Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311324
ทั่วไป:13287492
ทั้งหมด:13598816
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 235, 236, 237 ... 278, 279, 280  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44824
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 03/05/2021 9:06 pm    Post subject: Reply with quote

เปิดโรดแมป รถไฟ EV “ศักดิ์สยาม” ดันให้เกิดปี68
ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 3 พฤษภาคม 2564 - 19:49 น.

“ศักดิ์สยาม” จี้ “กรมราง-รถไฟ” เร่งคลอด “รถไฟ EV” เผยโรดแมปการผลักดัน คาดรถต้นแบบวิ่งทดลองปี 68

เมื่อวันที่ 3 พ.ค. 2564 นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ได้สั่งการในที่ประชุมเรื่องการผลักดันการใช้เทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้าสำหรับการขนส่งสาธารณะ กรณีรถไฟขับเคลื่อนด้วยระบบไฟฟ้า EV on Train ใน 2 ประเด็นกับ ได้แก่

1. ให้กรมการขนส่งทางราง (ขร.) พิจารณาเร่งรัดแผนงานการนำรถไฟขับเคลื่อนด้วยระบบไฟฟ้า EV on Train มาใช้ในประเทศไทยให้เร็วขึ้น จากแผนเดิมปี 2568

2. ให้การรถไฟแห่งประเทศไทยจัดทำแผนการดำเนินงาน (Timeline) นำรถไฟขับเคลื่อนด้วยระบบไฟฟ้า EV on Train มาใช้ในประเทศไทย โดยร่วมกับภาคเอกชนและสถาบันการศึกษา เพื่อบังเกิดผลเป็นรูปธรรมต่อไป

เปิดโรดแมปรถไฟ EV เกิดปี 68
สำหรับขั้นตอนในการผลักดันมี 3 ระยะ ประกอบด้วย ระยะที่ 1 ปี 2564 การศึกษาความเหมาะสม ด้านความคุ้มค่าและรูปแบบของรถไฟแบบ EV , ระยะที่ 2 ปี 2565-2566 เป็นการออกแบบรถไฟ EVที่เหมาะสมกับประเทศไทยและเตรียมการจัดสร้างรถไฟ EV ต้นแบบ และระยะที่ 3 ปี 2567-2568 เป็นการดำเนินการจัดสร้างรถไฟ EV ตัวต้นแบบและนำรถไฟ EV ต้นแบบทดสอบวิ่งในเส้นทาง คาดว่าจะเกิดขึ้นในปี 2568 นี้
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42784
Location: NECTEC

PostPosted: 03/05/2021 11:48 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
เปิดโรดแมป รถไฟ EV “ศักดิ์สยาม” ดันให้เกิดปี68
ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 3 พฤษภาคม 2564 - 19:49 น.


คมนาคมเปิดไทม์ไลน์ ”EV รถไฟต้นแบบ”ประเทศไทย
*นับหนึ่งศึกษาปี65ออกแบบ67สร้าง68ทดสอบวิ่ง
*รฟท.ผนึกกำลังเอกชน-สถาบันการศึกษาแจ้งเกิด
*คัดโมเดล7รุ่น”ญี่ปุ่น-ออสเตรีย-อังกฤษ-เยอรมัน”
1. Cityjet Eco ประเทศออสเตรียเป็นผู้ผลิต,
2. EV-E301 series สำหรับ JR East เพื่อ เปลี่ยนกะ KIHA-40
3. EV-E801 series ปสำหรับ JR East เพื่อ เปลี่ยนกะ KIHA-40
4. British Rail Class 230 เพื่อ เปลี่ยนกะ Class 150 และ Class 153 ของ British Rail และ
5. British Rail Class 379 เพื่อ เปลี่ยนกะ Class 317 ของ British Rail
6. Siemens Mireo Plus B และ
7. Bombardier Talent 3 ที่ผลิตที่โรงงานเยอร์มันเพื่อใช้กะการรไฟออสเตรีย

ซึ่งแต่ละรุ่นมีขนาดแบตเตอรี่, ระยะเวลาชาร์จ, ความเร็วสูงสุดโหมดแบตเตอรี่ และระยะทางที่วิ่งในโหมดแบตเตอรี่แตกต่างกันไป.

สื่อต้องรู้เท่าทันว่าา รถไฟ EV คือระบบรถไฟฟ้าพลังแบตเตอรี่ เพราะ กระทรวงคมนาคมเขาไม่อยากลงทุนปักเสาไฟฟ้า ขนาด 25000 โวลต์ ถ้ารถไม่วิ่งบ่อยขนาด 40 คู่ หรือ 80 เที่ยว ครับ ข้อนี้สื่อต้องทำการบ้านอย่างหนักกว่าที่เป็นอยู่นี้หน่อยนะครับ
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/2895840930637406
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42784
Location: NECTEC

PostPosted: 04/05/2021 6:31 pm    Post subject: Reply with quote

“ตั๋วร่วม” 🕷 แมงมุมติดอะไร? 🐇 ทำไมแรบบิทไม่เกิด? แล้วอะไรคือ EMV? ที่สำคัญคือ “แล้วเมื่อไหร่จะได้ใช้?” 😰
วันนี้ LivingPop ขอพาทุกคนไปย้อนเวลา สืบตำนานประวัติศาสตร์ 14 ปีของ “ตั๋วร่วม” หรือโครงการบัตรโดยสารใบเดียวใช้ระบบคมนาคมได้ทุกประเภทกันครับ ว่าโครงการนี้เกิดขึ้นตั้งแต่เมื่อไหร่ มีเส้นทางการพัฒนาเป็นยังไงบ้าง ทำไมถึงได้ช้าเหลือเกิน
แล้วข้อสรุปถึงสาเหตุของปัญหา ที่มากกว่าข้อความสูตรสำเร็จที่มักจะตอบกันว่า “อ๋อ ก็แบ่งเค้กไม่ลงตัวน่ะ!” คืออะไรบ้าง
ขอบอกว่าเรื่องนี้อาจยาวสักหน่อย แต่เราพยายามจะเลือกช่วงเวลาที่สำคัญๆ มาปักหมุดให้ได้ไล่ timeline กัน ถ้าทุกคนพร้อมแล้ว ตามไปดูกันครับ

https://www.facebook.com/livingpopth/posts/1113131565867180
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42784
Location: NECTEC

PostPosted: 05/05/2021 6:14 pm    Post subject: Reply with quote

9 เส้นทางรถไฟทั่วกรุง-หัวเมืองใหญ่ 5 แสนล้านฉลุย
หน้า เศรษฐกิจมหภาค / Mega Project
วันที่ 2 - 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2564 เวลา 01:05 น.
ตีพิมพ์ใน หน้า 7
ฐานเศรษฐกิจ
ฉบับที่ 3,675
วันที่ 2 - 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2564

รฟม.เผยคืบหน้าสายสีส้ม เตรียมชงบอร์ดม.36 เคาะร่างทีโออาร์เปิดประมูล ด้านสายสีม่วงใต้ยืนยันได้ข้อสรุปเวนคืนที่ดินตึกแถวใกล้วัดเอี่ยมวรนุช ขณะที่สายสีน้ำตาลเร่งออกแบบฐานรากตอม่อร่วมกทพ. ฟากบีทีเอสเดินหน้าสายสีชมพู-เหลือง เป็นไปตามแผน เล็งทยอยเปิดให้บริการปลายปีนี้-ต้นปี 2565


มติคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อไม่นานมานี้ รับทราบ ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอผลการดำเนินงานของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(รฟม.) ตามปีงบประมาณ 2563 โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าในเขตกรุงเทพมหานครและในจังหวัดหัวเมืองใหญ่ 9 เส้นทาง มูลค่า 496440 ล้านบาท มีความก้าวหน้าตามแผนทั้งที่อยู่ระหว่างก่อสร้างและ โครงการที่เตรียมความพร้อมประมูลหาผู้รับจ้าง รายงานข่าวจากการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า ความคืบหน้าโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ระยะทาง 35.9 กิโลเมตร (กม.) วงเงิน1.4 แสนล้านบาท หลังจาก รฟม.เปิดรับฟังความคิดเห็นเปิดรับฟังความคิดเห็นผ่านช่องทางออนไลน์ เพื่อนำมาประกอบการจัดทำร่างเอกสารยื่นข้อเสนอโครงการ หรือ RFP ซึ่งจะเปิดรับฟังความคิดเห็นเป็นการทั่วไปในประเด็นต่างๆ เช่น เงื่อนไขการประกวดราคา การแบ่งซองข้อเสนอ รวมถึงการคำนวณคะแนนข้อเสนอเพื่อพิจารณาคัดเลือกผู้ชนะว่าควรเป็นอย่างไรนั้น เบื้องต้นรฟม.จะรวบรวมความคิดเห็นดังกล่าวเสนอต่อคณะกรรมการมาตรา 36 ต่อไป ทั้งนี้ในส่วนการก่อสร้างโครงการฯ ปัจจุบันมีความคืบหน้าราว 70-80% เป็นไปตามแผน ขณะเดียวกันจากสถานการณ์การแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19 ระบาดต่อเนื่อง ทำให้รฟม.ได้รับผลกระทบบ้าง เนื่องจากขาดแรงงานรับเหมาก่อสร้างและการนำเข้าวัสดุอุปกรณ์ทำให้ล่าช้าออกไป ทั้งนี้รฟม.จะปรับแผนการก่อสร้างฯกระทบต่อการเปิดให้บริการน้อยที่สุด คาดว่าจะเปิดให้บริการในเดือนตุลาคม 2567 ด้านความคืบหน้าโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ ช่วงเตาปูน- ราษฎร์บูรณะ ระยะทาง 23.6 กิโลเมตร (กม.) วงเงิน 1.01 แสนล้านบาท หลังจากที่รฟม.มีประเด็นกรณีที่รื้อวัดเอี่ยมวรนุชเพื่อก่อสร้างทางขึ้น-ลง ของสถานีบางขุนพรหม โดยรฟม. ลงพื้นที่ ปักหมุดแนวเขตพื้นที่เวนคืนนั้น ล่าสุดรฟม.ได้ประสานงานกับวัดเอี่ยมวรนุช ซึ่งได้ข้อสรุปแล้ว เบื้องต้นรฟม.จะใช้พื้นที่บริเวณตึกแถวหัวมุมของวัดเอี่ยมวรนุชเพื่อก่อสร้างโครงการฯ ซึ่งที่ผ่านมาเป็นการเข้าใจผิด เนื่องจากทางวัดเอี่ยมวรนุชเห็นว่าหลังจากพระราชกฤษฎีกาเวนคืนที่ดินมีผลบังคับใช้ในพื้นที่บริเวณดังกล่าวราว 100-200 เมตร ต้องดำเนินการเวนคืนที่ดินทั้งหมด ซึ่งความเป็นจริงไม่ใช่แบบนั้น ทั้งนี้ช่วงที่รฟม.จะดำเนินการก่อสร้างโครงการฯ โดยประสานงานกับวัดเอี่ยมวรนุชอีกครั้ง เพื่อหาแนวทางป้องกันกรณีขุดเจาะระหว่างการก่อสร้างไม่ให้กระทบต่อวัดเอี่ยมวรนุช ทั้งนี้อยู่ระหว่างการจัดทำเอกสารประกวดราคาและสำรวจอสังหาริมทรัพย์ คาดว่าจะดำเนินการแล้วเสร็จภายใน 2 เดือนหลังจากนี้ ซึ่งรฟม.ตั้งเป้าว่าจะเริ่มงานก่อสร้างภายในเดือนธันวาคม 2564 และเปิดให้บริการในเดือนมีนาคม 2570

ส่วนความคืบหน้าโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล ช่วงแคราย-ลำสาลี ระยะทาง 22 กิโลเมตร (กม.) วงเงิน 4.8 หมื่นล้านบาท ปัจจุบันรฟม.อยู่ระหว่างประสานงานร่วมกับการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) ในการประมูลการก่อสร้างฐานรากของโครงการฯ ร่วมกัน เนื่องจากมีตอม่อในพื้นที่บางส่วนของโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาลจำเป็นต้องใช้ฐานรากร่วมกันกับการการก่อสร้างทางด่วนขั้นที่ 3 บริเวณถนนลาดปลาเค้า-นวมินทร์ เบื้องต้นกทพ.จะเสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติดำเนินการออกแบบฐานรากร่วมกันระหว่าง 2 โครงการ ขณะเดียวกันรฟม.จะดำเนินการจ้างที่ปรึกษาออกแบบรายละเอียด (Detail Design) ของโครงการฯ ภายในไตรมาส 3 ปี 2564 คาดใช้เวลาดำเนินการศึกษาราว 6 เดือน ส่วนการศึกษาทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม(อีไอเอ) เบื้องต้นสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) อยู่ระหว่างดำเนินการเสนอรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม(อีไอเอ) ต่อคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (สผ.) ของกระทรวงทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

นายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บมจ.ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ (BTSC) กล่าวว่า ความคืบหน้าการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี ระยะทาง 34.5 กิโลเมตร (กม.) วงเงิน 50,970.63 ล้านบาท ยังเป็นไปตามแผน คาดว่าจะเปิดให้บริการบางช่วงมีนบุรี-ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ ภายในต้นปี 2565 หลังจากนั้นจะทยอยเปิดให้บริการช่วงอื่นๆ ต่อไป ส่วนการรับขบวนรถไฟฟ้าดำเนินการใกล้เสร็จแล้ว ขณะที่โครงการรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายสายสีชมพู ช่วงสถานีศรีรัช-เมืองทองธานี ระยะทาง 3 กิโลเมตร (กม.) วงเงิน 4,230 ล้านบาท ตามแผนรฟม.ต้องส่งมอบพื้นที่และออกหนังสือแจ้งให้เริ่มงาน (NTP) ราว 36 เดือน และจะเริ่มก่อสร้างทันที ระหว่างนี้บริษัทเตรียมรายละเอียดการก่อสร้างและผู้รับเหมาเพื่อดำเนินการก่อสร้างโครงการฯ หากพื้นที่พร้อม ทางบริษัทจะดำเนินการเข้าพื้นที่ทันที โดยใช้ระยะเวลาก่อสร้างราว 3 ปี

ส่วนการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง ระยะทาง 30.40 กิโลเมตร (กม.) วงเงิน 48,125 ล้านบาท ตามแผนพยายามจะเปิดให้บริการบางช่วง สำโรง-ลาดพร้าว ภายในเดือนธันวาคม 2564 9 เส้นทางรถไฟทั่วกรุง-หัวเมืองใหญ่ 5 แสนล้านฉลุย
9 เส้นทางรถไฟทั่วกรุง-หัวเมืองใหญ่ 5 แสนล้านฉลุย


รายงานข่าวจากรฟม. กล่าวต่อว่า โครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดเชียงใหม่ (โรงพยาบาลนครพิงค์-แยกแม่เหียะสมานสามัคคี) ระยะทาง 15.8 กม. วงเงิน 2.7 หมื่นล้านบาท ปัจจุบันอยู่ระหว่างการศึกษารายละเอียดความเหมาะสม ออกแบบและจัดเตรียมเอกสารประกวดราคาแล้วเสร็จ ทั้งนี้การเสนอขอความเห็นชอบรูปแบบการลงทุนมีความก้าวหน้าร้อยละ 30 (ตามแผน) คาดว่าจะเปิดให้บริการในเดือนกุมภาพันธ์ 2571 ขณะที่โครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดนครราชสีมา (ตลาดเซฟวัน-สถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพบ้านนารีสวัสดิ์) วงเงิน 7,115 ล้านบาท ที่ผ่านมามีการประชุมเพื่อทดสอบความสนใจ (Market Sounding) ครั้งที่ 2 ของภาคเอกชน (กลุ่มนักลงทุนและผู้ประกอบการ) ในขั้นตอนการศึกษารายละเอียดความเหมาะสม ออกแบบ และจัดเตรียมเอกสารประกวดราคา คาดว่าจะเปิดให้บริการในเดือนกุมภาพันธ์ 2571รายงานข่าวจากกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า คืบหน้าโครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดภูเก็ต ระยะที่ 1 ช่วงท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต-ห้าแยกฉลอง (แทรม) วงเงิน 3.5 หมื่นล้านบาท ภายหลังจากที่การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ได้นำเสนอการศึกษาเบื้องต้นของเทคโนโลยีรถไฟฟ้าประกอบด้วย 3 รูปแบบคือ รถไฟฟ้ารางเบาแบบล้อเหล็กรถไฟฟ้ารางเบาแบบล้อยาง และระบบ ART (Autonomous Rapid Transit) ให้แก่คณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) ทั้งนี้ นายศักดิ์สยามชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ได้สั่งการให้ รฟม. พิจารณาภาพรวมการคำนวณค่าโดยสาร ที่ รฟม. ได้ดำเนินการรับฟังความคิดเห็น ในเบื้องต้นไว้แล้ว ซึ่งต้องมีอัตราค่าโดยสารที่ไม่เป็นภาระกับประชาชนตามนโยบายรัฐบาล ในขณะที่ต้องสามารถ จูงใจให้เอกชนมาร่วมลงทุนได้ รวมทั้งขั้นตอนการก่อสร้าง ให้ รฟม. พิจารณาใช้เทคนิคการก่อสร้างที่ใช้ระยะเวลาน้อยที่สุด เพื่อลดผลกระทบด้านการจราจร เนื่องจากตามแนวเส้นทางของโครงการฯ จะผ่านบริเวณที่มีปัญหาการจราจรหนาแน่น คาดว่าจะเปิดให้บริการในเดือนกรกฎาคม 2569
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42784
Location: NECTEC

PostPosted: 14/05/2021 5:40 pm    Post subject: Reply with quote

รถไฟฟ้าสีเหลือง-ชมพูคืบเกิน70%เปิดเดินรถปี65 -สีเหลืองเสร็จ81% ยันเปิดปี67
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันศุกร์ที่ 14 พฤษภาคม 2564 เวลา 17:37 น.
ปรับปรุง: วันศุกร์ที่ 14 พฤษภาคม 2564 เวลา 17:37 น.

อัพเดตรถไฟฟ้าสายสีชมพู-เหลือง เปิดใช้แน่ปีหน้า
อสังหาริมทรัพย์
วันศุกร์ที่ 14 พฤษภาคม 2564 เวลา 15:41 น.

รฟม. เร่งก่อสรางรถไฟฟ้าสายสีเหลือง - ชมพู ก้าวหน้า กว่า70% พร้อมเปิดให้บริการปี 2565 ส่วนสีส้ม (ตะวันออก) งานโยธาคืบกว่า 81% แผนเปิดบริการปี 67

นายกิตติกร ตันเปาว์ รองผู้ว่าการ (วิศวกรรมและก่อสร้าง) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ในฐานะผู้อำนวยการโครงการ เปิดเผยว่า ความคืบหน้าการดำเนินงานก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าในความรับผิดชอบ จำนวน 3 สาย ณ สิ้นเดือนเม.ย. 2564 ประกอบด้วย

1. โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว – สำโรง มีระยะทางทั้งสิ้น 30.4 กิโลเมตร. เป็นระบบรถไฟฟ้าโมโนเรลแบบคร่อมรางบนทางวิ่งยกระดับ
มีความก้าวหน้างานโยธาคิดเป็น 82.46%
ความก้าวหน้างานระบบรถไฟฟ้าคิดเป็น 72.45% และ
ความก้าวหน้าโดยรวมคิดเป็น 78.11% (ณ สิ้นเดือนเม.ย. 2564)

โดยปัจจุบันมีความคืบหน้าที่งานสำคัญในส่วนของสถานีลาดพร้าว ถนนรัชดาภิเษก ซึ่งอยู่ในระหว่างการดำเนินงานสถาปัตยกรรมของสถานี เช่น งานเทพื้น ปูพื้น ก่อผนังห้อง งานคอนกรีต เป็นต้น โดยสถานีนี้ตั้งอยู่ใกล้กับอาคาร จอดแล้วจรสถานีลาดพร้าว ของรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล (MRT สายสีน้ำเงิน) ซึ่งจะกลายเป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างรถไฟฟ้าทั้งสองสายในอนาคต

นอกจากนี้ ยังมีความคืบหน้าในส่วนของสถานีศรีกรีฑา ถนนศรีนครินทร์ ซึ่งอยู่ระหว่างการดำเนินงานยกติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าในอาคาร งานติดตั้งผนัง งานปูพื้น เป็นต้น โดยสถานีนี้จัดเป็นสถานีที่สูงที่สุดของโครงการฯ มีความสูงอยู่ที่ประมาณ 17.87 เมตร (จากระดับพื้นถนน ถึง ชั้นจำหน่ายตั๋วโดยสาร) คาดว่าจะเปิดให้บริการเต็มรูปแบบได้ ภายในปี 2565

2. โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย – มีนบุรี ระยะทางรวม 34.5 กิโลเมตร เป็นระบบรถไฟฟ้าโมโนเรลแบบคร่อมรางบนทางวิ่งยกระดับ ปัจจุบันมีความคืบหน้าที่สำคัญในส่วนของสถานีรามอินทรา กม.9 ถนนรามอินทรา
ความก้าวหน้างานโยธาคิดเป็น 77.57%
ความก้าวหน้างานระบบรถไฟฟ้าคิดเป็น 70.32% และ
ความก้าวหน้าโดยรวมคิดเป็น 74.35% (ณ สิ้นเดือนเม.ย. 2564)

ปัจจุบันอยู่ในระหว่าง การดำเนินงานติดตั้งหลังคาสถานี และงานสถาปัตยกรรมหลังคา นอกจากนี้ ยังมีความคืบหน้าในส่วนของสถานีมีนบุรี ถนนรามคำแหง ซึ่งอยู่ระหว่างการดำเนินงานชั้นจำหน่ายตั๋วโดยสาร เช่น ห้องจำหน่ายตั๋วโดยสาร ประตูทางเข้า ลิฟต์ บันไดทางขึ้น-ลง และงานสถาปัตยกรรมภายในสถานี เป็นต้น โดยสถานีนี้ตั้งอยู่ใกล้กับทางแยกร่มเกล้า และจะใช้เป็นจุดเชื่อมต่อกับโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ - มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ในอนาคต ทั้งยังเชื่อมต่อกับอาคารจอดแล้วจร (Park & Ride) ซึ่งอยู่ในบริเวณเดียวกันกับพื้นที่ศูนย์ซ่อมบำรุง (Depot) คาดว่าจะเปิดให้บริการเต็มรูปแบบได้ ภายในปี 2565

3. โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม (ตะวันออก) ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย - มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ระยะทาง 22.5 กิโลเมตร เป็นระบบรถไฟฟ้าขนาดใหญ่ (Heavy Transit System) มีโครงสร้างทางวิ่งแบบอุโมงค์ใต้ดินผสมกับทางวิ่งแบบยกระดับ ความก้าวหน้างานโยธาคิดเป็น 81.03% (ณ สิ้นเดือนเมษายน 2564) โดยมีแผนจะเปิดให้บริการในปี 2567

โดยปัจจุบันได้ดำเนินการขุดเจาะอุโมงค์ใต้ดินแล้วเสร็จ และอยู่ระหว่างติดตั้งระบบรางรถไฟฟ้า ควบคู่ไปกับงานก่อสร้างสถานีใต้ดินและปล่องระบายอากาศ โดยมีความคืบหน้าที่สำคัญในส่วนของสถานีวัดพระราม 9 ถนนรัชดาภิเษก ซึ่งอยู่ระหว่างการดำเนินงานติดตั้งกระเบื้องพื้นและผนัง งานติดตั้งราวบันได งานติดตั้งระบบลิฟต์และบันไดเลื่อน งานติดตั้งระบบไฟฟ้าและเครื่องกล เป็นต้น
ในส่วนของการก่อสร้างทางวิ่งยกระดับได้ดำเนินการแล้วเสร็จ และอยู่ระหว่างก่อสร้างสถานียกระดับ โดยมีความคืบหน้าที่สำคัญในส่วนของสถานีแยกร่มเกล้า ซึ่งอยู่ระหว่างการดำเนินงานติดตั้งโครงหลังคาเหล็กและช่องแสง งานมุงหลังคาอลูมิเนียมชีท งานฉาบห้อง Plant Room งานติดตั้งงานระบบ งานติดตั้งท่อดับเพลิงใต้ท้องพื้น งานเชื่อมท่อรองรับน้ำฝน เป็นต้น นอกจากนี้ ยังเตรียมจะเข้าดำเนินการติดตั้งระบบรางในส่วนของทางวิ่งรถไฟฟ้าบริเวณจุดเชื่อมต่อระหว่างสถานีใต้ดินกับสถานียกระดับ (Transition Structure) จากสถานีคลองบ้านม้า ไต่ระดับขึ้นสู่สถานีสัมมากร ในเร็วๆ นี้อีกด้วย

ทั้งนี้ รฟม. มีความมุ่งมั่นที่จะกำกับการดำเนินงานก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าทั้ง 3 สาย ให้รุดหน้าได้ตามแผนงาน ทั้งยังได้เน้นย้ำให้กลุ่มบริษัทที่ปรึกษา และผู้รับจ้าง/ผู้รับสัมปทาน ทุกสัญญา/ทุกโครงการ ตระหนักถึงความปลอดภัยเป็นหลักสำคัญในการดำเนินงาน ไม่ว่าจะเป็นการปฏิบัติตามมาตรการด้านความปลอดภัยอย่างครบถ้วน การจัดเจ้าหน้าที่ด้าน Safety ควบคุมและตรวจสอบการปฏิบัติงาน การจัดกิจกรรมเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านความปลอดภัยร่วมกัน อาทิ Safety Talk, Tool Box Talk เป็นต้น

เพื่อลดความเสี่ยงและป้องกันไม่ให้เกิดอุบัติเหตุจากงานก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้า ทั้งต่อผู้ปฏิบัติงานเอง คนรอบข้าง ตลอดจนบุคคลผู้สัญจรผ่านโดยรอบพื้นที่แนวก่อสร้าง โดย รฟม. ได้กำชับเป็นพิเศษสำหรับแนวทางการปฏิบัติตนเพื่อดูแลรักษาสุขอนามัยเนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ในปัจจุบัน โดยให้บุคลากรทุกภาคส่วนสวมใส่หน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้าตลอดระยะเวลาทำงาน หมั่นล้างมือด้วยเจลแอลกอฮอล์ และรักษาระยะห่างทางสังคม



พาซูมผลงานรฟม.!! สร้างรถไฟฟ้าหลากสีเมืองกรุงพุ่ง81%
*เปิดไฮไลท์สายสีเหลืองสถานีศรีกรีฑาสูงสุด17.8เมตร
*สีชมพูตกแต่งหลังคา-เร่งงานชั้นจำหน่ายตั๋วโดยสาร
*สายสีส้มปิดจ็อบขุดอุโมงค์ลุยวางรางทางวิ่ง&สเตชั่น
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/2903700629851436
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44824
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 15/05/2021 7:25 am    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
รถไฟฟ้าสีเหลือง-ชมพูคืบเกิน70%เปิดเดินรถปี65 -สีเหลืองเสร็จ81% ยันเปิดปี67
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันศุกร์ที่ 14 พฤษภาคม 2564 เวลา 17:37 น.
ปรับปรุง: วันศุกร์ที่ 14 พฤษภาคม 2564 เวลา 17:37 น.

สีส้ม-ชมพู-เหลืองคืบหน้า
ไทยรัฐ ฉบับวันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2564

3 รถไฟฟ้าใหม่ รฟม.-งานอุโมงค์สายสีส้มเสร็จแล้ว

นายกิตติกร ตันเปาว์ รองผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยผลการดำเนินงานโครงการรถไฟฟ้าทั้ง 3 สาย ที่อยู่ระหว่างการดำเนินงานก่อสร้าง โดยมีความก้าวหน้า ณ สิ้นเดือนเมษายน 2564 ดังนี้

1.โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง มีความก้าวหน้างานโยธา คิดเป็น 82.46% ความก้าวหน้างานระบบรถไฟฟ้าคิดเป็น 72.45% และความก้าวหน้าโดยรวมคิดเป็น 78.11% คาดว่าจะเปิดให้บริการเต็มรูปแบบได้ ภายในปี 2565 ทั้งนี้ ความคืบหน้าที่สำคัญที่สถานีลาดพร้าวถนนรัชดาภิเษก ซึ่งอยู่ในระหว่างตกแต่งสถาปัตยกรรมของสถานี และสถานีศรีกรีฑาถนนศรีนครินทร์ ซึ่งอยู่ระหว่างการติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าในอาคาร โดยสถานีนี้จัดเป็นสถานีที่สูงที่สุดของโครงการ มีความสูงอยู่ที่ประมาณ 17.87 เมตร

2.โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี มีความก้าวหน้างานโยธาคิดเป็น 77.57% ความก้าวหน้างานระบบรถไฟฟ้าคิดเป็น 70.32% และความก้าวหน้าโดยรวมคิดเป็น 74.35% (ณ สิ้นเดือนเมษายน 2564) คาดว่าจะเปิดให้บริการเต็มรูปแบบได้ ภายในปี 2565 3.โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม (ตะวันออก) ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย-มีนบุรี สุวินทวงศ์) ความก้าวหน้างานโยธาคิดเป็น 81.03% (ณ สิ้นเดือนเมษายน 2564) โดยมีแผนจะเปิดให้บริการในปี 2567 ปัจจุบันได้ขุดเจาะอุโมงค์ใต้ดินแล้วเสร็จ และอยู่ระหว่างติดตั้งระบบรางรถไฟฟ้า ควบคู่ไปกับงานก่อสร้างสถานีใต้ดินและปล่องระบายอากาศ ขณะที่การก่อสร้างทางวิ่งยกระดับได้ดำเนินการแล้วเสร็จ และอยู่ระหว่างก่อสร้างสถานียกระดับ.

บรรยายใต้ภาพ
คืบหน้า รฟม.เร่งเดินหน้าโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง-ชมพู ก้าวหน้าโดยรวมกว่า 70% พร้อมเปิดให้บริการปี 2565 และโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม (ตะวันออก) สุวินทวงศ์-ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย มีความก้าวหน้าในส่วนของงานโยธาแล้วกว่า 80%.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42784
Location: NECTEC

PostPosted: 16/05/2021 12:44 am    Post subject: Reply with quote

รฟม.เปิดเดินรถไฟฟ้าสายสีเหลือง-ชมพูปี65
หน้าเศรษฐกิจมหภาค / Mega Project
วันศุกร์ที่ 14 พฤษภาคม 2564 เวลา 14:50 น.

รฟม. เร่งเดินหน้าโครงการรถไฟฟ้า3สาย สายสีเหลือง - ชมพูก้าวหน้าโดยรวมกว่า 70% พร้อมเปิดให้บริการปี 2565 สายสีส้ม ตะวันออกก้าวหน้างานโยธาแล้วกว่า 80%



วันนี้ (14 พฤษภาคม 2564) นายกิตติกร ตันเปาว์ รองผู้ว่าการ (วิศวกรรมและก่อสร้าง) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ในฐานะผู้อำนวยการโครงการ ได้เปิดเผยผลการดำเนินงานโครงการรถไฟฟ้าในความรับผิดชอบ ทั้ง 3 สาย ที่อยู่ระหว่างการดำเนินงานก่อสร้าง โดยมีความก้าวหน้า ณ สิ้นเดือนเมษายน 2564 ดังนี้1. โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว – สำโรง เป็นระบบรถไฟฟ้าโมโนเรลแบบคร่อมรางบนทางวิ่งยกระดับ ปัจจุบันมีความคืบหน้าที่สำคัญในส่วนของสถานีลาดพร้าว ถนนรัชดาภิเษก ซึ่งอยู่ในระหว่างการดำเนินงานสถาปัตยกรรมของสถานี เช่น งานเทพื้น ปูพื้น ก่อผนังห้อง งานคอนกรีต เป็นต้น โดยสถานีนี้ตั้งอยู่ใกล้กับอาคารจอดแล้วจรสถานีลาดพร้าว ของรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล (MRT สายสีน้ำเงิน) ซึ่งจะกลายเป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างรถไฟฟ้าทั้งสองสายในอนาคตนอกจากนี้ ยังมีความคืบหน้าในส่วนของสถานีศรีกรีฑา ถนนศรีนครินทร์ ซึ่งอยู่ระหว่างการดำเนินงานยกติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าในอาคาร งานติดตั้งผนัง งานปูพื้น เป็นต้น โดยสถานีนี้จัดเป็นสถานีที่สูงที่สุดของโครงการฯ มีความสูงอยู่ที่ประมาณ 17.87 เมตร (จากระดับพื้นถนน ถึง ชั้นจำหน่ายตั๋วโดยสาร) โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลืองฯ มีความก้าวหน้างานโยธาคิดเป็น 82.46% ความก้าวหน้างานระบบรถไฟฟ้าคิดเป็น 72.45% และความก้าวหน้าโดยรวมคิดเป็น 78.11% (ณ สิ้นเดือนเมษายน 2564) คาดว่าจะเปิดให้บริการเต็มรูปแบบได้ ภายในปี 2565รฟม.เปิดเดินรถไฟฟ้าสายสีเหลือง-ชมพูปี65
รฟม.เปิดเดินรถไฟฟ้าสายสีเหลือง-ชมพูปี65

2. โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย – มีนบุรี เป็นระบบรถไฟฟ้าโมโนเรลแบบคร่อมรางบนทางวิ่งยกระดับ ปัจจุบันมีความคืบหน้าที่สำคัญในส่วนของสถานีรามอินทรา กม.9 ถนนรามอินทรา ซึ่งอยู่ในระหว่างการดำเนินงานติดตั้งหลังคาสถานี และงานสถาปัตยกรรมหลังคา นอกจากนี้ ยังมีความคืบหน้าในส่วนของสถานีมีนบุรี ถนนรามคำแหง ซึ่งอยู่ระหว่างการดำเนินงานชั้นจำหน่ายตั๋วโดยสาร เช่น ห้องจำหน่ายตั๋วโดยสาร ประตูทางเข้า ลิฟต์ บันไดทางขึ้น-ลง และงานสถาปัตยกรรมภายในสถานี เป็นต้นรฟม.เปิดเดินรถไฟฟ้าสายสีเหลือง-ชมพูปี65
รฟม.เปิดเดินรถไฟฟ้าสายสีเหลือง-ชมพูปี65

โดยสถานีนี้ตั้งอยู่ใกล้กับทางแยกร่มเกล้า และจะใช้เป็นจุดเชื่อมต่อกับโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ - มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ในอนาคต ทั้งยังเชื่อมต่อกับอาคารจอดแล้วจร (Park & Ride) ซึ่งอยู่ในบริเวณเดียวกันกับพื้นที่ศูนย์ซ่อมบำรุง (Depot) โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพูฯ มีความก้าวหน้างานโยธาคิดเป็น 77.57% ความก้าวหน้างานระบบรถไฟฟ้าคิดเป็น 70.32% และความก้าวหน้าโดยรวมคิดเป็น 74.35% (ณ สิ้นเดือนเมษายน 2564) คาดว่าจะเปิดให้บริการเต็มรูปแบบได้ภายในปี 2565 รฟม.เปิดเดินรถไฟฟ้าสายสีเหลือง-ชมพูปี65
รฟม.เปิดเดินรถไฟฟ้าสายสีเหลือง-ชมพูปี65

3. โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม (ตะวันออก) ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย - มีนบุรี (สุวินทวงศ์) เป็นระบบรถไฟฟ้าขนาดใหญ่ (Heavy Transit System) มีโครงสร้างทางวิ่งแบบอุโมงค์ใต้ดินผสมกับทางวิ่งแบบยกระดับ ปัจจุบันได้ดำเนินการขุดเจาะอุโมงค์ใต้ดินแล้วเสร็จ และอยู่ระหว่างติดตั้งระบบรางรถไฟฟ้า ควบคู่ไปกับงานก่อสร้างสถานีใต้ดินและปล่องระบายอากาศ โดยมีความคืบหน้าที่สำคัญในส่วนของสถานีวัดพระราม 9 ถนนรัชดาภิเษก ซึ่งอยู่ระหว่างการดำเนินงานติดตั้งกระเบื้องพื้นและผนัง งานติดตั้งราวบันได งานติดตั้งระบบลิฟต์และบันไดเลื่อน งานติดตั้งระบบไฟฟ้าและเครื่องกล เป็นต้นในส่วนของการก่อสร้างทางวิ่งยกระดับได้ดำเนินการแล้วเสร็จ และอยู่ระหว่างก่อสร้างสถานียกระดับ โดยมีความคืบหน้าที่สำคัญในส่วนของสถานีแยกร่มเกล้า ซึ่งอยู่ระหว่างการดำเนินงานติดตั้งโครงหลังคาเหล็กและช่องแสง งานมุงหลังคาอลูมิเนียมชีท งานฉาบห้อง Plant Room งานติดตั้งงานระบบ งานติดตั้งท่อดับเพลิงใต้ท้องพื้น งานเชื่อมท่อรองรับน้ำฝน เป็นต้น นอกจากนี้ ยังเตรียมจะเข้าดำเนินการติดตั้งระบบรางในส่วนของทางวิ่งรถไฟฟ้าบริเวณจุดเชื่อมต่อระหว่างสถานีใต้ดินกับสถานียกระดับ (Transition Structure) จากสถานีคลองบ้านม้า ไต่ระดับขึ้นสู่สถานีสัมมากร ในเร็วๆ นี้อีกด้วย โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม (ตะวันออก)ฯ มีความก้าวหน้างานโยธาคิดเป็น 81.03% (ณ สิ้นเดือนเมษายน 2564) โดยมีแผนจะเปิดให้บริการในปี 2567


ทั้งนี้ รฟม. มีความมุ่งมั่นที่จะกำกับการดำเนินงานก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าทั้ง 3 สาย ให้รุดหน้าได้ตามแผนงาน ทั้งยังได้เน้นย้ำให้กลุ่มบริษัทที่ปรึกษา และผู้รับจ้าง/ผู้รับสัมปทาน ทุกสัญญา/ทุกโครงการ ตระหนักถึงความปลอดภัยเป็นหลักสำคัญในการดำเนินงาน ไม่ว่าจะเป็นการปฏิบัติตามมาตรการด้านความปลอดภัยอย่างครบถ้วน การจัดเจ้าหน้าที่ด้าน Safety ควบคุมและตรวจสอบการปฏิบัติงาน การจัดกิจกรรมเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านความปลอดภัยร่วมกัน อาทิ Safety Talk, Tool Box Talk เป็นต้นเพื่อลดความเสี่ยงและป้องกันไม่ให้เกิดอุบัติเหตุจากงานก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้า ทั้งต่อผู้ปฏิบัติงานเอง คนรอบข้าง ตลอดจนบุคคลผู้สัญจรผ่านโดยรอบพื้นที่แนวก่อสร้าง โดย รฟม. ได้กำชับเป็นพิเศษสำหรับแนวทางการปฏิบัติตนเพื่อดูแลรักษาสุขอนามัยเนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ในปัจจุบัน โดยให้บุคลากรทุกภาคส่วนสวมใส่หน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้าตลอดระยะเวลาทำงาน หมั่นล้างมือด้วยเจลแอลกอฮอล์ และรักษาระยะห่างทางสังคม

รฟม.เร่งเดินงานก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีเหลือง-ชมพูพร้อมเปิดให้บริการปี65

15 พฤษภาคม พ.ศ. 2564 เวลา 10:16 น.


15 พ.ค. 2564 นายกิตติกร ตันเปาว์ รองผู้ว่าการ (วิศวกรรมและก่อสร้าง) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ในฐานะผู้อำนวยการโครงการ ได้เปิดเผยผลการดำเนินงานโครงการรถไฟฟ้าในความรับผิดชอบ ทั้ง 3 สาย ได้แก่สายสีชมพู,เหลือง และส้ม ที่อยู่ระหว่างการดำเนินงานก่อสร้าง โดยมีความก้าวหน้า ณ สิ้นเดือนเมษายน 2564

สำหรับโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว – สำโรง เป็นระบบรถไฟฟ้าโมโนเรลแบบคร่อมรางบนทางวิ่งยกระดับ ปัจจุบันมีความคืบหน้าที่สำคัญในส่วนของสถานีลาดพร้าว ถนนรัชดาภิเษก ซึ่งอยู่ในระหว่างการดำเนินงานสถาปัตยกรรมของสถานี เช่น งานเทพื้น ปูพื้น ก่อผนังห้อง งานคอนกรีต เป็นต้น โดยสถานีนี้ตั้งอยู่ใกล้กับอาคารจอดแล้วจรสถานีลาดพร้าว ของรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล (MRT สายสีน้ำเงิน) ซึ่งจะกลายเป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างรถไฟฟ้าทั้งสองสายในอนาคต

นอกจากนี้ ยังมีความคืบหน้าในส่วนของสถานีศรีกรีฑา ถนนศรีนครินทร์ ซึ่งอยู่ระหว่างการดำเนินงานยกติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าในอาคาร งานติดตั้งผนัง งานปูพื้น เป็นต้น โดยสถานีนี้จัดเป็นสถานีที่สูงที่สุดของโครงการฯ มีความสูงอยู่ที่ประมาณ 17.87 เมตร (จากระดับพื้นถนน ถึง ชั้นจำหน่ายตั๋วโดยสาร) โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลืองฯ มีความก้าวหน้างานโยธาคิดเป็น 82.46% ความก้าวหน้างานระบบรถไฟฟ้าคิดเป็น 72.45% และความก้าวหน้าโดยรวมคิดเป็น 78.11% (ณ สิ้นเดือนเมษายน 2564) คาดว่าจะเปิดให้บริการเต็มรูปแบบได้ ภายในปี 2565

โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย – มีนบุรี เป็นระบบรถไฟฟ้าโมโนเรลแบบคร่อมรางบนทางวิ่งยกระดับ ปัจจุบันมีความคืบหน้าที่สำคัญในส่วนของสถานีรามอินทรา กม.9 ถนนรามอินทรา ซึ่งอยู่ในระหว่างการดำเนินงานติดตั้งหลังคาสถานี และงานสถาปัตยกรรมหลังคา นอกจากนี้ ยังมีความคืบหน้าในส่วนของสถานีมีนบุรี ถนนรามคำแหง ซึ่งอยู่ระหว่างการดำเนินงานชั้นจำหน่ายตั๋วโดยสาร เช่น ห้องจำหน่ายตั๋วโดยสาร ประตูทางเข้า ลิฟต์ บันไดทางขึ้น-ลง และงานสถาปัตยกรรมภายในสถานี เป็นต้น

ทั้งนี้โดยสถานีนี้ตั้งอยู่ใกล้กับทางแยกร่มเกล้า และจะใช้เป็นจุดเชื่อมต่อกับโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ - มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ในอนาคต ทั้งยังเชื่อมต่อกับอาคารจอดแล้วจร (Park & Ride) ซึ่งอยู่ในบริเวณเดียวกันกับพื้นที่ศูนย์ซ่อมบำรุง (Depot) โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพูฯ มีความก้าวหน้างานโยธาคิดเป็น 77.57% ความก้าวหน้างานระบบรถไฟฟ้าคิดเป็น 70.32% และความก้าวหน้าโดยรวมคิดเป็น 74.35% (ณ สิ้นเดือนเมษายน 2564) คาดว่าจะเปิดให้บริการเต็มรูปแบบได้ภายในปี 2565

สำหรับโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม (ตะวันออก) ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย - มีนบุรี (สุวินทวงศ์) เป็นระบบรถไฟฟ้าขนาดใหญ่ (Heavy Transit System) มีโครงสร้างทางวิ่งแบบอุโมงค์ใต้ดินผสมกับทางวิ่งแบบยกระดับ ปัจจุบันได้ดำเนินการขุดเจาะอุโมงค์ใต้ดินแล้วเสร็จ และอยู่ระหว่างติดตั้งระบบรางรถไฟฟ้า ควบคู่ไปกับงานก่อสร้างสถานีใต้ดินและปล่องระบายอากาศ โดยมีความคืบหน้าที่สำคัญในส่วนของสถานีวัดพระราม 9 ถนนรัชดาภิเษก ซึ่งอยู่ระหว่างการดำเนินงานติดตั้งกระเบื้องพื้นและผนัง งานติดตั้งราวบันได งานติดตั้งระบบลิฟต์และบันไดเลื่อน งานติดตั้งระบบไฟฟ้าและเครื่องกล เป็นต้น

อย่างไรก็ตามในส่วนของการก่อสร้างทางวิ่งยกระดับได้ดำเนินการแล้วเสร็จ และอยู่ระหว่างก่อสร้างสถานียกระดับ โดยมีความคืบหน้าที่สำคัญในส่วนของสถานีแยกร่มเกล้า ซึ่งอยู่ระหว่างการดำเนินงานติดตั้งโครงหลังคาเหล็กและช่องแสง งานมุงหลังคาอลูมิเนียมชีท งานฉาบห้อง Plant Room งานติดตั้งงานระบบ งานติดตั้งท่อดับเพลิงใต้ท้องพื้น งานเชื่อมท่อรองรับน้ำฝน เป็นต้น นอกจากนี้ ยังเตรียมจะเข้าดำเนินการติดตั้งระบบรางในส่วนของทางวิ่งรถไฟฟ้าบริเวณจุดเชื่อมต่อระหว่างสถานีใต้ดินกับสถานียกระดับ (Transition Structure) จากสถานีคลองบ้านม้า ไต่ระดับขึ้นสู่สถานีสัมมากร ในเร็วๆ นี้อีกด้วย โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม (ตะวันออก)ฯ มีความก้าวหน้างานโยธาคิดเป็น 81.03% (ณ สิ้นเดือนเมษายน 2564) โดยมีแผนจะเปิดให้บริการในปี 2567

ทั้งนี้ รฟม. มีความมุ่งมั่นที่จะกำกับการดำเนินงานก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าทั้ง 3 สาย ให้รุดหน้าได้ตามแผนงาน ทั้งยังได้เน้นย้ำให้กลุ่มบริษัทที่ปรึกษา และผู้รับจ้าง/ผู้รับสัมปทาน ทุกสัญญา/ทุกโครงการ ตระหนักถึงความปลอดภัยเป็นหลักสำคัญในการดำเนินงาน ไม่ว่าจะเป็นการปฏิบัติตามมาตรการด้านความปลอดภัยอย่างครบถ้วน การจัดเจ้าหน้าที่ด้าน Safety ควบคุมและตรวจสอบการปฏิบัติงาน การจัดกิจกรรมเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านความปลอดภัยร่วมกัน อาทิ Safety Talk, Tool Box Talk เป็นต้น เพื่อลดความเสี่ยงและป้องกันไม่ให้เกิดอุบัติเหตุจากงานก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้า ทั้งต่อผู้ปฏิบัติงานเอง คนรอบข้าง ตลอดจนบุคคลผู้สัญจรผ่านโดยรอบพื้นที่แนวก่อสร้าง เป็นต้น


Last edited by Wisarut on 16/05/2021 1:19 am; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42784
Location: NECTEC

PostPosted: 16/05/2021 12:50 am    Post subject: Reply with quote

“โควิด” ทำอ่วมถ้วนหน้ารถไฟฟ้ากระอัก รายได้ทรุดหนักวันละ 32 ล้าน
หน้า ข่าวทั่วไป
วันเสาร์ที่ 15 พฤษภาคม 2564 เวลา 08:48 น.

ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์ ชี้“โควิด” ทำอ่วมถ้วนหน้ารถไฟฟ้ากระอัก รายได้ทรุดหนักวันละ 32 ล้าน

ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์โพสต์เฟซบุ๊ก เมื่อวันที่15พฤษภาคม2564 ระบุว่าพิษเชื้อโควิด-19 ทำความเดือดร้อนอย่างหนักให้พวกเราทุกหย่อมหญ้า ทุกสาขาอาชีพ ไม่เว้นแม้แต่ธุรกิจการเดินทางทุกประเภทที่มีผู้โดยสารลดน้อยลง ซึ่งเป็นผลมาจากการ Work From Home ทำให้รายได้ลดลงอย่างมาก โดยเฉพาะรถไฟฟ้าซึ่งมีรายได้ลดลงถึงวันละประมาณ 32 ล้านบาทจากการเปรียบเทียบปริมาณผู้โดยสารระหว่าง “ก่อนการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ครั้งที่ 1”โดยใช้ข้อมูลเดือนมกราคม 2563 กับ “ในช่วงการระบาดของเชื้อโควิด-19 ครั้งที่ 3” โดยใช้ข้อมูลเดือนพฤษภาคม 2564 ได้ผลดังนี้ผู้โดยสารรวมของรถไฟฟ้าทุกสายซึ่งประกอบด้วยรถไฟฟ้าสายสีเขียว (บีทีเอส) สายสีน้ำเงิน (เอ็มอาร์ที) สายสีม่วง และแอร์พอร์ตลิงก์มีปริมาณลดลงจากเดิมก่อนการระบาด 1,469,400 คนต่อวัน เหลือ 365,300 คนต่อวัน หรือลดลงถึง 1,104,100 คนต่อวัน คิดเป็น 75% เป็นผลให้รายได้รวมของรถไฟฟ้าทุกสายลดลงถึง 31.8 ล้านบาทต่อวันจำนวนรายได้ที่ลดลง 31.8 ล้านบาทต่อวันนั้น พบว่าส่วนใหญ่เป็นรายได้ของรถไฟฟ้าสายสีเขียวซึ่งลดลงถึง 19 ล้านบาทต่อวัน ตามด้วยสายสีน้ำเงิน 9.5 ล้านบาทต่อวัน แอร์พอร์ตลิงก์ 1.9 ล้านบาทต่อวัน และสายสีม่วง 1.4 ล้านบาทต่อวัน ตามลำดับการทำธุรกิจรถไฟฟ้าที่บางคนมองว่ารถไฟฟ้าบางสายสามารถทำกำไรได้ดี แต่พอเจอพิษโควิด-19 ที่ระบาดหนักอยู่ในเวลานี้ รถไฟฟ้าทุกสาย “อ่วมอรทัย” กันไปตามๆ กัน ขาดทุนกันถ้วนหน้า สายที่ขาดทุนอยู่แล้วก็ขาดทุนหนักขึ้นไปอีก ธุรกิจอื่นก็ประสบชะตากรรมเช่นเดียวกัน หลายคนต้องตกงาน ขาดรายได้ น่าเห็นใจยิ่งนักดังนั้น จึงเป็นหน้าที่ของเราทุกคนที่จะต้องรวมพลังหยุดยั้งการระบาดของเชื้อโควิด-19 ให้ได้โดยเร็ว ด้วยการเร่งรับการฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อโควิด-19 สวมหน้ากากอนามัย และใช้เจลหรือสเปรย์แอลกอฮอล์ล้างมือสม่ำเสมอ ทั้งหมดนี้ เพื่อพวกเราทุกคน
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42784
Location: NECTEC

PostPosted: 16/05/2021 8:43 pm    Post subject: Reply with quote

Transport for all การเดินทางเพื่อทุกคน!!!!
โครงสร้างพื้นฐาน ประเทศไทย Thailand Infrastructure
15 พฤษภาคม 2564 เวลา 19:18 น.

Otpthailand (สนข.) ได้ผลักดันให้ระบบขนส่งสาธารณะต่างๆ มีการพัฒนาเพื่อรองรับมาตรฐาน Universal Design เพื่อ “ทุกคน” ในสังคม ซึ่งไม่ใช่แค่เพียงการทำเพื่อผู้พิการ แต่มาตรฐานเหล่านี้ มีเพื่อให้คนปรกติทุกคนสามารถเดินทางได้สะดวก และเข้าถึง “เท่าเทียมกัน”
ซึ่งตามแผน สนข. ได้ทำการออกแบบ และปรับปรุงมาตรฐานของระบบขนส่งสาธารณะทั้งหมดให้เป็นไปตามมาตรฐาน ตั้งแต่รถเมล์ รถไฟฟ้า เรือ….
แต่ไหงมีอยู่หนึ่งหน่วยงาน คือรถไฟ!!!! ซึ่งได้มีการเตรียมงบประมาณ และประมูลโครงการรถไฟทางคู่ โดยในเอกสารเขียนไว้ให้รองรับมาตรฐาน Universal Design
แต่ในทางรถไฟสายใต้ กลับทำชานชาลา สูงๆต่ำๆ หลังคาชานชาลาหด มันหมายความว่ายังไง???? อะไรคือมาตรฐาน และการออกแบบเพื่อทุกคน???
ผมคงต้องฝากให้ สนข. ไปดูและช่วยผลักดันให้เป็นไปตามแผน และสำหรับประชาชนอย่างเราๆ ก็ต้องช่วยกันตรวจสอบมาตรฐานที่มันควรจะเป็นให้คุ้มค่ากับเงินภาษีที่ลงไปทั้งหมด!!!
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42784
Location: NECTEC

PostPosted: 20/05/2021 5:35 pm    Post subject: Reply with quote

อัพเดทรถไฟฟ้า"เหลือง-ชมพู-ส้ม"สร้างพุ่ง!! สีม่วงใต้เตาปูน-ราษฎร์บูรณะใกล้ประมูล
คอลัมน์ มุมคนเมือง
โดย ทีมข่าวนวัตกรรมขนส่ง.
อังคารที่ 18 พฤษภาคม 2564 เวลา 08.00 น.


เเม้สถานการณ์ระบาดของโควิด-19 ระลอก 3 ทำให้รถไม่ติด การเดินทางลดลง เเต่การสร้างรถไฟฟ้าก็ยังคงดำเนินต่อไป...

สถานการณ์ระบาดของโควิด-19 ระลอก 3 ทำถนนหนทางในกรุงเทพฯ ไม่ติดขัด การเดินทางด้วยระบบขนส่งสาธารณะลดน้อย ตลอดจนห้างร้านต่างๆร้างราผู้คน          

มุมหนึ่งของการก่อสร้างรถไฟฟ้า ยังเดินหน้าตามแผนที่กำหนดไว้ ล่าสุด การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ออกมาอัพเดทความคืบหน้าของรถไฟฟ้าทั้ง 3 สาย นับผลงานถึงสิ้นเดือนเม.ย. 64 ได้แก่ ​โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลืองช่วงลาดพร้าว – สำโรง เป็นระบบรถไฟฟ้าโมโนเรลแบบคร่อมรางบนทางวิ่งยกระดับ มีความคืบหน้าที่สำคัญในส่วนของสถานีลาดพร้าว ถนนรัชดาภิเษก อยู่ระหว่างการดำเนินงานสถาปัตยกรรมของสถานี เช่น งานเทพื้น ปูพื้น ก่อผนังห้อง งานคอนกรีต สถานีแห่งนี้ตั้งอยู่ใกล้กับอาคารจอดแล้วจรสถานีลาดพร้าว ของรถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงิน จะกลายเป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างรถไฟฟ้าทั้งสองสายในอนาคต 



นอกจากนี้ ยังมีความคืบหน้าในส่วนของสถานีศรีกรีฑา ถนนศรีนครินทร์ กำลังติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าในอาคาร งานติดตั้งผนัง งานปูพื้น เป็นต้น โดยสถานีนี้จัดเป็นสถานีที่สูงที่สุดของโครงการฯ มีความสูงอยู่ที่ประมาณ 17.87 เมตร (จากระดับพื้นถนน ถึง ชั้นจำหน่ายตั๋วโดยสาร) 

รถไฟฟ้าสายสีเหลืองฯ มีความก้าวหน้างานโยธา 82.46% ความก้าวหน้างานระบบรถไฟฟ้า 72.45% และความก้าวหน้าโดยรวม 78.11% คาดว่าจะเปิดบริการเต็มรูปแบบภายในปี 65




โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย - มีนบุรี เป็นระบบรถไฟฟ้าโมโนเรลแบบคร่อมรางบนทางวิ่งยกระดับ มีความคืบหน้าที่สำคัญในส่วนของสถานีรามอินทรา กม.9 ถนนรามอินทรา อยู่ระหว่างติดตั้งหลังคาสถานี และงานสถาปัตยกรรมหลังคา ในส่วนของสถานีมีนบุรี ถนนรามคำแหง กำลังดำเนินงานชั้นจำหน่ายตั๋วโดยสาร เช่น ห้องจำหน่ายตั๋วโดยสาร ประตูทางเข้า ลิฟต์ บันไดทางขึ้น-ลง และงานสถาปัตยกรรมภายในสถานี 

สถานีมีนบุรี ตั้งอยู่ใกล้ทางแยกร่มเกล้า จะใช้เป็นจุดเชื่อมต่อโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ - มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ในอนาคต รวมทั้งเชื่อมอาคารจอดแล้วจร (Park & Ride) ซึ่งอยู่ในบริเวณเดียวกับพื้นที่ศูนย์ซ่อมบำรุง (Depot)  รถไฟฟ้าสายสีชมพู มีความก้าวหน้างานโยธา 77.57% งานระบบรถไฟฟ้า 70.32% และความก้าวหน้าโดยรวม 74.35% คาดว่าจะเปิดบริการเต็มรูปแบบภายในปี 65



 ​โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม (ตะวันออก) ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย - มีนบุรี (สุวินทวงศ์) เป็นระบบรถไฟฟ้าขนาดใหญ่ (Heavy Transit System) มีโครงสร้างทางวิ่งแบบอุโมงค์ใต้ดินผสมกับทางวิ่งแบบยกระดับ ขณะนี้ขุดเจาะอุโมงค์ใต้ดินแล้วเสร็จ  อยู่ระหว่างติดตั้งระบบรางรถไฟฟ้า ควบคู่กับงานก่อสร้างสถานีใต้ดินและปล่องระบายอากาศ มีความคืบหน้าที่สำคัญในส่วนของสถานีวัดพระราม 9 ถนนรัชดาภิเษก กำลังติดตั้งกระเบื้องพื้นและผนัง งานติดตั้งราวบันได งานติดตั้งระบบลิฟต์และบันไดเลื่อน รวมไปถึงงานติดตั้งระบบไฟฟ้าและเครื่องกล 
 
ในส่วนของการก่อสร้างทางวิ่งยกระดับดำเนินการแล้วเสร็จ อยู่ระหว่างก่อสร้างสถานียกระดับ มีความคืบหน้าที่สำคัญในส่วนของสถานีแยกร่มเกล้า กำลังติดตั้งโครงหลังคาเหล็กและช่องแสง งานมุงหลังคาอะลูมิเนียมชีท งานฉาบห้อง Plant Room งานติดตั้งงานระบบ งานติดตั้งท่อดับเพลิงใต้ท้องพื้น งานเชื่อมท่อรองรับน้ำฝน  



นอกจากนี้ยังเตรียมติดตั้งระบบรางในส่วนของทางวิ่งรถไฟฟ้าบริเวณจุดเชื่อมต่อระหว่างสถานีใต้ดินกับสถานียกระดับ (Transition Structure) จากสถานีคลองบ้านม้า ไต่ระดับขึ้นสู่สถานีสัมมากร โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม (ตะวันออก) มีความก้าวหน้างานโยธา 81.03% 

รฟม. ตั้งเป้าหมายว่าต้องได้ผู้ชนะประมูลการเปิดให้เอกชนร่วมลงทุนก่อสร้างช่วงตะวันตกบางขุนนนท์ – มีนบุรี ติดตั้งจัดหาระบบรถไฟฟ้า รับสัมปทานเดินรถ และบำรุงรักษาตลอดเส้นทาง เป็นเวลา 30 ปี  ภายในเดือน ธ.ค.64 และจะเริ่มก่อสร้างปี 65 เปิดบริการรถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันออก ช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ – มีนบุรี ระยะทาง 22.5 กม. 17 สถานี ในเดือน มี.ค.68 ล่าช้ากว่าแผนเดิมที่จะเปิดบริการปลายปี 67 ส่วนสายสีส้มตะวันตก ช่วงบางขุนนนท์ – ศูนย์วัฒนธรรมฯ ระยะทาง 13.4 กม. 11 สถานี จะเปิดบริการเดือน ก.ย.70 ล่าช้ากว่าแผนเดิมที่จะเปิดบริการปลายปี 69



ADVERTISEMENT


ปิดท้ายกับโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ช่วงเตาปูน – ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก) ระยะทาง 23.6 กิโลเมตร (กม.) วงเงินลงทุน 1.01 แสนล้านบาท ยังไม่เริ่มก่อสร้าง รฟม.อยู่ระหว่างเร่งสำรวจอสังหาริมทรัพย์ตามแนวสายทางโครงการฯ และจัดทำร่างเอกสารรายละเอียดเงื่อนไขการประกวดราคา (ทีโออาร์) โดยตั้งเป้าหมายเปิดประมูลภายในเดือน ก.ย.64 ได้เอกชนผู้ชนะประมูลต้นปี 65 และเริ่มก่อสร้างเดือน ก.ย.65 เปิดบริการเดือน ธ.ค.70 

               ส่วนงานติดตั้งระบบรถไฟฟ้า การเดินรถไฟฟ้า และบำรุงรักษา คาดว่าจะใช้วงเงินประมาณ 2 หมื่นล้านบาท จะเปิดให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ (PPP) ในรูปแบบ PPP Gross cost (จ้างเดินรถ) ระยะเวลา 30 ปี เหมือนรถไฟฟ้าสายสีม่วง (เหนือ) ช่วงเตาปูน – คลองบางไผ่ 

               โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ มีระยะทาง 23.6 กม. เป็นโครงสร้างทางวิ่งใต้ดิน 12.6 กม. และโครงสร้างทางวิ่งยกระดับ 11 กม. มี 17 สถานี เป็นสถานีใต้ดิน 10 สถานี และสถานียกระดับ 7 สถานี มีอาคารจอดแล้วจร 2 แห่ง และอาคารจอดรถไฟฟ้า เป็นโครงการรถไฟฟ้าเชื่อมกรุงเทพฯ ฝั่งธนบุรี และ จ.สมุทรปราการ 



แนวเส้นทางเริ่มจากสถานีเตาปูน (สถานียกระดับ) ซึ่งเป็นสถานีร่วมของรถไฟฟ้าสายสีม่วงและรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินวิ่งไปตามถนนสาย ง 8 เป็นโครงสร้างยกระดับข้ามคลองบางซื่อ จากนั้นลดระดับลงเป็นโครงสร้างใต้ดินลอดใต้กรมสรรพาวุธทหารบก เลี้ยวขวาเข้าสู่ถนนทหาร ผ่านแยกเกียกกาย เข้าถนนสามเสน ผ่านรัฐสภาแห่งใหม่ โรงเรียนราชินีบน โรงพยาบาลวชิรพยาบาล หอสมุดแห่งชาติ 

เลี้ยวซ้ายเข้าถนนพระสุเมรุ ผ่านวัดบวรนิเวศฯ ผ่านแยกผ่านฟ้าลีลาศ ถนนราชดำเนินกลาง เข้าสู่ถนนมหาไชย ผ่านวัดราชนัดดาฯ เข้าถนนจักรเพชร ลอดใต้แม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณสะพานพระปกเกล้า เข้าถนนประชาธิปก ผ่านสี่แยกบ้านแขก ลอดใต้วงเวียนใหญ่ เข้าถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน ลอดใต้แยกมไหสวรรย์ และเปลี่ยนเป็นทางยกระดับวิ่งไปตามถนนสุขสวัสดิ์ ผ่านแยกประชาอุทิศ สะพานภูมิพล 1 ผ่านสามแยกพระประแดง และสิ้นสุดที่ครุใน จ.สมุทรปราการ.

อัพเดทรถไฟฟ้าหลากสีที่กำลังก่อสร้าง 3 สี "เหลือง-ชมพู-ส้ม" เพื่อเปิดบริการตามที่กำหนดแม้ต้องเผชิญกับวิกฤติโควิด-19 และสายสีม่วงใต้ที่จะก่อสร้างในอนาคตอันใกล้เพื่อมาเติมเต็มโครงข่ายรถไฟฟ้าในกรุงเทพฯและปริมณฑล  
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 235, 236, 237 ... 278, 279, 280  Next
Page 236 of 280

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©