งเป้าหมายว่าภายในไม่น้อย 4-5 ปีข้างหน้าจะมีประชาชนเปลี่ยนพฤติกรรมจากการใช้รถยนต์ส่วนบุคคลไปสู่การใช้ระบบขนส่งสาธารณะ จากเดิมมีเพียงร้อยละ 8-9 ไปไม่น้อยกว่าร้อยละ 30 ส่งผลดีต่อการพัฒนาประเทศทั้งการลดใช้พลังงาน ปัญหาสิ่งแวดล้อม ลดอุบัติเหตุ เพิ่มประสิทธิภาพการจัดการด้านเวลาการเดินทาง ซึ่งทั้งหมดเป็นการเพิ่มศักยภาพเศรษฐกิจของประเทศได้เป็นรูปธรรม.

----

ดีเดย์ 1 ต.ค. ตั๋วร่วมผนึกบัตรสวัสดิการเปิดตัวใช้รถเมล์ กลางปีหน้าใช้รถไฟฟ้า
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ วันที่ 1 กันยายน 2560 - 18:20 น.

นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เปิดเผยว่า สนข.ร่วมกับกระทรวงการคลัง ในการใช้บัตรสวัสดิการ กับรถเมล์ขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) จำนวน 800 คัน ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค.60 โดยจะทยอยแจกบัตรสวัสดิการเบื้องต้นกว่า 1.3 ล้านคน ในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล หากหลังมีการติดตั้งระบบตั๋วร่วมในรถไฟฟ้าแล้ว บัตรสวัสดิการก็สามารถใช้ได้ ตามนโยบายของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีที่อยากจะให้ผู้มีรายได้น้อยได้ใช้รถไฟฟ้า


ตั๋วร่วม หรือบัตรแมงมุม แบ่งเป็น 3 แบบ ได้แก่ บัตรสำหรับบุคคลทั่วไป บัตรสำหรับนักเรียน/นักศึกษา และบัตรผู้สูงอายุ คาดว่าจะทยอยออกบัตรภายในปีนี้ โดยจะสามารถใช้กับรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต ลิ้งก์ และรถไฟฟ้าสายสีม่วง ในเดือน มี.ค.61 พร้อมกับรถเมล์ ขสมก. 2,600 คัน และรถไฟฟ้าบีทีเอส และรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ในเดือน มิ.ย.-ก.ค.61 โดยการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ม.) จะเป็นผู้เจรจากับเอกชน ในการปรับระบบรองรับตั๋วร่วม และจัดตั้งบริษัทร่วมทุนกับเอกชนคู่ขนานกัน ส่วนการใช้ตั๋วแมงมุมกับมอเตอร์เวย์ และทางด่วนพิเศษ (ช่องจ่ายเงินสด) คาดว่าจะใช้ได้ปลายปี 2561 นอกจากนี้ ยังได้หารือกับธุรกิจนอกภาคขนส่งอย่างกลุ่มซีพี เดอะมอลล์ และเซ็นทรัลได้การใช้บัตรแมงมุมร่วมกันอีกด้วย

ขณะที่พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) การบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม พ.ศ….. เนื้อหา พ.ร.บ. จะประกอบด้วย 1.โครงสร้างการบริหารงานของคณะกรรมการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม (CTAC), หน่วยงานกำกับดูแลการดำเนินงานของหน่วยงาน บริหารจัดการและบำรุงรักษาระบบตั๋วร่วม (Common Ticketing Company : (CTC) และหน่วยงานบริหารจัดการและบำรุงรักษาระบบตั๋วร่วม (CTC) 2.หน่วยงานบริหารจัดการและบำรุงรักษาระบบตั๋วร่วมมีหน้าที่อย่างไร 3.ระบบตั่วร่วม ค่าโดยสารร่วมและค่าธรรมเนียม และ 4.กองทุน ในการสนับสนุนค่าใช้จ่ายเอกชน อยู่ระหว่างจัดทำรายงานผลกระทบเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) และกฤษฎีกา เพื่อพิจารณาเสนอ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ต่อไป คาดว่าจะประกาศใช้กลางปี 2561
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44804
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 02/09/2017 11:14 am    Post subject: Reply with quote

เตรียมแจก"บัตรแมงมุม"2แสนใบใช้รถเมล์ฟรี
เดลินิวส์ ศุกร์ที่ 1 กันยายน 2560 เวลา 19.34 น.

สนข. เปิดโฉม”บัตรแมงมุม” ตั๋วร่วมใบเดียวสะดวกรูดปี๊ดใช้กับระบบขนส่งมวลชนทุกโหมด พร้อมแจกฟรี 2 แสนใบให้ประชาชนทดลองใช้ปลายปี กับรถเมล์ขสมก. 800 คัน

เมื่อวันที่ 1 ก.ย. นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ  ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.)  จัดงาน”สื่อมวลชนสัมพันธ์การดำเนินงานบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม” เพื่อเปิดตัวตั๋วร่วมหรือบัตรแมงมุงใช้เป็นบัตรโดยสารระบบขนส่งทุกชนิด   นายชัยวัฒน์ กล่าวว่า    สนข. จัดเตรียมบัตรแมงมุมล็อตแรกไว้แล้ว2 แสนใบ  เตรียมแจกประชาชนทดลองใช้ฟรีปลายปีนี้กับรถเมล์องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ ( ขสมก.)  ที่กำลังติดตั้งระบบตั๋วอัตโนมัติหรืออีทิคเก็ต 800 คัน ให้แล้วเสร็จในวันที่ 30 ก.ย.นี้จากนั้นจะเปิดจำหน่ายบัตรแมงมุมตามจุดต่างๆ เช่น สถานีรถไฟฟ้า ป้ายรถเมล์ ร้านสะดวกซื้อ  โดยมี 3 ประเภท คือบัตรบุคคลทั่วไปสีน้ำเงิน บัตรนักเรียน/นักศึกษาสีเทาบัตรผู้สูงอายุสีทองมีค่าธรรมเนียมประมาณ 150 บาท  สามารถเติมเงินในบัตรได้สูงสุด 10,000 บาท  สามารถขออายัดวงเงินได้กรณีบัตรหาย

นายชัยวัฒน์  กล่าวต่อว่า    ในการใช้งานบัตรแมงมุมระยะ(เฟส) แรก  คือรถเมล์ ขสมก.ที่ติดตั้งอีทิคเก็ตแล้วเสร็จ 800 คัน และจะเพิ่มเป็น 2,600 คัน  รวมถึง รถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์และรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงบางใหญ่-เตาปูน  ในเดือนมี.ค. 61   ส่วนรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน หัวลำโพง-บางซื่อและรถไฟฟ้าสายสีเขียวหรือบีทีเอสประมาณเดือน มิ.ย.-ก.ค. 61 เพราะต้องรอเชื่อมระบบ   ทั้งนี้สนข. ได้บรรจุชิพบัตรแมงมุมลงในบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ หรือบัตรคนจนในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล   1.3 ล้านใบ เพื่อให้ผู้ถือบัตรสามารถใช้บริการรถเมล์ รถโดยสารของบริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.) และรถไฟโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ในวงเงินไม่เกินจำนวน 500 บาทต่อระบบ เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค.นี้
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44804
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 04/09/2017 5:55 am    Post subject: Reply with quote

ครบ1ปีเดินเรือคลองผดุง ยอดผู้โดยสาร 4 แสน-กทม.เตรียมเปิดเอกชนลงทุนแบบ BRT
โดย ไทยรัฐฉบับพิมพ์ 4 ก.ย. 2560 05:01

นายสุธน อาณากุล ผอ.สำนักการจราจรและขนส่ง สจส.เปิดเผยถึงโครงการเดินเรือคลองผดุงกรุงเกษมว่า ในวันที่ 5 ก.ย.นี้ จะครบรอบ 1 ปี การให้บริการเดินเรือในคลองผดุงกรุงเกษม ซึ่งจากข้อมูลผู้ใช้บริการตั้งแต่วันที่ 5 ก.ย.2559-31 ส.ค.2560 มีผู้ใช้บริการรวมทั้งสิ้น418,303 คน โดยช่วงพฤษภาคมเป็นต้นมาผู้โดยสารเริ่มเบาบางเนื่องจากเป็นช่วงฤดูฝน และบางครั้งสำนักการระบายน้ำมีการพร่องน้ำเพื่อรับการระบายน้ำฝนทำให้กระทบการเดินเรือ แต่ภาพรวมถือว่าเป็นไปตามเป้าหมายและเป็นที่น่าพอใจ ทั้งนี้ ในปีงบประมาณ 2561 สจส.ได้ของบ20ล้านบาท เพื่อปรับปรุงซ่อมแซมท่าเทียบเรือจำนวน 9 ท่า จากทั้งหมด 10 ท่าเทียบเรือ และก่อสร้างท่าเทียบเรือใหม่บริเวณหัวลำโพงเพิ่มเติมอีก 1 ท่า ซึ่งอยู่ห่างจากสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินเพียง 40 เมตร นอกจากนี้จะของบเพื่อจัดซื้อเรือใหม่ที่จุผู้โดยสารมากขึ้นจำนวน 6 ลำ

ผอ.สจส.กล่าวว่า ที่ผ่านมาการให้บริการเดินเรือคลองผดุงกรุงเกษมจะฟรีค่าบริการ แต่ขณะนี้ สจส.อยู่ระหว่างประกาศเชิญชวนภาคเอกชนเข้ามาบริหารจัดการเดินเรือในคลองผดุงกรุงเกษม คล้ายกับการเดินรถประจำทางด่วนพิเศษ (บีอาร์ที) ที่ กทม.เปิดโอกาสให้เอกชนเข้ามาบริหารจัดการ โดยที่ กทม.ไม่สนับสนุนงบประมาณ ขณะเดียวกัน สจส.อยู่ระหว่างศึกษาอัตราค่าโดยสาร ซึ่งจากการสำรวจผู้ใช้บริการมีความเห็นว่า ค่าโดยสารควรจัดเก็บที่อัตรา 10-15 บาท.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44804
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 04/09/2017 8:24 am    Post subject: Reply with quote

รฟม.เลื่อนMOUตั๋วร่วม รถไฟฟ้าส่อหลุดเป้า ”สีม่วง-แอร์พอร์ตลิงก์”ยังไม่มีงบปรับระบบ
MGR online 4 ก.ย. 2560 07:24:00

รฟม.เลื่อนMOUตั๋วร่วม รถไฟฟ้าส่อหลุดเป้า ”สีม่วง-แอร์พอร์ตลิงก์”ยังไม่มีงบปรับระบบ
ตั๋วร่วมรถไฟฟ้า4 สายลุ้นเปิดใช้หลุดเป้าอีก เหตุรฟม.เลื่อนMOU กับBTS-BEM รอเสนอบอร์ด 18 ก.ย.เห็นชอบก่อน ขณะที่ตั้งเป้า “แอร์พอร์ตลิงก์กับสีม่วง”ใช้ได้มี.ค.61 ส่อหลุดเป้าอีก เผยจนถึงขณะนี้ ยังไม่มีงบปรับปรุงระบบ โดยคาดใช้งบโครงการละประมาณ 100ล.

นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าการดำเนินงานบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม (บัตรแมงมุม) ว่า หลังจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันที่ 29 ส.ค.ได้รับทราบแนวทางการดำเนินงานแล้ว ในระยะแรกการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) จะทำหน้าที่เป็นผู้บริหารจัดการและบำรุงรักษาระบบตั๋วร่วม และมีอำนาจหน้าที่ในการกำหนดกฎเกณฑ์ทางธุรกิจ (Business Rile) สำหรับการใช้ตั๋วร่วมกับผู้ให้บริการต่างๆ รวมถึงต้องมีการลงนามในข้อตกลง (MOU) กับผู้ให้บริการ ซึ่งเริ่มต้นจะลงนาม MOU กับ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ หรือ BTS และบริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM เพื่อสร้างความมั่นใจกับเอกชนในการลงทุนติดตั้งระบบตั๋วร่วม ในรถไฟฟ้าบีทีเอสและสีน้ำเงิน แต่ทราบว่า รฟม. จะมีการเสนอขอความเห็นชอบจากที่ประชุมคณะกรรมการ(บอร์ด) รฟม. กลางเดือนก.ย.นี้ก่อน จึงจะลงนามได้ ซึ่งเลื่อนจากแผนเดิมที่จะมีการลงนามภายในเดือนส.ค.

นายเผด็จ ประดิษฐเพชร ผู้อำนวยการสำนักงานโครงการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม สนข.กล่าวว่า ก่อนหน้านี้ สนข.ได้เจรจากับ ผู้ให้บริการรถไฟฟ้า 4 สายแล้ว ในการปรับปรุงระบบรองรับตั๋วร่วม ซึ่งแอร์พอร์ตลิงก์และสายสีม่วงซึ่งเป็นของรฟม. จะใช้เวลาในการปรับปรุงระบบ 6-7 เดือน แล้วเสร็จประมาณ มี.ค. 2561 ส่วนสายสีเขียวของบีทีเอสและ สีน้ำเงินของ BEM จะใช้เวลาปรับปรุงระบบ 10 เดือน ซึ่งหลังรฟม.MOU กับ 2 รายนี้ จะมีการตกลงปรับปรุงระบบ ออกแบบ ติดตั้ง และทดสอบ ต่อไป

จากการประเมินร่วมกัน ผู้ประกอบการแต่ละรายจะเป็นผู้ลงทุนปรับปรุงติดตั้งระบบตั๋วร่วมเอง ซึ่งแอร์พอร์ตลิงก์ และสายสีม่วง ประมาณรายละ 100 ล้านบาท ส่วน BTS และ MRT คาดว่าจะมีค่าปรับปรุงระบบรายละกว่า 120 ล้านบาท โดยรวมจะมีค่าปรับปรุงระบบสำหรับรถไฟฟ้า 4 สาย กว่า 400 ล้านบาท ค่าจัดทำระบบศูนย์บริหารจัดการรายได้กลาง (CCH) 300ล้านบาท (สนข.ได้ดำเนินการแล้ว) ค่าบำรุงรักษาในการให้บริการ 160 ล้านบาทต่อปี และอื่นๆ 100 ล้านบาท รวมประมาณ 1,000 ล้านบาท ซึ่งจะเป็นทุนเริ่มต้นสำหรับการจัดตั้งบริษัทลูกเพื่อเป็นผู้บริหารจัดการและบำรุงรักษาระบบตั๋วร่วมนั้น รฟม. จะดำเนินการตามหลักเกณฑ์ รวมถึงพิจารณาว่าจะต้องเป็นการร่วมลงทุน PPP หรือไม่

ส่วนระบบขนส่งใหม่ ๆ เรือ ทางด่วน มอเตอร์เวย์ จะเริ่มให้บริการในเฟส 2 ปลายปี 2561 สำหรับ บริการนอกภาคขนส่ง เช่น ร้านค้าต่างๆ นั้น สนข.ได้เจรจากับ ซีพี เดอะมอลล์ เซ็นทรัล แล้วในการเข้ามาร่วมคาดว่าจะเริ่มใช้ได้ปลายปี 2560

โดยตั๋วร่วมในระยะแรกจะเป็นแบบ Common Ticket คือตั๋วใบเดียวขึ้นได้ทุกระบบ แต่ค่าโดยสารยังจ่ายเท่าเดิม สำหรับการลดค่าแรกเข้าเมื่อมีการเชื่อมต่อจากระบบหนึ่งไปอีกระบบหนึ่ง หรือ Common Fair นั้น คงต้องใช้เวลาอีกระยะหนึ่งและจะต้องมีการเจรจาเงื่อนไขกับผู้ให้บริการที่มีสัญญาสัมปทานเดิมทั้ง BTS และ BEM อย่างไรก็ตาม คาดว่าจะสามารถลดค่าแรกเข้าในระบบที่ 2 ได้ 20-30% หรือลดจาก 15 บาทเหลือ 10 บาทซึ่งรัฐอาจจะต้องมีการชดเชยให้เอกชนในส่วนลดค่าแรกเข้าดังกล่าว

แหล่งข่าวจากรฟม.กล่าวว่า ขณะนี้รฟม.อยู่ในภาวะ ไม่มีผู้ว่าฯ ตัวจริง ดังนั้นการดำเนินงานจึงต้องเสนอบอร์ด รฟม.ไว้ก่อนเพื่อความรอบคอบ ซึ่งบอร์ดจะประชุมวันที่ 18 ก.ย.ทำให้ต้องเลื่อนการทำ MOUกับBTS และ BEM ออกไปก่อน ขณะที่ในระยะแรก รฟม.จะต้องหน่วยธุรกิจขึ้นมาดำเนินการบริหารจัดการระบบ ส่วนบริษัทลูก (CTC) นั้นจะไม่เป็นการร่วมทุน PPP แต่จะจัดตั้งเป็น บริษัท จำกัด ภายใต้พ.ร.บ.การรถไฟฟ้าฯ คาดว่าจะใช้เวลา 10-12 เดือน ในการเจรจากับผู้ให้บริการเพื่อเข้ามาร่วมถือหุ้น ตามสัดส่วนที่ได้มีการลงทุนปรับปรุงระบบ

อย่างไรก็ตาม ในการปรับปรุงระบบสายสีม่วงและแอร์พอร์ตลิงก์ เพื่อรองรับตั๋วร่วมนั้น ขณะนี้ทั้ง รฟม.และ แอร์พอร์ตลิงก์ ยังไม่ได้รับงบประมาณดำเนินการเลย ซึ่งหากล่าช้าจะกระทบต่อการให้บริการอาจจะไม่ทันกำหนดในเดือนมี.ค. 2561
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44804
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 06/09/2017 7:45 am    Post subject: Reply with quote

กคช.ทุ่ม400ล.ผุดที่อยู่อาศัยแนวรถไฟฟ้า(ประชานิเวศน์ 3)
ฐานเ้ศรษฐกิจ 5 September 2017

กคช.ขานรับนโยบายรัฐ จัดทำโครงการพัฒนาที่อยู่อาศัยตามแนวรถไฟฟ้าฯ (ประชานิเวศน์ 3) จำนวน 556 หน่วย วงเงินกว่า 400 ล้านบาท ตามที่ ครม.อนุมัติ รวมทั้งเร่งศึกษาแนวทางการร่วมลงทุนกับเอกชน 5 โครงการ พร้อมสนองตอบนโยบายบ้านประชารัฐของรัฐบาลครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมาย

ดร.ธัชพล กาญจนกูล ผู้ว่าการการเคหะแห่งชาติ เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2560 คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ โดยการเคหะแห่งชาติ (กคช.) จัดทำโครงการพัฒนาที่อยู่อาศัยตามแนวเส้นทางรถไฟฟ้าในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล (ประชานิเวศน์ 3) จำนวน 556 หน่วย วงเงินลงทุนรวม 464.402 ล้านบาท โดยมอบหมายให้กระทรวงการคลังเป็นผู้จัดหาและเป็นผู้ค้ำประกันเงินกู้ จำนวน 413.817 ล้านบาทซึ่งตั้งอยู่ภายในโครงการเคหะชุมชนประชานิเวศน์ จังหวัดนนทบุรี ห่างจากสถานีสามัคคี รถไฟฟ้าสายสีชมพูประมาณ 2.5 กิโลเมตร จัดสร้างในรูปแบบอาคารชุดพักอาศัย สูง 8 ชั้น 4 อาคาร ประกอบด้วย ห้องพักอาศัยแบบ 1 ห้องนอน ขนาดพื้นที่ห้อง 25.5 - 30 ตารางเมตร สำหรับกลุ่มเป้าหมายผู้มีรายได้น้อยถึงปานกลางและรายได้ปานกลางค่อนข้างสูง ซึ่งเป็นกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่เริ่มทำงาน หรือต้องการสร้างครอบครัวใหม่ ประกอบอาชีพรับราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ พนักงานบริษัทเอกชน ให้มีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเองในราคาที่สามารถรับภาระได้ และใกล้เส้นทางรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน

นอกจากนี้ การเคหะแห่งชาติยังได้เร่งศึกษาแนวทางความเป็นไปได้ในการให้เอกชนร่วมลงทุนการพัฒนาที่อยู่อาศัย ภายใต้พระราชบัญญัติการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ.2556 จำนวน 5 โครงการ ประกอบด้วย โครงการศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนาที่อยู่อาศัยและพาณิชยกรรม ตามแนวเส้นทางโครงข่ายระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในกรุงเทพฯ และปริมณฑล ระยะที่ 2 บนที่ดินการเคหะแห่งชาติ ภายในโครงการเคหะชุมชนร่มเกล้า เขตลาดกระบัง กรุงเทพฯ, โครงการศึกษาความเป็นไปได้การให้เอกชนร่วมลงทุนในโครงการฟื้นฟูเมืองชุมชนดินแดง ระยะที่ 3 และระยะที่ 4 ซึ่งรองรับผู้อยู่อาศัยใหม่, โครงการศึกษาความเป็นไปได้การให้เอกชนร่วมลงทุนในโครงการเชิงพาณิชย์ ที่ดินแปลงว่างเนื้อที่ประมาณ 52 ไร่ ในโครงการเคหะชุมชนเชียงใหม่ (หนองหอย), โครงการศึกษาความเป็นไปได้การพัฒนาที่อยู่อาศัยสวัสดิการข้าราชการ และโครงการเชิงพาณิชย์บนที่ดินแปลงว่าง เนื้อที่ประมาณ 136 ไร่ อำเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ และโครงการศึกษาความเป็นไปได้การพัฒนาที่อยู่อาศัยสวัสดิการข้าราชการ และโครงการเชิงพาณิชย์บนที่ดินแปลงว่างเนื้อที่ประมาณ 118 ไร่ อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี

อย่างไรก็ตาม การเคหะแห่งชาติพร้อมขานรับการพัฒนาที่อยู่อาศัยสำหรับกลุ่มผู้มีรายได้น้อย กลุ่มคนชั้นกลางที่ต้องการสร้างครอบครัว รวมถึงกลุ่มผู้สูงอายุ ตามนโยบายบ้านประชารัฐของรัฐบาลที่ต้องการเสริมสร้างความเสมอภาค ลดความเหลื่อมล้ำ สร้างโอกาสในการเข้าถึงสวัสดิการสังคมและที่อยู่อาศัยตามเจตนารมณ์ของรัฐบาล
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42784
Location: NECTEC

PostPosted: 06/09/2017 12:52 pm    Post subject: Reply with quote

'บัตรแมงมุม'มาแล้ว! ใบเดียวรูดปี๊ดทุกการเดินทาง

คอลัมน์ : มุมคนเมือง
โดย “เทียนหยด”
เดลินิวส์
อังคารที่ 5 กันยายน 2560 เวลา 08.00 น.

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เชิญชวนประชาชนและภาคธุรกิจหันมาชำระเงินโดยใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส์หรือผ่านทางสมาร์ทโฟน มีเป้าหมายให้สังคมไทยก้าวสู่ “สังคมไร้เงินสด” มากขึ้น เพื่อความสะดวกสบาย และปลอดภัยไม่ต้องกลัวถูกฉกชิงวิ่งราว สนองนโยบายไทยแลนด์ 4.0

แน่นอนทุกองคาพยพต้องผลักดันไปสู่เป้าหมาย ซึ่ง “บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ” หรือ “บัตรคนจน” ก็เป็นอีกรูปแบบหนึ่งที่ใช้แทนเงินสดในการลดค่าครองชีพของประชาชน ได้แก่ ช่วยลดราคาค่าแก๊ส ช่วยเหลือค่าเดินทาง เช่น ขึ้นรถเมล์ฟรีได้เดือนละ 500 บาท แบบว่าไม่ต้องแจกเงินสดๆ แค่ใส่มูลค่าในบัตรให้ไปรูดปี๊ด!!

ล่าสุด สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร หรือ สนข. หน่วยงานใต้สังกัด กระทรวงคมนาคม ได้จัดงานสื่อมวลชนสัมพันธ์การดำเนินงานบริหารจัดการระบบตั๋วร่วมเพื่อเปิดตัว “ตั๋วร่วม” อย่างเป็นทางการ

นิยามของตั๋วร่วม...คือ ตั๋วใบเดียวที่จะนำมาใช้เป็นบัตรโดยสารได้ทุกระบบการเดินทาง ซึ่งในต่างประเทศใช้ระบบตั๋วร่วมมานานหลายปีแล้ว สนข. ได้จัดประกวดให้ตั้งชื่อตั๋วร่วมชิงรางวัลกันด้วย



โดยชื่อที่ได้รับการคัดเลือก คือชื่อที่เรียกง่ายๆ แต่สื่อความหมายดีมากๆ ว่า “บัตรแมงมุม” เปรียบระบบการขนส่งทุกโหมดเดินทางทั้งรถเมล์ รถไฟฟ้า รถไฟ เรือโดยสาร รวมทั้งทางด่วนเป็นโครงข่ายใยแมงมุมที่ใช้บัตรใบเดียวเชื่อมโยงทุกการเดินทาง

นอกจากความสะดวกสบายแค่พก “บัตรแมงมุม” ใบเดียว ใช้เดินทางได้ทุกโหมด ไม่เสียเวลาแลกเหรียญหรือแลกตั๋วโดยสาร ไม่ต้องกลัวตั๋วหายแล้ว บัตรแมงมุมจะมีส่วนลดค่าโดยสารให้ด้วย โดยในอนาคตจะลดค่าแรกเข้าระบบ เช่น จากรถไฟฟ้าบีทีเอสต่อรถไฟฟ้าเอ็มอาร์ทีสายสีน้ำเงิน (หัวลำโพง-บางซื่อ) หรือรถไฟฟ้าสีม่วง (บางใหญ่-คลองบางไผ่) ซึ่งเป็นคนละสายหรือเป็นคนละระบบกัน ก็จะยกเว้นค่าแรกเข้าให้ ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการเดินทาง

ที่สำคัญยังช่วยแก้ไขปัญหาการจราจรติดขัดในกรุงเทพฯ ได้ด้วย หากสามารถดึงดูดประชาชนใช้ระบบขนส่งมวลชนมากขึ้น อีกทั้งการแตะบัตรผ่านทางด่วน จะช่วยลดปัญหารถติดขัดหน้าด่านจากการทอนเงิน

“บัตรแมงมุม” มี 3 ประเภท คือบัตรบุคคลทั่วไปสีน้ำเงิน บัตรนักเรียน/นักศึกษาสีเทา และบัตรผู้สูงอายุสีทอง เพื่อแยกส่วนลดของแต่ละวัย มีค่ามัดจำและธรรมเนียมประมาณ 150 บาท



ช่วงแรกจะพิจารณาลดค่ามัดจำเหลือ 50 บาท หรือยกเว้นให้ ในหลักการสามารถเติมเงินในบัตรได้สูงสุด 10,000 บาท กรณีบัตรหายสามารถขออายัดวงเงินได้ เป็นรายละเอียดคร่าวๆ ที่ นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ผู้อำนวยการ สนข. สแกนถึงบัตรแมงมุม

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 29 ส.ค.ที่ผ่านมา มีมติให้กระทรวงคมนาคมเร่งดำเนิน “โครงการตั๋วร่วม” โดยเฉพาะการจัดตั้งบริษัทจัดการและบำรุงรักษาระบบตั๋วร่วม (CTC) ระยะแรกให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ที่ดูแลโครงข่ายรถไฟฟ้ารับผิดชอบก่อน จากนั้นต้องจัดตั้งบริษัทอย่างเป็นทางการที่มีเอกชนผู้ให้บริการทุกรายเข้าร่วมถือหุ้นภายในเดือน ก.ค.61

รฟม. จะนำรายละเอียดเสนอคณะกรรมการหรือบอร์ดพิจารณาเร็วๆ นี้ จากนั้นจะลงนามบันทึกข้อตกลงหรือเอ็มโอยู (MOU) กับบริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีอีเอ็ม และบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีทีเอสซี เพื่อเจรจาเงื่อนไขการติดตั้งระบบตั๋วร่วมบนรถไฟฟ้าต่อไป





นายชัยวัฒน์ บอกข่าวดีด้วยว่าขณะนี้ สนข. ได้จัดเตรียม “บัตรแมงมุม” ล็อตแรกไว้แล้ว 2 แสนใบ อยู่ระหว่างเซ็นระบบข้อมูล เตรียมแจกประชาชนทดลองใช้ฟรีปลายปีนี้ ดีเดย์กับรถเมล์องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) ที่กำลังติดตั้งระบบตั๋วอัตโนมัติหรืออีทิคเก็ต (E-Ticket) ในรถร้อน 800 คัน ให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 30 ก.ย.นี้ เพื่อรองรับการใช้ “บัตรคนจน” ที่จะได้สิทธิ์ขึ้นรถเมล์ฟรี 800 คัน คนละ 500 บาทต่อเดือน ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. นี้ ดังนั้น “บัตรคนจน” ก็ถือว่ามีรูปแบบคล้าย “ตั๋วร่วม” ที่ประชาชนได้ประเดิมใช้กันไปก่อน

นายชัยวัฒน์ กล่าวต่อว่า สนข. มีแผนเปิดจำหน่ายบัตรแมงมุมตามจุดต่างๆ เช่น สถานีรถไฟฟ้า ป้ายรถเมล์ ร้านสะดวกซื้อ เพื่อให้เข้าถึงได้ง่าย การใช้งานบัตรแมงมุมระยะ (เฟส) แรก คือปลายปีนี้กับรถเมล์ ขสมก.ที่ติดตั้งอีทิคเก็ตแล้วเสร็จ 800 คัน และจะเพิ่มเป็น 2,600 คัน รวมถึงรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ และรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงบางใหญ่-คลองบางไผ่ ในเดือน มี.ค. 61 ส่วนรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน หัวลำโพง-บางซื่อและรถไฟฟ้าสายสีเขียวหรือบีทีเอสประมาณเดือน มิ.ย.-ก.ค. 61 เพราะต้องรอเชื่อมระบบ

จากนั้นจะเริ่มพัฒนาในเฟส 2 ให้ใช้งานได้ราวปี 62 กับทางด่วนและมอเตอร์เวย์ เรือด่วนเจ้าพระยา และเรือคลองแสนแสบ ส่วนรถไฟมีระบบการซื้อตั๋วแตกต่างกับขนส่งประเภทอื่นๆ จึงรอการพัฒนาต่อไป นอกจากนี้ยังเจรจากับผู้ประกอบการนอกภาคขนส่ง

เช่น เครือซีพีผู้บริหารร้านสะดวกซื้อเซ่เวนฯ เดอะมอลล์ เครือเซ็นทรัลและธนาคารต่างๆ ให้เข้าร่วมโครงการในหลายรูป เช่น ให้บริการเต็มเงิน ใช้บัตรแมงมุม ใช้ซื้อสินค้าและบริการต่างๆ ได้ด้วย

….“บัตรแมงมุม” มาแล้ว ตั๋วใบเดียวง่ายทุกการเดินทางและการจับจ่าย แต่จะตอบโจทย์ประชาชนหรือไม่?? ต้องติดตามกัน.
…..................................
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42784
Location: NECTEC

PostPosted: 08/09/2017 10:32 am    Post subject: Reply with quote

สนข.สรุประบบตั๋วร่วมส่งต่อรฟม. แบงก์-ร้านสะดวกซื้อ สนใจร่วม"บัตรแมงมุม"
โดย: MGR Online
เผยแพร่: 7 กันยายน 2560 เวลา 20:01:00

สนข.สรุปผลดำเนินงานระบบตั๋วร่วม”บัตรแมงมุม” พร้อมส่งไม้ต่อให้รฟม. เร่งเดินหน้า ตั้งบริษัทลูก และติดตั้งในระบบรถไฟฟ้า ก่อนเดินหน้าแจก 2 แสนใบทดลองใช้งาน เผย แบงก์-ร้านสะดวกซื้อ สนใจร่วมบัตรแมงมุม ขณะที่เตรียมหาช่องทาง ให้บัตรคนจนใช้กับรถไฟฟ้าได้ ตามนโยบาย”นายกฯ”

นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เปิดเผยภายหลังเป็นประธานเปิดการสัมมนาสรุปผลการดำเนินงานโครงการดำเนินงานบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม (Program Management Services: PMS) ว่า เป็นการสรุปผลการดำเนินงานก่อนที่สนข.จะส่งต่อให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ตามมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) ซึ่งรฟม.จะเสนอที่ประชุมคณะกรรมการ(บอร์ด) วันที่ 18 ก.ย. เพื่อดำเนินการจัดการนส่วนที่เกี่ยวข้องทั้งการเตรียมลงนามในMOUกับ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ หรือ บีทีเอส และบริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM เพื่อ เริ่มติดตั้งระบบตั๋วร่วมใน รถไฟฟ้าบีทีเอสและสีน้ำเงิน โดยในช่วงแรก สนข.ได้ผลิตบัตรแมงมุมต้นแบบ จำนวน 2 แสนใบซึ่งจะโอนให้รฟม.ไปบริหารจัดการ กำหนดเงื่อนไขในการแจกฟรี กับประชาชนกลุ่มใด เนื่องจากเป็นบัตรที่ไม่มีค่ามัดจำ สามารถนำไปเติมเงินในส่วนค่าเดินทางได้ทันที
ทั้งนี้จากที่ สนข. ได้ประชุมร่วมกับผู้ประกอบการในภาคขนส่งและนอกภาคขนส่ง ทั้งธนาคาร ห้างสรรพสินค้า ร้านสะดวกซื้อ เกี่ยวกับระบบตั๋วร่วม (บัตรแมงมุม) ภาคเอกชนให้ความสนใจมาก โดยเฉพาะธนาคาร ซึ่งมีผู้ถือบัตรเป็นสมาชิกของธนาคารจำนวนมากอยู่แล้ว สามารถนำชิพของระบบแมงมุมเข้าไปใส่ซึ่งทำให้สามารถใช้ระบบขนส่งร่วมได้ จะเป็นแนวทางในการเพิ่มจำนวนผู้ถือบัตรแมงมุมอีกทาง

นายชัยวัฒน์ ย้ำว่า นโยบายเฟสแรกจะเริ่มใบ้บัตรแมงมุมกับภาคขนส่งก่อน โดย 1 ต.ค.60 ใช้กับบัตรมีผู้มีรายได้น้อย ในระบบรถเมล์ ขสมก. และรถไฟฟรี รถบขส. โดยจะมีการยกเลิกโครงการรถเมล์ฟรี รถไฟฟรี เพื่อจัดสรรงบประมาณได้ตรงกับผู้มีรายได้น้อยที่ขึ้นทะเบียนไว้ ซึ่งขณะนี้สนข.ได้ทยอยผลิตบัตรแมงมุมกับบัตรผู้มีรายได้น้อย จำนวน 1.37 ล้านใบเพื่อส่งมอบและแจกจ่ายกับประชาชนในพื้นที่กรุงเทพและปริมณฑล ในเดือนก.ย.นี้ ส่วนรถไฟฟ้า 4สาย จะมีการปรับปรุงระบบ ส่วน สายสีน้ำเงิน MRT และ BTS เนื่องจากมีจำนวนสถานีมาก และมีเวลาในการติดตั้งระบบน้อย ประมาณ 3 ชม.ต่อวัน ช่วงหลัง 01.00-04.00 น. เท่านั้น ซึ่งจะหารือให้ทยอยติดตั้ง1-2 ช่องเพื่อเปิดใช้ก่อน

อย่างไรก็ตาม นายกรัฐมนตรีมีนโยบาย ให้สามารถใช้บัตรผู้มีรายได้น้อยกับระบบรถไฟฟ้าได้ด้วย ซึ่งจะมีการหารือถึงแนวทางในการบริหารจัดการ โดยขณะนี้ นโยบายบัตรผู้มีรายได้น้อยวงเงินที่รัฐบาลช่วยเหลือผ่านบัตรสำหรับเดินทางต่อเดือน รถเมล์500 บาท รถไฟ 500 บาทและรถบขส. 500 บาท โดยวงเงินขนส่งแต่ละประเภทจะไม่สามารถใช้ข้ามระบบกันได้ และตัดยอดทุกเดือน และนำไปใช้แทนกันไม่ได้ เนื่องจากบัตรจะระบุชื่อ มีรูปถ่ายเจ้าของบัตร หากจะนำไปใช้กับรถไฟฟ้าจะขยายกระเป๋าหรือวงเงินอย่างไร ทั้งนี้จะขึ้นกับกระทรวงการคลังที่จะพิจารณาในการให้สวัสดิการและวงเงินงบประมาณที่มี

"ตอนนี้ บัตรคนจนมีเงิน 500 บาทต่อเดือนสำหรับใช้บริการรถไฟ ซึ่งหากแอร์พอร์ตลิงก์ ที่อยู่ภายใต้การรถไฟฯ ปรับปรุงระบบเสร็จ กระเป๋าเงินในส่วนของรถไฟก็อาจจะสามารถใช้แอร์พอร์ตลิงก์ร่วมด้วย เป็นต้น ส่วนรถเมล์นั้น ยอมรับว่า การใช้งานในช่วงแรกอาจจะมีปัญหาเพราะเป็นของใหม่และมีผู้โดยสารอื่นที่ไม่ได้ถือบัตรคนจนด้วยขณะที่ กายภาพของรถ การขึ้นลง ไม่เอื้อ ซึ่งขสมกง จะต้องบริหารจัดการและซักซ้อมให้ดี เชื่อว่าเมื่อเริ่มคุ้นชินจะปรับตัวกันได้ และในอนาคตหากจังหวัดในภูมิภาค มีระบบขนส่งมวลชน เช่นรถไฟฟ้ารางเบาที่ภูเก็ต จะต้องนำระบบบัตรแมงมุม ซึ่งเป็นมาตรฐานกลางเข้าไปติดตั้งในบัตรโดยสาร เช่นกัน "นายชัยวัฒน์กล่าว

นายเผด็จ ประดิษฐเพชร ผู้อำนวยการสำนักงานโครงการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม สนข.กล่าวว่า สนข.ได้ทำงานเรื่องตั๋วร่วมมากว่า 56 เดือน และจะเริ่มใช้ร่วมกับบัตรคนจนได้ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค.นี้ ขณะที่กระทรวงการคลังเร่งให้สนข.โอนสิทธิ์ศูนย์บริหารจัดการรายได้กลางให้รฟม. และเร่งให้รฟม.จัดตั้งบริษัทลูกขึ้นมาบริหารตั๋วร่วม ทั้งนี้ ระบบตั๋วร่วมของไทย ได้กำหนดเป็นมาตรฐานกลาง และให้หน่วยงานต่างๆ ภาคเอกชน นำไปใช้ในการออกบัตร ซึ่งหน้าตาของบัตรจะมีความหลากหลาย แต่จะมีโลโก้แมงมุมแสดงในบัตรที่ได้นำชิพตั๋วร่วมไปติดไว้ ซึ่งมีหลายประเทศใช้รูปแบบนี้ ขณะที่มีหลายประเทศใช้ระบบบัตรรูปแบบเดียว เช่น T-Money ของเกาหลี ซึ่งจะมีหน่วยกลางในการออกบัตร
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 160, 161, 162 ... 278, 279, 280  Next
Page 161 of 280

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©