Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311312
ทั่วไป:13280783
ทั้งหมด:13592095
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 236, 237, 238 ... 278, 279, 280  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42783
Location: NECTEC

PostPosted: 20/05/2021 6:17 pm    Post subject: Reply with quote

รฟม. เผยความคืบหน้าในการดำเนินงานโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล ช่วงแคราย - ลำสาลี (บึงกุ่ม) เตรียมก่อสร้างฐานรากโครงการรถไฟฟ้าฯ ไปพร้อมกับโครงการทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือ ตอน N2
การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย
20 พฤษภาคม 2564 เวลา 18:16 น.

วันนี้ (20 พฤษภาคม 2564) นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการ รฟม. ครั้งที่ 5/2564 ว่า คณะกรรมการ รฟม. ได้มีมติอนุมัติให้ รฟม. ดำเนินโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล ช่วงแคราย - ลำสาลี (บึงกุ่ม) ตามขั้นตอนในพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 ตามมติคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) ในคราวประชุมครั้งที่ 1/2563 เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2563 และเป็นไปตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2561 โดยให้ รฟม. นำเสนอขอความเห็นชอบในการดำเนินโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาลฯ จากกระทรวงคมนาคม และคณะรัฐมนตรี ต่อไป

พร้อมกันนี้ คณะกรรมการ รฟม. ได้มีมติอนุมัติให้ รฟม. ดำเนินการก่อสร้างฐานรากโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาลฯ ไปพร้อมกับโครงการทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือ ตอน N2 ในความรับผิดชอบของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) โดยมีกรอบวงเงินรวม 1,470 ล้านบาท ซึ่งประกอบด้วย ค่างานก่อสร้างฐานรากโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาลฯ ในส่วนที่ซ้อนทับกับโครงการทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือ ตอน N2 จำนวน 1,418 ล้านบาท (รวมค่า Provisional Sum) และค่าจ้างที่ปรึกษาควบคุมงานก่อสร้าง จำนวน 52 ล้านบาท และได้มีมติอนุมัติแหล่งเงินก่อสร้างฐานรากโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาลฯ โดยให้กระทรวงการคลังพิจารณาจัดหาแหล่งเงินกู้ที่เหมาะสม และให้สำนักงบประมาณพิจารณาจัดสรรเงินงบประมาณประจำปีเป็นรายได้แก่ รฟม. ให้เพียงพอเพื่อการชำระหนี้แก่แหล่งเงินกู้ ทั้งในส่วนเงินต้น ดอกเบี้ย ค่าใช้จ่ายในการกู้เงิน และค่าใช้จ่ายอื่นที่เกี่ยวข้อง ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กระทรวงการคลังจะตกลงกับ รฟม. ต่อไป

ทั้งนี้ รฟม. จะเร่งรัดนำเสนอเรื่องดังกล่าว ไปยังกระทรวงคมนาคม เพื่อพิจารณานำเรื่องเสนอขออนุมัติจากคณะรัฐมนตรีโดยเร็ว เพื่อให้สอดคล้องไปกับการดำเนินงานโครงการทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือ ตอน N2 ที่ปัจจุบัน กทพ. อยู่ในระหว่างเตรียมเสนอขออนุมัติดำเนินโครงการจากคณะรัฐมนตรี โดยทั้งสองหน่วยงานมีแผนจัดการประกวดราคาหาผู้รับจ้างก่อสร้างร่วมกันภายในเดือนตุลาคม 2564 อันจะเป็นประโยชน์ในด้านการลดภาระค่าก่อสร้าง ย่นระยะเวลาการก่อสร้าง และลดปัญหาการจราจรระหว่างการก่อสร้าง ทั้งยังช่วยลดผลกระทบในระหว่างก่อสร้างต่อประชาชนให้เหลือน้อยที่สุดอีกด้วย
สำหรับโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล ช่วงแคราย – ลำสาลี (บึงกุ่ม) เป็นระบบรถไฟฟ้ารางเดี่ยว (Monorail) มีโครงสร้างทางวิ่งยกระดับ จำนวน 20 สถานี ระยะทาง 22.1 กิโลเมตร โดยพื้นที่โครงการฯ มีส่วนซ้อนทับกับโครงสร้างทางด่วนขั้นที่ 3 ตอน N2 บนแนวถนนประเสริฐมนูกิจ เป็นระยะทาง 7.2 กิโลเมตร (จำนวน 6 สถานี) ซึ่งรูปแบบเบื้องต้นของฐานรากโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาลฯ จะก่อสร้างโครงสร้างทางวิ่งเป็นคานคอนกรีตที่วางบนคานขวาง และ Bearing Shoe และออกแบบให้มีเสาตอม่อสายสีน้ำตาลแทรกระหว่างเสาทางด่วนที่ก่อสร้างไว้แล้ว มีระยะระหว่างช่วงตอม่อโดยทั่วไปประมาณ 25 – 30 เมตร

บอร์ด รฟม.สั่งลุยรถไฟฟ้าสีน้ำตาล “แคราย-ลำสาลี(บึงกุ่ม)”
*ไฟเขียว 1,470 ล้านสร้างฐานรากพร้อมทางด่วน N2
*คาด ต.ค.64 เปิดประมูลส่วนทับซ้อนร่วมกับ กทพ.!!
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/2908591099362389
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42783
Location: NECTEC

PostPosted: 20/05/2021 9:39 pm    Post subject: Reply with quote

บอร์ด รฟม.เคาะลงทุน PPP สีน้ำตาล เร่งสร้างฐานราก 1.47 พัน ล.พร้อมด่วน N2
โดย: ผู้จัดการออนไลน์

เผยแพร่: 20 พฤษภาคม 2564 เวลา 18:41 น.
ปรับปรุง: 20 พฤษภาคม 2564 เวลา 18:41 น.


บอร์ด รฟม.ไฟเขียว ลงทุน PPP รถไฟฟ้าสีน้ำตาลช่วง แคราย-ลำสาลี (บึงกุ่ม) เร่งชง ครม. อนุมัติสร้างฐานราก พร้อมกับทางด่วน N2 วงเงิน 1.47 พันล้านบาท ช่วงทับซ้อน 7.2 กม.คาดประมูลใน ต.ค. 64

นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) รฟม. ครั้งที่ 5/2564 วันที่ 20 พ.ค. ว่า คณะกรรมการ รฟม. ได้มีมติอนุมัติให้ รฟม. ดำเนินโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล ช่วงแคราย-ลำสาลี (บึงกุ่ม) ตามขั้นตอนในพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 ตามมติคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) ในคราวประชุมครั้งที่ 1/2563 เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2563 และเป็นไปตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2561 โดยให้ รฟม. นำเสนอขอความเห็นชอบในการดำเนินโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาลฯ จากกระทรวงคมนาคม และคณะรัฐมนตรี (ครม.) ต่อไป

พร้อมกันนี้ บอร์ด รฟม. ได้มีมติอนุมัติให้ รฟม. ดำเนินการก่อสร้างฐานรากโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาลฯ ไปพร้อมกับโครงการทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือ ตอน N2 ในความรับผิดชอบของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) โดยมีกรอบวงเงินรวม 1,470 ล้านบาท ซึ่งประกอบด้วย ค่างานก่อสร้างฐานรากโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาลฯ ในส่วนที่ซ้อนทับกับโครงการทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือ ตอน N2 จำนวน 1,418 ล้านบาท (รวมค่า Provisional Sum) และค่าจ้างที่ปรึกษาควบคุมงานก่อสร้าง จำนวน 52 ล้านบาท

และได้มีมติอนุมัติแหล่งเงินก่อสร้างฐานรากโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาลฯ โดยให้กระทรวงการคลังพิจารณาจัดหาแหล่งเงินกู้ที่เหมาะสม และให้สำนักงบประมาณพิจารณาจัดสรรเงินงบประมาณประจำปีเป็นรายได้แก่ รฟม. ให้เพียงพอเพื่อการชำระหนี้แก่แหล่งเงินกู้ ทั้งในส่วนเงินต้น ดอกเบี้ย ค่าใช้จ่ายในการกู้เงิน และค่าใช้จ่ายอื่นที่เกี่ยวข้อง ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กระทรวงการคลังจะตกลงกับ รฟม. ต่อไป

ทั้งนี้ รฟม. จะเร่งรัดนำเสนอเรื่องดังกล่าว ไปยังกระทรวงคมนาคม เพื่อพิจารณานำเรื่องเสนอขออนุมัติจากคณะรัฐมนตรีโดยเร็ว เพื่อให้สอดคล้องไปกับการดำเนินงานโครงการทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือ ตอน N2 ที่ปัจจุบัน กทพ. อยู่ในระหว่างเตรียมเสนอขออนุมัติดำเนินโครงการจากคณะรัฐมนตรี โดยทั้งสองหน่วยงานมีแผนจัดการประกวดราคาหาผู้รับจ้างก่อสร้างร่วมกันภายในเดือน ต.ค. 2564 อันจะเป็นประโยชน์ในด้านการลดภาระค่าก่อสร้าง ย่นระยะเวลาการก่อสร้าง และลดปัญหาการจราจรระหว่างการก่อสร้าง ทั้งยังช่วยลดผลกระทบในระหว่างก่อสร้างต่อประชาชนให้เหลือน้อยที่สุดอีกด้วย

“หลักการคือ รฟม.ได้ออกแบบฐานรากรถไฟฟ้าสีน้ำตาลไว้แล้ว เนื่องจากต้อวก่อสร้างไปพร้อมกับทางด่วน N2 เพื่อลดผลกระทบจึงจำเป็นต้องให้ผู้รับเหมาก่อสร้าง ทางด่วน N2 ช่วยทำส่วนฐานรากสายสีน้ำตาลด้วย โดยให้ กทพ. ออกประมูลฐานรากรถไฟฟ้าไปด้วยภายใต้แบบของ รฟม.”


สำหรับโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล ช่วงแคราย-ลำสาลี (บึงกุ่ม) เป็นระบบรถไฟฟ้ารางเดี่ยว (Monorail) มีโครงสร้างทางวิ่งยกระดับ จำนวน 20 สถานี ระยะทาง 22.1 กิโลเมตร วงเงินลงทุนประมาณ 4.8 หมื่นล้านบาท โดยพื้นที่โครงการฯ มีส่วนซ้อนทับกับโครงสร้างทางด่วนขั้นที่ 3 ตอน N2 บนแนวถนนประเสริฐมนูกิจ เป็นระยะทาง 7.2 กิโลเมตร (จำนวน 6 สถานี) ซึ่งรูปแบบเบื้องต้นของฐานรากโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาลฯ จะก่อสร้างโครงสร้างทางวิ่งเป็นคานคอนกรีตที่วางบนคานขวาง และ Bearing Shoe และออกแบบให้มีเสาตอม่อสายสีน้ำตาลแทรกระหว่างเสาทางด่วนที่ก่อสร้างไว้แล้ว มีระยะระหว่างช่วงตอม่อโดยทั่วไปประมาณ 25-30 เมตร


คืบหน้ารถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล-ทางด่วนขั้น 3 ถึงไหนแล้ว เช็กที่นี่
เผยแพร่: 20 พฤษภาคม 2564 เวลา 18:52 น.

รฟม.เดินหน้ารถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล ช่วงแคราย - ลำสาลี (บึงกุ่ม) วงเงิน 4.8 หมื่นล้าน เล็งก่อสร้างฐานรากพร้อมทางด่วนขั้นที่ 3 ตอน N2 เตรียมชงคลังหาแหล่งเงินกู้ จ่อเปิดประมูล ต.ค.64

นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการ รฟม. ครั้งที่ 5/2564 ว่า คณะกรรมการ รฟม. ได้มีมติอนุมัติให้ รฟม. ดำเนินโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล ช่วงแคราย - ลำสาลี (บึงกุ่ม) วงเงิน 4.8 หมื่นล้านบาท ตามขั้นตอนในพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 ตามมติคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) ในคราวประชุมครั้งที่ 1/2563 เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2563 และเป็นไปตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2561 โดยให้ รฟม. นำเสนอขอความเห็นชอบในการดำเนินโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาลฯ จากกระทรวงคมนาคม และคณะรัฐมนตรี (ครม.)ต่อไป

ขณะเดียวกัน คณะกรรมการ รฟม. ได้มีมติอนุมัติให้ รฟม. ดำเนินการก่อสร้างฐานรากโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาลฯ ไปพร้อมกับโครงการทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือ ตอน N2 ในความรับผิดชอบของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) โดยมีกรอบวงเงินรวม 1,470 ล้านบาท ซึ่งประกอบด้วย ค่างานก่อสร้างฐานรากโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาลฯ ในส่วนที่ซ้อนทับกับโครงการทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือ ตอน N2 จำนวน 1,418 ล้านบาท (รวมค่า Provisional Sum) และค่าจ้างที่ปรึกษาควบคุมงานก่อสร้าง จำนวน 52 ล้านบาท และได้มีมติอนุมัติแหล่งเงินก่อสร้างฐานรากโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาลฯ โดยให้กระทรวงการคลังพิจารณาจัดหาแหล่งเงินกู้ที่เหมาะสม และให้สำนักงบประมาณพิจารณาจัดสรรเงินงบประมาณประจำปีเป็นรายได้แก่ รฟม. ให้เพียงพอเพื่อการชำระหนี้แก่แหล่งเงินกู้ ทั้งในส่วนเงินต้น ดอกเบี้ย ค่าใช้จ่ายในการกู้เงิน และค่าใช้จ่ายอื่นที่เกี่ยวข้อง ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กระทรวงการคลังจะตกลงกับ รฟม. ต่อไป ทั้งนี้รฟม. จะเร่งรัดนำเสนอเรื่องดังกล่าว ไปยังกระทรวงคมนาคม เพื่อพิจารณานำเรื่องเสนอขออนุมัติจากคณะรัฐมนตรีโดยเร็ว เพื่อให้สอดคล้องไปกับการดำเนินงานโครงการทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือ ตอน N2 ที่ปัจจุบัน กทพ. อยู่ในระหว่างเตรียมเสนอขออนุมัติดำเนินโครงการจากคณะรัฐมนตรี โดยทั้งสองหน่วยงานมีแผนจัดการประกวดราคาหาผู้รับจ้างก่อสร้างร่วมกันภายในเดือนตุลาคม 2564 อันจะเป็นประโยชน์ในด้านการลดภาระค่าก่อสร้าง ย่นระยะเวลาการก่อสร้าง และลดปัญหาการจราจรระหว่างการก่อสร้าง ทั้งยังช่วยลดผลกระทบในระหว่างก่อสร้างต่อประชาชนให้เหลือน้อยที่สุดอีกด้วย สำหรับโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาลช่วงแคราย – ลำสาลี (บึงกุ่ม) เป็นระบบรถไฟฟ้ารางเดี่ยว (Monorail) มีโครงสร้างทางวิ่งยกระดับ จำนวน 20 สถานี ระยะทาง 22.1 กิโลเมตร โดยพื้นที่โครงการฯ มีส่วนซ้อนทับกับโครงสร้างทางด่วนขั้นที่ 3 ตอน N2 บนแนวถนนประเสริฐมนูกิจ เป็นระยะทาง 7.2 กิโลเมตร (จำนวน 6 สถานี) ซึ่งรูปแบบเบื้องต้นของฐานรากโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาลฯ จะก่อสร้างโครงสร้างทางวิ่งเป็นคานคอนกรีตที่วางบนคานขวาง และ Bearing Shoe และออกแบบให้มีเสาตอม่อสายสีน้ำตาลแทรกระหว่างเสาทางด่วนที่ก่อสร้างไว้แล้ว มีระยะระหว่างช่วงตอม่อโดยทั่วไปประมาณ 25 – 30 เมตร
https://www.youtube.com/watch?v=Tf4bDPLeqww

Wisarut wrote:
รฟม. เผยความคืบหน้าในการดำเนินงานโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล ช่วงแคราย - ลำสาลี (บึงกุ่ม) เตรียมก่อสร้างฐานรากโครงการรถไฟฟ้าฯ ไปพร้อมกับโครงการทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือ ตอน N2
การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย
20 พฤษภาคม 2564 เวลา 18:16 น.


บอร์ด รฟม.สั่งลุยรถไฟฟ้าสีน้ำตาล “แคราย-ลำสาลี(บึงกุ่ม)”
*ไฟเขียว 1,470 ล้านสร้างฐานรากพร้อมทางด่วน N2
*คาด ต.ค.64 เปิดประมูลส่วนทับซ้อนร่วมกับ กทพ.!!
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/2908591099362389
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42783
Location: NECTEC

PostPosted: 23/05/2021 1:06 am    Post subject: Reply with quote

บอร์ด รฟม.ไฟเขียวเคาะลงทุนสายสีน้ำตาลแคราย - ลำสาลี (บึงกุ่ม) วงเงิน1.47 พันล้านลุยเปิดประมูลต.ค.64

21 พฤษภาคม พ.ศ. 2564 เวลา 08:58 น.

21 พ.ค. 2564 นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการ รฟม. ว่า คณะกรรมการ รฟม. ได้มีมติอนุมัติให้ รฟม. ดำเนินโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล ช่วงแคราย - ลำสาลี (บึงกุ่ม) ตามขั้นตอนในพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 ตามมติคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) ในคราวประชุมครั้งที่ 1/2563 เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2563 และเป็นไปตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2561 โดยให้ รฟม. นำเสนอขอความเห็นชอบในการดำเนินโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาลฯ จากกระทรวงคมนาคม และคณะรัฐมนตรี ต่อไป

นอกจากนี้ได้มีมติอนุมัติให้ รฟม. ดำเนินการก่อสร้างฐานรากโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาลฯ ไปพร้อมกับโครงการทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือ ตอน N2 ในความรับผิดชอบของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) โดยมีกรอบวงเงินรวม 1,470 ล้านบาท ซึ่งประกอบด้วย ค่างานก่อสร้างฐานรากโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาลฯ ในส่วนที่ซ้อนทับกับโครงการทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือ ตอน N2 จำนวน 1,418 ล้านบาท (รวมค่า Provisional Sum) และค่าจ้างที่ปรึกษาควบคุมงานก่อสร้าง จำนวน 52 ล้านบาท

และได้มีมติอนุมัติแหล่งเงินก่อสร้างฐานรากโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาลฯ โดยให้กระทรวงการคลังพิจารณาจัดหาแหล่งเงินกู้ที่เหมาะสม และให้สำนักงบประมาณพิจารณาจัดสรรเงินงบประมาณประจำปีเป็นรายได้แก่ รฟม. ให้เพียงพอเพื่อการชำระหนี้แก่แหล่งเงินกู้ ทั้งในส่วนเงินต้น ดอกเบี้ย ค่าใช้จ่ายในการกู้เงิน และค่าใช้จ่ายอื่นที่เกี่ยวข้อง ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กระทรวงการคลังจะตกลงกับ รฟม. ต่อไป

ทั้งนี้ รฟม. จะเร่งรัดนำเสนอเรื่องดังกล่าว ไปยังกระทรวงคมนาคม เพื่อพิจารณานำเรื่องเสนอขออนุมัติจากคณะรัฐมนตรี(ครม.)โดยเร็ว เพื่อให้สอดคล้องไปกับการดำเนินงานโครงการทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือ ตอน N2 ที่ปัจจุบัน กทพ. อยู่ในระหว่างเตรียมเสนอขออนุมัติดำเนินโครงการจากคณะรัฐมนตรี โดยทั้งสองหน่วยงานมีแผนจัดการประกวดราคาหาผู้รับจ้างก่อสร้างร่วมกันภายในเดือนตุลาคม 2564 อันจะเป็นประโยชน์ในด้านการลดภาระค่าก่อสร้าง ย่นระยะเวลาการก่อสร้าง และลดปัญหาการจราจรระหว่างการก่อสร้าง ทั้งยังช่วยลดผลกระทบในระหว่างก่อสร้างต่อประชาชนให้เหลือน้อยที่สุดอีกด้วย

สำหรับโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล ช่วงแคราย – ลำสาลี (บึงกุ่ม) เป็นระบบรถไฟฟ้ารางเดี่ยว (Monorail) มีโครงสร้างทางวิ่งยกระดับ จำนวน 20 สถานี ระยะทาง 22.1 กิโลเมตร โดยพื้นที่โครงการฯ มีส่วนซ้อนทับกับโครงสร้างทางด่วนขั้นที่ 3 ตอน N2 บนแนวถนนประเสริฐมนูกิจ เป็นระยะทาง 7.2 กิโลเมตร (จำนวน 6 สถานี) ซึ่งรูปแบบเบื้องต้นของฐานรากโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาลฯ จะก่อสร้างโครงสร้างทางวิ่งเป็นคานคอนกรีตที่วางบนคานขวาง และ Bearing Shoe และออกแบบให้มีเสาตอม่อสายสีน้ำตาลแทรกระหว่างเสาทางด่วนที่ก่อสร้างไว้แล้ว มีระยะระหว่างช่วงตอม่อโดยทั่วไปประมาณ 25 – 30 เมตร
https://www.thaipost.net/main/detail/103659
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42783
Location: NECTEC

PostPosted: 25/05/2021 11:46 pm    Post subject: Reply with quote

บพท.หนุนมธ.ผนึกมทร.ธัญบุรี ดันระบบรางเชื่อมรังสิต-คลอง 6

วันที่ 25 พฤษภาคม 2564 เวลา 21.59 น.

...บพท.หนุนมธ.-มทร.ธัญบุรีและ 3 เทศบาลในพื้นที่เมืองปทุมธานีเตรียมผนึก “กลุ่มไทยทีม” ร่วมลงทุนเร่งขับเคลื่อนด้านการพัฒนาเมืองโดยใช้ระบบขนส่งมวลชนรูปแบบฟีดเดอร์เชื่อมโยงพื้นที่เศรษฐกิจจากสถานีรังสิตของรถไฟฟ้าสายสีแดงไปถึงฟิวเจอร์พาร์คก่อนต่อขยายไปเชื่อมถึงคลอง 6 ด้านกฎบัตรไทยเร่งระดมความเห็นจัดตั้งกองทุนพัฒนาระบบขนส่งมวลชน
รศ.ดร.ภาวิณี เอี่ยมตระกูล หัวหน้าชุดโครงการกลไกความร่วมมือในการส่งเสริมเศรษฐกิจท้องถิ่นผ่านพื้นที่การเรียนรู้ของจังหวัดปทุมธานี จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) เปิดเผยกับ UCDNEWS ว่า ได้รับทุนสนับสนุนจากหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่(บพท.) วงเงิน 1 ล้านบาทเพื่อดำเนินการขับเคลื่อนโครงการพัฒนาระบบฟีดเดอร์เชื่อมโยงในพื้นที่ปทุมธานีร่วมกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี(มทร.ธัญบุรี) ในการศึกษาความเป็นไปได้โครงการพัฒนาระบบฟีดเดอร์ด้วยการใช้พื้นที่คลองรังสิตประยูรศักดิ์ตั้งแต่ฟิวเจอร์พาร์คไปถึงมทร.ธัญบุรี

วัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดการใช้ประโยชน์ในพื้นที่คลองอย่างเต็มประสิทธิภาพ ส่งเสริมให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว เนื่องจากพบว่ามีโครงการหมู่บ้านจัดสรรจำนวนมาก เหมาะเป็นจุดพักผ่อนหย่อนใจของครอบครัว พัฒนารูปแบบสวนหย่อมได้อีกหลายจุดแล้วเชื่อมโยงจุดต่างๆด้วยเรือโดยสารระบบไฟฟ้าให้บริการ พร้อมเปิดพื้นที่ค้าขายให้กับชุมชนตลอดแนวคลองดังกล่าว จึงเป็นการใช้พื้นที่สาธารณะให้เกิดประโยชน์
แม้ว่ากระทรวงคมนาคมโดยการทางพิเศษแห่งประเทศไทย(กทพ.) จะมีแผนก่อสร้างทางด่วนไปตามแนวถนนรังสิต-นครนายก แต่ยังไม่ใช่แนวทางแก้ไขปัญหาและการใช้ประโยชน์ของพื้นที่คลองให้เกิดประสิทธิภาพ การพัฒนาคลองสามารถเกิดประโยชน์ต่อชุมชนตลอดแนวคลองได้อย่างหลากหลายวิธีและเห็นผลชัด ประชาชนได้ประโยชน์จริง

นอกจากนั้นทราบว่ากลุ่มไทยทีม(ThaiTEAM) ยังพร้อมขับเคลื่อนโครงการรถไฟฟ้ารางเบาเชื่อมจากสถานีรังสิตของรถไฟฟ้าสายสีแดงไปถึงศูนย์การค้าฟิวเจอร์พาร์ครังสิตและโรงแรมเอเซียแอร์พอร์ตในเฟสแรก ก่อนที่จะขยายไปยังมทร.ธัญบุรีในเฟสถัดไป ซึ่งมธ.พร้อมเข้าไปช่วยศึกษาในเรื่องของการพัฒนาเมือง เชิงเทคนิค เรื่องการมีส่วนร่วมประชาชน คาดว่าภายหลังการเลือกตั้งท้องถิ่นแล่วเสร็จผู้บริหารเมืองปทุมธานีคงจะให้ความสนใจเข้ามาร่วมขับเคลื่อนเรื่องนี้

“จังหวัดปทุมธานีคงต้องให้ความสำคัญและเร่งแก้ไขปัญหาจราจรในช่วงวิกฤติโควิด-19 นี้ก่อนที่จะรอให้ลุกลามจนยากจะแก้ไขได้เช่นในหลายเมือง ควบคู่ไปกับสร้างแลนด์มาร์กให้เป็นประโยชน์แก่เมืองทั้งเชิงเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม เพื่อปรับเปลี่ยนเมืองรองรับไว้ตั้งแต่วันนี้ เนื่องจากช่วงที่ผ่านมาหากเอ่ยถึงปทุมธานีหลายคนจะนึกถึงโรงงาน รถติด มลพิษ อาชญากรรม ภาพลักษณ์ที่ดีแทบไม่เห็นในเชิงสร้างสรรค์และกระตุ้นด้านการค่าการลงทุนแต่อย่างใด จึงต้องเร่งแก้ไขปัญหาจัดระบบการแก้ไขและกำหนดแผนพัฒนาไว้ให้ชัดเจนเพื่อระดมทุนเข้าไปดำเนินการให้ต่อเนื่อง โดยเฉพาะ 3 เทศบาลในพื้นที่จะได้เข้ามาร่วมขับเคลื่อนเรื่องนี้ด้วยการกำหนดกรอบและงบประมาณในแต่ละปีได้อย่างชัดเจนยิ่งขึ้นต่อไป”

“ยังติดปัญหาเรื่องงบประมาณเพื่อเข้าไปดำเนินการ เนื่องจากงบที่ได้รับจากบพท.ค่อนข้างจำกัด ดังนั้นขณะนี้ทำได้เพียงนำอาจารย์ของมธ.และมทร.ธัญบุรีเข้าไปดำเนินการเบื้องต้น หากองค์การบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานี (อบจ.) มีงบประมาณจะนำไปพัฒนาก็สามารถดำเนินการต่อไปได้ทันที โดยให้อบจ.เป็นเจ้าภาพดำเนินการ ส่วนมธ.-มทร.ธัญบุรีพร้อมเป็นที่ปรึกษา”
เล็งดึงฟิวเจอร์พาร์ค-เครือข่ายร่วมลงทุน

สำหรับการขับเคลื่อนเรื่องงบประมาณนั้นอยากเสนอให้บพท.เล็งเห็นถึงความจำเป็นและต่อเนื่องเนื่องจากกลไกการขับเคลื่อนจะต้องใช้พลังงานสูงมาก อยากให้ผู้ประเมินอย่ามองข้ามในจัดนี้ไว้ด้วย เพราะวัตถุประสงค์เพื่ออยากจะสร้างการเปลี่ยนแปลงจึงต้องร่วมมือกันหลายฝ่ายและใช้ระยะเวลานาน ดังนั้นจึงเป็นไปได้ว่าอาจเชิญชวนหน่วยงานที่สนใจด้านการพัฒนาเมืองเข้ามาร่วมลงทุนไม่ว่าจะเป็นฟิวเจอร์พาร์ค บริษัทรังสิตพัฒนา จำกัด โรงแรมเอเซียแอร์พอร์ต ตลาดไทย หรือตลาดสี่มุมเมือง เป็นต้น

“ในฐานะที่เป็นชาวปทุมธานีคนหนึ่งจึงอยากเห็นเมืองปทุมธานีมีคุณภาพชีวิตที่ดี พยายามเชื่อมโยงโครงการให้เป็นรูปธรรมจริง อยากเห็นความร่วมมือจากชาวปทุมธานีมากขึ้น ให้เล็งขึ้นประโยชน์ที่จะเกิดกับพี่น้องชาวปทุมธานีจริงๆ ดังนั้นหากโครงการมีความน่าสนใจคงจะมีนักลงทุนเข้ามาร่วมทุนกันเป็นจำนวนมากเพราะเป็นการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของเมืองปทุมธานี แต่คงใช้ระยะเวลานาน กว่าโครงการจะดำเนินการและเปิดใช้งานอาจจะไม่ทันการณ์ที่จะรองรับการเปลี่ยนแปลงของเมืองจึงต้องมีงบประมาณเพียงพอและสามารถทำได้รวดเร็ว”

ประการหนึ่งนั้นพื้นที่รังสิตยังมีโครงการขนาดใหญ่ที่จะพัฒนาได้อีกหลายโครงการ อีกทั้งยังมีพื้นที่จอดรถโดยสารขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ(ขสมก.) ขนาดใหญ่ไว้รองรับ นอกเหนือจากสถานีรถไฟฟ้าสายสีแดง หน่วยงานเหล่านี้น่าจะเข้ามามีส่วนเป็นพี่เลี้ยงให้ท้องถิ่นได้ขับเคลื่อนโครงการเพื่อกระตุ้นการพัฒนาพื้นที่ได้อย่างเต็มที่มากขึ้น เนื่องจากจะเป็นฟีดเดอร์ป้อนผู้โดยสารให้รถเมล์โดยสารและรถไฟฟ้าสายสีแดงเพิ่มขึ้น

https://www.facebook.com/ake.bluechifamily/posts/4096503253729922

ปทุมธานี 🔵🔵อบจ. ลุยเมกะโปรเจ็กต์เดินหน้ารถไฟฟ้าโมโนเรลแก้ปัญหารถติดเพื่อชาวปทุมธานี

วันที่ 25 พฤษภาคม 2564 เวลา 19.36 น.

➡️เมื่อเวลา 08.30 น. วันที่ 25 พฤษภาคม 2564 ที่องค์การบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานี ตำบลบ้านฉาง อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี พล.ต.ท.คำรณวิทย์ ธูปกระจ่าง นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานี นายเสวก ประเสริฐสุข รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานี พร้อมกับหัวหน้าส่วนงาน อบจ.ปทุมธานีที่เกี่ยวข้อง และนายมารุต ศิริโก กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอเอ็มอาร์ เอเซีย จำกัด พร้อมคณะร่วมประชุมการพัฒนาเมืองแก้ไขปัญหาจราจรติดขัดเพื่อการรองรับการขยายตัวจังหวัดปทุมธานีโดยใช้ระบบรถไฟฟ้ารางเดี่ยวหรือโมโนเรล
🙏พล.ต.ท.คำรณวิทย์ ธูปกระจ่าง นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานี กล่าวว่าจากปัญหาจรราจรติดขัดในพื้นที่จังหวัดปทุมธานี ที่ไม่ได้รับการแก้ไข ประกอบด้วย


1.เส้นทางรังสิต-นครนายก
2.เส้นทางคูคต-ลำลูกกา
3.เส้นทางคลองหลวง

โดยได้เชิญ ทางบริษัท เอเอ็มอาร์ เอเชีย จำกัด ได้เข้ามาสำรวจว่ารถไฟฟ้ารางเดี่ยวหรือโมโนเรลจะสามารถใช้ในเส้นทางไหนบ้างเพื่อแก้ปัญหารถติด ส่วนการเชื่อมต่อกับสถานีรถไฟฟ้าสายสีแดง รังสิต-บางซื่อ ทางเราก็มีแผนที่จะดำเนินการให้เป็นรูปธรรม แต่การประสานเพื่อดำเนินการยังไม่เป็นทางการ ทั้งนี้จังหวัดปทุมธานีเป็นเมื่องมหาวิทยาลัย มีนักศึกษาจำนวนมาก การเดินทางจึงเป็นสิ่งจำเป็น หากแก้ปัญหาด้านจราจรติดขัดได้เร็วคุณภาพชีวิตของประชาชนก็จะดีขึ้น โดยเฉพาะถนนเส้นรังสิต- นครนายก มีปัญหารถติดหนักมาก รองลงมาคือถนนเส้น คลองหลวง-หนองเสือ และเส้นอื่นๆก็เริ่มมีปัญหาแล้วเช่นกันซึ่งจะต้องเร่งแก้ไขความเดือดร้อนของประชาชนต่อไป
✌️นายมารุต ศิริโก กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอเอ็มอาร์ เอเซีย จำกัด กล่าวว่า เอเอ็มอาร์ เอเซีย เป็นบริษัทที่ได้ดำเนินการทำรถไฟฟ้าสายสีเขียว และรถไฟฟ้าสายสีทองให้กับกรุงเทพมหานคร และได้ส่งงานไปเมื่อปีที่แล้วที่ผ่านมา บริษัทของเราเป็นบริษัทของคนไทยที่ดำเนินการด้านระบบควบคุมการเดินรถและอาคารสถานี ระบบไฟฟ้าขนาดใหญ่ รวมถึงเครื่องจักรของศูนย์ซ่อมรถไฟฟ้า นอกจากนี้กลุ่มของบริษัทเราได้มีส่วนในการพัฒนาเมือง โดยเราจะสำรวจว่ามีอะไรบ้างที่เหมาะสมกับเมืองนั้น ๆ ในส่วนของจังหวัดปทุมธานียังไม่มีรถไฟฟ้าเป็นของตัวเอง ที่มีอยู่เป็นเพียงส่วนขยายที่มาจากกรุงเทพมหานครได้แก่ รถไฟฟ้าสายสีแดงจากบางซื่อมายังรังสิต และรถฟ้าสายสีเขียวจากหมอซิต สะพานใหม่มายังคูคต ในความเหมาะสมของรถที่จะมาใช้ นั้นท่านนายก อบจ.ต้องการให้เป็นรถ ไฟฟ้าที่มีขนาดเล็ก ใช้พื้นที่ไม่มาก เน้นบริการได้ทั่วถึง และไม่เป็นมลภาวะตัวรางรถต้องเป็นแบบที่เหมาะกับถนนในจังหวัดปทุมธานี ซึ่งตนเองเชื่อมั่นว่าหลังจากมีเส้นทางรถไฟฟ้าเข้ามาทำให้วิถีการเดินทางที่เปลี่ยนไปเนื่องจากมีการเดินทางที่สะดวกขึ้น ตนเองคาดว่ารถไฟฟ้าจะเป็นตัวตอบโจทย์เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและแก้ปัญหาจราจรติดขัดในจังหวัดปทุมธานี. โดยท่านนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานีให้แนวความคิดไปศึกษาว่าการแก้ปัญหาแบบครบวงจรถนนทุกเส้นไม่ทำเพียง เส้นใดเส้นหนึ่งเพราะเล็งเห็นว่าจะต้องแก้ปัญหาในภาพรวมของจังหวัดทั้งหมดโดยทางบริษัท จะต้องกลับไปทำการบ้านตามที่ท่านมีวัตถุประสงค์ไว้และกลับมารายงานให้ท่านทราบอีกครั้งภายใน 30 วัน.
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42783
Location: NECTEC

PostPosted: 04/06/2021 6:53 am    Post subject: Reply with quote

รถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล จะเริ่มสร้างจริงๆ แล้วใช่ไหม? แนวรถไฟฟ้าซ้อนทับทางด่วนจะสร้างอย่างไร? สรุปว่าช่วงที่ผ่าน ม.เกษตร จะสร้างแบบไหน? วันนี้เราจะพาทุกคนมารู้จักกับ “รถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล” และ “ทางด่วนขั้นที่ 3” กันครับ
เผื่อใครที่กำลังดูบ้าน/คอนโดในย่านนี้ จะได้มีข้อมูลประกอบการตัดสินใจ ว่าถ้าซื้อตอนนี้แล้วจะได้เริ่มใช้รถไฟฟ้าหรือทางด่วนจริงๆ เมื่อไหร่?
ตามไปดูกันเลยครับ
#รถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล
https://www.facebook.com/livingpopth/posts/1131937430653260
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42783
Location: NECTEC

PostPosted: 08/06/2021 9:40 pm    Post subject: Reply with quote

เบื้องหลังการถ่ายวีดีโอ​ ขั้นตอนการผลิตชิ้นส่วนแพนโตกราฟ​ (Pantograph) และชิ้นส่วนของมอเตอร์​ลากจูง​ (Traction​ Motor) สำหรับรถไฟฟ้ารางเบาต้นแบบ​ วานนี้​ (7 มิ.ย.​2564)​ ครับผม​ : ขอขอบคุณ​ คุณเกรียงไกร​ ขันคำ​ เป็นอย่างสูง​ครับ​ #TechnologyLocalization #LRVPrototype
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=4673786552631895&id=100000017901782
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42783
Location: NECTEC

PostPosted: 08/06/2021 9:42 pm    Post subject: Reply with quote

อัปเดตก่อสร้างรถไฟฟ้า "สีส้ม" กว่า 82% ส่วน "เหลือง-ชมพู" ทยอยทดสอบเดินรถ
โดย: ผู้จัดการออนไลน์

เผยแพร่: 8 มิถุนายน 2464 เวลา 10:41 น.
ปรับปรุง: 8 มิถุนายน 2464 เวลา 10:41 น.

รฟม.เผยก่อสร้างรถไฟฟ้า 3 สายคืบหน้าตามแผน สีส้ม คืบหน้า 82.56% เร็วกว่าแผน 0.41% สีเหลืองคืบหน้า 79.60% ส่วนสีชมพูคืบ 76.51% เริ่มทดสอบเดินรถ ทยอยเปิดบริการปลายปี 64

รายงานข่าวจากการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่า ความก้าวหน้างานก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าในความรับผิดชอบของ รฟม.จำนวน 3 โครงการ ณ สิ้นเดือนพฤษภาคม 2564 ได้แก่

โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ระยะทางประมาณ 22.57 กม. มีความก้าวหน้างานโยธา 82.56% เร็วกว่าแผน 0.41%

โดยสัญญา 1 งานก่อสร้างอุโมงค์ทางวิ่งและสถานีใต้ดินช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ-รามคำแหง 12 มี CKST Joint Venture เป็นผู้รับจ้าง ผลงานคืบหน้า 89.02%

สัญญาที่ 2 งานก่อสร้างอุโมงค์ทางวิ่งและสถานีใต้ดิน ช่วงรามคำแหง 12-หัวหมาก มี CKST Joint Venture เป็นผู้รับจ้าง ผลงานคืบหน้า 84.19%

สัญญาที่ 3 งานก่อสร้างอุโมงค์ทางวิ่งและสถานีใต้ดินช่วงหัวหมาก-คลองบ้านม้า มี บมจ.อิตาเลียนไทยฯ เป็นผู้รับจ้าง ผลงานคืบหน้า 80.06%

สัญญาที่ 4 งานก่อสร้างโครงสร้างทางวิ่งและสถานียกระดับช่วงคลองบ้านม้า-สุวินทวงศ์ มี บมจ.ยูนิค เอ็นจิเนียริ่งฯ เป็นผู้รับจ้าง ผลงานคืบหน้า 72.65%

สัญญาที่ 5 งานก่อสร้างอาคารศูนย์ซ่อมบำรุงและอาคารจอดแล้วจร มี CKST Joint Venture เป็นผู้รับจ้าง ผลงานคืบหน้า 83.66%

สัญญาที่ 6 งานก่อสร้างระบบราง มี บมจ.ยูนิค เอ็นจิเนียริ่งฯ เป็นผู้รับจ้าง ผลงานคืบหน้า 74.82%

โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง ระยะทางทั้งสิ้น 30.4 กิโลเมตร บริษัท อีสเทิร์น บางกอกโมโนเรล จำกัด เป็นผู้รับสัญญาสัมปทาน มีความก้าวหน้างานโยธา 84.19% งานระบบรถไฟฟ้า 73.62% โดยคิดเป็นความก้าวหน้าโดยรวม 79.60%

โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย- มีนบุรี ระยะทางทั้งสิ้น 34.5 กิโลเมตร บริษัท นอร์ทเทิร์น บางกอกโมโนเรล จำกัด เป็นผู้รับสัญญาสัมปทานร่วมลงทุน ความก้าวหน้างานโยธา 79.39% ความก้าวหน้างานระบบรถไฟฟ้า 72.81% ความก้าวหน้าโดยรวม 76.51%

สำหรับรถไฟฟ้าสายสีเหลืองเริ่มมีการทดสอบระบบเดินรถแล้วคาดว่าจะทยอยเปิดให้บริการตั้งแต่ปลายปี 64 และสายสีชมพูคาดว่าระบบจะมีความพร้อมและทยอยเปิดให้บริการเป็นช่วงๆ ตั้งแต่ต้นปี 65

📣วันนี้น้องทันใจจะมาอัพเดท 🚧🚆ความก้าวหน้างานก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าในความรับผิดชอบของ รฟม. ณ สิ้นเดือนพฤษภาคม 2564 🔛 ดังนี้
การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย
8 มิถุนายน 2464 เวลา 08:31 น.

1. โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย-มีนบุรี 🏗ความก้าวหน้างานโยธา 82.56%
ติดตามรายละเอียดโครงการฯ https://www.mrta-orangelineeast.com
อัพเดทปิดเบี่ยงจราจร/แสดงความคิดเห็น/ร้องเรียน ช่องทางLine: @Orangeline
2. โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง 🏗ความก้าวหน้างานโยธา 84.19% 🚧ความก้าวหน้างานระบบรถไฟฟ้า 73.62% ความก้าวหน้าโดยรวม 79.60%
ติดตามรายละเอียดโครงการฯ https://mrta-yellowline.com
อัพเดทปิดเบี่ยงจราจร/แสดงความคิดเห็น/ร้องเรียน ช่องทางLine: mrtyellowline
3. โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี 🏗ความก้าวหน้างานโยธา 79.39% 🚧ความก้าวหน้างานระบบรถไฟฟ้า 72.81% ความก้าวหน้าโดยรวม 76.51%
ติดตามรายละเอียดโครงการฯ https://www.mrta-pinkline.com
อัพเดทปิดเบี่ยงจราจร/แสดงความคิดเห็น/ร้องเรียน ช่องทางLine: @mrtpinkline
-------------------------------------------------
#วิสัยทัศน์ รฟม. (พ.ศ.2560-2565)
เป็นองค์กรที่มีความเป็นเลิศด้านรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน ที่สามารถยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชนและส่งเสริมการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน


Last edited by Wisarut on 09/06/2021 8:56 pm; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42783
Location: NECTEC

PostPosted: 08/06/2021 11:13 pm    Post subject: Reply with quote

รฟม.คลอดกฎเหล็กดูแลงานก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีส้ม-เหลือง-ชมพูคุมเข้มโควิด-19

08 มิถุนายน พ.ศ. 2564 เวลา 13:38 น.


8 มิ.ย.2564-รายงานข่าวจากการรถไฟขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(รฟม) เปิดเผยถึงความคืบหน้างานก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าในความรับผิดชอบของ รฟม. ณ สิ้นเดือนพฤษภาคม 2564 ดังนี้ 1.โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย - มีนบุรี (สุวินทวงศ์)ความก้าวหน้างานโยธา 82.56% 2.โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว - สำโรง ความก้าวหน้างานโยธา 84.19% ความก้าวหน้างานระบบรถไฟฟ้า 73.62% ความก้าวหน้าโดยรวม 79.60% ละ3. โครงกาถรรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย - มีนบุรี ความก้าวหน้างานโยธา 79.39% ความก้าวหน้างานระบบรถไฟฟ้า 72.81% ความก้าวหน้าโดยรวม 76.51%

สำหรับรถไฟฟ้าสายสีเหลืองเริ่มมีการทดสอบระบบเดินรถแล้วคาดว่าจะทยอยเปิดให้บริการตั้งแต่ ปลายปี 64 และสายสีชมพู คาดว่าระบบจะมีความพร้อมและทยอยเปิดให้บริการเป็นช่วงๆ ตั้งแต่ต้นปี 65 อย่างไรก็ตามปัจจุบันทุกโครงการที่อยู่ระหว่างการก่อสร้างยังเป็นไปตามแผนงาน ซึ่งงานหลักๆ จะเป็นงานตกแต่งและติดตั้งงานระบบไฟฟ้าเครื่องกล อย่างไรก็ตาม รฟม. ได้ให้ผู้รับสัมปทานและผู้รับจ้าง ประเมินผล กระทบที่อาจจะเกิดขึ้นพร้อมแนวทางในการแก้ไขเพื่อปรับแผนการดำเนินงานต่อไป

สัมผัสความงามของฤดูใบไม้ผลิในญี่ปุ่น หรือ ชุนบุน (Shunbun) กับ Grand Seiko SBGJ251
Grand Seiko
นายกิตติกร ตันเปาว์ รองผู้ว่าการ (วิศวกรรมและก่อสร้าง) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ในฐานะผู้อำนวยการโครงการเปิดเผยว่า รฟม. ได้กำกับดูแลโครงการรถไฟฟ้าที่อยู่ระหว่างการดำเนินงานก่อสร้าง จำนวน 3 โครงการ ได้แก่ โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม -สายสีชมพู -สายสีเหลือง ได้ตระหนัก ถึงความจำเป็นเร่งด่วนในการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ตามนโยบายของรัฐบาล และกระทรวงคมนาคม

โดย รฟม. ได้เน้นย้ำให้ที่ปรึกษาโครงการฯ และผู้รับจ้างก่อสร้างโครงการฯ ดำเนินการตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ในที่พักแรงงานก่อสร้างและพื้นที่ปฏิบัติงานอย่างเคร่งครัด ดังนี้1. ตรวจคัดกรอง วัดอุณหภูมิก่อนเข้าพื้นที่ปฏิบัติงานทุกครั้ง2. สวมหน้ากากอนามัย หรือหน้ากากผ้าตลอดเวลาการปฏิบัติงาน3. จัดจุดให้บริการเจลแอลกอฮอล์ และอ่างล้างมือ 4. ห้ามแรงงานก่อสร้างเดินทางออกนอกพื้นที่ปฏิบัติงานและที่พัก

5. ห้ามแรงงานก่อสร้างเดินทางออกนอกเส้นทาง ขณะโดยสารรถรับส่งระหว่างที่พักและพื้นที่ปฏิบัติงาน และจัดเว้นระยะห่างของที่นั่งในรถไม่ให้แออัด

6. ห้ามแรงงานก่อสร้าง พาบุคคลภายนอก เข้ามาในพื้นที่ปฏิบัติงานและที่พักโดยเด็ดขาด7. ห้ามแรงงานก่อสร้างเดินทางไปยังพื้นที่เสี่ยงตามที่ภาครัฐกำหนด8. จัดการเรื่องสุขอนามัยภายในที่พัก ให้สะอาด ปราศจากการแพร่เชื้ออยู่เสมอ เช่น ฉีดพ่นยาฆ่าเชื้อบริเวณ ที่พัก เปลี่ยนระบบอาบน้ำ จากเดิมที่ใช้อ่างอาบน้ำรวม เป็นระบบฝักบัว แยกเฉพาะคน และจัดให้มีการแยกภาชนะ ในการรับประทานอาหาร เช่น แก้วน้ำ ช้อนส่วนตัว

9. กรณีที่พักแรงงานก่อสร้างอยู่ในพื้นที่เดียวกับสถานที่ปฏิบัติงาน หากพบผู้ติดเชื้อให้ดำเนินการควบคุมพื้นที่ไม่ให้มีการเข้า-ออก ก่อนทำการส่งตัวไปรักษา10. กรณีที่พักแรงงานก่อสร้างไม่ได้อยู่ในพื้นที่เดียวกับสถานที่ปฏิบัติงาน หากพบผู้ติดเชื้อให้กักตัวผู้ที่ติดเชื้อในบริเวณที่พักแรงงาน ภายใต้การดูแลของสำนักงานเขตและสำนักอนามัย ก่อนทำการส่งตัวไปรักษา ทั้งนี้ผู้ที่ไม่ติดเชื้อ เมื่อเดินทางไปปฏิบัติงาน รถโดยสารรับส่ง จะไม่จอดหรือหยุดพักระหว่างทาง

11. ผู้ที่มีความเสี่ยงสูง หรือผู้ที่ใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อ จะดำเนินการเฝ้าระวังและจัดที่พักแยกเป็นสัดส่วนเพื่อกักตัว 12. จัด Safety Talk พูดคุยก่อนการเริ่มปฏิบัติงาน เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานเกิดความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด 13. ให้ความรู้เกี่ยวกับมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ผ่านสื่อประชาสัมพันธ์ในรูปแบบต่างๆ เช่น โปสเตอร์ บอร์ดประชาสัมพันธ์ และเสียงตามสาย

นอกจากนี้ ได้มีมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ในอาคารสำนักงานโครงการฯ ด้วยการตรวจคัดกรองอุณหภูมิ ต้องสวมใส่หน้ากากอนามัย ล้างมือด้วยเจลแอลกอฮอล์ เว้นระยะห่าง จัดประชุมด้วยระบบ Video Conference แทนการนั่งประชุมรวมกลุ่มในอาคารสำนักงานโครงการฯ และให้ผู้ปฏิบัติงาน ในอาคารสำนักงานโครงการฯ ปฏิบัติงานในที่พักอาศัย (Work From Home) ให้มากที่สุด โดยหมุนเวียนสลับกันเข้ามาปฏิบัติงาน รวมถึงเพิ่มความถี่ในการทำความสะอาดบริเวณจุดที่สัมผัสร่วมกันในอาคารสำนักงานโครงการฯ เช่น บานจับประตู ปุ่มกดลิฟต์ ราวบันได เครื่องลงเวลาเข้าออกงาน และห้องน้ำ

ทั้งนี้ รฟม. และทุกโครงการฯ จะให้ความร่วมมือกับหน่วยงานที่กำกับดูแลเรื่อง COVID-19 อย่างเต็มที่ ในการตรวจหาเชื้อไวรัส COVID-19 เชิงรุกของกลุ่มแรงงานในพื้นที่ก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้า และจะเดินหน้ากำชับมาตรการต่างๆ ให้มีความเข้มข้นและรัดกุม เพื่อความปลอดภัยของผู้ปฏิบัติงาน และเป็นการแสดงความรับผิดชอบ ต่อสังคมส่วนรวม จนกว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 จะกลับสู่ภาวะปกติ
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42783
Location: NECTEC

PostPosted: 09/06/2021 10:58 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
รฟม.คลอดกฎเหล็กดูแลงานก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีส้ม-เหลือง-ชมพูคุมเข้มโควิด-19

08 มิถุนายน พ.ศ. 2564 เวลา 13:38 น.

รฟม.คลอด13กฎคุมเข้มโควิดแคมป์คนงานก่อสร้าง
อังคารที่ 8 มิถุนายน 2564 เวลา 11.23 น.

รฟม. คลอด 13 มาตรการคุมเข้มโควิดแคมป์คนงานก่อสร้าง-พื้นที่ปฏิบัติงานสร้างรถไฟฟ้า 3 สาย ย้ำห้ามแรงงานออกนอกพื้นที่ ห้ามพาคนนอกเข้ามา จัดเรื่องสุขอนามัยภายในที่พักใหม่ ให้ใช้ฝักบัวแทนอ่างอาบน้ำรวม   

นายกิตติกร ตันเปาว์ รองผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ในฐานะผู้อำนวยการโครงการ เปิดเผยว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่ขยายวงกว้างอย่างรวดเร็ว และมีการแพร่ระบาดในที่พักแรงงานก่อสร้างในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล รฟม. จึงเน้นย้ำที่ปรึกษาโครงการ และผู้รับจ้างก่อสร้างโครงการที่อยู่ระหว่างก่อสร้าง 3 โครงการ ได้แก่ โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม (ตะวันออก) ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย–มีนบุรี (สุวินทวงศ์), โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย–มีนบุรี และโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว–สำโรง ปฏิบัติตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในที่พักแรงงานก่อสร้าง และพื้นที่ปฏิบัติงานอย่างเคร่งครัด



นายกิตติกร กล่าวต่อว่า มาตรการต่างๆ มีดังนี้ 1. ตรวจคัดกรอง วัดอุณหภูมิก่อนเข้าพื้นที่ปฏิบัติงานทุกครั้ง, 2. สวมหน้ากากอนามัย หรือหน้ากากผ้าตลอดเวลาปฏิบัติงาน, 3. จัดจุดให้บริการเจลแอลกอฮอล์ และอ่างล้างมือ, 4. ห้ามแรงงานก่อสร้างเดินทางออกนอกพื้นที่ปฏิบัติงานและที่พัก, 5. ห้ามแรงงานก่อสร้างเดินทางออกนอกเส้นทาง ขณะโดยสารรถรับส่งระหว่างที่พัก และพื้นที่ปฏิบัติงาน  และจัดเว้นระยะห่างของที่นั่งในรถไม่ให้แออัด, 6. ห้ามแรงงานก่อสร้างพาบุคคลภายนอกเข้ามาในพื้นที่ปฏิบัติงานและที่พักโดยเด็ดขาด

7. ห้ามแรงงานก่อสร้างเดินทางไปยังพื้นที่เสี่ยงตามที่ภาครัฐกำหนด, 8. จัดการเรื่องสุขอนามัยภายในที่พักให้สะอาด ปราศจากการแพร่เชื้ออยู่เสมอ เช่น ฉีดพ่นยาฆ่าเชื้อบริเวณที่พัก เปลี่ยนระบบอาบน้ำ จากเดิมที่ใช้อ่างอาบน้ำรวม เป็นระบบฝักบัว แยกเฉพาะคน และจัดแยกภาชนะ ในการรับประทานอาหาร, 9. กรณีที่พักแรงงานก่อสร้างอยู่ในพื้นที่เดียวกับสถานที่ปฏิบัติงาน หากพบผู้ติดเชื้อให้ดำเนินการควบคุมพื้นที่ไม่ให้มีการเข้า-ออก ก่อนทำการส่งตัวไปรักษา



10. กรณีที่พักแรงงานก่อสร้างไม่ได้อยู่ในพื้นที่เดียวกับสถานที่ปฏิบัติงาน หากพบผู้ติดเชื้อให้กักตัวผู้ที่ติดเชื้อในบริเวณที่พักแรงงาน ภายใต้การดูแลของสำนักงานเขตและสำนักอนามัย ก่อนส่งตัวไปรักษา, 11. ผู้ที่มีความเสี่ยงสูง หรือผู้ที่ใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อ จะเฝ้าระวังและจัดที่พักแยกเพื่อกักตัว, 12. จัด Safety Talk ทำความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ก่อนปฏิบัติงาน และ 13. ให้ความรู้เกี่ยวกับมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ผ่านสื่อประชาสัมพันธ์รูปแบบต่างๆ
           
นายกิตติกร กล่าวต่อว่า ขณะนี้การก่อสร้างทั้ง 3 โครงการยังเป็นไปตามแผนงาน ซึ่งปัจจุบันงานหลักๆ จะเป็นงานตกแต่ง และติดตั้งงานระบบไฟฟ้าเครื่องกล อย่างไรก็ตาม รฟม. ได้ให้ผู้รับสัมปทาน และผู้รับจ้างประเมินผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้น พร้อมแนวทางในการแก้ไข เพื่อปรับแผนการดำเนินงานต่อไป..
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42783
Location: NECTEC

PostPosted: 28/06/2021 11:32 pm    Post subject: Reply with quote

รฟม.ลุยปรับแผนก่อสร้างหลังรัฐสั่งปิดแคมป์คนงาน
จันทร์ที่ 28 มิถุนายน 2564 เวลา 16.09 น.

รฟม. สั่งที่ปรึกษา-ผู้รับเหมาคุมเข้มโควิด ประเมินผลกระทบ ลุยปรับแผน หลังรัฐสั่งปิดแคมป์คนงาน หยุดก่อสร้างชั่วคราว

นายกิตติกร ตันเปาว์ รองผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ในฐานะผู้อำนวยการโครงการ เปิดเผยว่า โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าทั้ง 3 โครงการ ได้แก่ โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย-มีนบุรี โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี และโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง ขณะนี้มีความคืบหน้างานโยธาเกือบ 80% ปัจจุบันอยู่ในช่วงงานตกแต่ง งานสถาปัตย์ และงานติดตั้งระบบไฟฟ้าเครื่องกล



นายกิตติกร กล่าวต่อว่า ภายหลังจากภาครัฐมีมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดในกลุ่มแรงงานก่อสร้าง โดยสั่งปิดที่พัก (แคมป์) คนงานก่อสร้าง และพื้นที่ก่อสร้างชั่วคราว ทาง รฟม. ได้มอบให้ที่ปรึกษาฯ กำชับผู้รับจ้างก่อสร้างทุกโครงการปฏิบัติตามข้อกำหนดและประกาศของภาครัฐในการควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในกลุ่มแรงงานก่อสร้างในเขตพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑลอย่างเคร่งครัด พร้อมทั้งเร่งประเมินสถานการณ์และผลกระทบต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นในภาพรวม รวมถึงดำเนินการปรับแผนงานให้สอดคล้องกับสถานการณ์ และมีผลกระทบต่อระยะเวลาตามสัญญาให้น้อยที่สุด



ทั้งนี้ รฟม. และทุกโครงการจะยังคงดำเนินมาตรการต่างๆ ให้มีความเข้มข้นและรัดกุม อย่างต่อเนื่อง รวมถึงให้ความร่วมมือและปฏิบัติตามมาตรการของภาครัฐอย่างเคร่งครัด เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ตลอดจนเป็นการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมส่วนรวม และสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ประชาชน จนกว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 จะกลับสู่ภาวะปกติ
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 236, 237, 238 ... 278, 279, 280  Next
Page 237 of 280

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©