RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311235
ทั่วไป:13180571
ทั้งหมด:13491806
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 226, 227, 228 ... 277, 278, 279  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 01/12/2020 7:46 pm    Post subject: Reply with quote

10รถไฟฟ้า ดัน ที่ดิน พุ่ง 30% เดอะมอลล์ ยึดสถานีมีนบุรี
วันอังคาร ที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2563 เวลา 06:45:54 น.

10 รถไฟฟ้า ดันราคาที่ดินพุ่ง ทั่วกรุง บิ๊กทุนยึดทำเลทอง โฟกัสสายใหม่ชานเมือง เดอะมอลล์ซุ่มซื้อที่ดินจุดตัดรถไฟฟ้าสายสีชมพู-ส้มสถานีมีนบุรี ปักหมุดห้างแสนตร.ม. สายสีชมพู รามอินทรา กม.2 -ลำลูกกา-พุทธมณฑลสาย4 ฮอต ราคาที่ดินยังขยับได้อีก
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 02/12/2020 1:25 am    Post subject: Reply with quote

เช็กคืบหน้ารถไฟฟ้าทุกสี ต้นปี 64 เปิดประมูล สีม่วง “เตาปูน-ราษฎร์บูรณะ”
ข่าวอสังหาริมทรัพย์
วันอังคาร ที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2563 เวลา 16:43 น.


รีวิวรถไฟฟ้าหลากสี ชะลอลงทุนยาวส่วนต่อขยาย รอประเมินผู้โดยสาร หวั่นซ้ำรอยสายสีม่วง สีน้ำเงิน “บางแค-พุทธมณฑลสาย 4” รอ 2-3 ปี กทม. ยังชั่งใจยืดสีเขียว “สมุทรปราการ-บางปู และคูคต-ลำลูกกา” สายสีแดง 4 เส้นทาง รอเอกชนร่วมทุน PPP เหมาก่อสร้าง รับสัปมทานเดินรถทั้งโครงการ รับเหมารอเฮ! ก.พ.64 รฟม.ประมูลแน่สายสีม่วงใต้ 6 สัญญา 7.7 หมื่นล้าน จ่อจ้างเอกชนเดินรถ

วันที่ 1 ธ.ค. 2563 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ปัจจุบันรถไฟฟ้าหลากสีที่กำหนดไว้ในแผนแม่บทรถไฟฟ้าในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล จำนวน 14 สายทาง รวมระยะทาง 559.16 กม. จำนวน 366 สถานี ความคืบหน้า ณ เดือน พ.ค.2563 เปิดบริการแล้ว 5 สี 7 เส้นทาง ระยะทาง 149.80 กม. ล่าสุดวันที่ 16 ธ.ค.นี้ จะเปิดสายสีเขียวช่วงหมอชิต-คูคต ได้ตลอดสาย และสายสีทองช่วงสถานีกรุงธนบุรี-คลองสาน

อยู่ระหว่างก่อสร้าง 6 สี 6 โครงการ ระยะทาง 156.36 กม. ได้แก่ สายสีส้มศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี สายสีชมพูแคราย-มีนบุรี สายสีเหลืองลาดพร้าว-สำโรง สายสีแดงบางซื่อ-รังสิต สายสีแดงบางซื่อ-ตลิ่งชัน และแอร์พอร์ตลิงก์ต่อขยายพญาไท-ดอนเมือง รวมอยู่ในรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน จะทยอยเปิดบริการในปี 2564 เป็นต้นไป และอยู่ระหว่างประกวดราคามีสายสีส้มช่วงบางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรม

ประมูลม่วงใต้ ก.พ. 2564
แหล่งข่าวจากการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผย ”ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ตั้งเป้าในเดือน ก.พ. 2564 จะเปิดประมูลโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงส่วนต่อขยายช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ ระยะทาง 23.6 กม. วงเงินลงทุน 124,176 ล้านบาท จะเริ่มประมูลงานโยธา วงเงิน 77,385 ล้านบาท ขณะนี้อยู่ระหว่างประเมินราคากลาง คาดว่าจะได้ผู้รับเหมาก่อสร้างในเดือน ส.ค.-ก.ย. 2564 จะใช้เวลาสร้าง 6 ปี แล้วเสร็จในปี 2570

“งานโยธาแบ่งประมูล 6 สัญญา เป็นงานใต้ดิน 4 สัญญา ทางยกระดับ 1 สัญญา และระบบราง 1 สัญญา ส่วนงานระบบและตัวรถไฟฟ้า วงเงิน 23,064 ล้านบาท กำลังศึกษารูปแบบการลงทุนแบบเอกชนร่วมลงทุน หรือ PPP ได้จัดทำข้อมูลเสนอคณะกรรมการ (บอร์ด) รฟม.และคณะกรรมการนโยบายการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน (บอร์ด PPP) ตามลำดับ คาดว่ารูปเป็น PPP Gross Cost หรือจ้างเดินรถระยะเวลา 30 ปี เหมือนสายสีม่วงช่วงเตาปูน-คลองบางไผ่ ที่จ้าง บมจ.ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ หรือ BEM เดินรถให้ เพื่อให้สายสีม่วงเดินรถต่อเนื่องโดยเอกชนรายเดียว”

สายสีน้ำตาลรอ ม.เกษตร-ศึกษา PPP
สำหรับรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาลช่วงแคราย – ลำสาลี ระยะทาง 22.1 กม. วงเงิน 48,000 ล้านบาท ยังอยู่ระหว่างศึกษา PPP โดยจะใช้เวลา 1 ปี จะแล้วเสร็จในปี 2565 เพื่อขออนุมัติรูปแบบลงทุนต่อไป ส่วนรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (EIA) สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) อยู่ระหว่างศึกษาเพื่อเสนอต่อคณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม (คชก.)


ส่วนการใช้ตอม่อร่วมกับทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือช่วง N1 (แยกเกษตร-ทางด่วนศรีรัช) อยู่ระหว่างประเมินต้นทุนที่อาจจะเพิ่มขึ้น เนื่องจากหากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ยืนยันจะไม่ให้มีการก่อสร้างทางด่วน N1 พาดผ่านหน้ามหาวิทยาลัย ทาง กทพ.จะต้องถอนโครงการออกไป ทำให้เกิดภาระในการก่อสร้างเสาตอม่อของ รฟม.ทันที เพราะเดิมกำหนดไว้ว่าจะใช้เงินทุนจากกองทุนรวมไทยแลนด์ ฟิวเจอร์ ฟันด์ (TFFIF) มาใช้ในการก่อสร้างตอม่อบริเวณที่ผ่านมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งอยู่ระหว่างประเมินเงินลงทุนที่จะเพิ่มขึ้น

ยืดสีน้ำเงินถึงสาย 4 ชะลอยาว
แหล่งข่าวกล่าวอีกว่า สำหรับรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยายช่วงบางแค – พุทธมณฑลสาย 4 วงเงิน 17,262 ล้านบาท ยังไม่อยู่ในแผนที่จะผลักดันในเร็ว ๆ นี้ เนื่องจาก รฟม. และ บมจ.ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ (BEM) ในฐานะผู้รับสัมปทานต้องการดูตัวเลขผู้โดยสารที่มาใช้บริการสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยายช่วงบางซื่อ-ท่าพระ และหัวลำโพง-บางแค ที่เชื่อมกับสายสีน้ำเงินเดิมจากบางซื่อ-หัวลำโพง วิ่งบริการครบลูป ระยะทาง 48 กม. จะมีผู้โดยสารมาใช้บริการตามที่ประมาณการไว้ 600,000-800,000 เที่ยวคน/วัน

“ปัจจุบันมีผู้ใช้บริการเฉลี่ย 3.6 แสนเที่ยวคน/วัน จากเป้า 600,000 เที่ยวคน/วัน เพราะมีเรื่องโควิด-19 ทำให้ผู้โดยสารยังไม่นิ่ง คาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 2-3 ปี กว่าผู้โดยสารจะกลับมาปกติ”

ต่อขยายสายสีแดงรอศึกษา PPP
ด้านแหล่งข่าวจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยว่า ร.ฟ.ท.ชะลอการเปิดประมูลรถไฟชานเมืองสายสีแดงส่วนต่อขยายที่ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อต้นปี 2562 เนื่องจากมีนโยบายจากกระทรวงคมนาคมจะนำงานก่อสร้างของส่วนต่อขยายไปรวมกับหนี้ของสายสีแดงช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน และบางซื่อ-รังสิต และให้เอกชนรับสัมปทานเดินรถและพัฒนาเชิงพาณิชย์สถานีกลางบางซื่อ

และสถานีในแนวเส้นทางของสายสีแดงทั้งโครงการในรูปแบบ PPP Net Cost ระยะเวลา 30-50 ปี วงเงินกว่า 1 แสนล้านบาท จะศึกษาเสร็จใน ก.ค. เสนอ ครม.อนุมัติเดือน ส.ค.-พ.ย. และคัดเลือกเอกชนในเดือน ธ.ค. 2564-ม.ค.2565 ได้เอกชนในเดือน ธ.ค.2565

สำหรับส่วนต่อขยายที่รอประมูล วงเงินรวม 67,575.37 ล้านบาท ได้แก่ ช่วงรังสิต – ม.ธรรมศาสตร์ ระยะทาง 8.84 กม. วงเงิน 6,570.40 ล้านบาท ช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา ระยะทาง 14.8 กม.วงเงิน 10,202.18 ล้านบาท ช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช ระยะทาง 4.3 กม. วงเงิน 6,645.03 ล้านบาท และสาย Missing Link ช่วงบางซื่อ-พญาไท-มักกะสัน-หัวหมาก และบางซื่อ-หัวลำโพง ระยะทาง 25.9 กม. วงเงิน 44,157.76 ล้านบาท

กทม.ชั่งใจขยายสายสีเขียว
แหล่งข่าวจากสำนักการจราจรและขนส่ง (สจส.) กทม.เปิดเผยว่า การเดินหน้าต่อขยายรถไฟฟ้าสายสีเขียว 2 เส้นทาง วงเงินรวม 25,333 ล้านบาท แยกเป็นช่วงคูคต – ลำลูกกา ระยะทาง 7 กม. วงเงิน 11,989 ล้านบาท และช่วงสมุทรปราการ – บางปู ระยะทาง 7 กม. วงเงิน 13,344 ล้านบาท ต้องคำนึงถึงองค์ประกอบหลายด้าน

เนื่องจากส่วนต่อขยายยิ่งสร้างยาวเท่าไหร่ ยิ่งขาดทุนมากเท่านั้น เนื่องจากพื้นที่ที่ออกไปนอกเมืองไม่ใช่แหล่งงานแหล่งที่อยู่อาศัยหนาแน่นเหมือนพื้นที่ในเมือง อาจจะทำให้ผู้โดยสารยังไม่ถึงเป้าหมายที่คาดไว้ เหมือนกับสายสีม่วงช่วงเตาปูน-คลองบางไผ่

ดังนั้น การก่อสร้างส่วนต่อขยายจึงต้องศึกษาให้รอบคอบและรอประเมินผู้โดยสารมาใช้บริการส่วนต่อขยายช่วงหมอชิต-คูคต จะเปิดตลอดสายในวันที่ 16 ธ.ค.นี้ จะเป็นตามเป้า 330,000 เที่ยวคน/วัน และช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ ที่คาดว่าจะมีผู้โดยสารอยู่ที่ 160,000 เที่ยวคน/วัน
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 07/12/2020 10:09 am    Post subject: Reply with quote

รถไฟฟ้าสายสีทองเปิดวิ่ง 16 ธ.ค.นี้ สีเขียวหมอชิต-คูคต ยังนั่งฟรี
อสังหาริมทรัพย์
วันที่ 4 ธันวาคม 2563 - 16:05 น.

16 ธ.ค. เปิดรถไฟฟ้าสายสีทอง-สายสีเขียว 7 สถานีใหม่ยาวถึงคูคต กทม. ให้นั่งฟรีถึง 1 ม.ค. 2564 ส่วนหนี้ค่าจ้างเดินรถ 8.2 พ้นล้าน ไม่มี-ไม่หนี-ไม่จ่าย

พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) เปิดเผยว่า ในวันที่ 16 ธ.ค. 2563 นี้ จะดำเนินการเปิดส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าสายสีเขียวเหนือช่วงสถานีวัดพระศรีมหาธาตุ – คูคต อีก 7 สถานี ระยะทาง 9.8 กม. โดยมี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานในเวลา 09.00 น. หลังจากนั้นก็จะไปเปิดรถไฟฟ้าสายสีทองช่วงกรุงธนบุรี – คลองสาน ระยะทาง 2.8 กม. ในช่วง 11.00 น.

ทั้งนี้ ในส่วนของสายสีเขียว แม้จะยังไม่ชัดเจนเกี่ยวกับเรื่องสัมปทานที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณา แต่เบื้องต้นจะเปิดให้โดยสารฟรีไปจนถึงวันที่ 1 ม.ค. 2564 หลังจากนั้นค่อยคิดกันว่าจะทำอย่างไร

แต่ กทม.จะไม่ทำให้ประชาชนได้รับผลกระทบ อาจจะต้องของบประมาณจากรัฐบาลมาสนับสนุนค่าใช้จ่ายตรงนี้ ซึ่ง กทม.ยอมแบกภาระหนี้เดินรถต่อไปก่อน โดยมูลหนี้ค่าจ้างเดินรถสายสีเขียวส่วนต่อขยายที่ต้องจ่ายให้ บมจ.ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ (BTSC) ขณะนี้อยู่ที่ 8,200 ล้านบาท ไม่รวมค่าโครงสร้างและงานระบบอีก กทม.ไม่มี ไม่หนี ไม่จ่าย แต่ค่อยว่ากัน

“ยืนยันว่าเงินที่ค้างอยู่ 8,200 ล้านบาท จะหาใช้คืนเอกชนแน่ แต่จะด้วยวิธีการไหนขอให้มีมติ ครม.เรื่องสัมปทานก่อน และไม่ว่าจะออกในแนวทางไหน ก็จะเดินรถเพื่อไม่ให้ประชาชนได้รับผลกระทบ” พล.ต.อ.อัศวินกล่าว

ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า วันที่ 4 ธ.ค. 2563 บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BTSC ในเครือ บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) ชี้แจงเรื่องการเก็บค่าโดยสารตามสัมปทานใหม่อัตรา 15-65 บาท

1.ปัจจุบันบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BTSC ในเครือ บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) เป็นผู้บริหารและรับรายได้ค่าโดยสารจากระบบรถไฟฟ้าบีทีเอส ในส่วนเส้นทางเดิมของสัมปทานจากกรุงเทพมหานคร ตามอายุสัญญา 30 ปี หรือ ตั้งแต่ ปี 2542 –2572


ภายใต้วัตถุประสงค์ เพื่อร่วมพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานให้กับประเทศอย่างยั่งยืน ตลอดจนเป็นแนวทางแก้ไขปัญหาการจราจร และลดมลภาวะในเมืองใหญ่ อย่าง กรุงเทพมหานคร ประการสำคัญยังเป็นการอำนวยความสะดวกการเดินทางในแต่ละพื้นที่ให้กับพี่น้องประชาชน กระทั่งนำมาสู่ความร่วมมือกับ บริษัทกรุงเทพธนาคม จำกัด ของกรุงเทพมหานคร

สำหรับการให้บริการเดินรถและซ่อมบำรุงรถไฟฟ้า ส่วนต่อขยายจากเส้นทางเดิมของสัมปทาน คือ ส่วนต่อขยายสายสีลม (สะพานตากสิน-วงเวียนใหญ่) และส่วนต่อขยายสายสุขุมวิท (อ่อนนุช-แบริ่ง) รวมถึงส่วนต่อขยายเพิ่มเติมของสายสุขุมวิทจากแบริ่ง ไปเคหะ และจากหมอชิต ไปคูคต

2.ขณะที่การกำหนดราคาค่าโดยสารตามสัญญาสัมปทานเดิม รถไฟฟ้าบีทีเอส ในฐานะผู้รับผิดชอบการบริหารรถไฟฟ้า ระยะทาง 23.5 กม. เส้นทางหมอชิต-อ่อนนุช และสนามกีฬาแห่งชาติ-สะพานตากสิน มีการกำหนดอัตราค่าโดยสารปัจจุบันในอัตรา 16 ถึง 44 บาท (ตามระยะทาง) ขณะที่ช่วงส่วนต่อขยายทั้งหมด (อ่อนนุช-สำโรง-เคหะฯ วงเวียนใหญ่-บางหว้า หมอชิต-วัดพระศรีฯ) กรุงเทพมหานครเป็นผู้กำหนดค่าโดยสาร

3.ข้อเท็จจริงสำคัญที่ผ่านมา บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BTSC ในฐานะผู้ลงทุนขบวนรถ ส่วน กทม. ในฐานะผู้ลงทุนงานโยธาและระบบไฟฟ้าและเครื่องกล ได้ร่วมรับผิดชอบดำเนินการตามนโยบายรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ทำให้ส่วนต่อขยายประกอบด้วยช่วงสะพานตากสิน-บางหว้า ช่วงอ่อนนุช-เคหะ และ ช่วงหมอชิต-คูคต จำนวน 59 สถานี รวมระยะทางถึง 68.25 กม. สามารถเชื่อมโยงการเดินทางครอบคลุมถึง 3 จังหวัด ได้แก่ ปทุมธานี, กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ โดยมีความคืบหน้าพร้อมเปิดเป็นทางการครบทั้ง 59 สถานี ในวันที่ 16 ธ.ค. 2563 นี้

4.อีกหนึ่งข้อเท็จจริงเช่นกัน ประเด็นค่าโดยสารที่จะเพิ่มขึ้นจากเส้นทางเดินรถไฟฟ้าในส่วนต่อขยาย ช่วงสะพานตากสิน-บางหว้า, ช่วงอ่อนนุช-เคหะ และ ช่วงหมอชิต-คูคต ยังคงเป็นการกำหนดโดยกรุงเทพมหานคร BTSC อยู่ในฐานะผู้รับจ้างการเดินรถในส่วนต่อขยายนี้เท่านั้น

และที่ผ่านมากระทรวงมหาดไทย รวมถึงกรุงเทพมหานครมีเป้าหมายในการทำให้ค่าโดยสารมีอัตราที่เหมาะสม โดยจะมีการเก็บค่าโดยสารตามระยะทางเริ่มต้นจาก 15 บาท และรวมตลอดเส้นทางอยู่ในระดับไม่เกิน 65 บาท เพื่อไม่ให้เป็นภาระกระทบต่อคุณภาพชีวิตชาวกรุงเทพมหานคร จากค่าโดยสารตลอดเส้นทางที่ศึกษาไว้เดิมสูงสุดถึง 158 บาท

จนนำมาสู่การเจรจาเพื่อแก้ไขสัญญาสัมปทาน เพื่อให้สามารถจัดเก็บค่าโดยสารตามเป้าหมายและแก้ไขปัญหาเรื่องภาระหนี้สินของกรุงเทพมหานคร ซึ่งได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการและกระทรวงมหาดไทยและอยู่ระหว่างการเสนอขออนุมัติจากที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.)

5.ทั้งนี้ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BTSC ขอยืนยันในข้อเท็จจริงข้างต้น พร้อมย้ำอีกครั้งว่า ถึงแม้จะต้องเป็นผู้แบกรับภาระค่าใช้จ่ายในการเดินรถส่วนต่อขยาย จากหนี้คงค้างของกรุงเทพมหานครกว่า 8,000 ล้านบาท ทางบริษัทฯ ให้คำมั่นสัญญาจะรับผิดชอบให้บริการ การเดินรถไฟฟ้าบีทีเอส แก่ชาวกรุงเทพมหานคร และ ปริมณฑล เป็นปกติเช่นเดิมจนถึงที่สุด รวมถึงยืนยันหลักการในความร่วมมือกับทุกฝ่าย

โดยเฉพาะกระทรวงมหาดไทย และกรุงเทพมหานคร เพื่อทำให้แผนการขยายเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีเขียว รวมระยะทาง 68.25 กม. มีความสมบูรณ์แบบมากที่สุด จนกว่าจะมีความชัดเจนอย่างใดอย่างหนึ่งจากที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.)
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 07/12/2020 11:08 am    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
รถไฟฟ้าสายสีทองเปิดวิ่ง 16 ธ.ค.นี้ สีเขียวหมอชิต-คูคต ยังนั่งฟรี
อสังหาริมทรัพย์
วันที่ 4 ธันวาคม 2563 เวลา 16:05 น.


16 ธ.ค.เปิดบริการรถไฟฟ้า BTS คูคต,สายสีทอง ตั้งเป้าผู้โดยสาร 7 แสนเป็น 1 ล้าน
ข่าวทั่วไทย
ไทยรัฐฉบับพิมพ์
วันที่ 7 ธันวาคม 2563 เวลา 09:01 น.

วันที่ 16 ธ.ค.นี้ กรุงเทพมหานครจะเปิดให้บริการรถไฟฟ้า 2 เส้นทาง โดยเส้นทางแรก รถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยายหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต ส่วนที่เหลือ จากสถานีวัดพระศรีมหาธาตุ-สถานีคูคต รวม 7 สถานี เส้นทางที่ 2 รถไฟฟ้าสายสีทอง สถานี กรุงธนบุรี-สถานีสำนักงานเขตคลองสาน


“รายงานวันจันทร์” วันนี้มีคำชี้แจงจากกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บมจ. ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ “สุรพงษ์ เลาหะอัญญา” ถึงความพร้อม ในการให้บริการ



ถาม-ความพร้อมของรถไฟฟ้าทั้ง 2 เส้นทางเป็นอย่างไร
สุรพงษ์-บริษัทได้ทดสอบการเดินรถไฟฟ้าบีทีเอสเสมือนจริงตลอดเส้นทาง จากสถานีการเคหะสมุทรปราการ-สถานีคูคต เสร็จสิ้นวันที่ 3 ธ.ค. ที่ผ่านมา พบว่าการเดินรถราบรื่นดี ไม่มีปัญหา หรืออุปสรรคแต่อย่างใด ยืนยันพร้อมเปิดให้ประชาชนใช้บริการตามกำหนด ในช่วงบ่ายวันที่ 16 ธ.ค. หลังเสร็จพิธีเปิดอย่างเป็นทางการในช่วงเช้า ส่วนรถไฟฟ้าสายสีทอง ผลการทดสอบราบรื่นดีเช่นกัน พร้อมเปิดให้บริการช่วงบ่ายในวันเดียวกัน

ถาม-ความถี่ขบวนรถและค่าโดยสารเท่าไหร่
สุรพงษ์–รถไฟฟ้าบีทีเอสมีทั้งหมด 98 ขบวน แต่ละขบวนมี 4 ตู้ โดยช่วงเช้า–เย็น จัดเดินรถ 2 วง เพื่อไม่ให้การเดินรถขาดช่วง วงแรกรอบใน สถานีหมอชิต–สถานีสำโรง ความถี่การเดินรถ 2.25 นาที/ขบวน วงที่ 2 รอบนอก สถานีเคหะ–สถานีลำลูกกา ความถี่ 5 นาที/ขบวน โดยผู้โดยสารที่นั่งระยะทางไกลจากการเคหะฯ จะต้องเปลี่ยนขบวนรถที่สถานีสำโรง หรือจากคูคต จะต้องเปลี่ยนขบวนที่สถานีหมอชิต เป็นต้น ส่วนนอกเวลาเร่งด่วนจะเดินรถครบวงตลอดเส้นทาง ผู้โดยสารไม่ต้องเปลี่ยนขบวนรถแต่อย่างใด ขณะที่รถไฟฟ้าสายสีทอง มีทั้งหมด 3 ขบวน ขบวนละ 2 ตู้ รองรับ ผู้โดยสารได้ 4,000-12,000 คน/ชม./ทิศทาง


ส่วนเรื่องค่าโดยสาร รถไฟฟ้าบีทีเอสส่วนต่อขยาย ทาง กทม. แจ้งว่า จะให้ผู้โดยสารนั่งฟรี จนถึงวันที่ 1 ม.ค.2564 หลังจากนั้นต้องรอฟังนโยบายจาก กรุงเทพมหานครอีกครั้ง อย่างไรก็ตาม บริษัทได้เตรียมความพร้อมระบบการ จำหน่ายตั๋วรองรับไว้แล้ว สำหรับรถไฟฟ้าสายสีทอง จะเริ่มเก็บค่าโดยสารทันที ราคา 15 บาท ตลอดสาย สามารถใช้บัตรโดยสาร ร่วมกับรถไฟฟ้าบีทีเอส



ถาม-มีสิ่งอำนวยความสะดวกอย่างไร
สุรพงษ์-เส้นทางส่วนต่อขยายไปสถานีคูคต จะมีอาคารจอดรถ 2 แห่ง แห่งแรกที่สถานีคูคต ถนนพหลโยธิน กม.25 จอดรถได้ 1,042 คัน แห่งที่ 2 บริเวณใกล้กับสถานีตำรวจภูธรคูคต จอดรถได้ประมาณ 713 คัน ทั้งนี้ คาดว่าหลังจากเปิดให้บริการครบตลอดเส้นทางแล้วปริมาณผู้โดยสารจะเพิ่มขึ้นเล็กน้อย จากปัจจุบันผู้โดยสารเฉลี่ย 700,000-800,000 เที่ยวคน/วัน โดยตั้งเป้าในปี 2564 ผู้โดยสารจะเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 1 ล้านเที่ยวคน/วัน.
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 08/12/2020 11:05 am    Post subject: Reply with quote

นับถอยหลัง! 6 รถไฟฟ้า ใหม่ กำลังมา
วันที่ 6 ธันวาคม 2563 เวลา 10:40 น.
ตีพิมพ์ใน หน้า 7
หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ
ปีที่ 40 ฉบับที่ 3,632
วันที่ 3 - 5 ธันวาคม พ.ศ. 2563


นับถอยหลัง! 6 รถไฟฟ้าใหม่กำลังมาหลังเปิด ส่วนต่อขยายสายสีน้ำเงินแล้ว วันที่16 ธันวาคมนี้ มีอีก2สาย สายสีเขียวเหนือ เต็มทั้งระบบสายสีทอง ตามด้วยสายสีเหลือง-ชมพู-ส้ม

เจาะศักยภาพแกร่ง รถไฟฟ้าสายใหม่
วันที่ 6 ธันวาคม 2563 เวลา 09:18 น.
ตีพิมพ์ใน หน้า 19-20
หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ
ปีที่ 40 ฉบับที่ 3,633
วันที่ 6 - 9 ธันวาคม พ.ศ. 2563

เจาะศักยภาพแกร่ง ทำเล รถไฟฟ้าสายใหม่ สายสีเขียวเหนือ สายสีเหลือง สายสีชมพู
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 08/12/2020 6:02 pm    Post subject: Reply with quote

รฟม.อัปเดตรถไฟฟ้าสีส้ม คืบหน้า 72.74% ส่วนชมพู-เหลืองคืบกว่า 68% ทยอยเปิดตั้งแต่ ต.ค. 64
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันที่ 11 ธันวาคม 2563 เวลา 12:36 น.

รฟม.อัปเดตก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีส้ม (ศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี) งานโยธาคืบ 72.74% เร็วกว่าแผน 0.93% ส่วนสีชมพูคืบ 66.05% สีเหลือง ผลงาน 68% คาดทยอยเปิดเดินรถ ตั้งแต่ ต.ค. 64

รายงานข่าวจากการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ถึงความก้าวหน้างานก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าในความรับผิดชอบของ รฟม.จำนวน 3 โครงการ ณ สิ้นเดือนพฤศจิกายน 2563 ได้แก่

1. โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) มีระยะทางประมาณ 22.57 มีความก้าวหน้างานโยธา 72.74% เร็วกว่าแผน 0.93%

โดยสัญญา 1 งานก่อสร้างอุโมงค์ทางวิ่งและสถานีใต้ดินช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ-รามคำแหง 12 มี CKST Joint Venture เป็นผู้รับจ้าง ผลงานคืบหน้า 82.52%

สัญญาที่ 2 งานก่อสร้างอุโมงค์ทางวิ่งและสถานีใต้ดิน ช่วงรามคำแหง 12-หัวหมาก มี CKST Joint Venture เป็นผู้รับจ้าง ผลงานคืบหน้า 68.85%

สัญญาที่ 3 งานก่อสร้างอุโมงค์ทางวิ่งและสถานีใต้ดินช่วงหัวหมาก-คลองบ้านม้า มี บมจ.อิตาเลียนไทยฯ เป็นผู้รับจ้าง ผลงานคืบหน้า 71.91%

สัญญาที่ 4 งานก่อสร้างโครงสร้างทางวิ่งและสถานียกระดับช่วง คลองบ้านม้า-สุวินทวงศ์ มี บมจ.ยูนิค เอ็นจิเนียริ่งฯ เป็นผู้รับจ้าง ผลงานคืบหน้า 61.83%

สัญญาที่ 5 งานก่อสร้างอาคารศูนย์ซ่อมบำรุงและอาคารจอดแล้วจร มี CKST Joint Venture เป็นผู้รับจ้าง ผลงานคืบหน้า 76.05%

สัญญาที่ 6 งานก่อสร้างระบบราง มี บมจ.ยูนิค เอ็นจิเนียริ่งฯ เป็นผู้รับจ้าง ผลงานคืบหน้า 70.02%

2. โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง ระยะทางทั้งสิ้น 30.4 กิโลเมตร บริษัท อีสเทิร์น บางกอกโมโนเรล จำกัด เป็นผู้รับสัญญาสัมปทาน มีความก้าวหน้างานโยธา 70.64% งานระบบรถไฟฟ้า 64.56% โดยคิดเป็นความก้าวหน้าโดยรวม 68.00%

3. โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี ระยะทางทั้งสิ้น 34.5 กิโลเมตร บริษัท นอร์ทเทิร์น บางกอกโมโนเรล จำกัด เป็นผู้รับสัญญาสัมปทานร่วมลงทุน มีความก้าวหน้างานโยธา 68.49% ความก้าวหน้างานระบบรถไฟฟ้า 62.76% โดยคิดเป็นความก้าวหน้าโดยรวม 66.05%

ทั้งนี้ รถไฟฟ้าสายสีเหลือง และสายสีชมพู คาดว่าระบบจะมีความพร้อมในเดือน เม.ย. 2564 จากนั้นจะมีการทดสอบเดินรถเสมือนจริง (Trial Running) ช่วงเดือน ก.ค.-ก.ย. 64 และจะทยอยเปิดให้บริการตั้งแต่ ต.ค. 64 และให้บริการตลอดสายภายในเดือน ต.ค. 65

📣วันนี้น้องทันใจจะมาอัพเดท 🚧🚆ความก้าวหน้างานก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าในความรับผิดชอบของ รฟม. ณ สิ้นเดือนพฤศจิกายน 2563 🔛 ดังนี้
การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย
วันที่ 8 ธันวาคม 2563 เวลา 14:24 น.

1. โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย - มีนบุรี (สุวินทวงศ์) 🏗ความก้าวหน้างานโยธา 72.74%
2. โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว - สำโรง 🏗ความก้าวหน้างานโยธา 70.64% 🚧ความก้าวหน้างานระบบรถไฟฟ้า 64.56% ความก้าวหน้าโดยรวม 68.00%
3. โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย - มีนบุรี 🏗ความก้าวหน้างานโยธา 68.49% 🚧ความก้าวหน้างานระบบรถไฟฟ้า 62.76% ความก้าวหน้าโดยรวม 66.05%
-----------------------------------------
วิสัยทัศน์ รฟม. (พ.ศ.2560-2565)
เป็นองค์กรที่มีความเป็นเลิศด้านรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน ที่สามารถยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชนและส่งเสริมการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน


Last edited by Wisarut on 14/12/2020 10:18 am; edited 3 times in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 08/12/2020 6:03 pm    Post subject: Reply with quote

รฟม. กำชับทุกโครงการก่อสร้างดูแลความปลอดภัยบนท้องถนน พร้อมจัดบริการรถไฟฟ้า MRT รองรับการเดินทางของประชาชน ในช่วงวันหยุดยาว 10 – 13 ธันวาคม 2563
การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย
วันที่ 8 ธันวาคม 2563 เวลา 15:49 น.

นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่า รฟม. ได้เตรียมพร้อมมาตรการการอำนวยความสะดวกและปลอดภัย รองรับการเดินทางของประชาชนที่จะเดินทางกลับภูมิลำเนา หรือเดินทางไปท่องเที่ยว ในช่วงวันหยุดยาวระหว่างวันที่ 10 – 13 ธันวาคม 2563 ตามมติคณะรัฐมนตรี ที่ได้กำหนดวันหยุดยาวเพื่อการกระตุ้นการท่องเที่ยวภายในประเทศ โดย รฟม. ได้กำชับให้ที่ปรึกษา และผู้รับจ้างงานโยธา โครงการรถไฟฟ้าที่อยู่ระหว่างก่อสร้างทุกสาย ปฏิบัติตามมาตรการความปลอดภัยอย่างเคร่งครัด หมั่นตรวจสอบและจัดสภาพหน้างานให้อยู่ในสภาพเรียบร้อย เช่น การจัดการพื้นที่ปิดปากบ่อ หลุม และช่องเปิดต่างๆ การจัดเก็บอุปกรณ์เครื่องมือ เครื่องจักร ให้เรียบร้อยและปลอดภัย ไม่กีดขวางการจราจร การจัดแนวแบริเออร์ให้เป็นระเบียบ จัดทำป้ายเตือน ป้ายทางเบี่ยง ทางเลี่ยง และปิดกั้นแนวรั้วคอนกรีตบริเวณ จุดที่เป็นอันตรายให้เรียบร้อย รวมถึงการติดตั้งไฟส่องสว่างให้ชัดเจน การตรวจสอบอุปกรณ์ไฟฟ้า และการจัดเก็บวัตถุไวไฟหรือสารไวไฟให้เรียบร้อย นอกจากนี้ ยังจัดให้มีเจ้าหน้าที่เฝ้าระวังและจัดเตรียมอุปกรณ์ด้านจราจรเพื่อเตรียมพร้อมให้การช่วยเหลือกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อทำให้เกิดความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน รวมทั้งป้องกันอุบัติเหตุที่อาจจะเกิดขึ้น ทั้งนี้ รฟม. ได้กำกับดูแลการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลให้คืบหน้าอย่างต่อเนื่อง มุ่งเติมเต็มโครงข่ายระบบขนส่งมวลชนทางราง เพื่อเชื่อมต่อทุกการเดินทางของประชาชนด้วยมาตรฐานความปลอดภัยสูงสุด โดยปัจจุบัน โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม (ตะวันออก) ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) มีความก้าวหน้างานโยธา 72.74% คาดว่าจะเปิดให้บริการในปี 2567 โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย – มีนบุรี มีความก้าวหน้างานโยธา 68.49% และงานระบบรถไฟฟ้า 62.76% คาดว่าจะเปิดให้บริการเต็มรูปแบบในปี 2565 และโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว – สำโรง มีความก้าวหน้างานโยธา 70.64% และงานระบบรถไฟฟ้า 64.56% คาดว่าจะเปิดให้บริการเต็มรูปแบบในปี 2565 (ข้อมูลความก้าวหน้า ณ สิ้นเดือนพฤศจิกายน 2563)
นอกจากนี้ รฟม. และ บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (BEM) ยังมีความพร้อมในการให้บริการรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล (MRT สายสีน้ำเงิน) และสายฉลองรัชธรรม (MRT สายสีม่วง) แก่ประชาชนผู้ใช้บริการที่ต้องการเดินทางกลับภูมิลำเนาในต่างจังหวัด ด้วยแนวเส้นทางรถไฟฟ้า MRT ที่มีจุดเชื่อมต่อไปยังสถานีรถไฟ จำนวน 4 จุด ได้แก่ จุดเชื่อมต่อจาก MRT สถานีบางซื่อ สถานีหัวลำโพง สถานีบางซ่อน และสถานีบางขุนนนท์ หรือ เดินทางจาก MRT สถานีกำแพงเพชร ไปยังสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพฯ (หมอชิต 2) เพื่อการเดินทางออกสู่ต่างจังหวัด รวมทั้งผู้ใช้บริการยังสามารถเดินทางเชื่อมต่อจาก MRT สถานีเพชรบุรี ไปยังรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ มุ่งหน้าสู่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิได้
อย่างไรก็ดี สำหรับผู้ใช้บริการที่วางแผนจะใช้เวลาช่วงวันหยุดยาวในกรุงเทพฯ รฟม. และ BEM ขอแนะนำแหล่งเรียนรู้เชิงประวัติศาสตร์แห่งใหม่ จากความร่วมมือกับ มิวเซียมสยาม ในการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ภายในสถานีรถไฟฟ้า (Site Museum) แห่งแรกของประเทศไทย ที่ MRT สถานีสนามไชย บริเวณชั้นออกบัตรโดยสาร ฝั่งทางออก 1 (เชื่อมไปมิวเซียมสยาม) ด้วยการนำเสนอเรื่องราว “การซ้อนทับของยุคสมัย” ผ่านงานแสดงโบราณวัตถุ ที่ถูกค้นพบในระหว่างงานขุดเจาะอุโมงค์ใต้ดินเพื่อก่อสร้างสถานีรถไฟฟ้า โดยผู้สนใจสามารถเข้าชมได้ ทุกวัน ตั้งแต่เวลา 06.00 - 24.00 น. โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
ทั้งนี้ รฟม. และ BEM ขอความร่วมมือผู้โดยสารรถไฟฟ้า MRT ทุกท่าน ปฏิบัติตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 อย่างต่อเนื่อง โดยสวมหน้ากากผ้า หรือหน้ากากอนามัย ตลอดระยะเวลาที่เข้าใช้บริการ งดเว้นการพูดคุย และโปรดหลีกเลี่ยงการยืนหันหน้าเข้าหากันขณะอยู่ในขบวนรถไฟฟ้า สแกน QR Code ไทยชนะ ที่ติดอยู่ในตู้โดยสาร เพื่อเช็คอินเมื่อเข้าขบวนรถ และเช็คเอาท์ก่อนออกจากขบวนรถ โดยรถไฟฟ้า MRT ได้จัดให้มีจุดตรวจคัดกรองวัดอุณหภูมิผู้ใช้บริการรถไฟฟ้า และจุดบริการเจลแอลกอฮอล์ล้างมือภายในสถานีรถไฟฟ้าทุกสถานี ทั้งยังหมั่นทำความสะอาดด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อภายในสถานี และภายในขบวนรถไฟฟ้า รวมถึงทำความสะอาดเหรียญโดยสารเป็นประจำ นอกจากนี้ รฟม. ได้จัดกำลังเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย เจ้าหน้าที่กู้ภัย เจ้าหน้าที่พิสูจน์ทราบ (EOD) และสุนัข K-9 ประจำการเพื่อปฏิบัติหน้าที่ตลอดระยะเวลาการเปิดให้บริการของรถไฟฟ้า MRT รวมถึงจัดเจ้าหน้าที่สื่อสารประจำศูนย์วิทยุพสุธา และศูนย์วิทยุบางไผ่ ตรวจตราทาง CCTV และรับแจ้งเหตุผิดปกติ เหตุฉุกเฉิน ทางหมายเลขโทรศัพท์ 0 2938 3666 ตลอด 24 ชั่วโมง ติดตามรายละเอียดและข้อมูลข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ รฟม. www.mrta.co.th และเฟซบุ๊กแฟนเพจ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย หรือ Call Center รฟม. โทร. 0 2716 4044
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 11/12/2020 3:43 am    Post subject: Reply with quote

เปิดค่าตั๋วรถไฟฟ้าหลากสี รัฐคลอด “บอร์ดตั๋วร่วม” คุมค่าโดยสาร
อสังหาริมทรัพย์
วันที่ 10 ธันวาคม 2563 - 13:00 น.

มีทั้งข่าวดีและข่าวร้ายมาพร้อมรถไฟฟ้าสารพัดสีที่ทยอยเปิดให้บริการ นอกจากจะช่วยให้คนเดินทางสะดวก แต่ก็ต้องควักเงินเสียค่าเดินทางเพิ่มขึ้นและหลายต่อ

10 ปีไม่คืบหน้าตั๋วร่วม
ขณะที่ความหวังจะพึ่ง “ระบบตั๋วร่วม” ก็ดูเลือนราง เจอโรคเลื่อนซ้ำซากมาร่วม 10 ปี ล่าสุด “กระทรวงคมนาคม” ในฐานะเจ้าภาพ กำลังออกแรงเข็นระบบการเชื่อมต่อของ 3 รถไฟฟ้า สายสีเขียว สายสีน้ำเงิน และสายสีม่วง ให้ใช้บัตรโดยสารแตะข้ามระบบกันได้แบบไร้รอยต่อ จากเดิมจะคิกออฟเดือน ต.ค.ที่ผ่านมา สุดท้ายขยับไปเป็นในปี 2564

แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคมเปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ระบบตั๋วร่วมมีการผลักดันมากว่า 10 ปี นับจากวันที่ 22 พ.ย. 2550 ที่ผู้ประกอบการเดินรถ ได้แก่ บมจ.ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ (BTSC) และ บมจ.ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ (BEM) เซ็นบันทึกข้อตกลง (MOU) ปรับปรุงระบบใหhรองรับกันได้ แต่ก็ไม่สำเร็จ เพราะ BEM ไม่พร้อม

ต่อมาสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ปรับเปลี่ยนหัวอ่านบัตรโดยสารแต่ละระบบ ส่งต่อให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เป็นผู้บริหารจัดการ แต่ไม่มีความคืบหน้า เนื่องจาก รฟม.จะเปลี่ยนเป็นระบบ EMV

ปี’64 คิกออฟแตะข้ามระบบ
ล่าสุดนโยบายเปลี่ยนให้เร่งนำบัตรโดยสารที่ใช้ในระบบ คือ บัตรแมงมุม 2 แสนใบ บัตร MRT Plus และบัตร MRT 2 ล้านใบ และบัตรแรบบิท 12 ล้านใบ ให้ใช้บริการข้ามระบบกันได้ ให้แล้วเสร็จในเดือน ต.ค.ที่ผ่านมา ถึงขณะนี้ยังไม่สามารถใช้บริการได้ เนื่องจากติดโควิด-19 ผู้เชี่ยวชาญงานระบบไม่สามารถเดินทางมาได้

“การใช้บัตรแตะข้ามระบบ ผู้ประกอบการแต่ละระบบจะดำเนินการเอง ซึ่ง BTS มีค่าใช้จ่าย 120 ล้านบาท ส่วน BEM และ รฟม.อยู่ที่ 225.4 ล้านบาท แอร์พอร์ตลิงก์ 105 ล้านบาท ซึ่งการใช้บัตรข้ามระบบด้วยกันได้ เป็นการดำเนินการระยะสั้น ให้ประชาชนที่ถือบัตรโดยสารของแต่ละระบบสะดวก แต่ยังเสียค่าโดยสารตามการใช้งานจริง ตอนนี้บีทีเอสดำเนินการใกล้เสร็จแล้ว ส่วน รฟม.และ BEM ยังไม่สรุปค่าใช้จ่าย คาดว่าจะเริ่มใช้ได้ภายในปี 2564 ใน 3 ระบบก่อน คือ บีทีเอส MRT สีม่วง ส่วนแอร์พอร์ตลิงก์ยังติดปัญหาการประมูล”

ระบบตั๋วเปิดรออีก 2 ปี
แหล่งข่าวกล่าวอีกว่า ส่วนระยะยาวทาง รฟม.จะดำเนินการพัฒนาระบบตั๋วร่วมในรูปแบบ account based ticketing (ABT) เป็นระบบเปิด เป็นการใช้บัตรผ่านระบบบัญชีบัตร ครอบคลุมทั้งรถไฟฟ้า รถเมล์ เรือโดยสาร ทางด่วน ร้านสะดวกซื้อ ด้วยบัตรใบเดียว คาดว่าจะใช้เวลาอีกอย่างน้อย 2 ปี หรือภายในปี 2566


สำหรับการใช้อัตราค่าโดยสารร่วม (common fare) น่าจะมีความชัดเจนขึ้น หลังระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม พ.ศ. 2563 มีผลบังคับใช้ จะมีคณะกรรมการนโยบายระบบตั๋วร่วม (CTAC) มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเป็นประธาน จะมีอำนาจหน้าที่ เช่น จัดทำและเสนอนโยบายหรือแนวทางในการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม และโครงสร้างอัตราค่าโดยสารร่วม และค่าธรรมเนียมในการดำเนินงานระบบตั๋วร่วม ต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.)

“ที่ผ่านมาเป็นการขอความร่วมมือจึงทำให้ยังไม่สำเร็จ อาจจะเป็นเรื่องยาก เพราะทั้งสายสีเขียวและสายสีน้ำเงินยังมีสัญญาสัมปทานเดิมอยู่ หากกระทบต่อรายได้เอกชนทางรัฐก็ต้องไปสนับสนุน แต่ถ้าลดราคาแล้วผู้โดยสารเพิ่ม ไม่กระทบเอกชน ก็อาจจะเจรจาสำเร็จได้ อยู่ที่นโยบาย”


บี้ลดค่าโดยสารรถไฟฟ้า
อย่างกรณีนั่งสายสีม่วงมาต่อสายสีน้ำเงิน ที่ปัจจุบันเสียค่าแรกเข้าครั้งเดียว เนื่องจาก รฟม.รับภาระให้ BEM ในส่วนค่าแรกเข้า 14 บาท ของสายสีน้ำเงิน หลังเชื่อมต่อกับสายสีม่วงที่สถานีเตาปูน เพราะ BEM ยึดตามสัญญา ส่วนสายใหม่ที่อยู่ในกำกับดูแลของ รฟม. เช่น สายสีชมพู สายสีเหลือง สายสีส้ม จะคิดค่าโดยสารเริ่มต้น 14-42 บาททุกสาย แต่หากจะใช้ระบบเชื่อมต่อกัน จะเสียค่าแรกเข้าครั้งเดียว แต่ถ้าไปใช้สายสีเขียวจะต้องเสียค่าแรกเข้าเพิ่ม เพราะสายสีเขียวอยู่ในความดูแลของกรุงเทพมหานคร (กทม.)

แหล่งข่าวกล่าวอีกว่า ก่อนหน้านี้มีการหยิบประเด็นเรื่องลดค่าโดยสารรถไฟฟ้ามาพิจารณากัน หลังนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม มีนโยบายผลักดันเพื่อลดค่าครองชีพของประชาชน แต่ไม่มีความคืบหน้าเพราะติดสัมปทานเดิม แต่ รฟม.ได้ลดราคาสายสีม่วงให้เหลือ 14-20 บาท และยกเว้นค่าแรกเข้าสายสีน้ำเงินให้ ทำให้ผู้ใช้บริการสายสีม่วงมาต่อสายสีน้ำเงินจ่ายสูงสุด 48 บาท ที่สามารถดำเนินการได้เพราะรัฐลงทุนงานโยธาให้ ขณะที่สายสีเขียวเอกชนลงทุนเองทั้งหมด

“การที่คมนาคมออกมาพูดถึงค่าโดยสารสูงสุด 65 บาทของสายสีเขียว เพื่อต้องการให้เอกชนยอมลดราคาลงอีก เพราะเรื่องนี้เป็นนโยบายแรก ๆ ของนายศักดิ์สยาม และอาจจะเห็นผลตอบรับจากการเจรจาต่อสัญญาทางด่วนแล้ว BEM ยกเว้นค่าทางด่วนในช่วงวันหยุดให้ จึงอยากให้บีทีเอสลดราคาสายสีเขียวลงอีก แต่จริง ๆ ก็ต้องคุยทุกเจ้า ทั้งบีทีเอส MRT แอร์พอร์ตลิงก์ที่ปีหน้าจะมีกลุ่ม ซี.พี.มารับสัมปทาน” แหล่งข่าวกล่าว

สำหรับประเด็นค่าโดยสารรถไฟฟ้าเป็นสิ่งที่คาใจคนใช้บริการมานาน ถึงแม้จะเป็นการบริการที่เป็นทางเลือกโหมดหนึ่งของการเดินทางก็ตาม เพราะหาก “บิ๊กคมนาคม” ทำได้จริงก็จะได้ใจคนกรุงไปได้ไม่มากก็น้อย

เปิดค่านั่งรถไฟฟ้าสายใหม่
เมื่อพลิกดูราคาค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายใหม่ที่จะเปิดบริการ ในส่วนสายสีเขียวที่มีทั้งสายหลัก ส่วนต่อขยายช่วงที่ 1 และช่วงที่ 2 ตามโครงสร้างราคาใหม่ที่ “กทม.-กรุงเทพมหานคร” เจรจาได้ข้อยุติกับบีทีเอส จะล้างที่เก็บหลายต่อ เป็นเก็บค่าแรกเข้าครั้งเดียว เริ่มต้น 15 บาท สูงสุด 65 บาท

ด้านสายสีทอง เก็บ 15 บาทตลอดสาย แต่เมื่อเข้าระบบบีทีเอสที่กรุงธนบุรีจะต้องเสียค่าแรกเข้าอีก 16 บาท สายสีชมพู (แคราย-มีนบุรี) และสายสีเหลือง (ลาดพร้าว-สำโรง) เตรียมเปิดบริการเชิงพาณิชย์ในเดือน ต.ค. 2564 จะเก็บค่าโดยสารทันที 14-42 บาท สายสีแดง “ตลิ่งชัน-บางซื่อ-รังสิต” จะเปิดเชิงพาณิชย์ในเดือน พ.ย. 2564 จะเก็บค่าโดยสาร 15-50 บาท

ส่วน “แอร์พอร์ตลิงก์” ปัจจุบันเก็บค่าโดยสาร 15-45 บาท ก็เป็นที่จับตาภายใต้การบริหารของกลุ่ม ซี.พี.จะมารับช่วงต่อในเดือน ต.ค. 2564 จะขยับค่าตั๋วใหม่หรือไม่ โดยในสัญญากำหนดให้ราคาจากพญาไท-สุวรรณภูมิไม่เกิน 45 บาท/เที่ยว แต่ถ้าเปิดส่วนต่อขยายเพิ่มเติมไปยังบางซื่อ และดอนเมือง จะเก็บได้ไม่เกิน 97 บาท/เที่ยว

ทั้งหมดฝากความหวังไว้กับ “คณะกรรมการตั๋วร่วม” จะสามารถคุมค่าโดยสารรถไฟฟ้า ที่ใคร ๆ ก็ว่าแพงให้ถูกลงได้อีกหรือไม่
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 11/12/2020 7:51 pm    Post subject: Reply with quote

คมนาคมตั้งเป้าเปลี่ยนรถสาธารณะเป็นไฟฟ้าใน 20 ปี-นำร่อง 6 จังหวัดและเรือไฟฟ้าใน กทม.
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันที่ 10 ธันวาคม 2563 เวลา 08:39 น.

“คมนาคม” วางแผนปรับรถขนส่งสาธารณะเป็นยานยนต์ไฟฟ้าใช้เวลาเปลี่ยนผ่าน 20 ปี เผยยังมีอุปสรรค ทั้งต้นทุนสูง มาตรการภาษีและส่งเสริมการลงทุน สถานีชาร์จไฟ รวมถึงการกำจัดแบตเตอรี่หมดสภาพ ผุดโครงการนำร่องใน 6 จังหวัด และเรือไฟฟ้าใน กทม.

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังการประชุมหารือการศึกษายานยนต์ไฟฟ้า (Electric Vehicle:EV) ร่วมกับคณะอนุกรรมาธิการพิจารณายานยนต์ไฟฟ้า สภาผู้แทนราษฎร ว่า เบื้องต้นคณะอนุกรรมาธิการพิจารณายานยนต์ไฟฟ้าได้นำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับข้อเสนอการขับเคลื่อนนโยบายของประเทศไทยซึ่งจะใช้ระยะเวลาเปลี่ยนผ่าน 15 ปี ในขณะที่กระทรวงคมนาคมศึกษาการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าในรถสาธารณะ โดยคาดว่าจะใช้ระยะเวลาเปลี่ยนผ่าน 20 ปี

เนื่องจากจะต้องศึกษาพิจารณาในเรื่องระเบียบกฎหมาย แผนส่งเสริมให้เกิดการปรับเปลี่ยน เช่นมาตรการทางภาษี การส่งเสริมอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนเนื่องจากพบว่ากรณีปรับเปลี่ยนเครื่องยนต์จากดีเซลเป็นระบบไฟฟ้ามีต้นทุนสูงถึง 300,000 บาท ซึ่งถือว่าสูงมาก นอกจากนี้ ยังมีเรื่องสถานีอัดประจุไฟฟ้าสาธารณะ การบริหารจัดการแบตเตอรี่หลังจากหมดสภาพ

จากการหารือพบว่าข้อมูลของคณะกรรมการฯ มีความสอดคล้องกับแผนงานและโครงการของกระทรวงคมนาคม เช่น การศึกษาการนำรถโดยสารสาธารณะด้วยเทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้านำมาใช้ในเส้นทางนำร่องในพื้นที่ 6 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพฯ สาย 137 (รามคำแหง-ถนนรัชดาภิเษก), จ.เชียงใหม่
ระบบขนส่งมวลชนสายสีเขียว (สนามบินเชียงใหม่-ห้างฯ เซ็นทรัลเฟสติวัล) จ.นครราชสีมา ระบบขนส่งมวลชน (อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี-โรงเรียนสุรนารีวิทยา)

จ.พระนครศรีอยุธยา รถโดยสารสาธารณะสายที่ 1 (วนซ้าย) และสายที่ 2 (วนขวา) เริ่มจากศาลากลางจังหวัด จ.ชลบุรี รถโดยสารสายที่ 1 (นิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร-สถานีรถไฟชลบุรี) และ จ.ภูเก็ต เส้นทางรถสาย 1814 ผภูเก็ต-ป่าตอง

ส่วนคมนาคมทางน้ำ กรมเจ้าท่ามีโครงการจัดหาระบบเรือโดยสารไฟฟ้าต้นแบบในคลองแสนแสบเพื่อประหยัดพลังงานและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

ทั้งนี้ คณะกรรมการฯ มีความกังวลในเรื่องที่อาจจะกระทบต่อการที่ประเทศไทยเป็นฐานการผลิตรถยนต์มาอย่างยาวนาน (ดีทรอยต์) อาจจะถูกประเทศอื่นช่วงชิงไปได้เนื่องจากหลายประเทศที่เริ่มพัฒนาเพื่อรองรับการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าแล้วทำให้มีความได้เปรียบประเทศไทย อาทิ บางประเทศมีแร่ในการทำแบตเตอรี่ เป็นต้น ซึ่งในส่วนของประเทศไทยนั้น รัฐบาลได้มีการผลักดันและบีโอไอมีการส่งเสริมนักลงทุนในเรื่องดังกล่าวแล้ว

ด้านสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ที่ได้ศึกษาแนวทางการผลักดันเทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้าในการเดินทางนั้น พบว่ามีอุปสรรค 4 ข้อ คือ 1. ราคารถแพง มีต้นทุนนำเข้า การผลิตตัวรถและชิ้นส่วนมีราคาสูง จึงต้องมีการส่งเสริมอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนและประกอบยานยนต์ไฟฟ้าจากบีโอไอ, ศึกษาราคาค่าไฟฟ้าสำหรับธุรกิจโดยสารสาธารณะที่เหมาะสม, ศึกษาความเหมาะสมในการดัดแปลงรถโดยสารดีเซลเป็นไฟฟ้า, บริหารจัดการแบตเตอรี่หลังหมดสภาพใช้งาน, พัฒนาอบรมบุคลากร

2. ขาดจุดชาร์จไฟ 3. ขาดระเบียบรองรับเกี่ยวกับรถโดยสารไฟฟ้า 4. ยังไม่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุน

ขณะที่กรมการขนส่งทางบก (ขบ.) ได้ศึกษาในเรื่องมาตรการภาษีประจำปี การแยกข้อมูลเพื่อใช้วิเคราะห์แนวโน้มการพัฒนา การกำหนดเครื่องหมายยานยนต์ไฟฟ้า มาตรการส่งเสริมสร้างแรงจูงใจในการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าเพื่อการขนส่งสาธารณะ
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 14/12/2020 10:19 am    Post subject: Reply with quote

ปั้น ‘มีนบุรี’ เมืองใหม่ รับจุดตัดสายสีส้ม-ชมพู
ออนไลน์เมื่อ วันที่ 4 ธันวาคม 2563 เวลา 13:24 น.
ตีพิมพ์ใน หน้า 19-20
หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ
ปีที่ 40 ฉบับที่ 3,632
วันที่ 3 - 5 ธันวาคม พ.ศ. 2563

ผังเมืองกทม.ใหม่ จุดพลุ มีนบุรี เมืองใหม่ย่านที่อยู่อาศัยอาศัยรวม-แหล่งงานชั้นสูง เทียบชั้นสีลม-สาทร ปรับสีผังเอื้อใช้ประโยชน์ที่ดิน พื้นที่สีแดง ย่านพาณชยกรรม หลังรถไฟฟ้า 2 สาย พลิกทำเลทองกวาดคนเข้า-ออกเมืองโซนตะวันออก
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 226, 227, 228 ... 277, 278, 279  Next
Page 227 of 279

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©