RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311296
ทั่วไป:13273072
ทั้งหมด:13584368
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 194, 195, 196 ... 278, 279, 280  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44638
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 07/03/2019 7:48 pm    Post subject: Reply with quote

สนข.ย้ำ! เดินหน้าพัฒนขนส่งทางราง ยึด 'สถานีบางซื่อ' ศูนย์กลางใหญ่
กรุงเทพธุรกิจ 7 มีนาคม 2562

สนข.ย้ำ! เดินหน้าพัฒนาระบบขนส่งทางรางครอบคลุมทุกเส้นทางภายใต้ยุทธศาตร์ชาติ 20 ปี ยึด "สถานีบางซื่อ" ศูนย์กลางใหญ่ จ่อเพิ่มอาคารจอดแล้วจรหลายจุดเพิ่มประสิทธิภาพ หวังแก้ภาพคนกรุงใช้รถส่วนตัว แก้มลพิษ และความเลื่อมล้ำ

นายชยธรรม์ พรหมศร รองผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร(สนข.) กระทรวงคมนาคม กล่าวปาฐกถาพิเศษในหัวข้อ"เชื่อมราง เชื่อมรถ เชื่อมคน ลดเหลื่อมล้ำ เข้าถึงคมนาคมไร้รอยต่อ" ในงานสัมนา "พลิกโฉมไทย เปิดประตูสู่เศรษฐกิจนวัตกรรม" จัดโดยหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ เมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2562 ณ ห้องแกรนด์บอลรูม โรงแรมอินเตอร์คอนติแนนตัลว่า ในอดีตยอมรับประเทศไทยมีความล้มเหลวในเชิงระบบขนส่งสาธารณะ ประชาชนมีข้อจำกัดในการเดินทางอย่างมาก เนื่องจากขนส่งหลัก คือระบบรางดั้งเดิมอย่างรถไฟ มีไม่เพียงพอต่อความต้องการ ก่อให้เกิดค่านิยมใช้รถยนต์ส่วนตัว และนำมาซึ่งปัญหาการจราจรแออัด พร้อมกับขนส่งใหม่ๆตามมา ทั้งรถตู้โดยสาร รถร่วมเอกชน หรือแม้แต่มอเตอร์ไซต์รับจ้าง ซึ่งยากต่อการจัดระบบและระเบียบ ทั้งยังมีผลเสียเรื่องมลภาวะ และยังไม่ตรงกับความต้องการแท้จริงของประชาชนที่อยากมีระบบขนส่งสาธารณะที่สะดวก ตรงเวลา ปลอดภัย และราคาสมเหตุสมผล จนกลายเป็นโจทย์สำคัญของภาครัฐ กำหนดภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี เป้าหมายสูงสุด คือ การพัฒนาระบบขนส่งที่ต้องปลอดภัยและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และคนทุกกลุ่มสามารถใช้ประโยชน์ได้ ผ่านนโยบายต่างๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับโครงสร้างพื้นฐาน 3 ส่วน ดังนี้

1. การพัฒนาขนส่งสาธารณะที่ตอบโจทย์การเดินทางในเมือง เพื่อหยุดการใช้รถยนต์ส่วนตัว ผ่านรถไฟฟ้าสายต่างๆ มากกว่า 10 สาย

2.การพัฒนาขนส่งสาธารณะสำหรับการเดินทางระหว่างเมือง ผ่านโครงการรถไฟรางคู่

3.การพัฒนาขนส่งสาธารณะสำหรับใช้เชื่อมต่อภูมิภาค ผ่านโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูง

นายชยธรรม์ กล่าวว่า สำหรับความคืบหน้าเกี่ยวกับการพัฒนารถไฟฟ้ารองรับการขนส่งของคนเมืองนั้น ปัจจุบันมีรถไฟฟ้าเปิดใช้บริการรวมแล้ว 4 สาย 120 กิโลเมตร สายสีเขียว (หมอชิต-แบริ่ง คนใช้บริการ 7 แสนคน),สายสีน้ำเงิน (หัวลำโพง -บางซื่อ คนใช้บริการ 4 แสนคน),สายสีม่วง (บางซื่อ-เตาปูน ) และแอร์พอร์ตเรลลิงค์ ปัจจุบันมีคนใช้บริการมากกว่า 7.5 หมื่นคน ซึ่งอยู่ระหว่างแก้ปัญหาเพื่อให้ขบวนรถเพียงพอกับความต้องการ ขณะเดียวกันในอนาคต จะมีการทยอยเปิดเส้นทางรถไฟฟ้าสายใหม่ๆอย่างต่อเนื่อง

"จากนี้ไปทุกๆปี จะมีการทยอยเปิดเส้นทางใหม่ ประชาชนออกจากบ้านทุกๆ 1 กิโลเมตร ต้องเจอสถานีรถไฟฟ้า รัฐกำลังเดินหน้าก่อสร้างอีก 173 กิโลเมตร หลายสายเตรียมเปิดให้บริการช่วงปีนี้และปีหน้า" นายชยธรรม์ กล่าว

ส่วนความคืบหน้าเกี่ยวกับระบบขนส่งระหว่างเมือง เพื่อรองรับการเดินทางของประชาชนและอำนวยความสะดวกในแง่การส่งสินค้าในหลายเมือง เช่น เชียงใหม่ ขอนแก่น โคราช และภูเก็ต เป็นต้น ผ่านการพัฒนารถไฟรางคู่ เพื่อแก้ปัญหาความล่าช้าการสับเปลี่ยนรางที่เกิดขึ้นกับรางเดียวในปัจจุบันนั้น ขณะนี้อยู่ระหว่างการก่อสร้างรถไฟรางคู่ ใน 5 เส้นทาง เช่น ช่วงฉะเชิงเทรา-แก่งคอย, จิระ-ขอนแก่น และอยู่กำลังศึกษารูปแบบการดำเนินการอีก 9 เส้นทาง เช่น เส้นทาง นครปฐม หัวหิน เป็นต้น เช่นเดียวกับนโยบายการพัฒนา รถไฟฟ้าความเร็วสูง เพื่อรองรับการเชื่อมต่อกับประเทศเพื่อนบ้าน และการเป็นศูนย์กลางของอาเซียน

แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อมีระบบขนส่งหลายเส้นทางเกิดขึ้น จำเป็นต้องมีศูนย์กลางการเชื่อมต่อ จึงก่อให้เกิดโครงการ สถานีกลางบางซื่อ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการก่อสร้าง คาดปลายปี 2563 จะแล้วเสร็จ ซึ่งจะประกอบไปด้วยอาคาร 3 ชั้น รวม 24 ชานชาลา รองรับการวิ่งเข้ามาของรถไฟฟ้าในเมือง รถไฟเชื่อมระหว่างเมือง และรถไฟฟ้าความเร็วสูง

"แผนนโยบายข้างต้น จะมีสถานีกลางบางซื่อ เป็นศูนย์กลางการเชื่อมต่อทุกระบบขนส่ง ทั้งรถไฟฟ้ากระจายไปในเส้นทางต่างๆของเมือง และจุดตัดรถไฟฟ้าระหว่างเมือง รวมถึงรถไฟฟ้าความเร็วสูงด้วย"

ขณะเดียวกัน สนข. ยังย้ำว่า รัฐยังให้ความสำคัญกับแผนพัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานีกลางบางซื่อ และแต่ละสถานีใหญ่ๆด้วย เพื่อรองรับการใช้ประโยชน์ และไลฟ์ไตล์ของประชาชน ทั้งพื้นที่เชิงพาณิชย์ ที่สำคัญคือการเพิ่มอาคารจอดแล้วจร 11 จุด เส้นทางสกายวอร์ค และไบร์เลน รวมถึงการจัดสรร ปรับเปลี่ยนเส้นทางการเดินรถของรถเมล์ทั่วไป ที่จากอดีตวิ่งออกเมือง ให้วิ่งเข้าสู่ศูนย์กลางเพื่อเป็นตัวเชื่อมต่อการเดินทางของประชาชน รวมถึงเส้นทางลักษณะเฉพาะ เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับเด็ก ผู้สูงอายุ และคนพิการด้วย หวังลดความเลื่อมล้ำที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน

"ภาพที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ต้องไม่เห็นการขับรถมากองกันอยู่บนถนน ประชาชนจะใช้ระบบขนส่งเป็นหลัก ออกจากบ้านขับรถมาจอดในอาคารจอดรถ ก่อนแยกกันไปคนละเส้นทาง" นายชยธรรม์ กล่าว
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 11/03/2019 5:07 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
สนข.ย้ำ! เดินหน้าพัฒนขนส่งทางราง ยึด 'สถานีบางซื่อ' ศูนย์กลางใหญ่
กรุงเทพธุรกิจ 7 มีนาคม 2562


สนข. ย้ำ! เดินหน้าเพิ่มขนส่งทางราง เพิ่มอาคารจอดแล้วจร
7 มีนาคม 2562

สนข. ย้ำ! เดินหน้าพัฒนาระบบขนส่งทางรางครอบคลุมทุกเส้นทาง ภายใต้ยุทธศาตร์ชาติ 20 ปี ยึด "สถานีบางซื่อ" ศูนย์กลางใหญ่ จ่อเพิ่มอาคารจอดแล้วจรหลายจุด เพิ่มประสิทธิภาพ หวังแก้ภาพคนกรุงใช้รถส่วนตัว แก้มลพิษ และความเหลื่อมล้ำ



นายชยธรรม์ พรหมศร รองผู้อำนวยการ สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) กระทรวงคมนาคม กล่าวปาฐกถาพิเศษในหัวข้อ "เชื่อมราง เชื่อมรถ เชื่อมคน ลดเหลื่อมล้ำ เข้าถึงคมนาคมไร้รอยต่อ" ในงานสัมนา "พลิกโฉมไทย เปิดประตูสู่เศรษฐกิจนวัตกรรม" จัดโดย "หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ" เมื่อวันที่ 7 มี.ค. 2562 ณ ห้องแกรนด์บอลรูม โรงแรมอินเตอร์คอนติแนนตัล ว่า ในอดีต ยอมรับประเทศไทยมีความล้มเหลวในเชิงระบบขนส่งสาธารณะ ประชาชนมีข้อจำกัดในการเดินทางอย่างมาก เนื่องจากขนส่งหลัก คือ ระบบรางดั้งเดิม อย่าง "รถไฟ" มีไม่เพียงพอต่อความต้องการ ก่อให้เกิดค่านิยมใช้รถยนต์ส่วนตัว และนำมาซึ่งปัญหาการจราจรแออัด พร้อมกับขนส่งใหม่ ๆ ตามมา ทั้งรถตู้โดยสาร รถร่วมเอกชน หรือแม้แต่มอเตอร์ไซค์รับจ้าง ซึ่งยากต่อการจัดระบบและระเบียบ ทั้งยังมีผลเสียเรื่องมลภาวะ และยังไม่ตรงกับความต้องการแท้จริงของประชาชน ที่อยากมีระบบขนส่งสาธารณะที่สะดวก ตรงเวลา ปลอดภัย และราคาสมเหตุสมผล จนกลายเป็นโจทย์สำคัญของภาครัฐ กำหนดภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี เป้าหมายสูงสุด คือ การพัฒนาระบบขนส่งที่ต้องปลอดภัยและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และคนทุกกลุ่มสามารถใช้ประโยชน์ได้ ผ่านนโยบายต่าง ๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับโครงสร้างพื้นฐาน 3 ส่วน ดังนี้

1) การพัฒนาขนส่งสาธารณะที่ตอบโจทย์การเดินทางในเมือง เพื่อหยุดการใช้รถยนต์ส่วนตัว ผ่านรถไฟฟ้าสายต่าง ๆ มากกว่า 10 สาย

2) การพัฒนาขนส่งสาธารณะสำหรับการเดินทางระหว่างเมือง ผ่านโครงการรถไฟรางคู่

3) การพัฒนาขนส่งสาธารณะสำหรับใช้เชื่อมต่อภูมิภาค ผ่านโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูง


นายชยธรรม์ กล่าวว่า สำหรับความคืบหน้าเกี่ยวกับการพัฒนารถไฟฟ้ารองรับการขนส่งของคนเมืองนั้น ปัจจุบัน มีรถไฟฟ้าเปิดใช้บริการรวมแล้ว 4 สาย 120 กิโลเมตร สายสีเขียว (หมอชิต-แบริ่ง คนใช้บริการ 7 แสนคน), สายสีน้ำเงิน (หัวลำโพง-บางซื่อ คนใช้บริการ 4 แสนคน), สายสีม่วง (บางซื่อ-เตาปูน) และแอร์พอร์ตเรลลิงค์ ปัจจุบัน มีคนใช้บริการมากกว่า 7.5 หมื่นคน ซึ่งอยู่ระหว่างแก้ปัญหาเพื่อให้ขบวนรถเพียงพอกับความต้องการ ขณะเดียวกัน ในอนาคตจะมีการทยอยเปิดเส้นทางรถไฟฟ้าสายใหม่ ๆ อย่างต่อเนื่อง

"จากนี้ไป ทุก ๆ ปี จะมีการทยอยเปิดเส้นทางใหม่ ประชาชนออกจากบ้านทุก ๆ 1 กิโลเมตร ต้องเจอสถานีรถไฟฟ้า รัฐกำลังเดินหน้าก่อสร้างอีก 173 กิโลเมตร หลายสายเตรียมเปิดให้บริการช่วงปีนี้และปีหน้า" นายชยธรรม์ กล่าว

ส่วนความคืบหน้าเกี่ยวกับระบบขนส่งระหว่างเมือง เพื่อรองรับการเดินทางของประชาชนและอำนวยความสะดวกในแง่การส่งสินค้าในหลายเมือง เช่น เชียงใหม่ ขอนแก่น โคราช และภูเก็ต เป็นต้น ผ่านการพัฒนารถไฟรางคู่ เพื่อแก้ปัญหาความล่าช้า การสับเปลี่ยนรางที่เกิดขึ้นกับรางเดียวในปัจจุบันนั้น ขณะนี้อยู่ระหว่างการก่อสร้างรถไฟรางคู่ใน 5 เส้นทาง เช่น ช่วงฉะเชิงเทรา-แก่งคอย, จิระ-ขอนแก่น และอยู่กำลังศึกษารูปแบบการดำเนินการอีก 9 เส้นทาง เช่น เส้นทางนครปฐม หัวหิน เป็นต้น เช่นเดียวกับนโยบายการพัฒนารถไฟฟ้าความเร็วสูง เพื่อรองรับการเชื่อมต่อกับประเทศเพื่อนบ้านและการเป็นศูนย์กลางของอาเซียน

แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อมีระบบขนส่งหลายเส้นทางเกิดขึ้น จำเป็นต้องมีศูนย์กลางการเชื่อมต่อ จึงก่อให้เกิดโครงการ สถานีกลางบางซื่อ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการก่อสร้าง คาดปลายปี 2563 จะแล้วเสร็จ ซึ่งจะประกอบไปด้วย อาคาร 3 ชั้น รวม 24 ชานชาลา รองรับการวิ่งเข้ามาของรถไฟฟ้าในเมือง รถไฟเชื่อมระหว่างเมือง และรถไฟฟ้าความเร็วสูง

"แผนนโยบายข้างต้นจะมีสถานีกลางบางซื่อเป็นศูนย์กลางการเชื่อมต่อทุกระบบขนส่ง ทั้งรถไฟฟ้ากระจายไปในเส้นทางต่าง ๆ ของเมือง และจุดตัดรถไฟฟ้าระหว่างเมือง รวมถึงรถไฟฟ้าความเร็วสูงด้วย"

ขณะเดียวกัน สนข. ยังย้ำว่า รัฐยังให้ความสำคัญกับแผนพัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานีกลางบางซื่อ และแต่ละสถานีใหญ่ ๆ ด้วย เพื่อรองรับการใช้ประโยชน์และไลฟ์ไตล์ของประชาชน ทั้งพื้นที่เชิงพาณิชย์ ที่สำคัญ คือ การเพิ่มอาคารจอดแล้วจร 11 จุด เส้นทางสกายวอร์ค และไบค์เลน รวมถึงการจัดสรรปรับเปลี่ยนเส้นทางการเดินรถของรถเมล์ทั่วไป ที่จากอดีตวิ่งออกเมือง ให้วิ่งเข้าสู่ศูนย์กลาง เพื่อเป็นตัวเชื่อมต่อการเดินทางของประชาชน รวมถึงเส้นทางลักษณะเฉพาะ เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับเด็ก ผู้สูงอายุ และคนพิการด้วย หวังลดความเหลื่อมล้ำที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน

"ภาพที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ต้องไม่เห็นการขับรถมากองกันอยู่บนถนน ประชาชนจะใช้ระบบขนส่งเป็นหลัก ออกจากบ้าน ขับรถมาจอดในอาคารจอดรถ ก่อนแยกกันไปคนละเส้นทาง" นายชยธรรม์ กล่าว
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 11/03/2019 5:08 pm    Post subject: Reply with quote

'สามารถ' ลั่น ปชป. เดินหน้าสร้าง "รถไฟฟ้า" ทั่วกรุงให้เสร็จภายใน 5 ปี
7 มีนาคม 2562

วันที่ 7 มี.ค. 2562 "ฐานเศรษฐกิจ" จัดสัมมนา เรื่อง "พลิกโฉมไทย เปิดประตูสู่เศรษฐกิจนวัตกรรม" ณ ห้องแกรนด์บอลรูม โรงแรมอินเตอร์คอนติเนนตัลกรุงเทพ โดยในหัวข้อ "โฉมหน้า Smart Mobility ประเทศไทยยุคใหม่ หลังเลือกตั้ง"



ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์ อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ประเทศไทยมีทำเลและยุทธศาสตร์ที่สามารถเป็นศูนย์กลางขนส่งของภูมิภาคได้ ถึงเวลาแล้วที่ประเทศเราจะได้มีระบบขนส่งที่มีประสิทธิภาพ เพื่อเสริมสร้างกลไกการแข่งขันของประเทศ เริ่มตั้งแต่ระบบโลจิสติกส์ จะช่วยการลดมลภาวะ ลดก๊าซเรือนกระจก พรรคฯ จึงมีนโยบายจะสร้างระบบขนส่ง ดังนี้

เริ่มจาก กทม. และปริมณฑล จะเดินหน้าสร้างรถไฟฟ้าตามแผนแม่บทต่อไป พร้อมทั้งยกระดับคุณภาพรถเมล์และรถสาธารณะ จะเห็นได้ว่า รถไฟฟ้าใน กทม. มีความยาว 520 กม. เปิดบริการแล้ว 120 กม. กำลังก่อสร้าง 175 กม. เหลืออีก 225 กม. เราจะเร่งรัดการก่อสร้างให้แล้วเสร็จภายใน 5 ปี ๆ ละ 45 กม.

ค่าโดยสารรถไฟฟ้าที่เป็นภาระของประชาชน พรรคมีนโยบายลดราคารถไฟฟ้า โดยจะลดในเส้นทางที่รัฐบาลลงทุนเอง 100% เช่น , เส้นทางจากบางใหญ่-เตาปูน จาก 42 บาท เหลือ 15 บาท หรือ จากบางใหญ่-หัวลำโพง ค่าโดยสารเหลือ 43 บาท จาก 70 บาท

ต้องปรับปรุงรถเมล์ที่มีประสิทธิภาพ เนื่องจากรถไฟฟ้ากับรถเมล์ต้องพึ่งพากัน พรรคประชาธิปัตย์จะจัดหารถเมล์ไฟฟ้า 5,000 คัน มาบริการ พร้อมกับจัดหาเส้นทางรถเมล์ใหม่ให้สอดรับกับเส้นทางรถไฟฟ้า และลดราคารถไฟฟ้าให้เหมาะสม จะส่งผลให้ลดการใช้รถส่วนตัวลงและลดมลพิษลง โดยเฉพาะ PM 2.5 และลดการใช้พลังงานเชื้อเพลิง




สนับสนุนให้เดินทางโดยระบบ "คาร์พูล" ภายใต้หลักการ "ทางเดียวกันไปคันเดียวกัน" จะช่วยลดปัญหารถติด โดยเจ้าของรถจะเสนอเส้นทาง-วัน-เวลา-ราคาค่าโดยสาร และเงื่อนไขอื่น ๆ เช่น ห้ามรับประทานอาหารบนรถ ห้ามสูบบุหรี่ เป็นต้น โดยผ่านแอพพลิเคชัน

ในขณะที่ ผู้ร่วมเดินทางจะค้นหาผู้ขับรถที่จะเดินในเส้นทางเดียวกัน โดยผ่านแอพเช่นกัน นอกจากนั้น ระบบคาร์พูลยังใช้ร่วมกับรถขนส่งสินค้าได้

ขณะที่ การเดินทางระหว่าง กทม. ไปต่างจังหวัด เวลานี้เมืองไทยมีรถไฟยาว 4,000 กิโลเมตร กำลังก่อสร้าง 1,000 กิโลเมตร เหลือทางเดี่ยวประมาณ 2,600 กิโลเมตร จะต้องสร้างทางเดี่ยวเป็นทางคู่และทางคู่เส้นทางใหม่รวมกัน จะได้ 5,600 กิโลเมตร ให้แล้วเสร็จภายใน 10 ปี

ส่วนรถไฟทางคู่ พรรคฯ จะเร่งรัดการก่อสร้างในระเบียงตะวันตก-ตะวันออก ประกอบด้วย 2 เส้นทาง คือ จากแม่สอดไปปากน้ำโพ จนถึงนครพนม ระยะทาง 910 กม. เป็นการเชื่อมภาคเหนือตอนล่างกับภาคอีสานเชื่อมโยงไปถึงประเทศเมียนมาและลาว โดยไม่ต้องแวะผ่าน กทม. อีกเส้นทางเป็นการเชื่อมระหว่างทวาย-อรัญประเทศ ระยะทาง 625 กม. เป็นการเชื่อมโยงท่าเรือน้ำลึกของไทยและทวาย โดยผ่านเมืองต่าง ๆ ของประเทศ จะทำให้ค่าบริการถูกลง จะส่งผลดี คือ การลดพลังงงานเชื้อเพลิงและมลพิษ

รถไฟความเร็วสูง พรรคประชาธิปัตย์เคยเจรจากับจีนในการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง 5 เส้นทาง 1) กทม.-เชียงใหม่, 2) กทม.-หนองคาย 3) กทม.-อุบลฯ 4) กทม.-ระยอง, 5) กทม.-ปะดังเบซา เป็นระยะทางกว่า 3,000 กม.

จากการที่ได้หารือกับจีนได้พูดถึงการร่วมทุนไทย-จีน พรรคประชาธิปัตย์จะเดินหน้าสร้างรถไฟความเร็วสูง กทม.-หนองคาย โดยจะก่อสร้างจากเวียงจันทร์เข้านครราชสีมาเป็นอันดับแรก ระยะทาง 360 กม. เป็นการขยายเส้นทางรถไฟความเร็วสูงจีน-ลาว เข้าสู่ไทย เพื่อเชื่อมโยงไทย-ลาว สู่จีน

การก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงจากเวียงจันทร์ไปนครราชสีมา หนองคาย-อุดรฯ-ขอนแก่น มาประจบกับรถไฟความเร็วสูงจาก กทม. ไปนครราชสีมา ที่รัฐบาลกำลังก่อสร้าง

รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน เป็นส่วนหนึ่งของรถไฟความเร็วสูง กทม.-ระยอง ซึ่งอยู่ตามแผนแม่บท พรรคประชาธิปัตย์จะสานต่อโครงการนี้ เพราะเล็งเห็นว่า ไม่กระจุกตัวในสนามบินสุวรรณภูมิเท่านั้น แต่จะกระจายตัวไปสนามบินดอนเมืองและอู่ตะเภา ดังนั้น การก่อสร้างเทอร์มินอลจึงไม่ต้องก่อสร้าง 3 เทอร์มินอลในสนามบินสุวรรณภูมิ แค่ 2 เทอร์มินอล ก็เพียงพอแล้ว เพราะสามารถรับรองผู้โดยสาร 120 ล้านคนต่อปี

ในการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน จะเกิดมูลค่าที่ดินรอบ ๆ ไม่ว่าจะเป็น เมืองใหม่ ศูนย์ราชการ มหาวิทยาลัย และแหล่งท่องเที่ยวต่าง ๆ ซึ่งจะเกิดการสร้างแรงงานสร้างรายได้เกิดขึ้น โดยสรุป หลังจากมีการสร้างรถไฟความเร็วสูงจากลาวมาไทยเรียบร้อยแล้ว ถ้าการร่วมทุนกับจีน ทางจีนจะทำทุกวิถีทางไม่ให้ขาดทุน โดยการใช้กลยุทธ์ทางตลาด แจกคูปองให้ชาวจีนคนละ 1,000 หยวน เพื่อเดินทางไทย โดยใช้รถไฟความเร็วสูงจีนลาวไทยแทนเครื่องบิน ถ้าเดินทางมาวันละ 5,000 คน ปีละ 2 ล้านคน จะมีการใช้จ่ายเงินไทยปีละ 5 หมื่นบาท มีเงินหมุนเวียนในประเทศ 1 แสนล้านบาท


ส่วนมอเตอร์เวย์ ประชาธิปัตย์ทำแผนแม่บทและก่อสร้างเส้นทางแรกในประเทศไทย คือกรุงเทพชลบุรี พรรคประชาธิปัตย์จะก่อสร้างต่อไป โดยจะเร่งรัด 2 เส้นทางคือ แม่สาย-เชียงของ-บางปะอินและสุไหโกลก-นครปฐม

นอกจากนั้น ยังมีเมืองเศรษฐกิจมหานครสร้างเป็นการรองรับและกระจายความเจริญจาก กทม. ไปภูมิภาค พรรรคประชาธิปัตย์จะกระจายความเจริญไปยัง 12 เมืองเศรษฐกิจมหานคร อาทิ เชียงใหม่ พิษณุโลก ขอนแก่น นครราชสีมา อุบลฯ สงขลา ภูเก็ต ระยอง ชลบุรี สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช เป็นต้น โดยจะพัฒนาเมืองเหล่านี้ รวมทั้งด้านคมนาคมขนส่งให้ครบทุกเมือง
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 11/03/2019 5:09 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
Mongwin wrote:
สนข.ย้ำ! เดินหน้าพัฒนขนส่งทางราง ยึด 'สถานีบางซื่อ' ศูนย์กลางใหญ่
กรุงเทพธุรกิจ 7 มีนาคม 2562


สนข. ย้ำ! เดินหน้าเพิ่มขนส่งทางราง เพิ่มอาคารจอดแล้วจร
7 มีนาคม 2562


สนข.ย้ำ! รถไฟฟ้า 4 สาย 120กม. ยอดใช้บริการทะลัก 1.2ล้านคน
09 มีนาคม 2562

สนข.ย้ำ รถไฟฟ้า 4สายเปิดให้บริการปัจจุบัน มียอดคนใช้บริการพุ่ง 1.2ล้านคน เร่งเต็มสูบ หากขบวนรถเพิ่ม –อยู่ระหว่างดำเนินการเส้นทางใหม่ เพิ่ม อีก 173กิโลเมตรครอบคลุมโครงข่ายทั่วกทม.-ปริมณฑล ด้านบีทีเอส ซื้อขบวนรถเพิ่ม

นายชยธรรม์ พรหมศร รองผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.)กล่าวถึงความคืบหน้าเกี่ยวกับการพัฒนารถไฟฟ้ารองรับการขนส่งของคนเมืองนั้น ปัจจุบันมีรถไฟฟ้าเปิดใช้บริการรวมแล้ว 4 สาย 120 กิโลเมตร สายสีเขียว (หมอชิต-แบริ่ง คนใช้บริการ 7แสนคน),สานยสีน้ำเงิน (หัวลำโพง -บางซื่อ คนใช้บริการ 4แสนคน),สายสีม่วง (บางซื่อ-เตาปูน ) และแอร์พอร์ตเรลลิงค์ ปัจจุบันมีคนใช้บริการมากกว่า 7.5 หมื่นคนรวม 1,175,000 คนซึ่งอยู่ระหว่างแก้ปัญหาเพื่อให้ขบวนรถเพียงพอกับความต้องการ ขณะเดียวกันในอนาคต จะมีการทยอยเปิดเส้นทางรถไฟฟ้าสายใหม่ๆอย่างต่อเนื่อง

จากนี้ไปทุกๆปี จะมีการทยอยเปิดเส้นทางใหม่ ประชาชนออกจากบ้านทุกๆ 1 กิโลเมตร ต้องเจอสถานีรถไฟฟ้า รัฐกำลังเดินหน้าก่อสร้างอีก 173 กิโลเมตร หลายสายเตรียมเปิดให้บริการช่วงปีนี้และปีหน้า " นายชยธรรม์ กล่าว

ขณะการรายจาก บมจ.บีทีเอสกรุ๊ป โฮลดิ้งส์ หรือ BTS ผู้ให้บริการเดินรถไฟฟ้าบีทีเอส กรุงเทพมหานครเตรียมประกาศใช้โครงสร้างราคาใหม่ วันที่ 16เมษายน 2562 ในส่วนของรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายสายสีเขียวช่วงอ่อนนุช-แบริ่ง-สมุทรปราการและช่วงวงเวียนใหญ่-บางหว้า โดยจะปรับขึ้นสถานีละ 1บาท ส่งผลให้ค่าโดยสาร ตามระยะทาง ขยับเป็น 15-21 บาทจากเดิม 15บาท ตลอดเส้นทาง

อย่างไรก็ตาม โครงสร้างการปรับค่าโดยสารดังกล่าว เป็น โครงสร้างชั่วคราว ก่อนที่จะให้เอกชน สัมปทานเดินรถ ทั้งเส้น ทางของรถไฟฟ้าสายสีเขียว ในรูปแบบเอกชนร่วมลงทุนรัฐ (PPP) โดยล่าสุด กทม.อยู่ระหว่างกำหนดกรอบเงื่อนไขการประมูลและหากมีเอกชนเดินรถตลอดสาย จะมีอัตราค่าโดยสารเริ่มต้นที่ 15-65บาท โดยเส้นทางBTS ช่วงหมอชิต-อ่อนนุช /หมอชิต-สะพานตากสินที่เปิดให้บริการเดินรถปัจจุบัน ราคาจะอยู่ที่ 16-44บาท

ส่วนการเพิ่มขบวนรถ นายสุรพงษ์ เอาหะอัญญา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัทระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพจำกัด(มหาชน) BTSC ระบุว่า บริษัทได้สั่งซื้อขบวนรถไฟฟ้าเพิ่ม จากบริษัท ซีอาร์ซี ฉางชุน เรลเวย์ เวฮิเคิล จำกัด สาธารณรัฐประชาชนจีน จำนวน 24 ขบวน โดยถูกลำเลียงถึงประเทศไทย เป็นขบวนแรก ที่ท่าเรือแหลมฉบัง จังหวัดชลบุรี คาดว่าจะส่งมอบให้ครบทั้ง24ขบวนภายในปี 2563

โดยจะนำขบวนรถรุ่นใหม่มาทดสอบความพร้อม ภายใน 2เดือน ก่อนนำมาให้บริการเพิ่ม ในเส้นทาง แบริ่ง-สมุทรปราการ รวมทั้ง เส้นทางจาก หมอชิตไปยัง สถานีห้าแยกลาดพร้าวที่จะเปิดเดินรถ ในเดือนสิงหาคม 2562
สนข.ย้ำ! รถไฟฟ้า 4 สาย 120กม. ยอดใช้บริการทะลัก 1.2ล้านคน
09 Mar 2019
อ่าน 893 ครั้ง
Facebook Google Twitter

สนข.ย้ำ รถไฟฟ้า 4สายเปิดให้บริการปัจจุบัน มียอดคนใช้บริการพุ่ง 1.2ล้านคน เร่งเต็มสูบ หากขบวนรถเพิ่ม –อยู่ระหว่างดำเนินการเส้นทางใหม่ เพิ่ม อีก 173กิโลเมตรครอบคลุมโครงข่ายทั่วกทม.-ปริมณฑล ด้านบีทีเอส ซื้อขบวนรถเพิ่ม

นายชยธรรม์ พรหมศร รองผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.)กล่าวถึงความคืบหน้าเกี่ยวกับการพัฒนารถไฟฟ้ารองรับการขนส่งของคนเมืองนั้น ปัจจุบันมีรถไฟฟ้าเปิดใช้บริการรวมแล้ว 4 สาย 120 กิโลเมตร สายสีเขียว (หมอชิต-แบริ่ง คนใช้บริการ 7แสนคน),สานยสีน้ำเงิน (หัวลำโพง -บางซื่อ คนใช้บริการ 4แสนคน),สายสีม่วง (บางซื่อ-เตาปูน ) และแอร์พอร์ตเรลลิงค์ ปัจจุบันมีคนใช้บริการมากกว่า 7.5 หมื่นคนรวม 1,175,000 คนซึ่งอยู่ระหว่างแก้ปัญหาเพื่อให้ขบวนรถเพียงพอกับความต้องการ ขณะเดียวกันในอนาคต จะมีการทยอยเปิดเส้นทางรถไฟฟ้าสายใหม่ๆอย่างต่อเนื่อง

จากนี้ไปทุกๆปี จะมีการทยอยเปิดเส้นทางใหม่ ประชาชนออกจากบ้านทุกๆ 1 กิโลเมตร ต้องเจอสถานีรถไฟฟ้า รัฐกำลังเดินหน้าก่อสร้างอีก 173 กิโลเมตร หลายสายเตรียมเปิดให้บริการช่วงปีนี้และปีหน้า " นายชยธรรม์ กล่าว

ขณะการรายจาก บมจ.บีทีเอสกรุ๊ป โฮลดิ้งส์ หรือ BTS ผู้ให้บริการเดินรถไฟฟ้าบีทีเอส กรุงเทพมหานครเตรียมประกาศใช้โครงสร้างราคาใหม่ วันที่ 16เมษายน 2562 ในส่วนของรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายสายสีเขียวช่วงอ่อนนุช-แบริ่ง-สมุทรปราการและช่วงวงเวียนใหญ่-บางหว้า โดยจะปรับขึ้นสถานีละ 1บาท ส่งผลให้ค่าโดยสาร ตามระยะทาง ขยับเป็น 15-21 บาทจากเดิม 15บาท ตลอดเส้นทาง

อย่างไรก็ตาม โครงสร้างการปรับค่าโดยสารดังกล่าว เป็น โครงสร้างชั่วคราว ก่อนที่จะให้เอกชน สัมปทานเดินรถ ทั้งเส้น ทางของรถไฟฟ้าสายสีเขียว ในรูปแบบเอกชนร่วมลงทุนรัฐ (PPP) โดยล่าสุด กทม.อยู่ระหว่างกำหนดกรอบเงื่อนไขการประมูลและหากมีเอกชนเดินรถตลอดสาย จะมีอัตราค่าโดยสารเริ่มต้นที่ 15-65บาท โดยเส้นทางBTS ช่วงหมอชิต-อ่อนนุช /หมอชิต-สะพานตากสินที่เปิดให้บริการเดินรถปัจจุบัน ราคาจะอยู่ที่ 16-44บาท

ส่วนการเพิ่มขบวนรถ นายสุรพงษ์ เอาหะอัญญา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัทระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพจำกัด(มหาชน) BTSC ระบุว่า บริษัทได้สั่งซื้อขบวนรถไฟฟ้าเพิ่ม จากบริษัท ซีอาร์ซี ฉางชุน เรลเวย์ เวฮิเคิล จำกัด สาธารณรัฐประชาชนจีน จำนวน 24 ขบวน โดยถูกลำเลียงถึงประเทศไทย เป็นขบวนแรก ที่ท่าเรือแหลมฉบัง จังหวัดชลบุรี คาดว่าจะส่งมอบให้ครบทั้ง24ขบวนภายในปี 2563

โดยจะนำขบวนรถรุ่นใหม่มาทดสอบความพร้อม ภายใน 2เดือน ก่อนนำมาให้บริการเพิ่ม ในเส้นทาง แบริ่ง-สมุทรปราการ รวมทั้ง เส้นทางจาก หมอชิตไปยัง สถานีห้าแยกลาดพร้าวที่จะเปิดเดินรถ ในเดือนสิงหาคม 2562
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 11/03/2019 9:10 pm    Post subject: Reply with quote

นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม พร้อมด้วย นายพิศักดิ์ จิตวิริยะวศิน อธิบดีกรมทางหลวงชนบท รักษาราชการแทนรองปลัดกระทรวงคมนาคม ตรวจราชการและติดตามการดำเนินงานของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2562 เวลา 14.30 น. ณ ห้องประชุม รฟม. โดยมี นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการ รฟม. และผู้บริหาร ให้การต้อนรับ
นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ได้ติดตามการดำเนินโครงการรถไฟฟ้าในความรับผิดชอบของ รฟม. ที่อยู่ระหว่างดำเนินการ ประกอบด้วย
1.โครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล (สายสีน้ำเงิน) ส่วนต่อขยาย ปัจจุบันอยู่ระหว่างทดสอบระบบและเร่งรัดการผลิตขบวนรถไฟฟ้าให้เป็นไปตามแผน โดยช่วงสถานีหัวลำโพง - หลักสอง กำหนดเปิดให้บริการ เดือนกันยายน 2562, สถานีเตาปูน – ท่าพระ กำหนดเปิดให้บริการ เดือนมีนาคม 2563

2.โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวเหนือ ปัจจุบัน รฟม. และ กทม. ได้ลงนามบันทึกข้อตกลงว่าด้วยการจำหน่ายทรัพย์สินและโอนภาระทางการเงิน โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงแบริ่ง – สมุทรปราการ และช่วงหมอชิต – สะพานใหม่ – คูคต ให้ กทม. เรียบร้อยแล้ว และมีกำหนดเปิดให้บริการสถานีห้าแยกลาดพร้าว ภายในปี 2562, สถานีพหลโยธิน 24 สถานีรัชโยธิน สถานีเสนานิคม สถานี ม.เกษตรศาสตร์ ภายในปี 2563, สถานีกรมป่าไม้ สถานีคูคต ภายในปี 2564

3.โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันออก (ศูนย์วัฒนธรรมฯ – มีนบุรี) ปัจจุบันอยู่ระหว่างดำเนินการก่อสร้างสัญญาที่ 1-5 โดยมีกำหนดเปิดให้บริการเดือนกุมภาพันธ์ 2566

4.โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง (ลาดพร้าว – สำโรง) ปัจจุบันอยู่ระหว่างก่อสร้างงานในระยะที่ 1 โดยมีกำหนดเปิดให้บริการเดือนตุลาคม 2564 สำหรับส่วนต่อขยายช่วงแยกรัชดา/ลาดพร้าว – แยกรัชโยธิน อยู่ระหว่างเจรจาแก้ไขสัญญากับผู้รับสัมปทาน

5.โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู (แคราย - มีนบุรี) ปัจจุบันอยู่ระว่างก่อสร้างงานในระยะที่ 1 โดยมีกำหนดเปิดให้บริการเดือนตุลาคม 2564 สำหรับส่วนต่อขยายช่วงศรีรัช – เมืองทองธานี อยู่ระหว่างเจรจาแก้ไขสัญญากับผู้รับสัมปทาน

6. โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ (เตาปูน - ราษฎร์บูรณะ) อยู่ระหว่างเตรียมการก่อสร้าง มีกำหนดเริ่มการก่อสร้างเดือนธันวาคม 2562

7. โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันตก (บางขุนนนท์ – ศูนย์วัฒนธรรมฯ) ระหว่างเตรียมการก่อสร้าง มีกำหนดเริ่มการก่อสร้างเดือนมีนาคม 2563

8.โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล (แคราย – ลำสาลี) ปัจจุบันอยู่ระหว่างศึกษาออกแบบ มีกำหนดเปิดให้บริการเดือนกรกฎาคม 2568

9.โครงการรถไฟฟ้าในเมืองภูมิภาค ประกอบด้วย

9.1ระบบขนส่งมวลชนจังหวัดภูเก็ต (ท่าอากาศยานภูเก็ต – ห้าแยกฉลอง) อยู่ระหว่างจัดทำรายงาน PPP มีกำหนดเปิดให้บริการปี 2566

9.2ระบบขนส่งมวลชนจังหวัดเชียงใหม่ สายสีแดง ปัจจุบัน รฟม. ได้ลงนามจ้างที่ปรึกษาศึกษา FS + EIA มีกำหนดเปิดให้บริการปี 2570

9.3ระบบขนส่งมวลชนจังหวัดนครราชสีมา สายสีเขียว ปัจจุบันอยู่ระหว่างคัดเลือกที่ปรึกษาศึกษา FS + EIA มีกำหนดเปิดให้บริการปี 2567

9.4ระบบขนส่งมวลชนจังหวัดพิษณุโลก สายสีแดง ปัจจุบันอยู่ระหว่างกำหนดแผนงาน คัดเลือกที่ปรึกษาศึกษา FS + EIA กำหนดเปิดให้บริการปี 2569
นอกจากนี้รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ยังได้ติดตามสถิติผู้โดยสารในโครงข่ายรถไฟฟ้า และรายงานการเบิกจ่ายงบประมาณประจำปี 2562 ของ รฟม. พร้อมทั้งให้กำลังใจเจ้าหน้าที่ในการดำเนินการตามแผนงานโครงการให้แล้วเสร็จตามที่กำหนด เพื่อให้โครงข่ายรถไฟฟ้าครอบคลุมพื้นที่กรุงเทพมหานครและเมืองหลักของประเทศ

Cr: ข่าวและภาพกิจกรรมกระทรวงคมนาคม
https://www.facebook.com/ake.bluechifamily/posts/2198569816856618
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 12/03/2019 7:00 pm    Post subject: Reply with quote

“ไพรินทร์” เปิดไทม์ไลน์รถไฟฟ้า เม.ย.ทดลองเดินรถสีน้ำเงิน”หัวลำโพง-ท่าพระ” ดีเดย์ ก.ค.เปิดนั่งฟรี!
พร็อพเพอร์ตี้
วันที่ 11 มีนาคม 2562 - 20:35 น.

รมช.คมนาคมเผยลงพื้นที่เร่งรัดโครงการรถไฟฟ้า คาดส่วนต่อขยายสีน้ำเงิน”หัวลำโพง-ท่าพระ” ทดลองเดินรถเมษาฯนี้ เดือนก.ค.เปิดให้ประชาชนนั่งฟรี ก่อนเปิดเต็มรูปแบบเดือนก.ย. ระบุสายสีส้ม-ชมพู-เหลือง คืบหน้าแล้วกว่า25%

นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า การตรวจเยี่ยมการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่ประเทศไทย (รฟม.) เป็นการเร่งรัดการดำเนินการโครงการรถไฟฟ้าสายสำคัญของรฟม.

โดยส่วนต่อขยายสายสีน้ำเงิน ช่วงหัวลำโพง – หลักสอง และช่วงบางซื่อ – ท่าพระ ระยะทางรวม 27 กม. ในช่วงหัวลำโพง – หลักสอง จะมีทดลองเดินรถเสมือนจริงในเดือน เม.ย.นี้ หลังจากนั้นประมาณเดือน ก.ค. จะเปิดให้ประชาชนใช้บริการโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย จะคล้ายๆ กับช่วงที่เปิดให้ประชาชนโดยสารสายสีม่วงเป็นรอบๆ เพื่อจูนระบบก่อนเป็นเวลา 2 เดือน

และในเดือน ก.ย.จะเปิดให้บริการเต็มรูปแบบและเริ่มเก็บค่าโดยสาร ซึ่งมีอัตราค่าโดยสารอยู่ที่ 16-42 บาท และหากนั่งจากสายสีม่วงค่าโดยสารสูงสุดก็ยังอยู่ที่ 70 บาท

คาดการณ์ผู้โดยสารในช่วงแรกอยู่ที่ 200,000 คน/วัน เฉพาะในส่วนต่อขยายนี้ จะทำให้ยอดผู้โดยสารเฉลี่ยเพิ่มขึ้นจาก 360,000 คน/วัน เป็น 400,000 คน/วัน และหากรวมกับสายสีน้ำเงินเดิมช่วงหัวลำโพง – บางซื่อ และส่วนต่อขยายบางซื่อ – ท่าพระ ยอดผู้โดยสารน่าจะเพิ่มสูงขึ้นเป็น 700,000 คน/วัน และส่งผลให้ยอดผู้โดยสารรถไฟฟ้าสายสีม่วงเพิ่มขึ้นเป็น 100,000 คน/วันได้ โดยส่วนต่อขยายช่วงบางซื่อ – ท่าพระ เบื้องต้นวางไว้ว่าจะเปิดให้ประชาชนโดยสารฟรีในช่วงเดือน ม.ค. 2563 และจะเปิดเต็มรูปแบบในเดือน มี.ค.ตามลำดับ

@ต่อขยายไปสาย 4 รอผู้โดยสารแตะล้าน

นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่า รฟม.กล่าวว่า ความคืบหน้ารถไฟฟ้าส่วนต่อขยายสายสีน้ำเงิน ช่วงบางแค – พุทธมณฑลสาย 4 ระยะทาง 8 กม. เบื้องต้นระดับนโยบายต้องการเห็นยอดผู้ใช้บริการสายสีน้ำเงินทั้ง 3 ช่วงก่อน

โดยคาดการณ์จำนวนผู้โดยสารจะต้องอยู่ที่ 800,000 คน/วันก่อน หลังจากนั้นจะต้องมีอัตราเร่งให้ผู้โดยสารของสายนี้แตะ 1 ล้านคน/วันให้ได้ก่อน จึงจะพิจารณาเจรจากับผู้รับสัมปทานคือ บมจ.ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ (BEM) ให้ดำเนินการก่อสร้างต่อไป

@ทับซ้อนอุโมงค์แยกไฟฉายไร้ปัญหา

สำหรับปัญหาโครงสร้างรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินช่วงบางซื่อ – ท่าพระ ทับซ้อนกับโครงการทางลอดจรัญสนิทวงศ์-พรานนก บริเวณแยกไฟฉาย ระยะทาง 600 เมตร ของกรุงเทพมหานคร (กทม.)

ตอนนี้ได้รับมอบพื้นที่ทั้งหมดแล้ว และเดินหน้าก่อสร้างต่อ เพราะกำแพงทางลอดดังกล่าว รฟม.ลงเสารูปตัวยูคว่ำแทรกลงไปแล้ว ระยะห่างของเสาประมาณ 35 เมตร ในลักษณะโครงสร้างร่วมและทำทางวิ่งเรียบร้อย โดย รฟม. ได้ออกค่าก่อสร้างดังกล่าวทั้งหมดประมาณ 200 ล้านบาท จึงไม่มีผลกระทบกับการก่อสร้างอีกแล้ว

@ส้ม-ชมพู-เหลืองคืบ 20-25%

นายภคพงศ์กล่าวต่อว่า สำหรับความคืบหน้ารถไฟฟ้า 3 สายที่กำลังก่อสร้าง ในส่วนสายสีชมพู ช่วงแคราย – มีนบุรี ระยะทาง 34.5 กม. กับรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง ระยะทาง 30.4 กม. มีความคืบหน้าการก่อสร้างอยู่ที่ 20% ช้ากว่าแผนอยู่ 4% สายสีส้มตะวันออก ช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ระยะทาง 21.2 กม. มีความคืบหน้าอยู่ที่ 25%

@ส้มตกเข้า ครม.กลาง มี.ค.นี้

ความคืบหน้าสายสีส้มตะวันตก ช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ-บางขุนนนท์ ระยะทาง 13.4 กม. เงินลงทุน 120,459 ล้านบาท อยู่ระหว่างรอสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) เสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติ คาดว่าจะเสนอได้กลางเดือน มี.ค.นี้

หลังจากนั้นจะส่งกลับมาที่บอร์ด รฟม.พิจารณาตั้งคณะกรรมการคักเลือกเอกชนตามมาตรา 35 แห่ง พ.ร.บ.ร่วมทุน 2556 เพื่อร่างประกาศ TOR และเสนอ ครม.ให้ความเห็นชอบ คาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 2-3 เดือน หรือภายในเดือน พ.ค. และจะประกาศเชิญชวนได้ในเดือน มิ.ย. จากนั้นจะใช้เวลาคัดเลือกและเจรจาประมาณ 7-8 เดือน จึงจะได้ตัวเอกชนผู้ร่วมลงทุนต่อไป

@ส่อเลื่อนเปิด 1 สถานีเขียวเหนือ ปลายปี

ผู้ว่ารฟม.กล่าวต่อว่า ขณะที่รถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงหมอชิต-คูคต ที่จะเปิดสถานีห้าแยกลาดพร้าวก่อน 1 สถานี ขณะนี้ติดตั้งงานระบบเรียบร้อยแล้ว ตามกำหนดจะพยายามเร่งรัดให้เปิดบริการภายในสิ้นปีนี้ เพราะยังมีเรื่องของงานระบบไฟฟ้าที่ยังไม่แล้วเสร็จสมบูรณ์ จากนั้นเปิดสถานีพหลโยธิน 24 สถานีรัชโยธิน สถานีเสนานิคม สถานี ม.เกษตรศาสตร์ ภายในปี 2563 และสถานีกรมป่าไม้ สถานีคูคต ภายในปี 2564

ขณะที่รถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล ช่วงแคราย – ลำสาลี (บึงกุ่ม) ระยะทาง 22.1 กม. ในช่วงพื้นที่ทับซ้อนกับโครงการทางด่วนสายเหนือขั้นที่ 3 สายเหนือตอน N2 ช่วงวงแหวนตะวันออก-เกษตรฯ เป็นระยะทาง 5.7 กม. ที่มีการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) เป็นเจ้าของโครงการ เบื้องต้น หารือกันแล้วว่าจะให้ กทพ. รับภาระก่อสร้างในส่วนโครงสร้างร่วมไปก่อน เมื่อ รฟม.ได้ตัวผู้รับสัมปทานแล้ว ก็จะให้มาจ่ายเงินส่วนนี้กลับคืนไปให้ กทพ.ในภายหลัง

ส่วนการออกแบบโครงการยังมีเวลาทำงานอยู่ 6 เดือน เมื่อออกแบบเสร็จแล้วจะต้องเสนอ ครม.เห็นชอบ เพราะตัวฐานรากที่ใช้เป็นโครงสร้างร่วม จะมีมูลค่าประมาณ 1,000 ล้านบาท ซึ่งตาม พ.ร.บ. รฟม. 2543 ระบุให้นำโครงการที่มีมูลค่าเกิน 500 ล้านบาท จะต้องเสนอให้ ครม.อนุมัติก่อน

หลังจากนั้นจะจ้างที่ปรึกษา เพื่อศึกษารูปแบบ PPP ภายในปีนี้ จะใช้เวลาศึกษาประมาณ 2 ปี คาดว่าจะเสนอ ครม.ได้ประมาณ ก.พ. 2564
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44638
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 21/03/2019 8:41 am    Post subject: Reply with quote

พล.อ.ประยุทธ์ชี้คสช.คืนชีพระบบราง'รถไฟฟ้า-ไฮสปีด' เกิดในยุคนี้
ไทยโพสต์ 21 มีนาคม พ.ศ. 2562 เวลา 08:13 น.

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เปิดเผยถึงตรวจเยี่ยมสถานีกลางบางซื่อว่าอนาคตพื้นที่สถานีกลางบางซื่อจะเป็นจุดเชื่อมต่อรถไฟไปหมายเส้นทาง และเชื่อมโยงไปยังภูมิภาคอาเซียนถือเป็นการยกระดับการเดินทางของประชาชน ยืนยันด้วยว่าการพัฒนาพื้นที่ไม่ได้ยกให้เอกชนทั้งหมด อีกทั้งบริเวณนี้จะมีการพัฒนาเป็นพื้นที่สีเขียวให้เป็นปอดของกรุงเทพ เพื่อให้ประชาชนได้ใช้พักผ่อน จึงอยากให้ร่วมกันสร้างประวัติ ศาสตร์ของการรถไฟไทย พร้อมขอสื่อมวลชนให้เผยแพร่ข่าวในเรื่องนี้ให้ดี

“รัฐบาลชุดนี้ได้เข้ามาเร่งงานระบบราง ทั้งรถไฟฟ้า รถไฟความเร็วสูงและสถานีกลาง ล้วนเกิดขึ้นจากยุคนี้ทั้งนั้น”พล.อ.ประยุทธ์กล่าว

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คมนาคม เปิดเผยว่านายกรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้เดินทางมาติดตามตรวจเยี่ยมโครงการก่อสร้างสถานีกลางบางซื่อ โดยกระทรวงคมนาคมได้รายงานความคืบหน้าแผนพัฒนาว่าจะเปิดใช้สถานีแห่งนี้ในปี 2564 รองรับรถไฟฟ้า รถไฟทางคู่และรถไฟฟ้าควาทเร็วสูงถือเป็นบันทึกหน้าใหม่ของการรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) ที่จะมีเทคโนโลยีรถไฟไฮสปีดเป็นครั้งแรกในประเทศ รัฐบาลชุดนี้ได้เข้ามาขยายระบบรถไฟทางคู่จากเดิม 300 กว่ากม.เป็น 4,000 กม. ตามแผนพัฒนารถไฟทางคู่เฟส 1 และ เฟส 2

สำหรับสถานีกลางแห่งนี้จะมีการเปิดให้เอกชนเช่าพื้นที่พัฒนาเชิงพาณิชย์มากกว่า 5 แปลงรวมถึงเป็นพื้นที่สีเขียวของเมืองหลวง รองรับด้วยระบบบริหารเมืองแบบสมาร์ทซิตี้และมีระบบขนส่งสาธารณะเชื่อมต่อสถานีกลางกับสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสจตุจักร เบื้องต้นจะออกแบบทางเดินยกระดับ(Sky Walk) ไปเชื่อมควบคู่ไปกับแนวคิดพัฒนารถไฟฟ้ารางเบา(โมโนเรล) ระยะทาง 1 กม.เป็นฟีดเดอร์ขนส่งภายในสถานีกลาง มีข้อดีคือไม่เสียพื้นที่บนนถนนเหมือนกับการเบือกใช้รถวน(Shuttle Bus)

นายอาคมกล่าวต่อว่าส่วนความคืบหน้าโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดงช่วงบางซื่อ-รังสิตและบางซื่อ-ตลิ่งชันนั้นจะเปิดบริการพร้อมกับสถานีกลาง ขณะนี้บริษัทผู้ผลิตเตรียมส่งมอบรถไฟ 2 ขบวนมาทดสอบในเดือนมิ.ย.นี้
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 22/03/2019 12:28 pm    Post subject: Reply with quote

อัฐยายซื้อขนมยาย “ลดค่ารถไฟฟ้า” “บัตรตั๋วร่วมแมงมุม” แป้กรอปีหน้า
พร็อพเพอร์ตี้
วันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2562 เวลา19:36 น.

หนึ่งในนโยบายหาเสียงที่พรรคการเมืองนำมาชูโรงเรียกคะแนนเสียงในวันเลือกตั้ง 24 มี.ค.นี้ นั่นคือสร้างรถไฟฟ้ากรุงเทพฯและปริมณฑลครบทุกสาย ลดค่าโดยสารรถไฟฟ้าที่รัฐสร้างเอง เช่น สีม่วงช่วง “เตาปูน-คลองบางไผ่” จาก 42 บาท เหลือ 15 บาท นั่งไปถึงหัวลำโพงจาก 70 บาท เหลือ 43 บาท

ฟังดูเหมือนจะง่าย แต่ในทางปฏิบัติอาจจะยาก เนื่องจากเป็นนโยบายเรียกว่า “อัฐยายซื้อขนมยาย” เพราะสุดท้ายรัฐก็ต้องควักงบประมาณจ่ายชดเชยส่วนต่างให้เอกชนผู้รับสัมปทาน หรือแม้แต่เส้นทางของรัฐเอง

“ภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ” ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า นโยบายลดค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีม่วง ที่ รฟม.เป็นเจ้าของโครงการ โดยจ้าง บมจ.ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพหรือ BEM บริหาร 30 ปี หากรัฐมีนโยบายก็ลดราคาให้ได้ แต่รัฐต้องอุดหนุนงบประมาณให้ เนื่องจากสายสีม่วงปัจจุบันยังขาดทุนอยู่ ส่วนสายสีน้ำเงิน เป็นเส้นทางที่ BEM รับสัมปทาน คงเป็นไปได้ยาก หากเอกชนยอมลดราคาให้รัฐก็ต้องจ่ายชดเชยให้เช่นกัน





พูดถึงค่าโดยสารรถไฟฟ้า ที่น่าจับตาไม่แพ้กันคือสายสีเขียวที่ “บิ๊กวิน-พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง” ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) จะเก็บค่าตั๋วทั้งโครงการ 15-65 บาท ทั้งส่วนที่เป็นสัมปทาน บมจ.ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ (บีทีเอสซี) และส่วนต่อขยายที่ กทม.ดูแล

ปัจจุบันอยู่ระหว่างเปิดประมูล PPP หาเอกชนมาปลดหนี้กว่า 1 แสนล้านของสายสีเขียวต่อขยาย “แบริ่ง-สมุทรปราการและหมอชิต-คูคต” ซึ่งหนึ่งในเงื่อนไขให้เก็บค่าโดยสารทั้งโครงข่ายไม่เกิน 65 บาท

ล่าสุดยังติดหล่มอยู่ที่กระทรวงการคลัง ยังไม่รู้ว่าจะปิดดีลทันรัฐบาล คสช.หรือไม่ แต่ไม่ว่าจะมาเร็วหรือช้า “บีทีเอสซี” ก็ไม่สะทกสะท้าน เพราะได้ค่าจ้างเดินรถส่วนต่อขยายจาก กทม.เป็นรายปีอยู่แล้ว

“รอ กทม.เปิด PPP สายสีเขียว ส่วนค่าโดยสารสูงสุดที่ กทม.ต้องการราคา 65 บาท ยังไม่ได้หารือเป็นทางการ ซึ่งบีทีเอสพร้อมช่วยทั้งนั้น แต่ที่ผ่านมามีแต่ กทม.ที่พูด” นายคีรี กาญจนพาสน์ บอสใหญ่บีทีเอสซีกล่าวย้ำ

สิ่งที่เจ้าพ่อบีทีเอสกังวล เป็นเรื่องค่าแรกเข้าที่ต้องจ่ายหลายต่อ อยากให้รัฐเข้ามาดูอย่างจริงจัง เพราะต่อไปไม่ได้มีแค่บีทีเอส สายสีน้ำเงิน สีม่วง แอร์พอร์ตลิงก์ ยังมีสายสีแดง สีชมพู สีเหลือง สีส้ม ทยอยเปิดใช้อีก

ที่ผ่านมานโยบายค่าโดยสารรถไฟฟ้า รัฐบาล คสช.พยายามผลักดันผ่าน “ระบบตั๋วร่วมแมงมุม” ที่ผู้โดยสารถือบัตรใบเดียวนั่งรถไฟฟ้าได้ทุกสายทุกสีมีการทุ่มงบฯกว่า 300 ล้านบาท ออกแบบระบบมี “กลุ่มบีทีเอส” ดำเนินการให้ แต่สุดท้ายบัตรแมงมุมชักใยไปได้แค่ครึ่งทาง เมื่อระหว่างทางนโยบายเปลี่ยนจาก “ตั๋วร่วมแมงมุม” เป็น “ระบบ EMV” ที่เรียกขานว่าบัตรแมงมุม 4.0 แทน

ทั้งที่มีการผลิตบัตรแมงมุมแล้ว 2 แสนใบ แต่ไม่ให้เสียของเมื่อกลางปีที่แล้ว “รฟม.” นำบัตรแมงมุมไปแจกจ่ายประชาชนที่ใช้บริการสายสีน้ำเงินและสีม่วง จากนโยบายที่ไม่นิ่ง ทำให้ “บีทีเอส” ที่มี “บัตรแรบบิท” เป็นฐานใหญ่ในระบบที่ใช้ครบเครื่องทั้งนั่งบีทีเอส ซื้อสินค้าและบริการได้อยู่แล้ว จึงชะลอการลงทุนอัพเกรดระบบให้รองรับระบบตั๋วร่วมเวอร์ชั่นแมงมุม รอลงทุนรองรับระบบ EMV ที่รัฐบาลกำลังผลักดันรวดเดียว

ขณะที่ความคืบหน้าการเชื่อมต่อระบบตั๋วร่วมให้เป็นระบบ EMV ผู้ว่าการ รฟม.อัพเดตว่า กำลังรอการพิจารณาร่างบันทึกความเข้าใจ (MOU) ครั้งสุดท้ายระหว่าง รฟม.และธนาคารกรุงไทยจากอัยการสูงสุด จากนั้นจะนำร่าง MOU เสนอคณะกรรมการ (บอร์ด) ของแต่ละฝ่าย คาดว่าจะอัพเกรดระบบทั้งหมดได้ในปลายปีนี้หรือช้าสุดไม่เกินต้นปี 2563

การอัพเกรดให้เป็น EMV ต้องปรับปรุงระบบ 2 ส่วนสำคัญ คือหัวอ่านตามประตูเข้าออกสถานีรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน (ไม่รวมส่วนต่อขยาย) และสายสีม่วง วงเงิน 250 ล้านบาท โดย รฟม.จะลงทุนทั้งหมด และการพัฒนาระบบศูนย์บริหารจัดการรายได้กลาง วงเงิน 400 ล้านบาท มีธนาคารกรุงไทยเป็นผู้ลงทุน เพื่อรองรับธนาคารอื่นและระบบขนส่งมวลชนอื่น ๆ ในอนาคต

“บัตร EMV จะเป็นการจ่ายเงินหลังจากใช้งาน ผ่านบัญชีบัตรเครดิต และบัตรเดบิต ส่วนบัตรตั๋วรวมแมงมุม 2.5 ที่ รฟม.มีอยู่แล้ว ก็ใช้งานได้แต่เป็นลักษณะเติมเงินในบัตรก่อนแล้วถึงใช้ได้ เมื่ออัพเกรดระบบเสร็จแล้ว ประชาชนจะมีทางเลือกใช้งานทั้ง 2 แบบ” ผู้ว่าการ รฟม.กล่าวและว่าการเชื่อมกับบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ขณะนี้บัตรลอตใหม่ได้อัพเกรดระบบในบัตรเป็นแบบ EMV แล้ว แต่ระบบของ รฟม.ยังไม่รองรับ จะให้ผู้ที่ถือบัตรแบบใหม่ไปซื้อตั๋วที่เคาน์เตอร์ไปก่อน ซึ่งจะหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหามาตรการป้องกันการนำค่ารถในบัตร

ไปแลกเป็นเงินสด ทั้งนี้กรณีผู้ที่ยังถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐแบบเดิมก็ใช้งานได้จนบัตรสิ้นสุดอายุใช้งานเหลืออีก 3 ปี

ขณะที่การเชื่อมต่อกับระบบสายสีเขียวทั้งเส้นทาง ต้องรอ พ.ร.บ.การบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม ผ่านการพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ซึ่งคงไม่ทันรัฐบาลชุดนี้แน่นอน

เนื่องจากเรื่องดังกล่าวยังอยู่ระหว่างการพิจารณาของสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) และกระทรวงคมนาคม ต้องรอให้มีสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ชุดใหม่ก่อน รวมถึงต้องดูทิศทางนโยบายของรัฐบาลใหม่ด้วยว่าจะผลักดันต่อหรือไม่
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 25/03/2019 2:10 am    Post subject: Reply with quote

ไทม์ไลน์รถไฟฟ้าส่งท้าย คสช. “สีส้ม-ม่วงใต้-ภูเก็ต” รอรัฐบาลใหม่ปักตอม่อ
พร็อพเพอร์ตี้
วันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2562 เวลา 19:59 น.

นับถอยหลัง “รัฐบาล คสช.” เหลือเวลาอีกไม่กี่เดือน จำต้องโบกมือลา พลิกดูโปรเจ็กต์รถไฟฟ้าที่ขับเคลื่อนโดยรัฐบาลทหาร

นับจากเข้ามาบริหารประเทศ ได้ประทับตราอนุมัติไว้หลายสีหลายสาย ระยะทางรวมกว่า 168 กม. คิดเป็นมูลค่าโครงการกว่า 4.2 แสนล้านบาททั้งซูเปอร์โมโนเรลสายสีชมพูช่วงแคราย-มีนบุรี และสายสีเหลืองช่วงลาดพร้าว-สำโรง, สายสีส้มช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ-มีนบุรี, สายสีแดงช่วงบางซื่อ-หัวลำโพง และช่วงพญาไท-หัวหมาก (missing link), โมโนเรลสายสีทองช่วงกรุงธนบุรี-ประชาธิปก, สายสีม่วงใต้ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ, สายสีแดงส่วนต่อขยายช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา, ช่วงรังสิต-ม.ธรรมศาสตร์ และปิดท้าย ช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช

ล่าสุด “ไพรินทร์ ชูโชติถาวร” รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม บุกถึงการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) กระทุ้งรถไฟฟ้าในความรับผิดชอบสารพัดสีให้เปิดหวูดตามแผน

ทยอยเปิดสายสีน้ำเงิน

ไฮไลต์อยู่ที่สายสีน้ำเงินส่วนต่อขยายช่วงบางซื่อ-ท่าพระ และหัวลำโพง-บางแค ระยะทาง 27 กม. ที่งานก่อสร้างเสร็จ 100% นายไพรินทร์ย้ำกับ รฟม.ให้เร่งเปิดบริการช่วง “หัวลำโพง-บางแค” ให้เร็วขึ้น คาดว่าจะเริ่มทดสอบขบวนรถเสมือนจริงได้ในเดือน เม.ย.นี้ โดยรถขบวนแรกจะมาถึงวันที่ 11 เม.ย.นี้ และทยอยครบ 16 ขบวนในเดือน ก.ย. และครบทั้ง 35 ขบวนในเดือน มี.ค. 2563



ภายในเดือน ก.ค.จะเปิดใช้ฟรี แบ่งเป็นรอบ ๆ และเปิดบริการเต็มรูปแบบในเดือน ก.ย.นี้ คิดค่าโดยสาร 16-42 บาท หากเดินทางจากสายสีม่วงมาเชื่อมกับระบบสีน้ำเงินจะเสียค่าโดยสารสูงสุดที่ 70 บาทตามเดิม ส่วนช่วงบางซื่อ-ท่าพระ จะเปิดให้ประชาชนโดยสารฟรีในช่วงเดือน ม.ค. และจะเปิดเต็มรูปแบบในเดือน มี.ค. 2563

“หลังเปิดใช้ช่วงหัวลำโพง-บางแค จะมีผู้ใช้บริการเฉลี่ย 200,000 คน/วัน ทำให้ยอดผู้โดยสารเฉลี่ยต่อวันของสายสีน้ำเงินทั้งเส้นทางเพิ่มขึ้นจากเดิม 360,000 คน/วัน เป็น 400,000 คน/วัน เมื่อช่วงบางซื่อ-ท่าพระเปิดให้บริการ ยอดผู้โดยสารรวมของสายสีน้ำเงินจะสูงขึ้นอีกเป็น 700,000 คน/วัน ยังส่งผลให้ยอดผู้ใช้สายสีม่วง เพิ่มขึ้นเป็น 100,000 คน/วัน จากปัจจุบันเฉลี่ยอยู่ที่ 50,000 คน/วัน”

เคลียร์ กทม.อุโมงค์แยกไฟฉาย

ขณะที่ปัญหาโครงสร้างสายสีน้ำเงินช่วงบางซื่อ-ท่าพระ ทับซ้อนกับทางลอดแยกไฟฉายของ “กทม.-กรุงเทพมหานคร” ทาง กทม.ส่งมอบการก่อสร้างให้ รฟม.ดำเนินการต่อแล้ว ซึ่งพื้นที่ทับซ้อนเป็นอุโมงค์ต้องลอดใต้แยก 600 เมตร ต้องตอกเสาเข็มลงระยะห่างกัน 35 เมตร ประมาณ 15 ต้น ซึ่ง รฟม.ออกแบบให้เสาเข็มที่ต้องปักผ่านทางลอดลงไป สามารถใช้งานเป็นโครงสร้างร่วมได้ มีค่าใช้จ่าย 200 ล้านบาท

ส่วนสายสีน้ำเงินต่อขยายช่วงบางแค-พุทธมณฑล สาย 4 ระยะทาง 8 กม. เงินลงทุน 21,197 ล้านบาท จะชะลอไปก่อน รอประเมินปริมาณผู้โดยสารสายสีน้ำเงินทั้ง 3 ช่วงให้ได้อย่างน้อย 800,000-1,000,000 คน/วันก่อน ถึงจะพิจารณาเจรจากับผู้รับสัมปทาน คือ บมจ.ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ (BEM) ให้ดำเนินการก่อสร้างต่อ

ภายในปีนี้นอกจากสีน้ำเงินต่อขยายจะวิ่งไปถึงฝั่งธนบุรี ยังมีสายสีเขียวส่วนต่อขยายช่วง “หมอชิต-สะพานใหม่-คูคต” จะทยอยเปิดบริการเช่นกัน ภายในเดือน ส.ค.นี้ หรืออย่างช้าปลายปีนี้ จะวิ่งจากหมอชิตไปยังสถานีห้าแยกลาดพร้าวจากนั้นในปี 2563 เปิดสถานีพหลโยธิน 24 สถานีรัชโยธิน สถานีเสนานิคม สถานี ม.เกษตรศาสตร์ และสถานีกรมป่าไม้ ถึงสถานีคูคต ภายในปี 2564

พื้นที่ส้ม-ชมพู-เหลืองฉลุย

ขณะเดียวกันเร่งรัด 3 รถไฟฟ้าที่กำลังก่อสร้าง ทั้งสายสีส้มตะวันออก ช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ-มีนบุรี ระยะทาง 22.57 กม. เงินลงทุน 107,540 ล้านบาท

ปัจจุบันมีผลงาน 29.30% มีแผนงานบางส่วนที่เริ่มได้ช้า ต้องปรับแผนใหม่ ประกอบกับ กทม.ส่งมอบพื้นที่ให้ช้า เช่น สถานีราษฎร์พัฒนา มีการขยับสถานี ต้องเปลี่ยนแปลงรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (EIA) และสถานีลำสาลี ที่มีโครงการทับซ้อนกับ กทม. คือ โครงการทางยกระดับขนาด 4 ช่องจราจร จากแยกลำสาลี-คลองบ้านม้า ล่าสุด กทม.ได้ส่งมอบพื้นที่ให้เข้าไปก่อสร้างได้แล้ว แต่ยังทำให้แผนงานล่าช้าไป 4-5 เดือน มีกำหนดเปิดบริการในปี 2566

ด้านโมโนเรล 2 สายที่กลุ่มบีทีเอสลงทุน PPP ทั้งโครงการ ยังล่าช้ากว่าแผน 4% โดยสายสีชมพูช่วง “แคราย-มีนบุรี” ระยะทาง 34.5 กม. คืบหน้า 28.02% ขณะที่สายสีเหลือง ช่วง “ลาดพร้าว-สำโรง” ระยะทาง 30.4 กม. คืบหน้า 27.14% สาเหตุมาจากกรมทางหลวง (ทล.) ต้องเข้าไปทำระบบระบายน้ำ (ฟลัดเวย์) บน ถ.แจ้งวัฒนะ ของสายสีชมพู ระยะทาง 3-4 กม. และ ถ.ศรีนครินทร์ของสายสีเหลือง ระยะทาง 3 กม. จึงมีผลกระทบทำให้การก่อสร้างต้องล่าช้าออกไป ตามแผนทั้ง 2 เส้นทางจะเปิดบริการพร้อมกันในเดือน ต.ค. 2564

โปรเจ็กต์รอยต่อรัฐบาลใหม่

สายสีม่วงใต้ “เตาปูน-ราษฎร์บูรณะ” อยู่ระหว่างเตรียมการก่อสร้าง มีกำหนดเริ่มการก่อสร้างในเดือน ธ.ค.นี้ ขณะที่สายสีส้มตะวันตกช่วง “ศูนย์วัฒนธรรมฯ-บางขุนนนท์” อยู่ระหว่างเตรียมการประมูลจัดหาเอกชนก่อสร้างและเดินรถ คาดว่าจะเริ่มก่อสร้างในเดือน มี.ค. 2563

ขณะที่รถไฟฟ้าสายที่ 11 ของประเทศไทย สายสีน้ำตาลช่วง “แคราย-ลำสาลี” ระยะทาง 22.1 กม. ที่รัฐบาลกำลังเร่งเครื่องหวังแก้รถติดย่านเกษตร-นวมินทร์ โดยแนวเส้นทางจะทับซ้อนกับทางด่วนสายเหนือขั้นที่ 3 ตอน N2 ช่วงวงแหวนตะวันออก-เกษตรฯ เป็นระยะทาง 5.7 กม. ของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.)

ล่าสุด กระทรวงคมนาคมให้ กทพ.รับภาระก่อสร้างในส่วนโครงสร้างร่วมไปก่อน วงเงิน 1,000 ล้านบาท เมื่อได้เอกชนลงทุนแล้วจะชำระคืนภายหลัง ปัจจุบัน รฟม.อยู่ระหว่างออกแบบ คาดว่าเสนอ ครม.อนุมัติในเดือน ก.พ. 2564 มีกำหนดเปิดบริการในเดือน ก.ค. 2568

ปิดท้ายที่รถไฟฟ้าในเมืองภูมิภาค ทุกเส้นทางอยู่ระหว่างทำรายงาน PPP ออกแบบรายละเอียดและ EIA ทั้งรถไฟฟ้าภูเก็ต จากสนามบิน-ห้าแยกฉลอง อยู่ระหว่างทำรายงาน PPP พร้อมเปิดบริการปี 2566 รถไฟฟ้าเชียงใหม่สายสีแดงอยู่ระหว่างศึกษาออกแบบรายละเอียด จะเปิดบริการในปี 2570

รถไฟฟ้านครราชสีมาสายสีเขียว กำลังคัดเลือกที่ปรึกษาออกแบบรายละเอียด จะเปิดบริการในปี 2567 เช่นเดียวกับรถไฟฟ้าพิษณุโลกสายสีแดงที่ตกอยู่ในสถานะเดียวกัน พร้อมเปิดหวูดบริการในปี 2569
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 27/03/2019 12:40 pm    Post subject: Reply with quote

ดีเดย์ปลายปีนี้เปิดใช้รถเมล์สมาร์สบัสแก้จราจรโซนราชประสงค์

26 มีนาคม พ.ศ. 2562

เอกชนสนลงทุนหมื่นล้านผุดแทรมใจกลางเมืองสองสายแก้รถติด เน้นโซนปทุมวัน พระราม4 เพลินจิต ราชดำริ ราชประสงค์ คาดผู้โดยสารทะลุวันละ 1.5 แสนคน นำร่องใช้สมาร์สบัสให้บริการพร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกเพียบ

นายฐาปนา บุณยประวิตร นายกสมาคมการผังเมืองไทย เปิดเผยว่าฮับการค้าและย่านธุรกิจสำคัญบริเวณย่านราชประสงค์-ย่านปทุมวันนั้นปัจจุบันประสบปัญหาจราจรอย่างมากจากการวางผังเมืองที่ไม่เป็นระเบียบ ตลอดจนขาดระบบฟีดเดอร์เพื่อเชื่อมต่อกับระบบขนส่งหลักทั้งรถไฟฟ้า รถใต้ดินทางฝั่งถ.พระราม 4และรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์

ดังนั้นจึงควรพัฒนาระบบรถไฟฟ้ารางเบา(แทรม)ให้เหมือนกับมหานครใหญ่ของโลกในหลายประเทศที่ใช้ระบบแทรมเชื่อมต่อสถานที่สำคัญ อาทิ ศูนย์การค้า โรงแรม สถานฑูต โรงเรียน มหาวิทยาลัยและย่านธุรกิจเป็นต้น คาดว่าจะมีผู้มาใช้บริการรถไฟฟ้าแทรมทั้งสองสายรวมมากกว่า 150,000 คน/วัน

นายฐาปนากล่าวต่อว่าสำหรับเส้นที่มีศักยภาพ 2 สายแรกได้แก่

1.รถไฟฟ้าแทรมสายสีเหลืองช่วงราชปรารภ-สีลม-ชิดลม ระยะทาง 15 กม. วงเงินลงทุน 5-6 พันล้านบาท เป็นรถไฟฟ้าวนลูปเริ่มจากสถานีราชประสงค์วิ่งตามแนวถ.ราชดำริตัดรถไฟฟ้าบีทีเอสสายสีเขียวแล้วไปตัดกับรถไฟฟ้าใต้ดินที่สถานีสีลม เลี้ยวซ้ายตามแนวถ.พระราม 4 ไปยังสถานีสวนลุมติดกับรถใต้ดิน ก่อนเลี้ยวเข้าซอยสารสินตรงยาสไปตัดกับถนนเพชรบุรีและเข้าสู่สถานีราชปรารภใกล้กับสถานีรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์

2.รถไฟรางเบาแทรมสายสีชมพู ช่วงราชประสงค์-สามย่าน-สะพานหัวช้างระยะทาง 12 กม. วงเงิน 3-4 พันล้านบาท เริ่มจากสถานีราชประสงค์วิ่งตามแนวถ.ราชดำริเลี้ยวตามถนนพระราม 4 ไปยังสถานีสามย่านก่อนเลี้ยวขวาตามไปแนวถนนพญาไทมุ่งหน้าแยกมาบุญคลองไปยังสถานีสะพานหัวช้างแล้วไปเลี้ยวเข้าถ.เพชรบุรีเพื่อไปยังจุดเริ่มต้นสถานีราชประสงค์นายฐาปนากล่าวต่อว่า

เบื้องต้น บริษัท รีเจียนนอล ทรานซิท โคเปอร์เรชั่น จำกัด (RTC BUS) จะนำรถสมาร์ทบัสมาวิ่งทดสอบดีมานต์ผู้โดยสารในช่วงปลายปีนี้ หรือหลังจากได้รับอนุญาต หากมีเสียงตอบรับที่ดีและยอดผู้ใช้ขยายตัวอย่างต่อเนื่องก็จะลงทุนรถไฟฟ้าแทรมต่อไป

ทั้งนี้การก่อสร้างโดยการวางรางตรงถนนตามแนวเส้นทางนั้นจะไม่กระทบกับการจราจรหากประชาชนลดปริมาณการใช้ยานพาหนะในพื้นที่ลง ทั้งนี้รถไฟฟ้ารางเบาสามารถบรร จุผู้โดยสารรวมนั่ง-ยืน จำนวน 98-100 คน ต่อ 1 คัน (3 ตู้) 2 เส้นทาง จำนวน 10 คัน จัดทำระบบรางบนถนน พร้อมป้ายสถานี ภายในรถจะเป็นดิจิตอล มีบริการอินเตอร์เน็ตไร้สาย และระบบบริการสำหรับผู้สูงอายุ

สำหรับจำนวนรถจะใช้ 4 คัน ต่อ 1 เส้นทาง ส่วนอีก 2 คัน รอเสริม รวม 10 คัน ส่วนระยะเวลารถไฟฟ้าวิ่งมาถึงสถานีประมาณ 15 นาที ต่อ 1 คัน ระยะแรกจะทดสอบไปก่อน แต่หากรถติดมากจะเพิ่มจำนวนรถ เพื่อรัยง 10-12 นาที (ตามลำดับ) แต่หากเทียบกับรถไฟฟ้าเส้นหลัก ระยะเวลาการรอ 7 นาที
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 194, 195, 196 ... 278, 279, 280  Next
Page 195 of 280

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©